เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

นมาซญุมุอะฮ์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

นมาซญุมุอะฮ์

 

นมาซญุมุอะฮ์ (นมาซวันศุกร์ ) (ภาษาอาหรับ : صلاة الجمعة อ่านว่า เศาะลาตุลญุมุอะฮ์) เป็นนมาซที่มีสองเราะกะอัต ซึ่งจะกระทำในช่วงตอนเที่ยงของวันศุกร์ แทนนมาซซุฮ์ริ และจะต้องปฏิบัติในรูปแบบของญะมาอะฮ์ การนมาซญุมุอะฮ์ มีผู้เข้าร่วมอย่างน้อยห้าคน ด้วยกัน หนึ่งในนั้นจะต้องเป็นอิมามญุมุอะฮ์ อิมามญุมุอะฮ์จะต้องมีคุฏบะฮ์ (การเทศนาธรรม) สำหรับผู้นมาซ ถึงสองครั้งก่อนการนมาซ ซึ่งรวมถึงการเชิญชวนมาสู่การมีตักวา (ความยำเกรงต่อพระเจ้า) อีกด้วย

นมาซญุมุอะฮ์ มีหลักการปฏิบัติซึ่งถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮ์อัลญุมุอะฮ์ และมีริวายะฮ์ทั้งหลาย รายงานว่า นมาซญุมุอะฮ์ เป็นการประกอบพิธีฮัจญ์สำหรับคนยากจนและเป็นสาเหตุให้มีการอภัยบาปต่างๆและบางริวายะฮ์ ยังรายงานว่า การละทิ้งมัน เป็นสาเหตุของการนิฟาก(การกลับกลอก) และความยากจน นมาซญุมุอะฮ์ จึงถือเป็นวาญิบ(จำเป็น)ในยุคสมัยการปรากฏกายของอิมาม มะอ์ศูม (อ.) แต่ทว่าในยุคแห่งการฆ็อยบะฮ์ (การเร้นกาย) ตามทัศนะส่วนมากของบรรดามัรญิอ์ ตักลีด ถือว่า เป็นวาญิบ ตัคยีรี (จำเป็นที่เลือกปฏิบัติ)

ในประเทศอิหร่าน นมาซญุมุอะฮ์ เริ่มได้รับความนิยมในรัชสมัยการปกครองของกษัตริย์ชาห์ อิสมาอีล ซอฟะวี และมีการจัดขึ้นในอีกหลายเมือง หลังจากนั้น ขณะที่ในช่วงยุคสมัยของสาธารณรัฐอิสลาม นมาซนี้ มีการจัดขึ้นในทุกเมืองของประเทศ

นมาซญุมุอะฮ์ เป็นหนึ่งในการปฏิบัติศาสนกิจทางสังคมที่สำคัญของชาวมุสลิม ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งศาสนาอิสลาม และเป็นที่รู้จักว่า เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของบรรดาชาวมุสลิม เนื่องจากประเด็นทางสังคมและการเมืองของการเทศนาธรรม นมาซญุมุอะฮ์ จึงถูกเป็นที่รู้จักในนาม นมาซทางศาสนาและการเมือง

ความสำคัญและสถานภาพของนมาซญุมุอะฮ์


นมาซญุมุอะฮ์ ถือเป็นการกระทำที่เป็นวาญิบในการปฏิบัติศาสนกิจที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในศาสนาอิสลาม [๑] ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงตอนเที่ยงของวันศุกร์และสามารถกระทำได้ในรูปแบบญะมาอะฮ์ นมาซญุมุอะฮ์ จึงเป็นการรวมตัวประจำสัปดาห์สำหรับนมาซประจำวัน การรวมตัวประจำปีสำหรับนมาซวันอีดกุรบานและวันอีดฟิฏร์ อีกทั้งการรวมตัวในพิธีฮัจญ์ ซึ่งเป็นการรวมตัว ณ บัยตุลลอฮ์ อัลฮะรอม เป็นหนึ่งในการรวมตัวทั้งสี่ประการของอิสลาม [๒]

นมาซญุมุอะฮ์ ถือเป็นหนึ่งในการปฏิบัติศาสนกิจที่ได้รับความนิยมของการปกครองอิสลาม [๓] และถูกเรียกว่า เป็นนมาซทางศาสนาและการเมือง (๔) นมาซญุมุอะฮ์ ถือเป็นนมาซที่ให้ความกระจ่างชัด และความตระหนักรู้ของประชาชนในสังคม และเป็นการให้ความรู้ พร้อมด้วยความศรัทธา [๕] และเป็นสื่อที่มีความกว้างขวางและมีอิทธิพลอย่างมาก [๖ ]แง่มุมต่างๆทางการเมืองของนมาซญุมุอะฮ์ จึงมีความเข้มข้นอย่างมาก ในระหว่างสมัยบะนีอุมัยยะฮ์และบะนีอับบาซียะฮ์ ขณะเดียวกัน แง่มุมต่างๆทางศาสนาของนมาซญุมุอะฮ์ ก็ค่อยๆจางลง และนมาซญุมุอะฮ์ จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองและคำขวัญของระบอบเคาะลีฟะฮ์ต่อไป [๗]

ความสำคัญของนมาซญุมุอะฮ์ ในอัลกุรอานและฮะดีษ


ในอัลกุรอาน มีซูเราะฮ์หนึ่งที่ชื่อว่า ซูเราะฮ์อัลญุมุอะฮ์ โดยเน้นย้ำถึงการนมาซญุมุอะฮ์ เป็นแกนหลัก และบรรดาผู้ศรัทธาที่ได้รับเชิญชวนอย่างชัดเจนต้องละทิ้งกิจกรรมประจำวันของพวกเขาและเข้าร่วมในนมาซนี้ และมีการกล่าวกันว่า ประมาณ 200 ฮะดีษ ที่รายงานเกี่ยวกับนมาซญุมุอะฮ์ ซึ่งมาจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม [๘] ในฮะดีษเหล่านี้ รายงานว่า การมีส่วนร่วมในนมาซญุมุอะฮ์ จะทำให้เกิดการอภัยบาปในอดีตที่ผ่านมา [๙] การลดความยากลำบากในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ [ ๑๐] และรางวัลอันมากมายสำหรับทุกย่างก้าวในนมาซญุมุอะฮ์ [๑๑] และกล่าวว่ากันว่า พระเจ้า จะทรงทำให้การเผาไหม้ร่างกายของเขา เป็นสิ่งต้องห้าม [๑๒] และการไม่ใส่ใจ จะทำให้เกิดความทุกข์ระทมและไม่ได้รับเกียรติจากพระองค์ [๑๓] มีรายงานด้วยว่า ท่านอะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) ได้ปลดปล่อยนักโทษบางคน ด้วยการเข้าร่วมในนมาซญุมุอะฮ์ [๑๔] ฟัยฎ์ กาชานี ผู้รายงานฮะดีษและนักนิติศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 11 ฮ.ศ. ถือว่า นมาซญุมุอะฮ์ เป็นการกระทำที่เป็นวาญิบที่มีความสูงส่งมากที่สุดในอิสลาม (๑๕ )และในฮะดีษอีกบทหนึ่ง รายงานว่า นมาซญุมุอะฮ์ ถือเป็นการประกอบพิธีฮัจญ์สำหรับคนยากจนอีกด้วย (๑๖)

การจัดให้มีการนมาซญุมุอะฮ์ในพื้นที่ต่างๆของอิสลาม

นมาซญุมุอะฮ์ มีการจัดขึ้นในเมืองมะดีนะฮ์ มาโดยตลอด นับตั้งแต่ยุคสมัยของศาสนทูตของพระเจ้า และหลังจากนั้น ก็ได้ถูกจัดขึ้นในศูนย์กลางของเคาะลีฟะฮ์และเมืองอื่นๆ ในยุคสมัยของเคาะลีฟะฮ์ทั้งหลาย [๑๗] บางครั้ง ปัจจัยต่างๆ เช่น การขยายและการพัฒนาของเมืองต่างๆ การมีอยู่ของสำนักคิดที่แตกต่างกันและมัซฮับต่างๆในเมืองหนึ่ง และการพิจารณาทางการเมืองและความปลอดภัยของเหล่าผู้ปกครอง ทำให้มีการนมาซญุมุอะฮ์หลายครั้งในเมืองเดียวกัน (๑๘) ตามรายงานของอิบนุ บะฏูเฏาะฮ์ ในศตวรรษที่ ๗ นมาซญุมุอะฮ์ได้จัดขึ้นในมัสยิดทั้งสิบเอ็ดแห่ง ในกรุงแบกแดด (๑๙) ในช่วงสมัยกษัตริย์ทั้งหลาย เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น นมาซญุมุอะฮ์ จึงมีการจัดขึ้นในมัสญิดและโรงเรียนในท้องถิ่น (๒๐) ด้วยการอ้างอิงว่า การนมาซญุมุอะฮ์ที่ใหญ่ที่สุดของชาวมุสลิม คือ นมาซญุมุอะฮ์ ที่จัดขึ้นในเมืองมักกะฮ์ และก่อนที่ผู้แสวงบุญจะออกเดินทางไปยังดินแดนอะเราะฟัตและมีผู้แสวงบุญจากทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมอยู่ด้วย [๒๑]

ความจำเป็นของนมาซญุมุอะฮ์

ชาวมุสลิมทั้งหมดทุกคน ถือว่า นมาซญุมุอะฮ์ เป็นการกระทำที่เป็นวาญิบ(ข้อบังคับ) บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์และอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ได้อ้างอิงจากโองการที่ ๙ ของซูเราะฮ์อัลญุมุอะฮ์ และฮะดีษจำนวนมากมาย [๒๒] และด้วยหลักฉันทามติในการพิสูจน์ถึงความจำเป็นของนมาซญุมุอะฮ์ และถือว่า ผู้ที่ละทิ้งนมาซนี้ สมควรที่จะได้รับการลงโทษ [๒๓] นมาซญุมุอะฮ์ ไม่ได้เป็นวาญิบสำหรับผู้หญิง นักเดินทาง คนป่วยและคนพิการ ทาส และผู้ที่อยู่ห่างไกลจากสถานที่นมาซญุมุอะฮ์ มากกว่า สองฟัรซัค [๒๔]

จากแหล่งข้อมูลทางนิติศาสตร์ของสำนักคิดต่างๆของอิสลาม มีบทหนึ่ง ภายใต้หัวข้อ นมาซ (กิตาบ อัศเศาะลาฮ์ ) ได้กล่าวถึงประเด็นนมาซญุมุอะฮ์ ด้วยเช่นกัน [๒๕]นอกจากนี้ การเขียนผลงานนิติศาสตร์และริซาละฮ์ที่เป็นอิสระที่เกี่ยวกับนมาซญุมุอะฮ์ เนื่องจากสถานภาพที่สำคัญของการปฏิบัติศาสนกิจนี้ ถือเป็นการกระทำแพร่หลาย นับตั้งแต่ช่วงแรกๆของศตวรรษ (๒๖) ในยุคสมัยซอฟะวิด มีการแพร่หลายของการปฏิบัติศาสนกิจนมาซญุมุอะฮ์ในอิหร่าน ทั้งมีการเขียนริซาละฮ์อย่างจริงจังเพิ่มมากขึ้น (๒๗) ส่วนมากของบรรดานักนิติศาสตร์ที่มีริซาละฮ์เกี่ยวกับนมาซญุมุอะฮ์ ได้เขียนเป็นภาษาอาหรับและภาษาฟาร์ซีย์ ซึ่งบางส่วนมีการปฏิเสธและบางส่วนได้ป้องกันจากริซาละฮ์อื่นอีกด้วย [๒๘]

การห้ามซื้อขายระหว่างการนมาซญุมุอะฮ์

การห้ามซื้อขายระหว่างการนมาซญุมุอะฮ์ ตามที่ปรากฏในอายะฮ์ที่ ๙ ของซูเราะฮ์อัลญุมุอะฮ์และอายะฮ์ที่ ๑๐ ของซูเราะฮ์เดียวกัน หลังจากเสร็จสิ้นนมาซ การซื้อและการขายและการทำงานทุกประเภท (เช่น การเยี่ยมผู้ป่วย การเยี่ยมพี่น้องทางศาสนา) ฯลฯ) ไม่มีขีดจำกัด [๒๙]

