เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยน์

เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยน์0%

เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยน์ ผู้เขียน:
กลุ่ม: กรณีศึกษา
หน้าต่างๆ: 5

เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยน์

ผู้เขียน: อายะตุลลอฮ์ มุฮ์ซิน ค็อรรอซี
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 5
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 18306
ดาวน์โหลด: 445

รายละเอียด:

เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยน์
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 5 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 18306 / ดาวน์โหลด: 445
ขนาด ขนาด ขนาด
เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยน์

เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยน์

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยนฺ เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยนฺ
ประพันธ์โดย อายะตุลลอฮ์ มุฮ์ซิน ค็อรรอซี



สิ่งที่เหมาะสมกับวิทยปัญญาแห่งพระเจ้า
หลังจากกล่าวสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกรียงไกรแล้วขอสดุดีต่อบรมศาสดา ท่านมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และลูกหลานผู้บริสุทธิ์ วิทยปัญญาของพระเจ้าผู้ทรงสัพพัญญูนั้นคือ การชี้นำมนุษยชาติไปสู่ความดีงามทั้งโลกนี้และโลกหน้า ด้วยการทำให้มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ (อันเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการสร้าง) ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริง คือ การรู้จักพระผู้เป็นเจ้าและการสร้างความใกล้ชิดยังพระองค์

การชี้นำของพระผู้เป็นเจ้า ได้กระทำโดยผ่านการประทานพระราชโองการอัล-กุรอาน แต่งตั้งบรรดาศาสดาและเอาลิยาอฺผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา การชี้นำของพระเจ้าได้มีมาตั้งแต่เริ่มสร้างท่านศาสดาอาดัม (อ.) ผู้เป็นมนุษย์คนแรกตราบจนถึงปัจจุบัน โดยไม่มียุคใดสมัยใด ที่ประชาชาติไม่ปรารถนาการชี้นำของพระองค์สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะว่ามนุษย์มีสติปัญญาอยู่ในขอบเขตที่จำกัด ไม่เพียงพอต่อการรับรู้และสร้างความเข้าใจต่อปัญหาทั้งหมดของโลกและปรโลก

ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงต้องการวะฮีย์และศาสดา เพื่อทำการชี้นำ อัล-กุรอานและศาสดาจึงไม่แยกออกจากกัน เป็นเสมือนฝาแฝดที่ทำหน้าที่ชี้นำมนุษย์ ดังนั้น ศาสดาทุกท่านจึงมีวะฮีย์ ทุกๆวะฮีย์จึงมากับศาสดา ขณะที่การประกาศสาส์นแห่งธรรมและนุบุวัตได้สิ้นสุดไปแล้ว แต่อัล-กุรอานซึ่งเป็นตัวแทนของท่านศาสดายังคงอยู่ เหตุเพราะว่าประชาชนมีความปรารถนาในอัล-กุรอาน พร้อมทั้งผู้ทำหน้าที่อธิบาย ผู้นำการขัดเกลาจิตใจและอบรมสั่งสอนตลอดเวลา(1)

แก่นแท้ของความต้องการประเภทนี้ มิใช่มีเหตุผลทางสติปัญญาเพียงอย่างเดียวที่บ่งบอกว่าสิ่งนี้เป็นความจำเป็น หากแต่ว่าโองการและริวายะฮฺจำนวนมากได้กำชับเอาไว้ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงตรัสด้วยกับความประหลาดใจที่ว่าบรรดาผู้ปฏิเสธได้ทำตัวห่างเหินจากการศึกษาหลักศรัทธาว่า

وَكَيْفَ تَكْفُرُوْنَ وَاَنْتُمْ تُتْلَى عَلَيْكُمْ ءآيَتُ اللَّهِ وَفِيْكُمْ رَسُوْلُهُ وَمَنْ يَعْتَصِمْ بَاللّهِ فَقَدْ هُدِىَ اِلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيْمٍ
“และพวกเจ้าจะปฏิเสธได้อย่างไร ทั้งที่โองการของอัลลอฮฺได้รับการสาธยายให้พวกเจ้าฟัง อีกทั้งในหมู่พวกเจ้าก็มีศาสดาของพระองค์อยู่ และบุคคลใดยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ แน่นอนเขาต้องได้รับการชี้นำสู่แนวทางอันเที่ยงตรง”(2)

คำอธิบาย : การปฏิเสธได้เกิดขึ้นกับพวกเจ้าได้อย่างไร ขณะที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้อ่านและสาธยายโองการต่างๆ ของอัลลอฮฺ (ซบ.) แก่พวกเจ้าแล้ว ท่านเคยอยู่ร่วมสังคมเดียวกันกับเจ้า ท่านได้ทำการแนะนำพวกเจ้าให้ประพฤติคุณงามความดีและละเว้นจากความชั่วทั้ง หลาย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ที่ยึดมั่นในศาสนาของอัลลอฮฺ (ซบ.) ย่อมได้รับทางนำ พวกเจ้าไม่ใคร่ครวญถึงการบ่งชี้ของโองการบ้างหรือ ที่ได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญไว้สองประเด็นกล่าวคือ

-การปฏิเสธและการออกห่างจากสัจธรรม
-อัล-กุรอานและการมีอยู่ของท่านศาสดา

ฉะนั้นผู้ใดที่ออกห่างจากทั้งสองเท่ากับเขาได้หลงทางออกไปจากสัจธรรม ต่างไปจากคนที่ยึดมั่นในอัลลอฮฺ (ซบ.) (หมายถึงมีความศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ยึดมั่นในอัล-กุรอานและปฏิบัติตามคำสอนของท่านศาสดา)แน่นอนบุคคลเหล่านี้คือ พวกที่ได้รับทางนำแล้ว

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ยืนหยัดอยู่บนสัจธรรม ทำการชี้นำแนวทางที่ถูกต้องแก่ประชาชาติ เพื่อให้พวกเขาดำรงอยู่บนทางนำที่ถูกต้องและไม่หลงทางออกไป ซึ่งภารกิจที่มีความสำคัญเช่นนี้ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ย้ำเตือนพวกเขาให้ยึดมั่นต่ออัล-กุรอานและปฏิบัติตามลูกหลานของท่าน เพื่อความเจริญผาสุกทั้งโลกนี้และโลกหน้าจะได้มีความมั่นคงถาวรสืบไป การชี้นำตักเตือนในภารกิจดังกล่าว ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ปฏิบัติหลายครั้งตามสถานที่และการเวลาที่แตกต่างกันและสิ่งนั้นคือการประกาศหะดีษษะเกาะลัยนฺ ซึ่งเป็นหะดีษที่รู้จักกันอย่างดีและมีความเห็นพร้องตรงกันทั้งสุนนีและชีอะฮฺ

จุดประสงค์ของท่านศาสดาจากหะดีษดังกล่าวคือ ท่านปรารถนาให้ประชาชาติได้รับทางนำตลอดไปตราบจนถึงวันกิยามะฮฺแม้ว่าท่านจะอำลาโลกนี้ไปแล้วก็ตาม บรรดาศาสดาทั้งหลายโดยเฉพาะท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งเป็นบรมศาสดาและเป็นศาสดาท่านสุดท้ายที่มีความประเสริฐที่สุด

ท่านคือสื่อและเป็นตัวแทนของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่ทำหน้าที่ปกครองประชาชาติตามหลักชะรีอะฮฺ การปกครองดังกล่าวแม้ว่าศาสดาจะจากไปแล้ว แต่การปกครองยังคงดำรงอยู่โดยมีวะศีย์ผู้เป็นตัวแทนของท่านทำการปกครอง ทำนองเดียวกันเมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้ดับขันธ์ลงอำนาจการปกครองของอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้รำรงสืบต่อไปโดยผู้เป็นตัวแทนของท่านศาสดา ซึ่งอัลลอฮฺทรงเลือกสรรและให้ท่านศาสดาแนะนำพวกเขาแก่ประชาชาติ การปฏิเสธตัวแทนท่านของศาสดาภายหลังจากท่าน เป็นเหตุทำให้เกิดปัญหาสำคัญสองประการที่ไม่อาจมองข้ามได้กล่าวคือ

๑.เป็นการปฏิเสธผู้ปกครองตามหลักชะรีอะฮฺที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเลือกสรร
๒. เป็นการแสดงความพึงพอใจกับผู้ปกครองที่ไม่ได้เป็นมะอฺซูมและอัลลอฮฺไม่ได้เลือกสรร

ทั้งสองประเด็นด้วยกับเหตุผลทางสติปัญญาและชัรอีย์ ถือว่าเป็นโมฆะ(บาฎิล) เพราะผู้ปกครองตามชะรีอะฮฺของอัลลอฮฺนั้นเป็นแก่นแท้ของความเป็นจริง เป็นปรมัตถ์สัจมีไม่อาจปฏิเสธได้ มิใช่ข้อตกลงที่อาจยกเลิกได้ตามความเหมาะสมของใครคนใดคนหนึ่ง และมิได้เป็นตำแหน่งที่มีคนมอบให้กับเขาซึ่งไม่สามารถนำกลับคืนมาได้ ที่มาของผู้ปกครองตามหลักชะรีอะฮฺเป็นผลพวงที่สืบเนื่องมาจากกฎตักวีนี (กฎสภาวะที่อัลลอฮฺทรงกำหนด) ส่วนโองการที่กล่าวว่า “การตัดสินเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ” เป็นการปฏิเสธการปกครองทั้งหลาย ยกเว้นการปกครองของพระองค์ หรือการปกครองที่ได้รับอนุญาตจากพระองค์เท่านั้น อัล-กุรอานกล่าวว่า “บุคคลใดที่ไม่ตัดสินไปตามที่อัลลอฮฺประทานลงมา บุคคลพวกนี้เป็นผู้ปฏิเสธเป็นผู้อธรรมเป็นผู้ละเมิด” (มาอิดะฮฺ: ๔๔,๔๕,๔๗)

หะดีษษะเกาะลัยนฺ
เป็นที่แน่ชัดว่าหะดีษษะเกาะลัยนฺ (ซึ่งมีความเห็นพ้องตรงกันทั้งสุนนีและชีอะฮฺ) ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มิได้ปล่อยให้ประชาชาติอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยปราศจากผู้นำ มิได้ปล่อยให้อิสลามและประชาชาติต้องดำเนินชีวิตไปเองภายหลังจากการดับขันธ์ของท่าน ทว่าท่านได้ประกาศฐานะของอัล-กุรอานและลูกหลานของท่าน ไว้อย่างชัดเจนในหมู่ประชาชาติ ซึ่งการยึดมั่นกับทั้งสองเป็นวาญิบสำหรับประชาชาติทุกคน ส่วนการรักษาฐานะภาพของการยึดมั่นกับทั้งสองจะช่วยให้รอดพ้นจากการหลงทาง อัล-กุรอานและอิตรัต (ทายาท) ได้เป็นหลักประกันการหลงทาง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “แท้จริงการยึดมั่นทั้งสองไม่ทำให้เจ้าหลงทางตลอดไป ทั้งสองจะไม่แยกจากกันจนกว่าจะกลับคืนสู่ฉัน ณ. สระน้ำหลังจากนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “อัล-กุรอานจะอยู่เคียงข้างกับอหฺลุลบัยตฺ และอหฺลุลบัยตฺจะอยู่เคียงข้างกับอัล-กุรอาน ท่านได้เตือนสำทับอีกว่า อัล-กุรอานและลูกหลานของฉันเท่าเทียมกัน ทั้งสองเป็นความสมบูรณ์ของกันและกันในการชี้นำประชาชาติ การยึดมั่นกับสิ่งหนึ่งโดยปราศจากอีกสิ่งเป็นสาเหตุให้หลงทาง

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ยังได้ทำการแต่งตั้งผู้เป็นที่ย้อนกลับของความรู้และการเมืองการปกครองภาย หลังจากท่าน เพื่อรับประกันภารกิจต่างๆที่ท่านได้กระทำเอาไว้ อีกทั้งเป็นการป้องกันมิให้ประชาชาติหลงทาง

นอกจากนี้แล้ว จะเห็นว่าหะดีษษะเกาะลัยนฺเป็นหะดีษที่ครอบคลุมเหนือกาลเวลาหมายถึงไม่มีเวลาเป็นเงื่อนไข ดังนั้น การยึดมั่นกับอัล-กุรอานและอิตรัตตามระบุในหะดีษ จึงเป็นข้อบังคับ (วาญิบ) สำหรับมุสลิมตลอดไป การพิจารณาตรึกตรองอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงจุดประสงค์และเจตนารมณ์ที่แท้จริง ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นประโยชน์กับสังคมมุสลิมอย่างยิ่งเพราะอย่างน้อยสุดความเข้าใจผิดที่เป็นสาเหตุของการแปลกแยกจะถูกลบล้างลงโดยปริยาย

ประเด็นที่จะทำการวิพากษ์เกี่ยวกับหะดีษษะเกาะลัยนฺ

๑. สายสืบและหลักฐาน (สะนัด) ของหะดีษ
๒. การประกาศหะดีษต่อหน้าสาธารณชน
๓. ตัวบทของหะดีษ
๔. ความหมายของหะดีษ

ประเด็นที่ ๑ สายสืบและหลักฐานของหะดีษษะเกาะลัยนฺ
หะดีษษะเกาะลัยนฺเป็นหนึ่งในหะดีษที่มีความเห็นพ้องตรงกันทั้งสุนนีและชีอะฮฺนักวิชาการได้อ้างอิงหะดีษบทนี้ไว้ในหนังสืออ้างอิงสุนันต่างๆ ตัฟสีรฺ และประวัติศาสตร์พร้อมทั้งมีการบันทึกหลักฐานสายรายงานและแหล่งที่มาของหะดีษที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

หนังสือฆอยะตุ้ลมะรอมได้บันทึกหะดีษษะเกาะลัยนฺที่มีสายรายงานจากสุนนีไว้ ทั้งสิ้น ๓๙ หะดีษ และจากสายรายงานฝ่ายชีอะฮฺ ๘๒ หะดีษ(3)

ท่านอัลลามะฮฺ มีรฮามิด ฮุซัยนี เป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ประจำมัซฮับ ท่านได้บันทึกหะดีษบทนี้โดยมีสายสืบเป็นนักวิชาการฝ่ายอหฺลิซซุนนะฮฺถึง ๑๙๐ คนจากศตวรรษที่ ๒ จนถึงปลายศตวรรษที่ ๑๓(4)

ท่านมุหักกิกอับดุลอะซีซ ฏอบาฏอบาอีย์ได้บันทึกหะดีษจากสายรายงานของ ผู้รู้ฝ่ายอหฺลิซซุนนะฮฺถึง ๑๒๑ คนจากศตวรรษที่๒ จนถึงศตวรรษที่ ๑๔ (5)

ฉะนั้น เมื่อรวมรอวีแล้วจะพบว่ามีผู้รู้ฝ่ายอหฺลิซซุนนะฮฺมากถึง ๓๑๑คนเป็นผู้รายงานหะดีษษะเกาะลัยนฺ ท่านอิบนุหะญัรฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือเศาะวาอิกว่า “หะดีษษะเกาะลัยนฺได้รายงานไว้หลายสายสืบด้วยกัน” (6)

หนังสืออ้างอิงต่างๆที่เชื่อถือได้ของอหฺลิซซุนนะฮฺจำนวนมาก ได้บันทึกหะดีษษะเกาะลัยนฺเอาไว้เช่นหนังสือเศาะฮีห์มุสลิม สุนันติรฺมีซี สุนันดารอมี มุสนัดอหฺมัด ฮันมัล ค่อซออิซุ้ลนะซาอีย์ มุสตัดร็อกอัลฮากิม อุสดุ้ลฆอบะฮฺ อัลอักดุ้ลฟะรีด ตัซกิรอตุ้ลคะวาศ ซะคออิรุ้ลอุกบา ตัฟสีรฺษุอฺละบี และหนังสืออื่นๆ อีกมากเป็นที่ประจักษ์ว่าบรรดาเศาะฮาบะฮฺ (สาวก) ที่รายงานหะดีษ-ษะเกาะลัยนฺนั้นมีจำนวนมาก ท่านอิบนุหะญัรฺได้กล่าวไว้ในหนังสือเศาะวาอิก ว่า “สะนัด(สายรายงาน)ของหะดีษบทที่ว่าให้ยึดมั่นกับอัล-กุรอานและอิตรัตนั้นมีจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนสะนัดเหล่านั้นบรรดาเศาะฮาบะฮฺเป็นผู้รายงาน(7)

หนังสืออับกอตุ้ลอันวารฺได้บันทึกไว้ว่าหะดีษษะเกาะลัยนฺมีผู้รายงานเป็นเศาะฮาบะฮฺทั้งหญิงและชายจำนวน ๓๔ คน ทั้งหมดเหล่านั้นได้คัดลอกมาจากหนังสืออหฺลิซซุนนะฮฺ(8)

หนังสืออิหฺกอ-กุ้ลหักและฆอยะตุ้ลมะรอมบันทึกไว้ว่า หะดีษษะเกาะลัยนฺมีเศาะฮาบะฮฺจำนวนมากเป็นผู้รายงานได้ซึ่งตรงนี้จะขอกล่าวนามของเศาะฮาบะฮฺบางท่านจากทั้งหมด ๕๐ คน อาทิเช่น
ท่านอิมามอะลี,
อิมามฮะซัน,
ซัลมานฟารซี,
อบูซัรฺ ฆิฟารี,
อินุอับบาส,
อบูสะอีดคุดรีย์,
ญาบีรฺอับดุลลอฮฺอันศอรีย์,
อบูฮัยษัม อิบนิตัยฮาน,
อบูรอฟิอฺ คนรับใช้ของรอซูลุลลอฮฺ,
หุซัยฟะฮฺ บินยะมาน,
หุซัยฟะฮฺ บินวะลีด ฆิฟารีย์,
หุซัยบะฮฺ บินษาบิต ซุชชะฮาดะตัยนฺ,
ซัยดฺ บิน ษาบิต,
อบูหุรอยเราะฮฺ,
อับดุลลอฮฺ บิน อันฎ๊อบ,
ท่านหญิงฟาฎิมะฮฺ อัซซะฮฺรอ,
ท่านหญิงอุมมุสะลามะฮฺ,
ท่านอุมมุฮาดี,
ญุเบรฺ บิน มุฏอิม,
บุรออฺ บิน อาซิบ,
อะนัสบินมาลิก,
ฏ็อลฮะฮฺ บิน อับดุลลอฮฺ ตัยมี,
อับดุรฺเราะฮฺมาน บินอาวฟ์,
สะอฺด์ บินสะอัด บินอันศอรีย์,
อุดัยย์ บินฮาตัม,
อุกบะฮฺ บินอามิรฺ,
อบูอัยยูบ อันศอรีย์,
อบูชุร็อยห์ คอซาอีย์,
อบูกุดามะฮฺอันศอรีย์,
อบูลัยลา อันศอรีย์,
เฏาะมีเราะฮฺ อัสละมี,
อามิร บินลัยลา,
ซัยด์ บินอัรฺกอม,
อิบนุ อบี ดุนยา,
ฮัมซะฮฺอัสละมี,
อับดุ บินหะมีด,
มุฮัมมัด บินอับดุรเราะหฺมาน บินฟุลาด,
อบูฏุฟัยล์ อามิร บินวาษิละฮ์,
อัมมาร บินมุรฺเราะฮฺ,
บุร็อยเราะฮฺ หะบะชีย์ บินญุนาดะฮฺ,
อุมัร บินค็อฏฏ็อบ,
มาลิก บินหุวัยริษ,
หะบีบบิน บัดลีล,
เกส บินษาบิต,
ซัยด์ บินชะรอฮีล อันศอรีย์,
อาอิชะฮฺ บินสะอฺด,
อุฟัยฟ์บินอามิรฺ,
อัลดุลลอฮฺ บินอุมัรฺ,
อุบัยย์ บินกะอฺบ์,
อัมมารฺ บินยาซิร

ดังนั้น จะเห็นว่าหะดีษษะเกาะลัยนฺเป็นหะดีษที่มีผู้รายงานทั้งสุนนีและชีอะฮฺจำนวน มากและมีการบันทึกไว้ในตำราอ้างอิงต่างๆ อีกทั้งยังเป็นหะดีษที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้นำเสนอในวาระต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขณะกล่าวคุฎบะฮฺที่เฆาะดีรฺคุม ดังนั้น สะนัดของหะดีษเฆาะดีรฺก็คือ สะนัดของหะดีษษะเกาะลัยนฺนั้นเองขณะที่หะดีษเฆาะดีรฺมีเศาะฮาบะฮฺเกินกว่า ๑๐๐ คนเป็นผู้รายงาน

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงหะดีษษะเกาะลัยนฺท่ามกลางมวลชนมากมาย ซึ่งในนั้นมีเศาะฮาบะฮฺอยู่ด้วยและบางคนได้สาระภาพออกมาว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นผู้กล่าวหะดีษดังกล่าว(9) ท่านอิมามอะลี (อ.)กล่าวว่า“โอ้ประชาชนเอ๋ย อัลลอฮฺ (ซบ.)เป็นผู้รู้ดีในหมู่ของพวกท่าน พวกท่านจำได้ไหมว่า... แท้จริงแล้วท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวคุฎบะฮฺขึ้นหลังจากนั้นท่านได้เงียบหายไป และได้กล่าวขึ้นว่าโอ้พวกท่านทั้งหลาย แท้จริงฉันได้ฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่านซึ่งพวก ท่านจะไม่หลงทางตลอดไป ถ้ายึดมั่นกับทั้งสอง อันได้แก่ อัล-กุรอานและอิตรัต (ทายาทของฉัน) ญิบรออีล ได้กล่าวกับฉันว่าทั้งสองจะไม่มีวันแยกออกจากกันจนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ ฉัน ณ. สระน้ำ”

ประชาชนที่อยู่รายรอบท่านอิมามอะลี (อ.) ในขณะนั้นได้พูดขึ้นว่า “โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงพวกเราเคยได้ยินคำพูดเหล่านี้จากท่านศาสดา (ศ็อลฯ)” ขณะนั้นได้มีคน ๑๒ คนยืนขึ้นและพูดว่า “พวกเราขอยืนยันว่า แท้จริงท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวคำพูดนี้ในวันที่ประชาชนได้รายล้อมท่านอยู่” และท่านอุมัร บิน ค็อฎฎ็อบ ได้ลุกขึ้นด้วยความโมโหและพูดว่า “ยารอซูลัลลอฮฺ อหฺลุลบัยตฺของท่านทั้งหมดหรือเปล่า?”

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ตอบว่า “ไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งหัวหน้าของพวกเขา คือ อะลี ลูกพี่ลูกน้องของฉัน เป็นตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของฉันในหมู่ของพวกท่าน และเป็นผู้ปกครองปวงผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงหลังจากฉัน อะลีเป็นคนแรก และเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกเขา ซึ่งตัวแทนของฉันคนต่อไปหลังจาก อะลี คือ บุตรของฉัน ขณะนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ชี้ไปที่ท่าน อิมามฮะซัน และตัวแทนของเขาคือบุตรของฉันอีกคน ท่านได้ชี้ไปที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ และตัวแทนของเขาคือ(บุตรของฮุซัยนฺจนถึงอิมามมะฮฺดี) พวกเขาจะไม่แยกออกจากอัล-กุรอานจนกว่าพวกเขาจะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ. สระน้ำ พวกเขาได้เป็นชะฮีด เพื่ออัลลอฮฺ (ซบ.) บนหน้าแผ่นดิน อีกทั้งเป็นฮุจญัตของพระองค์ในหมู่ของประชาชน ใครที่ปฏิบัติตามพวกเขา เท่ากับปฏิบัติตามอัลลอฮฺ ส่วนผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของพวกเขา เท่ากับฝ่าฝืนอัลลอฮฺ

ขณะนั้นได้มีอาหรับเบดูอินจำนวน ๗๐ คน พร้อมกับพวกมุฮาญิรีนได้ยืนขึ้นและพูดว่า “พวกเรายังจำได้ พวกเราไม่เคยลืมและพวกเราขอยืนยันว่า แท้จริงพวกเราได้ยินคำพูดเหล่านี้จากท่านศาสดา ขณะนั้น อบูหุรอยเราะฮฺและอบูดัรฺดา ได้พูดว่า “มุอาวิยะฮฺได้บอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ อะลีได้พูด และมีคนยืนยันอย่านำไปเล่าต่อและอย่าฟังคำพูดของเขา”



เปิดหน้าต่อไป

--------------------------------------------------
เชิงอรรถ
1. การที่ประชาชนมีความปรารถนาต่อการชี้นำของพระผู้เป็นเจ้าตลอดเวลา เป็นเพราะว่ามนุษย์มีความผูกพันกับพระผู้เป็นเจ้า ต้องอิงอาศัยและมีความต้องการ เช่นเดียวกันกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ การเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ของเขาขึ้นอยู่กับชีวาตมัน (ซาต) ที่ต้องอิงอาศัยและสัมพันกับพระผู้เป็นเจ้า การชี้นำเช่นเดียวกันเป็นคุณลักษณะที่ต้องอิงอาศัยพระผู้เป็นเจ้าตลอดเวลา
2. อาลิอิมรอน ๑๐๑
3. ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ ๒๒๑,๒๑๗ พิมพ์ที่เบรุต ดารู้ลกอมุส อัล-หะดีษ
4. นะฟะตุ้ล อัซฮารฺ ฟีคุลาศะติ้ล อะบะกอติ้ล อันวารฺ หน้าที่ ๑๑๙,๒๑๐พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ฮ.ศ. ๑๔๑๔ อะบะกาตุ้ลอันวารฺ เล่มที ๑ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีฮ.ศ ๑๓๙๘ กุม อิหร่าน หน้าที่ ๑๓,๒๕ บรรดารอวีทั้งหมดอยู่ในศตวรรษที่ ๒ จนถึงปลายศตวรรษที่ ๑๓ ซึ่งมีทั้งสิ้น ๑๘๖ คน
5. นะฟะหาตุ้ล อัซฮารฺ หน้าที่ ๘๗,๘๘
6. อัศเศาะวาอิกุ้ล มุหฺรอเกาะฮฺ หน้าที่ ๓๔๒ และ ๑๕๐-๒๒๘ พิมพ์ครั้งที่ ๒ อียิปต์
7. อัศเศาะวาอิกหน้าที่ ๓๔๒ อัศเศาะวาอิกุ้ลมุหฺรอเกาะฮฺ พิมพ์ที่อิยิปต์ ครั้งที่ ๒ ปี ฮ.ศ ที่ ๑๓๘๕ ค. ศ ที่ ๑๙๖๕ หน้าที่ ๒๒๘
8. นะฟะหาตุ้ลอัซฮารฺ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๒๗-๒๓๖
9. ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ ๒๓๑




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยนฺ

.
ประเด็นที่ ๒ การประกาศหะดีษษะเกาะลัยนฺต่อหน้าสาธารณชน
เป็นที่ประจักษ์ว่าหะดีษษะเกาะลัยนฺได้รับการประกาศโดยท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในสถานที่และเวลาที่แตกต่างกัน และเป็นที่ชัดเจนว่าเจตนารมณ์ของท่านศาสดาในการประกาศหะดีษนี้ก็เพื่อให้เป็นที่รับทราบของหมู่ชนโดยทั่วไปและต้องการให้ฮุจญัต (ข้อพิสูจน์)ในหมู่ของพวกเขาปรากฏอย่างชัดเจน

๒.๑ สถานที่แรกที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ประกาศหะดีษฯ คือ ทุ่งอะรอฟะฮฺ ดังที่หนังสือสุนัน ติรฺมิซีย์ได้บันทึกไว้โดยสายรายงานของเขาจากท่านญาบีรฺ บิน อับดุลลอฮฺ กล่าวว่า “ฉันได้เห็นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในช่วงเทศกาลหัจญ์ ณ ทุ่งอะรอฟะฮฺ (ขณะที่ท่านศาสดากำลังขี่อูฐตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูง) ท่านกำลังกล่าวคุฎบะฮฺ (กล่าวเทศนาธรรม) ซึ่งฉันได้ยินว่า “โอ้ประชาชนเอ๋ย แท้จริงฉันขอฝากอะมานะฮฺไว้ในหมู่ของพวกท่าน ถ้าใครยึดมั่นต่ออะมานะฮฺนั้น เขาจะไม่หลงทางตลอดไป และสิ่งนั้นได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน)กับอิตเราะฮ์ของฉัน (ทายาท)ซึ่งพวกเขาเป็นคนฉลาดและมีวิจารณญาณ” (1)

๒.๒ ทุ่งมินา เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ประกาศหะดีษษะเกาะลัยนฺ ดังที่หนังสือ ฆัยบะตุ้ลนุอฺมานี ได้บันทึกไว้โดยสายรายงานของเขาจากท่านหะรีซ บิน อับดุลลอฮฺ จาก อะบี อัลดิลลาฮฺ ญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด จากบิดาของพวกท่านจนถึงท่านอะลี (อ.) ซึ่งได้กล่าวว่า “ในมัสญิด คัยฟ์ ขณะที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กำลังกล่าวคุฎบะฮฺอยู่นั้น” ท่านได้กล่าวว่า “แท้จริง (ณ โลกแห่งอาคิรัต)ซึ่งฉันได้เคยเห็นมาแล้วก่อนพวกท่านทั้งหลาย และ ณ สถานที่นั้นพวกท่านได้เข้ามาหาฉันข้างบ่อน้ำ ซึ่งความกว้างของมันเท่ากับระยะห่างระหว่างบุศรอกับ ซันอาอฺ(เหนือสุดจนถึงใต้สุดคาบสมุทรอรับ) มีแก้วน้ำเท่ากับจำนวนดวงดาวบนท้องฟ้า

พวกท่านพึงสังวรถึงสิ่งหนักทั้งสองที่มีค่ายิ่งที่ฉันได้ฝากไว้ในหมู่ของพวกท่านให้ดี ซึ่งสิ่งหนึ่งที่มีความยิ่งใหญ่กว่าอันได้แก่ อัล-กุรอานและอีกสิ่งหนึ่งคือ คืออิตเราะฮ์ทายาทแห่งครอบครัวของฉัน ทั้งสองเปรียบเสมือนสายเชือกที่ทอดยาวระหว่างพวกท่านกับอัลลอฮฺ (ซบ.) และใครก็ตามได้ยึดมั่นสิ่งทั้งสอง เขาจะไม่หลงทางตลอดกาล ซึ่งสายเชือกด้านหนึ่งอยู่ในมือของพวกท่าน ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ ณ อัลลอฮฺ” (2)

๒.๓. เฆาะดีรฺคุม เป็นอีกสถานที่หนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวถึงหะดีษษะเกาะลัยนฺดังที่มุสตัดร็อกอัลฮากิมและหนังสือเล่มอื่นๆ ได้เล่าจากท่านซัยดฺ บิน อัรฺกอม ว่า ในเวลานั้น ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เดินทางกลับจากการทำหัจญะตุ้ลวะดาเมื่อเดินทางมาถึงเฆาะดีรฺคุมท่านได้ลงจากพาหนะและได้สั่งให้ประชาชนไปหลบตามร่มเงา เมื่อประชาชนทั้งหมดได้มารวมตัวกันแล้ว ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวขึ้นว่า

“เป็นที่แน่นอนว่าฉันคงต้องอำลาจากโลกนี้เพราะพระองค์ได้ตรัสเชิญชวนและฉันได้ตอบรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ฉะนั้นโปรดตั้งใจฟังคำสั่งเสียของฉันให้ดี)แท้จริงฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่ง ที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่านซึ่งหนึ่งในสองนั้นมีความยิ่งใหญ่กว่าอีก สิ่งหนึ่งและนั้นคือ คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน)กับอิตเราะฮ์ของฉัน พวกท่านจงตรึกตรองเถิดว่าจะช่วยเหลือฉันในภาระทั้งสองได้อย่างไร ซึ่งทั้งสองจะไม่มีวันแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะย้อนกลับคืนสู่ฉันณ สระน้ำ (ในวันกิยามะฮฺ) หลังจากนั้นท่านได้กล่าวอีกว่าแท้งจริงอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงฤทธานุ ภาพยิ่ง ทรงเป็นเมาลาของฉันและฉันก็เป็นเมาลาของผู้ศรัทธาทุกคน ขณะนั้นท่านศาสดาได้จับมือท่านอะลีและกล่าวขึ้นว่า ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลา (ผู้ปกครอง) ของเขา ดังนั้น อะลีคนนี้ก็เป็นเมาลาของเขาด้วย(3)

๒.๔. มะดีนะฮฺ เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ประกาศหะดีษษะเกาะลัยนฺขณะที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กลับจากเดินทาง ท่านอิบนุมะฆอซิลีชาฟิอีย์ได้บันทึกไว้ในมะนากิบของเขา โดยรายงานมาจาก ฮากิม จาก อิบนุอับบาส ว่า “ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กลับจากเดินทาง ขณะที่สีหน้าของท่านได้เปลี่ยนไปและร้องไห้ ท่านได้กล่าวคุฎบะฮฺสั้นๆ หลังจากนั้นได้กล่าวอีกว่า ”โอ้ประชาชนเอ๋ย แท้จริงฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่งในฐานะตัวแทนของฉันไว้ในหมู่ของพวกท่านอันได้แก่ คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) และอิตเราะฮ์ (ลูกหลานของฉัน)(4)

หะดีษทบนี้เป็นหะดีษที่ถูกกล่าวในคุฎบะฮฺสุดท้ายของท่านศาสดา หนังสือ ยะนาบีอุ้ลบะวัดดะฮฺได้บันทึกไว้โดยรายงานมาจากท่านอะลี (อ.) ท่านได้กล่าวว่า “ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวในคุฎบะฮฺสุดท้าย (ก่อนที่จะสิ้นใจ) ว่า “ฉันขอฝากสองคำสั่งเสียสำคัญไว้ในหมู่ของพวกท่าน และถ้าใครยึดมั่นทั้งสองนั้นเขาจะไม่หลงทางตลอดไป อันได้แก่ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) และอิตเราะฮ์ (ลูกหลานของฉัน) อันที่จริงอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาและสัพพัญญูได้สัญญากับฉันว่าทั้งสองจะไม่แยก จากกันเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ ในวันกิยามะฮฺเหมือนกับสองสิ่งนี้ (ท่านศาสดาได้ชูนิ้วหัวแม่มือทั้งสองขึ้นคู่กัน)และฉันจะไม่พูดว่าทั้งสองเหมือนกับสองสิ่งนี้ (ท่านศาสดาได้ชูนิ้วกลางขึ้นคู่กับนิ้วหัวแม่มือ)ฉะนั้นพวกท่านทั้งหลายจงยึดมั่นกับสองสิ่งนี้ แต่จงอย่าล้ำหน้าทั้งสองเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้พวกท่านหลงทางอย่างแน่นอน(5)

๕. สถานที่ที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวหะดีษษะเกาะลัยนฺ คือบ้านของท่านในวันที่ท่านเจ็บหนักใกล้จะวะฝาต หนังสือยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ (อัลลามะฮฺ กันดูซี) ได้พูดว่า อิบนุอุกบะฮฺ ได้รายงานผ่านสายสืบของ อุรวะฮ์ บิน คอริญะฮฺ จากท่านหญิงฟาฎิมะฮฺ (อ.)ท่านหญิงได้กล่าวว่า “วันที่ท่านศาสดาเจ็บหนักใกล้จะวะฝาต(สิ้นใจ) และภายในห้องนั้นเต็มไปด้วยเหล่าบรรดาเศาะฮาบะฮฺ)” ฉันได้ยินบิดาของฉันกล่าวว่า “โอ้ประชาชนที่รักทั้งหลาย ใกล้ถึงเวลาที่ฉันจะต้องจากพวกท่านไปเต็มทีแล้ว ซึ่งก่อนที่จะจากไป ฉันมีเรื่อสำคัญที่จะฝากกับพวกท่านเอาไว้ และเพื่อจะได้เป็นหุจญัต(ข้อพิสูจน์)เหนือพวกท่าน จงตระหนักไว้ให้ดีว่าฉันได้มอบให้คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) และอิตเราะฮ์ลูกหลานของฉันเป็นตัวแทนของฉัน

หลังจากนั้นท่านได้จับมือท่านอะลี และกล่าวว่า “อะลีคนนี้เขาอยู่กับอัล-กุรอาน และอัล-กุรอานก็อยู่กับเขา ทั้งสองจะไม่แยกจากกันอย่างเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำในวันกิยามะฮฺ และฉันจะถามพวกท่านว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไรกับทั้งสองนั้น(6)

อิบนุหะญัรฺ กล่าวว่า “อันที่จริงบางกระแสรายงานกล่าวว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวหะดีษษะเกาะลัยนฺที่ทุ่งอะรอฟะฮฺ” บางกระแสกล่าวว่า “ท่านศาสดาได้กล่าวที่เฆาะดีรคุม บางกระแสกล่าวว่า ที่มะดีนะฮฺขณะที่ท่านศาสดากำลังเจ็บหนักภายในห้องที่เต็มไปด้วยบรรดาสาวก (เศาะฮาบะฮฺ)บางกระแสกล่าวว่า ภายหลังจากที่ท่านได้เดินทางกลับมาจากเมือง ฎออิฟ ขณะที่ท่านยืนอยู่ท่านได้กล่าวคุฎบะฮฺและหะดีษษะเกาะลัยนฺ(7)

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้อธิบายหะดีษษะเกาะลัยนฺ ในสถานที่ต่างๆ จากสายรายงานจำนวนมากมายซึ่งไม่มีความขัดแย้งกัน เพราะถือว่าไม่มีอุปสรรคอันใดในการให้ความสำคัญกับตำแหน่งของอิตเราะฮ์และอัล-กุรอาน (ในฐานะเป็นตัวแทนของท่านศาสดาในการชี้นำประชาชาติหลังจากท่านศาสดา) ซึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวอธิบายในสถานที่และกาลเวลาที่แตกต่างกัน(8)


การกล่าวซ้ำหลายๆครั้งถือว่าเป็นประโยชน์และเป็นสิ่งที่ดีเพราะว่า

๑.เป็นการให้ความสำคัญต่ออัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ลูกหลานของท่านศาสดา

๒.เป็นเหตุผลแก่สังคมเพื่อจะได้ไม่มีข้อกล่าวอ้างอันใดเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ฉันมีเรื่องสำคัญที่จะฝากกับพวกท่านเอาไว้และเพื่อจะได้เป็นหุจญัต(ข้อพิสูจน์)ในหมู่ของพวกท่านตลอดไป”

หะดีษษะเกาะลัยนฺได้ถูกกล่าวในสถานที่และกาลเวลาที่ต่างกันออกไป เช่น ทุ่งอะรอฟะฮฺ มินา เฆาะดีรคุม คุฎบะฮฺสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)(ในช่วงที่ท่านเจ็บหนักและใกล้ที่จะวะฝาต) ซึ่งถือว่าเป็นคำเตือนสำทับที่มีค่าและสำคัญอย่างยิ่งแก่ประชาชน เพราะมันหมายถึงความถูกต้องและการหลงผิด เป็นคำเตือนจากผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่มีสิทธิเหนือปวงผู้ศรัทธาทั้งหลาย และเป็นเหตุผลที่สำคัญต่อสังคม เพื่อป้องกันคำกล่าวอ้างและข้อติฉินนินทา อีกทั้งมีอิทธิพลเหนือมวลมุสลิมทุกคนอย่างสมบูรณ์

ด้วยเหตุนี้การกล่าวหะดีษษะเกาะลัยนฺซ้ำ (โดยท่านศาสดา)จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ ประกอบกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มิใช่ผู้ที่จะกล่าวสิ่งใดตามอารมณ์ปรารถนาของตน ทุกๆ คำพูดของท่านคือวะฮีย์ของพระเจ้า และการที่ท่านกล่าวเรื่องเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้งนั้นย่อมแสดงให้เห็นว่าในวิสัยทัศน์ของท่านและอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง มิเช่นนั้นแล้วถือว่าคำพูดของท่านเป็นเรื่องไร้สาระเพราะพูดแล้วพูดอีก

สิ่งที่สังเกตเห็นได้อีกอย่างก็คือ ทุกครั้งที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวหะดีษษะเกาะลัยนฺ ท่านจะเน้นเวลาและสถานที่เป็นพิเศษอาทิเช่นในวันเฆาะดีรฺคุม ซึ่งเป็นวันที่แดดร้อนจัดและแออัดไปด้วยผู้คน หรือในช่วงปั้นปลายสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านที่กำลังเจ็บหนักและใกล้จะวะฝาต ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเรียกร้องให้บรรดามุสลิมสนใจต่อเหตุการณ์ที่มีความสำคัญและเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องพยายามเอาใจใส่ต่อเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของหะดีษ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

เป็นหน้าที่ของเราที่ต้องพิจารณาตัวเองว่า ณ บัดนี้เราได้เป็นผู้ยึดมั่นอยู่กับอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ลูกหลานของท่านศาสดาแล้วหรือยัง ขณะที่หะดีษได้บรรยายถึงสังคมไว้อย่างชัดเจนว่าควรจะขับเคลื่อนไปอย่างไรและทิศทางใด หะดีษได้กล่าวถึงผู้นำสังคมและมวลมุสลิมอีกทั้งได้นำเสนอแนวทางแห่งการร่วมมือและแสดงความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิม

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย โปรดพิจารณาและตระหนักให้ดีและจงปรับปรุงจิตใจของตนด้วยการฟังในสิ่งที่เป็นสัจธรรมที่เชื่อถือได้ เพราะแนวทางนั้นชัดเจน ด้วยคำกล่าวของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)(ที่กล่าวไว้ต่างกรรมต่างวาระบนเงื่อนไขที่ลำบาก)และยังกำชับด้วยคำแนะนำและคำสั่งเสียสุดท้ายว่า“พวกท่านอย่าขัดแย้งและล้ำหน้าทั้งสอง (อัล-กุรอาน,อิตเราะฮ์)”

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหะดีษษะเกาะลัยนฺการปฏิบัติและการเผยแพร่ในปัจจุบันเป็นวาญิบสำหรับเราสิ่งนี้เป็นมรดกที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ดังที่ท่านอบูซัรฺได้จับประตูกะอฺบะฮฺและหันไปพูดกับประชาชนว่า “ฉันได้ยินท่านศาสดากล่าวว่า ฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นก็คือคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) และอิตเราะฮ์ลูกหลานของฉัน แท้จริงทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะกลับคือสู่ฉัน ณ สระน้ำ ในวันกิยามะฮฺ พวกท่านจงพิจารณาดูเถิดว่าพวกท่านจะช่วยเหลือฉันเกี่ยวกับทั้งสองได้อย่างไร”(9)

การพิสูจน์หะดีษษะเกาะลัยนฺ
เมาลาอะมีรุ้ลมุอฺมินีน (อ.) ได้นำเอาหะดีษษะเกาะลัยนฺมาพิสูจน์ตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมของท่านที่มีอยู่เหนือคนอื่นๆในชูรอ(ที่ประชุม)ร่วมเพื่อกำหนดเคาะลิฟะฮฺ

อิบนุมะฆอซิลีย์ ได้รายงานโดยสายสืบของเขาจาก อามิร บินวาษิละฮฺ และพูดว่า “ในวันประชุม ฉันได้นั่งอยู่ในห้องกับท่านอิมามอะลี (อ.)และได้ยินท่านอะลีกล่าวกับที่ประชุมว่า” “แน่นอนฉันจะพิสูจน์อะไรบางอย่างให้พวกท่านได้เห็น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาวอาหรับหรือว่าไม่ใช่อาหรับที่เป็นคนของพวกท่านต่างไม่มี สิทธิที่จะทำการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเด็ดขาด” หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า “ในนามของพวกท่าน ฉันขอสาบานต่ออัลลฮฺว่า ในหมู่ของพวกท่านมีใครยอมรับอิสลามและความเป็นเอกภาพของอัลลอฮฺ (ซบ.) ก่อนฉันบ้างไหม?” พวกเขาตอบว่า “ไม่มีใครเลยในหมู่ของพวกเราที่ล้ำหน้าท่าน”

ท่านอะลีได้กล่าวอีกว่า “ในหมู่ของพวกท่านฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า แท้จริงท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ได้กล่าวใช่ไหมว่า ฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่าน นั้นคือ อัล-กุรอาน (คัมภีร์ของอัลลอฮฺ) และอิตเราะฮ์ ลูกหลานของฉัน ใครก็ตามตราบที่เขายึดมั่นอยู่กับทั้งสอง เขาจะไม่หลงทางอย่างเด็ดขาด และทั้งสองไม่แยกออกจากกันจนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ ในวันกิยามะฮฺ” พวกเขาพูดว่า “ใช่ท่านศาสดากล่าวเช่นนี้จริง(10)

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้พิสูจน์หะดีษษะเกาะลัยนฺอีกครั้งในมัสญิดนบี ตอนช่วงสมัยเคาะลีฟะฮฺ อุสมาน ต่อหน้าบรรดาสาวกจำนวนมากมายซึ่งพวกเขาทั้งหมดต่างยอมรับและพูดว่า “พวกเราขอยืนยันว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวเช่นนี้จริง" หนังสือ ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ หน้าที่ ๑๑๔-๑๑๖ บาบที่ ๓๘ ได้บันทึกไว้ว่าท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงอิตเราะฮ์ลูกหลานของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ว่า “ไม่ว่าพวกเขาจะไปทางไหนและหันหน้าไปทางทิศใดก็ตาม พวกเขาจะยืนหยัดอยู่กับสัจธรรมเสมอ สัญลักษณ์ของพวกเขาชัดเจนเสมออันเนื่องจากว่าพวกเขาคือประทีปแห่งทางนำ “โอ้บรรดาผู้ที่หลงทางทั้งหลาย พวกท่านจะไปทางไหนกันเล่า? ทำไมพวกท่านยังเดินหลงผิดอยู่อีกในขณะที่ลูกหลานของศาสดา (ศ็อลฯ) อยู่ในหมู่ของพวกท่าน?

พวกเขาคือผู้นำที่ถูกต้องและเป็นธงชัยของศาสนาคำพูดที่สัตย์จริงนั้น พวกเขาได้รักษาไว้ในที่ๆ ดีที่สุด ดังเช่นที่อัล-กุรอานได้ถูกรักษาไว้ในจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์ของพวกเขาดุจ ดั่งผู้กระหายน้ำได้ค้นหาน้ำและมุ่งโจมตีตาน้ำด้วยความกระหาย

โอ้บรรดาผู้ศรัทธาที่รักทั้งหลายจงเรียนรู้แก่นแท้ความจริงของเรื่องนี้ จากท่านศาสดาเถิด ท่านกล่าวว่า “คนใดในหมู่พวกเราได้จากไป แท้จริงพวกเขายังไม่ตาย และไม่มีสิ่งใดจากเราจะเก่าแก่ลง” ดังนั้น สิ่งใดที่ท่านไม่รู้จงอย่ากล่าวหรือแสดงความคิดเห็น เพราะมีความจริงอยู่ในกิจการงานที่พวกท่านปฏิเสธ ถ้าท่านไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธหรือต่อต้านก็จงกล่าวขออภัยเถิด ฉันคนนี้ยังคงเป็นอลีคนเดิม หรืออลีที่อยู่ท่ามกลางพวกท่านคนนี้ไม่ยอมปฏิบัติตามอัล-กุรอาน ? อัลกุรอานซึ่งเป็น(ษิกิ้ลอักบัรฺ)และอิตเราะฮ์ลูกหลานของศาสดา(ษิกิ้ลอัศฆัร) มิได้อยู่ในหมู่ของพวกท่านดอกหรือ ฉันไม่ได้ปักธงชัยแห่งอีมานไว้ท่ามกลางหมู่พวกท่านดอกหรือ ฉันไม่เคยแจ้งให้พวกท่านรู้ดอกหรือว่า พรมแดนของสิ่งหะล้าลและฮะรอมอยู่ตรงไหน

ฉันไม่เคยให้ความยุติธรรมแก่พวกท่านดอกหรือ ฉันไม่เคยแสดงความดีด้วยการกระทำและคำพูดให้พวกท่านเห็นหรือ ฉันไม่เคยประพฤติจริยธรรมอันดีงามของมนุษย์ให้เป็นแบบอย่างหรืออย่างไร พวกท่านได้แต่จินตนาการและคาดเดาเหตุการณ์ ขณะที่สายตาของพวกท่านไม่เคยประจักษ์ต่อสิ่งนั้นพวกท่านพยายามคิดในสิ่งพันญาณวิสัย ซึ่งความคิดของท่านเข้าไปไม่ถึง(๑) (อัล-มุอฺญิมอับฟิฮฺริส อัลฟาซ นะฮฺญุ้ลบะลาเฆาะฮฺ หน้าที่ ๓๗ ส่วนนหนึ่งจากคุฏบะฮฺที่ ๘๗)

ท่านอิมามฮะซัน (อ.)ได้ใช้หะดีษษะเกาะลัยนฺเป็นเครื่องพิสูจน์ความเหมาะสมในตำแหน่งอิมามะฮฺของท่านเช่นกัน ท่านซัยดฺ สุไลมาน กุนดูซีย์ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ คัดลอกมาจาก อัลมะนากิบ ซึ่งรายงานมาจาก ฮิชาม บินฮัสซาน ได้พูดว่า “ภายหลังจากที่ประชาชนได้ให้บัยอัตกับท่านอิมามฮะซัน (อ.) เรียบร้อยแล้ว ท่านอิมาม (อ.) ได้กล่าวว่า “เราคือพลพรรคของพระเจ้าที่ได้รับชัยชนะตลอดเวลา เราคืออหฺลุลบัยตฺที่สะอาดบริสุทธิ์ เราคือหนึ่งในสองสิ่งหนักที่มี่ค่ายิ่งที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตาของฉันได้ฝากไว้ในฐานะของตัวแทนของท่านในหมู่ประชาชาติ เราคือผู้อรรถาธิบายคัมภีร์ของอัลลอฮฺที่อธิบายและให้ความกระจ่างชัดแก่ทุกสิ่ง และไม่มีสิ่งบาฎิลใดสามารถเข้ามาปะปนได้(ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ หน้าที่ ๒๑)

ประเด็นที่ ๓ ตัวบทสายสืบและสะนัดของหะดีษษะเกาะลัยนฺ
๑. ในช่วงเวลาอันใกล้นี้ฉันคงต้องอำลาจากพวกท่านไป ซึ่งฉันได้ตอบรับแล้วแต่ก่อนที่ฉันจะจากไปฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่าง ยิ่งอันได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ซึ่งเปรียบเสมือนสายเชือกที่ทอดตรงจากฟากฟ้าสู่แดนดิน และอิตเราะฮ์ลูกหลานของฉัน อัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตาและสัพพัญญูได้แจ้งให้ฉันทราบว่า แท้จริงแล้วทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำในวันกิยามะฮฺ ดังนั้น พวกท่านจงตรึกตรองเถิดว่าพวกท่านจะช่วยเหลือฉันในภารกิจทั้งสองได้อย่างไร(11)

๒.แน่นอนฉันขอฝากสิ่งสำคัญยิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่าน และใครก็ตามได้ยึดมั่นต่อสิ่งนั้น (ปฏิบัติตาม) ภายหลังจากฉันเขาจะไม่หลงทางตลอดไป และสิ่งสำคัญนั้นคือสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่ง ซึ่งสิ่งหนึ่งนั้นใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่ง

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวเพิ่มประโยคต่อไปนี้ในหัจญะตุ้ลวะดา ณ เฆาะดีรคุม “ดังนั้นพวกท่านจงตรึกตรองเถิดว่า พวกท่านจะช่วยเหลือฉันและปฏิบัติกับทั้งสองอย่างไรแน่นอนทั้งสองจะไม่แยกออก จากกันเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉัน ณ บ่อน้ำในวันกิยามะฮฺ”

หลังจากนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวอีกว่า “อัลลอฮฺพระผู้อภิบาลผู้ทรงเกรียงไกร คือ เมาลา (ผู้ปกครอง) ของฉัน และฉันคือเมาลาและเป็นนายของผู้ศรัทธาทุกคน” หลังจากนั้นท่านได้จับมือท่านอะลี (อ.) และกล่าวว่า “ใครก็ตามที่ฉันเป็นเมาลาของเขา ดังนั้น อะลีคนนี้ก็เป็นเมาลาของเขาด้วยเช่นกัน(12)

๓. ที่เฆาะดีรคุมนั้น ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวเช่นกันว่า “และเกี่ยวกับอหฺลุลบัยตฺของฉันฉันขอเตือนพวกท่านในนามของอัลลอฮฺ (จงเอาใจใส่และผดุงสิทธิ์ของพวกเขาและจงเป็นผู้ปฏิบัติตามเขา) ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวประโยคดังกล่าวซ้ำถึง ๓ ครั้ง(13)

๔. ก่อนที่อัลลอฮฺ (ซบ.)จะทรงรับคืนวิญญาณของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านได้กล่าวเทศนาสุดท้ายเป็นการอำลาโดยกล่าวว่า “แน่นอนฉันขอฝากสิ่งสำคัญสองสิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่าน ใครได้ยึดมั่นกับทั้งสองภายหลังจากฉัน เขาจะไม่หลงทางตลอดไป ประการที่หนึ่งคือคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ประการที่สองอิตเราะฮ์ผู้เป็นลูกหลานของฉัน ดังนั้น อัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเกรียงไกรทรงแจ้งให้ฉันทราบและทรงสัญญากับฉันว่าทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉันณ สระน้ำในวันกิยามะฮฺ และทั้งสองนั้นเหมือนกับสิ่งนี้ (ขณะนั้นท่านชูนิ้วชี้ทั้งสองขึ้นคู่กัน)ซึ่งฉันจะไม่กล่าวว่าทั้งสองนั้น เหมือนกับสิ่งนี้ (โดยชูนิ้วชี้กับนิ้วกลางขึ้นเคียงคู่กัน) ฉะนั้น พวกท่านจงยึดมั่นกับทั้งสอง แต่จงอย่าล้ำหน้าหรือล้าหลังจากทั้งสอง เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ท่านหลงทาง(14)

๕. แน่นอนภายหลังจากฉัน ฉันขอฝากสิ่งสำคัญยิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่าน ใครก็ตามได้ยึดมั่นกับทั้งสอง เขาจะไม่หลงทางตลอดไปอันได้แก่ คัมภีร์แห่งพระเจ้าที่อยู่เบื้องหน้าของพวกท่านทั้งหลาย ซึ่งพวกท่านได้อ่านอยู่เป็นประจำทุกเช้าค่ำ และสิ่งใดที่พวกท่านชอบ เรื่องใดที่พวกท่านปรารถนามีบันทึกอยู่คัมภีร์ จงอย่ารบกวนหรือสร้างความรำคาญใจให้กับคนอื่นจงอย่าอิจฉาริษยากัน จงอย่าเป็นศัตรูต่อกันและกันจงรักใคร่กลมเกลียวและมีความสมานฉันท์ต่อกัน ดุจดังที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้มีบัญชาให้พวกท่านปฏิบัติเช่นนั้น และพวกท่านจงสังวรไว้เถิด ซึ่งฉันขอสั่งเสียและแนะนำพวกท่านเกี่ยวกับอหฺลุลบัยตฺผู้เป็นลูกหลานของฉัน(15)

๖. ดังนั้น พวกท่านจงอย่าล้ำหน้าทั้งสอง (อัล-กุรอานและอิตเราะฮ์)เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ท่านพบกับความพินาศ และจงอย่าสอนสั่งทั้งสองเพราะทั้งสองรู้ดีกว่าพวกท่าน(๑๖)

๗. พวกท่านจงอย่าล้ำหน้าอหฺลุลบัยตฺของฉัน เพราะจะทำให้หลงทาง และพบกับความพินาศเกี่ยวกับความรู้ต่างๆ ในอิสลาม พวกท่านจงอย่าอวดดีว่าพวกท่านไม่ต้องพึ่งพาพวกเขาเพราะความวิบัติจะเข้ามาเยือนพวกท่าน ดังนั้น อุปมาอหฺลุลบัยตฺของฉันในหมู่ของพวกท่านเปรียบเสมือนเรือของนบีนูห์ ใครก็ตามที่ได้ลงเรือ เขาจะได้พบกับความปลอดภัยและถ้าผู้ใดปลีกตัวออกโดยไม่ร่วมทางไปด้วย พวกเขาจะพบกับความพินาศ อุปมาของพวกเขาในหมู่พวกท่านเปรียบเสมือน บาบุ้ลหิฏเฏาะฮฺ (ประตูแห่งการไถ่บาป)ของชาวอิสรออีล ซึ่งใครก็ตามเดินผ่านประตูนั้น พระเจ้าจะทรงอภัยความผิดบาปให้กับเขา

พวกท่านพึงสังวรไว้เถิด “แท้จริงอหฺลุลบัยตฺของฉันคือสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัยสำหรับประชาชาติ ในเวลานั้นเมื่ออหฺลุลบัยตฺของฉันจากไป ฉันจะถามพวกท่านถึงสัญญาที่ได้ให้ไว้ พวกท่านจงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ปกป้องพวกเขาจากการหลงทาง ทรงทำให้พวกเขาสะอาดจากสิ่งโสมม มลทินต่างๆ และความผิดบาปทั้งปวง ทรงเลือกพวกเขาไว้สำหรับชาวประชา และจงรู้ไว้เถิดว่าอัลลอฮฺทรงทำให้ความรักที่มีต่อพวกเขาเป็นวาญิบสำหรับพวกท่าน และทรงมีบัญชาให้พวกท่านปฏิบัติตามพวกเขาด้วยความรัก”(17)

๘.แท้จริงฉันได้แต่งตั้งสองเคาะลิฟะฮฺและสองตัวแทนไว้ในหมู่ของพวกท่าน อันได้แก่ คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นสายเชือกที่เชื่อมตรงระหว่างฟากฟ้าและแดนดิน และอิตเราะฮ์ผู้เป็นลูกหลานของฉัน แน่นอนทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉัน ณ บ่อน้ำในวันกิยามะฮฺ(18)

๙. แน่นอนฉันได้ฝากสองตัวแทนไว้ในหมู่ประชาชาติ หนึ่งนั้นคือคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) และสองคืออหฺลุลบัยตฺของฉัน แท้จริงทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ ในวันกิยามะฮฺ(19)

๑๐. แท้จริงอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลผู้ทรงเมตตาได้แจ้งข่าวให้ฉันทราบว่า ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ และสิ่งนี้คือ สิ่งที่ฉันทูลขอจากพระผู้อภิบาลของฉัน ดังนั้น พวกท่านจงอย่าล้ำหน้าพวกเขา และจงอย่าสอนสั่งสิ่งใดให้กับพวกเขา เพราะพวกเขารู้ดีกว่าพวกท่าน และใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้ปกครองเขา อะลีคนนี้ก็เป็นผู้ปกครองเขาด้วย อัลลอฮฺทรงรักผู้ที่รักอะลี และทรงเป็นศัตรูกับผู้ที่เป็นศัตรูกับอะลี(20)

๑๑. ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ได้กล่าวคุฏบะฮฺที่ ญุห์ฟะฮฺ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่ระหว่างมักกะฮฺกับมะดีนะฮฺ เป็นสถานที่ครองอิหฺรอมของชาวแคว้นซีเรีย ว่า “ฉันมิได้มีอภิสิทธิเหนือพวกท่าน มากกว่าที่พวกท่านมีอภิสิทธิเหนือตนเองดอกหรือ?" พวกเขาตอบว่า "หามิได้ โอ้ศาสดาของอัลลอฮ์" ท่านศาสดา ได้กล่าวต่อไปว่า “ฉะนั้น ขอฝากให้พวกท่านรับผิดชอบกับสองภารกิจสำคัญนั้นคือ อัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ของฉัน” (21)



เปิดหน้าต่อไป

--------------------------------------------------------------------------
เชิงอรรถ
1. สุนัน ติรบิซีย์ เล่มที่ ๕ หน้า ๓๒๗-๓๒๘ หะดีษที่ ๓๘๗๔
2. ฆัยบะตุ้ลนุอฺมานี หน้าที่ ๔๒-๔๓ (คำว่า ฟะรอเฎาะเหมือนกับตะ บะอะหมายถึงการล่าวงหน้าไปก่อนเพื่อหาน้ำ และได้จัดเตรียมถุงใส่น้ำพร้อมไว้บุศรอคือ เมืองหนึ่งในชาม ซีเรีย ในปัจจุบัน ส่วน ซันอาอ์คือ เมืองต่างๆในประเทศเยเมน)
3. มุสตัดร็อก อัล-ฮากิม ๓/๑๐๙ มุสนัดนะซาอีย์ กิตาบ อัลคิศออิก หน้าที่ ๑๐๕เศษะฮีย์มุสลิม ๕/๒๕ หะดีษที่ ๒๔๐๘ อัลมุฮฺญิมุ้ลกะบีรฺ ๕/๑๖๖ หะดีษที่ ๔๙๖๙ อินะหะญัรฺ หนังสือ เศาะวาอิกุ้ลมุหัรฺรอเกาะฮฺ หน้าที่ ๔๓ พิมพ์ที่อียิปต์
4. อิหฺกอกุ้ลฮัก ๙/๓๕๕
5. ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ หน้าที่ ๑๑๖-๑๑๗ พิมพ์ที่ อิสตัมบูล ตุรกี ฆัยบะตุ้ลนุอฺมานี และหนังสือ อัรฺญะหุ้ลมะฎอลิบ ได้บันทึกหะดีษไว้ซึ่งคล้ายคลึงกับหะดีษในยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ
6. ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ หน้าที่ ๓๘
7. คัดลอกมาจากหนังสือของ อิบนุหะญัร ที่กล่าวว่า หะดีษษะเกาะลัยนฺมีสายสืบรายงานจำนวนมาก อัศเศาะวาอิกุ้ลหัรฺเราะเกาะฮฺ หน้าที่ ๒๒๘
8. หะดีษษะเกาะลัยนฺ เขียนโดย ซัยดฺ กิวามุดดีน หน้าที่ ๑๓-๑๔ (เศาะวาอิกุ้ลมุหัรฺรอเกาะฮฺ หน้าที่ ๑๕๐ พิมพ์ที่ อียิปต์)
9. ยะนาบีอุ้ลบะวัดดะฮฺ หน้าที่ ๓๗-๓๘
10. อัล-มะนากิบ อิบนะมะฆอซิลีย์หน้าที่ ๑๑๒-๑๑๕
11. มุสนัดอหฺมัดเล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๗
12.มุสตัดร็อก อัล-ฮากิม เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๐๙
13. มุสนัด อหฺมัน ฮันนัล เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๒๖๗
14. ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ หน้าที่ ๑๑๖-๑๑๗
15.อัรฺญุ้ลมะฎอลิบ หน้าที่ ๒๔๑
16. อัลมุอฺญิมุ้ล กะบีรฺ เล่มที่ ๓ หน้าที่๖๓ หะดีษที่ ๒๖๘๑
17. อัลมุอฺญิมุ้ล กะบีรฺ เล่มที่ ๓ หน้าที่๖๓ หะดีษที่ ๒๖๘๑
18. อิหฺยาอุ้ลมัยยิต ลิซซุยูฏีย์หน้าที่๖๔ พิมพ์ที่ ดารุ้ลอุลูมและหน้าที่ ๔๘ พิมพ์ที่ เบรุต
19. มัจมะอูซซะวาอิดฺ หน้าที่ ๑๖๒
20. อัล-มุอิญิมุ้ลกะบีรฺ ลิฎฎ็อบรอนี เล่ม ๕ หน้าที่ ๑๖๗ หะดีษที่ ๔๙๗๑
21. ฮีละตุ้ลเอาลิยาอฺ เล่มที่๙ หน้าที่ ๖๔ อิหฺยาอุ้ลมัยยิต หน้าที่ ๕๗-๕๘ พิมพ์ที่ ดารุ้ลอุลูน หน้าที่ ๓๘ พิมพ์ที่ เบรุต




ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยนฺ

.
ประเด็นที่ ๔ ประโยชน์ของหะดีษ
ประเด็นต่างๆ ที่สามารถศึกษาได้จากหะดีษษะเกาะลัยนฺ

๑. ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้แจ้งข่าวถึงการวะฝาตของท่าน
ซึ่งเป็นข่าวที่บ่งชี้ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างดี เช่น ท่านศาสดาได้กล่าวว่า “ความตายใกล้จะมาถึงฉันแล้ว ซึ่งฉันนั้นพร้อมเสมอ” กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้มีวะฮีย์มายังฉันว่า ในไม่ช้านี้ฉันต้องจากพวกท่านไป” การที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้แจ้งข่าวว่าท่านกำลังจะอำลาประชาชาติไปนั้น ย่อมเป็นการเตือนประชาชาติให้รู้จักหน้าที่ของตนภายหลังจากการวะฝาตของท่านศาสดาว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

ตามความเป็นจริงแล้วบุคคลเฉกเช่นท่านศาสดา (ศ็อลฯ)(ในฐานะของผู้เผยแพร่และวางรากฐานศาสนาอิสลาม) จะมีความพอใจกระนั้นหรือที่ปล่อยให้ประชาชาติต้องเผชิญกับชะตากรรมตามลำพังภายหลังจากการวะฝาตของท่าน ทั้งๆ ที่ท่านทราบถึงความยากลำบากเป็นอย่างดีในการวางรากฐานอิสลาม โดยสติปัญญาสมบูรณ์แล้ว ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ย่อมไม่พอใจต่อการกระทำดังกล่าวอย่างแน่นอน

๒. การฝากฝังอัล-กรุอานและอหฺลุลบัยตฺไว้ย่อมเท่ากับได้แต่งตั้งให้ทั้งสองเป็นตัวแทนภายหลังจากท่าน
ด้วยเหตุนี้อัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺจึงเป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในหมู่ประชาชาติอิสลามและเนื่องจากทั้งสองอยู่เคียงคู่กันโดยไม่แยกออกจากกัน ทั้งสองจึงอยู่ในตำแหน่งตัวแทนของศาสดา ด้วยเหตุนี้เองบางริวายะฮฺจึงได้เรียกทั้งสองว่าเป็นเคาะลิฟะฮฺ(ผู้ทำหน้าที่แทนศาสดา) ท่านอหฺมัด บิน ฮันบั้ลจากสายรายงานของเขา จาก ซัยดฺ บิน ษาบิต เล่าว่า ที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “แท้จริง ฉันได้แต่งตั้งสองเคาะลิฟะฮฺไว้ในหมู่ของพวกท่าน”(1)

ท่านสะอีด บิน คุดรีย์ เล่าว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวคุฏบะฮฺว่า “โอ้ประชาชนเอ๋ยแท้จริงฉันได้ละทิ้งสองตัวแทนที่มีค่ายิ่ง (อัล-กุรอานและอิตเราะฮ์)ไว้ในหมู่ของพวกท่าน(2)

หรือที่ท่านกล่าวว่า “แท้จริงฉันได้ฝากไว้ในหมู่ของพวกท่านสองสิ่งที่มีค่ายิ่งให้ฐานะของเคาะลีฟะฮฺและเป็นตัวแทน”(3)

การที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้แต่งตั้งให้อิตเราะฮ์ลูกหลานของท่านเป็นเคาะลิฟะฮฺแทนท่าน แสดงให้เห็นว่าฐานะภาพที่ท่านศาสดาเคยมี อิตเราะฮ์ของท่านก็มีเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ความหมายของ เคาะลิฟะฮฺ ในหะดีษจึงบ่งบอกถึง อิมามะฮฺ อิตเราะฮ์ และที่ย้อนกลับของการเมือง การปกครอง ความรู้และอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

หลักฐานยืนยันกล่าวอ้างข้างต้น คือคำสั่งใช้ของท่านศาสดาที่สั่งว่า “ให้ปฏิบัติตามอหฺลุลบัยตฺทุกประการโดยไม่มีเงื่อนไข” และคำสั่งห้ามของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ว่า “จงอย่าล้ำหน้าหรือล้าหลังจากพวกเขา จงอย่าแสดงความอคติ" ประกอบกับการเตือนสำทับหลายครั้งของท่านศาสดาที่ว่า “หากประชาชาติไม่ยอมปฏิบัติตามอหฺลุลบัยตฺ ไม่ใส่ใจต่อสิทธิของพวกเขา ไม่ยอมรับในวิลายะฮฺและอิมามะฮฺ ดำเนินชีวิตไปตามหนทางที่ตนเองปรารถนา พวกเขาจะประสบกับความพินาศ"

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาในเวลาและสถานที่ต่างๆ ว่าให้ปฏิบัติตามอหฺลุลบัยตฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ณ เฆาะดีรคุม และช่วงเวลาใกล้วะฝาตของท่าน

แต่น่าเสียใจที่ว่าคำสั่งเสียของท่านศาสดาดูเหมือนว่าจะหมดความหมายลง เนื่องจากบรรดาสาวก (เศาะฮาบะฮฺ) และอุมมัต (ประชาชาติของท่าน) ไม่ได้ใส่ใจต่อคำสั่งเสียดังกล่าว มิหนำซ้ำสาวกบางท่านยังกล่าวหาว่า “ท่านศาสดาเพ้อเจอไปแล้ว” การไม่ยอมรับอหฺกาม,จริยธรรมและแบบฉบับจากบรรดาอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ตลอดจนวิชาการความรู้ของพวกเขา และการไม่เรียนรู้สารธรรมจากพวกเขา ทำให้เกิดความเสียต่างๆ มากมาย จนถึงขึ้นที่ว่า การอธิบายอหฺกามอิสลามต้องพึ่งหลักการกิยาส(4) และหลักอิสติหฺซาน(5)และหลักการอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกับทั้งสอง ทำให้พวกเขาไม่มีแบบฉบับที่สมบูรณ์ของท่านศาสดาอยู่ในมือ

สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะท่านอุมัรฺ เคาะลิฟะฮฺที่สองเคยได้สั่งห้ามการจดบันทึกหะดีษ(6)อย่างเด็ดขาดจนถึงปลายศตวรรษที่ ๒ ซึ่งเป็นยุคปกครองของ อุมัรฺ บิน อับดุลอะซีซ ขณะนั้น เขาเริ่มเป็นกังวลแล้วว่าถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนั้นต่อไป หะดีษของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ก็คงสูญสิ้นเป็นแน่ จึงได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งของท่านอุมัรฺ (ที่สั่งไม่ให้มีการจดบันทึกหะดีษของท่านศาสดา)หลังจากนั้นอุละมาอฺฝ่ายอหฺลิซซุนนะฮฺ เช่น ท่านมาลิก อหฺมัด บิน ฮัมบัล บุคอรีย์และท่านอื่นๆ ได้เริ่มต้นบันทึกหะดีษของท่านศาสดาจากแหล่งต่างๆที่ยังคงหลงเหลืออยู่

การเริ่มต้นจดบันทึกหะดีษของอหฺลิซซุนนะฮฺหลังจากที่ซุนนะฮฺส่วนใหญ่ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)ได้ถูกลืมและสูญหาย ประกอบกับนักท่องจำหะดีษก็ได้เสียชีวิตไปแล้วมากมาย ทำให้ประสบกับอุปสรรคอย่างหนักจนกระทั่งผู้เชี่ยวชาญฝ่ายอหฺลิซซุนนะฮฺได้พูดว่า “ริวายะฮฺเกี่ยวกับอหฺกาม (กฎการปฏิบัติ) ที่อยู่ ณ อหฺลิซซุนนะฮฺมีไม่เกิน ๕๐๐ ริวายะฮฺ” แต่อย่างไรก็ตามแบบฉบับของท่านศาสดา (ซุนนะฮฺ) ในหมู่ของอหฺลิซซุนนะฮฺไม่ได้ถูกรวบรวมและเรียบเรียงจนกระทั่งถึงต้นศตวรรษที่สอง

การเริ่มบันทึกและเรียบเรียงหะดีษใหม่ของผู้รู้ฝ่ายซุนนะฮฺไม่ได้มาจากเศาะฮาบะฮฺที่ได้ยินหะดีษโดยตรงจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ปัญหาที่ตามมาใครคือผู้รับรองความถูกต้องของหะดีษ เพราะช่วงเวลา ๑๐๐ ปีหลังการวะฝาตของท่านศาสดามิใช่เวลาเพียงน้อยนิด

ผิดกับฝ่ายชีอะฮฺที่มีอหฺลุลบัยตฺเป็นผู้เก็บรักษาซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไว้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ฉะนั้นมีเหตุผลอะไรหรือพวกเขาไม่ยอมกลับไปหาอหฺลุลบัยตฺในฐานะของคลังแห่งวิชาการ และผู้เก็บรักษาซุนนะฮฺของท่านศาสดา ดังที่ท่านศาสดากล่าวว่า “ฉันคือนครของความรู้ส่วนอะลีคือประตูของมัน”

ท่านอายะตุ้ลลอฮฺบุรูญิรดี นักปราชญ์และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิชาฟิกฮฺและอุศูลได้กล่าวว่า “หะดีษจำนวนมากมายถูกเก็บรักษาไว้โดยอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ซึ่ง ณ พวกเขามีหนังสือหะดีษที่กล่าวโดยท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และเขียนด้วยลายมือของท่านอิมามอะลี (อ.) ซุนนะฮฺทั้งหมดของท่านศาสดาและสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้มีบัญชาให้เผยแพร่ในหมู่ประชาชาติ (ความรู้ต่างๆในอิสลามและหลักการปฏิบัติในศาสนา) ได้ถูกรวบรวมไว้ในหนังสือดังกล่าว”

หลังจากนั้นท่านได้เอ่ยถึงหะดีษบางบท อาทิเช่น ท่านอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า “เรามีหนังสือญามิอฺ ความยาวของมันประมาณ ๗๐ ศอก เป็นหนังสือที่บันทึกคำกล่าวของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และจดบันทึกด้วยลายมือของท่านอิมามอะลี (อ.) ทุกสิ่งที่เป็นหะล้าล และฮะรอม ที่เป็นความต้องการของประชาชนได้ถูกบันทึกเอาไว้ในหนังสือดังกล่าวการตัดสิน คดีความทุกประเภท แม้กระทั่งคดีที่เล็กที่สุดก็ถูกบันทึกไว้เช่นกัน”(7)

จากหะดีษของท่านอิมามศอดิก (อ.) สรุปประเด็นได้ดังนี้ว่า

ก. ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มิได้ปล่อยให้ประชาชาติของท่านอยู่ตามเวรตามกรรมโดยปราศจากผู้นำที่คอยชี้แนะแนวทาง ทว่าท่านได้แต่งตั้งผู้นำที่คอยชี้แนะแนวทางทำหน้าที่เชิญชวนไปสู่สัจธรรม ทำการปกครองประชาชาติและปกป้องอิสลามกับอัล-กุรอานตลอดจนความรู้ต่างๆ ในอิสลาม สิ่งที่เป็นวาญิบ (ข้อบังคับ) ของศาสนา ซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) หะล้าล ฮะรอม กฎเกณฑ์ต่างๆ และหะดีษ

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่อนุญาตให้ผู้ใดทำการออกกฎหรือวินิจฉัยตามทัศนะของตนเอง หรือทำการกิยาสเพราะไม่มีเรื่องใดหรือคำสั่งใดที่จะปราศจากกฎเกณฑ์ อันเป็นกฎเกณฑ์ที่มาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) และท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้อธิบายกฎเกณฑ์เหล่านั้นจนหมดสิ้นแก่ท่านอะลีและสั่งให้ท่านอิมามอะลี (อ.) จดบันทึกพร้อมทั้งเก็บรักษาตำรานั้นเอาไว้และให้ถ่ายทอดสืบต่อกันไปตามสายตระกูลของท่านอิมามอะลี (อ.)

ข. ความรู้ต่างๆ เหล่านั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวอธิบายเฉพาะแต่ท่านอะลี (อ.) ซึ่งหมายความว่าในยุคของท่านศาสดานอกจากท่านศาสดาแล้วไม่มีใครได้ล่วงรู้ถึง ความรู้เหล่านั้นเลยนอกจากท่านอิมามอะลี (อ.) และท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ยังได้สั่งสำทับกับท่านอิมามอะลีอีกว่า “จงถ่ายทอดความรู้นั้นให้กับอิมามอีก ๑๑ ท่านภายหลังจากท่าน” ดังนั้นจึงเป็นวาญิบสำหรับประชาชาติอิสลามทั้งหลายที่ต้องเรียนรู้สิ่งที่ เป็นหะล้าลและฮะรอมและสิ่งที่ศาสนาได้สั่งอันเป็นความต้องการของพวกเขา อาทิเช่น เรื่องสิทธิและความรู้ต่างๆ ในอิสลามจากท่านอิมามอะลี (อ.) และอิมามท่านอื่นๆ

เพราะบรรดาอิมามคือตัวแทนแห่งซุนนะฮฺของท่านศาสดาเป็นคลัง แห่งวิชาการและเป็นผู้ปกป้องศาสนาของพระองค์

ค. ตำราที่ได้รับการบอกกล่าวโดยท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้จดบันทึกนั้นอยู่ ณ บรรดาอิมามทั้งหลาย ซึ่งท่านอิมามบากิรฺและท่านอิมามศอดิก (อ.) ได้แสดงให้เหล่าบรรดาสาวกของท่านและคนอื่นๆ ได้เห็นแล้วจนพวกเขาเกิดความเชื่อมั่นไม่สงสัย ท่านมุฮักกิก บุรูญิรดี ได้กล่าวว่า “การเรียนรู้หะดีษจากบรรดาอหฺลุลบัยตฺถือว่าเป็นวาญิบ เพราะหะดีษเหล่านั้นที่อยู่ ณ พวกเขามีความหน้าเชื่อมากกว่าหะดีษที่อยู่กับคนอื่น”(8)

๓.เป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทั้งหลายที่ต้องยึดมั่นอัล-กุรอานและ บรรดาอหฺลุลบัยตฺ
เนื่องจากว่าการยึดมั่นสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามลำพังถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะการยึดมั่นต่อทั้งสองเป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ดังที่ปรากฏในหะดีษษะเกาะลัยนฺ

ฉะนั้นจะเห็นว่าได้มีคำสั่งต่อประชาชาติอิสลามว่า “ให้ยึดมั่นต่ออัล-กุรอาน” ทำนองเดียวกันได้มีคำสั่งให้ยึดมั่นต่ออหฺลุลบัยตฺ ซึ่งบางริวายะฮฺได้กล่าว ว่า “แท้จริงฉันได้ฝากสิทธิทั้งหมดของฉันไว้ในหมู่ของพวกท่าน” ถ้าหากพวกท่านได้ยึดมั่นภายหลังจากฉัน พวกท่านจะไม่หลงทางอย่างเด็ดขาด คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งอยู่ตรงหน้าของพวกท่านทั้งหลาย พวกท่านได้อ่านอยู่ทุกเช้าค่ำและในคัมภีร์นั้นมีสิ่งที่พวกท่านชอบและปรารถนา(9)

ดังนั้นคำสั่งที่สั่งให้ย้อนกลับไปหาอัล-กุรอานและยึดมั่นกับมันนั้นถือว่า ชัดเจนไม่มีข้องสงสัยใดๆ ซึ่งการย้อนกลับไปยังอัล-กุอานจะถูกต้องก็ต่อเมื่อซอฮิรของอัล-กุรอานเป็น ฮุจญัต (ความหมายอัล-กุรอานตามหลักภาษาอันชัดเจนถือเป็นเหตุผล) และแน่นอนซอฮิรและมุหฺกะมาต(โองการที่มีความหมายชัดเจนโดยไม่ต้องอาศัยการตีความใดๆ)ของอัล-กุรอานถือเป็นฮิดายะฮฺและนูร(แสงสว่างแห่งทางนำ)อยู่แล้ว แต่จะลืมเสียมิได้ว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และอหฺลุลบัยตฺของท่านคือผู้อธิบายอัล-กุรอาน อันเนื่องจากว่าซอฮิรของอัล-กุรอานไม่ได้อยู่ในฐานะของการอธิบายชัรอีย์(หลักศาสนบัญญัติ) เช่น คุณลักษณะพิเศษของขั้นตอนและวิธีการนมาซ ซะกาตฺ หัจญ์และการปฏิบัติอื่นๆ ทำนองเดียวกันการให้ความกระจ่างเกี่ยวกับสารธรรมและปัญหาต่างๆของสังคมและอัล-กุรอานเป็นหน้าที่อหฺลุลบัยตฺผู้บริสุทธิ์

แต่อย่างไรก็ตามการยึดมั่นกับอหฺลุลบัยตฺมิสามารถนำมาเป็นข้ออ้างในการที่จะละทิ้งอัล-กุรอานเพราะมาตรว่าอหฺลุลบัยตฺมีหะดีษที่ขัดแย้งกันจำเป็นต้องนำมาเทียบเคียงกับอัล-กุรอานเพื่อจะได้จำแนกว่าหะดีษใดถูกต้อง และการย้อนกลับไปหาอัล-กุรอานนั้นเป็นคำสั่งที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดคุ้นเคยและนำไปสู่การครุ่นคิดในอัล-กุรอาน

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “จงตระหนักไว้เถิดว่า แท้จริงอัล-กุรอาน คือ ผู้ให้คำแนะนำที่ไม่เคยหลอกลวงมนุษย์ เป็นประทีปนำทางที่ไม่ทำให้หลงทาง เป็นถ้อยจำนรรจ์ที่ไม่เคยโกหก ใครก็ตามที่เริ่มด้วยกับอัล-กุรอาน เขาจะได้รับประโยชน์จากอัล-กุรอานไม่มากก็น้อย จงรู้ไว้เถิดว่าใครก็ตามภายหลังจากได้เรียนรู้อัล-กุรอานแล้ว เขาจะไม่อับจนหมดหนทาง ซึ่งไม่มีใครร่ำรวยความรู้มาก่อนหน้านั้น”

ด้วยเหตุนี้ พวกท่านจะขอชะฟาอฺ(การเยี่ยวยารักษาโรคภัยต่างๆ) จากอัล-กุรอาน เพราะอัล-กุรอาน คือโอสถที่บำบัดโรคที่เลวร้ายที่สุด อันได้แก่ กุฟร์ (การปฏิเสธ) นิฟาก (การกลับกลอก) การฝ่าฝืนและการหลงทางซึ่งเหล่านี้เป็นความป่วยไข้ทางจิตใจ ดังนั้น สิ่งใดก็ตามที่ท่านปรารถนาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) จงใช้อัล-กุรอานเป็นสื่อในการวิงวอน จงมุ่งมั่นไปยังอัลลอฮฺด้วยความรักที่มีต่ออัล-กุรอาน แต่จงอย่าใช้อัล-กุรอานเป็นสื่อขอจากมนุษย์ด้วยกันเด็ดขาด และจงอย่าใช้อัล-กุรอานเป็นสื่อเพื่อสร้างความหวังที่เป็นวัตถุ เพราะไม่มีสิ่งใดที่บ่าวใช้เป็นสื่อเพื่อสร้างความใกล้ชิดยังอัลลอฮฺ (ซบ.) จะมีเกียรติยิ่งเกินไปกว่าอัล-กุรอาน

จงตระหนักไว้เถิดว่าแท้จริงอัล-กุรอานคือผู้ให้ชะฟาอฺอันเป็นชะฟาอฺที่ถูก ตอบรับเพราะเจ้าของพจนารถคือผู้รับรองในถ้อยจำนรรจ์ของพระองค์และใครก็ตาม ที่อัล-กุรอานให้ชะฟาอัตเขาในวันกิยามะฮฺเขาก็จะได้ชะฟาอฺนั้นและใครก็ตาม ที่อัล-กุรอานร้องเรียนเขา คำยืนยันที่ต่อต้านเขาถือว่าถูกยอมรับ(10)

ท่านอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า “มีอยู่สามสิ่งที่จะทำการร้องเรียนมนุษย์ในวันกิยามะฮฺต่อเอกองค์อัลลอฮฺ

๑.มัสญิดที่ผุฟังโดยไม่มีการดำรงนมาซในนั้น

๒.ผู้รู้นักปราชญ์ที่อยู่ท่ามกลางคนโง่เขลา

๓.กุรอานที่ถูกทิ้งไว้จนฝุ่นจับโดยที่ไม่ได้อ่าน(11)

ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอีกว่า “แท้จริงอัล-กุรอานคือประทีปแห่งทางนำ เป็นตะเกียงที่สว่างไสวในความมืด (หลงทาง) ฉะนั้นจำเป็นสำหรับผู้ที่มีความฉลาดต้องไตร่ตรองในอัล-กุรอานและใช้ทรรศนะของกุรอานพิจารณาให้ชัดเจน เพราะการไตร่ตรองในอัล-กุรอานเป็นการชุบชีวิตแก่หัวใจที่ตายด้าน ดุจดังเช่นคนที่ต้องการแสงสว่างเพื่อส่องทางเดินเมื่อเขาอยู่ในความมืด”

จงตระหนักไว้เถิดสำหรับผู้ที่คิดว่าการรำลึกถึงอหฺลุลบัยตฺ (อ.) เพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้วโดยไม่คำนึงถึงคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ของ อัล-กุรอานถือเป็นความศรัทธาที่ไม่สมบูรณ์ เพราะแท้จริงบรรดาอหฺลุลบัยตฺ (อ.) นั้นไม่พึงพอใจต่อบุคคลที่ละทิ้งการปฏิบัติอัล-กุรอาน

ทำนองเดียวกันสำหรับผู้ที่คิดว่าอัล-กุรอานเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้วโดย ไม่ใส่ใจต่ออหฺลุลบัยตฺ (อ.) ถือว่าไม่ถูกต้องเช่นกันเพราะผู้อธิบายความละเอียดอ่อนของอหฺกาม (กฎเงื่อนไขในการปฏิบัติ) และความรู้ต่างๆเกี่ยวกับอัล-กุรอานคือ อหฺลุลบัยตฺ และนอกเหนือจากนี้แล้วประชาชาติอิสลามยังต้องพึ่งอหฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในการสร้างพื้นฐานความยุติธรรม การอบรมสั่งสอน การขัดเกลาและยกระดับจิตใจ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัจเจกชน สังคม และอื่นๆ

เหนือไปกว่านี้ การยึดมั่นในอัล-กุรอานโดยปราศจาก อหฺลุลบัยตฺ ถือว่าเป็นการยึดมั่นที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากว่ามีโองการอัล-กุรอานหลายโองการที่ได้แนะนำเกี่ยวกับอำนาจวิลายะฮฺ (ปกครอง) ความจำเป็นของอหฺลุลบัยตฺ การปฏิบัติตามและเป็นวาญิบต้องรักพวกเขา และทั้งสองนั้น (กุรอาน-อหฺลุลบัยตฺ) ริวายะฮฺที่เศาะฮีย์ได้กล่าวว่า “เป็นการอธิบายซึ่งกันและกัน มีความคิดเห็นพร้องตรงกันและทั้งสองต้องอยู่ร่วมกัน”(12)

ฉะนั้นไม่ว่าอย่างไรก็ตามการยึดมั่นต่อทั้งสอง ถือว่าจำเป็นดังที่หะดีษษะเกาะลัยนฺได้ย้ำเน้นไว้ว่า “ถ้าภายหลังจากฉันพวกท่านได้ยึดมั่นกับทั้งสองจะไม่หลงทางตลอดไป” และยังมีริวายะฮฺอื่นที่มีความหมายคล้ายคลึงกันอีกมากได้กล่าวเอาไว้

๔. การเรียกชื่ออัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺว่าเป็นษิกล์ (สิ่งหนัก)
บางทีอาจกล่าวได้ว่า เพราะทั้งสองคือสิ่งที่มีค่า ยิ่งใหญ่ สูงส่งและมีเกียรติทีสุด ซึ่งคำว่า ษิกล์ โดยแก่นแท้ของมันเป็นการบอกข่าวถึงความยิ่งใหญ่แห่งเกียรติยศ อำนาจและตำแหน่งของอัล-กุรอานและความยิ่งใหญ่ด้านฐานันดรและระดับชั้นของอหฺลุลบัยตฺ (อ.)

หนังสืออับกอต ได้คัดลอกมาจากอัลนิฮายะฮฺ ของ อิบนุอะษีร ว่า “คำว่าษิกล์จะใช้กับผู้มีตำแหน่งหรือฐานันดรอันสูงส่ง” ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่าอัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺ มีความยิ่งใหญ่ด้านฐานะภาพ และเกียรติยศที่สูงส่งจึงเรียกทั้งสองว่าเป็นษะก็อล อัล-กุรอานเมื่อเทียบชั้นกับคัมภีร์เล่มอื่นๆที่ถูกประทานลงมามีความยิ่งใหญ่มากกว่า และเป็นหนึ่งในความมหัศจรรย์ที่ยังคงหลงเหลืออยู่และดำเนินต่อไป ดุจดั่งเช่นดวงอาทิตย์ที่ยังโคจรอยู่ในปัจจุบันเป็นเพราะว่าอัล-กุรอานคือ พจนารถของพระผู้เป็นเจ้าจึงไม่มีสิ่งที่เป็นโมฆะทั้งหลายย่ามกายเข้ามาสู่ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังอีกทั้งเป็นนูรรัศมีและเป็นประทีปนำทาง

ส่วนอหฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ความรู้และคุณวิเศษอื่นๆ ของท่านไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่นได้เพราะคนอื่นไม่มีคุณสมบัติที่ เพียงพอ ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ไม่ว่าในมิติใดก็ตาม ดังเช่นที่เราไม่สามารถนำบรรดาศาสดา (อ.) ทั้งหลายไปเปรียบเทียบกับมนุษย์คนอื่นๆ ได้ เพราะว่าเป็นความผิดพลาดการเปรียบเทียบอหฺลุลบัยตฺกับคนอื่นก็ถือว่าเป็น ความผิดพลาดเช่นกันเพราะบุคคลเหล่านี้ถือว่าเป็น หุจญัตของอัลลอฮฺ (ซบฺ) ที่มีต่อสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งกลาย และเป็นคลังแห่งวิชาการของพระองค์

ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวถึงตำแหน่งของอหฺลุลบัยตฺด้วยคำพูดสั้นๆ ไว้อย่างชัดเจนว่า “พวกเขาคือเคหะสถานที่เร้นลับ เป็นรูปลักษณ์ของคำบัญชา เป็นคลังแห่งวิชาการเป็นสถานที่ย้อนกลับของอหฺกาม สถานเก็บรักษาตำราความรู้และเป็นกำบังที่มั่งคงแข็งแรงของศาสนา เป็นพลังงานที่สนับสนุนศาสนาและโดยสื่อของพวกเขาทำให้ศาสนาธำรงอยู่ และความจอมปลอมทั้งหลายต้องมลายสิ้นไม่มีประชาชาติคนใดสามารถเทียบเคียงกับ อหฺลุลบัยตฺของท่านศาสดามุฮัมมัดได้ซึ่งประชาชาติทั่วไปดำรงอยู่ได้เพราะคุณ ความดี และนิอฺมัตของอาลิมุฮัมมัด

ฉะนั้น มนุษย์ปุถุชนธรรมดาจึงไม่มีวันที่จะมีรัศมีเทียบเคียงเท่าอหฺลุลบัยตฺพวกเขา คือเสาหลักของศาสนาและเป็นมูลฐานของการยะกีน (เชื่อมั่น)ผู้ที่เลยเถิดไปอย่างสุดโต่งต้องย้อนกลับมาหาพวกเขาทำนองเดียว กันผู้ที่ล้าหลังต้องเร่งรีบตัวเองและไปให้ทันพวกเขา คุณวิเศษ อำนาจการปกครองเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพวกเขาคำสั่งเสียพินัยกรรมและผู้สืบ ทอดมรดกของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อยู่ ณ พวกเขา ปัจจุบันสิทธิของเขาได้ถูกฉ้อฉลจึงเป็นหน้าที่ต้องนำมันกลับไปยังตำแหน่งที่ ถูกเคลื่อนย้ายออกไป”(13)

ท่านซะมัคชะรีย์ ได้กล่าวว่า การใช้คำว่า ษะกะลัยนฺ (อ่านโดยให้ ษา และก๊อฟ เป็นฟัตหฺ) กับอัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺนั้นเป็นการเปรียบเทียบความคล้ายเหมือน ดังเช่นมนุษย์กับญินฺ ในลักษณะที่ว่า การสร้างโลกให้เกิดขึ้นเป็นเพราะการมีอยู่ของมนุษย์และญิน การปรับปรุงและความถูกต้องของศาสนาขึ้นอยู่กับอัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺ แต่ทว่าประเด็นดังกล่าวขัดแย้งกับความเป็นจริงของหะดีษ อันเนื่องจากว่าไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ เลยในหะดีษที่บ่งบอกว่าการใช้คำว่า ษิกล์ กับอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ มาจากบาบของการตัชบีห์ (การเปรียบเทียบ)

สามารถตั้งสมมติได้ว่า “จุดประสงค์ของ คำว่า ษะก็อล หมายถึง การปฏิบัติและการยึดมั่นกับทั้งสองการเชื่อฟังและปฏิบัติตามการผดุงสิทธิและ การเอาใจใส่ต่ออัล-กุรอานและอิตเราะฮ์เป็นภาระที่หนักอึ้งและเป็นการกระทำที่ ยากลำบากดังที่นักภาษาศาสตร์และนักรายงานหะดีษบางคนได้อธิบายไว้

ท่านหะมะวี ได้รายงานริวายะฮฺจากท่านอบิ้ลอับบาส “ได้มีผู้ถามอบิ้ลอับบาสว่า เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงได้เรียกอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ว่าเป็น ษะกะลัยนฺ ตอบว่า : “การยึดมั่นกับทั้งสองเป็นภาระที่หนักอึ้งนั่นเอง”(14) อีกริวายะฮฺหนึ่งได้กล่าวว่า “เพราะการยึดมั่นกับทั้งสองเป็นการปฏิบัติที่หนักอึ้ง”(15)

หนังสืออับกอตุ้ลอันวารฺได้บันทึกเรื่องนี้เอาไว้โดยคัดลอกมาจาก อัซชะรีย์ จากหนังสือ ตะฮฺซีบุ้ลลุเฆาะฮฺและหนังสือเล่มอื่นๆ (นะฟะหาตุ้ลอัซฮารฺ ๒/๒๕๑)

แต่ถ้าจะกล่าวว่า ษิกล์ (โดยให้อ่าน ษา เป็น กัสเราะฮฺ และก็อฟ เป็นสุกูน) หมายถึงการแบกของหนักซึ่งเป็นเอกพจนของคำว่า อัษกอล ทว่าขัดแย้งกับความเป็นจริงของหะดีษเพราะคำอธิบายดังกล่าวเป็นย้อนกลับซิฟาต ไปยังหาลฺ(16) (คุณลักษณะ) แต่ถ้าพูดว่าهَذارَجُلٌ عَالِمْ คำว่า อาลิมุน จะเป็นคุณลักษณะของคำว่า รอญุลุน ทันที ดังนั้นถ้าคำว่า ษะก็อล เป็นซิฟัตสำหรับคำว่า ตะมัสสุก หรือ อมั้ล แล้วละก็ มันจะไม่เป็นนิอฺมัตสำหรับอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์อีกต่อไป

ซึ่งการกระทำเช่นนี้ ขัดแย้งกับความเป็นจริงของหะดีษ เพราะแท้จริงแล้วคำว่า ษะก็อล เป็น นิอฺมัต สำหรับอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ซึ่งความเหมะสมตามสภาพความเป็นจริงของหะดีษ คือ ษะก็อล นั้น เป็น ซิฟาต (คุณลักษณะ) ของตัวตนของทั้งสอง (กุรอานและอิตเราะฮ์) ด้วยเหตุที่ว่าอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์เป็นเครื่องประดับ และเป็นเจ้าของฐานันดรและตำแหน่งอันสูงส่ง (ณ อัลลอฮฺ (ซบ.) และศาสดา (ศ็อลฯ)



เปิดหน้าต่อไป

--------------------------------------------------------------------------
เชิงอรรถ
1.ِانی تارک فيکم خليفتين มุสนัดอหฺมัด บิน ฮัลบั้ล เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๙ ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ หน้าที่ ๓๘
2. ايها الناس انی ترکت فيکم الثقلينนะฟาหาตุ้ลอัซฮารฺ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๕๙
3. انی مخلف فيکم الثقلين อัลอะวาลี ๒/๕๐๒ นะฟะหาตุ้ลอัซฮารฺ ๒/๒๐๙
4. กิยาส หมายถึง การพิสูจน์ถึงสาเหตุ ที่ฟะกีฮฺ (ผู้เชี่ยวชาญ)ท่านนั้นได้ค้นหาและประดิษฐ์สาเหตุขึ้นเองโดยที่สาเหตุดัง กล่าวมิได้มีอยู่ในอัล-กุรอานหรือซุนนะฮฺ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “จงอย่าทำการกิยาศในศาสนา เพราะจะทำให้ศาสนาไม่มีมาตรฐาน ซึ่งคนแรกที่ทำการกิยาสคือ อิบลีสซัยฎอน” กล่าวว่า “ใครก็ตามทำการกิยาสในศาสนาตามทัศนะของตัวเองเท่ากับดูถูกฉัน”
5. อิสติหฺซาน หมายถึง การออกฮุกุ่มหรือคำวินิจฉัย ซึ่ง ณ เขาแล้วเป็นสิ่งดีงาม แม้ว่าจะไม่มีเหตุผลชัรอีย์ก็ตาม
6. อิบนุ อับดุลบิรฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ญามิอฺบัยยานุลอิลมฺ ๑/๖๕ ว่า ท่านอุมัรฺประสงค์ที่จะจดบันทึกหะดีษของท่านศาสดาแต่หลังจากนั้นท่านตัดสิน ใจว่าไม่ทำดีกว่า และได้ส่งจ.ม ไปตามเมืองต่างๆพร้อมกับสั่งว่า ใครก็ตามที่มีต้นฉบับหะดีษบันทึกไว้ให้ทำลายทิ้งให้หมด”
7. อุศูลกาฟีย์ ๑/๒๓๙ บะศออิรุ้ลดะรอญาต หน้าที่ ๑๔๒-๑๔๕ บุคคอรีย์ในเศาะฮีย์ของเขาได้บันทึกว่า หนังสือดังกล่าวอยู่ ณ อะลี (อ.) ซึ่งเขากล่าวซ้ำกันไว้ในหลายบาบของตำรา แต่ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของมันเศาะฮีย์บุคคอรีย์ ๑/๓๖ , ๒/๒๒๑ , ๔/๖๗-๖๙ เศาะฮีย์มุสลิม ๔/๑๑๕ อหฺลุซซุนนะฮฺวากิอี ๑/๘๔
8. ญามิอุ้ลหะดีษ ๑/๗-๑๒
9. อัรญะหุ้ลมะฏอลิบ หน้าที่ ๓๔๑ พิมพ์ที่ ละฮอร์ (คัดลอกมาจากหนังสือ อิหฺกอกุ้ลฮัก ๙/๑๓๗
10. นะฮฺญุลมาเฆาะฮฺ ฟัยฏุลอิสลาม คุฏบะฮฺที่ ๑๗๖
11. อุศูลกาฟีย์ ๒/๔๔๙
12. ฆอยะตุ้ลรอม หน้าที่ ๒๒๖ ริวายะฮฺที่ ๓๔
13. นะฮฺญุ้ลบะลาเฆาะฮฺ ฟัยฎุ้ลอิสลาม คุฎบะฮฺที่ ๒
14. ฟะรออิดุ้ส สิมฏอยน์
15. ตะฮ์ซีบุ้ลลุเฆาะฮฺ ๙/๗๘
16. คำว่า อบูฮุ ซึ่งคำๆ นี้ตัวอย่างเช่น هَذَارَجُلٌ عالِمْ اَبُوهُ คำว่า อาลิมุนเป็นซิฟาต



ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยนฺ

.
๕.อิตเราะฮ์ คือใคร?
ดังที่กล่าวไว้ในอัลนิฮายะฮฺและหนังสือเล่มอื่นๆ ว่า “เป็นลูกหลานชั้นใกล้ชิดที่พิเศษของท่านศาสดา”(1)

อิตเราะฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ)เป็นพิเศษ และแน่นอนว่าบุคคลที่มีใช่ลูกหลานนั้นอยู่นอกประเด็น อันสืบเนื่องจากว่าความเหมาะสมของฮุกุ่มกับประเด็นที่กล่าวถึงซึ่งไม่ได้หมายรวมถึงสมาชิกทุกคนในครอบครัว เพราะคุณลักษณะ (ซิฟาต) สำหรับอิตเราะฮ์ตรงนี้ได้ถูกอธิบายไว้เฉพาะอย่างชัดเจน (พวกเขาเท่าเทียมกับอัล-กุรอาน เป็นแบบอย่างของสัจธรรมและเป็นทางนำ)มิได้มีความหมายรวมเชิงครอบคลุม (อาม) แต่อย่างไร ทว่าจุดประสงค์ของอิตเราะฮ์(ที่ตรงตามความเป็นจริงของริวายะฮฺจำนวนมากมาย) หมายถึงอหฺลุลบัยตฺนั่นเอง ผู้ซึ่งอัล-กุรอานได้รับรองถึงความสะอาดบริสุทธิ์ของพวกเขาเอาไว้ พวกเขาคือผู้นำผู้บริสุทธิ์

อิบนุอบิ้ลหะดีด พูดว่า “ท่านศาสดาได้แจ้งไว้อย่างชัดเจนว่าใครคืออิตเราะฮ์ ของท่าน โดยกล่าวว่า “แท้จริงฉันได้ฝากไว้ในหมู่พวกของท่านสองสิ่งที่มีค่ายิ่ง” หลังจากนั้นได้กล่าวว่า “อิตเราะฮ์อหฺลุลบัยตฺของฉัน” และในที่อื่นท่านได้อธิบายวัตถุประสงค์ของท่านที่มีต่ออหฺลุลบัยตฺ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ท่านได้นำกิซาอฺ(ผ้าคลุมใหล่)คลุมพวกเขา ซึ่งในขณะนั้นโองการอัฏฏัตฮีด(๑๑) ประทานลงมาพอดี ท่านศาสดาจึงได้กล่าวว่า “โอ้ข้าแต่พระองค์ บุคคลเหล่านี้คืออหฺลุลบัยตฺของฉัน โปรดนำความโสมมทั้งหลายออกห่างจากพวกเขา”(2) ญุรฺญานี ชาฟีอีย์ เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. ๓๖๕ ได้เล่าริวายะฮฺจาก อบีสะอีดว่า “โองการอัฏฏัตฮีด ได้ถูกประทานให้กับบุคคล ๕ คน กล่าวคือ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ท่านอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.)” (3)

ซะฮะบีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือตัลคีศ มุสตัดร็อก เล่าริวายะฮฺจาก ท่านหญิงอุมมุซะลามะฮฺ ท่านกล่าวว่า “โองการอัฏฏัตฮีรฺ ได้ถูกประทานลงมาที่บ้านของฉันหลังจากท่านศาสดาแล้วผู้ที่ติดตามคือท่านอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านฮะซันท่านฮุซัยนฺ และมะลากิกะฮฺญิบรออีล” ขณะนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “โอ้ข้าแต่พระองค์บุคคลเหล่านี้คืออหฺลุลบัยตฺของฉัน” อุมมุซะลามะฮฺได้ถามว่า “ยารอซูล และฉันมิใช่อหฺลุลบัยตฺของท่านหรือ?” ท่านได้ตอบว่า “เจ้าอยู่ ณ ที่ของเจ้านั้นประเสริฐอยู่แล้ว อหฺลุลบัยตฺของฉันคือบุคคลเหล่านี้ (ผู้ที่อยู่ภายใต้กิซาอฺขณะนั้น) โอ้ข้าแต่พระองค์โปรดยกฐานันดรแก่ครอบครัวของฉัน”(4)

นอกเหนือจากริวายะฮฺนี้แล้ว ยังมีสัญลักษณ์บ่งชี้อื่นๆ อีกมากมายว่า “จุดประสงค์ของอหฺลุลบัยตฺจากโองการอัฏฏัตฮีรฺ หมายถึงบุคคลพิเศษจากครอบครัวของท่านศาสดา” และยังมีโองการมุบาฮะละฮฺ ซึ่งตัฟสีรฺส่วนใหญ่ได้อธิบายว่าเป็นการระบุตัวบุคคลที่เป็นอหฺลุลบัยตฺไว้อย่างชัดเจน(5)

มุสลิมได้รายงานโดยสายสืบของตนว่า “ขณะที่โองการอัฏฏัตฮีรได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เรียกท่านอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านฮะซันและท่านฮุซัยนฺมา พร้อมทั้งยกมือขึ้นแล้วกล่าวว่า “โอ้ข้าแต่พระองค์ บุคคลเหล่านี้คืออหฺลุลบัยตฺของฉัน (ครอบครัวของฉัน)”(6)

และบนพื้นฐานของหะดีษทำนองเดียวกันนี้เองที่หนังสืออับกอตุ้ลอันวารได้กล่าวว่า “มีผู้รู้ที่มีชื่อเสียงฝ่ายซุนนีหลายคน ได้ยอมรับการเป็นผู้นำของบรรดาอหฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยกับหะดีษษะเกาะลัยนฺ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ หะกีมติรฺมิซีย์ ครั้งหนึ่งเขาพูดว่า “คำอธิบายของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ว่าอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์จะไม่มีวันแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะกลับคือสู่ฉัน ณ สระน้ำ” และกล่าวอีกว่า “มาตรว่าพวกท่านได้ทำการยึดมั่นต่อพวกเขา (อิตเราะฮ์) จะไม่มีวันหลงทางอย่างเด็ดขาด” คำพูดของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) บ่งบอกว่าบรรดาอหฺลุลบัยตฺ คือ ผู้นำประชาชาติอิสลาม มิใช่คนอื่นที่นอกเหนือจากพวกเขา” (7)

สิบฏุ อิบนุ เญาซีย์ เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้นำหะดีษษะเกาะลัยนฺไปกล่าวอธิบายไว้ในตัซกิรอตุ้ลคอวาศภายใต้หัวข้อ ซิกรุ้ลอะอิมมะฮฺ (การระลึกถึงอะอิมมะฮฺ)(8)

ท่านกันญี ชาฟิอีย์ ได้กล่าวไว้ในกิฟายะตุ้ฎฎอลิบ หลังจากหะดีษของซัยดฺ บิน อัรกอม โดยอธิบายจุดประสงค์ของอหฺลุลบัยตฺ ว่าหมายถึง บุคคลผู้ซึ่งเศาะดะเกาะฮฺเป็นฮะรอมสำหรับพวกเขาว่า แท้จริงคำอธิบายของซัยดฺเกี่ยวกับอหฺลุลบัยตฺถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะซัยดฺได้พูดว่า อหฺลุลบัยตฺคือบุคคลผู้ซึ่งเป็นฮะรอมสำหรับพวกเขาที่จะรับเศาะดะเกาะฮฺ ซึ่งการเป็นฮะรอมของเศาะดะเกาะฮฺไม่ได้เจาะจงเวลาใดเป็นพิเศษ เพราะก่อนหน้าและหลังจากการเป็นวะฝาตของศาสดา (ศ็อลฯ) ถือว่าเป็นฮะรอม และสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงอยู่แค่บุคคลที่เอ่ยนามมา ทว่าบรรดาบุตรหลานคนอื่นๆ ของมุฏ๊อลลิบก็ถือว่าเป็นที่ต้องห้ามด้วยเช่นกัน จนกระทั่งเขาได้พูดว่า “ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วที่ถูกต้องอหฺลุลบัยตฺ คือ อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซันและฮุซัยนฺ

เขาได้กล่าวริวายะฮฺที่รายงานโดยท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า “วันหนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ออกไปข้างนอกในตอนเช้า ขณะที่สวมอะบาที่ทำจากขนสัตว์สีดำ หลังจากนั้นฮะซันบุตรของอะลีได้มาและเข้าไปในอะบานั้น ต่อมาฮุซัยนฺบตรของอะลี ฟาฏิมะฮฺและอะลีก็ได้มาและเข้าไปในอะบานั้นเช่นกัน ในเวลานั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้อ่านโองการอัฏฏัตฮีรฺ “อันที่จริงอัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อหฺลุลบัยตฺ(อัล-อะหฺซาบ ๓๓)

ซึ่งหะดีษษะเกาะลัยนฺนั้นได้บ่งบอกถึงบรรดาอหฺลุลบัยตฺ คือ บุคคลผู้ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ตรัสเรียกพวกเขาว่าอหฺลุลบัยตฺไว้ในอัล-กุรอาน และท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เรียกพวกเขาให้เข้ามาอยู่ในอะบาของท่าน(9)

นอกเหนือจากนักวิชาการที่เอ่ยนามมาแล้วยังมีนักวิชาการท่านอื่นๆ อีกที่ยอมรับว่า (อหฺลุลบัยตฺที่อัล-กุรอานและหะดีษได้กล่าวถึง คือ บุคคลที่ถูกระบุไว้เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษเท่านั้น) ซึ่งรายนามของพวกเขากล่าวไว้ในอะบะกอตุ้ลอันวารฺ(10)

จากที่อธิบายผ่านมาถ้าจะไม่นับถึงความเป็น"มุตะวาติรฺ"(สายรายงานที่หลากหลายและเชื่อถือได้)ของหะดีษแล้ว กระนั้นหะดีษดังกล่าวก็ยังมีประเด็นที่ต้องพูดถึงอีกมากมายอาทิเช่น ท่านอิบนุ บาบะวัยฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อุยูน อัคบารฺ อัรริฎอ จากท่านอิมามศอดิก จากบิดาของท่าน จากอิมามซัยนุ้ลอาบิดีน กล่าวว่า

“ได้มีผู้ถามท่านอิมามอะลี (อ.) เกี่ยวกับคำพูดของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ว่า (แท้จริงฉันได้ฝากไว้ในหมู่ของพวกท่านสองสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งในฐานะเป็นตัวแทนของฉันอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์) อิตเราะฮ์นั้นหมายถึงใคร? ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวตอบว่า “หมายถึง ฉัน ฮะซัน ฮุซัยนฺ และอีก ๙ ท่านจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ ซึ่งท่านที่ ๙ มีนามว่ามะฮฺดี พวกเราจะไม่แยกออกจากอัล-กุรอานและอัล-กุรอานก็จะไม่แยกไปจากพวกเรา จนกว่าทั้งหมดจะย้อนกลับคืนสู่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ณ สระน้ำในวันกิยามะฮฺ(11)

๖. อัล-กุรอาน คือ สายเชือกที่ทอดมาจากอัลลอฮฺ (ซบ.)
ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า “จงยึดมั่นสายเชือกของอัลลอฮฺ (กุรอาน) และจงอย่างแตกแยก”(อาลิอิมรอน ๑๐๓)ได้มีริวายะฮฺยืนยันเรื่องดังกล่าว โดยรายงานจากท่านอบี สะอีด คุดรีย์ จากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ว่า ท่านศาสดาได้กล่าวว่า “แน่นอนในไม่ช้านี้ฉันคงต้องอำลาจากพวกท่านไป ฉันได้รับบัญชาให้คืนกลับสู่พระองค์ และฉันได้ตอบรับเรียบร้อยแล้ว (แต่ก่อนที่จะจากไป) ฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่งนั้นคือ คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน) และอิตเราะฮ์ของฉัน

คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺเปรียบเสมือนสายเชือกที่ทอดมาจากฟากฟ้าสู่แดนดิน ส่วนอิตเราะฮ์นั้นคืออหฺลุลบัยตฺผู้เป็นลูกหลานของฉัน อัลลอฮฺผู้ทรงสัพพัญญูได้แจ้งกับฉันว่า ทั้งสองจะไม่มีวันแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ พวกท่านจงตรึกตรองเถิดว่า เกี่ยวกับทั้งสองนั้นจะตอบฉันอย่างไร?

สาเหตุที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้ในหะดีษษะเกาะลัยนฺว่า “อหฺลุลบัยตฺของท่านเท่าเทียมกับอัล-กุรอาน และทั้งสองคือสายเชือกที่ทอดมาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) นั้นเป็นเพราะว่า ทั้งสองได้รับการแต่งตั้งมาเพื่อชี้นำประชาชาติ ดังนั้น การยึดมั่นกับอหฺลุลบัยตฺ (อ.) จึงเหมือนกับการยึดมั่นกับอัล-กุรอาน อันเนื่องจากว่าทั้งสองมีหน้าที่ช่วยเหลือมวลประชาชาติให้รอดพ้นจากความผิดบาปและการหลงทาง

ตัฟซีร อาลาอุรฺเราะหฺมาน ได้อธิบายถึงโองการ "อิอฺติศอม(การยึดเหนี่ยวเชือก)" เอาไว้ว่า การช่วยเหลือให้รอดพ้นจากการหลงทาง จำเป็นต้องยึดมั่นต่ออัล-กุรอาน ขณะที่พวกท่านทั้งหลายได้ยึดมั่นต่อสายเชือกแห่งอัลลอฮฺ (ซบ.) อยู่แล้ว และอัลลอฮฺได้แนะนำว่า อหฺลุลบัยตฺ คือผู้ดูแลประชาชาติมิให้หลงทางออกไป ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า อหฺลุลบัยตฺจะไม่หลงทางอย่างเด็ดขาด ดังที่ท่านกล่าวไว้ในหะดีษษะเกาะลัยนฺว่า “ใครก็ตามยึดมั่นกับทั้งสอง เขาจะไม่หลงทางตลอดไปอันได้แก่ "กิตาบุ้ลลอฮฺ" และ "อิตร่อตี อหฺลุบัยตี” ดังนั้น คำว่าหับลุน(สายเชือก) ที่กล่าวไว้ในโองการต้องการบอกว่า การไม่ยึดมั่นกับสิ่งนั้นเป็นเหตุทำให้หลงทางอยู่ในความผิดบาป(22) ขณะที่มีการยืนยันว่าหับลุลลอฮฺ(สายเชือกของอัลลอฮ์) มิได้เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษอยู่แค่อัล-กุรอาน แต่ทว่ารวมถึงท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ด้วย

ฉะนั้น จะสังเกตเห็นว่าพระองค์ได้สั่งว่า “จงยึดเหนี่ยวสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมเพรียงกันและจงอย่าได้แตกแยก” หลังจากที่พระองค์ได้ตรัสว่า “พวกเจ้าจะปฏิเสธได้อย่างไร ทั้งที่โองการของอัลลอฮฺถูกสาธยายให้พวกเจ้าฟัง และในหมู่ของพวกเจ้าก็มีศาสดาของพระองค์อยู่ และบุคคลใดยึดมั่นต่ออัลลอฮฺแน่นอนเขาต้องได้รับการชี้นำสู่แนวทางอันเที่ยงตรง(13) ซึ่งสิ่งที่อัล-กุรอานต้องการจะบอกก็คือ เป็นหน้าที่ของประชาชาติที่ต้องยึดมั่นกับโองการของอัลลอฮฺ ปฏิบัติตามท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และยึดเหนี่ยวสายเชือกของพระองค์ ดังที่โองการก่อนหน้านี้ตรัสว่า การยึดมั่นในโองการของพระองค์ และปฏิบัติตามท่านศาสดาเท่ากับเป็นการยึดมั่นต่อพระองค์ ดังนั้น จะเห็นว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อยู่ในฐานะที่เท่าเทียมกับอัล-กุรอาน ฉะนั้น อิตเราะฮ์ในฐานะตัวแทนของท่านศาสดาก็เท่าเทียมกับอัล-กุรอานด้วยเช่นกัน

นอกเหนือจากเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว ยังมีริวายะฮฺอีกจำนวนมากที่กล่าวว่า อิตเราะฮ์ของท่านศาสดาคือ เชือกแห่งอัลลอฮฺ (หับลุลลอฮฺ) ในหนังสือ อับกอตุ้ลอันวารฺ ซัยดฺ สุไลมาน หะนะฟีย์ กันดูซีย์ ได้อธิบายโองการที่ว่า “จงยึดเหนี่ยวสายเชือกของอัลลอฮฺ โดยพร้อมเพรียงกันและจงอย่าแตกแยก” โดยรายงานริวายะฮฺจาก ษุอฺละบี จากสายรายงานของเขาจาก อะบาน บิน ตัฆลิบ จาก อิมามศอดิก (อ.) ท่านอิมามได้กล่าวว่า “พวกเราคือความหมายของหับลุ้ลลอฮฺ” ของโองการที่ว่า “จงยึดเหนี่ยวสายเชือกของอัลลอฮฺโดยพร้อมเพรียงกัน”

ในหนังสือ มะนากิบ ได้บันทึกไว้โดยรายงานจาก สะอีด บิน ญุเบรฺ จากท่านอิบนุอับบาส ซึ่งกล่าวว่า ขณะที่ฉันอยู่กับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้มีอาหรับคนหนึ่งเดินเข้ามาและพูดว่า “ยารอซูล ฉันได้ยินท่านกล่าวว่า จงยึดเหนี่ยวสายเชือกของอัลลอฮฺ โดยพร้อมเพรียงกัน สายเชือกพวกเราต้องยึดเหนี่ยวหมายถึงอะไร” ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้จับมือท่านอะลี (อ.) และกล่าวว่า “ท่านจงยึดมั่นต่ออะลี เพราะเขาคือสายเชือกที่เหนียวแน่นของอัลลอฮฺ”

ท่านนุอฺมานี ได้รายงานโดยสายสืบของท่านจนถึง หะรีซ บิน อับดุลลอฮฺ จากท่านอิมามศอดิก (อ.) จากบิดาของท่านและจากบิดา-บิดาของท่าน จากอิมามอะลี (อ.) ท่านอิมาม (อ.)ได้กล่าวว่า “ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้อ่านคุฏบะฮฺที่มัสญิดคัยฟฺว่า (ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า เป็นคุฏบะฮฺในพิธีหัจญ์ครั้งสุดท้าย) “พวกท่านจงรู้ไว้เถิดว่า ฉันได้ฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่านในฐานะตัวแทนของ ฉัน สิ่งหนักที่ยิ่งใหญ่ คือ อัล-กุรอานและสิ่งที่รองลงมา คือ อิตเราะฮ์ อหฺลุลบัยตฺของฉัน ทั้งสองคือสายเชือกที่เชือมต่อระหว่างพวกท่านกับอัลลอฮฺ (ซบ.) และถ้าใครยึดมั่นกับทั้งสองเขาจะไม่หลงทางตลอดไป ซึ่งสายเชือกด้านหนึ่งอยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮฺ และอีกด้านหนึ่งอยู่ในมือของพวกท่าน”(14)

ริวายะฮฺจากอบิ้ลหะดีด เกี่ยวกับเรื่องนี้กล่าวว่า “ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ฉันได้ฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่านอันได้แก่ คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ อิตเราะฮ์ อหฺลุลบัยตฺของฉัน ทั้งสองเป็นสายเชือกที่ทอดตรงจากฟากฟ้าสู่แดนดิน และจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ” (15)

ด้วยเหตุนี้ การเกิดและปรากฏการกระทำที่เป็นหนึ่งเดียวกันโดยห่างไกลจากการแตกแยก สิ่งที่จำเป็นคือ ต้องยึดมั่นต่ออหฺลุลบัยตฺและอัล-กุรอาน เนื่องจากว่า ทั้งสองคือสาเหตุของความเป็นเอกภาพสำหรับประชาชาติอิสลาม ดังเช่นในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สื่อสำคัญในความเป็นเอกภาพของมุสลิมคือ อัล-กุรอานและตัวของท่านศาสดา จึงจำเป็นสำหรับเราทั้งหลายที่ต้องพิจารณาที่มูลเหตุที่เป็นรากฐานสำคัญของความเป็นเอกภาพ ดังที่อัล-กุรอานได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับสิ่งนั้นไว้แล้ว

สรุปการที่เรียกอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ว่าเป็นหับลุ้ลลอฮฺ (สายเชือกของอัลลอฮฺ) นั้นเป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่น มีความถาวรยิ่งระหว่างทั้งสองกับอัลลอฮฺ (ซบ.) ด้วยเหตุนี้ ใครที่ยึดมั่นกับทั้งสองเท่ากับเขาได้ยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ แน่นอนการยึดเหนี่ยวกับสายเชือกของอัลลอฮฺ (ซบ.) เท่านั้นที่สามารถปกป้องท่านให้รอดพ้นจากหลงทางและการหลงผิดทั้งหลาย ในทางกลับกันการออกห่างจากสายเชือกของพระองค์ เท่ากับอยู่ในหนทางที่หลงผิด และเป็นการหลงทางออกไปจากความจริง เขาจึงไม่สามารถปกป้องตัวเองให้รอดพ้นจากความไร้สาระและความผิดพลาดได้

๗. แท้จริงอัล-กุรอานกับอิตเราะฮ์มีความสัมพันธ์ที่ถาวรต่อกัน
โดยจะไม่แยกจากกันอย่างเด็ดขาด ดังที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้ในหะดีษษะเกาะลัยนฺว่า “จงรู้ไว้เถิดว่าทั้งสองอัล-กุรอาน กับอิตเราะฮ์ จะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดจนกว่าทั้งสองจะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ”

หรือกล่าวว่า “อัลลอฮฺผู้ทรงสัพพัญญูได้แจ้งให้ฉันรู้ว่าทั้งสอง จะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด” ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นข่าวที่เร้นลับ (ฆ็อยบี) ที่บ่งบอกถึงการดำรงอยู่ของอัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ และนั้นหมายความว่า ทั้งสองอยู่เหนือมิติของกาลเวลา ดังที่ทราบดีว่า อัล-กุรอานนั้นเป็นความมหัศจรรย์ที่มีความเป็นอมตะ อิตเราะฮ์ก็เช่นกัน (ในฐานะที่เป็นปัจจัยที่คู่กับอัล-กุรอาน) มีความเป็นอมตะที่แผ่นดินจะปราศจากพวกเขาไม่ได้เด็ดขาด(16) มีริวายะฮฺจำนวนมากมายที่ได้กล่าวถึงตำแหน่งอันทรงเกียรติของพวกเขา

ดังเช่นที่ ท่านซัยดฺ สุไลมาน หะนะฟีย์ กุนดูซี ได้รายงานโดยสายสืบของท่านจนถึง ท่านอิมามฮะซัน (อ.) กล่าวว่า “วันหนึ่งตาของฉันรอซูลุลลอฮฺได้อ่านคุฏบะฮฺ หลังจากกล่าวสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า : โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลายแน่นอนแล้วว่า ฉันต้องจากพวกท่านไปในไม่ช้านี้ ซึ่งตัวฉันได้ตอบรับสิ่งนั้นแล้ว (ก่อนจากไป) ฉันขอฝากสิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่างยิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่านอันได้แก่ อัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ อหฺลุลบัยตฺของฉัน ถ้าหากพวกท่านยึดมั่นกับทั้งสองจะไม่มีวันหลงทางตลอดไป และแท้จริงแล้วทั้งสองจะไม่มีวันแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำในวันกิยามะฮฺ

ฉะนั้น พวกท่านจงเรียนรู้จากพวกเขา แต่จงอย่างสอนสั่งพวกเขา เนื่องจากว่าพวกเขารู้ดีกว่าพวกท่าน และแผ่นดินจะไม่มีวันว่างเว้นจากพวกเขาเด็ดขาด เพราะเมื่อใดก็ตามที่แผ่นดินปราศจากพวกเขา ประชาชาติจะพบกับความหายนะอย่างแน่นอน”(17)

การที่แผ่นดินไม่ว่างเว้นจากหุจญัตของอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นสิ่งหนึ่งที่สติปัญญาสามารถยอมรับได้ เพราะการปราศจากหุจญัตของพระองค์บนหน้าแผ่นดิน (ในฐานะที่เป็นหุจญัตสมบูรณ์ ณ ประชาชาติ) ไม่เข้ากันกับวิทยปัญญาของพระองค์ ประกอบกับมีริวายะฮิจำนวนมากกล่าวสนับสนุนสิ่งนี้เอาไว้ (ซึ่งสามารถแบ่งริวายะฮฺเหล่านั้นออกเป็นกลุ่มได้ดังต่อไปนี้)

ก. ริวายะฮฺกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า “แท้จริงอหฺลุลบัยตฺของฉันเป็นสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัยสำหรับชาวดิน” หนังสือฟะฎออิ้ล อะลี บิน อบีฏอลิบ ของอหฺมัด บิน มุฮัมมัดหันบัล โดยสายรายงานของท่านจากท่านอิมามอะลี (อ.) ท่านอิมามกล่าวว่า “ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ดวงดาว คือ สัญลักษณ์แห่งความปลอดภัยของชาวฟ้า เมื่อใดก็ตามที่หมู่ดวงดาวได้เลือนหายไป ชาวฟ้าก็ย่อมสลายหายไปด้วย และเมื่อใดที่อหฺลุลบัยตฺของฉันสูญสิ้น ชาวพิภพก็สูญสิ้นไปด้วย”(18)

ข. ริวายะฮิที่กล่าวยืนยันความต่อเนื่องของเคาะลิฟะฮฺผู้เป็นตัวแทนของท่าน ศาสดา (ศ็อลฯ) และเป็นหุจญัตของอัลลอฮฺ (ซบ.) บนหน้าแผ่นดินจนถึงวันกิยามะฮฺ

ท่านหะมะวีนีย์ โดยสายรายงานของท่านจนถึงท่านอับดุลลอฮฺ บิน อับบาส ได้ริวายะฮฺว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “แน่นอนตัวแทนและวะศีย์ของฉันและเป็นหุจญัตของอัลลอฮฺ (ซบ.) ในหมู่ประชาชาติภายหลังจากฉันมีทั้งสิ้น ๑๒ ท่าน คนแรกจากพวกเขาคือ ลูกพี่ลูกน้องของฉัน ส่วนคนสุดท้ายจากพวกเป็นบุตรชายของฉัน ได้มีคนถามท่านศาสดาว่า “ยารอซูลุลลอฮฺ ลูกพี่ลูกน้องของท่านเป็นใคร?” ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตอบว่า “อะลี บุตรของอบูฎอลิบ” ได้มีคนถามว่า “และบุตรชายของท่านล่ะเป็นใคร?”

ท่านตอบว่า “มะฮฺดี ซึ่งเขาจะเป็นผู้ทำให้โลกเต็มไปด้วยความยุติธรรม ดุจดังเช่นที่โลกได้เคยเต็มไปด้วยความอยุติธรรม ฉันขอสาบานต่ออัลลอฺฮฺ ผู้ทรงแจ้งข่าวแก่ฉัน ผู้ทรงอุบัติโลกขึ้นมาบนความสัตย์จริงว่า มาตรว่าโลกจะมีเวลาเหลืออยู่แค่วันเดียว พระองค์จะทรงทำให้วันนั้นยาวนาน เพื่อให้มะฮฺบุตรชายของฉันได้ปรากฏตัว หลังจากนั้น อีซา รูหุ้ลลอฮฺก็จะปรากฏตัวเช่นกัน และเขาจะปฏิบัตินมาซตามหลังมะฮฺดี แผ่นดินจะสว่างไสวไปด้วยนูรรัศมีของพระองค์ การปกครองของเขาจะครอบครองตั้งแต่ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก”(19)

มุวัฟฟัก บิน อะหฺมัด นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอหฺลิซซุนนะฮฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน โดยสายรายงานท่าน จากสุไลมาน มุฮัมมะดี กล่าวว่า “ฉันได้เข้าไปหาท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ขณะที่ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) นั่งอยู่บนตักของท่านศาสดาและท่านได้จูบที่ดวงตาทั้งสองของฮุซัยนฺพร้อมทั้ง กล่าวว่า “เจ้านั้นเป็นผู้ทรงเกียรติ เป็นบุตรชายของผู้ทรงเกียรติเป็นน้องชายของผู้ทรงเกียรติ และเป็นบิดาของบรรดาผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย เจ้านั้นเป็นอิมาม เป็นบุตรชายของอิมาม เป็นน้องชายของอิมาม และเป็นบิดาของอิมามทั้งหลาย เจ้านั้นเป็นหหุจญัตบุตรของหุจญัต เป็นน้องชายของหุจญัตและเป็นบิดาของหุจญัตอีก ๙ ท่าน ซึ่งคนที่เก้าจากพวกเขานามว่า กออิม เขาเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้า”(20)

ท่านมุสลิมได้กล่าวไว้ในเศาะฮีย์ โดยสายสืบของท่านจากท่านญาบีรฺ บิน ซุมเราะฮฺ ได้รายงานว่า “ความต่อเนื่องในภารกิจของประชาชาติขึ้นอยู่กับผู้นำทั้งหลาย ซึ่งพวกเขามี ๑๒ ท่าน” หลังจากนั้นท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวคำพูดหนึ่งออกมาแต่ฉันไม่เข้าใจ จึงได้ถามบิดาของฉันว่าท่านศาสดาได้กล่าวอะไร บิดาฉันตอบว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าว “พวกเขาทั้งหมดเป็นชาวกุเรช”(21)ท่านหะมะวี ได้รายงานจากสายสืบของท่าน จากนาฟิฮอฺ ท่านได้กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ความต่อเนื่องของศาสนานั้นมั่งคงถาวรจนถึงวันกิยามะฮฺ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพวกท่านทั้งหลายที่ต้องปฏิบัติตามผู้นำทั้ง ๑๒ ท่าน ซึ่งพวกเขาทั้งหมดเป็นชาวกุเรช”(22)

ในหนังสือญะวาฮิรุ้ลอักดัยนฺ จาก ซัมฮูดี ตอนอธิบายหะดีษษะเกาะลัยนฺกล่าวว่า “การมีอยู่ของรรดาอหฺลุลบัยตฺอิตเราะฮ์ผู้บิรสุทธิ์ ซึ่งมีความเหมาะสมและสมควรอย่างยิ่งที่ต้องยึดมั่นกับพวกเขา (ทุกเวลาตราบจนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ) สิ่งที่สามารถเข้าใจได้จากหะดีษษะเกาะลัยนฺ ที่ถือว่าเป็นประเด็นหลักซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งคือ เรื่องการยึดมั่นต่ออหฺลุลบัยตฺ เพราะว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้อธิบายสิ่งดังกล่าวดัวยวิสัยทัศน์ที่กล่าวไกลครอบคลุมอนาคตอันมั่นคงของอิสลามไว้ทั้งหมด (และเป็นการปฏิเสธการหลงทางอย่างสิ้นเชิง) พร้อมทั้งได้สร้างความเข้าที่ชัดเจนแก่ประชาชน อัล-กุรอานก็เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เอง อหฺลุลบัยตฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงอยู่ในฐานะของสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัยสำหรับประชาชาติ เมื่อใดก็ตามที่แผ่นดินปราศจากอหฺลุลบัยตฺ บรรดาประชาชาติก็ไม่อาจดำรงสืบต่อไปได้(23)

ท่านอิบนุหะญัรฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ เศาะวาอิก ของท่านว่า “มีหะดีษมากมายที่กล่าวให้ยึดมั่นต่ออหฺลุลบัยตฺ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บรรดาอหฺลุลบัยตฺมีคุณสมบัติดังกล่าวตราบจนถึงวันกิยามะฮฺ ดุจดังเช่นอัล-กุรอาน ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงยังความปลอดภัยแก่ประชาชาติ”(24)



เปิดหน้าต่อไป

--------------------------------------------------------------------------
เชิงอรรถ
1. อันที่จริงอัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะขจัดมลทินให้ออกจากเจ้า โอ้อหฺลุลบัยตฺ
2. ชัรห์ นะฮฺญุ้ลบะลาเฆาะฮฺ อิบนุอบิ้ลหะดีด ๖/๓๗๕-๓๗๖
3. อัลกามาลุ ฟิรฺริญาล เล่มที่ ๖ หะดีษที่ ๒๐๘๖ พิมพ์ที่ เบรุตคัดลอกมาจาก อิหฺกอกุ้ลหัก ๒๔/๕๙-๖๐
4 อิหฺกอกุ้ลหัก ๒/๕๑๙ คัดลอกมาจาก อัลตั้ลดีศมุสตัดร็อก และมุสตัดร็อก ๓/๔๑๖ พิมพ์ที่ ฮัยเดอราบัด
5. يريد الله ليذهب عنکم الرجس اهل البيت و يطهرکم تطهيرا
6. เศาะฮีย์มุสลิม เล่มที่ ๔/๑๘๗๑ ท่านมุสลิม ติรมะซีย์ อิบนุมุนซัร ฮากิม บัยฮะกีย์ ได้รายงานโดยสายสืบของเขาจาก สะอฺดิบนิ อบีวะกอศ กล่าวว่า “สาเหตุของการลงโองการมุบาฮิละฮฺ คืออะไร เขาได้ตอบว่า เพราะท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้เรียกท่านอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านฮะซัน ท่านฮุซัยนฺ ให้ออกมาและหลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า “โอ้ข้าแต่พระองค์บุคคลพวกนี้ คือ ครอบครัวของฉัน” อิหฺกอกุ้ลฮัก เล่มที่ ๓/๕๘-๕๙
7. นะวาดิรุ้ลอุศูล หน้าที่ ๖๙
8. ตัชกิรอตุ้ลคอวาศ หน้าที่ ๒๙๐
9. กิฟายะตุ้ฎฎอลิบ หน้าที่ ๕๔
10. นะฟะหาตุ้ลอัซฮารฺ ๒/๓๔๑-๓๔๗
11. อุยูนุ้ล อัคบารุริฎอ ๑/๔๖ หะดีษที่ ๒๕ ฉะนั้นจุดประสงค์ของอิตเราะฮ์ คือ อหฺลุลบัยตฺ (อ.) ผู้เป็นอิมามที่บริสุทธิ์จากมลทินทั้งหลาย
12. อะลาอุรฺเราะหฺนาม หน้าที่ ๓๒๒
13. อาลิอิมรอน ๑๐๑
14. นะฟะหาตุ้ลอัซฮารฺ ๒/๒๕๔ ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ ๑/๑๑๘
15. ฆัยบะตุนนุอฺมานี หน้าที่ ๔๒-๔๓
16. ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ หน้าที่ ๑๙-๒๗
17. ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ หน้าที่ ๒๐ พิมพ์ที่ อิสตันบูล
18. อะมาลี ซัยดฺ ฎูซีย์ หน้าที่ ๓๗๙-๘๑๒
19. ฟะรออิด อัลซิมฏอยน์ ๒/๓๑๘-๕๖๒
20. มักตั้ลฮุซัยนฺ หน้าที่ ๑๔๖
21. เศาะฮีย์มุสลิม ๓/ หะดีษที่ ๑๔๕๒
22. ฟะรออิดุลมุสฎีน ๒/๑๕๐
23. นะฟะหาตุ้ลอัซฮารฺ ๒/๒๖๒ จากญะวาฮิดุ้ลอักดัยนฺ ฟัยฎัลกอดีรฺ ๓/๑๕
24. อัศเศาะวาอิกุ้ลมุห์ริเกาะฮฺ หน้าที่ ๒๓๒ (เศาะวาอิกุ้ลมุหัรฺซอเกาะฮฺ พิมพ์ที่ อียิปตฺ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๑



ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
เจาะลึกหะดีษษะเกาะลัยนฺ

.
๘.หะดีษษะเกาะลัยนฺบ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของอัล-กุรอานและอหฺลุลบัยตฺ
เนื่องจากว่าทั้งสองได้รับการสัญญาว่าจะสามารถปกป้องประชาชาติให้รอดพ้นจากการหลงทางและการหลงผิดด้วยการปฏิบัติตามทั้งสองอย่างสมบูรณ์แบบปราศจากเงื่อนไข ซึ่งสิ่งนี้เป็นไปไม่ได้นอกเสียจากว่า ทั้งสองต้องเป็นมะฮอฺซูม (บริสุทธิ์) และโดยแก่นแท้แล้ว จะเห็นว่าหะดีษษะเกาะลัยนฺได้อธิบายด้วยคำพูดที่แตกต่างกัน เช่นบางครั้งกล่าวว่า

๘.๑ โอ้ประชาชนทั้งหลายแท้จริงแล้ว ฉันได้ฝากไว้ในหมู่ของพวกท่านซึ่งสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ถ้าหากพวกท่านยึดมั่นกับสิ่งนั้น จะไม่หลงทางตลอดไป อันได้แก่ อัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ (อหฺลุลบัยตฺ) ของฉัน(1)

๘.๒ หะดีษบางบทได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า “อะลีอยู่กับอัล-กุรอานและอัล-กุรอานนั้นอยู่กับอะลีทั้งสองจะไม่แยกออกจาก กันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งจะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ(2)

๘.๓ หะดีษบางบทกล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ขอดุอาอฺให้กับท่านอะลีว่า “โอ้ข้าแต่พระองค์ โปรดประทานสัจธรรมให้กับอะลี และให้สิ่งนั้นอยู่กับเขาในทุกที่ตลอดไป(3)

๘.๔ สิ่งหนึ่งถ้าหากพวกท่านยึดมั่นจะไม่หลงทางไปตลอดกาล อันได้แก่ คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอิตเราะฮ์อหฺลุลบัยตฺของฉัน นอกเหนือจากคำกล่าวเหล่านี้แล้ว ยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกที่บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของอหฺลุลบัยตฺ (อ.) อย่างเช่นโองการตัฏฮีรฺ(อินนะมายุรีดุลลอฮุ..) หรือหะดีษที่บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของอหฺลุลบัยตฺโดยตรง

ก. ท่านฮากิมรายงานริวายะฮฺ โดยสายสืบของท่านจนถึงท่าน อบูซัรฺ โดยกล่าวว่า “ท่านศาสดาได้กล่าวว่า : "อุปมาอหฺลุลบัยตฺของฉันเปรียบเสมือนเรือของนบีนูหฺ ใครที่ได้ขึ้นเรือเขาจะได้รับความปลอดภัย ส่วนผู้ที่ปฏิเสธเขาจะจมน้ำตาย" (สาเหตุที่เปรียบเทียบอหฺลุลบัยตฺเหมือนกับเรือของนบีนูหฺ เป็นเพราะว่า ใครก็ตามที่รักอหฺลุลบัยตฺและให้เกียรติพวกเขา อัลลอฮฺ (ซบ.)จะประทานเพิ่มพูนนิอฺมะฮฺ(ความโปรดปราน)ให้กับเขา ใครก็ตามได้รับทางนำจากการชี้นำของพวกเขาจะมีความปลอดภัยจากเล่ห์เพทุบาย ต่างๆ ส่วนใครก็ตามทีทำตนเป็นปรปักษ์ พวกเขาจะจมน้ำตายอยู่ท่ามกลางทะเลของการปฏิเสธและการยะโสอวดดี)(4)

ข. ท่านฎ็อบรอนีย์ได้รายงานจาก อบี สะอีดโดยกล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ไม่ต้องสงสัย อุปมาอหฺลุลบัยตฺของฉันเปรียบเสมือนบาบุ้ลหิฏเฏาะฮฺของชาวบนีอิสรออีล

**หมายเหตุ การเปรียบเทียบอหฺลุลบัยตฺ (อ.) เหมือนกับบาบุ้ลหิฏเฏาะฮฺ หมายถึงประตูอะรีฮาหรือประตูของบัยตุ้ลมุก็อดดิส ซึ่งการเข้าประตูดังกล่าวนั้นเอง ด้วยกับความนอบน้อมถ่อมตน และหวังการให้อภัยจากพระผู้เป็นเจ้า หนทางการให้อภัยได้เปิดสำหรับพวกเขาเสมอ และสำหรับประชาชาติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กำหนดให้ความรักที่มีต่ออหฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นประตูสำหรับการถ่ายโทษความผิด) ใครที่เดินผ่านประตูเขาจะได้รับการอภัย” (5)

ท่านซัยยิด ชะรอฟุดดีนได้กล่าวว่า “สาเหตุของการเปรียบเทียบอหฺลุลบัยตฺว่า เหมือนกับประตูแห่งการไถ่บาป เป็นเพราะว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมอบให้ประตูนั้นเป็นสถานที่สำแดงความนอบน้อมถ่อมตนต่อความเกรียงไกร และยอมจำนนต่อวิทยปัญญาของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ประตูดังกล่าวจึงเป็นประตูแห่งการไถ่บาป จึงได้อุปมา อหฺลุลบัยตฺนั้นเสมือนกับ บาบุ้ลหิฏเฏาะฮฺ(6)

ให้หลอดพ้นจากการหลงทางและการหลงผิด ด้วยการปฏิบัติตามทั้งสองอย่างสมบูรณ์แบบปราศจากเงื่อนไข ซึ่งสิ่งนี้เป็นไปไม่ได้นอกเสียจากว่า ทั้งสองต้องเป็นมะฮอฺซูม (บริสุทธิ์) และโดยแก่นแท้แล้ว จะเห็นว่า หะดีษษะเกาะลัยนฺ) ได้อธิบายด้วยคำพูดที่แตกต่างกันซึ่ง เช่นบางครั้งกล่าวว่า

๘.๑ โอ้ประชาชนทั้งหลายแท้จริงแล้ว ฉันได้ฝากไว้ในหมู่ของพวกท่านสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง ถ้าหากพวกท่านยึดมั่นกับสิ่งนั้น จะไม่หลงทางตลอดไป อันได้แก่ อัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ (อหฺลุลบัยตฺ) ของฉัน(7)

๘.๒ หะดีษบางบทได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า “อะลีอยู่กับอัล-กุรอานและอัล-กุรอานนั้นอยู่กับอะลี ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งจะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ(8)

๘.๓ หะดีษบางบทกล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ขอดุอาอฺให้กับท่านอะลีว่า “โอ้ข้าแต่พระองค์ โปรดประทานสัจธรรมให้กับอะลี และให้สิ่งนั้นอยู่กับเขาในทุกที่ตลอดไป(9)

๘.๔ สิ่งหนึ่งถ้าหากพวกท่านยึดมั่นจะไม่หลงทางไปตลอดกาล อันได้แก่ คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอิตเราะฮ์อหฺลุลบัยตฺของฉัน(10) นอกเหนือจากคำกล่าวเหล่านี้แล้ว ยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกที่บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ย่างเช่น โองการอัตตัฏฮีรฺ หรือหะดีษที่บ่งบอกถึงความบริสุทธิ์ของอหฺลุลบัยตฺโดยตรง

ก. ท่านฮากิมรายงานริวายะฮฺ โดยสายสืบของท่านจนถึงท่าน อบูซัรฺ โดยกล่าวว่า “ท่านศาสดาได้กล่าวว่า : อุปมาอหฺลุลบัยตฺของฉันเปรียบเสมือนเรือของนบีนูหฺ หมายเหตุ สาเหตุที่เปรียบเทียบอหฺลุลบัยตฺเหมือนกับเรือของนบีนูหฺ เป็นเพราะว่า ใครก็ตามที่รักอหฺลุลบัยตฺและให้เกียรติพวกเขา อัลลอฮฺ (ซบ.) จะประเพิ่มพูนนิอฺมะฮฺให้กับเขา ใครก็ตามได้รับทางนำจากการชี้นำของพวกเขาจะมีความปลอดภัยจากเล่ห์เพทุบาย ต่างๆ ส่วนใครก็ตามทีทำตนเป็นปรปักษ์ พวกเขาจะจมน้ำตายอยู่ท่ามกลางทะเลของการปฏิเสธและการยะโสอวดดี) ใครที่ได้ขึ้นเรือเขาจะได้รับความปลอดภัย ส่วนผู้ที่ปฏิเสธเขาจะจมน้ำตาย(11)

ข. ท่านฎ็อบรอนีย์ได้รายงานจาก อบีสะอีดโดยกล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ไม่ต้องสงสัยอุปมาอหฺลุลบัยตฺของฉันเปรียบเสมือนบาบุ้ลหิฏเฏาะฮฺของชาวบนี อิสรออีล

หมายเหตุ การเปรียบเทียบอหฺลุลบัยตฺ (อ.) เหมือนกับบาบุ้ลหิฏเฏาะฮฺ หมายถึงประตูอะรีฮาหรือประตูของบัยตุ้ลมุก็อดดิส ซึ่งการเข้าประตูดังกล่าว นั้นเอง ด้วยกับความนอบน้อมถ่อมตน และหวังการให้อภัยจากพระผู้เป็นเจ้า หนทางการให้อภัยได้เปิดสำหรับพวกเขาเสมอ และสำหรับประชาชาติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กำหนดให้ความรักที่มีต่ออหฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นประตูสำหรับการถ่ายโทษความผิด) ใครที่เดินผ่านประตูเขาจะได้รับการอภัย” (12)

ท่านซัยยิด ชะรอฟุดดีนได้กล่าวว่า “สาเหตุของการเปรียบเทียบอหฺลุลบัยตฺว่า เหมือนกับประตูแห่งการไถ่บาป เป็นเพราะว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมอบให้ประตูนั้นเป็นสถานที่สำแดงความ นอบน้อมถ่อมตนต่อความเกียรงไกล และยอมจำนนต่อวิทยปัญญาของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ประตูดังกล่าวจึงเป็นประตูแห่งการไถ่บาป จึงได้อุปมา อหฺลุลบัยตฺนั้นเสมือนกับ บาบุ้ลหิฏเฏาะฮฺ(13)

อย่างไรก็ตามได้มีนักปราชญ์บางคนจากฝ่ายซุนนะฮฺ เช่น ท่านฟัครุรฺ-รอซีย์ อิบนุหะญัรฺฮัยตัมมี ญะลาลุดดีน ซุยูฎีย สะนะดีย์และท่านอื่นๆ ได้ยอมรับเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว(14)

อิบนุอบิ้ลหะดีด ได้นำสะนัดของหะดีษ (สายสืบ) มาจาก อบีมุฮัมมัด บิน มัตวียะฮฺ ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือกิฟายะฮฺว่า ขณะที่ได้พูดว่า “แน่นอนอะลีนั้นเป็นมะอฺซูม แม้ว่าคุณลักษณะของการเป็นมะอฺซูมจะไม่จำเป็นสำหรับอะลีก็ตาม ประกอบกับการเป็นมะอฺซูมมิใช่เงื่อนไขของการเป็นอิมาม แต่ทว่ามีหลักฐานมากมายที่บ่งบอกถึงความเป็นมะอฺซูม (ผู้บิรสุทธิ์) ความรู้ด้านในและการรู้แจ้งของท่านอะลี สิ่งเหล่านี้คือคุณวิเศษที่เฉพาะเจาะจงสำหรับท่าน ซึ่งไม่มีอยู่ในเศาะฮาบะฮฺ (สาวก) ท่านอื่นๆ แน่นอนย่อมแตกต่างกันในการที่จะพูดว่า นาย ก. มีความเป็นมะอฺซูมกับเป็นความจำเป็นสำหรับนาย ก. ต้องเป็นมะอฺซูม เพราะเขาเป็นอิมามและเงื่อนไขประการหนึ่งของการเป็นอิมามคือ ต้องเป็นมะอฺซูม ข้อความประโยคแรกเป็นความสัมพันธ์ของนิกายของเรา ส่วนข้อความที่สองเป็นความสัมพันธ์ของนิกายอิมามียะฮฺ(15)

เป็นที่ประจักษ์ว่าอัล-กุรอานนั้นบริสุทธิ์(จากความผิดพลาดทั้งปวง) เพราะเป็นคัมภีร์ที่มาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งอาตมันสากลของพระองค์ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง การประทานคัมภีร์ การรับวะฮีย์ โดยท่านศาสดาและนำไปเผยแพร่ต่อประชาชน ขั้นตอนทั้งหมดเหล่านี้ปราศจากความผิดพลาด และนอกเหนือจากนี้วัตถุประสงค์ของการประทานคัมภีร์ก็เพื่อชี้นำประชาชนไปสู่ ความบริสุทธิ์ที่แท้จริง ถ้าสมมติว่าไม่เป็นไปตามกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นการขัดต่อวิทยปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง

ทำนองเดียวกันความบริสุทธิ์ของอะอิมมะฮฺ (อ.) สืบเนื่องจากว่า ความรู้ของพวกเขามาจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) และอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งในสภาวะความเป็นจิรงนั้น ปราศจากความผิดพลาดอยู่แล้ว พวกเขาได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ให้ทำหน้าที่ชี้นำและขัดเกลามนุษยชาติ ฉะนั้น ความผิดพลาดการหลงผิดการหลงทางไม่อาจอยู่เคียงข้างกับการชี้นำและการขัดเกลา ได้ ประกอบกับสิ่งเหล่านี้ขัดแย้งกับพระราชกิจของพระองค์ ด้วยเหตุนี้เองจะเห็นว่า ทั้งอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์นั้นเป็นมะอฺซูม ปราศจากความผิดพลาด ส่วนการปฏิบัติตามทั้งสองเป็นเหตุทำให้มีความบริสุทธิ์ปกป้องตนเองออกจากการ หลงผิดและการหลงทาง ซึ่งความประเสริฐดังกล่าวเป็นคุณวิเศษสำหรับอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์เท่านั้น

๙. ใจความที่แตกต่างกันในคำพูดของท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
ซึ่งให้ความชัดเจนที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างอหฺลุลบัยตฺ (อ.) กับอัลลอฮฺ (ซบ.) เช่น คำพูดที่ว่า “ทั้งสองคือสายเชือกที่ทอดตรงมาจากฟากฟ้าระหว่างท่านกับพระผู้เป็นเจ้า”

هما حبل ممدود من السماء بينکم وبين الله عزوجل
ด้านหนึ่งของสายเชือกอยู่ในพระหัตถ์ของอัลลอฮฺ ส่วนอีกด้านหนึ่งอยู่ในมือของพวกท่าน”

سبب منه بيد الله و سبب بأيديکم
“แน่นอนทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้ง สองจะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ”

انهما لن يفترقا حتی يردا علی الحوض
“ตราบเท่าที่พวกท่านยึดมั่นทั้งสองอยู่ พวกท่านจะไม่หลงทางตลอดไป”

ما ان تمسّکتم بهما لن تضلّوا
“อะลีอยู่กับอัล-กุรอานและอัล-กุรอานนั้นอยู่กับอะลี ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกัน”

هذا علیّ مع القرآن و القرآن مع علیّ لا يفترقان
ฉะนั้น พวกท่านจะต้องไม่ล้ำหน้าพวกเขา เพราะจะทำให้พบกับความพินาศ และจะต้องไม่ล้าหลังจากพวกเขา เพราะจะทำให้หลงทางตลอดไป ทำนองเดียวกันท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้อุปมาว่าอหฺลุลบัยตฺของท่านเหมือนกับเรือของนบีนูห์ เหมือนกับหมู่ดวงดาว อัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ คือ เคาะลิฟะฮิ (ตัวแทน) ของท่าน และคำพูดอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ ซึ่งทั้งหมดเป็นการแสดงให้เห็นว่า บรรดาอหฺลุลบัยตฺ (อ.) นั้นมีความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นพิเศษประกอบกับบรรดาอหฺลุลบัยตฺได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือ และได้รับการดลใจจากพระองค์เสมอ ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงสามารถพูดว่า การเป็นอิมามของพวกเขาไม่มีข้อสงสัยหรือข้อเคลือบแคลงใดๆ ทั้งสิ้น ไม่เหมือนกับตำแหน่งของเคาลิฟะฮฺที่พี่น้องฝ่ายหนึ่งยังมีความสงสัยเคลือบ แคลงอยู่เหตุที่ไม่มีการสงสัย เพราะชีวาตมันของเขาแตกต่างกัน

แก่นแท้ของอิมามะฮฺในทัศนะของอิมามียะฮฺ ถือเป็นแก่นแท้เดียวกันกับนุบูวัตจะมีความแกต่างกันตรงที่ว่า นุบูวัต ได้รับวะฮีย์จากอัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งวะฮีย์นั้นเป็นคุณลักษณะพิเศษสำหรับบรรดาศาสดา อย่างไรก็ตามบรรดาอิมาม ถือว่าเป็นตัวแทนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในการปฏิบัติหน้าที่ชี้นำมนุษย์และเป็นตัวแทนแห่งเกียรติยศทั้งหมดของท่านศาสดา ทัศนะของชีอะฮฺไม่ตรงกับทัศนะของสุนนี ในเรื่องแก่นแท้ของอิมาม เนื่องจากว่า อิมามในทัศนะของพวกเขา คือ ผู้นำทั่วๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นมะอฺซูม หรือมีความยุติธรรม หรือต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺ (ซบ.)

อย่างไรก็ตามชีอะฮฺมีความเชื่อว่า หะดีษษะเกาะลัยนฺเป็นหนึ่งในหะดีษที่ทำการพิสูจน์ว่าอิตเราะฮ์ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นอิมาม ซึ่งอยู่ในฐานะของผู้นำแห่งศาสนจักรและอาณาจักร เช่นเดียวกันกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะต่างกับท่านศาสดาตรงที่ว่า บรรดาอหฺลุลบัยตฺได้เรียนรู้อหฺกามและกฎเกณฑ์ต่างๆ ของอิสลามจากท่านศาสดา มีนูรฺอันเจิดจรัสด้วยกับนูรฺของท่านศาสดา และเป็นตัวแทนของท่านในหมู่ประชาชาติ ดังนั้น เกียรติยศทั้งหมดของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงเป็นเกียรติยศของอหฺลุลบัยตด้วยเช่นเดียวกัน อาทิ การเป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้ปกครองอิสลาม

ด้วยเหตุนี้ แก่นแท้ของอิมามะฮฺในทัศนะของชีอะฮฺ จึงแตกต่างไปจากทัศนะของสุนนี หะดีษษะเกาะลัยนฺจึงเข้ากับทัศนะของชีอะฮฺมากกว่าสุนนี ดังเช่น เหตุผลของสติปัญญาก็สนับสนุนทัศนะของชีอะฮฺ และความพิเศษของชีอะฮฺที่ต่างไปอีกประเด็นหนึ่งคือ มีความเชื่อในอิมามผู้บริสุทธิ์ ๑๒ ท่านภายหลังจากท่านศาสดา

๑๐. การปฏิบัติตามอหฺลุลบัยตฺ (อ.) เป็นวาญิบเหมือนกับการปฏิบัติตามอัล-กุรอาน
ตามที่หะดีษษะเกาะลัยนฺได้กล่าวไว้ ฉะนั้น การแสดงความรักหรือการให้เกียรติกับอหฺลุลบัยตฺ โดยปราศจากการปฏิบัติตาม ถือว่าไม่เพียงพอ อันสืบเนื่องจากว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยกย่องอหฺลุลบัยตฺของท่านไว้ในฐานะเดียวกับอัล-กุรอาน อีกทั้งยังสั่งห้ามล้ำหน้าหรือล้าหลังจากพวกเขาเด็ดขาด เพราะจะเป็นสาเหตุทำให้พวกท่านทั้งหลายหลงทางออกไป ด้วยเหตุนี้ คำพูดที่กล่าวว่า “จงจับพวกเขาไว้ให้มั่นเพื่อพวกท่านจะได้ไม่หลงทางตลอดไป” หมายถึง การแสดงความรักที่รวมกับการปฏิบัติตาม และเป็นที่ประจักษ์ว่า ความหมายของการยึดให้มั่นนั้น หมายถึง การปฏิบัติตามคำสั่งทั้งคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ การรับคำชี้นำและการยึดมั่นแนวทางและจริยธรรมของพวกเขา

ท่านตัฟตาซานี หลังจากอธิบายหะดีษษะเกาะลัยนฺได้กล่าวว่า พวกท่านมิได้พิจารณาหรือว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้นำเอาอหฺลุลบัยตฺของท่านไว้เคียงข้างกับอัล-กุรอาน ซึ่งในความเป็นจริงการยึดมั่นกับอหฺลุลบัยตฺจะทำให้ไม่หลงทางและรอดพ้นจาก การหลงผิด ส่วนการยึดมั่นต่ออัล-กุรอานนั้น ไม่มีสิ่งใดเกินเลยไปจากการยึดมั่นบนความรู้และการชี้นำของอัล-กุรอาน ฉะนั้น อหฺลุลบัยตฺก็ไม่มีสิ่งใดที่ต่างไปจากอัล-กุรอาน(16)

ท่านอิบนุหะญัรฺได้กล่าวว่า แน่นอนท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ผู้ทรงเกียรติได้ปลุกเร้าให้ประชาชนทำการปฏิบัติยึดมั่น และเรียนรู้จากอหฺลุลบัยตฺ(1)

ดังนั้น จากสิ่งที่อธิบายมาทำให้ประจักษ์ว่า การปฏิบัติตามอัล-กุรอานเป็นวาญิบเหนือมวลมุสลิมทั้งหลาย การภักดีต่อคำสั่งห้ามและคำสั่งใฃ้ของอหฺลุลบัยตฺ (อ.) ก็เป็นวาญิบเช่นเดียวกัน และถือว่าไม่ถูกต้องที่จะคิดว่าคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ของอหฺลุลบัยตฺ คือ คำสั่งของอัล-กุรอาน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นวาญิบต้องปฏิบัติตามอหฺลุลบัยตฺ เนื่องจากว่าอหฺลุลบัยตฺอยู่ในฐานะของผู้ปกครองภารกิจทั้งหมดของมวลมุสลิม ในบางครั้งได้ออกคำสั่งในฐานะของผู้ปกครอง ซึ่งครอบคลุมทั้งคำสั่งที่มีอยู่ในอัล-กุรอานและไม่มี ขณะที่หะดีษษะเกาะลัยนฺได้กล่าวว่า เป็นวาญิบต้องปฏิบัติตามพวกเขาทั้งคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ ซึ่งสิ่งนี้บ่งบอกถึงวิลายะฮฺที่สมบูรณ์ของพวกเขา

หนังสืออับกอตุ้ลอันวารฺ ได้แนะนำและให้ความกระจ่างไว้ว่า “ความเข้าใจที่ได้รับจากหะดีษษะเกาะลัยนฺ คือ เป็นวาญิบต้องปฏิบัติตามอหฺลุลบัยตฺทั้งคำพูด การกระทำ หลักอหฺกามและหลักการศรัทธา และแน่นอนสิ่งนี้จะไม่มีอยู่ในคนอื่น นอกจากบุคคลที่เป็นอิมามหรือผู้ปกครองภายหลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ)(18)

หะดีษษะเกาะลัยนฺได้นำเสนออย่างชัดเจน ถึงฐานะภาพที่เท่าเทียมกันระหว่างอัล-กุรอานกับอหฺลุลบัยตฺ เพื่อให้มวลมุสลิมได้ปฏิบัติตามทั้งสอง มิใช่ถือปฏิบัติตามอย่างหนึ่งอย่างใด ท่านอิมามศอดิ (อ.) กล่าวว่า “ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สั่งให้ประชาชาติภักดีและปฏิบัติตามอัล-กุรอานและอาลิมุฮัมมัด” ดังคำพูดที่ท่านกล่าวไว้ในคุฎบะฮฺสุดท้ายว่า “แท้จริงฉันได้ละทิ้งไว้ในหมู่ของพวกท่าน สิ่งหนักสองสิ่งที่มีค่ายิ่ง สิ่งหนักอันยิ่งใหญ่ได้แก่ อัล-กุรอานคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ส่วนสิ่งหนักที่รองลงมาคือ อิตเราะฮ์ อหฺลุลบัยตฺของฉัน พวกท่านจงช่วยเหลือฉันเกี่ยวกับภารกิจทั้งสอง และจงจับทั้งสองไว้ให้มั่น เพื่อพวกท่านจะได้ไม่หลงทางตลอดไป”(19)

๑๑. อิตร่อตี หรือ ซุนนะตี?
และไม่ต้องสงสัยเลยเกี่ยวกับหะดีษที่กล่าวไว้ใน มัจญะอุซซะวาอิด โดยใช้คำว่า ซุนนะตี แทนคำว่า อิตร่อตี ส่วนริวายะฮฺที่มีสายรายงานแข็งแรง นั้นจะใช้คำว่า "อิตร่อตี อหฺลุบัยตี" ทั้งสองคำพูดไม่มีความแตกต่างกัน

หะดีษที่กล่าวไว้ในหนังสือ มัจมะอุซซะวาอิด โดยสายสืบของเขาจากอบูหุรอยเราะฮฺ พูดว่า “ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า : ฉันได้ละทิ้งสิ่งสำคัญสองสิ่งไว้ในหมู่ของพวกท่านในฐานะตัวแทน ซึ่งหลังจาก (ยึดมั่นกับทั้งสอง) นั้นแล้วจะไม่หลงทางตลอดไป อันได้แก่ อัล-กุรอานและซุนนะฮฺของฉัน ซึ่งทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำ (วันกิยามะฮฺ)(20)

อัคบารมุตะวาติร เช่นกันได้กล่าวว่า “ท่านศาสดาได้ฝากอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ไว้ในหมู่ประชาชาติ” ซึ่งสามารถนำเอาหะดีษที่กล่าวว่า อัล-กุรอานและซุนนะฮฺมารวมกับหะดีษ อัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ได้เช่นนี้ว่า จุดประสงค์ของอิตเราะฮ์ตามที่อธิบายมาแล้ว หมายถึง ลูกหลานชั้นใกล้ชิด พิเศษของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) หรือกลุ่มชนที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ซึ่งกลุ่มนี้มีคุณวิเศษกว่า การปฏิบัติตามพวกเขาจะไม่ทำให้หลงทางนั้นหมายถึงว่า มิใช่คนใกล้ชิดของท่านศาสดาทุกคนแต่หมายถึง กลุ่มบุคคลที่เป็นมะอฺซูมเท่านั้น ดังที่มีหลักฐานจากริวายะฮฺและโองการกล่าวยืนยันไว้

ไม่มีความแตกต่างกันตามที่บางริวายะฮฺได้กล่าวไว้ว่า “ประชาชาติอิสลามต้องย้อนกลับไปหาอัล-กุรอานและซุนนะฮฺ” กับริวายะฮฺมุตะวาติรฺที่กล่าวว่า อัล-กุรอานกับอิตเราะฮ์ เพราะซุนนะฮฺที่สมบูรณ์มิได้มีสิ่งใดเกินเลยไปจากอิตเราะฮ์ (ผู้ให้การชี้นำ) ดังนั้น สมมติว่าหะดีษดังกล่าว (อัล-กุรอานกับซุนนะฮฺ) ถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับมันก็มิได้แย้งกับหะดีษมุตะวาติรฺแต่อย่างไร

บางริวายะฮฺได้กล่าวว่า “ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้ว่า : แน่นอนว่าอัล-กุรอานได้ถูกอธิบายแล้วแก่พวกท่าน และพวกท่านไม่มีคำกล่าวอ้างใดๆ ที่จะไม่ปฏิบัติตามอัล-กุรอาน ฉะนั้น ถ้ากฎเกณฑ์ข้อใดไม่ปรากฏในอัล-กุรอานพวกท่านจงย้อนกลับไปหาหะดีษของฉันที่ยังคงเหลืออยู่ แต่ถ้านอกเหนือจากนี้แล้ว พวกท่านจงย้อนกลับไปยังอัครสาวกของฉัน (เศาะฮาบะฮฺ) แน่นอนพวกเขาอยู่ในฐานะของหมู่ดวงดาวแห่งท้องฟ้า ไม่ว่าท่านจะยึดมั่นกับคนใดล้วนได้รับการชี้นำทั้งสิ้น ข้อควรพิจารณาจากหะดีษบทนี้

ประการที่หนึ่ง บรรดานักปราชญ์ผู้ทรงเกียรติฝ่ายอหฺลิซซุนนะฮฺ หลายท่านได้กล่าวว่า หะดีษบทนี้ถูกอุปโลคขึ้นมา เจ้าของหนังสือ อับกอตุ้ลอันวารฺ ได้กล่าวว่า ได้มีนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งของอหฺลิซซุนนะฮฺ อาทิเช่น ท่านอหฺมันหันบั้ล บัซซาซ ดารฺกุฎนีย์ อิบนุหิซัม บัยหะกีย์ในหนังสืออัล-มัดคัลของตน (ทั้งที่ตนเองเป็นผู้รายงานหะดีษ) อิบนุอะซากีรฺ อิบนุญูซีย์ อิบนุดุหัยยะฮฺ อบูหัยยาน ซะฮะบีย์ อิบนุฮัยษัม อิบนุหะญัรฺ อัสกะลานีย์ และบุคคลอื่นๆ ต่างยอมรับว่า (หะดีษอัศฮาบเปรียบเหมือนหมู่ดวงดาว) ไม่ใช่หะดีษเศาะฮีย์ เป็นหะดีษที่สะนัดฎออีฟ (สายสืบอ่อน) และถูกอุปโลคขึ้นมา ดังนั้น ไม่อาจนำเอาหะดีษที่อ่อน (ฎออีฟ) มาเทียบเคียงกับหะดีษที่มุตะวาติรฺเช่น หะดีษษะเกาะลัยนฺได้

**หมายเหตุ มุตะวาติรฺหฺ หมายถึง หะดีษที่มีบุคคลจำนวนมากในทุกสมัยได้รายงานสืบทอดกันมา โดยที่สติปัญญาไม่อาจรับได้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะร่วมกันกล่าวเท็จ หะดีษมุตะวาติรฺจึงเป็นหะดีษที่เชื่อมั่นได้สมบูรณ์

ประการที่สอง หะดีษดังกล่าวขัดแย้งกับอิจมาอฺ(ทรรศนะอันเป็นเอกฉันท์ในหมู่ผู้รู้) ดังที่ท่าน อัลลามะฮฺ มีรฺ ฮามิด ฮุซัยนี ได้กล่าวว่า หะดีษนุญูมบ่งบอกถึงคุณวิเศษของสาวกนบีทั้งหมดนั่นคือ พวกเขาคือผู้ให้การชี้นำประชาชาติ ซึ่งคุณวิเศษดังกล่าวในทัศนะของอิจมาอฺ ถือว่าบาฎิล อันเนื่องจากว่า อัครสาวกจำนวนมากมายได้ทำให้ประชาชนหลงทาง (แม้แต่ตัวของสาวกเอง) ดังนั้น การที่กล่าวว่า สาวกคือผู้ให้การชี้นำจึงบาฎิล อันเนื่องจากว่า ส่วนมากขอสาวกไม่มีคุณสมบัติดังกล่าว ทั้งอัล-กุรอานและหะดีษได้กล่าวอธิบายถึงการไม่มีศีลธรรมและมโนธรรม ตลอดจนความประพฤติที่ไม่ดีของสาวก อาทิเช่น โองการในซูเราะฮฺอันฟาล บะรออะฮฺ อะหฺซาบ ญุมอะฮฺ และมุนาฟิกีน เป็นต้น เมื่อพิจารณาถึงประเด็นดังกล่าวแล้วลองคิดดูซิว่า เป็นไปได้ไหมที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะมีคำสั่งให้ปฏิบัติตามอัครสาวกทุกคนของท่านและแต่งตั้งให้พวกเขาเป็นผู้นำ ประชาชาติ ขณะที่พวกเขามีความประพฤติและกริยามารยามที่ไม่ดี

มีหะดีษจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่กล่าวถึงความประพฤติที่ไม่ได้อยู่ในศีลธรรมของอัครสาวก และหะดีษบางบทของท่านศาสดาที่ได้ลดเกียรติของอัครสาวกเหล่านี้ อาทิเช่น หะดีษเหาฎิ หะดีษอิรฺติดาดฺ

หะดีษเหล่านี้ เป็นหะดีษที่กล่าวตำหนิถึงความประพฤติและข้อบกพร่องต่างๆ ของบรรดาอัครสาวก ตำราของอหฺลิซซุนนะฮฺบางเล่มบันทึกไว้ว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สั่งห้ามปฏิบัติตามอัครสาวกบางคน ซึ่งหนึ่งในหะดีษเหล่านั้นกล่าวว่า “แน่นอนใครปฏิบัติตามคนเหล่านี้สถานที่พำนักของเขาคือไฟนรก”(21)

ประการที่สาม สมมติว่าหะดีษนั้นถูกต้อง (เศาะฮีห์) กระนั้นก็ไม่มีความขัดแย้งกับหะดีษษะเกาะลัยนฺ เพราะถือว่าหะดีษนุญูมอยู่ในแนวตั้งของหะดีษษะเกาะลัยนฺ ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนว่าต้องปฏิบัติตามอัล-กุรอาน จำเป็นต้องปฏิบัติตามซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในกรณีที่ซุนนะฮฺไม่ได้ครอบคลุมกฎข้อนั้นต้องย้อนไปหาสาวก แต่เป็นที่ชัดเจนว่า ซุนนะฮฺที่แท้จริงของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อยู่ ณ อหฺลุลบัยตฺ (อ.) และเป็นวาญิบต้องปฏิบัติตามพวกเขาก่อนใครอื่น ดังนั้น เมื่ออหฺลุลบัยตฺยังคงอยู่จึงไม่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามบรรดาสาวก (เศาะฮาบะฮฺ)

ประการที่สี่ มิต้องสงสัยว่า ในหมู่เศาะฮาบะฮฺมีความขัดแย้งกันทั้งในเรื่องอหฺกามและอื่นๆ ซึ่งตามความเป็นจริงบรรดาเศาะฮาบะฮฺส่วนมากไม่มีความเข้าใจเรื่องของอหฺกาม ซึ่งพวกเขาสาระภาพเองว่า พวกเราไม่รู้เรื่องอหฺกาม เมื่อเป็นเช่นนี้เราสามารถพูดได้อย่างไรว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้แต่งตั้งให้เหล่าบรรดาเศาะฮาบะฮฺเป็นที่ย้อนกลับของประชาชนและเป็นผู้ชี้ นำประชาชาติ

นอกจากนั้นแล้วมีเศาะฮาบะฮฺบางคนปฏิบัติในสิ่งที่เป็นหะรามเสียด้วยซ้ำ เช่น ขายสุรา กินดอกเบี้ย ข้อความดังกล่าวหนังสือ อับกอตุ้ลอันวารฺได้อธิบายไว้(22) ดังนั้น สมควรแล้วหรือที่เราจะกล่าวอ้างคำพูดเหล่านี้ว่าเป็นของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ผู้ที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ปรงประทานลงมาเพื่อชี้นำมวลมนุษยชาติ และช่วยเหลือพวกเขาให้รอดพ้นจากการหลงทาง

ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) สะอาดและบริสุทธิ์กว่าคำกล่าวอ้างข้างต้นที่กล่าวว่าเป็นคำสั่งของท่านและหะ ดีษษะเกาะลัยนฺ เท่านั้นที่กำหนดแนวทางที่ชัดเจนสำหรับประชาชาติ พร้อมทั้งรับประกันว่าทุกคนจะรอดพ้นจาการหลงทางและหลงผิดทั้งหลาย แต่ถ้ามีความคิดเป็นอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนี้ เท่ากับว่าเขาผู้นั้นกำลังถอยห่างจากแนวทางที่มั่นคงไปสู่แนวทางที่หลงผิด ออกไป เขามิได้ทำสิ่งใดนอกจากทำให้ตัวเองหลงทาง สร้างความอิจฉาริษยา สร้างศัตรู และสร้างความห่างเหินกับสิ่งที่เป็นสัจธรรม ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้สั่งห้ามไว้แล้วและกำชับหนักหนา พวกท่านต้องออกห่างจากมัน ท่านเตือนสำทับเสมอว่า แท้จริงฉันได้มอบให้พวกท่านรับผิดชอบกับสิ่งสำคัญสองสิ่ง อันได้แก่ อัล-กุรอานและอิตเราะฮ์ของฉัน(23)

๑๒. หะดีษษะเกาะลัยนฺได้ทำการพิสูจน์ว่า อิตเราะฮ์คือ อิมามผู้นำภายหลังจากการวะฝาต(เสียชีวิต)ของท่านศาสดา ซึ่งเป็นทัศนะเดียวที่ยืนยันว่า เป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่สั่งให้ปฏิบัติตาม นอกเหนือจากนี้แล้วยังมีริวายะฮฺมุตะวาติรฺอีกจำนวนมากที่ยืนยันถึงเรื่อง ดังกล่าว ริวายะฮฺกล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้แต่งตั้งให้ท่านอะลี บิน อบีฏอลิบ เป็นวะศีย์ เคาะลิฟะฮฺ และเป็นวะลี ภายหลังจากท่าน

๑๓. ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ยืนยันในหะดีษษะเกาะลัยนฺว่า หากยึดมั่นกับอัล-กุรอานและอิตเราะฮ์แล้ว พวกท่านจะไม่หลงทางตลอดไป ซึ่งการยึดมั่นกับทั้งสองในฐานะของผู้ให้การชี้นำ ดังนั้น การที่ใส่ร้ายชีอะฮฺว่า หลงทางออกไปจากซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงไม่เป็นความจริง และไม่อาจสร้างความเสียหายให้กับชีอะฮฺได้ สืบเนืองจากว่า คำยืนยันของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในหะดีษษะเกาะลัยนฺนั้นไม่มีความผิดพลาด ประกอบกับริวายะฮฺจำนวนมากได้สนับสนุนเรื่องดังกล่าว นอกจากนั้นแล้วท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เป็นผู้รับรองเองว่า ชีอะฮฺ คือ ผู้ถูกต้อง กล่าวว่า “โอ้อะลี ท่านและชีอะฮฺของท่านคือผู้ที่ถูกต้อง”

ฉะนั้น หากผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) อย่างเคร่งครัดเป็นฝ่ายผิดแล้วละก็ ท่านจะมีหนทางอื่นพิสูจน์ความจริงของอิสลามอีกหรือไม่? ถ้าผู้ปฏิบัติตามอหฺลุลบัยตฺเป็นฝ่ายผิดแล้ว ยังจะมีใครประเสริฐยิ่งไปกว่าอหฺลุลบัยตฺอีกหรือ? เพราะหากลูกหลานของท่านศาสดายังเชื่อถือไม่ได้แล้ว ถามว่าเรายังจะสามารถเสาะหาผู้ใดที่ประเสริฐและน่าเชื่อถือไปกว่าอะฮฺลุลบัยตฺได้อีกกระนั้นหรือ?



จบบริบูรณ์
--------------------------------------------------------------------------
เชิงอรรถ
1. เศาะฮีย์ ติรฺมะซี ๕/๓๒๘ หะดีษที่ ๓๘๗๔-๓๘๗๖
2. มุสตัดร็อก อัลฮากิม ๓/๑๒๘ ฟะรออิดุ้ล ซัมฎีน ๑/๑๓๘-๑๗๖ (กิยามะฮฺ)
3. มุสตัดร็อก อัลฮากิม ๓/๑๒๔-๑๒๕ นะฟะหาตุ้ล อัซฮารฺ ๒/๒๖๗
4. มุสตัดร็อกอัลฮากิม ๓/๑๕๑
5. อัล-มุอฺญิบ อัศ-เศาะฆีเราะฮฺ ๒/๒๒
6. อัล-มุรอญะอาตฺ หน้าที่ ๒๔
7. เศาะฮีย์ ติรฺมะซี ๕/๓๒๘ หะดีษที่ ๓๘๗๔-๓๘๗๖
8. มุสตัดร็อก อัลฮากิม ๓/๑๒๘ ฟะรออิดุ้ล ซัมฎีน ๑/๑๓๘-๑๗๖ (กิยามะฮฺ)
9. มุสตัดร็อก อัลฮากิม ๓/๑๒๔-๑๒๕ นะฟะหาตุ้ล อัซฮารฺ ๒/๒๖๗
10. อะหฺยาอุ้ลมัยยิต หน้าที่ ๓๐-๓๒ (อะหฺยาอุ้ลมัยยิต พิมพ์ที่ เบรุตฺ หน้าที่ ๒๔-๒๕)
11. มุสตัดร็อกอัลฮากิม ๓/๑๕๑
12.อัล-มุอฺญิม อัศ-เศาะฆีเราะฮฺ ๒/๒๒
13. อัล-มุรอญะอาตฺ หน้าที่ ๒๔
14. นะฟะหาตุ้ลอัซฮารฺ ๒/๒๖๘-๒๖๙
15. ชัรห์นะฮฺญุ้ลบาะลาเฆาะฮฺ อิบนุอบิ้ลหะดีด ๖/๓๗๖-๓๗๗
16. ชัรหุ้ลมะกอศิด ๒/๒๒๒ คัดลอกมาจากนะฟะหาตุ้ลอัซฮารฺ ๒/๒๔๘
17. อัศศอวาอิก หน้าที่ ๒๓๑ (พิมพ์ที่อียิปต์ หน้าที่ ๑๕๑)
18. นะฟะหาตุ้ล อัซฮารฺ ๒/๒๔๗
19. ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้า ๒๒๕ หะดีษที่ ๒๖
20. มัจมะอุซซะวาอิด เล่มที่ ๙ หน้าที่ ๑๖๓ พิมพ์ที่อิยิปต์
21. นะฟะหาตุ้ลอัซฮารฺ ๓/๑๖๘-๑๗๑ กันซุ้ลอุมมาล ๑๑/๑๑๔
22. นะฟะหาตุ้ลอัซฮารฺ ๒/๑๗๘-๒๑๘
23. ฮิ้ลยะตุ้ลเอาลิยาอฺ ๙/๖๔



ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์