เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม

 

บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม ( بسم اللّه‏ الرحمن الرحيم) หรือ บัซมะละห์ (البسملة) เป็นโองการหนึ่งของอัลกุรอานที่ปรากฏในช่วงเริ่มต้นของ ซูเราะห์ ทั้งหมด ยกเว้น ซูเราะห์ อัตเตาบะห์ ในริวายะฮ์ต่างๆ สำหรับโองการนี้ มีการอธิบายว่า เป็นหนึ่งในโองการอัลกุรอานที่มีเกียรติและยิ่งใหญ่ที่สุด

บรรดานักวิชาการมุสลิม ถือว่า บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม เป็นหนึ่งในคำขวัญของอิสลามที่มีความสำคัญมากที่สุด และมีคำสั่งให้อ่านในช่วงเริ่มต้นของการพูดหรือการกระทำการงานต่างๆ

ตามคำฟัตวา(คำวินิจฉัย)ของบรรดานักนิติศาสตร์ การสัมผัสบัซมะละห์ ในรูปแบบเป็นลายลักษณ์อักษร โดยปราศจาก วุฎูอ์ เป็นสิ่งที่ต้องห้าม นอกจากนี้ เมื่อทำการล่าสัตว์และเชือดสัตว์ จำเป็นที่จะต้องกล่าวบิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีมอีกด้วย

อิมามียะห์และนักวิชาการอะฮ์ลิซซุนนะห์บางคนเชื่อว่า บัซมะละห์ เป็นโองการที่เป็นอิสระในแต่ละซูเราะห์และเป็นส่วนหนึ่งของซูเราะห์เดียวกัน แต่ชาวอะฮ์ลิซซุนนะห์บางคนกล่าวว่า เฉพาะในซูเราะห์ฮัมด์เท่านั้นที่เป็นโองการอิสระและเป็นส่วนหนึ่งของซูเราะห์ และบางคนเชื่อว่า ไม่มีโองการที่เป็นอิสระในซูเราะห์ฮัมด์ เช่นกัน แต่ทว่า จะมีการอ่านในการเริ่มต้นของซูเราะห์ทั้งหมด (ยกเว้น ซูเราะห์ อัตเตาบะห์) เพื่อเป็นสิริมงคล

ตามรายงานจากนักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่า โองการนี้พร้อมกับโองการอื่น ๆ ของซูเราะห์ฮััมด์ ได้รับการแปลเป็นภาษาเปอร์เซีย เป็นครั้งแรกโดยซัลมาน ฟาร์ซี บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม มีการแปลที่แตกต่างกันในภาษาเปอร์เซีย กล่าวคือ ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ เป็นหนึ่งในการแปลที่พบเห็นบ่อยที่สุด

ความสำคัญของบิซมิลละห์ในวัฒนธรรมอิสลาม
มุฮัมมัด ญะวาด มุฆนียะห์ เขียนไว้ในหนังสือตัฟซีร อัลกาชิฟ ว่า บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม หลังจากการปฏิญาณตนทั้งสอง ถือเป็นคำขวัญของชาวมุสลิม และพวกเขาเริ่มต้นคำพูดและการกระทำของพวกเขาด้วยการกล่าวคำว่าบิซมิลละห์ [1 ] ตามคำกล่าวของ มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี คำนี้ถือเป็นคำขวัญที่มีความสำคัญมากที่สุดของศาสนาอิสลาม และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการลืม ถือเป็นการดีสำหรับชาวมุสลิมที่จะเขียนคำนี้ลงในแผ่นป้ายที่สวยงามและมีความละเอียดอ่อนแล้ว เอาไปติดไว้บนฝาผนังบ้านของพวกเขา และอ่านด้วยเสียงดัง ๆ เมื่อเริ่มต้นในการทำงานของพวกเขา[2]

