ขออยู่กับผู้สัจจริง

ขออยู่กับผู้สัจจริง0%

ขออยู่กับผู้สัจจริง ผู้เขียน:
กลุ่ม: หลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 27

ขออยู่กับผู้สัจจริง

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ตีญานี
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 27
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 58212
ดาวน์โหลด: 457

รายละเอียด:

ขออยู่กับผู้สัจจริง
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 27 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 58212 / ดาวน์โหลด: 457
ขนาด ขนาด ขนาด
ขออยู่กับผู้สัจจริง

ขออยู่กับผู้สัจจริง

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
ขออยู่กับผู้สัจจริง



อัล-บะดาอฺ การเปลี่ยนกฎเกณฑ์โดยอัลลอฮฺ(ซ.บ.)
อัล-บะดาอฺ หมายความว่า การจะเริ่มกิจการใดกิจการหนึ่งสักอย่างที่ทรงประสงค์จะกระทำ ต่อจากนั้น ทรงเปลี่ยนแปลงความคิดในกิจการนั้นๆเสีย แล้วทรงกระทำในกิจการนั้นในลักษณะอื่นที่มิใช่จากเจตนารมณ์ที่จะกระทำในคราวก่อน

สำหรับการอธิบายเรื่อง อัล-บะดาอฺ ว่าเป็นผลสรุปของความโง่เขลา หรือบั่นทอนเกียรติคุณของพระองค์ให้บกพร่อง ดังที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺให้ความหมายในลักษณะนี้ และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงกล่าวหาต่อชีอะฮฺว่าเป็นผู้กล่าวอย่างความหมายนี้ หมายความว่า พวกเขากล่าวหาว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงโง่เขลา ทุกประการเหล่านี้ ก็เพราะการจงเกลียดจงชังต่อพวกเขา และลบหลู่ความเชื่อของพวกเขา

ดังนั้น การอธิบายความหมายอย่างนี้ถือว่า เป็นความผิดพลาดและชีอะฮฺเองก็มิได้กล่าวอย่างนั้นโดยเด็ดขาด ฉะนั้นใครๆ ที่กล่าวหาว่า พวกเขาเป็นอย่างนั้นก็เท่ากับใส่ร้ายพวกเขา นี่คือคำสอนของพวกเขาทั้งในอดีต ปัจจุบัน เป็นหลักฐานยืนยันสำหรับพวกเขา

เชคมุฮัมมัด ริฎอ อัล-มุซ็อฟฟัร ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อะกออิด อิมามียะฮฺ” ว่า

“อัล-บะดาอฺ ตามความหมายอย่างนี้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ สำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะว่า ความโง่เขลาและความบกพร่องคือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และบรรดาอิมามิยะฮฺจะไม่พูดอย่างนี้”

ท่านอิมามศอดิก(อฺ) กล่าวว่า

“ผู้ใดอ้างว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.) นั้น ได้มีการเปลี่ยนกิจการใดกิจการหนึ่งโดยที่ได้เริ่มกิจการหนึ่งๆ ไปแล้ว ด้วยความไม่สมตามเจตนารมณ์ เท่ากับผู้นั้นเป็นผู้ปฏิเสธต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ผู้ทรงยิ่งใหญ่”

ท่าน(อฺ) กล่าวอีกว่า

“ผู้ใดที่อ้างว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงเปลี่ยนแปลงกิจการหนึ่ง เป็นอีกอย่างหนึ่งโดยที่เมื่อวันก่อน พระองค์ยังไม่ทรงล่วงรู้เกี่ยวกับกิจการนั้นๆ ถือว่าเขาปฏิเสธพระองค์อย่างสิ้นเชิง”

ดังนั้น เรื่อง “บิดาอฺ” ตามที่ชีอะฮฺกล่าวถึง มิได้ออกนอกขอบข่ายโองการ อัล-กุรอานที่พระองค์ มีโองการว่า

“อัลลอฮฺทรงลบไปเสียตามที่ทรงประสงค์ และทรงบันดาลให้ปรากฏ และอยู่ ณ พระองค์ คือ แม่บทแห่งคัมภีร์” (อัร-เราะอฺดุ / 39 )

คำพูดนี้ อะฮฺลิซซุนนะฮฺก็จะกล่าวเช่นเดียวกับที่ชีอะฮฺก็กล่าว แล้วทำไมความจงเกลียดจงชังจึงเกิดขึ้นแก่ฝ่ายชีอะฮฺ แต่ความจงเกลียดจงชังมิได้เกิดขึ้นกับฝ่ายซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ โดยทั้งสองฝ่ายกล่าวว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติ เปลี่ยนแปลงสภาวการณ์และทรงเปลี่ยนแปลงริซกี

จะมีสักคนไหม ที่ถามพวกเขาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอันนี้ ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงดำเนินการในกิจการของงานสร้างสรรค์ของพระองค์ หลังจากที่ได้ทรงบันทึกทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่พวกเขาไว้แล้วในกาลก่อน หรือที่บันทึกอยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ตามที่พวกเขากล่าว

ท่านอิบนุ มัรดะวียะฮฺ และท่านอิบนุซากิร ได้รายงานจากท่านอะลี(ร.ฎ.)ว่า : ได้ถามท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เกี่ยวกับความหมายโองการนี้

“อัลลอฮฺทรงลบไปเสียตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงบันดาลให้ปรากฏ และอยู่ ณ พระองค์ คือแม่บทแห่งคัมภีร์”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ตอบท่านว่า

“แน่นอนการให้ความหมายโองการนี้ จะเป็นที่เย็นตาแก่เจ้า และเป็นที่เย็นตาแก่ประชาชาติของฉันภายหลังจากฉันด้วยการให้ความหมายโองการอย่างนี้กล่าวคือ การให้ทานบริจาคแก่ที่ของมัน การทำความดีต่อบิดามารดา การบำเพ็ญเพียรกับความดีนั้นจะทำให้ความชั่วร้ายจะกลายเป็นความสุข และช่วยเพิ่มอายุขัย และช่วยต่อต้านความชั่วได้อย่างแข็งขัน”

รายงานโดยอิบนุมันซูร อิบนุอะบีฮาติม และท่านบัยฮะกี รายงานไว้ในหนังสือ “อัช-ชุอฺบ” จากท่านกีส อับบาซ (ร.ฎ.) กล่าวว่า : อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีบัญชาในทุกๆ คืนที่สิบของเดือนฮะรอม สำหรับคืนที่สิบของเดือนเราะอฺญับนั้น อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงลบออกไปเสียตามที่ทรงประสงค์ และจะทรงบันดาลให้ปรากฏ ท่านอับดุ บิน ฮะมีด ท่านอิบนุ ญะดีร ท่านอิบนุ มันซูร รายงานจากท่านอุมัร บิน ค็อฏฏอบ(ร.ฎ.) ว่าท่านกล่าวในขณะเวียนฏอวาฟบัยตุลลอฮฺ ว่า

“ข้าแต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ถ้าหากพระองค์ทรงบันทึกไว้ แก่ข้าพเจ้าแล้วซึ่งความชั่วร้าย หรือความบาปใดๆ ขอได้โปรดลบมันออกไปเสีย เพราะแท้จริงพระองค์ทรงลบออกไปตามที่ทรงประสงค์ และทรงบันดาลให้ปรากฏ และอยู่ ณ พระองค์ คือแม่บทแห่งคัมภีร์ ดังนั้นโปรดบันดาลมันให้เป็นความสุข และการอภัยด้วยเถิด”(243)

รายงานโดยบุคอรี ในหนังสือศ่อฮีฮฺ เกี่ยวกับประวัติที่น่าประหลาดตอนหนึ่งที่เล่าเกี่ยวกับการขึ้นมิอฺรอจของท่านนบี(ศ)ว่า : ท่าน(ศ)ได้พบกับพระผู้อภิบาลของท่าน(243)

ท่านศาสนทูต(ศ)กล่าวในเรื่องนี้ว่า จากนั้น ฉันได้รับบทบัญญัติให้ทำนมาซห้าสิบครั้ง เมื่อฉันรับมาแล้วก็พบกับมูซา(อฺ)

ท่าน(อฺ)ถามว่า “ท่านได้ ทำอะไรบ้าง ?”

ฉันตอบว่า “นมาซห้าสิบครั้งได้ถูกกำหนดแก่ฉัน”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า “ฉันรู้จักประชาชนยิ่งกว่าท่าน ฉันเคยพร่ำสอนบะนีอิซรอเอล ด้วยการเยียวยารักษาอย่างรุนแรง มาแล้ว แท้จริงประชาชาติของท่าน ทำตามไม่ได้หรอก ขอให้กลับไปหาพระผู้อภิบาล แล้วขอต่อพระองค์เถิด”

แล้วฉันก็ย้อนกลับไปขอต่อพระองค์ ซึ่งทรงกำหนดมาเป็น สี่สิบ จากนั้น ก็เหมือนเดิมอีก หลังจากนั้นก็ขออีก ได้ลดเป็นสามสิบ จากนั้นก็เหมือนเดิมอีก ได้ลดเป็นยี่สิบ จากนั้นก็เหมือนเดิมอีก ได้ลดเป็นสิบ เมื่อมาพบกับมูซา(อฺ)

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า “ก็เหมือนเดิมอีกนั่นแหละ พระองค์ก็ทรงลดให้อีกเป็นห้า”

เมื่อฉันได้พบกับมูซา(อฺ)

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า “เจ้าได้ทำอะไรบ้าง ?”

ฉันตอบว่า “ได้ทำนมาซห้าครั้ง”

ท่าน(อฺ)ก็กล่าวเหมือนเดิมอีก

ฉันกล่าวว่า “ฉันได้ยอมจำนนแล้วเพราะฉันถูกเรียกแล้ว แท้จริงบทบัญญัติได้ถูกกำหนดให้แก่ฉันแล้ว และฉันได้ขอผ่อนผันแก่ประชาชาติของฉันแล้ว และจะได้รับผลบุญเป็นสิบเท่า” (245)

อีกรายงานหนึ่ง ท่านบุคอรีได้ถ่ายทอดไว้อีกเช่นกัน หลังจากที่มุฮัมมัด(ศ) ย้อนกลับไปหาพระผู้อภิบาลอยู่หลายเที่ยวและหลังจากได้ลดมาเหลือห้านมาซแล้ว มูซา(อฺ)ยังขอให้มุฮัมมัด(ศ)กลับไปทูลต่อพระผู้อภิบาลว่าให้ลดหย่อนลงไปอีก

แต่มุฮัมมัด(ศ) ตอบว่า “ฉันละอายพระผู้อภิบาลของฉันแล้ว” (246)

ใช่แล้วยิ่งอ่านก็ยิ่งประหลาดใจกับความเชื่ออันนี้ที่นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺวัล-ญะมาอะฮฺกล่าวไว้ และพร้อมกันนั้นพวกเขาก็ก่นด่าชีอะฮฺ ผู้ปฏิบัติตามอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ว่ากล่าวถึงอัล-บะดาอฺ

พวกเขาเอง ตามเรื่องราวที่เล่ามานี้ เชื่อถือว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกำหนดการนมาซแก่ มุฮัมมัด(ศ)และประชาชาติ จำนวน 50 นมาซ ต่อจากนั้น พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงให้หลังจากที่ มุฮัมมัด(ศ) ย้อนกลับไปหาพระองค์โดยให้ลดเหลือ 40 ต่อจากนั้นก็ทรงเปลี่ยนแปลงอีก หลังจากได้กลับไปหาเป็นครั้งที่สอง โดยลดลงเหลือ สามสิบ ต่อมาก็ทรงเปลี่ยนแปลงอีก หลังจากกลับไปหาเป็นครั้งที่สาม โดยลดลงมาเหลือ 20

ต่อมาทรงเปลี่ยนแปลงอีก หลังจากกลับไปหาเป็นครั้งที่สี่ โดยลดลงมาเหลือ 10 ต่อมาทรงเปลี่ยนแปลงอีก หลังจากกลับไปเป็นครั้งที่ ห้า โดยลดลงมาเหลือ 5

ใครจะไปรู้ ถ้าหากมุฮัมมัด(ศ)ไม่ละอายต่อพระผู้อภิบาล อาจลดลงเหลือ 1 ก็ได้ หรือไม่แน่ บางทีอาจยกเลิกจนหมดไปเลยก็ได้

อัซตัฆฟิรุลลอฮฺ อัล-อะลียุล-อะซีม จากการกล่าวในเชิงดูหมิ่นอย่างนี้ แต่ข้าพเจ้ามิได้ดูหมิ่นพวกเขาในฐานะที่พวกเขากล่าวถึงเรื่องบิดาอฺ หามิได้ เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงลบออกไปเสียตามที่ทรงประสงค์ และทรงบันดาลให้ปรากฏ และ ณ พระองค์ คือ “แม่บทแห่งคัมภีร์”

ในตอนที่ผ่านมา เราได้กล่าวไปแล้วว่า ความเชื่อของอะฮฺลิซซุนนะฮฺนั้น ถือว่า การบริจาคทาน การทำความดีต่อบิดามารดา และการบำเพ็ญเพียรความดี สามารถเปลี่ยนความเลวร้ายเป็นความผาสุกได้ และยังเป็นการเพิ่มพูนอายุขัย อีกทั้งยังช่วยเสริมแรงต้านทานความชั่วได้ยิ่งขึ้น

อันนี้ เป็นที่ยอมรับของข้าพเจ้า และมันก็คือความเชื่อถือที่ยอมรับกับแนวทางและความรู้ทางศาสนาอิสลามและเป็นหัวใจของอัล-กุรอานที่ว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่เปลี่ยนแปลงสภาพของคนกลุ่มใด จนกระทั่งพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตัวของเขาเอง”

และถ้าหากความเชื่อของพวกเราทั้งซุนนะฮฺและชีอะฮฺ ไม่ถือว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปลี่ยนแปลงได้แล้วไซร้ แน่นอน การนมาซและการขอดุอาอฺของเราก็ปราศจากมรรคผลใดๆ ไม่มีเหตุผล และไม่มีความหมายใดๆ ขณะเดียวกันเราทั้งหมดเชื่อถือว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปลี่ยนกฏเกณฑ์ได้ทรงยกเลิกบทบัญญัติที่เคยมีมาในสมัยท่านนบี(ศ)ก่อนๆ ยิ่งกว่านั้น แม้กระทั่งในชะรีอะฮฺ(กฎเกณฑ์ทางศาสนา) แห่งนบีของเรา(ศ) ก็ยังมีนาซิค-มันซูค (ของใหม่ที่มายกเลิกของที่ได้รับการยกเลิก)

ดังนั้นการกล่าวถึงอัล-บะดาอฺ จึงมิใช่กาฟิร และมิใช่เรื่องที่ออกนอกศาสนา และไม่ใช่เรื่องที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺจะลบหลู่ดูหมิ่นต่อชีอะฮฺ เพราะสาเหตุที่มีความเชื่อนี้ ขณะเดียวกัน ชีอะฮฺก็ไม่มีสิทธิที่จะลบหลู่ต่ออะฮฺลิซซุนนะฮฺอีกด้วย

แต่ทว่า การตำหนิของข้าพเจ้า ก็มีเพียงในเรื่องประวัตินี้เท่านั้นเอง นั่นคือ การที่มุฮัมมัด(ศ)ต่อรองกับพระผู้อภิบาลของท่านในเรื่องบทบัญญัติการนมาซ เพราะในความหมายนี้ แสดงให้เห็นถึงการมอบความไม่รู้ให้แก่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) และแสดงให้เห็นถึงความบกพร่องของบุคคลสำคัญที่สุดเท่าที่ประวัติของมนุษยชาติรู้จักมา นั่นคือนบีมุฮัมมัด(ศ) ของเรา ขณะที่ผู้รายงานกล่าวว่า :

มูซา(อฺ) ได้กล่าวแก่มุฮัมมัด(ศ)ว่า “ฉันรู้เรื่องของประชาชนดีกว่าท่าน”

ริวายะฮฺนี้กำลังถือว่าเกียรติยศอันวิเศษสุดเป็นของนบีมูซา(อฺ) ซึ่งถ้าหากไม่มีท่านแล้วไซร้ แน่นอนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะไม่ผ่อนผันแก่ประชาชาติของมุฮัมมัด(ศ)เลย

ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า มูซา(อฺ)จะรู้เรื่องความเป็นไปของประชาชาติมุฮัมมัด(ศ)ได้อย่างไรว่าไม่สามารถรับภาระได้จนกระทั่งลดลงมาเหลือ 5 ครั้งแล้วก็ตาม ในขณะที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ยังไม่รู้เช่นนี้เลย และทรงวางภาระหนักแก่ปวงบ่าวของพระองค์ในสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถรับได้ โดยกำหนดการนมาซแก่พวกเขา 50 นมาซ

ขอให้ท่านผู้อ่านใช้วิจารณญาณพร้อมกับข้าพเจ้าดูเถิดว่า การทำนมาซ 50 ครั้ง ในวันหนึ่งๆ นั้น จะเป็นอย่างไร คงจะไม่มีการประกอบอาชีพ ไม่มีการทำงานใดๆ ไม่ต้องเรียนหนังสือ ไม่ต้องแสวงหาริซกี และไม่ต้องรับผิดชอบในสิ่งใดๆ อีก ดังนั้น มนุษย์ก็จะกลายเป็นมะลาอิกะฮฺที่มีความรับผิดชอบเพียงเรื่องทำนมาซและทำอิบาดะฮฺเท่านั้น ท่านไม่ต้องใช้หลักเกณฑ์อะไรมาก นอกจากเพียงวิชาคำนวณขั้นพื้นฐาน ท่านก็จะรู้ทันทีว่า ริวายะฮฺดังกล่าวนี้ไม่ถูกต้อง

เพราะถ้าเราจะคิดว่าเวลาสิบนาทีจะเป็นเวลาปกติ สำหรับการทำนมาซฟัรฎู 1 นมาซที่เป็นญะมาอะฮฺ เมื่อคูณด้วย 50 นมาซ ก็เป็นอันว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง ท่านจะไม่มีอะไรเหลืออีกแล้วนอกจากมีความอดทนหรือไม่ก็จะต้องปฏิเสธศาสนานี้ เพราะได้สร้างภาระอันหนักหน่วงให้แก่ผู้ปฏิบัติเกินกว่าความสามารถที่จะรับได้ บางที่พวกอะฮฺลุลกิตาบเช่นพวกยิว และนัศรอนีจะมีข้อแก้ตัวในเรื่องที่ได้ปฏิเสธต่อนบีมูซา(อฺ)และนบีอีซา(อฺ)ก็ได้

แต่ทว่าจะมีข้อแก้ตัวอันใดสำหรับพวกเขาในการปฏิบัติตามท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) ซึ่งได้วางขอบเขตจำกัดแก่พวกเขาไปแล้ว ดังนั้นในเมื่อชาวอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺลบหลู่พวกชีอะฮฺในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับอัล-บะดาอฺว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)นั้นทรงแปรเปลี่ยนกิจการใดกิจการหนึ่งให้เป็นอย่างไรก็ได้ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ดังนั้นทำไมพวกเขาจึงไม่ลบหลู่ตัวเองบ้างที่พวกเขาก็พูดเหมือนกันว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงแปรเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงกิจการใดกิจการหนึ่งที่ได้ทรงดำเนินไปแล้ว นั่นคือการนมาซ 5 เวลา ซึ่งเหตุการณ์อันนี้ได้เกิดขึ้นในคืนคืนหนึ่ง นั่นคือคืนแห่งการมิอฺรอจญ์

ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงสาปแช่งการ “ตะอัศศุบ” (การถือฝักฝ่ายอย่างมีอคติ) อย่างไม่ลืมหูลืมตา และการจงเกลียดจงชังที่ทำให้กลบเกลื่อนความเป็นจริงต่างๆ แล้วพลิกความจริงให้กลับกลายไปเป็นอื่น ผู้มีความคิดถือฝักฝ่ายอย่างมีอคติต่างก็จะตั้งข้อหาแก่ผู้ซึ่งมีความคิดเห็นขัดแย้งกับตน และตั้งข้อรังเกียจทั้งๆ ที่เป็นเรื่องราวที่ชัดแจ้ง และได้ดำเนินบทบาทการลบหลู่และแพร่หลายให้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางในเชิงต่อต้าน การลบหลู่ที่กระทำไปโดยหลักเกณฑ์อันผิวเผินตามที่เขาได้กล่าวกันอยู่นั้นมีมากมาย

ด้วยเหตุนี้ ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงถ้อยคำของท่านนบีอีซา(อฺ)ที่พูดกับพวกยิวครั้งหนึ่งว่า

“พวกท่านมองเห็นเศษขยะในสายตาของคนอื่น แต่ท่านมองไม่เห็นท่อนไม้ที่อยู่ในตาของพวกท่านเอง”

หรือดังสุภาษิตที่กล่าวกันว่า “ในตอนแรกท่านขว้างข้าพเจ้าก่อน แต่แล้วท่านนั่นแหละเป็นเป้าของมัน”

บางครั้งอาจจะมีบางคนขัดแย้งว่าตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺไม่ได้ถือว่าเรื่องนี้เป็นไปตามความหมายของคำว่าบิดาอฺ โดยเหตุที่ว่าประวัติของเรื่องนี้ จริงอยู่ถึงแม้ความหมายของมันบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในกฏเกณฑ์นั้น แต่เรายังไม่ได้ตัดสินเลยว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ตั้งกฏเกณฑ์นั้นไว้แล้ว

ข้าพเจ้าพูดเช่นนี้ก็เพราะว่าอีกหลายเรื่องที่ข้าพเจ้าจะเสนอมาเป็นหลักฐานในเรื่องราวของประวัติการมิอฺรอจญ์ว่า มีคำกล่าวในเรื่องบิดาอฺจากทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ได้มีพวกเขาบางคนได้แสดงความเห็นกับข้าพเจ้าในเรื่องนี้ แต่หลังจากนั้นพวกเขาก็ยอมรับ ในเมื่อพวกเขามีความเห็นสอดคล้องกันกับริวายะฮฺอื่นๆ จากหนังสือศ่อฮีฮฺบุคอรี ที่กล่าวถึงอัล-บะดาอฺ ด้วยถ้อยคำที่ชัดแจ้ง อันมิได้ถูกปรุงแต่งขึ้นมาในนั้นแต่ประการใด

ท่านบุคอรี ได้รายงานว่า : จากท่านอะบูฮุร็อยเราะฮฺ แท้จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้กล่าวว่า :

แท้จริงมี 3 ประการ จากพวกบะนีอิสรออีล คือ โรคเรื้อน ตาบอด และหัวโกร๋น ซึ่งในตอนแรกอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์ที่จะให้มาเพื่อเป็นบททดสอบสำหรับพวกเขา ครั้นแล้วพระองค์ก็ได้ส่งมะลาอิกะฮฺไปยังเขาเหล่านั้น

แล้วมะลาอิกะฮฺก็ได้ไปหาคนที่เป็นโรคเรื้อน โดยกล่าวว่า “ท่านชอบอะไรมากที่สุด”

เขาตอบว่า “ชอบมีผิวที่สวยงาม และมีหนังที่สวยงาม แน่นอนมนุษย์พากันชิงชังข้าพเจ้า”

ดังนั้น มะลาอิกะฮฺก็ได้ลูบไปที่ตัวของเขา ฉับพลันโรคเรื้อนก็หายไปจากเขา ครั้นแล้ว เขาก็ได้ถูกประทานผิวที่สวยงาม และหนังที่สวยงาม

หลังจากนั้นมะลาอิกะฮฺได้ถามอีกว่า “ท่านชอบทรัพย์สินอันใดมากที่สุด”

เขาตอบว่า “อูฐ”

ดังนั้นเขาก็ได้ถูกมอบอูฐตัวเมียให้หนึ่งฝูง

แล้วมะลาอิกะฮฺ ก็ได้มาคนที่เป็นโรคหัวโกร๋น

แล้วกล่าวว่า “ท่านชอบอะไรมากที่สุด”

เขาตอบว่าเส้นผมอันสวยงาม และให้อาการเช่นนี้หมดไปจากข้าพเจ้า เพราะคนทั้งหลายรังเกียจข้าพเจ้ามากเหลือเกิน แล้วมะลาอิกะฮฺก็ได้ลูบไปที่เขา ดังนั้นอาการดังกล่าวก็หมดสิ้นไป และเขาได้ถูกประทานให้มีเส้นผมอันสวยงาม

หลังจากนั้นมะลาอิกะฮฺ ได้ถามเขาอีกว่า “ท่านอยากได้ทรัพย์สินอะไรมากที่สุด”

เขาตอบว่า “อยากได้วัวตัวเมีย”

ครั้นแล้ว เขาก็ได้ถูกประทานวัวตัวเมียที่ท้องแก่หนึ่งตัว

แล้วมะลาอิกะฮฺก็ได้ไปหาคนตาบอด โดยได้กล่าวว่า “ท่านชอบอะไรมากที่สุด”

เขาตอบว่า “ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)คืนสายตามาให้แก่ข้าพเจ้า”

ดังนั้น มะลาอิกะฮฺก็ได้ลูบไปที่เขา แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ได้คืนสายตาที่ดีกลับมาให้แก่เขา

มะลาอิกะฮฺถามอีกว่า “ท่านอยากได้ทรัพย์สินอะไรมากที่สุด”

เขาตอบว่า “อยากได้แพะ”

ดังนั้นเขาก็ได้รับแพะที่มีลูกดก

ต่อมามะลาอิกะฮฺก็ย้อนกลับมาอีกหลังจากที่เขาเหล่านั้นมีทั้งอูฐ ทั้งวัว ทั้งแพะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างมากมาย จนกระทั่งแต่ละคนในหมู่พวกเขาได้กลายเป็นผู้มีทรัพย์สินครอบครอง ครั้นแล้วมะลาอิกะฮฺก็ได้มาหาคนที่เป็นโรคเรื้อน และคนหัวโกร๋นและคนตาบอด ทุกคนตามรูปลักษณ์ของเขา และได้ขอทรัพย์สินจากแต่ละคน

ปรากฏว่าคนหัวล้านกับคนเป็นโรคเรื้อนปฏิเสธไม่ยอมให้ ดังนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จึงได้บันดาลให้คนทั้งสองคืนกลับสู่สภาพเดิมที่เคยเป็นมาแต่ก่อน แต่คนตาบอดได้ส่งมอบให้โดยดี ดังนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จึงเพิ่มพูนให้แก่เขา และบันดาลให้เขามีสายตาที่ดีตลอดไป(247)

ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้า จะขอกล่าวกับพี่น้องทั้งหลายว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีโองการว่า

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย อย่าให้คนพวกหนึ่งดูหมิ่นเหยียดหยามคนอีกพวกหนึ่งเลย เพราะบางทีอาจจะเป็นไปได้ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นคนดีกว่าพวกเขาก็ได้ และอย่าให้สตรีดูหมิ่นเหยียดหยามสตรีด้วยกัน เผื่อว่านางอาจจะเป็นสตรีที่ดีกว่าพวกนางก็ได้ และพวกเจ้าอย่าได้ประจานซึ่งกันและกัน และอย่าเรียกขานกันด้วยสมญาชื่อที่น่าเกลียดภายหลังจากศรัทธา นับเป็นความเลวอย่างยิ่ง และผู้ใดไม่สารภาพผิด แน่นอนพวกเขาเหล่านั้นเป็นพวกที่ฉ้อฉลโดยแท้จริง” (อัล-ฮุญุรอต / 11)

ขณะเดียวกันข้าพเจ้าเชื่อมั่นจากทุกส่วนของหัวใจว่า มวลมุสลิมนั้นจะต้องแสวงหาหนทางที่ถูกต้อง และจะต้องปฏิเสธการถือฝักฝ่ายอย่างมีอคติ และจะต้องละทิ้งความคิดเข้าข้างตัวเอง เพื่อที่จะให้สติปัญญาเข้ามาอยู่ในที่ตั้งของมันในทุกๆหัวข้อการวิเคราะห์ แม้กระทั่งกับศัตรูของพวกเขา เพื่อที่เขาจะได้เรียนรู้จากอัล-กุรอานอันทรงเกียรติ ซึ่งมีวิธีการวิเคราะห์ วิธีการถกเถียงในลักษณะที่ดียิ่ง แน่นอนได้มีโองการถูกประทานลงมาแก่ศาสนทูตของพระองค์(ศ)ว่าให้กล่าวกับคนที่ดื้อดึงว่า

“และแท้จริง เราหรือพวกท่านทั้งหลายหวังว่าบางทีจะได้อยู่ในทางนำที่ถูกต้อง หรืออยู่ในความหลงผิดที่ชัดแจ้ง” (ซะบะอ์ / 24 )

กล่าวคือ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) มีฐานภาพอันสูงส่งยิ่งกว่าพวกมุชริกีนเหล่านั้นมากมายจนไม่รู้กำหนดได้ แต่ท่านก็ยังลดตัวลงมาอยู่ในระดับเดียวกับพวกเขา เพื่อให้ความเป็นธรรมกับพวกเขา เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้แสดงหลักฐานอันชัดแจ้ง ถ้าหากพวกเขาเป็นผู้มีความสัตย์จริง แล้วไหนเล่าจริยธรรมอันสูงส่งอันนี้ในหมู่พวกเรา



หลักตะกียะฮฺ
ดังที่เราได้กล่าวผ่านมาแล้วในเรื่อง “อัล-บะดาอฺ” เรื่องการ “ตะกียะฮฺ” ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเช่นเดียวกัน ที่ได้รับการรังเกียจเดียดฉันท์จากอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ พวกเขาบริภาษพี่น้องชีอะฮฺของพวกเขา และถือว่า พวกชีอะฮฺเป็นมุนาฟิกีน เพราะแสดงออกมาในสิ่งที่มิได้อยู่ภายในความเป็นจริง

มีจำนวนนับครั้งไม่ถ้วนเสียแล้วสำหรับการสนทนาเชิงวิเคราะห์กันในหมู่พวกเขา และได้มีการพยายามทำความเข้าใจกับพวกเขาว่า หลักตะกียะฮฺนั้นมิใช่ลักษณะของการหน้าไหว้หลังหลอก แต่บรรดาพี่น้องซุนนะฮฺก็มิได้ยอมรับ ทั้งนี้ก็เพราะทัศนคติในเชิงถือฝักถือฝ่ายในเรื่องมัซฮับเข้ามามีอิทธิพลกับพวกเขา

และเป็นเพราะบรรดาผู้อาวุโสของพวกเขาได้พยายามทุกวิถีทางจนสุดความสามารถในการกลบเกลื่อนความเป็นจริงจากผู้ทำการวิเคราะห์อย่างเป็นกลาง ที่พวกเขาตั้งข้อหาว่าเป็นวิชาการของพวกชีอะฮฺ และเป็นความเชื่อของพวกชีอะฮฺ เขาเหล่านั้นยังได้โจมตีพวกชีอะฮฺด้วยประโยคคำพูดต่อไปนี้ว่า

“แท้จริงแล้ว พวกชีอะฮฺ ก็คือสมัครพรรคพวกของอับดุลลอฮฺ อิบนุซะบา ชาวยิว แท้จริงแล้วพวกชีอะฮฺเชื่อถือในเรื่องร็อจอะฮฺ(การคืนชีพ) อัล-บะดาอฺ อัตตะกียะฮฺและอิศมะฮฺ อีกทั้งมุตอะฮฺ ตลอดจนสิ่งเหลวไหลไร้สาระอีกมากมาย เช่นความเชื่อในเรื่องอัล-มะฮฺดีผู้ถูกรอคอยอย่างนี้เป็นต้น”

ท่านจะได้ยินได้ฟังคำพูดในลักษณะทิ่มแทงอย่างนี้อยู่เสมอ และที่น่าแปลกใจอยู่เสมออีกประการหนึ่งนั้นก็คือ เขาคิดว่าความเชื่อถือเหล่านี้เป็นสิ่งอุตริขึ้นมาใหม่ในอิสลาม และเชื่อถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องอุปโลกน์และอุตริที่พวกชีอะฮฺสรรสร้างขึ้นมา

แต่ถ้านักวิเคราะห์ได้ศึกษา และได้ใช้ดุลยพินิจอย่างผู้มีใจเป็นธรรม ก็จะพบว่าความเชื่อถือเหล่านี้ทั้งหมดเป็นกระดูกสันหลังของอิสลาม มันคือผลิตผลจากอัล-กุรอานอันทรงเกียรติ และซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ)ผู้ประเสริฐ ยิ่งไปกว่านั้นอุดมการณ์ของอิสลามอันน่าสรรเสริญ และบทบัญญัติอันเที่ยงธรรมมิอาจจะดำรงอยู่ได้ ถ้าหากปราศจากความเชื่อเหล่านี้

สิ่งที่น่าแปลกใจที่สุดในหมู่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ก็คือว่าพวกเขาแสดงอาการเกลียดชังหลักความเชื่อหนึ่งๆ ที่พวกเขาเองก็กล่าวถึงเรื่องนั้นอยู่ ตำราศ่อฮีฮฺและมุซนัดของพวกเขาได้บรรจุเรื่องเหล่านี้ และยืนยันเรื่องเหล่านี้ไว้แก่พวกเขาอย่างพร้อมสรรพ แล้วยังจะมีหนทางใดสำหรับบรรดาหมู่ชนผู้ซึ่งได้พูดในสิ่งที่ไม่กระทำ หรือแท้จริงแล้ว พวกซุนนะฮฺวัล-ญะมาอะฮฺ ได้ดูหมิ่นเหยียดหยามและเยาะเย้ยสิ่งที่พวกเขาก็เชื่อถืออยู่นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่าชีอะฮฺเป็นผู้นำเอาเรื่องนั้นๆ มาปฏิบัติ

เหมือนอย่างกับที่ท่านได้อ่านในหัวข้อ เรื่องอัล-บะดาอฺ ผ่านมาแล้ว จนในที่สุดเราก็สามารถชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เขาเหล่านั้นก็ยืนยันในเรื่องนี้อยู่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่พวกเขากลับปฏิเสธสิ่งนั้นๆ ในเมื่ออยู่กับบุคคลอื่น

ขอท่านผู้อ่านได้ติดตามไปพร้อมกับข้าพเจ้า ณ บัดนี้ ว่าพวกอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺเองก็ได้กล่าวถึงเรื่องการใช้หลักตะกียะฮฺที่พวกชีอะฮฺยึดถืออยู่ ทั้งๆที่ สิ่งนี้ตามทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺถือว่าเป็นการหน้าไหว้หลังหลอก

รายงานโดยอิบนุญะรีด และอิบนุ อะบีฮาติม จากสายสืบของอัล เอาฟี จากรายงานของอิบนุอับบาซ ในโองการที่ว่า

“ยกเว้นในกรณีที่พวกเขาหวาดกลัวต่อพวกเขาในกรณีของความน่ากลัวอย่างใดอย่างหนึ่ง” (อาลิอิมรอน / 26 )

ท่านอิบนุอับบาซ อธิบายว่า คำว่า “ตะกียะฮฺ” ในภาษาพูดหมายถึงบุคคลที่มีความจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะต้องพูดออกมาในสิ่งที่เป็นความละเมิดต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) โดยเขาได้พูดออกมาด้วยความกลัวต่อมนุษย์ แต่ในหัวใจของเขานั้นมีความสงบมั่นกับความศรัทธา กล่าวคือ หากเป็นเช่นนี้ ไม่ถือว่าเขาจะได้รับอันตรายใดๆ

“อันที่จริงแล้ว หลักตะกียะฮฺให้ใช้เพียงกับวาจาเท่านั้น”(248)

ท่านฮากิม ได้รายงานไว้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่าน ท่านบัยฮะกีได้บันทึกไว้ในซุนันของท่านโดยสายสืบของท่านอะฏออ์ จากรายงานของอิบนุอับบาซ ในโองการที่ว่า

“ยกเว้นในกรณีที่พวกเขาหวาดกลัวต่อพวกเขาในกรณีของความน่ากลัวอย่างใดอย่างหนึ่ง”

ท่านกล่าวว่า “อัต-ตุกอฮฺ” หมายถึงการพูดด้วยวาจาโดยหัวใจมีความสงบมั่นกับความศรัทธา(249)

รายงานจากอับดุ บินฮะมีด จากท่านฮะซัน(อฺ) กล่าวว่า “หลักตะกียะฮฺเป็นที่อนุญาตจนถึงวันฟื้นคืนชีพ”

ท่านอับดุ บินอะบีเราะอฺญาอฺ รายงานว่า ท่านเองเคยอ่านโองการนี้ว่า “เว้นแต่พวกเจ้าจะหวาดกลัวต่อพวกเขาในฐานะตะกียะฮฺ” (250)

ท่านอับดุรร็อซซาก ท่านอิบนุซะอัด ท่านอิบนุญะรีร ท่านอิบนุอะบี ฮาติม และท่านอิบนุมัรดูวียะฮฺ ได้รายงานไว้ และท่านฮากิมก็ได้ถือว่าเป็นฮะดีษศ่อฮีฮฺ ดังปรากฏอยู่ใน “มุซตัดร็อก” และท่านบัยฮะกีก็ได้บันทึกไว้ในหนังสือ “อัด-ดะลาอิล” ว่า : พวกมุชริกได้จับตัวท่านอัมมาร บินยาซิร แล้วไม่ยอมปล่อยตัวท่าน จนกว่าท่านอัมมารจะได้ประณามท่านนบี(ศ) ท่านจึงได้กล่าวเพื่อเอาใจพวกเขาเหล่านั้นโดยดี ต่อจากนั้นพวกเขาก็ได้ปล่อยท่าน ครั้นแล้วท่านก็ได้มาหาท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

ท่าน(ศ)กล่าวว่า “มีอะไรอยู่ข้างหลังท่านกระนั้นหรือ ?”

ท่านยาซิร ตอบว่า “ความชั่วร้าย ฉันมิอาจถูกปล่อยตัวออกมาได้จนกระทั่งฉันได้ประณามต่อท่าน และกล่าวถึงพระเจ้าของพวกเขาด้วยถ้อยคำที่ดีงาม”

ท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า “แล้วในหัวใจของท่านเป็นอย่างไร ?”

ท่านอัมมาร ตอบว่า “เป็นหัวใจที่สงบมั่นกับความศรัทธา”

ท่านศาสนทูต(ศ)กล่าวว่า “ถ้าหากพวกนั้นกลับมาทำอีก ท่านก็จงทำอย่างนั้นอีก”

ดังนั้น ได้มีโองการหนึ่งถูกประทานลงมาว่า

“นอกจากผู้ที่ถูกบังคับแต่หัวใจของเขานั้นยังสงบมั่นอยู่กับความศรัทธา” (อัน-นะฮัล / 106 )

รายงานโดยท่าน อิบนุซะอัด จากมุฮัมมัด บินซีรีน กล่าวว่า : ท่านนบี(ศ) ได้พบท่านอัมมารในขณะที่กำลังร้องไห้อยู่ ท่าน(ศ)ได้ซับน้ำตาทั้งสองข้างของเขาแล้วกล่าวว่า

“พวกกาฟิรได้จับตัวท่านไปแล้วกดตัวท่านลงในน้ำ ดังนั้นท่านจึงได้พูดไปเช่นนั้น และเช่นนั้น ดังนั้นถ้าหากพวกเขาได้หวนกลับมาทำอีก เจ้าก็จงพูดกับเขาอย่างนั้น” (251)






๒๑
ขออยู่กับผู้สัจจริง

รายงานโดย อิบนุ ญะรีร และอิบนุ มันซูร และท่านอิบนุ อะบะฮาติม และท่านบัยฮะกีได้บันทึกไว้ในหนังสือซุนันของท่าน โดยสายสืบจากท่านอะลี(อฺ) รายงานจากอิบนุ อับบาซเกี่ยวกับโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า :

“ผู้ใดที่ได้ปฏิเสธต่ออัลลอฮฺ...”

ท่าน(ศ)กล่าวว่า “องค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสในทำนองที่ว่า แท้จริงผู้ใดที่ได้ปฏิเสธต่ออัลลอฮฺ หลังจากที่มีความศรัทธาแล้ว ดังนั้นความกริ้วจากอัลลอฮฺก็จะเกิดขึ้นแก่เขา และสำหรับเขานั้นคือการลงโทษอันยิ่งใหญ่ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ถูกบังคับ แล้วเขาได้พูดไปด้วยลิ้นของเขาแต่ขัดแย้งกับ หัวใจของเขาที่มีความศรัทธาอยู่ ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ปลอดภัยจากศัตรูของตน ก็ถือว่าไม่มีบาป แก่เขาแต่ประการใดๆ เพราะว่าอัลลอฮฺนั้น ที่จริงแล้ว พระองค์จะถือโทษต่อปวงบ่าวก็แต่เพียงเรื่องที่ผูกพันโดยหัวใจของพวกเขาเท่านั้น” (252)

ท่านอิบนุ อะบีชัยบะฮฺ ท่านอิบนุ ญะรีร ท่านอิบนุ มันซูร ท่านอิบนุฮาติม ได้บันทึกมาจากรายงานของท่านมุญาฮิดว่า :

โองการนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องของชนชาวมักกะฮฺกลุ่มหนึ่งที่ศรัทธา ได้มีศ่อฮาบะฮฺบางคนเขียนจากเมืองมะดีนะฮฺไปถึงพวกเขาว่าให้อพยพ และว่าเราไม่ถือว่า พวกท่านจะเป็นพวกเดียวกับเราจนกว่าจะอพยพมาอยู่กับเรา ดังนั้นพวกเขาก็ออกไปเพื่อให้ถึงยังเมืองมะดีนะฮฺ แต่พวกกุเรชตามจับพวกเขาไว้ได้ทันทีกลางทาง แล้วพวกกุเรชก็ทำการทรมานคนเหล่านั้น ดังนั้นพวกเขาจึงถูกบังคับให้ปฏิเสธ ดังนั้นโองการนี้จึงถูกประทานลงมาในเรื่องราวของพวกเขาว่า

“เว้นแต่ผู้ที่ถูกบังคับ แต่หัวใจของเขานั้นมีความสงบมั่นด้วยความศรัทธา” (253)

ท่านบุคอรี ได้รายงานไว้ในหนังสือของท่าน “บทอัล-มุดาเราะฮฺ มะอัน-นาซ” และกล่าวถึงท่านอะบีดารดาอฺว่า : แท้จริงเราทำทีว่ามีไมตรีต่อพวกข้าศึกโดยสีหน้า แต่ในหัวใจของเรานั้นสาปแช่งพวกเขาอยู่(254)

ท่านฮะละบีได้รายงานไว้ในซีเราะฮฺของท่านว่า : เมื่อท่านนบี(ศ)ได้เอาชนะเมืองค็อยบัรได้นั้น ฮัจญาจ บินอะลาจญ์ ได้กล่าวกับท่านว่า : โอ้ ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) แท้จริงข้าพเจ้ามีทรัพย์สินจำนวนหนึ่งที่มักกะฮฺ และข้าพเจ้าเป็นเจ้าของสิ่งนั้นๆ และข้าพเจ้าต้องการไปหาพวกเขา ดังนั้นข้าพเจ้าก็ถูกวางแผนล่อลวง ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่ว่าข้าพเจ้าจะพูดอะไรสักอย่างเพื่อตำหนิติเตียนท่าน ? ดังนั้นท่านนบี(ศ)ก็ได้อนุญาตให้แก่เขาว่า

“เขาจะพูดอย่างไรก็ได้ตามความประสงค์” (255)

ในหนังสือ “อิฮฺยาอุล-อุลูม” ของอิมามเฆาะซาลี กล่าวว่า : แท้จริงแล้ว ความคุ้มครองเลือดเนื้อของมุสลิมถือเป็นวาญิบ ดังนั้นตราบใดที่ความประสงค์เพื่อปกป้องการหลั่งเลือดของมุสลิมคนหนึ่งที่หลบซ่อนจากคนอธรรม ถือว่าวาญิบให้โกหกเพื่อคนมุสลิมนั้น(256)

ท่านซะยูฏีได้รายงานไว้ในหนังสือ “อิชบาอฺ วัน-นะซออิร” ว่า : อนุญาตให้กินสัตว์ที่ตายเอง เพื่อปกป้องชีวิต และจุ่มปลายปากลงในสุรา และเปล่งถ้อยคำแบบคนกาฟิร และถึงแม้ต้องกระทำให้สิ่งต้องห้ามเพียงเล็กน้อยในกรณีที่ไม่มีของฮะลาล ก็ถือว่าอนุญาตให้เขากระทำได้ตามความจำเป็น

ท่านอะบูบักรฺ อัร-รอซี ได้กล่าวในหนังสือ “อะฮฺกามุล-กุรอาน” ตอนอธิบายโองการว่า “ยกเว้นกรณีสูเจ้ากลัวต่อเขาเหล่านั้น โดยการกลัวอย่างจริงจัง”

หมายความว่า พวกสูเจ้ากลัวอันตรายจะเกิดแก่ชีวิตหรือบางส่วนของอวัยวะ ดังนั้น เพราะกลัวพวกเขาจึงได้แสดงออกว่ายอมรับในอำนาจโดยปราศจากความเชื่อถือใดๆ อันนี้ได้แก่การกล่าววาจาออกมาอย่างเปิดเผยสำหรับเรื่องนี้กลุ่มนักปราชญ์ส่วนใหญ่ว่าไว้อย่างนั้น ดังคำอธิบายจากท่านเกาะตาดะฮฺ ต่อโองการที่ว่า

“บรรดาผู้ศรัทธาอย่าเอาพวกกาฟิรเป็นพันธมิตรนอกเหนือจากอัลลอฮฺ”

ท่านอธิบายว่า ไม่อนุญาตให้มุอฺมินเอาคนกาฟิรเป็นพันธมิตรทางศาสนาของตน แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)กล่าวว่า “ยกเว้นที่พวกสูเจ้ากลัวต่อพวกเขา ด้วยการกลัวอย่างหนึ่ง” (257)

ท่านบุคอรี ได้รายงานในศ่อฮีฮฺของท่าน จากรายงานของกุตัยบะฮฺ บินซะอีด จากซุฟยาน จากอิบนุมุกันดัร เล่าว่า ท่านได้รับรายงานจากอุรวะฮฺ บิน ซุบัยรฺ ว่าท่านหญิงอาอิชะฮฺได้เล่าแก่เขาว่า : มีชายคนหนึ่งมาขออนุญาตจากท่านนบี(ศ)เพื่อขออนุญาตกล่าวคำพูดที่ไม่เหมาะสมแก่ตัวของพี่น้องและเครือญาติ

ท่าน(ศ)กล่าวว่า “อนุญาต”

ฉันกล่าวว่า “โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ถ้าฉันกล่าวอย่างนั้นแก่ท่าน เพื่อเอาตัวรอด”

ท่านนบี(ศ)กล่าวว่า “โอ้ อาอิชะฮฺเอ๋ย คนเลวที่สุดในทัศนะของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)คือคนที่มนุษย์ละทิ้งและต้องการจะตีตนออกจากเขาโดยความกลัวว่า ความชั่วร้ายของเขาจะเกิดขึ้น” (258)

หลักฐานเหล่านี้ สามารถยืนยันให้เราได้ทราบแล้วว่า อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เชื่อถือว่า หลักตะกียะฮฺ เป็นเรื่องที่ได้รับอนุญาตมาก่อน อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด และถือว่า เป็นเรื่องที่อนุญาตกันจนถึงวันกิยะมะฮฺ ดังที่ท่านอ่านผ่านมาแล้ว และถือว่า การกล่าวเท็จเป็นวาญิบ ดังที่ท่านเฆาะซาลีว่าไว้ และการแสดงอาการเป็นคนพิการ ถือว่าอยู่ในแนวทางของผู้รู้ ดังที่ท่านอัร-รอฎีได้ยอมรับไว้เองในเรื่องนี้อนุญาตให้ยิ้มแย้มเปิดเผย แต่ในใจซ่อนเร้นการสาปแช่งไว้

ดังเช่นที่ท่านบุคอรียอมรับในเรื่องนี้ และอนุญาตให้คนเรากล่าวอะไรก็ได้และจะกล่าวล่วงเกินท่านศาสนทูต(ศ) ก็ได้ ถ้ามีความหวาดกลัวอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง อันที่เจ้าของตำรา “ซีเราะฮฺ ฮะละบียะฮฺ” กล่าวไว้ และให้พูดในสิ่งที่ละเมิดต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เนื่องด้วยมีความหวาดกลัวต่อมนุษย์ ดังที่ท่านซะยูฏีได้ยอมรับ

ดังนั้นจึงไม่มีอะไรเป็นข้อได้เปรียบของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ในการประณามและปฏิเสธชีอะฮฺ ด้วยเหตุผลจากความเชื่อที่พวกเขาเองก็ยืนยันไว้ด้วยตัวเอง และรายงานไว้ในตำราศ่อฮีฮฺของพวกเขาเองว่า อนุญาตให้กระทำได้ ยิ่งไปกว่านั้น ยังถือเป็นวาญิบที่ต้องกระทำอีกด้วย และชีอะฮฺมิได้กล่าวอะไรเพิ่มเติมสักอย่างเดียวนอกเหนือจากที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺได้กล่าวไปแล้ว นอกเหนือจากว่าพวกเขาจะถือปฏิบัติกันมากกว่าคนอื่นๆ ก็ตรงที่ในเวลาพบกับพวกอุมัยยะฮฺ และพวกอับบาซียะฮฺที่มีความอธรรม และมีอิทธิพลข่มขู่เท่านั้น

เพราะว่า ในสมัยนั้น มีการเล่าขานกันอย่างมากมายว่า คนที่ถือตามแนวทางของอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)จะต้องถูกสังหาร เข่นฆ่าอย่างทารุณ โดยน้ำมือของศัตรูอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ของท่านนบี(ศ)

จึงจำเป็นที่เขาต้องทำการตะกียะฮฺ อันเป็นหลักปฏิบัติตามการชี้แนะของอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ดังที่มีรายงานจากท่านอิมามศอดิก(อฺ)ว่า

“การใช้หลักตะกียะฮฺ คือศาสนาของฉัน และศาสนาบรรพบุรุษของฉัน”

และท่าน(อฺ)ยังกล่าวอีกว่า “คนใดไม่ใช้หลักตะกียะฮฺ คนนั้นจะไม่มีศาสนา”

หลักตะกียะฮฺจึงเป็นแนวปฏิบัติอันสำคัญยิ่งของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) เพื่อปกป้องอันตรายให้พ้นจากตัวเขา และผู้ปฏิบัติตามและคนที่รักพวกเขา และเป็นการรักษาชีวิตเลือดเนื้อของพวกเขา อันเป็นหนทางแก้ไขปัญหาอย่างหนึ่งในยามที่บรรดามุสลิมถูกรังควานในเรื่องศาสนา ดังเช่นที่ อัมมาร บินยาซีร เคยได้ประสบมาแล้ว และมีมากไปกว่าสิ่งที่ประสบแก่อัมมาร ก็เช่นกัน

ส่วนอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น ห่างไกลจากเหตุการณ์ร้ายแรงเหล่านี้ เพราะพวกเขาเข้ากันได้อย่างเต็มรูปแบบกับบรรดานักปกครองผู้อธรรม ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ประสบภัยจากการถูกสังหาร การริบทรัพย์สิน และถูกอยุติธรรม จึงจำเป็นเหลือเกินที่มีความรังเกียจเดียดฉันท์หลักตะกียะฮฺ และลบหลู่แก่บรรดาผู้ปฏิบัติอย่างนี้ และแน่นอนนักปกครองตระกูลอุมัยยะฮฺ และตระกูลอับบาซียะฮฺ ได้ดำเนินบทบาทอันยิ่งใหญ่กับพวกชีอะฮฺ โดยสาเหตุของการใช้ หลักตะกียะฮฺ แล้วพวกอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺก็ปฏิบัติตามพวกเขาในเรื่องนั้นด้วย

โดยเหตุที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงวางหลักการในเรื่องนี้ไว้ในคัมภีร์ และโดยที่ท่านนบี(ศ)ก็ได้กระทำด้วยตัวท่านเอง เหมือนอย่างที่มีระบุในหนังสือศ่อฮีฮฺบุคอรี และท่านเคยอนุญาตให้อัมมาร บินยาซีร ด่าท่านได้ และให้ปฏิเสธท่านได้ ถ้าหากศัตรูกลับมาหมายมุ่งทำร้ายอีก ก็ให้พูดได้ตามที่พวกนั้นต้องการ และโดยที่นักปราชญ์ของบรรดามุสลิมได้อนุญาตให้ทำในเรื่องนี้ได้ อันเป็นการปฏิบัติตามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และซุนนะฮฺของท่านศาสนทูตของพระองค์(ศ)

ดังนั้น การลบหลู่ดูแคลนที่หมายมุ่งต่อชีอะฮฺ จะเป็นเรื่องที่ถูกต้องได้อย่างไร เมื่อมีหลักฐานอย่างนี้แล้ว โอ้ บรรดาผู้มีใจเป็นธรรม

ในสมัยมีการปกครองโดยคนอธรรม เช่น สมัยอุมัยยะฮฺ บรรดาศ่อฮาบะฮฺผู้ทรงเกียรติหลายท่านได้ทำการตะกียะฮฺ ซึ่งปรากฏว่า คนเหล่านั้นที่ขัดขืนไม่ยอมทำตามในเรื่องการด่าประณามท่านอะลี บินอะบีฏอลิบ(อฺ) ต้องถูกสังหาร เรื่องราวของอิบนุ อะดี อัล-กินดี และสหายผู้มีชื่อเสียงของเขาก็ดี เช่น ยะซีด อิบนุซิยาด และฮัจญาจญ์ และอับดุลมาลิก บินมัรวาน และสมัครพรรคพวก ถ้าท่านต้องการจะรวบรวมหลักฐานเรื่องการใช้หลักตะกียะฮฺของศ่อฮาบะฮฺแล้ว

แน่นอน จะต้องเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งต่างหาก แต่เท่าที่ข้าพเจ้าบันทึกจากหลักฐานอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เท่านี้ ก็ถือว่า เพียงพอแล้ว อัล-ฮัมดุลิลลาฮฺ

ในโอกาสนี้ จะละเว้นเสียมิได้ สำหรับการจะกล่าวถึงเรื่องๆ หนึ่งที่เกิดขึ้นกับตัวข้าพเจ้าเอง เมื่อได้พบกับชายคนหนึ่งที่เป็นคนมีความรู้ ระดับนักปราชญ์ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เราได้พบกันบนเครื่องบิน และเราต่างคนก็ได้รับเชิญไปในงานสัมมนาเกี่ยวกับอิสลามที่สหราชอาณาจักร เราได้คุยกันถึงเรื่องซุนนะฮฺ ชีอะฮฺในปัจจุบันนี้ จะต้องละทิ้งความเชื่อต่างๆ ที่นำไปสู่ความขัดแย้งในหมู่มุสลิม และการประณามซึ่งกันและกัน

ข้าพเจ้าถามเขาว่า “มีอะไรบ้าง ?”

เขาตอบทันทีว่า “เช่น การทำมุตอะฮฺ การใช้หลักตะกียะฮฺ”

ข้าพเจ้าพยายามจะทำให้เขายอมรับต่อข้าพเจ้าอย่างสุดความสามารถว่า การทำมุตอะฮฺก็คือ การมีคู่ครองตามหลักศาสนา และการใช้หลักตะกียะฮฺ คือข้ออนุโลมประหนึ่งจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) แต่เขาก็ยังยืนกรานตามความคิดของเขา และไม่ยอมรับฟังคำพูดของข้าพเจ้า และไม่สนใจต่อหลักฐานที่ข้าพเจ้าได้หยิบยกขึ้นอ้างอิง เขาอ้างว่า หลักฐานที่ข้าพเจ้าหยิบยกมานั้นถือว่าถูกต้อง แต่จำเป็นจะต้องงดเว้น เพื่อสิ่งที่สำคัญกว่า นั่นคือรักษาสภาพสังคมและความเป็นเอกภาพในหมู่มุสลิม

ข้าพเจ้ารู้สึกแปลกใจต่อเหตุผลของเขาข้อนี้ที่สั่งให้ละทิ้งกฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เพื่อรักษาเอกภาพของมุสลิม

ข้าพเจ้าจึงกล่าวกับเขาดีๆ ว่า “ถ้าท่านเห็นด้วยกับเอกภาพของมวลมุสลิมเกี่ยวกับเรื่องนี้ แน่นอน ข้าพเจ้าเป็นบุคคลแรกที่พูดอย่างนั้น”

แล้วเราก็ลงจากเครื่องบินด้วยกันที่สนามบินกรุงลอนดอน ข้าพเจ้าเดินตามหลังเขา ครั้นเมื่อเราเข้าไปถึงที่ของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบิน

เขาก็ถูกถามว่า “มาทำไมที่ประเทศสหราชอาณาจักร”

เขาตอบว่า “มาเพื่อรักษาตัว”

ส่วนข้าพเจ้าอ้างว่า “มาเพื่อเยี่ยมมิตรสหายบางคน”

แล้วเราก็ผ่านไปโดยสวัสดี ไม่มีการถูกปิดกั้น เพื่อไปยังห้องรับกระเป๋าเดินทาง

ตอนนั้น ข้าพเจ้ากระซิบกับเขาว่า “ท่านเห็นไหมว่า การใช้หลักตะกียะฮฺเป็นผลดีในทุกสมัย ?”

เขาถามว่า “อะไร ?”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “เพราะเราพูดโกหกกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ข้าพเจ้าบอกว่ามาเยี่ยมเพื่อน ส่วนท่านบอกว่ามาเพื่อรักษาตัว ในขณะที่เราต่างก็มาเพื่อสัมมนา”

เขายิ้มรับเป็นเวลานาน และยอมรับว่าเขาโกหกมากกว่าข้าพเจ้า

เขากล่าวว่า “ก็การจัดสัมมนาอิสลามถือว่าเป็นการบำบัดรักษาอย่างหนึ่งสำหรับจิตใจของเรามิใช่หรือ ?”

ข้าพเจ้ายิ้มตอบรับแล้วกล่าวว่า “หรือว่าในการสัมมนามิใช่การเยี่ยมเยียนพี่น้องของเรา ?”

ข้าพเจ้าขอย้อนกลับมาพูดในหัวข้อเรื่องว่า : การใช้หลักตะกียะฮฺ มิได้เหมือนกับที่อะฮฺลิซซุนนะฮฺอ้าง นั่นคือ ถือว่าเป็นการกระทำแบบหน้าไหว้หลังหลอก แต่ตรงกันข้ามถือว่า เป็นการกระทำที่ถูกต้อง เพราะหน้าไหว้หลังหลอก หมายถึงการแสดงออกว่ามีอีหม่าน แต่ซ่อนเร้นการปฏิเสธไว้ ในขณะที่ตะกียะฮฺนั้นคือ การแสดงออกว่าเป็นกาฟิร แต่ซ่อนเร้นความศรัทธาไว้ สองลักษณะนี้ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ความหมายของการหน้าไหว้หลังหลอกจะต้องตรงกับโองการที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสไว้ดังนี้

“และในเมื่อพวกเขาพบกับบรรดาผู้ศรัทธา พวกเขาก็กล่าวว่า เราศรัทธา แต่เมื่อเขาอยู่ตามลำพังกับพวกชัยฏอนมารร้ายของพวกเขา พวกเขาจะกล่าวว่า แท้จริงเราอยู่กับพวกท่าน อันที่จริงแล้ว เราเพียงเยาะเย้ยเท่านั้น”

ดังกล่าวนี้แหละ หมายถึงการแสดงออกว่ามีอีหม่านแต่ภายนอก ทั้งๆที่ปฏิเสธเป็นทวีคูณอยู่ภายในจิตใจ คือ เท่ากับหน้าไหว้หลังหลอก

ส่วนแนวทางที่สอง หมายถึงการใช้หลักตะกียะฮฺ ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีโองการไว้ในอัล-กุรอานว่า

“ชายผู้ศรัทธาคนหนึ่งจากพวกพ้องของฟิรเอาว์น กล่าวโดยที่เขาซ่อนเร้นความศรัทธาของเขาไว้”

อันนี้หมายความว่า เขาแสดงออกด้วยการปฏิเสธอันเป็นการเพิ่มพูนความศรัทธาไว้ภายในจิตใจ คือเท่ากับการใช้หลักตะกียะฮฺ เพราะว่ามุอฺมิน เป็นพวกพ้องของฟิรเอาว์น เขาปิดบังความศรัทธาไว้ภายในจิตใจ ซึ่งไม่มีใครรู้นอกจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และเขาจะแสดงออกต่อฟิรเอาว์น และกับคนทั้งหมดว่าเขายังอยู่กับศาสนาของฟิรเอาว์น(แน่นอนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงนำเรื่องของเขามากล่าวถึงในอัล-กุรอาน เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่เขา)

มาเถิด ท่านผู้อ่าน มาทำความเข้าใจกับคำกล่าวของชีอะฮฺในเรื่องตะกียะฮฺ เพื่อที่ว่าท่านจะได้ไม่ปรักปรำในสิ่งที่พวกเขาถูกกล่าวหา ในลักษณะการป้ายความเท็จ และใส่ร้าย

เชคมุฮัมมัด ริฎอ อัล-มุซ็อฟฟัร กล่าวไว้ในหนังสือ “อะกออิด อิมามียะฮฺ” ของเขาว่า :

สำหรับการใช้หลักตะกียะฮฺนั้น มีกฏเกณฑ์ตั้งแต่วาญิบให้ปฏิบัติและไม่วาญิบ สุดแล้วแต่สภาวการณ์นั้นๆ ว่าจะเกิดอันตรายเพียงใด ดังที่มีกล่าวไว้ในตำราของนักปราชญ์ฝ่ายศาสนบัญญัติ มิใช่เรื่องที่วาญิบอยู่ตลอดเวลาทุกโอกาส ยิ่งไปกว่านั้น ความหมายของคำว่า อนุญาตหรือวาญิบ ก็มีความแตกต่างกัน ในบางโอกาส เช่นในกรณีที่ถ้าหากจะแสดงสัจธรรม และเผยความจริงออกมา จะเป็นผลร้ายต่อศาสนา และต่อการรับใช้อิสลาม และต่อการญิฮาดในวิถีทางนั้น

กล่าวคือเมื่อการกระทำอย่างนั้น เป็นเหตุให้ทรัพย์สินถูกทำลายและบั่นทอนจิตใจอย่างร้ายแรง แต่จะห้ามมิให้ใช้หลักตะกียะฮฺในการกระทำสิ่งที่ก่อให้เกิดการประหัตประหารชีวิตของผู้บริสุทธิ์ หรือในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายในศาสนา หรือเป็นอันตรายต่อมวลมุสลิมโดยความหลงผิดของพวกเขา หรือการแพร่หลายความอธรรมในหมู่พวกเขา

อย่างไรก็ตาม การใช้หลักตีกะยะฮฺตามทัศนะของอิมามิยะฮฺ มิได้หมายถึงการตั้งกลุ่มขึ้นมาลับๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อก่อความเสียหายและบ่อนทำลาย ดังที่พวกศัตรูที่ไม่มีความจริงใจในการรับรู้ความเป็นไปที่แท้จริง ต้องการจะวาดภาพให้ และไม่มีอะไรที่พวกเขาจะต้องรับผิดชอบอะไรเลย อันนี้ถือว่าถูกต้องตามทัศนะของพวกเรา

ขณะเดียวกันก็มิได้หมายความว่าจะทำให้ศาสนา และกฎเกณฑ์ทางศาสนาเป็นความลับ ความมืดมนไม่อนุญาตให้เปิดเผยแม้แต่กับคนที่ไม่มีศาสนา จะเป็นไปได้อย่างไร ก็ในเมื่อตำราในสายอิมามียะฮฺ และข้อเขียนต่างๆ โดยเฉพาะวิชาฟิกฮฺ และการอภิปรายปัญหาต่างๆ อีกทั้งหลักการทางด้านความเชื่อถือ ถูกตีพิมพ์ออกมาเต็มไปหมด จนสามารถเข้าถึงหมดไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มใดก็สามารถศึกษาแนวทางศาสนานี้ได้

ท่านก็เห็นแล้วว่า มันมิใช่เรื่องการหลอกหลวง ฉ้อฉล อำพราง ไม่ใช่เรื่องโกหก ตามที่พวกศัตรูของพวกเขาเข้าใจกันอย่างนั้นเลย



หลักมุตอะฮฺ : การแต่งงานในกำหนดเวลา
มุตอะฮฺ หมายถึงการนิกาฮฺเพื่อแสวงหาความสุขหรือการแต่งงานชั่วคราวหรือการแต่งงานตามกำหนดเวลาชั่วระยะหนึ่ง หมายความว่า เหมือนกับการแต่งงานถาวร คือถือว่ายังไม่ถูกต้อง นอกจากต้องมีการกล่าวคำอักดฺ ประกอบด้วยประโยคเสนอ และประโยคตอบรับ เช่น

ผู้หญิงจะต้องกล่าวกับผู้ชายว่า

“เซาวัจตุกะ นัฟซี บิมะฮฺริน.....วะลิมุดดะติน.....”

แล้วฝ่ายชายก็ตอบรับว่า “เกาะบิลตุ” หรือ “เราะฎิตุ”

การแต่งงานประเภทนี้ มีเงื่อนไขหลายประการตามที่ถูกกำหนดไว้ในตำราวิชาฟิกฮฺของสายอิมามิยะฮฺ เช่น วาญิบต้องระบุจำนวนมะฮัร และระยะเวลาที่แน่นอน กล่าวคือความถูกต้องอยู่ที่ความพอใจต่อกันจากทั้งสองฝ่ายขณะเดียวกัน ก็มีข้อห้ามมิให้ทำมุตอะฮฺกับคนที่มีสามี เช่นเดียวกับห้ามในเวลาแต่งงานแบบถาวร และสำหรับหญิงที่แต่งงานมุตอะฮฺนั้น จะต้องผ่านพ้นอิดดะฮฺ โดยผ่านการมีรอบเดือนสองวาระ และถ้าหากสามีตายจะต้องผ่านสี่เดือนสิบวันก่อน

คนที่ทำมุตอะฮฺกันถือว่า ไม่มีมรดกตกทอดให้แก่กัน ไม่มีการจ่ายค่าเลี้ยงดู ลูกที่ถือกำเนิดมาจากการแต่งงานชั่วคราว ก็เหมือนดังลูกที่เกิดจากการแต่งงานถาวรครบถ้วนทุกประการในสิทธิเรื่องมรดก การส่งค่าเลี้ยงดู และสิทธิในด้านต่างๆ ครบถ้วนอันขึ้นอยู่กับบิดา

นี่คือ การทำมุตอะฮฺ ที่มีเงื่อนไขต่างๆ มีขอบเขต ตามที่สังเกตดูแล้ว จะเห็นได้ว่า มิใช่เรื่องการสำส่อนทางเพศแต่อย่างใด ดังที่พวกใส่ร้ายบางกลุ่มกล่าวหาเลย อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺก็เหมือนกับพี่น้องชีอะฮฺของเขานั่นเอง คือมีความเชื่อตรงกันว่า การวางหลักการแต่งงานอย่างนี้ มีมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในโองการที่ 24 ซูเราะฮฺ อัน-นิซาอฺ ความว่า

“ดังนั้น การที่พวกสูเจ้าแสวงหาความสุขจากพวกนางในข้อนี้ พวกสูเจ้าจะต้องมอบแก่พวกนาง ซึ่งค่าตอบแทนของพวกนางจำนวนหนึ่ง และไม่มีบาปอันใดแก่พวกสูเจ้า ในกรณีที่พวกสูเจ้าพึงพอใจในข้อนี้ หลังจากที่มีการกำหนดอย่างแน่นอน แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงรู้ ทรงมีวิทยะปัญญา”

ขณะเดียวกันพวกเขาเชื่อถือตรงกันว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เคยอนุญาตในเรื่องนี้ และศ่อฮาบะฮฺก็เคยทำการมุตอะฮฺในสมัยของท่าน

อย่างไรก็ดี พวกเขามีความขัดแย้งกันว่า เรื่องนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว หรือไม่ เท่านั้นเอง กล่าวคืออะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ กล่าวว่า เรื่องนี้ถูกยกเลิกไปแล้ว และถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม หลังจากที่เคยเป็นเรื่องฮะลาลมาแล้ว และถือว่า การยกเลิกเกิดขึ้นโดยซุนนะฮฺ หาได้เกิดขึ้นโดยอัล-กุรอาน ส่วนชีอะฮฺนั้นถือว่า ยังมิได้ถูกยกเลิก และถือว่าเรื่องนี้เป็นฮะลาลจนถึงวันกิยามะฮฺ

ดังนั้น การวิเคราะห์จึงอยู่ตรงประเด็นว่า เรื่องนี้ถูกยกเลิกแล้วหรือไม่เท่านั้นเอง และการถกเถียงก็อยู่ที่คำพูดของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ผู้อ่านจะได้พิสูจน์ว่าฝ่ายไหนอยู่กับสัจธรรม แล้วให้ปฏิบัติ โดยปราศจากการถือฝักถือฝ่ายอย่างมีอคติ และไม่มีความคิดส่วนตัว

สำหรับทางด้านของชีอะฮฺนั้น กล่าวว่า เรื่องนี้ยังไม่มีการยกเลิก และยังเป็นเรื่องอนุญาตให้จนถึงวันกิยามะฮฺ ดังนั้น หลักฐานของพวกเขาก็มีอยู่ว่า สำหรับเรายังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ห้ามในสิ่งนั้น และบรรดาอิมามจากเชื้อสายบริสุทธิ์ ก็กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นที่อนุญาตและถ้าหากว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ยกเลิกจริง แน่นอนบรรดาอิมามจากอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ต้องรู้เรื่องนี้ เพราะหัวหน้าสูงสุดของพวกเขาคือท่านอะลี(อฺ)

ดังนั้น อะลี(อฺ)ต้องรู้เรื่องนี้ดี แต่มีหลักฐานที่ยืนยันได้จากฝ่ายเราว่า ค่อลีฟะฮฺที่สอง คืออุมัร บินค็อฏฏอบนั่นเองที่เป็นคนห้าม โดยการใช้หลักวินิจฉัยความเอง ดังเช่นที่นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺได้ยืนยันในเรื่องนี้ไว้ ด้วยตัวเขาเอง ส่วนเราไม่ยอมละทิ้งหลักเกณฑ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูตของพระองค์(ศ) เพื่อความเห็นและการวินิจฉัยความของอุมัร บินค็อฏฏอบ

นี่คือข้อสรุปของชีอะฮฺที่กล่าวถึงเรื่องการอนุญาตให้ทำมุตอะฮฺ อันเป็นคำกล่าวที่สมเหตุสมผล และเที่ยงธรรม หากจะถูกต้องก็เพราะว่า มุสลิมทั้งมวลเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์(ศ) และปฏิเสธสิ่งอื่นนอกเหนือจากนั้น ไม่ว่าใครจะมีฐานะสูงส่งแค่ไหน ในเมื่อการวินิจฉัยความของเขาขัดแย้งกับข้อบัญญัติของอัล-กุรอานหรือของนบี(ศ)

ส่วนอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น กล่าวว่า การทำมุตอะฮฺ นั้น เคยเป็นเรื่องฮะลาล และได้ถูกประทานมาในอัล-กุรอาน และ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ก็เคยอนุญาตให้กระทำในเรื่องนั้น และศ่อฮาบะฮฺก็ได้กระทำกันแล้ว ต่อมาหลังจากนั้นได้มีการยกเลิก และพวกเขาก็ขัดแย้งกันในการยกเลิกเรื่องนี้ กล่าวคือ บางคนในหมู่พวกเขากล่าวว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ห้ามไว้ก่อนตาย บางคนกล่าวว่า ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบเป็นคนห้ามไว้เอง และหลักฐานข้ออ้างของเขาคือ ท่านศาสนทูต(ศ)เคยกล่าวว่า

“หน้าที่ของพวกท่านคือซุนนะฮฺของฉัน และซุนนะฮฺของค่อลีฟะฮฺรอชิดีน ภายหลังจากฉัน พวกท่านจงยึดมั่นในเรื่องนี้ให้เข้มแข็ง”

ส่วนพวกที่กล่าวว่า สาเหตุที่มีการห้ามเรื่องนี้เป็นเพราะท่านอุมัร บินค็อฏฏอบห้ามไว้ และถือว่า การกระทำของท่านก็เป็นซุนนะฮฺประการหนึ่งที่ต้องยอมรับคนเหล่านี้ ไม่จำเป็นที่เราจะต้องพูดกับเขา และไม่ต้องวิเคราะห์อะไรกันอีก เพราะนั่นคือ ผลิตผลของการถือฝักฝ่ายอย่างมีอคติ จะเป็นไปได้อย่างไรที่คนมุสลิมจะละทิ้งคำตรัสของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และคำสอนของท่านศาสนทูต(ศ) โดยขัดแย้งกับสิ่งทั้งสองนี้ ไปปฏิบัติตามคำพูดของปุถุชนคนหนึ่ง ที่วินิจฉัยความผิดๆ มากกว่าถูกต้อง

อันนี้หมายความว่า ถึงแม้การวินิจฉัยความของเขาในปัญหาหนึ่งๆ ที่ไม่มีข้อบัญญัติใดๆ ไว้ในอัล-กุรอาน แต่ในกรณีที่ถ้าหากว่ามีข้อบัญญัติอยู่แล้วเขาก็ยิ่งไม่มีสิทธิทำอะไรเลย เพราะ

“ดังนั้น ไม่มีสิทธิสำหรับผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง ถ้าอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ ทรงตัดสินเรื่องใดไปแล้ว ที่เขาจะเลือกได้เองอีกจากกิจการของพวกเขา และผู้ใดที่ละเมิดต่ออัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ก็เท่ากับหลงผิดอย่างชัดแจ้ง” (อัล-อะฮฺซาบ / 36 )

ผู้ใดที่ไม่เห็นด้วยกับข้าพเจ้าในหลักเกณฑ์อันนี้ ก็ให้เขาย้อนกลับไปพิจารณาดูข้อมูลต่างๆ จากความรู้ทางด้านการวางกฏเกณฑ์ของอิสลาม และคำสอนของอัล-กุรอานและซุนนะฮฺนบี (ศ) เพราะอัล-กุรอานให้หลักฐานไว้ชัดในโองการดังกล่าว และในอัล-กุรอานมีโองการทำนองนี้อีกมากมาย ที่ให้ความหมายว่า เป็นพวกปฏิเสธและเป็นพวกหลงผิด สำหรับคนที่ไม่ยึดถือตามอัล-กุรอานและซุนนะฮฺนบี(ศ)

ส่วนหลักฐานจากซุนนะฮฺนบี(ศ)อันทรงเกียรตินั้น มีมากมายอีกเช่นกัน แต่เราถือว่าเพียงพอได้ด้วยคำพูดนี้ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่า

“ฮะลาลของมุฮัมมัดย่อมฮะลาลจนถึงวันกิยามะฮฺ และฮะรอมของมุฮัมมัดย่อมฮะรอมจนถึงวันกิยามะฮฺ”

กล่าวคือ บุคคลใดก็ตามไม่มีสิทธิจะกำหนดว่าอะไรเป็นของฮะลาลและฮะรอม ในประเด็นใดก็ตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์(ศ)วางข้อบัญญัติมาแล้ว และตัดสินมาแล้วในเรื่องนั้นๆ

ทั้งหลายเหล่านี้เราจะขอกล่าวกับบรรดาผู้ที่ต้องการจะให้เรายอมรับว่าการกระทำของค่อลีฟะฮฺรอชิดีนและการใช้หลักวินิจฉัยความของพวกเขาเป็นกฏที่จำเป็นสำหรับเรา โดยโองการที่ว่า

“พวกท่านจะถกเถียงกับเรา ในเรื่องของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ ในเมื่อพระองค์เป็นองค์อภิบาลของเราและองค์อภิบาลของพวกท่าน ในส่วนของเราก็คืองานของเรา และในส่วนของท่านก็คือ งานของพวกท่าน และเราเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 139 )

โดยเหตุที่ว่า บรรดาผู้ที่กล่าวอ้างหลักฐานนี้ ชีอะฮฺมีความเห็นตรงกับข้ออ้างของพวกเขา ซึ่งพวกเขาเป็นข้ออ้างประการหนึ่งสำหรับพี่น้องอะฮฺลิซซุนนะฮฺของพวกเขา

ดังนั้นการวิเคราะห์ของเราจึงเกี่ยวข้องกับกลุ่มที่กล่าวว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เป็นคนห้ามเรื่องนี้เอง และท่านได้ยกเลิกคำสอนในอัล-กุรอานโดยฮะดีษเท่านั้น

พวกเขาเหล่านั้นหยิบยกคำพูดและหลักฐานอันเลื่อนลอยมาอ้าง โดยไม่ยืนอยู่บนพื้นฐานอันมั่นคง ถึงแม้ว่าท่านมุสลิม จะรายงานบันทึกในศ่อฮีฮฺของท่านว่า ห้ามเรื่องนี้ก็ตาม เพราะถ้าหากการห้ามในคราวนั้นมาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) จะต้องไม่เก็บเป็นความลับจากศ่อฮาบะฮฺที่ทำการมุตอะฮฺกันอยู่ในสมัยอะบูบักรฺ และส่วนหนึ่งจากสมัยอุมัรเองด้วย ดังเช่นที่ท่านมุสลิมได้รายงานไว้อย่างนี้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่าน(259)






๒๒
ขออยู่กับผู้สัจจริง

ท่านอะฏออฺ กล่าวว่า ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ เข้ามาทำอุมเราะฮฺแล้วเราก็นำท่านไปยังที่พักของท่าน มีคนพวกหนึ่งถามท่านในหลายๆ เรื่องต่อจากนั้น พวกเขาก็พูดถึงเรื่องมุตอะฮฺ ท่านกล่าวว่า

“ใช่แล้ว พวกเราเคยทำมุตอะฮฺกันในสมัยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และสมัยอะบูบักร และสมัยของอุมัร ดังนั้น ถ้าหากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ห้ามการทำมุตอะฮฺจริง แน่นอนจะต้องไม่อนุญาตให้พวกเขาทำมุตอะฮฺกันมาจนถึงสมัยอะบูบักรฺ และอุมัรหรอก ดังที่ท่านก็เห็นๆอยู่”

จึงเป็นอันว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) มิได้ห้ามเรื่องนี้และมิได้สั่งฮะรอมเรื่องนี้ หากแต่การห้ามมีขึ้นในสมัยของอุมัร บินค็อฏฏอบ เช่นเดียวกับที่มีรายงานในศ่อฮีฮฺบุคอรี

จากท่านมุซัดดัด ได้รายงานว่า ท่านยะฮฺยา ได้รายงานจากท่านอิมรอน อะบีบักร ได้เล่าเราว่า อะบู ได้เล่าเราว่า จากอิมรอน บินฮุศ็อยน์(ร.ฎ.) กล่าวว่า : โองการว่าด้วยการมุตอะฮฺถูกประทานลงมาในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ดังนั้นเราก็ได้ทำกันในสมัยท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และอัล-กุรอานมิได้ลงคำสั่งมาว่าห้ามเรื่องนี้ และท่านก็มิได้ห้ามเรื่องนี้จนกระทั่งตาย ชายคนหนึ่งได้กล่าวไปตามความเห็นของเขา ตามที่เขาต้องการ

ท่านมุฮัมมัด(ศ)กล่าวว่า “คนที่ถูกกล่าวถึงนั้น คือ อุมัร” (260)

ท่านผู้อ่านสังเกตดูเองเถิด ท่านจะเห็นว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มิได้ห้ามเรื่องนี้ จนกระทั่งตายตามที่ศ่อฮาบะฮฺท่านนี้เปิดเผย และท่านก็เห็นแล้วว่า การห้ามเรื่องนี้ ถูกอ้างไปถึงท่านอุมัร อย่างชัดแจ้งไม่มีความคลุมเครือใดๆ ประกอบยังได้เสริมเข้าไปอีกว่า เขาได้กล่าวไปตามทัศนะของเขา ในสิ่งที่เขาต้องการ

นี่คือหลักฐานที่ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺได้เปิดเผยไว้ โดยท่านได้กล่าวว่า : เราได้ทำมุตอะฮฺกันด้วยอินทผลัมและแป้งกำมือหนึ่งในสมัยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และสมัยอะบูบักรฺ จนกระทั่งอุมัรได้ห้ามในกรณีของอัมรฺ บินฮุร็อยษ์(261)

ส่วนกรณีที่มีหลักฐานว่าศ่อฮาบะฮฺบางท่านถือตามทัศนะของอุมัร อันนี้มิได้เป็นเรื่องแปลก ในเมื่อที่ผ่านมาเรายังถกเถียงกันถึงเรื่องเหตุการณ์อัปโยคในวันพฤหัสบดีมาแล้วว่าบางคนในหมู่สาวกก็มีความเห็นตรงกับท่านอุมัรที่กล่าวว่า

“ฮัซบุนา กิตาบัลลอฮฺ (อัล-กุรอาน เพียงพอแล้วสำหรับเรา) ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เพ้อไปแล้ว”

ในเมื่อพวกเขาลำดับเรื่องราวให้เห็นว่า มีการลบหลู่ท่านศาสน-ทูต(ศ)ได้ แล้วจะเป็นอย่างไรที่พวกเขาจะไม่เห็นพ้องกับท่านในหลักวินิจฉัยความบางเรื่องของท่าน เราควรจะได้รับฟังคำพูดของพวกเขาคนหนึ่งที่ว่า : ข้าพเจ้าเคยอยู่กับท่านญาบิร บินอับดุลลอฮฺ แล้วมีคนพวกหนึ่งเข้ามาหาท่าน เขาได้กล่าวว่า : ท่านอิบนุ อับบาซ และท่านอิบนุซุบัยรฺ ขัดแย้งกันในเรื่องมุตอะฮฺ

ท่านญาบิรกล่าวว่า “มุตอะฮฺทั้งสองอย่างนั้น เราเคยกระทำกันพร้อมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) หลังจากนั้น อุมัรก็ได้ห้ามเรา แล้วเราก็มิได้หวนกลับไปกระทำอีกเลย”(262)

ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าเชื่อเป็นการส่วนตัวว่า ศ่อฮาบะฮฺบางคนต้องอ้างให้เรื่องการห้ามมิให้ทำมุตอะฮฺ เป็นการห้ามของท่านนบี(ศ)ทั้งนี้เพื่อ สนับสนุนให้เข้าทางของอุมัร บินค็อฏฏอบ และทำให้การออกความเห็นของเขามีความน่าเชื่อถือ

อย่างไรก็ตาม ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ไม่เคยห้ามในสิ่งที่อัล-กุรอานอนุญาต เพราะเราไม่เคยพบว่าจะมีกฏข้อใดแม้สักข้อเดียว ในทุกๆกฎของอิสลามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)อนุญาตให้ แล้วศาสนทูตของพระองค์(ศ)ทรงห้ามเสีย จะไม่มีใครกล้าพูดอย่างนี้ นอกจากคนอวดดื้อถือดี ถ้าหากเรายอมรับว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ห้ามเรื่องนี้ แล้วทำไมท่านอิมามอะลี(อฺ) ซึ่งนับว่าเป็นคนใกล้ชิดที่สุดของท่าน และรู้ในกฏเกณฑ์ศาสนามากที่สุดในหมู่พวกเขาได้กล่าวว่า

“แท้จริงการทำมุตอะฮฺเป็นความเมตตาอย่างหนึ่งที่อัลลอฮฺทรงเมตตาแก่ปวงบ่าวของพระองค์ และถ้าหากอุมัรไม่ห้ามไว้ การทำซินาจะไม่มี นอกจากคนเลวจริงๆ เท่านั้น”(263)

โดยเหตุที่ท่านอุมัร บิน ค็อฏฏอบเองอ้างว่า การห้ามเรื่องมุตอะฮฺนั้นมิได้มาจากท่านศาสนทูต(ศ)โดยท่านกล่าวด้วยถ้อยคำที่ชัดเต็มรูปแบบว่า

“การทำมุตอะฮฺทั้งสองอย่างเคยมีในสมัยศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) แต่ข้าพเจ้าได้ห้ามสองอย่างนั้น นั่นคือทั้งมุตอะฮฺฮัจญ์ และมุตอะฮฺสตรี” (264)

และนี่คือ “มุซนัดอะฮฺมัด” ของอะฮฺมัด บินฮัมบัล ซึ่งเป็นพยานที่ดียิ่งแก่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ผู้ขัดแย้งในปัญหานี้ด้วยการขัดอย่างใหญ่หลวง กล่าวคือในส่วนของพวกเขามีบางกลุ่มที่ปฏิบัติตาม ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) คือยังถือว่าฮะลาลอยู่ อีกส่วนหนึ่ง มีคนที่ถือปฏิบัติตามท่านอุมัร บิน ค็อฏฏอบ กล่าวคือได้ถือว่าเป็นฮะรอม ท่านอะฮฺมัดรายงานว่า : อิบนุอับบาซ ได้กล่าวว่า ท่านนบี(ศ)ได้ทำการมุตอะฮฺ ดังนั้นท่านอุรวะฮฺ และท่านซุบัยร์กล่าวว่า

“อะบูบักรฺและอุมัรได้ห้ามเรื่องการทำมุตอะฮฺ”

ท่านอิบนนุอับบาซกล่าวว่า “สิ่งที่อุรวะฮฺพูดนั้น ท่านกล่าวว่าอะบูบักรฺและอุมัร ได้ห้ามการทำมุตอะฮฺ”

ท่านอิบนุอับบาซว่า : “ข้าพเจ้าเห็นว่าพวกเขาจะเสียหายที่กล่าวว่าท่านศาสนทูต(ศ)กล่าว แล้วพวกเขากล่าวว่า อะบูบักรฺและอุมัร กล่าวว่า “ต้องห้าม”(265)

ในหนังสือศ่อฮีฮฺติรมีซีมีรายงานว่า อับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร ได้ถูกถามเกี่ยวกับเรื่องมุตอะฮฺอัล-ฮัจญ์ เขาตอบว่า มันเป็นเรื่องที่อนุญาต มีคนพูดว่า บิดาของท่านได้ห้ามเสียแล้ว

เขากล่าวว่า “ท่านเห็นด้วยหรือว่า หากบิดาของข้าพเจ้าห้ามเรื่องนี้ แต่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กระทำ คำสั่งบิดาของข้าพเจ้า หรือคำสั่งศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กันแน่ที่จะต้องปฏิบัติตาม ?”

ชายคนนั้นจึงกล่าวว่า “ต้องคำสั่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)”(266)

อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ปฏิบัติตามอุมัรในเรื่องการมุตอะฮฺต่อสตรี แต่ขัดแย้งกับเขาในการทำมุตอะฮฺฮัจญ์ โดยเหตุที่ว่า การห้ามทั้งสองอย่างนี้ เกิดขึ้นจากเขาในเหตุการณ์เดียวกัน แต่จุดสำคัญสำหรับเรื่องนี้คือว่าบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) และบรรดาชีอะฮฺทั้งหลายขัดแย้งกับเขาและปฏิเสธเขา อีกทั้งกล่าวว่าทั้งสองอย่างฮะลาล จนถึงวันกิยามะฮฺได้มีนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺบางส่วนเหมือนกันที่ปฏิบัติตามพวกเขาในเรื่องนี้

ข้าพเจ้าจะขอกล่าวถึงท่านหนึ่ง คือนักปราชญ์ชาวตูนีเซีย ผู้มีเกียรติ เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยซัยตูนียะฮฺ ท่านเชคฏอฮิร บินอาซูร (ขอความเมตตาจากอัลลอฮฺพึงประสบแด่ท่าน) ท่านได้กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นที่อนุญาตในตัฟซีรของท่าน คือ “อัต-ตันวีร” เมื่อท่านอธิบายถึงโองการที่ว่า

“ดังนั้น เมื่อพวกสูเจ้าแสวงหาความสุขกับพวกนาง ก็จงมอบให้แก่พวกนางซึ่งค่าตอบแทนของพวกนางตามจำนวนที่แน่นอน”(267)

นี่เองนักปราชญ์จะต้องเป็นคนมีความอิสระทางความคิดอย่างนี้ มิใช่ถือตามอำเภอใจ และมิได้ถือตามทัศนะของพรรคพวกอย่างมีอคติในเรื่องของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้ว พวกเจ้าจะไม่รู้สึกแคร์อะไรกับการติฉินนินทา

หลังจากอธิบายเป็นสังเขปอย่างนี้แล้ว อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ก็คงจะไม่มีการลบหลู่ ดูแคลนต่อชีอะฮฺอีก ในกรณีที่อนุญาตในการทำนิกะฮฺมุตอะฮฺ เว้นแต่การถือฝักฝ่ายกันอย่างปิดหูปิดตา และพูดกันด้วยอารมณ์

คงเหลือแต่หลักฐานอันชี้ชัด และข้อพิสูจน์ที่แข็งแกร่งของฝ่ายชีอะฮฺ กล่าวคือสัจธรรมนั้น จะเปล่งวาจาออกมาอย่างเที่ยงธรรมและชัดเจน สัจธรรมนั้นจะต้องอยู่เหนือกว่าเสมอ และจะไม่มีอะไรอยู่เหนือกว่าอีก

สำหรับคนมุสลิมลองพิจารณาดูคำพูดของท่านอิมามอะลี(อฺ) ดูเถิด

ท่าน(อฺ)ได้กล่าวว่า “การทำมุตอะฮฺ คือ เราะฮฺมัต (ความเมตตา)อย่างหนึ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประทานความเมตตาแก่ปวงบ่าวของพระองค์เพราะมัน”

ในความเป็นจริง “เราะฮฺมัต” อันใดเล่าที่จะยิ่งใหญ่กว่านี้อีก นั่นคือ การดับไฟของความต้องการทางเพศ ที่มันได้ประดังเพิ่มขึ้นมาให้แก่มนุษย์ไม่ว่าชายหรือหญิงก็ตาม ดังนั้น ก็จะกลายเป็นสัตว์ดุร้าย ตั้งเท่าไหร่มาแล้ว ที่ผู้หญิงต้องกลายเป็นเหยื่อของความใคร่ เธอถูกสังหารโหด หลังจากที่ถูกสำเร็จความใคร่แล้ว

สำหรับบรรดามุสลิมโดยทั่วไป และสำหรับคนหนุ่ม โดยเฉพาะที่รู้ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกำหนดโทษแก่คนทำซินา (ผิดประเวณี) ด้วยการประหารชีวิต มีการขว้างก้อนหินจนตายสำหรับผู้มีคู่ครองแล้ว ไม่ว่าชายหรือหญิง ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะละทิ้งปวงบ่าวของพระองค์ไว้โดยไม่ประทานความเมตตาใดๆ ในเมื่อพระองค์ทรงสร้างพวกเขามา และทรงเป็นผู้สร้างสัญชาติญาณโดยธรรมชาติของพวกเขามา และทรงรู้แจ้งว่าอะไรคือหนทางแก้ไขให้กับพวกเขา

ในเมื่อพระองค์คือผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตายิ่งเสมอ พระองค์ทรงเมตตาแก่ปวงบ่าวของพระองค์ โดยการอนุญาตให้พวกเขาในการทำมุตอะฮฺ เพื่อที่ว่าจะได้ไม่เข้าสู่การทำซินากันภายหลังจากนั้นอีก นอกจากคนชั่วจริงๆเท่านั้น เช่น กฎเกณฑ์การตัดมือโจร ดังนั้นตราบใดที่มีบัยตุลมาล สำหรับนคนยากไร้ และคนที่มีความจำเป็น จึงไม่มีใครเป็นขโมย นอกจากความชั่วช้าจริงๆ

มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขออภัยต่อพระองค์และขอกลับตัวต่อพระองค์ เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้ายังอยู่ในวัยหนุ่ม ข้าพเจ้ารู้สึกอคติต่อศาสนาอิสลาม และมีความรู้สึกในจิตใจว่ากฏเกณฑ์ของศาสนานี้ทารุณและไม่เป็นธรรมเลย เพราะวางกฎไว้ว่าให้ประหารชีวิตผู้ชายผู้หญิง โดยสาเหตุพฤติกรรมทางเพศอันเป็นผลของความรักความชอบพอจากทั้งสองฝ่าย หลังจากนั้นแล้ว อะไรคือการประหารชีวิต?

ช่างเป็นการสังหารอะไรที่โหดเช่นนั้น การขว้างด้วยก้อนหิน เท่าที่ได้ยิน ได้ฟังมาจากผู้รู้ ความรู้สึกนี้เกิดขึ้น เมื่อคนหนุ่มมุสลิมส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนสมัยใหม่ที่พวกเขาคลุกคลีกับหญิงสาวในโรงเรียน ตามท้องถนนและในทุกสถานที่ ที่อยู่ในกฎของการอยู่ร่วมกัน เดินทางด้วยกัน และตามประเพณีที่เราเติบโตมาอย่างนั้น

อย่าไปนึกถึงการจะเปรียบเทียบคนมุสลิมที่อยู่ในเฮาเซะฮฺ(สถาบันศาสนา) ซึ่งถูกฝึกฝนให้อยู่ในกรอบของอิสลามกับคนมุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศที่เจริญ และอยู่กับวัฒนธรรมตะวันตกทุกๆ ด้าน

ข้าพเจ้าใช้ชีวิตอยู่เหมือนคนหนุ่มมุสลิมส่วนใหญ่ที่มีความรู้สึกขัดแย้งกันอยู่เสมอระหว่างความคิดแบบตะวันตกหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ต่อสู้กันระหว่างความต้องการทางเพศกับความเชื่อที่เกรงกลัว อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในปรโลก เพราะความกลัวกฎลงโทษในประเทศของเรานั้นหมดไปแล้ว กล่าวคือไม่มีอะไรเป็นอุปสรรคขวางหน้ามุสลิมอีกแล้ว นอกจากจิตใจตัวเอง ดังนั้น เขาอาจใช้ชีวิตอยู่อย่างคนเก็บกด จนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคจิต ซึ่งนับว่าอันตรายมาก หรือบางทีเขาอาจหลอกพระผู้อภิบาล และหลอกตัวเองจนในบางครั้งต้องตกไปอยู่ในหนทางที่ต่ำทราม

จริงๆ แล้ว สามารถจะกล่าวได้ว่า ข้าพเจ้าไม่เข้าใจนักปรัชญาของอิสลาม และบทบัญญัติอิสลามอันสูงส่ง นอกจากเมื่อข้าพเจ้าได้รู้จักชีอะฮฺแล้วเท่านั้น

ข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกหลักความเชื่อของชีอะฮฺนั้น เป็นเราะฮฺมัต(ความเมตตา)อันกว้างขวาง และเป็นทางแก้ปัญหาชีวิตทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ข้าพเจ้ารู้แล้วว่า ทั้งหมดในความเชื่อถือของชีอะฮฺนั้น เป็นศาสนาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) อันเรียบง่าย และไม่เป็นอุปสรรคเลย เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่ทรงกระทำเรื่องที่เป็นอุปสรรคไว้ในศาสนานี้ ดังนั้น การมีอิมาม คือเราะฮฺมัต หลักตะกียะฮฺ ก็คือ “เราะฮฺมัต” การแต่งงานมุตอะฮฺ ก็คือ เราะฮฺมัตอันยิ่งใหญ่ พูดอย่างสรุปก็คือว่า สัจธรรมที่ มุฮัมมัด บิน อับดุลลอฮฺ(ศ) ผู้ซึ่งถูกแต่งตั้งเป็นเราะมัตแก่สากลโลกนั่นเอง

พระผู้อภิบาลของเราโปรดอย่าถือโทษเรา ถ้าหากเราหลงลืม หรือได้ทำผิด โอ้พระผู้อภิบาลของเราโปรดอย่าให้เราแบกภาระหนัก เหมือนอย่างที่ทรงวางให้แบกแก่พวกที่มาก่อนเรา โอ้พระผู้อภิบาลของเราอย่าให้เราแบกภาระที่เราไม่มีกำลังจะรับมันได้ โปรดอภัยเรา และโปรดยกโทษให้เรา และโปรดเมตตาเรา พระองค์ทรงเป็นผู้คุ้มครองเรา ดังนั้นโปรดช่วยเหลือเราให้มีชัยชนะเหนือพวกปฏิเสธ



การตะฮฺรีฟอัล-กุรอาน : การดัดแปลงในอัล-กุรอาน
จากคำกล่าวนี้ อยู่ในระดับที่น่าชิงชังจนไม่มีมุสลิมคนใดที่ศรัทธาต่อคำสอนของมุฮัมมัด(ศ) ยอมรับได้ ไม่ว่าจะเป็นซุนนีหรือชีอะฮฺก็ตาม เพราะคัมภีร์อัล-กัรอานนั้น ถือว่า อยู่ในความรับรองอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ดังที่ตรัสว่า

“แท้จริงเราได้ประทานข้อเตือนสติ และแท้จริงเราย่อมเป็นผู้พิทักษ์รักษามันไว้อย่างแน่นอน”

จึงไม่มีใครคนใดสามารถจะทำให้มันบกพร่องหรือจะทำให้มันเพิ่มขึ้นแม้อักษรสักตัวเดียว นับว่า เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของนบีมุฮัมมัด(ศ) อันอมตะนิรันดร์ เพราะว่า ไม่มีความผิดพลาดเข้าไปกล้ำกลายไปเลยไม่ว่าจากทางเบื้องหน้าเบื้องหลัง อันเป็นคัมภีร์ที่ได้ประทานมาจากผู้ทรงวิทยปัญญา ทรงรับซึ่งการสรรเสริญ

ตามความเป็นจริง สำหรับบรรดามุสลิมนั้น ได้ปฏิเสธเรื่องการตะฮฺรีฟในอัล-กุรอาน เพราะศ่อฮาบะฮฺเป็นส่วนมากที่สามารถจดจำได้จนขึ้นใจ พวกเขาแข่งขันกันท่องจำ และให้บรรดาลูกๆ ของพวกเขาท่องจำอยู่ทุกสมัย จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ดังนั้นจึงเป็นไปมิได้สำหรับมนุษย์คนหนึ่งคนใด และไม่ว่าจะเป็นคณะหนึ่งคณะใด และไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใด จะทำการเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงอัล-กุรอานได้

ถ้าเราสามารถทำประเทศมุสลิมทั้งหลายมารวมกันได้ทั้งประเทศในทางตะวันออก ตะวันตก ทรงตอนเหนือ และทางตอนใต้ ในทุกๆ ส่วนของโลกนี้ เราก็จะพบว่ามีอัล-กุรอานเล่มเดียวกัน โดยไม่มีการต่อเติมและไม่มีความบกพร่องใดๆ ถึงแม้บรรดามุสลิมจะขัดแย้งกัน เป็นมัซฮับและกลุ่มต่างๆ เป็นนิกายต่างๆ กันก็ตาม กล่าวคือ อัล-กุรอานเป็นเสาหลักประการเดียวเท่านั้นที่รวบรวมพวกเขาไว้ได้ ซึ่งในเรื่องนี้บรรดาประชาชาติอิสลามมิได้ขัดแย้งแบ่งแยกออกจากกันเป็นสองฝักสองฝ่าย นอกจากกรณีที่เกี่ยวกับการอธิบายหรือการตีความเท่านั้น

กล่าวคือทุกๆ นิกายจะต้องมีหลักเกณฑ์ในการตีความของตนไปตามความเห็นชอบ แต่สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นข้ออ้างว่า พวกชีอะฮฺพูดถึงเรื่องการตะฮฺรีฟก็คือ การจงเกลียดจงชังและลบหลู่อย่างเดียวเท่านั้น ทั้งๆ ที่ในความเชื่อของชีอะฮฺนั้นไม่มีเรื่องนี้อยู่เลย

ถ้าหากเราได้อ่านเกี่ยวกับหลักความเชื่อของชีอะฮฺในอัล-กุร อานอันทรงเกียรติแล้ว เราจะพบว่ามติโดยส่วนรวมของพวกเขาเหล่านั้นยืนยันถึงความบริสุทธิ์ผุดผ่องของคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ว่าปลอดพ้นจากการตะฮฺรีฟในทุกๆ ลักษณะ

เจ้าของหนังสือ “อะกออิด อิมามียะฮฺ” ท่านเชคมุศ็อฟฟัร ได้กล่าวไว้ว่า

“เราเชื่อมั่นว่าอัล-กุรอานคือวะฮฺยูของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกประทานมาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) บนปลายลิ้นของท่านนบี(ศ)ผู้ทรงเกียรติ ซึ่งในนั้นมีเรื่องราวเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างอธิบายไว้ มันคือสิ่งมหัศจรรย์ที่ทรงไว้ซึ่งความอมตะนิรันดร์กาล โดยที่ปุถุชนธรรมดาสุดวิสัยจากการที่จะแข่งขันในแง่ของความลึกซึ้งและคมคาย อีกทั้งในแง่ของเรื่องราวที่ประกอบด้วยสัจธรรมทั้งปวง และวิชาความรู้อันสูงส่ง จึงไม่สามารถที่จะนำหลักเกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลงดัดแปลง และการตะฮฺรีฟเข้าไปเกี่ยวข้องได้ นี่คือคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้าเราซึ่งเราได้อ่านมันอยู่เสมอ

มันคืออัล-กุรอานเล่มเดียวกันกับที่ถูกประทานให้แก่ท่านนบี(ศ) ส่วนผู้ใดก็ตามที่อ้างถึงอัล-กุรอานในลักษณะอื่นที่นอกเหนือจากนี้ เขาก็คือคนพิสดาร หรือคนที่มีความคิดผิดพลาด หรือไม่ก็จะต้องเป็นคนที่มีแต่ความสงสัยเท่านั้น และเขาเหล่านั้นทั้งหมดจะไม่ได้อยู่กับทางนำ ดังนั้นอัล-กุรอานคือพจนารถของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ที่ไม่อาจจะมีความผิดพลาดกล้ำกลายเข้าไปเกี่ยวข้องได้เลย ไม่ว่าจากทางด้านหน้าและจากทางด้านหลังก็ตาม”

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว แสดงว่าทุกประเทศที่มีชีอะฮฺอันเป็นที่รู้จักกันอยู่และหลักเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติของพวกเขาในแง่ของวิชาฟิกฮฺ ก็เป็นที่ปรากฏอย่างเด่นชัดต่อสายตาของคนทั้งหมดอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าหากว่าพวกเขายังมีอัล-กุรอานอยู่อีกเล่มหนึ่งนอกเหนือจากเล่มที่เรามีอยู่ แน่นอนที่สุดคนทั้งหลายย่อมรู้ ข้าพเจ้ายังจำได้ว่า เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าไปเยี่ยมเยือนประเทศชีอะฮฺครั้งแรก ในความเชื่อของข้าพเจ้าขณะนั้นมีบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับคำเล่าลือเหล่านี้อยู่

เพราะฉะนั้นทุกครั้งคราวที่ข้าพเจ้าเห็นหนังสือเล่มใหญ่ๆ ข้าพเจ้าจะรีบมาเปิดดูทันที โดยสำคัญผิดว่าน่าจะเป็นอัล-กุรอานเล่มที่เล่าขานกัน แต่ความสงสัยอันนี้ก็สลายไปอย่างรวดเร็ว เพราะในภายหลังข้าพเจ้าได้รู้ว่า นี่คือความพยายามที่จะยัดเยียดเรื่องราวที่เป็นเท็จประการหนึ่งเพื่อให้ประชาชนทั้งหลายหลีกห่างเสียจากชีอะฮฺ แต่ถึงกระนั้นคนที่พยายามจะลบหลู่และตั้งข้อกล่าวหาแก่ชีอะฮฺก็ยังคงมีอยู่เรื่อยมา โดยหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “ฟัศลุล-คิฏ็อบ” ของมุฮัมมัด ตะกี อันนูรี อัฏ-ฏ็อบรอซี ผู้เสียชีวิตในปี 1320 เขาเป็นชีอะฮฺ

บุคคลเหล่านั้นที่พยายามจะยัดเยียดต้องการจะตั้งข้อกล่าวหาให้พวกชีอะฮฺเป็นผู้รับผิดชอบต่อหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องที่ยุติธรรมเลย

มีอีกตั้งเท่าไหร่สำหรับหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นมาในลักษณะที่ให้เหตุผลไม่ตรงกับความเป็นจริง นอกจากเป็นเพียงทัศนะของผู้เขียนและผู้รวบรวมเท่านั้น ซึ่งในหนังสือนั้นๆ อาจจะมีการต่อเติมเสริมแต่ง อาจจะมีทั้งความจริงและความเท็จ อาจจะมีทั้งเรื่องที่ถูกต้องและเรื่องที่ผิดพลาด ซึ่งในลักษณะเช่นนี้เราสามารถจะพบได้จากทุกๆ นิกายของอิสลาม ไม่เฉพาะกับชีอะฮฺฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงเรื่องแบบนี้ค่อนข้างที่จะเกิดขึ้นกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺมากกว่าที่เกิดขึ้นกับชีอะฮฺ(268) เสียด้วยซ้ำ

แต่เป็นการสมควรแก่เรากระนั้นหรือในอันที่จะมอบความรับผิดชอบให้แก่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺสำหรับสิ่งต่างๆ ที่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยรัฐมนตรียุติธรรมของอียิปต์ และอะมีดุล อะดับ อัล-อะรอบี ดร.ฏอฮา ฮุเซน โดยนำเอาอัล-กุรอานมาเปรียบเทียบกับบทกวีของคนในยุคญาฮิลี ?

หรือว่าเรื่องราวต่างๆ ที่ท่านบุคอรีได้รายงานไว้ในขณะที่เป็นหนังสือศ่อฮีฮฺตามทัศนะของพวกเขาว่าในอัล-กุรอานนั้นมีทั้งส่วนที่ขาดไป และส่วนที่ต่อเติมเข้ามา และเช่นเดียวกันนี้สำหรับศ่อฮีฮฺมุสลิมและเล่มอื่นๆ

แต่เพื่อเราจะได้ตีตัวออกจากเรื่องเหล่านี้ และยอมรับแต่สิ่งที่ดีแทน สิ่งที่ผิดพลาด เราก็น่าที่จะยอมรับข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งได้กล่าวไว้โดยท่านอุซตาซ มุฮัมมัด มะดะนี หัวหน้าคณะกฎหมายมหาวิทยาลัยอัซฮัร โดยท่านได้เขียนไว้ว่า

“สำหรับในส่วนที่ว่าพวกอิมามิยะฮฺ เชื่อถือว่ามีความบกพร่องอยู่ในอัล-กุรอาน จะต้องขอกล่าวว่า “อะฮุซุบิลละฮฺ” (ไม่เป็นความจริง) เพียงแต่มันเป็นรายงานบอกเล่าจำนวนหนึ่งที่ถูกบอกเล่ากันมาในตำราของพวกเขา เช่นเดียวกันกับที่ถูกรายงานมาในตำราของเราในลักษณะที่เหมือนๆ กัน แต่นักวิชาการผู้คงแก่เรียนของทั้งสองฝ่ายต่างปฏิเสธเรื่องเหล่านี้โดยสิ้นเชิง และถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความผิดพลาด และไม่ใช่เป็นเรื่องที่อยู่ในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามิยะฮฺ หรือซัยดียะฮฺแต่ประการใดเลย เช่นเดียวกันกับที่ไม่มีความเชื่ออย่างนี้อยู่ในซุนนะฮฺด้วย”

ผู้ใดต้องการที่จะศึกษาก็สามารถตรวจสอบได้ เช่น ในหนังสือ “อัล-อิตกอน” ของท่านซะยูฏี เพื่อจะได้แลเห็นว่ามีรายงานต่างๆ ในลักษณะเช่นนี้ ซึ่งเราก็ปฏิเสธเช่นเดียวกัน

ในปี 1498 ชาวอียิปต์คนหนึ่งได้เขียนหนังสือ “อัล-ฟุรกอน” เขาได้หยิบยกรายงานริวายะฮฺที่อ่อนหลักฐาน อันอยู่ในข่ายที่จะต้องปฏิเสธมาเสนอไว้เป็นจำนวนมาก โดยอ้างอิงริวายะฮฺเหล่านั้นมาจากตำราเล่มสำคัญจากฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺทั้งสิ้น ทางมหาวิทยาลัยอัซฮัรได้ขอจากทางรัฐบาลให้เปิดเผยข้อเท็จจริงหนังสือเล่มนี้ออกมา

หลังจากที่ได้ทำการอธิบายแยกแยะด้วยหลักฐานและการวิเคราะห์ทางวิชาการ โดยให้ข้อมูลถึงความผิดพลาดและความเสียหายที่ปรากฏอยู่ในนั้น ทางรัฐบาลก็ได้ยอมรับข้อเสนอนี้ และได้เปิดเผยข้อเท็จจริงออกมาได้ ดังนั้น เจ้าของหนังสือได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องค่าทดแทน ดังนั้น คณะผู้พิพากษาจึงได้ลงมติในที่ประชุมของรัฐบาลให้ปฎิเสธ

จะพูดกันได้หรือไม่ว่า อะฮฺลิซซุนนะฮฺลบหลู่ความศักดิ์สิทธิ์ของอัล-กุรอาน ? หรือเชื่อมั่นว่า ความบกพร่องอยู่ในอัล-กุรอาน โดยรายงานบอกเล่าจากคนนั้นคนนี้ หรือโดยหนังสือที่เขียนขึ้นโดยบุคคลนั้นบุคคลนี้ ?

เช่นเดียวกันกับชีอะฮฺอิมามิยะฮฺ อันที่จริงแล้วมันเป็นเพียงรายงานริวายะฮฺในหนังสือบางเล่มของพวกเขาเท่านั้น เช่นเดียวกับริวายะฮฺต่างๆ ที่มีอยู่ในหนังสือบางเล่มของเรา ในเรื่องนี้ท่านอิมามอัลลามะฮฺ ซะอีด อะบุลฟัฎล์ บินฮะซัน ฏ็อบเราะซี นักปราชญ์อาวุโสของฝ่ายอิมามียะฮฺในศตวรรษที่ 6 แห่งฮิจญเราะฮฺ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “มัจมะอุล-บะยาน” ว่า

“สำหรับการกล่าวว่า ในอัล-กุรอานมีการต่อเติมนั้น นักปราชญ์ทั้งหมดลงมติว่าเป็นความผิดพลาด และสำหรับการกล่าวว่า ในอัล-กุร อานมีความบกพร่องนั้น ปรากฏว่ามีนักปราชญ์ของเรากลุ่มหนึ่ง และนักปราชญ์ของฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺอีกกลุ่มหนึ่ง ได้รายงานบอกเล่าไว้ว่า : ในอัล-กุรอานนั้น มีการเปลี่ยนแปลง และมีความบกพร่อง ความเชื่อถือที่ถูกต้องจากนักปราชญ์ในมัซฮับของเราก็คือ ขัดแย้งกับคำกล่าวเหล่านี้ ท่านมุรตะฎอ (ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ประทานความบริสุทธิ์แด่ดวงวิญญาณของท่าน)

ท่านได้ยุติคำพูดในเรื่องนี้ด้วยคำตอบที่คมคายอย่างยิ่ง ในหนังสือ “มะซาอิล ฏอรอบะลิซยาต” ในหัวข้อเรื่องต่างๆ ดังนี้ว่า แท้จริง เป็นทีรู้กันดีอยู่แล้วถึงความถูกต้องของการถ่ายทอดอัล-กุรอาน เช่น วิชาการที่อยู่ในบ้านเมืองหนึ่งๆ และเหมือนกับเหตุการณ์ใหญ่ๆ และเป็นปรากฏการณ์ที่มีความสำคัญอย่างใหญ่หลวง และเหนือกับตำราที่จะจดจำกันอย่างยิ่ง และจะมีการถ่ายทอดด้วยการพิทักษ์รักษาด้วยความรอบคอบอย่างพร้อมสรรพ จนกระทั่งเข้าถึงระดับที่เรื่องราวต่างๆ ตามที่พวกเราพูดถึงกันอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องได้เลย

เพราะ อัล-กุรอานเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ของท่านนบี(ศ) เป็นที่มาแห่งวิชาการทางศาสนา เป็นกฎเกณฑ์ทางด้านศาสนบัญญัติ บรรดานักปราชญ์ของมวลมุสลิมต่างมีความลึกซึ้งในการจดจำ และถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดของตน จนกระทั่งพวกเขาสามารถรู้ถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาในอัล-กุรอาน เป็นต้นว่า เรื่องการผันคำ หลักเกณฑ์การอ่าน ตัวอักษร และโองการ ฉะนั้น จะเป็นไปได้อย่างไรว่า อัล-กุร อานจะถูกเปลี่ยนแปลง หรือ ถูกทำให้บกพร่อง ในขณะที่มันเป็นเจตนารมณ์แห่งสัจธรรม และเป็นสิ่งที่มีความถูกต้องอย่างยิ่ง”(269)

เพื่อเป็นที่อธิบายให้ชัดแจ้งแก่ท่านผู้อ่านว่า ข้อกล่าวหาเหล่านี้ (เชื่อว่า อัล-กุรอานมีความบกพร่องและมีการต่อเติม) ค่อนข้างที่จะได้แก่อะฮฺลิซซุนนะฮฺมากว่าชีอะฮฺ จนกระทั่งจะได้รู้ว่าอะฮฺลิซซุนนะฮฺนั้นได้ใส่ร้ายคนอื่นในสิ่งที่พวกเขาเองก็มีอยู่ ข้ออ้างเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องทบทวนความเชื่อถือทุกประการของข้าพเจ้า เพราะทุกครั้งที่ข้าพเจ้าพยายามจะวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ข้าพเจ้าจะต้องตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อน และพวกเขาเหล่านั้นได้ยืนยันว่าพวกเขาบริสุทธิ์จากข้อหาอันนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า เขาเหล่านั้นพูดความจริง ยิ่งวันเวลาผ่านไปสำหรับการวิเคราะห์ ก็ยิ่งทำให้ข้าพเจ้ายอมรับ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ หวังว่าท่านผู้อ่านก็มีความปรารถนาเช่นกันที่จะรู้จักหลักฐานจากตำราอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ซึ่งสามารถทำให้ท่านยอมรับได้ว่า พวกเขานั่นเองแหละที่พูดถึงเรื่องการ ตะฮฺรีฟอัล-กุอานว่ามีทั้งบกพร่อง และมีทั้งต่อเติม ขอให้ท่านได้โปรดพิจารณาดูต่อไป

จากรายงานโดยท่านฏ็อบรอนี และบัยฮะกี : แท้จริงในอัล-กุร อานมีอยู่ 2 ซูเราะฮฺ

ดังซูเราะฮฺที่ 1 คือ

“ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ แท้จริงเราขอความช่วยเหลือต่อพระองค์ และขอการอภัยโทษต่อพระองค์ และเราสดุดีต่อพระองค์ด้วยความดีงามทุกประการ และเราจะไม่ทรยศต่อพระองค์ และเราจะถอนตัวออกจาก และละทิ้งผู้ที่ฉ้อฉลพระองค์”

และซูเราะฮฺที่ 2 คือ

“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ ข้าแต่อัลลอฮฺ เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราเคารพภักดี และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เรานมาซ และเราซุญูด เราแสวงหายังพระองค์ เราหวังความเมตตาของพระองค์ เราเกรงกลัวการลงโทษของพระองค์ แท้จริงการลงโทษของพระองค์ที่มีต่อคนกาฟิรทั้งหลายนั้น คือสิ่งติดตามมา”

ทั้งสองซูเราะฮฺนี้มีผู้รายงานว่าเป็นซูเราะฮฺกุนูต และทั้งสองบทนี้คือข้อความที่ท่านซัยยิดินาอุมัร บินค็อฏฏอบเคยนำมาอ่าน และทั้งสองบทนี้มีอยู่ในบันทึกของอิบนุอับบาซ และบันทึกของเซด บินซาบิต(270)

ท่านอิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล ได้รายงานไว้ในหนังสือมุซนัดของท่าน จากอุบัยด์ บินกะอับว่า

“พวกท่านอ่านซูเราะฮฺอัล-อะฮฺซาบกันกี่โองการ ?”

ท่านกล่าวว่า “ประมาณ 70 โองการ”

ท่านกล่าวว่า “แน่นอนข้าพเจ้าเคยได้อ่านกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) คล้ายกับซูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ หรือมากกว่าด้วยซ้ำ และในซูเราะฮฺนี้มีโองการเกี่ยวกับเรื่องการขว้างอยู่ด้วย”(271)

ขอให้ท่านผู้อ่านสังเกตให้ถ่องแท้ว่า สองซูเราะฮฺที่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในหนังสือ “อัล-อิดกอน” และในหนังสือ “อัด-ดุรรุล-มันซูร” และท่านซะยูฏี และที่ท่านฏ็อบรอนี กับท่านบัยฮะกี นำมารายงานไว้ และทั้งสองซูเราะฮฺที่มีชื่อเรียกว่า “กุนูต” นั้น ไม่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เลย

อันนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าอัล-กุรอานที่อยู่ในมือของเราขาดสองซูเราะฮฺนี้ไป ทั้งๆที่เคยอยู่ในบันทึกของอิบนุอับบาซ และบันทึกของซัยด์บิน ซาบิด ขณะเดียวกัน ก็ยังแสดงให้เห็นอีกว่า ยังมีบันทึกอื่น นอกเหนือจากที่เรามีกันอยู่อีก อันนี้ได้ทำให้ข้าพเจ้าคิดอีกเช่นกันเกี่ยวกับการประณามว่า พวกชีอะฮฺนั้นมีบันทึกของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ(อฺ) แต่ข้าพเจ้าเข้าใจดี

แท้จริงอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ อ่านสองซูเราะฮฺนี้ในดุอาอฺกุนูตทุกๆนมาซในตอนเช้า ข้าพเจ้าเองก็เป็นคนหนึ่งที่ท่องจำข้อความทั้งสองนี้ และเคยอ่านในกุนูตนมาซซุบฮฺ






๒๓
ขออยู่กับผู้สัจจริง

ส่วนริวายะฮฺที่สองซึ่งอิมามอะฮฺหมัดได้รายงานไว้ในซุนันของท่านและที่มีการพูดกันว่า ซูเราะฮฺอะฮฺซาบนั้น ขาดไปถึง 3 ใน 4 เพราะ ซูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺมีทั้งหมด 286 โองการ ในขณะที่ซูเราะฮฺ อัล-อะฮฺซาบมีเพียง 73 โองการเท่านั้น และถ้าหากเราจะถือว่าอัล-กุรอานแบ่งซูเราะฮฺนี้ออกเป็นภาค ในเมื่อซูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ มีข้อความมากกว่า เกือบห้าเท่าของซูเราะฮฺอะฮฺซาบ ก็แสดงว่าซูเราะฮฺอะฮฺซาบที่มีอยู่ในขณะนี้ มีเพียงภาคเดียวเท่านั้น

คำพูดของอุบัยด์ บินกะอับที่ว่า

“ข้าพเจ้าได้เคยอ่านซูเราะฮฺนี้กับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) โดยมีข้อความเท่าๆกันกับซูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ หรือมากกว่า”

ท่านคือคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงว่าเป็นนักอ่านที่ท่องจำอัล-กุรอานในสมัยของท่านนบี(ศ) และท่านเองคือคนที่ท่านอุมัรคัดเลือกขึ้นมา(272) เพื่อนำนมาซตะรอวิฮฺดังนั้น คำพูดของท่านในที่นี้ทำให้บังเกิดความสงสัยและความพะวักพะวงอย่างไม่มีปัญหา

อิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล ได้รายงานไว้ในหนังสือมุซนัดของท่านจากท่านอุบัยด์ บินกะอับ กล่าวว่า แท้จริงท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบัญชาให้ฉันอ่านอัล-กุรอานให้แก่ท่าน แล้วท่านก็กล่าวว่า ท่านก็ได้อ่านว่า “พวกอะฮฺลุลกิตาบยังไม่เป็นพวกปฏิเสธ” แล้วท่านได้อ่านในโองการนั้นว่า “ถ้าหากลูกหลานของอาดัมร้องขอขุมทรัพย์สักขุมหนึ่ง แล้วเขาก็ได้รับตามที่ขอ

แน่นอน เขาจะต้องขอเป็นครั้งที่สอง ดังนั้นถ้าหากเขาได้ขอเป็นครั้งที่สองแล้วเขาได้รับอีก แน่นอนเขาจะต้องขอเป็นครั้งที่สาม เพราะในกระเพาะของลูกหลานอาดัมนั้น มิอาจจะเต็มได้ นอกจากด้วยดินเท่านั้น

และอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงให้คนที่กลับตัว ได้รับการอภัย นี่แหละคือศาสนาอันเที่ยงธรรม ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.) อันเป็นแนวทางบริสุทธิ์ไม่ใช่ของพวกตั้งภาคี และมิใช่ของพวกยิว และมิใช่ของพวกนะศอรอ และผู้ใดที่กระทำความดี พระองค์จะไม่ลบล้างมันเลย”(273)

ท่านฮาฟิซ อิบนุ อะวากิร ได้รายงานไว้ในตอนที่กล่าวถึงท่านอุบัยด์ บินกะอับว่า : อะบูดัรดาอ์ ได้ขี่พาหนะไปยังเมืองมะดีนะฮฺในกลุ่มของชาวซีเรีย แล้วได้อ่านอัล-กุรอานโองการนี้ให้ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบฟัง

“แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธนั้น ในหัวใจของพวกเขามีความเร่าร้อน ดุจความเร่าร้อนของพวกสมัยงมงาย และถ้าหากพวกสูเจ้าเร่าร้อนเหมือนกับพวกเขาเร่าร้อนแล้ว แน่นอนมัสญิดอัล-ฮะรอมจะถูกทำลาย”

ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ กล่าวว่า “คนใดในหมู่พวกท่านที่อ่านข้อความนี้ ?”

พวกเขากล่าวว่า “อุบัยด์ บินกะอับ”

ดังนั้น ท่านจึกเรียกเขาแล้วกล่าวกับพวกเขาว่า

“พวกท่านทั้งหลาย จงอ่านโองการนี้เถิด (ข้อความ)”

แล้วพวกเขาก็อ่านกัน ดังนั้น ท่านอุบัยด์ บินกะอับ ได้กล่าวแก่ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบว่า “ใช่แล้ว ข้าพเจ้าได้สอนให้พวกเขาอ่าน”

แล้วท่านอุมัรก็ได้กล่าวแก่ ซัยด์ บินซาบิตว่า “โอ้ซัยด์ จงอ่านเถิด”

ดังนั้น ซัยด์ ก็อ่านเหมือนกับที่อ่านกันทั่วไป

แล้วท่านอุมัรได้กล่าวว่า “ข้าแต่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ฉันไม่รู้ นอกจากอย่างนี้เท่านั้น”

ดังนั้น อุบัยดฺ บินกะอับ จึงกล่าวว่า

“โอ้ อุมัร ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ แท้จริงท่านก็รู้ดีว่า ฉันประจำถิ่นอยู่เสมอ ส่วนพวกเขามักจะหายลับไปเสมอ (ไม่อยู่ประจำ) ส่วนฉันอยู่เปิดเผยเสมอ แต่พวกเขามักจะไม่ปรากฏตัวเสมอ ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ถ้าท่านต้องการ ฉันจะอยู่แต่กับบ้านจะไม่พูดอะไรสักอย่างเดียว และไม่สอนอ่านให้ใครสักคนเดียว จนกว่าจะตาย”

อุมัร กล่าวว่า “โอ้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)โปรดอภัย แท้จริง ท่านรู้ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้ประทานความรู้มายังพวกท่าน ดังนั้นจงสอนประชาชนในสิ่งที่ท่านรู้เถิด”

ท่านได้กล่าวว่า อุมัร ได้เดินผ่านเด็กชายคนหนึ่ง กำลังอ่านหนังสือบันทึกว่า :

“ท่านนบี(ศ)นั้น เป็นผู้มีอำนาจต่อบรรดาผู้ศรัทธายิ่งกว่าตัวของพวกเขาเอง และภรรยาของเขานั้น เป็นมารดาของพวกเหล่านั้น ตัวเขาเองก็คือบิดาของพวกนั้น”

ท่านได้ถามเด็กชายคนนั้นว่า “โอ้เด็กน้อย บอกเรื่องของมันมาซิ”

เด็กตอบว่า “นี่คือบันทึกของอุบัยด์ บิน กะอับ”

แล้วท่านอุมัรก็ได้ไปหากะอับ เมื่อไปถึงก็ถามเขา

เขาได้บอกว่า “แท้จริงมันเป็นพราะอัล-กุรอานนั่นเอง ที่ทำให้ข้าพเจ้าเผลอไปอย่างนั้น เหมือนอย่างที่ท่านก็เคยเผลอเวลาไปทำธุระที่ตลาด”(274)

อิบนุ อัล-อะซีซ ก็ได้รายงานไว้อย่างนี้เช่นกันในหนังสือ “ญามิอุล-อุศูล” อะบูดาวูดก็ได้รายงานไว้ในซุนันของท่าน และท่านฮากีมก็ได้รายงานไว้ใน “อัล-มุซตัดร็อก”

ท่านผู้อ่านที่รัก ข้าพเจ้าจะขอฝากข้อคิดในครั้งนี้ให้แก่ท่านจากตัวอย่างทั้งหลายริวายะฮฺต่างๆ นี้ซึ่งมีอยู่เต็มไปหมดในหนังสือของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ แต่พวกเขาลืมคำนึงถึง แล้วก่นด่าบริภาษชีอะฮฺซึ่งในหนังสือของคนเหล่านี้ไม่ได้มีมากมายเช่นนั้นเลย

แต่มีผู้ขัดแย้งบางท่านจากอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺหลีกเลี่ยงจากริวายะฮฺเหล่านี้ โดยปฏิเสธเหมือนอย่างที่เคยเป็น แล้วยังปฏิเสธอิมามอะฮฺมัดที่นำรายงาน ที่เสียหายอย่างนี้มาบันทึก เขาถือว่าสายสืบของเรื่องอ่อนต่อหลักฐาน อีกทั้งยังถือว่า “มุซนัด” ของอิมาม อะฮฺมัด และ “ซุนัน” ของอะบูดาวูด มิได้ถือว่า เป็นหนังสือที่ศ่อฮีฮฺตามฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ เพราะเหตุว่าข้าพเจ้ารู้จักพวกเขาเป็นอย่างดี

กล่าวคือทุกครั้งที่ข้าพเจ้าพูดถึงฮะดีษจากหนังสือเหล่านี้ซึ่งในฮะดีษเหล่านั้นล้วนเป็นข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดของชีอะฮฺ จะเห็นได้ว่าพวกเขาพยายามหลบหลีกและติเตียนหนังสือที่พวกเขาเรียกขานกันเองว่า เป็นหนังสือศ่อฮีฮฺทั้งหก นั่นคือ บุคอรี, มุสลิม, อะบีดาวูด, ติรมิซี, นะซาอี, อิบนุ มาญะฮฺ ส่วนหนึ่งของพวกเขายังได้นับ “ซุนันอัด-ดาเราะมี” และ “มุวัฎเฎาะ” ของอิมามมาลิก และ “มุซนัด” ของอิมามอะฮฺมัด รวมเข้าไปในจำนวนหกท่านนั้นด้วย

และสำหรับบรรดาผู้คัดค้านอย่างแข็งขันเหล่านั้น ข้าพเจ้าจะนำริวายะฮฺต่างๆ ทำนองนี้จากศ่อฮีฮฺบุคอรีและศ่อฮีฮฺมุสลิม อีกโสตหนึ่งมาเสนอให้ดูเผื่อพวกเขาจะถูกชี้นำยังความเป็นจริงและยอมรับทุกอย่างตามนั้น

อิมามบุคอรีได้รายงานไว้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่านในบท(275) “มานากิบอัมมาร” และฮุซัยฟะฮฺ(ร.ฎ.) จาก “อุล-เกาะมะฮฺ” ได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้เข้าเมืองซีเรีย แล้วได้นมาซสองร็อกอะฮฺ หลังจากนั้นก็ได้กล่าวว่า

“ข้าแต่อัลลอฮฺ โปรดทำให้ข้าพเจ้าได้สะดวกในการได้นั่งร่วมกับผู้มีคุณธรรม”

ดังนั้น จึงมีคนกลุ่มหนึ่งเข้ามาแล้วข้าพเจ้าก็เข้าไปนั่งร่วมกับพวกเขา ครั้นเมื่อมีผู้อาวุโสคนหนึ่งเข้ามานั่งข้างข้าพเจ้า

ข้าพเจ้ากล่าวขึ้นว่า “ท่านนี้ คือใคร ?”

พวกเขาตอบว่า “ท่านอะบูดัรดาอฺ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “แท้จริงข้าพเจ้าได้ขอต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ว่าให้มีโอกาสได้นั่งร่วมกับคนที่มีคุณธรรม ดังนั้น พระองค์ก็ประทานให้ข้าพเจ้ามีโอกาสนั่งกับท่าน”

เขาถามว่า “ท่านมาจากไหน ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า “มาจากเมืองกูฟะฮฺ”

เขากล่าวว่า “ที่เมืองของพวกท่านมีบุคคลสำคัญอยู่มิใช่หรือ ในหมู่พวกท่านมีคนที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ป้องกันมิให้ชัยฏอนเข้าใกล้ ตามคำพูดของท่านนบี(ศ) ในหมู่พวกท่านมีคนที่รู้ความลับของท่านนบี(ศ) ที่ไม่มีใครรู้ได้ นอกจากเขาคนเดียว”

หลังจากนั้น เขากล่าวว่า “ท่านอับดุลลอฮฺ อ่าน “วัลลัยลิ อิซายัฆชา” อย่างไร ?”

ข้าพเจ้าอ่านให้เขาฟังว่า “วัลลัยลิ อิซา ยัฆชา วันนะฮา ริอิซา ตะญัลลา วัซ ซะกะ รอ วัล อุนษา”

ท่านกล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)แน่นอนที่สุด ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) สอนอ่านให้แก่ฉันอย่างนี้แหละ ชนิดปากต่อปาก”

ในอีกริวายะฮฺหนึ่ง เขาได้เสริมไปอีกว่า : พวกเขาใช้ความพยายามตลอดเวลาที่จะให้ข้าพเจ้าสลัดทิ้งสิ่งหนึ่งที่ฉันเคยได้ยินมาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)(276)

ในรายงานเหล่านี้ทั้งหมดให้ความหมายว่า อัล-กุรอานที่เรามีอยู่กันในปัจจุบันนี้ เพิ่มคำว่า “วะมา เคาะละกอ” เข้าไป

ท่านบุคอรี ได้รายงานในศ่อฮีฮฺของท่าน โดยสายสืบจากท่านอิบนุ อับบาซว่า : ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบ กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงแต่งตั้งมุฮัมมัดมาแล้วด้วยสัจธรรม ดังนั้น พระองค์ก็ได้ประทานคัมภีร์มาให้แก่พวกเขา ส่วนหนึ่งจากคัมภีร์ที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ประทานมานั้น มีโองการว่าด้วยการขว้าง เราเคยได้อ่านโองการนี้ และได้จำจดกัน และได้นำมาปฏิบัติ ด้วยโองการนี้แหละที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ขว้าง และเราก็ได้ขว้างหลังจากสมัยท่าน ฉันหวั่นใจว่า ประชาชนในสมัยที่เนิ่นนานวันต่อไป จะกล่าวว่า :

ขอสาบานต่ออัลลอฮฺเราไม่ได้พบโองการว่าด้วยการขว้างในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เลย แล้วพวกเขาจะหลงผิด เพราะละเลยบทบัญญัติหนึ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ประทานลงมา การขว้างตามคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ถือเป็นบทลงโทษสำหรับคนล่วงประเวณีที่มีคู่ครองแล้ว ทั้งชายหญิง ถ้าหากมีหลักฐานอันชัดแจ้งหรือถูกจับได้หรือรับสารภาพ หลังจากนั้น เราก็อ่านกันจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ซึ่งมีโองการว่า

“พวกสูเจ้าอย่าได้ชิงชังบรรพบุรุษของสูเจ้า กล่าวคือ การชิงชังที่พวกสูเจ้ามีต่อบรรพบุรุษสูเจ้านั้น เป็นการปฏิเสธสำหรับพวกสูเจ้า” หรือ...

“แท้จริงการเป็นผู้ปฏิเสธสำหรับพวกสูเจ้า คือกรณีที่สูเจ้าชิงชังต่อบรรพบุรุษของพวกสูเจ้าเอง”(277)

อิมามมุสลิม ได้รายงานในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่าน(278) บทว่าด้วย (หากลูกหลานของอาดัมมีขุมทรัพย์สองหลุมแล้ว ก็ยังอยากได้แห่งที่สาม)

ท่านได้กล่าวว่า : อะบู มูซา อัล-อัซอะรี ได้ถูกส่งตัวไปสอนอัล-กุรอานให้แก่ชาวบัศเราะฮฺ ได้มีคนจำนวน 300 คน เข้ามาหาท่านซึ่งคนเหล่านั้นได้อ่านอัล-กุรอาน

ท่านได้กล่าวว่า “พวกท่านเป็นชาวบัศเราะฮฺที่มีการอ่านคัมภีร์ดีที่สุด แต่อีกไม่นาน หัวใจของพวกท่านจะแข็งกระด้าง เหมือนกับหัวใจของคนอื่นก่อน ที่เคยแข็งกระด้างมาแล้ว เพราะแท้จริง เราเคยได้อ่านข้อความในซูเราะฮฺหนึ่งที่ดูคลับคล้ายคลับคลาว่ามีความยาวและแข็งกร้าวคล้ายซูเราะฮฺอัล-บะรออะฮฺ ซึ่งมันได้ถูกลืมเลือนไปเสียแล้ว อย่างไรก็ดีฉันเองยังจำได้อยู่บ้างที่ว่า

ถึงแม้ว่า จะมีขุมทรัพย์สองขุม เป็นของลูกหลานอาดัมแล้วก็ตาม แน่นอนเขายังจะต้องแสวงหาขุมที่สามต่อไป และท้องของลูกหลานอาดัม นั้นจะไม่มีอะไรทำให้เต็มได้ นอกจากดิน”

เราเคยได้อ่านข้อความหนึ่งที่ดูคล้ายว่า เป็นซูเราะฮฺประเภทที่เริ่มต้นด้วยการสดุดี แต่มันก็ถูกลืมไปแล้ว อย่างไรก็ตามฉันยังจำได้อยู่บ้างคือ

“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ทำไมพวกสูเจ้าพูดในสิ่งที่สูเจ้าไม่กระทำ กล่าวคือ สูเจ้าถูกกำหนดมาเป็นสักขีพยานแก่ตัวของพวกสูเจ้าเองแล้วพวกสูเจ้าจะต้องถูกสอบถามในเรื่องนั้น เมื่อถึงวันฟื้นคืนชีพ”

สองซูเราะฮฺนี้ ตามที่ถูกอ้างขึ้นมาว่า ท่านอะบูมูซา อัช-อารี ลืมไปแล้วว่าหนึ่งนั้นคล้ายกับซูเราะฮฺบะรออะฮฺ หมายความว่า มี 129 โองการ สองนั้นคล้ายกับซูเราะฮฺที่เริ่มต้นด้วย “ซับบะฮะลิลลาฮฺ” หมายความว่า มี 20 โองการ ทั้งสองซูเราะฮฺไม่มีปรากฏ นอกจากในจิตสำนึกของท่านมูซา

ท่านจงอ่านและจงวิเคราะห์ดูเถิด มันน่าประหลาดใจและน่าหัวเราะ หรือ ร้องไห้กันแน่ ข้าพเจ้าขอปล่อยเป็นหน้าที่ของท่านตัดสินใจกันเอง

โอ้ ท่านนักวิเคราะห์ที่มีใจธรรม

ดังนั้น ถ้าหากตำราของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ และมุซนัดของพวกเขาก็ดี ศ่อฮีฮฺของพวกเขาก็ดี มีความแปลกปลอมริวายะฮฺอย่างนี้ซึ่งเท่ากับอ้างว่า อัล-กุรอานมีการบกพร่องในบางแห่ง และว่ามีการเพิ่มในบางแห่ง แล้วทำไมการดูหมิ่นดูแคลนอย่างนี้จึงตกแก่ฝ่ายชีอะฮฺที่ร่วมกันกล่าวว่าข้ออ้างเหล่านี้ ล้วนเป็นความผิดพลาดทั้งสิ้น

ถ้าหากเจ้าของหนังสือ “ฟัศลุล-คิฏอบ” ชีอะฮฺคนหนึ่งซึ่งตายในปี ฮ.ศ. 1320 เขียนหนังสือเล่มหนึ่งประมาณร้อยปีมานี้ ในเรื่อง “ตะฮฺรีฟ” แล้วคนซุนนีเล่าเขียนมาก่อน นั่นคือ เจ้าของหนังสือ “อัล-ฟุรกอน” โดยรัฐบาลได้เผยให้เห็นข้อเท็จจริง เพราะการเรียกร้องของมหาวิทยาลัย อัซฮัร ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งเราต้องยอมรับว่า ของทุกอย่างที่ถูกสั่งห้าม ย่อมได้รับความสนใจ

ดังนั้นถึงแม้หนังสือเล่มนี้จะถูกสั่งห้ามในอียิปต์ แต่ก็มิได้ห้ามในประเทศอื่นๆ ของอิสลาม ดังนั้น อาจเป็นไปได้ว่า หนังสือ “ฟัศลุล-คิฏอบ” ของนักเขียนชีอะฮฺ ก็คือผลพวงของหนังสือ “อัล-ฟุรกอน” ของซุนนีนั้นเอง เพราะออกเผยแพร่ช้ากว่าของซุนนีถึง 4 ศตวรรษ

จุดสำคัญที่สุดในทุกประการเหล่านี้ก็คือว่า นักปราชญ์ซุนนะฮฺ และนักปราชญ์ชีอะฮฺ ที่เป็นนักวิเคราะห์และได้ศึกษารายงานเหล่านี้แล้ว ต้องเชื่อถือว่า มันเป็นเรื่องบังเอิญอย่างหนึ่ง และพวกเขาต้องยอมรับว่า อัล-กุรอานที่เรามีอยู่นี้แหละ คือ อัล-กุรอานเล่มเดียวกับอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ของเราซึ่งไม่มีอะไรต่อเติม และบกพร่องในนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และดัดแปลงใดๆ เลย

ดังนั้น อะฮฺลิซซุนนะฮฺจะก่นด่าชีอะฮฺอยู่อีกทำไม กับเพราะรายงานต่างๆ ที่เป็นโมฆะในทัศนะของชีอะฮฺและพวกเขาเองก็ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงด้วย ขณะเดียวกันกับที่ตำราศ่อฮีฮฺของซุนนะฮฺเองนั้น กลับยืนยันว่ารายงานเหล่านี้มีความถูกต้องศ่อฮีฮฺ

โอ้ มวลมุสลิม อย่างนี้มิใช่ความเป็นธรรม และไม่เป็นความยุติธรรมเลย ท่านนบีอีซา(อฺ) ได้กล่าวความจริงไว้แล้วว่า

“พวกเขามองเห็นเศษขยะในตาของคนพวกหนึ่ง แต่กลับมองไม่เห็นท่อนไม้ที่อยู่ในตาของพวกเขาเอง”

ข้าพเจ้าเมื่อคิดถึงรายงานริวายะฮฺเหล่านี้หลายครั้งหลายหน ก็มีความรู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะในทุกวันนี้ การที่เราจะนิ่งเงียบอย่างเดียวนั้น ไม่พอเพียงแก่เราเสียแล้ว สำหรับแผนการ และกับดักต่างๆ ที่ถูกวางไว้

เพราะได้มีการกล่าวถึงคำขวัญต่างๆ ที่กุขึ้นโดยหนังสือบางเล่ม และนักเขียนบางคนที่เรียกร้องเชิญชวนว่าให้ยึดถือตามซุนนะฮฺนบี(ศ) และมีผู้อยู่เบื้องหลังพวกเขาเหล่านั้น ที่รู้กันดีอยู่ว่า คอยให้กำลังใจและสนับสนุนนักเขียนเหล่านั้น ให้ประณาม ปรักปรำว่าชีอะฮฺเป็นกาฟิร โดยเฉพาะหลังจากการปฏิวัติอิสลามเกิดขึ้นในอิหร่าน

จึงขอให้พวกเขา จงยำเกรงอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ในเรื่องพี่น้องของพวกสูเจ้า และจงยึดเหนี่ยวสายเชือกแห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ให้มั่นคงโดยพร้อมเพรียงกัน และจงอย่าแตกแยกกัน และจงรำลึกถึงความโปรดปรานของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อพวกท่าน ขณะที่พวกท่านเป็นศัตรูกัน แล้วทรงสมานฉันท์จิตใจของพวกสูเจ้า จนพวกสูเจ้าได้เป็นพี่น้องกันด้วยความโปรดปรานของพระองค์



การนมาซรวม
อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมากล่าวถึงเพื่อลบหลู่ชีอะฮฺก็คือ การทำนมาซดุฮฺริกับอัศริรวมกัน และทำมัฆริบกับอิชาอฺรวมกัน อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น ได้มีการลบหลู่ดูหมิ่นชีอะฮฺอย่างมาก ตามที่พวกเขาคิดในใจกันเองว่า พวกเขารักษาการนมาซ เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า

“แท้จริงการนมาซได้ถูกกำหนดมาแก่บรรดาผู้ศรัทธาตามเวลาที่วางไว้”

และส่วนมากแล้วพวกเขาจะกล่าวหาว่า พวกชีอะฮฺทำเฉยเมยกับนมาซ และขัดแย้งกับคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และคำสั่งของท่านศา-สนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)

ก่อนที่เราจะตัดสินอะไรลงไปแก่พวกเขา จำเป็นที่เราจะต้องวิเคราะห์หัวข้อเรื่องนี้จากแง่มุมต่างๆ และเราจะเห็นคำสอนของทั้งสองฝ่าย ตามปกติ และเราได้ยินฟังคำให้การทั้งของฝ่ายโจทย์และจำเลย และเราจะศึกษาข้อพิสูจน์หลักฐานของสองฝ่าย เพื่อเราจะได้เข้าใจอย่างชัดเจน กล่าวคือเราจะไม่รีบสรุปเพื่อปรักปรำพวกเขาตามสภาพการณ์ของพวกเขา

สำหรับอะฮฺลิซซุนนะฮฺนั้น พวกเขามีความเชื่อถือตรงกันว่า อนุญาตให้รวมได้ ที่อะเราะฟะฮฺ ระหว่างดุฮฺริ กับอัศริ และเรียกชื่อนมาซนี้ว่า ญัมอุ ตักดีม และอนุญาตให้รวมที่มุซดะลิฟะฮฺได้ในเวลาอิชาอฺ ระหว่างอิชาอฺกับมัฆริบ และให้ชื่อเรียกว่า ญัมอฺ ตะคีร นี่คือเรื่องหนึ่งที่มุสลิมทุกฝ่ายทั้งซุนนะฮฺและชีอะฮฺ ตลอดทั้งชาวอิสลามทุกหมู่เหล่ามีความเชื่อถือตรงกันอย่างไม่มีข้อแม้

ความขัดแย้งระหว่างชีอะฮฺ กับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ ก็คืออนุญาตให้ทำนมาซรวมได้ระหว่างฟัรฎูทั้งสอง คือดุฮฺริ กับอัศริ และมัฆริบกับอิชาอฺ ในทุกวันตลอดปี โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ และไม่เดินทาง

สำหรับพวกที่ถือตามมัซฮับฮะนะฟีนั้นกล่าวว่า ไม่อนุญาตให้กระทำแม้กระทั่งในยามเดินทาง ทั้งๆ ที่เรื่องนี้มีข้อบัญญัติอันชัดแจ้งว่า อนุญาตให้ทำได้โดยเฉพาะในการเดินทาง และในเรื่องนี้พวกเขาขัดแย้งกับมติโดยส่วนรวมของประชาชาติทั้งซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ

ส่วนมัซฮับมาลิกี ชาฟีอี นั้น พวกเขากล่าวว่า อนุญาตให้รวมระหว่างนมาซฟัรฎูทั้งสองได้ ในยามเดินทาง แต่พวกเขามีความเห็นขัดแย้งกันในกรณีที่เวลามีอุปสรรค ที่น่าหวาดกลัว เวลามีฝนตกและดินแฉะ

ส่วนชีอะฮฺ อิมามียะฮฺนั้น พวกเขามีความเชื่อถือตรงกันว่า อนุญาตให้ทำอย่างนั้นได้โดยสิ้นเชิง โดยไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องฝนตก ไม่ต้องป่วย และไม่มีสิ่งที่น่ากลัวใดๆ ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาปฏิบัติตามคำสอนที่รายงานมาจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) เชื้อสายผู้บริสุทธิ์(อฺ)

ในที่นี้ จำเป็นที่เราจะต้องนำเอาจุดยืนของพวกเขามาทำความเข้าใจสำหรับการตั้งข้อกล่าวหา และให้ความสงสัย เพราะทุกครั้ง อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ จะยกหลักฐานมาหักล้างพวกเขา เพียงเพราะการที่ชีอะฮฺปฏิบัติตามนั้น ก็โดยที่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ได้สอนพวกเขา อธิบายให้พวกเขารู้ในทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นปัญหาสำหรับพวกเขา และเขาเหล่านั้นภาคภูมิใจว่า บรรดาอิมามเหล่านั้นเป็นมะอฺศูม และรอบรู้ในเรื่องอัล-กุรอานและซุนนะฮฺ

ข้าพเจ้ายังจำได้ว่า ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าทำนมาซดุฮฺริ กับอัศริรวมกันนั้น ได้ทำตามการเป็นอิมามของท่านชะฮีดมุฮัมมัด บาเก็ร อัศ-ศ็อดร์(ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ประทานความยินดีแก่ท่าน) ขณะนั้นข้าพเจ้าอยู่ที่เมืองนะญัฟ ข้าพเจ้าทำนมาซดุฮฺริกับอัศริ แยกเวลามาก่อน จนกระทั่งถึงวันอันจำเริญวันนั้น ซึ่งข้าพเจ้าได้ออกมาที่มัสญิด พร้อมกับท่านชะฮีด มุฮัมมัด บาเก็ร อัศ-ศ็อดร์ ออกจากบ้านของท่าน โดยท่านได้นำนมาซผู้ปฏิบัติตามท่าน

ในวันนั้นพวกเขาให้เกียรติข้าพเจ้าด้วยการที่จัดที่ข้างหลังท่านให้แก่ข้าพเจ้าโดยตรงกันเลยทีเดียว เมื่อข้าพเจ้านมาซดุฮฺริเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าก็ลุกขึ้นทำนมาซอัศริอีก ในจิตใจของข้าพเจ้ามืดตื้อไปหมด แต่ก็ยังอุ่นใจได้ด้วยเหตุสองประการ คือ

1. บุคลิกท่าทางของท่านซัยยิดอัศ-ศ็อดร์ และความสำรวมของท่านในนมาซ

2. จิตใจของข้าพเจ้าในสถานที่แห่งนี้ ขณะที่ข้าพเจ้าเป็นคนใกล้ท่านที่สุด ข้าพเจ้ารู้สึกว่าจิตใจถูกดึงดูดด้วยพลังอันทรงอำนาจให้ทำตามท่าน เมื่อเรานมาซอัศริเสร็จแล้ว ข้าพเจ้าได้ยินผู้คนเข้ามาซักถามท่าน ข้าพเจ้าซึ่งยังนั่งอยู่ข้างหลังท่าน จึงได้ยินคำถามและคำตอบพอสมควร นอกจากบางคำที่พูดกันเบามาก ข้าพเจ้ารู้สึกเกรงต่อท่านอย่างยิ่ง หลังจากนั้น ท่านก็นำข้าพเจ้าไปยังบ้านของท่านเพื่อรับประทานอาหารกลางวัน

วันนั้น ข้าพเจ้าพบว่าตัวเองเป็นแขกที่มีเกียรติมาก ข้าพเจ้าถือเอาโอกาสนั้นเรียนถามท่านถึงเรื่องการรวมนมาซทั้งสอง

ท่านซัยยิดมุฮัมมัด บาเก็ร อัศ-ศ็อดร์ กล่าวว่า

เรามีรายงานมากมายจากสายอิมามผู้ชี้ทางนำ(อฺ) ว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ทำนมาซรวมกันคือหมายถึงนมาซดุฮฺริ และอัศริรวมกัน เช่นเดียวกันนมาซมัฆริบและอิชาอฺรวมกัน โดยไม่มีความน่ากลัวใดๆ ไม่ใช่เวลาเดินทาง หากแต่ท่านกระทำเพื่อยกภาระอุปสรรคไปจากอุมมะฮฺของท่าน

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นอุปสรรค เมื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า

“พระองค์ไม่ทรงกระทำสิ่งใดๆ แก่พวกสูเจ้าในศาสนาจากเรื่องที่เป็นอุปสรรค”

ท่านกล่าวว่า “เมื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง ทรงรู้ว่าในยุคสุดท้าย จะปรากฏในยุคต่อไปคือที่เราเรียกกันหมู่พวกเราว่าพนักงาน เจ้าหน้าที่ราชการ หน่วยรักษาความปลอดภัย ทหาร ตำรวจ คนทำงานเอกชน และองค์กรต่างๆ จนกระทั่งครู นักเรียน ทุกหมู่เหล่านั้น จะลำบากกับศาสนาของพวกเขา ถ้าหากทรงวางภาระให้ดำรงนมาซห้าครั้งในห้าเวลาที่แยกเป็นช่วงๆ

ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) จึงนมาซฟัรฎูสองอย่างในเวลาเดียวกัน เพื่อให้นมาซมีสามช่วงเวลา ซึ่งอันนี้จะอำนวยความสะดวกแก่มวลมุสลิม และไม่มีอุปสรรคใดๆ ในการทำเช่นนี้”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “แต่ซุนนะฮฺนบี(ศ)จะยกเลิกอัล-กุรอานไม่ได้”

ท่านตอบว่า “ข้าพเจ้ายังไม่ได้พูดเลยว่าซุนนะฮฺยกเลิก อัล-กุร อานได้ แต่ซุนนะฮฺอธิบายอัล-กุรอาน และให้ความกระจ่างในสิ่งที่เราเป็นปัญหากันอยู่”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ก็องค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า

“แท้จริงการนมาซ ได้ถูกกำหนดมาแก่บรรดาผู้ศรัทธาตามเวลาที่วางไว้”

เป็นที่รู้กันในซุนนะฮฺว่าญิบรีล(อฺ) ได้มาหาท่านนบี(ศ) และนมาซกับท่าน 5 ครั้งในวันกับคืนหนึ่ง และให้ชื่อนมาซนั้นๆ ว่าดุฮฺริ อัศริ มัฆริบ อิชาอฺ และศุบฮฺ”

ท่านกล่าวว่า “จากโองการที่ว่า “แท้จริงการนมาซ ได้ถูกกำหนดมาแก่บรรดาผู้ศรัทธาตามเวลาที่ถูกวางไว้” นั้น ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้อธิบายไว้ทั้งวิธีแยกช่วงเวลา และทำรวมกันระหว่างฟัรฎูทั้งสอง ดังนั้นโองการนั้นแสดงให้เห็นว่า การแยกเวลานมาซออกเป็นห้าเวลา หรือรวมมันเข้ามาเป็นสามเวลา ก็คือเวลาที่ถูกต้อง ตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงพอพระทัยแล้ว”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “โอ้ ท่านซัยยิดของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจ ทำไมอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า “กำหนดตามเวลาที่วางไว้” ถ้าเป็นเช่นนั้น ?”

ท่านตอบข้าพเจ้าด้วยอาการยิ้มแย้มว่า “ท่านเชื่อว่าบรรดามุสลิมในเวลาทำพิธีฮัจญ์ มิได้นมาซในเวลาของมันใช่ไหม และว่าพวกเขาขัดขืนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ใช่ไหม เมื่อพวกเขาชุมนุมกันที่อะเราะฟะฮฺ เพื่อทำนมาซดุฮฺริกับอัศริรวมกัน และที่มุซดะลีฟะฮฺ โดยนมาซมัฆริบและอิชาอฺรวมกัน และนี่คือการทำตามสิ่งที่ท่านศาสนทูต(ศ)ได้กระทำ”

ข้าพเจ้าคิดอยู่เล็กน้อย แล้วกล่าวว่า “ที่เป็นอย่างนั้น ก็เพราะบางทีอาจเป็นอุปสรรค ในขณะที่คนทำฮัจญ์ต้องเหนื่อยเพลีย ดังนั้นอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จึงประสงค์ที่จะผ่อนผันให้พวกเขา”

ท่านกล่าวว่า “นี่ก็เช่นเดียวกัน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงประสงค์ที่จะยกภาระอันเป็นอุปสรรค ออกจากคนรุ่นหลังในหมู่ประชาชาติของมุฮัมมัด(ศ) เพื่อศาสนาจะได้เป็นเรื่องสะดวกแก่พวกเขา”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “โอ้ ซัยยิดของข้าพเจ้า ขอกลับไปที่คำพูดของท่านเถิด ที่ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีวะฮฺยูแก่นบี(ศ)ของพระองค์ว่า ให้นมาซกับพวกเขาสองฟัรฎูรวมกัน เพื่อนมาซมีสามเวลา แทนที่จะเป็นห้าเวลา ในโองการใดบ้างที่กล่าวอย่างนี้ ?”

ท่านตอบทันทีทันใดเลยว่า “และในโองการอะไรที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)สั่งให้รวมนมาซสองฟัรฎูที่อะเราะฟะฮฺ และที่มุซดะลีฟะฮฺ ? และโองการไหนที่กล่าวถึงเรื่องห้าเวลา ?”

ข้าพเจ้านิ่งเงียบ และมิได้แสดงความเห็นใดๆออกมา ข้าพเจ้ายอมรับคำตอบของท่านก็ตรงนี้

ท่านได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “มิใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่าง อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มีวะฮฺยูลงมายังท่านนบี(ศ)ของพระองค์จำเป็นจะต้องเป็นอัล-กุรอาน ดังโองการที่ว่า

“จงกล่าวเถิด มาตรว่า ทะเลเป็นน้ำหมึกสำหรับพจนารถของพระผู้อภิบาลของฉัน ทะเลจะเดือดแห้งก่อนที่พจนารถของพระผู้อภิบาลของฉันจะแห้ง และถึงแม้ว่าเราจะนำน้ำหมึกปริมาณเท่านั้นมาเติมอีกก็ตาม” (อัล-กะฮฺฟุ / 109 )

อันที่จริงแล้ว ทุกเรื่องที่เราให้ชื่อเรียกว่าซุนนะฮฺนบี(ศ) นั้นเป็นเพียงวะฮฺยูของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทั้งสิ้น แก่นบีของพระองค์(ศ) ด้วยเหตุนี้ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า

“อันใดก็ตามที่ศาสนทูตนำมา ดังนั้นพวกสูเจ้าก็จงรับมันไว้และอันใดที่เขาห้ามพวกสูเจ้าก็จงหยุดยั้ง” (อัล-ฮัชรฺ/ 7 )

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ศ่อฮะบะฮฺ ไม่มีสิทธิที่จะขัดขืนท่านนบี(ศ) เมื่อท่านออกคำสั่งแก่พวกเขา หรือห้ามพวกเขา โดยการที่จะขอดูหลักฐานจากถ้อยคำของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ต่อท่าน อันที่จริง พวกเขามีเพียงต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ และคำห้ามของพระองค์ โดยถือว่า ทุกอย่างที่ออกมาจากท่านเป็นวะฮฺยูของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

ท่านซัยยิด มุฮัมมัด อัศ-ศ็อดร์ ทำให้ข้าพเจ้ายอมรับตามที่ท่านได้อธิบายออกมา และข้าพเจ้ายังโง่เขลาต่อความจริงเหล่านี้ จึงกล่าวต่อไปเพื่อขอความเข้าใจในเรื่องทำนมาซทั้งสองรวมกัน

“โอ้ ท่านซัยยิดของข้าพเจ้า สำหรับมุสลิมสามารถจะทำนมาซรวมกันสองฟัรฎูในเวลาที่มีความจำเป็นใช่ไหม ?”

ท่านกล่าวว่า “สามารถที่จะทำนมาซสองฟัรฎู รวมกันได้ทุกๆ โอกาสโดยไม่มีความจำเป็นใดๆ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “แล้วท่านมีหลักฐานอย่างไรบ้าง ?”

ท่านกล่าวว่า “เพราะท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ทำนมาซสองฟัรฎูรวมกันในเมืองมะดีนะฮฺโดยที่มิได้เดินทาง ไม่มีสิ่งน่ากลัวใดๆ และไม่มีฝนตก และไม่มีอะไรเป็นเรื่องเร่งด่วน มีเพียงอย่างเดียวคือขจัดปัญหาอุปสรรคให้พ้นไปจากเรา นี่คือสิ่งที่ต้องสรรเสริญต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ซึ่งเป็นหลักฐานอันมั่นคงจากพวกเรา โดยสายรายงานจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) และยืนยันจากพวกท่านเองอีกด้วย”

ข้าพเจ้าแปลกใจมาก เป็นไปได้อย่างไร ที่ว่ามีการยืนยันจากฝ่ายเราในเมื่อข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินมาก่อนวันนี้เลย และไม่เคยเห็นใครในหมู่อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ สักคนเดียวที่ทำอย่างนั้น หากตรงกันข้ามพวกเขากล่าวว่า นมาซนั้นโมฆะ ถ้าหากกระทำขึ้นแม้เพียงนาทีเดียวก่อนอะซาน จะเป็นอย่างไรสำหรับคนที่ทำนมาซอัศริก่อนตั้งหลายชั่วโมง พร้อมกับดุฮฺริ หรือนมาซอิชาอฺพร้อมกับมัฆริบ อันนี้ พวกเราถือว่า ต้องปฏิเสธและเป็นโมฆะ

ท่านซัยยิด มุฮัมมัด บาเก็ร เข้าใจในอาการงุนงงของข้าพเจ้า และการแสดงความประหลาดใจ ท่านกระซิบคนที่นั่งอยู่ด้วยบางท่าน แล้วเขาก็ลุกไปอย่างรวดเร็ว และได้นำหนังสือสองเล่มมาด้วย ข้าพเจ้ารู้เลยว่ามันเป็นหนังสือศ่อฮีฮฺบุคอรี และศ่อฮีฮฺมุสลิม ท่านซัยยิดอัศ-ศ็อดรฺ มอบหมายให้นักศึกษาผู้นั้นเปิดให้ข้าพเจ้าดูฮะดีษต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำนมาซสองฟัรฎูรวมกัน

ข้าพเจ้าอ่านด้วยตัวเองในหนังสือศ่อฮีฮฺบุคอรีถึงวิธีการทำนมาซรวมที่ท่านนบี(ศ)รวมฟัฎูดุฮฺริกับอัศริ และเช่นกัน สำหรับนมาซมัฆริบกับอิชาอฺเหมือนกันกับที่ข้าพเจ้าอ่านในศ่อฮีฮฺมุสลิมหนึ่งบทโดยสมบูรณ์ ในเรื่องการรวมระหว่างสองนมาซเมื่ออยู่ในถิ่นพำนัก โดยไม่มีเหตุอันน่ากลัว และไม่มีฝนและมิได้เดินทาง

ข้าพเจ้ามิอาจซ่อนความรู้สึกแปลกใจ และตื่นตะลึงได้ จะมีบ้างก็คือความสงสัยในใจว่า บุคอรี และมุสลิมสองเล่มที่พวกเขามีอยู่นี้ ถูกปลอมแปลงขึ้นมา และข้าพเจ้าก็เก็บความรู้สึกว่าค่อยกลับไปเปิดหนังสือสองเล่มนี้ที่ตูนีเซีย

ท่านซัยยิด มุฮัมมัด บาเก็ร อัศ-ศ็อดรฺ ถามข้าพเจ้าถึงความเห็นหลังจากได้ดูหลักฐานนี้แล้ว

ข้าพเจ้าตอบว่า “ท่านทั้งหลายอยู่กับสัจธรรม และพวกท่านเป็นผู้มีความสัตย์ในสิ่งที่พวกท่านกล่าว แต่ขออนุญาตให้ข้าพเจ้าถามท่านสักคำถามหนึ่งเถิด ?”

ท่านตอบว่า “เชิญเลย”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “อนุญาตให้ทำนมาซรวมกันระหว่างนมาซทั้งสี่เหมือนอย่างที่พวกเราส่วนมากทำกันเมื่อเวลากลับมาถึงบ้านกลางคืน คือพวกเขาจะนมาซดุฮฺริ อัศริ มัฆริบ อิชาอฺ ชดเชย”

ท่านกล่าวว่า “อันนี้ไม่อนุญาต นอกจากด้วยความจำเป็นจริงๆ เพราะความเดือดร้อน ถือว่ามีหลักการอนุโลมได้ในยามขับขัน เพราะการนมาซถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ศรัทธาตามเวลาที่วางไว้”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “ท่านบอกข้าพเจ้ามาก่อนว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้ทำทั้งแยกเวลา และรวมด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าก็เข้าใจว่าเวลาของนมาซต่างๆนั้น เป็นที่พอพระทัยของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

ท่านกล่าวว่า “แท้จริงฟัรฎูดุฮฺริ กับฟัรฎูอัศรินั้น มีเวลาร่วมกัน โดยนับเริ่มแต่ตอนดวงอาทิตย์คล้อยจนดวงอาทิตย์ตก และฟัรฎูมัฆริบ กับฟัรฎูอิชาอฺ นั้นก็เช่นกัน คือมีเวลาร่วมกัน และนับเริ่มจากดวงอาทิตย์ตกจนถึงเที่ยงคืนสำหรับนมาซศุบฮฺนั้นมีเวลาเดียวคือ นับเริ่มจากตอนแสงอรุณจริงปรากฏจนถึงตอนที่ดวงอาทิตย์ขึ้น ดังนั้น ผู้ใดที่ทำแตกต่างจากเวลานี้ ถือว่าขัดแย้งกับโองการอันทรงเกียรติที่ว่า

“แท้จริงการนมาซได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ศรัทธาตามเวลาที่ถูกวางไว้”

กล่าวคือ เราไม่สามารถนมาซศุบฮฺก่อนแสงอรุณจริงปรากฏได้ ไม่สามารถจะทำหลังดวงอาทิตย์ขึ้นได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่อนุญาตให้เรานมาซดุฮฺริและอัศริก่อนตะวันคล้อย หรือหลังดวงอาทิตย์ตกดินแล้ว เช่นเดียวกับที่ไม่อนุญาตให้เรานมาซฟัรฎูมัฆริบ อิชาอฺก่อนมัฆริบ และหลังเที่ยงคืนแล้ว”






๒๔
ขออยู่กับผู้สัจจริง

ข้าพเจ้าขอบพระคุณท่านซัยยิดบาเก็ร อัศ-ศ็อดรฺ และถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะยอมรับตลอดทุกอย่างแล้ว แต่ข้าพเจ้าก็ยังไม่ทำนมาซฟัรฎูทั้งสองรวมกันเลย หลังจากที่อำลาจากท่านมาแล้วก็ตาม แต่เมื่อข้าพเจ้ามาถึงตูนีเซีย ข้าพเจ้าก็ตกลงใจทำตามคำอธิบายและยอมรับในแนวทาง

นี่คือเรื่องราวของข้าพเจ้ากับท่านชะฮีด อัศ-ศ็อดรฺ(ขออัลลอฮฺทรงประทานความเมตตาแด่ท่าน)ในหัวข้อการสนทนาเรื่องการนมาซรวม ข้าพเจ้าเล่าขึ้นตรงนี้ ก็เพื่อให้ท่านพี่น้องอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺของข้าพเจ้าจะได้เห็นอย่างชัดเจนว่า

1. จริยธรรมของนักปราชญ์ศาสนาเป็นอย่างไรบ้าง พวกเขาวางตัวอย่างสุภาพ ถ่อมตน กระทั่งพวกเขาเป็นผู้มีสิทธิในตำแหน่งทายาทของบรรดานบีทั้งในด้านวิชาการและจริยธรรม

2. เป็นไปได้อย่างไรที่เราโง่ ไม่รู้เรื่องที่มีในตำราศ่อฮีฮฺของเราเอง และเรากำลังประณามต่อหลายสิ่งหลายประการที่เราเชื่อถือในความถูกต้องของมันเพราะว่ามันคือซุนนะฮฺของท่านนบี(ศ)ที่เที่ยงแท้จริงๆ ประการต่อมาก็คือเราหมิ่นประมาท ลบหลู่ดูแคลน ในสิ่งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กระทำ แต่ในเวลาเดียวกันนั้น เราก็อ้างตนเองว่าเป็นอะฮฺลิซซุนนะฮฺ

ขอย้อนกลับมาเข้าเรื่องต่อไป ดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไปแล้วว่า เมื่อเราจะตั้งข้อกล่าวหาใดๆ กับคำสอนของชีอะฮฺ นั้น เราต้องศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เพราะว่าพวกเขาจะอ้างหลักฐานในทุกๆ เรื่อง กลับไปหาบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) บางทีบรรดาอิมามเหล่านั้น ปลอดพ้นจากข้อกล่าวหานั้นๆ ก็ได้ นอกจากนั้นแล้ว เราจะสุดความสามารถเสียเองในการตั้งข้อสงสัยกับตำราศ่อฮีฮฺของเราเองที่เรายึดถืออยู่ด้วยตัวเราเอง ถ้าเราสังสัยในเรื่องใดๆ เข้า ซึ่งข้าพเจ้าเองก็ไม่รู้ว่า อะไรบ้างจากศาสนาที่หลงเหลืออยู่กับเรา ?

นักวิเคราะห์ที่แท้จริงจะต้องมีความเป็นธรรม และมุ่งที่จะให้การวิเคราะห์ของตนเป็นไปเพื่อองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความพึงพอพระทัยของพระองค์เท่านั้น บางทีพระองค์จะทรงนำทางเขาสู่หนทางอันเที่ยงตรง จะทรงอภัยโทษแก่ความบาปของเขา และจะทรงนำเขาเข้าสวนสวรรค์อันบรมสุข

หน้าที่ของท่านขณะนี้ ก็คือศึกษารายงานที่ท่านนักปราชญ์ในสายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺบันทึกไว้ ในเรื่องการนำนมาซรวม สองฟัรฎูในเวลาเดียวกัน จนกระทั่งท่านจะหมดความสงสัยที่ว่ามันมิใช่เรื่องบิดอะฮฺของพวกชีอะฮฺเลย

อิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล ได้บันทึกไว้ในหนังสือมุซนัดของท่าน(279) จากรายงานของอิบนุอับบาซว่า ท่านได้นมาซกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในเมืองมะดีนะฮฺ โดยเป็นผู้พำนักอยู่กับที่ไม่เดินทางแต่อย่างใด ซึ่งนมาซเจ็ดกับแปด (เจ็ดหมายถึงมัฆริบกับอิชาอฺรวมกัน แปดหมายถึงดุฮฺริกับอัศริรวมกัน)

อิมามมาลิก รายงานไว้ในหนังสือ “อัล-มุวัฏเฏาะ”(280) จากรายงานของอับบาซว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้นมาซดุฮฺริและอัศริรวมกัน และมัฆริบกับอิชาอฺรวมกัน โดยไม่ใช่เพราะมีความกลัว และมิใช่เดินทางแต่อย่างใด

อิมามมุสลิมรายงานไว้ในศ่อฮีฮฺของท่าน(281) บทว่าด้วยการรวมระหว่างสองนมาซในยามพำนักที่ภูมิลำเนาว่า จากท่านอิบนุอับบาซ กล่าวว่า : ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ทำนมาซดุฮฺริและอัศริรวมกัน และนมาซมัฆริบกับอิชาอฺร่วมกัน โดยปราศจากเพราะความกลัวใดๆ และมิใช่เดินทาง

เช่นเดียวกัน ท่านอิบนุอับบาซยังได้รายงานอีกว่า : ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้รวมดุอฺริกับอัศริ และรวมมัฆริบกับอิชาอฺ ที่เมืองมะดีนะฮฺ โดยที่ไม่มีความกลัวใดๆ และมิใช่เพราะฝนตก

เขาได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้ถามอิบนุอับบาซว่า “ท่านทำเช่นนั้นทำไม ?”

ท่านกล่าวว่า “เพื่อประชาชาติของท่านจะไม่มีอุปสรรค” (282)

จากรายงานเหล่านี้แหละ ท่านผู้อ่านที่รัก จะเห็นว่า นี่คือซุนนะฮฺที่ยอมรับกันในหมู่ศ่อฮาบะฮฺ และพวกเขาก็ปฏิบัติกันอย่างนั้น ท่านมุสลิมได้รายงานไว้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่าน บทเดียวกันนั้นอีกเช่นกันว่า : อิบนุอับบาซได้ปราศรัยกับพวกเราในวันหนึ่งหลังจากนมาซอัศริ จนกระทั่งดวงอาทิตย์ตก ดวงดาวเริ่มปรากฏ มีประชาชนกล่าวขึ้นว่า อัศ-ศ่อลาฮฺๆ เขาได้กล่าวอีกว่า มีชายคนหนึ่งจากตระกูลตะมีมมาหาท่าน แล้วกล่าวว่า

“อัศ-ศ่อลาฮฺ ๆ”

ท่านอิบนุอับบาซกล่าวว่า “ท่านจะสอนซุนนะฮฺอะไรแก่ข้าพเจ้าหรือ” หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้เห็นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)รวมดุฮฺริกับอัศริ และรวมมัฆริบกับอิชาอฺ”

ในอีกริวายะฮฺหนึ่ง อิบนุอับบาซ กล่าวกับชายคนนั้นว่า

“เจ้าผู้ไม่มีมารดาเอ๋ย เจ้าจะสอนเรื่องนมาซแก่เรากระนั้นหรือ ในขณะที่เรานี้ เคยรวมระหว่างสองนมาซในสมัยที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)” (283)

อิมามบุคอรี ได้รายงานไว้ในศ่อฮีฮฺของท่าน (284) บทที่ว่าด้วยเรื่องเวลามัฆริบ ท่านกล่าวว่า : ท่านอาดัมได้เล่าเราว่า ชุอฺบะฮฺได้เล่าเราว่า อัมร์ บินดีนารได้เล่าเราว่า ฉันได้ยินท่านญาบีร บินซัยด์ รับรายงานจากอิบนุ อับบาซกล่าวว่า

“ท่านนบี(ศ)ได้นมาซเจ็ด(ร็อกกะอัต)รวมกัน และแปด(ร็อกกะอัต)รวมกัน”

ท่านบุคอรีได้รายงานไว้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่านเช่นกัน (285) ในบทที่ว่าด้วยเรื่องเวลาอัศริ ท่านกล่าวว่า ฉันได้ยินอะบูอุมามะฮฺ ได้กล่าวว่า : พวกเราได้นมาซกับท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีซ ในเวลาดุฮฺริ หลังจากนั้นเราก็ได้ออกไป จนกระทั่งเราได้เข้ามาพบกับท่านอะนัซ บินมาลิก แล้วเราก็ได้พบว่าเขานมาซอัศริอยู่

ฉันได้กล่าวว่า “โอ้ลุง นมาซที่ท่านได้นมาซอยู่นี้เป็นนมาซอะไร”

ท่านตอบว่า “อัศริและนี่คือนมาซของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ที่เราได้เคยทำนมาซกับท่าน”

หลังจากที่ได้แสดงหลักฐานฮะดีษต่างๆ ที่ถูกต้องจากทัศนะของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺแล้ว เราฉุกคิดขึ้นมาเล็กน้อย เพราะเราได้ไต่ถามกันอยู่ตลอดมาว่า ทำไมอะฮฺลิซซุนนะฮฺ จึงประณามต่อชีอะฮฺ ?

อีกเช่นเคยที่ข้าพเจ้าจะขอกล่าวว่า พวกเขาพูดในสิ่งที่พวกเขาไม่กระทำ และพวกเขาสบประมาทในสิ่งที่พวกเขาเชื่อถือกันว่าถูกต้อง

ท่านอิมามในเมืองฟักเซาะฮฺ ได้ยืนขึ้นต่อหน้าพวกเราเพื่อด่าว่าเราและประจานเราท่ามกลางผู้นมาซว่า

“พวกท่านเห็นแล้วใช่ไหม นี่คือศาสนาที่พวกเขาเหล่านั้นนำมาใหม่ แท้จริงพวกเขาจะลุกขึ้นนมาซอัศริ หลังจากนมาซดุฮฺริแล้ว อันนี้คือศาสนาใหม่ มิใช่เป็นศาสนาของมุฮัมมัด(ศ)ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)พวกเขาขัดแย้งกับอัล-กุรอานที่ได้กล่าวว่า

“แท้จริง การนมาซได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ศรัทธาตามเวลาที่ได้วางไว้”

แล้วท่านก็ได้ปล่อยคำสบประมาทต่างๆ แก่ผู้เข้าสู่แนวทางชีอะฮฺ อย่างหมดเปลือก ไม่เหลืออะไรไว้เลย

มีบุคคลหนึ่งที่เพิ่งเข้ารับแนวทางมาพบกับข้าพเจ้า เขาเป็นคนหนุ่มที่มีวิชาการอยู่ในระดับสูง เขาได้เล่าให้ข้าพเจ้ารับทราบถึงเรื่องราวที่อิมามได้กล่าวซึ่งล้วนแต่ยังความเจ็บปวดและขมขื่น ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้ฝากหนังสือศ่อฮีฮฺบุคอรี และศ่อฮีฮฺมุสลิมให้เขาพาไปมอบแก่ท่านอิมาม เพื่อที่จะได้พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าการทำนมาซรวมนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นซุนนะฮฺหนึ่งของท่านนบี(ศ) เนื่องจากข้าพเจ้าไม่ต้องการจะโต้เถียงกับเขา กล่าวคือเมื่อก่อนนี้ข้าพเจ้าได้เคยโต้แย้งกับเขาด้วยวิธีการที่ดียิ่ง แต่เขากลับมอบการดูหมิ่นเหยียดหยามด่าประณาม และตั้งข้อหาอย่างผิดๆ

จุดสำคัญก็คือว่า เพื่อนของข้าพเจ้าคนนี้ยังทำนมาซตามหลังเขาอยู่ ครั้นหลังจากเสร็จนมาซ ท่านอิมามก็จะนั่งสอนตามปกติ เพื่อนของข้าพเจ้าก็ได้เสนอคำถามเกี่ยวกับเรื่องการทำนมาซฟัรฎูทั้งสองรวมกัน

เขาได้ตอบว่า “มันเป็นเรื่องอุตริขึ้นมาของพวกชีอะฮฺ”

เพื่อนของข้าพเจ้าพูดกับเขาว่า “แต่มันมีปรากฏอยู่ในหนังสือ ศ่อฮีฮฺ บุคอรี และมุสลิม”

เขากล่าวว่า “ไม่จริง”

เมื่อนั้นเองเพื่อนของข้าพเจ้าก็ได้นำหนังสือศ่อฮีฮฺบุคอรี และศ่อฮีฮฺมุสลิมออกมามอบให้แก่เขา แล้วเขาก็ได้อ่านในบทที่ว่าด้วยการทำรวมระหว่างนมาซทั้งสอง เพื่อนของข้าพเจ้ากล่าวว่า ครั้นพอเขาได้เผชิญกับความจริงต่อหน้าบรรดาผู้นมาซที่มาฟังบทเรียนของเขาแล้ว เขาก็ปิดหนังสือทันที แล้วยื่นกลับมาให้แก่ข้าพเจ้าทั้งสองเล่ม

เขากล่าวว่า “นี่มันเป็นงานเฉพาะของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เท่านั้น เอาไว้ให้เธอได้เป็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เสียก่อนแล้วเธอจึงสามารถที่จะนำนมาซอย่างนั้นได้”

เพื่อนของข้าพเจ้าคนนี้กล่าวว่า “ฉันได้รู้แล้วว่าท่านเป็นคนโง่เขลาที่มีความคิดถือฝักฝ่ายอย่างมีอคติ ฉันขอสาบานว่า ตั้งแต่วันนี้ไปจะไม่ยอมนมาซตามหลังท่านอีก”

โปรดตรองดูให้ดีเถิดท่านผู้อ่านทั้งหลาย นี่คือการถือฝักฝ่ายอย่างมีอคติจนหน้ามืดตามัว จนหัวใจถูกใส่สลักแบบปิดตาย ดังนั้นเขาจึงถูกปิดกั้นมิให้มองเห็นสัจธรรม ทำให้นึกถึงนิทานเรื่องหนึ่งของพวกเรา ซึ่งมีชื่อว่า “กวางก็บินได้”(286)

ข้าพเจ้าขอร้องให้เพื่อนของข้าพเจ้ากลับไปหาเขาอีกที เพื่อที่จะให้บทเรียนแก่เขาว่า ท่านอิบนุอับบาซ ก็เคยทำนมาซนั้น และเช่นเดียวกัน ท่านอะนัซ บินมาลิก และบรรดาศ่อฮาบะฮฺจำนวนมากก็เช่นเดียวกันด้วย แล้วทำไมเขาจึงให้ความหมายว่านมาซนี้ทำได้ก็เฉพาะแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)เท่านั้น ในตัวของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มิได้เป็นแบบอย่างที่ดีเลิศสำหรับพวกเรากระนั้นหรือ ? แต่เพื่อนของข้าพเจ้าได้ออกตัวต่อข้าพเจ้าว่า

“อย่าเรียกร้องให้ข้าพเจ้าทำอย่างนี้เลย เพราะถึงอย่างไรเขาก็ไม่ยอมรับหรอก ต่อให้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มาบอกเขาด้วยตัวของท่านเองก็ตาม”

มันเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ทว่ามันก็เป็นไปแล้ว และเป็นความจริงที่ปรากฏให้สัมผัสอย่างชัดเจนอยู่เสมอๆ สำหรับคนประเภทนั้น ซึ่งคัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ให้เหตุผลในเรื่องนี้ไว้ว่า

“ดังนั้นแท้จริงเจ้าไม่สามารถจะทำให้คนตายได้ยินดอก และเจ้าไม่สามารถจะทำให้คนหูหนวกได้ยินเสียงเรียกได้เลย เมื่อนั้น พวกเขาก็ได้ผินหลังกลับ และเจ้าไม่มีหน้าที่ชี้นำคนตาบอดให้ออกจากความหลงผิดของพวกเขา เพียงแต่เจ้าสามารถจะทำให้ได้ยินได้ก็คือ ผู้ศรัทธาต่อโองการทั้งหลายของเรา เพราะพวกเขาเป็นผู้สวามิภักดิ์” (อัร-รูม / 53 )

มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ หลังจากที่คนหนุ่มจำนวนมากได้รู้ความจริงเหล่านี้ นั่นคือการทำรวมกันระหว่างนมาซทั้งสอง พวกเขาส่วนใหญ่ก็ได้หันกลับมานมาซ หลังจากที่เคยละทิ้งไปนาน เพราะว่าพวกเขาตั้งใจว่า นมาซต่างๆที่ขาดไปในเวลาของมันนั้น พวกเขาค่อยกลับมาทำรวมกันคราวเดียวทั้งสี่นมาซในยามกลางคืน เพื่อความอบอุ่นในหัวใจของพวกเขา

เขาเหล่านั้นเข้าถึงฮิกมะฮฺ(วิทยปัญญา) ในเรื่องการทำนมาซสองฟัรฎูรวมกัน เพราะว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำงานราชการและนักศึกษา ตลอดถึงประชาชนทั่วไปก็สามารถจะทำการนมาซในเวลาของมันได้โดยที่พวกเขามีความสงบมั่นทางจิตใจ และพวกเขาได้เข้าใจในคำสอนของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ที่ว่า

“เพื่อประชาชาติของฉันจะได้ไม่มีอุปสรรค”



การซุญูดบนดิน
นักปราชญ์ชีอะฮฺมีความเชื่อถืออย่างเป็นเอกฉันท์ว่า การซุญูดบนดินมีความประเสริฐอย่างยิ่ง ทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาได้รับรายงานมาจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ว่า เป็นคำสอนของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ปู่ทวดของพวกเขาว่า การซุญูดบนดินนั้นมีความประเสริฐที่สุดและในริวายะฮฺอื่นก็ยังมี อีกว่า

“ไม่อนุญาตให้ซุญูด นอกจากบนดินเท่านั้น หรือบนสิ่งที่งอกเงยขึ้นมาจากดิน อันมิใช่สิ่งที่นำมารับประทาน และมิใช่สิ่งที่นำมาเพื่อสวมใส่”

เจ้าของหนังสือ “วะซาอิล ชีอะฮฺ” ได้รายงานจากมุฮัมมัด บิน อะลี บินฮุเซน(อฺ) ด้วยสายสืบจากท่านฮิชาม บินฮะกัม จากท่านอะบูอับดุลลอฮฺ(อฺ)กล่าวว่า

“การซุญูดบนดินนั้นประเสริฐที่สุด เพราะว่ามันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความนอบน้อมอย่างลึกซึ้ง และเป็นการถ่อมตัวแด่องค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

อีกริวายะฮฺหนึ่งรายงานจากท่านมุฮัมมัด บินฮะซัน โดยสายสืบจากท่านอิซฮาก บินฟัฎล์ว่า แท้จริงท่านได้ถามอะบูอับดุลลอฮฺ(อฺ) เกี่ยวกับการซุญูดบนเสื่อกก

ท่านตอบว่า “ไม่เป็นไร แต่ถ้าได้ซุญูดบนดินแล้วฉันชอบที่สุด เพราะท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ชอบในสิ่งนี้ ที่จะให้หน้าผากของท่านนบี(ศ)มีโอกาสได้สัมผัสกับดิน ซึ่งฉันเองก็ชอบที่จะให้ได้แก่ท่านในสิ่งเดียวกับที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ชอบ”

ส่วนบรรดานักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺนั้น ไม่ได้มีความเห็นว่าผิดแต่ประการใดกับการซุญูดบนผ้าไหมและผ้าพรม ถึงแม้ว่าตามทัศนะของพวกเขานั้นที่ประเสริฐที่สุดก็คือเสื่อกก ได้มีรายงานริวายะฮฺส่วนหนึ่ง ซึ่งท่านบุคอรี และมุสลิมได้นำมาบันทึกไว้ในศ่อฮีฮฺของท่านทั้งสอง โดยยืนยันว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) มีเครื่องใช้อย่างหนึ่ง(ค็อมเราะฮฺ) ที่ถูกสานมาจากกิ่งอินทผลัมและดินชื้น ท่านจะซุญูดลงไปบนนั้น

ท่านมุสลิมได้รายงานไว้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่าน กิตาบว่าด้วย “เฮฎ” (ระดู) จากรายงานของยะฮฺยา บินยะฮฺยา และอะบูบักรฺ บินอะบีชัยบะฮฺ จากอะบูมุอาวิยะฮฺ จากอัล-อะมัซ จากซาบิต บินอะบีด จากกอซิม บินมุฮัมมัด จากอาอิชะฮฺได้กล่าวว่า :

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้กล่าวกับข้าพเจ้า “จงนำค็อมเราะฮฺ จากมัสญิดให้แก่ฉันเถิด”

นางกล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้ตอบท่านว่า “แท้จริงข้าพเจ้ามีระดูอยู่”

ท่านกล่าวว่า “แท้จริงระดูของเธอมิได้อยู่ในเมือของเธอ”(287)

(ท่านมุสลิมได้กล่าวว่า “ค็อมเราะฮฺ” หมายถึง ซัจญดะฮฺที่รองซุญูดขนาดเล็ก ประมาณได้เท่ากับส่วนที่ซุญูดลงไป)

นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เราเห็นว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ชอบซุญูดบนดิน นั่นคือรายงานที่ท่านบุคอรี ได้บันทึกไว้ในหนังสือศ่อฮีฮฺของท่าน จากอะบีซะอีด อัล-คุดรี(ร.ฎ.)ว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้อิอ์ติกาฟ (บำเพ็ญตนอยู่ในมัสญิด) ในสิบคืนตอนกลางของเดือนรอมฎอน แล้วท่านก็อยู่ประจำไปจนกระทั่งถึงคืนที่ 21 นั่นคือที่ท่านจะออกมาจากการอิอ์ติกาฟ

ท่านได้กล่าวว่า “คนใดที่อิอ์ติกาฟกับฉัน ก็ให้อยู่อิอ์ติกาฟในสิบคืนหลังต่อไป เพราะในคืนนี้ข้าพเจ้าได้ฝันไป แต่แล้วมันก็เลือนรางไปจากฉันเสียและแท้จริง ฉันได้ฝันว่าฉันได้ซุญูดในน้ำและดินชื้น ดังนั้นพวกท่านจงถือปฏิบัติในสิบคืนหลัง และจงถือปฏิบัติในทุกนมาซวิตร์ ครั้นแล้วฝนก็ได้ตกลงมาในคืนนั้น และมัสญิดอยู่บนที่ลุ่ม น้ำจึงไหลซึมเข้าไปในมัสญิด ข้าพเจ้าได้เห็นด้วยสองตาของข้าพเจ้ายังท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ที่บนหน้าผากของท่านนั้นมีรอยน้ำและดินชื้นในตอนเช้าวันที่ 21”(288)

ส่วนหนึ่งที่แสดงให้เราเห็นว่า ศ่อฮาบะฮฺก็นิยมซุญูดบนดินอีกด้วยเช่นกัน และนี้ก็เพราะได้อยู่ร่วมกับท่านนบี(ศ) รายงานที่บันทึกโดยอิมามนะซาอี ในซุนันของท่าน บทที่ว่าด้วยเรื่องการทำให้กรวดทรายเย็นเสียก่อนเพื่อซุญูดลงไปบนนั้น ท่านกล่าวว่า : ท่านกุตัยบะฮฺ ได้เล่าเราว่า ท่านอิบาดได้เล่าเราว่า ท่านมุฮัมมัด บินอัมรฺ รายงานจากท่านซะอีด บินฮัรษฺได้รายงานจาก ญาบิร บินอับดุลลอฮฺว่า พวกเราได้นมาซกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ในเวลาศุบฮฺ

ดังนั้น ฉันได้กำกรวดทรายไว้ในกำมือเพื่อทำให้มันเย็น แล้วฉันก็ได้เปลี่ยนไปไว้ในกำมืออีกข้างหนึ่ง ครั้นเมื่อในเวลาฉันซุญูด ฉันก็ได้วางมันลงไปตรงที่หน้าผากของฉัน(289)

นอกเหนือไปจากนี้ก็คือ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้กล่าวไว้เองว่า

“แผ่นดินได้ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นสถานที่ซุญูดและทำความสะอาดสำหรับฉัน”(290)

ท่าน(ศ) ได้กล่าวอีกเช่นกันว่า

“แผ่นดินทั้งหมดได้ถูกสร้างมาเพื่อเป็นสถานที่ซุญูดสำหรับพวกเราและผิวดินของมันได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นที่ทำความสะอาดสำหรับเรา” (291)

บรรดาชาวมุสลิมยังจะดื้อด้านในการต่อต้านกับชีอะฮฺได้อย่างไร โดยสาเหตุที่ว่าพวกเขาซุญูดบนดิน แทนที่จะซุญูดบนผ้าไหม

เรื่องมันถึงขนาดที่จะต้องกล่าวหาว่าพวกเขาเป็นกาฟิร และประณามอีกทั้งปรักปรำพวกเขาด้วยถ้อยคำติฉินนินทาและใส่ร้ายได้อย่างไร ? ว่าพวกเขาเคารพภักดีรูปปั้น

คนเหล่านั้นจะโจมตีพวกเขาที่ประเทศซาอุดีฯได้อย่างไร โดยสาเหตุเพียงการมีดินอยู่ในกระเป๋าเสื้อ หรือในกระเป๋าเดินทางของพวกเขา

นี่หรืออิสลาม ที่สั่งให้เราให้เกียรติซึ่งกันและกัน และมิให้ดูหมิ่นเหยียดหยามมุสลิมที่ปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ(ศ) และได้ดำรงนมาซ ได้จ่ายซะกาต ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน อีกทั้งบำเพ็ญฮัจญ์

ผู้มีสติปัญญายังจะคาดคิดได้อีกหรือว่าคนเป็นชีอะฮฺที่ได้ทุ่มเทความเหนื่อยยาก และยอมขาดทุนด้วยประการต่างๆ ทั้งปวงเหล่านั้น อีกทั้งยังได้มาบำเพ็ญฮัจญ์ที่บัยตุลลอฮฺอันศักดิ์สิทธิ์ และได้ไปเยี่ยมเยือนสุสานของท่านนบี(ศ) แต่ในขณะเดียวกันเขาก็เคารพภักดีต่อก้อนหินเหมือนอย่างที่คนบางกลุ่มมองว่าเขาเป็นอย่างนั้นได้หรือ ? อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ยังไม่ยอมรับคำพูดของท่านชะฮีด มุฮัมมัด บาเก็ร อัศ-ศ็อดร์ อีกหรือ ซึ่งข้าพเจ้าได้นำมาถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มแรก (ในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้รับทางนำ) ไปแล้ว

เมื่อตอนที่ข้าพเจ้าได้ถามท่านในเรื่องดิน

ท่านตอบว่า “เราซุญูดต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)บนดิน มันมีความแตกต่างกันมากเลยทีเดียวระหว่างการซุญูดบนดินกับการซุญูดดิน”

และในเมื่อคนเป็นชีอะฮฺมีความละเอียดถี่ถ้วนในการที่จะให้ซุญูดของตนเป็นไปด้วยความสะอาด และถูกยอมรับจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) เขาจึงได้ปฏิบัติตามคำสั่งของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์จากอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยของเราปัจจุบันนี้ ทุกมัสญิดได้หันมานิยมใช้ผ้าพรมที่ทำมาจากใยไหมบ้าง ขนสัตว์บ้าง และในบางแห่งก็จะใช้สิ่งที่เรียกว่ากระเบื้องโมเสค นั่นคือ วัตถุที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันเลยว่า ผลิตมาจากชาวมุสลิม เพราะมันมิได้ถูกผลิตขึ้นในประเทศอิสลามแต่อย่างใดเลย

แต่ก็มีบางส่วนที่ใช้มันทำการซุญูด อันเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้ซุญูดลงไปเลย เรามีสิทธิกระนั้นหรือในการที่จะตำหนิติเตียนคนเป็นชีอะฮฺเหล่านี้ ที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเรื่องความถูกต้องของนมาซ และเราจะตั้งข้อกล่าวหาแก่เขาว่าเป็นผู้ปฏิเสธศาสนา ทำชิริก เพียงเห็นลักษณะอย่างผิวเผินเช่นนั้น ?

คนเป็นชีอะฮฺนั้นก็คือ ผู้ที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับกิจการในศาสนาของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซ ที่ถือว่าเป็นเสาหลักของศาสนา ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่าเขาจะถอดเข็มขัด ถอดนาฬิกาออก เพราะว่าในนั้นอาจจะมีหนังสัตว์ที่เขาไม่รู้ซึ้งถึงที่มาของมัน และในบางเวลาเขายังต้องถอดกางเกงที่ทำมาจากผ้าฝรั่งเศส แล้วนมาซด้วยการใช้กางเกงที่ทำมาจากผ้าด้ายธรรมดาๆ ทุกอย่างเหล่านี้ เป็นเรื่องของการใช้ความละเอียดถี่ถ้วน และการให้ความสำคัญกับหน้าที่อันยิ่งใหญ่ อันจะมีขึ้นเบื้องพระพักตร์แห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทั้งนี้ก็เพื่อเขาจะมิได้เข้าเฝ้าพระผู้อภิบาลด้วยสิ่งของใดๆ ที่พระองค์ทรงรังเกียจ

เมื่อเป็นเช่นนั้น เรามีสิทธิอันใดในการที่จะเยาะเย้ยถากถาง หรือว่าเขาควรที่จะได้รับสิทธิในการให้เกียรติและยกย่อง เพราะว่าเขาให้เกียรติต่อสัญลักษณ์ต่างๆ แห่งอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้ว ดังนั้นแท้จริง มันเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความตักวาให้เกิดขึ้นในหัวใน

โอ้ ปวงบ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺเถิด และจงพูดด้วยวาจาที่มีเหตุมีผล

“และมาตรแม้นมิใช่เป็นเพราะความโปรดปรานของอัลลอฮฺ และความเมตตาของพระองค์ที่ให้ไว้แก่สูเจ้าในโลกดุนยาและปรโลกแล้ว แน่นอน การลงทัณฑ์อันใหญ่หลวงจะได้สัมผัสเจ้าตามกรณีที่สูเจ้าได้ละเมิดในเรื่องนี้ ในขณะที่พวกสูเจ้าใช้ลิ้นของพวกสูเจ้าออกไป และพวกสูเจ้าก็พูดด้วยลมปากของสูเจ้าในสิ่งที่พวกสูเจ้าไม่มีความรู้ใดๆ เลย และสูเจ้าคิดว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สำหรับอัลลอฮฺ ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่หลวงนัก” (อัน-นูร / 14-15 )



อัร-ร็อจอะฮฺ : การคืนชีพ
ปัญหานี้เป็นเรื่องที่มีเพียงพวกชีอะฮฺเท่านั้น ที่มีคำสอนไว้ ข้าพเจ้าได้ค้นคว้าในตำราต่างๆ ของซุนนะฮฺ ก็ไม่พบร่องรอยการกล่าวถึงเรื่องนี้แต่อย่างใด นอกจากในความเชื่อบางประการของพวกศูฟีซึ่งเป็นความเชื่อถือที่ลึกลับประการหนึ่ง ที่ไม่ถือว่าคนใดไม่เชื่อ จะมีความศรัทธาไม่สมบูรณ์ หรือจะต้องมีข้อแม้ใดๆ สำหรับข้อนี้

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือว่า ไม่มีโทษและไม่มีคุณประโยชน์สำหรับความเชื่อถือ และการไม่เชื่อถือเรื่องนี้ อันที่จริงมันเป็นเพียงคำบอกเล่า และริวายะฮฺที่ชีอะฮฺได้รับริวายะฮฺมาจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์(อฺ)ว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงชุบชีวิตของผู้ศรัทธาบางคน และคนชั่วช้าบางคน เพื่อให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ชำระโทษต่อศัตรูของพวกเขา อันเป็นศัตรูของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ในโลกนี้ ก่อนจะถึงวันปรโลก

ถ้าหากรายงานบอกเล่านี้เป็นเรื่องจริง ซึ่งมันเป็นรายงานที่ศ่อฮีฮฺ และสอดคล้องตรงกันจากพวกชีอะฮฺ ก็ถือว่าไม่จำเป็นสำหรับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ และเราก็มิได้กล่าวว่า สำหรับพวกเขาจำเป็นจะต้องมีความเชื่อนี้ เพราะบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ได้เล่าเรื่องนี้ต่อมาจากปู่ทวดของพวกเขา คือศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เปล่าเลย แต่เป็นเพราะเรายึดหลักการว่า ตัวของเราจะต้องให้ความเป็นธรรมในการวิเคราะห์ และไม่มีการถือฝักฝ่ายอย่างอคติ

ดังนั้นเราจึงไม่ตั้งข้อผูกมัดใดๆ แก่พวกอะฮฺลิซซุนนะฮฺ นอกจากโดยหลักฐานที่พวกเขายืนยันอยู่แล้วด้วยตัวของพวกเขาเอง และที่เป็นรายงานในศ่อฮีฮฺของพวกเขาเท่านั้น

และเป็นเพราะว่าเรื่อง “ร็อจอะฮฺ” มิได้ถูกกล่าวไว้ในตำราของพวกเขา เป็นอันว่า พวกเขามีเสรีภาพที่จะไม่ยอมรับเรื่องนี้และปฏิเสธเรื่องนี้ได้ ในกรณีที่ถ้าหากชีอะฮฺคนหนึ่งคนใดต้องการจะบังคับให้พวกเขาเชื่อถือรายงานบอกเล่าเหล่านี้

ในส่วนของชีอะฮฺนั้น พวกเขามิได้บังคับใครว่าต้องพูดถึงเรื่อง “ร็อจอะฮฺ” และพวกเขาจะไม่พูดว่าคนๆ นั้น เป็นกาฟิร ด้วยการปฏิเสธเรื่องนี้ กล่าวคือ ไม่มีข้ออ้างใดๆ ที่จะมาประณามและกล่าวหาพวกชีอะฮฺ เพราะพวกเขากล่าวถึงเรื่อง “ร็อจอะฮฺ” โดยรายงานบอกเล่าที่ยืนยันอยู่ในหมู่พวกเขา และโดยการตัฟซีรบางโองการจากอัล-กุอาน เช่น โองการที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า

“และวันนั้นเราจะจัดชุมนุมคนหมู่หนึ่ง จากทุกประชาชาติจากส่วนหนึ่งของผู้ปฏิเสธต่อโองการทั้งหลายของเรา ดังนั้น พวกเขาจะถูกกระจายแยกย้ายไป” (อัน-นัมลิ / 83 )

ในตัฟซีร “อัล-กุมมี” บันทึกไว้ว่า มีรายงานจาก อิบนุอุมัยรฺ รายงานจาก ฮัมมาด จากท่าน อะบูอับดุลลอฮฺ(ญะอฺฟัร) อัศ-ศอดิก (อฺ) กล่าวว่า

“คนทั่วไปอธิบายโองการนี้ว่าอย่างไร ? (และวันนั้น เราจะจัดชุมนุมคนหมู่หนึ่งจากทุกประชาชาติ) ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า “พวกเขาอธิบายว่ามันเป็นเรื่องในวันกิยามะฮฺ”

ท่านกล่าวว่า “มิใช่อย่างที่พวกเขากล่าวหรอก แท้จริงมันเป็นเรื่องของการคืนชีพ(ร็อจอะฮฺ) ในวันกิยามะฮฺ อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะจัดชุมนาคนหมู่หนึ่งจากประชาชาติ แล้วปล่อยบรรดาพวกที่เหลือกระนั้นหรือ ? อันที่จริงวันกิยะมะฮฺนั้น คือโองการหนึ่งอีก ได้แก่

“และเราได้จัดชุมนุมพวกเขา โดยมิได้ปล่อยพวกเขาไว้เลย แม้สักคนเดียว” (อัล-กะฮฺฟุ / 47 )






๒๕
ขออยู่กับผู้สัจจริง

เช่นเดียวกับที่มีบันทึกไว้ในหนังสือ “อะกออิด อิมามียะฮฺ” ของท่านเชคมุฮัมมัด ริฎอ อัล-มุซ็อฟฟัร ว่า :

ในปัญหานี้ชีอะฮฺดำเนินตามสิ่งที่ครอบครัวของท่านศาสดา(ศ)กล่าวไว้ว่า องค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะทำให้ประชาชาติกลับมายังโลกนี้ในรูปเดียวกับที่เขาเคยเป็นอยู่แต่ก่อน แล้วพระองค์จะทรงให้เกียรติคนพวกหนึ่ง และจะทรงลงโทษแก่คนอีกพวกหนึ่ง และจะทรงแยกคนที่กดขี่กับคนที่ถูกกดขี่ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อถึงสมัยของท่านอิมามมะฮฺดี(อฺ)

องค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะไม่ทรงทำให้ผู้หนึ่งผู้ใดกลับมา เว้นแต่ผู้ที่บรรลุระดับความศรัทธาอันสูงส่ง หรือผู้ที่จมดิ่งอยู่ในความทุจริต คดโกง หลังจากนั้นพวกเขาจะต้องตายอีกครั้งหนึ่ง และในวันฟื้นคืนชีพพวกเขาจะถูกทำให้เป็นขึ้นมาอีก เพื่อรับรางวัล หรือรับการลงโทษ เพราะอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงกล่าวไว้ในอัล-กุรอาน ถึงความต้องการของประชาชาติเหล่านั้น ผู้ซึ่งได้กลับมายังโลกนี้ได้ สองครั้ง เพื่อจะกลับมาอีกเป็นครั้งที่สาม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพื่อชำระบาปของพวกเขา มีความว่า

“พวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของเรา พระองค์ทรงทำให้เราตายสองครั้ง และพระองค์ทรงทำให้เรามีชีวิตอยู่สองครั้ง บัดนี้เราขอสารภาพผิดต่อความบาปของเรา จะมีหนทางเพื่อจะออกไปสู่ไหม ?” (อัล-มอฺมิน / 11 )

กล่าวได้ว่า เมื่อ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ไม่เชื่อร็อจอะฮฺ ก็ถือว่าพวกเขามีสิทธิอย่างสมบูรณ์แต่ก็มิใช่ว่า พวกเขาจะถือสิทธิอันนั้นบริภาษแก่คนที่เชื่อเรื่องนั้น เพราะมีหลักฐานจากข้อบัญญัติอยู่ที่คนเหล่านั้น กล่าวคือ มิใช่ว่าผู้ไม่รู้หลักฐานะจะมีสิทธิเหมือนว่าคนที่รู้หลักฐาน คนที่ไม่มีความรู้ ย่อมไม่มีข้ออ้างใดๆ กล่าวหาคนมีความรู้ และมิใช่ว่า การไม่ศรัทธาในเรื่องหนึ่งๆ เป็นหลักฐานลบล้างความเชื่อของคนอื่นได้ เพราะว่าบรรดามุสลิมเรามีหลักฐานอันลึกซึ้ง ชัดเจนตั้งเท่าไหร่ที่พวกอะฮฺลุลกิตาบ เช่น พวกยิว และนะศอรอ มิได้เชื่อถือด้วยเลย

อีกตั้งเท่าไรจากความเชื่อและริวายะฮฺ ของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เกี่ยวกับเรื่องเอาลิยาอ์ และคนศอลิฮีน และบรรดาพวกที่เชื่อแนวทางศูฟีที่มีลักษณะว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ และน่ารังเกียจ แต่ก็มิได้เป็นข้ออ้างในการที่จะประณาม และเหยียดหยามความเชื่อของอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ

เมื่อเรื่อง “ร็อจอะฮฺ” มีหลักฐานในอัล-กุรอาน และซุนนะฮฺนบี(ศ) ก็หมายความว่า มิใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ สำหรับอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งพระองค์ทรงยกอุทาหรณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้น ให้แก่เราไว้ในอัล-กุรอาน ดังโองการที่ว่า

“หรืออุปมาเช่นที่ผู้ผ่านเมืองหนึ่ง และมันพังทรุดลงมาทั้งหลังคาของมัน เขากล่าวว่า เมื่อใดหนออัลลอฮฺจึงจะฟื้นฟูเมืองนี้ขึ้นมาอีก หลังจากที่มันได้ตายไปแล้ว ครั้นแล้วอัลลอฮฺก็ทำให้เขาตายไปหนึ่งร้อยปี หลังจากนั้นพระองค์ก็ให้เขาฟื้นขึ้นมาอีก” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 259 )

หรือโองการที่ว่า

“เจ้าไม่รู้ดอกหรือ เกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ออกจากเมืองของพวกตน โดยมีจำนวนนับพันคน เพราะกลัวความตาย แต่แล้วอัลลอฮฺก็ตรัสแก่พวกเขาว่าพวกเจ้าจงตายเถิด ครั้นต่อมา พระองค์ ก็ชุบชีวิตพวกเขา” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 243)

“และเมื่อครั้งที่พวกเขาได้กล่าวว่า โอ้ มูซา เราจะไม่ศรัทธาในตัวท่าน จนกว่า เราจะได้เห็นอัลลอฮฺอย่างชัดแจ้ง ดังนั้นสายฟ้า ก็ได้คร่าชีวิตของพวกสูเจ้า ซึ่งขณะนั้นพวกสูเจ้าก็เฝ้ามองดูอยู่ หลังจากนั้นเราได้ให้พวกสูเจ้าฟื้นชีพอีก หลังจากที่พวกสูเจ้าตายไปแล้ว ทั้งนี้ก็เพื่อพวกสูเจ้าจะได้ขอบพระคุณ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ / 55-56)

พระองค์ตรัสในเรื่องชาวถ้ำที่อาศัยในถ้ำแล้วตายไปกว่า 300 ปี ดังนี้

“หลังจากนั้น เราได้ทำให้พวกเขาฟื้นชีพขึ้นมา เพื่อเราจะทำให้รู้ว่าคนสองฝ่ายใดที่สามารถนับเวลาที่พวก เขาพำนักอยู่” (อัล-กะฮฺฟุ / 12)

ดังกล่าวนี้คือ คัมภีร์ของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ที่บอกเล่าเกี่ยวกับเรื่อง “ร็อจอะฮฺ” ว่าเคยเกิดขึ้นแก่ประชาชาติรุ่นก่อนมาแล้ว ในครั้งกระโน้น มันมิได้หมายความว่า จะเป็นไปไม่ไดในอันที่จะเกิดขึ้นแก่ประชาชาติของมุฮัมมัด(ศ) ได้รายงานไว้ เพราะพวกเขาเป็นผู้มีความสัตย์จริง มีความรู้มากที่สุด

ส่วนคำกล่าวของบรรดาผู้อ่อนเยาว์ทางด้านความรู้บางคน ถือว่าคำสอนในเรื่อง “ร็อจอะฮฺ” เป็นคำสอนที่ถูกยกเลิกไปแล้ว ซึ่งเป็นคำพูดของบุคคลที่มีความดื้อด้านบางกลุ่มนั้น ถือว่า เป็นคำพูดที่ยังแต่ความเสียหายและผิดพลาด พวกเขามีจุดมุ่งหมาย เบื้องหลังการกล่าวอย่างนั้น คือการประณามและเหยียดหยามต่อชีอะฮฺ

โดยที่บรรดาผู้ที่กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ถูกยกเลิกไปแล้วนั้น เขาไม่กล่าวว่า มนุษย์เรานั้นจะกลับมายังโลกนี้ด้วยเรือนร่างเดิม และวิญญาณเดิม ลักษณะเดิมทุกประการ หากแต่พวกเขาจะกล่าวว่า วิญญาณจะออกจากมนุษย์คนหนึ่ง แล้วเข้าไปสิงสถิตอยู่ในตัวมนุษย์อีกคนหนึ่ง ที่เกิดมาใหม่ หรือแม้กระทั่งเข้าไปสิงสถิตอยู่ในสัตว์ อันนี้ถือว่า เป็นความเชื่อที่ห่างไกลจนสุดกู่ จากความเชื่อของบรรดามุสลิมที่กล่าวว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบันดาลให้ผู้ที่อยู่ในสุสานฟื้นชีพในเรือนร่างและวิญญาณของพวกเขาเอง

ดังนั้นเรื่อง “ร็อจอะฮฺ” จึงมิได้เป็นเรื่องยกเลิกแต่อย่างใด และถือว่าเป็นคำพูดของคนที่ยังไม่รู้จักแยกแยะความแตกต่างระหว่างชีอะฮฺกับคอมมิวนิสต์



อัล-ฆุลุว์ : ในความรักต่อบรรดาอิมาม
อัล-ฆุลุว์ ในที่นี้เรามิได้หมายถึง รักอย่างคลั่งไคล้จนออกนอกขอบเขตแห่งสิทธิและทำตามอารมณ์จนถือเลยไปว่า คนที่ตนรักเป็นพระเจ้าที่ต้องเคารพภักดี เพราะอันนี้ ถือว่าเป็นกาฟิรและเป็นการชิร์ก (ตั้งภาคีต่อองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)) ไม่มีมุสลิมคนใดที่เชื่อถือต่อคำสอนของอิสลาม และนบีมุฮัมมัด(ศ) จะมีคำกล่าวอย่างนั้น

แน่นอน ท่านศาสนทูต(ศ)ได้วางขอบเขตการแสดงความรักนี้ เมื่อท่าน(ศ)กล่าวแก่ท่านอิมามอะลี(อฺ)ว่า “ในเรื่องของเจ้านั้นจะมีผู้เสียหายอยู่สองกลุ่ม คือ คนที่รักอย่งเกินเลย และคนที่โกรธอย่างชิงชัง”

ท่าน(ศ) กล่าวอีกว่า “โอ้ อะลี แท้จริงในเรื่องของเจ้านั้นเหมือนกับอีซา บุตรของมัรยัม คือพวกยิวจะโกรธเกลียดเขาจนกระทั่งใส่ร้ายต่อมารดาของเขา ส่วนพวกนะศอรอจะจงรักภักดีต่อเขาจนยกตำแหน่งที่มิใช่ของเขาให้แก่เขา”(292)

กล่าวคือ ความหมายที่ถูกตั้งขึ้นมาแก่คำว่า “ฆุลุว์” อันหมายถึง การละเมิดขอบเขตความรัก จนกระทั่งยกคนรักของตนขึ้นเป็นพระเจ้า แล้วมอบตำแหน่งที่ไม่เป็นความจริงให้ หรือการโกรธเกลียดจนถึงขั้นปรักปรำ ใส่ร้ายอย่างผิดๆ

ชีอะฮฺนั้นในเรื่องความรักที่มีต่อท่านอะลี(อฺ) และบรรดาอิมามจากลูกหลานของท่าน มิได้เกินเลยแต่อย่างใด หากแต่พวกเขามอบฐานะตามเหตุผลแห่งสติปัญญาให้แก่พวกเขา ซึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้จัดตั้งไว้แก่พวกเขา เพราะพวกเขาคือทายาทและคอลีฟะฮฺของท่าน นบี(ศ) และไม่เคยมีสักคนจะกล่าวว่า พวกท่านมีสภาวะเป็นนบี(ศ)อย่าว่าจะมีสภาวะเป็นพระเจ้าเลย โปรดสลัดออกพ้นไปจากท่านเสียเถิด สำหรับคำกล่าวของบรรดาผู้บิดเบือนที่อ้างว่าชีอะฮฺถือเอาท่านอะลี(อฺ)เป็นพระเจ้าและสอนว่าท่านมีสภาวะแห่งความเป็นองค์อภิบาล

เพราะคนเหล่านี้ ถ้าหากมีคำบอกเล่าที่เป็นจริงแล้ว พวกเขาจะไม่เป็นก๊ก เป็นเหล่า และจะไม่แบ่งมัซฮับกันหรอก จะไม่มีทั้งชีอะฮฺและจะไม่มีค่อวาริจญ์ แล้วอะไรคือความผิดของชีอะฮฺ ในเมื่อพระผู้อภิบาล ผู้ทรงเกียรติตรัสไว้ว่า

“จงกล่าวเถิด ฉันไม่ขอรางวัลใดๆ จากพวกท่านสำหรับเรื่องนั้น นอกจากความจงรักภักดี (มะวัดดะฮฺ) ในวงศ์ญาติ อันใกล้ชิด”

คำว่า “อัล-มะวัดดะฮฺ” ตามที่รู้กันอยู่นั้น ถือว่ายิ่งใหญ่เป็นพิเศษกว่าคำว่า “อัล-ฮุบบุ” ในความหมายว่าความรัก และเมื่อท่านศาสนทูต(ศ)กล่าวไว้ว่า “คนหนึ่งคนใดก็ตามในหมู่พวกท่านยังไม่ศรัทธา จนกว่าเขาจะรัก(ยุฮิบบะ)ที่จะให้ได้แก่พี่น้องของเขา ในสิ่งที่เขารัก (ยุฮิบบุ) ที่จะให้ได้แก่ตัวเขาเอง”

ดังนั้น ความจงรักภักดี (มะวัดดะฮฺ) จำเป็นสำหรับท่านที่จะต้องเสียบางอย่างด้วยตัวท่านเอง โดยเสียสละให้แก่คนอื่น

อะไรจะเป็นความบาปของชีอะฮฺ เมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า

“โอ้ อะลีเอ๋ย เจ้าคือประมุขทั้งในโลกนี้และประมุขในปรโลก ใครรักเจ้า ก็เท่ากับรักฉัน และใครที่ให้เจ้าโกรธ ก็เท่ากับทำให้ฉันโกรธ และผู้เป็นมิตรของเจ้า คือ มิตรของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และผู้ที่เป็นศัตรูกับเจ้าก็เท่ากับว่า เขาเป็นศัตรูของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และความวิบัติจะประสบกับผู้ที่เป็นศัตรูกับเจ้า”(293)

ท่าน(ศ)ได้กล่าวอีกว่า “ความรักที่มอบให้อะลี ถือเป็นอีหม่าน และความโกรธที่มีต่อเขา ถือเป็นความกลับกลอก (นิกาฟ)” (294)

ท่าน(ศ)ได้กล่าวอีกว่า “คนใดที่ตายลงโดยมีความรักต่อวงศ์วาน(อาลิมุฮัมมัด)เท่ากับตายในฐานะชะฮีด

ใช่แล้ว คนใดที่ตายลงโดยมีความรักต่อวงศ์วานมุฮัมมัด(ศ) เท่ากับตายในฐานะได้รับการอภัย

ใช่แล้ว คนใดที่ตายลงโดยมีความรักต่อวงศ์วานมุฮัมมัด(ศ) เท่ากับตายอย่างผู้กลับตัว

ใช่แล้ว คนใดที่ตายลงโดยมีความรักต่อวงศ์วานมุฮัมมัด(ศ) เท่ากับตายในฐานะผู้ศรัทธาที่มีอีหม่านสมบูรณ์

ใช่แล้ว คนที่ตายลงโดยมีความรักต่อวงศ์วานมุฮัมมัด(ศ) มะลาอิกะฮฺ(ทูตที่จะมารับดวงวิญญาณ) จะมาแจ้งข่าวดีเกี่ยวกับสวรรค์ให้แก่เขา...” (295)

จะเป็นบาปอะไรของชีอะฮฺ ถ้าเขารักคนๆ หนึ่ง ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้กล่าวในเรื่องของเขาว่า

“พรุ่งนี้ แน่นอน ฉันจะมอบธงของฉันให้แก่ชายคนหนึ่งที่เขารักอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์(ศ) และอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์(ศ)รักเขา” (296)

ดังนั้น คนรักอะลี คือคนรักของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูตของพระองค์(ศ) และเขาคือผู้ศรัทธา คนซึ่งเป็นที่โกรธเคืองของท่านอะลี ก็คือคนซึ่งเป็นที่โกรธเคืองของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และของศาสนทูตของพระองค์(ศ)และเขาคือคนกลับกลอก (มุนาฟิก)

อิมามชาฟีอีเองได้กล่าวไว้ในเรื่องความรักต่อพวกเขาว่า

“โอ้ อะฮฺลุลบัยตฺของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ความรักที่มีต่อพวกท่านเป็นฟัรฎูในอัล-กุรอาน ซึ่งพระผู้อภิบาลประทานมา เพียงพอสำหรับพวกท่านแล้ว จากความยิ่งใหญ่แห่งเกียรติยศ เพราะแท้จริงพวกท่านนั้น ถ้าใครมิได้ขอพร(ศอละวาต) ให้แก่พวกท่าน เท่ากับไม่มีการนมาซแก่เขา”

แน่นอนท่านกวี ฟัรซะดัก ได้กล่าวบทกวีว่าด้วยเรื่องความรักต่อพวกเขา ในหนังสือมัยมีตของท่านที่มีชื่อเสียงดังนี้

“เป็นหมู่ชนหนึ่ง ซึ่งความรักที่มีต่อพวกเขา เป็นศาสนา และการโกรธเคืองพวกเขาเป็นกาฟิร การแสวงหาความใกล้ชิดต่อพวกเขา ถือเป็นทางปลอดภัย และถูกคุ้มครอง หากจะถือว่า ใครเป็นเจ้าแห่งการมีตักวา คำตอบก็คือ พวกเขานั่นเอง หรือถ้าหากว่าใครคือคนประเสริฐที่สุดในโลกคำตอบก็คือ พวกเขานั่นเอง”

ดังนั้นพวกชีอะฮฺมีความรักต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์(ศ) และอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และท่านศาสนทูตของพระองค์(ศ)ก็รักพวกเขา พระองค์ทรงวางข้อกำหนดให้รักต่ออะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) คือ ฟาฏิมะฮฺ อะลี ฮะซัน และฮุเซน ฮะดีษที่ให้ความหมายอย่างนี้มากมายเหลือคณานับ แน่นอนนักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ได้รายงานเรื่องเหล่านี้ไว้ ในตำราศ่อฮีฮฺของพวกเขา และเราก็ได้กล่าวถึงบางส่วนไปแล้วโดยสังเขป

เมื่อความรักต่อท่านอะลี (อฺ) และอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) มีลักษณะที่เป็นเหมือนความรักที่มีต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ถึงแม้ว่าจะเป็น “ฆุลุว์” เหมือนอย่างที่พวกเขาอ้างกัน

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า “คนใดก็ตามในหมู่พวกท่านยังไม่ศรัทธา จนกระทั่งฉันได้เป็นที่รักของเขายิ่งกว่าบุตรและบิดาของเขาเองและยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งมวล”(297)

บนพื้นฐานอันนี้ จำเป็นที่มุสลิมจะต้องรักท่านอะลี(อฺ)และลูกหลานของท่าน บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์มากกว่ามนุษย์ทั้งมวล อันประกอบด้วยบริวาร บุตรหลาน และถือว่า ยังมีอีหม่านไม่สมบูรณ์ นอกจากจะต้องให้ได้อย่างนี้ เพราะท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า

“คนใดในหมู่พวกท่านยังไม่ศรัทธา จนกว่าฉันจะได้เป็นที่รักที่สุดของเขา”

ดังนั้น ชีอะฮฺมิได้เป็นพวกที่ทำเกินเลย หากแต่พวกเขาให้สิทธิตามความเป็นจริงแก่ผู้ทรงไว้ซึ่งสิทธินั้นๆ และแน่นอน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้สั่งให้พวกเขามอบตำแหน่งหนึ่งแก่ท่านอะลี(อฺ)นั่นคือ ตำแหน่งศีรษะที่มีต่อรางกาย และตำแหน่งตาทั้งสองที่มีต่อศีรษะ หรือว่ามนุษย์มีอยู่แล้ว สำหรับคนที่อยู่ในตำแหน่งตาสองข้างของเขาและศีรษะของเขา ?

แต่ในทางตรงกันข้าม ได้มี “ฆุลุว์” อยู่ในพวกอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ในเรื่องความรักต่อศ่อฮาบะฮฺและเทิดทูนพวกเขาทั้งๆ ที่ไม่มีตำแหน่งอย่างนั้น อันที่จริงแล้ว เป็นเพียงการกระทำที่ตอบโต้กับชีอะฮฺที่มิได้ยอมรับความเที่ยงธรรมของศ่อฮาบะฮฺทั้งหมดทั้งมวล กล่าวคือ พวกตระกูลอุมัยยะฮฺได้เชิดชูยกย่องฐานะของศ่อฮาบะฮฺให้สูงส่ง และขีดเส้นจำกัดความสูงส่งของอะฮฺลุลบัยตฺแห่งนบี(ศ)

จนกระทั่งว่า พวกเขาศ่อละวาตแก่มุฮัมมัด(ศ)และวงศ์วาน แล้วพวกเขาก็ผนวกศ่อฮาบะฮฺทั้งหมดเข้าไปด้วย

เพราะว่า การศ่อลาวาตแก่อะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้น ถือเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ไม่มีใครล้ำหน้า และต่อท้ายด้วยเพราะไม่มีสิทธิ ดังนั้น พวกเขาต้องการจะยกย่องศ่อฮาบะฮฺให้อยู่ในฐานะภาพอันสูงส่งนั้น แต่พวกเขาลืมไปว่า อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงบัญชาแก่บรรดามุสลิม และบัญชาลงมายังพวกเขาแต่ในทางตรงกันข้าม ได้มี “ฆุลุว์” บรรดาศ่อฮาบะฮฺทั้งมวลว่าให้ศ่อละวาตแก่ มุฮัมมัด อะลี ฟาฏิมะฮฺ ฮะซัน และฮุเซน และใครที่ไม่ศ่อละวาตแก่พวกเขาถือว่านมาซของเขาเป็นโมฆะ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ไม่ทรงรับ หากตัดการศ่อละวาตให้เหลือเพียงมุฮัมมัด(ศ)คนเดียว ดังเช่นที่มีหลักฐานยืนยันอยู่ในศ่อฮีฮฺบุคอรีและมุสลิม

ที่เรากล่าวว่าพวกเขาทำเกินเลยกับศ่อฮาบะฮฺนี้ ก็เป็นเพราะว่าพวกเขากำหนดขอบเขตทางด้านคำพูด เมื่อกล่าวถึงความเที่ยงธรรมของเขาเหล่านั้นเสมอเหมือนกันหมด แน่นอน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)และศาสนทูตของพระองค์(ศ) ทรงยืนยันไว้ว่า ในหมู่เขาเหล่านั้น มีทั้งคนฟาซิก (ละเมิดศาสนา) พวกที่ทรยศต่ออิสลาม มีพวกวางตัวระหว่างกลาง มีทั้งพวกมุนาฟิก มีทั้งคนที่ออกนอกศาสนา และมีคนที่ต้องการเปลี่ยนหลักการไปเป็นแบบเก่า

“อัล-ฆุลุว์” (การให้ความรักอย่างเกินเลย) ที่ชัดเจนอย่างหนึ่งก็คือพวกเขาจะกล่าวว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)มีความผิดพลาด แต่ถือว่าศ่อฮาบะฮฺมีความถูกต้อง หรือความเชื่อที่ว่า ชัยฏอนมาเล่น และหยอกเย้ากับท่านนบี(ศ) แต่จะกลัวต่ออุมัร และที่ “ฆุลุว์” อย่างชัดเจนอีกประการหนึ่ง ในคำพูดของพวกเขาก็คือ ถ้าหากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะให้มวลมุสลิมประสบกับเภทภัยสักอย่างหนึ่ง ทั้งๆ ที่มีศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) อยู่ในพวกเขาด้วย ก็จะไม่มีใครปลอดภัยจากมันเลย นอกจากบุตรของค็อฏฏอบเท่านั้น

และ “อัล-ฆุลุว์” อันชัดแจ้งอีกอย่างหนึ่งที่พวกเขาคลั่งไคล้กับศ่อฮาบะฮฺก็คือ ผนวกซุนนะฮฺกับการให้ปฏิบัติตามซุนนะฮฺของศ่อฮาบะฮฺ โดยเฉพาะค่อลีฟะฮฺรอชิดีน ซึ่งเราได้สรุปในเรื่องนี้ไปบางส่วนแล้ว และที่เป็น “อัล-ฆุลูว์” อย่างถึงขนาดของ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ ก็คือ ห้ามมิให้พูดในเรื่องศ่อฮาบะฮฺ หรือวิพากษ์วิจารณ์พวกเขา ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ก็ขอให้ศึกษาดูได้



อัล-มะฮฺดี : ผู้ถูกรอคอย
นี่คืออีกเรื่องหนึ่งที่ อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ทำการประณามเหยียดหยามชีอะฮฺ บางคนในหมู่พวกเขากล่าวด้วยการเยาะเย้ย และลบหลู่ อย่างรุนแรง เพราะพวกเขาถือว่าห่างไกลจากความเป็นจริงหรือเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์คนหนึ่งจะยังคงอยู่นานถึง 12 ศตวรรษ ในสภาพที่ยังมีชีวิต และซ่อนเร้นจากการมองเห็นของมนุษย์ทั้งหลาย จนมีนักเขียนบางท่านในยุคปัจจุบันกล่าวว่า

“สาเหตุที่ชีอะฮฺต้องสร้างแนวคิดเกี่ยวกับอิมามที่หายตัวไปว่า จะมาปลดปล่อยพวกเขานั้น ก็เพราะเขาได้ประสบกับนักปกครองที่อธรรมเป็นจำนวนมาก ตลอดมาหลายยุคสมัย ดังนั้น พวกเขาจึงปลอบใจตัวเองด้วยการให้ความมั่นใจอย่างหนึ่ง กับอัล-มะฮฺดี ผู้ถูกรอคอย ซึ่งจะมาทำให้แผ่นดินมีความยุติธรรมและเที่ยงธรรม แล้วเขาจะมาแก้แค้นต่อศัตรูของพวกเขา”

ในปีหลังๆ นี้นับจากมีการปฏิวัติอิสลามในอีหร่าน ได้มีการพูดถึงเรื่อง “อัล-มะฮฺดี” ผู้ถูกรอคอยกันมาก เพราะกลุ่มพิทักษ์การปฏิวัติได้ถือเป็นคำขวัญที่สำคัญในการประกาศของพวกเขาว่า

“ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงพิทักษ์ปกป้องท่านอิมามโคมัยนี จนกว่าอัล-มะฮฺดีจะมาปรากฏ”

จึงทำให้บรรดาชาวมุสลิม โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวปัญญาชนทุกหนแห่งพากันถามถึงความจริงของ “อัล-มะฮฺดี” ว่ามันเป็นความจริง และมีอยู่ในหลักความเชื่อของอิสลามจริงหรือไม่ หรือเป็นเรื่องอุปโลกน์ขึ้นมาจากพวกชีอะฮฺ

แม้ว่านักปราชญ์ชีอะฮฺ ทั้งรุ่นก่อนและรุ่นใหม่(298) เขียนถึงเรื่อง “อัล-มะฮฺดี” กันอย่างมากมายมหาศาล และถึงแม้ว่าพี่น้องซุนนีและชีอะฮฺจะได้ติดต่อกันมากครั้งในที่ประชุมสัมมนาหลายๆ ที่ และได้มีการสนทนากันถึงเรื่องความเชื่อในด้านต่างๆ แต่ปัญหาก็ยังคงคลุมเครืออยู่ในพวกเขาเป็นส่วนมากเพราะพวกเขาไม่เคยชินกับการได้ยิน ได้ฟังรายงานบอกเล่าทำนองนี้นั่นเอง

ดังนั้น อะไรคือความจริงของ “อัล-มะฮฺดี” ผู้ถูกรอคอย ในหลักความเชื่อของอิสลาม ? การวิเคราะห์เรื่องนี้ ต้องแยกออกเป็นสองส่วน

ส่วนที่หนึ่ง จะต้องวิเคราะห์เรื่อง “อัล-มะฮฺดี” จากหลักฐานคัมภีร์และซุนนะฮฺ

ส่วนที่สอง จะต้องวิเคราะห์เกี่ยวกับการมีชีวิต การหายตัว และการปรากฏตัวของท่าน

ในการวิเคราะห์ส่วนแรกนี้ ทั้งชีอะฮฺและซุนนะฮฺ มีความเชื่อตรงกันว่า ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้แจ้งข่าวดีในเรื่องนี้ และสอนให้ศ่อฮาบะฮฺรู้ว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะทรงให้เขาปรากฏในยุคสุดท้าย ฮะดีษเกี่ยวกับ “อัล-มะฮฺดี” ได้ถูกรายงานไว้โดยทุกฝ่าย ทั้งชีอะฮฺและซุนนะฮฺ ในตำราศ่อฮีฮฺของพวกเขา และมุซนัดของพวกเขา ข้าพเจ้าจะดำเนินการวิเคราะห์ไปตามที่เคยปฏิบัติมา คือจะไม่แสดงหลักฐานใดๆ นอกจากที่สอดคล้องตรงตามที่ยืนยันว่า ศ่อฮีฮฺจากอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ ดังที่มีรายงานใน “ซุนัน” ของอะบูดาวูด ดังนี้(299)

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า “หากโลกนี้จะไม่คงอยู่อีกแล้ว นอกจากเพียงวันเดียว แน่นอน อัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะทรงยืดเวลาวันนั้นให้นาน เพื่อพระองค์จะส่งชายคนหนึ่งจากอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ของฉันมา ชื่อของเขาจะตรงกับชื่อฉัน ชื่อบิดาของเขาจะตรงกับชื่อของบิดาของฉัน เขาจะมาทำให้แผ่นดินนี้เต็มไปด้วยความเป็นธรรมและยุติธรรม เหมือนอย่างที่ความอธรรม และความชั่วเคยเต็มมาก่อน”

มีรายงานใน “ซุนัน” ของ อิบนุมาญะฮฺ(300) ว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า

“แท้จริงพวกเรา อะฮฺลุลบัยตฺ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกปรโลกให้แก่พวกเราเหนือกว่าโลกนี้ และแท้จริงอะฮฺลุลบัยตฺของฉันจะประสบการทดสอบอย่างรุนแรงภายหลังจากฉันจะถูกขับไล่ จนกระทั่งจะมีคนพวกหนึ่งจากทางตะวันออกมาพร้อมกับถือธงดำ พวกเขาจะถามหาความดี แต่พวกเขาไม่ได้รับความดีนั้น แล้วพวกเขาก็ต่อสู้จนได้ชัยชนะ พวกเขาจึงได้รับสิ่งที่พวกเขาถามหา แต่พวกเขาก็ยังไม่ยอมรับ จนกระทั่งพวกเขามุ่งไปหาชายคนหนึ่งจากอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ซึ่งเขาจะทำให้แผ่นดินนี้เต็มไปด้วยความเที่ยงธรรม เหมือนที่ความอธรรมเคยเต็มมาก่อน”

ท่านอิบนุมาญะฮฺ ได้กล่าวใน “ซุนัน” ว่า :

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวว่า “อัล-มะฮฺดี มาจากเรา อะฮฺลุลบัยตฺ อัล-มะฮฺดี มาจากลูกหลานของฟาฏิมะฮฺ”

และท่านนบี(ศ)ได้กล่าวว่า “ในประชาชาติของฉันจะมีอัล-มะฮฺดี หากว่าใช้เวลาน้อย(ในการปกครอง) ก็เจ็ดปี ถ้าไม่เช่นนั้นก็เก้าปี นอกจากนี้ เขาจะทำให้ประชาชาติของฉันได้รับความโปรดปราน ชนิดที่ไม่เคยได้รับมาก่อน การบริโภคจะมีมาพรั่งพร้อม ทรัพย์สินในวันนั้น เป็นเรื่องเล็กน้อยมาก ถึงขนาดว่าถ้าชายคนหนึ่งยืนขึ้นแล้วกล่าวว่า โอ้ มะฮฺดี โปรดให้ข้าพเจ้าเถิด เขาจะกล่าวว่า จงรับเอาไป”(301)

ในศ่อฮีฮฺติรมีซีระบุว่า(302) ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวว่า “จะมีชายคนหนึ่งจากอะฮฺลุลบัยตฺของฉันมาปรากฏ ชื่อของเขาจะตรงกับชื่อของฉัน และแม้นว่า โลกนี้จะไม่คงเหลืออยู่ต่อไปอีก นอกจากวันเดียว แน่นอนอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จะยืดวันนั้นให้นานจนกระทั่งเขาจะมาปรากฏ”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้กล่าวว่า “โลกนี้ยังไม่สลายไป จนกว่าชายคนหนึ่งแห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉันมาปกครองคนอรับ ชื่อของเขาจะตรงกับชื่อของฉัน”

อิมามบุคอรี ได้รายงานในศ่อฮีฮฺของท่าน(303) ว่า บินบะกีรได้เล่าเราว่า “อัล-ลัยษ์” รับรายงานมาจากยูนุซรับรายงานมาจากอิบนุชิอาบ จากท่านนาฟิอฺ คนใช้ของอะบี เกาะตาดะฮฺ อัล-อันศอร กล่าวว่า ท่านอะบูฮุร็อยเราะฮฺ(ร.ฎ.) รายงานว่า :

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กล่าวว่า “พวกท่านจะรู้สึกอย่างไร ถ้าหากว่าบุตรของมัรยัมจะลงมาในหมู่พวกท่าน และอิมามของพวกท่านมาจากพวกท่านเอง”

ท่านฮาฟิซกล่าวไว้ใน “ฟัตฮุล-บารี” ว่า :

“สายสืบเรื่องนี้สอดคล้องตรงกันว่า “อัล-มะฮฺดี” จากประชาชาตินี้ และอีซา บุตรมัรยัมจะลงมา และจะนมาซตามหลังเขา”(304)

อิบนุฮะญัร อัล-ฮัยษุมี ได้กล่าวไว้ใน “อัศ-ศ่อวาอิก” ว่า :

“ฮะดีษที่กล่าวถึงเรื่องการมาปรากฏของ “อัล-มะฮฺดี” นั้น สอดคล้องตรงกันมาก”(305)

เจ้าของหนังสือ “ฆอยะตุล –มะมูล” กล่าวว่า :

“เป็นที่รู้กันอยู่ในระหว่างอุละมาอฺ รุ่นซะลัฟ(บรรพชน) และรุ่นเคาะลัฟ(รุ่นถัดมา)ว่า แน่นอน การมาปรากฏของชายคนหนึ่งจากอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นจะ ต้องมีขึ้นในยุคสุดท้าย ชื่อว่า “อัล-มะฮฺดี” รายงานฮะดีษเรื่อง “อัล-มะฮฺดี” ได้ถูกบันทึกมาโดยศ่อฮาบะฮฺผู้ทรงเกียรติกลุ่มหนึ่ง และนำมาบันทึกโดยนักฮะดีษระดับอาวุโส (เช่น อะบูดาวูด, ติรมีซี, อิบนุมาญะฮฺ ฏ็อบรอนี, อะบียะอฺลา, ท่านบัซซาซ, อิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล และท่านฮากิม(ร.ฎ.) แน่นอน คนที่ถือว่าฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องอัล-มะฮฺดีอ่อนต่อหลักฐาน ถือว่า มีความผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง”

เช่นเดียวกับนักปราชญ์ร่วมสมัยท่านมุฟตี แห่งอิควานมุสลิมีน ซัยยิด ซาบิก ได้รายงานเรื่อง “อิมามมะฮฺดี” ไว้ในหนังสือ “อัล-อะกออิด อิซลามียะฮฺ” ท่านถือว่า ความคิดในเรื่อง “อัล-มะฮฺดี” เป็นความเชื่อหนึ่งของอิสลามที่จำเป็นจะต้องเชื่อถือ

หนังสือของชีอะฮฺก็เช่นเดียวกัน ฮะดีษต่างๆ เกี่ยวกับ “อัล-มะฮฺดี” ได้ถูกนำมารายงานไว้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งกล่าวกันว่า ไม่มีเรื่องอะไรที่รับรายงานมาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) มากกว่าเรื่องนี้ที่รายงานเกี่ยวกับท่านอิมามอัล-มะฮฺดี

โดยนักวิชาการท่านหนึ่งคือท่าน ลุฏฟุลลอฮฺ ซอฟี ได้ทำการบันทึกไว้ในผลงานชิ้นหนึ่งของเขาเองชื่อ “มุนตะค็อบ อัล-อะษัร” เกี่ยวกับเรื่อง “อัล-มะฮฺดี” ซึ่งมีมากกว่า 60 เล่ม จากตำราอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ อันประกอบด้วยศ่อฮีฮฺทั้งหกเล่ม และมากกว่า 90 เล่มจากตำราชีอะฮฺ อันประกอบด้วยตำราสำคัญทั้งสี่

ส่วนการวิเคราะห์ขั้นที่ 2 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดของ “อัล-มะฮฺดี” การมีชีวิต การหายตัวและการยังไม่วะฟาตของท่านนั้น ในส่วนนี้ก็เช่นกัน นักปราชญ์บางส่วนของอะฮฺลิซซุนนะฮฺที่ไม่ลบหลู่ต่อพวกเขา ก็ไม่ปฏิเสธและเป็นพวกที่เชื่อว่า “อัล-มะฮฺดี” นั้นคือ มุฮัมมัด บินฮะซัน อัล-อัซกะรี(อฺ) อิมามที่ 12 จากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ท่านได้เกิดแล้ว และท่านยังมีชีวิตอยู่ และจะมาปรากฏในยุคสุดท้าย เพื่อทำให้แผ่นดินเต็มไปด้วยความเที่ยงธรรม และความยุติธรรม

และอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จะทรงสนับสนุนศาสนาของพระองค์ เพราะท่านนี้เองบรรดาอะฮฺลิซซุนนะฮฺ เหล่านั้นเชื่อถือตรงกับคำพูดของชีอะฮฺ อิมามิยะฮฺ ได้แก่

1. มุฮฺยิดดีน บินอัรบี ในหนังสือ “ฟุตูฮาต มักกียะฮฺ”

2. ซิบฏ์ อิบนุ เญาซี หนังสือ “ตัซกิเราะฮฺตุลคิวาศ”

3. อับดุล-วะฮาบ ชะอ์รอนี หนังสือ “อะกออิด อะกาบิร”

4. อิบนุ ค็อชชาบ หนังสือ “ตะวารีค มะวาลีด อะอิมมะฮฺวะวุฟฟิยาติฮิม”

5. มุฮัมมัด อัล-บุคอรี ฮะนะฟี หนังสือ “ฟัศลุล-คิฏ็อบ”

6. อะฮฺมัด บิน อิบรอฮีม บะลาซุรี หนังสือ “ฮะดีษมุตะซัลลุล”

7. อิบนุ ศิบาฆ มาลิกี หนังสือ “ฟูศูลุล-มุฮิมมะฮฺ”

8. อัล-อาริฟ อับดุร-เราะฮฺมาน หนังสือ “มิรอาตุล อิซรอร”

9. กะมาลุดดีน บิน ฏ็อลฮะฮฺ หนังสือ “มะฏอลิบุซซุอูล ในเรื่องมะนากิบร่อซูล”

10. อัล-ก็อนดูซี อัล-ฮะนะฟี หนังสือ “ยะนาบีอุล-มุวัดดะฮฺ”






๒๖
ขออยู่กับผู้สัจจริง



หมายเหตุ
1. ศ่อฮีฮฺบุคอรี เล่ม 2 หน้า 163 และเล่ม 1 หน้า 158 หมวดว่าด้วย “การวะฟาตของมูซา” และหมวดว่าด้วย “ความชอบที่จะฝังคนตายในแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์

2. ศ่อฮีฮฺเล่ม 2 หน้า 309 หมวดว่าด้วย “ความดีของมูซา(อฺ) จาก กิตาบุ ฟะฏออิล”

3. จาก “ตัฟซีรอัฏ-ฏ็อบรี” เล่ม 14 หน้า 109, “ตัฟซีรอิบนุกะษีร” เล่ม 2 หน้า 570

4. รายงานโดยท่านติรมีซีในหนังสือ “ศ่อฮีฮฺติรมีซี” เล่ม 5 หน้า 329, อีกทั้งท่านนะซาอี และอิมามอะฮฺมัด

5. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 2 หน้า 362 หมวดว่าด้วย “เกียรติของอะลี บินอะบีฏอลิบ”

6. รายงานโดยท่านฮากิมใน “มุซตัดร็อก” เล่ม 3 หน้า 149 จากท่านอิบนิอับบาซ ท่านกล่าวว่า “นี่คือฮะดีษศ่อฮีฮฺ”

7. จาก “มุซนัดอิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 4 หน้า 126

8. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 99 หมวดว่าด้วย “การอนุญาตให้โกรธและใช้ความรุนแรงตามคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)”

9. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” ใน “กิตาบฟะฏออิลุศ-ศ่อฮาบะฮฺ”, “มุซนัดอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 4 หน้า 398

10. รายงานโดย อัล-กอฎี ในหนังสือ “ดะอาอิมุล-อิสลาม”

11. ดังเช่น พวกที่อะบูบักรฺได้ทำสงคราม และให้ชื่อว่า พวกเขาเป็นพวกมุรตัด(ตกศาสนา)

12. จากกรณีที่แสดงความชิงชังต่ออุษมาน บินอัฟฟาน โดยศ่อฮาบะฮฺจำนวนมากจนกระทั่งได้ฆ่าเขาเสีย

13. เช่น การทำสงครามญะมัล สงครามศิฟฟีน สงครามนะฮฺรอวาน และอื่นๆ

14. ฮะดีษที่ว่า “อัมมารนั้น พวกละเมิดศาสนาจะเข่นฆ่าเขา”

15. จาก “ศ่อฮีฮฺติรมีซี” เล่ม 5 หน้า 328, “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 2 หน้า 362, “อัน-นะซาอี ฟิล เคาะศออิศ”, “กันซุลอุมมาล” เล่ม 1 หน้า 44

16. ดังฮะดีษที่ว่า “อิมามหลังจากฉันมี 12 คน คนแรกคืออะลี คนสุดท้ายคืออัล-กออิม พวกเขาทั้งหมดเป็นค่อลีฟะฮฺของฉันและทายาทของฉัน”

17. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 1 ใน “กิตาบุล-อิลมิ”, “ศ่อฮีฮฺติรมิซี” ใน “กิตาบุล-อิลมิ” เช่นกัน

18. จาก “อักดุล-ฟะรีด” ของ อิบนิอับดุร ร็อบบะฮฺ และ “อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ” ของ อิบนิศิบาฆ อัล-มาลิกี เล่ม 3 หน้า 42

19. การอ่าน “บิซมิลลาฮฺ” ในนมาซ มัซฮับมาลิกีถือเป็นมักรูฮฺ มัซฮับชาฟีอีถือเป็นวาญิบ มัซฮับฮะนาฟีถือเป็นมุซตะฮับ ส่วนมัซฮับฮัมบาลีถือว่าให้อ่านค่อยๆ ในนมาซที่อ่านออกเสียง

20. จาก “อัศศ่อวาอิก” ของอิบนุฮะญัร หน้า 136 และ 227, “อัลญามิอุศศ่อฆีร” ของซะยูฏี เล่ม 2 หน้า 132 , “มุซนัดอะฮฺมัด” เล่ม 3หน้า 17 และ เล่ม 4 หน้า 366

21. จาก “นะฮฺญุล-บะลาเฆาะฮฺ” เล่ม 2 หน้า 190

22. จาก “นะฮฺญุล-บะลาเฆาะฮฺ” เล่ม 3 หน้า 439

23. ตัวอย่างในเรื่องนี้คือรายงานที่เล่าโดยอะบูฮุร็อยเราะฮฺ เช่น อัลลอฮฺ(ซ.บ.) สร้างอาดัม ตามรูปลักษณ์ของพระองค์ แต่อิมามญะอฺฟัร ศอดิก(อฺ) ได้ให้ความกระจ่างในข้อนี้ว่า แท้จริงท่านศาสดาแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ตำหนิชายสองคนที่กำลังด่าทอกัน คนหนึ่งกล่าวว่า “ขอให้อัลลอฮฺ(ซ.บ.)สาปแช่งใบหน้าของท่านและใบหน้าคนที่คล้ายท่าน” ท่านศาสนทูต(ศ) จึงกล่าวกับคนนั้นว่า “แท้จริง อัลลอฮฺทรงสร้างอาดัมมาในรูปลักษณ์ของเขานั่นเอง” หมายความว่า ถ้าท่านด่าคนที่หน้าตาคล้ายกับเขา ก็เท่ากับด่าอาดัมด้วย เพราะอาดัมคล้ายกับเขานั่นเอง

24. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 47, เล่ม 5 หน้า 179, เล่ม 6 หน้า 33

25. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 226, เล่ม 5 หน้า 47-48, และ “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 1 หน้า 114-122

26. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 197

27. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 182

28. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 187, หน้า 202 ยืนยันว่าอัลลอฮฺ(ซ.บ.) มีมือและมีนิ้ว

29. โองการนี้บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) อธิบายว่า ในวันนั้นใบหน้าคนกลุ่มหนึ่งจะสวยงามสดใส และมองดูความเมตตาของพระผู้อภิบาลของพวกเขาอยู่

30. จาก “นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ” อธิบายโดย มุฮัมมัด อับดุฮฺ เล่ม 1 คุฏบะฮฺที่ 1

31. จาก “อะกออิด อิมามียะฮฺ”

32. จาก “อัลบิดายะตุ-วันนิฮายะฮฺ” ของอิบนิกะษีร อ้างจาก อิมามอะฮฺมัด, มุสลิม, อะบูดาวูด และติรมิซี

33. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” ใน “กิตาบ ฟะฏออิล” เล่ม 7 หน้า 95, “มุซนัดอะฮฺมัด” เล่ม 1 หน้า 162, เล่ม 3 หน้า 152

34. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 29

35. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 68

36. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 1 หน้า 123, เล่ม 2 หน้า 65

37. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 1 หน้า 37, หน้า 44, หน้า 171

38. จาก “ซุนันดาริมี” ใน “กิตาบุ้ลร่อกอก”

39. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” บทว่าด้วยเรื่อ “ฟะฏออิล อุษมาน” เล่ม 7 หน้า 117

40. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 232,234

41. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 3 หน้า 114, เล่ม 7 หน้า 96

42. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 3 หน้า 288, เล่ม 2 หน้า 3 หมวดว่าด้วย “วันอีดทั้งสอง”

43. จาก “มุซนัดอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 6 หน้า 75

44. จาก “ตัฟซีรญะลาลัยนฺ” ในการอธิบายโองการที่ว่า “และเจ้าซ่อนไว้ในจิตใจของเจ้าซึ่งสิ่งที่อัลลอฮฺเป็นผู้เปิดเผยมัน”

45. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 7 หน้า 136 หมวดว่าด้วย “ฟะฏออิล อาอิชะฮฺ”

46. เมืองญะรีดอยู่ทางภาคใต้ของประเทศตูนีเซีย ห่างจากก็อฟศ่อฮฺ 92 ก.ม. เป็นบ้านเกิดของอะบูกอซิม ชาบี นักกวีผู้มีชื่อเสียง และคิฏิรฮุเซนซึ่งเป็นหัวหน้าคณะในมหาวิทยาลัยอัซฮัร และนักปราชญ์ส่วนใหญ่ของประเทศตูนีเซียก็กำเนิดที่เมืองนี้

47. รายงานโดยบุคอรี ใน “ศ่อฮีฮฺ” เล่ม 3 หน้า 152 บทว่าด้วย “การเป็นพยานโดยคนตาบอด” ท่านกล่าวว่า บินอะบีด อิบนุมัยมูนได้เล่าว่า : อีซา(อฺ)ได้แจ้งให้ทราบว่า จากนางอาอิชะฮฺกล่าวว่า ท่านนบี(ศ)ได้ยินชายคนหนึ่งอ่านอัล-กุรอานในมัสญิด ท่าน(ศ)กล่าวว่า “เป็นความเมตตาจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)แน่นอน เขาได้ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงโองการนี้ขึ้นมาได้ ที่ข้าพเจ้าได้ทำตกหล่นไปในซูเราะฮฺนี้” ขอให้ท่านผู้อ่านพิจารณาดูให้ดีเถิด จะเป็นได้ว่าน่าแปลกใจเสียเหลือเกิน ศาสนทูต(ศ)ท่านนี้ทำโองการอัล-กุรอานตกหล่น และถ้าหากไม่มีชายตาบอดนี้อ่านโองการนั้นๆ ขึ้นมา จะต้องเกิดความเสียหายอย่างแน่แท้ “อัซตัฆฟิรุลลอฮฺ ข้าขออภัยต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) เพราะเรื่องเหลวไหลอย่างนี้”

48. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 6 หน้า 24 บทว่าด้วย “อิมามที่ดีและเลว”

49. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 6 หน้า 20 บทว่าด้วย “กิจการที่จำเป็นของญะมาอะฮฺเมื่อฟิตนะฮฺปรากฏ

50. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 6 หน้า 4 บทว่าด้วย “มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามพวกกุเรช และตำแหน่งค่อลีฟะฮฺจะอยู่ในพวกกุเรช”

51. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 6 หน้า 3, “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 105 และ 128

52. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 6 หน้า 23 บทว่าด้วย “จำเป็นต้องปฏิเสธนักปกครอง”

53. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 127 บทว่าด้วย “อิซติคลาฟ”

54. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 106 บทว่าด้วย “ข้อพึงรังเกียจต่อความอยากได้อำนาจปกครอง”

55. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 106 บทว่าด้วย “ข้อพึงรังเกียจต่อความอยากได้อำนาจปกครอง”

56. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 6 หน้า 3 บทว่าด้วย “การเป็นค่อลีฟะฮฺในพวกกุเรช”

57. จาก “ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ” เล่ม 3 หน้า 104

58. จาก “ยะนาบีอุล-มุวัดดะฮฺ” เล่ม 3 หน้า 105

59. อัต-ติรมิซี, อะบูดาวูด, อิบนิมาญะฮฺ, มุซนัดอะฮฺมัด บินฮัมบัล เล่ม 2 หน้า 332

60. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หมวดว่าด้วย อัล-เฮาฏ์ เล่ม 5 หน้า 192

61. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 63

62. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 112

63. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 144

64. จาก “อัล-อิมามะฮฺ วัซซิยาซะฮฺ” ของอิบนุกุตัยบะฮฺ เล่ม 1 หน้า 28

65. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 6 หน้า 5 บทว่าด้วย “อัล-อิซติคลาฟวะตัรกะฮฺ”

66. จาก “อัล-อิมามะฮฺ วัซซิยาซะฮฺ” ของอิบนุกุตัยบะฮฺ เล่ม 1 หน้า 18

67. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 26 หมวดว่าด้วย “ร็อจญ์มอล-ฮับลี มิน-ซินา”

68. จาก “ตารีค อัล-คุละฟาอ์” ของอิบนุกุตัยบะฮฺ เล่ม 1

69. จาก “อัล-มิลัล-วัน-นิฮัล” ของชะฮฺริซตานี อัช-ชาฟิอี เล่ม 1 หน้า 23

70. ทั้งนี้เพราะมิใช่ว่าหลักฐานเหล่านี้จะมีเฉพาะแต่ในตำราของฝ่ายชีอะฮฺเท่านั้นหากแต่ยังมียืนยันอยู่ในตำราของฝ่ายซุนนะฮฺอีกด้วย

71. อะบีอิซฮาก อะฮฺมัด บินมุฮัมมัด บินอิบรอฮีม อัน-นัยซารี อัษ-ษะอฺละบี เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ. 337 อิบนิค็อลกาน กล่าวไว้ว่า ท่านเป็นนักตัฟซีรที่มีวิชาการที่ถูกต้องคนหนึ่งแห่งยุค โดยมีหลักฐานที่มาอย่างน่าเชื่อถือยิ่ง

72. จาก “อัลญัมอุ บัยนัศศิฮาฮิซ-ซิตตะฮฺ, “ศ่อฮีฮฺ-นะซาอี”, อิบนุฮะญัร ใน “เศาะวาอิก” และรายงานโดย อิบนุอะบิ้ลฮะดีด ใน “ชัรฮฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ”

73. จาก “อัด-ดุรรุลมันษูร” เล่ม 3 หน้า 119

74. จาก “ฟัตฮุลบารี” เล่ม 6 หน้า 31, “อัล-บิดายะตุ วัน-นิฮายะฮฺ” เล่ม 8 หน้า 102, “ซีรุอะอฺลาม อัน-นะบะลาอ์” ของซะฮะบี เล่ม 2 หน้า 436, “อัล-อิศอบะฮฺ” ของอิบนุฮะญัร เล่ม 3 หน้า 287

75. จาก “อัค-ดุรรุล มันษูร” ของญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏี เล่ม 3 หน้า 3

76. อ้างแล้ว เล่มดิม

77. จาก “อัค-ดุรรุล มันษูร” ของญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏี เล่ม 3 หน้า 4

78. อ้างแล้ว เล่มดิม

79. อ้างแล้ว เล่มดิม

80. นี่คือบทฮะดีษที่ได้ชื่อว่า ฮะดีษอัล-เฆาะดีร ซึ่งรายงานกันทั้งนักปราชญ์ชีอะฮฺและซุนนะฮฺ

81. อะฮฺมัด บินฮัมบัล รายงานไว้ใน “มุซนัด” เล่ม 4 หน้า 281, ท่านฏ็อบรีรายงานไว้ในตัฟซีรของท่าน, อัร-รอซีได้รายงานไว้ใน “ตัฟซีรอัล-กะบีร” เล่ม 3 หน้า 636, อิบนุฮะญัรได้รายงานไว้ใน “อัศ-ศ่อวาอิก”, ท่นดารุกุฏนี ท่านบัยฮะกี ก็ได้รายงานไว้

82. จาก “มุซนัดอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 4 หน้า 372

83. อัน-นะซาอี ใน “อัล-ค่อศออิศฺ” หน้า 21

84. จาก “มุซตัดร็อก อัล-ฮากิม” เล่ม 3 หน้า 109

85. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 7 หน้า 122 บทว่าด้วย “ฟะฏออิล อะลี บินอะบีฏอลิบ” ขณะเดียวกันฮะดีษนี้ อิมามอะฮฺมัด ติรมิซี อิบนุอะซากิร และท่านอื่นๆ ก็ยังได้บันทึกไว้อีกด้วย

86. อิบนุฮะญัร ในหนังสือ ศ่อวาอิก หน้า 25 อ้านจากท่านฏ็อบรอนี และอัล-ฮะกีม ติรมิซี

87. “มุซนัดอิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 4 หน้า 281, “กันซุล-อุมมาล” เล่ม 15 หน้า 117, “ฟะฏออิลุล-ค็อมซะฮฺ มิน ศิฮาฮุซซิตตะฮฺ” เล่ม 1 หน้า 350

88. หนังสือ “อัล-เฆาะดีร” ของอัล-ลามะฮฺ อามินี จำนวน 11 เล่ม เป็นหนังสือรวบรวมรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับฮะดีษเฆาะดีรที่นักปราชญ์อะฮฺลิซซุนนะฮฺรายงานไว้

89. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” และ “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” ซึ่งได้รายงานถึงเรื่องความขัดแย้งของพวกเขาหลายครั้งต่อท่านนบี(ศ)เช่นในการทำสนธิสัญญาฮุดัยบียะฮฺ, ในเหตุการณ์วันพฤหัสฯ และเรื่องการแต่งตั้งอุซามะฮฺ และอื่นๆ อีกมาก

90. เพราะพวกเขาเชื่อว่าศ่อฮาบะฮฺเหมือนดวงดาว ถ้าพวกท่านปฏิบัติตาม พวกท่านจะได้รับทางนำ

91. อ่านหนังสือ “อับดุลลอฮฺ อิบนุซะบาอ์” ของอัลลามะฮฺ อัซกะรี ก็จะรู้ว่า เป็นผู้ไม่มีตัวตนจริง หากเป็นการกุขึ้นมาของซัยฟฺ บินอุมัร ตะมีมีซึ่งรู้จักกันในนามนักกุข่าว, หรืออ่านจากหนังสือ “อัลฟิตนะตุ้ลกุบรอ” ของฏอฮา ฮุเซน, หรือประสงค์จะอ่าน “อัศศิละฮฺ บัยนัตตะเศาวุฟ วัตตะชัยยุอฺ” ของดร.มุศฏอฟา กามิล ชัยบี

92. ทั้งนี้ก็เพราะอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้น มั่งคงในตัวเองด้วยจริยธรรมและความรู้ เป็นผู้มีเกียรติและฐานะสูงส่งในด้านตักวา มีคุณงามความดีจนเป็นที่รักของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

93. มีจนบุคอรีไม่อาจกล่าวถึงชื่อของเขาได้ เล่ม 1 หน้า 126, เล่ม 7 หน้า 18, เล่ม 5 หน้า 140 นักประวัติศาสตร์ กล่าวว่า เมื่อนางทราบข่าวการถูกสังหารของอะลี (อฺ) นางถึงกับซุญูด ขอบคุณอัลลอฮฺ(ซ.บ.) และได้กล่าวบทกวีในเรื่องนั้น

94. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 191,201

95. จาก “อัด-ดุรรุล มันษูร” ของญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏี เล่ม 3 หน้า 18

96. จาก “ตารีคุลคุละฟาอ์” ของอิบนุ กุตัยบะฮฺ เรื่อง “การบัยอะฮฺต่ออะบูบักรฺทำกันอย่างไร” เล่ม 1 หน้า 6

97. ท่านอิบนุญะรีร อัฏ-ฏ็อบรี ได้บันทึกอย่างสมบูรณ์ในหนังสือ “อัล-วิลายะฮฺ” เช่นเดียวกับท่านซะยูฏีที่รายงานไว้ใน “อัด-ดุรรุล-มันษูร” เล่ม 2 หน้า 298 คุฏบะฮฺมีความหมายเดียวกันแต่ใช้ถ้อยคำต่างกัน

98. จาก “ตัฟซีร ฟัตฮุล-เกาะดีร” ของ อัช-เชากานี เล่ม 3 หน้า 57, ท่านญะลาลุดดีน ซะยูฏี ใน “อัด-ดุรรุล-มันษูร” เล่ม 2 หน้า 298 รายงานจากท่านอิบนุอับบาซ

99. ฮากิม หัสกานี จากอะบีซะอีด อัล-คุรี ตอนตัฟซีรโองการนี้, ฮาฟิซอะบูนะอีม อิศบะฮฺฮานีในหนังสือของท่าน “ข้อความจากอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาในเรื่องอะลี”

100. รายงานเรื่องนี้กันทุกคน เช่น อิมามอะบีฮามิด อัล-เฆาะซาลี ในหนังสือของเขา “ซิรรุล-อาละมีน” หน้า 6, อิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล ใน “มุซนัด” เล่ม 4 หน้า 281, ฏ็อบรี (ในตัฟซีรของท่าน) เล่ม 3 หน้า 428, ษะอ์ละบี, ดารุกุฏนี, ฟัครุร-รอซี, อิบนุกะษีร และท่านอื่นๆ

101. ฮาฟิซอะบูนะอีม อิศบะฮานี ในหนังสือของเขา “ข้อความจากอัล-กุรอานที่ถูกประทานในเรื่องของอะลี”, เคาะวาริซมี อัล-มาลิกี ในหนังสือ “อัล-มะนากิบ” หน้า 80, อัล-กันญี ชาฟิอี ใน “กิฟายะตุฏ-ฏอลิบ”, ญะลาลุดดีน ซะยูฏี ในหนังสือของเขา “อัลอิซดิฮาร ฟีมาอะก่อดะฮุชชุอะรอ มินั้ลอัชอาร”

102. จาก “ตารีค ฏ็อบรี” เล่ม 5 หน้า 31, ตารีค อิบนุลอะษัร เล่ม 3 หน้า 31, ชะเราะฮฺ นะฮฺญุล-บะลาเฆาะฮฺ ของอิบนุอะบิ้ลฮะดีด เล่ม 2 หน้า 18

103. จาก “มุซนัดอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 4 หน้า 370, เล่ม 1 หน้า 119, อัน-นะซาอีใน “คอศออิศ” หน้า 19, “กันซุลอุมมาล” เล่ม 6 หน้า 397, อิบนุกะษีร(ตะรีค) เล่ม 5 หน้า 211, อิบนุอะษีร ใน “อุสะดุล-ฆอบะฮฺ” เล่ม 4 หน้า 28, อิบนุฮะญัร อิซก่อลานี ใน “อัล-อิศอบะฮฺ” เล่ม 2 หน้า 408

104. จาก “มัจมะอุซซะวาอิด” ของ “ฮัยษะมี” เล่ม 9 หน้า 106, อิบนุกะษีร ใน “ตารีค” เล่ม 5 หน้า 211, อะฮฺมัด บินฮัมบัล เล่ม 1 หน้า 119

105. อิบนุกะษีร ใน “อัล-บิดายะตุ วัน-นิฮายะฮฺ” เล่ม 5 หน้า 214

106. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 26 บทว่าด้วย “การขว้างผู้ผิดประเวณี”

107. จาก “ตารีคฏ็อบรี”, อิบนุอะษีร เรื่อง หลังจากอุมัร บินค็อฏฏอบตาย อุษมานก็ได้รับตำแหน่งค่อลีฟะฮฺ

108. จาก “ชะเราะฮฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ” ของมุฮัมมัด อับดุฮฺ เล่ม 1 หน้า 88

109. จาก “ตารีคฏ็อบรี” อิบนุอะษีร เรื่อง เหตุการณ์ เมื่อ ฮ.ศ. 36, “ชะเราะฮฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ” ของมุฮัมมัด อับดุฮฺ เล่ม 1 หน้า 88

110. ฏ็อบรี ในหนังสือ “ดะลาอิลุล-อิมามะฮฺ”

111. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 195

112. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 26, “ตารีคฏ็อบรี” , “ตารีคุ้ลคุละฟาอ์” ของอิบนุกุตัยบะฮฺ

113. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 28 บทว่าด้วย “อัลร็อจมุลฮับลี มินัซซินา อิซาอะฮฺศ่อนัต”

114. นักประวัติศาสตร์ล้วนกล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ไม่มีใครเข้าร่วมที่ซะกีฟะฮฺ นอกจากชาวมุฮาญิรีน 4 คน โปรดดู “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 26

115. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 26

116. อ้างแล้ว เล่มเดิม

117. อ้างแล้ว เล่มเดิม

118. จาก “ตารีคฏ็อบรี” ตอน การเป็นค่อลีฟะฮฺของอุมัร, “ชะเราะฮฺนะฮฺญุล-บะลาเฆาะฮฺ” ของอิบนุอะบิลฮะดีด

119. จาก “อัล-อิมามะฮฺ วัซ-ซิยาซะฮฺ” ของอิบนุกุตัยบะฮฺ เล่ม 1 หน้า 25

120. จาก “อัล-อิมามะฮฺ วัซ-ซิยาซะฮฺ” ของอิบนุกุตัยบะฮฺ เล่ม 1 หน้า 18

121. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 5 หน้า 75 (กิตาบุล-วะศียะฮฺ), “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 9

122. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 195

123. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 28, “ตารีคุล-คุละฟาอ์” เล่ม 1 หน้า 19

124. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 25

125. “ฏอบะกอต” ของอิบนุซะอัด ได้บันทึกเรื่องนี้ และนักประวัติศาสตร์หลายท่านก็ได้บันทึกในหัวข้อเรื่อง “การจัดทัพของอุซามะฮฺ บินซัยดฺ

126. มุฮัมมัด อับดุฮฺ ใน “ชะเราะฮฺนะฮฺญุล-บะลาเฆาะฮฺ” เล่ม 1 หน้า 88

127. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” บท “อัล-วะศียะฮฺ”

128. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 6 หน้า 2,3 และ “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 27

129. อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้าเดิม

130. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 81, “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” บทว่าด้วย สนธิสัญญาฮุดัยบียะฮฺ

131. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 76

132. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 1 หน้า 37

133. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 1 หน้า 45 บทว่าด้วย “ผู้ใดพบอัลลอฮฺด้วยความมีอีหม่าน เขาจะได้เข้าสวรรค์โดยไม่ต้องสงสัย”

134. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 1 หน้า 61

135. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 3 หน้า 168

136. จาก “มุซนัดอะฮฺมัด” เล่ม 5 หน้า 25, “มุซตัดร็อกฮากิม” เล่ม 3 หน้า 124

137. จาก “อัลมุซตัดร็อก” ของฮากิม เล่ม 3 หน้า 126

138. จาก “มุนตะค็อบ กันซุล-อุมมาล” เล่ม 5 หน้า 34

139. จาก “อัร-รยาฏุน-นัฏเราะฮฺ” ในเรื่อง “มะนากิบ อะชะเราะฮฺ ของฏ็อบรี (บท “ฟาฏออิล ของอิมามอะลี บินอะบีฏอลิบ”)

140. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 144, เล่ม 8 หน้า 151

141. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 209, “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” บทว่าด้วย “อัล-เฮาฏ์”

142. จาก “ซุนันอิบนุมาญะฮฺ” หมวดว่าด้วย “อัลฟิตัน” เล่ม 2 ฮะดีษ ที่ 3993, “มัซนัดอะฮฺมัด” เล่ม 3 หน้า 120, “ซุนันติรมิซี” ในบทว่าด้วย “อัลอิมาน”

143. จาก “มะนากิบ” ของค่อวาริซมี หน้า 48, “อัล-อิซตีอาบ” เล่ม 3 หน้า 39, “ตัซกิเราะตุซซับฏ์” หน้า 87, “มะฏอลิบุซ-ซุอูล” หน้า 13, “ฟัยฏุล-กอดีร” เล่ม 4 หน้า 357

144. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 5,12, เล่ม 5 หน้า 76,77 และ “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 7 หน้า 121 หมวดว่าด้วย “ฟะฏออิลุอะลี บินอะบีฏอลิบ”

145. จาก “มะนากิบค่อวาริซมี” หน้า 58, “ตัซกิเราะตุซ-ซับก์” หน้า 87

146. 88-90 จาก “ชะเราะฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ” ของอิบนุอะบิลฮะดีด

147. จาก “ตารีค ฏ็อบรี” เล่ม 2 หน้า 319, “ตารีค อิบนุลอะษีร เล่ม 2 หน้า 62

148. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 7 หน้า 120, “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” บทว่าด้วย “ฟะฏออิลุอะลี”

149. จาก “มุซตัดร็อก ฮากิม” เล่ม 3 หน้า 128

150. จาก “ซีเราะฮฺ ฮะละบียะฮฺ”, “ฏ่อบะกอตอิบนุซะอฺด

151. จาก “กันซุล-อุมมาล” เล่ม 6 หน้า 392 ฮะดีษ 6009, “ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ” หน้า 73

152. จาก “มุซตัดร็อก ฮากิม” เล่ม 3 หน้า 122, “ตารีคดิมิชกฺ” ของอิบนุอะซากิร เล่ม 2 หน้า 488

153. ทำนองเดียวกับฮะดีษที่ว่าด้วยการปฏิบัติตามแนวทางของพวกยิวและนัศรอนีทีละคืบทีละศอกจนกระทั่งเข้าไปในรูแย้ และพวกเขาก็ติดตามไปด้วย รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม

154. เช่นโองการของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่ว่า “ถ้าหากเขาได้ตายหรือถูกสังหาร สูเจ้าก็จะหวนกลับไปสู่สภาพเดิมของพวกสูเจ้า” (อาลิอิมรอน / 144) และ (อัล-ฟุรกอน / 30)

155. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 10, “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” หมวดว่าด้วย “ศิฟาต มุนาฟิกีน”

156. ท่านครูได้ชี้แจงถึงเรื่องการมีชัยชนะในอัฟริกาเหนือ เมื่อสมัยอุษมาน บินอัฟฟาน เพราะถ้าหากไม่มีชัยชนะในครั้งนั้น พวกเราจะต้องไม่รู้จักอิสลาม

157. ฏ็อบรี, อิบนุลอะษีร, ยะอฺกูบี และ มัซอูดี รวมทั้งนักประวัติศาสตร์ทุกคนต่างกล่าวถึงเรื่องที่ท่านหญิงอาอีชะฮฺออกมาทำสงครามญะมัล

158. จาก “ตารีคฏ็อบรี” เล่ม 5 หน้า 153 “ตารีค อิบนุกะษีร” เล่ม 7 หน้า 227, “ตารีค ยะอฺกูบี” เล่ม 2 หน้า 127

159. ตารีค อิบนุกะซีร เล่ม 8 หน้า 131, มักอติล อัต-ตอลิบีน หน้า 70, ชะเราะฮฺ นะฮฺญุล-บะลาเฆาะฮฺ อิบนุอะบีฮะดีด เล่ม 4 หน้า 16

160. จาก “ตารีค ฏ็อบรี” ตอน ตำแหน่งค่อลีฟะฮฺของอุษมาน บินอัฟฟาน, “ตารีคอิบนุลอะษัร” ตอน การเป็นค่อลีฟะฮฺของอุษมาน บินอัฟฟาน

161. จาก “ตารีค ฏ็อบรี”, “ตารีค อิบนุอะษีร”

162. ท่านอัมมาร บินยาซิร ถูกเฆี่ยนตีจนฟกช้ำ ใช้เวลารักษานานอยู่หลายเดือน

163. ท่านอะบูซัร ฆ็อฟฟารี ถูกเนรเทศ และเสียชีวิตอยู่คนเดียว ขณะที่ถูกขับไล่ออกจากเมือง

164. ท่านอับดุลลอฮฺ บินมัซอูด ถูกทุบตีจนกระดูกหัก ทั้งหมดนี้มีบันทึกอยู่ในตำราประวัติศาสตร์อิสลามทุกเล่ม

165. ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ชาวอาหรับที่อาศัยอยู่นอกเขตเมืองมะดีนะฮฺนั้นชิงชังท่านอะลี เช่นเดียวกับที่ไม่รักท่านนบีมุฮัมมัด จะเห็นได้ว่า เขาเข้าพบท่านนบีโดยมิได้ให้สลาม และเรียกชื่อเฉยๆ สมจริงตามที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ตรัสว่า พวกอาหรับนั้นปฏิเสธและละเมิดอย่างรุนแรง โดยไม่รับรู้ในกฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺที่ประทานมายังศาสนทูตของพระองค์(ศ)

166. จาก “ชะวาฮิดุต-ตันซีล” ของฮัซกานี เล่ม 2 หน้า 286, “ตัฟซีรษะอฺละบี” ในซูเราะฮฺ “ซะอะละ ซาอิลุนฯ”, “ตัฟซีรกุรฏุบี” เล่ม 18 หน้า 278, “ตัฟซีร อัล-มะนาร” ของ รอชีดริฎอ เล่ม 6 หน้า 464, “ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ” ของก็อนดูซี หน้า 723, “อัลมุซตัดร็อก” ของฮากิม เล่ม 2 หน้า 502, “อัซซีเราะตุลฮะลีบียะฮฺ” เล่ม 3 หน้า 275

167. “อัล-มะอาริฟ” ของอิบนุกุตัยบะฮฺ หน้า 251

168. “มุซนัด อะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 1 หน้า 119

169. “อันซาบุล-อัชรอฟ” ของบะลาซุรี เล่ม 1 และ เล่ม 2 หน้า 152

170. “ตารีคดิมชกฺ” เล่ม 2 หน้า 7, “อะบะกอตุ้ลอันวาร” เล่ม 2 หน้า 309

171. ดังกรณีที่ท่านอิมามอะลี(อฺ)เรียกให้ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์อัลเฆาะดีรลุกขึ้นกล่าวยืนยัน และนักประวัติศาสตร์จำนวนไม่น้อยที่กล่าวถึงเรื่องนี้ ตามที่ได้ยกมากล่าวแล้ว

172. จาก “ตารีค อิบนุอะซากิร” เล่ม 3 หน้า 5, “มะนากิบ ค่อวาริซมี” หน้า 42

173. จาก “ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ” เล่ม 2 หน้า 3 อ้างจากอัด-ดัยละมี

174. บุคอรี, มุสลิม รายงานถึงจำนวน ส่วน “ยะนาบีอุลมะวัดดะฮฺ” ระบุถึงจำนวนและรายนามด้วย

175. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 8 หน้า 44

176. จากซูเราะฮฺ อัมบิยาอ์ / 23

177. จากซูเราะฮฺ อัล-บุรุจญ์ / 16

178. จากซูเราะฮฺ อัน-นิซาอ์ / 40

179. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 75

180. จาก “ตารีคฏ็อบรี” ตอน การปิดล้อมอุษมาน และ “ตารีค อิบนุลอะษีร”

181. จาก “มะกอฏิลุฏอลิบีน” หน้า 70, อิบนุกะษีร เล่ม 8 หน้า 131, อิบนุอะบิลฮะดีด เล่ม 3 หน้า 16

182. จาก “อัล-อิมามะฮฺ วัซ-ซิยาซะฮฺ” เล่ม 1 หน้า 151, สั่งให้เอาบัยอะฮฺของมุอาวิยะฮฺเพื่อ ยะซีด ในเมืองซีเรีย

183. จาก “มะกอฏิลุฏ-ฏอลิบีน” ตอนสังหารท่านฮุเซน

184. เช่น ชะฮีด มุฮัมมัด บาเก็ร อัศ-ศ็อดรฺ, ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ให้คุณประโยชน์แก่ข้าพเจ้าในเรื่องนั้นมากมาย ท่านซัยยิด อัล-คูอี และอัลลามะฮฺ มุฮัมมัด ฏ่อบาฏ่อบาอี และ ท่านซัยยิดฮะกีม และอื่นๆ อีก

185. จาก “ชะเราะฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ” ของเชคมุฮัมมัด อับดุฮฺ เล่ม 4 หน้า 673

186. เป็นความเชื่อของชีอะฮฺ ในเรื่อง “ก่อฎอ-ก่อดัร”

187. จาก “อุกดุล-ฟะรีด” ของอิบนุ อับดุร็อบะฮฺ เล่ม 3 หน้า 42

188. อิบนุฮะญัร ใน “อัศ-ศ่อวาอิก” หน้า 148, “มัจมุอุซ-ซะวาอิด” เล่ม 9 หน้า 163, “ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ” หน้า 41, “อัด-ดุรรุล-มันษูร ของซะยูฏี เล่ม 2 หน้า 60, “กันซุล-อุมมาล” เล่ม 1 หน้า 168, “อุซะดุ้ลฆอบะฮฺ” เล่ม 3 หน้า 137

189. จาก “มุซตัดร็อก อัล-ฮากิม” เล่ม 3 หน้า 148

190. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 137

191. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 3 หน้า 168, “ศ่อฮีฮฺติรมิซี” , “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” , “ศ่อฮีฮฺอิบนุมาญะฮฺ” หมวดว่าด้วย “อัล-วะศ่อยา”

192. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” บทว่าด้วย การป่วยของนบีและการวะฟาต เล่ม 5 หน้า 138

193. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 36, “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 1 หน้า 67

194. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” หมวดว่าด้วย ความรู้ เล่ม 1 หน้า 36

195. อัล-กิซฏ่อลานี ใน “อิรชาดุซ-ซารี” เล่ม 10 หน้า 298, อิบนุฮะญัร ใน “ฟัตฮุล-บารี” เล่ม 13 หน้า 230

196. จาก “ตัฟซีรอิบนุญะรีร” เล่ม 3 หน้า 38, “กันซุล-อุมมาล” เล่ม 1 หน้า 287, “อัล-มุซตัดร็อก” เล่ม 2 หน้า 14, “ตัฟซีร อัล-กิชาฟ” เล่ม 3 หน้า 253, อิบนุตัยมียะฮฺ ในบทนำของ “อุศูลุตตัฟซีร” หน้า 30, “ตัฟซีรอิบนุกะษีร” เล่ม 4 หน้า 473

197. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 232 บทว่าด้วย ผู้ถือศีลอดที่ตื่นเช้าในสภาพมีญุนุบ, “มุวัฏเฏาะ” ของอิมามมาลิก เล่ม 1 หน้า 272 (เรื่องการตื่นเช้าในสภาพมีญุนุบในเดือนร่อมะฎอน)

198. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 31 หมวดว่าด้วย “ลาฮามะฮฺ”

199. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 3 หน้า 61, “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 5 หน้า 86

200. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 10 หน้า 31, “มุวัฏเฏาะฮฺ อิมามมาลิก” เล่ม 2 หน้า 116

201. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 10 หน้า 31, บางฉบับอยู่ในเล่ม 4 หน้า 167

202. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 10 หน้า 31(เรื่องการให้นม)

203. อ้างเล่มเดิม

204. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 10 หน้า 32 อีกฉบับหนึ่งอยู่ในเล่ม 4 หน้า 170, “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 3 หน้า 150

205. ขัดแย้งกันในเรื่องการจะทำสงครามกับพวกที่ไม่ยอมจ่ายซะกาต

206. ในเรื่องที่ดินฟะดัก ฮะดีษที่ว่า พวกเราชาวอัมบิยาอ์ ไม่มีมรดก อันใดที่เราละทิ้งไว้ถือว่าเป็นทาน

207. เรื่องการให้นมคนมีอายุแล้ว ซึ่งท่านหญิงอาอิชะฮฺรายงาน แต่ภริยาทั้งหลายของนบีคัดค้าน

208. เรื่องท่านนบี(ศ)ตื่นนอนในสภาพมีญุนุบแล้วถือศีลอด

209. เรื่องการทำอุมเราะฮฺของท่านนบี(ศ) 4 ครั้ง มี 1 ครั้งที่ทำในเดือนเราะญับ และการปฏิเสธของท่านหญิงอาอิชะฮฺ

210. ทั้งสองคนขัดแย้งกันในเรื่องมุตอะฮฺว่าฮะรอมหรือฮะลาล ดู “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 6 หน้า 129

211. ค่อวาริซมี ใน “อัลมะนากิบ” หน้า 44, “อัลอิศอบะฮฺ” ของอิบนุฮะญัร เล่ม 1 หน้า 25, “กิฟายุฏฏอลิบ” หน้า 334 , “อิฮฺกอกุ้ลฮัก” เล่ม 6 หน้า 37

212. “มุซตัดร็อก อัลฮากิม” เล่ม 3 หน้า 122, “ตารีคดิมิชกฺ” ของอิบนุอะซากิร เล่ม 2 หน้า 488, “กันซุลฮะกออิก” ของมะนาวี หน้า 203, “ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮฺ” หน้า 182

213. จาก “มุซนัด อิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 5 หน้า 122, “อัด-ดุรรุล-มันษูร” เล่ม 2 หน้า 60, “กันซุล-อุมมาล” เล่ม 1 หน้า 154, “มัจญมะอุซ-ซะวาอิด” เล่ม 9 หน้า 162, “ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ” หน้า 38,183, “อะบะกอตุล-อันวาร” เล่ม 1 หน้า 16, “อัล-มุซตัดร็อก” เล่ม 3 หน้า 148

214. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 44

215. อิมามชัรฟุดดีนได้รวบรวมประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาตีความบทบัญญัติอันชัดแจ้งมากกว่าร้อยเรื่องในหนังสือ “อันนุศศุ วั้ลอิจญ์ติฮาด”

216. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 137 บทว่าด้วย กรุสมบัติคือ อัล-คุมซฺ

217. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 136 บทว่าด้วย สิ่งของที่ถูกนำออกมาจากทะเล

218. จาก “ตารีคบัฆดาด” ของท่านคอฏีบ อัล-บัฆดาดี เล่ม 14 หน้า 321, “ตารีคอิบนุอะซากิร” เล่ม 3 หน้า 119

219. (หมายเหตุจากผู้แปล) ดร.ติญานีเขียนหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่สมัยที่อิมามโคมัยนี(ร.ฎ.) และอายะตุลลอฮฺคูอี(ร.ฏ.)ยังมีชีวิตอยู่ แต่ในปัจจุบันนี้ท่านทั้งสองเสียชีวิตไปแล้ว

220. ดังที่ท่านซะมัคชะรีได้รายงานไว้ในหนังสือ “รอบีอุลอับรอร” ว่า คนแรกที่สวมแหวนมือซ้าย ซึ่งขัดแย้งกับซุนนะฮฺนบีได้แก่ มุอาวียะฮฺ บินอะบูซุฟยาน

221. จาก “มินฮาญุซซุนนะฮฺ” ของอิบนุตัยมิยะฮฺ เล่ม 2 หน้า 143 (เรื่องความคล้ายคลึงกับพวกเราะวาฟิฎ)

222. จาก “ชะเราะฮฺ อัล-มะวาฮิบ” ของท่านซัรกอนี เล่ม 5 หน้า 13

223. ซะมัคชะรีบันทึกไว้ในหนังสือ “เราะบีอุล-อับรอร”

224. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 99 บทว่าด้วยเรื่องไม่อนุญาตให้ใช้ความทุจริตและความรุนแรงเพื่อคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

225. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 252 บทว่าด้วย นมาซตัรวีฮฺ

226. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 99 บทว่าด้วยเรื่อง ไม่อนุญาตให้ใช่ความทุจริตและความรุนแรงเพื่อคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

227. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 35

228. จาก “ศอวาอิก” ของอิบนุฮะญัร หน้า 106, “ซะคออิรุลอะก่อบา” หน้า 64, “อัล-ริยาฏุนนะฏ่อเราะฮฺ” เล่ม 2 หน้า 215, “อิฮฺกอกุ้ลฮัก” เล่ม 7 หน้า 217

229. จาก “อะกออิดุล-อิมามียะฮฺ” เล่ม 67 หัวข้อที่ 24

230. จาก “อัล-อุดดุลฟะรีด” ของอิบนุ อับดุร็อบบะฮฺ เล่ม 3 หน้า 42

231. จาก “ศ่อฮีฮฺติรมิซี” เล่ม 5 หน้า 328, ฮากิม ในหนังสือ “มุซตัดร็อก” เล่ม 3 หน้า 148, อิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล ในหนังสือ “มุซนัด” ของท่าน เล่ม 5 หน้า 189

232. จาก “มุซตัดร็อก” ของท่านฮากิม เล่ม 2 หน้า 343, “กันซุล-อุมมาล” เล่ม 5 หน้า 95, “อัศ-ศอวาอิก” ของอิบนุฮะญัร หน้า 184

233. จาก “กันซุล-อุมมาล” เล่ม 6 หน้า 155, “มัจญมะอุซ-ซะวาอิด” ของฮัยษุมี เล่ม 9 หน้า 108, “อัล-อิศอบะฮฺ” ของอิบนุฮะญัร, “ญามิอุลกะบีร”, “ตารีค อิบนุอะซากิร” เล่ม 2 หน้า 99, “มุซตัดร็อก” ของท่านฮากิม เล่ม 3 หน้า 128, “ฮิลยะตุล-เอาลิยาอฺ” เล่ม 4 หน้า 349, “อิฮฺกอกุ้ล-ฮัก” เล่ม 5 หน้า 108

234. จาก “ตัฟซีรฏ็อบรี” เล่ม 13 หน้า 108, “ตัฟซีรรอซี” เล่ม 5 หน้า 271, “ตัฟซีร อิบนุกะษีร” เล่ม 2 หน้า 502, “ตัฟซีรเชากานี” เล่ม 3 หน้า 70, “ตัฟซีรซะยูฏี อัดดุรรุล-มันษูร” เล่ม 4 หน้า 45, “ชะวาฮิดุตตัซซีล” เล่ม 1 หน้า 293

235. จาก “นะฮฺญุล บะลาเฆาะฮฺ” ของท่านอิมามะลี(อฺ) เล่ม 1 หน้า 155 ท่านเชคมุฮัมมัด อับดุ ได้มีหมายเหตุอธิบายคุฏบะฮฺตอนนี้ว่า บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นถึงจะตายเป็นมัยยิต แต่ในความเป็นจริงแล้ว หาใช่มัยยิตไม่

236. จาก “ยะนาบีอุล-มะวัดดะฮฺ” เล่ม 3 หน้า 99

237. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” กิตาบุล-อะฮฺกาม เล่ม 8 หน้า 127

238. จาก “อัล-อักดุล-ฟะรีด” ของ อิบนุอับดุร ร็อบบะฮฺ เล่ม 3 หน้า 42

239. จาก “อัศ-ศ่อวาอิก” ของอิบนิฮะญัร หน้า 148, “อัด-ดุรรุล-มันษูร” ของซะยูฏี เล่ม 2 หน้า 60, “กันซุล-อุมมาล” เล่ม 1 หน้า 168, “อุซะดุล-ฆอบะฮฺ” เล่ม 3 หน้า 137

240. จาก “นะฮฺญุล บะลาเฆาะฮฺ” เล่ม 2 หน้า 143, “ซะเราะฮฺมุฮัมมัดอับดุฮฺ คุฏบะฮฺที่ 143

241. จาก “ตัฟซีรฏ็อบรี” เล่ม 14 หน้า 134, “ตัฟซีรอิบนุกะษีร” เล่ม 2 หน้า 570, “ตัฟซีรกุรฏุบี” เล่ม 11 หน้า 272, “ชะวาฮิดุต-ตันซีล” เล่ม 1 หน้า 334

242. “มะนากิบอาลิอะบีฏอลิบ” เรื่องท่านอิมามศอดิก

243. ญะลาลุดดีน ซะยูฏี ใน “อัด-ดุรรุล-มันษูร” เล่ม 4 หน้า 661

244. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 78 หมวดว่าด้วย “บะดะอุล-ค็อลกฺ” บทว่าด้วย “ซิกรุรมะลาอิกะฮฺ”

245. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 250 บทว่าด้วย “อัลมิอฺรอจญ์” , “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 1 หน้า 101 บทว่าด้วย “อัลอิสรออ์ของท่านร่อซูลุลลอฮฺและการกำหนดการนมาซ

246. อ้างเล่มเดียวกัน

247. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 259

248. จาก “อัด-ดุรรุล-มันษูร” ของท่านซะยูฏี

249. จาก “ซุนันบัยฮะกี” , “มุซตัดร็อก ฮากิม”

250. ท่านซะยูฏี ในหนังสือ “อัด-ดุรรุล-มันษูร” เล่ม 2 หน้า 176

251. จาก “อัฏ-ฏอบากอตุลกุบรอ” ของอิบนุ ซะอัด

252. จาก “ซุนันบัยฮะกี”

253. จาก “อัด-ดุรรุล-มันษูร” ของซะยูฏี เล่ม 2 หน้า 178

254. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 102

255. จาก “อัซ-ซีเราะตุลฮะละบียะฮฺ” เล่ม 3 หน้า 61

256. จาก “อิฮฺยาอุล-อุลูมุล-ดีน” ของท่านเฆาะซาลี

257. จาก “อะฮฺกามุล-กุรอาน” ของอัร-รอซี เล่ม 2 หน้า 10

258. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 7 หน้า 81 บทว่าด้วยเรื่องนบี(ศ) มิใช่คนชั่ว และไม่มีความชั่วติดตัว

259. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 4 หน้า 158

260. จาก “ ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 5 หน้า 158

261. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 4 หน้า 131

262. อ้างเล่มเดิม

263. จาก “ตัฟซีรอัล-กะบีร” ของษะอฺละบี, “ตัฟซีรอัล-กะบีร” ของฏ็อบรี

264. จาก “ตัฟซีรอัล-กะบีร” ของฟัครุลรอซี

265. จาก “มุซนัดอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 1 หน้า 337

266. จาก “ศ่อฮีฮฺติรมิซี” เล่ม 1 หน้า 157

267. จาก “อัตะฮฺรีร วัตตันวีร” ของฏอฮิร บินอาชูร เล่ม 3 หน้า 5

268. หนังสือฟัศลุล-คิฏอบ มิได้อ้างถึงหลักฐานจากชีอะฮฺแต่อย่างใด ขณะเดียวกันได้อ้างถึงรายงานต่างๆ อันว่าด้วยความบกพร่องและการต่อเติมในอัล-กุรอาน ล้วนแต่รายงานโดยหนังสือศ่อฮีฮฺของฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ เช่น บุคอรี มุสลิม และมุซนัดอะฮฺมัด บินฮัมบัล

269. ข้อเขียนของอุซตาซมุฮัมมัด มะดะนี คณบดีกฎหมายอิสลาม มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ในวารสาร ริซาละฮฺอิสลาม ฉบับที่ 4 ปีที่ 11 หน้า 382 และ 383

270. ท่านซะยูฏี ในหนังสือ “อัล-อิตกอน” และเช่นกัน ใน “อัด-ดุรรุล-มันษูร”

271. จาก “มุซนัด อิมามอะอฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 5 หน้า 132

272. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 252

273. จาก “มุซนัด อิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 5 หน้า 131

274. จาก “ตารีคดะมิชกฺ” ของอิบนุอะซากิร เล่ม 2 หน้า 228

275. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 215

276. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 216

277. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 26(การขว้างคนทำซินา ถ้ามีคู่ครองแล้ว)

278. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 3 หน้า 100

279. จาก “มุซนัด อิมามอะฮฺมัด บินฮัมบัล” เล่ม 1 หน้า 221

280. จาก “มุวัฏเฏาะ” ของอิมามมาลิก เล่ม 1 หน้า 161

281. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 2 หน้า 151 บทว่าด้วย รวมสองนมาซในยามพำนักอยู่ภูมิลำเนา

282. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 2 หน้า 152

283. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 2 หน้า 152

284. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 1 หน้า 140 บทว่าด้วย เวลามัฆริบ

285. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 1 หน้า 138 บทว่าด้วย เวาลาอัศริ

286. มีนิทานเรื่องหนึ่งเล่ากันว่า ผู้ชายสองคนได้ออกไปล่าสัตว์ และได้เห็นสัตว์สีดำตัวหนึ่งตั้งแต่ไกล ชายคนแรกกล่าวว่า “แท้จริงนั่นคืออีกา” แต่ชายคนที่สองแย้งว่า “มันคือลูกกวางต่างหาก” ทั้งสองคนก็โต้เถียงกัน ต่างฝ่ายต่างก็ยึดถือความคิดเห็นของตัวเองไม่ยอมแพ้แก่กัน แต่ทว่าเมื่อพวกเขาทั้งสองเข้าไปใกล้ๆ กับสัตว์ตัวสีดำนั้น ก็ปรากฏว่ามันเป็นอีกาจริง มันตกใจกลัว และบินหนีไปอย่างรวดเร็ว ชายคนแรกกล่าวว่า “เห็นไหม ฉันบอกท่านแล้วว่ามันเป็นอีกา บัดนี้ท่านยอมรับแล้วหรือยัง” แต่เพื่อนของเขาก็ยังยืนยันตามความเห็นของตัวเองอีกนั่นแหละ เขากล่าวว่า “ซุบฮานัลลอฮฺ ลูกกวางบินได้หรือนี่ ?”

287. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 1 หน้า 168 บทว่าด้วย อนุญาตให้คนมีระดูล้างศีรษะของสามีได้, “ซุนันอะบูดาวูด” เล่ม 1 หน้า 68 บทว่าด้วย คนมีระดูเอาของจากมัสญิด

288. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 2 หน้า 256 บทว่าด้วย การอิอ์ติกาฟในสิบคืนสุดท้าย

289. จาก “ซุนันอิมามนะซาอี” เล่ม 2 หน้า 204 บทว่าด้วย การทำให้กรวดทรายเย็นเสียก่อน เพื่อซุญูดลงไป

290. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 1 หน้า 86 บทว่าด้วย ตะยัมมุม

291. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 2 หน้า 64 บทว่าด้วย สถานที่ซุญูดและสถานที่นมาซ

292. จาก “มุซตัดร็อก” ของฮากิม เล่ม 3 หน้า 123, “ตารีคดะมิชกฺ” ของอิบนุอะซากิร” เล่ม 2 หน้า 234, “อัตตารีคุ้ลกะบีร” ของบุคอรี เล่ม 2 หน้า 281

293. จาก “มุซตัดร็อก อัล-ฮากิม” เล่ม 3 หน้า 128

294. จาก “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 1 หน้า 48, “กันซุล-อุมมาล” เล่ม 15 หน้า 105

295. จาก “ตัฟซีร อัล-กะบีร” ของษะอฺละบี โองการมะวัดดะฮฺ, “ตัฟซีรอัล-กิชาฟ” ของท่านซะมัคชะรี, “ตัฟซีรอัล-ฟัครุล-รอซี” เล่ม 7 หน้า 405

296. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 20,76 และ “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 7 หน้า 120

297. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 1 หน้า 9 บทว่าด้วย วาญิบให้รักท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ), “ศ่อฮีฮฺมุสลิม” เล่ม 1 หน้า 49, และมีใน “ศ่อฮีฮฺติรมิซี” เช่นกัน

298. เช่น ท่านชะฮีด มุฮัมมัดบากิร อัศ-ศ็อดร์ ในหนังสือ “บะฮฺษุ เฮาลัลมะฮฺดี”

299. จาก “ซุนันอะบูดาวูด” เล่ม 2 หน้า 422

300. จาก “ซุนันอิบนุมาญะฮฺ” เล่ม 2 เลขฮะดีษ 4082,4087

301. จาก “ซุนันอิบนุมาญะฮฺ” เล่ม 2 เลขฮะดีษ 4086

302. จาก “อัลญามิอุศศอฮีฮฺ” ของติรมิซี เล่ม 9 หน้า 74-75

303. จาก “ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 4 หน้า 143 บทว่าด้วย การเสด็จลงมาของอีซา บุตรมัรยัม

304. จาก “ฟัตฮุล-บารี” เล่ม 5 หน้า 362

305. จาก “อัศศอวาอิกุ้ล-มุฮัรร่อเกาะฮฺ” ของอิบนุฮะญัร เล่ม 2 หน้า 211






๒๗