ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม33%

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดประวัติศาสตร์
หน้าต่างๆ: 175

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 175 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 47206 / ดาวน์โหลด: 4707
ขนาด ขนาด ขนาด
ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ซัยนับวีรสตรีแห่งอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

นอกจากการดำรงไว้ซึ่งอิสลาม ตามแนวทางที่ท่านศาสดาวางไว้ ท่านแสดงความรับผิดชอบตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายสำหรับท่านแต่ผู้เดียวจากพระผู้ทรงสร้าง และได้ทำตามพระประสงค์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

มารดาของมูซา (โมเสส) ไม่สามารถทนต่อการพรากจากลูกน้อยของเธอได้ แต่สำหรับท่านหญิงซัยนับต้องพลัดพรากจากลูกชายสุดที่รักทั้งสองจากการถูกสังหาร และยังต้องเห็นสภาพของสมาชิกในครอบครัวของท่านถึง ๑๗ ชีวิต ต้องถูกตัดขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ศีรษะถูกเสียบไว้ที่ปลายหอก

ท่านศาสดาได้รวมท่านหญิงไว้ในครอบครัววงศ์วานของท่าน

(อะฮ์ลุลบัยต์) ท่านหญิงสมควรที่จะได้รับสิทธิในคำกล่าวอำนวยพร (ซอละวาต) ที่เรากล่าวหลังการนมาซ เพราะท่านหญิงคือส่วนหนึ่งของท่านศาสดาและเป็นทายาทที่ใกล้ชิดของท่าน

๒๑

ความมหัศจรรย์

รายงานต่อไปนี้ถูกบันทึกโดย ท่านฮัจญีซัยยิด มุฮัมมัด บากิรแห่งสุลตอนสานาบาด ซึ่งปรากฏในหนังสือ ‘ดารุสสลาม ของฮัจญีมิรซาฮูเซน นูรี และยังปรากฏในหนังสือ ‘กุลซาร อัคบารี’ ท่านได้บันทึกไว้ว่า

 “เมื่อตัวฉันกำลังศึกษาศาสนาอยู่ที่เมืองบูรูกาด ในอิหร่าน ฉันได้ล้มป่วยลง มีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรงที่ดวงตา จึงต้องกลับไปยังบ้านเกิด และที่นั่นฉันได้รับคำแนะนำให้ไปที่กัรบะลา เพื่อรับการรักษาโรคนี้ ฉันจึงเดินทางไปอิรัก ในช่วงหลังนี้อาการอักเสบหนักขึ้น จนต้องใช้พลาสเตอร์ปิดตาไว้

วันหนึ่งฉันนอนหลับไป ในความฝันฉันมองเห็นท่านหญิงซัยนับ ท่านหญิงเข้ามาใกล้ฉันและใช้ชายผ้าคลุมศีรษะของท่านลูบไปบนดวงตาของฉัน เมื่อฉันรู้สึกตัวตื่นขึ้น รู้สึกว่าอาการปวดที่ตาหายไปและรู้สึกสบายขึ้น

ในตอนเช้าฉันได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้แสวงบุญคนอื่นๆ ฟัง และเพื่อเป็นการพิสูจน์ความจริง

๒๒

พวกเขาได้เปิดพลาสเตอร์ที่ปิดตาของฉันออก และพบว่าดวงตาของฉันหายบวมและกลับสู่สภาพปกติเหมือนเดิม ฉันขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าในการช่วยเหลือ โดยการขอการสงเคราะห์ (ชะฟาอะฮ์) ผ่านท่านหญิงซัยนับ”

ความรู้ของบรรดาวงศ์วานของท่านศาสดา (อะฮ์ลุลบัยต์) ได้รับโดยตรงจากพระผู้เป็นเจ้า พวกท่านไม่เคยได้รับจากผู้อื่น พวกท่านสามารถรับรู้เรื่องราวเหตุการณ์ทั้งในอดีตและอนาคต และถ้าจำเป็นพวกท่านก็จะเป็นกลุ่มแรกที่แจ้งให้ผู้คนของท่านทราบเหตุการณ์นั้นๆ ท่านจะแนะนำชี้แนะพวกเขาสู่

แนวทางที่เที่ยงตรงและถูกต้อง จะสอนพวกเขาให้ดำเนินชีวิตไปตามแนวทางที่ท่านศาสดาวางไว้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มีความรอบรู้และลึกซึ้งในคำสอนของศาสนาเหมือนกับบรรดาอิมาม

ท่านหญิงซัยนับ ก็ได้สืบทอดมรดกในคุณสมบัตินี้มาจากมารดาของท่าน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่า ท่านหญิงซัยนับมีความสามารถเทียบเท่าบรรดาอิมาม

๒๓

สิ่งที่เป็นข้อพิสูจน์เหนือความสงสัยทั้งปวงก็คือ สุนทรพจน์ของท่านหญิงที่เมืองกูฟะฮ์ หลังจากอิมามซัยนุลอาบิดีนได้ยินคำปราศรัย ท่านจึงกล่าวว่า

 “ด้วยการสรรเสริญต่ออัลลอฮ์ ท่านอามีความรู้ในเรื่องพระผู้เป็นเจ้า โดยไม่ต้องเรียนรู้มาจากผู้ใดในโลกนี้ นอกจากพระเจ้าเป็นผู้ประทานวิทยปัญญาให้กับอา”

ขณะท่านอยู่ที่เมืองกูฟะฮ์ ท่านได้จัดชั้นเรียนขึ้นเพื่อสอนบรรดาสตรีให้เข้าใจความหมายอัล กุรอาน พร้อมทั้งอบรมเกี่ยวกับเรื่องของศาสนา ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านหญิงกำลังอธิบายความหมายของอัลกุรอานในบทที่มีอักษร กาฟ ฮา ยา อีน ซ๊อด อิมามอะลีบิดาของท่านเดินผ่านมาจึงหยุดฟัง และได้ยินว่า ท่านหญิงกำลังอธิบายบทนี้นี้อยู่ เมื่อชั้นเรียนเลิก อิมามอะลีได้บอกท่านหญิงถึงโองการที่เกี่ยวกับคำ ๕ คำนี้ ว่าเป็นความลี้ลับ ซึ่งอธิบายถึงความยากลำบาก ความทุกข์ทรมานที่ทายาทลูกหลานของท่านศาสดาของพระผู้เป็นเจ้าจะต้องถูกทดสอบ ความทุกข์ยากนี้จะเกิดขึ้นกับท่านหญิง แต่สิ่งนี้นั้นทำให้บิดาของท่านทุกข์ทรมานยิ่งกว่า จนไม่อาจคิดคำนึงถึงได้

๒๔

เชค ซอดูก ได้รับการบอกเล่าจากอิมามมุฮัมมัด มะฮ์ดี ดังนี้

ท่านอิมามอธิบายให้เขารับฟังว่า คำว่า

“กาฟ, ฮา ยา อีน ซ๊อด” เป็นคำที่ลี้ลับจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งคำเหล่านี้ได้รับการอธิบายจากพระองค์ ให้แก่ศาสดาซะกะรียา เมื่อครั้งที่ท่านวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าให้ท่านรู้จักนามผู้บริสุทธิ์ทั้งห้า (ปัญจตาน)

ด้วยเหตุนี้ ญิบรออีล จึงถูกส่งลงมาเพื่อสอนนามทั้งห้าแก่ท่านศาสดา เมื่อท่านศาสดาซะกะรียาได้กล่าวนามของศาสดามุฮัมมัด อิมามอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮาซัน ท่านรู้สึกมีความสุขและลืมเรื่องราวความทุกข์โศกต่างๆ ลงได้ แต่เมื่อท่านกล่าวถึงนามของอิมามฮูเซน น้ำตาของท่านก็เริ่มไหลรินและรู้สึกเศร้าใจอย่างสุดซึ้ง ท่านจึงวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า

“โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์! ยามเมื่อข้าพระองค์กล่าวนามทั้งสี่ท่านแรก ข้าพระองค์รู้สึกมีความสุขและสดชื่นหัวใจ แต่เมื่อข้าพระองค์

๒๕

กล่าวนามที่ห้า ทำไมดวงตาของข้าพระองค์จึงเต็มไปด้วยหยาดน้ำตา และร่ำไห้ด้วยเสียงอันดัง พร้อมกับรู้สึกโศกเศร้า?” และแล้วเรื่องราวของเหตุการณ์สำคัญนั้น ก็ได้ถูกเปิดเผยให้รับรู้

 ‘กาฟ’ หมายถึง กัรบะลา, ‘ฮา’ หมายถึง ฮารอกัต คือ การทำลายและความตาย ,‘ยา’ หมายถึง ยะซีด ‘อีน’ หมายถึง อาฏอช คือ ความหิวกระหาย และ ‘ซ๊อด’ หมายถึง ซอบัร คือ ท่านอิมามฮูเซนผู้อดทน และกล้าหาญ

เมื่อท่านศาสดาซะกะรียา ได้รับรู้เรื่องราวเช่นนั้น ท่านจึงออกเดินทางไปยังมัสยิดและไม่ได้ออกมาเลยเป็นเวลา ๓ วัน และบอกกับผู้คนของท่านว่า ห้ามมิให้ใครมารบกวน เพราะท่านกำลังอยู่ในความโศกเศร้ากับเหตุการณ์ที่เพิ่งได้รับรู้มา

๒๖

นี่เป็นข้อเตือนใจอีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้คนที่เย้ยหยันเรา ต่อการที่เราแสดงความโศกเศร้าเสียใจ

ต่ออิมามฮูเซน ผู้เป็นที่รัก ต่อความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสที่กัรบะลาและต่อขบวนคาราวานของเชลยที่ถูกทิ้งไว้เป็นภาระรับผิดชอบของท่านหญิงซัยนับ

ศาสดาซะกะรียา ได้วอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า

“โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! พระองค์จะทรงนำความโศกเศร้าให้แก่ลูกหลานของศาสดามุฮัมมัด ผู้ถูกสร้างที่ประเสริฐที่สุดของพระองค์กระนั้นหรือ?

พระองค์จะทรงยอมให้ความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสเกิดขึ้นกับครอบครัวของเขากระนั้นหรือ?

พระองค์จะทรงยินยอมให้อะลีและฟาฏิมะฮ์ต้องอดทน แม้เพียงแต่จะคิดถึงสิ่งนั้นกระนั้นหรือ?

๒๗

 

โอ้พระผู้เป็นเจ้า! โปรดประทานทายาทผู้สืบทอดให้แก่ข้าพระองค์ ผู้ซึ่งจะเป็นแสงสว่างแห่งดวงตาอันอ่อนล้าของข้าพระองค์ และจะได้เป็นผู้สืบทอดและมีความสัมพันธ์กันเหมือนกับศาสดามุฮัมมัดและอิมามฮูเซน”

 และแล้วคำวิงวอนของศาสดาซะกะรียาก็ได้รับการตอบรับ ท่านได้รับแจ้งข่าวดีในการให้กำเนิดศาสดายะห์ยา

ท่านเองเคยรับรู้ถึงการให้กำเนิดของท่านหญิงมัรยัมมาแล้ว แต่ก็ต้องประหลาดใจอย่างมาก เพราะเหตุว่าภรรยาของท่านเป็นหมัน และก็ล่วงเข้าสู่วัยชราแล้ว ตั้งแต่เยาว์วัย ยะห์ยา จะสวมเสื้อผ้าที่เรียบง่ายซึ่งทำจากปอ และยังชีพด้วยอาหารธรรมดาจากใบไม้แห้งๆ  สมัยเด็กท่านเคยอยู่กับนักบวชและผู้รู้ทางศาสนาที่ตั้งมั่นอยู่ในสัจธรรมอย่างเคร่งครัด ยะห์ยาเป็นญาติของศาสดาอีซา และเป็นที่รู้จักกันในนามของ จอห์น เดอะ แบ็บติสท์

๒๘

ยะห์ยา มีจิตใจที่อ่อนโยน เกรงกลัวในพระเจ้าอย่างมาก จนไม่สามารถทนฟังการกล่าวถึงการลงโทษต่างๆ ในนรกได้ ถ้าท่านได้ยินใครพูดถึงการทรมานในไฟนรก ท่านจะร่ำไห้และไม่สามารถควบคุมตัวเองต่อความเกรงกลัวในความกริ้วโกรธของพระเจ้าได้ จนต้องวิ่งหนีออกไปในทะเลทราย จนทำให้บิดา มารดาของท่านต้องรอนแรมไปในทะเลทรายเป็นวันๆ เพื่อจะตามหาท่าน

เหตุการณ์ลอบสังหารยะห์ยา

มเหสีของพระราชา มีธิดาแสนสวยที่เกิดจากสามีคนก่อนของนาง ขณะที่นางกำลังย่างเข้าสู่วัยชราและไม่ได้รับความสนใจจากพระราชา นางตั้งใจจะใช้ธิดาแสนสวยของนางผูกมัดและดึงความสนใจของพระราชา

 พระองค์ทรงปรึกษายะห์ยาเกี่ยวกับเรื่องการรับลูกเลี้ยงของพระองค์มาเป็นชายา แต่ศาสดายะห์ยาได้เตือนว่า นั่นเป็นข้อห้าม พระราชาจึงยกเลิกความตั้งใจนั้นเสีย ยังความไม่พอใจแก่มเหสีของพระองค์ ผู้เป็นมารดาของหญิงสาวเป็นอย่างมาก

๒๙

ดังนั้น วันหนึ่งขณะที่พระราชากำลังอยู่ในอาการเมามายเต็มที่ มเหสีของพระองค์จึงจัดการส่งลูกสาวของนาง ซึ่งแต่งกายด้วยอาภรณ์ที่สะดุดตาเป็นพิเศษ พระราชาเมามายจนครองสติไม่อยู่ จึงเข้าหานาง แต่มารดาของหญิงสาวตั้งข้อแม้ว่า พระองค์จะต้องนำเอาศีรษะของยะห์ยามามอบให้นางเป็นรางวัลตอบแทน พระราชาจึงสั่งให้นำศีรษะของยะห์ยามาให้พระองค์ในทันที เมื่อผู้รู้ทางศาสนาทราบเรื่องเกี่ยวกับคำบัญชาของพระองค์ ได้รีบไปเข้าเฝ้าและทูลว่า

“ถ้าแม้นเลือดของยะห์ยาแม้แต่เพียงหยดเดียวต้องหลั่งลงบนดิน จะไม่มีสิ่งใดเลยแม้แต่หญ้าจะงอกเงยได้อีก”

อย่างไรก็ตาม พระราชายังยืนยันคำสั่งเดิมที่จะต้องสังหารยะห์ยา โดยให้ทิ้งเลือดของท่านลงในบ่อ และนำศีรษะใส่ถาดมาให้ บางคนแนะนำผ่านไปทางคนสนิทของพระองค์ว่า บิดาของยะห์ยาเป็นผู้หนึ่งที่คำวอนขอของท่านจะได้รับการตอบรับจากพระเจ้าเสมอ ฉะนั้นศาสดาซะกะรียาควรที่จะถูกสังหารเสียก่อน เพื่อว่าจะได้ไม่มีโอกาสได้สาปแช่งพระองค์ในการสังหารยะห์ยา พระราชาจึงสั่งให้จัดการตามนั้น

๓๐

ขณะที่ศาสดาซะกะรียาและยะห์ยากำลังทำนมาซอยู่ในบ้านของท่าน คนของพระราชาก็มาถึงและจับตัวศาสดายะห์ยาไป แต่ศาสดาซะกะรียาหนีรอดไปได้ ในขณะที่ท่านถูกไล่ล่าโดยคนของพระราชา ในสภาพที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ศาสดาซะกะรียาได้สั่งให้ต้นไม้ที่อยู่ตรงหน้าท่านแยกตัวออก ท่านได้เข้าไปหลบในต้นไม้นั้น แล้วต้นไม้ก็ได้ประกบลำต้นกลับเหมือนเดิม โดยมีศาสดาซะกะรียาซ่อนอยู่ภายใน

แต่มารร้าย ศัตรูที่ชัดแจ้งของมนุษย์ ซึ่งไม่เคยยั้งมือไปจากผู้ถูกเลือกสรรจากพระองค์ เช่น ศาสดาซะกะรียา ด้วยการทำให้ชายเสื้อของท่านศาสดาโผล่ออกมาจากต้นไม้เพื่อการลวงล่อ เมื่อคนของพระราชาออกค้นหา มารร้ายในร่างของมนุษย์ได้พาพวกมันมายังต้นไม้ และชี้ให้ดูชายเสื้อที่โผล่ออกมา

พร้อมทั้งแนะนำให้สังหารศาสดาซะกะรียาโดยการตัดต้นไม้ออกเป็นสองท่อนด้วยเลื่อยที่มันเตรียมมาให้

๓๑

เมื่อศาสดารู้สึกตัวว่าร่างของท่านกำลังถูกตัดออกพร้อมกับต้นไม้ ได้มีเสียงหนึ่งดังขึ้นว่า

“จงระวัง โอ้ซะกะรียาเอ๋ย! ถ้าเจ้าส่งเสียงร้องหรือร้องขอความช่วยเหลือแม้แต่น้อย ชื่อของเจ้าจะถูกลบออกจากรายชื่อของบรรดาผู้อดทน”

ศาสดาซะกะรียาจึงยอมปล่อยให้ตัวเองถูกตัดออกด้วยอาการที่เงียบสงบ ไม่ยอมปริปากจากความทุกข์ทรมานและเจ็บปวด

ยะห์ยาถูกสังหาร เลือดของท่านถูกนำไปทิ้งในบ่อน้ำ ศีรษะถูกนำเสนอต่อพระราชา น้ำในบ่อกลายเป็นสายเลือดไหลพุ่งออกมาอย่างมากมาย ไม่ว่าผู้คนจะโยนก้อนดินใส่เข้าไปในบ่อมากมายสักเพียงใด เลือดก็ยังคงหลั่งไหลออกมาไม่หยุด ทำให้ดินที่ถูกโยนใส่เข้าไปในบ่อน้ำนั้นยกตัวสูงขึ้น เป็นกองดินสูงจนกลบปากบ่อ

๓๒

กลับมาสู่เรื่องของเราอีกครั้ง คุณสมบัติอันประเสริฐของท่านหญิงซัยนับอยู่ในระดับสูงสุด จนทำให้อิมามฮูเซนพี่ชายของท่าน มอบความไว้วางใจให้ดูแลรับผิดชอบบรรดาผู้ใกล้ชิดของท่าน ที่ถูกจับเป็นเชลย

 เนื่องจาก อิมามซัยนุลอาบิดีน กำลังอยู่ในอาการป่วยหนัก ท่านหญิงเคยเป็นผู้รายงานวจนะตามที่ ท่านได้เคยใช้ชีวิตร่วมอยู่กับท่านศาสดาเป็นเวลา ๕ ปีเต็ม

เชค ซอดูก และเชค ฏูซี ได้กล่าวว่า อะห์มัด บิน อิบรอฮีม เคยได้ยินจากท่านหญิงฮะกีมะฮ์ คอตูน (ป้าของท่านอิมามอัสการี) หลายเรื่อง และเรื่องหนึ่งคือ อิมามฮูเซน ได้กล่าวว่า ความรู้ของอิมามซัยนุลอาบิดีน มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันกับความรู้ของท่านหญิงซัยนับ

๓๓

 

ดังนั้นท่านจึงต้องรับภาระหน้าที่ของความเป็นอิมาม และด้วยเหตุนี้ ตำแหน่งของท่านหญิงจึงถูกยกขึ้นสูงเท่ากับตำแหน่งของบรรดาอิมาม

เรื่องราวเหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือ ตะรอซูล มัศฮับ และ มัจลิส มุตตะกีน ของท่านซัยยิด อลีมกอสวี อีกด้วย

หลังการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ต้องตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก นำความทุกข์ระทมมาสู่ท่านในเวลาต่อมา ท่านหญิงซัยนับบุตรสาวของท่านอายุได้ ๕ ขวบ ทั้งๆ ที่ยังอยู่ในวัยที่ไร้เดียงสา แต่ท่านได้ไปยังมัสยิดของท่านศาสดาเป็นประจำ ณ ที่นั้นเต็มไปด้วยบรรดาชาวผู้ช่วยเหลือ (อันศอร) และชาวผู้อพยพ (มุฮาญิรีน) ในมัสยิดมีม่านเล็กๆ กั้น หลังม่านนั้นเองท่านได้กล่าวคำปราศรัยซึ่งได้บรรยายถึง ความทุกข์ยากและปัญหาต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับมารดาของท่าน

การบรรยายครั้งนี้ใช้เวลานานถึงสองชั่วโมง ซึ่งมีผลอย่างมากกับบรรดาผู้ที่มาชุมนุมอยู่ ณ ที่นั่น ทำให้พวกเขาได้รับรู้ความจริงว่า ครอบครัวของท่านศาสดาถูกกระทำทารุณกรรมอย่างโหดร้ายเพียงใด

๓๔

ท่ามกลางผู้ชุมนุมในมัสยิด ครั้งนี้ มีท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ สมาชิกในครอบครัวของท่านและบรรดาสตรีชาวอาหรับร่วมนั่งอยู่ด้วย สุนทรพจน์ของท่านได้รับการกล่าวขวัญถึงในหลายๆ วาระเมื่อมีการรายงานกันในหมู่พวกเขา และตลอดชั่วชีวิตของท่านหญิงท่านได้จดจำเหตุการณ์นี้อยู่เสมอมาตลอดไป

ครั้งหนึ่งท่านหญิงได้ถามคำถามต่ออิมามอะลี ว่า “โอ้ ท่านพ่อ! ท่านรักหนูไหม?” อิมามอะลี ตอบว่า “แน่นอนที่สุด! แก้วตาของพ่อ”

ด้วยเหตุนี้ท่านหญิงจึงถามต่อไปว่า “โอ้ ท่านพ่อ! จะเป็นไปได้หรือ ที่ผู้หนึ่งจะมีสองความรักในหัวใจดวงเดียว ความรักในพระเจ้าและความรักในบุตรสาว?” พร้อมกันนี้ ท่านหญิงได้ตอบคำถามที่ท่านตั้งขึ้นเองว่า

 “ความรักที่บริสุทธิ์แท้จริง คือความรักในพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น

ส่วนความรักในบรรดาลูกๆ เป็นไปโดยพระประสงค์ของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การที่ท่านรักพวกเราจึงเป็นไปตามธรรมชาติ?”

บรรดาผู้ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการสืบทอดเรื่องราว และพิทักษ์รักษาแบบฉบับ (ซุนนะฮ์)  ของท่านศาสดาและบรรดาอิมามไว้

๓๕

นับเป็นผู้ที่ได้รับใช้แนวทางของอิสลามอย่างมากมาย และจัดอยู่ในฐานะที่สูงส่งในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า ท่านเหล่านั้นได้รับเกียรติให้เป็นผู้พิทักษ์ปกป้องศาสนา

 ท่านศาสดาเคยกล่าวว่า

 “ผู้ที่ปราดเปรื่องในความรู้ทางศาสนาอย่างแท้จริงนั้น มีฐานะเท่าเทียบกับศาสดาของบนีอิสรออีล”

ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า การท่องจำและการถ่ายทอดวจนะของท่านศาสดาและคำสอนของท่านอิมาม เป็นแนวทางที่ถูกต้องในการเผยแผ่ศาสนา และบรรดาท่านเหล่านั้นย่อมเป็นที่รักของบรรดามะอ์ซูมผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย

บรรดาสตรีที่บันทึกจดจำวจนะของท่านศาสดา คือท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านหญิงอุมมุสะลามะฮ์ ท่านหญิงอุมมุ อัยมัน และท่านหญิงซัยนับ

๓๖

อิบนิ อัซซารี ญุซารี นักปราชญ์ซุนนี เสียชีวิตในต้นฮิจเราะฮ์ศตวรรษที่ ๗ ได้บันทึกไว้ว่า

ท่านหญิงซัยนับ เป็นสตรีในบรรดาสาวกของท่านศาสดา ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านหญิงคือสตรีคนที่สามของ

อิสลามที่ได้รับเกียรติสูงสุด ท่านแรกคือ ท่านหญิงคอดิยะฮ์ กุบรอ คุณยายของท่าน ท่านที่สองคือ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ มารดาของท่าน และท่านที่สาม คือ ตัวท่านหญิงเอง

ท่านหญิงยังเป็นที่รู้จักในนาม ‘ซิดดีเกาะ ซุกรอ’ (ผู้ทรงคุณธรรม ผู้น้อย) และ ‘อุมมุล มะซออิบ’(มารดาแห่งการอดทน)

เมื่อใดก็ตามที่อับดุลลอฮ์ บุตรของอับบาส กล่าวถึงการดำเนินชีวิตของท่านหญิงซัยนับ เขาจะเริ่มด้วยการยกย่องว่าท่าน คือ ‘ฮาดะตะนะ อกีล ละตุนา’ ‘สตรีผู้ที่ปราดเปรื่องในหมู่ชนของเรา’

๓๗

การอุทิศตนเพื่อพระผู้เป็นเจ้า

ท่านหญิงเป็นผู้ที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากมารดาของท่าน ผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากศาสนทูตบิดาของท่าน ด้วยการใช้ชีวิตทั้งหมดไปกับการปฏิบัติศาสนกิจและปฏิบัติตนเพื่อหวังในความรักและความใกล้ชิดกับพระผู้สร้าง ทำให้บุตรสาวของท่านได้ดำเนินรอยตามเช่นเดียวกัน

ข้อพิสูจน์เหนือข้อสงสัยใดๆ เห็นได้จากการเดินทางไปในกองคาราวานของเชลยหลังจากเหตุการณ์ที่กัรบะลา

นอกเหนือจากศาสนกิจ ที่เป็นภารกิจประจำวันแล้ว ท่านไม่เคยละทิ้งนมาซที่ไม่ได้เป็นวาญิบ แต่ได้ผลบุญมากมาย

ในหนังสือ “กิบีตัย อัจมาร” อิมามซัยนุลอาบิดีน ได้กล่าวไว้ระหว่างการเดินทางจากกัรบะลาไปซีเรียว่า

๓๘

 “พวกเราถูกกระทำทารุณโหดร้ายอย่างเหลือคณานับ แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ทำให้ท่านอาของฉันละทิ้งการนมาซศอลาตุลลัยล์ (นมาซยามค่ำคืน) ทั้งๆ ที่ท่านต้องได้รับความยากลำบากจากศัตรูอย่างมากมาย แต่ท่านก็จะทำนมาซในทุกๆ ที่ที่สามารถทำได้ ท่านไม่เคยละทิ้งนมาซนี้เลย

 เพราะว่า ท่านจดจำคำพูดสุดท้ายก่อนพลีชีพของพี่ชายท่านได้เสมอว่า

 “โอ้ น้องรัก! จงระลึกถึงพี่ในนมาซศอลาตุลลัยล์”

 “ยา อุคตาฮ์ ลาตันซีนี ฟีย์ นาฟิลาติลลัย”

ในหนังสือ ‘กิตาบ ค่อซาอิส’ บันทึกไว้ว่า ทั้งนักปราชญ์ซุนนีและชีอะฮ์ ได้กล่าวว่า จากทายาทของอับดุลมุฎฎอลิบ ซัยนับได้รับความโปรดปรานด้วยกับคุณสมบัติที่สูงส่ง ทั้งสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด ความกล้าหาญ บุคลิกภาพที่ดีเลิศ การอุทิศตนให้กับพระผู้เป็นเจ้า การอ้อนวอนวิงวอน

ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับปุถุชนธรรมดาที่จะยอมพลีทุกอย่างเพื่อศาสนา ซึ่งรวมถึงลูกๆ ของท่าน

๓๙

นับว่าเป็นการกระทำที่กล้าหาญ ยิ่งใหญ่ ซึ่งจะมิได้เฉพาะในบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า และก้าวไปถึงจุดสูงสุดของจิตวิญญาณที่สุดยอด

ตามธรรมดาของโลก มนุษย์จะคิดถึงแต่สิ่งที่ดีกว่าสำหรับลูกๆ และครอบครัวเสมอ แต่เมื่อผู้หนึ่งตัดสินใจเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระเจ้า และเมื่อมีทางออกเพียงทางเดียวที่จะพิทักษ์รักษาอิสลามไว้ด้วยการถูกสังหารหมู่ที่กัรบะลา คุณค่าทางด้านจิตวิญญาณอันสูงส่งของท่านหญิงซัยนับ ทำให้ท่านสามารถสละทุกสิ่งเพื่อความรุ่งโรจน์ของอิสลาม

เมื่อบรรดาผู้กล้าหาญชาญชัยเกิดความหวาดกลัว และเปลี่ยนใจเพราะสิ่งครอบงำที่ผิดธรรมดา ผู้หนึ่งจะอธิบายถึงความกล้าหาญของท่านในการดูแลขบวนเชลยอย่างไร?

ด้วยการที่ท่านหญิงคอดีญะฮ์ กุบรอ (ภรรยาคนแรกของท่านศาสดา) ได้วางรากฐานเสาหลักของอิสลาม และตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะสถาปนาศาสนาและสัจธรรม ท่านหญิงซัยนับก็เป็นเช่นเดียวกัน ที่พร้อมจะยอมพลีทุกสิ่งเพื่อพิทักษ์ศาสนาให้ยืนยงตลอดไป

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

   ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมายและความเป็นจริง

(วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์และวะฮ์ดัตอัยนีย์)

    ในขณะที่มีการกล่าวกันว่า ความเป็นหนึ่งเดียวที่มีในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้ากับคุณลักษณะของพระองค์ นั้นมีความหมายเป็นหนึ่งเดียวกัน (วะฮ์ดัต) ดังนั้น ความเป็นหนึ่งเดียว(วะฮ์ดัต) ดังกล่าวมีความหมายว่าอย่างไร? และเราสามารถแบ่งออกเป็นได้ กี่ประเภทด้วยกัน

ซึ่งจะกล่าวได้ว่า เราสามารถแบ่งประเภทของความเป็นหนึ่งเดียว (วะฮ์ดัต )ได้ ๒ ประเภท ด้วยกัน มีดังต่อไปนี้

๑. ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมาย  (วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์)

๒. ความเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นจริง (วะฮ์ดัตอัยนีย์)

 วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์ หมายถึง คำสองคำที่มีความแตกต่างกันในตัวอักษร แต่ในด้านความหมายนั้น มีความหมายเดียวกัน เช่น ในภาษาอาหรับ คำว่า วุญูด คือ การมีอยู่ และคำว่าเกาน์ ก็แปลว่า  การมีอยู่ ด้วยเช่นกัน

 ดังนั้น วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์ จึงถูกนำไปใช้ในด้านของความหมายของคำเท่านั้น

ส่วนวะฮ์ดะฮ์อัยนี หมายถึง คำสองคำที่มีสองความหมาย แต่ว่ามีตัวอย่างอันเดียวกันในความเป็นจริงหรือภายนอก เช่น คำว่า คัมภีร์ของมุสลิม และคำว่า ปฏิหาริย์ของท่านศาสดามุฮัมมัด ดังนั้น สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น มีตัวอย่างอันเดียวกัน  นั่นคือ

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน เป็น คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม

๑๐๑

   ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว สามารถบอกได้ถึง ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ซึ่งในระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า และในระหว่างคุณลักษณะประการหนึ่งกับอีกคุณลักษณะประการอื่นๆของพระองค์ นั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน

 ในอีกนัยหนึ่ง กล่าวได้ว่า มีความเป็นวะฮ์ดัตอัยนี กล่าวคือ ในความเป็นจริง นั้นมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า  ในความหมายของอาตมันกับคุณลักษณะ เช่น ความรอบรู้ อานุภาพ ก็มีความแตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง ความรอบรู้ของพระเจ้า เป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด

ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะบางประการของพระเจ้า คือ คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ ซึ่งตรงกันข้ามกับคุณลักษณะใน กิริยา การกระทำ อีกทั้ง คุณลักษณะซุบูตีย์ (คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้า) ก็ตรงกันข้ามกับคุณลักษณะซัลบีย์ (คุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์)อย่างเห็นได้ชัด

เราสามารถแบ่งประเด็นต่างๆของความเป็นเอกานาภาพในคุณลักษณะของพระเจ้า ได้ด้วยกัน ๓ ประเด็นหลัก นั่นก็คือ

๑.ประเด็นแรก อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า ที่มีความหมายที่แตกต่างกัน

๒.ประเด็นที่สอง อาตมันกับคุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระองค์ ที่ในความเป็นจริงนั้น มีตัวอย่างหนึ่งเดียวเท่านั้น

๑๐๒

๓.ประเด็นที่สาม คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันกับคุณลักษณะประการอื่นของพระองค์ และในความเป็นจริงก็มีตัวอย่างหนึ่งเดียวเช่นกัน

หากพึงสังเกตุว่า ในประเด็นสุดท้าย ซึ่งก็เป็นประเด็นเดียวกันกับประเด็นที่สอง เพราะว่า การที่มีการกระทำหลายอย่างในสิ่งหนึ่ง แน่นอนที่สุด สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งเดียวที่มีหลายกริยา การกระทำด้วยเช่นกัน และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่สิ่งหนึ่งจะมีความแตกต่างในตัวตนของสิ่งนั้นเอง

   เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

    ดั่งที่ได้อธิบายในความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะผ่านไปแล้ว จะมาอธิบายกันในเหตุผลที่ใช้พิสูจน์ในหลักการนี้ บรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม มีเหตุผลในการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ  ๓ เหตุผล ด้วยกัน ดังนี้

เหตุผลที่หนึ่ง

เหตุผลนี้ประกอบด้วย ๒ ข้อพิสูจน์เบื้องต้น คือ

๑.การมีความสมบูรณ์ที่สุด(กะมาล มุตลัก)ในพระผู้เป็นเจ้า  บ่งบอกถึง การมีความสัมพันธ์จากอาตมันไปยังคุณลักษณะของพระองค์ ในสภาพที่มีความสมบูรณ์ที่สุด

๒.การมีความสมบูรณ์ที่สุดในสิ่งหนึ่ง  หมายถึง การมีความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นด้วยกับตัวของมันเอง โดยที่ไม่ต้องการสิ่งอื่นใด

๑๐๓

ผลที่จะได้รับของข้อพิสูจน์ดังกล่าวนี้ ก็คือ : ความสมบูรณ์ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งบ่งบอกถึง อาตมันของพระองค์ และคุณลักษณะทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้น นอกจากคุณลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นด้วยอาตมันของพระองค์เท่านั้น

สิ่งที่ได้รับจากเหตุผลนี้ ก็คือ ความเป็นหนึ่งและความเป็นเอกานุภาพของคุณลักษณะ และอาตมันของพระเจ้า

การเปรียบเทียบกันระหว่างข้อถกเถียง และโต้แย้งในข้อพิสูจน์นี้ เป็นที่กระจ่างชัดโดยที่ไม่มีความต้องใช้การพิสูจน์ใดๆจากการวิเคราะห์ในความหมายของ กะมาล มุตลัก (ความสมบูรณ์ที่ไม่มีขอบเขต) หมายถึง ความสมบูรณ์ที่มีอยู่ในทุกภาวะด้วยกับตัวของตนเองโดยมีความสัมผัสสะกับคุณลักษณะทั้งหลาย ในอีกมุมมองหนึ่ง กล่าวว่า การเปรียบเทียบกันระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า มี ๒ สภาพด้วยกัน ดังนี้

สภาพแรก ความเป็นหนึ่งและเอกะในสิ่งทั้งสอง กล่าวคือ ทั้งในอาตมันของพระเจ้ากับคุณลักษณะของพระองค์ หมายความว่า สภาพนี้ เป็นระดับขั้นที่อาตมันมีความสมบูรณ์ที่สุด และไม่มีขอบเขตจำกัด

สภาพที่สอง ความแตกต่างในอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า

๑๐๔

   เหตุผลที่สอง

    องค์ประกอบของเหตุผลนี้ มีดังต่อไปนี้

๑.อาตมันของพระเจ้า เป็นวาญิบุลวุญูด (ความจำเป็นที่ต้องมีอยู่) และเป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย ส่วนสิ่งอื่น เป็นมุมกินุลวุญูด (ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้) และยังเป็นผลของปฐมเหตุอีกด้วย

๒.ความสมบูรณ์ทั้งหมดของผลขึ้นอยู่กับต้นเหตุของมัน

๓.ถ้าหากว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะของพระเจ้า มิได้ผ่านยังอาตมันของพระองค์ ก็หมายถึง ในอาตมันของพระเจ้านั้น มีข้อบกพร่องและความไม่สมบูรณ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ผลหรือข้อสรุปที่จะได้รับ ก็คือ จากองค์ประกอบที่หนึ่งและที่สองของเหตุผลนี้ ได้กล่าวถึง อาตมันของพระเจ้าว่า มีความสมบูรณ์ที่สุด และองค์ประกอบที่สาม ก็กล่าวว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะทั้งหลายนั้น จะต้องเกิดมาจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น และก็หมายความว่า จะต้องมีความเป็นหนึ่งหรือความเป็นเอกานุภาพอยู่อีกด้วย

สามารถสรุปได้ว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระเจ้านั้น จะต้องมีความสมบูรณ์ในตัวของตัวเอง และความไม่สมบูรณ์หรือข้อบกพร่องจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน  เพราะว่าอาตมันของพระองค์เป็นปฐมเหตุของผลทั้งหลาย และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ แสดงให้เห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่คุณลักษณะของพระเจ้าจะไม่มีความสมบูรณ์อยู่เลย ดังนั้น กล่าวได้ว่า คุณลักษณะของพระเจ้าต้องมีความสมบูรณ์ที่สุด และไม่มีขอบเขตจำกัด อีกทั้งเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกานุภาพกับอาตมันของพระองค์ด้วย

๑๐๕

   เหตุผลที่สาม

    ถ้าหากว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้มีความเป็นหนึ่งเดียว หรือเป็นเอกานุภาพกับอาตมันของพระองค์แล้วไซร้ จะเกิดการสมมุติฐานได้ สองประเด็น ด้วยกัน ดังนี้

๑.คุณลักษณะของพระเจ้าต้องเป็นส่วนหนึ่งในอาตมันของพระองค์

๒.คุณลักษณะของพระเจ้าต้องเกิดจากภายนอกอาตมันของพระองค์

สมมุติฐานแรก ถือว่าเป็นโมฆะและไม่ถูกต้อง เพราะว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้มีความเชื่อว่าพระเจ้ามีส่วนประกอบและได้พิสูจน์ในบท ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้วว่า อาตมันของพระองค์นั้นไม่มีส่วนประกอบใดทั้งสิ้น

และจากสมมุติฐานที่สอง ก็ถือว่าเป็นโมฆะและไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสมมุติฐานว่า ถ้าคุณลักษณะของพระเจ้าเกิดจากภายนอกจริง คุณลักษณะนั้นจะต้องเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ หรือสิ่งที่สามารถมีอยู่ ถ้าเป็นสิ่งแรก ก็เป็นสาเหตุให้เกิดมีพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งความเชื่อนี้ขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และถ้าคุณลักษณะของพระองค์ เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ จะเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วอะไร เป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ซึ่งได้อธิบายไปแล้วว่า ทุกสิ่งที่เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ ไม่ว่าในสภาพใดก็ตาม เป็นผลของสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ทั้งสิ้น และถ้าหากว่าเหตุผลการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น เกิดจากสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่หลายๆอย่าง ที่เป็นสาเหตุให้มีพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งก็มีความขัดแย้งกับเตาฮีดในอาตมันของพระเจ้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น การสมมุติฐานทั้งหมด ถือว่าเป็นโมฆะ และคงเหลือเพียงสมมุติฐานเดียวก็คือ คุณลักษณะของพระเจ้าเกิดจากภายนอกอาตมัน และเป็นผลของอาตมัน

๑๐๖

 ดังนั้น การยอมรับในสมมุติฐานนี้ ก็คือ พระเจ้าไม่มีคุณลักษณะใดๆอยู่เลย เช่น พระองค์ไม่มีชีวิต ไม่มีพลานุภาพ ไม่มีความสามารถ ในตอนแรกได้เอาคุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้มาจากภายนอกอาตมันของพระองค์ แล้วนำไปใช้กับสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การสมมุติฐานนี้ ก็ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เพราะว่า ด้วยกับกฏของเหตุและผล ได้กล่าวไปแล้วว่า เหตุของผลทั้งหลายจะไม่มีคุณสมบัติของผลของมัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะปราศจากความสมบูรณ์แล้วเอาความสมบูรณ์นั้นไปให้กับสิ่งอื่น เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ สำหรับพระเจ้า ในขณะที่พระองค์ไม่มีชีวิตอยู่และไม่มีพลานุภาพ และไม่มีความสามารถแล้ว พระองค์จะเป็นผู้ทรงสร้างชีวิตทั้งหลายได้อย่างไร?

สามารถสรุปได้ว่า สมมุติฐานที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ และการสมมุติฐานระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า มีความแตกต่างกัน ก็เป็นโมฆะเช่นเดียวกัน ผลลัพท์คือ ระหว่างอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์ในความเป็นจริง เป็นสิ่งเดียวกัน แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สติปัญญาของมนุษย์ยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงบริสุทธิ์ และมิได้มีขอบเขตจำกัด ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของคุณลักษณะที่มากมายในพระองค์ เช่น ความรู้ ความสามารถ การมีชีวิต และได้นำไปใช้กับอาตมันของพระเจ้าซึ่งในความเป็นจริงก็มิได้มีความแตกต่างกันเลย

๑๐๗

   ความแตกต่างทางด้านความหมายของคุณลักษณะ (ซิฟัต)

    ได้กล่าวไปแล้วว่า ในความเป็นจริงของอาตมัน และคุณลักษณะของพระเจ้านั้น มีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ ซึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ก็มิได้มีความแตกต่างกับอาตมัน และมิได้เป็นส่วนประกอบใดของอาตมัน แต่ในอาตมันและคุณลักษณะมีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ 

ประเด็นหลักของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ  ก็คือ การยืนยันด้วยเหตุผลถึงความแตกต่างในความหมายระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะ เพราะว่าบุคคลใดก็ตามที่ใช้สติปัญญาเพื่อเข้าใจใน

ความหมายของคุณลักษณะ เช่น ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ ความสามารถและอื่นๆ  ซึ่งทั้งหมดนั้นมีความหมายแตกต่างกัน  ดั่งเช่น ชาวอาหรับได้เรียกพระเจ้าว่า ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงความสามารถ บ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง มีตัวตนหนึ่งเดียว

๑๐๘

                      

   ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองทางประวัติศาสตร์

    บรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับคุณลักษณะกับการให้ความสัมพันธ์ไปยังอาตมันของพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

๑.ทัศนะที่มีความเชื่อว่า คุณลักษณะกับอาตมันมีความเป็นหนึ่งเดียวกันตามความเป็นจริง แต่ในความหมายมีความแตกต่างกัน ทัศนะนี้  เป็นทัศนะของสำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ และสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์บางคน ซึ่งมีเหตุผลมากมายจากการใช้สติปัญญา และวจนะของอิสลามที่พิสูจน์ในทัศนะนี้

๒.ทัศนะที่มีความเชื่อในการมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้า และความไม่เหมือนกันของคุณลักษณะกับอาตมัน ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ ที่กล่าวว่า คุณลักษณะในพระเจ้ามีความเหมือนกันกับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างและมีความแตกต่างกับอาตมัน หมายความว่า คุณลักษณะของพระองค์นั้นมีมาแต่เดิม แต่คุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างมิได้มีมาแต่เดิม

ความผิดพลาดของทัศนะนี้ ก็คือ เป็นข้อสงสัยที่ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้าง และการยอมรับว่า คุณลักษณะมีมาแต่เดิมเหมือนกับอาตมัน ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของสิ่งที่มีมาแต่เดิมหลายสิ่ง และเป็นสาเหตุทำให้เกิดการตั้งภาคี

๑๐๙

 กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีอยู่ของสิ่งเจ็ดประการที่มีมาแต่เดิมเหมือนกับอาตมันของพระเจ้า นั่นก็คือ คุณลักษณะเจ็ดประการ ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ และฯลฯ และในทัศนะนี้ได้ยอมรับว่า พระเจ้ามีความต้องการในความสมบูรณ์ของพระองค์ ซึ่งมีความขัดแย้งกับการไม่มีความต้องการใดของพระองค์ แต่ในทัศนะของความเป็นเอกานุภาพได้กำหนดไว้ว่า อาตมันของพระเจ้ามีหนึ่งเดียวและมีมาแต่เดิม ส่วนสิ่งทั้งหลายนอกเหนือจากพระองค์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ และเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์ 

๓.ทัศนะที่มีความเชื่อในการเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ของคุณลักษณะของพระเจ้า และความไม่เหมือนกันของคุณลักษณะและอาตมัน ทัศนะนี้เป็นทัศนะของสำนักคิดกะรอมียะฮ์ ที่กล่าวว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้มีมาแต่เดิม กล่าวคือ คุณลักษณะของพระเจ้าเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และมิได้เหมือนกันกับอาตมัน ดังนั้น ทัศนะนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะ ด้วยกับเหตุผลต่างๆทางสติปัญญาที่ได้อธิบายไปแล้ว

๔.ทัศนะที่มีความเชื่อในการเป็นตัวแทน (นิยาบัต) ของอาตมันจากคุณลักษณะ ทัศนะนี้เป็นทัศนะของนักเทววิทยาในสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์บางคน เช่น อะบูอะลีและอะบูฮาชิม ญุบบาอีย์

 (ผู้ก่อตั้งสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์) และทัศนะของ อับบาด บิน สุลัยมาน พวกเขากล่าวว่า พระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะที่สมบูรณ์ เช่น ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ ในขณะเดียวกันอาตมันของพระองค์ก็ได้แสดงผลของคุณลักษณะทั้งหลายนั้นออกมา ตัวอย่างเช่น อาตมันของพระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะความรู้ แต่การกระทำต่างๆของพระองค์ เป็นการกระทำของผู้ที่มีความรู้

๑๑๐

ดังนั้น เหตุผลของทัศนะนี้ ก็คือ พวกเขาไม่ยอมรับในทัศนะที่สาม เพราะว่า มีความขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพ และในขณะเดียวกัน พวกเขาไม่รู้ในความเป็นจริงของคุณลักษณะทั้งหลายที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า ทัศนะนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เพราะว่าถ้ายอมรับในทัศนะนี้ก็เท่ากับมีความเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีความสมบูรณ์ เช่น การมีความรู้ ความสามารถ การมีชีวิต เป็นต้น

   ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองของวจนะ

    ได้อธิบายไปแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ หมายถึง การมีความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้าในความเป็นจริง แต่ในความหมายนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้น คุณลักษณะของพระเจ้าก็เหมือนกันกับอาตมันของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม ในขณะเดียวกัน ก็ไม่มีความแตกต่างกันในอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์ 

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในสุนทรโรวาทหนึ่งเกี่ยวกับความสวยงามในความเป็นจริงของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ความว่า

 “พระเจ้า พระองค์ผู้ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่มีขอบเขตจำกัดและไม่สามารถจะพรรณาในคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ได้”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

๑๑๑

หลังจากนั้นท่านอิมามได้อธิบายถึงความสมบูรณ์ของความบริสุทธิ์ใจในการรู้จักพระเจ้าและเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพ)ว่า

“ความสมบูรณ์ของความเป็นเอกานุภาพ คือ การมีความบริสุทธิ์ใจต่อพระเจ้า และความสมบูรณ์ของความบริสุทธิ์ใจ คือ การไม่ปฏิเสธการมีคุณลักษณะในพระองค์ เพราะว่า การมีอยู่ของคุณลักษณะ บ่งบอกถึงสิ่งทำให้คุณลักษณะเกิดขึ้น และการมีของสิ่งที่ทำให้คุณลักษณะเกิดขึ้น มิใช่เป็นการมีคุณลักษณะ”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

ท่านอิมามอะลีกล่าวอีกว่า

”บุคคลใดก็ตามที่ได้ทำให้พระเจ้ามีคุณลักษณะ ก็เท่ากับว่าเขาได้เข้าใกล้ชิดต่อพระองค์ และใครก็ตามที่เขาได้เข้าใกล้ชิดพระองค์ ก็เท่ากับเขาได้ทำให้พระเจ้ามีหลายองค์ และใครก็ตามที่ทำให้พระเจ้ามีหลายองค์ก็เท่ากับว่าเขานั้นไม่รู้จักพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

ท่านอิมามริฎอ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

”พระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงสูงส่ง พระองค์ทรงมีความรอบรู้ ,ความสามารถ, มีชีวิต, ได้ยิน, มองเห็น และ มีมาแต่เดิม

๑๑๒

 ฉัน (ผู้รายงาน) ได้ถามท่านอิมามว่า โอ้บุตรแห่งศาสนทูต กลุ่มชนหนึ่งได้พูดกันว่า พระองค์อัลลอฮ์มิได้ทรงมีความรู้, สามารถ, มีชีวิต, ได้ยิน, มองเห็น และ มีมาแต่เดิม

ท่านอิมามได้ตอบกับเขาว่า “ใครก็ตามที่มีความเชื่อเช่นนี้ แน่นอนที่สุดเขาได้ยืดเอาพระเจ้าอื่นเคียงข้างพระองค์อัลลอฮ์และตำแหน่งวิลายะฮ์ (ความเป็นผู้นำ) ของเราจะไม่ไปถึงเขา และท่านอิมามได้กล่าวอีกว่า พระองค์อัลลอฮ์ทรงมีความรู้, ความสามารถ, มีชีวิต ได้ยิน, มองเห็น และมีมาแต่เดิมด้วยกับอาตมันของพระองค์ และพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่บรรดาพวกตั้งภาคีและพวกที่คิดว่าพระองค์มีรูปร่าง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๑๑ วจนะที่ ๓ )

 จากวจนะของท่านอิมามริฎอ ได้บ่งบอกถึง คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้าที่มีมาแต่เดิม อาทิ เช่น ความรอบรู้, ความสามารถและ การมีชีวิต ผู้รายงานได้ถามอิมามเกี่ยวกับกลุ่มชนหนึ่งที่มีความเชื่อว่า การมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้าและความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ อิมามได้ตอบว่า การมีความเชื่อเช่นนี้ เป็นสาเหตุของการตั้งภาคีและการเชื่อว่ามีพระเจ้าหลายองค์ ส่วนการมีอยู่ของคุณลักษณะในพระเจ้าได้เกิดขึ้นด้วยกับอาตมันของพระองค์ และมีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมัน

๑๑๓

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ซิฟาตซาตีย์ หมายถึง คุณลักษณะที่มีในอาตมัน                                  

ซิฟาต คอริญีย์ หมายถึง คุณลักษณะที่มีในภายนอก

เตาฮีด ซิฟาตีย์ หมายถึง       ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

วะฮ์ดัต มัฟฮูมีย์ หมายถึง     ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมาย

วะฮ์ดัต อัยนีย์  หมายถึง       ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ได้มีคำถามเกิดขึ้นว่า คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้ามีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์หรือไม่?

๒.ความเป็นหนึ่งเดียว (วะฮ์ดัต) สามารถแบ่งออกเป็น สองประเภท

(๑.)ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมาย (วะฮ์ดัต มัฟฮูมีย์) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมายของคำทั้งสองคำ

(๒.)ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง (วะฮ์ดัต อัยนีย์) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง แต่ในความหมายแตกต่างกัน

๓.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะมี ๓ ประเด็นหลัก ดังนี้

(๑.)อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้าในความหมายที่แตกต่างกัน

(๒.)อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้าในความจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกัน

(๓.)คุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะประการอื่นในความเป็นจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และเหมือนกัน

๑๑๔

๔.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระเจ้า เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๕.มีหลายเหตุผลทางสติปัญญาที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๖.การพิจารณาความหมายทางภาษาของคุณลักษณะในพระเจ้า บ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทัศนะของความเป็นหนึ่งเดียวในความหมายของคุณลักษณะในพระเจ้านั้น มีความขัดแย้งกับการเข้าใจทางภาษาของคุณลักษณะในมนุษย์

๗.สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้า และมีความหมายที่แตกต่างกันกับอาตมันของพระองค์ ความเชื่อนี้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการตั้งภาคี และความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์

๘.ทัศนะของนักเทววิทยาบางคนในสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ มีความเชื่อในอาตมันของพระเจ้าว่าไม่มีคุณลักษณะประการใด พวกเขากล่าวว่า  อาตมันของพระองค์มีผลที่มีคุณลักษณะ ในขณะที่ไม่มีคุณลักษณะประการใด ดังนั้น การยอมรับในทัศนะนี้ มีความเชื่อในความไม่สมบูรณ์ในอาตมัน และการไม่มีคุณลักษณะในพระองค์

๙.ท่านอิมามอะลีได้กล่าวในสุนทรโรวาทหนึ่งในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ว่า

 “คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้อยู่นอกเหนือจากอาตมันของพระองค์ และใครก็ตามที่มีความเชื่อว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะอยู่ภายนอกอาตมันของพระองค์ แน่นอนที่สุดเขานั้นไม่รู้จักพระองค์อย่างแท้จริง”

๑๐.ท่านอิมามอะลี ริฎอ ได้กล่าวเน้นย้ำว่า การมีความเชื่อในการมีคุณลักษณะของพระเจ้าที่มีความหมายที่แตกต่างกันกับอาตมัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตั้งภาคี และได้เปรียบพระเจ้าเหมือนกับสิ่งที่มีชีวิตในโลก หมายถึง พระองค์มีรูปร่างและสรีระ

   บทที่ ๔

   ความเป็นเอกานุภาพใน กิริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่หนึ่ง

   บทนำเบื้องต้น

    ตามทัศนะของบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลาม มีความเห็นว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด และทรงเป็นแหล่งที่มาของอากัปกิริยา การกระทำ เช่น การสร้าง  , การประทานปัจจัยยังชีพ ,การบริหารกิจการงานทั้งหลาย, การมีเมตตาปรานี และอื่นๆ ซึ่งการกระทำทั้งหมดนั้น เป็นการกระทำของพระองค์

เมื่อได้สังเกตุในสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในโลก จะพบว่า มีกิริยา การกระทำเกิดขึ้นมากมาย  ซึ่งทั้งหมดของการกระทำจะต้องมีแหล่งที่มาหรือสาเหตุในการเกิดขึ้น เช่น สภาพการเป็นสะสาร ,การเจริญเติบโตของพรรณพืช, การเกิดขึ้นของสัตว์ และการถือกำเนิดของมนุษย์ หากมองดูอย่างผิวเผิน จะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆในโลกนี้ เกิดขึ้นจากการกระทำของหลายผู้กระทำและในทัศนะของความเป็นเอกานุภาพในอิสลาม มีความเชื่อว่า ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ต้องมีแหล่งที่มาอันเดียวกัน และพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้กระทำการงานเหล่านั้นเพียงองค์เดียว และไม่มีผู้กระทำ (ฟาอิล) ใดที่เป็นอิสระเสรี นอกจากพระองค์

๑๑๕

 ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ จึงหมายถึง

๑.การมีความเชื่อว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำเพียงองค์เดียว ในการกระทำทั้งหลาย โดยที่ไม่มีผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์

๒.การมีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้า เป็นการกระทำที่เป็นอิสระเสรี ส่วนการกระทำของสิ่งอื่นๆ มิได้มีความเป็นอิสระเสรีเหมือนกับการกระทำของพระองค์ และการกระทำเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยกับความประสงค์ตามเจตนารมณ์ของพระองค์เท่านั้น ดังนั้น การสร้างทุกสรรพสิ่ง  ,การให้ปัจจัยยังชีพ, การบริหารการงานทั้งหลาย และอื่นๆ เป็นการกระทำของพระเจ้าแต่เพียงองค์ดียว โดยที่ไม่มีการช่วยเหลือจากผู้อื่น

   บทบาทของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำในมุมมองของโลกทรรศน์

    ความหมายที่กว้างของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ซึ่งครอบคลุมไปถึงทุกการกระทำที่มีอยู่ในสากลจักวาล  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามีความสัมพันธ์กับจักวาล ดังนั้น การเชื่อหรือไม่เชื่อในความเป็นเอกานุภาพประเภทนี้ จึงมีผลต่อโลกทรรศน์และวิสัยทรรศน์ของมนุษย์ทุกคน เมื่อมนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำแล้ว มนุษย์จะมีความเชื่อในอานุภาพ และความประสงค์ของพระเจ้าที่มีต่อการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย ในขณะเดียวกัน เมื่อเวลาใดก็ตามที่มนุษย์มองไปในทุกทิศทาง  ก็จะพบกับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นอานุภาพของพระองค์ครอบคลุมไปทั่วทุกสรรพสิ่งที่มีในโลกนี้และในจักวาล ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งใหญ่ที่สุดเหมือนดั่งจักวาล หรือสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเล็กที่สุดเหมือนกับอะตอม ทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้อานุภาพของพระเจ้าทั้งสิ้น

๑๑๖

ด้วยเหตุนี้ การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพนิกริยา การกระทำ จึงมีผลต่อโลกทรรศน์ และในความคิด ความศรัทธา ยังรวมทั้งในการปฏิบัติของมนุษย์อีกด้วย ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดของประเด็นเหล่านี้ เป็นอันดับต่อไป

   การกระทำของสิ่งถูกสร้างอยู่ภายใต้การกระทำของผู้สร้าง

    ความหมายที่ลึกซึ้งของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ หมายถึง การกระทำทั้งหมดของสรรพสิ่ง เป็นการกระทำของพระเจ้าเพียงองค์เดียว โดยเกิดขึ้นจากอาตมันอันบริสุทธิ์ของพระองค์ และเมื่อได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ได้มีคำถามและข้อสงสัยเกิดขึ้นมากมาย เช่น ถ้ายอมรับว่า มีความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำแล้ว การกระทำของสิ่งอื่น จะเป็นอย่างไร ? และทุกวันนี้ เราก็ได้เห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ที่ตัวของมันเป็นผู้กระทำการกระทำของมันขึ้นมาเอง เช่น เราได้เห็นไฟว่า มันมีความร้อน และได้เห็นแม่เหล็ก ว่า มันมีแรงดึงดูดที่สามารถดึงเอาเศษเหล็กทั้งเล็กใหญ่ไปยังตัวของมันได้, พวกพืชก็ได้รับอาหารจากใต้พื้นดิน ,สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็ได้ออกไปหาอาหารด้วยกับตัวของมัน แม้แต่มนุษย์เองก็เป็นผู้กระทำกิจการงานต่างๆด้วยตัวเอง และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะให้ความสัมพันธ์ของการกระทำเหล่านี้ไปยังพระเจ้าได้อย่างไร?  ถ้าเรายอมรับในการกระทำทั้งหลายเป็นการกระทำของพระองค์ เราก็ต้องปฏิเสธการกระทำของสิ่งอื่นด้วยหรือไม่?  หรือว่ายังมีหนทางอื่นอีกที่ยืนยันในการกระทำของสิ่งเหล่านั้นว่าอยู่ภายใต้การกระทำของพระเจ้าหรือไม่?

๑๑๗

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ ต้องมาพิจารณาในทัศนะต่างๆของบรรดานักวิชาการว่า ได้มีความเห็นกันอย่างไร

 ด้วยเหตุนี้ บรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามได้จัดแบ่งการกระทำของพระเจ้าออกเป็น สอง ประเภทได้ ด้วยกัน ดังนี้

๑.การกระทำที่เป็นแนวนอน หมายถึง มีผู้กระทำหลายคนในการกระทำหนึ่ง ที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับการกระทำนั้น มีความเสมอภาคกัน ตัวอย่างเช่น การช่วยเหลือของหลายคน ในการยกสิ่งของชิ้นหนึ่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ในสภาพเช่นนี้ การกระทำหนึ่ง จึงมีผู้กระทำหลายคน

๒.การกระทำที่เป็นแนวตั้ง หมายถึง การกระทำของหลายคน ที่มีผลต่อการกระทำหนึ่ง และในบางส่วนมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ซึ่งในการกระทำนี้มีผู้กระทำสองคน คือ ผู้กระทำโดยตรง (ฟาอิล มุบาชิร) และผู้กระทำโดยใช้สื่อ (ฟาอิล บิซตัซบีบ)

ผู้กระทำโดยตรง คือ ผู้ที่ทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น แต่การกระทำนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านผู้กระทำอีกคนหนึ่ง คือ ผู้กระทำโดยใช้สื่อ จากประเภททั้งสองของการกระทำ การเปรียบเทียบการกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งที่ถูกสร้าง กล่าวคือ การกระทำของพระองค์ คือ การกระทำที่เป็นแนวตั้ง เหมือนกับการนั่งและการเดินของคนๆหนึ่งซึ่งเขาเป็นผู้กระทำเองโดยตรง แต่ไม่ใช่ว่าการกระทำของเขา จะอยู่นอกเหนืออำนาจของพระเจ้า ถ้าหากว่าการกระทำของเขาไม่ได้เกิดขึ้นด้วยอำนาจของพระองค์แล้ว แน่นอนที่สุดการกระทำนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น จากความแตกต่างของการกระทำที่เป็นแนวนอนกับการกระทำที่เป็นแนวตั้ง ทำให้มีความเข้าใจในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

๑๑๘

 แต่ในความเป็นจริงนั้น การเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำนั้น มีความยากและละเอียดอ่อน ซึ่งจะพยายามทำให้มีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น โดยการอาศัยตัวอย่างต่างๆ ทั้งที่เป็นการกระทำที่เป็นแนวนอนและการกระทำที่เป็นแนวตั้ง เช่น ความสัมพันธ์ของจิตกับร่างกายของมนุษย์ โดยการสมมุติฐาน เช่น การเขียนของมนุษย์ ในขณะที่เขาคิดว่า เขานั้นเป็นผู้กระทำโดยตรง แต่ความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น การกระทำดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นได้จากการมีความสัมพันธ์ของจิตไปสู่ร่างกายของเขา ด้วยกับการใช้มือเป็นสื่อในการเขียน ซึ่งการกระทำนั้นเกิดขึ้นในสภาพที่เป็นแนวตั้ง เพราะฉะนั้นในสภาพเช่นนี้ ผู้ที่กระทำโดยตรง คือ มือของมนุษย์ การเกิดขึ้นได้โดยการสั่งงานหรือได้รับคำสั่งจากจิต ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวไปสู่การจับปากกาแล้วเอามาเขียนลงบนกระดาษ

ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งถูกสร้างนั้น มีความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันกับความสัมพันธ์ของจิตกับร่างกายของมนุษย์ กล่าวคือ การกระทำของสิ่งถูกสร้างมีความสัมพันธ์ไปสู่การกระทำของพระเจ้า โดยสรุปได้ว่า  การจำกัดของการกระทำที่เป็นอิสระเสรีในพระเจ้ากับการให้มีความสัมพันธ์กับการกระทำอื่นที่มิได้มาจากพระเจ้า ถือว่า ไม่ถูกต้อง

ด้วยเหตุนี้ ก็สามารถที่จะให้ความสัมพันธ์ของกระทำนั้นไปสู่พระเจ้า และสิ่งถูกสร้างได้โดยปราศจากความขัดแย้งและข้อผิดพลาดใดๆทั้งสิ้น

๑๑๙

   บทบาทของสื่อกลางในการเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า

    มีคำถามเกิดขึ้นว่า ถ้าหากว่าพระเจ้ามีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำของพระองค์ โดยที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใด แล้วทำไมในการเกิดขึ้นของการกระทำบางสิ่งบางอย่างต้องใช้สื่อกลางในการกระทำด้วย เช่น ในการสร้างหรือการบันดาล ซึ่งเป็นการกระทำหนึ่งของพระเจ้า แต่ทว่าการเกิดขึ้นของต้นไม้ต้นหนึ่ง ต้องผ่านปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่าง อาทิเช่น การได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ต้นไม้ต้นนั้นจึงจะเกิดขึ้นได้

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ ก็คือ สภาพในกิริยา การกระทำของพระเจ้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ สภาพ ด้วยกัน ดังนี้

๑.สภาพของโลกเหนือธรรมชาติ หมายถึง โลกที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุและสสาร ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า  จึงไม่ต้องมีเงื่อนไขใดๆหรือปัจจัยใด เพียงเพราะความประสงค์ของพระองค์เท่านั้น การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด  สภาพนี้จึงถูกเรียกว่า โลกแห่งการกระทำ

 (อาลัม มุน อัมร์)

๒. สภาพของโลกแห่งธรรมชาติ คือ โลกที่เกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสสาร ถูกเรียกว่า โลกแห่งการสร้างสรรค์ (อาลัม มุน ค็อลก์)

ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำของพระเจ้า ในสภาพเช่นนี้ จึงมีความต้องการเงื่อนไขและปัจจัยอื่นๆ เพราะว่า การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นวัตถุด้วยกับกฏระบบและระเบียบของโลก หากว่าการเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นวัตถุ ปราศจากการมีอยู่ของเงื่อนไขหรือปัจจัยอื่นใด สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175