หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม0%

หลักปฏิบัติในอิสลาม ผู้เขียน:
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสนบัญญัติ

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน: มุฮัมมัด ฮุเซน ฟัลลอฮ์ ซอเดะฮ์
นักค้นคว้าวิจัย: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
ผู้แปล: ซัยยิดมุรตะฏอ อัสกะรี
กลุ่ม:

ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20807
ดาวน์โหลด: 4364

รายละเอียด:

หลักปฏิบัติในอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 185 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 20807 / ดาวน์โหลด: 4364
ขนาด ขนาด ขนาด
หลักปฏิบัติในอิสลาม

หลักปฏิบัติในอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย



ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นรุกนฺกับสิ่งที่ไม่ใช่รุกนฺ 

 รุกนฺของนมาซ หมายถึง ส่วนสำคัญที่เป็นพื้นฐานของนมาซ ถ้าไม่ได้ทำรุกนฺข้อหนึ่งข้อใด หรือเพิ่มหรือลด ถึงแม้ว่าจะหลงลืม นมาซบาฏิล

ส่วนวาญิบอื่น แม้ว่าการปฏิบัติจะเป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้าลืมได้เพิ่มหรือลด นมาซไม่บาฏิล



เงื่อนไขและวาญิบต่าง ๆ ของนมาซ



เนียต

๑. ผู้นมาซต้องรู้ตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มนมาซ จนกระทั่งสิ้นสุดว่าตนกำลังนมาซอะไร ซึ่งสิ่งนั้นเป็นการปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าแห่งสากลโลก

๒. เนียตไม่จำเป็นต้องกล่าวออกมาเป็นคำพูด แต่ถ้ากล่าวออกมาไม่เป็นไร

๓. นมาซต้องห่างไกลจากการโอ้อวด และความเห็นแก่ตัว หมายถึง นมาซเพราะต้องการปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ ดังนั้น บางช่วงหรือตลอดทั้งนมาซถ้าได้ทำเพื่อสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) บาฏิล



ตักบีเราะตุลอิฮฺรอม

เมื่อกล่าวว่า อัลลอฮุอักบัร ถือว่าเป็นการเริ่มต้นนะมาซ และการที่เรียกว่าตักบีเราะตุลอิฮฺรอม เพราะว่าภารกิจต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ที่เคยอนุญาตให้กระทำ บัดนี้เป็นฮะรอมสำหรับผู้นะมาซ เช่น การกิน การดื่ม การหัวเราะ ร้องไห้เพราะความโศกเศร้าของโลก เป็นต้น



วาญิบต่าง ๆ ของตักบีเราะตุลอิฮฺรอม

๑. ต้องกล่าวเป็นภาษาอาหรับอย่างถูกต้อง

๒.ขณะกล่าว ตักบีเราะตุลอิฮฺรอม ร่างกายต้องนิ่ง

๓. ถ้าไม่มีอุปสรรคอย่างอื่น ผู้นะมาซต้องได้ยินเสียงกล่าวตักบีรของตนเอง หมายถึง มิได้กล่าวค่อยจนเกินไป

๔. อิฮฺติยาฏวาญิบ ต้องไม่นำตักบีรไปเชื่อมต่อ กับประโยคอื่นก่อนหน้านี้ 

 มุซตะฮับ ขณะกล่าวตักบีเราะตุลอิฮฺรอมหรือตักบีรอื่นระหว่างนมาซให้ยกมือทั้งสองข้างสูงเสมอกับติ่งหู



กิยาม              

กิยาม หมายถึงการยืนตรงบางช่วงเป็นรุกนฺของนมาซ ถ้าไม่ทำนมาซบาฏิล ส่วนผู้ที่ไม่สามารถยืนได้ให้ปฏิบัติในอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวอธิบายในโอกาสต่อไป การยืนมี ๒ ประเภทกล่าวคือ 

๑. การยืนตรงที่เป็น รุกนฺ ของนมาซได้แก่

- การยืนตรงขณะกล่าวตักบีเราะตุลอิฮฺรอม

- การยืนตรงก่อนรุกูอฺ (ก้มโค้ง)

๒. การยืนตรงที่ไม่ใช่รุกนฺ ประกอบด้วย

- การยืนตรงขณะอ่าน

- การยืนตรงหลังจากรุกูอฺ (การโค้ง)   



เงื่อนไขของการยืนตรง

๑. วาญิบก่อนและหลังการกล่าว ตักบีเราะตุลอิฮฺรอม ต้องยืนตรงเล็กน้อย เพื่อให้มั่นใจว่าตักบีรได้กล่าวขณะยืนตรง

