คู่มือฮัจย์

คู่มือฮัจย์0%

คู่มือฮัจย์ ผู้เขียน:
กลุ่ม: วิชาฟิกฮ์
หน้าต่างๆ: 3

คู่มือฮัจย์

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 3
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 37748
ดาวน์โหลด: 413

รายละเอียด:

คู่มือฮัจย์
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 3 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 37748 / ดาวน์โหลด: 413
ขนาด ขนาด ขนาด
คู่มือฮัจย์

คู่มือฮัจย์

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
คู่มือฮัจย์ คู่มือฮัจย์
ประพันธ์โดย มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์

ศัพท์สำคัญ
(ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาของหนังสือ ควรทำความเข้าใจกับศัพท์สามคำที่ปรากฏบ่อยในหนังสือเล่มนี้

ฟัตวา – เป็นการวินิจฉัยและลงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาศาสนกิจในเชิงฟันธงของมัรญะอ์ตักลีด (ผู้รู้ศาสนาขั้นสูง) เนื่องจากมีหลักฐานรองรับการวินิจฉัยอย่างชัดเจน

เอียะฮ์ติยาฏ วาญิบ – ยังไม่ถึงขั้นฟัตวา แต่ยังต้องระมัดระวังและปฏิบัติตาม หรืออาจจะปฏิบัติตามฟัตวาของอายะตุลลอฮ์ที่อยู่ในอันดับรองลงมาได้

เอียะฮ์ติยาฏ มุสตะหับ – ยังไม่ถึงขั้นที่ต้องระมัดระวัง แต่ถ้าจะระมัดระวังและปฏิบัติตามถือว่าดีกว่า)

หมวดที่ ๑ อะมัลอุมเราะฮฺ ตะมัตตุอฺ
-อิฮฺรอม
-เฎาะวาฟ
-นะมาซเฎาะวาฟ
-ซะอียฺ
-ตักซีร

อุมเราะฮฺ ตะมัตตุอฺ
๑.ผู้ที่อาศัยอยู่นอกมักกะฮฺ (ห่างประมาณ ๑๖ ฟัรซัค แต่ละฟัรซัคเทียบเท่ากับ 45 กม. โดยประมาณ) ถ้าต้องการทำฮัจญฺ ก่อนที่จะเริ่มพิธีการฮัจญฺต้องทำ อุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ[๑] ก่อน

๒.อะอฺมาลอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺประกอบด้วย

- อิฮฺรอม
- เฎาะวาฟ
- นะมาซเฎาะวาฟ
- ซะอียฺ
- ตักซีร[๒]

๓. ช่วงเวลาสำหรับทำอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ
อุมเราะฮฺตะมัตตุสามารถทำได้ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเชาวาล จนถึงตอนบ่ายของวันที่ ๙ ซุลอิจญะฮฺ ดังนั้น ถ้าปล่อยเวลาให้ล่าออกไปจนเลยช่วงเวลาที่กำหนด เท่ากับเวลาของอุมเราะฮฺปีนั้นได้หมดลงเช่นกัน หน้าที่ของฮุจญาจ (บรรดาผู้ประกอบพิธีฮัจย์) ก็ต้องเปลี่ยนไป

๔. สถานที่ประกอบอะอฺมาลอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ
๑. อิฮฺรอม ให้ครองชุดอิฮฺรอมในสถานที่ใดสถานหนึ่งตามที่ได้กำหนดไว้ เช่น ญุอฺฟะฮฺ หรือ มัสญิดชะญะเราะฮฺ

๒. เฎาะวาฟ ให้เดินเวียนรอบอาคารกะอฺบะฮฺ ๗ รอบ วนซ้าย

๓. นะมาซเฎาะวาฟ บริเวณหลังมะกอมอิบรอฮีม[๓]

๔.ซะอียฺ เดินไปกลับระหว่างเนินเขาเซาะฟา กับมัรวะฮฺ ๗ รอบ

๕. ตักซีร ไม่ได้ระบุแน่นอนว่าต้องเป็นที่ใด

ลำดับต่อไปจะกล่าวถึงรายละเอียดอะฮฺกามของแต่ละข้อ

อิฮฺรอม
อิฮฺรอม เป็นการกระทำแรกของอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ ฉะนั้น สำหรับฮุจญาจที่เดินทางไปซิยาเราะฮฺ (เยี่ยม) ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และสุสานญันนะตุลบะกีอฺที่มะดีนะฮฺมุเนาวะเราะฮฺ ก่อนที่จะเริ่มพิธีฮัจญฺ เมื่อต้องการเข้ามักกะฮฺต้องไปครองชุดอิฮฺรอมที่มัสญิด ชะญะเราะฮฺ ตั้งอยู่บนเส้นทางมักกะฮฺ ห่างจากมะดีนะฮฺประมาณ ๓-๔ กิโลเมตร เพื่อไปประกอบพิธีกรรมส่วนที่เหลือ ณ บัยตุลอฮฺ แต่สำหรับผู้ที่ออกเดินทางจากญิดดะฮฺ ตรงไปมักกะฮฺ ต้องไปครองอิฮฺรอมที่ ญุอฺฟะฮฺ[๔]

วิธีการครองอิฮฺรอม

สำหรับผู้ชายต้องเปลื้องเสื้อผ้าทุกตัวบนร่างกายที่มีรอยเย็บ แม้แต่กางเกงชั้นใน และแทนที่ด้วยผ้า ๒ ผืนสีขาวบริสุทธิ์ที่ไม่มีรอยเย็บ (ผ้าอิฮฺรอม) ผืนหนึ่งใช้สำหรับนุ่ง ส่วนอีกผืนใช้ปิดหัวไหล่ทั้งสองข้าง โดยเนียตว่า ข้าพเจ้าครองอิฮฺรอมอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺสำหรับฮัจญะตุลอิสลาม กุรบะตันอิลัลลออฺ หลังจากนั้นให้กล่าว ตัลบียะฮฺว่า

لَبَّيْكَ اَللَّهُمَّ لَبَّيْكَ، لَبَّيْكَ لاَ شَرِيْكَ لَكَ لَبَّيْكَ

อิฮฺติยาฎมุซตะฮับ หลังจากกล่าว ลับบัยกฺ แล้วให้กล่าวต่ออีกว่า

اِنَّ الْحَمْدَ وَ الْنِعْمَةَ لَكَ وَ الْمُلْكَ لاَ شَرِيْكَ لَكَ لَبَّيْكَ

หลังจากนั้นเนียตและกล่าวตัลบียะฮฺ
เนียตอิฮฺรอมหมายถึง ครองชุดอิฮฺรอมโดยสวมใส่ผ้า ๒ ชิ้นและกล่าวตัลบียะฮฺ เพื่ออุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ และการกระทำอื่น ๆ ถัดไปเพื่อการปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ แม้ว่าไม่จำเป็นต้องกล่าวออกมา แต่ถ้ากล่าวออกมาก็ไม่เป็นไร

สิ่งควรจำ
๑. ชุดอิฮฺรอมต้องสะอาดปราศจากนะยิซ และต้องได้รับอนุญาต
๒.สำหรับสตรีขณะครองอิฮฺรอม อิฮฺติยาฎไม่ให้สวมใส่ผ้าไหม
ฮุจญาจหลังจากครองอิฮฺรอม เนียตและกล่าวตัลบียะฮฺแล้วถือว่ามุฮฺริม หมายถึงอยู่ระหว่างครองอิฮฺรอม จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอมสำหรับผู้ครองอิฮฺรอม ซึ่งมีทั้งสิ้น ๒๔ ชนิด ๔ ชนิดฮะรอมสำหรับผู้ชาย ๒ ชนิดสำหรบผู้หญิง ส่วนที่เหลือฮะรอมทั้งผู้ชายและผู้หญิง

ฮะรอมร่วมทั้งผู้ชายและผู้หญิง

๑.การล่าสัตว์
๒.อ่านอักดฺ(วจีสมรส)และทำสัญญาต่าง ๆ
๓.การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง(อิสติมนาอ์)
๔.ร่วมเพศหรือการทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศทุกวิธี
๕.การใส่น้ำหอม(เครื่องหอมต่าง)ตลอดจนสบู่ และแชมพูที่มีกลิ่นหอม
๖.การเขียนตา
๗. การส่องกระจก
๘. กล่าวคำหยาบ หรือแสดงตนเป็นผู้ฝ่าฝืน เช่น พูดโกหก ด่าทอ
๙. ทำการโต้เถียงและพิพาทกันโดยกล่าวว่า ”ลาวัลลอฮ” “บะลาวัลลอฮ”
๑๐ ฆ่าสิ่งมีชีวิต เช่น แมลงที่เกาะอยู่ตามตัว
๑๑. สวมแหวนโดยมีเจตนาว่าเป็นเครื่องประดับ
๑๒. ทาน้ำมันตามร่างกาย
๑๓.ทำให้เลือดออกจากร่างกาย
๑๔. การตัดเล็บ
๑๕. การถอนฟัน
๑๖. การถอนต้นพืชที่ขึ้นอยู่ในเขตมัสญิดฮะรอม[๕]
๑๗.ถอนขน ผมออกจากร่างกาย
๑๘. การพกพาอาวุธ

สิ่งที่เป็นฮะรอมสำหรับผู้ชาย
๑. การสวมใส่ผ้าที่มีรอยเย็บ
๒. การสวมใส่รองเท้าที่ปิดหลังเท้าจนมิดชิด
๓. การปกปิดศีรษะ
๔. การทำให้เกิดเงาเหนือศีรษะ

สิ่งที่เป็นฮะรอมสำหรับผู้หญิง
๑.การสวมใส่เครื่องประดับ
๒.การปกปิดหน้า

๒. เฏาะวาฟ
การกระทำที่สองสำหรับอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ คือการเฎาะวาฟ ฉะนั้น บุคคลที่ได้ครองอิฮฺรอมเพื่อทำอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ และเดินทางเข้ามักกะฮฺต้องเนียตเฎาะวาฟรอบบัยตุลลอฮฺ ณ มัสญิดฮะรอม ๗ รอบ

เงื่อนไขการเฏาะวาฟ

๑. ต้องเริ่มต้นและสิ้นสุดการเฏาะวาฟ ตรงมุมที่ตรงกันข้ามกับฮะญะรุลอัซวัด (หินดำ)[๖] ข้อสังเกตที่มองเห็นได้ง่าย คือจะมีเส้นสีดำลากตรงตั้งแต่จุดที่ตั้งฮะญะรุลอัซวัด ไปจนสุดลานมัสญิด ดังนั้น ฮุจญาจที่เฏาะวาฟต้องสังเกตเส้นดังกล่าวทั้งเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดการเฎาะวาฟ ซึ่งนับว่าเป็น ๑ รอบเฏาะวาฟ

๒. ขณะที่ฮุจญาจเดินเฏาะวาฟบัยตุลลอฮฺ ต้องอยู่ด้านซ้ายมือ (เดินทวนเข็มนาฬิกา) ฉะนั้น ขณะเฏาะวาฟถ้าหันหน้าให้บัยตุลลอฮฺ หรือเดินถอยหลังเฏาะวาฟ ไม่ถูกต้อง

๓. ให้เฏาะวาฟเหมือนกับบรรดามุสลิมทั้งหลายเฏาะวาฟ โดยไม่ต้องใส่ใจกับความสงสัยที่คอยยุแหย่ ให้เริ่มต้น ณ จุดตรงข้ามกับหินดำ และเดินวนไปเรื่อย ๆ โดยไม่จำเป็นต้องหยุด ณ จุดที่อยู่ตรงกันข้ามฮะญะรุลอัซวัดทุกรอบ

๔. ขณะเฏาะวาฟฮุจญาจต้องเดินรอบฮิจญะริอิสมาอีล[๗] หมายถึงเวลาเฏาะวาฟต้องไม่เดินเข้าไปในฮิจรุ(หินโค้ง)อิสมาอีล

๕.ขอบเขตของเฏาะวาฟคือรอบกะอฺบะฮฺ ระยะห่างระหว่างกะอฺบะฮฺกับมะกอมอิบรอฮีม ประมาณ ๒๖.๕ ศอก (๑๓ เมตร) ด้วยเหตุนี้ ถ้าคิดด้านฮิจริอิสมาอีล ระยะห่างจะน้อยลงเหลือประมาณ ๖.๕ ศอก

-อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี เฏาะวาฟไม่ขอบเขตกำหนดแน่นอน
-อายะตุลลอฮฺ มะการิม ดีกว่าให้เฏาะวาฟอยู่ในรัศมีดังกล่าว แต่ว่าไม่จำเป็น

๓.นะมาซเฏาะวาฟ
นะมาซเฏาะวาฟเป็นอะมัลที่ ๓ ของอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ หลังจากเฏาะวาฟเสร็จเรียบร้อยแล้วให้เนียตนะมาซเฏาะวาฟ ๒ เราะกะอัต

วิธีนะมาซเฏาะวาฟ คล้ายกับนะมาซซุบฮฺ แตกต่างกันตรงที่ว่าฟาติฮะฮฺกับซูเราะฮฺสามารถอ่านดังหรืออ่านค่อยก็ได้

ช่วงเวลานะมาซเฏาะวาฟ หลังจากเฏาะวาฟ และก่อนซะอียฺ

สถานที่นะมาซเฏาะวาฟ ณ มัสญิดฮะรอมใกล้กับมะกอมอิบรอฮีม อิฮฺติยาฏวาญิบให้นะมาซหลังมะกอมอิบรอฮีมโดยให้มะกอมอยู่ระหว่างตนกับกะอฺบะฮฺ

- ายะตุลลอฮฺ ซีสตานีเป็นวาญิบต้องนะมาซหลังมะกอมอิบรอฮีม
-อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี และมะการิม เป็นวาญิบให้นะมาซเฏาะวาฟหลังมะกอมอิบรอฮีม ถ้าเป็นไปได้
- อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ไม่ว่าจะนะมาซ ณ จุดใด ถ้าคนทั่วไปกล่าวว่าได้นะมาซหลังมะกอมอิบรอฮีม ถือว่าเพียงพอ แม้ว่าจะไกลจากมะกอมก็ตาม แต่ไม่ว่าจะนะมาซ ณ จุดใดของมัสญิดถือว่านะมาซถูกต้อง
-อายะตุลลอฮฺ ซีสตานีถ้าไม่สามารถนะมาซหลังหรือใกล้กับมะกอมอิบรอฮีมได้ อิฮฺติยาฏวาญิบให้นะมาซตรงด้านซ้ายหรือด้านขวาที่ใกล้กับมะกอม หรือนะมาซให้ไกลออกไปแต่ต้องอยู่หลังมะกอม

และเป็นการดีให้นะมาซใกล้กับมะกอมมากที่สุด (แต่ต้องไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น) แต่เนื่องจากมีฮุจญาจจำนวนมากมายไม่สามารถนะมาซหลังมะกอมได้ ดังนั้น ให้นะมาซด้านใดด้านหนึ่งที่ใกล้กับมะกอม **

*** อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ไม่ว่าจะนะมาซ ณ จุดใด ถ้าคนทั่วไปกล่าวว่าได้นะมาซหลังมะกอมอิบรอฮีม ถือว่าเพียงพอ แม้ว่าจะไกลจากมะกอมก็ตาม แต่ไม่ว่าจะนะมาซ ณ จุดใดของมัสญิดถือว่านะมาซถูกต้อง
-อายะตุลลอฮฺ ซีสตานีถ้าไม่สามารถนะมาซหลังหรือใกล้กับมะกอมอิบรอฮีมได้ อิฮฺติยาฏวาญิบให้นะมาซตรงด้านซ้ายหรือด้านขวาที่ใกล้กับมะกอม หรือนะมาซให้ไกลออกไปแต่ต้องอยู่หลังมะกอม

๑.สำหรับผู้ที่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติทุกคน เป็นวาญิบต้องเรียนรู้วิธีนะมาซต่าง ๆ อย่างถูกต้องเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่ถูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่ตั้งใจว่าจะเดินทางไปบำเพ็ญฮัจญฺ หรืออุมเราะฮฺจำเป็นต้องนะมาซอย่างถูกต้อง เพื่อจะได้นะมาซเฏาะวาฟได้อย่างถูกต้อง

๒. อิฮฺติยาฏมุซตะฮับ หลังจากเฏาะวาฟเสร็จแล้วให้รีบทำนะมาซเฏาะวาฟทันที เพื่อว่าคนอื่นจะได้ไม่สามารถกล่าวได้ว่าได้ทิ้งช่วงเวลาระหว่างทั้งสองให้ล่าออกไป

๓.นะมาซเฏาะวาฟมุซตะฮับ อนุญาตให้นะมาซตรงบริเวณใดของเขตฮะร็อมก็ได้

๔. ซะอียฺระหว่างเนินเขาเซาะฟาและมัรวะฮฺ
ขั้นตอนที่ ๔ ของอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺคือเดินซะอียฺ ซึ่งหลังจากนะมาซเฏาะวาฟเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องเดินไปมาระหว่างเนินเขาเซาะฟากับมัรวะฮฺ ๗ เที่ยว ปัจจุบันได้จัดทำเป็นลานเดินที่มีหลังคาใกล้ ๆ กับบัยตุลลอฮฺ

๑. การซะอียฺต้องเริ่มต้นที่เนินเขาเซาะฟาและไปสิ้นสุดที่เนินเขามัรวะฮฺ

๒. การนับจำนวนเที่ยว เมื่อเริ่มจากเซาะฟาไปถึงมัรวะฮฺนับ ๑ เที่ยว และเดินจากมัรวะฮฺไปถึงเซาะฟาเป็นเที่ยวที่ ๒ ดังนั้นเที่ยวที่ ๗ ต้องสิ้นสุดที่เนินเขามัรวะฮฺ

๓. ระหว่างซะอียฺ อนุญาตให้นั่งพักบนเนินเขาเซาะฟาหรือมัรวะฮฺได้ แต่ถ้าหยุดพักระหว่างทาง เวลาเริ่มซะอียฺใหม่ไห้เริ่มตรงจุดที่หยุด (หยุดตรงไหนให้เริ่มตรงนั้น)

๔. การซะอียฺ ไม่จำเป็นต้องมีวุฎูอฺ แม้ว่าอิฮฺติยาฏมุซตะฮับให้มีก็ตาม

๕. การซะอียฺบนชั้นที่สอง ไม่อนุญาตเนื่องจากอยู่สูงกว่าเนินเขาทั้งสอง

๕. ตักซีร
ขั้นตอนที่ ๕ ของอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺคือการตักซีร หลังจากซะอียฺเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ตักซีร หมายถึงตัดผมหรือเล็บเล็กน้อย เมื่อตักซีรแล้วเป็นอันว่าเสร็จพิธีอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ

หลังจากตักซีรทุกอย่างที่เป็นฮะรอมขณะครองชุดอิฮฺรอมจะฮะลาลทันที ฮุจญาจสามารถเปลื้องชุดอิฮฺรอมออกได้

ช่วงเวลาการตักซีร ให้ทำหลังจากซะอียฺเสร็จ แม้ว่าไม่จำเป็นต้องรีบทำก็ตาม แต่ถ้ายังไม่ตักซีรสิ่งที่ฮะรอมขณะครองอิฮฺรอมจะไม่ฮะลาลสำหรับตน
สถานที่ตักซีร การตักซีรไม่ได้กำหนดสถานที่ว่าต้องเป็นบริเวณใด แม้ว่าปัจจุบันเป็นที่รู้กันว่าหลังจากซะอียฺแล้วจะตักซีรกันตรงบรเวณเนินเขามัรวะฮฺ

ผู้ที่ยังไม่ได้ตักซีรไม่สามารถตักซีรให้คนอื่นได้
ถ้าผู้หญิงจะตักซีรตรงบริเวณที่มีผู้ชายคนอื่นอยู่ เป็นการดีให้ตัดเล็บแทนการขลิบผมเพื่อป้องกันไม่ให้ชายคนอื่นเห็นผมของตน

หมวดที่ ๒ อะมัลฮัจญฺตะมัตตุอฺ
-การครองอิฮฺรอม
-การวุกูฟในอาเราะฟะฮฺ
-การวุกูฟในมัชอะรุลฮะรอม
-ร็อมย์ ญุมเราะฮฺ อะเกาะบะฮฺในมินา (ขว้างเสาหินต้นสุดท้ายที่มีนา)
-กุรบาน
-ฮัลกฺหรือตักซีร
-เฏาะวาฟฮัจญฺ
-นะมาซเฏาะวาฟฮัจญฺ
-ซะอียฺระหว่างเขาเซาะฟากับมัรวะฮฺ
-เฏาะวาฟนิซาอฺ
-นะมาซเฏาะวาฟนิซาอฺ
-บัยตูตะฮฺในมินา (ค้างแรมในมินา)
-ร็อมย์ญุมะรอต(เสาหิน) ทั้งสาม

จากตักซีรอุมเราะฮฺจนถึงอิฮฺรอมฮัจญฺ
หลังจากเสร็จอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺแล้ว การกระทำที่ฮะรอมสำหรับตนจะฮะลาลจนกว่าจะครองอิฮฺรอมอีกครั้งสำหรับฮัจญฺตะมัตตุอฺ แต่ช่วงเวลาที่ยังไม่ได้ครองอิฮฺรอมและออกวุกูฟในอะเราะฟะฮ[๘]นั้น ฮุจญาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหล่านี้

๑. การออกนอกเขตเมืองมักกะฮฺ (อิฮฺติยาฏวาญิบ)
๒. ทำอุมเราะฮฺมุฟเราะดะฮฺ
๓. โกนศีรษะ

ปัจจุบันเนื่องจากจำนวนฮุจญาจเพิ่มมากขึ้นเป็นสาเหตุทำให้การจราจรติดขัด การเดินทางล่าช้ามาก เป็นไปได้ที่ฮุจญาจอาจไปถึงอะเราะฟะฮฺ ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด ดังนั้นวันที่ ๘ ซุลฮิจญะฮฺ ให้ครองอิฮฺรอม และออกเดินทางในตอนเย็นหลังนะมาซมัฆริบและอิชาอฺเพื่อไปอะเราะฟะฮฺ หรือถ้าจะออกเดินทางวันที่ ๙ ซุลฮิจญะฮฺ และไปถึงอะเราะฟะฮฺตอนซุฮรฺของวันนั้นพอดี ไม่เป็นไร

๑. การครองอิฮฺรอม
การครองอิฮฺรอมเป็นอะมัลแรกของการบำเพ็ญฮัจญฺ ขั้นตอนต่าง ๆ ของการบำเพ็ญฮัจญฺ เหมือนกับการทำอุมเราะฮฺ คือเริ่มต้นที่การครองอิฮฺรอม
วิธีการครองอิฮฺรอมอัจญฺ เหมือนกับการครองอิฮฺรอมอุมเราะฮฺแตกต่างกันที่เนียตเท่านั้น เช่น ถ้าเป็นอุมเราะฮฺให้เนียตว่า ข้าพเจ้าครองอิฮฺรอมอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺสำหรับฮัจญะตุลอิสลามกุรบะตันอิลัลลอฮฺ และถ้าเป็นฮัจญฺให้เนียตว่า ข้าพเจ้าครองอิฮฺรอมสำหรับฮัจญะตุลอิสลามกุรบะตันอิลัลลอฮฺ

-ช่วงเวลาสำหรับอิฮฺรอม หลังจากเสร็จอุมเราะฮฺจนกระทั่งก่อนการวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺของบ่ายวันที่ ๙ ซุลฮิจญฺเพียงเล็กน้อย

-สถานที่ครองอิฮฺรอม เมืองมักกะฮฺโดยให้นับเขตเมืองตามสมัยแรก (ไม่ใช่มักกะฮฺในปัจจุที่ได้ขยายเมืองกว้างขึ้น) ถึงแม้ว่าเป็นมุซตะฮับให้ครองอิฮฺรอมในเขตฮิจรุลอิสมาอีล หรือใกล้กับมะกอมอิบรอฮีม
การกระทำทั้งหมดตั้งแต่ครองอิฮฺรอมไปจนถึงการขว้างเสาหินเป็นอิบาดะฮฺ เหมือนกับนะมาซและอิบาดะฮฺอื่นที่ต้องเนียตเพื่อเชื่อฟังปฏิบัติตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) และการกระทำทั้งหมดที่ฮะรอมขณะที่ครองอิฮฺรอมอุมเราะฮฺ ก็เป็นฮะรอมสำหรับฮัจญฺเช่นกัน

๒. การวุกูฟในอะเราะฟะฮฺ
ฮุจญาจหลังจากครองอิฮฺรอมที่มักกะฮฺแล้ว ต้องเดินทางไปยังอะเราะฟะฮฺเพื่อวุกูฟ (หยุดพัก)

๑.จุดประสงค์ของการวุกูฟ คือฮุจญาจทั้งหมดต้องหยุดพักที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ ไม่ว่าจะอยู่บนรถ เดิน นั่ง หรือนอนก็ตาม

๑. ช่วงเวลาของการวุกูฟ เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้วุกูฟตั้งแต่บ่ายวันที่ ๙ ซุลฮิจญฺ ไปจนถึงมัฆริบ ดังนั้น เมื่ออะซานซุฮรฺได้ถูกประกาศขึ้น ฮุจญาจต้องเนียตว่า ข้าพเจ้าวุกูฟ ณ ทุ่งอะเราะฟะฮฺสำหรับฮัจญะตุลอิสลาม กุรบะตันอิลัลลอฮฺ

๒. การวุกูฟ ณ อาเราะฟะฮฺ และอะอฺมาลอื่น ๆ ของฮัจญฺ (ยกเว้นนะมาซและเฏาะวาฟ) ไม่จำเป็นต้องทำวุฎูอฺ หรือฆุซลฺ แต่เป็นมุซตะฮับให้ทำ

๓. ไม่มีการกระทำใดในอาเราะฟะฮฺเป็นวาญิบ ยกเว้นวุกูฟ (การหยุด) ณ ที่นั้น แต่เป็นมุซตะฮับอย่างมากบนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ ๆ ดีที่สุดที่ดุอาอฺจะถูกตอบรับ และดุอาอฺที่ดีที่สุดที่สมควรอ่าน ณ ที่นั้นคือดุอาอฺอะเราะฟะฮฺของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.)

๓.การวุกูฟในมัชอะรุลฮะรอม
หลังจากมัฆริบของวันที่ ๙ ได้ผ่านไป (ค่ำอีดกุรบาน) ฮุจญาจทุกคนต้องออกจากอะเราะฟะฮฺ โดยมุ่งหน้าไปยัง มัชอะรุลฮะรอมเพื่อปฏิบัติอะมัลฮัจญฺในขั้นตอนต่อไป

๑.เมื่อฮุจญาจได้มาถึงมัชอะรุลฮะรอม[๙] เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ คืนนั้น (ค่ำวันที่ ๑๐) ต้องค้างแรมอยู่ที่นั่นจนถึงอะซานซุบฮฺเพื่อเชื่อฟังปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ และตั้งแต่อะซาบซุบฮฺต้องเนียตวุกูฟในมัชอะรุลฮะรอมไปจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น (ข้าพเจ้าวุกูฟในมัชอะรุลฮะรอมสำหรับฮัจญะตุลอิสลามกุรบะตันอิลัลลอฮฺ)

๒. ไม่มีการกระทำใดในมัชอะรุลฮะรอมเป็นวาญิบ นอกจากการวุกูฟ ณ ที่นั้น ถึงแม้ว่าเป็นมุซตะฮับอย่างมากให้กล่าวซิกรุลลอฮฺ หรือให้รวบรวมก้อนหินเล็ก ๆ เพื่อเตรียมไว้สำหรับการขว้างเสาหินต้นสุดท้ายในวันรุ่งขึ้นก็ตาม

๔.ขว้างเสาหิน หรือ ร็อมย์ ญุมเราะฮฺ อะเกาะบะฮฺ
๑. หลังจากดวงอาทิตย์ของวันที่ ๑๐ (วันอีด) ขึ้นแล้ว บรรดาฮุจญาจทุกคนต้องออกจากมัชอะรุลฮะรอม โดยมุ่งหน้าไปยังมินา[๑๐]เพื่อปฏิบัติอะมัลฮัจญฺที่เหลือ

การกระทำในวันอีดที่มินา

-ร็อมย์ ญุมเราะฮฺอะเกาะบะฮฺ[๑๑]
-การทำกุรบาน (เชือดพลี)
-ฮัลกฺ (โกนศีรษะหรือตัดเพียงเล็กน้อย)

๒. เมื่อฮุจญาจได้ออกจากมัชอะรุลฮะรอม และเริ่มเข้าสู่มินา ซึ่งสุดเขตแดนของมินาจะมีเสาหินตั้งเรียงกันอยู่ ๓ ต้น เสาต้นแรกเรียกว่า ญุมเราะฮฺอูลา ต้นที่สองเรียกว่า ญุมเราะฮฺวุซฏอ และต้นที่สุดท้ายเรียกว่า ญุมเราะฮฺอุกบาอฺ หรืออะเกาะบะฮฺ การกระทำที่เป็นวาญิบอันดับแรกในมินา หรือในวันอีดคือ การขว้างเสาหินต้นสุดท้าย ๗ ก้อน (ร็อมย์ ญุมเราะฮฺอะเกาะบะฮฺ)

๓. ต้องขว้างหินทั้ง ๗ ก้อนให้โดนเสา แต่ไม่จำเป็นต้องขว้างให้โดนต่อเนื่องกันทั้ง ๗ ก้อนหมายถึง ๒ ก้อนแรกอาจจะโดนส่วนก้อนที่ ๓ ไม่โดน ก้อนที่ ๔ โดน ดังนั้นถือว่าขว้างโดนเพียง ๓ ก้อน และกรณีที่สงสัยว่าขว้างโดนทั้ง ๗ ก้อนหรือไม่ ฉะนั้นต้องขว้างจนกว่าจะมั่นใจว่าโดนทั้ง ๗ ก้อน

๔. หินที่ใช้ขว้างต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้..

- ต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ซึ่งโดยปรกตินะมีขนาดเท่ากับนิ้วหัวแม่มือ
- ต้องเป็นก้อนหินที่เก็บจากพื้นที่ของฮะรอม เช่น มัชอะรุลฮะรอม มินา หรือมักกะฮฺ
- ต้องไม่เป็นหินที่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นตนเองหรือผู้อื่น
- ต้องเป็นหินที่ได้รับอนุญาต

๕. สตรี[๑๒] เด็ก คนชรา และคนป่วย สามารถออกจากมัชอะรุลฮะรอมหลังจากเที่ยงคืน และก่อนอะซานซุบฮฺได้ และถ้าไม่สามารถขว้างเสาหิน (ร็อมย์ญุมเราะฮฺอะเกาะบะฮฺ) ในตอนเช้าได้ ** อนุญาตให้ขว้างในตอนกลางคืนที่ไปถึงมินา
** อายะตุลลอฮฺ ซีสตานีผู้ที่ไม่สบายหรือมีอุปสรรคอย่างอื่น ไม่สามารถขว้างเสาหินได้ด้วยตัวเอง ต้องให้ตัวแทนไปขว้างแทน

๕. กุรบาน
๑.หลังจากขว้างเสาหิน (ร็อมย์ญุมเราะอะเกาะบะฮฺ) เรียบร้อยแล้ว ฮุจญาจต้องมุ่งหน้าไปสู่สถานที่ทำกุรบาน (เชือดสัตว์) เพื่อเชือดแพะ แกะ วัว หรืออูฐอย่างใดอย่างหนึ่ง (ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมของทุนทรัพย์)

๒. สัตว์ที่ใช้ทำกุรบานนั้นต้องมีเงื่อนไขครบสมบูรณ์ ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือริซาละฮฺ หรือมะนาซิกุลฮจญฺ ดังนั้นเป็นความจำเป็นสำหรับผู้ที่ไปเลือกสัตว์ทำกุรบาน ต้องทราบเงื่อนไขของสัตว์อย่างดี ซึ่งเงื่อนไขทีกำหนดไว้มีดังต่อไปนี้

- ต้องเป็นสัตว์ที่แข็งแรงปราศจากอาการป่วยใข้
- ต้องไม่ใช่สัตว์ที่แก่เกินไป **
** อายะตุลลอฮฺ ซีสตานี เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบต้องไม่ใช่สัตว์ที่แก่
** อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี ต้องไม่ใช่สัตว์แก่ มิใช่เงื่อนไขของกุรบาน

- ต้องเป็นสัตว์ที่มีร่างกายสมบูรณ์ (อวัยวะครบทุกส่วนมิใช่ปากแหว่ง หรือหูขาด)
- ต้องไม่ใช่สัตว์ตาบอด หรือขาพิการ
- ต้องไม่ใช่สัตว์ที่หางขาด หรือก้อนไขมันที่ก้นถูกตัดขาด
- ต้องไม่ใช่สัตว์หูขาด หรือเขาหัก
- ต้องไม่ใช่สัตว์ที่ผอมเกินไป
- ต้องไม่ใช่สัตว์ที่ถูกตอน
-ต้องเป็นสัตว์ที่มีอายุครบสมบูรณ์ตามเกณฑ์

๓. หลังจากทำกุรบานแล้ว ฮุจญาจสงสัยว่าสัตว์ที่เชือดไปนั้นมีเงื่อนไขครบสมบูรณ์หรือไม่ ไม่จำเป็นต้องใส่ใจในความสงสัย

๔. ฮุจญาจที่ยังไม่ได้ฮัลกฺ หรือตักซีร หรือยังไม่ได้ทำกุรบานให้ตนเอง สามารถทำกุรบานแทนคนอื่นได้

๖. ฮัลกฺหรือตักซีร
๑. หลังจากทำกุรบานแล้ว ฮุจญาจต้องโกนศีรษะ (ถ้าเป็นฮัจญฺครั้งแรก) หรือตัดเล็บ หรือตัดผมเล็กน้อย

๒. หลังจากฮัลกฺแล้ว สิ่งที่เป็นฮะรอมขณะครองอิฮฺรอมจะฮะลาลทั้งหมด ยกเว้นการร่วมหลับนอนระหว่างสามีกับภรรยา หรือการใช้เครื่องหอมทุกชนิด ซึ่งสิ่งนี้จะฮะลาลก็ต่อเมื่อได้กระทำขั้นตอนส่วนที่เหลือครบสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ หลังจากฮัลกฺ (โกนศีรษะ) หรือตักซีรแล้วฮุจญาจสามารถเปลื้องชุดอิฮฺรอมออกและสวมใส่เสื้อผ้าชุดธรรมดาได้

๓. สำหรับฮุจญาจที่บำเพ็ญฮัจญฺเป็นครั้งแรก อิฮฺติยาฏวาญิบ ** ให้โกนศีรษะ ตักซีรอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่สำหรับฮุจญาจที่ใช่ครั้งแรกสามาถตักซีรหรือโกนศีรษะก็ได้
** อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ เป็นอิฮฺติยาฏมุซตะฮับ

๔. สำหรับสตรีต้องตักซีรอย่างเดียว (ตัดเล็บ หรือขลิบผมเล็กน้อย)

๕. สถานที่ฮัลกฺหรือตักซีรคือมินา

๖. ช่วงเวลาที่ต้องฮัลกฺหรือตักซีรสามารถปล่อยเวลาให้ล่าออกไปจนถึงวันที่ ๑๓ ซิลฮิจญฺ ได้ แม้ว่าเป็นอิฮฺติยาฏมุซตะฮับ ให้ทำในวันอีดก็ตาม

๗. ถ้าฮุจญาจได้มอบตัวแทนให้ทำกุรบานแทน ถ้าตัวแทนยังไม่ได้ทำกุรบานเขาไม่สามารถฮัลกฺหรือตักซีรได้เด็ดขาด ต้องรอจนกว่าจะมั่นใจว่าตัวแทนได้กุรบานเรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นจึงฮัลกฺหรือตักซีร

๘. ฮุจญาจที่ตนเองยังไม่ได้ฮัลกฺหรือตักซีร ไม่สามารถตัดหรือโกนผมให้ฮุจญาจคนอื่นได้






คู่มือฮัจย์

ข้อสรุปอะมัลอุมเราะฮฺ และฮัจญฺตะมัตตุอฺพร้อมทั้งขั้นตอนต่าง ๆ
๑. ต้องไปครองอิฮฺรอมที่มีกอต เช่น มัสญิดชะญะเราะฮฺ หรือญุอฺฟะฮฺ
๒. หลังจากนั้นต้องไปมัสญิดฮะรอมเพื่อเฏาะวาฟและนะมาซเฏาะวาฟ
๓. ต้องเดินซะอียฺระหว่างเขาเซาะฟากับมัรวะฮฺ
๔. หลังจากนั้นให้ตักซีร (ตัดเล็บหรือตัดผมเล็กน้อย) เมื่อตักซีรแล้วถือว่าอะมัลอุมเราะฮฺเสร็จสิ้น (สถานที่ตักซีรไม่ได้กำหนดตายตัว)

รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติอุมเราะฮฺ
* มีกอต
- ครองอิฮฺรอม-

* มัสญิดฮะรอม
- เฏาะวาฟ และนะมาซเฏาะวาฟ

* มัซอา
-เดินซะอียฺ ๗ เที่ยว

- หลังจากนั้นให้ตักซีร

สรุปขั้นตอนการปฏิบัติฮัจญฺตะมัตตุอฺ
๑.ครองอิฮฺรอมในมักกะฮฺเพื่อฮัจญฺตะมัตตุอฺ
๒.วันที่ ๙ ซุลฮิจญฺ (วันอะเราะฟะฮฺ) ต้องไปอะเราะฟะฮฺเพื่อวุกูฟ
๓.ค่ำวันที่ ๑๐ ต้องเดินทางไปยังมัชอะรุลฮะรอม และวุกูฟที่นั้นตั้งแต่อะซานซุบฮฺจนดวงอาทิตย์ขึ้น
๔.เช้าวันที่ ๑๐ หรือเช้าวันอีดต้องเดินทางไปยังมินา เพื่อขว้างเสาหินต้นสุดท้าย (ร็อมย์ญุมเราะฮฺอะเกาะบะฮฺ) กุรบาน และฮัลกฺหรือตักซีร
หลังจากปฏิบัติอะมัลวันที่ ๑๐ เสร็จเรียบร้อยแล้วต้องค้างแรมที่มินา (ลัยละตุลมะบีต) หรือกลับไปยังมักกะฮฺเพื่อปฏิบัติอะมัลส่วนที่เหลือ หลังจากนั้นให้กลับไปยังมินา

๕. ถ้าหากฮัจญีไปมักกะฮฺ อะมัลที่ต้องปฏิบัติคือเฏาะวาฟและนะมาซเฏาะวาฟ
๖. เมื่อเสร็จแล้วให้เดินซะอียฺระหว่างเขาเซาะฟากับมัรวะฮฺ
๗. หลังจากนั้นให้กลับเข้ามัสญิดอีกครั้งเพื่อเฏาะวาฟนิซาอฺและนะมาซเฏาะวาฟ
๘. เมื่อเสร็จให้กลับมินา เพื่อค้างแรมในค่ำที่ ๑๑ และ ๑๒
๙. เช้าวันที่ ๑๑ และ ๑๒ ให้ขว้าเสาหินทั้งสามต้น
๑๐. ตอนบ่ายของวันที่ ๑๒ ให้เดินทางกลับมักกะฮฺ เป็นอันว่าพิธีฮัจญฺเสร็จเรียบร้อย แต่ถ้าถึงช่วงนั้นฮุจญาจคนใดยังไม่ได้ปฏิบัติอะมัลที่มักกะฮฺ (เฏาะวาฟฮัจญฺ และนะมาซเฏาะวาฟ ซะอียฺ เฏาะวาฟนิซาอฺ และนะมาซเฏาะวาฟ) เมื่อถึงมักกะฮฺแล้วให้ปฏิบัติขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้
๑๑. ถ้าตอนบ่ายของวันที่ ๑๒ ไม่ได้ออกจากมินาให้ค้างแรมที่มีนาอีกหนึ่งคืน และขว้างเสาหินในตอนเช้า

รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติฮัจญฺ
*มักกะฮฺ
- ครองอิฮฺรอม

* อะเราะฟะฮฺ
- วุกูฟบ่ายวันที่ ๙

* มัชอะรุลฮะรอม
- วุกูฟตั้งแต่อะซานซุบฮฺจนดวงอาทิตย์ขึ้น

* มินา
- ร็อมย์ญุมเราะฮฺอะเกาะบะฮฺ
- กุรบาน
- ฮัลกฺ หรือ ตักซีร
- ค้างแรมค่ำที่ ๑๑ และ ๑๐ (ลัยละตุลมะบีต)
- ร็อมย์ญุมเราะฮฺทั้งสามต้น ในวันที่ ๑๑ และ ๑๒

* มัสญิดฮะรอม
- เฏาะวาฟฮัจญฺ
- นะมาซเฏาะวาฟฮัจญฺ

* มัซอา
- ซะอียฺระหว่างเขาเซาะฟากับมัรวะฮฺ

* มัสญิดฮะรอม
- เฏาะวาฟนิซาอฺ
- นะมาซเฏาะวาฟนิซาอฺ

เฏาะวาฟมุซตะฮับ
๑.เฏาะวาฟ เป็นหนึ่งในอะมัลมุซตะฮับที่มักกะฮฺ
๒.เฏาะวาฟมุซตะฮับและเฏาะวาฟวาญิบไม่แตกต่างกัน หลังนะมาซเฏาะวาฟเป็นมุซตะฮับเช่นกัน
๓.นะมาซเฏาะวาฟมุซตะฮับไม่จำเป็นต้องนะมาซใกล้มะกอมอิบรอฮีม ทว่าสามารถนะมาซได้ทุกที่ของมัสญิดฮะรอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่แออัดไปด้วยฮุจญาจ จำเป็นต้องระมัดระวังสิทธิของฮุจญาจคนอื่น

เฏาะวาฟวะดาอฺ
๑.เป็นมุซตะฮับสำหรับฮุจญาจทุกคน ให้เฏาะวาฟวิดาอฺก่อนออกจากมักกะฮฺ
๒.เฏาะวาฟวิดาอฺมี ๗ รอบเช่นกัน ส่วนนะมาซเฏาะวาฟวิดาอฺเป็นมุซตะฮับ
๓.เป็นมุซตะฮับให้ดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) ว่า ขอทรงโปรดให้เรากลับมาบำเพ็ญฮัจญฺอีก

หมวดที่ ๓ สิ่งที่ฮะรอมสำหรับอิฮฺรอม
๑.ประเภทของสิ่งฮะรอม
๒. สิ่งฮะรอมที่ต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ
๓.สิ่งฮะรอมที่ไม่ต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ
๔.ข้ออธิบายสิ่งฮะรอมบางประการ
๕.สิ่งฮะรอมร่วมระหว่างชายกับหญิง
๖.สิ่งฮะรอมสำหรับชาย
๗.สิ่งฮะรอมสำหรับหญิง

สิ่งที่ฮะรอมสำหรับอิฮฺรอม
ประเภทของสิ่งฮะรอม
๑. สิ่งฮะรอมที่ต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ
๒.สิ่งฮะรอมที่ไม่ต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ

สิ่งที่ฮะรอมสำหรับอิฮฺรอม
๑.สิ่งฮะรอมร่วมระหว่างชายกับหญิง
๒.สิ่งฮะรอมสำหรับชาย
๓. .สิ่งฮะรอมสำหรับหญิง

การทำสิ่งฮะรอมที่ต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ
๑. ถ้าตั้งใจกระทำ ต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ
๒. ไม่ได้ตั้งใจ ไม่เสียกัฟฟาเราะฮฺยกเว้นการล่าสัตว์
๓. ลืม ไม่เสียกัฟฟาเราะฮฺยกเว้นการล่าสัตว์
๔. เนื่องจากไม่รู้บทบัญญัติศาสนกิจ ไม่เสียกัฟฟาเราะฮฺยกเว้นการล่าสัตว์

จะอธิบายถึงสิ่งฮะรอมที่ฮุจญาจส่วนมากมักจะประสบเป็นประจำ

สิ่งฮะรอมที่ต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ
ลำดับ กิจที่ฮะรอม กัฟฟาเราะฮฺ
๑ การร่วมเพศ ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นอูฐ ๑ ตัว
๒ การใช้ของหอม ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว (อิฮฺติยาฏวาญิบ)
๓ สวมใส่เสื้อผ้าที่มีรอยเย็บ ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว
๔ โกนศีรษะ ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว
๕ ปกปิดศีรษะสำหรับผู้ชาย ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว
๖ เดินทางใต้ร่มเงาสำหรับผู้ชาย* ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว (อิฮฺติยาฏวาญิบ)
๗ ตัดเล็บนิ้วมือทั้งหมด ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว
๘ ตัดเล็บนิ้วเท้าทั้งหมด ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว
๙ ตัดเล็บน้อยกว่าสิบนิ้ว ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นอาหารนิ้วละ ๑ มุด (3/4 กิโลฯ)
๑๐ ถอนต้นไม้ใหญ่ในเขตฮะร็อม ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นวัว ๑ ตัว (อิฮฺติยาฏวาญิบ)
๑๑ ถอนต้นไม้เล็กในเขตฮะร็อม ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว (อิฮฺติยาฏวาญิบ)
๑๒ ถอนหรือหักบางกิ่ง ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเท่ากับราคา
๑๓ สาบานตามความเป็นจริง ๓ ครั้ง ถ้ามากกว่านั้นต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว
๑๔ ถอนฟัน๓ ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว (อิฮฺติยาฏวาญิบ)
๑๕ ถอนขนรักแร้ทั้งสองข้าง ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว
๑๖ ถอนขนรักแร้ ๑ ข้าง ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว (อิฮฺติยาฏวาญิบ)
๑๗ ถอนผม ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว (อิฮฺติยาฏวาญิบ)
๑๘ สาบานโกหก ๑ ครั้ง

สาบานโกหก ๒ ครั้ง
สาบานโกหก ๓ ครั้ง ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว ๖
ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นวัว ๑ ตัว
ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นอูฐ ๑ ตัว

*อายะตุลลอฮฺ ซีสตานี ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว และไม่แตกต่างกันว่าได้กระทำบนการเลือกสรรของตนเอง หรือมีความจำเป็นต้องกระทำ
อายะตุลลอฮฺ ซีสตานีเป็นอิฮฺติยาฏ ถ้าถอนต้นไม้ไม่ว่าจะเป็นไม้อะไรก็ตาม ให้จ่ายกัฟฟาเราะฮฺเท่ากับราคาต้นไม้นั้น
อายะตุลลอฮฺ ซีสตานีแม้ว่าจะไม่มีเลือดไหลก็ไม่อนุญาตให้กระทำ
อายะตุลลอฮฺคอเมเนอียฺ การถอนฟันถ้าไม่มีเลือดไหล ไม่ฮะรอม
อายะตุลลอฮฺ ซีสตานี การสาบานโกหกครั้งที่สอง ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๒ ตัว ถ้าโหกครั้งที่สามต้องจ่ายวัว ๑ ตัว
ถ้าหากลืมและได้กระทำสิ่งฮะรอมบางประการ กัฟฟาเราะฮฺไม่เป็นวาญิบ ยกเว้นการล่าสัตว์ ไม่ว่ากรณีใดก็ตามต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ

สิ่งฮะรอมที่ไม่ต้องเสียกัฟฟาเราะฮฺ
๑.การเขียนตาด้วยสิ่งที่ไม่มีกลิ่นหอม
๒.การส่องกระจก **
** อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ ซีสตานี มะการิม - การส่องกระจกถ้าไม่ได้ตั้งใจว่าเป็นการตบแต่งไม่เป็นอะไรอายะตุลลอฮฺคูอียฺ ถ้ามองเพื่อเป็นการตกแต่งต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺแพะ ๑ ตัว

๓.การสวมใส่สิ่งที่ปกปิดหลังเท้า
อายะตุลลอฮฺ ซีสตานี - ถ้าสวมใส่รองเท้าหุ้มข้อหรือรองเท้าที่คล้ายคลึงกันไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ แต่ถ้าตั้งใจใส่ถุงเท้าอิฮฺติยาฏวาญิบให้จ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว

๔.ความลุ่มหลงในโลกีย์วิสัย
๕.การโต้เถียง และการสาบานที่ถูกต้องน้อยกว่า ๓ ครั้ง
๖.สวมใส่แหวนเพื่อเป็นเครื่องประดับ
๗. ย้อมผม เช่นย้อมด้วยเฮนน่า (พืชชนิดหนึ่งเป็นมุซตะฮับให้นำมาย้อมผม หนวดเครา และเล็บ)
๘.สวมใส่เครื่องประดับตกแต่ง
๙.ทาน้ำมันที่ไม่มีกลิ่นบนร่างกาย
๑๐. การปกปิดหน้าสำหรับสตรี
๑๑.การทำให้ร่างกายเลือดไหล
๑๒. ถอนต้นหญ้าที่เขตฮะร็อม

คำอธิบายสิ่งฮะรอมขณะครองอิฮฺรอม
สิ่งต่อไปนี้เป็นคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งฮะรอมขณะครองอิฮฺรอมและมักเกิดขึ้นเสมอ

๑.การใช้ของหอมต่าง ๆ (ประเภทของหอมและการใช้)

- การฉีดน้ำหอมที่ชุดอิฮฺรอม ฮะรอม
- การฉีดน้ำหอมบนตัว ฮะรอม
- การสวมชุดที่มีกลิ่นหอม ฮะรอม
- การรับประทานสิ่งที่มีกลิ่นหอม เช่น อาหารที่ใส่ซะอฺฟะรอน(หญ้าฝรั่น) ฮะรอม
- การสูดดมดอกไม้ หรือพืชผักที่มีกลิ่นหอม ฮะรอม**
**อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ ทุกสิ่งทุกอย่างที่กล่าวได้ว่ามีกลิ่นหอม เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้หลีกเลี่ยง

หมายเหตุ
๑.การกินหรือดมผลไม้ที่มีกลิ่นหอมไม่เป็นไร เช่น แอปเปิล**
** อายะตุลลอฮฺ ซีสตานี - อิฮฺติยาฏให้หลีกเลี่ยงการดมผลไม้ที่มีกลิ่นหอม เช่น แอปเปิล

๒.อนุญาต ให้ซื้อขายน้ำหอมขณะครองอิฮฺรอม แต่การใช้หรือดมแม้ว่าจะเป็นการทดสอบกลิ่นก็ตาม ฮะรอม
๓. ไม่อนุญาตให้ใช้สบู่ ยาสีฟัน หรือแชมพูที่มีกลิ่นหอม ขณะครองอิฮฺรอม**
** อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ และซีสตานี - เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ ไม่ให้ใช้

๒.การส่องกระจก

- กระจกที่ใช้ส่องขณะตัดผม ฮะรอม
- ส่องกระจกโดยไม่ได้ตั้งใจเพื่อตกแต่งใบหน้า เป็นอิฮฺติยากวาญิบไม่ให้ส่อง**
**อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ และมะการิมชีรอซียฺ - ถ้าดูกระจกเพื่อดูรถที่แล่นตามมาข้างหลัง ไม่เป็นไร

- อนุญาตให้ดูตัวเองบนสิ่งที่ใส่เป็นเงาวาว
- อนุญาตให้ดูเงาตัวเองในน้ำที่ใสสะอาด**
**อายะตุลลอฮฺ ซีสตานี และมะการิมชีรอซียฺ - ถ้าของสิ่งนั้นมีคุณสมบัติของกระจกเงา และส่องเพื่อความสวยงาม ถือว่าฮะรอม

หมายเหตุ การมองผ่านกล้องถ่ายรูป หรือการถ่ายรูป ขณะที่ครองอิฮฺรอมไม่เป็นไร

๓.สวมใส่แหวนเพื่อประดับประดาและการใส่เฮนน่า
การสวมแหวนที่นิ้วมือ

- ถ้าเป็นการประดับ ฮะรอม
- ถ้าเพื่อษะวาบ (ผลบุญ) อนุญาต**
**อายะตุลลอฮฺมะการิม ชีรอซียฺ - การประดับประดานิ้วมือไม่ว่าจะเนียตอย่างไรก็ตาม ฮะรอม

การใส่เฮนน่า
- เพื่อตกแต่ง ฮะรอม
- ไม่ได้ใส่เฮนน่าเพื่อตกแต่ง แต่ถือว่าเป็นการตกแต่ง ฮะรอม**
**อายะตุลลอฮฺคอเมเนอียฺ - ถ้าเป็นเครื่องประดับ แม้จะไม่เนียตว่าเป็นการตกแต่ง อิฮฺติยาฏวาญิบให้ละเว้น

การใส่เฮนน่าก่อนครองอิฮฺรอม แม้ว่าก่อนที่จะถึงเวลาครองอิฮฺรอมกลิ่นได้จางหายไปก็ตาม ดีกว่าให้อิฮฺติยาฏไม่ใส่**
อายะตุลลอฮฺ มะการิมชีรอซียฺ - ถ้าเจตนาเพื่อการตกแต่งสำหรับการครองอิฮฺรอม ไม่อนุญาต

๔.การทาครีม น้ำมันบนร่างกาย
ทาครีมบนร่างกาย
๑. ทาขณะครองอิฮฺรอม เป็นฮะรอม แม้ว่าจะไม่มีกลิ่นก็ตาม
๒.ทาก่อนครองอิฮฺรอม
- ถ้ามีกลิ่นหอม หรือกลิ่นตกค้างจนถึงช่วงเวลาครองอิฮฺรอม ไม่อนุญาต
- ไม่มีกลิ่นหอม หรือกลิ่นไม่ตกค้างจนถึงเวลาครองอิฮฺรอม อนุญาต
๓. ถ้ามีความจำเป็น อนุญาต และถ้ามีกลิ่นหอมต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺด้วย

กินน้ำมัน
๑.ถ้ามีกลิ่นหอม ฮะรอม
๒.ถ้าไม่มีกลิ่นหอม อนุญาต

๕.การตัดขน, ผม
- จากร่างกายตนเอง ฮะรอม
- จากร่างกายคนอื่น ฮะรอม
- ไม่ว่าจะตัดมากหรือน้อย ฮะรอม
- การถอนขน ฮะรอม
- การโกนขน ฮะรอม
- การตัดให้สั้น ฮะรอม

หมายเหตุ
๑.ขณะทำวุฎูอฺหรืออาบน้ำ ถ้าขนได้หลุดออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่เป็นไร
๒.การตัดขนในสภาพที่จำเป็น ไม่เป็นไร เช่น ขนตาที่รบกวนหรือทิ่มแทงดวงตา
๓.ถ้าเอามือลูบศีรษะ ลูบหน้า หรือลูบแขน (นอกเหนือจากวุฎูอฺหรือฆุซลฺ) และขนได้หลุดออก ๑ เส้นหรือมากกวานั้น อิฮฺติยาฏให้จ่ายเซาะดะเกาะฮฺเป็นอาหาร ๑ กำมือ**
**อายะตุลลอฮฺ ซีสตานี - ต้องจ่ายอาหาร ๑ กำมือ

๖. การทำให้ร่างการเลือดออก
- การบริจาคเลือด เช่น ใช้เข็มฉีดยา
- การข่วน เกา หรือถูร่างกายจนเลือดออก ฮะรอม
- การแปรงฟันอันเป็นสาเหตุให้เลือดไหล

หมายเหตุ
๑. การนำเลือดออกจากร่างกายในสภาพที่จำเป็น เช่น นำเลือดไปตรวจเช็คโรค ไม่เป็นไร
๒. การนำเลือดออกจากร่างกายคนอื่น เช่น แพทย์ที่ครองอิฮฺรอมได้นำเลือดคนไข้ไปตรวจ หรือถอนฟันไม่ว่าเลือดจะออกมากหรือน้อยก็ตาม ไม่เป็นไร
๓. เกา ข่วนร่างกาย หรือแปรงฟันโดยที่เลือดไม่ออกและยาสีฟันไม่มีกลิ่นหอม ไม่เป็นไร
๔. การฉีดยาขณะครองอิฮฺรอมไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นสาเหตุให้เลือดออกต้องไม่ฉีดยา เว้นเสียแต่ว่ามีความจำเป็น***
*** อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ - ทั้งสองกรณีไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ

๗.ตัดเล็บ
๑. ตัดหรือฉีกเล็บ ขณะที่ครองอิฮฺรอม ฮะรอม และไม่มีความแตกต่างกันระหว่างเล็บเท้าหรือเล็บมือ
๒.ไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะตัดด้วยกรรไกรตัดเล้บ หรือว่าใช้มีด และของมีคมอื่น ๆ

๘. การถอนฟัน
๑.การถอนฟัน ขณะที่ครองอิฮฺรอมแม้ว่าเลือดจะไม่ออก อิฮฺติยาฏวาญิบเป็นฮะรอม
๒. ถ้าหากจำเป็นต้องถอนฟัน ไม่เป็นไร แต่อิฮฺติยาฏวาญิบให้จ่ายกัฟฟาเราะฮฺ **
** อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอียฺ - การถอนฟันถ้าเลือดไม่ออก ไม่ฮะรอม และไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องถอนฟัน และมีเลือดออก อิฮฺติยาฏมุซตะฮับให้จ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว

๙. การถอนต้นไม้และหญ้าที่เขตฮะร็อม
การถอนหรือตัดต้นไม้ และหญ้าที่ขึ้นอยู่ในบริเวณเขตฮะร็อม ไม่ว่าจะครองอิฮฺรอมหรือไม่ก็ตาม ฮะรอม ซึ่งกฏเกณฑ์ดังกล่าวนี้ถูกกำหนดไว้เป็นพิเศษสำหรับเขตฮะร็อมเท่านั้น
บางกรณีอนุญาตให้ถอนต้นไม้บริเวณเขตฮะร็อมได้

- ต้นไม้หรือต้นหญ้าที่ตนเป็นคนปลูก
- ต้นอินทผลัม หรือต้นไม้ผล

หมายเหตุ ระหว่างเดินถ้าหากการก้าวเท้าของเราเผอิญถอนต้นหญ้าโดยไม่ตั้งใจ ถึอว่าไม่เป็นไร

สิ่งฮะรอมเฉพาะสำหรับฮุจญาจชาย
๑.สวมใส่เสื้อผ้าที่มีรอยเย็บ
๑.ใส่เสื้อที่มีรอยเย็บ
๒.ใส่เสื้อหรือกางเกงชั้นในที่มีรอยเย็บ
๓.ใส่อะบา (เสื้อคลุม) หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันที่มีรอยเย็บ
๔.อิฮฺติยาฏวาญิบต้องไม่คาดเข็มขัดที่มีรอยเย็บ
๕.อนุญาตให้พกพากระเป๋าสตางค์ แม้ว่าจะมีรอยเย็บก็ตาม

หมายเหตุ ถ้าหากผู้ชายที่ครองอิฮฺรอมจำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าที่มีรอยเย็บ อนุญาตให้ใส่ แต่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว **
** อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ และซีสตานี - อิฮฺติยาฏวาญิบให้จ่ายกัฟฟาเราะฮฺเป็นแพะ ๑ ตัว

๒. สวมใส่สิ่งที่ปิดหลังเท้าทั้งหมด
๑. ผู้ชายที่ครองอิฮฺรอม ต้องไม่ใส่สิ่งที่ปกปิดหลังเท้า เช่น รองเท้า ถุงเท้า หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันที่ปกปิดหลังเท้าทั้งหมด
๒. สวมรองเท้าแตะที่ไม่ปกปิดหลังเท้าไม่เป็นไร
๓.ถ้าหากผ้าอิฮฺรอมหรือสิ่งอื่นได้ตกไปถึงหลังเท้า และฮุจญาจได้ปล่อยให้คลุมหลังเท้าไว้เช่นนั้น ไม่เป็นไร

๓. การปกปิดศีรษะ
๑. ปิดด้วยสิ่งที่เป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น หมวก ฮะรอม
๒. ปิดด้วยผ้าเช็ดตัวขณะที่เช็ดศีรษะให้แห้ง ฮะรอม
๓. การดำน้ำ ฮะรอม
๔. อิฮฺติยาฏ วาญิบไม่อนุญาตให้แบกสำภาระไว้เหนือศีรษะ

บางกรณีต่อไปนี้อนุญาตสำหรับผู้ชายที่ครองอิฮฺรอม
๑. ใช้ผ้าเช็ดหน้าพันศีรษะเพื่อบรรเทาอาการปวดศีรษะ
๒.การอาบน้ำใต้ฝักบัวในห้องน้ำ
๓.การนอนหนุนหมอน
๔.การเอามือวางไว้เหนือศีรษะ

อวัยวะบางส่วนที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของศีรษะไม่ควรปิด ฉะนั้น หู ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของศีรษะต้องไม่ปิด

๔. การเดินทางใต้ร่มเงา
๑.ระหว่างการเดินทางจากที่พักเมืองหนึ่งไปยังที่พักอีกเมืองหนึ่ง ฮะรอม
๒.อนุญาตให้หยุดพักระหว่างเดินทางตามสถานที่พักชั่วคราว เช่น ร้านขายน้ำชา กาแฟ หรือร้านอาหาร ๓.อนุญาตให้อยู่ภายใต้ร่มเงาตามสถานที่พักอาศัย เช่น บ้านพัก หรือโรงแรมที่พักอาศัยในมักกะฮฺ **
** อายะตุลลอฮฺ ซีสตานี - อิฮฺติยาฏวาญิบกรณีที่ลังเลใจไม่ควรอยู่ภายใต้ร่มเงาตามสถานที่กล่าวมา

หมายเหตุ เมื่อฮุจญาจที่ครองอิฮฺรอมถึงยังสถานที่พัก แม้ว่าจะอยู่ในสถานที่ใหม่ของมักกะฮฺและห่างจากเขตฮะร็อมก็ตาม เวลาไปเขตฮะร็อมอนุญาตให้นั่งรถที่มีหลังคา หรือเดินทางภายใต้ร่มเงาได้ (ขณะที่อยู่ในมักกะฮฺ มุฮฺริมสามารถเดินทางภายใต้ร่มเงาได้)

มุฮฺริม หมายถึงผู้ที่ครองอิฮฺรอม

ตัวอย่างการเดินทางภายใต้ร่มเงาที่ฮะรอมสำหรับมุฮฺริมชาย
๑. กางร่มขณะเดินทาง หรือเดินทางภายใต้หลังคา
๒. เดินทางกับรถโดยสารที่มีหลังคา
๓. เดินทางกับเรือที่มีหลังคา
๔. เดินทางโดยเครื่องบิน

การเดินทางภายใต้ร่มเงาที่อนุญาตสำหรับมุฮฺริมชาย
๑.ขณะที่หยุดพักระหว่างทาง
๒. อาศัยร่มเงาที่ไม่ได้อยู่เหนือศีรษะเช่น ร่มเงาจากกำแพง
๓.ขณะที่รถรอดใต้สะพาน หรือจอดตามปั้มน้ำมัน

ข้อพึงสังเกต ๒ ประการ
๑. ผู้ชายมุฮฺริมสามารถเดินทางตอนกลางคืนกับรถที่มีหลังคาได้ **
ตัวอย่างการเดินทางภายใต้ร่มเงาที่ฮะรอมสำหรับมุฮฺริมชาย
** อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ - นอกเสียจากว่าเวลากลางคืนต้องไม่มีฝนตก หรืออากาศหนาว เนื่องจากอิฮฺติยาฏวาญิบไม่ให้นั่งรถที่มีหลังคา เว้นแต่ว่าการรักษาระเบียบเหล่านี้ลำบากอย่างยิ่งสำหรับฮุจญาจ
อายะตุลลอฮฺ ซีสตานีถ้าตอนกลางคืนฝนไม่ตก ไม่เป็นไร

๒. ผู้ที่ไปครองอิฮฺรอมเพื่ออุมเราะฮฺมุฟเราะดะฮฺที่มัสญิด ตันอีม ขณะกลับเข้ามัสญิด อัลฮะรอมสามารถนั่งรถที่มีหลังคาหรือเดินทางภายให้ร่มเงาได้ เนื่องจากมัสญิดตันอีมอยู่ในเขตมักกะฮฺ

สิ่งฮะรอมเฉพาะสำหรับฮุจญาจหญิง
สวมใส่เครื่องประดับ

๑. การสวมใส่เครืองประดับสำหรับสตรีขณะครองอิฮฺรอม ฮะรอม ไม่ว่าจะเนียตเป็นการตกแต่งหรือไม่ก็ตาม
๒.เครื่องประดับที่ใส่จนเคยชินก่อนอิฮฺรอม ดังนั้นหลังจากครองอิฮฺรอมไม่จำเป็นต้องถอดออก แต่ต้องไม่อวดผู้ชายแม้แต่สามีก็ตาม
การปิดหน้า

สตรีที่ครองอิฮฺรอมต้องไม่ปิดหน้าบางส่วน หรือทั้งใบหน้า
แต่บางกรณีอนุญาตให้ปิดได้ เช่น
๑. นอนหนุนหมอน
๒. นำฝ่ามือวางไว้บนใบหน้า
๓. สามารถใช้ผ้าคลุมศีรษะ หรือผ้าที่อยู่เหนือศีรษะปิดลงมาจนถึงจมูก หรือคางได้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชายเห็น
หมวดที่ ๔ มารยาทและมุซตะฮับสำหรับอุมเราะฮฺและฮัจญฺ
- มุซตะฮับก่อนครองอิฮฺรอม
- มุซตะฮับขณะครองอิฮฺรอม
- มุซตะฮับตัลบียะฮฺ
- หยุดกล่าวตัลบียะฮฺ
- มักรูฮฺสำหรับอิฮฺรอม
- มารยาทในการเข้ามัสญิดอัล ฮะรอม
- มุซตะฮับเฏาะวาฟ
- มุซตะฮับนะมาซเฏาะวาฟ
- มุซตะฮับก่อนซะอียฺ
- มุซตะฮับซะอียฺ
- มุซตะฮับอื่น ๆ ในมักกะฮฺมุอัซซอม

มารยาทและมุซตะฮับสำหรับอุมเราะฮฺและฮัจญฺ
สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นมารยาทและมุซตะฮับต่าง ๆ สำหรับการทำอุมเราะฮฺและฮัจญฺ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อบรรดาฮุจญาจทั้งหลาย และนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป แน่นอนสิ่งที่เป็นมุซตะฮับสำหรับการบำเพ็ญฮัจญฺมีมาก การนำเสนอทั้งหมดย่อมเป็นความยุ่งยากสำหรับฮุจญาจ หนังสือเล่มนี้จึงนำเสนอเฉพาะสิ่งจำเป็นที่สามารถ ปฏิบัติได้และไม่สร้างความยุ่งยาก โดยหวังว่าฮุจญาจทั้งหลายคงจะได้รับผลบุญในการซิยาเราะฮฺกันอย่างถ้วนหน้า






คู่มือฮัจย์

มุซตะฮับต่าง ๆ สำหรับอุมเราะฮฺ
ก่อนอิฮฺรอม
๑.ให้เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนซิลเกาะดะฮฺเป็นต้นไป แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้เริ่มที่เดือนซิลฮิจญฺ และต้องไม่ตัดผมหรือหนวดเคราให้สั้น
๒. ก่อนครองอิฮฺรอมต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาด
๓.ให้เตรียมกรรไกร หรือที่ตัดเล็บให้เรียบร้อย
๔. ก่อนครองอิฮฺรอมที่มีกอต ให้ฆุซลฺอิฮฺรอมก่อน

ขณะครองอิฮฺรอม
๑.ถ้าเป็นไปได้ให้อิฮฺรอมหลังนะมาซซุฮรฺ แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้ให้อิฮฺรอมหลังนะมาซวาญิบอื่น และถ้าเป็นไม่ได้อีก ให้อิฮฺรอมหลังนะมาซนาฟิละฮฺ ๖ เราะกะอัต[๑๗]หรือ ๒ เราะกะอัต ซึ่งเราะกะอัตแรกหลังจากฟาติฮะฮฺให้อ่าน ซูเราะฮฺเตาฮีด ส่วนเราะกะอัตที่ ๒ ให้อ่านซูเระา กุลยาอัยยุฮัลกาฟิรูน แต่ให้นะมาซ ๖ เราะกะอัตดีกว่า

๒.หลังนะมาซ ให้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ (ซบ.) และประสาทพรแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และลูกหลาน
๓. ขณะครองอิฮฺรอมให้กล่าวว่า

มุซตะฮับตัลบียะฮฺ (กล่าวลับบัยกฺ)
لَبَّيْكَ اَللَّهُمَّ لَبَّيْكَ إِنَّ الْحَمْدَ وَ الْنِعْمَةَ لَكَ وَ الْمُلْكُ لاَ شَرِيْكَ لَكَ لَبَّيْك

๑. ตัลบียะฮฺให้กล่าวซ้ำขณะที่อยู่ในอิฮฺรอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่
- หลังตื่นนอน
- หลังนะมาซวาญิบ และมุซตะฮับ
- เมื่อเวลาจะขึ้นพาหนะ
- ขณะที่โดยสารหรือลงจากพาหนะ
- ขณะที่ขึ้นบนเนินเขาเล็ก ๆ
- ช่วงเวลาสุดท้ายของคืน
- ช่วงเวลาเช้าตรู่

หยุดกล่าวตัลบียะฮฺ
สำหรับผู้ที่ครองอิฮฺรอมอุมเราะฮฺตะมัตตุอฺ เมื่อเห็นกะอฺบะฮฺ อิฮฺติยาฏวาญิบให้หยุดกล่าว ตัลบียะฮฺ

มักรูฮฺ(พฤติกรรมที่ไม่พึงปฏิบัติ)ในขณะอิฮฺรอม
๑. อิฮฺรอมด้วยผ้าสีดำ
๒. อิฮฺรอมด้วยผ้าที่สกปรก
๓.อาบน้ำและโดยเฉพาะอย่างถูตัวด้วยผ้าขัดตัว หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน
๔.กล่าวลับบัยกฺตอบ เมื่อมีผู้อื่นร้องเรียก

มารยาทในการเข้ามัสญิดอัล ฮะรอม
๑. มุซตะฮับ ก่อนเข้ามัสญิด อัล-ฮะรอมให้ฆุซลฺ
๒. มุซตะฮับ ให้เดินเท้าเปล่าเข้ามัสญิด อัล-ฮะรอมด้วยความหนักแน่นและถ่อมตน
๓. มุซตะฮับ ให้เข้ามัสญิดทางประตู บะนีชัยบะฮฺ[๑๘] กล่าวว่าประตูดังกล่าวตรงข้ามกับประตู บาบุสสลาม
๔. มุซตะฮับ ให้ยืนตรงประตูทางเข้ามัสญิด และตามที่บันทึกไว้ในหนังสือดุอาอฺ

มารยาทและมุซตะฮับเฏาะวาฟ
ขณะเฏาะวาฟมุซตะฮับให้กล่าวว่า
اللهم إني اسألك باسمك الذي يمشى به على طلل

มุซตะฮับขณะเฏาะวาฟให้กล่าวว่า
أللهم إنى اليك فقير و إنى خائف...

ให้เซาะละวาตแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และลูกหลานของท่านให้มาก และเมื่อมาถึงประตูกะอฺบะฮฺให้ดุอาอฺว่า
سائلك فقيرك مسكينك...

เมื่อเดินมาถึง ฮิจรุลอิซมาอีล ตรงกับรางทองให้เงยหน้าขึ้นแล้วกล่าวว่า
اللهم أدخلنى الجنّة و أ جرنى من النار

เมื่อผ่าน ฮิจรุลอิซมาอีล และมาถึงด้านหลังกะอฺบะฮฺให้กล่าวว่า
يَا ذَالْمَنِّ وَ الطَّوْلِ يَا ذَا الْجُودِ وَ الْكَرَمِ إِنَّ عَمَلِىْ ضَعِيْفٌ فَضَاعِفْهُ لِى وَ تَقَبَّلْهُ مِنِّي إِنَّكَ أَنْتَ السَّمِيْعُ الْعَلِيْمُ

เมื่อมาถึง รุกยะมานี ให้ยกมือขึ้นและกล่าวว่า
يا ألله يا وليّ العافية و خالق العافية و رازق العافية

ให้เงยหน้าแหงนมองกะอฺบะฮฺพร้อมทั้งกล่าวว่า
الحمد لله الذي شرفك و عظمك

เมื่อไปถึงตรงกลางระหว่างรุกยะมานี และฮะญะรุลอัซวัดให้กล่าวว่า
رَبَّنَا آتِنَا فِى الدُّنْيَا حَسَنَةً وَ فِى الْآخِرَةِ حَسَنَةً وَ قِنَا عَذَابَ النَّارِ

มุซตะฮับนะมาซเฏาะวาฟ
นะมาซเฏาะวาฟมี ๒ เราะกะอัต เราะกะอัตที่ ๑ หลังจากฟาติฮะฮฺให้อ่าน ซูเราะฮฺเตาฮีด เระากะอัตที่ ๒ หลังจากฟาติฮะฮฺให้อ่าน ซูเราะฮฺญะฮดฺ (กุลยาอัยยุฮัลกาฟิรูน)[๑๙] เมื่อนะมาซเสร็จแล้ว ให้กล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ (ซบ.) และกล่าวเซาะละวาตแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และลูกหลานผู้บริสุทธิ์ของท่านโดยกล่าวว่า

أَللَّهُمَّ تَقَبَّلْ مِنِّي وَلاَ تَجْعَلْهُ آخِرَ الْعَهْدِ مِنِّي أَلْحَمْدُ لِلَّهِ بِمَحَامِدِ كُلِّهَا عَلَى نَعْمَائِهِ كُلِّهَا حَتَّى يَنْتَهِىَ الْحَمْدُ إِلَى مَا يُحِبُّ وَ يَرْ ضَى أَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَ آلِ مُحَمَّدٍ وَ تَقَبَّلْ مِنِّي وَ طَهِّرْ قَلْبِيْ وَ زَكِّ عَمَلِي

มุซตะฮับก่อนซะอียฺ
หลังจากนะมาซเฏาะวาฟเสร็จเรียบร้อยแล้ว และก่อนที่จะไปซะอียฺให้ดื่มน้ำ ซัมซัมเล็กน้อย พร้อมกับเอาน้ำราดบนศีรษะ หลัง และลูบที่ท้องพร้อมทั้งกล่าวว่า
أَللَهُمَّ اجْعّلْهُ عِلْمًا نَافِعًا وَ رِزْقًا وَاسِعًا وَ شِفَاءً مِنْ كُلِّ دَاءٍ وَ سُقْمٍ

หลังจากนั้นให้เดินขึ้นเนินเขาเซาะฟา ด้วยจิตใจที่สงบมั่นมองไปที่กะอฺบะฮฺ ยืนให้ตรงกับฮะญะรุลอัซวัด พร้อมกับยกมือขึ้นกล่าวสรรเสริญอัลลอฮฺ และรำลึกถึงความโปรดปรานต่าง ๆ ของพระองค์ เวลานั้นให้กล่าว อัลลอฮุอักบัร ๗ ครั้ง อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ๗ ครั้ง และ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ๗ ครั้ง และกล่าว ๓ ครั้งว่า
لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَ حْدَهُ لاَشَرِيْكَ لَهُ لَهُ الْمُلْكُ وَ لَهُ الْحَمْدُ يُحْيِي وَ يُمِيْتُ وَ هُوَ حَيُّ لاَيَمُوْتُ بِيَدِهِ الْخَيْرُ وَ هُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيْرٌ

หลังจากนั้นให้เซาะละวาตแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และลูกหลานผู้บริสุทธิ์ของท่าน และกล่าว อัลฮัมดุลิลลาฮิ ๑๐๐ ครั้ง และกล่าว ซุบฮานัลลอฮฺ ๑๐๐ ครั้ง

มุซตะฮับซะอียฺ
มุซตะฮับ ซะอียฺนั้นให้เดินจากเนินเขาเซาะฟาไปมัรวะฮฺ และระหว่างทางเมื่อไปถึง สถานที่ชื่อว่า มะนาเราะฮฺ มัยยานนะฮฺ กับตลาดอัฏฏอรอน[๒๐]ให้ทำการวิ่งช้า ๆ เหมือนกับอูฐที่เดินเร็ว (ฮัรวะละฮฺ) เวลาเดินกลับจากมัรวะฮฺไปเซาะฟาเช่นกัน เมื่อมาถึงบริเวณดังกล่าวให้ช้า ๆ แต่สำหรับผู้หญิงไม่ต้องทำ

ขณะเดินจากเซาะฟาเมื่อมาถึงบริเวณที่ต้องวิ่งช้า ๆ ให้กล่าวว่า
بِسْمِ اللهِ وَ بِاللهِ ، وَ اللهُ أَكْبَرُ، وَ صَلَّ اللهُ عَلَى مُحَمّدٍ وَ أَهْلِ بَيْتِهِ ، أَللَّهُمَّ اغْفِرْ وَ ارْحَمْ وَ تِجَاوَزْ عَمَّا تَعْلَمُ ، إِنَّكَ أَنْتَ الْأَعَزُّ الْأَجَلُّ الْأَكْرَمُ ، وَ اهْدِنِي لِلَّتِي هِيَ أَقْوَمُ ، أَللّهُمَّ إِنَّ عَمَلِي ضَعِيْفٌ ، فَضَاعِفْهُ لِي وَ تَقَبَّلْهُ مِنِّي ، أَللّهُمَّ لَكَ سَعِي ، وَ بِكَ حَوْلِي وَ قُوَّتِي ، تَقَبَّلْ مِنِّي عَمَلِي يَامَنْ يَقْبَلُ عَمَلَ الْمُتَّقِيْنَ

เมื่อผ่านบริเวณที่ต้องวิ่งช้า ๆ ไปแล้วให้กล่าวว่า
يَا ذَاالْمَنِّ وَ الفَضْلِ وَ الْكَرَمِ وَالنَّعْمَاءِ وَ الْجُوْدِ اغْفِرْ لِي ذُنُوْبِي ، انَّهُ لا يَغْفِرُ الذَُنُوْبَ اِلاَّ أَنْتَ

เมื่อไปถึงมัรวะฮฺให้ขึ้นไปบนเนินเล็กน้อย และกล่าวดุอาอฺเหมือนกับที่กล่าวบนเนินเขาเซาะฟา หลังจากนั้นให้กล่าวว่า
أَللّهُمَّ يَا مَنْ أَمَرَ بِالْعَفْوِ ، يَامَنْ يُحِبُّ الْعَفْوَ ، يَامَنْ يُعْطِي عَلَى الْعَفْوِ ، يَامَنْ يَعْفُوْ عَلَى الْعَفْوِ، يَارَبِّ الْعَفْوِ ، اَلْعَفْوَ ، اَلْعَفْوَ ، اَلْعَفْوَ

أَللّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ حُسْنَ الظَّنَّ بِكَ عَلَى كُلِّ حَالٍ ، وَصَدْ قَ النِّيَّةِ فِي التَّوَكُّلِ عَلَيْكَ

มารยาทและมุซตะฮับของฮัจญฺ
สิ่งที่เป็นมุซตะฮับสำหรับอิฮฺรอม เฏาะวาฟ นะมาซเฏาะวาฟ และซะอียฺขณะปฏิบัติอุมเราะฮฺ ก็เป็นมุซตะฮับสำหรับฮัจญฺเช่นกัน

มุซตะฮับบางประการขณะออกวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ
๑. ขณะวุกูฟควรอยู่ในสภาพที่สะอาดหมายถึงมีวุฎูอฺตลอดเวลา
๒. ให้ฆุซลฺ ซึ่งดีที่สุดให้ฆุซลฺตอนใกล้เวลาซุฮรฺ
๓. ให้อ่านดุอาอฺดังต่อไปนี้
اَللّهُمَّ رَبَّ الْمَشَاعِرِ كُلَّهَا فُكَّ رَقَبَتِي مِنَ النَّارِ وَ أَوْسِعْ عَلَيَّ مِنْ رِزْقِكَ الْحَلاَلِ.....

๔. หลังจากนั้นให้ดุอาอฺสิ่งที่ตนปรารถนา เมื่อจบแล้วให้ยกมือขึ้นพร้อมทั้งกล่าวว่า
اَللّهُمَّ حَاجَتِي إِلَيْكَ الَّتِيْ إِنْ أَعْطَيْتَنِيْهَا لَمْ يَضُرَّنِيْ مَا مَنَعْتَنِي ،...

๕. ให้มองไปที่กะอฺบะฮฺ และกล่าวซิกรฺต่อไปนี้
سُبْحَانَ اللّهِ ، اَللَّهُ اَكْبَرُ ، مَاشَاءَ اللّهُ لاَ قُوَّةَ إِلاَّ بِاللّهِ

أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَ حْدَهُ لاَ شَرِيْكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَ لَهُ الْحَمْدُ يُحْيِي وَ يُمِيْتُ وَ يُمِيْتُ وَ يُحْيِي وَ هُوَ حَيُّ لاَ يَمُوْتُ بِيَدِهِ الْخَيْرُ وَ هُوَ عَلَى كُلَّ شَيْءٍ قَدِيرٌ

๖. ให้กล่าวประโยคต่อไปนี้ให้มาก
اَللَّهُمَّ اَعْتِقْنِي مِنَ النَّارِ

๘.ดีที่สุดให้อ่านดุอาอฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และดุอาอฺอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ.) หรือที่รู้จักกันในนามของดุอาอฺอะเราะฟะฮฺ

๙.ใกล้เวลาดวงอาทิตย์ตกดินให้กล่าวว่า
اَللّهُمَّ إِنِّي أَعُوْذُبِكَ مِنَ الْفَقْرِ وَ مِنْ تَشَتُّتِ الْأُمُوْرِ...

๑๐. หลังจากดวงอาทิตย์ตกดินแล้วให้กล่าวว่า
اَللَّهُمَّ لاَ تَجْعَلْهُ آخِرَ الْعَهْدِ مِنْ هَذَا الْمَوْقِفِ،.....

มุซตะฮับวุกูฟในมัชอะรุลฮะรอม
มุซตะฮับ ในคืนนี้ให้อิบาดะฮฺมากที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ และให้ดุอาอฺดังต่อไปนี้
اَللَّهُمَّ هَذَهِِِ جُمَعُ ، اَللَّهُمَّ إنِّيْ أَسْأَلُكَ أَنْ تَجْمَعَ لِي فِيْهَا جَوَامِعَ الْخَيْر،....

มุซตะฮับให้เก็บหินที่มัชอะรุลฮะรอมเตรียมไว้เพื่อขว้างเสาหินในเช้าของวันรุ่งขึ้น (วันอีด)

หลังจากนะมาซซุบฮฺ ให้กล่าวดุอาอฺดังต่อไปนี้
اَللَّهُمَّ رَبَّ الْمَشْعَرِ الْحَرَام فُكَّ رَقَبَتِي مِنَ النَّار وَ أَوْ سعْ عَلَيَّ مِنْ رِزْقِكَ الْحَلاَل ،..

มุซตะฮับร็อมย์(ขว้างเสาหิน)
๑. ร่างกายต้องสะอาดขณะร็อมย์ (มีวุฎูอฺ)
๒. หินทุกก้อนที่ขว้างออกไปควรกล่าว อัลลอฮุอักบัร
๓. ขณะที่ขว้างเสาหินต้นสุดท้ายควรหันหลังให้กิบละฮฺ ส่วนต้นกลาง กับต้นแรกควรหันหน้าให้กิบละฮฺ
๔. ขณะที่ถือหินอยู่ในมือเตรียมพร้อมที่จะขว้างให้กล่าวดุอาอฺว่า
اَللَّهُمَّ هَذِهِ حَصَيَاتِي فَاحْصِهُنَّ لِي وَ ارْفَعْهُنَّ فِى عَمَلِي

มุซตะฮับกุรบาน
๑.ให้กุรบานสัตว์ที่อ้วนสมบูรณ์
๒. ถ้ากุรบานวัวหรืออูฐควรเป็นตัวเมีย แต่ถ้าเป็นแพะควรเป็นตัวผู้
๓. ผู้ที่ทำกุรบานควรเชือดด้วยตัวเอง แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้จับมือคนเชือดเวลาเชือด
๔. ขณะที่เชือดให้กล่าวดุอาอฺดังต่อไปนี้
وَ جْهَتُ وَ جْهِيَ للَّذِيْ فَطَِرَ السِّمَاوَاتِ وَ الْأرْضِ....

มุซตะฮับมินา
มุซตะฮับ ฮุจญาจต้องค้างแรมที่มินาในวันที่ ๑๑ และ ๑๒ และมุซตะฮับไม่ควรออกจากมินาแม้ว่าจะออกมาเพื่อเฏาะวาฟก็ตาม

มุซตะฮับ หลังนะมาซทุกเวลาให้ตักบีร อัลลอฮุอักบัร แต่ดีกว่าให้ตักบีรว่า
اَللّهُ أَكْبَرُ ، اَللّهُ أَكْبَرُ ،لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَ اللَّهُ اَكْبَرُ، اَللّهُ أَكْبَرُ ، وَ لِلَّهِ الْحَمْدُ ، اَللّهُ أَكْبَرُ عَلَى مَا هَدَانَا ، اَللّهُ أَكْبَرُ عَلَى مَا رَزَقَنَا مِنْ بَهِيْمَةِ الْأَنْعَامِ ، وَ الْحِمْدُ لِلَّهِِ عَلَى مَا أَبْلاَنَا

มุซตะฮับอื่นๆที่เกี่ยวกับนครมักกะฮฺ
มารยาทและมุซตะฮับต่าง ๆ สำหรับมักกะฮฺมุอัซซอมมีดังต่อไปนี้
๑. กล่าวซิกรุลลอฮฺให้มากที่สุด อ่านอัล-กุรอาน และนะมาซ
๒. อ่านอัล-กุรอานให้จบอย่างน้อยสุด ๑ เที่ยว
๓. ให้ดืมน้ำซัมซัม และหลังจากดื่มแล้วให้กล่าวดุอาอฺดังต่อไปนี้
أِللَّهُمَّ اجْعَلْهُ عِلْمًا نَافِعًا ، وَ رِزْقًا وَاسِعًا، وَشِفَاءً مِنْ كُلِّ دَاءٍ وَ سُقْمٍ

بِسْمِ اللَّهِ وَ بِاللَّهِ وَالشُّكْرُ لِلَّهِ

๔. ให้มองกะอฺบะฮฺให้มากที่สุดและมองซ้ำบ่อย ๆ
๕. แต่ละวันให้เฏาะวาฟ ๑๐ ครั้ง โดยแบ่งดังนี้
- ตอนหัวค่ำให้เฏาะวาฟ ๓ ครั้ง
- ใกล้จะสิ้นสุดเวลากลางคืน ให้เฏาะวาฟ ๓ ครั้ง
- หลังจากเข้าเวลาซุบฮฺให้เฏาะวาฟ ๒ ครั้ง
- และหลังซุฮรฺให้เฏาะวาฟ ๒ ครั้ง
๖. ขณะพักอยู่ในมักกะฮฺมุอัซซอมควรเฏาะวาฟให้เท่ากับจำนวนวันของปี (๓๖๐/๓๖๕ วัน) แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้เฏาะวาฟเท่ากับจำนวนสัปดาห์ของปี (๕๒ สัปดาห์) และถ้ายังไม่สามารถทำได้อีกให้เฏาะวาฟเท่าที่สามารถทำได้

----------มารยาทที่สมควรปฏิบัติเมื่ออยู่ที่มัสญิดอัล-ฮะรอม กับมัสญิดนะบีคือ นะมาซ เนื่องจากจะได้รับผลบุญจำนวนมากมาย ริวายะฮฺบางบทกล่าวว่า นะมาซที่มัสญิดอัล ฮะรอม ๑ เราะกะอัตจะได้รับผลบุญเท่ากับนะมาซ ๑๐๐,๐๐๐ เราะกะอัต และนะมาซที่มัสญิดนะบีจะได้รับผลบุญเท่ากับ ๑๐,๐๐๐ เราะกะอัต เมื่อเทียบกันนะมาซที่อื่น[๒๑] ฉะนั้น เหมาะสมอย่างยิ่งถ้าหากผู้แสวงบุญที่มีเกียรติทุกท่านได้ใช้ช่วงเวลาที่อยู่ที่มักกะฮฺให้เป็นประโยชน์ที่สุด หรือถ้ามีนะมาซที่ต้องชดใช้ติดตัวอยู่ ก็ให้ชดใช้ที่นั้น เพราะนอกจากจะได้ปฏิบัติหน้าที่ชัรอียฺของตนแล้ว ยังได้รับผลบุญที่มากมายอีกต่างหาก-------

ต้องออกห่างจากความขัดแย้ง
๑. ไม่อนุญาตให้ออกจากมัสญิดอัล ฮะรอมและมัสญิดนะบี เมื่อเข้าเวลานะมาซญะมาอะฮฺ และเป็นวาญิบสำหรับชีอะฮฺทุกคนที่ต้องนะมาซญะมาอะฮฺร่วมกับเขา
๒. การเข้าร่วมนะมาซญะมาอะฮฺไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่มัสญิดอัล ฮะรอมหรือมัสญิดนะบีเท่านั้น แม้แต่ในมัสญิดอื่นถ้าเข้าร่วมถือว่านะมาซถูกต้อง**
**อายะตุลลอฮฺ ซีสตานี - ถ้าอ่านฟาติฮะฮฺกับซูเราะฮฺเสียงเบาตามไปด้วยถือว่าเพียงพอ แต่สำหรับนะมาซญุมุอะฮฺ หลังจากเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นะมาซซุฮรฺใหม่อีกครั้ง

๓.สุญูดบนพรมที่มัสญิดอัล ฮะรอมและมัสญิดนะบีไม่เป็นไร
๔.สุญูดบนพรมมัสญิดไม่เป็นไร ทว่าไม่อนุญาตให้วางดินนะมาซ และไม่จำเป็นต้องนะมาซบริเวณที่เป็นหิน*** และไม่จำเป็นต้องใช้เสื่อหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน แต่ถ้าสังเกตว่าไม่มีปัญหา และไม่เป็นการดูถูกหมายถึงมุสลิมทั่วไปก็ใช้เสื่อรองนะมาซเช่นกัน สามารถนะมาซบนเสื่อได้ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นจุดสนใจของคนทั่วไปให้หลีกเลี่ยง
*** อายะตุลลอฮฺ ซิตตานีย์ - กรณีที่เป็นไปได้ ถือว่าจำเป็น

ข้อพึงสังเกต
๑.ผู้เดินทางสามารถนะมาซเดินทางในมัสญิดอัล ฮะรอม และมัสญิดนะบีได้ (หมายถึงนะมาซ ๔ เราะกะอัต ให้นะมาซแค่ ๒ เราะกะอัต) หรือนะมาซเต็ม ๔ เราะกะอัต
๒.การนำอัล-กุรอานออกจากมัสญิดอัล ฮะรอม มัสญิดนะบี และมัสญิดอื่น ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หรือคนดูแลมัสญิด ไม่อนุญาต
๓. ไม่อนุญาตให้นำหินจากเซาะฟา และมัรวะฮฺติดตัวมา




..................
เชิงอรรถ
[๑] ตะมัตตุอฺ ตามพจนาจุกรม หมายถึง การใฝ่หาความสุข การใช้ประโยชน์ ส่วนความหมาย ณ ที่นี้หมายถึง อุมเราะฮฺซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของฮัจญฺ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกอุมเราะฮฺและฮัจญฺประเภทนี้ว่า ตะมัตตุอฺ ซึ่งระยะเวลาหนึ่งที่อยู่ระหว่างการครองชุดอิฮฺรอม และหลังจากที่เปลื้องชุดอิฮฺรอมแล้ว จนกว่าจะถึงการครองชุดอิฮฺรอมเพื่อฮัจญฺ อนุญาตให้สามีภรรยาใกล้ชิดกันได้ อุมเราะฮฺและฮัจญฺประเภทนี้เป็นหน้าที่ของผู้ที่อยู่ไกลจากมักกะฮฺประมาณ ๑๖ ฟัรซัค ซึ่งได้เดินทางเข้ามักกะฮฺเพื่อบำเพ็ญอัจญ์ (๑๖ ฟัรซัค # ๙๐ ก.ม.)
[๒] ตักซีร หมายถึง การทำให้สั้น ในความหมายของฟิกฮฺหมายถึง การตัดบางส่วนของผมหรือเล็บให้สั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในอะมัลของอุมเราะฮฺและฮัจญฺ
[๓] มะกอมอิบรอฮีม หมายถึงหินที่ท่านศาสดาอบรอฮีม (อ.) ใช้วางเท้าขณะที่สร้างบัยตุลลอฮฺ จนเป็นรอยเท้าปรากฏอยู่ ปัจจุบันได้นำมาตั้งดูแลไว้ใกล้ ๆ กับบัยตุลลอฮฺ
[๔] สถานที่ครองอิฮฺรอม เรียกว่ามีกอต มีทั้งสิ้น ๕ ที่ด้วยกันประกอบด้วย ๑.ซุลฮุลัยฟะฮฺหรือมัสญิดชะญะเราะฮฺ เขตมีกอตสำหรับฮุจญาตที่เดินทางมาจากมะดีนะฮฺ, ๒. วาดียฺ อัล-อะกีก เขตมีกอตสำหรับฮุจญาตที่เดินทางมาจากอีรัก, ๓. ญุอฺฟะฮฺเขตมีกอต สำหรับฮุจญาตที่เดินทางมาจากญิดดะฮฺ ซีเรีย อียิปต์ มอรอกโค, ๔. ยะลัมลัม เขตมีกอตสำหรับชาวยะเมน, ๕. ก็อรนุลมะนาซิล เขตมีกอตของชาวเมืองฎออิฟ
[๕] เมื่องมักกะฮฺ และเขตรอบ ๆ ที่มีอาณาบริเวณที่แน่นอนถือเป็น เขตฮะร็อม ซึ่งมีอะฮฺกาม (กฎเกณฑ์) ที่เฉพาะให้ปฏิบัตฺ
[๖] ฮะญะรุลอัซวัด หมายถึง หินรูปวงรี สีดำติดอยู่ตรงมุมด้านทิศตะวันออกของบัยตุลลอฮฺ สูงจากพื้นมัสญิดประมาณ ๑.๕ เมตร
[๗] ฮิจญะริอิสมาอีล บริเวณหนึ่งที่อยู่ระหว่างบัยตุลลอฮฺ กับกำแพงครึ่งวงกลม ซึ่งมีความกว้างประมาณ ๑๐ เมตร เริ่มตั้งแต่มุมด้านทิศเหนือจรดทิศใต้ เหนือขึ้นไปเป็นรางทอง (หรือเรียกกันว่ารางทองแห่งความเมตตา) เมื่อเวลาฝนตกน้ำจะไหลออกจากรางทองตกลงในกำแพงครึ่งวงกลมนั้น ณ บิรเวณดังกล่าวเป็นสถานที่ฝังศพของท่านศาสดาอิสมาอีล (อ.) กับท่านหญิงฮาญัรมารดาของท่าน และบรรดาศาสดาอีกมากมาย
[๘] อะเราะฟะฮฺ เป็นท้องทุ่งราบเรียบ มีความกว้างประมาณ ๒๒ กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมักกะฮฺ เป็นสถานที่บรดาฮุจญาตทั้งหลาย ต้องไปวุกูฟที่นั้น ตั้งแต่ซุฮฺรฺของวันที่ ๙ ซุลฮิจญะฮฺไปจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน อะเราะฟะฮฺ หมายถึง อิรฟาน (การรู้จัก ความรัก ความมักคุ้น)
[๙] มัชอะรุลฮะรอม คือวาดียฺ เฏาะวีลียฺ อยู่ระหว่างอะเราะฟะฮฺกับมินา หรือเรียกอีกอย่างว่า มุซดะละฟะฮฺ ซึ่งค่ำวันอีดกุรบาน ฮุจญาตทุกคนต้องค้างแรมที่นั้น
[๑๐] มินา เป็นสถานหนึ่งที่อยู่ระหว่างหุบเขา ๒ ลูก และระหว่างมัชอะรุลฮะรอมกับมักกะฮฺ
[๑๑] ร็อมยฺ หมายถึงการยิงหรือขว้าง แต่ในที่นี้หมายถึงการขว้างเสาหิน
[๑๒] สตรี ถึงแม้ว่าจะสามารถขว้างเสาหินได้ในตอนเช้าของวันอีดกุรบาน ก็อนุญาตให้ขว้างได้ในตอนกลางคืน ส่วนวันที่ ๑๑ แล ๑๒ ถ้าไม่สามารถขว้างในตอนกลางวันได้ อนุญาตให้ขว้างในตอนกลางคืน
[๑๓] ซึ่งมีอะมัลอีก ๒ ประการที่ต้องปฏิบัติคือ การค้างแรมที่มินาในค่ำที่ ๑๑ และ ๑๒ ซึ่งวันที่ ๑๑ และ ๑๒ ฮุจญาตต้องไปขว้างเสาหินทั้งสามต้น ตั้งแต่ต้นที่ ๑ จนถึง ต้นที่ ๓
[๑๔] เฏาะวาฟนิซาอฺ นิซาอฺ หมายถึงผู้หญิง เฏาะวาฟนิซาอฺเป็นอะมัลเฉพาะสำหรับอุมเราะฮฺมุฟเราะดะฮฺ หรือฮัจญฺเท่านั้น ซึ่งการเฏาะวาฟดังกล่าวเป็นสาเหตุทำให้สามีภรรยาฮะลาลซึ่งกันและกัน ถ้าไม่ได้ปฏิบัติไม่สามารถหลับนอนกันได้ ฮะรอม
[๑๕] อุมเราะฮฺมุฟเราะฮฺ ต่างไปจากฮัจญฺ ต้องเฏาะวาฟนิซาอฺและนะมาซด้วยเช่นกัน
[๑๖] สตรี สามารถขว้างเสาหินตอนกลางคืนของวันที่ ๑๐ ได้ (รัมยฺญุมเราะฮฺอะเกาะบะฮฺ) ส่วนรัมยฺในวันที่ ๑๑ และ ๑๒ ถ้าไม่มีอุปสรรคไม่สามารถขว้างในตอนกลางคืนได้
[๑๗] ให้นะมาซที่ละ ๒ เราะกะอัต โดยเนียตนะมาซก่อนอิฮฺรอม
[๑๘] ริวายะฮฺกล่าวว่า หลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้ทำลายรูปปั้นที่อยู่ในมักกะฮฺ และบริเวณรอบ ๆ แล้ว รูปปั้นตัวใหญ่นามว่า ฮุบัล ได้ถูกฝังอยู่ที่ใต้ประตูชัยบะฮฺ ฉะนั้น เป็นมุซตะฮับให้เข้ามัสญิดทางประตูดังกล่าวเพือเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ในการต่อสู้กับพระเจ้าจอมปลอมทั้งหลาย
[๑๙] นะมาซเฏาะวาฟต้องทำอย่างถูกต้อง ดังนั้น สำหรับบุคคลที่กล่าวซูเราะฮฺ กุลยาอัยยุฮัลกาฟิรูนไม่ได้ เราะกะอัตที่ ๒ ให้กล่าวเหมือนเราะกะอัตแรก
[๒๐] ปัจจุบันไม่มี มะนาเราะฮฺ มัยยานนะฮฺ และตลาดอัฏฏอร แต่ระยะห่างทั้งสองได้ติดไฟสีเขียว และขีดเส้นที่พื้นเป็นสัญลักษณ์ไว้
[๒๑] ฟุรูอฺ กาฟียฺ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๒๖, ๕๕๖





....จบบริบูรณ์

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัชชีอะฮ์
ทางเว็บไซต์อัลฮะซะนัยน์ได้ปรับย่อเนื้อหาบางส่วน