หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20813
ดาวน์โหลด: 4367

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20813 / ดาวน์โหลด: 4367
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

๔.ถ้าไม่ตั้งใจที่จะอาศัยอยู่ ณ ที่หนึ่งถาวร แต่ได้อยู่ที่นั่นนานจนกระทั่งชาวบ้านถือว่าเขาเป็นคนที่นั่นไปแล้ว ที่นั่นอยู่ในกฎบ้านของตน

๕.ถ้าเดินทางไปยังเมืองที่เคยเป็นบ้านตนมาก่อนแต่ปัจจุบันได้ย้ายออกไปแล้ว ต้องไม่นมาซเต็ม ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่ได้เลือกที่ใดเป็นที่อยู่อาศัยถาวรสำหรับตนก็ตาม

๖.ผู้ที่เดินทางกลับมายังบ้านเกิดของตน หากได้ยินเสียงอะซานหรือเห็นกำแพงเมือง จำเป็นต้องนมาซเต็ม

เจตนาที่จะพัก ๑๐ วัน

๑. ถ้าผู้เดินทางตั้งใจที่จะพัก ณ ที่หนึ่งเป็นเวลา ๑๐ วัน ถ้าอยู่มากกว่านั้นตราบที่ยังไม่ได้เดินทาง ต้องนมาซเต็ม และไม่จำเป็นต้องเนียตพักที่นั่น ๑๐ วัน ใหม่อีกครั้ง

๒. ถ้าผู้เดินทางเปลี่ยนใจไม่อยู่ที่นั่น ๑๐ วัน

- ก่อนที่จะนมาซเต็มสี่เราะกะอัต ถ้าเปลี่ยนใจ ต้องนมาซลดจำนวน

- หลังจากนมาซเต็มสี่เราะกะอัต ถ้าเปลี่ยนใจตราบที่ยังอยู่ที่นั่นต้องนมาซเต็ม                            



สำหรับผู้เดินทางที่นมาซเต็ม

๑. ผู้เดินทางที่ไม่รู้ว่าต้องนมาซลดจำนวน ได้นมาซเต็ม ถือว่าถูกต้อง

๒. ถ้ารู้เงื่อนไขของการเดินทางแต่ไม่รู้รายละเอียด หรือไม่รู้ว่ากำลังเดินทาง นมาซที่ทำแล้วต้องทำใหม่

ไม่ใช่ผู้เดินทางแต่นมาซลดจำนวน

บุคคลที่ต้องนมาซเต็ม แต่ได้ได้นมาซลดจำนวน ทุกกรณีนมาซบาฏิล



นมาซชดเชย (เกาะฏอ)

เป็นหน้าที่สำหรับทุกคนที่ต้องนมาซวาญิบในเวลา ถ้าไม่มีอุปสรรคอันใดปล่อยให้นะมาซล่าออกไปจนต้องชดเชย  ถือว่าได้ทำบาปต้องขอลุแก่โทษและต้องชดเชย (เกาะฏอ) นมาซ

๑. มี ๒ กรณี วาญิบต้องชดเชยนมาซ

-ไม่ได้นมาซวาญิบในเวลา

- หลังจากเวลานมาซผ่านไปแล้ว รู้ว่านมาซที่ทำแล้วบาฏิล

๒. ผู้ที่มีนมาซชดเชย ต้องไม่เพิกเฉยในการปฏิบัติ แต่ไม่วาญิบต้องรีบชดเชย

๓. สภาพที่แตกต่างของตนกับการชดเชย (เกาะฏอ) นมาซ

- ถ้ารู้ว่าตนไม่มีนมาซเกาะฏอ ไม่มีสิ่งใดวาญิบ

- ถ้าสงสัยว่าตนมีนมาซเกาะฏอหรือไม่ ไม่มีสิ่งใดวาญิบ

- ถ้าคาดว่าตนอาจจะมีนมาซเกาะฎอ มุซตะฮับให้เกาะฎอ

- ถ้ารู้แน่ว่าตนมีนมาซเกาะฏอ แต่ไม่รู้จำนวนที่แน่นอนว่าเท่าไหร่ เช่น ไม่รู้ว่า ๔ หรือว่า ๕ เวลา ถ้าเกาะฎอจำนวนน้อยที่สุด ถือว่าเพียงพอ

- ถ้ารู้จำนวนที่แน่นอน ต้องเกาะฎอไปตามนั้น

๔. เกาะฎอนมาซวาญิบประจำวัน ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับ เช่น ถ้าวันหนึ่งไม่ได้นมาซอัซรฺ และอีกวันไม่ได้นมาซซุฮรฺ ดังนั้น ไม่จำเป็นว่าต้องเกาะฏอนะมาซอัซรฺก่อน หลังจากนั้นจึงเกาะฎอซุฮรฺ

๕. นมาซเกาะฎอ สามารถทำร่วมกับญะมาอัตได้ ไม่จำเป็นว่าอิมามจะนมาซในเวลาปกติ หรือเกาะฎอ เพราะไม่จำเป็นว่าสองคนต้องนมาซเหมือนกัน เช่น ถ้านำนมาซเกาะฏอซุบฮฺ ไปร่วมญะมาอัตซุฮริหรืออัซริกับอิมาม ไม่เป็นไร

๖. ผู้เดินทางที่ต้องนมาซลดจำนวน ถ้าระหว่างเดินทางไม่ได้นมาซซุฮริ อัซริ หรืออิชาอฺ ฉะนั้น ต้องเกาะฎอ ๒ เราะกะอัต แม้ว่าต้องการเกาะฎอนะมาซในเวลาปกติก็ตาม

๗. ระหว่างเดินทางไม่สามารถถือศีลอดได้ แม้แต่ศีลอดเกาะฎอก็ตาม แต่นะมาซเกาะฎอ สามารถทำได้

๘. ขณะเดินทางต้องการเกาะฎอนะมาซที่ขาดไปในช่วงปกติ ถ้าเป็นนมาซซุฮริ อัซริ หรืออิชาอฺ ต้องเกาะฎอเต็ม ๔ เราะกะอัต

๙. นมาซเกาะฏอ สามารถทำได้ทุกเวลากล่าวคือ สามารถเกาะฏอนมาซซุบฮฺในเวลาซุฮริ หรือกลางคืนก็ได้



นะมาซเกาะฎอแทนบิดา

๑. ตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่ ถึงแม้จะไม่สามารถนมาซได้ด้วยตัวเอง บุคคลอื่นไม่สามารถนมาซแทนได้

๒. หลังจากบิดาเสียชีวิต* นะมาซและศีลอดที่ไม่กระทำ วาญิบสำหรับบุตรชายคนโตที่ต้องเกาะฏอนะมาซและศีลอดแทนบิดา และอิฮฺติยาฎมุซตะฮับ ให้เกาะฎอนะมาซและศีลอดของมารดาที่ขาดไปด้วย

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี หลังจากบิดาหรือมารดาได้เสียชีวิต

๓. สถานภาพ ของบุตรชายคนโตกับนมาซเกาะฎอของบิดา*

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี.....กับนะมาซเกาะฎอของบิดาหรือมารดา

ก. ถ้ารู้แน่นอนว่าบิดามีนะมาซเกาะฎอ และ

- รู้จำนวนนมาซที่ขาดไป ต้องเกาะฎอนะมาซเหล่านั้น

- ถ้าไม่รู้จำนวนนมาซที่ขาดไป ให้เกาะฎอจำนวนน้อยที่สุดก็พอ

- ถ้าสงสัยว่าบิดาได้เกาะฏอแล้วหรือยัง อิฮฺติยาฏวาญิบให้เกาะฎอ 

ข. สงสัยว่าบิดามีนมาซเกาะฎอหรือไม่ ไม่มีสิ่งใดวาญิบสำหรับตน

๔. ถ้าบุตรชายต้องการเกาะฎอนมาซแทนบิดาหรือมารดา ต้องทำไปตามหน้าที่ของตน เช่น ถ้าเป็นนมาซซุบฮฺ มัฆริบ หรืออิชาอฺต้องอ่านเสียงดัง

๕. ถ้าบุตรชายคนโตเสียชีวิตก่อนที่จะเกาะฎอศีลอดและนมาซแทนบิดา ไม่มีสิ่งใดเป็นวาญิบสำหรับบุตรชายคนถัดไป



นมาซญะมาอะฮฺ

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า นมาซรวมเป็นหมู่คณะหนึ่งครั้ง ย่อมประเสริฐกว่านมาซเพียงคนเดียวในบ้านถึง ๔๐ ปี เศาะฮาบะฮฺ ถามว่า นมาซหนึ่งวันหรือ ท่าน (ซ็อล ฯ) ตอบว่า ไม่ใช่ นมาซเพียงเวลาเดียว (รวมเป็นหมู่คณะ)   

ความเป็นเอกภาพของประชาชาติ เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่อิสลามได้ให้ความสำคัญไว้อย่างมาก และเพื่อรักษาให้สิ่งนี้ธำรงต่อไป อิสลามจึงได้กำหนดนโยบายพิเศษขึ้นมา และหนึ่งในนโยบายนั้นคือ นมาซญะมาอะฮฺ

นมาซญะมาอะฮฺ ต้องมีหนึ่งในผู้นมาซที่มีบุคลิกและคุณสมบัติที่สมาบูรณ์พร้อม ทำหน้าที่เป็น อิมาม นำนมาซ ส่วนที่เหลือยืนแถวให้เป็นระเบียบข้างหลังอิมาม และนมาซไปพร้อมกัน

และะมาซที่ทำรวมกัน บุคคลที่ยืนนำนมาซเรียกว่า อิมามญะมาอะฮฺ ส่วนผู้ที่นะมาซตามข้างหลังเรียกว่า มะอฺมูม



ความสำคัญ ของนมาซญะมาอะฮฺ

ริวายะฮฺ(รายงาน)จำนวนมากกล่าวถึงมรรคผลของนมาซญะมาอะฮฺ นอกจากนั้นแล้วจะเห็นว่าบางส่วนของบทบัญญัติก็ให้ความสำคัญกับอิบาดะฮฺนี้ไว้เช่นกัน ซึ่งจะขอนำเสนอบางประเด็นดังนี้

๑. การเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺมุซตะฮับสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ติดกับมัสญิด

๒.มุซตะฮับให้ปล่อยเวลานมาซล่าออกไปเพื่อรอนมาซญะมาอะฮฺ

๓. นมาซญะมาอะฮฺ ถึงแม้ว่าจะทำไม่ตรงเวลา แต่ดีกว่าการนมาซคนเดียว (ฟุรอดา)) ที่ตรงเวลา

๔.นมาซญะมาอะฮฺสั้น ๆ ดีกว่า การนมาซคนเดียวที่ยาวนาน

๕. เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ถ้าละทิ้งนมาซญะมาอะฮฺโดยไม่มีเหตุผลหรือมีอุปสรรค

๖.ไม่อนุญาต ให้ละทิ้งนมาซญะมาอะฮฺเพราะความไม่สนใจ



เงื่อนไขของนะมาซญะมาอะฮฺ

เมื่อต้องการกระทำนมาซญะมาอะฮฺต้องให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขต่อไปนี้

๑. มะอฺมูมต้องไม่ยืนหน้าอิมาม อิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนหลังอิมามเล็กน้อย

๒. บริเวณที่อิมามยืนต้องไม่สูงกว่า ที่ของมะอฺมูม

๓. ระยะห่างระหว่างอิมามกับมะอฺมูม และระหว่างแถวต้องไม่มากจนเกินไป

๔.ระหว่างอิมามกับมะอฺมูม และระหว่างแถว ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างแถว เช่น กำแพง ฝาพนัง หรือผ้าม่าน และอื่น ๆ แต่ถ้ากั้นม่านระหว่างแถวชายกับหญิง ไม่เป็นไร



เงื่อนไขของอิมามญะมาอะฮฺ

๑.อิมามต้องมีอายุบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ (บาลิฆ)

๒.มีสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่คนวิกลจริต

๓. ต้องมีความยุติธรรม

๔. ต้องเป็นชาย

๕.มีการอ่านออกเสียงถูกต้อง

๖. บิดามารดาแต่งงานถูกต้องตามหลักศาสนา (ไมใช่ลูกที่เกิดจากการผิดประเวณี)

การเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺ

สามารถเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺได้ทุกเราะกะอัต ขณะที่อิมามอยู่ระหว่างการอ่าน หรือรูกูอฺ ฉะนั้นถ้าไม่ทันรุกูอฺอิมามต้องรอเราะกะอัตต่อไป แต่ถ้าทันเฉพาะรุกูอฺอิมามให้นับว่าเป็นหนึ่งเราะกะอัต



การเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺ

สามารถเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺได้ทุกเราะกะอัต ในช่วงที่อิมามกำลังกล่าวซูเราะฮฺ หรือรุกูอฺ ดังนั้น ถ้าไม่ทันรุกูอฺของอิมามต้องรอเราะกะอัตต่อไป หรือทันช่วงอิมามรุกูอฺพอดีให้นับเป็น ๑ เราะกะอัต

ลักษณะต่าง ๆ ของการเข้าร่วมนมาซญะมาอะฮฺ

เราะกะอัตที่ ๑

๑. ขณะที่อิมามกำลังกล่าวซูเราะฮฺ   มะอฺมูมไม่ต้องกล่าวซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ และซูเราะฮฺ ส่วนการกระทำอื่น ๆ ให้ทำพร้อมกับอิมาม

๒. อิมามกำลังรุกูอฺ ให้รุกูอฺและกระทำไปพร้อมกับอิมาม   

เราะกะอัตที่ ๒

๑.ขณะที่อิมามกำลังกล่าวซูเราะฮฺ มะอฺมูมไม่ต้องกล่าวฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ ส่วนการกล่าวกุนูต รุกูอฺ และซูญูดต้องทำพร้อมกับอิมาม

เมื่ออิมามกล่าวตะชะฮุด อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้มะอฺมูมลุกขึ้นอยู่ในท่าครึ่งนั่งครึ่งลุก ถ้าเป็นนมาซ ๒ เราะกะอัต ให้นมาซคนเดียวอีกหนึ่งเราะกะอัตและทำต่อให้เสร็จ

 แต่ถ้าเป็นนมาซที่มี ๓ หรือ ๔ เราะกะอัต ตนอยู่ในเราะกะอัตที่สอง ส่วนอิมามอยู่ในเราะกะอัตที่สาม ดังนั้น ให้กล่าวฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺถึงแม้ว่าอิมามจะกล่าวตัสบีฮฺก็ตาม

เมื่ออิมามนะมาซเราะกะอัตที่ ๓ เสร็จลุกขึ้นยืนทำเราะกะอัตที่ ๔ ส่วนมะอฺมูมเมื่อซัจญฺดะฮฺสองครั้งแล้วให้กล่าวตะชะฮุด หลังจากนั้นให้ลุกขึ้นนมาซเราะกะอัตที่ ๓ และเมื่ออิมามนมาซเราะกะอัตสุดท้ายจบ มะอฺมูมยังเหลือนมาซอีกหนึ่งเราะกะอัตที่ต้องนะมาซต่อให้เสร็จ

๒. อิมามกำลังรุกูอฺ ให้รุกูอฺและกระทำไปพร้อมกับอิมามพร้อมกับอิมาม ส่วนการกระทำที่เหลือให้ปฎิบัติตามที่กล่าวมาแล้ว

เราะกะอัตที่ ๓ 

๑.ขณะที่อิมามกำลังกล่าวตัสบียฮฺ (ไม่ใช่ซูเราะฮฺ) ถ้าตามตอนนั้นมั่นใจว่ามีเวลาพอที่จะกล่าวฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ หรือฟาติหะฮฺเพียงอย่างเดียว สามารถร่วมญะมาอะฮฺได้และต้องกล่าวฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ หรือฟาติหะฮฺเพียงอย่างเดียว แต่ถ้ารู้ว่าไม่มีเวลา อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้รอจนกว่าอิมามจะรุกูอฺ หลังจากนั้นจึงเนียตตามอิมาม

๒. อิมามกำลังรุกูอฺ ถ้าเนียตตามขณะอิมามรุกูอฺ ให้รุกูอฺไปพร้อมกับอิมามโดยไม่ต้องกล่าวฟาติหะฮฺหรือซูเราะฮฺ ส่วนนมาซที่เหลือให้ทำเหมือนที่กล่าวมาแล้ว

เราะกะอัตที่ ๔

๑.ขณะที่อิมามกำลังกล่าวตัสบียฮฺไม่ใช่ซูเราะฮฺ อยู่ในเงื่อนไขเดียวกันกับเราะกะอัตที่สาม ดังนั้น เมื่ออิมาม นมาซเราะกะอัตสุดท้ายขณะกล่าวตะชะฮุดและสลาม มะอฺมูมสามารถลุกขึ้นยืนและนมาซคนเดียวให้เสร็จ หรือให้ลุกขึ้นครึ่งนั่งครึ่งยืน เมื่ออิมามกล่าวตะชะฮุดและสลามจบ ให้ยืนขึ้นนมาซ

๒. อิมามกำลังรุกูอฺ ให้รุกูอฺและซัจญฺดะฮฺไปพร้อมกับอิมาม ซึ่งอิมามอยู่ในเราะกะอัตที่ ๔ ส่วนมะอฺมูมอยู่ในเราะกะอัตที่ ๑ ฉะนั้น นมาซที่เหลือให้ทำตามที่กล่าวมาแล้ว



เงื่อนไขนะมาซญะมาอะฮฺ

๑.ถ้าอิมามญะมาอะฮฺนมาซวาญิบประจำวันเวลาใดเวลาหนึ่ง มะอฺมูมสามารถเนียตนมาซวาญิบตามได้ทุกเวลา ด้วยเหตุนี้ สมมติว่าอิมามกำลังนมาซอัซริ มะอฺมูมสามารถเนียตนมาซซุฮริตามอิมามได้ หรือตนนมาซซุฮรฺเสร็จแล้ว หลังจากนั้นนมาซญะมาอะฮฺได้เริ่มขึ้น ดังนั้น สามารถเนียตนะมาซอัซริตามอิมามที่กำลังนะมาซซุฮริได้

๒. มะอฺมูมสามารถนมาซเกาะฏอตามอิมามที่กำลังนมาซในเวลาได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการเกาะฏอนมาซวาญิบประจำวันเวลาอื่นก็ตาม เช่น อิมามกำลังนมาซซุฮรฺ ส่วนมะอฺมูมเนียตเกาะฏอนมาซซุบฮฺตามอิมาม

๓. นมาซญะมาอะฮฺอย่างน้อยต้อง ๒ คน คนหนึ่งเป็นอิมามส่วนอีกคนเป็นมะอฺมูม เว้นเสียแต่ว่าเป็นนมาซญุมุอะฮฺ (วันศุกร์) นมาซอีดุลฟิฏรฺ และนมาซอีดุลกุรบาน 

๔ นมาซมุซตะฮับไม่สามารถทำเป็นญะมาอะฮได้ นอกจากนมาซขอฝน



หน้าที่ของมะอฺมูมในนะมาซญะมาอะฮฺ

๑. มะอฺมูม ต้องไม่กล่าวตักบีเราะตุลอิฮฺรอมก่อนอิมาม ทว่าอิฮฺติยาฏวาญิบ ถ้าตักบีรฺอิมามยังกล่าวตักบีรไม่จบ ไม่ให้กล่าว

๒. มะอฺมูมต้องกล่าวทุกอย่างในนะมาซยกเว้นฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ แต่ถ้าเป็นเราะกะอัตแรกหรือ ๒ สำหรับมะอฺมูม และเป็นเราะกะอัตที่ ๓ หรือที่ ๔ สำหรับอิมาม มะอฺมูมจำเป็นต้องกล่าวฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺด้วย



มะอฺมูมจะตามอิมามได้อย่างไร

๑. การกล่าวต่าง ๆ ในนมาซ เช่น ฟาติหะฮฺ ซูเราะฮฺ ซิกรฺ ตะชะฮุด ถ้าได้กล่าวนำหน้าหรือหลังอิมามไม่เป็นไร ยกเว้นตักบีเราะตุลอิฮฺรอม

๒. การกระทำต่าง ๆ ในนมาซ เช่น รุกูอฺ การเงยศีรษะขึ้นจากรุกูอฺและซัจญฺดะฮฺ ไม่อนุญาตให้ทำก่อนอิมาม หมายถึงต้องไม่รุกูอฺหรือเงยศีรษะขึ้นหรือซัจญฺดะฮฺก่อนอิมาม แต่ถ้าหลังอิมามซึ่งไม่มากจนเกินไป ไม่เป็นไร



ประเด็นสำคัญ

ถ้าเนียตตามอิมามขณะที่อิมามกำลังรุกูอฺ อาจเป็นไปได้  ๒ กรณี กล่าวคือ

- ก่อนที่อิมามจะกล่าวซิกรฺรุกูอฺจบ ตนได้เนียตตามและทันรุกูอฺ นมาซญะมาอะฮฺถูกต้อง

- เมื่อทันรุกูอฺอิมาม และอิมามกล่าวซิกรฺรุกูอฺจบพอดี แต่ยังอยู่ในท่ารุกูอฺ นมาซญะมาอะฮฺถูกต้อง

- ลงรุกูอฺ แต่ไม่ทันรุกูอฺของอิมาม ถือว่านมาซคนเดียวถูกต้อง และต้องนมาซต่อให้เสร็จ           

กรณีที่มะอฺมูมลืม และได้ทำก่อนอิมาม เช่น

๑. รุกูอฺก่อนอิมาม วาญิบต้องเงยขึ้นและรุกูอฺไปพร้อมกับอิมาม

๒. ถ้าเงยศีรษะขึ้นจากรุกูอฺก่อนอิมาม ต้องรุกูอฺใหม่ แล้วเงยศีรษะขึ้นพร้อมกับอิมาม แม้ว่ารุกูอฺจะเป็นรุกนฺของนมาซ กรณีนี้แม้ว่าจะทำรุกูอฺเพิ่มแต่ไม่ทำให้นมาซบาฏิล

๓. ถ้าซัจญฺดะฮฺก่อนอิมาม วาญิบต้องเงยขึ้นแล้วซุญูดใหม่พร้อมกับอิมาม

๔. ถ้าเงยศีรษะขึ้นจากซัจญฺดะฮฺก่อนอิมาม ต้องซัจญฺดะฮฺใหม่

ถ้าบริเวณที่มะอฺมูมยืนสูงกว่าอิมาม ซึ่งส่วนสูงนั้นเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปเหมือนในอดีต ไม่เป็นไร เช่น อิมามยืนนมาซอยู่ในลานมัสญิด ส่วนมะอฺมูมตามอิมามอยู่บนหลังคา แต่ถ้าตึกสูงหลายชั้นเหมือนในปัจจุบัน  นมาซยังมีปัญหาอยู่



มุซตะฮับและมักรูฮฺนะมาซญะมาอะฮฺ

๑. มุซตะฮับ ให้อิมามยืนตรงกลาง ส่วนแถวแรกเป็นนักปราชญ์ ผู้รู้ ผู้มีอีมานสมบูรณ์ และมีความยำเกรง

๒. มุซตะฮับ ต้องจัดแถวนมาซให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และในแถวเดียวกันต้องไม่ทิ้งช่องว่างให้ห่างกัน

๓. ถ้าในแถวนมาซยังมีที่ แต่ปลีกตัวไปยืนคนเดียว เป็นมักรูฮฺ

๔. มักรูฮฺ ถ้ามะอฺมูนกล่าวซิกรฺเสียงดังจนกระทั่งอิมามได้ยิน



นมาซญุมุอะฮฺ (วันศุกร์)

หนึ่งในการชุมนุมของมุสลิมประจำสัปดาห์ คือ นมาซญุมุอะฮฺ ซึ่งในวันศุกร์ผู้นมาซสามารถแทนที่นมาซซุฮรฺได้ด้วยนมาซญุมอะฮฺ



ความสำคัญของนะมาซญุมุอะฮฺ

ท่านอิมามโคมัยนี (รฏ.)กล่าวถึงความสำคัญของนมาซญุมุอะฮฺว่า

นะมาซญุมุอะฮฺพร้อมกับ ๒ คุฎบะฮฺ คล้ายกับฮัจญฺ นมาซฟิฎรฺ และอีดกุรบาน เป็นพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ของมวลมุสลิม แต่น่าเสียดายว่ามุสลิมส่วนใหญ่หลงลืมและไม่ใส่ใจต่อหน้าที่สำคัญแห่งอิบาดะฮฺการเมืองนี้ ขณะที่ถ้าพิจารณาสักเล็กน้อยเกี่ยวกับบทบัญญัติ การเมือง สังคม และเศรษฐกิจจะพบว่าอิสลามก็คือ ศาสนาแห่งการเมือง ดังนั้น ผู้ใดแยกศาสนาออกจากการเมืองเขา คือ คนโง่เขลาเบาปัญญาที่ไม่รู้ทั้งศาสนาและการเมือง



จะนมาซญุมุอะฮฺอย่างไร



สิ่งที่เป็นวาญิบ

นมาซญุมุอะฮฺมี ๒ เราะกะอัต เหมือนกับนมาซซุบฮฺ แต่นมาซญุมุอะฮฺมีคำเทศนาเพิ่มอีก ๒ คำเทศนาก่อนนมาซโดยอิมามญุมุอะฮฺเป็นผู้กล่าว



มุซตะฮับ

๑. ให้กล่าวฟาติหะฮฺและซูเราะเสียงดัง (โดยอิมาม)

๒. เราะกะอัตที่ ๑ ให้กล่าวซูเราะฮฺอัลญุมุอะฮฺ หลังจากฟาติหะฮฺ

๓. เราะกะอัตที่ ๒ ให้กล่าวซูเราะอัลมุนาฟิกูน หลังจากฟาติหะฮฺ

๔. ให้กล่าว ๒ กุนูต คือ เราะกะอัตแรก ๑ ครั้งก่อนรุกูอฺ และเราะกะอัตที่สองอีก ๑ ครั้งหลังจากรุกูอฺแล้ว



เงื่อนไขของนมาซญุมุอะฮฺ

๑. เงื่อนไขทั้งหมดที่ระบุในนมาซญะมาอะฮฺ สามารถใช้ได้กับนมาซญุมุอะฮฺเช่นกัน

๒. ต้องทำเป็นญะมาอะฮฺ นมาซคนเดียว ถือว่าไม่ถูกต้อง

๓.จำนวนน้อย่ที่สุดของผู้เข้าร่วมนมาซญุมุอะฮฺต้องไม่น้อยกว่า ๕ ซึ่ง ๑ คนเป็นอิมามที่เหลือเป็นมะอฺมูม

๔.ระหว่าง ๒ นมาซญุมุอะฮฺ ต้องห่างกันอย่างน้อย ๑ ฟัรซัค

หน้าที่ของอิมามขณะกล่าวคุฏบะฮฺ

๑. ต้องกล่าวสรรเสริญและสดุดีอัลลอฮฺ

๒. ต้องประสาทพรแด่ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์

๓. ต้องเชิญชวนประชาชนไปสู่ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และออกห่างจากการทำบาป

๔.ให้อ่านอัล-กุรอานซูเราะฮฺสั้น ๆ

๕.ต้องขออภัยโทษให้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิง

และเป็นการดีให้กล่าวสิ่งต่อไปนี้ในคุฎบะฮฺ (คำเทศนา)

๑.สิ่งที่มวลมุสลิมต้องการ อันเป็นปัจจัยยังชีพทั้งโลกนี้และโลกหน้า

๒.ต้องแจ้งข่าวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกทั้งที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่มุสลิม

๓.ต้องอธิบายปัญหาการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจ และสังคมอันมีส่วนเกี่ยวข้องกับเสรีภาพ และการเป็นอยู่ของมวลมุสลิมให้ทราบ

๔.ต้องแจ้งให้บรรดามุสลิมทราบถึงการแทรกแซงทางการเมืองของรัฐบาลที่กดขี่ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม



หน้าที่ของผู้นมาซญุมุอะฮฺ

๑. อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ตั้งใจฟังคุฏบะฮฺของอิมาม

๒. อิฮฺติยาฏมุซตะฮับ ให้หลีกเลี่ยงการพูดคุย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพูดที่ทำให้ประโยชน์ของคุฎบะฮฺสูญเสียไป และถ้าเป็นสาเหตุให้ไม่ฟังคุฎบะฮฺ วาญิบต้องหลีกเลี่ยง

๓. อิฮฺติยาฏมุซตะฮับ ให้มะอฺมูมนั่งหันหน้าไปทางอิมาม ขณะที่กล่าวคุฎบะฮฺ และไม่ควรหันไปทางอื่นเกินขอบเขตที่อนุญาตไว้นนมาซ



นมาซอายาต

หนึ่งในนมาซวาญิบทั้งหลาย คือ นมาซอายาต ซึ่งสาเหตุที่เป็นวาญิบเป็นเพราะการเกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งในฟากฟ้าและแผ่นดิน เช่น

- แผ่นดินไหว

- เกิดจันทรุปราคา

- เกิดสุริยุปราคา 

- เกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่าหรือพายุดำ แดง หรือเหลืองอันเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้ประชาชน เกิดความหวาดกลัว 



วิธีการนมาซอายาต

๑.นมาซอายาต มี ๒ เราะกะอัต แต่ละเราะกะอัต มี ๕ รุกูอฺ

๒.นมาซอายาตก่อนรุกูอฺให้กล่าวฟาติหะฮฺกับซูเราะฮฺ ดังนั้น ๒ เราะกะอัตเท่ากับได้กล่าวฟาติหะฮฺกับซูเราะฮฺ ๑๐ ครั้ง

หรือวิธีหนึ่ง คือหลังจากฟาติหะฮฺแล้วสามารถแบ่งซูเราะฮฺออกเป็นโองการ ซึ่ง ๑ รุกูอฺเท่ากับกล่าวซูเราะฮฺ ๑ โองการ ดังนั้น ๒ เราะกะอัต เท่ากับได้อ่านฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ ๒ ครั้งเท่านั้น



วิธีการแบ่งซูเราะฮฺอิคลาซในการนะมาซอายาต เช่น เราะกะอัตที่ ๑

-ให้อ่านฟาติหะฮฺ และบิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีม แล้วรกูอฺ

- เงยศีรษะขึ้นให้อ่าน กุลฮุวัลลอฮฺฮุอะฮัด แล้วรุกูอฺ

- เงยศีรษะขึ้นให้อ่าน อัลลอฮฮุซเซาะมัด   แล้วรุกูอฺ

- เงยศีรษะขึ้นให้อ่าน ลัมยะลิดวะลัมยุลัด แล้วรุกูอฺ

- เงยศีรษะขึ้นให้อ่าน วะลัมยะกุนละฮูกุฟุวันอะฮัด แล้วรุกูอฺ

หลังจากนั้นให้ซัจญฺดะฮฺไปตามขั้นตอน และให้ลุกขึ้นยืนเพื่อทำเราะกะอัตที่สอง

เราะกะอัตที่ ๒ 

เราะกะอัตที่ ๒ ให้ทำเช่นเดียวกับเราะกะอตที่ ๑ หลังจากนั้นให้กล่าวตะชะฮุดและสลามตามลำดับ



เงื่อนไขของนมาซอายาต

๑.นะมาซอายาต วาญิบเฉพาะประชาชนที่อยู่ในเมืองที่เกิดปรากฎการณ์นั้น ไม่วาญิบสำหรับประชาชนที่อยู่ในเมืองอื่น

๒. ถ้าเราะกะอัตแรก ของนมาซอายาตกล่าวฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺ ๕ ครั้ง ส่วนเราะกะอัตที่ ๒ กล่าวฟาติหะฮฺและแบ่งซูเราะฮฺออกเป็นโองการ ถือว่านมาซถูกต้อง

๓. มุซตะฮับ ให้กุนูตก่อนรุกูอฺครั้งที่ ๒, ๔, ๖, ๘, ๑๐ หรือกุนูตเพียงครั้งเดียวก่อนรุกูอฺครั้งที่ ๑๐ ถือว่าเพียงพอ

๔. ทุก ๆ รุกูอฺของนมาซอายาตเป็นรุกนฺ ถ้าตั้งใจหรือลืมได้เพิ่มหรือลด นะมาซบาฏิล

๕.นมาซอายาต สามารถทำเป็นญะมาอะฮฺได้โดยให้อิมามเป็นผู้อ่านฟาติหะฮฺและซูเราะฮเพียงคนเดียว



นมาซมัยยิต (นมาซคนตาย)

นมาซมัยยิต วาญิบกิฟายะฮฺสำหรับมุสลิมทุกคน  หมายถึงถ้ามีบุคคลหนึ่งนะมาซแล้วบุคคลอื่นไม่จำเป็นต้องนมาซอีก