หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20804
ดาวน์โหลด: 4360

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20804 / ดาวน์โหลด: 4360
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิฮฺติยาฏมุซตะฮับ ให้คงสภาพการตักลีดกับมุจญฺตะฮิดที่ถึงแก่กรรมไปแล้วถ้าท่านมีความรู้สูงกว่ามุจญฺตะฮิดที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

๗. อิฮฺติยาฏวาญิบ ไม่อนุญาต ให้เปลี่ยนตักลีดจากมุจญฺตะฮิดที่มีชีวิตไปยังมุจญฺตะฮิดที่ถึงแก่กรรมแล้ว ถึงแม้ว่าเคยตักลีดตามมุจญฺตะฮิดท่านนั้นอยู่ แต่หลังจากเสียชีวิตแล้วได้เปลี่ยนไปสู่มุจญฺตะฮิดที่มีชีวิต     

สองสามประเด็นสำคัญ

๑. อุดูล จากมุจญฺตะฮิดท่านหนึ่งไปยังอีกท่านหนึ่ง หมายถึง ปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺตะฮิดคนใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากมุจญฺตะฮิดคนเดิม

๒. กรณีที่มุจญฺตะฮิด ที่มีความรู้สูงสุดมิได้ออกฟัตวาในปัญหาข้อใดข้อหนึ่ง อนุญาตให้ผู้ตักลีดตามท่านปฏิบัติตามคำฟัตวาของมุจญฺตะฮิดท่านอื่นได้ และอิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ปฏิบัติตามมุจญฺตะฮิดที่มีความรู้สูงกว่ามุจญฺตะฮิดคนอื่น

๓.  ถ้ามุจญฺตะฮิดเปลี่ยนแปลงฟัตวา ผู้ปฏิบัติตามต้องปฏิบัติตามฟัตวาใหม่ ไม่อนุญาตให้ปฏิบัติตามฟัตวาเดิม

๔. ถ้าผู้ปฏิบัติตามสงสัยในการเปลี่ยนแปลงฟัตวา สามารถปฏิบัติฟัตวาเดิมจนกว่าจะแน่ใจ

๕. ถ้าผู้ปฏิบัติตามสงสัยคุณสมบัติของมุจญฺตะฮิดที่ตนตักลีด เช่น สงสัยว่าอาดิลหรือไม่ กรณีที่ก่อนหน้านี้มีคุณสมบัตินั้นอยู่ แต่ปัจจุบันสงสัยว่าขาดคุณสมบัติดังกล่าวหรือไม่ ให้ถือว่ายังมีคุณสมบัติอยุ่ แต่ถ้าสงสัยว่ามีคุณสมบัตินั้นตั้งแต่แรกหรือไม่ จำเป็นต้องตรวจสอบ

๖. ต้องเรียนรู้เรื่องความสงสัยหรือการลืม ซึ่งโดยปกติเป็นความจำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติตาม ถือว่าวาญิบ ยกเว้นกรณีที่มั่นใจว่าปัญหาเหล่านั้นจะไม่เกิดกับตน

๗. ขณะนมาซได้เกิดปัญหาขึ้น แต่ตนไม่รู้เงื่อนไขและไม่อาจแก้ไขได้ในตอนนั้น แต่ตั้งใจว่าหลังจากนะมาซจะถามถ้าขัดแย้งกับฟัตวาตนจะนมาซใหม่ ดังนั้น ให้นมาซต่อให้เสร็จ หลังจากนั้นถ้ารู้ว่าตนปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺตะฮิด ถือว่าถูกต้อง ถ้ามิใช่เช่นนั้นต้องทำใหม่อีกครั้ง



หน้าที่ของบุคคลที่ปฏิบัติโดยปราศจากการตักลีดหรือตักลีดไม่ถูกต้อง

๑. บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการตักลีดในระยะเวลาหนึ่ง กรณีที่มั่นใจว่า

- ตนได้ปฏิบัติหน้าที่อันแท้จริงของตนแล้ว

- หรือสิ่งที่ปฏิบัติตรงกับฟัตวาของมุจญฺตะฮิดที่ตนต้องตักลีดตาม

- หรือตรงกับฟัตวาของมุจญฺตะฮิดซึ่งปัจจุบัจต้องตักลีดตาม

- หรือการปฏิบัติของตนใกล้เคียงกับหลักอิฮฺติยาฏ ดังนั้น สิ่งที่กระทำผ่านมาถือว่าถูกต้อง

๒. ถ้าระยะเวลาหนึ่งตักลีดตามมุจญฺตะฮิดที่ไม่มีเงื่อนไขสมบูรณ์ เหมือนกับผู้ที่ไม่เคยตักลีดมาก่อนเลย

๓. ถ้ามุกัลลัฟเข้าใจว่าระยะเวลาหนึ่งตนปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการตักลีด และไม่รู้ว่านานแค่ไหน แต่รู้ว่าที่ผ่านมาได้กระทำอย่างไร ตามเงื่อนไขที่กล่าวมาในข้อหนึ่ง สิ่งที่เคยปฏิบัติผ่านมาถือว่าถูกต้อง มิเช่นนั้นจำนวนที่มั่นใจว่านานแค่ไหนถือว่าบาฎิล และต้องชดเชยใหม่ 

๔. ถ้าสงสัยความถูกต้องการตักลีดที่ผ่านมา ให้ถือว่าถูกต้อง 

๕. การบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติผ่านพ้นไปแล้ว แต่สงสัยสิ่งที่กระทำผ่านมาว่ากระทำบนการตักลีดที่ถูกต้องหรือไม่ ให้ถือว่าถูกต้อง

๖. ถ้าคงสภาพการตักลีดกับผู้ตายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากมุจญฺตะฮิดที่มีชีวิต เหมือนกับผู้ปฎิบัติหน้าที่โดยปราศจากการตักลีด



หลักการอิฮฺติยาฏ

การอิฮฺติยาฏ ในความหมายของนักปราชญ์ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่โดยมั่นใจว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนแล้ว

๑. การปฏิบัติหน้าที่ โดยการอิฮฺติยาฏ อนุญาต สำหรับทุกคนทั้งมุจญฺตะฮิดและมิใช่มุจญฺตะฮิด แต่ต้องเข้าใจประเด็นที่จะอิฮฺติยาฏ ซึ่งมีส่วนน้อยเท่านั้นที่รู้จักเนื่องจากการรู้จักประเด็นเป็นเรื่องยุ่งยากมาก จำเป็นต้องมีข้อมูลสมบูรณ์เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ  

๒. การปฏิบัติหน้าที่ โดยการอิฮฺติยาฏ บางครั้งเป็นเหตุให้ทำซ้ำและบางครั้งก็ไม่ใช่

ตัวอย่างที่หนึ่ง ผู้ที่ไม่รู้ว่าต้องนะมาซเต็มหรือนะมาซย่อ ถ้าต้องการปฏิบัติโดยการอิฮฺติยาฏ จำเป็นต้องนะมาซทั้งเต็มและย่อ

ตัวอย่างที่สอง ผู้ที่ไม่รู้ว่าอะซาน และอิกอมะฮฺ เป็นวาญิบหรือมุซตะฮับ ถ้าต้องการปฏิบัติโดยการอิฮฺติยาฏ ต้องอะซานและอิกอมะฮฺ

๓. ถ้าผู้ปฏิบัติ รู้ว่าการกระทำนั้นไม่ฮะรอม แต่ไม่รู้ว่าเป็นวาญิบ หรือมุซตะฮับ หรือมักรูฮฺ หรือมุบาฮฺ สามารถปฏิบัติได้โดยเนียตเพื่อผลบุญ   เนื่องจากการกระทำนั้นคาดว่ามีการยอมรับร่วมอยู่ด้วย

๔. ถ้าผู้ปฏิบัติ รู้ว่าการกระทำนั้นไม่ฮะรอม แต่ไม่รู้ว่าเป็นวาญิบ หรือมุซตะฮับ หรือมักรูฮฺ หรือมุบาฮฺ สามารถละเว้นไม่ปฏิบัติได้ เนื่องจากการกระทำนั้นมีความโกรธกริ้วแฝงอยู่ด้วย

 

๕. ความแตกต่างระหว่าง อิฮฺติยาฏวาญิบกับอิฮฺติยาฏมุซตะฮับ

อิฮฺติยาฏ หมายถึงข้อพึงระวัง   และทั้งหมดที่กล่าวในหนังสือริซาละฮฺทั้งหลาย อาจเป็นวาญิบหรือมุซตะฮับ แต่ทั้งสองมีความแตกต่างกันใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ การรู้จักและการจำแนกว่าอิฮฺติยาฏมาจากส่วนใด และอีกส่วนหนึ่ง คือ การปฏิบัติ หมายถึงหน้าที่ของผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับทั้งสองคืออะไร

ความแตกต่างแรก อิฮฺติยาฏวาญิบ หมายถึง การอิฮฺติยาฏที่ปราศจากฟัตวาก่อนหน้านั้น ส่วนอิฮฺติยาฏมุซตะฮับ คือ การอิฮฺติยาฏที่มาพร้อมกับฟัตวา

ถ้าปัญหาดังกล่าวมุจญฺตะฮิดออกฟัตวาและสำทับให้อิฮฺติยาฏด้วย อิฮฺติยาฏประเภทนี้เป็นมุซตะฮับ ถ้ามุจญฺตะฮิด มิได้ออกฟัตวา แต่ให้อิฮฺติยาฏตั้งแต่แรก อิฮฺติยาฏประเภทนี้เป็นวาญิบ หรือเรียกอีกอย่างว่า อิฮฺติยาฏมุฏลัก

ตัวอย่าง อิฮฺติยาฏมุซตะฮับ เช่น ฆุซลฺอิรติมาซียฺ ถ้าเนียตทำฆุซลฺอิรติมาซียฺ แต่ค่อย ๆ ดำน้ำไปที่ละน้อยจนกระทั่งร่างกายทั้งหมดอยู่ใต้น้ำ ถือว่าฆุซลฺถูกต้อง ซึ่งการอิฮฺยาฏคือ ให้ดำน้ำเพียงครั้งเดียว  

ตัวอย่างอิฮฺติยาฏวาญิบ เช่น สามารถใช้สิ่งที่เปื้อนนะญิซปกปิดอวัยวะได้ แต่ต้องไม่ใส่นมาซ 

ความแตกต่างที่สอง      อิฮฺติยาฏมุซตะฮับ ผู้ปฏิบัติต้องทำตามอิฮฺติยาฏนั้นหรือทำตามฟัตวา ในปัญหาดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺตะฮิดท่านอื่นได้

ส่วนอิฮฺติยาฏวาญิบ ผู้ปฏิบัติสามารถทำตามอิฮฺติยาฏหรือปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺตะฮิดท่านอื่นได้


หน้าที่ของผู้แจ้งฟัตวา

๑. ถ้าผู้บอกปัญหา อธิบายฟัตวาผิดหรือปัญหาผิด วาญิบ ต้องแจ้งให้ผู้เรียนรู้ทราบและแก้ใขข้อผิดพลาดนั้น 

๒. ถ้าบุคคลหนึ่งได้บอกฟัตวาของมุจญฺตะฮิดกับคนอื่น ต่อมาฟัตวาได้เปลี่ยนแปลง ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้ที่ได้ยินฟัตวาจากตนทราบ แม้ว่าจะเป็นอิฮฺติยาฏมุซตะฮับก็ตาม               

๓. ถ้าคิดเองว่าฟัตวาอาจเป็นเช่นนี้หรือเช่นนั้น ดังนั้น ถ้าจะปฏิบัติตามหรือบอกฟัตวาแก่คนอื่น ถือว่าไม่เพียงพอ ทว่าต้องมั่นใจในฟัตวานั้น ยกเว้นสิ่งที่ตนคิดเดาได้นำมาจากคำพูดภายนอกของมุจญฺตะฮิด หรือคำบอกกล่าวของผู้บอกปัญหา หรือเป็นข้อเขียนที่ปรากฏในหนังสือริซาละฮฺ สรุปคือ การคาดเดาไม่ถือว่าเป็นฮุจญัติ (เหตุผล) เว้นเสียแต่ว่าเป็นคำพูดของมุจญฺตะฮิด หรือของผู้บอกเล่าฟัตวา



เงื่อนไขที่แตกต่างในการได้รับฟัตวาของมุจญฺตะฮิด

๑. ถ้าสองคนบอกฟัตวาขัดแย้งกันต้องไม่รับฟังทั้งสองคน

๒. ถ้าได้ยินปัญหาจากมุจญฺตะฮิด แต่มีอีกคนอธิบายต่างไปจากที่ได้ยิน ให้ถือว่าสิ่งที่ได้ยินจากมุจญฺตะฮิดเชื่อถือได้

๓. สิ่งที่บันทึกอยู่ในริซาละฮฺของมุจญฺตะฮิดขัดแย้งกับสิ่งที่ได้ยินจากมุจญฺตะฮิด สิ่งที่ได้ยินจากมุจญฺตะฮิดเชื่อถือได้

๔. สิ่งที่บันทึกอยู่ในริซาละฮฺของมุจญฺตะฮิดไม่ตรงกับสิ่งที่ผู้บอกกล่าวถึง ถ้าริซาละฮฺไม่ผิดพลาด สิ่งที่บันทึกอยู่ในริซาละฮฺเชื่อถือได้ เว้นเสียแต่ว่าผู้บอกกล่าวว่า มุจญฺตะฮิดเปลี่ยนแปลงทัศนะที่กล่าวไว้ในริซาละฮฺ

๕.  ถ้าปัญหาในริซาละฮฺเล่มหนึ่งกล่าวไว้อย่างหนึ่ง และในริซาละฮฺอีกเล่มหนึ่งกล่าวอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น ให้ถือริซาละฮฺทีเป็นหลัก เช่น ประเด็นที่แตกต่างกันในตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ กับเตาฎีฮุลมะซาอิล ให้ถือสิ่งที่เขียนไว้ในตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺเป็นหลัก

หน้าที่ของผู้ปฏิบัติกรณีฟัตวาเก่าและใหม่ของมุจญฺตะฮิดแตกต่างกัน

ถ้ามัรญิอฺตักลีดอสัญกรรมหรือด้วยสาเหตุอื่นผู้ปฏิบัติได้เปลี่ยนตักลีดไปยังมัรญิอฺคนอื่น และฟัตวาของมุจญฺตะฮิดคนเดิมกับมุจญฺตะฮิดคนใหม่แตกต่างกัน บางเรื่องตนปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺคนใหม่ และบางเรื่องสิ่งที่ปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺตะฮิดคนเดิม ถือว่าถูกต้อง ดังจะกล่าวถึงตัวอย่างของประเด็นแตกต่างและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

๑. มุจญฺตะฮิดคนเดิม กล่าวว่านะมาซเราะกะอัตที่ ๓ และ ๔ ให้กล่าวตัซบีฮาตเพียงครั้งเดียว ถือว่าเพียงพอ ซึ่งผู้ปฏิบัติตามได้ปฏิบัติเช่นนั้น แต่มุจญฺตะฮิดคนปัจจุบันกล่าวว่า ถือว่าไม่เพียงพอ นะมาซที่ทำผ่านมาแล้วถือว่าถูกต้อง

๒. มุจญฺตะฮิดคนเดิม กล่าวว่าการตะยัมมุมให้ตบฝ่ามือบนฝุ่นดินเพียงครั้งเดียว ถือว่าเพียงพอ ซึ่งผู้ปฏิบัติตามได้ปฏิบัติเช่นนั้น แต่มุจญฺตะฮิดคนปัจจุบัน ถือว่าไม่เพียงพอ ดังนั้นให้ถือว่าถูกต้อง

๓. อักดฺหรืออีกออียฺ มุจญฺตะฮิดคนเดิมถือว่าในลักษณะหนึ่งถูกต้อง และผู้ปฏิบัติตามก็ปฏิบัติเช่นนั้น แต่มุจญฺตะฮิดคนปัจจุบัน ถือว่าไม่ถูกต้อง ดังนั้น ให้ถือว่าถูกต้อง

๔.  มุจญฺตะฮิดคนเดิม ถือว่าสิ่งหนึ่งสะอาด และผู้ปฏิบัติตามไม่เคยหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นเลย แต่มุจญฺตะฮิดคนปัจจุบัน ถือว่าสิ่งนั้นนะญิซ การกระทำที่ผ่านมาให้ถือว่าถูกต้อง แต่ถ้าสิ่งนั้นยังคงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบันถือว่า นะญิซ

๕.  มุจญฺตะฮิดคนเดิม ถือว่าของสิ่งหนึ่งอนุมัติหรือไม่อนุมัติ แต่มุจญฺตะฮิดคนปัจจุบันฟัตวาต่างไปจากนั้น สิ่งที่กระทำผ่านมาถือว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าสิ่งนั้นยังคงเหลือจนถึงปัจจุบัน ให้ถือปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺตะฮิดคนใหม่

ตัวอย่าง มุจญฺตะฮิดคนเดิม อนุญาตให้เชือดสัตว์ด้วยสิ่งที่นอกเหนือจากโลหะ แต่มุจญฺตะฮิดคนปัจจุบันไม่อนุญาต ดังนั้น ถ้าเคยเชือดสัตว์ด้วยสิ่งที่ไม่ใช่โลหะและใช้ประโยชน์จากเนื้อสัตว์นั้น การซื้อขายเนื้อถูกต้องและการใช้ประโยชน์จากเนื้ออนุญาต แต่ถ้าเนื้อยังคงเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน ถือว่าไม่อนุญาต (ฮะรอม)

สองสามประเด็นสำคัญ

๑. ถ้าการซื้อขาย ผู้ขายตักลีดกับมุจญฺตะฮิดคนหนึ่ง ส่วนผู้ซื้อตักลีดกับมุจญฺตะฮิดอีกคนหนึ่ง และในการซื้อขายนั้นทั้งสองออกฟัตวาที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้น การซื้อขายที่กระทำบนพื้นฐานของฟัตวามุจญฺตะฮิดแต่ละท่าน ถือว่าการค้าขายของผู้ตักลีดตามเท่านั้นถูกต้อง ส่วนบุคคลอื่นบาฏิล (โมฆะ)

๒. ถ้าบุคคลหนึ่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แทน เช่น จ่ายคุมซฺ หรือซะกาต หรือกะฟาเราะฮฺ หรืออ่านอักดฺ หรือทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน วาญิบสำหรับตนต้องปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺตะฮิดที่ผู้มอบหมายตักลีดตาม แต่ถ้าตนในฐานะผู้รับจ้างปฏิบัติ เช่น รับจ้างนะมาซ หรือบำเพ็ญฮัจญฺ ต้องปฏิบัติตามฟัตวาของมุจญฺตะฮิดที่ตนตักลีดตาม

๓. ไม่อนุญาต ให้การยกเลิกเงื่อนไขของฮากิมที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์ แม้แต่มุจญฺตะฮิดท่านอื่นจะเป็นผู้ยกเลิกก็ตาม เว้นเสียแต่ว่า รู้แน่นอนว่าฮากิมผิดพลาดในการออกเงื่อนไขนั้น 



หมวดที่ ๒ ความสะอาด



เงื่อนไขเกี่ยวกับความสะอาด

อัลลอฮฺ ไม่ทรงประสงค์ที่จะสร้างความยากลำบากและความคับแค้นใด ๆ แก่สูเจ้า แต่ทว่าพระองค์ทรงประสงค์ที่จะทำความสะอาดแก่สูเจ้า และประสงค์ให้ความโปรดปรานของพระองค์ที่ประทานแก่สูเจ้า เกิดความสมบูรณ์ เพื่อสูเจ้าจะได้ขอบคุณพระองค์   (อัล-มาอิดะฮฺ / ๖)

 ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเรียกว่า บทบัญญัติ (อะฮฺกาม) ซึ่งประกอบด้วยวาญิบต่าง ๆ (ข้อบังคับ) ซึ่ง นมาซ เป็นหนึ่งในวาญิบที่เป็นพื้นฐานและมีความสำคัญมากที่สุด

บทบัญญัติเกี่ยวกับนมาซ แบ่งออกเป็น ๓ ประเด็น ดังนี้

๑. ปฐมบทของนมาซ หมายถึง สิ่งที่ผู้นมาซต้องกระทำก่อนนมาซ

๒. สิ่งที่เกี่ยวข้องกับนมาซ หมายถึง ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนมาซ เริ่มตั้งแต่ตักบีเราะตุลอิฮฺรอมจนถึงสลาม

๓. สิ่งที่ทำให้นมาซ บาฏิล (โมฆะ) หมายถึง ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำบางอย่าง อันเป็นสาเหตุให้นมาซเสีย



ปฐมบทของนมาซ

หนึ่งในนั้น คือ ความสะอาด ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ผู้นมาซต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษก่อนที่จะนมาซ ฉะนั้น ร่างกายและเสื้อผ้าของผู้นมาซทุกคนต้องสะอาดปราศจากสิ่งโสโครก (นะญิซ) ใด ๆทั้งสิ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับนะญิซ (สิ่งโสโครก) และวิธีทำความสะอาด ด้วยเหตุนี้ อันดับแรกจึงขอทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านั้นก่อน

ก่อนที่จะทำความรู้จักกับสิ่งไม่สะอาด อิสลามมีกฎครอบคลุมทั่วไปประการหนึ่ง กล่าวคือ

สิ่งของทุกอย่างบนโลกนี้ ถือว่าสะอาด (สะอาดตามศาสนบัญญัติ) ยกเว้นสิ่งของ ๑๑ ชนิด และสิ่งที่ได้สัมผัสกับสิ่งเหล่านี้

นิญาซาต (สิ่งโสโครกต่าง ๆ)

๑-๒.ปัสสาวะ และ อุจจาระ ของมนุษย์และสัตว์ทุกประเภทที่ไม่อนุญาตให้บริโภคเนื้อเป็นอาหาร (ฮะรอม) และเป็นสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่ง 

๓. น้ำอสุจิ ของคนและสัตว์ทุกประเภทที่มีเลือดไหลพุ่ง ถึงแม้จะเป็นสัตว์ที่อนุญาตให้บริโภคเนื้อเป็นอาหารก็ตาม

๔. เลือด ของมนุษย์และสัตว์ทุกประเภทที่มีเลือดไหลพุ่ง

๕. ซากศพ ของคนและสัตว์ทุกประเภทที่มีเลือดไหลพุ่ง

๖. สุนัข ที่อาศัยอยู่บนบก ซึ่งอวัยวะทุกส่วนนะญิซ

๗. สุกร ที่อาศัยอยู่บนบก ซึ่งอวัยวะทุกส่วนนะญิซ

๘. สุรา และสิ่งมึนเมา ของเหลวทุกชนิดที่ทำให้เมา

๙. เบียร์ (เครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่สกัดมาจากข้าวบาร์เลย์เป็นส่วนใหญ่)

๑๐. กาฟิร ผู้ปฏิเสธอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูล และหลักคำสอนของอิสลาม

๑๑. เหงื่อของอูฐ ที่กินนะญิซ

 

เฎาฮาเราะฮฺ คือความสะอาดตามศาสนบัญญัติ ซึ่งนอกเหนือไปจากความสะอาดทั่วไป (นิซอฟัต) และนะญิซ คือสิ่งโสโครกหรือความสกปรกตามศาสนบัญญัติ ซึ่งนอกเหนือไปจากความโสโครกและความสกปรกทั่วไปที่คนส่วนใหญ่รู้จัก กล่าวคือ สิ่งหนึ่งอาจจะสะอาดแต่ในทัศนะของบัญญัติอิสลามสิ่งนั้นอาจไม่สะอาด จุดประสงค์ของอิสลาม คือ ต้องการความสะอาดทั้งสองด้าน หมายถึง มนุษย์ต้องคิดถึงความสะอาดของตนเองสังคมและสภาพแวดล้อมตลอดเวลา


บทบัญญัติเกี่ยวกับนะญิซ (สิ่งโสโครก)



ปัสสาวะและอุจาระ

๑. ปัสสาวะและอุจาระของมนุษย์และสัตว์ทุกประเภทที่เนื้อฮะรอม และเป็นสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่ง   นะญิซ  

๒. ปัสสาวะและอุจจาระของสัตว์ที่เนื้อฮะลาล (อนุญาตให้บริโภค) เช่น วัว แพะ แกะ และสัตว์อื่น ๆ ที่ไม่มีเลือดไหลพุ่ง   เช่น งู ปลา สะอาด

๓. ปัสสาวะและอุจจาระของสัตว์ที่เนื้อมักรูฮฺ ถือว่าสะอาด เช่น ม้า ลา ฬ่อ เป็นต้น

๔. มูลของนก ที่เนื้อฮะรอม เช่น นกกา เหยี่ยว นะญิซ *

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี มูลของนกที่เนื้อฮะรอมไม่เป็นนะญิซ (อิซติฟตาอาต คำถามที่ ๔)



บทบัญญัติเกี่ยวกับซากศพ

๑. คนตาย แม้ว่าเพิ่งจะเสียชีวิตและร่างยังไม่ทันเย็นอวัยวะทั่วร่างนะญิซ (ยกเว้นอวัยวะที่ไม่มีชีวิต เช่น เล็บ ผม ฟัน) และร่างของ

- ผู้ที่ถูกสังหารในสมรภูมิรบ (ชะฮีด)

- ร่างที่ฆุซุลครบ ๓ น้ำแล้ว (น้ำพิมเสน ใบพุทรา และน้ำเปล่า) ไม่นะญิซ

๒. เฉพาะชะฮีดที่เสียชีวิตในสมรภูมิรบเท่านั้นร่างสะอาด ด้วยเหตุนี้ ชะฮีดที่เกิดจากการวางระเบิด หรือถูกศัตรูลอบสังหาร หรือได้รับบาดเจ็บในสมรภูมิรบและเสียชีวิตนอกสมรภูมิ มิได้รวมอยู่ในกฎดังกล่าว


ขอบเขตของสมรภูมิ

ขอบเขตของสมรภูมิรบ คือ บริเวณที่เผชิญหน้ากันทั้งสองฝ่าย ซึ่งบริเวณนี้มิได้เจาะจงแค่แนวหน้าหรือเวลาที่ศัตรูจู่โจม



ซากสัตว์

๑. ซากสัตว์ที่ไม่มีเลือดไหลพุ่ง   ถือว่าสะอาด เช่น ปลา เป็นต้น

๒. ซากสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่ง ยกเว้นอวัยวะส่วนที่ไม่มีชีวิต เช่น ขน เขา เล็บและอื่น ๆ สะอาด ส่วนอวัยวะที่มีชีวิต เช่น เนื้อ หรือหนัง นะญิซ

ตัวอย่างบทบัญญัติของซากสัตว์

๑. ถ้าเป็นสุนัข สุกร อวัยวะทุกส่วนนะญิซ

๒. นอกเหนือจากสุนัขและสุกร

- ถ้าเป็นสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่งอวัยวะส่วนที่มีชีวิต นะยิช อวัยวะส่วนที่ไม่มีชีวิต สะอาด

- ถ้าไม่ใช่สัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่ง อวัยวะทุกส่วนสะอาด

๓. อวัยวะส่วนที่ขาดออกจากร่างกายขณะที่ยังมีชีวิต ทั้งของคนและสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่ง อยู่ในเงื่อนไขเดียวกันกับอวัยวะที่ตายแล้ว หมายถึง ถ้าเป็นอวัยวะส่วนที่มีชีวิต นะญิซ ถ้าไม่มีชีวิต สะอาด ด้วยเหตุนี้ อวัยวะส่วนขาดจากร่างกายเนื่องจากการผ่าตัด นะญิซ

๔. ถ้าอวัยวะส่วนหนึ่งได้ขาดออกจากร่างที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ยังไม่หลุดเสียที่เดียวเนื่องจากมีหนังติดอยู่ แม้ว่าหนังจะบางมากตราบที่ยังติดอยู่อวัยวะส่วนนั้นไม่ นะญิซ และไม่อยู่ในกฎของซากศพ


ประเด็นต่อไปนี้อยู่ในเงื่อนไขของความสะอาด

๑. ปัสสาวะและอุจจาระของสัตว์ที่ไม่รู้ว่าเนื้อฮะรอมหรือฮะลาล เช่น มูลนกที่ไม่รู้ว่าเป็นของนกประเภทใด

๒. ปัสสาวะและอุจจาระของสัตว์ที่ไม่รู้ว่ามีเลือดไหลพุ่งหรือไม่มี เช่น พบมูลในอาหาร ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นของมดหรือแมงสาบ

๓. พบกระดูกที่ไม่มีเนื้อติดอยู่ และไม่รู้ว่าเป็นของสัตว์ที่นะญิซ (สุนัข สุกร) หรือสัตว์อื่น

๔. พบกระดูกมนุษย์ที่ไม่มีเนื้อติดอยู่ และไม่รู้ว่าเป็นกระดูกของกาฟิรหรือมุสลิม

๕. พบเนื้อหรือหนังสัตว์ที่ไม่รู้ว่าเป็นของสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่งหรือไม่มี

บทบัญญัติของสิ่งของที่ทำมาจากหนังของสัตว์

๑. สิ่งของต่าง ๆ ที่ทำมาจากอวัยวะสัตว์ส่วนที่ไม่มีชีวิต ถือว่าสะอาด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เชือดตามหลักการของศาสนา ดังนั้น เสื้อผ้าที่ทำมาจากขนหมี ถือว่าสะอาด แม้ว่ามุสลิมจะไม่ได้เป็นผู้ผลิต หรือขายในตลาดที่ไม่ใช่มุสลิม แต่ถ้าทำมาจากสัตว์ที่เนื้อฮะรอม นะมาซกับเสื้อผ้านั้น บาฏิล

๒. สิ่งของต่าง ๆ ที่ทำมาจากอวัยวะส่วนที่มีชีวิตจากซากสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่ง นะญิซ เช่น สิ่งของที่ทำจากหนังสัตว์ คล้ายกระเป๋า รองเท้า หมวก เข็มขัด ถุงมือ สายนาฬิกา เป็นต้น

๓. สิ่งของที่ไม่รู้ว่าเป็นหนังสัตว์หรือไม่ ถือว่าอยู่ในกฎของความสะอาด กล่าวคือไม่นะญิซ

๔. สิ่งของที่ไม่รู้ว่าทำมาจากอวัยวะของสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่งหรือไม่ ถือว่าอยู่ในกฎของความสะอาด เช่น เข็มขัดที่ไม่แน่ใจว่าทำมาจากหนังงู หรือหนังสัตว์อื่น

๕. สิ่งของต่าง ๆ ที่ทำมาจากหนังสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่ง เช่น รองเท้าที่รู้ว่าทำมาจากหนังวัว แต่ไม่รู้ว่าเชือดตามหลักศาสนาหรือไม่ มีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้

-  ถ้าซื้อมาจากมุสลิม หรือผลิตในประเทศมุสลิม ถือว่าสะอาด

- ถ้าซื้อมาจากมุสลิม แต่ผลิตในประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม เช่น ซื้อรองเท้าหนังจากร้านมุสลิมแต่ผลิตในประเทศฝรั่งเศส ถือว่านะญิซ นอกเสียจากรู้ว่าสัตว์นั้นถูกเชือดตามหลักการของศาสนา และผู้นำเข้าเป็นมุสลิมซึ่งเขาจะหลีกเลี่ยงการนำเข้าของที่ไม่ถูกต้องตามหลักการศาสนา

- ถ้าซื้อจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม แต่ผลิตในประเทศมุสลิม ถือว่าสะอาด เช่น ซื้อรองเท้าในประเทศไทย แต่ผลิตในประเทศปากีสถาน

- ถ้าซื้อจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม และผลิตในประเทศที่ไม่ใช่มุสลิมนะญิซ *

*อายะตุลลอฮฺ อะลีคอเมเนอี ถ้าคาดว่าสัตว์นั้นได้เชือดตามหลักการศาสนา ถือว่าสะอาด แต่ถ้ามั่นใจว่าไม่ได้เชือดตามหลักการศาสนา นะญิซ (อิซติฟตาอาต คำถามที่ ๘)

          -  ซื้อมาจากมุสลิม แต่ไม่รู้ว่าผลิตในประเทศใด ถือว่าสะอาด

          - ซื้อมาจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม แต่ไม่รู้ว่าผลิตในประเทศใด นะญิซ



ผลิตภัณฑ์จากนม

ผลิตภัณฑ์นมที่ทำมาจากสัตว์ที่เนื้อฮะลาลและมีชีวิต เช่น นม นมเปรี้ยว เนย และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งทำมาจากวัว แพะ หรืออูฐ ถือว่าสะอาดและอนุมัติให้บริโภค แม้ว่ากาฟิรจะเป็นผู้ผลิตก็ตาม หรือขายในตลาดที่มิใช่มุสลิม หรือนำเข้าจากประเทศที่มิใช่อิสลาม นอกเสียจากมั่นใจว่าร่างกายกาฟิรโดนกับสิ่งนั้น ถือว่านะญิซ แต่แค่สงสัยหรือคาดว่า ถือว่าไม่เพียงพอ และไม่จำเป็นต้องตรวจสอบแต่อย่างใด