๒. ยืนตรงก่อนรุกูอฺ หมายถึง ขณะยืนตรงอยู่นั้นให้ลงรุกูอฺ ด้วยเหตุนี้ ถ้าลืมรุกูอฺโดยหลังจากกล่าวซูเราะฮฺจบได้ลงซัจญฺดะฮฺทันที แต่ก่อนที่จะซัจญฺดะฮฺนึกขึ้นได้ต้องลุกขึ้นยืนตรงอย่างสมบูรณ์ก่อน หลังจากนั้นจึงรุกูอฺ และซัจญฺดะฮฺตามลำดับ

๓. สิ่งที่ต้องละเว้นไม่กระทำขณะที่ยืนตรง

- การขยับเขยื้อนร่างกาย

- การโค้งไปด้านใดด้านหนึ่ง

- การยืนพิงกับสิ่งอื่น

- ยืนเท้าห่างมากเกินไป

- ยกเท้าขึ้นจากพื้น      

๔. ผู้นมาซขณะยืนต้องวางเท้าทั้งสองบนพื้น แต่ไม่จำเป็นต้องทิ้งน้ำหนักตัวลงบนเท้าทั้งสอง ถ้าทิ้งน้ำหนักตัวไว้ที่เท้าข้างหนึ่ง ไม่เป็นไร

๕. ถ้าผู้นมาซไม่สามารถยืนได้ ให้ปฏิบัติตามขั้นดังต่อไปนี้

- นั่งนมาซ โดยหันหน้าตรงกับกิบละฮฺ

- ถ้านั่งไม่ได้ให้นอนนมาซ

๖. ถ้าผู้นอนนมาซ ต้องนอนตะแคงขวานมาซโดยหันหน้าตรงกับกิบละฮฺ ถ้าปฏิบัติไม่ได้ให้นอนตะแคงซ้ายนมาซโดยหันหน้าตรงกับกิบละฮฺ ถ้าปฏิบัติไม่ได้ให้นอนหงายนมาซ โดยหันเท้าไปทางกิบละฮฺ

๗. วาญิบ หลังรุกูอฺต้องยืนตรง หลังจากนั้นจึงลงซัจญฺดะฮฺ และถ้าตั้งใจไม่ยืนตรงดังกล่าว นมาซบาฏิล



กะรออัต         

กะรออัต  หมายถึง การกล่าวซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ และซูเราะฮฺใดซูเราะฮฺหนึ่งจนจบ ในเราะกะอัตที่ ๑ และ ๒ ของนมาซวาญิบประจำวัน 

ส่วนเราะกะอัตที่ ๓ และ ๔ ต้องกล่าวซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ หรือกล่าวตัสบีฮาตอัรบะอะฮฺ ๓ ครั้ง หรือกล่าว ๑ ครั้ง ถือว่าเพียงพอ

ตัสบีฮาตอัรบะอะฮฺ คือ การกล่าวว่า ซุบฮานัลลอฮิ วัลฮัมดุลิลลาฮิ วะลาอิลาฮะอิลลัลลอฮุ วัลลอฮุอักบัร



เงื่อนไขของการอ่าน

๑. การกล่าวในเราะกะอัตที่ ๓ และ ๔ ต้องกล่าวเสียงเบา ส่วนการกล่าวซูเราะฮฺฟาติหะฮฺกับซูเราะฮฺ ในเราะกะอัตที่ ๑ และ ๒ มีรายละเอียด ดังนี้

- นมาซซุฮริและอัซริ ทั้งชายและหญิงต้องอ่านเสียงค่อย

- นมาซมัฆริบ อิชาอฺ และนมาซซุบฮฺ ชายต้องอ่านเสียงดังพอประมาณ ส่วนหญิงถ้าบุคคลอื่น (นามะฮฺรัม) ไม่ได้ยินเสียงสามารถอ่านเสียงดังได้ แต่ถ้าได้ยินเสียง อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้อ่านเสียงเบา

๒. ถ้าที่ใดนมาซจำเป็นต้องกล่าวเสียงดังแต่เจตนาอ่านเสียงเบา และที่ใดต้องกล่าวเสียงเบาแต่เจตนากล่าวเสียงดัง นมาซบาฏิล แต่ถ้าลืมหรือไม่รู้ปัญหา นมาซถูกต้อง

๓. ถ้าระหว่างกล่าวฟาติหะฮฺหรือซูเราะฮฺ รู้ว่าผิดพลาด เช่น จำเป็นต้องกล่าวเสียงดัง แต่กลับกล่าวเสียงเบา ดังนั้น ส่วนที่ผ่านมาแล้วไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปกล่าวใหม่

๔. มุสลิมทุกคนต้องเรียนรู้นมาซ เพื่อจะได้นมาซถูกต้อง แต่ถ้าไม่สามารถเรียนรู้อย่างถูกต้องได้ให้นมาซเท่าที่สามารถทำได้ และอิฮฺติยาฏมุซตะฮับ ให้นมาซเป็นญะมาอัต

๕. ถ้าตั้งใจกล่าวหนึ่งในสี่ซูเราะฮฺที่มีซัจญฺดะฮฺวาญิบในนมาซ นมาซบาฏิล

๖.หลังจากกล่าวซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺแล้ว ได้กล่าวซูเราะฮฺเตาฮีด หรือซูเราะฮฺอัล-กาฟิรูน ไม่สามารถหยุดและไปกล่าวซูเราะฮฺอื่นได้ แต่ถ้าเป็นนมาซญุมุอะฮฺ (วันศุกร์) หรือนมาซซุฮรฺในวันศุกร์ ตั้งใจจะอ่านซูเราะฮฺญุมุอะฮฺและมุนาฟิกูน แต่ลืมไปอ่านหนึ่งในสองซูเราะฮฺที่กล่าวมา ถ้ายังกล่าวไม่ถึงครึ่งซูเราะฮฺสามารถเปลี่ยนไปกล่าวซูเราะฮฺญุมุอะฮฺ หรือมุนาฟิกูนได้

๗.ขณะนมาซ ถ้ากล่าวซูเราะฮฺอื่นที่นอกเหนือจาก ซูเราะฮฺเตาฮีด หรือมุนาฟิกูน ถ้ายังอ่านไม่ถึงครึ่งซูเราะฮฺสามารถเปลี่ยนไปกล่าวซูเราะฮฺอื่นได้

๘. ถ้าลืมบางส่วนของซูเราะฮฺ สามารถเปลี่ยนไปกล่าวซูเราะฮฺอื่นได้ ถึงแม้ว่าจะอ่านเกินครึ่งซูเราะฮฺ หรือซูเราะฮฺที่กำลังอ่านเป็นซูเราะฮฺเตาฮีดหรือกาฟิรูนก็ตาม

๙. ถ้ารู้จักคำที่ถูกต้อง เช่น อับดุฮู ในตะชะฮุดนมาซคือ อับดะฮู และได้กล่าวเช่นนั้น หลังจากนมาซรู้ว่าอ่านผิด ไม่จำเป็นต้องนมาซใหม่

๑๐.กรณีต่อไปนี้ ในเราะกะอัตที่ ๑ และ ๒ ผู้นมาซต้องไม่กล่าวซูเราะฮฺ ให้กล่าวฟาติหะฮฺซูเราะฮฺเดียว ถือว่าเพียงพอสอง เช่น

- เวลานมาซเหลือน้อยมาก

- มีความจำเป็นต้องไม่กล่าวซูเราะฮฺ เช่น กลัวว่าถ้ากล่าวซูเราะฮฺแล้ว โจร หรือสัตว์ร้าย หรืออื่น ๆ อาจทำอันตรายตนได้

๑๑. ถ้าเวลานมาซเหลือน้อยให้อ่านตัซบีฮาตอัรบะอะฮฺเพียงครั้งเดียว ก็เพียงพอ



มุซตะฮับบางประการของการอ่าน

๑.เราะกะอัตแรกก่อนกล่าวฟาติหะฮฺ ให้กล่าว อะอูซุบิลลาฮิมินัชชัยฏอน นิรเราะญีม

๒.ให้กล่าว บิสมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮฺฮีม เสียงดังในเราะกะอัตที่ ๑ และ ๒ ของนมาซุฮรฺและอัศรฺ

๓.ให้กล่าวฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ ช้า ๆ ที่ละโองการ และหยุดเมื่อจบละโองการ หมายถึงต้องไม่อ่านหลายโองการติดต่อกัน

๔. ขณะที่กล่าวซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ และซูเราะฮฺ ต้องพิจารณาถึงความหมายด้วย

๕. ทุกนมาซควรกล่าวซูเราะฮฺ อัล-ก็อดรฺ ในเราะกะอัตแรก และซูเราะฮฺอัต-เตาฮีด ในเราะกะอัตที่สอง



การกล่าวซิกรฺ  

หนึ่งในวาญิบของรุกูอฺและซัจญฺดะฮฺคือ ซิกรฺ หมายถึง การกล่าว ซุบฮานัลลอฮฺ หรือ อัลลอฮุอักบัร และสิ่งที่คล้ายคลึงกันซึ่งรายละเอียดจะกล่าวในบทต่อไป



การรุกูอฺ  

นมาซทุกเราะกะอัตหลังจากกล่าวซูเราะฮฺจบแล้วต้อง รุกูอฺ หมายถึง การก้มโค้งไปข้างหน้า จนฝ่ามือทั้งสองกุมถึงหัวเข่า (ลำคอเหยียดตรง และหลังราบขนานกับพื้น รุกูอฺ เป็นรุกนฺหนึ่งของนมาซ


วาญิบต่าง ๆ ของรุกูอฺ

๑. ต้องก้มโค้งตามที่กล่าวข้างต้น

๒. ต้องกล่าวซิกรฺอย่างน้อย ๓ ครั้งว่า ซุบฮานัลลอฮฺ

๓. ขณะรุกูอฺและกล่าวซิกรฺร่างกายต้องสงบนิ่ง 

๔. ต้องยืนตรงหลังจากรุกูอฺ

๕.ร่างกายต้องนิ่งหลังจากรุกูอฺ



คำกล่าว ซิกรฺรุกูอฺ

ขณะรุกูอฺสามารถกล่าวซิกรฺใดก็ได้ ถือว่าเพียงพอแต่ อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้กล่าว ๓ ครั้งว่า ซุบฮานัลลอฮฺ หรือกล่าว ๑ ครั้งว่า ซุบฮานะร็อบบิยัลอะซีมิ วะบิฮัมดิฮี ซึ่งต้องไม่กล่าวน้อยกว่านี้



ร่างกายต้องนิ่งในรุกูอฺ

๑. วาญิบในรุกูอฺร่างกายต้องนิ่งนานแค่เพียง กล่าวซิกรฺเท่านั้น 

๒. ก่อนที่จะก้มรุกูอฺตามที่กล่าวมาโดยที่ร่างกายยังไม่นิ่ง ถ้าตั้งใจกล่าวซิกรฺรุกูอฺออกมา นะมาซบาฏิล

๓. ถ้าตั้งใจเงยศีรษะขึ้นก่อนที่จะกล่าวซิกรฺวาญิบจบ นะมาซบาฏิล



ต้องยืนตรงและนิ่งหลังจากรุกูอฺ

หลังจากกล่าวซิกรฺรุกูอฺจบให้เงยขึ้นและต้องยืนตรง หลังจากร่างกายนิ่งแล้วจึงลงซัจญฺดะฮฺ ถ้าตั้งใจลงซัจญฺดะฮฺก่อนที่จะยืนตรง หรือก่อนที่ร่างกายจะนิ่ง นมาซบาฏิล



หน้าที่ของผู้ที่ไม่สามารถรุกูอฺตามปกติได้

๑. ผู้ที่ไม่สามารถรุกูอฺได้ในระดับที่กล่าวมา ให้ทำเท่าที่สามารถทำได้

๒. ผู้ที่ไม่สามารถก้มได้เลย ให้นั่งรุกูอฺ

๓. ถ้าหากไม่สามารถนั่งรุกูอฺได้ ให้ยืนนมาซ เมื่อถึงรุกูอฺให้ก้มศีรษะเล็กน้อยเป็นเครื่องหมาย



ลืมรุกูอฺ

๑.ถ้าลืมรุกูอฺและก่อนที่จะซัจญฺดะฮฺ นึกขึ้นได้ต้องยืนตรงก่อน หลังจากนั้นจึงรุกูอฺ ถ้าลงรุกูอฺทันทีโดยไม่ยืนตรง นมาซบาฏิล

๒. หลังจากหน้าผาก (จะตัดคำว่าจะทิ้ง) ถึงพื้นนึกได้ว่ายังไม่ได้รุกูอฺ อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ยืนตรงหลังจากนั้นให้ลงรุกูอฺและนมาซต่อให้เสร็จ และให้นมาซใหม่อีกครั้ง



มุซตะฮับสำหรับรุกูอฺ

๑. มุซตะฮับ ให้กล่าวซิกรฺรุกูอฺ ๓ ครั้ง หรือ ๕ ครั้ง หรือ ๗ ครั้ง ทว่าให้อ่านให้มาก

๒. มุซตะฮับ ก่อนรุกูอฺ ขณะยืนตรงให้ตักบีร อัลลอฮุอักบัร

๓. มุซตะฮับ ขณะรุกูอฺให้มองระหว่างเท้าทั้งสอง

๔. มุซตะฮับ ให้เซาะละวาต อัลลอฮุมมะซ็อลลิอะลามุฮัมมัดวะอาลิมุฮัมมัด ก่อนและหลังซิกรฺรุกูฮฺ

๕. มุซตะฮับ หลังจากเงยขึ้นจากรุกูอฺ เมื่อยืนตรงและร่างกายนิ่งแล้วให้กล่าวว่า ซะมิอัลลอฮุลิมันฮะมิดะฮฺ



ซูญูด


การซูญูด หมายถึงการกราบเพื่อแสดงความความเคารพ 

๑. ผู้นมาซ ต้องซัจญฺดะฮฺ ๒ ครั้ง หลังจากรุกูอฺในทุกเราะกะอัตทั้งนมาซวาญิบ และนมาซมุซตะฮับ

๒.ซัจญฺดะฮฺ คือ การนำอวัยวะทั้ง ๗ ส่วนได้แก่หน้าผาก ฝ่ามือทั้งสอง หัวเข่าทั้งสองและหัวแม่เท้าทั้งสองจรดกับพื้น



วาญิบต่าง ๆ ซัจญฺดะฮฺ

๑. ต้องวางอวัยวะทั้ง ๗ ส่วนจรดกับพื้น

๒. ต้องกล่าวซิกรฺว่า ซุบฮานะร็อบบิยัลอะอฺลาวะบิฮัมดิฮฺ อย่างน้อย ๑ ครั้ง

๓. ร่างกายต้องสงบนิ่ง ขณะกล่าวซิกรซัจญฺดะฮฺ

๔. เมื่อเงยศีรษะขึ้นต้องนั่งนิ่งระหว่างสองซัจญฺดะฮฺ

๕.ขณะกล่าว ซิกรฺซัจญฺดะฮฺ อวัยวะทั้ง ๗ ส่วนต้องจรดพื้น

๖. บริเวณที่ซัจญฺดะฮฺ ต้องราบเรียบเสมอกันไม่สูงหรือต่ำ

๗.หน้าผากต้องวางบนสิ่งที่อนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺแล้วถูกต้อง

๘. บริเวณที่ซัจญฺดะฮฺ ต้องสะอาดปราศจากนะญิซ

๙.การซัจญฺดะฮฺทั้งสองต้องทำอย่างต่อเนื่อง



การซิกรฺ

ซัจญฺดะฮฺ สามารถกล่าวซิกรฺใดก็ได้ ถือว่าเพียงพอแต่ อิฮฺติยาฏวาญิบ ให้กล่าว  ๓ ครั้งว่า ซุบฮานัลลอฮฺ หรือกล่าวว่า ซุบฮานะร็อบบิยัลอะอฺลาวะบิฮัมดิฮฺ ๑ ครั้งเป็นอย่างน้อย

 



ความสงบนิ่ง

๑. วาญิบขณะซัจญฺดะฮฺ ร่างกายต้องนิ่งนานแค่เพียงแค่ กล่าวซิกรฺเท่านั้น

๒.ก่อนที่หน้าผากจะแนบกับดินและก่อนที่ร่างกายจะนิ่ง เจตนากล่าวซิกรฺซัจญฺดะฮฺอกมา นมาซบาฏิล แต่ถ้าพลั้งเผลอหรือลืมเมื่อร่างกายนิ่งแล้วให้กล่าวใหม่อีกครั้ง

เงยศีรษะขึ้นจากซัจญฺดะฮฺ

๑. หลังเสร็จซัจญฺดะฮฺครั้งแรกแล้ว เมื่อเงยศีรษะขึ้นต้องนั่งเมื่อร่างกายนิ่งแล้ว จึงค่อยลงซัจญฺดะฮฺครั้งที่สอง

๒. ถ้าตั้งใจเงยศีรษะขึ้นจากซัจญฺดะฮฺ ก่อนที่จะกล่าวซิกรฺจบ นมาซบาฏิล



การวางอวัยวะทั้ง ๗ ส่วนให้จรดพื้น

๑.ขณะกล่าวซิกรฺซัจญฺดะฮฺ ถ้าเจตนายกอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดจาก ๗ ส่วนขึ้นจากพื้น นมาซบาฏิล แต่ถ้าไม่ช่วงของการกล่าวซิกรฺซัจญฺดะฮฺ หากได้ยกอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งขึ้นจากพื้นและวางลงอีกครั้ง นอกเหนือจากหน้าผาก ไม่เป็นไร

๒. ถ้านอกจากนิ้วหัวแม่เท้าแล้ว นิ้วอื่นได้จรดพื้นเช่นกัน ไม่เป็นไร



บริเวณซัจญฺดะฮฺต้องเสมอราบ

๑.บริเวณที่ลงซัจญฺดะฮฺ ต้องไม่สูงหรือต่ำกว่าบริเวณที่หัวเข่าจรดพื้นเกิน ๔ นิ้วมือประชิดติดกัน

๒. อิฮฺติยาฏวาญิบ บริเวณที่ลงซัจญฺดะฮฺ ต้องไม่สูงหรือต่ำกว่าบริเวณที่นิ้วหัวแม่เท้าจรดพื้นเกิน ๔ นิ้วประชิดติดกัน



ต้องวางหน้าผากลงบนสิ่งที่อนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺ

๑. การซัจญฺดะฮฺ ต้องวางหน้าผากลงบนพื้นดิน หรือสิ่งที่งอกเงยขึ้นจากดิน แต่ต้องไม่ใช่อาหารหรือเครื่องนุ่งห่ม *

*อายะตุลลอฮฺ อะลี คอเมเนอี ซัจญฺดะฮฺบนพื้นปูนซิเมนต์ ไม่เป็นไร (อิซติฟตาอาต หน้าที่ ๑๔๘ คำถามที่ ๔๙๘)

๒. ตัวอย่างสิ่งที่อนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺลงบนนั้นถูกต้อง กล่าวคือ

ดิน  หิน  ดินเผา ปูนขาว ไม้  และพื้นหญ้า

๓. สถานที่ต้องตะกียะฮฺ สามารถซัจญฺดะฮฺบนพรหมหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันได้ และไม่จำเป็นต้องไปหาที่นะมาซใหม่



เงื่อนไขการซัจดะฮฺ

๑.ซัจญฺดะฮฺ บนแร่ธาตุ เช่น ทองคำ เงิน อะกีก (หินโมรา) ฟีรูเซะฮฺ (คออซ์หินสีฟ้า) ถือว่าไม่ถูกต้อง

๒.ซัจญฺดะฮฺ สิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ฮะรอม

๓. ซัจญฺดะฮฺ บนสิ่งที่งอกเงยจากดินและเป็นอาหารสัตว์ เช่น หญ้า ถูกต้อง

๔.อนุญาตให้ซัจญฺดะฮฺบนกระดาษได้ แม้ว่าจะทำมาจากนุ่นหรือสิ่งที่คล้างคลึ่งกันก็ตาม ถูกต้อง

๕. สิ่งที่ใช้ซัจญฺดะฮฺ ที่ดีที่สุด คือ ดินกัรบะลาอฺ รองลงมาคือ ดินทั่วไป หิน และพืชตามลำดับ

๖. ถ้าซัจญฺดะฮฺครั้งแรก ดินได้ติดหน้าผากขึ้นมาแต่ไม่ได้เอาออก และลงซัจญฺดะฮฺอีกครั้งทันที นะมาซบาฏิล



หน้าที่ของผู้ที่ไม่สามารถซัจญฺดะฮฺเหมือนปกติได้

๑. บุคคลที่ไม่สามารถก้มจนหน้าผากจรดพื้นได้ ให้ก้มเท่าที่สามารถก้มได้และต้องหาสิ่งของมาเสริมเพื่อให้ดินนั้นอยู่สูงขึ้น เช่น ใช้หมอนรองดินแล้วซัจญฺดะฮฺบนนั้น แต่ฝ่ามือทั้งสอง เข่า และปลายนิ้วหัวแม่เท้าต้องจรดพื้นตามปกติ

๒. ถ้าไม่สามารก้มได้ ให้นั่งซัจญฺดะฮฺโดยก้มศีรษะเล็กน้อยเป็นเครื่องหมาย และอิฮฺติยาฏวาญิบ ให้หยิบดินขึ้นมาแล้วเอาหน้าผากวางไปบนนั้น



มุซตะฮับต่าง ๆ ของซัจญฺดะฮฺมีดังต่อไปนี้

๑.ขั้นตอนต่อไปนี้ มุซตะฮับ ให้กล่าวตักบีร อัลลอฮุอักบัร

-หลังจากรุกูอฺก่อนที่จะซัจญฺดะฮฺครั้งแรก

- หลังจากเงยขึ้นจากซัจญฺดะฮฺครั้งแรก ในท่านั่งร่างกายสงบนิ่ง

- ก่อนลงซัจญฺดะฮฺครั้งที่สอง ในท่านั่งร่างกายสงบนิ่ง

- หลังจากเงยขึ้นจากซัจญฺดะฮฺครั้งที่สอง

๒. มุซตะฮับ ให้ซัจญฺดะฮฺนาน ๆ

๓. มุซตะฮับ ให้กล่าว อัสตัฆฟิรุลลอฮะ ร็อบบี วะอะตูบุอิลัยฮิ ขณะนั่งสงบนิ่งระหว่างสองซัจญฺดะฮฺ

๔. มุซตะฮับ ให้กล่าว เซาะละวาต ขณะซัจญฺดะฮฺ



ซัจญฺดะฮฺวาญิบกรุอาน

๑. อัล-กุรอาน ๔ ซูเราะฮฺ มีโองการซัจญฺดะฮฺวาญิบหมายถึง ถ้าผู้ใดอ่านโองการเหล่านั้น หรือบุคคลอื่นอ่านแล้วตนได้ยิน หลังจากอ่านโองการจบต้องซัจญฺดะฮฺทันที

๒. ซูเราะฮฺที่มีโองการซัจดะฮฺวาญิบได้แก่

- ซูเราะฮฺที่ ๓๒ อัซ-ซัจญฺดะฮฺ โองการที่ ๑๕

- ซูเราะฮฺที่ ๔๑ ฟุซซิลัต โองการที่ ๓๗

- ซูเราะฮฺที่ ๕๓ อัล-นัจมุ โองการสุดท้าย

- ซูเราะฮฺที่ ๙๖ อัล-อะลัก สองโองการสุดท้าย

๓. ถ้าลืมซัจญฺดะฮฺ นึกได้เมื่อใดให้ซัจญฺดะฮฺทันที 

๔. ถ้าได้ยินโองการวาญิบซัจญฺดะฮฺจากวิทยุ ไม่จำเป็นต้องซัจญฺดะฮฺ

๕.ถ้าได้ยินโองการวาญิบซัจญฺดะฮฺจากวิทยุ โทรทัศน์ หรือเครื่องขยายเสียง ซึ่งเป็นการอ่านสด ไม่ใช่เปิดจากเทปที่อัดไว้แล้วนำมาเปิด หมายถึง ในขณะที่เปิดเครื่องขยายเสียงมีคนนั่งอ่านอยู่ วาญิบต้องซัจดะฮฺ 

๖. การซัจญฺดฺสำหรับโองการวาญิบซัจญฺดะฮฺเหล่านี้ ไม่สามารถซัจญฺดะฮฺลงบนอาหาร หรือเครื่องนุ่งห่มแต่การใส่ใจต่อเงื่อนไขอื่นไม่จำเป็น

๗.ไม่วาญิบ ต้องกล่าวซิกรฺในซัจญฺดะฮฺวาญิบเหล่านี้ แต่เป็นมุซตะฮับให้กล่าว



การตะชะฮุด

๑. นมาซเราะกะอัตที่สองและเราะกะอัตสุดท้าย เมื่อเงยศีรษะขึ้นจากซัจญฺดะฮฺครั้งที่สองและร่างกายนิ่งแล้วให้กล่าวว่า อัชฮะดุอันลาอิลาฮาอิลลัลลอฮุวะฮฺดะฮูลาชะรีกะละฮู วะอัชฮะดุอันนะมุฮัมมะดันอับดุฮูวะเราะซูลุฮู อัลลอฮุมมะซ็อลลิอะลามุฮัมมัด วะอาลิมุฮัมมัด  

๒. ถ้าลืมกล่าวตะชะฮุดและได้ลุกขึ้นยืน ก่อนที่จะรุกูอฺนึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้กล่าวตะชะฮุด ให้นั่งลงและกล่าวตะชะฮุด หลังจากนั้นให้ยืนขึ้นเพื่อทำเราะกะอัตต่อไปและนมาซต่อให้เสร็จ แต่ถ้านึกขึ้นได้ขณะรุกูอฺหรือหลังจากนั้นต้องนมาซให้เสร็จ เมื่อกล่าวสลามแล้วให้เกาะฏอตะชะฮุด   และอิฮฺติยาฏวาญิบ ให้ซัจญฺดะฮฺซะฮฺวี ๒ ครั้ง

 

การกล่าวสลาม  

๑. เราะกะอัตสุดท้ายของทุกนมาซ หลังจากกล่าวตะชะฮุดแล้วให้กล่าวสลาม เป็นอันว่านมาซเสร็จสิ้น

๒. วาญิบสำหรับสลาม คือ หนึ่งในสองประโยคดังต่อไปนี้

-อัสลามุอะลัยนาวะอะลาอิบาดิลลาฮิซซอลิฮีน

-อัสลามุอะลัยกุม วะเราะฮฺมะตุลลอฮิ วะบะเราะกาตุฮู

๓. มุซตะฮับ ก่อนที่จะกล่าว ๒ ประโยคข้างต้นใหกล่าวว่า   อัสลามุอะลัยกะอัยยุฮันนะบียุ วะเราะฮฺมะตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮู แต่เป็นการดีให้กล่าวทั้ง ๓ ประโยค 



การทำตามขั้นตอน

๑. นมาซต้องทำไปตามขั้นตอน กล่าวคือ ตักบีเราะตุลอิฮฺรอม กะรออัต รุกูอฺ ซัจญฺดะฮฺ ส่วนเราะกอัตที่สองหลังจากซัจญฺดะฮฺครั้งที่สองแล้ว ต้องกล่าวตะชุฮุด และเราะกะอัตสุดท้ายหลังจากตะชะฮุดแล้วให้กล่าวสลาม

๒. ถ้าลืมทำรุกนฺหนึ่งและได้ข้ามไปทำอีกรุกนฺหนึ่ง เช่น ก่อนที่จะรุกูอฺได้ข้ามไปซัจญฺดะฮฺสองครั้ง นมาซบาฏิล   

๓. ถ้าลืมทำรุกนฺและได้ทำขั้นตอนหลังจากนั้นซึ่งไม่ใช่รุกนฺ เช่น ก่อนที่จะซัจญฺดะฮฺ ๒ ครั้ง ได้กล่าวตะชฮุด ต้องย้อนกลับไปทำรุกนฺใหม่ และสิ่งที่ได้ผิดพลาดต้องทำใหม่อีกครั้ง

๔. ถ้าลืมทำสิ่งที่ไม่ใช่รุกนฺ และได้ทำรุกนฺขั้นตอนต่อไป เช่น ลืมกล่าวซูเราะฮฺฟาติหะฮฺ และได้ลงรุกูอฺ ถือว่านมาซถูกต้อง



การกระทำต่อเนื่อง 

๑. การกระทำต่อเนื่อง หมายถึง การกระทำขั้นตอนต่าง ๆ ของนะมาซติดต่อกัน โดยไม่ได้ปล่อยให้เกิดช่องว่าง

๒. ถ้ามีช่วงว่างระหว่างขั้นตอนต่าง ๆ ของนมาซ จนไม่อาจกล่าวได้ว่ากำลังนะมาซอยู่ นะมาซบาฏิล   

 ๓. การกล่าวซูเราะฮฺยาว ๆ รุกูอฺและซัจญฺดะฮฺนาน ๆ ไม่ถือว่าเป็นการทำให้เกิดช่องว่าง 



การกล่าวกุนูต

๑. มุซตะฮับ เราะกะอัตที่สองหลังจากกล่าวฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ ก่อนรุกูอฺให้กล่าวกุนูต โดยให้ยกมือขึ้นเสมอหน้าและดุอาอฺหรือกล่าวซิกรฺ

๒. การกล่าวกุนูตไม่จำกัดว่าต้องเป็นดุอาอฺประเภทใด สามารถกล่าวคำซิกรฺใดก็ได้ หรือแม้กล่าวว่า ซุบฮานัลลอฮฺ เพียงครั้งเดียวก็เพียงพอ หรือดุอาอฺ เช่น นี้ว่า ร็อบบะนา อาตินา ฟิดดุนยา ฮะซะนะฮฺ วะฟิลอาคิเราะติ ฮะซะนะฮฺ วะกินาอะซาบันนาร (โอ้พระผู้อภิบาลของเรา โปรดประทานความดีงามทั้งในโลกนี้และในโลกหน้าแก่พวกเรา และโปรดปกป้องเราให้รอดพ้นจากการลงทัณฑ์ของไฟนรกด้วยเถิด)



ดุอาอฺหลังนมาซ

ตะอฺกีบนะมาซ หมายถึง การดุอาอฺ การกล่าวซิกรฺ และอ่านอัล-กุรอานหลังจากนมาซ

๑. ดีที่สุดขณะอ่านดุอาอฺให้หันหน้าไปทางกิบละฮฺ

๒. ไม่จำเป็นต้องอ่านดุอาอฺเป็นภาษาอาหรับ แต่ดีกว่าให้ดุอาอฺตามที่เขียนไว้ในหนังสือดุอาอฺ

๓.ให้กล่าวตัสบีฮฺท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ โดยกล่าว อัลลอฮุอักบัร ๓๔ ครั้ง อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ๓๓ ครั้ง และซุบฮานัลลอฮฺ ๓๓ ครั้ง