กล่าวกันว่า การกระทำหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่ชาวมุสลิมในอิหร่าน คือ สำหรับความเป็นสิริมงคล ด้วยการกล่าวพระนามของอัลลอฮ์ และเพื่อปกป้องผู้คนในบ้านให้พ้นจากภัยพิบัติ คำนี้จึงถูกเขียนลงบนหินหรือกระเบื้องและนำไปติดตั้งไว้หน้าบ้าน [3] เนื่องจากมีการใช้คำว่า บิซมิลละห์ ในช่วงเริ่มต้นของการทำงาน ในภาษาเปอร์เซียและวัฒนธรรมสมัยนิยม ใช้แทนคำกริยาต่างๆ เช่น การรับเชิญ การรีบเร่ง และ การเริ่มต้น [4] นอกจากนี้ คำว่า บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม ยังได้ถูกนำมาเขียนในการเริ่มต้นของวิทยานิพนธ์ หนังสือ หรือด้วยการใช้คำแปล (ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ) หรือมีการให้ความหมายที่คล้ายคลึงกันอีกด้วย[5]

กล่าวกันได้ว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ใช้คำว่า บิซมิกัลลอฮุมมะ (ด้วยพระนามแห่งพระองค์ โอ้พระผู้เป็นเจ้า) ในการเริ่มต้นของจดหมายและประโยคที่คล้ายคลึงกัน [6] จนกระทั่งมีอายะฮ์ประทานลงมาว่า และเขากล่าวว่า

وَ قَالَ ارْكَبُوا فِيهَا بِسْمِ اللَّهِ مَجْرَاهَا وَ مُرْسَاهَا
(พวกท่านจงลงในเรือด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ทั้งในยามแล่นของมันและในยามจอดนิ่งของมัน) [7] เขาจึงใช้คำว่า บิซมิลละห์ และหลังจากการประทานของอายะห์ที่ 110 ของซูเราะห์ อัลอิสรออ์ เขาก็กล่าวว่า บิซมิลลาห์ อัรเราะห์มาน แต่สุดท้าย หลังจากการประทานของอายะห์

إِنَّهُ مِنْ سُلَيْمَانَ وَإِنَّهُ بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَٰنِ الرَّحِيمِ 
(แท้จริง มันมาจากสุลัยมาน และแท้จริงมันคือ ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ) [8] ศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) ได้ใช้คำว่า บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม อย่างสมบูรณ์ [9] บางคนมีความเห็นว่า บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม เป็นโองการแรกที่ถูกประทานลงมาแก่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) พร้อมกับโองการต่างๆของซูเราะห์อัล-อะลัก [10]

นามของ บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม ด้วยชื่อ บัซมะละห์ [11] และตัซมียะห์ [12]

ความประเสริฐ
อิมามอะลี(อ) : ในการเริ่มต้นของการงานเล็กหรือการงานใหญ่ทุกอย่าง จงกล่าวว่า: บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม

เชคซอดูก, กิตาบ อัต-เตาฮีด , หน้า 232

มีริวายะฮ์ที่กล่าวถึงความประเสริฐของบัซมะละห์ ในแหล่งที่มาตัฟซีรและริวายะฮ์ของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ กุรฏุบี เขียนในหนังสือตัฟซีรของเขา โดยรายงานจากอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า บัซมะละห์ เป็นยารักษาทุกโรคและเป็นผู้ช่วยยารักษาโรคทุกชนิด [13]บนพื้นฐานของริวายะฮ์ในหนังสือตัฟซีร อัยยาชี โดยรายงานจากอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่าโองการนี้ เป็นโองการที่มีเกียรติมากที่สุดและเป็นโองการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอัลกุรอาน(14) นอกจากนี้ บางริวายะฮ์ รายงานว่า การเขียนที่สวยงามสำหรับการให้เกียรติต่อพระเจ้า เป็นเหตุทำให้เกิดการให้อภัยโทษ[15]และการอ่านโองการนี้ เป็นการปลดปล่อยและความรอดพ้นจากไฟนรก(16)มีริวายะฮ์หนึ่ง รายงานว่า ความลี้ลับของคัมภีร์จากฟากฟ้าทั้งหมดถูกรวบรวมไว้ในอัลกุรอาน และทุกสิ่งที่อยู่ในอัลกุรอานจะถูกรวบรวมไว้ในซูเราะห์อัลฟาติฮะห์ และทุกสิ่งที่อยู่ในซูเราะห์อัลฟาติฮะห์ ถูกรวบรวมในบิซมิลละห์[17]

