หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20545
ดาวน์โหลด: 4212

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20545 / ดาวน์โหลด: 4212
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

โดยหลักการของชีอะฮฺเชื่อว่า ในช่วงเวลาร่วมระหว่างนมาซมัฆริบกับนมาซอิชาอฺนั้น สามารถทำนมาซติดต่อกันได้โดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาให้ห่างออกไป

แต่อะฮฺลิซซุนนะฮฺเชื่อว่า นับตั้งแต่พระอาทิตย์ตกดินจนถึงช่วงแสงอาทิตย์ทางทิศตะวันตกได้หมดลงเป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซมัฆริบ จึงไม่อนุญาตให้ทำนมาซอิชาอฺในช่วงเวลาดังกล่าว และตั้งแต่ช่วงแสงอาทิตย์ทางทิศตะวันตกหมดลงไป จนถึงครึ่งคืนชัรฺอียฺ เป็นช่วงเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอฺ ไม่สามารถทำนมาซมัฆริบได้

เมื่อเข้าเวลามัฆริบชัรฺอีย์ ได้เริ่มนมาซเมื่อเสร็จแล้วสามารถทำนมาซอิชาอฺต่อได้ทันที โดยไม่ต้องทิ้งช่วงเวลาล่าออกไป หรือปล่อยเวลานมาซมัฆริบให้ล่าออกไป จนถึงช่วงเริ่มต้นเวลาเฉพาะสำหรับนมาซอิชาอฺหมายถึงนมาซมัฆริบได้เสร็จก่อนที่จะเข้าเวลาดังกล่าว หลังจากนั้นจึงได้ทำนมาซอิชาอฺ การทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการนมาซติดต่อกันระหว่างนมาซมัฆริบกับนะมาซอิชาอฺ ถึงแม้ว่าเป็นมุซตะฮับให้นมาซมัฆริบหลังเวลามัฆริบชัรฺอีย และนะมาซอิชาอฺหลังจากแสงอาทิตย์ทางทิศตะวันตกได้หมดลงก็ตาม

 



เวลาอะซานซุบฮฺ

ใกล้เวลาอะซานซุบฮฺ จะสังเกตเห็นว่าแสงสีเงินทางทิศตะวันออกจะเคลื่อนสู่ด้านบน ซึ่งเรียกว่า ฟัจร์เอาวัล และเมื่อแสงสีเงินได้กระจายออก เรียกว่า ฟัจร์ซานี ซึ่งถือว่าเริ่มต้นเวลานมาซซุฮบฮฺ

อายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี การปรากฏแสงสีเงินที่สอง ซึ่งเป็นเวลาเริ่มต้นของนะมาซซุบฮฺ และไม่มีความแตกต่างกันระหว่างคืนที่มีท้องฟาโปร่งใสกับคืนที่ท้องฟ้ามืดครึ้ม


เวลาซุฮรฺ

ถ้าเอาไม้หรือสิ่งที่คล้ายกันปักลงพื้นให้ตั้งฉาก ๙๐ องศา เมื่อเงาไม้เหลือน้อยลง และด้านตรงข้ามเริ่มทอดเงามากขึ้น ถือว่าเป็นเวลาซุฮรฺชัรอียฺ เริ่มเข้าเวลานะมาซซุฮรฺ


เวลามัฆริบ

เวลามัฆริบ จะสังเกตเห็นว่าแสงสีแดงทางทิศตะวันออก ซึ่งได้ปรากฏขึ้นหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน เริ่มหายไป

ครึ่งคืนชัรอียฺ

ถ้าได้แบ่งช่วงห่างระหว่างพระอาทิตย์ตกดินกับอะซานซุบฮฺออกเป็นสองครึ่ง ช่วงระหว่างกึ่งกลางเรียกว่า ครึ่งคืนชัรอียฺ เป็นช่วงเวลาสุดท้ายของนะมาซอิชาอฺ และจนถึงเวลานั้นถ้าตั้งใจ หรือมีอุปสรรคเช่น ลืมหรือนอนหลับไม่ได้นะมาซมัฆริบและอิชา อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้นมาซมัฆริบและอิชาอฺ โดยไม่ต้องเนียตอะดา หรือเกาะฎอ



เงื่อนไขเกี่ยวกับเวลานะมาซ

๑. นะมาซที่นอกเหนือจากนมาซวาญิบประจำวันแล้ว นมาซวาญิบอื่นไม่มีเวลาเฉพาะเจาะจง ทว่าขึ้นอยู่กับเวลา ซึ่งเวลาจะเป็นสาเหตุทำให้นมาซเป็นวาญิบ เช่น นมาซอายาต ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น การเกิดแผ่นดินไหว จันทรุปราคา สุริยุปราคาหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอื่น ๆ หรือนมาซมัยยิตจะเป็นวาญิบเมื่อมีมุอฺมินเสียชีวิตลง และนมาซวาญิบอื่นก็เช่นเดียวกัน

๒. .ถ้านมาซทั้งหมดทำก่อนเวลา หรือตั้งใจจะนมาซก่อนที่จะถึงเวลา บาฏิล

•      ถ้านมาซในเวลา วิชาฟิกฮฺเรียกว่า นมาซตรงเวลา

•      ถ้านมาซหลังเวลาผ่านไปแล้ว วิชาฟิกฮฺเรียกว่า เกาะฎอนมาซ (ชดใช้)

๓. เป็นมุซตะฮับให้นมาซตรงเวลาในช่วงเริ่มเข้าเวลา ยิ่งใกล้เวลาเริ่มต้นนมาซเท่าใดยิ่งเป็นการดี นอกเสียจากบางกรณีถ้าปล่อยเวลานมาซให้ล่าออกไปจะเป็นการดีกว่า เช่น รอเวลาเพื่อจะนมาซญะมาอะฮฺ (นมาซรวมกัน)

๔.กรณีที่เวลานมาซเหลือน้อย ถ้าทำสิ่งที่เป็นมุซตะฮับจะเป็นสาเหตุทำให้บางส่วนของนมาซ ต้องทำนอกเวลา ดังนั้น ต้องไม่ทำสิ่งที่เป็นมุซตะฮับ เช่น ถ้ากล่าวดุอาอฺกุนูต จะทำให้เสียเวลา ต้องไม่กล่าว

๕.ถ้าก่อนเดินทางได้นมาซซุฮริและอัซริตรงเวลา เมื่อไปถึงยังจุดหมายปลายทางปรากฏว่ายังไม่เข้าเวลาะมาซของที่นั่น ไม่จำเป็นต้องนมาซใหม่อีกครั้ง เช่นเดียวกันถ้าไปถึงแล้วเวลานมาซยังเหลืออยู่

๖. หลังจากพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้นมาซซุบฮฺได้ออกเดินทาง และไปถึงยังจุดหมายปลายทางอีกที่หนึ่งก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้น จำเป็นต้องนมาซซุบฮฺโดยเนียตนมาซในเวลา

๗. ถ้ายังไม่ได้นมาซซุฮริ และอัซริ หลังจากมัฆริบได้ออกเดินทาง (นมาซของเขาต้องเกาะฎอ) แต่เมื่อขึ้นเครื่องบินขึ้นไปได้สักระยะหนึ่งได้เห็นพระอาทิตย์ ดังนั้น ต้องนมาซในเครื่องบินก่อนที่เวลาจะหมด โดยเนียตนมาซในเวลา ถึงแม้ว่าเวลานมาซจะเหลือแค่เพียงเราะกะอัตเดียวก็ตาม

๘.ขณะที่ออกเดินทางยังไม่เข้าเวลานมาซ เช่น เครื่องบินออกก่อนอะซานซุบฮฺเล็กน้อย แต่ขณะที่อยู่ในเครื่องบินได้เวลานมาซพอดีและกำลังจะหมดไป หมายจะไปถึงจุดหมายปลายทางหลังพระอาทิตย์ขึ้น ดังนั้น ต้องนมาซในเครื่องบิน



อัล-กิบละฮฺ

แน่นอนเราย่อมมองเห็นเจ้าแหงนหน้าขึ้นไปในฟากฟ้า  ขอยืนยันว่า เราจักผินเจ้ากลับมาสู่กิบละฮฺเดิมที่เจ้าพึงพอใจอย่างแน่นอน  ดังนั้น เจ้าจงผินหน้าของเจ้าไปทางมัสยิดอัลฮะรอม (กะอฺบะฮฺ) เถิด และไม่ว่าสูเจ้าจะอยู่แห่งหนใด สูเจ้าจงหันหน้าไปทางทิศนั้น (อัล-บะเกาะเราะฮฺ/๑๔๔)



กิบละฮฺ และกฎเกณฑ์ต่างๆ

๑. บัยตุลลอฮฺ   เป็นวิหารที่ตั้งอยู่ในมัสญิด อัล-ฮะรอม ณ เมืองมัก-กะฮฺ หรือที่เรียกว่า กิบละฮฺ เป็นวาญิบสำหรับบรรดามุสลิมทั้งหลายเวลานมาซต้องหันหน้าไปสู่ นอกจากนั้นแล้วการฝังศพ และการเชือดสัตว์ก็ต้องหันหน้าไปสู่กิบละฮฺเช่นกัน  

๒.ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในมักกะฮฺและอยู่ห่างไกลออกไป ถ้านมาซโดยหันหน้าในลักษณะที่สามารถกล่าวได้ว่า หันหน้าไปทางกิบละฮฺ ถือว่าเพียงพอ

แนวทางพิสูจน์กิบละฮฺ

          ๑.มั่นใจตัวเอง หมายถึงรู้แน่นอนว่ากิบละฮฺอยู่ทางไหน

          ๒.ผู้อาดิล ๒ คนได้ยืนยัน

          ๓.บุคคลที่ได้ค้นหากิบละฮฺโดยอาศัยหลักวิชาการ ได้บอกกล่าวด้วยความมั่นใจ

          ๔.ดูจากช่องมิฮฺรอบในมัสญิด หรือดูจากหลุมฝังศพของมุสลิม

หน้าที่ของบุคคลที่ไม่รู้ทิศกิบละฮฺ

ถ้าหลังจากได้พยายามค้นหากิบละฮฺแล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ให้นมาซโดยหันหน้าไปทางทิศใดก็ได้ที่คิดว่าหน้าจะเป็นกิบละฮฺ แต่ถ้าไม่พบอีก และยังพอมีเวลาเหลือ ให้นมาซโดยหันหน้าไปทั้งสี่ทิศ  แต่ถ้าไม่มีเวลาพอที่จะทำเช่นนั้น ให้นมาซแค่สามทิศ  หรือสองทิศ หรือนึ่งทิศตามลำดับ หลังจากนั้นเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดกรณีดังต่อไปนี้ 

 

๑.เขาไม่อาจรับรู้ได้ว่า กิบละฮฺอยู่ ณ ทิศใด นมาซที่ทำแล้วถือว่าเพียงพอ

๒.หลังจากนั้นรู้ว่าได้นมาซโดยหันหน้าไปทางกิบละฮฺ นะมาซถูกต้อง

๓.หลังจากนนมาซรู้ว่าได้นมาซโดยหันหลัง หรือหันไปทางขวา หรือทางซ้ายของกิบละฮฺ ถ้ารู้ในขณะที่ยังมีเวลาเหลือ ต้องนมาซใหม่อีกครั้ง แต่ถ้ารู้หลังจากเวลานมาซได้ผ่านไปแล้ว นมาซถูกต้อง แต่อิฮฺติยาฏมุซตะฮับให้เกาะฎอนมาซ

๔.หลังจากนมาซรู้ว่าได้หันผิด แต่ไม่ถึงขั้นที่ว่าได้หันออกไปทางขวา หรือทางซ้ายของกิบละฮฺ นมาซถูกต้อง

หมายเหตุ นมาซโดยหันทั้งสี่ทิศนั้น แน่นอนต้องมีทิศหนึ่งที่หันตรงกิบละฮฺ หรือเบี่ยงเบนออกจากกิบละฮฺเล็กน้อย

ถ้านมาซโดยหันไปสามหรือสองทิศ ถ้าทิศหนึ่งตรงกับกิบละฮฺ หรือเบี่ยงเบนออกจากกิบละฮฺเล็น้อย ถือว่าเพียงพอ



เสื้อผ้าของผู้นะมาซ

หนึ่งในปัญหาสำคัญก่อนเริ่มนมาซ ที่จำเป็นต้องกล่าวถึงคือ เสื้อผ้าและเงื่อนไข



ขนาดที่ต้องปกปิด

๑.ถ้าเป็นชายต้องปกปิดอวัยวะพึงสงวน และเป็นการดีให้ปิดตั้งแต่สะดือจนถึงหัวเข่า

๒.ถ้าเป็นหญิงต้องปกปิดทั้งร่างกาย ยกเว้นบางส่วน เช่น

๑.      ใบหน้า เฉพาะส่วนที่ล้างทำวุฎูอฺ

๒.      มือทั้งสองจนถึงข้อมือ

๓.      เท้าทั้งสองจนถึงข้อเท้า

๓. การปกปิดมือ เท้า และใบหน้าของผู้หญิงให้มิดชิดนอกเวลานมาซดังที่กล่าวไปแล้ว ในนมาซไม่เป็นวาญิบ ถึงแม้ว่าจะปิดให้มิดชิดเช่นนั้นไม่เป็นไรก็ตาม

๔.เสื้อผ้าที่สวมใส่นมาซต้องอยู่มีเงื่อนไขดังนี้

๑.      ต้องสะอาดปราศจากนะยิซ

๒.      ต้องได้รับอนุญาต ไม่ใช่ขโมยมา

๓.      ต้องไม่ทำมาจากซากสัตว์ที่ตายโดยมิได้เชือดตามศาสนบัญญติ ถึงแม้ว่าจะเป็นหมวกหรือเข็มขัดก็ตาม

๔.      ต้องไม่ทำมาจากสัตว์ที่เนื้อฮะรอม เช่นทำจากหนังเสือ งู หมู และอื่น ๆ ที่อยู่ในประเภทเดียวกัน

๕.      ถ้าผู้นมาซเป็นชาย เสื้อผ้าต้องไม่ใช่ผ้าตาดทอง หรือผ้าไหมบริสุทธิ์

๖.      เสื้อผ้าของผู้นมาซทำมาจากอวัยวะของสัตว์ที่เนื้อฮะรอม ถึงแม้ว่าจะเป็นอวัยวะที่ไม่มีชีวิต เช่น ขน ผม ถ้านมาซกับเสื้อผ้าดังกล่าวบาฏิล

๗.      นอกจากเสื้อผ้าของผู้นมาซแล้ว ต้องไม่สวมใส่ข้าวของเครื่องใช้อื่น ๆ ที่ทำมาจากสัตว์ที่เนื้อฮะรอม ด้วยเหตุนี้ ถ้าสายนาฬิกาข้อมือ เข็มขัด กระดุมและอื่น ๆ ทำมาจากสัตว์ที่เนื้อฮะรอม นมาซบาฏิล

๘.      ถ้าใส่เสื้อผ้าที่ทำมาจากขน หรือผมของสัตว์ที่เนื้อฮะลาล นมาซถูกต้อง เนื่องจากไม่เป็นนะญิซ ไม่ใช่อวัยวะส่วนที่มีชีวิตของซากสัตว์ และไม่ใช่สัตว์ที่เนื้อฮะรอม

๙.      เสื้อผ้าที่นำเข้ามาจากประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ถ้าทำมาจากอวัยวะส่วนที่มีชีวิตของสัตว์ และนมาซกับเสื้อผ้านั้นนมาซบาฏิล เว้นเสียแต่ได้เชือดตามหลักการอิสลาม

๑๐.    หากส่วนหนึ่งของเสื้อผ้าแม้ว่าจะเป็นส่วนที่เล็กที่สุด ทำมาจากซากสัตว์ ถ้านมาซกับเสื้อนั้น นมาซบาฏิล

๑๑.    .ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำมาจากอวัยวะส่วนที่มีชีวิตของซากสัตว์ แม้ว่าจะไม่ใช่เสื้อผ้า อิฮฺติยาฏวาญิบต้องไม่ใส่ทำนมาซ

๑๒.    ถ้าสงสัยว่าเสื้อผ้าทำมาจากสัตว์ที่เนื้อฮะลาลหรือฮะรอม มาจากประเทศมุสลิม หรือไม่ใช่มุสลิม และนมาซกับเสื้อผ้านั้นไม่เป็นไร

๑๓.    ถ้านมาซกับเสื้อผ้าที่ทำมาจากอวัยวะของสัตว์ที่เนื้อฮะรอม เนื่องลืมหลังจากนั้นนึกได้ เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ทำนมาซใหม่อีกครั้ง

          และนอกจากเสื้อผ้าแล้ว ร่างกายของผู้นมาซต้องสะอาดปราศจากนะญิซ



สภาพดังต่อไปนี้นมาซด้วยร่างกาย และเสื้อผ้าเปื้อนนะญิซ บาฏิล

๑.ตั้งใจนมาซ ขณะที่ร่างกายและเสื้อผ้าเปื้อนนะญิซ หมายถึงรู้ว่าทั้งสองเปื้นนะญิซแต่เจตานาที่จะทำเช่นนั้น

๒.ไม่ศึกษาปัญหา และด้วยเหตุที่ไม่รู้จึงได้นมาซขณะที่ร่างกาย และเสื้อผ้าเปื้อนนะญิซ

๓.รู้ว่าร่างกายและเสื้อผ้าเปื้อนนะญิซ แต่ลืมและได้สวมใส่เสื้อผ้าดังกล่าวนมาซ



สภาพดังต่อไปนี้นมาซด้วยร่างกาย และเสื้อผ้าเปื้อนนะยิซ นะมาซถูกต้อง

๑.ถ้าไม่รู้ว่าร่างกายหรือเสื้อผ้าเปื้นนะยิซ และได้รู้หลังจากนมาซเสร็จแล้ว

๒.เนื่องจากบาดแผลบนร่างกาย ได้ทำร่างกายและเสื้อผ้าเปื้อนนะญิซ ซึ่งการทำความสะอาดหรือการเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นเรื่องยุ่งยากและลำบาก

๓.ร่างกายหรือเสื้อผ้าของผู้นมาซเปื้อนเลือด แต่มีขนาดเล็กกว่าเหรียญดิรฮัม (ขนาดเท่าเล็บหัวแม่มือโดยประมาณ)

๔.มีความจำเป็นต้องนมาซกับเสื้อผ้า หรือ ร่างกายที่เปื้อนนะญิซ เช่น ไม่มีน้ำล้าง

หมายเหตุ ๑.ถ้าผ้าชิ้นเล็ก ๆ ของผู้นมาซ เช่น ถุงมือ ถุงเท้า และอื่น ๆ เปื้อนนะยิซ หรือผ้าเช็ดหน้าเปื้อนนะญิซอยู่ในกระเป๋า ถ้าไม่ได้ทำมาจากอวัยวะของสัตว์ที่เนื้อฮะรอมหรือซากสัตว์ ไม่เป็นไร

          ๒. ให้สวมใส่ อะบา (เสื้อคลุม) เสื้อผ้าสีขาว เสื้อผ้าที่สะอาดที่สุด ใส่น้ำหอม และสวมแหวนอะกีก (หินโมรา) เวลานมาซ เป็นมุซตะฮับ

          ๓.ใส่เสื้อผ้าสีดำ เสื้อผ้าตัวเล็กและคับกว่าตัว เสื้อผ้าที่มีรูปภาพต่าง ๆ ปลดกระดุมเสื้อขณะนมาซ เป็นมักรูฮฺ



คำถามท้ายบท

          ๑.นะมาซวาญิบมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

          ๒.เวลาของนะมาซซุฮริและอัซริเริ่มนับจากช่วงใด และหมดช่วงใด

          ๓.ครึ่งคืนชัรอียฺหมายถึงอะไร

          ๔.หลังจากนมาซเสร็จแล้วรู้ว่า ได้หันหลังให้กิบละฮฺนมาซถูกต้องหรือไม่

          ๖.ถ้าการนุ่งกางเกงขาสั้นนมาซถูกต้องหรือไม่

          ๗.เงื่อนไขเสื้อผ้าของผู้นมาซมีอะไรบ้าง

          ๘.หากรู้หลังจากนมาซว่าได้ใส่เสื้อผ้าเปื้อนนะญิซนมาซ ฮุกุ่มเป็นอย่างไร

          ๙.สภาพใดถ้านมาซด้วยร่างกาย และเสื้อผ้าเปื้อนนะยิซ นมาซถูกต้อง



บทเรียนที่ ๑๐ สถานที่นมาซ



สถานที่นมาซต้องมีเงื่อนไข  ดังต่อไปนี้

          ๑.ต้องได้รับอนุญาต (ไม่ใช่ขโมยมา)

          ๒.ต้องไม่เคลื่อนไหว (เช่นรถโดยสารขณะที่แล่น)

          ๓.ต้องไม่แคบหรือมีหลังคาเตี้ย เพื่อจะได้ยืน รุกุอฺ และซุญูดได้สะดวกและถูกต้อง

          ๔.บริเวณที่ลงซัจญ์ดะฮฺต้องสะอาดปราศจากนะยิซ     

          ๕. บริเวณที่ลงซัจญ์ดะฮฺ ต้องไม่สูงหรือต่ำกว่าพื้นที่ ๆ คุกเข่า เกินกว่า ๔ นิ้วมือเรียงติดกัน และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ บริเวณที่ปลายนิ้วหัวแม่เท้าจรดพื้นด้วย  

๖.สถานที่นะมาซถ้านะญิซ ต้องไม่เปียกถึงขั้นที่ว่าซึมสู่เสื้อผ้าหรือร่างกายได้



เงื่อนไขสถานที่นมาซ

          ๑.นมาซบนสถานที่ขโมย เช่น ในบ้านที่เข้าไปโดยเจ้าของไม่ได้อนุญาต บาฏิล

          ๒.กรณีจำเป็น ถ้านมาซบนสิ่งที่เคลื่อน เช่น รถไฟ หรือเครื่องบิน ในสถานที่มีหลังคาเตี้ย สถานที่คับแคบ หรือบนพื้นที่ไม่เท่ากัน ไม่เป็นไร

          ๓.เงื่อนไขประการหนึ่งของสถานที่นมาซคือ ต้องไม่เคลื่อนไหว ดังนั้น ถ้านมาซบนเครื่องบิน บนเรือ บนรถไป หรือบนรถโดยสารขณะที่แล่นอยู่ ถ้าสั่นมากจนทำให้ร่างกายสั่นไปด้วย ไม่ถูกต้อง แต่ถ้าจำเป็นต้องนมาซในสภาพเช่นนั้น เช่น ถ้ารอจนกว่ารถจะจอดแล้วค่อยนมาซ เวลานมาซจะหมดและต้องเกาะฎอ (ชดใช้) ดังนั้น ให้นมาซ แต่จำเป็นต้องรักษาเงื่อนไขอื่น ๆ ของนมาซเท่าที่สามารถทำได้ หมายถึงให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

- ต้องทำวุฏูอฺแต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้ตะยัมมุม และถ้าทำตะยัมมุมไม่ได้ เป็นอิฮฺติยาฏมุซตะฮับให้นมาซไปเช่นนั้น และให้เกาะฎอภายหลัง*

          *ท่านอายะตุลลอฮฺอะลีคอเมเนอี เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ

          -ถ้าเป็นไปได้ให้ยืนนะมาซ ถ้ายืนไม่ได้ให้นั่ง

          - ต้องรักษาทิศกิบละฮฺ ดังนั้น ถ้าพาหนะโดยสารได้หันออกจากกิบละฮฺ ผู้นมาซต้องหันกลับไปทางกิบละฮฺทันที

          -การซัจญ์ดะฮฺบนกระดาษถูกต้อง กรณีที่ไม่มีดินหรือหิน เพื่อซัจญ์ดะฮฺ

          -ถ้าไม่สามารถรักษาเงื่อนไขบางส่วนของนมาซไว้ได้ ให้นมาซด้วยวิธีใดก็ได้ที่สามารถทำได้

          ๔.ต้องเป็นสถานที่ ๆ ได้รับอนุญาต ซึ่งผู้นมาซต้องรู้ว่าสถานที่ขโมยนั้นเป็นอย่างไร ดังนั้น สถานที่ ๆ ไม่รู้ว่าขโมยหรือเปล่า ถ้านะมาซบนนั้นไม่เป็นไร

          ๕.ถ้านมาซบนสถานที่ ๆ ไม่รู้ว่าขโมย แต่หลังจากนมาซได้รู้ นมาซถูกต้อง

          ๖.ถ้าจำเป็นต้องนมาซบนสถานที่ขโมย ไม่เป็นไร

          ๗.ต้องรักษามารยาทขณะนมาซ ดังนั้น ต้องไม่นมาซข้างหน้าหลุมฝังศพของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ.)

          ๘.เป็นมุสตะฮับ ให้นมาซในมัสญิด ซึ่งอิสลามได้แนะนำ และกำชับไว้อย่างมาก



เงื่อนไขของมัสญิด



การกระทำเกี่ยวกับมัสญิดต่อไปนี้เป็นฮะรอม

          ๑.การประดับประดามัสยิดด้วยทองคำ (เป็นอิฮฺติยาฏวาญิบ)

          ๒.ขายมัสยิด ถึงแม้ว่าจะผุพังแล้วก็ตาม

          ๓.ทำให้มัสยิดนะญิซ ดังนั้น ถ้านะยิซจำเป็นต้องรีบทำความสะอาดทันที 

          ๔.การนำเอาดิน และทรายของมัสยิดออกไป เว้นเสียแต่ว่าดินมีมาก

การกระทำเกี่ยวกับมัสญิดต่อไปนี้เป็นมุซตะฮับ

          ๑.ไปมัสญิดก่อนคนอื่นและออกจากมัสญิดเป็นคนสุดท้าย

          ๒.เปิดไฟในมัสยิด

          ๓.ทำความสะอาดมัสยิด

          ๔.ก้าวเท้าขวาเข้ามัสยิด ส่วนเวลาออกให้ก้าวเท้าซ้ายออกก่อน

          ๕.นมาซ มุซตะฮับ ตะฮียะตุลมัสญิด ๒ เราะกะอัต

          ๖. สวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุด และใส่น้ำหอมเมื่อไปมัสญิด



การกระทำเกี่ยวกับมัสญิดต่อไปนี้เป็นมักรูฮฺ

          ๑. สร้างหอสูงกว่าหลังคามัสญิด       

          ๒.ผ่านมัสญิด ในฐานะที่เป็นทางผ่านโดยไม่ได้เข้าไปนมาซ

          ๓.ถ่มน้ำลาย หรือสั่งน้ำมูกในมัสญิด

          ๔.นอนในมัสญิด เว้นเสียแต่ว่าจำเป็น

          ๕.ตะโกนส่งเสียงดังในมัสญิด ยกเว้นอะซาน

          ๖. ซื้อขายสิ่งของในมัสญิด

          ๗.พูดคุยเรื่องทางโลกในมัสญิด

          ๘. ไปมัสญิด ทั้งที่ปากมีกลิ่นเหม็นหัวหอม และกระเทียมสร้างความรำคาญให้คนอื่น

          ๙. บ้านอยู่ติดกับมัสญิด และไม่มีอุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น แต่นมาซที่อื่นที่ไม่ใช่มัสญิด

          ๑๐ เป็นมุซตะฮับ ให้ปฏิบัติกับคนที่ไม่เข้ามัสญิด เช่น อย่ารับประทานอาหารร่วมกับเขา อย่าให้คำปรึกษา และอย่าปรึกษาการงานกับเขา อย่าเป็นเพื่อนบ้านกับเขา อย่างแต่งงานกับคนในตระกูลของเขา และอย่ายกลูกสาวให้แต่งงานกับเขา



การอะซานและอิกอมะฮฺ

          ๑.เป็นมุซตะฮับสำหรับผู้นมาซทุกคนก่อนที่จะนมาซวาญิบประจำวัน ให้อะซาน อิกอมะฮฺ และหลังจากนั้นจึงเริ่มนมาซ

 

คำกล่าวอะซานและอิกอมะฮฺดังนี้ 

         

อะซาน

          ให้กล่าว อัลลอฮุอักบัร ๔ ครั้ง 

          อัชฮะดุอันลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ๒ ครั้ง

     อัชฮะดุอันนะมุอัมมะดัรเราะซูลุลลอฮฺ ๒ ครั้ง

           อัชฮะดุอันนะอะลียันวะลียุลลอฮฺ ๒ ครั้ง

     ฮัยยะอะลัซเซาะลาฮฺ  ๒ ครั้ง

     ฮัยยะอะลัลฟะลาฮฺ  ๒ ครั้ง

     ฮัยยะอะลาค็อยริลอะมัล ๒ ครั้ง

     อัลลอฮุอักบัร  ๒ ครั้ง

     ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ  ๒ ครั้ง 

           

คำกล่าวอิกอมะฮ.

อัลลอฮุอักบัร ๒ ครั้ง 

          อัชฮะดุอันลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ๒ ครั้ง

     อัชฮะดุอันนะมุอัมมะดัรเราะซูลุลลอฮฺ ๒ ครั้ง

          อัชฮะดุอันนะอะลียันวะลียุลลอฮฺ ๒ ครั้ง

     ฮัยยะอะลัซเซาะลาฮฺ  ๒ ครั้ง

     ฮัยยะอะลัลฟะลาฮฺ  ๒ ครั้ง

     ฮัยยะอะลาค็อยริลอะมัล ๒ ครั้ง

          กัตกอมะติซเซาะลาฮฺ ๒ ครั้ง

     อัลลอฮุอักบัร  ๒ ครั้ง

     ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ  ๑ ครั้ง 

          ๒.ประโยค อัชฮะดุอันนะอะลียัน วะลียุลลอฮฺ   ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานและอิกอมะฮฺ แต่เป็นสิ่งมุซตะฮับหากได้กล่าวในอะซานและอิกอมะฮฺ

          ๓.อะซานและอิกอมะฮฺต้องกล่าวหลังจากได้เข้าเวลานะมาซแล้ว ถ้ากล่าวก่อนเวลาถือว่าบาฏิล

          ๔.อิกอมะฮฺต้องกล่าวหลังจากอะซาน ถ้ากล่าวก่อนอะซานถือว่าไม่ถูกต้อง

          ๕.ถ้ามีผู้กล่าวอะซานและอิกอมะฮฺในมาซญะมาอะฮฺแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมญะมาอะฮฺไม่จำเป็นต้องกล่าวอีก

          ๖.ระหว่างประโยคของอะซาน และอิกอมะฮฺต้องไม่ทิ้งช่วงให้ห่างจนเกินไป มิเช่นนั้นต้องกล่าวใหม่ตั้งแต่ต้น

          ๗.นมาซมุซตะฮับต่าง ๆ ไม่มีอะซานและอิกอมะฮฺ

          ๘.เป็นมุซตะฮับให้อะซานทางหูขวา และกล่าวอิกอมะฮฺทางหูซ้ายแก่ทารกที่เพิ่งคลอดออกมา

          ๙.เป็นมุซตะฮับให้เลือกคนที่มีความยุติธรรม รู้จักเวลา และเสียงดังทำหน้าที่ อะซาน



คำถามท้ายบท

          ๑.นมาซบนพื้นที่นะยิซมีฮฺกุมอย่างไร

          ๒.นมาซบนรถไฟ หรือ เครื่องบิน มีฮุกุมอย่างงไร

          ๓.นมาซบนสถานที่ ๆ ไม่รู้ว่าเจ้าของจะอนุญาตหรือไม่มีฮุกุมอย่างไร

          ๔.การกระทำอะไรบ้างฮะรอมสำหรับมัสญิด

          ๕.การกระทำอะไรบ้างเป็นมุซตะฮับสำหรับมัสญิด

          ๖.การอะซานและอิกอมะฮฺมีความแตกต่างกันหรือไม่ 

          ๗.การอะซานและอิกอมะฮฺเป็นวาญิบสำหรับนมาซวาญิหรือไม่

 

 



หมวดที่ ๔ วาญิบต่าง ๆ มุบฏิลลาตและความสงสัยนมาซ



วาญิบต่าง ๆ ของนมาซ

๑. นมาซเริ่มต้นด้วยการกล่าว อัลลอฮุอักบัร และจบด้วยการกล่าวสลาม

๒. สิ่งที่ต้องปฏิบัติในนมาซมีทั้งวาญิบและมุซตะฮับ

๓. วาญิบต่าง ๆ ในนมาซมี ๑๑ ชนิด ซึ่งบางชนิดเป็นรุกนฺ และบางชนิดไม่ใช่รุกนฺ  



สิ่งที่เป็นข้อบังคับ (วาญิบ) ของนมาซ



สิ่งที่เป็น รุกนฺ ของนมาซมี  ๕ ประการกล่าวคือ

๑.เนียต (การตั้งเจตนา)

๒. กล่าว ตักบีเราะตุลอิฮฺรอม

๓. กิยาม (การยืนตรง)

๔. รุกูอฺ (การโค้ง)

๕. ซัจญฺดะฮฺ (กราบเคารพ)



สิ่งที่ไม่ได้เป็น รุกนฺ ของนะมาซมี ๖ ประการ กล่าวคือ

๑.กะรออะฮฺ (การอ่าน)

๒.ซิกรฺ (การกล่าว)

๓. ตะชะฮุด (ปฏิญาณตน)

๔. สลาม

๕. การทำตามขั้นตอน

๖. ความต่อเนื่อง