หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20805
ดาวน์โหลด: 4360

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20805 / ดาวน์โหลด: 4360
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย



ขั้นตอนของการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว

สำหรับการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วนั้นมีขั้นตอน ถ้าปฏิบัติตามขั้นตอนที่ต่ำที่สุดและประสบความสำเร็จ ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติในขั้นตอนต่อไป ซึ่งขั้นตอนเหล่านั้นประกอบด้วย

๑. ให้ปฏิบัติตัวกับผู้กระทำความผิดเพื่อให้รู้ตัวว่าเพราะการกระทำผิดนั่นเอง เขาจึงได้รับการปฏิบัติเช่นนี้ เช่น หันหลังให้เมื่อเจอหน้ากัน หรือทำหน้าบึ้งตึงเข้าใส่ หรือไม่ไปมาหาสู่

๒. กำชับหรือห้ามปรามความชั่วด้วยคำพูด หมายถึง สั่งให้ผู้ที่ละทิ้งวาญิบปฏิบัติในวาญิบนั้น และสั่งให้ผู้กระทำบาปเลิกทำบาป

๓. ใช้กำลังห้ามปรามหรือยุติการกระทำบาป และสนับสนุนวาญิบ หมายถึงลงไม้ลงมือกับคนทำผิด*

* อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี หากเป็นรัฐบาลอิสลาม วาญิบสำหรับผู้มีหน้าที่กำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว ต้องกระทำด้วยคำพูด ถือว่าเพียงพอ กรณีที่ต้องใช้กำลังต้องรายงานให้หน่วยงานพิเศษที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงทราบ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรมตำรวจ (อิซติฟตาอาต เล่ม ๑ หน้า ๓๓๘ คำถามที่ ๑๐๙๐)



บัญญัติของการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว

๑. วาญิบ ต้องเรียนรู้บัญญัติของการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว และประเด็นต่าง ๆ เพื่อจะได้ไม่ผิดพลาดในการปฏิบัติ

๒. ถ้ารู้ว่าการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วจะไม่มีผล ถ้าปราศจากการขอร้อง คำแนะนำและการตักเตือน ดังนั้น วาญิบ ต้องปฏิบัติร่วมกับการขอร้องและการตักเตือน และถ้ารู้ว่าคำแนะนำและการตักเตือนเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องกำชับหรือห้ามปรามมีผล วาญิบ ให้ปฏิบัติเช่นนั้น

๓. ถ้ารู้หรือคาดว่าการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วทำซ้ำกันบ่อย ๆ จะเกิดผล วาญิบต้องทำซ้ำกัน

๔. จุดประสงค์ของการกระทำความผิดเสมอ มิได้หมายถึงการกระทำความผิดต่อเนื่องเป็นประจำ ทว่าหมายถึงการกระทำผิดแม้ว่าจะทำซ้ำไม่บ่อยนัก ดังนั้น ถ้าละเว้นนะมาซเพียงครั้งเดียว และกำลังจะละเว้นอีก วาญิบต้องทำการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่วทันที 

๕. การกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง (ฮากิม) ไม่อนุญาตให้ทำร้ายหรือสังหารผู้กระทำผิด นอกเสียจากว่าเขาปฏิเสธภารกิจหนึ่ง ซึ่งอิสลามให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับภารกิจนั้น เช่น ถ้าผู้นั้นต้องการสังหารผู้บริสุทธิ์ และการห้ามปรามโดยปราศจากการลงไม้ลงมือเป็นไปไม่ได้



มารยาทของการกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว

เป็นการดีสำหรับผู้ที่กำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว ให้ปฏิบัติเช่นนี้

๑. ให้ปฏิบัติเหมือนกับแพทย์ที่เป็นห่วงเป็นใยหรือบิดาที่มีเมตตาธรรม

๒. ตั้งใจบริสุทธิ์ กระทำสิ่งนั้นเพื่อความพึงพอพระทัยของพระเจ้า และการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด

๓. อย่าคิดว่าตนเป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์ เพราะตั้งมากมายที่ผู้กระทำผิดในตอนนั้นมีความประเสริฐกว่าตน และมีคุณสมบัติอันเป็นที่ยอมรับของพระเจ้า ซึ่งได้รับความเมตตาจากพระองค์ แม้ว่าขณะนั้นการกระทำของเขาจะไม่เป็นที่ยอมรับ และได้รับความกริ้วจากพระเจ้าก็ตาม


ญิฮาดและการป้องกัน

เมื่ออิสลามได้เริ่มทอแสงขึ้นศาสนา แนวทาง และนิกายซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับต่างเตรียมพร้อมเพื่อยอมรับอิสลาม แม้ว่าจะมีอิสรเสรีในการยอมรับก็ตาม อันดับแรกท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และตัวแทนของท่านได้อธิบายอิสลามศาสนาแห่งการช่วยเหลือแก่ประชาชน และเชิญชวนประชาชนให้มายอมรับคำเชิญของท่าน ถ้าผู้ใดดื้อรั้นจะได้รับความโกรธกริ้วจากพระองค์ ท่านได้พยายามฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อเผยแพร่อิสลาม และต่อสู้กับผู้ปฏิเสธหรือกีดขวางแนวทางซึ่งเรียกว่า ญิฮาด

แม้ว่าวิธีการดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในวิธีที่ทำให้อิสลามก้าวหน้าแต่ต้องอาศัยเทคนิค และวิธีการพิเศษซึ่งอยู่ในอำนาจของท่านศาสดาและตัวแทนของท่าน อีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่าการประกาศญิฮาดเป็นหน้าที่ของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กับบรรดาอิมาม (อ.) เท่านั้น

และในยุคที่อิมามแห่งยุคเร้นกายการญิฮาดจึงไม่วาญิบสำหรับมุสลิม* แต่มีการต่อสู้กับศัตรูด้วยวิธีอื่นซึ่งเรียกว่า การป้องกัน ซึ่งเป็นสิทธิของมุสลิมทุกคนบนโลกนี้ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด เมื่อไหร่ และเวลาใดก็ตาม สามารถปกป้องตนเองจากการคุกคามและการโจมตีของศัตรู หรือเมื่อใดที่ศาสนาของตนตกอยู่ในอันตรายเพื่อปกชีวิตและศาสนาของตน จำเป็นต้องต่อสู้กับศัตรูและกำจัดพวกเขาให้สิ้นซาก และลำดับต่อไปจะกล่าวถึงประเภทของบทบัญญัติการป้องกันอันเป็นวาญิบ กล่าวคือ

* อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี การออกคำสั่งญิฮาดอิบติดาอียฺ (เริ่มญิฮาด) ในสมัยที่อิมามเร้นกายนั้น สำหรับมุจญฺตะฮิดที่มีเงื่อนไขสมบูรณ์หรือวิลายะตุลฟะกีฮฺ ผู้มีอำนาจปกครองมุสลิม ถ้าเห็นว่าเงื่อนไขญิฮาดนั้นพร้อม ก็สามารถประกาศญิฮาดได้ ซึ่งทัศนะดังกล่าวเป็นทัศนะที่แข็งแรงที่สุด (อิซติฟตาฮาต เล่ม ๑ หน้า ๓๒๑ คำถามที่ ๑๐๗๔) มีหน้าที่๒๓๐-๒๓๑ ยังไม่ได้แปล



หมวดที่ ๘ การกินและการดื่ม

อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ทรงมอบธรรมชาติที่สวยงาม สรรพสัตว์ทั้งหลาย พืช ผัก และผลไม้ เพื่อให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ในการกิน ดื่ม นำมาเป็นเครื่องนุ่งห่ม และทำเป็นที่อยู่อาศัย และใช้ทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ตามความต้องการของมนุษย์ แต่เพื่อให้เกียรติและเคารพในสิทธิของบุคคลอื่น และเพื่อปกป้องชีวิตมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ จึงวางบทบัญญัติในเรื่องการกินและการดื่ม ดังนั้น จะขอกล่าวเฉพาะประเด็นที่มีสำคัญเพื่อเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป 



ประเภทอาหาร

กรณีที่เป็นพืช ซึ่งมีทั้งผลไม้และผักต่าง ๆ

กรณีที่เป็นสัตว์ยังแบ่งออกเป็น

- สัตว์สี่เท้า มีทั้งสัตว์บ้านหรือสัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่า

- สัตว์ปีก บางประเภทรับประทานได้และบางประเภทรับประทานไม่ได้

- สัตว์น้ำ บางประเภทรับประทานได้และบางประเภทรับประทานไม่ได้



บทบัญญัติของอาหาร

อาหารที่เป็นพืช

ผลไม้และผักทั้งหมดฮะลาล ยกเว้นพืชผักที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย

อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์แบ่งเป็นหลายประเภท

          ๑. สัตว์สี่เท้าที่เลี้ยงตามบ้าน (สัตว์บ้าน)

                          - เนื้อฮะลาล เช่น วัว แกะตระกูลต่าง ๆ และอูฐ

                          - เนื้อมักรูฮฺ เช่น ม้า ฬ่อ ลา

                          - เนื้อฮะรอม เช่น สุนัข สุกร แมว และสัตว์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

          ๒. สัตว์ป่า

          - เนื้อฮะลาล เช่น กวาง วัวประเภทต่าง ๆ ม้าลาย และ แพะภูเขา

          - เนื้อฮะรอม สัตว์ดุร้ายทั้งหมด ตลอดจนสัตว์ที่มีเขี้ยวและกงเล็บ เช่น เสื้อ สิงโต หมี หมาป่า และสัตว์อื่น ๆ ที่อยู่ในประเภทเดียวกัน

๑. สัตว์ดุร้ายทุกชนิดเนื้อฮะรอม แม้ว่าสภาพชีวิตเมื่อเทียบพละกำลังแล้วจะอ่อนแอกว่าสัตว์ดุร้ายอื่น ๆ ก็ตาม เช่น สุนัขจิ้งจอก

๒. การกินเนื้อกระต่าย ฮะรอม

๓. แมลงทุกชนิด ฮะรอม

๓. สัตว์ปีก (นกต่างๆ)

นกและสัตว์ปีกที่ต่อไปนี้ เนื้อฮะลาล ได้แก่

- นกพิราบ และนกในตระกูลนกพิราบ                   

          - นกกระจอก และนกที่อยู่ในตระกูลนกกระจอก

          - ไก่

          นกและสัตว์ปีกต่อไปนี้เนื้อฮะรอม ได้แก่

          - ค้างคาว

          - นกยูง

          - นกกา (และนกประเภทเดียวกับกา)

          - นกทั้งหมดที่มีกงเล็บ เช่น นกอินทรีย์ เหยี่ยว เป็นต้น

          - นกที่เวลาบินแล้วกางปีกเล่นลม



ประเด็นสำคัญ

          ๑. การกินเนื้อนกนางแอ่น นกฮุดฮุด (หมายถึงนกหัวขวาน) (นกที่มีหงอนขนตั้งตรง) เป็นมักรูฮฺ

          ๒.ไข่ไก่และไข่นกทุกประเภทขึ้นอยู่กับเนื้อ ถ้าเนื้อฮะลาลไข่ก็ฮะลาล ถ้านื้อฮะรอมไข่ก็ฮะรอมตามไปด้วย 

          ๓. ตั๊กแตน จัดอยู่ในประเภทของนก เนื้อฮะลาล         

๔. สัตว์น้ำ

          ๑. สัตว์น้ำเค็ม เฉพาะปลามีเกล็ดและนกทะเลบางประเภทเนื้อฮะลาล สัตว์น้ำจืดเช่นเดียวกันเฉพาะปลามีเกล็ดเท่านั้นที่ฮะลาล ซึ่งรวมไปถึงนกเป็ดน้ำ

          ๒.กุ้ง เนื้อฮะลาล



เงื่อนไขการกิน

          สัตว์ที่เนื้อฮะลาลไม่ได้หมายความว่าสามารถกินได้ทั่วทั้งตัวมี ๑๕ ชนิด ในตัวสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้ถือว่า ฮะรอม ได้แก่เลือด อุจจาระ ขี้เพลี้ย อวัยวะสัตว์ตัวผู้ อวัยวะสัตว์ตัวเมีย มดลูก อิฮฺติยาฎวาญิบ ปลีกมดลูกทั้งสอง ต่อม (อวัยวะคัดหลั่ง) ไข่สัตว์สี่เท้า (อัณฑะ) เม็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดถั่วอยู่ในสมองสัตว์ ไขสันหลัง เส้นประสาท ถุงน้ำดี ม้าม ถุงปัสสาวะ และแก้วตาดำ

๑. กินดินฮะรอม 

๒. กินดินกัรบะลาอฺเล็กน้อยเพื่อชิฟาอะฮ์ (รักษา)โรคภัยไข้เจ็บ ไม่เป็นไร

๓. กินหรือดื่มนะญิซฮะรอม

๔. กินสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพฮะรอม เช่น กินอาหารที่มีใขมันมากสำหรับคนป่วยเป็นอันตราย ฮะรอม

๕.กินอัณฑะสัตว์สี่เท้าที่เนื้อฮะลาล ฮะรอม

๖.ดื่มสุราและของเหลวทุกชนิดที่ทำให้เมา ฮะรอม

๗.เป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคน ที่ต้องให้อาหารและเครื่องดื่มแก่มุสลิมคนอื่นที่หิวกระหาย หรือต้องช่วยชีวิตเพื่อให้รอดพ้นจากความตายเพราะความหิวกระหาย

๘. กินอาหารและทรัพย์สินของคนอื่นที่เจ้าของไม่อนุญาต ฮะรอม ถึงแม้ว่าจะเป็นกาฟิรก็ตาม ถือว่าทรัพย์สินของพวกเขามีเกียรติ และเป็นที่เคารพสำหรับพวกเขา เช่น การฟิรที่อาศัยอยู่ในประเทศมุสลิม

๙. อาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ หมายถึงอาหารประเภทผัก ถั่ว ผลไม้ หรืออาหารที่สกัดมาจากนมสัตว์ที่เนื้อฮะลาล เช่น เนยแข็ง นมเปรี้ยว เนย หรือครีม หรือไข่ไก่ ไข่นกที่เนื้อฮะลาล หรือขนมปัง บิสคิท ขนมปังกรอบ ขนมปังอ่อน ช็อกโกแลต หมากฝรั่ง ขนมหวาน และอื่น ๆ ที่ไม่ได้ทำมาจากเนื้อสัตว์ สะอาดและฮะลาล ถึงแม้ว่าไม่ได้ทำมาจากประเทศมุสลิม หรือไม่ได้ซื้อมาจากมุสลิมก็ตาม เว้นเสียแต่ว่ามั่นใจว่าสิ่งนั้นนะญิซ ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า

- มั่นใจว่าไม่ได้สัมผัสกาฟิร หรือไม่ได้โดนความเปียกชื้น หรือไม่เป็นนะญิซในลักษณะอื่น ถือว่าสะอาดและฮะลาล

- สงสัยว่าเป็นนะญิซหรือไม่ ถือว่าสะอาดและฮะลาล

- คาดว่าเป็นนะญิซ แต่ไม่มั่นใจ ถือว่าสะอาดและฮะลาล

- รู้ว่าได้สัมผัสกับร่างกายกาฟิร หรือนะญิซในลักษณะอื่น ถือว่านะญิซและฮะรอม



กินและดื่มสิ่งฮะรอมเพื่อรักษาเยียวยา


ประเด็นต่อไปนี้กินและดื่มสิ่งที่ฮะรอมไม่เป็นไร

- การรักษาชีวิตขึ้นอยู่กับสิ่งฮะรอม เช่น อยู่ในสถานที่ซึ่งไม่มีอาหารอื่นอีกนอกจากอาหารฮะรอม ถ้าไม่รับประทานอาจทำให้เสียชีวิตได้

- การรักษาอาการป่วยไข้ ซึ่งการรักษาธรรมดาทั่วไปไม่อาจเป็นไปได้ ต้องอาศัยการกินหรือดื่มสิ่งที่ฮะรอม และวิธีรักษาต้องพึ่งยาประเภทนั้นเพียงอย่างเดียว

- บีบบังคับให้กินหรือดื่มสิ่งที่ฮะรอม ในลักษณะที่ว่าถ้าไม่กินอาจมีอันตรายกับชีวิต หรือทรัพย์สิน หรือทำให้อายขายหน้า หรือชีวิต หรือเกียรติยศของผู้ศรัทธาผู้มีความสำคัญต่อสังคมตกอยู่ในอันตราย

- ตะกียะฮฺเพราะเกรงว่าอันตรายอาจจะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สิน ดังที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้

๑. การกินหรือดื่มสิ่งฮะรอม อนุญาตให้กินได้แค่เพียงจำเป็นเท่านั้น มากไปกว่านั้นไม่อนุญาต

๒. การรักษาพยาบาลด้วยวิธีฮะรอม อนุญาตเมื่อแพทย์เฉพาะโรคผู้มีความเชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงได้ลงความเห็นว่าการรักษามีวีธีนั้นวิธีเดียว



มารยาทการรับประทานอาหาร



มุสตะฮับ (สิ่งที่ดีควรปฏิบัติ)

๑. ให้ล้างมือก่อนและหลังการรับประทานอาหาร

๒. ให้กล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีม ก่อนรับประทานอาหาร และเมื่ออิ่มแล้วให้กล่าวว่า อัลฮัมดุลิลลาฮฺ

๓. ให้รับประทานด้วยมือขวา

๔. ให้รับประทานคำเล็ก ๆ

๕.ให้เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน

๖. ก่อนรับประทานผลไม้ควรล้างให้สะอาดเสียก่อน

๗.ถ้านั่งรับประทานร่วมกันหลายคนควรตักอาหารที่วางอยู่ตรงหน้าเท่านั้น

๘. เจ้าของบ้าน หรือเจ้าภาพควรเริ่มรับประทานก่อนและอิ่มที่หลัง


มักรูฮฺ (สิ่งที่น่าเกลียด)

๑. รับประทานอาหารขณะอิ่ม

๒. รับประทานมาก

๓. มองหน้าคนอื่นขณะรับประทานอาหาร

๔. รับประทานอาหารที่ร้อนจัดเกินไป

๕. เป่าอาหารให้เย็นขณะรับประทาน

๖. ตัดขนนปังด้วยของมีด

๗. นำขนมปังวางไว้ใต้จานอาหาร

๘. ขว้างผลไม้ทิ้งก่อนที่จะรับประทานให้หมด

มารยาทการดื่ม

มุซตะฮับขณะดื่ม (เฉพาะสิ่งที่จำเป็น)

๑. ตอนกลางวันให้ยืนดื่มน้ำ

๒. ก่อนที่จะดื่มน้ำให้กล่าวว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีม เมื่ออิ่มแล้วให้กล่าวว่า อัลฮัมดุลิลลาฮฺ

๓. ให้ดื่มน้ำสามอึก (อย่าดื่มน้ำคราวเดียวจนอิ่ม)

๔. หลังจากดื่มน้ำให้ระลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)และครอบครัวที่ถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหด ณ แผ่นดินกัรบะลาอฺ และสาปแช่งผู้ที่ร่วมกันสังหารท่าน


มักรูฮฺขณะดื่มน้ำ

๑. ดื่มน้ำมากเกินไป

๒. ดื่มน้ำหลังจากรับประทานอาหารมัน

๓. ดื่มน้ำด้วยมือซ้าย

๔. ยืนดื่มน้ำเวลากลางคืน



การมอง

การมองเห็นเป็นหนึ่งในความโปรดปรานที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น มนุษย์ควรใช้ความโปรดปรานดังกล่าวเพื่อสร้างความสมบูรณ์ และพัฒนาตนเองไปสู่ความสมบูรณ์นั้น หรืออย่างน้อยที่สุดควรใช้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด

การมองธรรมชาติที่สวยงาม ถ้าไม่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิของคนอื่นไม่เป็นไร แต่การปกปิดตนเองไม่ให้คนอื่นเห็น หรือการมองเพศตรงข้ามที่แต่งงานกันได้มีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะขอกล่าวบางประการเท่านั้น



มะฮ์รอมกับนอมะฮ์รอม (ฆ็อยรุมะฮ์รอม)

มะฮ์รอม หมายถึงบุคคลที่แต่งงานกันไม่ได้ ฮะรอม ฉะนั้น การมองกันของคนกลุ่มนี้ไม่มีขอบเขตเหมือนกับคนบางกลุ่ม



บุคคลที่สมรสด้วยไม่ได้สำหรับเด็กชายและผู้ชาย

๑. มารดา และย่าหรือยาย

๒. ลูกสาวหรือลูกสาวของบรรดาบุตร (หลานสาว)

๓. พี่หรือน้องสาว

๔. ลูกสาวของน้องหรือพี่สาว (หลานสาว)

๕. ลูกสาวของน้องหรือพี่ชาย (หลานสาว)

๖. อาสาว (อาของตน หรือของบิดา หรือมารดา)

๗. น้าสาว (น้าของตน หรือของบิดา หรือมารดา)



ฮะรอมโดยสาเหตุ

บุคคลกลุ่มดังกล่าวมามีความสัมพันธ์ทางสายเลือด จึงเป็นญาติสนิทที่ไม่สามารถแต่งงานกันได้

 แต่มีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งเนื่องจากการแต่งงาน จึงทำให้เป็นฮะรอมสำหรับเด็กผู้ชาย หรือผู้ชาย ได้แก่

๑. มารดาของภรรยา หรือย่า ยายของเธอ

๒. ลูกสาวภรรยา (ลูกติดมาจากสามีเก่า) แม้ว่าไม่ใช่ลูกสาวตนเอง ถ้าได้ใกล้ชิดกับภรรยาแล้ว ตลอดจนผู้หญิงที่ไม่ใช่ภรรยาถ้าได้ใกล้ชิดกับเธอแล้ว ไม่สามารถใกล้ชิดกับลูกสาวของเธอได้

๓. ภรรยาของบิดา (ภรรยาน้อยแม้ว่าจะเลิกกันไปแล้ว)

๔. ภรรยาของลูกชาย (ลูกสะใภ้)

หญิงอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ถือว่าเป็นนอมะฮ์รอม หมายถึงสามารถแต่งงานกันได้ ไม่ว่าจะเป็นอดีตภรรยาของพี่ชาย หรือน้องชาย น้องหรือพี่สาวภรรยาที่เลิกกันแล้ว (ตราบที่ยังเป็นภรรยาอยู่ไม่สามารถแต่งงานกับน้องหรือพี่สาวของเธอได้) ฮะรอม หมายถึงไม่อนุญาตให้แต่งงานกับหญิงที่เป็นพี่น้องกัน นอกเสียจากว่าเลิกกันหรือว่าเสียชีวิต



บุคคลที่สมรสด้วยไม่ได้สำหรับเด็กหญิงหรือผู้หญิง

๑. บิดาหรือปู่ ตา

๒. ลูกชาย หรือลูกชายของบรรดาบุตร (หลานชาย)

๓. พี่หรือน้องชาย

๔. ลูกชายของน้องหรือพี่สาว (หลานชาย)

๕. ลูกชายของน้องหรือพี่ชาย (หลานชาย)

๖. อา (อาของตน หรือของบิดา หรือมารดา)

๗. น้า (น้าของตน หรือของบิดา หรือมารดา)



ฮะรอมโดยสาเหตุ

บุคคลกลุ่มดังกล่าวมามีความสัมพันธ์ทางสายเลือด จึงเป็นญาติสนิทที่ไม่สามารถแต่งงานกันได้ แต่มีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งเนื่องจากการแต่งงาน จึงทำให้ฮะรอมสำหรับเด็กผู้หญิง หรือผู้หญิง ได้แก่

๑. สามี

๒. บิดาสามี และปู่ ตา

๓. ลูกชายสามี (ลูกติดภรรยาเก่า) ถึงแม้ว่าไม่ใช่ลูกชายของตน และหลานชายของเขา

๔. สามีใหม่ของมารดา (ถ้าได้ใกล้ชิดกับมารดาแล้ว)

๕. สามีของลูกสาว (ลูกเขย)

ถ้าหญิงได้ให้นมตามเงื่อนไขที่กล่าวไว้ในตำราฟิกฮฺ เด็กชายคนนั้นไม่สามารถแต่งงานกับนางและคนอื่น ๆ (ญาติสนิทของนาง) ได้ อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า แม่นม ฮะรอมไม่สามารถแต่งงานกันได้  (อยู่ในฐานะเดียวกันกับมารดาของตนเอง)

ชายอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ถือว่าเป็นนามะฮฺรัม หมายถึงสามารถแต่งงานกันได้ไม่ว่าจะเป็นอดีตสามีของพี่หรือน้องสาว น้องหรือพี่สามีที่เลิกกันแล้ว 



การมองบุคคลอื่น

๑. สามีกับภรรยาสามารถมองกันได้ทั่วเรือนร่าง แม้ว่าจะมองเพราะความเสน่หาก็ตาม

๒. นอกจากสามีกับภรรยาแล้ว การมองบุคคลอื่นถ้ามองด้วยความเสน่หา หรือมองด้วยความใคร่ ฮะรอม แม้ว่าจะเป็นเพศเดียวกันก็ตาม เช่น การมองของชายต่อชาย หรือมองเพศตรงข้าม เช่น ชายมองหญิง ไม่ว่าหญิงนั้นจะแต่งงานด้วยได้หรือไม่ และไม่ว่าจะมองส่วนใดของร่างกายก็ตามอยู่ในเงื่อนไขเดียวกันทั้งหมด 

๓. ชายมองหญิงถึงแม้ว่าจะไม่ได้มองด้วยความใคร่หรือด้วยความเสน่หาก็ตาม มีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงให้ปฏิบัติ ซึ่งจะขอนำเสนอบางประการ เช่น



ชายมองหญิง

๑. ถ้าเป็นมะฮฺรัม (แต่งงานกันไม่ได้)

- ถ้ามองอวัยวะสงวน ฮะรอม

- ถ้าไม่ใช่อวัยวะสงวน อนุญาต

๒. นอมะฮ์รอม (สามารถแต่งงานกันได้)

- อนุญาตให้มองใบหน้าและฝ่ามื่อแค่ข้อมือ

- อวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ฮะรอม



การแต่งงาน

๑. บุคคลที่ไม่มีภรรยาจึงได้ละเมิดทำสิ่งที่ฮะรอม เช่น มองหญิงอื่นด้วยความเสน่หา ดังนั้น วาญิบ ต้องแต่งงาน



ภรรยาที่ดี

เป็นการดีสำหรับบุรุษและสตรีควรพิจารณาบุคลิกลักษณะของคนที่จะแต่งงานด้วย ก่อนที่จะตัดสินใจแต่งงาน และไม่ควรมองที่ฐานะหรือความสวยงาม หรือความหล่อแต่เพียงอย่างเดียว บุคลิกและคุณลักษณะภรรยาที่ดี ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า

๑. เป็นหญิงมีความรักและเมตตา

๒. เป็นหญิงที่สะอาดบริสุทธิ์

๓. เป็นหญิงที่รักยิ่งของคนในครอบครัว

๔. เป็นหญิงที่เคารพ ให้เกียรติ และถ่อมตนต่อสามี

๕. เป็นหญิงที่รักนวลสงวนตัว และเสริมสวยให้สามีของเธอดูเพียงคนเดียว

๖. เป็นหญิงที่เชื่อฟังปฏิบัติตามสามี


ภรรยาที่ไม่ดี

คุณลักษณะของภรรยาที่ไม่ดีตามรายงานของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)

๑. เป็นหญิงที่ไม่มีเกียรติในครอบครัว

๒. เป็นหญิงที่มีความอิจฉาริษยาและมีอคติ

๓. เป็นหญิงที่ไม่มีความยำเกรง

๔. เป็นหญิงที่ชอบแต่งตัวโอ้อวดชายอื่น

๕.  เป็นหญิงที่ไม่เชื่อฟังสามี



อักดฺแต่งงาน  (ข้อผูกมัด)

๑. การแต่งงานจำเป็นต้องอ่านคำสัญญาที่เฉพาะเจาะจง อันเป็นข้อผูกมัดระหว่างสามีกับภรรยา เพียงแค่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงพึงพอใจกันและกันไม่เพียงพอ ดังนั้น เพียงแค่การสู่ขอตราบที่ยังไม่ได้อ่านอักดฺ ไม่สามารถเป็นมะฮฺรัมกันได้ ซึ่งไม่ได้แตกต่างกับชายหญิงอื่นแต่อย่างใด

๒. ถ้าอ่านคำแต่งงาน (อักดฺนิกาฮฺ) ผิดเพียงคำเดียว อันเป็นเหตุทำให้ความหมายเปลี่ยนไป อักดฺนิกาฮฺบาฏิล 



ตัวอย่างการอ่านอักดฺนิกาฮฺ

๑. ถ้าฝ่ายหญิงและชายต้องการอ่านอักดฺ (ข้อผู้กมัด) ด้วยตัวเองให้กล่าวดังนี้ว่า

ให้ฝ่ายหญิงเริ่มก่อนว่า เซาวัจตุกะ นัฟซี อะลัซเซาะดากิลมะอฺลูม (ฉันแต่งงานกับท่านด้วยมะฮัรตามที่ตกลง)

ฝ่ายชายต้องตอบรับโดยไม่ทิ้งช่องว่างว่า เกาะบิลตุต ตัซวีญะ (ฉันยอมรับการแต่งงานนี้)

หรือฝ่ายหญิงกล่าวว่า อันกะฮฺตุกะ นัฟซี อะลัซเซาะดากิลมะอฺลูม (ความหมายเหมือนกัน)