การเริ่มต้นของการทำงานด้วยพระนามของพระเจ้า
ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ): ทุกการงานที่มีคุณค่าไม่ได้กล่าวถึงพระนามของอัลลอฮ์ ดังนั้น มันจะหางด้วน(ถือว่า ไม่สมบูรณ์)

อัลลามะห์ มัจญ์ลิซี, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 76, หน้า 305

นักอรรถาธิบายอัลกุรอาน กล่าวว่า บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม ถูกกล่าวไว้ในการเริ่มต้นของการงาน เพื่อให้พระนามและการรำลึกถึงพระองค์อยู่ร่วมด้วย (18) ซัยยิด มุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ เขียนในหนังสือตัฟซีร อัลมีซาน ว่า พระเจ้าทรงเริ่มอัลกุรอานด้วยพระนามของพระองค์ ซึ่งเป็นพระนามที่มีเกียรติที่สุด เพื่อให้คำตรัสของพระองค์มีสัญญาณและการรำลึกถึงพระองค์ นอกจากนี้ ด้วยการกระทำนี้ พระองค์ยังทรงสอนปวงบ่าวของพระองค์ให้เริ่มการกระทำและคำพูดด้วยพระนามของพระองค์ เพื่อที่พฤติกรรมและคำพูดของพวกเขา จะเป็นถ้อยคำของพระเจ้าและมีสัญลักษณ์ของพระองค์อยู่ในนั้น[19]

ความหมายของบิซมิลละห์
นักอรรถาธิบายอัลกุรอานบางคน มีความเห็นว่า ตัวอักษร บาอ์ ใน บิซม์ ให้ความหมายถึง การเริ่มต้น หมายความว่า เมื่อมีผู้ใดพูดคำว่า บิซมิลละห์ ความหมายของเขาคือ เขาได้เริ่มต้นการทำงานด้วยพระนามของพระเจ้า[20] อีกกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า ไม่มีความหมายพิเศษของอักษร บาอ์ แต่อย่างใด แน่นอนว่า การกล่าวคำว่า บิซมิลลาะห์มีแรงจูงใจในการรำลึกพระนามของพระเจ้าและความเป็นสิริมงคลด้วยพระนามของพระองค์ ตั้งแต่การเริ่มต้นคำพูดและการกระทำเพียงเท่านั้น[21]

นักอรรถาธิบายอัลกุรอานอีกกลุ่มหนึ่ง ถือว่า ตัวอักษร บาอ์ หมายถึง ความช่วยเหลือ (22)ในกรณีนี้ บิซมิลละห์ จึงมีความหมายว่า ข้าพเจ้าขอความช่วนเหลือด้วยพระนามของพระองค์ [23]นักอรรถาธิบายอัลกุรอานชาวชีอะฮ์บางคน[24] ยอมรับความหมายนี้โดยยกหลักฐานจากริวายะฮ์ของบรรดาอิมาม (อ.) [25 ]

นักอรรถาธิบายอื่นๆ บางคน กล่าวว่า เนื่องจากไม่มีการกล่าวซ้ำในอัลกุรอาน บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม ในแต่ละซูเราะห์ จึงมีความหมายที่เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของซูเราะห์นั้น(26)ในหนังสือตัฟซีร อัยยาชี มีริวายะฮ์จากอิมามศอดิก (อ.)กล่าวในการอรรถาธิบายโองการ บิซมิลละห์ โดยให้ความหมายว่า บาอ์ ใน บิซม์ คือ บะฮาอุลลอฮ์ (ความสว่างของพระเจ้า)ซีน คือ ซะนาอุลลอฮ์ (ความสูงส่งของพระเจ้า) และมีม คือ มัจญ์ดุลลอฮ์ (ความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า [27]

หลักศาสนบัญญัติเกี่ยวกับบัซมะละห์
บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามได้อธิบายความสัมพันธ์ของบัซมะละห์ในบทต่างๆ เช่น ความสะอาด นมาซ การแต่งงาน การล่าสัตว์และการเชือด การกินและการ ซึ่งบางส่วนมีดังนี้ :

การสัมผัสบัซมะละห์ : ตามความเห็นที่เป็นที่รู้จักกันดีของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ถือว่า การสัมผัสบัซมะละห์ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยปราศวุฎูอ์ เป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) เนื่องจาก เป็นโองการหนึ่งของอัลกุรอาน [28] และถือเป็นการใช้พระนามและคุณลักษณะของพระเจ้าในนั้น [29] นอกจากนี้ มีการกล่าวด้วยว่า เป็นสิ่งต้องห้าม สำหรับบุคคลที่มีญุนุบ (หลั่งอสุจิออกมา) ที่จะสัมผัสบัซมะละห์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร[30]

บิซมะละห์ ในการอ่านนมาซ : ตามฉันทามติของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ บัซมะละห์เป็นส่วนหนึ่งของซูเราะห์ทั้งหมด ยกเว้น ซูเราะห์ อัตเตาบะห์ ดังนั้น การอ่านมันจึง เป็นวาญิบในซูเราะฮ์ต่างๆของนมาซ [31]

การล่าสัตว์และการเชือดตามหลักศาสนบัญญัติ : ตามคำฟัตวาของบรรดานักนิติศาสตร์ การกล่าวว่า บิซมิลละห์ เป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำหรับการเชือดตามหลักศาสนบัญญัติ(32) นอกจากนี้ ในการล่าสัตว์ เมื่อส่งสุนัขล่าสัตว์ไปล่าหรือยิงธนูไปที่มัน จะต้องกล่าวบิซมิละห์ และหากไม่ได้พูดโดยตั้งใจ เนื้อสัตว์ที่ถูกล่า จะไม่ถือว่า เป็นฮาลาล [33]

การกล่าวบิซมิลละห์ในระหว่างการทำวุฎูอ์ [ 34] เมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์[35]และก่อนรับประทานอาหารและดื่ม ถือเป็นมุซตะฮับ (การกระทำที่ชอบ) [36 ]

บัซมะละห์ เป็นโองการที่เป็นอิสระใช่หรือไม่?
ตามคำกล่าวของ รอชีดริฎอ (1282-1354 ฮ.ศ.) นักตัฟซีรชาวเลบานอน ระบุว่า เนื่องจาก บัซมะละห์ เป็นส่วนหนึ่งของโองการที่ 30 ของ ซูเราะห์ อันนัมล์ บรรดามุสลิมทุกคนจึงเห็นพ้องกันว่า นี่เป็นหนึ่งในโองการของอัลกุรอาน [37] แต่ทว่า มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันว่า การเริ่มต้นของซูเราะห์อื่น ๆ ควรถือเป็นโองการที่เป็นอิสระ (38) อาลูซี หนึ่งในนักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ กล่าวถึงทัศนะทั้งสิบประการ [39] ในหนังสือ รูฮุลมะอานีย์ ซึ่งมีบางส่วน ดังนี้ :

อิมามียะฮ์ เศาะฮาบะฮ์และตาบิอีนบางคน ชาฟีอีและผู้ที่ปฏิบัติตามส่วนใหญ่ของเขา และในบรรดากอรีย์ทั้งเจ็ดคน อาศิมและกิซาอี มีความเห็นว่า บัซมะละห์ เป็นโองการที่เป็นอิสระในหมู่ซูเราะห์ทั้งหมด ยกเว้น ซูเราะห์ อัตเตาบะห์ (40) เหตุผลบางส่วนเหล่านี้ไดฉันทามติของเศาะฮาบะห์ คือ บัซมะละห์ถูกรวมอยู่ในช่วงเริ่มต้นของทุกซูเราะห์ ยกเว้น ซูเราะห์ อัตเตาบะฮ์ ในมุศฮัฟฉบับแรก [41]

มีริวายะฮ์จากแหล่งที่มาของอะฮ์ลิซซุนนะห์ และชีอะฮ์ รายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)และบรรดาอิมามชีอะฮ์ ถือว่า บัซมะละห์ เป็นโองการอิสระและเป็นส่วนหนึ่งของทุก ซูเราะฮ์ [42]
นับตั้งแต่ช่วงชีวิตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) บรรดามุสลิมได้วิถีปฏิบัติโดยการอ่านบัซมะละห์ในการเริ่มต้นของซูเราะห์ ทั้งหมด ยกเว้น ซูเราะห์ อัตเตาบะห์ และหาก บัซมะละห์ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน ก็จำเป็นสำหรับศาสดาที่จะต้องชี้แจงเรื่องนี้เพื่อไม่ให้ชาวมุสลิมหลงทาง [43]

มาลิก บิน อะนัซ อะบูฮะนีฟะห์ และผู้ปฏิบัติตามของเขา อะบูอุมัร และ ยะอ์กูบ บิน อิซฮาก ในหมู่กอรีย์แห่งบัศเราะห์ และนักวิชาการคนอื่น ๆ บางคน ถือว่า บัซมะละห์ เป็นโองการอิสระ สำหรับการให้เกียรติและอธิบายถึงการเริ่มต้นของ ซูเราะห์ต่างๆ เช่นเดียวกับช่องว่างระหว่างซูเราะห์เหล่านั้น [44] และไม่ถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของ ซูเราะห์ อื่น ๆ นอกจากสิ่งที่กล่าวไว้ในโองการที่ 30 ของ อันนัมล์ [45]

อะห์มัด บิน ฮัมบัล และฮัมซะห์ หนึ่งในกอรีย์ทั้งเจ็ดและบุคคลอื่น ๆ บางคน เชื่อว่า บัซมะละห์ เป็นโองกการอิสระเฉพาะใน ซูเราะห์ ฮัมด์ และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ซูเราะห์ นี้ [46]

คำแปล บิซมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม เป็นภาษาฟาร์ซี
กล่าวกันได้ว่า บัซมะละห์ ได้รับการแปลเป็นภาษาเปอร์เซีย เป็นครั้งแรกพร้อมกับโองการอื่นๆ ของ ซูเราะห์ ฮัมด์ โดย ซัลมาน ฟารซีย์ ตามคำร้องขอของผู้พูดภาษาเปอร์เซีย (47) เขาแปลโองการนี้ ดังนี้: ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเมตตา (48) คำแปลอื่น ๆ ของโองการนี้ในภาษาเปอร์เซีย มีดังนี้:

เอซฟะรอเยนี นักตัฟซีรอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ในศตวรรษที่ 5 แห่งฮิจเราะห์ศักราช : ข้าพเจ้าของเริ่มต้นด้วยพระนามของพระเจ้า ผู้ทรงความสามารถในสร้างมนุษย์ ประทานปัจจัยยังชีพให้กับพวกเขา ผู้ทรงให้อภัยต่อผู้เชื่อฟังพระองค์ [49]

รอชีดุดดีน อะบุลฟัฎล์ มัยบุดี นักตัฟซีรอัลกุรอานในศตวรรษที่ 6 แห่งฮิจเราะห์ศักราช: “ด้วยพระนามของพระเจ้า ผู้ทรงเป็นเจ้าของโลก ผู้ทรงปิดบังศัตรูด้วยความเมตตา และผู้ทรงประทานมิตรสหายด้วยความเมตตา” [50]

อบุลฟุตูห์ รอซี นักตัฟซีรชีอะฮ์ในศตวรรษที่ 5 แห่งฮิจเราะห์ศักราช : ด้วยพระนามแห่งพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงเมตตาอย่างมาก [51]

มุลลาฮุเซน วาอิซ กาชิฟี นักตัฟซีรชีอะฮ์ในศตวรรษที่ 9 แห่งฮิจเราะห์ศักราช : ด้วพระนามของพระเจ้า ผู้ทรงคู่ควรแก่การสักการะ ผู้ทรงประทานสรรพสิ่งให้ดำรงอยู่และให้ชีวิต ผู้ทรงประทานความอยู่รอดแก่พวกเขา และทำให้พวกเขามีชีวิตอยู่ด้วยพลานุภาพและวิทยปัญญา ปกป้องจากภยันตรายต่างๆ [52]

คำแปลในหนังสือตัฟซีร เฏาะบะรี ซึ่งเป็นหนึ่งในคำแปลอัลกุรอานที่เก่าแก่ที่สุดในภาษาเปอร์เซีย : ด้วยพระนามของพระเจ้า ผู้ทรงเมตตา ปรานี [53]

ในคำแปลอัลกุรอานในปัจจุบัน (หมายถึง ศตวรรษที่ 14 และ 15 แห่งฮิจเราะห์ศักราช) มีการแปลหลายหลายของโองการนี้ ด้วยพระนามของพระเจ้า ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงปราณียิ่งเสมอ เป็นหนึ่งในการแปลที่ใช้บ่อยที่สุดของโองการนี้[54]

ความแตกต่างระหว่างเราะห์มานและเราะฮีมใน บัซมะละห์
เราะห์มานและเราะฮีม เป็นคุณลักษณะสองประการของพระเจ้า ซึ่งตามความเห็นของนักตัฟซีรส่วนใหญ่ [55]มาจากคำว่า เราะห์มะฮ์ (56) ส่วนมากของนักตัฟซีร[57]กล่าวว่า เราะห์มาน เป็นคุณลักษณะพิเศษของพระเจ้า(58) และหมายถึง ความเมตตาโดยทั่วไปที่ รวมถึงปวงบ่าวทั้งหมดของพระองค์ ทั้งผู้ปฏิเสธและผู้ศรัทธา ส่วนคุณลักษณะ เราะฮีม มีความเกี่ยวข้องกับความเมตตาอย่างต่อเนื่องและตลอดไปของพระองค์ ซึ่งเฉพาะกับปวงบ่าว ผู้ศรัทธาเท่านั้น[59]

ในทัศนะของนักตัฟซีรบางคน กล่าวว่า ลักษณะทั่วไปของคุณลักษณะความเมตตาของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์ คือ พระองค์ทรงสร้างพวกเขาและประทานปัจจัยยังชีพให้พวกเขา(60) ลักษณะพิเศษของความเมตตาของพระเจ้าที่มีต่อบรรดาผู้ศรัทธา คือ พระองค์ทรงให้พวกเขาประสบความสำเร็จในชีวิตทางโลกนี้ และในโลกหน้า พระองค์จะทรงประทานสวรรค์แก่พวกเขาและทรงอภัยบาปของพวกเขา[61]

