หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20795
ดาวน์โหลด: 4355

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20795 / ดาวน์โหลด: 4355
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย



วิธีการนมาซมัยยิต

นมาซมัยยิตมี ๕ ตักบีร ดังนี้

๑.หลังจากเนียต ให้ตักบีร ๑ ครั้ง แล้วกล่าวว่า อัชฮะดุอันลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺวะอันนะมุฮัมมะดันเราะซูลุลลอฮฺ

๒.หลังจากตักบีรที่ ๒ ให้กล่าวว่า อัลลอฮุมมะซ็อลลิอะลา มุฮัมมัดวะอาลิมุฮัมมัด

๓. หลังจากตักบีรครั้งที่ ๓ ให้กล่าวว่า อัลลอฮุมมัฆฟิร ลิล มุอฺมินีนะวัลมุมินาต

๔.หลังจากตักบีรครั้งที่สี่หากผู้ตายเป็นชายให้กล่าวว่า อัลลอฮุมมัฆฟิรลิฮาซัลมัยยิต (ใส่ชื่อมัยยิต) หากผู้ตายเป็นหญิง ให้กล่าวว่า อัลลอฮุมมัฆฟิรลิฮาซิฮิลมัยยิต (ใส่ชื่อผู้ตาย) หลังจากนั้นให้ตักบีรครั้ง ที่ ๕ ถือว่านะมาซเสร็จสมบูรณ์



เงื่อนไขของนมาซ มัยยิต  

๑. ต้องนมาซหลังจากฆุซลฺมัยยิต ๓ ครั้ง และกะฝั่น (ห่อศพ) เรียบร้อยแล้ว มิฉะนั้น ถือว่าบาฏิล เว้นเสียแต่มัยยิตที่ไม่ต้องทำตามเงื่อนไขเหล่านี้ เช่น บรรดาชะฮีด

๒. ต้องเนียต

๓. ต้องยืนขณะนมาซ

๔. ต้องให้ศีรษะของผู้ตายอยู่ทางด้านขวามือ ของผู้นมาซ

๕.ขณะนมาซ ต้องวางผู้ตายให้ท่านอนหงายเหยียดตรง

๖. ผู้นมาซต้องหันหน้าไปทางกิบละฮฺ

๗. ต้องวางผู้ตายให้อยู่ด้านหน้าของผู้นมาซ

๘. ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างผู้ตายกับผู้นมาซ

๙. ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องระหว่างการตักบีรกับการกล่าวดุอาอฺ

๑๐.ระหว่างผู้ตายกับผู้นมาซต้องไม่ห่างกันมากจนเกินไป

๑๑.ต้องปกปิด เอาเราะฮฺ (อวัยวะเพศ) ของผู้ตาย



นมาซเฎาะวาฟ

รุกนฺข้อหนึ่งของการบำเพ็ญฮัจญฺ กล่าวคือ ถ้าลืมหรือเจตนาไม่นมาซฮัจญฺบาฏิล นมาซเฎาะวาฟมี ๒ เราะกะอัต ให้นมาซหลังจากเฎาะวาฟเสร็จเรียบร้อย รูปแบบของนมาซเหมือนกับนมาซศุบฮฺ แต่ให้เลือกระหว่างการอ่านเสียงดังกับสียงค่อย และให้นมาซใกล้ ๆ กับ มะกอมอิบรอฮีม (ที่ยืนของอิบรอฮีม)



นะมาซนะซัร (นมาซบนบาน)

หมายถึงนมาซ ซึ่งบุคคลหนึ่งได้เนียตหรือบนบานว่า หากภารกิจหนึ่งสำเร็จจะนมาซ สมมติว่า  ๒, ๔, ๖, ๘, ๑๐ เราะกะอัต เป็นต้น  



นมาซมุซตะฮับ      

๑. นมาซมุซตะฮับ หรือเรียกอีกอย่างว่า นาฟิละฮฺ

๒.นมาซมุซตะฮับมีจำนวนมากมายไม่สามารถกล่าวทั้งหมดได้ จะกล่าวเฉพาะนมาซที่มีความสำคัญมากกว่านมาซอื่นเท่านั้น



การนมาซอีด

นมาซอีดทั้งสอง คือ อีดุลฟิฏริและอีดุลอัฏฮา การนมาซอีดทั้งสองโดยเฉพาะในสมัยของอิมาม (อ.) เป็นวาญิบ และต้องนมาซรวมกันเป็นญะมาอะฮฺ ส่วนในสมัยที่อิมามไม่ปรากฏกายเป็นมุสตะฮับ



ช่วงเวลานมาซอีด

๑.เวลาของนมาซอีด เริ่มตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น จนกระทั่งถึงกลางวัน (ซุฮรฺ)

๒. มุสตะฮับ ให้นมาซอีดอัล-อัฏฮาหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น

๓. มุสตะฮับ นมาซอีดุลฟิฏรฺหลังจากพระอาทิตย์ขึ้นให้แจกจ่ายอาหาร จ่ายซะกาตฟิฎเราะฮฺ แล้วจึงนมาซอีด 

 

วิธีการนมาซอีด

นะมาซอีดฟิฎรฺกับอีดกุรบานมี  ๒ เราะกะอัตกับ ๙ กุนูต โดยให้นมาซดังนี้

เราะกะอัตที่ ๑ หลังจากกล่าวฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺแล้ว ให้กล่าวตักบีร ๕ ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งมี ๑ กุนูต และหลังจากกล่าวกุนูตแล้ว ให้ตักบีรอีกครั้ง หลังจากนั้นให้รุกูอฺ และซัจญฺดะฮฺตามลำดับ

          เราะกะอัตที่ ๒ หลังจากอ่านฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ ให้กล่าวตักบีร ๔ ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งมี ๑ กุนูต และหลังจากกล่าวกุนูตแล้ว ให้ตักบีรอีกครั้ง หลังจากนั้นให้รุกูอฺ ซุญูด กล่าวตะชะฮุด และสลามตามลำดับ

          กุนูตของนมาซอีดทั้งสองสามารถกล่าวดุอาอฺ และซิกรฺใดก็ได้ แต่ดีกว่าให้กล่าวกุนูตโดยหวังผลบุญดังนี้ว่า

“อัลลอฮุมมะ อะฮฺลัลกิบริยาอิวัลอะเซาะมะฮฺ  วะอะฮฺลัลญูดิวัลญะบะรูติ วะอะฮฺลัลอัฟวิ วัรเราะฮฺมะติ  วะอะฮฺลัลตักวา วัลมัฆฟิเราะติ อัซอะลุกะ บิฮักกิ ฮาซัลเยามิ  อัลละซีญะอัลตะฮู  ลิลมุสลิมีนะอีดัน  วะลิมุฮัมมะดิน ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะอาลิฮี   ซุกรอน วะชะเราะฟัน วะกะรอมะตัน วะมะซีดัน   อันตุซ็อลลิยะ อะลา มุฮัมมะดิน วะอะลิมุฮัมมัด  วะอันตุดคิละนี  ฟีกุลลิคัยริน อัดดะคัลตะ ฟิฮิ มุฮัมมะดัน วะอาละมุฮัมมะดิน วะอันตุคริญะนี มินกุลลิซูอิน  อัครอจญฺตะมินฮุ  มุฮัมมะดัน วะอาละมุฮัมมะดิน เซาะละวาตุกะอะลัยฮิ วะอะลัยฮิม อัลลอฮุมมะ อินนี อัซอะลุกะ คัยเราะมาซะอะละกะ บิฮีอิบาดุกัซซอลิฮูน วะอะอูซุบิกะ

มิมมัซตะอาซะ มินฮุ อิบาดุกัลมุคละซูน”



นมาซนาฟิละฮฺประจำวัน

นมาซวาญิบประจำวันมีทั้งหมด ๑๗ เราะกะอัต (ยกเว้นวันศุกร์ และช่วงเดินทางไกล) และนมาซมุสตะฮับประจำวัน (นะวาฟิล) มี ๒๓ เราะกะอัต นอกจากนี้ยังมีนมาซเศาะลาตุลลัยนฺอีก ๑๑ เราะกะอัต ซึ่งรวมทั้งสิ้น ๓๔ เราะกะอัต (สองเท่าของนมาซวาญิบ)



จำนวนเราะกะอัตและเวลาของนะมาซมุซตะฮับประจำวัน  มีดังนี้

๑. นาฟิละฮฺซุบฮฺ มี ๒ เราะกะอัต อิฮฺติยาฎ ให้ะมาซก่อนนมาซซุฮบฺ

๒.นมาซนาฟิละฮฺซุฮรฺ มี  ๘ เราะกะอัต (ทำที่ละ ๒ เราะกะอัต)  ให้ทำก่อนนมาซซุฮริ ช่วงเวลาเริ่มตั้งแต่ซุฮริจนกระทั่งเงาไม้ทอดออกเป็น ๒/๓ ส่วน

๓. นมาซนาฟิละฮฺอัซริ มี ๘ เราะกะอัต (ทำที่ละ ๒ เราะกะอัต) ให้ทำก่อนนะมาซอัซริ ช่วงเวลาเริ่มตั้งแต่อัซริจนกระทั่งเงาไม้ทอดออกเป็น ๗/๔ ส่วน

๔.นมาซนาฟิละฮฺมัฆริบ มี ๔ เระกะอัต (ทำที่ละ ๒ เราะกะอัต) ให้ทำหลังจากนมาซมัฆริบ เริ่มหลังจากนมาซมัฆริบจนกระทั่งแสงสีแดงด้านทิศตะวันตก ซึ่งได้เกิดขึ้นหลังจากพระอาทิตย์ตกดินเลือนหายไป

๕.นมาซนาฟิละฮฺอิชาอฺ มี ๒ เราะกะอัต ให้ทำหลังนมาซอิชาอฺจนกระทั่งถึงเที่ยงคืน และอิฮฺติยาฏวาญิบให้นั่งทำ 



นมาซเศาะลาตุลลัยนฺ

นมาซเศาะลาตุลลัยนฺมี ๑๑ เราะกะอัต ให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

๑.ให้นมาซ ๘ เราะกะอัตแรกก่อน (ทำที่ละ ๒ เราะกะอัต) เนียตนมาซเศาะลาตุลลัยนฺ

๒.ให้นมาซอีก ๒ เราะกะอัต เนียตนมาซ เศาะลาตุชชะฟะอฺ

๓.ให้นมาซอีก ๑ เราะกะอัต เนียตนมาซ เศาะลาตุลวิตรฺ 



เวลาของเศาะลาตุลลัยนฺ

๑.ช่วงเวลาของเศาะลาตุลลัยนฺ เริ่มจากเที่ยงคืนไปจนถึงอะซานซุบฮฺ และช่วงเวลาที่ดีที่สุดให้ทำก่อนอะซานซุบฮฺประมาณ ๑ ชั่งโมง

๒. สำหรับบุคคลที่อยู่ระหว่างเดินทาง หรือบุคคลที่มีความลำบากที่จะนมาซหลังจากเที่ยงคืนไปแล้ว อนุญาตให้นมาซตอนหัวค่ำได้



นมาซฆุฟัยละฮฺ

ฆุฟัยละฮฺเป็นอีกหนึ่งในนมาซมุสตะฮับที่ได้รับการเน้นไว้อย่างมากให้ปฏิบัติ และช่วงเวลาของนมาซเริ่มหลังจากนมาซมัฆริบ



วิธีการนมาซฆุฟัยละฮฺ

นมาซฆุฟัยละฮฺ มี ๒ เราะกะอัต เราะกะอัตที่ ๑ หลังจากฟาติหะฮฺให้กล่าวโองการนี้แทนว่า

วะซันนูนิ อิซซะฮะบะ มุฆอฎิบัน ฟะซอนนะ อันลันนักดิเราะ อะลัยฮิ ฟะนาดา ฟิซซุลุมาติ อันลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ ซุบฮานะกะ อินนี กุนตุ มินัซซอลิมีน ฟัซตะญับนา ละฮู วะ นัจญัยนาฮุ มินัลฆอมมิ วะกะซาลิกะ นุนญิลมุอฺมินีนะ.

ส่วนเราะกะอัตที่ ๒ หลังจากฟาติหะฮฺให้กล่าวโองการนี้แทนที่ซูเราะฮฺ

วะอินดะฮู มะฟาติฮุลฆอยบิ ลายะอฺละมุฮา อิลลาฮุวะ วะยะละมุ มาฟิลบัรริ วัลบะฮฺริ วะมาตัซกุตุ มินวะเราะกะติน อิลลายะอฺละมุฮา วะลาฮับบะติน ฟีซุลุมาติลอัรฎิ วะลารอฎบิน วะลายาบิซิน อิลลาฟี กิตาบินมุบีน.

ส่วนกุนูตให้กล่าวดุอาอฺดังนี้ว่า อัลลอฮุมมะ อินนี อัซอะลุกะ บิมะฟาติฮิลฆอยบิ อัลละตีลายะอฺละมุฮา อิลลาอันตะ อันตุซ็อลลิยะ อะลา มุฮัมมะดิน วะอาลิมุฮัมมัด วะอันตัฆฟิเราะลี ซุนูบี อัลลอฮุมมะอันตะ วะลียุนิอฺมะตี วัลกอดิรุ อะลา เฎาะลิบะตี ตะอฺละมุฮาญะตี ฟะอัซอะลุกะ บิฮักกิมุฮัมมะดิน วะอาลิมุฮัมมัด อะลัยฮิวะอะลัยฮิมุซซะลาม ลัมมาเกาะฎอยตะฮาลี.



หมวดที่ ๖ การถือศีลอด



คำอธิบายการถือศีลอด

หนึ่งในข้อบังคับประจำปี หรือแนวทางการขัดเกลาจิตวิญญาณอีกประการหนึ่งของอิสลาม คือ การถือศีลอด หมายถึงการหลีกเลี่ยงจากภารกิจบางประการ ตลอดจนการละเว้นการกินและการดื่มเพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่อะซานซุบฮฺจนถึงอะซานมัฆริบ           และก่อนที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขการถือศีลอด ควรทราบประเภทของศีลอดก่อน



ประเภทของศีลอด

๑.ศีลอดวาญิบ

๒.ศีลอดฮะรอม

๓.ศีลอดมุสตะฮับ

๔.ศีลอดมักรูฮฺ



ศีลอดวาญิบ

ศีลอดต่าง ๆ ต่อไปนี้วาญิบ

๑.ศีลอดในเดือนเราะมะฎอนอันจำเริญ

๒.ศีลอดเกาะฎอ (ชดเชย)

๓. ศีลอดกะฟาเราะฮฺ (การปรับโทษ)

๔.ศีลอดนะซัร (บนบาน)

๕.ศีลอดเกาะฎอแทนบิดา*   สำหรับบุตรชายคนโต

อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ...แทนบิดามารดา

 

ศีลอดบางประเภทฮะรอม  (ต้องห้าม)

๑.ศีลอดในวันอีดทั้งสอง (อีดฟิฏรฺและอีดกุรบาน) วันแรกของเดือนเชาวาลและวันที่ ๑๐ ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ

๒.ศีลอดมุซตะฮับของบุตรที่เป็นสาเหตุสร้างความยากลำบากให้ดามารดา

๓. ศีลอดมุซตะฮับของบุตรที่พ่อแม่ไม่อนุญาตให้ถือ (อิฮฺติยาฏวาญิบ)

๔. ศีลอดวันสุดท้ายของเดือนชะอฺบาน โดยเนียตว่าเป็นวันแรกของเดือนเราะมะฏอน

๔.ศีลอดมุซตะฮับของภรรยาที่สามีไม่อนุญาต (อิฮฺติยาฏวาญิบ)

๕.ศีลอดระหว่างวันตัชรีก (๑๑-๑๓ ซุลฮิจญะฮฺ) สำหรับผู้ที่อยู่ในมีนา

ศีลอด มุซตะฮับ

ถือศีลอดตลอดทั้งปี (ยกเว้นวันที่ต้องห้ามและวันที่เป็นมักรูฮฺ) มุซตะฮับ    แต่ศีลอดที่ถูกแนะนำและถูกเน้นไว้อย่างมากว่าให้ถือได้แก่

๑. ศีลอดทุก ๆ วันพฤหัสบดีและวันศุกร์

๒. ศีลอดวันมับอัซ (๒๗ ของเดือนเราะญับ)

๓. ศีลอดวันอีดเฆาะดีรคุม (๑๘ ซุลฮิจญะฮฺ)

๔. ศีลอดวันประสูติท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) (๑๗ เราะบิอุลเอาวัล)

๕. ศีลอดวันอาเราะฟะฮฺ (๙ ซุลฮิจญะฮฺ) แต่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เป็นสาเหตุทำให้ละทิ้งดุอาอฺในวันนั้น

๖. ศีลอดวันที่ ๑-๙ ซุลฮิจญะฮฺ

๗.ศีลอดทุกวันของเดือน เราะญับและชะอฺบาน

๘. ศีลอดวันแรก และวันที่ ๓ ของเดือนมุฮัรรอม

๙. ศีลอดทุกวันที่ ๑๓, ๑๔ และ ๑๕ ของทุกเดือน



ศีลอด มักรูฮฺ

๑. ศีลอดมุสตะฮับ ของแขกที่มาเยือน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบ้าน

๒. ศีลอดมุสตะฮับ ของแขกที่เจ้าของบ้านได้ห้าม

๓. ศีลอดมุสตะฮับ ของบุตรที่ไม่ได้ขออนุญาตบิดา

๔. ศีลอดวัน อาชูรอ (๑๐ มุฮัรรอม)

๕.ศีลอดวันอะเราะฟะฮฺที่เป็นเหตุทำให้ไม่ได้อ่านดุอาอฺในวันนั้น

๖. ศีลอดที่ไม่รู้แน่ชัดว่าเป็นวัน อะเราะฟะฮฺหรืออีดกุรบาน



เงื่อนไขเกี่ยวกับการถือศีลอด



เนียต (ตั้งเจตนา) ถือศีลอด

๑. การถือศีลอด เป็นอิบาดะฮฺประเภทหนึ่ง ฉะนั้น ต้องปฏิบัติเพื่อปฏิบัติไปตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า

๒.ผู้ถือศีลอด สามารถเนียตได้ทุกคืนของเดือนเราะมะฎอนเพื่อถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น   แต่ดีกว่าให้เนียตตั้งแต่คืนแรกว่า จะถือศีลอดตลอดทั้งเดือนเราะมะฎอน

๓. ศีลอดวาญิบที่กำหนดไว้ชัดเจน ไม่ควรเนียตให้ล่าหลังอะซานซุบฮฺโดยไม่มีสาเหตุ  

๔.ศีลอดวาญิบที่กำหนดไว้ชัดเจน หากมีอุปสรรค เช่น ลืม หรือเดินทางไกลโดยไม่ได้เนียต จนกระทั่งถึงซุฮรฺ ถ้ายังไม่ได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดบาฏิล สามารถเนียตถือศีลอดได้ 

๕. เนียตถือศีลอด ไม่จำเป็นต้องกล่าวออกมาเป็นคำพูด เพียงแค่รู้ว่ากำลังปฏิบัติตามคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่อะซานซุบฮฺจนถึงอะซานมัฆริบ โดยละเว้นสิ่งที่เป็นเหตุทำให้ศีลอดเสีย ถือว่าเพียงพอ

 



สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดบาฏิล (มุบฏิลลาต)

ผู้ที่ถือศีลอด ดื่มตั้งแต่อะซานซุบฮฺจนถึงอะซานมัฆริบ ต้องหลีกเลี่ยงการกระทำบางประเภท ถ้าทำบางสิ่งบางอย่างเหล่านั้น ศีลอดบาฏิล สาเหตุเหล่านี้เรียกว่า มุบฏิลลาต ได้แก่

๑. การกินและดื่ม

๒. การทำให้ฝุ่นละออง เข้าไปในลำคอ

๓. การดำน้ำ

๔. การอาเจียน

๕. การร่วมประเวณี

๖. อิซติมนาอฺ (การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง)

๗. คงสภาพการมีญูนุบ ฮัยฎฺ และนิฟาซจนถึงอะซานซุบฮฺ

๘. การโกหกที่สัมพันธ์ไปยังอัลลอฮฺ เราะซูล และตัวแทนของท่าน

๙.การสวรทวารด้วยของเหลว



บทบัญญัติสิ่งทีเป็นเหตุทำให้ศีลอดบาฏิล

๑-๒. กินและดื่ม

๑. ผู้ถือศีลอด ถ้าตั้งใจกินบางสิ่งบางอย่างหรือดื่ม ศีลอดบาฏิล

๒.ถ้าตั้งใจกลืนเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันลงไป ศีลอดบาฏิล

๓. การกลืนน้ำลายในปาก ศีลอดไม่บาฏิล ไม่ว่าจะมากเพียงใด

๓.ขณะถือศีลอด ได้ลืม (ไม่รู้ว่ากำลังถือศีลอด) กินบางอย่างหรือดื่ม ศีลอดไม่บาฏิล

๔.ผู้ที่ถือศีลอดไม่สามารถกินหรือดื่มได้ เพราะความอ่อนเพลีย แต่ถ้ามีความอ่อนเพลียมากเกินปกติทั่วไป และไม่สามารถอดทน อนุญาตให้กินและดื่มได้ ไม่เป็นไร แต่ศีลอดบาฏิล 

๕.การฉีดยา ถ้าไม่ได้แทนที่อาหาร ศีลอดไม่บาฏิล ถึงแม้ว่าจะทำให้อวัยวะบางส่วนชาหมดความรู้สึกก็ตาม

๓.  ทำให้ฝุ่นละอองเข้าไปในลำคอ

๑. ผู้ที่ถือศีลอด ถ้าตั้งใจทำให้ฝุ่นละอองเข้าไปในลำคอ ศีลอดบาฏิล ไม่ว่าฝุ่นละอองนั้นจะเป็นอาหาร เช่น แป้ง หรือ ไม่ใช่อาหาร เช่น ฝุ่นดิน

๒. แต่บางกรณีศีลอดจะไม่บาฏิล เช่น

- ฝุ่นละอองไม่หนาจนเกินไป

- ฝุ่นละออง เข้าไปไม่ถึงลำคอ (เข้าไปแค่ช่องปาก)

- ถูกบังคับ ทำให้ฝุ่นละอองเข้าไปในลำคอ

- ไม่รู้ว่ากำลังถือศีลอดอยู่ (ลืม)

- กรณีที่สงสัยว่า ฝุ่นละอองได้เข้าไปถึงลำคอหรือไม่ 

๔.  การดำน้ำ

๑. ถ้าผู้ถือศีลอดตั้งใจดำน้ำโดยให้ศีรษะและอวัยวะทุกส่วนอยู่ใต้น้ำ

ศีลอดบาฏิล

๒. การดำน้ำบางกรณีศีลอดไม่บาฏิลได้แก่

- ลืมว่าถือศีลอดและได้ดำน้ำ

- ดำน้ำโดยศีรษะบางส่วนอยู่ใต้น้ำ

- ดำน้ำที่ละด้านของศีรษะ

- ถูกบังคับให้ดำน้ำ (หรือตกน้ำโดยไม่ได้ตั้งใจ)

- ถูกจับกดน้ำโดยผู้อื่น

- สงสัยว่าได้ดำศีรษะทั้งหมดลงในน้ำหรือไม่

๕. การอาเจียน

๑. ถ้าผู้ถือศีลอด ตั้งใจอาเจียน แม้จะเป็นเพราะไม่สบายก็ตาม

ศีลอดบาฏิล

๒.ถ้าผู้ถือศีลอด ไม่รู้ว่ากำลังถือศีลอด หรือถูกบังคับให้อาเจียน

ศีลอดไม่บาฏิล

๖.  การอิซติมนาอฺ (สำเร็จความใคร่ ด้วยตัวเอง)

๑. ถ้าผู้ถือศีลอด ทำอิซติมนาอฺ หมายถึงสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองจนมะนี (อสุจิ) เคลื่อนออกมา ศีลอดบาฏิล

๒.ถ้าไม่ตั้งใจ และมะนีได้เคลื่อนออกมา เช่น นอนหลับและฝันจนกระทั่งมะนีได้เคลื่อนออกมา ศีลอดไม่บาฏิล

๗.  คงสภาพการมีญูนุบจนถึงอะซานซุบฮฺ

ถ้าบุคคลหนึ่งมีญูนุบจนถึงอะซานซุบฮฺ โดยไม่ฆุซลฺ หรือหน้าที่ต้องตะยัมมุมแต่ไม่ทำ บางกรณีศีลอดบาฏิล ซึ่งกรณีได้แก่

๑. ผู้ที่ตั้งใจคงสภาพการมีญูนุบจนถึงอะซานซุบฮฺ หรือหน้าที่ต้องตะยัมมุม แต่ไม่ทำ

- ถ้าเป็นศีลอดเดือนเราะมะฎอน ศีลอดบาฏิล

- ถ้าเป็นศีลอดเกาะฏอเดือนเราะมะฎอน ศีลอดบาฏิล

- ถ้าเป็นศีลอดอื่น ๆ ถือว่าถูกต้อง

๒. ถ้าลืมฆุซลฺหรือตะยัมมุม หลังจากนั้นสองหรือสามวันนึกขึ้นได้

- ถ้าเป็นศีอลอดเดือนเราะมะฎอน ต้องเกาะฎอทั้งหมด

- ถ้าเป็นศีลอดเกาะฎอเดือนเราะมะฎอน อิฮฺติยาฏวาญิบ

ให้เกาะฎอทั้งหมด

-ถ้าเป็นศีลอดอื่นที่ไม่ใช่ศีลอดศีอลอดเดือนเราะมะฎอน หรือศีลอดเกาะฎอเดือนเราะมะฎอน เช่น ศีลอดนะซัร หรือกะฟาเราะฮฺ ศีลอดถูกต้อง

๓. ถ้าผู้ถือศีลอดนอนหลับและฝันจนกระทั่งมะนีได้เคลื่อนออกมา ไม่วาญิบต้องรีบฆุซลฺทันที ศีลอดถูกต้อง

๔.ถ้ามีญูนุบตอนกลางคืนเดือนเราะมะฎอน ซึ่งรู้ดีว่าจะไม่ตื่นฆุซลฺก่อนอะซานซุบฮฺแน่นอน ดังนั้นต้องไม่นอน ถ้านอนหลับและไม่ตื่น

ศีลอดบาฏิล



การกระทำที่มักรูฮฺสำหรับผู้ถือศีลอด

๑. การกระทำทุกประเภทที่เป็นเหตุทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เช่น บริจาคเลือด

๒. การสูดดมดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม (แต่การฉีดน้ำหอมไม่เป็นมักรูฮฺ)

๓. การทำให้เสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่เปียกชื้น

๔.แปรงฝันด้วยไม้ที่มีเปียกชื้น



ศีลอดเกาะฎอและกะฟาเราะฮฺ



ศีลอดเกาะฎอ

ถ้าไม่ได้ถือศีลอดในเวลาที่ถูกกำหนดไว้ จำเป็นต้องถือชดเชยในวันอื่น ดังนั้น การถือศีลอดชดเชยหลังจากเวลาที่กำหนดได้ผ่านไปเรียกว่า  การเกาะฎอศีลอด



กะฟาเราะฮฺศีลอด

กัฟฟาเราะฮฺ หมายถึงการปรับโทษสำหรับผู้ที่ตั้งใจทำให้ศีลอด บาฏิล ซึ่งกำหนดไว้แน่นอน ได้แก่

๑. การปล่อยทาสหนึ่งคนให้เป็นอิสระ

๒. ถือศีลอดสองเดือน โดย ๓๑ วันแรกต้องติดต่อกัน

๓.ให้อาหารจนอิ่มแก่คนยากจน ๖๐ คน หรือจ่ายให้คนละ ๑ มุด (ประมาณ ๗.๕ ขีด)

ถ้าบุคคลใดวาญิบต้องจ่ายกะฟาเราะฮฺ ต้องจ่ายหนึ่งในสามตามที่กล่าวมาแต่ปัจจุบันตามหลักการของฟิกฮฺไม่อาจพบทาสได้ ดังนั้น ให้จ่ายกะฟาเราะฮฺประเภทที่สองและสาม แต่ถ้าไม่สามารถทำอย่างหนึ่งอย่างใดได้ ให้จ่ายอาหารแก่คนจนตามความสามารถ แต่ถ้าทำไม่ได้อีกให้ขอลุแก่โทษต่อพระอัลลอฮฺ (ซบ.)


กรณีที่วาญิบเกาะฎอศีลอดอย่างเดียวไม่ต้องจ่ายกะฟาเราะฮฺ ได้แก่

๑. ตั้งใจอาเจียนขณะถือศีลอด

๒. ลืมฆุซุลฺญินาบะฮฺเดือนเราะมะฎอน หรือถือศีลอดในสภาพมีญูนุบหลายวัน

๓. เดือนรอมฎอนไม่ได้สอบถามว่าถึงเวลาซุบฮฺหรือยัง และได้ทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดบาฏิล เช่น ดื่มน้ำ ต่อมารู้ว่าถึงเวลาซุบฮฺแล้ว

๔. ถ้ามีผู้บอกกว่ายังไม่ถึงเวลาซุบฮฺ ผู้ถือศีลอดได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้ศีลอดบาฏิล หลังจากนั้นรู้ว่าถึงเวลาแล้ว

๕.ถ้าตั้งใจไม่ถือศีลอดเดือนเราะมะฎอนหรือตั้งใจทำให้ศีลอดบาฏิล วาญิบต้องเกาะฎอและจ่ายกะฟาเราะฮฺ



บทบัญญัติการเกาะฎอและจ่ายกะฟาเราะฮฺ

๑.ไม่จำเป็นต้องรีบเกาะฎอศีลอดที่ขาดไปทันที แต่อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้เกาะฎอก่อนที่จะถึงเราะมะฎอนปีหน้า

๒. ถ้ามีศีลอดเกาะฎอเดือนเราะมะฎอนหลายเดือน จะเกาะฎอเดือนใดก่อนก็ได้ไม่เป็นไร แต่ถ้าเวลาเกาะฎอของเดือนสุดท้ายกระชั้นชิดเกินไป เช่น มีศีลอดเกาะฎอเดือนสุดท้ายอยู่ ๑๐ วันและอีก ๑๐ วันจะถึงเดือนเราะมะฎอน ดังนั้น ให้ถือศีลอดเกาะฎอเดือนสุดท้ายก่อน

๓. ต้องไม่ปล่อยกะฟาเราะฮฺให้ล่าออกไปหรือเพิกเฉย แต่ไม่จำเป็นต้องรีบทำทันทีทันใด

๔. ถ้าการกะฟาเราะฮฺ วาญิบสำหรับบุคคลหนึ่ง แต่เขาไม่ได้ทำและปล่อยเวลาให้ผ่านไปหลายปี ไม่มีสิ่งใดเพิ่มมากไปกว่านั้น

๕. ถ้าไม่ได้ถือศีลอดเดือนรอมฎอน เพราะมีอุปสรรค์บางประการ เช่น เดินทางไกล หรือไม่สบาย เมื่อสิ้นเดือนเราะมะฎอนอุปสรรคก็หมดไปด้วย   แต่ตั้งใจไม่เกาะฎอศีลอดจนกระทั่งถึงเดือนรอมฎอนปีหน้า    ดังนั้น นอกจากต้องเกาะฎอแล้ว ต้องจ่ายอาหารแก่คนจนวันละ ๑ มุดด้วย

๖. ถ้าได้ทำให้ศีลอดบาฏิลโดยการกระทำที่ฮะรอม เช่น ทำอิซติมนาอฺ

อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องจ่ายกะฟาเราะฮฺรวมทั้งสามประเภทกล่าวคือ ต้องปล่อยทาสหนึ่งคนให้เป็นอิสระ ถือศีลอดสองเดือนติดต่อกัน และต้องจ่ายอาหารแก่คนยากจน ๖๐ คน แต่ถ้าไม่สามารถทำทั้งสามประเภทได้ ประเภทใดมีความสามารถต้องทำประเภทนั้น

๗. ถ้าไม่ได้ถือศีลอดเดือนเราะมะฎอนเนื่องจากไม่สบาย และอาการป่วยได้ยาวนานจนถึงเราะมะฎอนปีหน้า การเกาะฎอศีลอดหมดไปจากเขาซึ่งวาญิบ ต้องจ่ายอาหารแก่คนจนวันละ ๑ มุด



กรณีต่อไปนี้ไม่วาญิบต้องเกาะฎอและกะฟาเราะฮฺ

๑. ก่อนเข้าสู่วัยบรรลุนิติภาวะตามศาสนาบัญญัติ ไม่ได้ถือศีลอด

๒. ไม่ได้ถือศีลอดช่วงที่ยังเป็นกาฟิรกล่าว คือ ถ้าหากกาฟิรได้เป็นมุสลิมไม่วาญิบต้องเกาะฎอศีลอดช่วงที่ผ่านมา