อายะตุลลอฮ์ ญะวาดี อามุลี หนึ่งในมัรญิอ์ตักลีดและนักตัฟซีรอัลกุรอาน เชื่อว่าความหมายของวลีที่ว่า วะซะรุลบัยอ์ ในโองการที่ ๙ ของ ซูเราะฮ์อัลญุมุอะฮ์ ไม่เพียงแต่เป็นการซื้อและการขายเท่านั้น แต่ยังหมายถึง สิ่งใดก็ตามที่เป็นอุปสรรคต่อการนมาซญุมุอะฮ์ จะไม่ได้รับการอนุญาต หากผู้ใดได้กระทำเช่นนี้ แสดงว่า เขาได้กระทำบาปแล้ว แม้ว่า การซื้อและการขายของเขานั้นถูกต้องก็ตาม นอกจากนี้ เขายังเชื่อว่า จะไม่มีปัญหาใดๆ หากมีผู้ซื้อและขาย ขณะที่เขาเดินทาง (ความพยายาม)เพื่อไปปฏิบัตินมาซญุมุอะฮ์ เพราะว่า นี่ไม่ใช่เป็นการสร้างอุปสรรคในความพยายามนี้เลย [๓๐]

กฏของนมาซญุมุอะฮ์ ในช่วงสมัยการฆ็อยบะฮ์
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธา เมื่อได้มีเสียงร้องเรียก (อะซาน) เพื่อทำนมาซญุมุอะฮ์ ก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขาย นั่นเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกเจ้า หากพวกเจ้านั้นรู้” (ซูเราะฮ์ อัลญุมุอะฮ์ อายะฮ์ที่ ๙)

การจัดนมาซญุมุอะฮ์ ในระหว่างที่อิมาม มะอ์ศูม (อ.) ไม่ปรากฏกาย ถือเป็นหนึ่งในประเด็นที่มีการถกเถียงในหมู่นักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ซึ่งบางคนถือว่า เป็นสิ่งต้องห้าม(ฮะรอม) และบางคนถือว่า เป็นวาญิบตะอ์ยีนี ขณะที่กลุ่มหนึ่งเชื่อว่า เป็นวาญิบตัคยีรี [๓๑]

นักนิติศาสตร์ชีอะฮ์รุ่นก่อนบางคน เช่น ซัลลาร ดัยละมี [๓๒ ]และอิบนุ อิดรีส ฮิลลี [๓๓] และตามมาด้วย นักนิติศาสตร์ชีอะห์รุ่นหลังอีกหลายคน รวมทั้ง ฟาฎิล ฮินดีได้พิจารณาถึงการมีความชอบธรรมของนมาซญุมุอะฮ์ โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องอยู่ในยุคสมัยการปรากฏกายของอิมาม มะอ์ศูม หรือการมีอยู่ของบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากอิมามให้เป็นผู้นำในนมาซญุมุอะฮ์ (๓๔) ด้วยเหตุนี้เอง การจัดนมาซญุมุอะฮ์ ในยุคสมัยแห่งการฆ็อยบะฮ์ จึงถือเป็นสิ่งต้องห้าม

คำฟัตวาที่เป็นวาญิบตะอ์ยีนี เป็นอีกทัศนะหนึ่งที่เกี่ยวกับนมาซญุมุอะฮ์ ในยุคสมัยแห่งการฆ็อยบะฮ์ [๓๕] ซึ่งตามทัศนะนี้ เมื่อใดก็ตามที่มีเงื่อนไขในนมาซญุมุอะฮ์ ก็จำเป็นที่จะต้องกระทำ และไม่จำเป็นที่จะต้องมีการแต่งตั้งทั่วไปหรือเฉพาะเจาะจงของอิมาม มะอ์ศูม (อ.) แต่อย่างใด (๓๖) แต่ทว่าการได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองที่มีความยุติธรรม (๓๗)หรืออิมามที่มีความยุติธรรม (๓๘) เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ชะฮีดษานีย์ [๓๙]และลูกหลานของเขา เจ้าของหนังสือ มะดาริก ได้ให้คำฟัตวาเช่นนี้ (๔๐) ทัศนะนี้ได้รับความนิยมในยุคสมัยซอฟาวิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาจากบริบททางสังคมและการเมืองที่มีอยู่ในสมัยนั้น [๔๑]

ในอีกด้านหนึ่ง ส่วนมากของบรรดานักนิติศาสตร์ในช่วงยุคสมัยกลางและยุคสมัยหลังของชีอะฮ์ รวมทั้ง มุฮักกิก [ ๔๒] อัลลามะฮ์ ฮิลลี [ ๔๒] อิบนุ ฟะฮัด ฮิลลี [ ๔๔] ชะฮีดเอาวัล [๔๕]และ มุฮักกิก กะเราะกี[๔๖] กล่าวว่า เป็นวาญิบตัคยีรี และความหมายของวาญิบตัคยีรีของนมาซญุมุอะฮ์ คือ การเลือกปฏิบัติระหว่างนมาซญุมุอะฮ์ หรือนมาซซุฮ์ริ ในช่วงเที่ยงของวันศุกร์ [๔๗] ทัศนะวาญิบตัคยีรี ยังได้รับการยอมรับในบรรดานักนิติศาสตร์รุ่นหลัง (ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นไป) [๔๘]

วิธีการปฏิบัตินมาซญุมุอะฮ์


สำหรับการจัดให้มีนมาซญุมุอะฮ์ เริ่มต้นด้วยการอ่านคุฏบะฮ์สองครั้ง และหลังจากนั้นจึงทำนมาซ 2 เราะกะอัต ในรูปแบบญะมาอะฮ์ โดยที่มีเนียตสำหรับการนมาซญุมุอะฮ์ ทั้งสองนี้เราะกะอัต มีกุนูตสองครั้ง เป็นมุสตะฮับ กุนูตครั้งแรก ก่อนรุกูอ์ในเราะกะอัตแรก และอีกครั้งหนึ่ง หลังจากรุกูอ์ในเราะกะอัตที่สอง

เงื่อนไขในการปฏิบัตินมาซญุมุอะฮ์

บรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ส่วนใหญ่ [๔๙] เชื่อว่า สำหรับการปฏิบัตินมาซญุมุอะฮ์ อย่างน้อย จะต้องมีห้าคน เป็นสิ่งที่จำเป็น [๕๐] และบางคนถือว่า จะต้องมีเจ็ดคน สำนักคิดฮะนะฟี ถือว่า จะต้องมีอย่างน้อยสามคน นอกเหนือจากอิมามญุมุอะฮ์ สำนักคิดชาฟิอีและฮัมบะลีถือว่า จะต้องมีอย่างน้อยสี่สิบคน และสำนักคิดมาลิกีได้ถือว่า จะต้องมีอยู่อย่างน้อยสิบสองคนจากชาวเมือง เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น [๕๑] นอกจากนี้ ตามทัศนะของนักนิติศาสตร์ของอิมามียะฮ์ ถือว่า เป็นสิ่งจำเป็นระหว่างสองนมาซญุมุอะฮ์ อย่างน้อยจะต้องมีระยะห่างระหว่างกันหนึ่งฟัรซัค และหากไม่ตรงตามเงื่อนไขนี้ นมาซญุมุอะฮ์ สถานที่หลัง ถือเป็นโมฆะ [๕๒]

สถานที่ในการปฏิบัตินมาซญุมุอะฮ์

นมาซญุมุอะฮ์ มักจะจัดขึ้นในมัสญิดกลางของทุกเมือง ซึ่งบางครั้ง เรียกว่า มัสญิดใหญ่ มัสยิดญะมาอะฮ์ มัสยิดญุมุอะฮ์ และมัสยิดอาดีเนฮ์ (๕๓) มัสญิดเหล่านี้ ถูกเรียกว่า มัสญิดกลาง (มัสญิดญามิอ์) เนื่องจากมีการรวมตัวกันของประชาชน เช่น มีการนมาซญุมุอะฮ์ ในมัสญิดเหล่านี้ (๕๔) ในบางเมือง สถานที่ปฏิบัตินมาซญุมุอะฮ์ เรียกว่า มุศ็อลลา ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการนมาซญุมุอะฮ์ในวันศุกร์ เช่น มุศ็อลลาใหญ่ในกรุงเตหะราน มุศ็อลลากุดส์ในเมืองกุม และมุศ็อลลา ชะฮีดมะซารี ในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน

คุฏบะฮ์ของนมาซญุมุอะฮ์

นมาซญุมุอะฮ์ เริ่มต้นด้วยคุฏบะฮ์สองครั้ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คุฏบะฮ์ทั้งสองแทนสองเราะกะอัตแรกของนมาซซุฮ์ริ [๕๕] ตามทัศนะส่วนมากของบรรดามัรญิอ์ตักลีด ถือว่า คุฏบะฮ์ญุมุอะฮ์ จะต้องกระทำก่อนเวลาเที่ยงตามหลักชัรอีย์ [๕๖] ตามทัศนะที่เป็นที่รู้จักของบรรดานักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ อย่างน้อยในคุฏบะฮ์ จะต้องรวมถึงการสรรเสริญพระเจ้า การอำนวยพรแด่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) การตักเตือนและการสั่งเสียให้มีตักวา และการอ่านซูเราะฮ์ที่เล็กจากอัลกุรอาน (๕๗) บรรดาผู้นมาซ จะต้องละทิ้งการกระทำทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการได้ยินคุฏบะฮ์ เช่น การพูดคุย หรือการนมาซ (๕๘) มุรตะฎอ มุเฏาะฮ์ฮะรี กล่าวว่า อัลกุรอานได้ตีความคุฏบะฮ์ทั้งสองนี้ว่า เป็นการรำลึกถึงอัลลอฮ์ เสมือนการนมาซ แม้ว่า จะเป็นธรรมาสน์และมีการบรรยายธรรมก็ตาม [๕๙] มีฮะดีษจากอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า คุฏบะฮ์ทั้งสองครั้ง ครั้งแรก จะมีการกล่าวถึงการสรรเสริญและความศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า และครั้งที่สอง จะมีการกล่าวถึงความต้องการ คำเตือน การขอพร คำสั่งและคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับความดีและความเสื่อมทรามของสังคมอิสลาม [๖๐]

รูปแบบของนมาซญุมุอะฮ์ และการอ่านกุนูต

หลังจากคุฏบะฮ์ทั้งสองครั้ง จะต้องมีนมาซญุมุอะฮ์ สองเราะกะอัต ถือเป็นมุสตะฮับ ให้อ่านซูเราะฮ์อัลญุมุอะฮ์ ในเราะกะอัตแรก และซูเราะฮ์อัลมุนาฟิกูน ในเราะกะอัตที่สอง หรือ ซูเราะฮ์อัลอะอ์ลา ในเราะกะอัตแรก และ ซูเราะฮ์อัลฆอชิยะฮ์ ในเราะกะอัตที่สอง หลังจากซูเราะฮ์อัลฮัมด์ การอ่านซูเราะฮ์ด้วยเสียงดัง (ญะฮ์ร) ถือเป็นมุสตะฮับด้วยเช่นกัน [๖๑] ตามทัศนะของบรรดานักนิติศาสตร์ ถือว่า เป็นมุสตะฮับที่จะต้องอ่านกุนูตในเราะกะอัตแรกก่อนที่จะรุกูอ์ และในเราะกะอัตที่สองหลังจากรุกูอ์ [๖๒]

อิมามญุมุอะฮ์


ตำแหน่งต่างๆตามหลักชัรอีย์ของอิสลาม ศาสนทูต อิมาม ผู้พิพากษา ผู้ปกครองตามหลักชะรีอะฮ์ อิมามญุมุอะฮ์ อิมามญะมาอะฮ์ วะลียุลฟะกีฮ์ มัรญิอ์ตักลีด อะมีรุลฮัจญ์ ตัวแทนโดยเฉพาะ ตัวแทนโดยทั่วไป

อิมามญุมุอะฮ์ นอกจากจะมีเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับอิมามญะมาอะฮ์แล้ว[63] อิมามญุมุอะฮ์ ยังจะต้องมีเงื่อนไขประการอื่นๆ อีกด้วย เช่น การใช้ประโยชน์จากการพูดจา ความไพเราะ ความกล้าหาญและความชัดเจนในการแสดงออกถึงเนื้อหาและการรู้จักถึงผลประโยชน์ของอิสลามและชาวมุสลิม นอกจากนี้ ยังถือเป็นการดีกว่า ถ้าหากเลือกอิมามญุมุอะฮ์ จากบรรดาผู้รู้และผู้ที่มีเกียรติมากที่สุด [๖๔] มุฮักกิก ฮิลลี นักนิติศาสตร์ชีอะฮ์ ในศตวรรษที่ 7 ฮ.ศ. ถือว่า การมีความสมบูรณ์ทางสติปัญญา พร้อมด้วยความศรัทธาและความยุติธรรม เป็นเงื่อนไขของอิมามญุมุอะฮ์ (๖๕) และเนื่องจากนมาซญุมุอะฮ์ ไม่ได้ปฏิบัติโดยมีผู้หญิงเข้าร่วมด้วย จึงไม่อนุญาตให้ผู้หญิง เป็นผู้นำนมาซญุมุอะฮ์ ไม่ว่าในกรณีใดๆก็ตาม [๖๖]

บรรดาชีอะฮ์และนักนิติศาสตร์ของนิกายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ส่วนใหญ่ ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขในการปรากฏกายหรือได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองแห่งยุคสมัย เพื่อให้นมาซญุมุอะฮ์นั้นมีความถูกต้อง (เช่นเดียวกับการปฏิบัติอิบาดะฮ์อื่นๆ) และพวกเขาอ้างอิงถึงการเป็นอิมามของท่านอะลี (อ.)ในนมาซญุมุอะฮ์ เมื่ออุษมานได้ถูกเหล่าศัตรูปิดล้อม [๖๗] อย่างไรก็ตาม ตลอดหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม อิมามญุมุอะฮ์ ยังถือเป็นตำแหน่งของรัฐบาลมาโดยตลอด [๖๘]

อิมามญุมุอะฮ์ที่ถูกรู้จัก

ในประเทศอิหร่าน หลังจากที่มีการสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามและการแพร่หลายในการปฏิบัติศาสนกิจนมาซญุมุอะฮ์ บุคคลที่มีชื่อเสียงได้ปฏิบัตินมาซญุมุอะฮ์ บุคคลที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ ซัยยิด มะห์มูด ฏอลิกอนี [ ๖๙]และซัยยิดอะลี คาเมเนอี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยอิมามโคมัยนี เป็นอิมามนำนมาซญุมุอะฮ์ ในกรุงเตหะราน [๗๐] อะลี มิชกีนี อัรดะบีลี [๗๑] อับดุลลอฮ์ ญะวาดี อามุลี [๗๒] เป็นนักการศาสนาที่มีชื่อเสียงที่เคยนำนมาซญุมุอะฮ์ในเมืองกุม ขณะที่ในประเทศอิรัก อับดุลมะฮ์ดี กัรบะลาอี และซัยยิดอะห์มัด ศอฟี ทั้งสองเป็นอิมามญุมุอะฮ์ประจำเมืองกัรบะลาอ์ หลังจากการล่มสลายของระบอบพรรคบาธของซัดดาม และพวกเขายังได้รับการพิจารณาให้เป็นตัวแทนของอายะตุลลอฮ์ ซัยยิด อะลี ซีสตานี มัรญิอ์ตักลีดที่อาศัยอยู่ในอิรักอีกด้วย [๗๓]

ในช่วงปีแรกของทศวรรษที่ ๑๓๖๐ สุริยคติอิหร่าน อิมามญุมุอะฮ์หลายคนได้ถูกสังหารในอิหร่าน เนื่องจากเหตุการณ์ก่อการร้าย และพวกเขาจึงเป็นที่รู้จักในนาม ชะฮีด มิห์รอบ [๗๔]ในประเทศอิรัก ซัยยิดมุฮัมมัดบากิร อัศศ็อดร์ อัลฮะกีม เสียชีวิตเป็นชะฮีด จากเหตุการณ์ระเบิดของผู้ก่อการร้ายในปี ๑๓๘๒ หลังจากนมาซญุมุอะฮ์ ณ ฮะร็อมอิมามอะลี (๗๕) ก่อนหน้าเขา ซัยยิดมุฮัมมัด อัศศ็อดร์ (เสียชีวิต: 1377 สุริยคติอิหร่าน) เคยนำนมาซญุมุอะฮ์ประจำเมืองกูฟะฮ์ในประเทศอิรัก ระหว่างการปกครองของซัดดัม ฮุสเซน [๗๖] และเขาเสียชีวิตเป็นชะฮีด จากการโจมตีของผู้ก่อการร้าย [๗๗] ฆุลามฮุเซน ญัมมี ยังเป็นหนึ่งในอิมามญุมุอะฮ์ที่มีชื่อเสียงของอิหร่าน ซึ่งนำนมาซญุมุอะฮ์ ในเมืองอาบาดาน ในช่วงระหว่างสมัยการป้องกันอันศักดิ์สิทธิ์และสงครามอิหร่าน- อิรัก [๗๘]

ประวัติความเป็นมาของการปฏิบัติศาสนกิจนมาซญุมุอะฮ์


การนมาซญุมุอะฮ์ ได้รับการรับรองในนครมักกะฮ์ ก่อนการฮิจญ์เราะฮ์และในปีที่สิบสองแห่งการเป็นศาสดา ในปีนี้ ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ไม่สามารถที่จะดำเนินการปฏิบัติศาสนกิจนมาซญุมุอะฮ์ ในมักกะฮ์ได้ เขาจึงได้ส่งจดหมายถึง มุศอับ บิน อุมัยร์ ให้ดำเนินการปฏิบัติศาสนกิจนมาซญุมุอะฮ์ ในเมืองมะดีนะฮ์ [๗๙] ตามการรายงานอื่นๆ [๘๐] นมาซญุมุอะฮ์ครั้งแรกในเมืองมะดีนะฮ์ ถูกนำโดย อัสอัด บิน ซุรอเราะฮ์

เมื่อครั้งศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เดินทางมาถึงยังเมืองมะดีนะฮ์ การปฏิบัตินมาซญุมุอะฮ์ จึงถูกจัดขึ้นภายใต้การนำของเขา (๘๑) หลังจากเมืองมะดีนะฮ์ สถานที่แรกซึ่งจัดให้มีการ นมาซญุมุอะฮ์ คือ หมู่บ้านอับดุลกัยส์ ในประเทศบาห์เรน [๘๒]

หลังจากยุคสมัยของศาสดา ตามรายงานทางประวัติศาสตร์ การนมาซญุมุอะฮ์ เป็นเรื่องที่แพร่หลายในช่วงยุคสมัยเคาะลีฟะฮ์แรกๆและในรัชสมัยการปกครองของท่านอะลี (อ.) (ปีที่ 35-40 ฮ.ศ.) และอิมามฮะซัน (อ.) (ปีที่ 40 ฮ.ศ.) [๘๓] มีริวายะฮ์บางส่วนของชีอะฮ์ เช่น คุฏบะฮ์ชะอ์บานียะฮ์ของศาสดา ผู้ทรงเกียรติของอิสลาม และบางส่วนจากคุฏบะฮ์ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ เป็นสิ่งที่ย้ำเตือนถึงการนมาซเหล่านี้

ในช่วงยุคสมัยของบะนีอุมัยยะฮ์ (ปีที่ 41-132) และยุคสมัยของบะนีอับบาซียะฮ์ (ปีที่ 132-656) เหล่าเคาะลีฟะฮ์หรือตัวแทนของพวกเขาได้นำนมาซญุมุอะฮ์ [๘๔] เหล่าเคาะลีฟะฮ์ได้แต่งตั้งบรรดาอิมามญุมุอะฮ์ ให้เป็นศูนย์กลางของเคาะลีฟะฮ์ [๘๕] และการแต่งตั้งผู้เทศนาธรรมญุมุอะฮ์ ในเมืองอื่นๆ ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ว่าการท้องถิ่นและประมุขของเมืองนั้นๆ [๘๖] การมีส่วนร่วมของบรรดาอิมามในการนมาซญุมุอะฮ์

จากทัศนะของชีอะฮ์ เหล่าผู้ปกครองที่ฉ้อฉลและบรรดาอิมามญุมุอะฮ์ และอิมามญะมาอะฮ์ ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยพวกเหล่านี้ ถือว่า ไม่ชอบธรรม และไม่สามารถที่จะปฏิบัตินมาซภายใต้การเป็นผู้นำของพวกเขาได้ อย่างไรก็ตาม ตามฮะดีษบางบท บรรดาอิมามของชีอะฮ์ และผู้ปฏิบัติตามของพวกเขา บางครั้งก็เข้าร่วมในการนมาซญุมุอะฮ์ เพื่อเป็นการตะกียะฮ์หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ [๘๗] นอกจากนี้ บางครั้ง ฝ่ายต่อต้านของการปกครอง ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมในการนมาซญุมุอะฮ์ เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้าน และการไม่ปรากฏตัวในการนมาซญุมุอะฮ์ ถือเป็นแบบอย่างที่ไม่พึงประสงค์สำหรับบุคคลต่างๆ [๘๙]

การดำเนินการนมาซญุมุอะฮ์ของชีอะฮ์

กล่าวกันได้ว่า ในยุคแห่งการฆ็อยบะฮ์กุบรอ บรรดานักนิติศาสตร์ ซึ่งไม่มีความสามารถในการนมาซญุมุอะฮ์ และไม่เข้าร่วมในนมาซญุมุอะฮ์ ที่จัดโดยผู้ปกครองที่ฉ้อฉล เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ขณะเดียวกัน ในกรณีต่างๆที่จำกัด เช่น ในยุคสมัยราชวงศ์บูยิดหรือยุคสมัยราชวงศ์ฮัมดานิด มีรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการปฏิบัติศาสนกิจนมาซญุมุอะฮ์จากบรรดาชีอะฮ์ [๙๐]

ในบรรดารายงานที่เก่าแก่ที่สุดที่มีอยู่ เกี่ยวกับการนมาซญุมุอะฮ์ ในสังคมชีอะฮ์ คือ การนมาซญุมุอะฮ์ ในมัสญิดบะรอษา (มัสญิดชีอะฮ์ในกรุงแบกแดด) ในปี ๓๒๙ ฮ.ศ. ภายใต้การนำของอะห์มัด บิน ฟัฎล์ ฮาชิมี [๙๑] และแม้กระทั่งในช่วงฟิตนะฮ์ ปีที่ ๓๔๙ เมื่อการนมาซญุมุอะฮ์ในกรุงแบกแดดต้องถูกยุติลง ก็ไม่มีการหยุดชะงักในการนมาซญุมุอะฮ์ ในบะรอษา [๙๒] แต่ทว่าในปี ๔๒๐ ฮ.ศ. ด้วยการแต่งตั้งนักเทศนาธรรมชาวซุนนีโดยเคาะลีฟะฮ์ ทำให้นมาซต้องถูกยุติไปชั่วขณะหนึ่ง [๙๓] นอกจากนี้ ยังมีการนมาซญุมุอะฮ์ ที่มัสญิดอิบนุ ฏูลูน ในปี ๓๕๙ ฮ.ศ. และมัสญิดอัซฮัร ในปี ๓๖๑ ฮ.ศ. [๙๔] ยังมีหลักฐานยืนยันว่า มีการนมาซญุมุอะฮ์ ในเมืองเหล่านี้ ในศตวรรษแรกของฮิจญ์เราะฮ์ศักราช [๙๕] การนมาซญุมุอะฮ์ ที่มีแพร่หลายในหมู่ชาวชีอะฮ์ เริ่มต้นของการปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิดชีอะฮ์ในอิหร่าน [๙๖]

นมาซญุมุอะฮ์ในอิหร่าน


อับดุลญะลีล กัซวีนี นักเขียนชีอะฮ์ ในศตวรรษที่หกแห่งฮิจญ์เราะฮ์ศักราช รายงานว่า มีการนมาซญุมุอะฮ์ในทุกเมืองของชีอะฮ์ เพื่อเป็นตัวอย่าง เช่น เมืองกุม ออเวห์ กาชาน วะรอมีน และเมืองต่างๆในจังหวัดมาซันดะรอน (๙๗)

รัชสมัยซอฟะวิด
การนมาซญุมุอะฮ์ ค่อยๆ แพร่กระจายไปในสังคมชีอะฮ์ของอิหร่าน ตั้งแต่รัชสมัยของกษัตริย์ชาห์ อิสมาอีล ที่ ๑ ซอฟะวิด (๙๐๕-๙๓๐) เหตุผลก็คือ การที่ระบอบการปกครองออตโตมันได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์บรรดาชาวชีอะฮ์ที่ไม่ปฏิบัติศาสนกิจนมาซญุมุอะฮ์ แต่ในทางกลับกัน ความพยายามของนักวิชาการชีอะฮ์ โดยเฉพาะ มุฮักกิก กะเราะกี ที่ต้องการจะเผยแพร่การนมาซญุมุอะฮ์ในอิหร่าน (๙๘) ขณะที่ประเพณีการดำเนินการปฏิบัตินมาซญุมุอะฮ์ในหมู่ชาวชีอะฮ์ยังไม่เป็นแพร่หลายมากนัก และในระหว่างนั้น มีนักวิชาการที่คัดค้านกับการนมาซญุมุอะฮ์อย่างจริงจัง [๙๙] จึงทำให้นมาซญุมุอะฮ์เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในสังคมชีอะฮ์ของอิหร่านอย่างค่อยเป็นค่อยไป (๑๐๐) แต่ก็มีการโต้แย้งทางวิชาการ เกี่ยวกับกฏของนมาซญุมุอะฮ์ ในยุคสมัยแห่งการฆ็อยบะฮ์ของอิมาม มะอ์ศูม (อ.) ว่า เป็นวาญิบหรือเป็นฮะรอม ถือเป็นหน้าที่ของกษัตริย์สุไลมานที่ ๑ ซอฟาวิด (รัชสมัย: ๑๐๗๗ หรือ ๑๐๗๘-๑๑๐๕) เขาได้จัดการประชุมบรรดานักนิติศาสตร์ร่วมกับคณะรัฐมนตรี เพื่อบรรลุข้อสรุปเดียวเกี่ยวกับนมาซญุมุอะฮ์ [๑๐๑]
กษัตริย์ชาห์ ตะฮ์มาสบ์ ที่ ๑ (รัชสมัย: ๙๓๐-๙๘๔ ฮ.ศ.) ได้แต่งตั้งอิมามญุมุอะฮ์สำหรับแต่ละเมือง ตามคำแนะนำของมุฮักกิก กะเราะกี (๑๐๒)ในสมัยของกษัตริย์ชาห์อับบาสที่ ๑ (รัชสมัย: ๙๙๖-๑๐๓๘) ตำแหน่งอิมามญุมุอะฮ์ เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ [๑๐๓] โดยปกติแล้ว ตำแหน่งชัยคุลอิสลาม ทุกเมือง จะดำรงตำแหน่งนี้ แต่บางครั้ง นักวิชาการที่ไม่ได้เป็นชัยคุลอิสลาม เช่น ฟัยฎ์ กาชานี (เสียชีวิต : ๑๐๙๑) ได้ร้องขอให้ชาห์ มอบตำแหน่งอิมามญุมุอะฮ์ให้เขา [๑๐๔] การนมาซญุมุอะฮ์ครั้งแรก โดยการเป็นอิมามญุมุอะฮ์ของมุฮักกิก กะเราะกี ในยุคสมัย ซอฟะวิด ในมัสญิดญามิอ์ อิสฟะฮาน (๑๐๕) บรรดาอิมามญุมุอะฮ์ที่สำคัญในยุคนี้ คือ เชคบะฮาอีย์ (เสียชีวิต : ๑๐๓๐ หรือ ๑๐๓๑) มีร ดามาด (เสียชีวิต :๑๐๔๑) มุฮัมมัดตะกี มัจญ์ลิซี (เสียชีวิต : ๑๐๗๐ มุฮัมมัดบากิร มัจญ์ลิซี (เสียชีวิต: ๑๑๑๐หรือ ๑๑๑๑ ) มุฮัมมัดบากิร ซับเซวารี (เสียชีวิต: ๑๐๙๐) และ ลุฏฟุลลอฮ์ อิสฟะฮานี (เสียชีวิต: ๑๐๓๒) [๑๐๖] ในยุคสมัยซอฟะวิด มีการประพันธ์หนังสือที่มีคุฏบะฮ์ของนมาซญุมุอะฮ์ และหนังสือ บะซาตีน อัลคุเฏาะบา เขียนโดย มีรซา อับดุลลอฮ์ อะฟันดี(เสียชีวิต: ๑๑๓๐) เป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา [๑๐๗]

รัชสมัยกอญาร

อิมามญุมุอะฮ์ในยุคสมัยกอญาร (๑๒๑๐-๑๓๔๔) เป็นตำแหน่งในรัฐบาล เช่นเดียวกับสมัยเศาะฟะวิด [๑๐๘] จะเห็นได้ว่า เนื่องจากมีชื่อต่างๆส่วนมากของบรรดาอิมามญุมุอะฮ์ในเมืองใหญ่ๆ ในยุคสมัย อัฟชาริด (๑๑๔๘-๑๒๑๐) และรัชสมัยกอญาร ช่วงเวลาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ตำแหน่งอิมามญุมุอะฮ์ในช่วงเวลานี้ เป็นระบอบการถ่ายทอดผ่านกรรมพันธุ์และมีบางตระกูลที่จะต้องรับผิดชอบ [๑๐๙] รวมถึงตระกูลคอตูนอาบาดี ในกรุงเตหะราน ตระกูลมัจญ์ลิซีในเมืองอิสฟะฮาน และมุฮัมมัด มุกีม ยัซดี ในเมืองยัซด์ [๑๑๐]

ยุคสมัยปาห์ลาวี

ในช่วงยุคสมัยปาห์ลาวี (๑๓๐๔-๑๓๕๗ สุริยคติ) บรรดาอิมามญุมุอะฮ์ โดยเฉพาะในเมืองต่างๆ เช่น เตหะราน เนื่องจากอิมามเหล่านี้ มีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการกับระบอบการปกครอง จึงมักไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน และการนมาซญุมุอะฮ์ก็ไม่เจริญรุ่งเรืองมากนัก (๑๑๑) กล่าวกันได้ว่า นักนิติศาสตร์บางคน ได้ปฏิบัติศาสนกิจนมาซญุมุอะฮ์ เนื่องจากคำฟัตวาของตน และมีการยอมรับเพิ่มมากขึ้น (๑๑๒) เช่น ในเมืองกุม โดยการเป็นอิมามของซัยยิดมุฮัมมัดตะกี คอนซารี มุฮัมมัดอะลี อะรอกี และ ซัยยิดอะห์มัด ชุบัยรี ซันญานี ในมัสญิดอิมามฮะซัน อัสกะรี (อ.) [๑๑๓] ซัยยิดมุฮัมมัดตะกี ฆะซันฟะรี ในเมืองคอนซาร ตั้งแต่ประมาณปี ๑๓๑๐ ฮ.ศ. จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี ๑๓๕๐ ฮ.ศ. ฮุเซนอะลี มุนตะซิรี ในเมืองนะญัฟอาบาด ฮัจญ์ ออกอ เราะฮีม อัรบอบ [ ๑๑๔] และ ซัยยิดญะลาลุดดีน ฏอฮิรี ในอิสฟาฮาน [๑๑๕] และซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน เตห์รอนี [ต้องการแหล่งข้อมูลอ้างอิง]

ยุคสมัยสาธารณรัฐอิสลาม

หลังจากชัยชนะการปฏิวัติอิสลาม (๑๓๕๗) การนมาซญุมุอะฮ์ในอิหร่านก็กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ตามที่เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของสภากำหนดนโยบายของอิมามญุมุอะฮ์ กล่าวว่า ในเดือนมุรดาด ๑๔๐๓ มีการนมาซญุมุอะฮ์ประมาณ ๙๐๐ ครั้งในอิหร่าน ในทุกสัปดาห์ การนมาซญุมุอะฮ์ครั้งแรก โดยการเป็นอิมามของซัยยิดมะห์มูด ฏอลิกอนี (เสียชีวิต : ๑๓๕๘ ซึ่งอิมามโคมัยนีได้แต่งตั้งเขาให้ดำรงตำแหน่งนี้ - นมาซนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๕ มุรดาด ๑๓๕๘ ในมหาวิทยาลัยเตหะราน

อิมามญุมุอะฮ์คนที่สองของกรุงเตหะราน คือ อายะตุลลอฮ์ มุนตะซิรี ซึ่งได้เดินทางไปยังเมืองกุม ไม่นานนัก หลังจากที่เขาได้รับการแต่งตั้ง และเขาประกาศลาออกจากอิมามญุมุอะฮ์ประจำกรุงเตหะราน และอายะตุลลอฮ์ คาเมเนอี ก็เข้ามารับตำแหน่งอิมามญุมุอะฮ์แห่งเตหะราน ทั้งนี้ ประชาชนตามเมืองต่างๆก็ขอร้องให้มีการแต่งตั้งอิมามญุมุอะฮ์อีกด้วย ด้วยการแพร่หลายของการนมาซญุมุอะฮ์ในอิหร่าน อิมามโคมัยนี ตามคำแนะนำของอายะตุลลอฮ์ คาเมเนอี ซึ่งเป็นประธานาธิบดีอยู่ในขณะนั้น ได้มอบความรับผิดชอบในการจัดการและติดตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนมาซญุมุอะฮ์ ไปยังศูนย์กลางในเมืองกุม และ ในปี ๑๓๗๑ ตามคำสั่งของอายะตุลลอฮ์ คาเมเนอี ในฐานะผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลาม ได้มีการจัดตั้งสภาขึ้นโดยมีสมาชิก ผู้นำศาสนาทั้ง ๙ คนในนามของสภากำหนดนโยบายของอิมามญุมุอะฮ์ เข้ามารับผิดชอบภารกิจนี้

สารานุกรมที่เกี่ยวกับนมาซญุมุอะฮ์


สารานุกรมเกี่ยวกับนมาซญุมุอะฮ์ ได้นำเสนอประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนมาซญุมุอะฮ์ ด้วยการมีวิสัยทัศน์ของสารานุกรม ผลงานชุดนี้อยู่ภายใต้การดูแลของสภากำหนดนโยบายของอิมามญุมุอะฮ์ และครอบคลุมถึงหัวข้อต่างๆ เช่น แนวคิด กฎเกณฑ์ เหตุการณ์ บุคคลผู้มีอิทธิพลในการนมาซญุมุอะฮ์ สิ่งปลูกสร้างและผลงานที่เกี่ยวข้องกับการนมาซญุมุอะฮ์ (๑๑๙) นอกเหนือจากนี้ หนังสือสารานุกรมบรรดาอิมามแห่งการนมาซญุมุอะฮ์ในประเทศ ผลงานของซัยยิดมุฮัมมัดกาซิม มุดัรริซี และมีรซา มุฮัมมัด กาซิมีนี ได้แนะนำรายชื่อของบรรดาอิมามญุมุอะฮ์ จำนวนหนึ่ง หลังจากการปฏิวัติอิสลาม

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม