เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ชีวประวัติอิมามฮะซัน อัลมุจญ์ตะบาอ์ (อ.) ตอนที่หนึ่ง

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ชีวประวัติอิมามฮะซัน อัลมุจญ์ตะบาอ์  (อ.) ตอนที่หนึ่ง

 

ฮะซัน บิน อะลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) หรือเป็นที่รู้จักกันว่า อิมามฮะซัน อัลมุจญ์ตะบาอ์  (๓ - ๕๐ ฮ.ศ.) เป็นอิมามคนที่สองของชีอะฮ์ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ๑๐ ปี (๔๐ - ๕๐ ฮ.ศ.) และประมาณ ๗ เดือน ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของชาวมุสลิม ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า เขา คือ เคาะลีฟะฮ์คนสุดท้ายในหมู่เคาะลีฟะฮ์ อัรรอชิดูน

ฮะซัน บิน อะลี เป็นบุตรชายคนแรกของอิมามอะลี (อ.)กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) และเป็นหลานชายคนแรกของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ตามรายงานจากประวัติศาสตร์ ระบุว่า ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อล) ได้เลือกนามว่า ฮะซัน ให้กับเขา และมีความรักต่อเขาอย่างมาก เขาร่วมใช้ชีวิตอยู่กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ประมาณ ๗ ปี และเขายังเข้าร่วมในบัยอะฮ์ริฎวานและเหตุการณ์มุบาฮะละฮ์กับชาวคริสต์เมืองนัจญ์รอนอีกด้วย

ความประเสริฐของอิมามฮะซัน (อ.) ตามรายงานจากแหล่งข้อมูลของชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ระบุว่า เขาเป็นหนึ่งในอัศฮาบุลกิซา ซึ่งโองการตัฏฮีรประทานลงมาให้แก่พวกเขา และบรรดาชีอะฮ์ เชื่อว่า พวกเขาเหล่านี้มีความบริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งปวง โองการอิฏอาม โองการมะวัดดะฮ์ และโองการมุบาฮะละฮ์ ได้ประทานให้กับเขา บิดา มารดาและน้องชายของเขา

อิมามฮะซัน (อ.)ได้บริจาคทรัพย์สินทั้งหมดของเขาในแนวทางของอัลลอฮ์ ถึง สองครั้งด้วยกัน และเขาได้ยังบริจาคทรัพย์สินของเขาทั้งสามครั้งให้กับผู้ที่ขัดสน กล่าวได้ว่า เนื่องจากความการุณย์ของเขา เขาจึงได้รับฉายานามว่า กะรีมุอะฮ์ลุลบัยต์ และเขายังเดินเท้าเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ถึง ๒๐ หรือ ๒๕ ครั้งด้วยกัน

ไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของอิมามฮะซัน ในช่วงยุคสมัยการปกครองของคอลีฟะฮ์คนที่หนึ่งและคนที่สอง ตามคำสั่งของเคาะลีฟะฮ์คนที่สอง เขาในฐานะเป็นพยานในสภาหกคน สำหรับการแต่งตั้งคอลีฟะฮ์คนที่สาม

มีรายงานว่า อิมามฮะซัน เคยเข้าร่วมในบางสงครามในช่วงยุคการปกครองของเคาะลีฟะฮ์ที่สาม และในการก่อจลาจลของช่วงท้ายของเคาะลีฟะฮ์ที่สาม เขาเป็นผู้ปกป้องบ้านของเคาะลีฟะฮ์ ตามคำสั่งของอิมามอะลี (อ.)


ในยุคการเป็นเคาะลีฟะฮ์ของอิมามอะลี เขาได้ร่วมเดินทางไปยังเมืองกูฟะฮ์และในสงครามญะมัลและศิฟฟีน เขาเป็นหนึ่งในผู้บัญชากองทัพของสงครามเหล่านี้
ฮะซัน บิน อะลี ในวันที่ ๒๑ รอมฎอน ปี ๔๐ ฮ.ศ. หลังจากการถูกทำชะฮาดะฮ์ของอิมามอะลี ได้ดำรงตำแหน่งอิมามัต และในวันนั้น ได้มีผู้คนมากกว่า สี่หมื่นคนให้คำสัตยาบัน(บัยอะฮ์) กับเขาในฐานะคอลีฟะฮ์ของบรรดามุสลิม แต่มุอาวิยะฮ์ไม่ยอมรับการเป็นคอลีฟะฮ์ของเขา และได้เคลื่อนกองทัพจากเมืองชาม(ซีเรีย) มายังอิรัก
อิมามมุจญ์ตะบาอ์  ได้ส่งกองทัพโดยอุบัยดิลลาฮ์ บิน อับบาส เป็นผู้บัญชาการ ไปยังมุอาวียะฮ์ ส่วนอิมามเองได้บัญชาการอีกกองทัพหนึ่งไปยังเมืองซาบาฏ
มุอาวิยะฮ์ ได้พยายามทำให้มีการสงบศึก ด้วยการกุข่าวลือในหมู่กองทัพของอิมามฮะซัน (อ.)


ในสถานการณ์เช่นนี้ อิมามฮะซัน ถูกลอบสังหารโดยพวกคอวาริจญ์ผู้หนึ่ง และได้รับบาดเจ็บ จึงถูกนำตัวส่งมายังเมืองมะดาอิน และในเวลาเดียวกันนั้น กลุ่มหนึ่งจากบรรดาผู้นำเมืองกูฟะฮ์ได้เขียนจดหมายให้มุอาวียะฮ์ และให้สัญญาว่าจะส่งตัวอิมามฮะซันให้เขาาหรือจะสังหารอิมามฮะซัน มุอาวียะฮ์ได้ส่งจดหมายของชาวเมืองกูฟะฮ์ให้อิมามฮะซัน และเสนอให้มีการสงบศึก

อิมามมุจญ์ตะบาอ์  ยอมรับสนธิสัญญาสงบศึกและมอบตำแหน่งคอลีฟะฮ์ให้มุอาวิยะฮ์ โดยมีเงื่อนไขที่ว่า เขาจะต้องปฏิบัติตามพระคัมภีร์ของพระเจ้าและจารีตของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และจะไม่มีการแต่งตั้งผู้สืบทอดแทนของตนเองอีกด้วย และประชาชนทั้งหมด รวมทั้งบรรดาชีอะฮ์ของอิมามอะลี จะได้รับความปลอดภัย ต่อมา มุอาวิยะฮ์ก็ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้แต่อย่างใด ทั้งนี้ การสงบศึกกับมุอาวียะฮ์ สร้างความไม่พอใจแก่เหล่าสาวกของอิมามฮะซัน จำนวนหนึ่ง และบางคนเรียกมุอาวิยะฮ์ว่า มุซิลลุลมุอ์มินีน (ผู้สร้างความอัปยศอดสูแก่ บรรรดาผู้ศรัทธา)

อิมามฮะซัน (อ.)หลังจากเหตุการณ์สนธิสัญญาสันติภาพในปี ๔๑ ฮ.ศ. เขาก็ได้กลับไปยังเมืองมะดีนะฮ์และพำนักอยู่ที่นั่น จวบจนสิ้นอายุขัย เขาเป็นแหล่งที่มีทางวิชาการในเมืองมะดีนะฮ์ และตามบางรายงาน กล่าวว่า เขามีสถานภาพที่่สูงส่งทางสังคม เมื่อมุอาวิยะฮ์ ตัดสินใจที่จะให้ยะซีด ลูกชายของเขา ขึ้นเป็นรัชทายาทและเรียกร้องให้มีการให้คำสัตยาบัน มุอาวิยะฮ์ จึงได้ให้นางญุอ์ดะฮ์ (ภรรยาของอิมามฮะซัน) หนึ่งแสนดิรฮัม เพื่อลอบวางยาพิษอิมามฮะซัน กล่าวกันว่า ฮะซัน บิน อะลี หลังจากที่อดทนต่อพิษร้ายของยาพิษ เป็นเวลา ๔๐ วัน เขาก็ได้รับชะฮาดัต บางรายงานกล่าวว่า เขาได้สั่งให้นำศพของเขาไปฝังไว้ใกล้หลุมฝังศพของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) แต่ทว่า มัรวาน อิบนุ ฮะกัม และกลุ่มบะนีอุมัยยะฮ์จำนวนหนึ่งได้ขัดขวางการกระทำนี้ จนในที่สุด ศพของเขาถูกนำมาฝังในสุสานบะกีอ์ สุนทรพจน์และงานเขียนทั้งหมดของอิมามมุจญ์ตะบาอ์  (อ.) และรายชื่อของบุคคลทั้ง ๑๓๘ คนที่รายงานฮะดีษจากเขา ได้ถูกเก็บรวบรวมไว้ในหนังสือมุสนัด อัล-อิมาม อัล-มุจญ์ตะบาอ์ (อ.)

การแนะนำพอสังเขป
ฮะซัน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ เป็นบุตรคนแรกของอิมามอะลี (อ.) และท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.)และเป็นหลานชายคนแรกของศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) (๑) และเขาเป็นผู้ที่มีเชื้อสายจากบะนีฮาชิมและเผ่ากุเรช (๒)

นาม ฉายานามและสมญานาม
คำว่า ฮะซัน หมายถึง ความดี ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เป็นผู้เลือกชื่อนี้ให้กับอิมามฮะซัน [๓] มีริวายะฮ์ต่างๆ รายงานว่า การตั้งชื่อนี้กระทำโดยพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า (๔) นาม ฮะซันและฮุเซนเทียบเท่ากับ ชับบัรและชาบีร (หรือชับบีร)(๕) ชื่อของบุตรชายของศาสดาฮารูน [๖] ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในหมู่ชาวอาหรับก่อนอิสลาม (๗)

เขามีฉายานามว่าอะบู มุฮัมมัด และ อะบุลกอซิม [๘] และมีสมญานาม เช่น มุจญ์ตะบาอ์  (ผู้ถูกคัดเลือก), ซัยยิด (นาย) และซะกี (ผู้บริสุทธิ์) (๙) สมญานามที่ร่วมกันกับอิมามฮุเซน คือ ซัยยิด ชะบาบ อะฮ์ลิลญันนะฮ์ และร็อยฮานะตุ นะบียิลลาฮ์ (๑๐) ซับฏ์ (๑๑) ในริวายะฮ์จากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ฮะซันเป็นหนึ่งในเชื้อสายของเขา (๑๒) คำว่า ซับฏ์ ในริวายะฮ์ต่างๆ และบางโองการอัลกุรอาน หมายถึง อิมามและผู้บริสุทธิ์ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากพระผู้เป็นเจ้าและเป็นผู้ที่มีเชื้อสายจากบรรดาศาสดา (๑๓)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม