หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20814
ดาวน์โหลด: 4367

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20814 / ดาวน์โหลด: 4367
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

๓. บุคคลที่ไม่สามารถถือศีลอดเพราะความแก่ชรา และหลังจากเดือนเราะมะฎอนได้ผ่านพ้นไปก็ไม่สามารถเกาะศีลอดได้อีก และถ้าการถือศีลอดเป็นเรื่องยากลำบาก ดังนั้น ให้จ่ายอาหารแก่คนยากจนทุกวัน ๆ ละ ๑ มุด



ศีลอดเกาะฎอของบิดาและมารดา

หลังจากบิดาได้เสียชีวิต* เป็นหน้าที่ของบุตรชายคนโตต้องเกาะฎอนะมาซและศีลอดของบิดาที่ได้ขาดไป และอิฮฺติยาฏมุซตะฮับให้เกาะฎอถือศีลอดและนะมาซของมารดาด้วย

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ...บิดาและมารดาได้เสียชีวิต



ศีลอดของผู้เดินทางไกล

ผู้เดินทางที่ต้องลดจำนวนนะมาซ ๔ เราะกะอัตให้เหลือ ๒ เราะกะอัต ขณะเดินทางต้องไม่ถือศีลอดแต่ต้องเกาะฎอภายหลัง ส่วนผู้เดินทางที่ต้องนะมาซเต็ม เช่น ผู้ที่มีอาชีพเดินทาง ต้องถือศีลอดระหว่างการเดินทางด้วย



เงื่อนไขศีลอดเดินทาง



ขณะเดินทาง

๑. ถ้าออกเดินทางก่อนซุฮรฺ เมื่อไปถึงเขตตะรัคคุซ ศีลอดบาฏิล และถ้าก่อนไปถึงเขตได้ทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้สิ่งบาฏิล อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องจ่ายกะฟาเราะฮฺด้วย

๒. ถ้าออกเดินทาง หลังซุฮรฺ ศีลอดถูกต้อง และต้องไม่ใช้เงื่อนไขการเดินทางทำให้ศีลอดบาฏิล กลับจากการเดินทาง 

๑. กลับมาถึงก่อนซุฮรฺ หมายถึง กลับถึงภูมิลำเนาของตนหรือสถานที่ซึ่งตั้งใจพำนักอยู่ที่นั่นเป็นเวลา ๑๐ วัน 

 

- ถ้ายังไม่ได้กระทำสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ศีลอดบาฏิล ต้องถือศีลอดในวันนั้น ศีลอดถูกต้อง

- ถ้าได้ทำให้ศีลอดบาฏิลก่อนแล้ว ศีลอดวันนั้นไม่วาญิบ แต่ต้องเกาะฎอภายหลัง

๒. หลังซุฮรฺ ถือว่าศีลอดบาฏิล และต้องเกาะฎอภายหลัง

หมายเหตุ  การเดินทางในเดือนเราะมะฎอนไม่เป็นไร แต่เพื่อหนีการถือศีลอดมักรูฮฺ



ซะกาตฟิฏเราะฮฺ

หลังจากเดือนเราะมะฎอนอันจำเริญได้ผ่านพ้นไป หมายถึงวันอีดฟิฏรฺจำเป็นต้องบริจาคทรัพย์สินส่วนตัวเล็กน้อยในฐานะ ซะกาตฟิฏเราะฮฺ แก่คนยากจน



จำนวนซะกาตฟิฏเราะฮฺ

สำหรับตัวเองและผู้ที่อยู่อยู่ใต้ปกครอง เช่น ภรรยา หรือบุตรเป็นต้น คนละ ๓ กิโลกรัม



ประเภทของซะกาตฟิฏเราะฮฺ

ประเภทของซะกาตฟิฏรฺ เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ อินทผลัม องุ่นแห้ง ข้าวสาร ข้าวโพดและอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน  หรือใช้สตางค์จ่ายแทนสิ่งหนึ่งสิ่งใดเหล่านี้ ถือว่าเพียงพอ



หมวดที่ ๗  คุมซฺ และซะกาต

หนึ่งในหน้าที่ ๆ สำคัญทางเศรษฐกิจของสังคมมุสลลิม คือ การจ่ายคุมซฺ หมายถึงจ่ายของบางประเภทหรือรายรับสุทธิประจำปีของตนต้องจ่าย ๑/๕ แก่ผู้ปกครองอิสลาม ถ้าสมัยปรากฏกายของอิมามต้องจ่ายให้กับอิมาม (อ.) แต่ยุคปัจจุบันต้องจ่ายให้กับตัวแทนของอิมาม ได้แก่วิลายะตุลฟะกีฮฺ หรือบรรดามัรญิอฺที่ตนตักลีดอยู่



สิ่งของ ๗ ประเภทวาญิบต้องจ่ายคุมซฺ

-        รายได้สุทธิที่เหลือประจำปี (ประโยชน์ที่ได้จากการทำมาหากิน)

-        แร่ธาตุ

-        ขุมทรัพย์

-        ทรัพย์สงคราม

-        เครื่องประดับที่นำขึ้นมาจากท้องทะเล

-        ทรัพย์สินฮะลาลที่ผสมกับทรัพย์สินฮะรอม

-        พื้นดินที่กาฟิรซิมมี ได้ซื้อจากมุสลิม 

การจ่ายคุมซฺวาญิบเหมือนกับนมาซและการถือศีลอด ซึ่งบุคคลที่บาลิฆ และมีสติสัมปชัญญะคนใดก็ตาม มีหนึ่งในทรัพย์สินตามกล่าวมา ต้องจ่ายค่มซฺ

ด้วยเหตุนี้ ใครก็ตามเมื่อถึงวัยบรรลุนิตะภาวะตามศาสนบัญญัติ ได้นึกถึงนมาซ และการถือศีลอด จำเป็นที่เขาต้องคิดถึงการจ่ายซะกาต คุมซฺ และวาญิบอื่น ๆ ของศาสนาด้วย ฉะนั้น เป็นความจำเป็นที่ต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขและหลักการของวาญิบเหล่านั้น แต่สิ่งที่จะนำเสนอไม่ใช่ทั้งหมดของสิ่งของที่เป็นวาญิบต้องจ่ายคุมซฺ

จะนำเสนอบางอย่างที่เป็นความต้องการของสังคมและเป็นหน้าที่ของทุกคน ซึ่งสิ่งนั้น คือ รายได้สุทธิประจำปีของบุคคลหรือครอบครัว

และเพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นควรศึกษาประเด็นต่อไปนี้

๑. จุดประสงค์ของรายรับประจำปีหมายถึงอะไร

๒. ปีนั้นให้นับตามปีทาง สุริยะคติ หรือจันทรคติ และการเริ่มนับปีควรเริ่มนับเมื่อใด



รายจ่ายประจำปี

อิสลามให้เกียรติและเคารพอาชีพการงานที่สุจริตทั้งหลาย และยังถือว่ารายจ่ายส่วนตัวมีความสำคัญมากกว่าการจ่ายคุมซฺ ด้วยเหตุนี้ ตลอดทั้งปีสามารถนำรายรับทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายของตนได้ และเมื่อถึงสิ้นปีถ้าไม่มีสิ่งใดเพิ่มขึ้นไม่วาญิบต้องจ่ายคุมซฺ แต่หลังจากได้หักค่าใช้จ่ายเรียบร้อยแล้วยังเหลือรายรับ ดังนั้น จำเป็นต้องจ่าย ๑/๕ ในฐานะของคุมซฺ และส่วนที่เหลือ ๔/๕ ถือเป็นเงินสะสมของตน

ดังนั้นจุดประสงค์ของคำว่ารายจ่ายประจำปีหมายถึงของทุก                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 สิ่งที่ตน และครอบครัวมีความต้องการ ดังตัวอย่าง เช่น

-        อาหารและเครื่องนุ่งห่ม

-        ของใช้ภายในครัวเรือน เช่น หม้อ และภาชนะที่จำเป็น

-        พาหนะที่ใช้ขนส่งสิ่งของ ที่ไม่ได้ใช้เฉพาะการทำมาหากินหรืองานเท่านั้น

-        ค่าใช้จ่ายสำหรับแขกที่มาเยี่ยม

-        ค่าใช้จ่ายเรื่องแต่งงาน

-        ตำราที่เป็นความต้องการ

-        และค่าใช้จ่ายที่ใช้เพื่อซิยาเราะฮฺ

-        รางวัลและของกำนัลที่ได้จัดหาให้คนอื่น

-        เงินบริจาค บนบาน หรือเงินเตรียมไว้เพื่อจ่ายกะฟาเราะฮฺ

ปีของคุมซฺ     

วันแรกที่ถึงวัยบาลิฆต้องนมาซ เดือนรอมฎอนแรกมาถึงต้องถือศีลอด และเมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งปีเต็มเมื่อหักจากรายจ่ายของปีที่แล้วมีรายได้เหลือ ต้องจ่ายค่มซฺ ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าการนับปีของคุมซฺให้เริ่มนับตั้งแต่เริ่มต้นมีรายได้เป็นครั้งแรก จนกระทั่งสิ้นสุดปีทางสุริยคติ

ฉะนั้นเริ่มต้นปีของ...

- เกษตรกร   ให้เริ่มนับตั้งแต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นครั้งแรก

- พนักงาน   ให้เริ่มนับเมื่อได้รับเงินเดือน ๆ แรก

- คนงาน     ให้เริ่มนับเมื่อรับค่าจ้างงวดแรก

- เจ้าของร้านค้าและกิจการ ให้เริ่มนับเมื่อขายของได้เป็นครั้งแรก 



ทรัพย์สินบางประเภทที่ได้รับดังต่อไปนี้ไม่ต้องจ่ายคุมซฺ

-        มรดกที่ได้รับมา

-        สิ่งของที่ให้ในฐานะของกำนัลหรือที่ระลึก

-        รางวัลที่ได้รับ*

อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี รางวัลที่ได้รับถ้าเป็นสิ่งของที่มีค่าต้องจ่ายคุมซฺ แต่ถ้าเป็นสิ่งของที่ไม่มีค่าไม่ต้องจ่ายคุมซฺ (อิซติฟตาอาต เล่ม ๑ หน้า ๒๖๑ คำถามที่ ๘๗๐)

-        สิ่งที่ได้รับในฐานะของอีด เช่น เงินบำเหน็ด

-        ทรัพย์สินที่ให้บุคคลอื่นในฐานะของคุมซฺ หรือซะกาต



ผลที่ตามมาของการไม่จ่ายคุมซฺ

๑. ทรัพย์สินที่ยังไม่ได้จ่ายคุมซฺ ไม่มีสิทธิ์ใช้จ่าย หมายถึงอาหารที่ยังไม่ได้จ่ายคุมซฺ ไม่สามารถรับประทานได้ หรือสตางค์ที่ยังไม่ได้จ่ายคุมซฺ ไม่สามารถนำไปซื้อของใช้อย่างอื่นได้

๒. ถ้าใช้สตางค์ที่ยังไม่ได้จ่ายคุมซฺ ซื้อข้าวของเครื่องใช้ (โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง) ๑ ใน ๕ ของการซื้อขายนั้นบาฏิล

๓. ถ้าใช้สตางค์ที่ยังไม่ได้จ่ายคุมซฺเป็นค่าเช่าห้องอาบน้ำเพื่อฆุซลฺ

ฆุซุลฺบาฏิล หรือเป็นค่าที่พักอาศัย และนมาซในนั้น นมาซบาฏิล

๔. ถ้าใช้สตางค์ที่ยังไม่ได้จ่ายคุมซฺ ซื้อบ้าน และนมาซในบ้านนั้น

 นะมาซบาฏิล



บทบัญญัติของคุมซฺ

๑. ถ้าออมทรัพย์ หลังจากหักค่าใช้จ่ายเมื่อสิ้นปีแล้ว ยังมีรายได้สุทธิเหลือ ต้องจ่ายคุมซฺ

๒.ข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่ซื้อมาใช้แต่ปัจจุบันไม่ต้องการแล้ว (ความต้องการได้หมดไป) อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องจ่ายคุมซฺ* เช่น ซื้อตู้เย็นเครื่องใหญ่มาใหม่ตู้เย็นเครื่องเก่าจึงไม่ได้ใช้ ดังนั้น ต้องจ่ายคุมซฺ

*อายะตุลลอฮฺ อะลี ตอเมเนอี การขายข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิต หลังจากปีของคุมซฺได้ผ่านไป ไม่จำเป็นต้องจ่ายคุมซฺ (อิซติฟตาอาต คำถามที่ ๔๖ – ๔๗)

๓. การนำเงินที่หามาได้ซื้อข้าวของเครื่องใช้ เช่น ข้าวสาร น้ำมัน ใบชา และอื่น ๆ ถ้าสิ้นปีใช้ไม่หมดส่วนที่เหลือต้องจ่ายคุมซฺ

๔. ถ้าเด็กที่ยังไม่บาลิฆได้ลงทุนด้วยเงินก้อนหนึ่ง และมีกำไรจากการลงทุนนั้น อิฮฺติยาฎวาญิบ หลังจากบาลิฆแล้วต้องจ่ายคุมซฺ



การใช้จ่ายคุมซฺ

โดยหลักการแล้ว เงินคุมซฺ ต้องแบ่งออกเป็นสองส่วนครึ่งหนึ่งเป็นของอิมามมะฮฺดียฺ (อ.) ซึ่งต้องจ่ายให้กับมัรญิอฺตักลีด หรือวิลายะตุลฟะกีฮฺ หรือตัวแทนของท่าน

ส่วนอีกครึ่งต้องจ่ายให้กับมัรญิอฺหรือวิลายะตุลฟะกีฮฺ หรือขออนุญาตท่านจ่ายให้กับบรรดาซัยยิดที่มีสิทธิ์รับเงินคุมซฺ



เงื่อนไขของซัยยิดที่สามารถรับคุมซฺได้

๑.      ยากจนหรืออนาถา ตกค้างจากการเดินทาง แม้ว่าเมื่ออยู่ในเมืองของตนจะไม่ใช่คนจนก็ตาม

๒.      เป็นชีอะฮฺ ๑๒ อิมาม

๓.      ไม่ทำบาปอย่างเปิดเผย (อิฮฺติยาฎวาญิบ) การจ่ายคุมซฺ ต้องไม่เป็นการสนับสนุนการทำบาปของเขา

๔.      ต้องเป็นผู้ที่ค่าใช้จ่ายของพวกเขาอยู่ในความรับผิดชอบของเขา เช่น ต้องไม่ใช่ภรรยา และบุตร (อิฮฺติยาฏวาญิบ)



ซะกาต (ทานบังคับ)

หนึ่งในหน้าที่ ๆ สำคัญทางเศรษฐกิจอีกประการหนึ่งของสังคมมุสลลิม คือ การจ่ายซะกาต ซึ่งความสำคัญของซะกาตนั้นจะเห็นว่า อัล-กุรอาน กล่าวไว้เคียงคู่กับนะมาซเสมอ อันเป็นเครื่องหมายที่ยืนยันถึงการมีอีมาน และเป็นปัจจัยของความสัจจริง

ริวายะฮฺมากมายจากอิมามมะอฺซูม (อ.) รายงานว่า บุคคลใดหลีกเลี่ยงการจ่ายซะกาตเท่ากับได้ออกนอกศาสนา

ซะกาตเหมือนกับคุมซฺ มีกำหนดแน่นอน ส่วนหนึ่งเป็นภาษีที่ประกันร่างกายและชีวิต (ให้สะอาดบริสุทธิ์) ซึ่งทุกปีจะต้องบริจาคหนึ่งครั้งในวันอีดฟิฎรฺ และวาญิบสำหรับผู้ที่มีความสามารถในการบริจาคทรัพย์เท่านั้น  ซึ่งซะกาตประเภทนี้กล่าวไปแล้วตอนอธิบายศีลอด

อีกประเภทหนึ่ง คือ ซะกาตทรัพย์สินแต่ไม่ได้หมายความว่าทรัพย์สินทุกประเภทของประชาชนต้องออกซะกาตหมด เฉพาะ ๙ ประเภทเท่านั้น ที่ต้องจ่ายซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนดังนี้



สิ่งของวาญิบต้องจ่ายซะกาต (ทานบังคับ
)

๑. พืชผลเกษตรกรรม ได้แก่ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ อินทผลัม และผลองุ่นแห้ง

๒. สัตว์เลี้ยงได้แก่ อูฐ วัว และแกะ

๓. แร่ธาตุได้แก่ ทองคำ และเงิน

ปริมาณที่จำเป็น (ขั้นกำหนด)

ซะกาตสิ่งของต่าง ๆ เหล่านี้จะวาญิบเมื่อถึงปริมาณที่กำหนดไว้แน่นอน ซึ่งเรียกว่า ฮัดนิซอบ หมายถึง ถ้าปีนั้นผลผลิตได้ไม่ถึงขั้นที่กำหนดไว้ หรือสัตว์เลี้ยงมีจำนวนน้อยกว่าปริมาณ ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต



ขั้นกำหนดของพืชผล

พืชผลทั้ง ๔ ประเภทที่กล่าวมา มีปริมาณกำหนดเพียงอย่างเดียวคือ ประมาณ ๘๕๐ กิโลกรัม ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าถ้าผลผลิตได้น้อยกว่าปริมาณกำหนดไม่ต้องจ่ายซะกาต 



ปริมาณซะกาตที่เป็นพืชผล

ถ้าผลผลิตใดถึงขั้นกำหนด (ฮัดนิซอบ) จำเป็นต้องจ่ายเพียงเล็กน้อยในฐานะของซะกาต แต่ซะกาตที่เป็นพืชผลขึ้นอยู่กับการให้น้ำแก่ไร่นาและเรือกสวนเหล่านั้น ฉะนั้น สามารถแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทดังนี้

๑. ปริมาณซะกาตของผลผลิตที่ใช้น้ำฝน และน้ำจากลำธารหรือลำคลอง (ให้น้ำแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องลงทุน) ปริมาณซะกาต ๑ / ๑๐

๒. ปริมาณซะกาตของผลผลิตที่ใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น ใช้เรือหัดวิดน้ำ เอาถังตักน้ำ กังหันลม หรือใช้เครื่องสูบน้ำไปล่อเลี้ยงพืชเป็นต้น (มีการลงทุนลงแรง) ประมาณซะกาต ๑ / ๒๐

๓. ปริมาณซะกาตของผลผลิตที่ใช้ทั้งสองประเภทข้างต้น (อาศัยธรรมชาติบวกกับการลงทุน) ปริมาณซะกาตแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือครึ่งหนึ่งต้องจ่าย ๑ / ๑๐ และอีกครึ่งต้องจ่าย ๑ / ๒๐

ขั้นกำหนดของสัตว์เลี้ยง

๑. แกะ ขั้นกำหนดแรกของแกะคือ ๔๐ ตัว ต้องออกซะกาต ๑ ตัว ถ้าแกะมีจำนวนไม่ถึง ๔๐ ตัวไม่ต้องออกซะกาต 

๒. วัว ขั้นกำหนดแรกของวัวคือ ๓๐ ตัว ต้องออกซะกาตเป็นลูกวัวที่มีอายุครบ ๑ ขวบบริบูรณ์อย่างเข้าขวบที่สอง ๑ ตัว

๓. อูฐ ขั้นกำหนดแรกของอูฐคือ ๕ ตัว ต้องจ่ายซะกาตเป็นแกะ ๑ ตัว ถ้ามีอูฐไม่ถึง ๒๖ ตัว ทุก ๆ ๕ ตัวต้องจ่ายซะกาตเป็นแกะ ๑ ตัว แต่ถ้ามีอูฐครบ ๒๖ ตัว ต้องจ่ายซะกาตเป็นอูฐ ๑ ตัว

๔. ขั้นกำหนดของทองคำและเงิน ขั้นกำหนดของทองคำคือ ๑๕ มิซกอล ส่วนเงินคือ ๑๐๕ มิซกอล และปริมาณซะกาตของทั้งสองคือ ๑ / ๔๐

หมายเหตุ ๑๖ มิซกอล มีน้ำหนักประมาณ ๗๕ กรัม

ตัวอย่างขั้นกำหนดและประมาณของที่ต้องจ่ายซะกาต

ลำดับที่            ประเภท ขั้นกำหนด            ปริมาณซะกาต

๔       ข้าวสาลี

ข้าวบาร์เลย์

อินทผลัม

ผลองุ่น            ๘๔๗ / ๒๐๗ กิโลกรัม

          ๑ / ๑๐ ถ้าใช้น้ำจากธรรมชาติ น้ำฝน น้ำคลอง ไม่ต้องลงทุน

 ๑ / ๒๐ ถ้าใช้เครื่องสูบน้ำ แบบไม่ธรรมชาติมีการลงทุน

๓ / ๔๐ ถ้าใช้ทั้งสองกรณี แบบธรรมชาติบวกกับลงทุน

๕       อูฐ           - ถ้าอูฐ ๕ ตัว

- ถ้าอูฐ ๒๕ ตัว

- ถ้าอูฐ ๒๖ ตัว                ต้องจ่ายซะกาตเป็นแกะ ๑ ตัว

ทุก ๆ ห้าตัวต้องจ่ายซะกาตเป็นแกะ ๑ ตัว

ต้องจ่ายซะกาตเป็นอูฐ ๑ ตัว

๖       วัว           ถ้ามีวัว ๓๐ ตัว       ต้องจ่ายซะกาตเป็นลูกวัวอายุ ๑ ขวบ ๑ ตัว

๗       แกะ        ถ้ามีแกะ ๔๐ ตัว    ต้องจ่ายซะกาตเป็นแกะ ๑ ตัว

๘       ทองคำ   ถ้ามีทองคำ ๑๕ มิซกอล      ต้องจ่ายซะกาต ๑/๔๐

๙       เงิน         ถ้ามีเงิน ๑๐๕ มิซกอล          ต้องจ่ายซะกาต ๑/๔๐



บทบัญญัติของซะกาต

๑. ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการลงทุนปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ อินทผลัม และองุ่น เหมือนกับราคาของเมล็ดพันธุ์ ค่าจ้างคนงาน และรถไถ สามารถหักจากผลผลิตทั้งหมดได้ ซึ่งขั้นกำหนดของซะกาตพืชผลต้องคำนวณก่อนที่จะหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด ถ้าผลผลิตก่อนหักค่าใช้จ่ายถึงขั้นที่กำหนดไว้ วาญิบต้องจ่ายซะกาต แต่ให้จ่ายเฉพาะส่วนที่เหลือจากหักแล้ว

๒. ชะกาตที่เป็นสัตว์เลี้ยงจะวาญิบเมื่อ

- เป็นเจ้าของสัตว์เหล่านั้นนาน ๑ ปี ด้วยเหตุนี้ ถ้าซื้อวัวมา ๑๐๐ ตัวเลี้ยงไว้นาน ๙ เดือนหลังจากนั้นได้ขายไป ซะกาตไม่วาญิบ

- สัตว์ที่เลี้ยงไว้ต้องว่างงาน ๑ ปีเต็ม ดังนั้น ถ้าวัว หรือ อูฐที่เลี้ยงไว้ใช้งานในไร่นา หรือใช้ขนของไม่ต้องจ่ายซะกาต

- สัตว์ที่เลี้ยงไว้หนึ่งปีเต็มกินหญ้าตามทุ่งหญ้า ดังนั้น ถ้าภายในหนึ่งปีสัตว์ได้กินหญ้าที่เจ้าของซื้อมา หรือเกี่ยวหญ้าจากที่อื่นมาให้สัตว์กิน หรือกินหญ้าที่เจ้าของปลูกไว้ ไม่ต้องจ่ายซะกาต

๓. ซะกาตทองคำและเงิน จะวาญิบเมื่อเป็นเหรียญทองที่นำมาเป็นอัตราซื้อแลกเปลี่ยน ดังนั้น ทองคำรูปพรรณที่ผู้หญิงใช้เป็นเครื่องประดับอยู่ทุกวันนี้ ไม่ต้องจ่ายซะกาต

๔. ซะกาตทองคำและเงิน เป็นวาญิบต้องจ่ายเมื่อได้เป็นเจ้าของนิซอบประมาณ ๑๑ เดือนเศษ ดังนั้นระหว่าง ๑๑ เดือนนี้ ถ้าหากจำนวนทองคำและเงินได้ลดต่ำกว่านิซอบ ไม่ต้องจ่ายซะกาต

๕. การจ่ายซะกาตเป็นอิบาดะฮฺ ดังนั้น สิ่งที่จ่ายออกไปต้องเนียตเป็นซะกาตและกุรบะตันด้วย



ผู้มีสิทธิ์รับซะกาต

ผู้ที่มีสิทธิ์รับซะกาตมี ๘ จำพวก ซึ่งสามารถรับได้ทั้งหมดหรือบางส่วน

๑. คนยากจน หมายถึงผู้ที่มีรายได้ประจำปีไม่สมดุลกับค่าใช้จ่าย หรือครอบครัวมีรายจ่ายมากกว่ารายได้

๒. คนอนาถา

๓. เจ้าหน้าที่ ๆ อิมาม (อ.) ได้แต่งตั้ง หรือตัวแทนของท่านให้มีหน้าที่รวบรวมซะกาต ดูแล หรือแจกจ่าย

๔.เพื่อความใกล้ชิดและสมานฉันท์ และเพื่อหวังว่าจะเป็นการโน้มน้าวจิตใจให้เข้ารับอิสลาม เช่น ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมถ้าหากได้ช่วยเหลือพวกเขา จะเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาเบี่ยงเบนมาสู่อิสลาม หรือช่วยเหลือมุสลิมทำสงคราม

๕. เพื่อปลดปล่อยทาสมุสลิม

๖.ผู้ที่เป็นหนี้สินที่ไม่สามารถชำระหนี้สินของตนได้

๗.จ่ายในวิถีทางของอัลลอฮฺ (ซบ.) หมายถึงภารกิจที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมส่วนรวม และเป็นที่พึ่งพอพระทัยของอัลลอฮฺ เช่น การสร้างถนนหนทาง สะพาน หรือมัสญิด

๘. ผู้เดินทางที่ตกค้าง ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายเดินทางกลับบ้าน แม้ว่าเมื่ออยู่ที่บ้านจะไม่ใช่คนยากจนก็ตาม



การกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว

มนุษย์ทุกคนต่างมีหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อเห็นผู้คนในสังคมยอมรับการกระทำความชั่ว และละทิ้งการกระทำความดี ด้วยเหตุนี้ ถ้าผู้คนละทิ้งภารกิจอันเป็นวาญิบ หรือกระทำสิ่งฮะรอม ไม่อนุญาต ให้เฉยเมยหรือมองไม่เห็นความแตกต่างเมื่อเผชิญกับสิ่งเหล่านั้น ทุกต้องร่วมมือกันในการรณรงค์วาญิบ และขัดขวางสิ่งฮะรอม การกระทำดังกล่าวนี้เรียกว่า การกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว



การให้ความสำคัญต่อการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว

รายงานจากอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) กล่าวว่า

- การกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว เป็นวาญิบที่มีความสำคัญที่สุด และมีเกียรติอย่างยิ่งในหมู่วาญิบทั้งหลาย

- วาญิบต่าง ๆ ของศาสนา เนื่องจากการยืนหยัดในการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว

- การกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว เป็นความจำเป็นของศาสนา ถ้าบุคคลใดไม่ยอมรับถือว่าเป็นผู้ปฏิเสธ

- ถ้าทุกคนละเว้นการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว ความจำเริญจะถูกถอดถอนไปจากสังคม และดุอาอฺจะไม่ถูกยอมรับ

คำจำกัดความของความดีและความชั่ว

บทบัญญัติของศาสนาเรียกวาญิบและมุซตะฮับทั้งหมด ว่าความดี (มะอฺรูฟ) และเรียกฮะรอมทั้งหมดว่าความชั่ว (มุนกิร) ด้วยเหตุนี้ การสนับสนุนให้ผู้คนในสังคมกระทำภารกิจต่าง ๆ อันเป็นวาญิบและมุสตะฮับ คือ การกำชับความดี ส่วนการห้ามปรามพวกเขาให้ออกห่างจากสิ่งฮะรอมและมักรูฮฺ เรียกว่า การห้ามปรามความชั่ว

การกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว เป็นวาญิบกิฟาอีย์ ซึ่งถ้ามีผู้ปฏิบัติพอเพียงแล้ว ถือว่าผู้อื่นหมดหน้า แต่ถ้าทุกคนละเว้นทั้งหมดทั้งที่เงื่อนไขในการปฏิบัติยังคงมีอยู่ ถือว่าทุกคนได้ละทิ้งวาญิบ 

เงื่อนไขการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว

การกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว จะวาญิบต่อเมื่อมีเงื่อนไขบางประการ แต่ถ้าไม่มีเงื่อนไขเหล่านี้หน้าที่จะหมดไป ได้แก่

๑. ผู้ที่ทำหน้าที่กำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว ต้องรู้ว่าสิ่งที่ผู้อื่นกำลังทำอยู่นั้น ฮะรอม และสิ่งที่ได้ละเว้นไป คือ วาญิบ* ดังนั้น บุคคลใดไม่รู้ว่าสิ่งที่เขากำลังกระทำฮะรอมหรือไม่ การห้ามปรามจึงไม่วาญิบ

* อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี... เช่นกันถ้ารู้ว่าผู้กระทำ รู้เรื่องการกำชับและห้ามปรามเป็นอย่างดี (อิซติฟตาอาต เล่ม ๑ หน้า ๓๓๔ คำถามที่ ๑)

๒. คิดว่าการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วคงจะมีผลกับเขา ฉะนั้น ถ้ารู้ว่าไม่มีผลอันใดกับเขา การกำชับและห้ามปราม ไม่วาญิบ

๓. ผู้กระทำผิดยังคงทำความผิดอยู่ แต่ถ้ารู้แน่ชัดว่าผู้กระทำผิดตัดสินใจเลิกกระทำ และจะไม่ย้อนไปกระทำอีกเด็ดขาด หรือไม่สบโอกาสในการย้อนกับไปทำอีก ดังนั้น การกำชับและห้ามปรามความชั่วไม่วาญิบ

๔. การกำชับและห้ามปรามความชั่ว ต้องไม่กลายเป็นสาเหตุนำอันตรายมาสู่ชีวิตหรือเกียรติยศ หรือเป็นอันตรายต่อทรัพย์สิน ญาติพี่น้อง คนใกล้ชิด มิตรสหาย หรือบรรดาผู้ศรัทธาคนอื่น