ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม22%

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์
หน้าต่างๆ: 175

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 175 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 47205 / ดาวน์โหลด: 4707
ขนาด ขนาด ขนาด
ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

   ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมายและความเป็นจริง

(วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์และวะฮ์ดัตอัยนีย์)

    ในขณะที่มีการกล่าวกันว่า ความเป็นหนึ่งเดียวที่มีในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้ากับคุณลักษณะของพระองค์ นั้นมีความหมายเป็นหนึ่งเดียวกัน (วะฮ์ดัต) ดังนั้น ความเป็นหนึ่งเดียว(วะฮ์ดัต) ดังกล่าวมีความหมายว่าอย่างไร? และเราสามารถแบ่งออกเป็นได้ กี่ประเภทด้วยกัน

ซึ่งจะกล่าวได้ว่า เราสามารถแบ่งประเภทของความเป็นหนึ่งเดียว (วะฮ์ดัต )ได้ ๒ ประเภท ด้วยกัน มีดังต่อไปนี้

๑. ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมาย  (วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์)

๒. ความเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นจริง (วะฮ์ดัตอัยนีย์)

 วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์ หมายถึง คำสองคำที่มีความแตกต่างกันในตัวอักษร แต่ในด้านความหมายนั้น มีความหมายเดียวกัน เช่น ในภาษาอาหรับ คำว่า วุญูด คือ การมีอยู่ และคำว่าเกาน์ ก็แปลว่า  การมีอยู่ ด้วยเช่นกัน

 ดังนั้น วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์ จึงถูกนำไปใช้ในด้านของความหมายของคำเท่านั้น

ส่วนวะฮ์ดะฮ์อัยนี หมายถึง คำสองคำที่มีสองความหมาย แต่ว่ามีตัวอย่างอันเดียวกันในความเป็นจริงหรือภายนอก เช่น คำว่า คัมภีร์ของมุสลิม และคำว่า ปฏิหาริย์ของท่านศาสดามุฮัมมัด ดังนั้น สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น มีตัวอย่างอันเดียวกัน  นั่นคือ

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน เป็น คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม

๑๐๑

   ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว สามารถบอกได้ถึง ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ซึ่งในระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า และในระหว่างคุณลักษณะประการหนึ่งกับอีกคุณลักษณะประการอื่นๆของพระองค์ นั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน

 ในอีกนัยหนึ่ง กล่าวได้ว่า มีความเป็นวะฮ์ดัตอัยนี กล่าวคือ ในความเป็นจริง นั้นมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า  ในความหมายของอาตมันกับคุณลักษณะ เช่น ความรอบรู้ อานุภาพ ก็มีความแตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง ความรอบรู้ของพระเจ้า เป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด

ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะบางประการของพระเจ้า คือ คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ ซึ่งตรงกันข้ามกับคุณลักษณะใน กิริยา การกระทำ อีกทั้ง คุณลักษณะซุบูตีย์ (คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้า) ก็ตรงกันข้ามกับคุณลักษณะซัลบีย์ (คุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์)อย่างเห็นได้ชัด

เราสามารถแบ่งประเด็นต่างๆของความเป็นเอกานาภาพในคุณลักษณะของพระเจ้า ได้ด้วยกัน ๓ ประเด็นหลัก นั่นก็คือ

๑.ประเด็นแรก อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า ที่มีความหมายที่แตกต่างกัน

๒.ประเด็นที่สอง อาตมันกับคุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระองค์ ที่ในความเป็นจริงนั้น มีตัวอย่างหนึ่งเดียวเท่านั้น

๑๐๒

๓.ประเด็นที่สาม คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันกับคุณลักษณะประการอื่นของพระองค์ และในความเป็นจริงก็มีตัวอย่างหนึ่งเดียวเช่นกัน

หากพึงสังเกตุว่า ในประเด็นสุดท้าย ซึ่งก็เป็นประเด็นเดียวกันกับประเด็นที่สอง เพราะว่า การที่มีการกระทำหลายอย่างในสิ่งหนึ่ง แน่นอนที่สุด สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งเดียวที่มีหลายกริยา การกระทำด้วยเช่นกัน และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่สิ่งหนึ่งจะมีความแตกต่างในตัวตนของสิ่งนั้นเอง

   เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

    ดั่งที่ได้อธิบายในความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะผ่านไปแล้ว จะมาอธิบายกันในเหตุผลที่ใช้พิสูจน์ในหลักการนี้ บรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม มีเหตุผลในการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ  ๓ เหตุผล ด้วยกัน ดังนี้

เหตุผลที่หนึ่ง

เหตุผลนี้ประกอบด้วย ๒ ข้อพิสูจน์เบื้องต้น คือ

๑.การมีความสมบูรณ์ที่สุด(กะมาล มุตลัก)ในพระผู้เป็นเจ้า  บ่งบอกถึง การมีความสัมพันธ์จากอาตมันไปยังคุณลักษณะของพระองค์ ในสภาพที่มีความสมบูรณ์ที่สุด

๒.การมีความสมบูรณ์ที่สุดในสิ่งหนึ่ง  หมายถึง การมีความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นด้วยกับตัวของมันเอง โดยที่ไม่ต้องการสิ่งอื่นใด

๑๐๓

ผลที่จะได้รับของข้อพิสูจน์ดังกล่าวนี้ ก็คือ : ความสมบูรณ์ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งบ่งบอกถึง อาตมันของพระองค์ และคุณลักษณะทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้น นอกจากคุณลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นด้วยอาตมันของพระองค์เท่านั้น

สิ่งที่ได้รับจากเหตุผลนี้ ก็คือ ความเป็นหนึ่งและความเป็นเอกานุภาพของคุณลักษณะ และอาตมันของพระเจ้า

การเปรียบเทียบกันระหว่างข้อถกเถียง และโต้แย้งในข้อพิสูจน์นี้ เป็นที่กระจ่างชัดโดยที่ไม่มีความต้องใช้การพิสูจน์ใดๆจากการวิเคราะห์ในความหมายของ กะมาล มุตลัก (ความสมบูรณ์ที่ไม่มีขอบเขต) หมายถึง ความสมบูรณ์ที่มีอยู่ในทุกภาวะด้วยกับตัวของตนเองโดยมีความสัมผัสสะกับคุณลักษณะทั้งหลาย ในอีกมุมมองหนึ่ง กล่าวว่า การเปรียบเทียบกันระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า มี ๒ สภาพด้วยกัน ดังนี้

สภาพแรก ความเป็นหนึ่งและเอกะในสิ่งทั้งสอง กล่าวคือ ทั้งในอาตมันของพระเจ้ากับคุณลักษณะของพระองค์ หมายความว่า สภาพนี้ เป็นระดับขั้นที่อาตมันมีความสมบูรณ์ที่สุด และไม่มีขอบเขตจำกัด

สภาพที่สอง ความแตกต่างในอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า

๑๐๔

   เหตุผลที่สอง

    องค์ประกอบของเหตุผลนี้ มีดังต่อไปนี้

๑.อาตมันของพระเจ้า เป็นวาญิบุลวุญูด (ความจำเป็นที่ต้องมีอยู่) และเป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย ส่วนสิ่งอื่น เป็นมุมกินุลวุญูด (ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้) และยังเป็นผลของปฐมเหตุอีกด้วย

๒.ความสมบูรณ์ทั้งหมดของผลขึ้นอยู่กับต้นเหตุของมัน

๓.ถ้าหากว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะของพระเจ้า มิได้ผ่านยังอาตมันของพระองค์ ก็หมายถึง ในอาตมันของพระเจ้านั้น มีข้อบกพร่องและความไม่สมบูรณ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ผลหรือข้อสรุปที่จะได้รับ ก็คือ จากองค์ประกอบที่หนึ่งและที่สองของเหตุผลนี้ ได้กล่าวถึง อาตมันของพระเจ้าว่า มีความสมบูรณ์ที่สุด และองค์ประกอบที่สาม ก็กล่าวว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะทั้งหลายนั้น จะต้องเกิดมาจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น และก็หมายความว่า จะต้องมีความเป็นหนึ่งหรือความเป็นเอกานุภาพอยู่อีกด้วย

สามารถสรุปได้ว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระเจ้านั้น จะต้องมีความสมบูรณ์ในตัวของตัวเอง และความไม่สมบูรณ์หรือข้อบกพร่องจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน  เพราะว่าอาตมันของพระองค์เป็นปฐมเหตุของผลทั้งหลาย และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ แสดงให้เห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่คุณลักษณะของพระเจ้าจะไม่มีความสมบูรณ์อยู่เลย ดังนั้น กล่าวได้ว่า คุณลักษณะของพระเจ้าต้องมีความสมบูรณ์ที่สุด และไม่มีขอบเขตจำกัด อีกทั้งเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกานุภาพกับอาตมันของพระองค์ด้วย

๑๐๕

   เหตุผลที่สาม

    ถ้าหากว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้มีความเป็นหนึ่งเดียว หรือเป็นเอกานุภาพกับอาตมันของพระองค์แล้วไซร้ จะเกิดการสมมุติฐานได้ สองประเด็น ด้วยกัน ดังนี้

๑.คุณลักษณะของพระเจ้าต้องเป็นส่วนหนึ่งในอาตมันของพระองค์

๒.คุณลักษณะของพระเจ้าต้องเกิดจากภายนอกอาตมันของพระองค์

สมมุติฐานแรก ถือว่าเป็นโมฆะและไม่ถูกต้อง เพราะว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้มีความเชื่อว่าพระเจ้ามีส่วนประกอบและได้พิสูจน์ในบท ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้วว่า อาตมันของพระองค์นั้นไม่มีส่วนประกอบใดทั้งสิ้น

และจากสมมุติฐานที่สอง ก็ถือว่าเป็นโมฆะและไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสมมุติฐานว่า ถ้าคุณลักษณะของพระเจ้าเกิดจากภายนอกจริง คุณลักษณะนั้นจะต้องเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ หรือสิ่งที่สามารถมีอยู่ ถ้าเป็นสิ่งแรก ก็เป็นสาเหตุให้เกิดมีพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งความเชื่อนี้ขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และถ้าคุณลักษณะของพระองค์ เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ จะเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วอะไร เป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ซึ่งได้อธิบายไปแล้วว่า ทุกสิ่งที่เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ ไม่ว่าในสภาพใดก็ตาม เป็นผลของสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ทั้งสิ้น และถ้าหากว่าเหตุผลการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น เกิดจากสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่หลายๆอย่าง ที่เป็นสาเหตุให้มีพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งก็มีความขัดแย้งกับเตาฮีดในอาตมันของพระเจ้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น การสมมุติฐานทั้งหมด ถือว่าเป็นโมฆะ และคงเหลือเพียงสมมุติฐานเดียวก็คือ คุณลักษณะของพระเจ้าเกิดจากภายนอกอาตมัน และเป็นผลของอาตมัน

๑๐๖

 ดังนั้น การยอมรับในสมมุติฐานนี้ ก็คือ พระเจ้าไม่มีคุณลักษณะใดๆอยู่เลย เช่น พระองค์ไม่มีชีวิต ไม่มีพลานุภาพ ไม่มีความสามารถ ในตอนแรกได้เอาคุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้มาจากภายนอกอาตมันของพระองค์ แล้วนำไปใช้กับสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การสมมุติฐานนี้ ก็ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เพราะว่า ด้วยกับกฏของเหตุและผล ได้กล่าวไปแล้วว่า เหตุของผลทั้งหลายจะไม่มีคุณสมบัติของผลของมัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะปราศจากความสมบูรณ์แล้วเอาความสมบูรณ์นั้นไปให้กับสิ่งอื่น เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ สำหรับพระเจ้า ในขณะที่พระองค์ไม่มีชีวิตอยู่และไม่มีพลานุภาพ และไม่มีความสามารถแล้ว พระองค์จะเป็นผู้ทรงสร้างชีวิตทั้งหลายได้อย่างไร?

สามารถสรุปได้ว่า สมมุติฐานที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ และการสมมุติฐานระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า มีความแตกต่างกัน ก็เป็นโมฆะเช่นเดียวกัน ผลลัพท์คือ ระหว่างอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์ในความเป็นจริง เป็นสิ่งเดียวกัน แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สติปัญญาของมนุษย์ยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงบริสุทธิ์ และมิได้มีขอบเขตจำกัด ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของคุณลักษณะที่มากมายในพระองค์ เช่น ความรู้ ความสามารถ การมีชีวิต และได้นำไปใช้กับอาตมันของพระเจ้าซึ่งในความเป็นจริงก็มิได้มีความแตกต่างกันเลย

๑๐๗

   ความแตกต่างทางด้านความหมายของคุณลักษณะ (ซิฟัต)

    ได้กล่าวไปแล้วว่า ในความเป็นจริงของอาตมัน และคุณลักษณะของพระเจ้านั้น มีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ ซึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ก็มิได้มีความแตกต่างกับอาตมัน และมิได้เป็นส่วนประกอบใดของอาตมัน แต่ในอาตมันและคุณลักษณะมีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ 

ประเด็นหลักของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ  ก็คือ การยืนยันด้วยเหตุผลถึงความแตกต่างในความหมายระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะ เพราะว่าบุคคลใดก็ตามที่ใช้สติปัญญาเพื่อเข้าใจใน

ความหมายของคุณลักษณะ เช่น ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ ความสามารถและอื่นๆ  ซึ่งทั้งหมดนั้นมีความหมายแตกต่างกัน  ดั่งเช่น ชาวอาหรับได้เรียกพระเจ้าว่า ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงความสามารถ บ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง มีตัวตนหนึ่งเดียว

๑๐๘

                      

   ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองทางประวัติศาสตร์

    บรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับคุณลักษณะกับการให้ความสัมพันธ์ไปยังอาตมันของพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

๑.ทัศนะที่มีความเชื่อว่า คุณลักษณะกับอาตมันมีความเป็นหนึ่งเดียวกันตามความเป็นจริง แต่ในความหมายมีความแตกต่างกัน ทัศนะนี้  เป็นทัศนะของสำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ และสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์บางคน ซึ่งมีเหตุผลมากมายจากการใช้สติปัญญา และวจนะของอิสลามที่พิสูจน์ในทัศนะนี้

๒.ทัศนะที่มีความเชื่อในการมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้า และความไม่เหมือนกันของคุณลักษณะกับอาตมัน ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ ที่กล่าวว่า คุณลักษณะในพระเจ้ามีความเหมือนกันกับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างและมีความแตกต่างกับอาตมัน หมายความว่า คุณลักษณะของพระองค์นั้นมีมาแต่เดิม แต่คุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างมิได้มีมาแต่เดิม

ความผิดพลาดของทัศนะนี้ ก็คือ เป็นข้อสงสัยที่ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้าง และการยอมรับว่า คุณลักษณะมีมาแต่เดิมเหมือนกับอาตมัน ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของสิ่งที่มีมาแต่เดิมหลายสิ่ง และเป็นสาเหตุทำให้เกิดการตั้งภาคี

๑๐๙

 กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีอยู่ของสิ่งเจ็ดประการที่มีมาแต่เดิมเหมือนกับอาตมันของพระเจ้า นั่นก็คือ คุณลักษณะเจ็ดประการ ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ และฯลฯ และในทัศนะนี้ได้ยอมรับว่า พระเจ้ามีความต้องการในความสมบูรณ์ของพระองค์ ซึ่งมีความขัดแย้งกับการไม่มีความต้องการใดของพระองค์ แต่ในทัศนะของความเป็นเอกานุภาพได้กำหนดไว้ว่า อาตมันของพระเจ้ามีหนึ่งเดียวและมีมาแต่เดิม ส่วนสิ่งทั้งหลายนอกเหนือจากพระองค์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ และเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์ 

๓.ทัศนะที่มีความเชื่อในการเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ของคุณลักษณะของพระเจ้า และความไม่เหมือนกันของคุณลักษณะและอาตมัน ทัศนะนี้เป็นทัศนะของสำนักคิดกะรอมียะฮ์ ที่กล่าวว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้มีมาแต่เดิม กล่าวคือ คุณลักษณะของพระเจ้าเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และมิได้เหมือนกันกับอาตมัน ดังนั้น ทัศนะนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะ ด้วยกับเหตุผลต่างๆทางสติปัญญาที่ได้อธิบายไปแล้ว

๔.ทัศนะที่มีความเชื่อในการเป็นตัวแทน (นิยาบัต) ของอาตมันจากคุณลักษณะ ทัศนะนี้เป็นทัศนะของนักเทววิทยาในสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์บางคน เช่น อะบูอะลีและอะบูฮาชิม ญุบบาอีย์

 (ผู้ก่อตั้งสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์) และทัศนะของ อับบาด บิน สุลัยมาน พวกเขากล่าวว่า พระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะที่สมบูรณ์ เช่น ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ ในขณะเดียวกันอาตมันของพระองค์ก็ได้แสดงผลของคุณลักษณะทั้งหลายนั้นออกมา ตัวอย่างเช่น อาตมันของพระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะความรู้ แต่การกระทำต่างๆของพระองค์ เป็นการกระทำของผู้ที่มีความรู้

๑๑๐

ดังนั้น เหตุผลของทัศนะนี้ ก็คือ พวกเขาไม่ยอมรับในทัศนะที่สาม เพราะว่า มีความขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพ และในขณะเดียวกัน พวกเขาไม่รู้ในความเป็นจริงของคุณลักษณะทั้งหลายที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า ทัศนะนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เพราะว่าถ้ายอมรับในทัศนะนี้ก็เท่ากับมีความเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีความสมบูรณ์ เช่น การมีความรู้ ความสามารถ การมีชีวิต เป็นต้น

   ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองของวจนะ

    ได้อธิบายไปแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ หมายถึง การมีความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้าในความเป็นจริง แต่ในความหมายนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้น คุณลักษณะของพระเจ้าก็เหมือนกันกับอาตมันของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม ในขณะเดียวกัน ก็ไม่มีความแตกต่างกันในอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์ 

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในสุนทรโรวาทหนึ่งเกี่ยวกับความสวยงามในความเป็นจริงของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ความว่า

 “พระเจ้า พระองค์ผู้ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่มีขอบเขตจำกัดและไม่สามารถจะพรรณาในคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ได้”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

๑๑๑

หลังจากนั้นท่านอิมามได้อธิบายถึงความสมบูรณ์ของความบริสุทธิ์ใจในการรู้จักพระเจ้าและเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพ)ว่า

“ความสมบูรณ์ของความเป็นเอกานุภาพ คือ การมีความบริสุทธิ์ใจต่อพระเจ้า และความสมบูรณ์ของความบริสุทธิ์ใจ คือ การไม่ปฏิเสธการมีคุณลักษณะในพระองค์ เพราะว่า การมีอยู่ของคุณลักษณะ บ่งบอกถึงสิ่งทำให้คุณลักษณะเกิดขึ้น และการมีของสิ่งที่ทำให้คุณลักษณะเกิดขึ้น มิใช่เป็นการมีคุณลักษณะ”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

ท่านอิมามอะลีกล่าวอีกว่า

”บุคคลใดก็ตามที่ได้ทำให้พระเจ้ามีคุณลักษณะ ก็เท่ากับว่าเขาได้เข้าใกล้ชิดต่อพระองค์ และใครก็ตามที่เขาได้เข้าใกล้ชิดพระองค์ ก็เท่ากับเขาได้ทำให้พระเจ้ามีหลายองค์ และใครก็ตามที่ทำให้พระเจ้ามีหลายองค์ก็เท่ากับว่าเขานั้นไม่รู้จักพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

ท่านอิมามริฎอ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

”พระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงสูงส่ง พระองค์ทรงมีความรอบรู้ ,ความสามารถ, มีชีวิต, ได้ยิน, มองเห็น และ มีมาแต่เดิม

๑๑๒

 ฉัน (ผู้รายงาน) ได้ถามท่านอิมามว่า โอ้บุตรแห่งศาสนทูต กลุ่มชนหนึ่งได้พูดกันว่า พระองค์อัลลอฮ์มิได้ทรงมีความรู้, สามารถ, มีชีวิต, ได้ยิน, มองเห็น และ มีมาแต่เดิม

ท่านอิมามได้ตอบกับเขาว่า “ใครก็ตามที่มีความเชื่อเช่นนี้ แน่นอนที่สุดเขาได้ยืดเอาพระเจ้าอื่นเคียงข้างพระองค์อัลลอฮ์และตำแหน่งวิลายะฮ์ (ความเป็นผู้นำ) ของเราจะไม่ไปถึงเขา และท่านอิมามได้กล่าวอีกว่า พระองค์อัลลอฮ์ทรงมีความรู้, ความสามารถ, มีชีวิต ได้ยิน, มองเห็น และมีมาแต่เดิมด้วยกับอาตมันของพระองค์ และพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่บรรดาพวกตั้งภาคีและพวกที่คิดว่าพระองค์มีรูปร่าง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๑๑ วจนะที่ ๓ )

 จากวจนะของท่านอิมามริฎอ ได้บ่งบอกถึง คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้าที่มีมาแต่เดิม อาทิ เช่น ความรอบรู้, ความสามารถและ การมีชีวิต ผู้รายงานได้ถามอิมามเกี่ยวกับกลุ่มชนหนึ่งที่มีความเชื่อว่า การมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้าและความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ อิมามได้ตอบว่า การมีความเชื่อเช่นนี้ เป็นสาเหตุของการตั้งภาคีและการเชื่อว่ามีพระเจ้าหลายองค์ ส่วนการมีอยู่ของคุณลักษณะในพระเจ้าได้เกิดขึ้นด้วยกับอาตมันของพระองค์ และมีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมัน

๑๑๓

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ซิฟาตซาตีย์ หมายถึง คุณลักษณะที่มีในอาตมัน                                  

ซิฟาต คอริญีย์ หมายถึง คุณลักษณะที่มีในภายนอก

เตาฮีด ซิฟาตีย์ หมายถึง       ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

วะฮ์ดัต มัฟฮูมีย์ หมายถึง     ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมาย

วะฮ์ดัต อัยนีย์  หมายถึง       ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ได้มีคำถามเกิดขึ้นว่า คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้ามีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์หรือไม่?

๒.ความเป็นหนึ่งเดียว (วะฮ์ดัต) สามารถแบ่งออกเป็น สองประเภท

(๑.)ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมาย (วะฮ์ดัต มัฟฮูมีย์) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมายของคำทั้งสองคำ

(๒.)ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง (วะฮ์ดัต อัยนีย์) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง แต่ในความหมายแตกต่างกัน

๓.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะมี ๓ ประเด็นหลัก ดังนี้

(๑.)อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้าในความหมายที่แตกต่างกัน

(๒.)อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้าในความจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกัน

(๓.)คุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะประการอื่นในความเป็นจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และเหมือนกัน

๑๑๔

๔.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระเจ้า เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๕.มีหลายเหตุผลทางสติปัญญาที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๖.การพิจารณาความหมายทางภาษาของคุณลักษณะในพระเจ้า บ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทัศนะของความเป็นหนึ่งเดียวในความหมายของคุณลักษณะในพระเจ้านั้น มีความขัดแย้งกับการเข้าใจทางภาษาของคุณลักษณะในมนุษย์

๗.สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้า และมีความหมายที่แตกต่างกันกับอาตมันของพระองค์ ความเชื่อนี้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการตั้งภาคี และความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์

๘.ทัศนะของนักเทววิทยาบางคนในสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ มีความเชื่อในอาตมันของพระเจ้าว่าไม่มีคุณลักษณะประการใด พวกเขากล่าวว่า  อาตมันของพระองค์มีผลที่มีคุณลักษณะ ในขณะที่ไม่มีคุณลักษณะประการใด ดังนั้น การยอมรับในทัศนะนี้ มีความเชื่อในความไม่สมบูรณ์ในอาตมัน และการไม่มีคุณลักษณะในพระองค์

๙.ท่านอิมามอะลีได้กล่าวในสุนทรโรวาทหนึ่งในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ว่า

 “คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้อยู่นอกเหนือจากอาตมันของพระองค์ และใครก็ตามที่มีความเชื่อว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะอยู่ภายนอกอาตมันของพระองค์ แน่นอนที่สุดเขานั้นไม่รู้จักพระองค์อย่างแท้จริง”

๑๐.ท่านอิมามอะลี ริฎอ ได้กล่าวเน้นย้ำว่า การมีความเชื่อในการมีคุณลักษณะของพระเจ้าที่มีความหมายที่แตกต่างกันกับอาตมัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตั้งภาคี และได้เปรียบพระเจ้าเหมือนกับสิ่งที่มีชีวิตในโลก หมายถึง พระองค์มีรูปร่างและสรีระ

   บทที่ ๔

   ความเป็นเอกานุภาพใน กิริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่หนึ่ง

   บทนำเบื้องต้น

    ตามทัศนะของบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลาม มีความเห็นว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด และทรงเป็นแหล่งที่มาของอากัปกิริยา การกระทำ เช่น การสร้าง  , การประทานปัจจัยยังชีพ ,การบริหารกิจการงานทั้งหลาย, การมีเมตตาปรานี และอื่นๆ ซึ่งการกระทำทั้งหมดนั้น เป็นการกระทำของพระองค์

เมื่อได้สังเกตุในสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในโลก จะพบว่า มีกิริยา การกระทำเกิดขึ้นมากมาย  ซึ่งทั้งหมดของการกระทำจะต้องมีแหล่งที่มาหรือสาเหตุในการเกิดขึ้น เช่น สภาพการเป็นสะสาร ,การเจริญเติบโตของพรรณพืช, การเกิดขึ้นของสัตว์ และการถือกำเนิดของมนุษย์ หากมองดูอย่างผิวเผิน จะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆในโลกนี้ เกิดขึ้นจากการกระทำของหลายผู้กระทำและในทัศนะของความเป็นเอกานุภาพในอิสลาม มีความเชื่อว่า ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ต้องมีแหล่งที่มาอันเดียวกัน และพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้กระทำการงานเหล่านั้นเพียงองค์เดียว และไม่มีผู้กระทำ (ฟาอิล) ใดที่เป็นอิสระเสรี นอกจากพระองค์

๑๑๕

 ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ จึงหมายถึง

๑.การมีความเชื่อว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำเพียงองค์เดียว ในการกระทำทั้งหลาย โดยที่ไม่มีผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์

๒.การมีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้า เป็นการกระทำที่เป็นอิสระเสรี ส่วนการกระทำของสิ่งอื่นๆ มิได้มีความเป็นอิสระเสรีเหมือนกับการกระทำของพระองค์ และการกระทำเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยกับความประสงค์ตามเจตนารมณ์ของพระองค์เท่านั้น ดังนั้น การสร้างทุกสรรพสิ่ง  ,การให้ปัจจัยยังชีพ, การบริหารการงานทั้งหลาย และอื่นๆ เป็นการกระทำของพระเจ้าแต่เพียงองค์ดียว โดยที่ไม่มีการช่วยเหลือจากผู้อื่น

   บทบาทของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำในมุมมองของโลกทรรศน์

    ความหมายที่กว้างของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ซึ่งครอบคลุมไปถึงทุกการกระทำที่มีอยู่ในสากลจักวาล  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามีความสัมพันธ์กับจักวาล ดังนั้น การเชื่อหรือไม่เชื่อในความเป็นเอกานุภาพประเภทนี้ จึงมีผลต่อโลกทรรศน์และวิสัยทรรศน์ของมนุษย์ทุกคน เมื่อมนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำแล้ว มนุษย์จะมีความเชื่อในอานุภาพ และความประสงค์ของพระเจ้าที่มีต่อการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย ในขณะเดียวกัน เมื่อเวลาใดก็ตามที่มนุษย์มองไปในทุกทิศทาง  ก็จะพบกับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นอานุภาพของพระองค์ครอบคลุมไปทั่วทุกสรรพสิ่งที่มีในโลกนี้และในจักวาล ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งใหญ่ที่สุดเหมือนดั่งจักวาล หรือสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเล็กที่สุดเหมือนกับอะตอม ทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้อานุภาพของพระเจ้าทั้งสิ้น

๑๑๖

ด้วยเหตุนี้ การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพนิกริยา การกระทำ จึงมีผลต่อโลกทรรศน์ และในความคิด ความศรัทธา ยังรวมทั้งในการปฏิบัติของมนุษย์อีกด้วย ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดของประเด็นเหล่านี้ เป็นอันดับต่อไป

   การกระทำของสิ่งถูกสร้างอยู่ภายใต้การกระทำของผู้สร้าง

    ความหมายที่ลึกซึ้งของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ หมายถึง การกระทำทั้งหมดของสรรพสิ่ง เป็นการกระทำของพระเจ้าเพียงองค์เดียว โดยเกิดขึ้นจากอาตมันอันบริสุทธิ์ของพระองค์ และเมื่อได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ได้มีคำถามและข้อสงสัยเกิดขึ้นมากมาย เช่น ถ้ายอมรับว่า มีความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำแล้ว การกระทำของสิ่งอื่น จะเป็นอย่างไร ? และทุกวันนี้ เราก็ได้เห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ที่ตัวของมันเป็นผู้กระทำการกระทำของมันขึ้นมาเอง เช่น เราได้เห็นไฟว่า มันมีความร้อน และได้เห็นแม่เหล็ก ว่า มันมีแรงดึงดูดที่สามารถดึงเอาเศษเหล็กทั้งเล็กใหญ่ไปยังตัวของมันได้, พวกพืชก็ได้รับอาหารจากใต้พื้นดิน ,สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็ได้ออกไปหาอาหารด้วยกับตัวของมัน แม้แต่มนุษย์เองก็เป็นผู้กระทำกิจการงานต่างๆด้วยตัวเอง และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะให้ความสัมพันธ์ของการกระทำเหล่านี้ไปยังพระเจ้าได้อย่างไร?  ถ้าเรายอมรับในการกระทำทั้งหลายเป็นการกระทำของพระองค์ เราก็ต้องปฏิเสธการกระทำของสิ่งอื่นด้วยหรือไม่?  หรือว่ายังมีหนทางอื่นอีกที่ยืนยันในการกระทำของสิ่งเหล่านั้นว่าอยู่ภายใต้การกระทำของพระเจ้าหรือไม่?

๑๑๗

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ ต้องมาพิจารณาในทัศนะต่างๆของบรรดานักวิชาการว่า ได้มีความเห็นกันอย่างไร

 ด้วยเหตุนี้ บรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามได้จัดแบ่งการกระทำของพระเจ้าออกเป็น สอง ประเภทได้ ด้วยกัน ดังนี้

๑.การกระทำที่เป็นแนวนอน หมายถึง มีผู้กระทำหลายคนในการกระทำหนึ่ง ที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับการกระทำนั้น มีความเสมอภาคกัน ตัวอย่างเช่น การช่วยเหลือของหลายคน ในการยกสิ่งของชิ้นหนึ่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ในสภาพเช่นนี้ การกระทำหนึ่ง จึงมีผู้กระทำหลายคน

๒.การกระทำที่เป็นแนวตั้ง หมายถึง การกระทำของหลายคน ที่มีผลต่อการกระทำหนึ่ง และในบางส่วนมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ซึ่งในการกระทำนี้มีผู้กระทำสองคน คือ ผู้กระทำโดยตรง (ฟาอิล มุบาชิร) และผู้กระทำโดยใช้สื่อ (ฟาอิล บิซตัซบีบ)

ผู้กระทำโดยตรง คือ ผู้ที่ทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น แต่การกระทำนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านผู้กระทำอีกคนหนึ่ง คือ ผู้กระทำโดยใช้สื่อ จากประเภททั้งสองของการกระทำ การเปรียบเทียบการกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งที่ถูกสร้าง กล่าวคือ การกระทำของพระองค์ คือ การกระทำที่เป็นแนวตั้ง เหมือนกับการนั่งและการเดินของคนๆหนึ่งซึ่งเขาเป็นผู้กระทำเองโดยตรง แต่ไม่ใช่ว่าการกระทำของเขา จะอยู่นอกเหนืออำนาจของพระเจ้า ถ้าหากว่าการกระทำของเขาไม่ได้เกิดขึ้นด้วยอำนาจของพระองค์แล้ว แน่นอนที่สุดการกระทำนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น จากความแตกต่างของการกระทำที่เป็นแนวนอนกับการกระทำที่เป็นแนวตั้ง ทำให้มีความเข้าใจในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

๑๑๘

 แต่ในความเป็นจริงนั้น การเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำนั้น มีความยากและละเอียดอ่อน ซึ่งจะพยายามทำให้มีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น โดยการอาศัยตัวอย่างต่างๆ ทั้งที่เป็นการกระทำที่เป็นแนวนอนและการกระทำที่เป็นแนวตั้ง เช่น ความสัมพันธ์ของจิตกับร่างกายของมนุษย์ โดยการสมมุติฐาน เช่น การเขียนของมนุษย์ ในขณะที่เขาคิดว่า เขานั้นเป็นผู้กระทำโดยตรง แต่ความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น การกระทำดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นได้จากการมีความสัมพันธ์ของจิตไปสู่ร่างกายของเขา ด้วยกับการใช้มือเป็นสื่อในการเขียน ซึ่งการกระทำนั้นเกิดขึ้นในสภาพที่เป็นแนวตั้ง เพราะฉะนั้นในสภาพเช่นนี้ ผู้ที่กระทำโดยตรง คือ มือของมนุษย์ การเกิดขึ้นได้โดยการสั่งงานหรือได้รับคำสั่งจากจิต ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวไปสู่การจับปากกาแล้วเอามาเขียนลงบนกระดาษ

ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งถูกสร้างนั้น มีความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันกับความสัมพันธ์ของจิตกับร่างกายของมนุษย์ กล่าวคือ การกระทำของสิ่งถูกสร้างมีความสัมพันธ์ไปสู่การกระทำของพระเจ้า โดยสรุปได้ว่า  การจำกัดของการกระทำที่เป็นอิสระเสรีในพระเจ้ากับการให้มีความสัมพันธ์กับการกระทำอื่นที่มิได้มาจากพระเจ้า ถือว่า ไม่ถูกต้อง

ด้วยเหตุนี้ ก็สามารถที่จะให้ความสัมพันธ์ของกระทำนั้นไปสู่พระเจ้า และสิ่งถูกสร้างได้โดยปราศจากความขัดแย้งและข้อผิดพลาดใดๆทั้งสิ้น

๑๑๙

   บทบาทของสื่อกลางในการเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า

    มีคำถามเกิดขึ้นว่า ถ้าหากว่าพระเจ้ามีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำของพระองค์ โดยที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใด แล้วทำไมในการเกิดขึ้นของการกระทำบางสิ่งบางอย่างต้องใช้สื่อกลางในการกระทำด้วย เช่น ในการสร้างหรือการบันดาล ซึ่งเป็นการกระทำหนึ่งของพระเจ้า แต่ทว่าการเกิดขึ้นของต้นไม้ต้นหนึ่ง ต้องผ่านปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่าง อาทิเช่น การได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ต้นไม้ต้นนั้นจึงจะเกิดขึ้นได้

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ ก็คือ สภาพในกิริยา การกระทำของพระเจ้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ สภาพ ด้วยกัน ดังนี้

๑.สภาพของโลกเหนือธรรมชาติ หมายถึง โลกที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุและสสาร ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า  จึงไม่ต้องมีเงื่อนไขใดๆหรือปัจจัยใด เพียงเพราะความประสงค์ของพระองค์เท่านั้น การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด  สภาพนี้จึงถูกเรียกว่า โลกแห่งการกระทำ

 (อาลัม มุน อัมร์)

๒. สภาพของโลกแห่งธรรมชาติ คือ โลกที่เกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสสาร ถูกเรียกว่า โลกแห่งการสร้างสรรค์ (อาลัม มุน ค็อลก์)

ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำของพระเจ้า ในสภาพเช่นนี้ จึงมีความต้องการเงื่อนไขและปัจจัยอื่นๆ เพราะว่า การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นวัตถุด้วยกับกฏระบบและระเบียบของโลก หากว่าการเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นวัตถุ ปราศจากการมีอยู่ของเงื่อนไขหรือปัจจัยอื่นใด สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

จงจำไว้! การกระทำที่น่ารังเกียจของพวกเจ้า เป็นผลมาจากสันดานของความเกลียดชัง ความมุ่งร้าย ซึ่งมีผลต่อนิสัยที่ชั่วช้าของเจ้า การแก้แคนครั้งนี้เนื่องมาจากธรรมชาติอันนี้ และเจ้าเป็นผู้ที่มี

สำนึกแห่งการแก้แคนฝังลึกอยู่ในจิตใจตลอดมานับตั้งแต่สงครามบะดัรซึ่งในครั้งนั้นบรรพบุรุษของเจ้าได้ถูกสังหารเพราะเป็นปฏิปักษ์และทำการสู้รบกับศาสดา

ใครก็ตามที่เฝ้ามองเราอย่างจงเกลียดจงชัง มุ่งร้ายและจ้องจะล้างแค้น ย่อมเป็นศัตรูอย่างชัดแจ้งของครอบครัวแห่งศาสดา ใครก็ตามพึงพอใจกับการเยาะเย้ยถากถางพวกเรา ก็พิสูจน์ได้ว่าเป็นพวกนอกศาสนา นอกจากนี้เจ้ายังพึงพอใจในการที่ได้สังหารหลานของศาสดาและจับครอบครัวของท่านเป็นเชลย เจ้าไม่เคยคิดเลยว่า นี่คือบาปที่ยิ่งใหญ่มหันต์! ตรงกันข้ามเจ้ากลับพูดว่า ‘ถ้าบรรพบุรุษของฉันได้เห็นการกระทำของฉัน พวกเขาจะต้องพึงพอใจ และจะต้องพูดว่า

๑๔๑

โอ้ยะซีด เจ้าได้ล้างแค้นให้กับพวกเรา

ขอให้มือของเจ้าอย่าได้เจ็บปวดด้วยโรคร้ายเลย’

โอ้ ยะซีด! เจ้ามีความสุขกับการดูหมิ่นและไม่ให้เกียรติกับศีรษะของ อบาอับดิลลาฮ์ ฮูเซน โดยการใช้ไม้เขี่ยที่ริมฝีปากของท่าน เจ้าไม่รู้หรือว่าริมฝีปากนี้ ท่านศาสดาแห่งพระเจ้าได้เคยจุมพิตในโอกาสต่างๆ

เจ้าได้กรีดแผลลึกลงบนจิตใจและวิญญาณของเรา ด้วยการหลั่งเลือดหัวหน้าของชายหนุ่มแห่งสวนสวรรค์ ลูกของ อะลี บิน อบีฏอลิบ

โอ้ ยะซีด! ถ้าเจ้ามีจิตใจที่จะสะสมการกระทำที่ต่ำช้า เจ้าจงมั่นใจได้เลยว่า มือของเจ้าจะเป็นอัมพาตอย่างรุนแรงตั้งแต่ข้อศอก และเจ้าจะต้องรองอุทธรณ์ว่า ‘แม่ไม่น่าให้ฉันเกิดมาเลย!’

 เจ้าจงรู้ไว้เลยว่า พระเจ้าจะกริ้วโกรธและศาสดาจะเป็นศัตรูกับเจ้า

โอ้ พระผู้เป็นเจ้า ! โปรดนำสิทธิอันชอบธรรมของเรากลับคืนมาด้วยเถิด โปรดตอบแทนผู้ซึ่งกดขี่เรา และโปรดส่งการลงโทษของพระองค์ลงมายังผู้ซึ่งทำลายสัญญาของพวกเขา ฆ่าสังหารเด็กๆ และญาติสนิทและผู้ช่วยเหลือของเรา ทำให้เราต้องอัปยศอดสู

โอ้ ยะซีด! เจ้าได้ทำในสิ่งที่เจ้าอยากทำ แต่จงจำไว้เถิดว่า เจ้าจะต้องตายและถูกตัดเป็นชิ้นๆ แล้วเจ้าจะถูกนำไปยังท่านศาสดา ซึ่งเจ้าจะต้องแบกบาปกรรมของเจ้าจากการที่เจ้าได้หลั่งเลือดทายาทของศาสดา ดูหมิ่นและไม่ให้เกียรติต่อครอบครัวของท่าน

๑๔๒

 เจ้าจะถูกนำไปยังที่ๆ ท่านศาสดาและสมาชิกในครอบครัวของท่านอยู่กันพร้อม เจ้าจะได้รับการลงโทษที่น่าสะพึงกลัว ซึ่งเจ้าและผู้คนของเจ้าไม่อาจหนีรอดไปได้เลย

โอ้ ยะซีด! เจ้าอย่าได้ลำพองใจในการที่เจ้าได้สังหารทายาทของท่านศาสดา เจ้าไม่รู้หรือว่า อัลกุรอานอันศักดิ์สิทธิ์ได้กล่าวเกี่ยวกับผู้ซึ่งถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮ์ว่า

‘เจ้าจงอย่าคิดเป็นอันขาดว่า ผู้ที่ถูกฆ่าในหนทางของอัลลอฮ์นั้นตาย มิได้พวกเขายังมีชีวิตอยู่ ณ พระเจ้าของพวกเขา ในสภาพที่ได้รับปัจจัยยังชีพ’

(อัล กุรอานบทที่๓ โองการที่๑๖๙)

มีแต่ความเงียบงันในท้องพระโรงของยะซีด เมื่อท่านหญิงซัยนับจบคำสุนทรพจน์อันเร้าใจของท่าน ยะซีดหน้าซีดเผือด และไม่ปริปากพูดเลยแม้แต่น้อย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เขาจะต้องประสาทเสีย

เพราะคำพูดเหล่านั้น เพราะในท้องพระโรงเต็มไปด้วยผู้คน บรรดาบุคคลชั้นนำของวงศ์อุมัยยะฮ์ แม่ทัพนายกองของเขา พวกยิวและคริสเตียน และประชาชนจากทุกสารทิศต่างมาชุมนุมกันอยู่ ณ ที่นั้น เพื่อมาดูบรรดาเชลยที่ถูกนำตัวมา ซึ่งพวกเขาไม่เคยรู้เลยว่า พวกท่านคือสมาชิกในครอบครัวของศาสดา

๑๔๓

สุนทรพจน์ได้พิสูจน์ให้ผู้คนได้ทราบแล้วว่า ครอบครัวของศาสดาถูกกระทำอย่างป่าเถื่อนโหดร้ายทารุณ

 ท่านยกย่องฐานะของครอบครัวแห่งศาสดาและแสดงให้เห็นถึงการกระทำอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้บริสุทธิ์ และหยิบยกมาให้เห็นถึงความทรยศของอบูซุฟยานและมุอาวิยะฮ์ ผู้เป็นพ่อและปู่ของยะซีด รวมทั้งความไม่เป็นธรรมของยะซีดในเรื่องต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

นางฮินด์ ภรรยาสุดที่รักของยะซีด เป็นคนศรัทธาในพระเจ้าและใจบุญ ซึ่งก่อนจะแต่งงานกับยะซีด เคยเป็นผู้รับใช้ในครอบครัวของท่านหญิงซัยนับ ในช่วงเวลาที่อิมามอะลีเป็นคอลีฟะฮ์ แม้หลัง

แต่งงานแล้วนางก็ยังคงมอบความรัก และความจงรักภักดีให้กับท่านหญิง ยะซีดรู้ดีในข้อนี้ และปิดบังแผนการสังหารฮูเซนไม่ให้นางล่วงรู้ และต้องระวังไม่ให้นางรู้ข่าวเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่กัรบะลา เมื่อนางได้ยินเรื่องของท่านหญิงซัยนับจากหลังม่าน นางรู้สึกวุ่นวายใจอย่างมาก ราวกับเป็นลางสังหรณ์ นางรู้สึกกระวนกระวายมาหลายวันแล้ว และได้ฝันเห็นท่านหญิงทั้งสองร่ำไห้อย่างขมขื่น และเล่าให้นางฟังถึงโศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่

๑๔๔

 โดยสัญชาติญาณนางเริ่มรู้ว่า สามีใจร้ายของนางกำลังปิดบังการก่ออาชญากรรมที่ร้ายแรงบางอย่าง ซึ่งนางยังไม่สามารถรู้ว่าคืออะไร?

ด้วยความคุ้มคลั่ง นางได้รุดออกมาข้างนอกม่านโดยไม่มีผ้าคลุมผม เพื่อจะรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นกับเด็กๆ ในครอบครัวของท่านศาสดา ยะซีดรู้สึกวุ่นวายใจในการการกระทำของภรรยาของตน ผู้ซึ่งมีความ

งดงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วอาณาจักรว่าไม่มีใครเทียบเคียงได้ นางออกมาโดยไม่มีผ้าคลุมผมซึ่งขัดต่อจารีตประเพณีที่มีมาตั้งแต่อดีตกาล เขาจึงรีบสั่งให้เลิกการชุมนุมในท้องพระโรงทันที และออกคำสั่งให้อุมัร บุตรของสะอัด นำเชลยไปขังไว้ในคุกมืดในป้อม และรอฟังคำสั่งว่าจะทำอย่างไรต่อไป เขาจึงรีบลงมาจากบัลลังก์ตรงมา พร้อมกับโยนเสื้อคลุมของเขาไปบนหัวของนางฮินด์และนำเข้าไปในพระราชฐาน

ฮินด์ยังคงขอร้องให้ยะซีดบอกว่าเกิดอะไรขึ้นในท้องพระโรง และเชลยนั้นเป็นใคร? ทำไมจึงมีบางคนพูด

ถึงการจับตัวหลานท่านศาสดาเป็นเชลย ยะซีดจึงตอบเลี่ยงไปและพยายามระงับความกลัวของนางด้วย

การกล่าวว่า “เชลยเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับครอบครัวของท่านศาสดา”

๑๔๕

บรรดาเชลยสิ้นสุดการเดินทางที่คุกมืดในป้อมที่ดามัสกัส ซึ่งเต็มไปด้วยงูและแมงป่อง ทันทีที่ประตูคุกปิดลง ท่านหญิงซัยนับและอิมามซัยนุลอาบิดีน ก็เริ่มนมาซ ก้มลงกราบและวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้า ให้โปรดประทานกำลังใจและความกล้าหาญ เพื่ออดทนต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับพวกท่าน และขอบคุณต่อความช่วยเหลือ ตลอดระยะเวลาแห่งการทดสอบ ทำให้สามารถอดทนต่อการดูหมิ่นเหยียดหยามโดยไม่ร้องอุทธรณ์

หลังจากที่จับเชลยขังในคุกมืดแล้ว ยะซีดก็เริ่มสับสนว่า จะปล่อยตัวให้กลับไปมะดีนะฮ์หรือจะจับขังทรมานไว้ที่นี่ เขาเริ่มสำนึกผิดและประจักษ์ว่า สิ่งที่ตนกระทำลงไปนั้นเป็นความผิดอย่างมหันต์

เขาจึงเริ่มใช้เล่ห์กลทางการทูต โดยโยนความผิดทั้งหมดให้กับอุบัยดุลลอฮ์ บุตรของซิญาด แม้ว่าจะต้องการสังหารอิมามซัยนุลอาบิดีน แต่ยะซีดก็ต้องขนลุกเมื่อนึกถึงคำพูดของท่านหญิงซัยนับ

ในที่สุดบรรดาเชลยก็ถูกปล่อยตัว ด้วยความพยายามของนางฮินด์ภรรยาของยะซีด นางได้มาเยี่ยมเชลย ซึ่งนางจำได้ดีพร้อมกับร่ำไห้ด้วยความเวทนาสงสาร

๑๔๖

เมื่อเห็นสภาพที่ต้องทนทุกข์ทรมาน นางปลอบโยนพวกท่านและขอร้องให้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่กัรบะลาอ์โดยละเอียด จากนั้น นางได้กลับไปพบยะซีดและกล่าวประณามเขาในการกระทำที่ชั่วช้า และขอร้องให้ยะซีดจัดสถานที่ๆ เหมาะสมเปลี่ยนให้ใหม่ เพราะคนเหล่านั้นเป็นสมาชิกในครอบครัวของท่านศาสดา

นางฮินด์กลับมาพบบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับหญิงรับใช้ ๒-๓ คน และทาสสาวทั้งหมดแต่งกายในชุดไว้ทุกข์ พวกนางได้มาปลอบโยนบรรดาเชลยเกี่ยวกับการสูญเสียอิมามฮูเซนและ

ผู้ติดตามท่าน นางจัดให้คนทั้งหมดย้ายไปอยู่ในสถานที่ใหม่ที่สมเกียรติ ที่ซึ่งพวกท่านสามารถจัดการชุมนุม และไว้อาลัยให้กับบรรดาผู้สละชีพผู้ล่วงลับได้

บทรายงานบันทึกว่า ยะซีดถูกบังคับทางอ้อมให้ปล่อยตัวบรรดาเชลย เพราะเขาได้รับการแจ้งข่าวว่ามีการเคลื่อนไหวต่อต้านการกระทำของเขาในหัวเมืองต่างๆ ทั่วซีเรีย เพราะผู้คนได้รับรู้ความจริงที่เกิดการสังหารหมู่ที่กัรบะลา และจับสมาชิกครอบครัวของท่านเป็นเชลย ยะซีดจึงเกิดความหวาดกลัวว่าจะมีการก่อการจลาจลขึ้น เขาจึงรีบปล่อยตัวอิมามซัยนุลอาบิดีน พร้อมทั้งเคารพยกย่องให้เกียรติตามที่ควรจะได้รับ

๑๔๗

เมื่ออิมามซัยนุลอาบิดีน ได้รับการปล่อยตัวจากคุกมืดและถูกนำมาพบกับยะซีด ท่านหญิงกล่าวกับท่านว่า

 “โอ้ ผู้เป็นแก้วตาดวงใจของอา! จงเจรจากับยะซีดในท่วงทีที่เหมาะสมกับความเป็นทรชนคนพาลของมัน มันไม่เกรงกลัวต่อความกริ้วโกรธของพระผู้เป็นเจ้าและไม่ยอมรับท่านศาสดา

รวมทั้งไม่สนใจใยดีต่ออิมามอะลี ผู้สืบทอดของท่านศาสดาเลย”

ยะซีดลุกขึ้นจากบัลลังก์ของเขาทันทีที่มองเห็นอิมามมาถึง และรีบเชิญให้นั่งลงใกล้ๆ ตนเองด้วยกิริยาที่อ่อนน้อมอย่างยิ่ง พร้อมทั้งต้องการทราบถึงความประสงค์ของท่าน หลังจากถูกปล่อยตัวออกไป อิมามตอบกลับไปว่า ท่านยังไม่ได้ตัดสินใจจนกว่าจะได้ปรึกษากับท่านหญิงซัยนับก่อน

พวกสาวใช้ถูกสั่งให้จัดการนำม่านมากั้น และนำบรรดาผู้หญิงและเด็กแห่งครอบครัวของท่านศาสดามา ด้วยกิริยาที่สุภาพอ่อนโยน ทันทีที่ท่านหญิงปรากฏตัวต่อหน้า ยะซีดได้บอกกับท่านหญิงว่า

จะปล่อยตัวพวกท่าน และต้องการทราบถึงความประสงค์ว่าจะพักอยู่ที่ดามัสกัสหรือจะเดินทางกลับไปมะดีนะฮ์

๑๔๘

 ท่านหญิงตอบว่า “ก่อนอื่นฉันต้องการสิ่งแรกคือผ้าโพกศีรษะของท่านศาสดา สองผ้าคล้องคอของมารดาของฉันและผ้าที่เปื้อนเลือดของฮูเซน” ด้วยคำขอนี้ยะซีดตอบว่า “ผ้าสะระบั่นของท่านศาสดา

และผ้าคล้องคอของมารดาท่านนั้น ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีใท้องพระคลังเพื่อเป็นศิริมงคล แต่สำหรับเสื้อเปื้อนเลือดของอิมามฮูเซนนั้น ฉันไม่รู้เรื่องอะไรด้วย”

ท่านหญิงกล่าวกับยะซีดว่า “โอ้ ยะซีด! เสื้อตัวนี้ทำมาจากเส้นด้ายที่ถักทอด้วยมือของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ มารดาของฉัน ในขณะที่ท่านถักทอมัน ท่านจะต้องร่ำไห้ตลอดเวลา ซึ่งท่านเคยกล่าว

เสมอว่า

‘ฮูเซนจะสวมเสื้อชุดนี้ในเวลาที่เขาจะถูกสังหารที่กัรบะลา’ ทหารที่โหดร้ายของเจ้าได้ถอดมันออกจากร่างที่ไร้วิญญาณของท่านในวันอาชูรอ”

ยะซีดจึงสั่งให้ทหารออกค้นหา เพื่อนำมามอบให้กับท่านหญิง พร้อมทั้งถามต่อไปว่า “ท่านต้องการสิ่งอื่นใดนอกจากนี้อีก”

ท่านหญิงตอบไปว่า “โอ้ ยะซีด! พวกเรามิสามารถกระทำการไว้อาลัยให้กับพี่ชายของฉันตั้งแต่ท่านถูกสังหาร และในคุกมืดนี้

๑๔๙

 สะกีนะฮ์บุตรสาวสุดที่รักของอิมามฮูเซน ได้เสียชีวิตลงเพราะความทุกข์ทรมานที่ได้รับ และความระทมทุกข์ถึงบิดาของเธอ ดังนั้น เราจึงต้องการจัดการชุมนุมอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้กับพวกท่าน

ด้วยเหตุนี้เราต้องการบ้านที่มีบริเวณกว้างขวางสักหนึ่งหลัง สำหรับ

บุคคลในตระกูลฮาชิม และบรรดากุเรชจะได้สามารถมาร่วมกับเราในการชุมนุมเพื่อไว้อาลัยในครั้งนี้”

ยะซีดสนองตอบด้วยความเต็มใจ และได้ป่าวประกาศต่อสาธารณชนว่า ใครต้องการที่จะไปร่วมในการชุมนุมนี้ก็อนุญาตให้ไปได้

ที่มาของการจัดไว้อาลัย (อาซอดอรี)

บ้านที่ถูกจัดเตรียมให้ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับ ‘ดารุลฮิจาเราะฮ์ ในบ้านหลังนั้นเอง ท่านหญิงซัยนับได้วางรากฐานของการ

 ‘อาซอดอรี’ ให้กับอิมามฮูเซน ภายในบ้านท่านหญิงได้ปูพรมและเชิญให้อิมามซัยนุลอาบิดีนนั่งลง

๑๕๐

ในโอกาสนี้บรรดาสตรีแห่งครอบครัวท่านศาสดาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดดำ

ในช่วงเวลาระหว่างการชุมนุม สตรีในเผ่ากุเรชและตระกูลฮาชิมได้ร่วมสนทนากัน อิมามและท่านหญิงได้เล่าถึงเหตุการณ์อันเศร้าสลดและน่าสะพึงกลัวในการสังหารอิมามฮูเซน เป็นเหตุให้ผู้ที่มาร่วมชุมนุมพากันร่ำไห้ ในการชุมนุมนี้ท่านหญิงได้กล่าวสุนทรพจน์กับผู้ที่มาชุมนุมว่า

“โอ้ บรรดาสตรีชาวชีเรีย พวกท่านไม่ทราบถึงความโหดร้ายทารุณในโศกนาฏกรรมที่กัรบะลาอ์ที่ซึ่งอิมามฮูเซนหลานชายท่านศาสดาและบรรดาเด็กๆ ในครอบครัวของท่าน ต้องถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม ในขณะที่ยังคงหิวกระหาย ร่างกายของพวกเขาถูกกลีบเท้าม้าเหยียบยํ่าจนไม่เหลือชิ้นดี ต้องถูกทิ้งไว้กลางทะเลทรายโดยมิได้ทำการฝัง ศีรษะของท่านและคนอื่นๆ ถูกเสียบไว้ที่ปลายหอกและถูกชูมาตลอดทางพร้อมกับพวกเรามายังซีเรีย หลังจากการสังหารหมู่พวกเราถูกจับเป็นเชลย โดยคำสั่งที่ไร้ยางอายของ

อุบัยดุลลอฮ์ บุตรของซิยาด พวกเขาพาพวกพ้องของเราไปยังกูฟะฮ์ด้วยศีรษะที่ปราศจากผ้าปกปิด และให้เรานั่งบนหลังอูฐที่ไม่มีกูบ อิมามซัยนุลอาบิดีนถูกล่ามด้วยโซ่ที่หนักอึ้งรอบต้นคอ

๑๕๑

และถูกบังคับให้เดินตามคาราวานด้วยเท้าเปล่า มันเป็นภาพที่ไม่อาจจินตนาการได้ว่าจะทุกข์ทรมานมากมายสักเพียงใด”

ท่านหญิงได้เปรียบเทียบให้พวกสตรีชาวซีเรียเห็นถึงความโหดร้ายชั่วช้าของยะซีด กับคุณธรรมความดีของอิมามฮูเซน

เมื่อกลับไปยังบ้านเรือนพวกนางได้เล่าเรื่องราวที่รับฟังมาให้กับสมาชิกในครอบครัวของพวกนางได้รับรู้ความจริง และเมื่อรู้เช่นนั้นพวกเขารู้สึกต่อต้านและไม่พอใจยะซีดอย่างยิ่ง

หลังจบการชุมนุมทุกครั้ง บรรดาสตรีก็จะมาปลอบโยนท่านหญิงซัยนับ พวกผู้ชายก็จะมาปลอบโยนอิมามซัยนุลอาบิดีน การชุมนุมนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้นในหมู่ประชาชนในเมือง เสียงร่ำไห้คร่ำครวญ เสียงทุบอก ตีศีรษะได้ปรากฏเป็นรอยประทับลงไปในหัวใจของประชาชน ทำให้พวกเขาเพิ่มความทุกข์โศกและทำให้ตาสว่าง เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมที่กัรบะลา

๑๕๒

บทที่ ๑๐

การเดินทางสู่มะดีนะฮ์

บัดนี้ยะซีดรู้สึกหวาดกลัวอย่างมากเมื่อหวนนึกถึงเหตุการณ์ และความสำนึกผิดได้เริ่มครอบงำจิตใจเขามากขึ้น และกลัวว่า ความลับที่ตนเองมีส่วนในการสังหารหมู่อิมามฮูเซนและผู้ใกล้ชิดของท่านจะถูกเปิดเผย เขาจึงต้องการให้ครอบครัวท่านศาสดาออกเดินทางไปยังมะดีนะฮ์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ด้วยเหตุนี้ ยะซีดจึงออกคำสั่งให้ ตระเตรียมการเดินทางสู่บ้านเกิด ท่านหญิงซัยนับ ขอให้ใช้ผ้าสีดำคลุมแคร่บนหลังอูฐ เพื่อประชาชนจะได้รู้ว่าพวกท่านกำลังอยู่ในระหว่างไว้อาลัย ยะซีดตกลงตามคำ

ขอ เมื่อขบวนเตรียมพร้อมที่จะออกเดินทาง สตรีชาวเมืองดามัสกัสในเครื่องแต่งกายชุดดำไปส่งพร้อมกับกล่าวคำอำลา

๑๕๓

ซึ่งเป็นภาพที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำ รอยแผลแห่งความโศกเศร้าทุกข์ทรมาน ได้ทิ้งร่องรอยความทรงจำอันขมขื่นไว้บนหัวใจของพวกเขา ซึ่งไม่มีวันลืมเลือนต่อโศกนาฏกรรมในครั้งนี้ และ

การกระทำอันชั่วร้ายดังกล่าว จะเป็นที่เล่าขานให้รู้สืบต่อกันไป จากชั่วอายุคนแล้วคนเล่าตลอดไป!

ยะซีดได้ส่งนัวะอ์มาน บิน บาชิร พร้อมทหารคุ้มกันร้อยนาย คอยดูแลและให้ความสะดวกแก่ขบวนคาราวาน ตลอดระยะทางครอบครัววงศ์วานของท่านศาสดาได้รับการดูแลอย่างดี ทุกครั้งที่หยุดพัก

การเดินทาง นัวะอ์มานและทหารคุ้มกันจะตั้งกระโจมให้พวกท่าน ซึ่งพวกท่านก็จะจัดการชุมนุมในทุกๆ ที่ที่หยุดพัก เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้ถึงโศกนาฏกรรมซึ่งเกิดขึ้นที่กัรบะลา

๑๕๔

กัรบะลาอ์

ขบวนทั้งหมดมาถึงกัรบะลาอ์ ในวันที่ ๒๐ ซอฟัร ฮ.ศ. ๖๑ (๑๘ พฤศจิกายน ค.ศ.๖๘๐) และวันนี้เองคือวัน ‘อัรบะอีน’ วันที่ ๔๐ ของการพลีชีพของอิมามฮูเซน

ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮ์ อันซอรี สาวกคนสำคัญของท่านศาสดา ก็ได้มาปรากฏอยู่ ณ ที่นี้ด้วย ท่านเป็นคนแรกที่อ่านซิยารัตให้กับอิมามฮูเซนและสหายของท่าน การได้พบกับท่านญาบิร เป็นการเตือนความทรงจำถึงความรุ่งโรจน์ในอดีตสมัยที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ ซึ่งพวกท่านทั้งหมดเป็นครอบครัวที่มีความสุข

แต่ภาพความสุขนี้ได้อันตรธานหายไปสิ้น คงเหลือแต่ความทรงจำที่ปวดร้าวในโศกนาฏกรรมที่กัรบะลา ที่ทำให้จิตใจของท่านหญิงมีแต่ความน่าสะพึงกลัวที่ต้องเห็นภาพเลือด เลือดสดๆ และการ

หลั่งเลือด!

๑๕๕

ขบวนของครอบครัววงศ์วานของท่านศาสดาได้หยุดพักที่กัรบะลา จนถึงวันที่ ๘ ร่อบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. ๖๑ (๕ ธันวาคม ค.ศ.๖๘๐) รวมเวลาราว ๑๘ วัน ท่านหญิงซัยนับ ไม่ประสงค์ที่จะเดินทางไปกับขบวน

เพราะท่านไม่ต้องการจะจากสถานที่ฝังศพของพี่ชายของท่านไป แต่เมื่ออิมามซัยนุลอาบิดีนขอร้องให้ท่านเปลี่ยนความตั้งใจ เพราะภาระหน้าที่ของท่านยังไม่สิ้นสุด ท่านจึงตอบว่า

 “โอ้ อะลี ซัยนุลอาบิดีน!

โปรดปล่อยให้อาได้อยู่ที่นี่เถิด! เพราะอาต้องการจะอยู่ใกล้ชิดกับพี่ชายของอา จนกระทั่งวาระสุดท้าย ของชีวิต อาจะกลับไปมะดีนะฮ์ได้อย่างไร ซึ่งจะต้องไปพบกับบ้านที่ว่างเปล่าของเรา?”

อิมามตอบว่า “โอ้ ท่านอาที่รัก! ท่านพูดถูกต้องแล้ว ฉันทราบดีว่ามันไม่อาจทนได้ที่จะกลับไปมะดีนะฮ์และพักอยู่ในบ้านที่ว่างเปล่า ซึ่งเราได้สูญเสียคนในครอบครัวของเราไปจนหมดสิ้น

ความโปรดปรานจากพระผู้เป็นเจ้าจะต้องประทานลงมายังพวกเรา ในการยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระองค์

๑๕๖

และมันเป็นคำสั่งของศาสนทูตของพระองค์ ที่ซึ่งบิดาของฉันได้สนองพระบัญชานั้น”

หลังจากอ้อนวอนโน้มน้าวอยู่เป็นเวลานาน ท่านหญิงจึงยอมตกลงตัดใจจากกัรบะลาอ์ ซึ่งเป็นสถานที่ฝังร่างพี่ชายอันเป็นที่รักของท่านมาอย่างไม่สู้เต็มใจนัก

ตลอดทางสู่มะดีนะฮ์ พวกท่านได้จัดการชุมนุมขึ้นทุกๆ ครั้งที่หยุดพัก ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆเหล่านั้นพากันร่วมไว้อาลัยกับพวกท่าน ในขณะที่มีการเล่าเรื่องในการชุมนุมนั้น บางครั้งจะได้ยินเสียง

บทกวี คำโคลงไว้อาลัยท่านอิมามดังแว่วโดยไม่ปรากฏที่มาของเสียงนั้น.

๑๕๗

บทที่ ๑๑

มะดีนะฮ์

เมื่อยิ่งใกล้จะถึงมะดีนะฮ์ ก็ยิ่งเพิ่มความโศกเศร้าให้กับพวกท่านเป็นทวีคูณ ความทรงจำในภาพเหตุการณ์ทั้งหมดเริ่มปรากฏขึ้นในความรู้สึกอีกครั้งหนึ่ง

ครั้งแล้วครั้งเล่า! พวกท่านมองขึ้นไปเบื้องบนด้วยดวงตาที่เอ่อล้นด้วยน้ำตา ประหนึ่งดังจะกล่าวว่า

 “โอ้ พระผู้เป็นเจ้า! ข้าพระองค์ขอน้อมรับพระประสงค์ของพระองค์ ไม่ว่าความโหดร้ายทารุณใดก็ตามที่จะมาประสบกับพวกเรา พระองค์เท่านั้นที่เหล่าข้าพระองค์ขอความเมตตา โปรดประทานพละกำลังในการที่จะอดทนต่อความเจ็บปวดนั้น”

ตามธรรมดาเมื่อผู้เดินทางได้เข้ามาใกล้ถึงบ้านเกิด พวกเขาจะมีแต่ความสุขปรากฏขึ้นบนใบหน้า

๑๕๘

 เพราะอีกไม่นานเขาก็จะได้พบกับสมาชิกในครอบครัวของเขา แต่นี่มันช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กับขบวนคาราวานที่

ปราศจากอิมามฮูเซน และเด็กๆ ในครอบครัวของพวกเขา ซึ่งถูกสังหารหมู่ที่กัรบะลา

ที่นี่ (มะดีนะฮ์) พวกเขาจะต้องอธิบายว่ามันเกิดขึ้นอย่างไร? และแน่นอน! พวกเขาไม่กล้าที่จะเล่าถึงความน่าสะพึงกลัวในค่ำคืนนั้น

เมื่อท่านหญิงซัยนับมองเห็นภาพมะดีนะฮ์ ท่านรำพึงว่า “โอ้ ดินแดนของท่านตาของฉัน! ท่านจะยอมรับเราได้อย่างไร ในเมื่อเรากลับมาพบกับท่านในสภาพที่โศกเศร้าเช่นนี้ เราต้องสูญเสียผู้เป็นที่รักที่ใกล้ชิดที่สุด หัวใจของเรามีแต่ความสิ้นหวังและปวดร้าว โอ้ มะดีนะฮ์! เมื่อเราจากไป หัวใจของเรายังมีความสดชื่นเหมือนสวนที่เต็มไปด้วยมวลดอกไม้ แต่วันนี้เรากลับมาด้วยหัวใจที่แตกสลาย สูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง”

๑๕๙

เมื่อเข้ามาใกล้มะดีนะฮ์ บาชิร บุตรของญาสญัล กวีที่มีความรักในครอบครัวของท่านศาสดา ได้ร่วมเดินทางมาในขบวนด้วย

อิมามซัยนุลอาบิดีนขอร้องให้เขาเข้าไปยังมะดีนะฮ์ก่อน เพื่อบอกข่าวกับประชาชนว่าพวกท่านกำลังกลับมา ขณะนี้ถึงบริเวณเขตรอบนอกเมืองแล้ว พวกท่านได้หยุดพักการเดินทาง ณ สถานที่นี้

บาชิรเข้าไปยังมะดีนะฮ์ และป่าวประกาศเรื่องราวความโศกเศร้าครั้งนี้ในมัสยิดของท่านศาสดา

บอกข่าวการมาถึงของขบวนคาราวานของผู้ซึ่งหัวใจแตกสลายด้วยความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน

มะดีนะฮ์ตกอยู่ในความเศร้าโศก ความเศร้าเสียใจต่อข่าวร้ายนี้ ซึ่งแพร่สะพัดไปทั่ว ทำให้พวกเขาอยู่ในอาการตื่นตระหนก ไม่ว่าเศรษฐีหรือยาจก ผู้ใหญ่หรือเด็ก ทั้งหมดได้มารวมตัวกันและตรงไปยังกระโจมของท่านหญิงซัยนับ เพื่อต้องการปลอบโยนพวกท่านให้คลายจากความเศร้าโศกลงบ้าง

๑๖๐

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175