ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม22%

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์
หน้าต่างๆ: 175

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 175 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 47196 / ดาวน์โหลด: 4706
ขนาด ขนาด ขนาด
ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ความดีงามพิเศษ :

บทขอพรของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นมีความดีงามพิเศษมากมายที่ไม่มีผู้ใดเทียบได้ ท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีเกียรติคุณที่ดีเด่นเป็นพิเศษกันแต่เพียงกลุ่มเดียวสำหรับความดีงามเหล่านั้นในหมู่ประชาชาตินี้

เรื่องดุอาอ์(บทขอพร)คือลักษณะพิเศษอันมากมายอีกประการหนึ่งที่บรรดาสาวกและตาบีอีนทั้งหลายไม่มีโอกาสเทียบเทียมได้เลย แม้แต่คนเดียว อีกทั้งบรรดานักปราชญ์อื่น ๆ ในรุ่นถัดมาก็ตาม กล่าวคือ ได้มีการบันทึกดุอาอ์ของแต่ละท่านไว้มากมาย ซึ่งบรรดานักปราชญ์ของเราได้เก็บ

รวบรวมไว้นับร้อยๆ เรื่องบรรดาอิมาม(อฺ)เป็นมนุษย์ที่รู้จริงเกี่ยวกับระเบียบแบบแผนที่บ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จำเป็นจะต้องดำเนินการปฏิบัติในยามสนทนากับพระองค์ และรู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร สำหรับการถ่อมตน

การขอพึ่งพิง และตัดขาด(จากทุกสิ่งทุกอย่าง) เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ในหนังสือนี้เราได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺโดยละเอียดของท่านอิมาม(อฺ)ผ่านมาแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการบันทึกดุอาอ์บางบทบางตอนของท่าน(อฺ)ดังนี้

๑๐๑

ดุอาอ์

บทที่ 1

เป็นบทดุอาอ์บทหนึ่งของอิมามที่ 7

“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าฯขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญานตนว่า มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงศาสนาอิสลามย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้ ศาสนาย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางกฎไว้ คัมภีร์ย่อมเป็นไปตามที่

พระองค์ทรงประทานให้ไว้ คำสอนย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้

แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสิทธิอันชัดแจ้ง ความเจริญสิริมงคลของอัลลอฮฺพึงมีแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน”

“ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าฯดำรงอยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ชีวิตของข้าฯนอบน้อมต่อพระองค์ ใบหน้าของข้าฯหันสู่พระองค์ กิจการงานของข้าฯ ขอมอบหมายยังพระองค์ ร่างกายของข้าฯขอนอบน้อมยังพระองค์ กลัวเกรงพระองค์ และมุ่งหวังต่อพระองค์ ข้าฯศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ที่ทรงประทานมาแก่ศาสนทูตของพระองค์ที่ทรงส่งมา”

“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าฯเป็นคนยากจน ณ พระองค์ ขอได้ทรงโปรดประทานเครื่องยังชีพแก่ข้าฯโดยอย่าได้คำนวณ

แท้จริงพระองค์ทรงประทานเครื่องยังชีพให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์

โดยไม่มีการคำนวณ”

๑๐๒

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าฯวิงวอนขอเครื่องยังชีพที่ดีงามทั้งหลาย และละเว้นความเลวร้ายทั้งหลาย และขอให้พระองค์อภัยโทษให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความกรุณาของพระองค์ที่ทรงเป็นเจ้าของได้โปรดบันดาลให้ข้าฯได้ออกห่างจากความชั่วอันมาจากข้าฯ ด้วยความดีอันมาจากพระองค์ และขอให้พระองค์ประทานความดีอย่างมากมายที่พระองค์มิได้ประทานให้แก่บ่าวคนใดให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอความคุ้มครองให้พ้นจากทรัพย์สินที่เป็นตัวทดสอบ(ฟิตนะฮฺ)แก่ข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง พระองค์ทรงเห็นฐานะความเป็นอยู่ของข้าฯ ทรงได้ยินดุอาอ์และคำพูดของข้าฯ ทรงรู้ในความจำเป็นของข้าฯ ข้าฯขอต่อพระนามทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดทำให้ความ ต้องการทั้งหลายในชีวิตทางโลกนี้และปรโลกของข้าฯได้บรรลุผล”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าฯขอดุอาอ์ต่อพระองค์อันเป็นดุอาอ์ของบ่าวผู้ซึ่งด้อยในความสามารถเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก มีความทุกข์อย่างสาหัส มีความสามารถน้อยนิด และมีการงานที่ตกต่ำเป็นดุอาอ์ของผู้ที่ไม่มีใครช่วยเหลือได้นอกจากพระองค์ เป็นความอ่อนแอที่ไม่มีใครช่วยได้นอกจากพระองค์

๑๐๓

ข้าฯขอความดีต่าง ๆ ทั้งมวล ขอเกียรติคุณ ขอความดีความเมตตาทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดเมตตาต่อข้าฯ และให้ข้าฯพ้นจากไฟนรก”

“โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แผ่นดินอยู่เหนือน้ำ ทรงบันดาลให้ฟากฟ้าอยู่ในห้วงอากาศ

โอ้ผู้ทรงเอกะ ก่อนทุกสิ่งที่เป็นหนึ่งเดียว โอ้ ผู้ทรงเป็นหนึ่งหลังจากทุก ๆ สิ่ง โอ้ผู้ซึ่งไม่มีใครรู้ว่า พระองค์ทรงเป็นอย่างไร นอกจากพระองค์ และไม่มีใครรู้ซึ้งถึงอำนาจของพระองค์ นอกจากพระองค์ โอ้พระองค์ผู้ทรงดำรงอยู่กับกิจการงาน โอ้พระองค์ผู้ทรงให้ความช่วยเหลือ โอ้พระผู้ช่วยบรรดาผู้เดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงตอบรับคำขอของคนเดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงมีความเมตตาในโลกนี้และปรโลก เป็นพระผู้ทรงกรุณาปรานี โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ อย่าให้ข้าฯหลงผิด และอย่าชิงชังข้าฯตลอดกาล แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งการสรรเสริญยิ่ง

 โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่านเทอญ”(1)

(1) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๔

ดุอาอ์

บทที่ 2

เป็นดุอาอ์ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)หลังนมาซซุฮฺริ

ท่านมุฮัมมัด บินซุลัยมานเล่าว่า : บิดาของท่านกล่าวว่า ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้ออกเดินทางไปกับท่านอิมามอะบุลฮะซัน(อฺ) หรือมูซา บินญะอฺฟัร เมื่อท่าน(อฺ)นมาซซุฮฺริเสร็จแล้ว ท่าน(อฺ)ได้อ่านดุอฺาอ์ในขณะที่ทรุดตัวลงกราบอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยอาการเศร้าสร้อย น้ำตาหลั่งไหล ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

 “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยลิ้น ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงให้ข้าฯเป็นใบ้ก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยตา ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯตาบอดเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยหู หากพระองค์ทรงประสงค์อาจทางทำให้ข้าฯหูหนวกเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยมือ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯมือด้วนเสียก็ได้ ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยเท้า ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯขาด้วนเสียก็ได้

ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯเป็นหมันเสียก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยอวัยวะทั้งเรือนร่างที่ทรงประทานให้แก่ข้าฯ และสิ่งนี้ข้าฯไม่มีสิ่งใดๆ ตอบแทนแก่พระองค์ได้”

๑๐๕

บิดาของท่านมุฮัมมัด เล่าอีกว่า หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้นับจำนวนครั้ง ในคำที่ท่านกล่าวว่า

“อัล-อัฟว์ อัล-อัฟว์”(ขออภัย ขออภัย) ได้ 1,000 ครั้ง จากนั้นท่าน (อฺ) แนบแก้มขวาลงบนดิน แล้วข้าพเจ้าได้ยินท่าน (อฺ) กล่าวว่า

“ข้าฯล่วงเกินต่อพระองค์ด้วยความผิดของข้าฯ ข้าฯได้กระทำความชั่วและอธรรมต่อตัวของข้าฯเอง ดังนั้นได้โปรดให้อภัยแก่ข้าฯ เพราะไม่มีใครอภัยความผิดพลาดได้ นอกจากพระองค์ โอ้นายของข้าฯ โอ้นายของข้าฯ นายของข้าฯ นายของข้าฯ”

ท่าน(อฺ)ก็แนบแก้มซ้ายลงบนดิน แล้วกล่าวว่า

“โปรดให้ความเมตตาต่อผู้ทำบาป”

อ่านดังนี้สามครั้ง หลังจากนั้นท่าน(อฺ)จึงยกศีรษะขึ้น(2)

(2) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๖

ดุอฺาอ์

บทที่ 3

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของอิมามมูซา(อฺ)

“โอ้ ผู้ทรงดำรงอยู่ก่อนสิ่งทั้งหลาย โอ้ผู้ทรงได้ยินทุกเสียงสำเนียง ทั้งดังและค่อย โอ้ผู้ทรงประทานชีวิตให้หลังจากตาย ความมืดมิดอันใดย่อมไม่ครอบคลุมพระองค์เลย ภาษาอันหลากหลายย่อมไม่ทำให้พระองค์ทรงสับสน ไม่มีสิ่งใดทำให้พระองค์วุ่นวาย”

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่ทรงวุ่นวายด้วยดุอฺาอ์ของผู้ใดที่อ้อนวอนขอต่อพระองค์จากฟากฟ้า โอ้พระผู้ทรงบันดาลให้ทุกสิ่งที่ได้ยิน ทรงได้ยินได้ฟังและมองเห็น โอ้พระผู้ซึ่งไม่เคยผิดพลาด แม้จะมีการร้องขออย่างมากมาย”

“โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตในยามที่ไม่มีสิ่งใดดำรงชีวิต โดยทรงดำรงอยู่ตลอดกาล และมั่นคงถาวร โอ้พระผู้ทรงดำรงอยู่สูงสุด แต่ซ่อนเร้นจากสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยรัศมีของพระองค์ โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แสงสว่างปรากฏออกมาท่ามกลางความมืด ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ด้วย

พระนามของพระองค์ผู้ทรงเอกะ ทรงเป็นหนึ่งเดียวแห่งการพึ่งพิง โปรดประทานความเจริญแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดและอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน”

จากนั้นท่าน(อฺ)ได้วิงวอนขอในสิ่งที่ท่าน(อฺ)ต้องการ(3)

(3) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 239.

๑๐๗

ดุอฺาอ์

บทที่ 4

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

“ข้าฯขอมอบหมายตนเองยังพระองค์ ผู้ซึ่งไม่ตาย และข้าฯขอพึ่งการพิทักษ์คุ้มครอง โดยผู้ทรงเกียรติและอำนาจ ข้าฯขอความช่วยเหลือต่อผู้ทรงเกรียงไกรและมีอำนาจครอบครองข้าฯ โอ้นายของข้าฯขอยอมจำนนต่อพระองค์ ข้าฯขอมอบหมายตนต่อพระองค์ ดังนั้นขออย่าทำลายข้าฯ

ข้าฯขอพึ่งร่มเงาของพระองค์ ดังนั้นจงอย่าผลักไสข้าฯ พระองค์เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงรู้สิ่งที่ข้าฯซ่อนเร้นและเปิดเผย ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในสายตาและที่ซ่อนไว้ในจิตใจ ดังนั้นได้โปรดยับยั้งข้าฯให้พ้นจากผู้อธรรมทั้งในหมู่ญิน และหมู่มนุษย์ทั้งมวลด้วยเถิด โอ้พระผู้ทรงกรุณาปราณี ได้โปรดปกปักรักษา

ข้าฯด้วยเถิด”(4)

 (4) มะฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 300.

๑๐๘

การตอบสนองต่อบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามที่ 7

บรรดาอิมาม(อฺ)ทั้งหลายนั้นต่างใช้ชีวิตทั้งหมดในฐานะผู้ถูกกดขี่ข่มเหง ตลอดระยะเวลาการปกครองของวงศ์อุมัยยะฮฺ คนทั้งหลายคาดคิดว่าในการปกครองของสมัยวงศ์อับบาซียะฮฺสิ่งนั้นคงจะบรรเทาเบาบางลงบ้างและภัยอันตรายคงจะยกเลิกจากพวกท่าน(อฺ)ไปบ้าง ซึ่งการคาดคิดของคนทั้งหลายไม่น่าจะผิดพลาด เพราะเชื้อสายของกลุ่มทั้งสองใกล้เคียงกัน ประกอบกับว่า ราชวงศ์อับบาซียะฮฺนั้นแอบอ้างดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอิมามอฺะลี(อฺ) ธงของท่านอะบูมุสลิมอัล-คุรอซานีที่ได้เข้าไปในเมือง

คุรอซานนั้น ดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอฺะลี(อฺ)

การเข้าไปในเมืองคุรอซานนั้นก็ไม่ใช่เพราะเหตุอื่นนอกจากเพื่อสนับสนุนลูกหลานของท่านอฺะลี(อฺ)

แต่สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ในเมื่อพวกอับบาซียะฮฺได้เริ่มติดตามอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ด้วยการลอบสังหาร คุมขัง ฯลฯ จนช่วงหนึ่งในการปกครองของพวกวงศ์นี้ ยังความรุนแรงแก่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ยิ่งกว่าพวกวงศ์อุมัยยะฮฺเสียอีก

บรรดาอิมาม(อฺ)จะไม่อ่านดุอฺาอ์เพื่อขอสาปแช่งบรรดาผู้อธรรม นอกจากในกรณีที่ความอธรรมถึงขีดสุดของความรุนแรงเท่านั้น เมื่อเราได้รู้ถึงเรื่องนี้จากท่าน(อฺ) เราก็สามารถประเมินสถานการณ์ที่รุนแรงอันเกิดขึ้นแก่ท่านอิมาม(อฺ)ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องขอดุอฺาอ์สาปแช่งบุคคลที่อธรรมต่อท่าน(อฺ)

๑๐๙

ในลำดับต่อไปนี้ เราจะเสนอเรื่องดุอฺาอ์ของท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ที่ได้รับการตอบสนองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

-1-

เจ้าของหนังสือ “นะษะรุต-ตุรรุล” ได้กล่าวไว้ว่า :

 ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ)นั้น มีคนแจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่า อัล-ฮาดี วางแผนการร้ายต่อท่าน(อฺ) ท่าน(อฺ)ได้พูดกับครอบครัวและผู้ติดตามว่า

“พวกท่านมีความคิดเห็นอะไรเสนอแนะแก่ฉันบ้าง?”

คนเหล่านั้นกล่าวว่า

“เราเห็นว่า ท่านควรออกห่างจากเขา และหลบซ่อนให้พ้นไปจากเขา เพราะความชั่วร้ายของเขานั้นจะไม่ให้ความปลอดภัยแก่ท่าน”

ท่าน(อฺ)ยิ้ม แล้วกล่าวว่า

“คนโฉดคิดว่าตัวเองจะสามารถเอาชนะพระผู้อภิบาลได้ แน่นอน

ผู้ชนะที่แท้จริงย่อมชนะอยู่แล้ว”

หลังจากนั้นท่าน(อฺ)ยกมือขึ้นขอดุอฺาอ์ แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มากมายเหลือเกินแล้ว สำหรับพวกศัตรูที่มุ่งหมายทำลายข้าฯ ข่มเหงรังแกข้าฯ โดยแผนการเข่นฆ่าด้วยพิษร้ายของมันจนดวงตาของข้าฯไม่เคยหลับไหล เนื่องจากคอยระแวดระไวต่อพวกมัน ครั้นเมื่อพระองค์ทรงเห็นถึงความอ่อนแอของข้าฯ ในการปกป้องโพยภัยและความเกินกำลังที่ข้าฯจะทานทนกับความเจ็บปวดได้ ขออำนาจและอานุภาพของพระองค์ได้โปรดสลัดสิ่งนั้นออกให้พ้นจากข้าฯโดยมิใช่ด้วยความสามารถและอานุภาพของข้าฯ และจงโยนเขาลงไปสู่หลุมลึกที่พวกเขาขุดล่อข้าฯให้ตกลงไปในโลกแห่งวัตถุของเขา จนห่างไกลจากความหวังในปรโลก

๑๑๐

 มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ที่ได้ทรงกำหนดความโปรดปรานของพระองค์ที่โปรยปรายแก่ข้าฯ และพระองค์มิได้ทรงปฏิเสธความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อข้าฯ

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดลงโทษเขาด้วยอำนาจของพระองค์ โปรดพลิกแผนการของเขาออกจากข้าฯ ด้วยอานุภาพของพระองค์ โปรดบันดาลภาระอันหนักหน่วงจนเกินกำลังให้แก่เขา

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดบันดาลให้ความเป็นศัตรูนั้นกลายเป็นยาบำบัดรักษาแก่ข้าฯ

และบันดาลให้ความแค้นของข้าฯที่มีต่อเขา เป็นการอภัย โปรดประทานแก่ดุอฺาอ์ของข้าฯ ด้วยการตอบรับ และโปรดรับรองคำอุทธรณ์ของข้าฯ และโปรดให้เขาสำนึกเพียงสักเล็กน้อยกับการตอบรับต่อบ่าวของพระองค์

ผู้ถูกกดขี่ แท้จริงพระองค์ทรงมีเกียรติอันยิ่งใหญ่”

ต่อจากนั้นสมาชิกครอบครัวก็ลาจากไป ครั้นต่อมาไม่นาน คนเหล่านั้นมาชุมนุมกันเพื่ออ่านจดหมายที่มีมาถึงท่านอิมามมูซา(อฺ)แจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่ามูซา อัล-ฮาดีนั้นได้ตายเสียแล้ว(1)

(1) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 222. มุฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 29.

๑๑๑

-2-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺ ได้กล่าวว่า : ท่านศอฮิบุ้ล ฟัฎลฺ บินร่อบีอฺเล่าให้เราทราบว่า : ในคืนหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าอยู่บนที่นอนพร้อมกับภรรยาของข้าพเจ้า พอตกกลางคืนข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังที่ประตูเมือง ข้าพเจ้าจึงลุกขึ้นยืนดู

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“อาจเป็นเสียงของลมพัดก็ได้”

แต่แล้วไม่ทันไร ประตูบ้านที่ข้าพเจ้าอยู่ขณะนั้นก็เปิดออก แล้วคนชื่อ ‘มัซรูร’ก็พรวดพลาดเข้ามา พลางกล่าวว่า

“จงยอมรับคอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด”

โดยมิได้ให้สลามแก่ข้าพเจ้าแต่ประการใด ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังมาก นึกในใจว่า ‘มัซรูร’ ผู้นี้เข้ามาโดยไม่ขออนุญาตและไม่ให้สลาม ฉะนั้นย่อมไม่มีจุดประสงค์อื่นนอกจากมาฆ่า ขณะนั้น

ข้าพเจ้ามีญุนุบอยู่จึงไม่ได้ถามอะไรเขา โดยให้เขาคอยข้าพเจ้าซึ่งต้องอาบน้ำชำระร่างกายเสียก่อน

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“จงยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อย่างหนักแน่น แล้วลุกออกไปเถิด”

ข้าพเจ้าจึงลุกออกไปสวมเสื้อผ้า แล้วออกมาพร้อมกับเขาจนถึงอาคาร ข้าพเจ้าได้กล่าว

สลามท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(คอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด) ที่กำลังเอนเอกเขนกอยู่ เขารับสลาม แล้วข้าพเจ้าก็นั่งลง

เขากล่าวว่า

“ท่านกลัวมากใช่ไหม ?”

๑๑๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ใช่แล้ว โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน”

เขาปล่อยให้ข้าพเจ้าพักสงบจิตใจอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า

“จงออกไปยังคุกของเรา แล้วปล่อยมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ออกมา พร้อมกับจ่ายเงินให้กับเขาสามหมื่นดิรฮัม และให้พาหนะอีกสามชุด และให้ออกเดินทางไปจากเรา ไปที่ไหนก็ได้ตามที่เขาปรารถนา”

ข้าพเจ้าพูดกับเขาว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะปล่อยตัวมูซา บินญะอฺฟัร กระนั้นหรือ ?”

เขาตอบว่า

“ใช่แล้ว”

ข้าพเจ้าทวนคำถามถึงสามครั้ง เขาก็ตอบว่า

“ใช่แล้ว ท่านต้องการจะให้ฉันผิดคำสัญญากระนั้นหรือ ?”

ข้าพเจ้าถามว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน คำสัญญาที่ว่านั้นหมายถึงอะไร ?”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ขณะที่ข้านอนอยู่บนเตียงแห่งนี้ มีสิงโตตัวหนึ่งขึ้นมาคร่อมบนหน้าอก และขย้ำตรงคอหอยของข้า มันเป็นสิงโตตัวใหญ่ชนิดที่ข้าไม่เคยเห็นมาก่อน และมันพูดกับข้าว่า

“ท่านกักขังมูซา กาซิมด้วยกับความอธรรม”

๑๑๓

ข้าจึงพูดกับมันว่า

“ข้าจะปล่อยตัวเขาและจะมอบสิ่งของให้เขา ข้าขอทำสัญญากับ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)

มันจึงออกไปจากหน้าอกของข้า ซึ่งแทบว่าชีวิตของข้าจะปลิดออกจากร่าง”

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺได้เล่าต่อไปว่า : แล้วข้าพเจ้าก็ออกจากที่นั่น และไปพบท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ซึ่งกำลังอยู่ในคุก ข้าพเจ้าเห็นท่าน(อฺ)นมาซ ข้าพเจ้าจึงนั่งรอจนท่าน(อฺ)ให้สลาม

หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้เข้าไป แล้วกล่าวว่า

“ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(ฮารูน รอชีด) ฝากสลามมายังท่าน และแจ้งให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งมา และข้าพเจ้าก็ได้นำคำสั่งนั้นมายังท่านแล้ว”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ถึงแม้ท่านจะถูกสั่งมาให้ทำอย่างอื่น ท่านก็จงกระทำเถิด”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“หามิได้ ขอสาบานต่อสิทธิของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่าข้าพเจ้ามิได้ถูกสั่งมาให้กระทำอย่างอื่นนอกจากสิ่งนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ไม่มีความจำเป็นอันใดสำหรับข้าพเจ้าในเรื่องการมอบเสื้อผ้า ทรัพย์สิน ยานพาหนะต่างๆในเมื่อสิ่งนั้นๆ เป็นสิทธิของประชาชาติอิสลาม”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านอย่าได้ปฏิเสธเลย”

๑๑๔

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านจงกระทำในสิ่งที่ท่านต้องการเถิด”

ข้าพเจ้าได้จับมือท่านอิมาม(อฺ) แล้วนำท่าน(อฺ)ออกจากคุก จากนั้นจึงได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โปรดบอกข้าพเจ้าซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ท่านได้รับความเอื้อเฟื้อจากชายคนนี้เป็นสิทธิของข้าพเจ้าเหนือท่านที่จะต้องแสดงความยินดีกับท่าน และได้รับรางวัลจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จากผลงานอันนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันได้ฝันเห็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในคืนวันพุธที่ผ่านมา ท่าน(ศ)บอกฉันว่า

“มูซา เอ๋ย เจ้าถูกกักขังด้วยกับความอธรรม”

ฉันตอบว่า

“ใช่แล้ว ยารอซูลุลลอฮฺ”

ท่าน(ศ)กล่าวอย่างนี้สามครั้ง แล้วท่าน(ศ)พูดอีกว่า

“หวังว่าสิ่งนี้ จะเป็นการทดสอบสำหรับพวกเจ้า และเป็นความสุขชั่วระยะหนึ่ง เจ้าจงถือศีลอดในพรุ่งนี้เช้า และจงถือติดต่อทั้งวันพฤหัสและวันศุกร์ ครั้นถึงเวลาละศีลอด เจ้าจงนมาซ 12ร็อกอะฮฺ ในทุกร็อกอะฮฺนั้น

 จงอ่านอัล-ฮัมดุ 1 ครั้ง และอ่านกุลฮุวัลลอฮุ อะฮัด 12 ครั้ง ครั้นทำ

นมาซครบ 4 ร็อกอะฮฺ

๑๑๕

แล้วจงซุญูด แล้วให้อ่านดุอฺาอ์บทหนึ่ง ดังนี้ :

“โอ้ผู้ทรงชัยชนะ ผู้ทรงได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งหมด ผู้ทรงให้ชีวิตแก่กระดูกที่มันผุกร่อน หลังจากความตาย ข้าฯขอต่อพระนามของพระองค์

พระผู้ทรงยิ่งใหญ่ ขอพระองค์ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัด บ่าวของพระองค์และศาสนทูตของพระองค์ และแด่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ และโปรดได้บันดาลให้ข้าฯ ได้รับความรอดพ้นโดยเร็วพลัน”

ฉันได้กระทำอย่างนั้น แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปเหมือนที่ท่านได้เห็น(2)

(2) มะดีนะตุล-มะอาญิช หน้า 394.

คำสดุดี จากบรรดานักปราชญ์ต่ออิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)

บรรดามุสลิมทั้งหลายถึงแม้จะมีมัซฮับแตกต่างกัน แต่ก็ลงความเห็นตรงกันในเรื่องของเกียรติยศของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ตลอดทั้งยอมรับในเรื่องวิชาการ ตำแหน่งอันสูงส่ง

และความมีสถานภาพที่ใกล้ชิดต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นักปราชญ์ทั้งหลายต่างได้บันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ในตำราของพวกเขาเกี่ยวกับฮะดีษต่าง ๆ ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวถึงท่าน(อฺ)เหล่านั้น มีการอธิบายกันถึงเกียรติประวัติ จริยธรรม ความเฉลียวฉลาดและความรอบรู้ของท่าน(อฺ)เหล่านั้น

๑๑๖

ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ผนวกบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ควบคู่กับอัล-กุรอาน เช่น ในฮะดีษที่ว่าด้วย

 ‘อัษ-ษะก่อลัยนฺ’ (สิ่งสำคัญสองประการ) และที่อุปมาว่า

บุคคลเหล่านั้นเหมือนเรือของท่านนบีนูฮฺ(อฺ) ถ้าผู้ใดขึ้นเรือก็จะปลอดภัย ผู้ใดผลักไสก็จะพินาศล่มจม และเปรียบว่าคนเหล่านั้นเหมือนประตูอัล-ฮิฏเฏาะฮฺ ที่ถ้าหากใครเข้าไปก็จะปลอดภัย

อีกทั้งมีฮะดีษมากมายที่รายงานว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวถึงเกียรติคุณของท่าน(อฺ)เหล่านั้นไว้

ในบทนี้เราจะเสนอคำสดุดีของบุคคลต่างๆ ที่มีต่อท่านอิมามมูซา

 กาซิม(อฺ) ดังต่อไปนี้

1. ท่านอิมามศอดิก (อฺ) ได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิมเป็นคนรอบรู้ในกฎเกณฑ์ มีความเข้าใจจริงและรู้จักอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายจำเป็น ซึ่งเรื่องนั้นๆ คนทั้งหลายขัดแย้งกันในกิจการศาสนา เขาเป็นคนมีจริยธรรมที่ดีงาม เป็นเพื่อนบ้านที่ดี และเป็นประตูบานหนึ่งในหลายๆ ประตูที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปิดให้(1)

(1) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 234.

๑๑๗

2. ฮารูน รอชีดได้กล่าวว่า:

สำหรับมูซา กาซิมนั้น เขาคือประมุขทางศาสนาของพวกตระกูลฮาซิม(2)

(2) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 92.

เขายังได้พูดกับมะอ์มูน ผู้เป็นบุตรชายของเขาอีกว่า

“มูซา ผู้นี้คืออิมามของมนุษยชาติ เป็นข้อพิสูจน์หนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อมวลมนุษย์ และเป็นค่อลีฟะฮฺของพระองค์ในหมู่ปวงบ่าวทั้งหลายของพระองค์”(3)

(3) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 กอฟ เล่ม 3 หน้า 51.

เขาได้กล่าวต่อไปอีกว่า

“โอ้ลูกเอ๋ย มูซา กาซิมผู้นี้เป็นทายาททางความรู้วิชาการของบรรดานบี ถ้าเจ้าต้องการความรู้ที่ถูกต้อง ก็จงไปเอาจากเขาผู้นี้แหละ”(4)

(4) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 383. อะมาลี ของเชค ศ็อดดูก 307.

๑๑๘

3. มะอ์มูน กษัตริย์ในราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้กล่าวถึงอิมามมูซา กาซิม (อฺ) ว่า:

ท่านเป็นคนเคร่งครัดในการทำอิบาดะฮฺอย่างยิ่ง ใบหน้าและจมูกของท่านมีแต่การกราบพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น(5)

(5) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 93.

4. ท่านอีซา บินญะอฺฟัรได้เขียนจดหมายไปหาฮารูน รอชีดว่า:

ตลอดเวลาที่ท่านมูซา กาซิมอยู่ในคุกอย่างยาวนานนั้น ฉันไม่เคยเห็นเขาว่างเว้นจากการอิบาดะฮฺเลย ฉันได้จัดคนให้คอยฟังการขอดุอฺาอ์ของเขา ปรากฏว่าเขาไม่เคยขอดุอฺาอ์สาปแช่งท่านและฉันเลย และไม่เคยกล่าวถึงเราในทางที่ไม่ดี และไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง นอกจากการอภัยและความเมตตา(6)

(6) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก็อฟ 3/71.

5. ท่านอะบูอฺะลี อัล-คิลาล (นักปราชญ์มัซฮับฮันบะลี) ได้กล่าวว่า:

เมื่อฉันกลุ้มใจในเรื่องใด ฉันจะไปยังสุสานของท่านอิมามมูซา กาซิมเสมอเพื่อขอการตะวัซซุล แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงให้ความสะดวกในกิจการที่ฉันอยากได้เสมอ(7)

(7) ตารีค บัฆดาด เล่ม 1 หน้า 120.

๑๑๙

6. อิมามชาฟิอีได้กล่าวว่า:

สุสานของอิมามมูซา กาซิมคือสถานที่ที่มีความประเสริฐสูงส่งยิ่ง”(8)

(8) ตุฮฺฟะตุล-อาลิม เล่ม 2 หน้า 22.

7. ท่านอะบูฮาติมได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คือผู้ที่น่าเชื่อถือในด้านรายงานฮะดีษ(ษิกเกาะฮฺ) และสัจจริง และเป็นผู้นำ(อิมาม)ของประชาชาติมุสลิมทั้งหลาย(9)

 (9) ตะฮุชีบุต-ตะฮฺชีบ เล่ม 10 หน้า 240.

8. ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บินอัล-เญาซีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมได้ชื่อว่าเป็นบ่าวที่มีคุณธรรม เพราะการอิบาดะฮฺ การอิจญ์ติฮาด และดำรงนมาซในยามกลางคืน และท่านเป็นคนที่มีเกียรติที่สุภาพ เมื่อท่านได้รับข่าวคราวว่า ใครกล่าวร้ายท่าน ท่านจะตอบแทนคนนั้นด้วยทรัพย์สินเสมอ(10)

(10) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 หน้า 103.

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

จงจำไว้! การกระทำที่น่ารังเกียจของพวกเจ้า เป็นผลมาจากสันดานของความเกลียดชัง ความมุ่งร้าย ซึ่งมีผลต่อนิสัยที่ชั่วช้าของเจ้า การแก้แคนครั้งนี้เนื่องมาจากธรรมชาติอันนี้ และเจ้าเป็นผู้ที่มี

สำนึกแห่งการแก้แคนฝังลึกอยู่ในจิตใจตลอดมานับตั้งแต่สงครามบะดัรซึ่งในครั้งนั้นบรรพบุรุษของเจ้าได้ถูกสังหารเพราะเป็นปฏิปักษ์และทำการสู้รบกับศาสดา

ใครก็ตามที่เฝ้ามองเราอย่างจงเกลียดจงชัง มุ่งร้ายและจ้องจะล้างแค้น ย่อมเป็นศัตรูอย่างชัดแจ้งของครอบครัวแห่งศาสดา ใครก็ตามพึงพอใจกับการเยาะเย้ยถากถางพวกเรา ก็พิสูจน์ได้ว่าเป็นพวกนอกศาสนา นอกจากนี้เจ้ายังพึงพอใจในการที่ได้สังหารหลานของศาสดาและจับครอบครัวของท่านเป็นเชลย เจ้าไม่เคยคิดเลยว่า นี่คือบาปที่ยิ่งใหญ่มหันต์! ตรงกันข้ามเจ้ากลับพูดว่า ‘ถ้าบรรพบุรุษของฉันได้เห็นการกระทำของฉัน พวกเขาจะต้องพึงพอใจ และจะต้องพูดว่า

๑๔๑

โอ้ยะซีด เจ้าได้ล้างแค้นให้กับพวกเรา

ขอให้มือของเจ้าอย่าได้เจ็บปวดด้วยโรคร้ายเลย’

โอ้ ยะซีด! เจ้ามีความสุขกับการดูหมิ่นและไม่ให้เกียรติกับศีรษะของ อบาอับดิลลาฮ์ ฮูเซน โดยการใช้ไม้เขี่ยที่ริมฝีปากของท่าน เจ้าไม่รู้หรือว่าริมฝีปากนี้ ท่านศาสดาแห่งพระเจ้าได้เคยจุมพิตในโอกาสต่างๆ

เจ้าได้กรีดแผลลึกลงบนจิตใจและวิญญาณของเรา ด้วยการหลั่งเลือดหัวหน้าของชายหนุ่มแห่งสวนสวรรค์ ลูกของ อะลี บิน อบีฏอลิบ

โอ้ ยะซีด! ถ้าเจ้ามีจิตใจที่จะสะสมการกระทำที่ต่ำช้า เจ้าจงมั่นใจได้เลยว่า มือของเจ้าจะเป็นอัมพาตอย่างรุนแรงตั้งแต่ข้อศอก และเจ้าจะต้องรองอุทธรณ์ว่า ‘แม่ไม่น่าให้ฉันเกิดมาเลย!’

 เจ้าจงรู้ไว้เลยว่า พระเจ้าจะกริ้วโกรธและศาสดาจะเป็นศัตรูกับเจ้า

โอ้ พระผู้เป็นเจ้า ! โปรดนำสิทธิอันชอบธรรมของเรากลับคืนมาด้วยเถิด โปรดตอบแทนผู้ซึ่งกดขี่เรา และโปรดส่งการลงโทษของพระองค์ลงมายังผู้ซึ่งทำลายสัญญาของพวกเขา ฆ่าสังหารเด็กๆ และญาติสนิทและผู้ช่วยเหลือของเรา ทำให้เราต้องอัปยศอดสู

โอ้ ยะซีด! เจ้าได้ทำในสิ่งที่เจ้าอยากทำ แต่จงจำไว้เถิดว่า เจ้าจะต้องตายและถูกตัดเป็นชิ้นๆ แล้วเจ้าจะถูกนำไปยังท่านศาสดา ซึ่งเจ้าจะต้องแบกบาปกรรมของเจ้าจากการที่เจ้าได้หลั่งเลือดทายาทของศาสดา ดูหมิ่นและไม่ให้เกียรติต่อครอบครัวของท่าน

๑๔๒

 เจ้าจะถูกนำไปยังที่ๆ ท่านศาสดาและสมาชิกในครอบครัวของท่านอยู่กันพร้อม เจ้าจะได้รับการลงโทษที่น่าสะพึงกลัว ซึ่งเจ้าและผู้คนของเจ้าไม่อาจหนีรอดไปได้เลย

โอ้ ยะซีด! เจ้าอย่าได้ลำพองใจในการที่เจ้าได้สังหารทายาทของท่านศาสดา เจ้าไม่รู้หรือว่า อัลกุรอานอันศักดิ์สิทธิ์ได้กล่าวเกี่ยวกับผู้ซึ่งถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮ์ว่า

‘เจ้าจงอย่าคิดเป็นอันขาดว่า ผู้ที่ถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮ์นั้นตาย มิได้พวกเขายังมีชีวิตอยู่ ณ พระเจ้าของพวกเขา ในสภาพที่ได้รับปัจจัยยังชีพ’

(อัล กุรอานบทที่๓ โองการที่๑๖๙)

มีแต่ความเงียบงันในท้องพระโรงของยะซีด เมื่อท่านหญิงซัยนับจบคำสุนทรพจน์อันเร้าใจของท่าน ยะซีดหน้าซีดเผือด และไม่ปริปากพูดเลยแม้แต่น้อย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เขาจะต้องประสาทเสีย

เพราะคำพูดเหล่านั้น เพราะในท้องพระโรงเต็มไปด้วยผู้คน บรรดาบุคคลชั้นนำของวงศ์อุมัยยะฮ์ แม่ทัพนายกองของเขา พวกยิวและคริสเตียน และประชาชนจากทุกสารทิศต่างมาชุมนุมกันอยู่ ณ ที่นั้น เพื่อมาดูบรรดาเชลยที่ถูกนำตัวมา ซึ่งพวกเขาไม่เคยรู้เลยว่า พวกท่านคือสมาชิกในครอบครัวของศาสดา

๑๔๓

สุนทรพจน์ได้พิสูจน์ให้ผู้คนได้ทราบแล้วว่า ครอบครัวของศาสดาถูกกระทำอย่างป่าเถื่อนโหดร้ายทารุณ

 ท่านยกย่องฐานะของครอบครัวแห่งศาสดาและแสดงให้เห็นถึงการกระทำอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้บริสุทธิ์ และหยิบยกมาให้เห็นถึงความทรยศของอบูซุฟยานและมุอาวิยะฮ์ ผู้เป็นพ่อและปู่ของยะซีด รวมทั้งความไม่เป็นธรรมของยะซีดในเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

นางฮินด์ ภรรยาสุดที่รักของยะซีด เป็นคนศรัทธาในพระเจ้าและใจบุญ ซึ่งก่อนจะแต่งงานกับยะซีด เคยเป็นผู้รับใช้ในครอบครัวของท่านหญิงซัยนับ ในช่วงเวลาที่อิมามอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ แม้หลัง

แต่งงานแล้วนางก็ยังคงมอบความรัก และความจงรักภักดีให้กับท่านหญิง ยะซีดรู้ดีในข้อนี้ และปิดบังแผนการสังหารฮูเซนไม่ให้นางล่วงรู้ และต้องระวังไม่ให้นางรู้ข่าวเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่กัรบะลา เมื่อนางได้ยินเรื่องของท่านหญิงซัยนับจากหลังม่าน นางรู้สึกวุ่นวายใจอย่างมาก ราวกับเป็นลางสังหรณ์ นางรู้สึกกระวนกระวายมาหลายวันแล้ว และได้ฝันเห็นท่านหญิงทั้งสองร่ำไห้อย่างขมขื่น และเล่าให้นางฟังถึงโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่

๑๔๔

 โดยสัญชาติญาณนางเริ่มรู้ว่า สามีใจร้ายของนางกำลังปิดบังการก่ออาชญากรรมที่ร้ายแรงบางอย่าง ซึ่งนางยังไม่สามารถรู้ว่าคืออะไร?

ด้วยความคุ้มคลั่ง นางได้รุดออกมาข้างนอกม่านโดยไม่มีผ้าคลุมผม เพื่อจะรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับเด็กๆ ในครอบครัวของท่านศาสดา ยะซีดรู้สึกวุ่นวายใจในการการกระทำของภรรยาของตน ผู้ซึ่งมีความ

งดงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วอาณาจักรว่าไม่มีใครเทียบเคียงได้ นางออกมาโดยไม่มีผ้าคลุมผมซึ่งขัดต่อจารีตประเพณีที่มีมาตั้งแต่อดีตกาล เขาจึงรีบสั่งให้เลิกการชุมนุมในท้องพระโรงทันที และออกคำสั่งให้อุมัร บุตรของสะอัด นำเชลยไปขังไว้ในคุกมืดในป้อม และรอฟังคำสั่งว่าจะทำอย่างไรต่อไป เขาจึงรีบลงมาจากบัลลังก์ตรงมา พร้อมกับโยนเสื้อคลุมของเขาไปบนหัวของนางฮินด์และนำเข้าไปในพระราชฐาน

ฮินด์ยังคงขอร้องให้ยะซีดบอกว่าเกิดอะไรขึ้นในท้องพระโรง และเชลยนั้นเป็นใคร? ทำไมจึงมีบางคนพูด

ถึงการจับตัวหลานท่านศาสดาเป็นเชลย ยะซีดจึงตอบเลี่ยงไปและพยายามระงับความกลัวของนางด้วย

การกล่าวว่า “เชลยเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับครอบครัวของท่านศาสดา”

๑๔๕

บรรดาเชลยสิ้นสุดการเดินทางที่คุกมืดในป้อมที่ดามัสกัส ซึ่งเต็มไปด้วยงูและแมงป่อง ทันทีที่ประตูคุกปิดลง ท่านหญิงซัยนับและอิมามซัยนุลอาบิดีน ก็เริ่มนมาซ ก้มลงกราบและวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้า ให้โปรดประทานกำลังใจและความกล้าหาญ เพื่ออดทนต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกท่าน และขอบคุณต่อความช่วยเหลือ ตลอดระยะเวลาแห่งการทดสอบ ทำให้สามารถอดทนต่อการดูหมิ่นเหยียดหยามโดยไม่ร้องอุทธรณ์

หลังจากที่จับเชลยขังในคุกมืดแล้ว ยะซีดก็เริ่มสับสนว่า จะปล่อยตัวให้กลับไปมะดีนะฮ์หรือจะจับขังทรมานไว้ที่นี่ เขาเริ่มสำนึกผิดและประจักษ์ว่า สิ่งที่ตนกระทำลงไปนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์

เขาจึงเริ่มใช้เล่ห์กลทางการทูต โดยโยนความผิดทั้งหมดให้กับอุบัยดุลลอฮ์ บุตรของซิญาด แม้ว่าจะต้องการสังหารอิมามซัยนุลอาบิดีน แต่ยะซีดก็ต้องขนลุกเมื่อนึกถึงคำพูดของท่านหญิงซัยนับ

ในที่สุดบรรดาเชลยก็ถูกปล่อยตัว ด้วยความพยายามของนางฮินด์ภรรยาของยะซีด นางได้มาเยี่ยมเชลย ซึ่งนางจำได้ดีพร้อมกับร่ำไห้ด้วยความเวทนาสงสาร

๑๔๖

เมื่อเห็นสภาพที่ต้องทนทุกข์ทรมาน นางปลอบโยนพวกท่านและขอร้องให้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่กัรบะลาอ์โดยละเอียด จากนั้น นางได้กลับไปพบยะซีดและกล่าวประณามเขาในการกระทำที่ชั่วช้า และขอร้องให้ยะซีดจัดสถานที่ๆ เหมาะสมเปลี่ยนให้ใหม่ เพราะคนเหล่านั้นเป็นสมาชิกในครอบครัวของท่านศาสดา

นางฮินด์กลับมาพบบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับหญิงรับใช้ ๒-๓ คน และทาสสาวทั้งหมดแต่งกายในชุดไว้ทุกข์ พวกนางได้มาปลอบโยนบรรดาเชลยเกี่ยวกับการสูญเสียอิมามฮูเซนและ

ผู้ติดตามท่าน นางจัดให้คนทั้งหมดย้ายไปอยู่ในสถานที่ใหม่ที่สมเกียรติ ที่ซึ่งพวกท่านสามารถจัดการชุมนุม และไว้อาลัยให้กับบรรดาผู้สละชีพผู้ล่วงลับได้

บทรายงานบันทึกว่า ยะซีดถูกบังคับทางอ้อมให้ปล่อยตัวบรรดาเชลย เพราะเขาได้รับการแจ้งข่าวว่ามีการเคลื่อนไหวต่อต้านการกระทำของเขาในหัวเมืองต่างๆ ทั่วซีเรีย เพราะผู้คนได้รับรู้ความจริงที่เกิดการสังหารหมู่ที่กัรบะลา และจับสมาชิกครอบครัวของท่านเป็นเชลย ยะซีดจึงเกิดความหวาดกลัวว่าจะมีการก่อการจลาจลขึ้น เขาจึงรีบปล่อยตัวอิมามซัยนุลอาบิดีน พร้อมทั้งเคารพยกย่องให้เกียรติตามที่ควรจะได้รับ

๑๔๗

เมื่ออิมามซัยนุลอาบิดีน ได้รับการปล่อยตัวจากคุกมืดและถูกนำมาพบกับยะซีด ท่านหญิงกล่าวกับท่านว่า

 “โอ้ ผู้เป็นแก้วตาดวงใจของอา! จงเจรจากับยะซีดในท่วงทีที่เหมาะสมกับความเป็นทรชนคนพาลของมัน มันไม่เกรงกลัวต่อความกริ้วโกรธของพระผู้เป็นเจ้าและไม่ยอมรับท่านศาสดา

รวมทั้งไม่สนใจใยดีต่ออิมามอะลี ผู้สืบทอดของท่านศาสดาเลย”

ยะซีดลุกขึ้นจากบัลลังก์ของเขาทันทีที่มองเห็นอิมามมาถึง และรีบเชิญให้นั่งลงใกล้ๆ ตนเองด้วยกิริยาที่อ่อนน้อมอย่างยิ่ง พร้อมทั้งต้องการทราบถึงความประสงค์ของท่าน หลังจากถูกปล่อยตัวออกไป อิมามตอบกลับไปว่า ท่านยังไม่ได้ตัดสินใจจนกว่าจะได้ปรึกษากับท่านหญิงซัยนับก่อน

พวกสาวใช้ถูกสั่งให้จัดการนำม่านมากั้น และนำบรรดาผู้หญิงและเด็กแห่งครอบครัวของท่านศาสดามา ด้วยกิริยาที่สุภาพอ่อนโยน ทันทีที่ท่านหญิงปรากฏตัวต่อหน้า ยะซีดได้บอกกับท่านหญิงว่า

จะปล่อยตัวพวกท่าน และต้องการทราบถึงความประสงค์ว่าจะพักอยู่ที่ดามัสกัสหรือจะเดินทางกลับไปมะดีนะฮ์

๑๔๘

 ท่านหญิงตอบว่า “ก่อนอื่นฉันต้องการสิ่งแรกคือผ้าโพกศีรษะของท่านศาสดา สองผ้าคล้องคอของมารดาของฉันและผ้าที่เปื้อนเลือดของฮูเซน” ด้วยคำขอนี้ยะซีดตอบว่า “ผ้าสะระบั่นของท่านศาสดา

และผ้าคล้องคอของมารดาท่านนั้น ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีใท้องพระคลังเพื่อเป็นศิริมงคล แต่สำหรับเสื้อเปื้อนเลือดของอิมามฮูเซนนั้น ฉันไม่รู้เรื่องอะไรด้วย”

ท่านหญิงกล่าวกับยะซีดว่า “โอ้ ยะซีด! เสื้อตัวนี้ทำมาจากเส้นด้ายที่ถักทอด้วยมือของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ มารดาของฉัน ในขณะที่ท่านถักทอมัน ท่านจะต้องร่ำไห้ตลอดเวลา ซึ่งท่านเคยกล่าว

เสมอว่า

‘ฮูเซนจะสวมเสื้อชุดนี้ในเวลาที่เขาจะถูกสังหารที่กัรบะลา’ ทหารที่โหดร้ายของเจ้าได้ถอดมันออกจากร่างที่ไร้วิญญาณของท่านในวันอาชูรอ”

ยะซีดจึงสั่งให้ทหารออกค้นหา เพื่อนำมามอบให้กับท่านหญิง พร้อมทั้งถามต่อไปว่า “ท่านต้องการสิ่งอื่นใดนอกจากนี้อีก”

ท่านหญิงตอบไปว่า “โอ้ ยะซีด! พวกเรามิสามารถกระทำการไว้อาลัยให้กับพี่ชายของฉันตั้งแต่ท่านถูกสังหาร และในคุกมืดนี้

๑๔๙

 สะกีนะฮ์บุตรสาวสุดที่รักของอิมามฮูเซน ได้เสียชีวิตลงเพราะความทุกข์ทรมานที่ได้รับ และความระทมทุกข์ถึงบิดาของเธอ ดังนั้น เราจึงต้องการจัดการชุมนุมอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้กับพวกท่าน

ด้วยเหตุนี้เราต้องการบ้านที่มีบริเวณกว้างขวางสักหนึ่งหลัง สำหรับ

บุคคลในตระกูลฮาชิม และบรรดากุเรชจะได้สามารถมาร่วมกับเราในการชุมนุมเพื่อไว้อาลัยในครั้งนี้”

ยะซีดสนองตอบด้วยความเต็มใจ และได้ป่าวประกาศต่อสาธารณชนว่า ใครต้องการที่จะไปร่วมในการชุมนุมนี้ก็อนุญาตให้ไปได้

ที่มาของการจัดไว้อาลัย (อาซอดอรี)

บ้านที่ถูกจัดเตรียมให้ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับ ‘ดารุลฮิจาเราะฮ์ ในบ้านหลังนั้นเอง ท่านหญิงซัยนับได้วางรากฐานของการ

 ‘อาซอดอรี’ ให้กับอิมามฮูเซน ภายในบ้านท่านหญิงได้ปูพรมและเชิญให้อิมามซัยนุลอาบิดีนนั่งลง

๑๕๐

ในโอกาสนี้บรรดาสตรีแห่งครอบครัวท่านศาสดาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดดำ

ในช่วงเวลาระหว่างการชุมนุม สตรีในเผ่ากุเรชและตระกูลฮาชิมได้ร่วมสนทนากัน อิมามและท่านหญิงได้เล่าถึงเหตุการณ์อันเศร้าสลดและน่าสะพึงกลัวในการสังหารอิมามฮูเซน เป็นเหตุให้ผู้ที่มาร่วมชุมนุมพากันร่ำไห้ ในการชุมนุมนี้ท่านหญิงได้กล่าวสุนทรพจน์กับผู้ที่มาชุมนุมว่า

“โอ้ บรรดาสตรีชาวชีเรีย พวกท่านไม่ทราบถึงความโหดร้ายทารุณในโศกนาฏกรรมที่กัรบะลาอ์ที่ซึ่งอิมามฮูเซนหลานชายท่านศาสดาและบรรดาเด็กๆ ในครอบครัวของท่าน ต้องถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม ในขณะที่ยังคงหิวกระหาย ร่างกายของพวกเขาถูกกลีบเท้าม้าเหยียบยํ่าจนไม่เหลือชิ้นดี ต้องถูกทิ้งไว้กลางทะเลทรายโดยมิได้ทำการฝัง ศีรษะของท่านและคนอื่นๆ ถูกเสียบไว้ที่ปลายหอกและถูกชูมาตลอดทางพร้อมกับพวกเรามายังซีเรีย หลังจากการสังหารหมู่พวกเราถูกจับเป็นเชลย โดยคำสั่งที่ไร้ยางอายของ

อุบัยดุลลอฮ์ บุตรของซิยาด พวกเขาพาพวกพ้องของเราไปยังกูฟะฮ์ด้วยศีรษะที่ปราศจากผ้าปกปิด และให้เรานั่งบนหลังอูฐที่ไม่มีกูบ อิมามซัยนุลอาบิดีนถูกล่ามด้วยโซ่ที่หนักอึ้งรอบต้นคอ

๑๕๑

และถูกบังคับให้เดินตามคาราวานด้วยเท้าเปล่า มันเป็นภาพที่ไม่อาจจินตนาการได้ว่าจะทุกข์ทรมานมากมายสักเพียงใด”

ท่านหญิงได้เปรียบเทียบให้พวกสตรีชาวซีเรียเห็นถึงความโหดร้ายชั่วช้าของยะซีด กับคุณธรรมความดีของอิมามฮูเซน

เมื่อกลับไปยังบ้านเรือนพวกนางได้เล่าเรื่องราวที่รับฟังมาให้กับสมาชิกในครอบครัวของพวกนางได้รับรู้ความจริง และเมื่อรู้เช่นนั้นพวกเขารู้สึกต่อต้านและไม่พอใจยะซีดอย่างยิ่ง

หลังจบการชุมนุมทุกครั้ง บรรดาสตรีก็จะมาปลอบโยนท่านหญิงซัยนับ พวกผู้ชายก็จะมาปลอบโยนอิมามซัยนุลอาบิดีน การชุมนุมนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้นในหมู่ประชาชนในเมือง เสียงร่ำไห้คร่ำครวญ เสียงทุบอก ตีศีรษะได้ปรากฏเป็นรอยประทับลงไปในหัวใจของประชาชน ทำให้พวกเขาเพิ่มความทุกข์โศกและทำให้ตาสว่าง เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมที่กัรบะลา

๑๕๒

บทที่ ๑๐

การเดินทางสู่มะดีนะฮ์

บัดนี้ยะซีดรู้สึกหวาดกลัวอย่างมากเมื่อหวนนึกถึงเหตุการณ์ และความสำนึกผิดได้เริ่มครอบงำจิตใจเขามากขึ้น และกลัวว่า ความลับที่ตนเองมีส่วนในการสังหารหมู่อิมามฮูเซนและผู้ใกล้ชิดของท่านจะถูกเปิดเผย เขาจึงต้องการให้ครอบครัวท่านศาสดาออกเดินทางไปยังมะดีนะฮ์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ด้วยเหตุนี้ ยะซีดจึงออกคำสั่งให้ ตระเตรียมการเดินทางสู่บ้านเกิด ท่านหญิงซัยนับ ขอให้ใช้ผ้าสีดำคลุมแคร่บนหลังอูฐ เพื่อประชาชนจะได้รู้ว่าพวกท่านกำลังอยู่ในระหว่างไว้อาลัย ยะซีดตกลงตามคำ

ขอ เมื่อขบวนเตรียมพร้อมที่จะออกเดินทาง สตรีชาวเมืองดามัสกัสในเครื่องแต่งกายชุดดำไปส่งพร้อมกับกล่าวคำอำลา

๑๕๓

ซึ่งเป็นภาพที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำ รอยแผลแห่งความโศกเศร้าทุกข์ทรมาน ได้ทิ้งร่องรอยความทรงจำอันขมขื่นไว้บนหัวใจของพวกเขา ซึ่งไม่มีวันลืมเลือนต่อโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ และ

การกระทำอันชั่วร้ายดังกล่าว จะเป็นที่เล่าขานให้รู้สืบต่อกันไป จากชั่วอายุคนแล้วคนเล่าตลอดไป!

ยะซีดได้ส่งนัวะอ์มาน บิน บาชิร พร้อมทหารคุ้มกันร้อยนาย คอยดูแลและให้ความสะดวกแก่ขบวนคาราวาน ตลอดระยะทางครอบครัววงศ์วานของท่านศาสดาได้รับการดูแลอย่างดี ทุกครั้งที่หยุดพัก

การเดินทาง นัวะอ์มานและทหารคุ้มกันจะตั้งกระโจมให้พวกท่าน ซึ่งพวกท่านก็จะจัดการชุมนุมในทุกๆ ที่ที่หยุดพัก เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้ถึงโศกนาฏกรรมซึ่งเกิดขึ้นที่กัรบะลา

๑๕๔

กัรบะลาอ์

ขบวนทั้งหมดมาถึงกัรบะลาอ์ ในวันที่ ๒๐ ซอฟัร ฮ.ศ. ๖๑ (๑๘ พฤศจิกายน ค.ศ.๖๘๐) และวันนี้เองคือวัน ‘อัรบะอีน’ วันที่ ๔๐ ของการพลีชีพของอิมามฮูเซน

ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ อันซอรี สาวกคนสำคัญของท่านศาสดา ก็ได้มาปรากฏอยู่ ณ ที่นี้ด้วย ท่านเป็นคนแรกที่อ่านซิยารัตให้กับอิมามฮูเซนและสหายของท่าน การได้พบกับท่านญาบิร เป็นการเตือนความทรงจำถึงความรุ่งโรจน์ในอดีตสมัยที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ ซึ่งพวกท่านทั้งหมดเป็นครอบครัวที่มีความสุข

แต่ภาพความสุขนี้ได้อันตรธานหายไปสิ้น คงเหลือแต่ความทรงจำที่ปวดร้าวในโศกนาฏกรรมที่กัรบะลา ที่ทำให้จิตใจของท่านหญิงมีแต่ความน่าสะพึงกลัวที่ต้องเห็นภาพเลือด เลือดสดๆ และการ

หลั่งเลือด!

๑๕๕

ขบวนของครอบครัววงศ์วานของท่านศาสดาได้หยุดพักที่กัรบะลา จนถึงวันที่ ๘ ร่อบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. ๖๑ (๕ ธันวาคม ค.ศ.๖๘๐) รวมเวลาราว ๑๘ วัน ท่านหญิงซัยนับ ไม่ประสงค์ที่จะเดินทางไปกับขบวน

เพราะท่านไม่ต้องการจะจากสถานที่ฝังศพของพี่ชายของท่านไป แต่เมื่ออิมามซัยนุลอาบิดีนขอร้องให้ท่านเปลี่ยนความตั้งใจ เพราะภาระหน้าที่ของท่านยังไม่สิ้นสุด ท่านจึงตอบว่า

 “โอ้ อะลี ซัยนุลอาบิดีน!

โปรดปล่อยให้อาได้อยู่ที่นี่เถิด! เพราะอาต้องการจะอยู่ใกล้ชิดกับพี่ชายของอา จนกระทั่งวาระสุดท้าย ของชีวิต อาจะกลับไปมะดีนะฮ์ได้อย่างไร ซึ่งจะต้องไปพบกับบ้านที่ว่างเปล่าของเรา?”

อิมามตอบว่า “โอ้ ท่านอาที่รัก! ท่านพูดถูกต้องแล้ว ฉันทราบดีว่ามันไม่อาจทนได้ที่จะกลับไปมะดีนะฮ์และพักอยู่ในบ้านที่ว่างเปล่า ซึ่งเราได้สูญเสียคนในครอบครัวของเราไปจนหมดสิ้น

ความโปรดปรานจากพระผู้เป็นเจ้าจะต้องประทานลงมายังพวกเรา ในการยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระองค์

๑๕๖

และมันเป็นคำสั่งของศาสนทูตของพระองค์ ที่ซึ่งบิดาของฉันได้สนองพระบัญชานั้น”

หลังจากอ้อนวอนโน้มน้าวอยู่เป็นเวลานาน ท่านหญิงจึงยอมตกลงตัดใจจากกัรบะลาอ์ ซึ่งเป็นสถานที่ฝังร่างพี่ชายอันเป็นที่รักของท่านมาอย่างไม่สู้เต็มใจนัก

ตลอดทางสู่มะดีนะฮ์ พวกท่านได้จัดการชุมนุมขึ้นทุกๆ ครั้งที่หยุดพัก ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆเหล่านั้นพากันร่วมไว้อาลัยกับพวกท่าน ในขณะที่มีการเล่าเรื่องในการชุมนุมนั้น บางครั้งจะได้ยินเสียง

บทกวี คำโคลงไว้อาลัยท่านอิมามดังแว่วโดยไม่ปรากฏที่มาของเสียงนั้น.

๑๕๗

บทที่ ๑๑

มะดีนะฮ์

เมื่อยิ่งใกล้จะถึงมะดีนะฮ์ ก็ยิ่งเพิ่มความโศกเศร้าให้กับพวกท่านเป็นทวีคูณ ความทรงจำในภาพเหตุการณ์ทั้งหมดเริ่มปรากฏขึ้นในความรู้สึกอีกครั้งหนึ่ง

ครั้งแล้วครั้งเล่า! พวกท่านมองขึ้นไปเบื้องบนด้วยดวงตาที่เอ่อล้นด้วยน้ำตา ประหนึ่งดังจะกล่าวว่า

 “โอ้ พระผู้เป็นเจ้า! ข้าพระองค์ขอน้อมรับพระประสงค์ของพระองค์ ไม่ว่าความโหดร้ายทารุณใดก็ตามที่จะมาประสบกับพวกเรา พระองค์เท่านั้นที่เหล่าข้าพระองค์ขอความเมตตา โปรดประทานพละกำลังในการที่จะอดทนต่อความเจ็บปวดนั้น”

ตามธรรมดาเมื่อผู้เดินทางได้เข้ามาใกล้ถึงบ้านเกิด พวกเขาจะมีแต่ความสุขปรากฏขึ้นบนใบหน้า

๑๕๘

 เพราะอีกไม่นานเขาก็จะได้พบกับสมาชิกในครอบครัวของเขา แต่นี่มันช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กับขบวนคาราวานที่

ปราศจากอิมามฮูเซน และเด็กๆ ในครอบครัวของพวกเขา ซึ่งถูกสังหารหมู่ที่กัรบะลา

ที่นี่ (มะดีนะฮ์) พวกเขาจะต้องอธิบายว่ามันเกิดขึ้นอย่างไร? และแน่นอน! พวกเขาไม่กล้าที่จะเล่าถึงความน่าสะพึงกลัวในค่ำคืนนั้น

เมื่อท่านหญิงซัยนับมองเห็นภาพมะดีนะฮ์ ท่านรำพึงว่า “โอ้ ดินแดนของท่านตาของฉัน! ท่านจะยอมรับเราได้อย่างไร ในเมื่อเรากลับมาพบกับท่านในสภาพที่โศกเศร้าเช่นนี้ เราต้องสูญเสียผู้เป็นที่รักที่ใกล้ชิดที่สุด หัวใจของเรามีแต่ความสิ้นหวังและปวดร้าว โอ้ มะดีนะฮ์! เมื่อเราจากไป หัวใจของเรายังมีความสดชื่นเหมือนสวนที่เต็มไปด้วยมวลดอกไม้ แต่วันนี้เรากลับมาด้วยหัวใจที่แตกสลาย สูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง”

๑๕๙

เมื่อเข้ามาใกล้มะดีนะฮ์ บาชิร บุตรของญาสญัล กวีที่มีความรักในครอบครัวของท่านศาสดา ได้ร่วมเดินทางมาในขบวนด้วย

อิมามซัยนุลอาบิดีนขอร้องให้เขาเข้าไปยังมะดีนะฮ์ก่อน เพื่อบอกข่าวกับประชาชนว่าพวกท่านกำลังกลับมา ขณะนี้ถึงบริเวณเขตรอบนอกเมืองแล้ว พวกท่านได้หยุดพักการเดินทาง ณ สถานที่นี้

บาชิรเข้าไปยังมะดีนะฮ์ และป่าวประกาศเรื่องราวความโศกเศร้าครั้งนี้ในมัสยิดของท่านศาสดา

บอกข่าวการมาถึงของขบวนคาราวานของผู้ซึ่งหัวใจแตกสลายด้วยความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน

มะดีนะฮ์ตกอยู่ในความเศร้าโศก ความเศร้าเสียใจต่อข่าวร้ายนี้ ซึ่งแพร่สะพัดไปทั่ว ทำให้พวกเขาอยู่ในอาการตื่นตระหนก ไม่ว่าเศรษฐีหรือยาจก ผู้ใหญ่หรือเด็ก ทั้งหมดได้มารวมตัวกันและตรงไปยังกระโจมของท่านหญิงซัยนับ เพื่อต้องการปลอบโยนพวกท่านให้คลายจากความเศร้าโศกลงบ้าง

๑๖๐

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175