การอรรถาธิบายเชิงรหัสยะ
ในตำราและหนังสือตัฟซีรเชิงรหัสยะ พวกเขาได้ให้ความหมายและการอรรถาธิบายเชิงรหัสยะสำหรับตัวอักษร บัซมะละห์ (62) บางคน กล่าวว่า พระเจ้าทรงสร้างสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ผ่านตัวอักษร บาอ์ของ บิซมิลละห์ (63) อิบนุ อะรอบี เปรียบรูปร่างของ บาอ์ จุดและสระของมันกับโลกทั้งสาม โดยเขาอธิบายว่า รูปร่างของ บาอ์ คือ อาลัมมะละกูต จุดของมัน คือ อาลัมญะบะรูต และสระของมัน คือ อาลัมชะฮาดะห์ (64) อับดุรร็อซซาก กาชานีย์ เขียนในหนังสือตัฟซีรของเขาว่า ตัวอักษร บาอ์ ในบิซมิลละห์ ชี้ถึงสติปัญญาแรกและสิ่งที่ถูกประทานอันแรก [65]

ในทัศนะของมุลลาฮุเซน วาอิซ กาชิฟีย์ ในหนังสือ ญะวาฮิร อัตตัฟซีร ระบุว่า ตัวอักษรอะลิฟ หมายถึง อาตมันอันศักดิ์สิทธิ์ และเนื่องจากเป็นอักษรตัวแรกของตัวอักษรอาหรับ จึงมีความเกี่ยวข้องกับผู้ทรงสัจธรรม ผู้สูงส่ง ซึ่งเป็นอาตมันที่เป็นอันดับแรกของทุกสรรพสิ่ง และเนื่องจากความจริงที่ว่ามันไร้จุด มันจึงมีความเกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่โดยสมบูรณ์ ซึ่งปราศจากข้อจำกัดทั้งหมด จึงมีความเหมาะสม[66]

ในบางตำราและหนังสือตัฟซีรเชิงรหัสยะ เขียนว่า เราะห์มาน หมายถึง ผู้มีพระคุณและผู้ประทานความดำรงอยู่และความสมบูรณ์ให้กับสรรพสิ่งทั้งหลาย บนพื้นฐานของวิทยปัญญาและความสามารถของพวกเขา[67]และ เราะฮีม หมายถึง ผู้ประทานความสมบูรณ์ทางด้านจิตวิญญาณโดยเฉพาะสำหรับมนุษย์[68] การประยุกต์ใช้ในงานศิลปะ

บัซมะละห์ เป็นหนึ่งในโองการที่ศิลปินอักษรวิจิตรให้ความสนใจในงานเขียนของเขาเป็นอย่างมาก และตลอดช่วงประวัติศาสตร์ มีการเขียนผลงานต่างๆ ที่ใช้อักษรวิจิตรประเภทต่างๆ กัน (69) การเขียน บัซมะละห์ ในศิลปะของงานกระเบื้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในศิลปะการตกแต่งและสถาปัตยกรรมของอิหร่าน และผลงานต่างๆ ถูกนำไปติดตั้งไว้ที่หน้าบ้าน มิฮ์รอบของมัสยิด และในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย [70]นอกจากนี้ ผลงานแกะสลักและการประดิษฐ์ตัวอักษรต่างๆ ยังได้รับการสร้างสรรค์โดยศิลปินชาวมุสลิมในด้านการแกะสลักและการประดิษฐ์เป็นตัวอักษร

บัซมะละห์ ในบทกวีและวรรณกรรมเปอร์เซีย บางครั้งรวมอยู่ในบทเดียวกัน[71]และบางครั้งมีการเขียนบทกวีเกี่ยวกับแก่นเรื่องและเนื้อหา และคำสั่งให้เริ่มต้นการงานต่าง ๆ ด้วยพระนามของพระเจ้า[72]

บิซมิลละห์ ในวรรณคดีเปอร์เซีย ในแง่ต่างๆ เช่น ไก่บิซมิล หมายถึง ไก่ไม่มีหัว และ ไก่ครึ่งบิซมิล หมายถึงไก่ครึ่งตัว นอกเหนือจากนี้ บิซมิลเกาะห์ หมายถึง สถานที่ใช้ในการเชือดกุรบาน [73]

ที่มา
https://th.wikishia.net

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม