หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20792
ดาวน์โหลด: 4355

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20792 / ดาวน์โหลด: 4355
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย



อิซติฟตา(คำวินิจฉัย)

คำถาม  หนังสัตว์ที่ขายในประเทศฝรั่งเศส (รองเท้า กระเป๋าเป็นต้น) ซึ่งคาดว่าสิ่งเหล่านั้นนำเข้าจากประเทศแอลจีเรีย ซึ่งสะอาด ดังนั้น การสวมใส่หรือใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้น กฎเป็นเช่นไร

คำตอบ ถือว่าอยู่ในกฎของซากสัตว์ (นะญิซ)

คำถาม หนังสัตว์ที่สั่งนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อผลิตรองเท้า หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ถือว่านะญิซ หรือสะอาด

คำตอบ หนังสัตว์ที่สั่งนำเข้าจากประเทศมุสลิม สะอาด นอกเสียจากมั่นใจว่าไม่ได้เชือดตามหลักการศาสนา หนังที่สั่งนำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ถือว่านะญิซ  นอกเสียจากมั่นใจว่าสัตว์นั้นเชือดตามหลักการศาสนา หรือคาดว่ามุสลิมผู้นำเข้า จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักการและมอบหนังให้อยู่ในความรับผิดชอบของมุสลิม



บทบัญญัติเกี่ยวกับเลือด

๑. เลือดของมนุษย์และสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่ง นะญิซ เช่น เลือดไก่ เลือดแพะ วัวและอื่นสัตว์ ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

๒. เลือดของสัตว์ที่ไม่มีเลือดไหลพุ่ง สะอาด เช่น เลือดปลา เลือดยุง เป็นต้น

๓. เลือดที่พบในไข่ไก่ไม่นะญิซ แต่อิฮฺติยาฏวาญิบไม่ให้รับประทาน แต่ถ้าได้ตีไข่ให้เข้ากันและเลือดได้จางหายไป รับประทานได้ไม่เป็นไร

๔. เลือดที่ออกตามไรฟัน หากผสมกับน้ำลายในปากแล้วเลือดได้จางหายไปถือว่าสะอาด และถ้ากลืนน้ำลายลงไป ถือว่าไม่เป็นไร

 


ประเด็นต่อไปนี้ถือว่าอยู่ในกฎของความสะอาด

๑. สิ่งของสีแดง ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นเลือด

๒. เลือดที่ไม่รู้ว่าเป็นของสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่งหรือไม่ เช่น เลือดที่ติดอยู่ที่เสื้อผ้าไม่รู้ว่าเป็นเลือดยุง หรือเลือดของตนเอง

๓.  เลือดที่ไม่รู้ว่าเป็นของสัตว์ที่มีเลือดไหลพุ่งหรือไม่ เช่น งู

๔. สิ่งที่ไหลออกจากบาดแผล ไม่รู้ว่าเป็นเลือดหรือน้ำเหลือง กรณีที่บาดแผลสะอาด แต่ถ้าบาดแผลนะญิซ น้ำเหลืองหรือสิ่งอื่นที่ไหลออกมาโดนบริเวณนะญิซ ถือว่านะญิซ

๕. เนื่องจากมีแผลบนร่างกาย และมีสิ่งเปียกไหลออกมาไม่รู้ว่าเป็นเลือดหรือไม่



สุรา และสิ่งมึนเมา

๑. สุราและของเหลวทุกชนิดที่ทำให้เมา นะญิซ

๒. ของเหลวทุกชนิดที่ทำให้เมา (จุดเริ่มต้นเป็นของเหลว) ถึงแม้จะแข็งตัวเป็นก้อนถือว่า นะญิซ 

*อายะตุลลอฮฺ อะลีคอเมเนอี อิฮฺติยาฏวาญิบ นะญิซ (อิซติฟตาอาต คำถามที่ ๕)

๓. สิ่งของที่มิใช่ของเหลวแต่ทำให้เมา เช่น กัญชา ไม่นะญิซ ถึงแม้ว่าจะผสมกับน้ำจนกลายเป็นของเหลวก็ตาม

๔. น้ำองุ่นที่ต้มจนเดือดถ้าทำให้เมา ถือว่านะญิซ แต่ถ้าไม่ทำให้เมาถึงแม้ว่ากินจะฮะรอม ไม่ถือว่านะญิซ

๕. อินทผลัมและองุ่นแห้ง ถ้าได้ปรุงพร้อมกับอาหาร เช่น ข้าว ไม่ฮะรอม แม้ว่าจะเดือดก็ตาม



กาฟิร



กาฟิร และนะญิซ

๑. บุคคลที่ปฏิเสธพระเจ้า (หมายถึงผู้ที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า)

๒. บุคคลที่ปฏิเสธสภาวะการเป็นนบีของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ็อล ฯ)

๓. บุคคลที่ปฏิเสธความเป็นเอกะของอัลลอฮฺ (ซบ.) หมายถึงตั้งภาคีเทียบเคียงพระองค์

๔. บุคคลที่ปฏิเสธสิ่งจำเป็นของศาสนา ขณะที่รู้ดีว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งจำเป็นของศาสนา ซึ่งการปฏิเสธของเขาเท่ากับเป็นการปฏิเสธสาส์นของบี หรือปฏิเสธนบี หรือยกเลิกคำสอนศาสนา

๕. บุคคลที่ทำตนเป็นศัตรู ด่าว่า หรือใส่ร้ายบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) เพียงท่านเดียวหรือทั้งหมด *

อายุตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี  ชาวคัมภีร์ถือว่าสะอาด (อิซติฟตาอาต เล่ม ๑ หน้า ๙๗ คำถามที่ ๓๒๔) ชาวคัมภีร์หมายถึง พวกยะฮูดียฺ นะซอรอ โซโรอัสเตอร์ และซอบิอีน (อิซติฟตาอาต เล่ม ๑ หน้า ๙๘คำถามที่ ๓๒๗)

สองสามประเด็นสำคัญ

๑. ร่างกายของกาฟิรทุกส่วน ขน ผม เล็บ และความเปียกชื้นทั้งหลาย นะญิซ

 ๒. บุคคลที่ไม่รู้ว่าเป็นมุสลิมหรือกาฟิร ถือว่าสะอาด แต่ไม่สามารถนำบทบัญญัติอื่นของมุสลิมมาใช้กับเขาได้ เช่น ไม่สามารถแต่งงานกับหญิงมุสลิม และไม่สามารถฝังในสุสานของมุสลิมได้



สิ่งที่สะอาดนะญิซได้อย่างไร?

ในบทก่อนกล่าวไปแล้วว่า ของทุกสิ่งบนโลกนี้ถือว่าสะอาดยกเว้นบางสิ่ง   แต่ในบางครั้งสิ่งที่สะอาดอาจเปลี่ยนเป็นนะญิซได้ถ้าหากสิ่งนั้นไปโดนนะญิซในขณะที่ทั้งสองเปียก หรืออย่างหนึ่งอย่างใดเปียก ซึ่งความเปียกชื้นของสิ่งหนึ่งซึมไปยังอีกสิ่งหนึ่ง

๑. ถ้าสิ่งของสะอาดไปโดนสิ่งนะญิซ และทั้งสองนั้นเปียกชื้นซึ่งความเปียกชื้นของสิ่งหนึ่งซึมไปยังอีกสิ่ง สิ่งที่สะอาดจะนะญิซ

๒. แต่ประเด็นต่อไปนี้อยู่ในกฎของสิ่งที่สะอาด

- ไม่รู้ว่าสิ่งที่สะอาดกับนะญิซโดนกันหรือไม่

- ไม่รู้ว่าสิ่งที่สะอาดกับนะญิซเปียกชื้นหรือไม่

- ไม่รู้ว่าความเปียกชื้นจากสิ่งหนึ่งซึมไปยังอีกสิ่งหรือไม่

สองสามประเด็นสำคัญ

๑. การรับประทานหรือดื่มสิ่งนะญิซ ฮะรอม 

๒. ถ้าเห็นว่าบุคคลหนึ่งกำลังรับประทานนะญิซ หรือสวมเสื้อผ้าที่เปื้อนนะญิซนะมาซ ไม่จำเป็นต้องบอกให้รู้

๓. สิ่งที่สะอาดถ้าสงสัยว่านะญิซหรือไม่ ถือว่าสะอาด และไม่จำเป็นต้องตรวจสอบแต่อย่างใด ถึงแม้จะสามารถเข้าใจถึงความสะอาดหรือนะญิซได้ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปนี้อยู่ในกฎของความสะอาด ไม่จำเป็นต้องถามหรือสอบสวนแต่อย่างใด ฉะนั้น

- น้ำหอม ที่ผู้มิใช่มุสลิมเป็นผู้ผลิต แต่ไม่รู้ว่าร่างกายของเขาโดนน้ำหอมหรือไม่

- ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ในโรงแรมที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิม เช่น ภาชนะ ผ้าเช็ดตัว ห้องน้ำ ห้องส้วมสบู่ เตียงนอน และอื่น ๆ หรือแม้แต่ที่จับ ถ้าหากไม่มั่นใจว่ากาฟิรได้สัมผัสสิ่งเหล่านั้นขณะร่างกายเปียกชื้น หรือไม่สามารถพิสูจน์นะญิซได้จากวิธีทางอื่น ถือว่าสะอาด

- ข้าวของเครื่องใช้ที่มีอยู่ในบ้านเช่าหรือบ้านซื้อ ซึ่งก่อนหน้านั้นกาฟิรเคยอยู่มาก่อน เช่น ของใช้ในครัว พรม ตู้เสื้อผ้า ที่จับประตู หรือสิ่งอื่น หากไม่มั่นใจว่าสิ่งนั้นนะญิซ ถือว่าสะอาด

- เบาะรถประจำทางหรือแท็กซี่ในประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ขณะที่ฝนตกและร่างกายเปียกชื้น ถ้าไม่มั่นใจว่าเบาะนั้นเปื้อนนะญิช การนั่งลงบนเบาะไม่ทำให้ร่างกายและเสื้อผ้านะญิซ

- การใช้ช้อน ถ้วยจาน แก้วน้ำ และของใช้อื่น ๆ ในร้านอาหาร ถ้าไม่มั่นใจว่าสิ่งเหล่านั้นเปื้อนนะญิซ ถือว่าสะอาด

- น้ำอัดลมและเครื่องดื่มต่าง ๆ โดยปกติเป็นสิ่งสะอาดและฮะลาล แต่ไม่รู้ว่าโดนร่างกายกาฟิรหรือไม่ ถือว่าสะอาด แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันสิ่งเหล่านี้บรรจุโดยใช้เครื่องจักรกล

- เครื่องอุปโภคและบริโภคต่าง ๆ เช่น น้ำตาล ช็อกโกแลต ขนมปัง หมากฝรั่ง และอื่น ๆ ที่ไม่ได้ผลิตในประเทศมุสลิม ถ้ามั่นใจว่าร่างกายกาฟิรไม่ได้สัมผัสสิ่งเหล่านั้น หรือไม่มั่นใจว่าสิ่งเหล่านั้นนะญิซ ถือว่าสะอาด

- ถั่ว ผลไม้ และผักต่าง ๆ ที่บุคคลที่มิได้เป็นมุสลิมเป็นผู้ขาย แต่มั่นใจว่าสิ่งเหล่านั้นไม่นะญิซ ถือว่าสะอาด แม้ว่าผู้ที่มิได้เป็นมุสลิมจะเป็นผู้เพราะปลูก เก็บเกี่ยว หรือแบกหามก็ตาม

- น้ำมันที่ใช้ปรุงอาหารไม่ว่าจะเป็นน้ำมันที่ทำจากไขมันสัตว์หรือพืช หากไม่มั่นใจว่านะญิซ หรือเปื้อนนะญิซ ถือว่าสะอาด

 - ของเหลวต่าง ๆ ที่ใช้กับรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือใช้ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน หรือแก๊สโซลีน น้ำมันก๊าด น้ำมันโซล่า จาระบี หรือสิ่งอื่นซึ่งผู้กลั่นน้ำมัน หรือจำหน่ายมิใช่มุสลิม แต่ไม่มั่นใจว่านะญิซ ถือว่าสะอาด

- อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับงานต่าง ๆ ถ้าให้บุคคลที่มิได้เป็นมุสลิม เช่น ผ้าที่ใช้ตับเย็บเสื้อผ้า หรือรถยนต์ที่ส่งไปซ่อม หลังจากรับของคืนแล้วถ้าไม่มั่นใจว่าสิ่งนั้นนะญิซ ถือว่าสะอาด

- ขนมปังหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันที่มุสลิมไม่ได้ปรุง แต่วัตถุดิบเดิมเป็นสิ่งสะอาดและไม่มั่นใจว่านะญิซ ถือว่าสะอาด

- การจับมือกับกาฟิรขณะที่มือไม่เปียก หรือเพียงแค่ชื้นแต่ไม่สามารถซึมไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้ หรือมั่นใจว่าไม่ซึมแน่นอน ถือว่ามือมุสลิมไม่นะญิซ



มุเฏาะฮิรอต (สิ่งทำความสะอาด)

อัลลอฮฺทรงประทานน้ำฝนจากฟากฟ้ามายังสูเจ้า เพื่อชำระสูเจ้าให้สะอาด เพื่อจัดมลทิน และเพทุบายของมารร้ายออกจากสูเจ้า  (อัล-อันฟาล / ๑๑)



สิ่งที่เปื้อนนะญิซจะสะอาดได้อย่างไร?

สิ่งทั้งหลายที่เปื้อนนะญิซสามารถทำให้สะอาดได้ ซึ่งสิ่งที่ใช้ทำความสะอาดนะญิซประกอบด้วย

๑. น้ำ

๒. พื้นดิน

๓. แสงแดด

๔. การแปรสภาพ

๕. การโยกย้าย

๖. การยอมรับอิสลาม

๘. การตาม

๘. การขจัดนะญิซให้หมดไป

๙. การกักขังสัตว์ที่กินนะญิซ (อิสติบรออฺ)

๑๐. การหายตัวไปของมุสลิม

๑. น้ำ สามารถใช้ชำระล้างสิ่งโสโครก (นะญิซ) ให้สะอาดได้ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายชนิด การเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ของน้ำจะช่วยทำให้เข้าใจปัญหาที่เกี่ยวข้องกับน้ำได้ดียิ่งขึ้น

 



ประเภทของน้ำ

๑. น้ำผสม

๒. น้ำบริสุทธิ์ ได้แก่น้ำฝน น้ำไหล น้ำบ่อ น้ำมีปริมาณกุร และน้ำน้อย

น้ำผสม (มุดอฟ)  หมายถึงน้ำที่สกัดออกจากสิ่งอื่น เช่น น้ำผลไม้ต่าง ๆ หรือน้ำที่ผสมกับสิ่งอื่นซึ่งไม่สามารถเรียกว่าน้ำได้อีก เช่น น้ำหวาน เป็นต้น

ส่วนน้ำบริสุทธิ์ หมายถึงน้ำที่ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน

 



บทบัญญัติเกี่ยวกับน้ำผสม

๑.  ไม่สามารถใช้ชำระล้างสิ่งที่เปื้อนนะญิซได้ (มิได้จัดว่าเป็นมุเฏาะฮิร)

๒. เมื่อโดนนะญิซหรือสิ่งที่เปื้อนนะญิซจะกลายเป็นนะญิซทันที ถึงแม้ว่านะญิซจะมีจำนวนเล็กน้อยและสี กลิ่น หรือรสมิได้เปลี่ยนไปก็ตาม

  ๓. วูฎูอฺและฆุซลฺกับน้ำนั้นไม่ถูกต้อง



ประเภทของน้ำบริสุทธิ์

น้ำบริสุทธิ์  ( มุฏลัก ) หมายถึงน้ำที่มิได้มีสิ่งใดเจือปน 

บางครั้งน้ำอาจไหลออกจากพื้นดิน หรือหลั่งลงมาจากฟากฟ้า หรือไม่ได้ไหลออกจากดินและไม่ได้หลั่งลงมา น้ำที่หลั่งลงมาจากฟากฟ้าเรียกว่า น้ำฝน

น้ำที่ไหลออกจากพื้นดิน เรียกว่าน้ำไหล น้ำที่ไม่ได้ไหลที่เรียกว่า น้ำบ่อ น้ำที่ไม่ได้ไหลนิ่งอยู่กับเรียกว่า น้ำนิ่ง และน้ำนิ่งถ้ามีจำนวนมากเรียกว่า น้ำกุร ถ้ามีจำนวนน้อยเรียกวา น้ำน้อย

ปริมาณของน้ำกุร ถ้าบรรจุอยู่ในภาชนะ ๆ  ต้องมีขนาดความกว้าง ยาว และสูง ๓.๕ คืบ*

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ภาชนะต้องมีขนาดปริมาตรประมาณ ๔๒/๗-๘คืบ หรือประมาณ ๓๘๔ ลิตร

ถ้าคิดเป็นน้ำหนักประมาณ ๓๗๗ หรือ ๔๑๙ กิโลกรัม หรือ ๓๘๔ ลิตร

ปริมาณของน้ำน้อย หมายถึงน้ำที่มีปริมาณน้อยกว่า ๑ กุร

เฉพาะน้ำบริสุทธิ์เท่านั้นสามารถชำระล้างสิ่งที่เปื้อนนะญิซได้ แม้ว่าน้ำผสมบางครั้งสามารถล้างสิ่งสกปรกให้สะอาดได้ แต่ไม่สามารถชำระล้างสิ่งที่เปื้อนนะญิซได้เด็ดขาด



บทบัญญัติเกี่ยวกับน้ำน้อย

๑. ถ้าสิ่งนะญิซไปโดนน้ำน้อยน้ำจะเป็นนะญิซทันที (โดยไม่มีความแตกต่างว่าเอาน้ำราดลงนะญิซหรือนะญิซได้ตกลงในน้ำ)

๒. ถ้าเทน้ำน้อยจากด้านบนลงบนนะญิซ เฉพาะส่วนที่โดนนะญิซเท่านั้น นะญิซ แต่ส่วนบนที่อยู่เหนือขึ้นไปสะอาด เช่น ราดน้ำจากกระป๋องลงบนสิ่งที่เปื้อนนะญิซ

๓. ถ้าฉีดน้ำน้อยจากข้างล่างขึ้นไปข้างบน ถ้านะญิชไปถึงข้างบนด้านล่างไม่นะญิซ แต่ถ้านะญิซตกลงมาข้างล่างข้างบนนะญิซด้วยเช่นกัน

๔. ถ้าน้ำกุรหรือน้ำไหลเชื่อมต่อกับน้ำน้อยที่นะญิซและน้ำได้ผสมกัน ถือว่าน้ำน้อยสะอาด เช่น นำภาชนะใส่น้ำน้อยที่นะญิซไปวางไว้ใต้ก๊อกน้ำที่เชื่อมต่อกับน้ำกุร แล้วเปิดน้ำลงไปในภาชนะให้น้ำผสมกัน

๕. ถ้านำน้ำน้อยไปล้างนะญิซโดยราดน้ำลงบนสิ่งที่เปื้อนนะญิซ น้ำที่กระเด็นออกมา นะญิซ และน้ำที่ใช้ล้างนะญิซหลังจากขจัดนะญิซออกแล้วได้ราดน้ำลงบนสิ่งนั้น น้ำที่กระเด็นออกมาจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง 



บทบัญญัติของน้ำกุร  น้ำไหล  และน้ำบ่อ

๑. น้ำบริสุทธิ์ทั้งหลายยกเว้นน้ำน้อยถ้า สี กลิ่น หรือรสของนะญิซมิได้ทำให้น้ำเปลี่ยนไป ถือว่าสะอาด แต่ถ้ามีนะญิซไปโดนและอย่างใดอย่างหนึ่งเปลี่ยนไปถือว่า นะญิซ (ฉะนั้น น้ำกุร น้ำไหล น้ำบ่อ แม้กระทั้งน้ำฝนก็รวมอยู่ในกฎเดียวกัน)

๒. น้ำประปาตามอาคารที่เชื่อมต่อกับน้ำกุร ถือว่าอยู่ในกฎของน้ำกุร



คุณลักษณะบางอย่างของน้ำฝน

๑. ถ้าฝนตกลงสิ่งเปื้อนนะญิซ แต่ไม่มีนะญิซติดอยู่เพียงครั้งเดียวถือว่าสะอาด

๒. ถ้าฝนตกลงบนพรมหรือเสื้อผ้าเปื้อนนะญิซ ถือว่าสะอาด โดยไม่จำเป็นต้องบิด

๓. ถ้าฝนตกลงบนพื้นที่เปื้อนนะญิซ ถือว่าสะอาด

๔. ถ้าน้ำฝนได้รวมกันในที่หนึ่ง แม้ว่าจะมีปริมาณน้อยกว่ากุร แต่ตราบที่ฝนยังตกอยู่ถ้านำสิ่งที่เปื้อนนะยิซไปล้างในนั้นกลิ่น สี หรือรสของน้ำมิได้เปลี่ยนไป ถือว่าสะอาด



บทบัญญัติความสงสัยเกี่ยวกับน้ำ

๑. น้ำจำนวนหนึ่งถ้าสงสัยว่ามีปริมาณถึงกุรหรือไม่ หากมีนะญิซไปโดน ไม่ถือว่านะญิซ แต่ไม่มีเงื่อนไขอย่างอื่นของน้ำกุร

๒. น้ำจำนวนหนึ่งเคยเป็นน้ำกุร แต่สงสัยว่ากลายเป็นน้ำน้อยแล้วหรือยัง ถือว่ายังอยู่ในกฎน้ำกุร

๓. น้ำที่ไม่รู้ว่าสะอาดหรือนะญิซ ถือว่าสะอาด

๔. น้ำสะอาดถ้าสงสัยว่าเป็นนะญิซหรือไม่ ถือว่ายังอยู่ในกฎน้ำสะอาด

๕. น้ำนะญิซ แต่ไม่รู้ว่าสะอาดหรือยัง ถือว่ายังอยู่ในกฎน้ำนะญิซ

๕. น้ำบริสุทธิ์ แต่ไม่รู้กลายเป็นน้ำผสมหรือยัง ถือว่ายังอยู่ในกฎน้ำบริสุทธิ์            



น้ำสามารถชำระล้างสิ่งที่เป็นนะญิซให้สะอาดได้อย่างไร?

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์ และยังช่วยชำระล้างสิ่งโสโครก  (นะญิซ)     ให้สะอาดได้อีก  หากทำไปตามบทบัญญัติ  ดังต่อไปนี้

จะล้างสิ่งของ ที่เปื้อนนะญิซด้วยน้ำได้อย่างไร?

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับชีวิตและเป็นตัวชำระล้างนะญิซได้มากที่สุด ในแต่ละวันมนุษย์จะมีความผูกพันกับน้ำมาก

การทำความสะอาดสิ่งของที่เปื้อนนะญิซ (หน้าที่๕๒)

๑. ถ้าภาชนะเปื้อนนะญิซให้ล้างด้วยน้ำกุรเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าเป็นน้ำน้อยให้ล้าง ๓ ครั้ง

๒. ถ้าเป็นสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ภาชนะเปื้อนนะญิซที่ไม่ใช่ปัสสาวะ ให้ล้างด้วยน้ำกุรเพียงครั้งเดียว แต่ถ้าเป็นน้ำน้อยให้ล้าง๑ ครั้ง

๓. ถ้าเปื้อนปัสสาวะ (ไม่ใช่ภาชนะ) จำเป็นต้องล้างด้วยน้ำกุร ๑ ครั้ง หรือถ้าเป็นน้ำน้อยให้ล้าง ๒ ครั้ง

คำอธิบาย

๑. การล้างสิ่งของเปื้อนนะญิซ อันดับแรกให้ขจัดนะญิซออกก่อน หลังจากนั้นให้ล้างด้วยน้ำตามจำนวนที่กล่าวข้างต้น เช่น ภาชนะที่เปื้อนนะญิซหลังจากขจัดนะญิซออกแล้วให้ล้างด้วยน้ำกุร ๑ ครั้ง

๒. พรมเสื้อผ้าและสิ่งที่คล้ายคลึงกันปกติจะดูดซับน้ำแต่สามารถบิดได้ ดังนั้น ถ้าล้างด้วยน้ำน้อยหลังจากราดน้ำทุกครั้งให้บิดหรือบีบให้แห้ง หรือถ้าล้างด้วยวิธีอื่นต้องให้น้ำเปียกจนทั่ว แต่ถ้าเป็นน้ำกุร หรือน้ำไหล เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องให้น้ำซึมผ่านเข้าไปอย่างทั่วถึง*

*อายะตุลลอฮฺ อะลีคอเมเนอี การทำความสะอาดด้วยน้ำกุร หรือน้ำไหลไม่จำเป็นต้องบิดน้ำออกแค่ทำให้น้ำออกมาจะด้วยวิธีใดก็ตาม หรืออาจใช้วิธีสะบัดก็พอแล้ว 

๓. ถ้าใช้น้ำไหลหรือน้ำบ่อ ล้างสิ่งที่เปื้อนนะญิซจะอยู่ในเงื่อนไขเดียวกันกับน้ำกุร ดังที่อธิบายผ่านมาแล้ว

ประเด็นสำคัญ

ภาชนะเปื้อนนะญิซสามารถล้างด้วยน้ำได้ดังนี้

- ถ้าเป็นน้ำกุร ให้นำภาชนะจุ่มลงไปและนำขึ้นมาเพียงครั้งเดียว

- ถ้าเป็นน้ำน้อย ให้เทน้ำใส่ภาชนะจนเต็มแล้วเทออก ให้ทำ ๓ ครั้ง หรือเทน้ำจำนวนหนึ่งใส่ภาชนะแล้วเขย่าให้ทั่วถึงบริเวณที่เปื้อนนะญิซแล้วเทออก ให้ทำ ๓ ครั้ง



เงื่อนไขการทำความสะอาดภาชนะ

๑. ภาชนะเปื้อนนะญิซเนื่องจากสุนัขเลีย หรือกินน้ำจากภาชนะนั้น

- ถ้าล้างด้วยน้ำน้อย อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ล้าง ๒ ครั้ง ก่อนล้างให้เอาฝุ่นดินทาก่อน

- ถ้าล้างด้วยน้ำกุรหรือน้ำไหล อิฮฺติยาฏวาญิบให้ล้าง ๒ ครั้ง ก่อนล้างให้เอาฝุ่นดินทาก่อน

๒. ภาชนะเปื้อนนะญิซเนื่องจากสุกรกินอาหารหรือน้ำจากภาชนะนั้น

-  ถ้าล้างด้วยน้ำน้อยให้ล้าง ๗ ครั้ง อิฮฺติยาฎมุซตะฮับก่อนล้างให้เอาฝุ่นดินทาก่อน

- ถ้าล้างด้วยน้ำกุรหรือน้ำไหล อิฮฺติยาฏวาญิบให้ล้าง ๗ ครั้ง อิฮฺติยาฎมุซตะฮับก่อนล้างให้เอาฝุ่นดินทาก่อน

๓. ภาชนะเปื้อนสุรา (สุราเป็นนะญิซ)

-  ถ้าล้างด้วยน้ำน้อยให้ล้าง ๓ ครั้ง แต่ดีกว่าให้ล้าง ๗ ครั้ง

- ถ้าล้างด้วยน้ำกุรหรือน้ำไหล ให้ล้างเพียงครั้งเดียว

สองประเด็นสำคัญ

๑. ฝุ่นดินที่ใช้ทาภาชนะก่อนล้างด้วยน้ำต้องสะอาด

๒. ภาชนะที่สุกรเลีย อิฮฺติยาฏวาญิบ ถือว่าอยู่ในกฎของภาชนะ

วิธีทำความสะอาดพื้นเปื้อนนะญิซ

๑. ถ้าล้างด้วยน้ำกุร อันดับแรกต้องขจัดสิ่งโสโครกออกก่อน   หลังจากนั้นใช้น้ำกุรหรือน้ำไหลเทลงไปโดยให้น้ำไหลทั่วบริเวณที่เปื้อนนะญิซ  

๒. ถ้าล้างด้วยน้ำน้อย

- กรณีที่เป็นพื้นซึ่งน้ำไม่สามารถไหลผ่านได้ ไม่สามารถใช้น้ำน้อยทำความสะอาดได้

- ถ้าน้ำไหลผ่านไปบนพื้น บริเวณที่ น้ำไหลผ่านถือว่าสะอาด

๓. ฝาผนังเปื้อนนะญิซ สามารถทำความสะอาดได้เหมือนกับพื้นที่เปื้อนนะญิซ

๔. ขณะที่ทำความสะอาดพื้นดินน้ำได้ไหลผ่านไปยังบ่อ หรือไหลออกไปจากบริเวณนั้น ดังนั้น ทุกที่ ๆ น้ำไหลผ่านถือว่าสะอาด



วิธีล้างเมล็ดและถั่วต่าง ๆ

๑. ถ้าภายนอกเปื้อนนะญิซ ให้ล้างในน้ำกุร หรือน้ำไหล หรือราดด้วยน้ำน้อยให้ไหลผ่านไป ถือว่าสะอาด

๒. ถ้าภายในนะญิซ ไม่สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำน้อยหรือน้ำกุรได้

๓. ถ้าสงสัยว่าภายในเปื้อนนะญิซหรือไม่ ให้ล้างเฉพาะข้างนอกถือว่าเพียงพอ


ประเด็นสำคัญ

- ถ้าสิ่งของเปื้อนปัสสาวะเด็กทารกที่ดื่มน้ำนมมารดาเพียงอย่างเดียว ยังมิได้กินอาหารอย่างอื่น หรือมิได้ดื่มนมสุกร ให้เอาน้ำราดบริเวณที่เปื้อนปัสสาวะให้ทั่วเพียงครั้งเดียว ถือว่าสะอาด ถ้าเป็นพรมหรือเสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องบิด


เงื่อนไขของน้ำที่ใช้ทำความสะอาดนะญิซมีดังนี้

๑. ต้องเป็นน้ำบริสุทธิ์ เนื่องจากน้ำผสมไม่สามารถทำความสะอาดนะญิซได้

๒.น้ำต้องสะอาด เนื่องจากน้ำนะญิซไม่สามารถทำความสะอาดนะญิซได้

๓. ขณะทำความสะอาดสิ่งของต้องไม่มีนะญิซเพิ่มเข้ามา

๔.ขณะทำความสะอาดสิ่งที่เปื้อนนะญิซสี กลิ่น หรือรสของนะญิซต้องไม่ทำให้น้ำเปลี่ยน

๕.หลังจากทำความสะอาดสิ่งเปื้อนนะญิซแล้ว จะต้องไม่มีนะญิซ (อัยนุลนะยาซะฮฺ) ติดค้างอยู่


พื้นดิน   

๑. ถ้าฝ่าเท้าหรือพื้นรองเท้าเปื้อนนะญิซขณะเดิน และเนื่องจากได้สัมผัสกับพื้นดินและทำให้นะญิซได้หมดไป ถือว่าสะอาด ดังนั้น พื้นดินทำความสะอาดได้เฉพาะฝ่าเท้าหรือพื้นรองเท้าเท่านั้น ซึ่งต้องมีเงื่อนไขต่อไปนี้

 - พื้นดินต้องสะอาด

- พื้นดินต้องแห้ง (มิใช่เปียก)

- พื้นดินที่ใช้ทำความสะอาด หมายถึงฝุ่นดิน ทราย อิฐ หิน ดินเผาและสิ่งที่คล้ายกัน

๒. เนื่องจากเดินฝ่าเท้าหรือพื้นรองเท้าได้สัมผัสกับพื้นดิน นะญิซที่ติดอยู่ถูกขจัดหมดไป ถือว่าสะอาด แต่ดีกว่าให้เดินอย่างน้อย ๑๕ ก้าว *

*อายะตุลลอฮฺ อะลีคอเมเนอี ให้ก้าวเดินประมาณ ๑๐ ก้าวบนพื้นดินแห้งและสะอาด พื้นรองเท้าหรือฝ่าเท้าที่เปื้อนนะญิซ ถือว่าสะอาด

๓. สิ่งของต่อไปนี้ไม่ใช่สิ่งทำความสะอาดได้แก่ ยางมะตอย พรม พื้นดินที่ปูด้วยไม้ เสื่อ ผักหญ้า เว้นเสียแต่ว่ามีจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่อาจกล่าวได้ว่านั้นเป็นพื้นหญ้า หรือคนทั่วไปกล่าวว่าเขาเดินบนพื้นดินมิใช่พื้นหญ้า

๔. อิฮฺติยาฏวาญิบ ประเด็นต่อไปนี้พื้นดินไม่สามารถทำความสะอาดได้

๑. มือหรือเข่าของคนพิการที่ใช้เดินต่างเท้า

๒. ปลายไม้เท้า

๓. เกือกม้าหรือของสัตว์สี่เท้า

๔. ถุงเท้า ยกเว้นถุงเท้าที่พื้นเป็นหนัง

๕. ใต้ฝ่าเท้าปลอม

๖. ล้อรถ


สองสามประเด็นสำคัญ

๑. หลังจากพื้นรองเท้าหรือฝ่าเท้าสะอาดแล้ว บริเวณรอบ ๆ นั้นปกติจะเปื้อนด้วย ถ้าดินหรือฝุ่นดินไปถึงบริเวณรอบ ๆ ดังกล่าว ถือว่าสะอาด

๒. ข้างในรองเท้าหรือบริเวณพื้นรองเท้าที่ไม่ถึงพื้นดิน ไม่สามารถสะอาดได้ด้วยการเดินไปบนพื้นดิน

และไม่จำเป็นว่าฝ่าเท้าหรือพื้นรองเท้าที่เปื้อนนะญิซต้องเปียก ทว่าถ้าแห้งก็สามารถสะอาดได้ด้วยการเดิน