หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20796
ดาวน์โหลด: 4358

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20796 / ดาวน์โหลด: 4358
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ด้วยเหตุนี้ หากมีน้ำเคลื่อนออกมาแต่ไม่รู้ว่าเป็นอสุจิหรือไม่ ถ้ามีลักษณะตามที่กล่าวมา ถือว่าเป็นญูนุบ ถ้าไม่เช่นนั้นจะไม่ถือว่าเป็นญูนุบ หรือบางครั้งอาจไม่มีสัญลักษณ์บางประการตามที่กล่าวมา นอกจากหญิงและอาการป่วย ซึ่งสัญลักษณ์กล่าวคือ อสุจิได้หลั่งออกมาเพราะความต้องการ ถือว่าพอเพียงแล้ว

๖. มุซตะฮับหลังจากอสุจิเคลื่อนออกมาให้ปัสสาวะ ถ้าไม่ปัสสาวะหลังจากฆุซลฺแล้ว ถ้ามีน้ำเคลื่อนออกมาโดยไม่รู้ว่าเป็นอสุจิหรือเป็นน้ำอย่างอื่น ถือว่าอยู่ในกฎของอสุจิ   

ภารกิจที่ฮะรอมสำหรับผู้มีญูนุบ

๑. สัมผัสอักษร อัล-กุรอาน พระนามของอัลลอฮฺ (ซบ.). และอิฮฺติยาฏวาญิบนามของบรรดาศาสดา (อ.) บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) และนามของท่านหญิง ฟาติมะฮฺ (อ.)

๒. เข้าไปในมัสญิด อัล-ฮะรอมและมัสญิดนบี (ซ็อลฯ) แม้จะว่าจะเดินผ่านจากประตูหนึ่งและไปออกอีกประตูหนึ่งก็ตาม

๓. หยุดในมัสยิด

๔. นำสิ่งของไปวางในมัสยิด หรือแม้แต่จะอยู่นอกมัสญิดก็ตาม

๕. อ่านอัล-กุรอานซูเราะฮฺซัจญฺดะฮฺวาญิบ (จำเป็นต้องกราบเมื่อได้อ่าน) แม้แต่คำเดียวก็ตาม*

อายุตุลลอฮฺ คอเมเนอี  อ่านโองการซัจญฺดะฮฺวาญิบ  

๖. เข้าไปหยุดในสถานที่ฝังศพของบรรดาอิมาม (อิฮฺติยาฏวาญิบ)

 

ซูเราะฮฺซัจญฺดะฮฺวาญิบประกอบด้วย

๑.ซูเราะฮฺ ที่ ๓๒ (อัซ-ซะญะดะฮฺ) โองการที่ ๑๕

๒.ซูเราะฮฺ ที่ ๔๑ (ฮามีม) โองการที่ ๓๗

๓. ซูเราะฮฺ ที่ ๕๓ (อัล-นัจมุ) โองการสุดท้าย

๔.ซูเราะฮฺ ที่ ๙๖ (อัล-อะลัก) โองการสุดท้าย

ถ้าผู้มีญูนุบได้เข้ามัสญิดทางประตูหนึ่งและออกอีประตูหนึ่ง (เดินผ่านโดยไม่ได้หยุด) ไม่เป็นไร ยกเว้นมัสญิด อัลฮะรอมและมัสญิดนบี แม้แต่เดินผ่านก็ไม่อนุญาต

ถ้าจัดสถานที่หนึ่งภายในบ้าน สำนักงาน หรือองค์กรเป็นสถานที่นมาซโดยเฉพาะ ถือว่าไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขของมัสญิด

การอาบน้ำตามศาสนบัญญัติ (ฆุซลฺ)

ฆุซุลฺ จำเป็นต้องล้างให้ทั่วร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ไม่ว่าจะเป็นฆุซุลฺเป็นวาญิบ เช่น ฆุซุลฺญินาบะฮฺ หรือฆุซุลฺมุซตะฮับ เช่น ฆุซุลฺญุมุอะฮฺ อีกนัยหนึ่งวิธีการฆุซุลฺทั้งหมดเหมือนกัน ยกเว้นเนียต (เจตนา)

 การฆุซลฺต้องทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

๑. ฆุซุลฺตัรติบียฺ หมายถึงการทำไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีการทำสลับกันและหลังจากเนียตฆุซลฺแล้ว

- อันดับแรก ให้ล้างศีรษะและต้นคอ

- อันดับที่สอง ล้างซีกขวาของร่างกายจนทั่ว*

อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอียฺ  ฆุซุลฺตัรตีบียฺล้างซีกขวาก่อนเนื่องจากเป็นอิฮฺติยาฏ (อิซติฟตาอาต คำถามที่ ๑๖)

- อันดับที่สาม ล้างซีกซ้ายของร่างกาย

๒.ฆุซุลฺอิรติมาซียฺ หมายถึงเนียตฆุซุลฺแล้วดำลงใต้น้ำเพียงครั้งเดียว โดยให้น้ำผ่านร่างกายทั้งหมด

- หรือหลังจากเนียตฆุซลฺแล้วค่อย ๆ ดำไปใต้น้ำโดยให้ร่างกายทั้งหมดอยู่ใต้น้ำ

- หรือดำไปใต้น้ำแล้ว จึงเนียตฆุซลฺหลังจากนั้นให้ขยับตัวเล็กน้อย

คำอธิบาย

การฆุซุลฺ สามารถทำได้ ๒ วีธี กล่าวคือ ทำแบบตัรตีบียฺและแบบอิรติมาซียฺ

ฆุซุลฺตัรตีบียฺ อันดับแรกให้ล้างศีรษะและลำคอ หนังจากนั้นให้ล้างซีกขวาของร่างกาย เมื่อล้างทั่วแล้ว ให้ล้างซีกซ้ายมือต่อไป

ฆุซุลฺอิรติมาซียฺ คือ ให้ดำลงน้ำเพียงครั้งเดียว ดังนั้น ถ้าต้องการทำฆุซุลฺนี้ต้องมีน้ำเพียงพอที่จะดำลงไปได้



เงื่อนไขเกี่ยวกับฆุซุลฺ

๑. เงื่อนไขที่ถูกต้องทั้งหมดของวุฎูอฺ ถือเป็นเงื่อนไขที่ถูกต้องของฆุซุลฺด้วย ยกเว้นความต่อเนื่อง และไม่จำเป็นต้องล้างจากข้างบนลงสู่ข้างล่าง

๒.ถ้ามีฆุซุลฺหลายประเภทวาญิบสำหรับตน สามารถเนียตพร้อมกันหลายฆุซุลฺและทำในคราวเดียวกัน

๓. ผู้ที่ฆุซุลฺญินาบะฮฺแล้ว ถ้าต้องการนมาซต้องไม่ทำวุฎูอฺอีก แต่สำหรับฆุซุลฺอื่น ๆ ไม่สามารถนมาซได้ต้องวุฎูอฺก่อน

๔. ก่อนฆุซุลฺอิรติมาซียฺ ร่างกายต้องสะอาดแต่ฆุซุลฺตัรตีบียฺไม่จำเป็น ดังนั้น ถ้าส่วนใดของร่างกายสกปรกให้ทำความสะอาดส่วนนั้นก่อนและฆุซุลฺ ถือว่าเพียงพอ

 

๕.ฆุซุลฺแบบมีบาดแผลให้ทำเหมือนกับวุฎูอฺมีบาดแผล แต่อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องทำแบบตัรตีบียฺ

๖.บุคคลที่ถือศีลอดวาญิบ ไม่สามารถฆุซลฺอิรติมาซียฺได้ เนื่องจากผู้ถือศีลอดต้องไม่ดำน้ำ แต่ถ้าลืมและได้ฆุซุลอิรติมาซียฺ ถือว่าถูกต้อง

๗. การฆุซุล ไม่จำเป็นต้องเอามือลูบให้ทั่วตัว เพียงแค่เนียตฆุซุล แล้วน้ำได้ไหลไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย ถือว่าเพียงพอ

๘. ประเด็นต่อไปนี้ฆุซุลบาฏิล (เสีย)

- บางที่ต้องเช่าห้องน้ำอาบน้ำ ซึ่งตั้งใจว่าจะไม่จ่ายค่าเช่าห้องอาบน้ำ และหลังจากฆุซุลฺเสร็จเรียบร้อยแล้วแม้ว่าเจ้าของจะยินยอมก็ตาม

- ไม่รู้ว่าเจ้าของห้องอาบน้ำจะยินยอมหรือไม่ แต่ตั้งใจว่าจะแบ่งจ่ายค่าเช่าเป็นงวด และหลังจากฆุซุลเสร็จเรียบร้อยแล้วแม้ว่าเจ้าของจะยินยอมก็ตาม

- ต้องการเอาเงินฮะรอมหรือเงินที่ยังไม่ได้จ่ายคุมซฺ จ่ายเป็นค่าเช่าห้องอาบน้ำ

๙. ขณะฆุซุลฺอยู่นั้น ถ้าปัสสาวะหรือผายลมออกมาฆุซุล ไม่เสีย แต่ถ้าต้องการนมาซต้องวุฏูอฺ แม้จะเป็นฆุซลฺญินาบะฮฺก็ตาม

๙.การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง (อิสติมนาอฺ) เป็นฮะรอม ถ้าหากอสุจิได้เคลื่อนออกมาต้องฆุซุลญินาบะฮฺด้วย

๑๐. เป็นไปได้ที่ผู้หญิงอาจจะฝันเหมือนกับผู้ชาย ดังนั้น ถ้ามั่นใจว่ามีการหลั่งวาญิบต้องฆุซุลญินาบะฮฺด้วย แต่ถ้าสงสัยไม่มีสิ่งใดเป็นวาญิบสำหรับเธอ

๑๑. การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง (อิซติมนาอฺ) เป็นการกระทำที่ฮะรอม ถ้าอสุจิหลั่งออกมาต้องฆุซุลด้วย

๑๒. หน้าที่ของบุคคลหลังจากฆุซุลแล้วรู้ว่า ฆุซุลไม่ทั่วตัวมีบางส่วนที่น้ำไหลไปไม่ถึง

ก. ถ้าเป็นฆุซุลฺอิรติมาซียฺ ต้องทำฆุซุลใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าจะรู้บริเวณที่โดนน้ำ หรือไม่รู้ก็ตาม

ข.  ถ้าเป็นฆุซุลตัรตีบียฺ มี ๒ ลักษณะ กล่าวคือ

๑. กรณีไม่รู้ว่าบริเวณใดที่น้ำไปไม่ถึง ต้องฆุซุลใหม่อีกครั้ง

๒. รู้ว่าบริเวณใดที่น้ำไปไม่ถึง

- ถ้าเป็นด้านซ้าย ให้ล้างส่วนนั้นใหม่ ถือว่าเพียงพอ

- ถ้าเป็นด้านขวา ให้ล้างส่วนนั้นใหม่และหลังจากนั้นให้ล้างด้านซ้ายอีกครั้ง*

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ถือว่าเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ

- ถ้าเป็นศีรษะและคอ ให้ล้างส่วนนั้นหลังจากนั้นให้ล้างด้านขวา และด้านซ้ายตามลำดับ



ความสงสัยเกี่ยวกับฆุซุลฺ

๑. ถ้าสงสัยในการฆุซุล (ไม่รู้ว่าฆุซุลแล้วหรือยัง) ต้องฆุซุลใหม่ สำหรับนมาซที่ผ่านมาแล้ว ถูกต้อง ส่วนนมาซต่อไปต้องฆุซลใหม่อีกครั้ง

๒. สงสัยในความถูกต้องของฆุซุล (ไม่รู้ว่าทำถูกหรือไม่)

๒.๑. หลังจากฆุซุลเสร็จแล้วจึงสงสัย ไม่ต้องใส่ใจ และให้ถือว่าฆุซุลถูกต้อง

๒.๒. สงสัยระหว่างฆุซุล (ก่อนที่จะเสร็จ)

๓. กรณีที่สงสัยการล้างบางส่วนทางด้านขวา

- ขณะนั้นกำลังล้างด้านซ้ายอยู่ ไม่ต้องสนใจในความสงสัย

- ยังไม่ได้ล้างด้านซ้าย ดังนั้น ให้ล้างส่วนที่สงสัยก่อน เมื่อเสร็จแล้วจึงล้างด้านซ้าย

 ๔. สงสัยการล้างบางส่วนของศีรษะและคอ

-  ถ้ากำลังล้างด้านขวาอยู่ไม่ต้องสนใจในความสงสัยนั้น

 - ยังไม่ได้ล้างด้านขวา ดังนั้น ให้ล้างส่วนที่สงสัยก่อนเมื่อเสร็จแล้วจึงล้างด้านขวา และด้านซ้ายตามลำดับ

๕. สงสัยบางส่วนของร่างกายว่าเป็นบริเวณภายนอกหรือภายในของร่างกาย เช่น รูจมูก รูหู ไม่จำเป็นต้องล้าง

๖. ระหว่างฆุซุลสงสัยว่า มีบางสิ่งกีดขวางน้ำอยู่บนร่างกายหรือไม่ ถ้าเป็นความสงสัยที่คนส่วนใหญ่ยอมรับ จำเป็นต้องพิสูจน์ แต่ถ้าไม่ก็ไม่จำเป็นต้องค้นหา



ฆุซุลมัซมัยยิต (สัมผัสผู้ตาย)

๑. ถ้าได้สัมผัสร่างคนตายขณะที่ร่างเย็นแล้ว แต่ยังไม่ได้ฆุซุลมัยยิต จำเป็นต้องฆุซุลมัซมัยยิต

๒.ประเด็นต่อไปนี้เมื่อสัมผัสมัยยิตแล้วไม่ต้องฆุซุลมัซมัยยิต

- ถ้าผู้ตายชะฮีดในสมรภูมิรบ

- สัมผัสผู้ตายก่อนที่ร่างจะเย็น

- สัมผัสผู้ตายหลังจากฆุซุลมัยยิตครบ ๓ น้ำแล้ว

๓. ฆุซุลมัซมัยยิตเหมือนกับฆุซุลญินาบะฮฺ แต่ถ้าต้องการนมาซต้องทำวุฎูอฺด้วย

 



ฆุซุลมัยยิต (การอาบน้ำคนตาย)

๑. ทุกครั้งเมื่อผู้ศรัทธาได้เสียชีวิตลงวาญิบกิฟาอีย์ สำหรับมุสลิมทุกคนต้องฆุซุล กะฟั่น นมาซมัยยิต และฝังร่างของผู้ตาย แต่ถ้ามีใครสักคนได้ทำหน้าที่นี้แล้ว มุสลิมคนอื่นจะหมดหน้าที่ไปโดยปริยาย

๒. วาญิบต้องฆุซุล ๓ ครั้ง ให้แก่ผู้ตาย

- ฆุซุลน้ำใบพุทรา

-ฆุซุลน้ำพิมเสน

-ฆุซุลน้ำเปล่า

๓. ฆุซุลมัยยิตเหมือนกับฆุซุลญินาบะฮฺ อิฮฺติยาฏวาญิบ ถ้าสามารถทำฆุซุลตัรตีบียฺได้ (ทำไปตามขั้นตอน) อย่าทำฆุซุลอิรติมาซียฺ



ฆุซุลที่เฉพาะสำหรับผู้หญิง

ประจำเดือน ระดูเกินกำหนด และโลหิตหลังคลอดบุตร

๑. เลือดที่ไหลหลังการคลอดบุตรเรียกว่า นิฟาซ หรือโลหิตหลังคลอดบุตร มีจำนวนเท่ากับประจำเดือนอย่างน้อย ๓ วัน อย่างมากไม่เกิน ๑๐ วัน

๒. เลือดที่มาเป็นประจำทุกเดือนเรียกวา ฮัยฎฺ หรือประจำเดือน มีอย่างน้อย ๓ วัน และอย่างมากไม่เกิน ๑๐ วัน

๓. เลือดที่บางครั้งมาหลังประจำเดือนหมดแล้วเรียกว่า อิสติฮาเฏาะฮฺ   หมายถึงระดูเกินกำหนด มี ๓ ชนิด กล่าวคือ

- ชนิดมาก หมายถึงเมื่อหญิงได้สอดสำลีเข้าไปทางช่องคลอดเพื่อพิสูจน์เลือด เลือดต้องชุ่มสำลีจนเปียกถึงอีกด้านหนึ่ง

- ชนิดปานกลาง หมายถึงเลือดแค่ชุ่มสำลี แต่ไม่เปียกไปถึงอีกด้านหนึ่ง

- ชนิดน้อย หมายถึงเลือดแค่เปื้อนสำลีเล็กน้อย แต่ไม่ถึงกับชุ่ม



เงื่อนไขสำหรับหญิงที่มีอิสติฮาเฎาะฮฺ

 ๑. สำหรับอิสติฮาเฏาะฮฺชนิดมาก ต้องฆุซุลฺ ๓ ครั้ง ครั้งแรกเพื่อนมาซซุบฮฺ ครั้งที่สองเพื่อนมาซซุฮริและอัซริ (กรณีนมาซรวมกัน) และครั้งที่สามเพื่อนมาซมัฆริบและอีชา (กรณีนมาซรวมกัน) แต่ถ้านมาซคนละเวลากัน เช่น ซุฮริเวลาหนึ่ง และอัซริอีกเวลาหนึ่ง ฉะนั้น ทุก ๆ นมาซต้องฆุซุลด้วย

๒. อิสติฮาเฏาะฮฺชนิดปานกลาง ถ้าเห็นเลือดก่อนนมาซซุบฮฺ ให้ทำวุฏูอฺ หลังจากนั้นให้ฆุซุล แล้วจึงนมาซซุฮริ   ส่วนนมาซอื่น ๆ ให้ทำวุฏูอฺเพียงอย่างเดียว ถ้าเห็นก่อนนมาซซุฮริ ให้ทำวุฏูอฺและฆุซุลฺสำหรับนมาซซุฮริ ส่วนนมาซอื่น ๆ ทำวุฏูอฺเพียงอย่างเดียวและให้ทำอย่างนี้เสมอไป

๓. อิสติฮาเฏาะฮฺชนิดน้อย ไม่ต้องฆุซุล แค่ชำระล้างบริเวณดังกล่าวให้สะอาด และวุฎูอฺทุกครั้งก่อนที่จะนมาซ



การทำตะยัมมุม

ตะยัมมุม คือ สิ่งทดแทนฆุซุลหรือวุฏูอฺ บางกรณีต้องตะยัมมุมแทนทั้งสองกรณี

๑. ไม่มีน้ำ และไม่สามารถหาน้ำได้

๒. น้ำเป็นอันตรายกับตน เช่น ถ้าใช้น้ำแล้วอาจทำให้ไม่สบายได้

๓. ถ้าใช้น้ำฆุซุลหรือวุฏูอฺแล้ว จะทำให้ตัวเอง หรือครอบครัว หรือเพื่อน หรือผู้ที่ร่วมทางมาด้วยต้องพบกับความกระหายจนถึงขั้นเสียชีวิตหรือไม่สบายได้ เช่นเดียวกันผู้ที่วาญิบต้องปกป้องชีวิตเขา ซึ่งเขากระหายน้ำถึงขั้นที่ว่าถ้าไม่ให้น้ำดื่มต้องตายแน่นอน หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงของตน

๔.ร่างกายและเสื้อผ้าเปื้อนนะญิซ และมีน้ำแค่ทำความสะอาดร่างกายกับเสื้อผ้าเท่านั้น ประกอบกับเสื้อผ้าตัวอื่นก็ไม่มี

๕.ไม่มีเวลาพอที่จะฆุซุลหรือวุฏูอฺ

๖. การใช้น้ำหรือภาชนะฮะรอมสำหรับตน เช่น เป็นของขโมยมา



วิธีทำตะยัมมุม



ขั้นตอนการทำตะยัมมุม มีดังต่อไปนี้

๑. ตั้งเจตนา (เนียต)

๒.ใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างตบลงบนพื้นดิน หรือบนสิ่งที่ตะยัมมุมถูกต้อง

๓.ใช้ฝ่ามือทั้งสองลูบหน้าผากจากไรผมขึ้นมาเหนือคิ้วและลงไปจนถึงปลายจมูก

๔.ใช้มือซ้ายลูบหลังมือขวา จากข้อมือจนถึงปลายนิ้ว

๕.ใช้มือขวาลูบหลังมือซ้าย ทำเหมือนกันกับมือขวา*

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิฮฺติยาฏวาญิบ หลังจากทำเสร็จแล้ว (ลูบหน้า) ให้ตบฝ่ามือทั้งสองลงบนฝุ่นดินอีกครั้ง แล้วให้เอามือซ้ายลูบหลังมือขวา และเอามือขวาลูบหลังมือซ้าย การตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ หรือฆุซลฺเหมือนกัน (มุนตะคับอิซติฟตาอาต คำถามที่ ๑๙)

ทุกขั้นตอนการตะยัมมุมต้องมีเจตนาเพื่อปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ และต้องรู้ว่าตะยัมมุมแทนวุฎูอฺหรือฆุซลฺ

 


สิ่งที่อนุญาตให้ตะยัมมุมได้  มีดังนี้

๑. ฝุ่นดิน

๒. หินละเอียด

๓. ชนิดของหินต่าง ๆ เช่น หินดำ หินอ่อน ปูนขาว (ก่อนการเผา) หินปูนและอื่น ๆ

อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ถูกต้องถ้าตะยัมมุมบนปูนขาวที่เผาแล้ว หรืออิฐมอญ และอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน (มุนตะคับอิซติฟตาอาต คำถามที่ ๑๗)

๔. ดินเผา เช่น อิฐ



สองสามประเด็นสำคัญ

๑.ตะยัมมุมแทนวุฏูอฺกับตะยัมมุมแทนฆุซุลไม่แตกต่างกัน ยกเว้น เนียต(ตั้งเจตนา)เท่านั้น 

๒. ผู้ที่ตะยัมมุมแทนวุฏูอฺ ถ้าสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฏูอฺเสียเกิดกับเขา ตะยัมมุมของเขาก็จะเสียไปด้วย

๓. ผู้ที่ทำตะยัมมุมแทนฆุซุล ถ้าสิ่งที่เป็นสาเหตุให้ฆุซุล เช่น การมีญูนุบ หรือการสัมผัสคนคายได้เกิดขึ้น ตะยัมมุมของเขาจะเสียไปด้วย

๔. ตะยัมมุมจะถูกต้องต่อเมื่อไม่สามารถวุฏูอฺหรือฆุซุลได้ ดังนั้น ถ้าไม่มีอุปสรรคอันใดแต่ได้ตะยัมมุมถือว่าไม่ถูกต้อง หรือมีอุปสรรคแต่ต่อมาอุปสรรคได้หมดไป เช่นไม่มีน้ำและได้พบน้ำในเวลาต่อมา ถือว่า ตะยัมมุมบาฏิล

๕.ถ้าตะยัมมุมแทนฆุซุลญินาบะฮฺ ถ้าต้องการนมาซไม่จำเป็นต้องวุฏูอฺอีก แต่ถ้าตะยัมมุมแทนฆุซลฺอื่น ๆ ถ้าต้องการนมาซต้องวุฎูอฺด้วย แต่ถ้าไม่สามารถวุฎูอฺได้ให้ตะยัมมุมแทนวุฎูอฺหลังจากนั้นจึงนมาซ

๖. ถ้าตะยัมมุมแทนฆุซุล หลังจากนั้นสิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้วุฎูอฺเสียได้เกิดกับเขา และสำหรับนมาซเวลาต่อมาไม่สามารถฆุซุลได้ ให้วุฎูอฺ ถ้าไม่สามารถวุฎูอฺได้ ให้ทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺ



เงื่อนไขที่ถูกต้องของตะยัมมุม

๑. อวัยวะที่ต้องตะยัมมุม หมายถึงหน้าผากและฝ่ามือทั้งสอง ต้องสะอาด

อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี อิฮฺติยาฏ หน้าผากและหลังมือต้องสะอาด ถ้าไม่สามารถทำความสะอาดอวัยวะส่วนที่จะตะยัมมุม ให้ทำตะยัมมุมไปเช่นนั้น แม้ว่าความสะอาดจะไม่ใช่เงื่อนไขก็ตาม

๒. ต้องลูบหน้าผากและหลังมือทั้งสองจากด้านบนลงล่าง

๓. สิ่งที่จะตะยัมมุมลงบนนั้นต้องสะอาด และได้รับอนุญาต

๔. ต้องทำไปตามขั้นตอน

๕. ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

๖. ต้องไม่มีสิ่งใดกีดขวางระหว่างมือกับหน้าผาก และระหว่างมือกับหลังมือขณะลูบ



คำถามท้ายบท

          ๑.ฆุซลฺมัยยิตมีน้ำกี่ประเภท อะไรบ้าง

          ๒.การสัมผัสมัยยิต ประเภทใดไม่ต้องฆุซลฺมัซมัยยิต

          ๓.ผู้ที่ตายในสนามรบประเภทใดไม่ต้องฆุซลฺมัยยิต

          ๔.ฆุซลฺสำหรับผู้หญิงมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

          ๕.อิสติฮาเฏาะฮฺหมายถึงอะไร มีกี่ประเภท และประเภทใดที่ไม่จำเป็นต้องฆุซลฺ

          ๖.ในกรณีใดบ้างที่ต้องทำตะยัมมุมแทนการวุฏูอฺและฆุซลฺ

 

          ๗.อนุญาตให้ทำตะยัมมุมบนสิ่งใดบ้าง

          ๘.ขั้นตอนในการทำตะยัมมุมมีอะไรบ้าง

          ๙.เงื่อนไขของการทำตะยัมมุมมีอะไรบ้าง



บทเรียนที่ ๙ นมาซ

และเจ้าจงดำรงการนมาซ ในสองช่วง กลางวัน และกลางคืน (ฮูด/๑๑๖)

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เกี่ยวกับนมาซและเงื่อนไข นมาซมีทั้งวาญิบและมุสตะฮับ นมาซวาญิบแบ่งออกเป็นนมาซประจำวันมีเวลาทำที่เฉพาะเจาะจง หรือนมาซที่บางครั้งเป็นวาญิบเนื่องจากมีสาเหตุอื่นเป็นองค์ประกอบ มิได้เป็นวาญิบทุกวัน



ประเภทของนมาซ



นะมาซวาญิบ

๑.      วาญิบประจำวัน ได้แก่นมาซซุบฮฺ ซุฮริ อัซริ มัฆริบ และอิชาอฺ

๒.      วาญิบบางครั้ง ได้แก่

•      นมาซอายาต

•      นมาซเฏาะวาฟวาญิบ

•      นมาซมัยยิต

•      นมาซเกาะฎอแทนบิดา (อายะตุลลอฮฺคอเมเนอี : แทนทั้งบิดามารดา)

•      นมาซนะซัรวาญิบ (บนบาน)



นมาซมุซตะฮับ
นมาซต่าง ๆ ที่เป็นมุซตะฮับมีจำนวนมากมาย

 



เวลาของนมาซประจำวัน

นมาซวาญิบประจำวัน มี ๓ ช่วง ๕  เวลา  ซึ่งรวมทั้งหมดมี ๑๗ เราะกะอัตได้แก่

๑.นมาซซุบฮฺ มี ๒ เราะกะอัต ทำตอนเช้าตรู่ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น

๒.นมาซช่วงกลางวันมี ๒ เวลาได้แก่นะมาซซุฮริกับอัซริ อย่างละ ๔ เราะกะอัต

๓.นมาซช่วงกลางคืน (หลังพระอาทิตย์ตกดิน) มี ๒ เวลาได้แก่ นมาซมัฆริบ ๓ เราะกะอัตกับนมาซอิชาอฺ ๔ เราะกะอัต

คำถามแรกที่ถามเกี่ยวกับนมาซคือ นมาซเหล่านี้จะทำเมือไหร่

๑.เวลาของนมาซซุบฮฺ เมื่อแสงสีเงินที่สองจับขอบฟ้าถือว่าเข้าเวลานมาซซุบฮฺ เวลาของนมาซนับตั้งแต่อะซานซุบฮฺจนถีงพระอาทิตย์ขึ้น

๒.เวลาของนมาซซุฮริและอัซริ ตั้งแต่อะซานซุฮฺริชัรอียฺจนถึงมัฆริบ

อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี ตั้งแต่อะซานซุฮริชัรอียฺ และช่วงเวลาสุดท้ายของนะมาซอัซริ จนถึงพระอาทิตย์ตกดิน

ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซซุฮริ นับตั้งแต่เริ่มเข้าเวลาซุฮริชัรอียฺ ( บ่ายลงไป) ไปจนถึงช่วงเวลาที่ได้ทำนมาซสี่เราะกะอัตเสร็จ ช่วงเวลานี้ได้ถูกจำกัดไว้เฉพาะนมาซซุฮริเท่านั้นที่สามารถทำได้

ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอัซริ นับตั้งแต่ช่วงเวลาหนึ่งจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สามารถทำได้เฉพาะนมาซอัซริเท่านั้น

ช่วงเวลาติดต่อกันระหว่างนมาซซุฮฺริกับนมาซอัซริ นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดเวลาเฉพาะสำหรับนมาซซุฮริเป็นต้นไปจนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอัซริ

ในช่วงเวลาติดต่อกันระหว่างนมาซซุฮริกับอัซรินั้น สามารถทำนมาซติดต่อกันได้โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป

แต่อะฮ์ลิซซุนนะฮฺเชื่อว่า นับตั้งแต่เริ่มเวลาซุฮรฺชัรอีย์ (บ่ายลงไป) จนกระทั่งเงาของทุกสิ่งได้ทอดเท่ากับตัวจริงของมัน ช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกจำกัดไว้เฉพาะสำหรับนมาซซุฮริเพียงอย่างเดียว จึงไม่อนุญาตให้ทำนมาซอัซริในเวลานั้น และนับตั้งแต่ช่วงดังกล่าวไปจนถึงเวลามัฆริบเป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอัซริ ดังนั้นไม่สามารถทำนมาซซุฮริได้

โดยหลักการของชีอะฮฺหลังจากเข้าสู่เวลาซุฮริชัรฺอีย์แล้วเมื่อทำนมาซซุฮริเสร็จสามารถทำนมาซอัซริต่อได้ทันที โดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ล่าออกไป หรือสามารถปล่อยเวลานมาซซุฮริให้ล่าออกไป จนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอัซริ หมายถึงนมาซซุฮริได้เสร็จก่อนที่จะเข้าเวลาดังกล่าว หลังจากนั้นจึงทำนมาซอัศริ การทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการนมาซติดต่อกัน ถึงแม้ว่าเป็นมุซตะฮับให้ทำมาซซุฮริหลังจากเวลาบ่าย และทำนมาซอัซริเมื่อเงาของทุกสิ่งได้ทอดเท่ากับตัวจริงของมันก็ตาม

๓.เวลาของนมาซมัฆริบและอิชาอฺ จากมัฆริบจนถึงครึ่งคืนชัรอียฺ

ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซมัฆริบ นับตั้งแต่เริ่มเข้าเวลามัฆริบชัรอียฺ จนกระทั่งทำนมาซสามเราะกะอัตเสร็จ ช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกจำกัดไว้สำหรับน นมาซมัฆริบเท่านั้น

ช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอฺ นับตั้งแต่ช่วงเวลาหนึ่งจนถึงครึ่งคืนชัรฺอียฺ ซึ่งช่วงนั้นมีเวลาพอแค่ทำนมาซอิชาอฺเพียงอย่างเดียว ในเวลาเพียงเล็กน้อยนั้นสามารถทำได้เฉพาะนมาซอิชาอฺ ไม่อนุญาตให้ทำนมาซอื่น

ช่วงเวลาร่วมระหว่างนมาซมัฆริบกับนมาซอิชาอฺ นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดเวลาเฉพาะสำหรับนมาซมัฆริบไปจนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอฺ