ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม33%

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์
หน้าต่างๆ: 175

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 175 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 47199 / ดาวน์โหลด: 4707
ขนาด ขนาด ขนาด
ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ซัยนับ วีรสตรีแห่งอิสลาม

น้อมสดุดี

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของศาสดาของอัลลอฮ์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของศาสนทูตของอัลลอฮ์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของมุฮัมมัด มุสตอฟา

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของหัวหน้าของบรรดาศาสดา

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของมิตรของอัลลอฮ์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของอะลี มุรตะฎอ หัวหน้าของผู้สืบทอด ผู้สัตย์จริง

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ บุตรของฟาฏิมะฮ์ อัซ ซะฮ์รอ หัวหน้าของสตรีแห่งสวนสวรรค์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ น้องสาวของท่านอิมามฮาซันและอิมามฮูเซน หัวหน้าคนหนุ่มแห่งสวนสวรรค์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้นำสตรี ผู้ใจบุญและผู้บริสุทธิ์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้พิทักษ์สิทธิและความถูกต้อง

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ยำเกรงอัลลอฮ์ ผู้บริสุทธิ์

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้รักอัลลอฮ์และอัลลอฮ์ทรงโปรดปราน ท่าน

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่รับการถ่ายทอดความรู้มาจากบรรพบุรุษ

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้บรรลุถึงความรู้ด้วยตัวเอง

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ถูกกดขี่

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ต้องได้รับความทุกข์ยากทรมาน

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ถูกแวดล้อมด้วยความโศกเศร้า

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ดำรงไว้ซึ่งสัจธรรม

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ถูกแวดล้อมด้วยความยากลำบาก

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ถูกแวดล้อมด้วยความสูญเสีย

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ที่ท่วมท้นไปด้วยความทุกข์ทรมาน

ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน โอ้ ท่านหญิงซัยนับ อัล กุบรอ

ขอความสันติและความโปรดปรานของอัลลอฮ์ จงประสบแด่ท่าน.

บทที่ ๑

กำเนิดและชีวิตในวัยเยาว์

ในหนังสือ คอซอสซีซัยนาบียะฮ์ ได้บันทึกไว้ว่า

ท่านหญิงซัยนับถือกำเนิดในวันที่ ๕ ญะมาดิลเอาวัล ฮ.ศ. ๕ หรือ ๖

ท่านหญิงเป็นหลานสาวของท่านศาสดาแห่งอิสลามและท่านหญิงคอดีญะฮ์ กุบรอ เป็นบุตรสาวของท่านอิมามอะลี อิมามท่านแรกกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ บุตรสาวสุดที่รักของท่านศาสดา เป็นน้องสาวของอิมามฮาซัน และอิมามฮูเซน

ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเป็นเชื้อสาย‘บนีฮาชิม’ อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสายตระกูลของท่านศาสดามุฮัมมัด ที่สืบทอดกลับไปถึงท่านศาสดาอิบรอฮีม

ในเวลาที่ท่านหญิงจะให้กำเนิดบุตรชาย อิมามอะลี ได้รีบรุดมายังบ้านของท่าน เมื่อได้รับข่าวดีจากการบอกเล่าของอิมามฮูเซน ที่ว่า “โอ้ ท่านพ่อ! พระผู้เป็นเจ้าทรงเมตตาอย่างเหลือล้น ที่ทรงประทานน้องสาวให้แก่ฉัน”

 ขณะนั้นท่านอายุเพียงสองขวบ ได้สังเกตเห็นหยาดน้ำตาปรากฏขึ้นในดวงตาทั้งสองของผู้เป็นบิดา จึงอยากจะทราบถึงสาเหตุนั้น ท่านอิมามอะลีได้ตอบว่า “โอ้ แสงสว่างแห่งดวงตาของพ่อ!

วันหนึ่งเจ้าจะเข้าใจถึงสาเหตุแห่งความโศกเศร้าในครั้งนี้”

เมื่ออิมามอะลีเข้าไปในบ้าน ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ได้ถามถึงชื่อที่อิมามเตรียมไว้สำหรับทารกน้อย

อิมามตอบว่าเรื่องนี้ ท่านศาสดาจะจัดการเอง ท่านซัลมาน ฟาริซีซึ่งเป็นสาวกที่ใกล้ชิดที่สุดของท่าน

ศาสดาอยู่ในเหตุการณ์และได้รีบไปยังมัสยิด เพื่อบอกข่าวอันน่ายินดีนี้แก่ท่านศาสดา ซึ่งท่านได้กล่าวทั้ง

น้ำตาว่า “โอ้ ซัลมาน! ญิบรออีลบอกกับฉันว่า ทารกน้อยนี้จะต้องแบกรับภาระที่หนักยิ่ง”

ท่านศาสดาได้มายังบ้านบุตรสาวของท่าน และขอให้มอบทารกน้อยให้กับท่าน ท่านได้แนบแก้มของท่านไว้กับแก้มของทารกนั้น ท่านกอดทารกน้อยไว้ขณะที่ดวงตาทั้งสองเต็มไปด้วยน้ำตา ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์รู้สึกประหลาดใจ จึงถามถึงสาเหตุแห่งความโศกเศร้านั้น

 ท่านศาสดาจึงตอบว่า “โอ้ ลูกรัก! วันหนึ่งจะมาถึง เมื่อเราพ่อลูกไม่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้ว ทารกน้อยนี้จะต้องพบกับโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่”

หลังจากทราบเรื่องราวดังกล่าว ท่านหญิงหัวใจแทบแตกสลาย ท่านศาสดาจึงปลอมโยนท่านว่า “ใครก็ตามที่ร่ำไห้ต่อเหตุการณ์นี้ จะได้รับผลบุญตอบแทนเหมือนกับที่เขาร่ำไห้ให้กับโศกนาฏกรรมของอิมามฮูเซน”

หลังจากประกอบพิธีตามแบบฉบับของท่านศาสดาให้กับทารกคนใหม่ ญิบรออีลได้นำข่าวดีมาบอกกับท่านศาสดาว่า “อัลลอฮ์ ทรงประสงค์ให้ทารกน้อยมีนามว่า ‘ซัยนับ’ และนามนี้ได้ถูกบันทึกไว้บน เลาฮูลมะฟูซ”

 หลังจากพิธีอะกีเกาะฮ์ทารกน้อย จึงมีนามว่า ‘ซัยนับ ซึ่งมีความหมายว่า ‘ต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมหวน’ หรือ ‘เครื่องประดับของบิดา’ หรือ ‘ทรัพย์สมบัติที่ดีเลิศ’

ด้วยเหตุนี้ เธอได้รับการตั้งชื่อโดยอัลลอฮ์ ผ่านทางท่านศาสดา จึงไม่มีข้อสงสัยเลยว่า ท่านมีฐานะเทียบเท่ากับ ‘ปันญ์จตาน’ (ท่านศาสดา อิมามอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮาซันและอิมามฮูเซน)

ได้รับตำแหน่งที่สูงส่งจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งควรจะต้องบันทึกและนับรวมท่านเข้าไว้เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือ (ชะฟาอะฮ์’) การที่ได้รำลึกถึงการพลีที่ยิ่งใหญ่และโศกนาฏกรรมที่ท่านได้ประสบ การบอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวของความทุกข์ทรมาน การไปเยี่ยมเยือนหลุมฝังศพของท่าน การสดุดีหรือการขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าในภาวะวิกฤติ โดยการอ้างนามของท่านในการขอการสงเคราะห์ช่วยเหลือ จะได้รับผลบุญตอบแทนอย่างมากมายแม้ว่าท่านหญิงจะไม่ได้อยู่ร่วมใน ๑๔ ผู้บริสุทธิ์ปราศจากการกระทำผิด (มะอ์ซูมีน) แต่ชีวิตของท่านก็บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากบาปและเต็มไปด้วยการเสียสละ จึงกล่าวได้อย่างเต็มปากว่า ท่านหญิงอยู่ในสถานะเดียวกับท่านเหล่านั้น ซึ่งสิ่งนี้สามารถพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนที่ กัรบะลาอ์ เมื่ออิมามฮูเซน ได้มอบสมาชิกในครอบครัวของท่านที่เหลืออยู่ ให้อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของท่าน

ท่านศาสดากล่าวชี้แนะไว้อย่างชัดเจนว่า ทุกคนควรที่จะยอมรับว่าท่านหญิงซัยนับเป็นผู้ที่สมควรได้รับการคาราวะตลอดไป เพราะท่านทราบดีถึงภารกิจที่ท่านหญิงได้กระทำเพื่ออิสลามเหมือนกับ ‘ปันญจตาน’ คือเครื่องประดับแห่งบัลลังก์ของพระเจ้า ในทำนองเดียวกัน ท่านหญิงซัยนับคือ

เครื่องประดับแห่ง ‘เลาฮุลมะอ์ฟูซ’ สิ่งใดก็ตามที่ท่านศาสดากล่าวล้วนมาจากพระผู้เป็นเจ้า

ด้วยเหตุนี้ ประโยคนี้จึงมีความหมายที่จะต้องนำมาปฏิบัติ

ในบรรดาสตรี ๔ ท่านที่อัลลอฮ์ทรงยกเกียรติให้ คือ

- ท่านหญิงคอดิยะฮ์ บินติ คุวัยลิด ภรรยาคนแรกของท่านศาสดา

- ท่านหญิงมัรยัม บินติ อิมรอน มารดาของท่านศาสดาอีซา

 (พระเยซู)

- ท่านหญิงอาซียะฮ์ บินติ มะซาฮิม ภรรยาของฟิรอูน และ

- ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บินติ มุฮัมมัด บุตรสาวของท่านศาสดา

จากสี่ท่านนี้ สองท่านที่มีความใกล้ชิดกับท่านหญิงซัยนับมากที่สุด ท่านที่หนึ่งคือคุณยายและท่านที่สองคือมารดาของท่าน

จากการสืบเชื้อสายมาจากท่านศาสดา ทำให้ท่านหญิงมีลักษณะท่าทางเหมือนกับท่านหญิงคอดีญะฮ์ กุบรอ คือมีรูปร่างสูงโปร่งงดงาม มีวาทะศิลป์ในการพูดเหมือนกับบิดาของท่านคืออิมามอะลี ในยามที่ท่านหญิงกล่าวสุนทรพจน์ดูราวกับว่า ท่านอิมามอะลีกำลังกล่าวอยู่อย่างไรอย่างนั้น

ในคำปราศรัยนั้นมีความไพเราะและมีพลัง ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่ได้รับฟัง ท่านหญิงเป็นแบบฉบับของความบริสุทธิ์และความสุภาพอ่อนโยน สืบทอดมาจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มารดาของท่าน ท่านหญิงมีรูปร่างที่สง่างาม (ใครที่พบเห็นจะต้องสะดุดตา) เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น ใบหน้าของท่านมีรัศมีผุดผ่องเหมือนใบหน้าของท่านศาสดา อุปนิสัยใจคอและอารมณ์ของท่านจะเหมือนกับอิมามฮาซัน แต่มีความกล้าหาญอดทนเหมือนกับอิมามฮูเซน

การอบรมเลี้ยงดู

ท่านหญิงถูกอบรมเลี้ยงดูมาในบ้าน ซึ่งแสงแห่งอิสลามได้เริ่มส่องประกายขึ้นในจักรวาล สตรีท่านแรกที่ยอมรับอิสลามและสร้างรากฐานของมัน คือท่านหญิงคอดีญะฮ์ กุบรอ ภรรยาคนแรกของท่านศาสดา สตรีท่านที่สองที่ยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่ออิสลาม คือ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บุตรสาวของท่านศาสดา และหลังจากการสิ้นชีวิตของท่าน ท่านหญิงซัยนับ ผู้เป็นบุตรสาวก็แบกรับภารกิจนี้สืบต่อมา ดังพิสูจน์ให้เห็นได้จากเหตุการณ์สังหารหมู่ที่กัรบะลา และเหตุการณ์หลังจากนั้นไม่อาจหาใครเสมอเหมือนได้อีก ไม่ว่าจะเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ที่ท่านยอมพลีให้

ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวในการกล่าวคำปราศรัย การดูแลปกป้องบรรดาเด็กๆ ในยามที่เกิดเพลิงไหม้และถูกปล้นสะดมในกองคาราวาน ทั้งๆ ที่ ท่านเป็นสตรีเพศ ท่านไม่ยอมสะทกสะท้านที่จะต้องเผชิญหน้ากับอันตรายทั้งปวง ในยามวิกฤติเช่นนั้น ท่านกล้าที่จะเผชิญหน้าและแสดงบทบาทรับผิดชอบอย่างที่บุรุษปุถุชนธรรมดาไม่สามารถทำให้สำเร็จได้

๑๐

ท่านหญิงเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับอิมามฮูเซนอย่างมาก ความรักที่มีต่อท่านอิมามซึมซับอยู่ในสายเลือด แม้แต่ในยามเด็กที่นอนอยู่ในเปล พี่ชายท่านจะต้องแวะมาหาท่านอย่างน้อยวันละ ๔ ครั้ง ถ้าไม่เช่นนั้น ท่านหญิงจะร้องไห้งอแง ความรักที่ท่านมีต่อพี่ชายมากมาย จนไม่สามารถจินตนาการได้ ในยามที่ท่านได้เห็นพี่ชาย ใบหน้าของท่านจะเป็นประกายสดชื่น จนท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ปรารภกับท่านศาสดาว่า “ซัยนับรักฮูเซนเหลือเกิน จนไม่อาจแยกจากกันได้เลย”

ในช่วงห้าปีแรก ท่านหญิงมีชีวิตอยู่ร่วมกับท่านตาของท่าน เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขอย่างที่สุดในชีวิต ตราบที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ ท่านหญิงจะได้รับความเคารพนับถือและให้เกียรติ

ท่านถูกอบรมเลี้ยงดูมาในบ้าน ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้ส่งญิบรออีลและคัมภีร์อัลกุรอานลงมา บ้านซึ่งบรรดามะลาอิกะฮ์เคยลงมาเป็นองครักษ์ปกป้องปวงภัย ไม่ว่าใครจะมาจากใกล้หรือไกลก็จะพากันให้ความเคารพนับถือ

๑๑

บ้านหลังนี้ และใครที่มีความประสงค์สิ่งใดเขาก็จะได้รับการตอบสนอง สถานที่แห่งนี้เอง ที่เป็นสถานที่ ซึ่งท่านได้รับการอบรมฝึกฝน ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เมื่อท่านศาสดาสิ้นชีวิต

ในวันที่ ๒๘ ซอฟัร ฮ.ศ. ๑๑

ท่านหญิงซัยนับจะโศกเศร้าอาดูรปานใด ความโศกเศร้าไม่อาจบรรยายได้ เมื่อประตูบ้านของมารดาของท่านถูกคุกคามโดยศัตรู พวกเขาได้ใช้เชือกมัดรอบต้นคอของอิมามอะลี บิดาของท่าน เพื่อพาไปยังมัสยิด

 และบังคับให้ท่านอิมามยอมให้สัตยาบันกับค่อลีฟะฮ์

เหตุการณ์เหล่านี้ทำร้ายจิตใจของท่านหญิงอย่างแสนสาหัส และความทุกข์ยากนั้นเพิ่มเป็นทวีคูณ เมื่อสวนฟะดักซึ่งเป็นของขวัญที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ได้รับมาจากท่านศาสดาถูกยึดไป

นี่เป็นการเริ่มต้นของความทุกข์ยากหลังจากการสิ้นชีวิตของบิดาและมารดา

หลังจากการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา การปฏิบัติการที่เลวร้ายเกิดขึ้นกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์อย่างมากมาย ท่านต้องอดทนต่อสภาพเหล่านั้น ด้วยความกล้าหาญ แต่หัวใจของท่านได้แตกสลาย ท่านมีชีวิตอยู่ได้เพียง ๗๕ วัน หลังจากที่ท่านศาสดาสิ้นชีวิต

๑๒

 ท่านหญิงซัยนับมีอายุเพียง ๕ ขวบ สิ่งที่ได้ทำให้ท่านตกใจมาก น่าประหลาด! ดูราวกับว่าในช่วงชีวิตของท่านศาสดา บุคคลและบ้านที่เคยได้รับความเคารพนับถือ มาบัดนี้กลายเป็นเป้าจากการถูกโจมตีของผู้ที่เคยแสดงตัวว่าจงรักภักดีต่อท่าน

บทเรียนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งการสิ้นชีวิตของมารดา ทำให้ท่านยืนหยัดอยู่ได้อย่างดียิ่งใน

ช่วงเวลาแห่งการสังหารหมู่ที่กัรบะลา

การอบรมสั่งสอนที่ท่านได้รับจากท่านศาสดา เป็นเสาหลักแห่งชีวิตหลังจากการสิ้นชีวิตของมารดา ท่านหญิงได้รับการอบรมเลี้ยงดูโดยท่านอิมามอะลี บิดาของท่าน

ทายาทของท่านหญิง

ใน ฮ.ศ. ๑๖ ท่านหญิงสมรสกับอับดุลลอฮ์ บุตรของญะอ์ฟัร ฏอยยัร มีบุตรชาย ๔ คน คือ ท่านอูน ท่านมุฮัมมัด ท่านอับบาสและท่านอะลี มีบุตรสาว ๑ คน คือ ท่านหญิงกุลซูม สองในสี่ท่านคือท่านอูนและมุฮัมมัด ถูกสังหารเป็นผู้สละชีพที่กัรบะลาพร้อมกับอิมามฮูเซน

๑๓

ท่านอับบาสไม่มีบุตร ท่านอะลีเป็นผู้เดียวในสายของท่านหญิงซัยนับและอับดุลลอฮ์ที่มีทายาทสืบต่อมา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม ‘อาลีซัยนาบียะฮ์’ จากหนังสือ ‘อะลี อัดลุ วัช ผู้สละชีพ” ท่านศาสดาและท่านอะลีได้กล่าวว่า ทายาทของท่าน

หญิงนับรวมเป็นทายาทของพวกท่านด้วย ท่านหญิงกัลโซมบุตรสาวของท่านสมรสกับ กอเซ็ม บุตรของมุฮัมมัด น้องชายของอับดุลลอฮ์.

๑๔

บทที่ ๒

อับดุลลอฮ์ บิน ญะอ์ฟัร ฏอยยัร

เมื่อย่างเข้าสู่วัยสาว ท่านหญิงซัยนับมีผู้หมายปองในตัวท่านมากมาย หนึ่งในนั้นคือ อะซารบุตรของกอยส์ ผู้นำที่เข้มแข็งคนหนึ่งของอาหรับ ท่านอิมามไม่เห็นชอบและไม่ยินยอม เพราะท่านมีผู้ที่หมายมั่นไว้ในใจอยู่แล้ว คืออับดุลลอฮ์ หลานชายของท่าน บุตรของญะอ์ฟัร ฏอยยัร ท่านศาสดาก็ได้เคยหมายมั่นไว้เช่นกัน เมื่อท่านเฝ้ามองอับดุลลอฮ์และท่านหญิงซัยนับตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่ออับดุลลอฮ์อายุ ๒๒ปี จึงมาสู่ขอท่านหญิง ซึ่งอิมามอะลีก็ยินดี และเตรียมการจัดพิธีสมรสขึ้น ในขณะนั้นท่านหญิงซัยนับอายุเพียง ๑๑ ปี พิธีได้จัดขึ้นในปี ฮ.ศ. ที่ ๑๖

สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่เป็นเหตุผลหนึ่งของท่านศาสดา ในการเลือกอับดุลลอฮ์ให้กับท่านหญิงซัยนับ ก็เพราะท่านคือบุตรของท่านญะอ์ฟัร

บุตรของอบูฏอลิบ พี่ชายของท่านอิมามอะลี ซึ่งรู้จักกันในนาม

๑๕

‘ญะอ์ฟัร ฏอยยัร’ ท่านเป็นมุสลิมกลุ่มแรกที่ออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาในอบิสซีเนียเพื่อประกาศสัจธรรม

  ‘นมาซญะอ์ฟัร ฏอยยัร’ เป็นนมาซที่ท่านศาสดาสอนให้ท่าน ซึ่งจะได้รับการตอบรับอย่างรวดเร็ว และ เป็นการขออภัยโทษในบาปใหญ่ ท่านถูกสังหารในสงคราม ‘มูตะฮ์’ โดยแขนของท่านถูกตัดจนขาดทั้งสองข้าง ท่านศาสดาร่ำไห้ต่อการสูญเสีย ในครั้งนี้อย่างมาก แต่ท่านก็ได้รับการบอกข่าวดีจากญิบรออีลว่า

ท่านญะอ์ฟัรได้รับปีกทั้งสองข้างแล้ว และจะโบยบินไปพร้อมๆ กับบรรดามะลาอิกะฮ์บนสวนสวรรค์

ท่านศาสดาจึงรุดไปปลอบโยนครอบครัวของผู้กล้าหาญ ท่านลูบที่ศีรษะสมาชิกในครอบครัวทุกคนพร้อมกับอุ้มอับดุลลอฮ์ไว้บนตัก และขอพรต่ออัลลอฮ์ให้คุ้มครองดูแลครอบครัวของญะอ์ฟัร พร้อมกับให้พรอับดุลลอฮ์ในการดำรงชีวิตท่านศาสดารักอับดุลลอฮ์ และเคยนำไปมัสยิดกับท่าน

 ด้วยเหตุนี้ไม่น่าประหลาดใจว่า เหตุใดท่านจึงเลือกอับดุลลอฮ์ให้กับท่านหญิงซัยนับ

๑๖

ครั้งหนึ่งเมื่ออับดุลลอฮ์ลงทุนซื้อฝูงแกะ ท่านศาสดาได้ขอพรต่ออัลลอฮ์ให้ประทานความสำเร็จให้ท่าน ตั้งแต่นั้นมาอับดุลลอฮ์ก็มีฐานะมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรือง ท่านมาจากตระกูลบนีฮาชิม เป็นคนใจบุญเอื้อเฟื้อ เป็นที่รู้จักกันในนาม “กุตูบูศ ซอคเราะฮ์ ” ท่านเป็นคนสง่างาม นิสัยดี รูปร่างของท่านคล้ายคลึงกับอับดุลลอฮ์บิดาของท่านศาสดา จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ชื่อนี้ถูกเลือกไว้สำหรับท่าน

เมื่ออิมามอะลี ย้ายไปอยู่ที่กูฟะฮ์ และสถาปนาเป็นเมืองหลวงของท่าน หลังจากต้องรับตำแหน่งค่อลีฟะฮ์ อับดุลลอฮ์และท่านหญิงซัยนับ จึงติดตามไปด้วยและพักอยู่ที่นั่น จนกระทั่งอิมามอะลี ถูกสังหาร ท่านทั้งสองจึงย้ายกลับมาอยู่ที่มะดีนะฮ์ด้วยหัวใจที่แตกสลาย อิมามอะลีมีความพึงพอใจในตัวของอับดุลลอฮ์มาก ซึ่งท่านจะมาเยี่ยมเยือนพบปะพูดคุยกับอิมามอะลีจนเป็นกิจวัตร เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับคำสอนของอิสลาม เพราะท่านเคยได้ยินท่านศาสดากล่าวว่า “ฉันคือนครแห่งความรู้ และอะลีคือประตูของมัน”

อับดุลลอฮ์เคยเป็นแม่ทัพที่มีทหารใต้บังคับบัญชาถึง ๑๐,๐๐๐ คนในสงครามญะมัล (อูฐ) และเคยถูกส่งไปสู้รบในสงครามซิฟฟีน มุอาวิยะฮ์เคยชักชวนให้อับดุลลอฮ์มาเข้าร่วมกับเขา แต่มันเป็นไปไม่ได้

๑๗

แม้แต่จะคิดเกี่ยวกับข้อเสนอนี้ เพราะท่านคิดเสมอว่า มุอาวิยะฮ์คือศัตรูตัวฉกาจของอิสลาม หลังจากสิ้นอิมามอะลี ท่านก็ยอมรับอิมามฮาซัน เป็นอิมามของท่าน หลังจากนั้นก็อยู่กับอิมามฮูเซนท่านได้ส่งบุตรชายทั้งสองคือ อูนและมุฮัมมัดไปเพื่อช่วยเหลืออิมามฮูเซน ที่กัรบะลา และเมื่อข่าวการสละชีพของบุตรทั้งสองมาถึง ท่านได้ยกมือขึ้นและขอบคุณต่ออัลลอฮ์ ท่านเสียชีวิตเมื่ออายุ ๘๘ ปี

ท่านศาสดานับรวมท่านไว้เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัว ด้วยเหตุนี้ จึงควรที่จะมอบความเคารพนับถืออย่างสูงให้กับท่าน และผู้หนึ่งควรจะคิดว่า ท่านก็เป็นหนึ่งในครอบครัวของท่านศาสดา.

๑๘

บทที่ ๓

แบบฉบับแห่งคุณธรรมและจิตวิญญาณที่บริสุทธิ์

ท่านหญิงซัยนับ ได้รับการสืบทอดคุณสมบัติทุกประการมาจากมารดาของท่าน คือท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ) สุนทรพจน์ของท่านมีแบบฉบับมาจากบิดา ความอดทนอดกลั่นมาจากพี่ชายของท่านคืออิมามฮาซัน

ส่วนความกล้าหาญและความสามารถในการควบคุมตนเองมาจากอิมามฮูเซน ท่านเป็นหลานสาวของท่านศาสดา เป็นลูกของอิมาม เป็นน้องสาวของอิมาม และเป็นอาของอิมาม

สายเลือดของการเป็นศาสดาและอิมามรวมอยู่ในตัวของท่าน นอกจากมารดาแล้วไม่มีใครเสมอเหมือนท่านเลย

การดำเนินชีวิตของท่าน เป็นแบบฉบับแห่งคุณธรรม ที่ปรากฏอยู่ในตัวท่านโดยอนุมัติของพระผู้เป็นเจ้า

๑๙

ท่านเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเพรียบพร้อมสมบูรณ์ทุกด้านอย่างที่ปุถุชนธรรมดาไม่สามารถจะเป็นได้เลย พลังและความบริสุทธิ์ทางด้านจิตวิญญาณของท่านเป็นที่น่าประหลาดใจ แม้ในด้านความรู้ที่สูงสุดและในทุกๆด้าน ท่านปฏิบัติตามหลักการและมาตราฐานที่มารดาของท่านได้วางไว้ เป็นแม่แบบแห่งการมีคุณธรรมและกล้าหาญสำหรับผู้หญิงทุกคน นับเป็นการสมควรที่เราจะพยายามและดำเนินรอยตามแบบฉบับของท่านเมื่อใดก็ตามที่มีโอกาส

ด้วยพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า ท่านหญิงได้พัฒนาตนเองจนถึงขั้นจุดสูงสุด จนท่านไม่รู้จักว่า ความกลัวคืออะไร? ทำให้มาถึงจุดที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งอาจจะเปรียบได้กับตำแหน่งผู้ที่ใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า (วลียุลลอฮ์) ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านเป็นเช่นนั้น พระผู้เป็นเจ้าทรงประสงค์ให้ท่านพิสูจน์ตัวเองให้โลกรับรู้จากเหตุการณ์ที่กัรบะลา ถึงคุณสมบัติที่หาได้ยากยิ่ง ซึ่งท่านก็ทำให้ชาวโลกได้ประจักษ์ และในการที่มอบบุตรชายสุดที่รักทั้งสองเป็นพลีเพื่อช่วยเหลืออิมามฮูเซน ท่านก็ไม่เคยคิดเป็นอื่นใด

๒๐

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

รายงานมาผนวกเข้าหากันได้ก็ให้ยกเลิกไปเลยทั้งสองบทรายงาน หรือให้ใช้วิจารณญาณเลือกเอาบทใดบทหนึ่งมาถือปฏิบัติ

๒- บทรายงานที่มีมาตรฐานเหลื่อมล้ำกัน

เมื่อรายงานฮะดีษบทหนึ่ง มีความดีเด่นเป็นพิเศษมากกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งในแง่ต่างๆ ถือว่าให้ยึดเอารายงานบทนี้เป็นหลักปฏิบัติได้และให้ละทิ้งบทรายงานที่ขัดแย้งกับอันนี้ได้ ทั้งนี้ก็เพราะมันมีมาตรฐานที่เหลื่อมล้ำกันนั่นเอง

มาตรฐานเหนือกว่าประเภทต่างๆ

นักปราชญ์วิชาฮะดีษได้ศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานในด้านต่างๆ ของบทรายงานแล้วได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

๑- เหนือกว่าในแง่ของสารบบการรายงาน

หมายความว่า เมื่อมีพื้นฐานในแง่ของสารบบการรายงานอย่างสมบูรณ์พร้อมสรรพปรากฏอยู่ในฮะดีษบทใดบท

บทหนึ่งที่มีความหมายขัดแย้งกันแล้วเมื่อนั้นจึงจะสามารถให้ความมั่นใจได้ว่า ฮะดีษบทนั้นเป็นที่น่าเชื่อถือว่ามาจากท่านนบีหรืออิมาม มากกว่าฮะดีษหนึ่งอย่างแน่นอน จึงทำให้มีการยึดถือฮะดีษบทนั้นเป็นหลักโดยให้ละทิ้งฮะดีษที่มีความหมายขัดแย้งกับฮะดีษบทนั้น

๑๔๑

 ความมีมาตรฐานเหนือกว่าเป็นดังนี้ คือ

ก.ต้องประกอบด้วยนักรายงานเป็นจำนวนมาก

หมายความว่า ถ้าหากบทรายงานใด ถูกถ่ายทอดมาโดยนักรายงานที่มีจำนวนมากกว่า นักรายงานที่ถ่ายทอดบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง ให้ถือว่านี่คือความมีมาตรฐานที่เหนือกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง

ข.ต้องประกอบด้วยนักรายงานที่มีคุณสมบัติเหนือกว่า

หมายความว่า นักรายงานที่ถ่ายทอดบทรายงานใดมีคุณสมบัติเหนือกว่านักรายงานซึ่งถ่ายทอดบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือ ความรู้ ความสำรวมตนความเคร่งครัด

ก็ให้ยึดถือเอาบทรายงานที่ถ่ายทอดโดยนักรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ ความรู้ ความสำรวมและความเคร่งครัดที่เหนือกว่า เป็นหลัก

ค.มีสารบบการรายงานที่เหนือกว่า

หมายความว่า เป็นบทรายงานที่ผ่านการถ่ายทอดจากนักรายงานที่เป็นสื่อกลางระหว่างนบี หรือ อิมามเพียงจำนวนน้อย

หมายความว่า ให้ยึดถือบทรายงานที่ผ่านสื่อกลางจำนวนน้อยกว่าเป็นหลักเสมอเพราะถือว่า มีโอกาสที่จะผิดพลาดหรือหลงลืมในการถ่ายทอดน้อยกว่า

ดังนั้น บทรายงานที่ถูกถ่ายทอดมาจากสาวกของท่านนบี(ศ) โดยตรง ย่อมได้รับความเชื่อถือมากกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง เมื่อเป็นบทรายงานที่ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นตาบิอีน ซึ่งได้รับการรายงานมาจากรุ่นสาวกอีกชั้นหนึ่งที่ได้รับมาจากท่านนบี(ศ)

๑๔๒

๒. เหนือกว่าในแง่ของเนื้อความ

หมายความว่า เป็นบทรายงานที่มีพื้นฐานในด้านต่างๆ อย่างพร้อมสรรพในแง่ของเนื้อความ โดยที่ถ้าหากในเนื้อความของบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งไม่มีความพร้อมสรรพเช่นนั้นปรากฏอยู่ ให้ถือว่านี่คือส่วนหนึ่งที่ทำให้บทรายงานนั้นมีฐานะที่ได้รับความเชื่อถือเหนือกว่า ว่าต้องมีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม

มาตรฐานที่เหนือกว่าในด้านนี้ คือ

ก.เราได้ทราบมาแล้วว่า บางครั้งฮะดีษจะถูกถ่ายทอดมาตามข้อบัญญัติ

จากนบีโดยตรง (วจนะของท่านนบี (ศ)) บางครั้งจะถูกถ่ายทอดมาเฉพาะแต่ความหมายอย่างเดียว โดยจะใช้สำนวนประโยคอีกอย่างหนึ่งที่มิได้เป็นถ้อยคำในประโยคคำพูดของท่านนบี อาจทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน

เมื่อเป็นเช่นนั้น จะต้องถือเอาบทรายงานที่มีคุณสมบัติในด้านถ้อยคำเหนือกว่าเป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานอื่นที่มีคุณสมบัติเพียงให้ความหมายอย่างเดียวเท่านั้นเสมอ

โดยมีข้อสันนิษฐานว่า นักรายงานย่อมไม่มีความสามารถพอที่จะเรียงร้อยถ้อยคำเพื่อให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์เท่ากับถ้อยคำของท่านนบี

๑๔๓

ข.พื้นฐานในสำนวนแห่งเนื้อความ จะต้องประกอบด้วยพลังอรรถรส และความสละสลวย...ฯลฯ เพราะว่า เนื้อความที่มีพลังอรรถรสอย่างสละสลวย จะต้องมาก่อนบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง แต่มีจุดด้อยในโครงสร้างของประโยคทั้งนี้ก็เพราะว่า ถ้อยคำที่มาจากท่านศาสนทูต (ศ) นั้น

เต็มไปด้วยอรรถรสและสละสลวย ปราศจากจุดด้อยและถ้อยคำที่สับสน

ค.บทรายงานใดมีการยืนยันหลักฐานไว้อย่างหนักแน่นกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนครั้งในการยืนยันความหมาย หรือจะเป็นถ้อยคำเชิงสาบาน จะต้องถือเอาบทรายงานที่มีการยืนยันหลักฐานอย่างหนักแน่นนั้นเป็นหลักไว้ก่อน

ยกตัวอย่างบทรายงานที่ยืนยันหลักฐานไว้อย่างหนักแน่น ในเรื่องของการทำนมาซย่อ

สำหรับคนเดินทาง เมื่อเดินทางออกจากภูมิลำเนา หลังจากนั้นก็เข้าเวลานมาซ มีข้อความจากบทรายงานว่า

 “ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ถ้าหากท่านไม่ทำเช่นนั้น เท่ากับท่านขัดขืนคำสั่งของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ” (๑๐๒)

จากการศึกษาวิเคราะห์เนื้อความของบทรายงานนี้ เราจะพบว่ามีการแสดงหลักฐานหลายครั้ง เพราะว่าคำพูดของอิมามที่ว่า “จงย่อ” นั้น หมายความว่าการนมาซย่อนั้นเป็นวาญิบ

เช่นเดียวกับที่ท่านกล่าวว่า “ถ้าหากท่านไม่ทำเช่นนั้นเท่ากับท่านขัดขืน” อีกทั้งยังมีถ้อยคำสาบานปรากฏอยู่ด้วย ยิ่งทำให้การยืนยันหลักฐานหนักแน่นมากขึ้นไปอีก

๑๔๔

๓. เหนือกว่าในแง่ของปัจจัยภายนอก

มาตรฐานที่เหนือกว่าอีกประการหนึ่ง ที่จะมีบทรายงานหนึ่ง แต่ไม่มีในบทรายงานอื่นๆ ที่ความหมายขัดแย้งกัน ที่เรียกว่ามาตรฐานเหนือกว่าโดยปัจจัยภายนอก ก็เพราะว่าเป็นความได้เปรียบที่นอกเหนือไปจากเรื่องของ

สารบบการรายงานและเนื้อความ ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

ก.มีหลักฐานด้านอื่น สนับสนุนหลักฐานที่แสดงไว้ในบทรายงานนี้เพราะว่าจากการที่มีหลักฐานภายนอกให้การสนับสนุน จึงทำให้บทรายงานนี้มีความน่าเชื่อถือสูงกว่าบทรายงานที่มีความขัดแย้ง

ข.หลักปฏิบัติของนักปราชญ์ส่วนมากในอดีตที่เป็นไปตามความหมายของบทรายงานนี้ คือ ส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมความได้เปรียบให้แก่ความหมายของบทรายงานนี้ ซึ่งนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงได้ให้คำวินิจฉัยเอาไว้

หรือเพราะว่าเป็นหลักปฏิบัติของคนในสมัยอดีตที่ใกล้เคียงกับแหล่งที่มาของบทบัญญัติได้ช่วยเสริมให้บทรายงานนี้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ว่าต้องมีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เขาเหล่านั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่สนับสนุนความถูกต้องของบทรายงาน มิเช่นนั้น องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้จะไม่มีวันตกทอดมาจนถึงพวกเรา

๑๔๕

หลังจากที่ได้เสนอทัศนะต่างๆ ทางด้านวิชาการ เรื่องมาตรฐานความน่าเชื่อถือของบทรายงาน ทั้งในแง่ที่ทัดเทียมกันและเหลื่อมล้ำกันแล้วถือว่า สมควรอย่างยิ่งที่เราจะได้ชี้แจงว่าสำหรับนักปราชญ์แต่ละท่านนั้น ต่างก็มีทัศนะ มีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อบทรายงานบางส่วนที่มีความเหลื่อมล้ำกันเหล่านี้แตกต่างกัน

การแก้ปัญหาบทรายงานฮะดีษที่ขัดแย้งกัน

นักปราชญ์สาขาอุศูลุล-ฟิกฮฺ ได้กำหนดแนวทางด้านวิชาการไว้สำหรับแก้ไขปัญหากรณีที่บทรายงานฮะดีษต่างๆ ขัดแย้งกัน

วิชาการด้านนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักรายงาน

จุดประสงค์ที่สำคัญก็คือ เพื่อให้ได้ข้อสรุปทางวิชาการในการกลั่นกรองบทรายงานฮะดีษต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งกฏเกณฑ์ทางศาสนา กฎหมาย ตลอดทั้งความรู้ในด้านต่างๆ ตามแนวความคิดของอิสลาม

แนวทางที่ว่านี้ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆ คือ

๑- หลักเกณฑ์ในการนำเอาความหมายระหว่างฮะดีษต่างๆ ที่มีความหมายขัดแย้งกันมาผนวกเข้าหากัน โดยถือเอาบทรายงานที่มีมาตรฐานเหนือกว่าเป็นหลัก

๑๔๖

เช่น การให้นำความหมายในลักษณะทั่วไปกับความหมายในลักษณะชี้เฉพาะมาผนวกเข้าหากันโดยให้ยึดถือรายงานที่มีความหมายในลักษณะชี้เฉพาะเป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานที่มี

ความหมายในลักษณะทั่วไป

เช่นเดียวกับให้นำบทรายงานฮะดีษที่มีความหมายในลักษณะเป็นอิสระมาผนวกเข้าหากันกับบทรายงานที่มีความหมายในลักษณะวางข้อจำกัด โดยให้ยึดถือบทรายงานที่มีความหมายในลักษณะวางข้อจำกัด เป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานที่มีความหมายในลักษณะเป็นอิสระ

การอธิบายเชิงวิชาการตามหลักเกณฑ์นี้ คือการยึดหลักที่ยอมรับกันอยู่โดยทั่วไป เพราะเป็นความเข้าใจที่ยอมรับกันอยู่ ถึงที่มาของบทบัญญัติ สองประเภทที่มาจากเจ้าของกฎผู้ทรงไว้ซึ่งวิทยปัญญา นั่นคือกฎเกณฑ์หนึ่ง จะถูกประทานมาในลักษณะทั่วไป อีกกฏเกณฑ์หนึ่งจะถูกประทานมา ในลักษณะชี้เฉพาะ

หรืออาจพูดได้ว่า กฏเกณฑ์หนึ่งจะถูกประทานมาในความหมายที่เป็นอิสระแต่อีกโองการหนึ่งจะถูกประทานมาในความหมายที่มีข้อจำกัด

ฉะนั้นกฎเกณฑ์ใดที่มีความหมายชี้เฉพาะ โดยมีข้อจำกัดว่างอยู่นั่นเอง คือเจตนารมณ์ของผู้ทรงวางกฎ

๑๔๗

แต่ทว่า มิได้ความหมายว่ากฏเกณฑ์นี้จะถูกประทานมาเพื่อหักล้างจุดประสงค์ของอีกกฎหนึ่ง หากแต่หมายความว่า เป็นกฏเกณฑ์ที่ถูกประทานมาเพื่ออธิบายเจตนารมณ์ของผู้ทรงวางกฎและเพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งนั่นเอง

ยกตัวอย่าง บทรายงานว่าด้วยเรื่องดอกเบี้ย โดยทั่วไปแล้วถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้าม ดังข้อความในโองการต่างๆ ที่ได้ห้ามในเรื่องนี้ไว้แต่เรายังพบว่า มีหลายบทรายงานฮะดีษที่อนุโลมให้มุสลิมรับดอกเบี้ยจากคนกาฟิรฺประเภทหัรฺบีย์ (คู่สงคราม)ได้ดังมีบทรายงานจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่า

“พวกท่านอย่ากินดอกเบี้ย และอย่าใส่ร้ายสตรีที่ครองเรือน”(๑๐๒)

มีรายงานจากท่านนบี(ศ)อีกว่า

“ระหว่างพวกเรากับพวกที่ทำสงครามกับเรานั้น มิใช่ดอกเบี้ยเราสามารถรับมาจากพวกเขา ๑,๐๐๐ ดิรฺฮัม ต่อจำนวนที่เรามอบให้ ๑ ดิรฺฮัม ได้ และเราจะต้องไม่ให้ดอกเบี้ยแก่พวกเขา”(๑๐๔)

เมื่อเรามาพิจารณาบทรายงานต่างๆ เหล่านี้ที่มีความหมายขัดแย้งกันเราจะสามารถเข้าใจได้ว่า ผู้ทรงวางกฏมิได้หักล้างกฎของพระองค์เองแต่อย่างใด

หากทรงวางกฎประเภทชี้เฉพาะมากำกับกฎประเภททั่วไป เพื่ออธิบายในหลักการว่า มีข้อยกเว้นอยู่ในกฏข้อห้ามเรื่องดอกเบี้ย โดยคนมุสลิมสามารถรับดอกเบี้ยจากคนกาฟิรฺประเภทหัรฺบีย์ได้

๑๔๘

๒- เปรียบเทียบเพื่อหาบทรายงานที่มีมาตรฐานเหนือกว่า

หมายความว่า เมื่อได้มีการตรวจสอบมาตรฐานของบทรายงาน ทั้งในแง่ของสารบบการรายงาน หรือเนื้อความ หรือปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าปรากฏอยู่ในบทรายงานนั้นๆแล้ว ให้ถือว่าการปฏิบัติตามความหมายในบทรายงานนั้น เป็นกฎอย่างหนึ่ง

๓- การพิจารณาคัดเลือก

ในที่นี้หมายความว่า ผู้ปฏิบัติศาสนกิจสามารถเลือกปฏิบัติตามบท รายงานใดก็ได้ ในระหว่างสองบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งกัน ที่ไม่สามารถนำความหมายมาผนวกเข้าหากันได้และที่ไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบ ระหว่างกันแต่อย่างใด ในระหว่างสองบทรายงาน

๔- ยกเลิกทั้งสองบทรายงาน

มีนักปราชญ์บางกลุ่มให้ความเห็นว่า บทรายงานต่างๆที่มีความขัดแย้งอันคงที่นั้น เมื่อไม่สามารถหาวิธีการใดแก้ปัญหา ไม่ว่าจะโดยวิธีผนวกความหมายเข้าหากัน หรือวิธีเปรียบเทียบเพื่อหาความมีมาตรฐานที่เหนือกว่าในด้านต่างๆระหว่างกันและกัน ถือว่าต้องยกเลิกความเชื่อถือจากทั้งสองบทรายงานนั้นเสีย จนกระทั่งว่าบทรายงานประเภทนี้ แทบจะมิได้ตกทอดมาถึงยุคของเรา

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ให้ย้อนกลับไปยึดถือในหลักการขั้นพื้นฐานเช่น หลักการว่าด้วย “อัล-บะรออะฮฺ”*และอัล-อิหฺติยาฎ.....

๑๔๙

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ

พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก

*อัล-บะรออะฮฺ หมายถึงการปลดเปลื้องความรับผิดชอบในกฏเกณฑ์ใดก็ตาม ที่ไม่ปรากฏหลักฐานให้แก่เราอย่างชัดเจน

เชิงอรรถ/หนังสืออ้างอิง

๑- อัร-รอวีย์/มุคตารุศศิฮาหฺ

๒- ซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อะมานะฮฺ ลิล ฟิกฮิล-มุกอริน/หน้า๑๒๑

๓- มุจมุอุล-บะหฺรัยน์/กิตาบุน-นูน/ หมวดอักษร “ซีน”

๔- อัล-อิหฺกาม ฟี อุศูลุล-อะหฺกาม/เล่ม๑/หน้า๒๒๓/ตรวจทานโดย

ดร.ซัยยิด ญะมีลีย์

๕- เล่มเดิม

๖- อัร-รอฆิบ อัล-อิศฟะฮานีย์/ปทานุกรมศัพท์ อัล-กุรฺอาน

๗- อัล-มุอ์ญัม อัล-วะซีฏ

๘- อัล-วะซาอิล/เล่ม๘/หน้า๕๙๗/อักษร หาอ์ ๕)

๙- อัล-กุลัยนีย์/อุศูลุล-กาฟีย์/เล่ม๑/หน้า๕๙

๑๐-๑๑ อ้างแล้ว

๑๒- อ้างแล้ว หน้า ๗

๑๓- อัล-มุฮักกิก อัล-ฮิลลีย์/มะอฺริญุล-อุศูล/หน้า ๑๘๐

๑๔- อับดุลลอฮฺ ชะบิร/ฮักกุล-ยะกีน ฟีมะริฟะฮฺ อุศูลุดดีน/เล่ม๑/หน้า๙๔

๑๕- อัร-รอฆิบ อัล-อิศฟะฮานีย์/ปทานุกรมศัพท์ อัล-กุรฺอาน

๑๖- อัล-อิศอบะฮฺ ฟี ตัมยีซศ่อฮาบะฮฺ/เล่ม๑/หน้า๗/บทที่๑

๑๗- อัล-อิศอบะฮฺ ฟี ตัมยีซศ่อฮาบะฮฺ/เล่ม๑/บทนำ/หน้า ๑๐-๑๑

๑๘- อัล-ยะกูบีย์/ตารีคุล-ยะกูบีย์/เล่ม๒/หน้า ๑๖๒

๑๙- อัล-ยะกูบีย์/ตารีคุล-ยะกูบีย์/เล่ม๒/หน้า ๑๖๒ พิมพ์ที่กรุงเบรุต

๒๐- มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อะมานะฮฺ ลิลฟิกฮฺ อัล-มุกอริน/หน้า ๔๓๙

๒๑- อัล-อามิดีย์/อัล-อะหฺกาม ฟี อุศูล-ลิล-อะหฺกาม/เล่ม๒/หน้า ๑๕๕

๒๒- อ้างแล้ว

๒๓- อัต-ติรมิซีย์/อัล-ญามิอุศ-ศ่อฮีฮฺ/เล่ม๕/หน้า๖๒๒/อิบนุ อัล-อะษีร/ญามิอุล-อุศูล/เล่ม๑/หน้า

๑๗๘

๒๔- อัล-มัจลิซีย์/บิหารุล-อันวาร/เล่ม๒/หน้า ๑๗๕

๒๕- อัลลามะฮฺ อัล-มัจลิซีย์/บิหารุล-อันวาร/เล่ม๒/หน้า ๑๗๓

๒๖- อัด-ดิรอยะฮ์/หน้า ๖

๒๗- อัฏ-ฏ็อบรีย์/อัล-อิหฺติญาจ/เล่ม๒/หน้า ๒๔๖/และ อะหฺมัด บิน

 ฮัมบัล

๒๘- อัซ-วะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์ ฟี ชะเราะฮฺ ตักรีบ นะวาวีย์/เล่ม๑/

หน้า ๓๐

๒๙- อัล-บะฮฺบูดีย์/ศ่อฮีฮุล กาฟีย์/เล่ม ๑/บทนำ

๓๐- อะลามุล-มุวักกิอีน/เล่ม๒/หน้า ๒๒๓

๑๕๐

๓๑- มีซานุล-อิติดาล/เล่ม ๑/หน้า ๔๑๒-๔๑๓

๓๒- อัต-ติรมิซีย์/สุนัน อัต-ติรมิซีย์/เล่ม ๕/หน้า ๔๓

๓๓- อัร-รอซีย์ อัล-ญะเราะฮฺวัต-ตะดีล/เล่ม ๑/หน้า ๔๕๓

๓๔- อัล-อิสก็อลลานีย์/อัต-ตะฮฺซีบ/เล่ม ๑/หน้า ๔๑๙

๓๕- อัต-ตะฮฺซีบ/เล่ม ๖/หน้า ๒๑๖

๓๖- ญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์ ฟี ชะเราะฮฺ

 ตักรีบอัน-นะวารีย์/เล่ม ๒

๓๗- เล่มเดิม ที่เดียวกัน

๓๘- เล่มเดิม/หน้า ๖๒-๖๓

๓๙- ๔๐-๔๑-เล่มเดิม

๔๒- อัล-มัจลิซีย์/บิหารุล-อันวาร/เล่ม ๒๓/หน้า ๑๕๔

๔๓- อัล-บุคอรี/ศ่อฮีฮุล-บุคอรี/เล่ม ๑/หน้า ๒๙/กิตาบุล-อิลม์/

พิมพ์โดย สำนักพิมพ์อิหฺยาอุต-ตุรอษิล-อะเราะบีย์/กรุงเบรุต

๔๔- มุสนัด อะหฺมัด บิน ฮัมบัล/เล่ม ๓/หน้า ๑๒/พิมพ์โดย

 ดารุศ-ศอดิร กรุงเบรุต

๔๕-ญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์/หน้า ๖๓

๔๖- ญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์/หน้า ๖๒

๔๗- ฟัตหุล-บารีย์ ศ่อฮีฮฺ บุคอรี หมวดว่าด้วย กิตาบุล-อิลม์/หน้า ๒๑๘

๔๘-อัซ-วะฮะบีย์/ตัซกิเราะตุล-หุฟฟาซ เรื่องอะบูบักร์/เล่ม ๑/หน้า ๒-๓

๔๙- เล่ม ๕/หน้า ๑๔๐ เรื่องอัล-กอซิม บิน มุฮัมมัด บิน อะบูบักร์

๑๕๑

๕๐- มุนตะค็อบ กันซุล-อุมมาล ภาคผนวก มุสนัดอะหฺมัด เล่ม ๔/

หน้า ๖๔

๕๑- มุรตะฎอ อัล-อัสกะรีย์/มุอาละมุล-มัดเราะสะตัยน์/เล่ม ๒/หน้า ๔๘

๕๒- อิบนุมันซุร/ลิซานุล-อะร็อบ

๕๓- อัล-ฟะกีฮุล-ลัฆวีย์/ฟัครุดดีน อัฏ-ฏอริฮีย์/มัจมุอุล-บะรัยน์/

กิตาบุล-อัยน์/หมวดอักษรบาอ์

๕๔- ศ่อฮีฮฺมุสลิม เล่ม ๖ เรื่องการนมาซญุมอะฮฺ

๕๕- อัล-กุลัยนีย์ อุศูลุล-มินัลกาฟีย์/เล่ม ๑/หน้า๕๔

๕๖- ๕๗ เล่มเดิม

๕๘- เล่มเดิม หน้า ๕๗

๕๙- อัล-กุลัยนีย์ อุศูลุล-มินัล-กาฟีย์/เล่ม ๑/หน้า ๕๘

๖๐- อัล-หุร-รุล-อามิลีย์/อัล-วะซาอิล/เล่ม ๑๖/หน้า ๑๕๔/

พิมพ์โดยสถาบัน อาลิล-บัยตฺ เมืองกุม

สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

๖๑-๖๒-๖๓-อัล-มุฮักกิก อัล-ฮิลลีย์/มะอาริญุล-อุศูล/หน้า ๑๐๙

๖๔- ชะฮีด ษานีย์ ซัยนุดดีน อัล-อามิลีย์/หนังสืออัด-ดิรอยะฮฺ หน้า ๖๕

๖๕- อัด-ดิรอยะฮฺ/หน้า ๑๘

๖๖- ชะฮาดะฮฺ หมายถึง การได้มองเห็นอย่างชัดเจน,

 การยืนยันเหมือนกับได้มองเห็น ในที่นี้หมายถึง การยืนยันว่าบทรายงานใด มีความน่าเชื่อถือด้วยวิธีการที่สามารถทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนได้เข้าไปสัมผัสเอง

๑๕๒

๖๗-อัด-ดิรอยะฮฺ /หน้า ๑๘

๖๘- เล่มเดิม /หน้า ๑๙

๖๙- เล่มเดิม /หน้า ๒๐

๗๐- เล่มเดิม /หน้า ๒๐

๗๑- เล่มเดิม /หน้า ๒๑

๗๒- เล่มเดิม

๗๓- เล่ม ๗/หน้า ๑๐-๑๑

๗๔- มะหฺยุดดีน อัล-ฆอรีฟีย์/กอวาอิดุล-ฮะดีษ/หน้า ๑๗๖

๗๕- มุจมุอุร-ริญาล/เล่ม ๗/หน้า ๑๖๓

๗๖- เล่ม ๖/หน้า ๒๙/เล่มเดียวกัน

๗๗- ซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อามมะฮฺ ลิล ฟิกฮิล-มุกอร็น/หน้า ๑๙๔

๗๘- ซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อามมะฮฺลิล ฟิกฮิล-มุกอริน/หน้า ๑๙๖

๗๙- ดุรูซุ ฟี อิลมิล-อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๐

๘๐- ผู้เคร่งครัดในบทบัญญัติทางศาสนา และมีความรอบรู้ในด้านบทบัญญัติ

๘๑- ดุรูซ ฟี อิลมิล อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๖

๘๒- ดุรูซ ฟี อิลมิล อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๗

๘๓- อัล-อุศูลุล-อามมะฮฺ ลิล ฟิกฮิล มุกอร็น/หน้า ๒๐๑

๘๔- ชะฮีด อัศ-ศ็อดรฺ/ดุรูซ ฟี อิลมิล-อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๗

๑๕๓

๘๕- เล่มเดิม

๘๖- มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูล-อามมะฮฺ ลิล ฟิกฮิล-มุกอร็น/

หน้า ๒๐๕

๘๗- เล่มเดิม /หน้า ๒๒๑

๘๘- อัต-ตะวาตุร มีความหมายในทางภาษาว่า การกระทำตามในสิ่งใดๆ ด้วยกัน

๘๙- อัล-มุฮักกิก ฮิลลีย์/มะอาริญุล-อุศูล/หน้า ๑๔๐

๙๐- ชะฮีด ศ็อดรฺ/ดุรูซ ฟี อิลมิลอุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๘๗

๙๑- ซัยนุดดีน อัลอามิลีย์/อัด-ดิรอยะฮฺ ฟี อิลมิมุศฏอลาฮิล-ฮะดีษ/

หน้า ๑๑๓

๙๒-นักปราชญ์บางท่านให้ความเห็นว่า สามารถนำบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งกันมาผนวกให้เข้ากันได้ ถึงแม้ว่าสารบบการรายงานของบทหนึ่งจะมีมาตรฐานเหนือกว่าอีกบทหนึ่งก็ตาม

๙๓- อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์/เล่ม ๑/หน้า ๙๖

๙๔- เล่มเดิม/หน้า ๕๐

๙๕- ชะฮีด ษานีย์/อัดดิรอยะฮฺ/หน้า ๑๕

๙๖- อัล-ฮุรรุล-อามิลีย์ / วะซาอิลุช-ชีอะฮฺ / เล่ม๓ / หมวดว่าด้วยหนี้สินกับการกู้ยืมบทที่ ๑๒

๙๗- อับดุล-ฮาดีย์ อัล-ฟัฎลีย์/มุบาดิอุล-อุศูลุล-ฟิกฮ์/หน้า ๓๑

๙๘- เล่มเดิม

๙๙- อัล-มุอัจญัม อัล-วะซีฏ/เล่ม ๑

๑๕๔

๑๐๐- ชะฮีด อัศ-ศ็อดร์/ดุรูซ ฟี อิลมิ อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๔๔๙

๑๐๑- มุฮัมมัด ญะวาด มุฆนียะฮฺ/อิลม์ อุศูล-ฟิกฮ์ ฟีเษาบิฮิล-ญะดีด/

หน้า ๔๓๑

๑๐๒- ชะเราะฮฺ มะอาละมุด-ดีน/เชค มุศฏอฟา อัล-อิติมาดีย์/หน้า ๓๒๒

๑๐๓- อัต-ติรมิซีย์/ตัฟซีรซูเราะฮฺ

๑๐๔- อัล-ฮุรรุล-อามิลีย์/วะซาอิลุช-ชีอะฮฺ/บทที่ ๗/หมวดว่าด้วยดอกเบี้ย

....บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ (อ)

ตลอดทั้งคนในยุคตาบิอีน บรรดานักปราชญ์อิสลาม

ต่างได้บันทึกฮะดีษด้วยกันทั้งนั้น

เพราะหากไม่มีใครบันทึกกันแล้ว

แน่นอนการศึกษาซุนนะฮฺก็จะไม่อาจเป็นไปได้

มนุษยชาติจะได้รับความขาดทุนอันใหญ่หลวง

เพราะหมดโอกาสได้รับมรดกทางความคิด

ที่มีมาในหน้าประวัติศาสตร์......

๑๕๕

สารบัญ

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน. ๑

ซุนนะฮฺนบี. ๕

คำว่า “ซุนนะฮฺ” ในแง่ของวิชาการศาสนา ๗

ซุนนะฮฺประเภทต่างๆ. ๑๐

๑ – วจนะของท่านศาสดา ๑๓

๒ – การกระทำของท่านศาสดา (ศ) ๑๔

คำอธิบายว่าด้วยการกระทำของท่านนบี(ศ) ๑๕

ถ้อยคำและลักษณะต่างๆ ที่แสดงเหตุผล. ๒๐

ซุนนะฮฺกับหลักความคิดและบทบัญญัติ. ๒๔

ซุนนะฮฺของสาวก (ศ่อฮาบะฮฺ) ๓๔

ซุนนะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ๔๒

ฮะดีษปลอม. ๔๗

บทเรียนต่างๆ จากฮะดีษปลอม. ๕๑

การบันทึกฮะดีษ. ๕๔

ซุนนะฮฺกับ อัล-กุรฺอาน. ๖๖

หลักวิชาฮะดีษ. ๗๔

คุณสมบัตินักรายงานที่ถูกยอมรับ. ๘๒

การชี้จุดบกพร่องกับการยืนยันในความเที่ยงธรรม. ๘๔

สื่อต่างๆ ในการนำเสนอรายงาน. ๙๐

วิธีจำแนกชื่อ นักรายงานที่ตรงกัน. ๙๕

วิธีจำแนกนักรายงานที่มีชื่อซ้ำกัน. ๙๙

สื่อนำสู่ซุนนะฮฺ. ๑๐๐

ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิจมาอ์. ๑๐๖

กับวิถีดำเนินชิวิตของผู้เคร่งครัดในหลักศาสนา ๑๐๖

การแยกประเภทฮะดีษ. ๑๑๒

ฮะดีษที่มีนักรายงานคนเดียว (อัล-อาฮาด) ๑๒๓

ฮะดีษกับสารบบการรายงาน. ๑๒๗

ฮะดีษมุรซัลประเภทต่างๆ. ๑๓๒

ความขัดแย้งกับวิธีการแก้. ๑๓๕

มาตรฐานเหนือกว่าประเภทต่างๆ. ๑๔๑

การแก้ปัญหาบทรายงานฮะดีษที่ขัดแย้งกัน. ๑๔๖

ความหมายในลักษณะทั่วไป. ๑๔๗

เชิงอรรถ/หนังสืออ้างอิง ๑๕๐

๑๕๖

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175