อัลบะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของ

อัลบะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของ0%

อัลบะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของ ผู้เขียน:
กลุ่ม: หลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 4

อัลบะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของ

ผู้เขียน: เชค อบูอาดิล ฮาดีย์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 4
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 16836
ดาวน์โหลด: 431

รายละเอียด:

อัลบะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของ
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 4 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 16836 / ดาวน์โหลด: 431
ขนาด ขนาด ขนาด
อัลบะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของ

อัลบะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของ

ผู้เขียน:
ภาษาไทย
บะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของพระองค์? อัลบะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของพระองค์?
เรียบเรียงโดย: เชคอบูอาดิล ฮาดีย์



บทนำ
อัล-บะดาอฺเป็นหลักความเชื่อหนึ่งของสำนักคิดชีอะฮฺอิมามียะฮฺเหมือนกับเรื่องอื่นๆเช่นเรื่องตะกียะฮฺ และเรื่องร็อญอะฮฺฯลฯ อัล-บะดาอฺเป็นหลักความเชื่อที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอัล-กรุอานและซุนนะฮฺ

นักวิชาการและอุลามาอ์ผู้รู้ของชีอะฮฺไม่ว่าในอดีตที่ผ่านมาหรือใน ปัจจุบันได้เขียนถึงหลักการพร้อมทั้งนำเสนอหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺไว้อย่างมากมาย เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องบะดาอฺ แต่หน้าเสียดายอย่างยิ่ง ที่มีอุลามาอ์อะลิซซุนนะฮฺบางท่านได้กล่าวว่าบะดาอฺ ว่าเป็นความเชื่อที่ไม่มีในอัลกุรอานและอัล-หะดีษ เช่นคำกล่าวของท่านอิมามอัชอะรีย์ ท่านบัลคีย์ ท่านอิมามฟัครุร รอซีย์ และท่านอื่นๆ ซึ่เป็นเพราะว่าพวกเขาขาดความเข้าใจและมีอคติต่อชีอะฮฺ ทั้งๆที่เรื่องของบะดาอฺเป็นหลักความเชื่อที่สำคัญประการหนึ่งของมุสลิม

ความขัดแย้งและการไม่ยอมรับเรื่องบะดาอฺของบางสำนักคิด เนื่องจากการให้ความหมายคำว่า”บะดาอฺ”แตกต่างกัน กล่าวคือส่วนมากของนักวิชาการได้ให้ความหมายของคำว่าบะดหฺในเชิงภาษาว่า “การเปิดเผยหรือเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์ต่างๆของพระองค์อัลลอฮฺ”

ซึ่งเป็นความหมายที่เป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์ เพราะค้านกับคุณลักษณะ(ซิฟาต) และความรอบรู้ของพระองค์ ท่านอิมามฟัครุร-รอซีย์ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า”แท้จริงบรรดาอิมามของพวกรอฟิเฎาะฮฺ (ชีอะฮฺอิมามียะฮฺ) ได้กำหนดหลักความเชื่อสองประการแก่ชีอะฮฺของพวกเขาซึ่งเป็นหลักการที่เป็นไปไม่ได้นั้นคือ

๑.เรื่องบะดาอฺ ซึ่งพวกเขากล่าวว่า มีบางสิ่งอย่างที่ถูกกำหนดให้เกิดขึ้นต่อมนุษย์ แต่ต่อมาพระองค์ได้เปลี่ยนแปลงสิ่งนั้น
๒.เรื่องตะกียะฮฺ หมายถึงทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการ เขาจะทำ และถ้าการงานนั้นเป็นสิ่งที่ผิดพลาด ก็จะกล่าวว่า เราได้ตะกียะฮฺ”

ก่อนหน้าท่านฟัครุร-รอซีย์ ได้มีผู้กล่าวหาชีอะฮฺไว้เช่นกันอาทิเช่น ท่านบัลคีย์ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรฺของท่านว่า “มีกลุ่มหนึ่งถือว่าไม่ใช่มุสลิมเพราะพวกเขากล่าวว่า อัลบะดาอฺ เหมือนกับเรื่องของนัซค์ (การยกเลิกฮุกุมทางชัรอีย์) ซึ่งถือว่าอนุณาต เช่นพระองค์อัลลอฮฺได้บัญชาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หลังจากนั้นได้ยกเลิกไปเนื่องจากพระองค์ไม่ทรงรอบรู้มาก่อน”

ท่านอิมามอัชอะรีย์กล่าวว่า.. “พวกรอฟิเฎาะฮฺ (ชีอะฮฺ) ทุกคนยกยกเว้นกลุ่มน้อยได้กล่าวว่า แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺประสงค์สิ่งหนึ่ง หลังจากนั้นทรงเปลี่ยนแปลง”
และท่านอื่นๆอีกมากมายที่ได้กล่าวหาในทำนองนี้ ซึ่งการกล่าวใส่ร้ายหรือกล่าวหาชีอะฮฺในเรื่องบะดาอฺ ถือว่าเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง และพวกเขาไม่มีความเข้าใจที่ดีพอต่อเรื่องบะดาอฺ อินชาอัลลอฮฺในบทนำเราจะอธิบายถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่า “อัลบะดาอฺ”ว่าหมายถึงอะไร?และความหมายใดที่เป็นไปไม่ได้ และความหมายใดที่เป็นไปได้สำหรับพระองค์

ตอนที่๑ ข้อมูลพื้นฐาน
๑.ความหมายของคำว่า”บะดาอฺ” ตามพจนานุกรม
คำว่า”บะดาอฺ” (بداء ) มาจากรากศัพท์ของคำว่า”บัดอันหรือบุดวันหรือบะดาอัน”
(بدأ / بدوأ / بداءً)

“บะดาอฺ” (بداء) เป็นกริยาอดีตกาล (فعل ماضى)
“ยับดู” (يبد ) เป็นกริยาปัจจุบันกาล (فعل مضارع)
“บัดวันหรือบะดาอัน” (بدوا/ بداءً) รากศัพท์ (มัศดัร)ให้ความหมายว่า การเปิดเผย“หมายถึงเรื่องนั้นได้เปิดเผยสำหรับเรา ซึ่งก่อนหน้านั้นมันได้ถูกปิดบังอยู่

อัล-กุรอานได้กล่าวถึงคำว่า บะดาอฺ ในเชิงภาษาไว้ดังนี้ว่า..
وَبَدَا لَهُمْ سَيِّئَاتُ مَا كَسَبُوا وَحَاقَ بِهِم مَّا كَانُوا بِهِ يَسْتَهْزِئُون
“และความชั่วทั้งหลายที่พวกเขาได้กระทำไว้ก็จะ (เปิดเผย) ปรากฏขึ้นต่อหน้าพวกเขา และสิ่งที่พวกเขาได้เคยเยาะเย้ยไว้นั้นก็ห้อมล้อมพวกเขา” (ซุมัรฺ /๔๘)

ثُمَّ بَدَا لَهُم مِّن بَعْدِ مَا رَأَوُاْ الآيَاتِ
“ต่อมาพระองค์อัลลอฮฺได้ให้ความกระจ่างชัดต่อพวกเขาหลังจากที่พวกเขาได้เห็นสัญลักษณ์ต่างๆ” (ยูซุฟ/ ๓๕)

ทรรศนะนักภาษาศาสตร์เกี่ยวกับความหมายของคำว่าบะดาอฺ

๑.ท่านรอฆิบอิศฟะฮานีย์ได้กล่าวว่า
“บะดาอฺ คือการเปิดเผยของสิ่งๆหนึ่ง ให้ความหมายเหมือนกับคำว่า”ซอฮะร่อ”( ظهر )

ดังที่กุรอานได้กล่าวไว้ว่า

وَبَدَا لَهُم مِّنَ اللَّهِ مَا لَمْ يَكُونُوا يَحْتَسِبُونَ
“และได้เปิดเผยต่อพวกเขาสิ่งที่มาจากอัลลอฮฺ” (ซุมัรฺ/ ๔๗)

ท่านอะบุลฮิลาล อัสการีย์กล่าว่า
“บะดาอฺ คือการเปิดเผย ให้ความหมายเหมือนกับคำว่า (ซุฮูร) แต่มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตรงที่ว่า อัลบะดาอฺ นั้นคือการเปิดเผยสิ่งหนึ่งออกมาโดยที่ไม่ได้มีเจตนาไว้ก่อนล่วงหน้า ส่วนซุฮุรนั้นบางครั้งมีเจตนาและบางครั้งไม่มีเจตนา”

๓.เจ้าของตำรามิศบาหุลมุนีรฺกล่าวว่า..
“บะดาอฺ หมายถึง การเปิดเผยออกมาของสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่รู้หรือรู้มาก่อนก็ได้”

๔.ท่านเชคฎูซีย์กล่าวว่า.. “อัลบะดาอฺในเชิงภาษาหมายถึงการเปิดเผย เช่นประโยคที่ว่า “รูปภาพของเมืองนั้นได้เปิดเผยต่อเราอย่างกระจ่างชัด”

๕.ท่านเชคมุฟีดกล่าวว่า....“อัลบะดาอฺในเชิงภาษาหมายถึง การเปิดเผย”

ท่านมุฮัมมัดริฏอ มุศอฟฟัรฺกล่าวว่า..
“อัลบะดาอฺ ในเชิงภาษาคือการเปิดเผยหรือเปลี่ยนแปลงทรรศนะใดทรรศนะหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยรู้มาก่อน หรือการเปลี่ยนแปลงการกระทำใดการกระทำหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่รู้มาก่อนว่าจะเปลี่ยน”

ท่านมุศอฟฟัรฺได้กล่าวต่ออีกว่า “ความหมายข้างต้นของคำว่าบะดาอฺ ถือว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์อัลลลอฮฺ”

ดังนั้นสรุปได้ว่า “อัลบะดาอฺ” ในเชิงภาษาหมายถึง การเปิดเผยหรือการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม.

๒.ความหมายของคำว่าบะดาอฺตามทรรศนะของนักปราชญ์
บรรดาอุลามาอฺได้ขัดแย้งกันในการให้ความหมายในเชิงวิชาการของคำว่า บะดาอฺ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ทรรศนะดังนี้

๑.ทรรศนะของอุละมาอ์ฝ่ายอลิซซุนนะฮฺ
๒.ทรรศนะของอุละมาอ์ฝ่ายชีอะฮฺอิมามียะฮฺ

ทรรศนะแรกได้กล่าวว่า หลักความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺ ถือว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เพราะว่าคำว่า บะดาอฺ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การสร้างต่างๆของพระองค์ ซึ่งเป็นเหตุให้ความรู้ของพระองค์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย และเป็นที่มาของความเชื่อที่ว่าพระองค์นั้นไม่ได้มีความรู้ล่วงหน้าในการเกิดสิ่งใดๆเลย
และผู้ทีให้ความหมายเช่นนี้คือ ท่านอิมามอะบุลฮะซัน อัชอะรีย์ อัลบัลคีย์ ฟัครุรฺรอซีย์ และท่านอื่นๆ

ดังที่อิมามอัชอะรีย์ได้กล่าวว่า “อัลบะดาอฺ ตามหลักความเชื่อของพวกรอฟีเฎาะฮฺ (ชีอะฮฺ) ทั้งหมดคือพระองค์อัลลอฮฺต้องการจะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ต่อมาได้เปลี่ยนแปลง”

อิมามฟัครุรฺรอซีย์กล่าวว่า “บรรดาพวกรอฟีเฎาะฮฺ (ชีอะฮฺ) กล่าวว่า เมื่อสิ่งหนึ่งจะเกิดอย่างแน่นอน แต่ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป สิ่งนั้นถือว่าเป็นบะดาอฺของพระองค์อัลลอฮฺ”

ทรรศนะที่สอง เป็นทรรศนะของอุละมาอฺฝ่ายชีอะฮกล่าวว่า อัลบะดาอฺเหมือนกับเรื่อง นัซค์ (การยกเลิกบทบัญญัติบางประการ ซึ่งขึ้นอยู่กับความ เหมาะสม) เพียงแต่บะดาอฺ เป็นการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงการของพระองค์อัลลอฮในแง่การสรรสร้าง (ด้านตักวีนีย์) ส่วนนัซค์ เป็นการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทางบทบัญญัติ (ตัชรีอีย์) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางชัรฺอีย์นั้น พระองค์ทรงรู้ล่วงหน้าและจะเปิดเผยให้เห็นไม่ใช่ว่าพระองค์ทรงปรารถนา หรือต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต่อมารู้ว่าสิ่งนั้นไม่ดีจึงทำการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าการกล่าวเช่นนี้เท่ากับพระองค์ทรงไร้ความรอบรู้

ท่านเชคมุฟีดได้กล่าวว่า “หลักความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺตามแนวทางของชีอะฮฺ คือการเปิดเผยหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการเปิดเผยให้เห็นถึงสิ่งที่มาจากอัลลอฮฺ (ซบ.) โดยที่ก่อนหน้านั้นเป็นที่กระจ่างชัดอยู่แล้วสำหรับพระองค์ (แต่มนุษย์ต่างหากไม่รู้) ซึ่งไม่ใช่การเชื่อว่าพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งโดยที่พระองค์ไม่เคยรู้มาก่อน เพราะอัลกุรอานได้ยืนยันถึงความรอบรู้ของพระองค์ทั้งทุกอย่าง ทั้งก่อนและหลังการสร้าง”
ท่านเชคซะดูกกล่าวว่า“หลักความเชื่อเรื่องบะดาอฺ ตามแนวทางของชีอะฮฺ ไม่ได้หมายความว่าพระองค์อัลลอฮฺไม่รู้มาก่อนหลังจากนั้นจึงได้เปลี่ยนแปลง แต่ทว่าเรามีความเชื่อว่าสำหรับพระองค์นั้นมีซิฟาต (พระลักษณ์)หนึ่งคือบะดาอฺ ซึ่งพระองค์จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในงานสร้างของพระองค์ก็ได้ หมายถึงพระองค์ประสงค์ที่จะสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต่อมาได้ยกเลิกการสร้างนั้น หรือได้มีบัญชาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต่อมาได้ยกเลิกบัญชานั้น (ประหนึ่งเป็นการเปลี่ยนแผนการ) ดุจดังเช่นเรื่องการยกเลิกกิบละฮฺ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้พระองค์ทรงรอบรู้มาก่อนถึงความเหมาะสม ดังนั้นใครก็ตามที่กล่าวว่า “พระองค์อัลลอฮฺทรงมีสิทธิ์ที่จะกระทำสิ่งใดก็ได้ตามพระประสงค์ หรือทรงเปลี่ยนแปลง หรือทำลายสิ่งใดก็ได้ตามพระประสงค์..ซึ่งสิ่งนี้คือความเชื่อที่มีต่อเรื่อง บะดาอฺ”

ท่านอัลลามะฮฺฏ่อบาฏ่อบาอีย์กล่าวว่า.. “แท้จริงแล้วหลักความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺ คือการเปิดเผยสิ่งหนึ่งที่แตกต่างไปจากกฎเกณฑ์แรก หมายถึงยกเลิกกฎเกณฑ์การสร้างครั้งแรกแล้วมากำหนดใหม่ครั้งที่สอง โดยทั้งสองสภาวะอยู่ภายใต้การรับรู้ของพระองค์”

ท่านอัลลามะฮฺชุบบัรฺกล่าวว่า. “หลักความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺไม่ใช่ดังความหมายของผู้รู้บางท่านที่ คิดเดาเอาเอง แล้วมากล่าวหาต่อแนวทางที่สัจธรรมว่า บะดาอฺหมายถึงการเปิดเผยหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นพระองค์ไม่รู้ การกล่าวเช่นนี้เท่ากับว่าพระองค์อัลลอฮฺมิได้ทรงรอบรู้ และเป็นการอนุญาตที่พระองค์จะทรงกระทำในสิ่งที่น่ารังเกียจ ซึ่งความหมายที่แท้จริงของคำว่าบะดาอฺ ตามแนวทางของชีอะฮฺนั้น ตรงกับเหตุผลทางปัญญาและสอดคล้องกับอัล-กุรอานและหะดีษอย่างยิ่ง”

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวไว้ว่า “ใครก็ตามที่ให้ความหมายของคำว่า บะดาอฺ ว่าแท้จริงแล้วพระองค์อัลลอฮฺได้เปิดเผย หรือแสดงสิ่งหนึ่งออกมา (ในการเปลี่ยนแปลง) ซึ่งก่อนหน้านั้นพระองค์ไม่ทรงทราบมาก่อน ณ เราเขาคือผู้ปฏิเสธต่อพระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่”

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า...
“ใครก็ตามที่คิดว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (การสร้าง) ในสภาพที่พระองค์ไม่ทรงทราบมาก่อน ดังนั้นท่านจงออกห่างจากเขาเถิด”

วิเคราะห์ความหมายของบะดาอฺ ในเชิงวิชาการ
วิเคราะห์ทรรศนะที่ ๑

ทรรศนะของอุละมาอฺฝ่ายชีอะฮฺบางท่านเกี่ยวกับบะดาอฺ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้
๑. การให้ความหมายคำว่า บะดาอฺ คือการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งของพระองค์อัลลอฮฺ ซึ่งก่อนหน้านั้นพระองค์ไม่ทรงรู้ ถือว่าเป็นการเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างยิ่ง และถือว่าไม่เข้าใจหลักความเชื่อในเรื่องบะดาอฺของสำนักคิดชีอะฮฺอิมามียะฮฺ เพราะว่าถ้าย้อนกลับไปดูตำราต่างๆ ของอุละมาอฺชีอะฮฺจะพบบะดาอฺนั้นหมายถึง การเปิดเผยสิ่งใดสิ่งหนึ่งของพระองค์อัลลอฮฺแก่มนุษย์ ซึ่งก่อนหน้านั้นพระองค์ทรงรู้อยู่แล้ว มนุษย์ตางหากที่ไม่รู้ อัล-กุรอานได้ยืนยันถึงความรอบรู้ของพระองค์ไว้ ทั้งก่อนและหลังการสร้างและทุกสรรพสิ่งที่มีอยู่ในชั้นฟ้าและแผ่นดิน เช่นกล่าวว่า

وَمَا يَخْفَى عَلَى اللّهِ مِن شَيْءٍ فَي الأَرْضِ وَلاَ فِي السَّمَاءِ
“ไม่มีสิ่งใดถูกปิดบังไปจากพระองค์อัลลอฮฺ ทั้งในแผ่นดินและชั้นฟ้า” (อิบรอฮีม/๓๘)

إِن تُبْدُوا شَيْئًا أَوْ تُخْفُوهُ فَإِنَّ اللَّهَ كَانَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمًا
“หากพวกเจ้าเปิดเผยสิ่งใดหรือปิดบังมัน แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงรอบรู้ทุกสิ่ง” (อะฮฺซาบ/๕๔)

๒. แน่นอนถ้าความหมายของบะดาอฺ คือการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งของพระองค์อัลลอฮฺ โดยที่ก่อนหน้านั้นพระองค์ไม่ทรงรู้ อุละมาอฺฝ่ายชีอะฮฺทุกท่าน ถือว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์ และยังได้ปฏิเสธความหมายและความเชื่อดังกล่าวนนั้นที่มีต่อพระองค์อัลลอฮฺ ดังนั้นคำพูดของอุละมาอฺฝ่ายอะลิซซุนนะฮฺที่กล่าวหาชีอะฮฺเกี่ยวกับเรื่องบะ ดาอฺ เป็นการใส่ร้ายชีอะฮฺ และปฏิเสธความจริงที่มีอยู่

๓. สมมติว่าท่านกล่าวอ้างว่าหลักความเชื่อเกี่ยวกับเรื่อง บะดาอฺ เป็นสิ่งที่เหลวไหลและเป็นไปไม่ได้ประกอบกับไม่มีหลักฐานยืนยัน ดังนั้นหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺ ที่ปรากฏอยู่ในอัล-กุรอานและซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) พวกท่านจะอธิบายอย่างไร ? ดังจะขอหยิบยกมาสัก ๒-๓ ตัวอย่างดังต่อไปนี้

อัล-กุรอานกล่าวว่า
لِكُلِّ أَجَلٍ كِتَابٌ يَمْحُو اللّهُ مَا يَشَاءُ وَيُثْبِتُ وَعِندَهُ أُمُّ الْكِتَابِ
“สำหรับทุกๆชีวิต ได้ถูกบันทึกไว้แล้ว พระองค์อัลลอฮฺจะลบ (สิ่งที่บันทึกนั้น) ตามพระประสงค์ของพระองค์ และพระองค์จะให้คงอยู่ (ตามพระประสงค์ของพระองค์) และ ณ พระองค์ มีแม่แบบแห่งการบันทึก” (๑๓/๓๙)

อัล-หะดีษ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า...
“พระองค์อัลลอฮฺได้เปิดเผย (การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ แก่มนุษย์) เพื่อจะได้ทดสอบพวกเขา”

ท่านอิบนิฮะยัร อัสกิลานีย์ (ผู้อรรถาธิบายศ่อฮีย์บุคอรีย์)ได้กล่าวว่า.. “การบะดาอฺของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) หมายถึงพระองค์ทรงความรู้มาก่อนแล้ว และพระองค์ประสงค์ที่จะเปิดเผยความรู้นั้นออกมา ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ทรงเปิดเผยสิ่งหนึ่ง โดยที่พระองค์ไม่ทรงรู้มาก่อนหน้านั้น เพราะว่าการให้ความหมายเช่นนี้ เป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์”

ท่านอิบนิอะษีรฺกล่าวว่า “การให้ความหมาย บะดาอฺ (ตามหะดีษของท่านศาสดา) ว่าหมายถึงการรับรู้ถึงสิ่งหนึ่ง (ต่อการเปลี่ยนแปลง) โดยก่อนหน้านั้นอัลลอฮฺไม่เคยรู้มาก่อน ถือว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์”

และอุละมาอฺอหฺลิซซุนนะฮฺท่านอื่นๆอีกมากมายได้แสดงทรรศนะเอาไว้ ซึ่ง รายละเอียดจะนำมากล่าวในบทต่อไป
ส่วนทรรศนะที่สองเป็นทรรศนะที่ถูกยอมรับและถูกต้อง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำการวิเคราะห์ใดๆ

๓. ความหมายของบะดาอฺที่เป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.)
การให้ความหมายเชิงภาษาของคำว่า บะดาอฺ ว่าเป็นการเปิดเผยหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยรับรู้มาก่อน เช่นสมมติว่านาย ก ถูกกำหนดไว้ว่าอายุ ๒๐ ปี เขาต้องตาย และเมื่ออายุเขาครบ ๒๐ ปีพระองค์อัลลอฮฺได้เปลี่ยนแปลงบัญชานั้นนั้น โดยที่พระองค์ไม่ทรงรู้มาก่อนว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงพระบัญชานั้น ดังนั้นถือว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.)ด้วยเหตุผลที่ว่า

๑. อัล-กุรอานได้ยืนยันถึงความรอบรู้ของพระองค์ต่อทุกสรรพสิ่ง

وَمَا يَعْزُبُ عَن رَّبِّكَ مِن مِّثْقَالِ ذَرَّةٍ فِي الأَرْضِ وَلاَ فِي السَّمَاء
“ไม่มีสิ่งใดปกปิดพระผู้อภิบาลของเจ้าได้ แม้จะเล็กเท่าผงธุลีทั้งที่อยู่ในแผ่นดินและชั้นฟ้า” (ยูนุส/๖๑)

وَمَا يَخْفَى عَلَى اللّهِ مِن شَيْءٍ فَي الأَرْضِ وَلاَ فِي السَّمَاءِ
“ไม่มีสิ่งใดถูกปิดบังไปจากพระองค์อัลลอฮฺ ทั้งในแผ่นดินและชั้นฟ้า” (อิบรอฮีม/๓๘)

๒.อัล-หะดีษ ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า
“ทุกๆสิ่งที่เป็นความลับ ณ พระองค์นั้นเปิดเผย และทุกๆสิ่งที่อำพราง ณ พระองค์นั้นชัดเจน”

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
“ไม่มีการบะดาอฺใดของพระองค์อัลลอฮฺ นอกจากพระองค์ทรงรู้มาก่อนหน้านั้นแล้วว่า จะต้องเปลี่ยนแปลง”

“พระองค์จะไม่บะดาอฺ (เปลี่ยนแปลง) สิ่งใดที่มาจากความเขลาของพระองค์”

“ใครก็ตามที่คิดว่าพระองค์ทรงบะดาอฺสิ่งใดในสภาพที่พระองค์ไม่ทรงรู้ล่วง หน้ามาก่อน ดังนั้นจงออกห่างจากเขาผู้นั้นเถิด”

“ใครก็ตามคิดว่าพระองค์ทรงบะดาอฺสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความผิดพลาด ถือว่าเป็นกาเฟรต่อพระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่”

๓.หลักฐานทางปรัชญา
ถ้ากล่าวว่าบะดาอฺ คือการเปิดเผยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นได้ถูกปิดบังอยู่ กล่าวคือถ้าพระองค์จะเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยที่ก่อนหน้านั้นพระองค์ไม่ทรงรู้มาก่อนว่าจะต้องเปลี่ยนแปลง ถือว่าพระองค์ไม่ใช่พระผู้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่ง อันถือว่าเป็นที่มาของความโง่เขลาแห่งพระองค์ แน่นอนความเชื่อเช่นนี้เป็นไปไม่ได้ ด้วยกับเหตุผลที่ว่า

ก. ตามหลักของปรัชญาได้พิสูจน์ไว้ว่า พระผู้เป็นเจ้านั้นนั้นต้องมีซิฟาต (พระลักษณะ) ที่สมบูรณ์ทุกอย่างโดยไม่มีข้อบกพร่องใดๆ เช่นความสามารถ หรือความรู้ ซึ่งความสามารถและความรอบรู้ของพระองค์นั้นต้องครอบคลุมเหนือทุกสรรพสิ่ง

ข.ถ้าพระผู้เป็นเจ้ามีคุณลักษณะสมบูรณ์ไม่ครบทุกสภาพ หมายบางสภาวะทรงมี และบางสภาวะไม่ทรงมี เท่ากับซาต (อาตมันสากล) ของพระองค์นั้นมีความบกพร่อง เพราะซิฟาตที่สัมบูรณ์ของพระองค์ เช่น ความสามารถ หรือความรู้ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีสำหรับพระองค์ แต่พระองค์ไม่ทรงมี

ค.เมื่อซาตของพระองค์บกพร่อง เท่ากับพระองค์นั้นได้ถูกประกอบขึ้นระหว่างสิ่งที่มีกับสิ่งที่ไม่มี

ง.เมื่อซาตถูกประกอบขึ้นด้วยกับสิ่งที่มี และไม่มี เท่ากับซาตของพระองค์มีก็ได้ไม่มีก็ได้ (อยู่ในสภาพของอิมกาน) หมายถึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีและจะไม่มี

จ.เมื่อพระองค์มีสภาพเป็นอิมกาน (มีก็ได้ไม่มีก็ได้ค่าเท่ากัน) เท่ากับซาตของพระองค์ต้องพึ่งพาไปยังสิ่งที่ให้พระองค์มี (อิลละฮฺอัศลี)

ฉ.เมื่อซาตของพระองค์ต้องพึ่งพา และมีสภาพเป็นแค่มุมกิน ถือว่าค้านกับสมมติฐานแรก เพราะการมีอยู่ของพระองค์ทรงมีโดยไม่ต้องพึ่งสาเหตุใด พระองค์ทรงเป็นสาเหตุของการมีอยู่ของพระองค์เอง ด้วยเหตุนี้การที่พระองค์จะขาดหรือบกพร่องซิฟาตที่สัมบูรณ์ (กะมาล) อันใดอันหนึ่งนั้นย่อมเป็นไปได้สำหรับพระองค์.

๔.ความหมายของบะดาอฺที่เป็นไปได้สำหรับอัลลอฮฺ (ซบ.)
จากการวิเคราะห์ถึงหลักความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺ ได้มีอุละมาอฺจำนวนมากมายนำหลักฐานและเหตุผลมาพิสูจน์ และถือว่าเป็นหลักการที่เป็นไปได้ที่มุสลิมทั้งหลายต้องศรัทธา ซึ่งความหมายที่อนุญาตและเป็นไปได้สำหรับพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) สามารถกล่าวได้ ดังนี้ อัล-บะดาอฺ เป็นหลักความเชื่อที่มีต่อ ซิฟาตซาตี ๒ ประการของพระองค์กล่าวคือ

๑.เดชานุภาพทุกกรณีของพระองค์
๒.ความรอบรู้ที่มีเหนือสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งก่อนและหลังการสร้าง
ซิฟาตแรก มุสลิมทุกคนมีความเชื่อว่าพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเดชานุภาพ และสามารถที่จะสร้างหรือเนรมิตได้ทุกอย่าง โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น อัล-กุรอานและซุนนะฮฺได้ยืนยันเรื่องนี้เอาไว้ อัล-กุรอานว่า “แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺ ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง”

ซิฟาตที่สอง ซิฟาตอีกประการหนึ่งที่มุสลิมต้องเชื่อ คือความรอบรู้ของพระองค์ พระองค์ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทั้งก่อนและหลังการเกิด และก่อนและหลังการสร้าง ซึ่งพระองค์ทรงรู้ถึงรายละเอียดของสิ่งนั้นอย่างชัดแจ้งอัล-กุรอานกล่าว ว่า

وَمَا يَعْزُبُ عَن رَّبِّكَ مِن مِّثْقَالِ ذَرَّةٍ فِي الأَرْضِ وَلاَ فِي السَّمَاء
“ไม่มีสิ่งใดปกปิดพระผู้อภิบาลของเจ้าได้ แม้จะเล็กเท่าผงธุลีทั้งที่อยู่ในแผ่นดินและชั้นฟ้า” (ยูนุส/๖๑)

“แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งอีกทั้งทรงปรีชาญาณ”

จากสองคุณลักษณะ (ซิฟาตซาตี) ของพระองค์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น สามารถเข้าใจได้ว่า ความหมายของบะดาอฺคือ
“การที่อัลลอฮฺทรงเปลี่ยนแปลงหรือเปิดเผยสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อบ่าว ซึ่งสิ่งที่พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลง หรือเปิดเผยนั้นพระองค์ทรงรู้มาก่อนแล้วทั้งก่อนและหลังการสร้าง”

ดังนั้นความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺถือว่า ไม่ได้ปฏิเสธหรือขัดแย้งกับเดชานุภาพ ความสามารถและความรอบรู้ของพระองค์ แต่ทว่ายังได้สนับสนุนความเชื่อต่อสองซิฟาตที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์อีกต่างหาก
นอกจากนั้นแล้วความเชื่อต่อเรื่องบะดาอฺ ยังถือว่าเป็นการปฏิญาณว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงยิ่งใหญ่ ทรงเดชานุภาพ และทรงรอบรู้ยิ่ง อีกทั้งยังเป็นการเทิดทูนความเกรียงไกรของพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นการอิบาดะฮฺที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ดังที่ท่านอิมามซอดิก (อ.)ได้กล่าวว่า
“ไม่มีการเทิดเกียรติใดของพระองค์อัลลอฮฺที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าการเชื่อ เรื่องบะดาอฺ”
“ไม่มีการอิบาดะฮฺของมวลสรรพสิ่งใดที่มีต่อพระองค์อัลลอฮฺ จะยิ่งใหญ่ไปกว่าเรื่องบะดาอฺ”

๕.ทรรศนะของบรรดาอุละมาอฺอะลิซซุนนะฮฺต่อเรื่องบะดาอฺ
ในประเด็นนี้จะนำเสนอทรรศนะของอุละมาอฺอะลิซซุนนะฮฺเกี่ยวกับเรื่องบะดา อฺ เพื่อพิสูจน์และแสดงให้เห็นว่าความเชื่อในเรื่องนี้ เป็นอุศุลุดดีนของบรรดามุสลิมทั้งหลาย และเป็นหลักความเชื่อที่มาจากอัล-กุรอานและอัลหะดีษ

๑.ท่านฎ็อบรีย์ (เสียชีวิตเมื่อปี ฮ.ศ.ที่๓๑๐)ได้อธิบายโองการที่ ๓๙ ซูเราะฮฺอัดเราะดฺ โดยนำเรื่องราวของศ่อฮาบะฮฺและตาบีอีนบางกลุ่มที่ได้เรียกร้องขอพรต่อพระ องค์อัลลอฮฺ (ซบ.)ให้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และให้พระองค์นั้นนำพวกเขาออกห่างจากผู้ที่โชคร้าย (โดยให้บันทึกชะตากรรมของพวกเขาให้กลายเป็นผู้โชคดี) ดังที่ท่านอุมัร อิบนิ คัฎฎอบได้กล่าวขณะที่ท่านทำการฎ่อวาฟกะบะฮฺว่า “โอ้ข้าแต่พระองค์ ถ้าพระองค์ได้บันทึกชะตากรรมของข้าฯ ให้อยู่ร่วมกับกลุ่มชนผู้ที่มีความสุข ขอทรงบันดาลสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นด้วยเถิด แต่ถ้าพระองค์ได้บันทึกชะตากรรมของข้าฯ ให้อยู่ร่วมกับผู้กระทำความผิดบาปได้โปรดลบสิ่งนั้นออกเถิด และได้โปรดบันทึกชะตากรรมของข้าฯ ใหม่ให้อยู่ร่วมกับผู้ที่มีความผาสุกเถิด เพราะว่าพระองค์ทรงลบ และทรงกำหนดทุกสิ่งตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และ ณ พระองค์นั้นมีแม่แบบแห่งการบันทึก”

ท่านฎ็อบรีย์ ได้บันทึกโดยรายงานมาจาก อิบนิ ซัยดฺว่า โองการที่ว่า

يَمْحُو اللّهُ مَا يَشَاءُ وَيُثْبِتُ وَعِندَهُ أُمُّ الْكِتَابِ
“และพระองค์อัลลอฮฺทรงลบสิ่งใดก็ตามที่ประสงค์ และกำหนดสิ่งใดกตามที่พระองค์ประสงค์” (เราะดุ /๓๙)

ได้ถูกประทานให้กับบรรดาศาสดา สภาพใดที่พระองค์ทรงประสงค์ พระองค์จะกำหนด และทรงประทานประโยคสุดท้ายที่กล่าวว่า “และ ณ พระองค์มีแม่แบบแห่งการบันทึก คือ ณ ที่นั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ”

๒.ท่านซะมัคชะรีย์ (ตายเมื่อปี ฮ.ศ. ที่ ๕๒๘)ได้อธิบายโองการที่ ๓๙ ซูเราะฮฺเราะดฺว่า”พระองค์จะเปลี่ยนแปลงยกเลิกสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการยก เลิกนั้นและจะกำหนดการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่พระองค์เห็นถึงความเหมาะสมในการกำหนดของพระองค์..”

๓.ท่านฟักรุรอซียฺ(ตายฮฺ.ศ.ที่๖๐๘)ได้กล่าวตัฟซีรโองการที่๓๙ซูเราะ ฮฺเราะดฺว่า “หลักความเชื่อต่อเรื่องนี้มี ๒ ทรรศนะดังนี้
๑.๓ ทรรศนะที่หนึ่งโองการดังกล่าวได้กล่าวถึงทุกเรื่องที่พระองค์จะเปลี่ยนแปลง (บะดาอฺ) เพราะว่าโองการนี้ได้กล่าวไว้อย่างกว้างไม่ได้เฉพาะเจาะจงเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง ดังที่พวกเขา (กลุ่มนี้) กล่าวว่า แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺจะลบ (เปลี่ยนแปลง) ริซกีหรือเพิ่มก็ได้ (ตามพระประสงค์ของพระองค์) ตลอดจนในเรื่องความตาย ชีวิตที่ดี ชีวิตอัปโชค อีมาน(ศรัทธา) และการปฏิเสธ ฯลฯ นี่คือทรรศนะของอุมัรฺ อิบนิ มัซอูด และผู้ที่มีความคิดเช่นนี้ พวกเขาจะขอพรต่อพระองค์อัลลอฮฺเสมอว่าให้พระองค์กำหนดชีวิตที่ดีต่อพวกเขา และทรงลบการมีชีวิตที่อัปโชค นี่คือการตีความ (ตะอฺวีล) ซึ่งท่านญาบีรฺได้รายงานมาจากท่านรอซูล (ศ็อลฯ)

๓.๒.ทรรศนะที่สอง “แท้จริงโองการดังกล่าวได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งไม่ดีบางกรณีเท่านั้น”



โปรดติดตามต่อ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
บะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของพระองค์?

หลังจากนั้นท่านฟัครุรฺรอซีย์ ได้กล่าวอีกว่า “ถ้ามีใครกล่าวแย้งว่า แท้จริงแล้วสิ่งที่กำหนดไว้แล้วก่อนหน้านั้น ไม่สามารถจะลบหรือเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นโองการดังกล่าวท่านจะอธิบายอย่างไร ?

ขออธิบายว่า “แท้จริงการลบหรือเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการกำหนด (สิ่งต่างๆ)เหล่านี้ได้กำหนดไว้แล้ว ดังนั้นพระองค์จะไม่ลบหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใด นอกจากสิ่งนั้นอยู่ในความรอบรู้ของพระองค์และอยู่ในการกำหนดของพระองค์”

๔.ท่านกุรฺตุบีย์กล่าวว่า การลบหรือการเปลี่ยนแปลง และการกำหนดกฏเกณฑ์ของพระองค์ (โองการที่ ๓๙ ซูเราะฮฺเราะดุ) ให้ความหมายครอบคลุมทุกสิ่งหรือไม่ ? หรือแค่บางกรณี ? เราขอตอบว่า ไม่สามารถจะวินิจฉัยหรือตีความได้ แต่ทว่าจากหะดีษที่ถูกรายงานมาสามารถกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นอยู่ ณ พระองค์ ถ้าไม่เช่นนั้นตามโองการที่ได้กล่าวผ่านไปจะให้ความหมายรวมไปถึงทุกสิ่ง และถือว่าเป็นทรรศนะที่เป็นไปได้มากที่สุด”

หลังจากนั้นท่านกุรฺฎุบีย์ได้นำริวายะฮฺจาก ดุอาอฺของท่านอุมัรฺ อิบนิ คัฎฎอบ ขณะที่ทำการฎ่อะวาฟ และดุอาอฺของอับดุลลอฮฺ อิบนิมัสอูดมากล่าว และเขาได้กล่าวอีกว่า “ริวายะฮฺดังกล่าวได้ถูกนำมารายงานในศ่อฮีย์บุคคอรีย์ และมุสลิม จากรายงานของอุบูฮุรอยเราะฮฺว่าฉันได้ยินท่านรอซูลกล่าวว่าว่า

“ใครก็ตามปรารถนาจะมีความสุขอยู่กับการได้รับ ริซกี และมีอายุยืนยาว ดังนั้นจงทำดีต่อญาติพี่น้องเถิด” (อย่าตัดความสัมพันธ์ทางครอบครัว)

๕. ท่านอิบนิกะษีรฺ กล่าวประโยคหนึ่งเกี่ยวกับ บะดาอฺหลังจากที่ได้เสนอหะดีษเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์บางประการของ พระองค์อัลลอฮฺว่า “แท้จริงความหมายของหะดีษเหล่านี้ คือพระองค์อัลลอฮฺทรงยกเลิก และทรงกำหนดทุกสิ่งตามที่พระองค์ทรงประสงค์ และได้มีรายงานจากท่านอิมามอหฺมัด อิบนิฮันบัล ซึ่งรายงานมาจากท่านเซาบานว่าท่านรอซูลกล่าวว่า “แท้จริงมีบุคคลหนึ่งริซกีเป็นสิ่งต้องห้ามต่อเขา เนื่องจากความบาปที่เขาได้กระทำ และสิ่งที่ถูกกำหนดต่างๆจะไม่ถูกปลดเปลื้องออกไปจากเขา นอกจากดุอาอฺ และชีวิตจะไม่ยืนยาวนอกจากการกระทำดี”

ท่านอิบนิกะษีรฺได้นำริวายะฮฺบทหนึ่งจาก อิบนุอับบาสว่า “แท้จริงการบันทึกของพระองค์อัลลอฮฺมี ๒ ประเภท หนึ่งคือการบันทึกซึ่งพระองค์จะทรงลบหรือกำหนดเมื่อไหร่ก็ได้ตามพระประสงค์ ของพระองค์ และการบันทึกประเภทที่สอง อยู่ ณ พระองค์เรียกว่าอุมมุลกิตาบ (แม่แบบที่ไม่มีการลบอีกต่อไป)”

๖.ท่านซุยูฎีย์ได้กล่าวประโยคหนึ่งเกี่ยวกับเรื่อง บะดาอฺ หลังจากที่ได้นำโองการที่ ๓๙ ซูเราะฮฺเราะดุมาอธิบายว่า “มีบุคคลหนึ่งได้ประกอบความดีด้วยกับการภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺอยู่ช่วงเวลา หนึ่ง และต่อมาเขาได้กระทำความผิดบาป และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นเมื่อเขาตายเขาจะตายในสภาพของผู้หลงทาง นี่คือการเปลี่ยนแปลงและการกำหนดของพระองค์อัลลอฮฺ และในทางกลับกันถ้าบุคคลใดได้กระทำความผิดบาปต่อพระองค์ และต่อมาเขาได้กลับมาทำความดี จนกระทั่งเขาได้ตาย ซึ่งถือว่าเขาได้ตายอย่างผู้มีความภักดี”

๗. ท่านอาลูซีย์ได้อธิบายโองการที่ ๓๙ ซูเราะฮฺเราะดุ เกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺว่า ท่านอิบนิ มัรฺดุวัย และอิบนิอะชากีรฺ ได้รายงานหะดีษบทหนึ่งจากท่านอะลี (อ.) ว่าท่านรอซูลได้ถูกถามเกี่ยวกับโองการหนึ่งคือ”พระองค์อัลลอฮจะลบและจะกำหนด สิ่งใดตามพระประสงค์ของพระองค์”(เราะดุ/๓๙) ดังนั้นท่านรอซูลกล่าวว่า”ฉันจะเปิดตาของเจ้าให้รู้เกี่ยวกับคำอรรถาธิบาย ของโองการนี้ และฉันจะทำให้ประชาชาติของฉันเข้าใจคำอรรถาธิบายของโองการภายหลังจากฉัน ดังนี้ การบริจาคทาน (ศ่อดะเกาะฮฺ) การทำดีต่อบิดามารดา และประกอบคุณงามความดี คือการเปลี่ยนแปลง (บะดาอฺ) จากชะตากรรมที่ อับโชคเป็นชะตากรรมที่ผาสุก จะเพิ่มอายุขัย และทำให้ออกห่างความบาปทั้งหลาย” หลังจากนั้นท่านอะลูซีย์กล่าวว่า..

“การขจัดสิ่งที่คลุมเครือหรือข้อโต้แย้งต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงความรอบรู้ของพระองค์อัลลอฮฺ ดังนั้นให้ย้อนกลับไปดู (หะดีษเหล่านั้น)ได้”

๘.ท่านกอซิมีย์ (ตาย ฮ.ศ.ที่ ๑๓๓๒)ได้กล่าวถึงเรื่องบะดาอฺว่า. “การยึดมั่นของญะมาอะฮฺกลุ่มหนึ่ง (ต่อเรื่องบะดาอฺว่าจะเกิดขึ้นกับทุกๆสิ่ง) คือคำตรัสของพระองค์อัลลอฮฺที่ว่า “และพระองค์จะลบ (หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ)ตามพระประสงค์ของพระองค์และจะกำหนด (สิ่งต่างๆ) ตามพระประสงค์ของพระองค์ และ ณ พระองค์นั้นมีแม่แบบแห่งการบันทึก” (เราะดุ /๓๙) ดังนั้นญะมาอะฮฺกลุ่มนั้นได้กล่าวว่า “แท้จริงโองการนี้ได้บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลง (บะดาอฺ) ของทุกสิ่งไม่ใช่เฉพาะต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ดังนั้นพระองค์จะลบ (เปลี่ยนแปลง) หรือเพิ่มริซกีแก่มนุษย์ตามพระประสงค์ของพระองค์ ตลอดจนเรื่องความตาย การมีชีวิต ความสุข ความทุกข์ อีมาน หรือการเนรคุณ”

๙.ท่านมะรอฆีย์ได้อธิบายโองการที่ ๓๙ ซูเราะฮฺเราะดุว่า “แน่นอนเป็นมติเอกฉันท์ของอิมามผู้อาวุโส (ของเรา) โดยไม่มีความขัดแย้งใดๆ (ต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆ ของพระองค์อัลลอฮฺ) ซึ่งทรรศนะต่อเรื่องนี้ได้ถูกนำมารายงานต่อๆกัน”

นี่คือส่วนหนึ่งของทรรศนะอุละมาอ์อะลิซซุนนะฮฺที่มีต่อเรื่องบะดาอฺหรือ การเปลี่ยนแปลงกฏเกณท์ต่างๆของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าหลักความเชื่อต่อเรื่องบะดาอฺ นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นสัจธรรม ซึ่งไม่ใช่หลักการที่ชีอะฮฺได้แต่งหรืออุปโลกขึ้นมา

คำถาม
อาจจะมีผู้กล่าวว่า คำกล่าวของบรรดาอุละมาอ์อะลิซซุนนะฮฺที่ได้กล่าวมานั้น พวกเขาไม่ได้กล่าวถึงเรื่องบะดาอฺ เพราะคำกล่าวของพวกเขาไม่มีคำว่าบะดาอฺอยู่เลย แต่พวกเขาได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ดังนั้นท่านกล่าวได้อย่างไรว่าพวกเขาได้มีความเชื่อต่อเรื่องบะดาอฺ ?

ตอบ
ความจริงแล้วหลักความเชื่อเรื่องบะดาอฺ ที่บรรดาชีอะฮฺได้เชื่อนั้น ก็เป็นเรื่องเดียวกันกับที่อุละมาอ์อหฺลิซซุนนะฮฺได้กล่าวไว้ เพียงแค่ชื่อเท่านั้นที่แตกต่างกัน ชีอะฮฺได้เรียกการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่างๆของพระองค์อัลลอฮฺตรงนี้ว่า “บะดาอฺ” เนื่องจากอัล-หะดีษของรอซูลและบรรดาอิมามนั่นเอง.

ความแตกต่างระหว่างบะดาอฺกับนัซค์ (การยกเลิกชะรีอัต)
ในประเด็นที่หกนี้จะกล่าวถึงเรื่องนัซค์ (การยกเลิกหลักชะรีอะฮฺ) ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความใกล้เคียงกับเรื่องบะดาอฺ และอุละมาอ์ส่วนมากของทุกสำนักคิดต่างมีความเชื่อเหมือนกัน (เฉพาะในรายละเอียดเท่านั้นที่แตกต่างกัน) ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

๑.นัซค์คืออะไร?
๒.นัซค์เป็นเรื่องที่เป็นไปได้หรือไม่?
๓.ปรัชญาของเรื่องนัซค์(การยกเลิกหลักชะรีอะฮฺ)
๔.ความแตกต่างระหว่างนัซค์กับบะดาอฺ

๑.นัซค์คืออะไร?
ความหมายของนัซค์ในแง่ภาษาคือ “การขจัดออกไป” หรือ “โยกย้าย” “การเปลี่ยนที่” ส่วนในแง่วิชาการคือ “การยกเลิกบทบัญญัติทางชะรีอะฮฺเนื่องจากเวลาของมันได้สิ้นสุดลง”

ดังนั้นหลักชะรีอะฮฺใดก็ตามหากเวลาของมันได้จบลง พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) จะทรงยกเลิกหลักการนั้นและนำเอาหลักการอื่นมาแทนที่ คำว่าเวลาจบลงในที่นี้คือ ประโยชน์ของหลักการนั้นไม่คงเหลืออยู่อีกต่อไป

๒.นัซค์เป็นเรื่องที่เป็นไปได้หรือไม่?
ประเด็นที่สองถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด กล่าวคือถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่านัซค์ เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ เรื่องของบะดาอฺก็ย่อมเป็นไปได้เช่นกัน

ขอกล่าวย้อนความถึงเรื่องประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการยกเลิกบทบัญญัติ เมื่อท่านรอซูล (ศ็อลฯ) ได้อพยพมาสู่มะดีนะฮฺ พระองค์อัลลอฮฺได้มีบัญชาให้เปลี่ยนกิบละฮฺจากบัยตุลมักดิสไปสู่อัล-กะอฺบะ ฮฺบัยตุลลอฮฺอัลฮะรอม ดังนั้นเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากชาวยิวได้ดังขึ้นทุกมุมเมือง โดยกล่าวโจมตีหลักการที่ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) นำมาว่าเป็นการยกเลิกบทบัญญัติไม่ว่าด้านตัชรีอีย์ หรือด้านตักวีนีย์ถือว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับพระเจ้า เพราะเท่ากับพระองค์อัลลอฮฺทรงโง่เขลาและไม่รอบรู้ ประกอบกับทุกกิจการงานที่พระองค์ได้ทรงกำหนดหรือได้บัญชามานั้นต้องดำอยู่ตลอดไป กล่าวคือเมื่อพระองค์ทรงสร้างสิ่งต่างๆ หรือบัญชาสิ่งใดมาแล้วกิจการงานของพระองค์ถือเป็นอันจบสิ้น ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า

وقاَلَتِ الْيَهُودُ يَدُ اللّهِ مَغْلُولَةٌ غُلَّتْ أَيْدِيهِمْ وَلُعِنُواْ بِمَا قَالُواْ بَلْ يَدَاهُ مَبْسُوطَتَانِ
“และพวกยะฮูดีย์ได้กล่าวว่า พระหัตถ์ของอัลลอฮฺ (การงานของพระองค์) ถูกล่ามตรวนทว่ามือของพวกเขาต่างหากที่ถูกล่ามตรวน และพวกเขาถูกสาปแช่ง (ทำให้ออกห่างจากความเมตตา) เนื่องจากสิ่งที่พวกเขากล่าว แต่ความจริงพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ได้แบออกเสมอ (อำนาจการงานของพระองค์ไม่ได้จบสิ้น” (๕/๖๔)

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ตอบโต้ชาวยิวถึงเรื่องความเป็นไปได้เกี่ยวกับเรื่องนัซค์ (ไม่ว่าจะเป็นนัซค์ทางตัชัรีอีย์ หรือทางตักวีนีย์-บะดาอฺ-) โดยนำหลักฐานทางปรัชญาและหลักฐานต่างๆ ที่อยู่ในคัมภีร์ของพวกเขามาแสดง ดังริวายะฮฺที่ได้รายงานว่า มีชาวยิวกลุ่มหนึ่งมาหาท่านศาสดาแล้วกล่าวว่า “โอ้มุฮัมมัด บัยตุลมักดิส คือกิบละฮฺที่เจ้าเคยหันหน้าไปสู่เป็นเวลานานถึง ๑๔ ปี และตอนนี้เจ้าได้เปลี่ยนกิบละฮฺไปสู่ทิศทางอื่น ฉะนั้นมันเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วหรือการที่เจ้าได้หันหน้าไปสู่ความเท็จ ? แท้จริงแล้วเจ้าได้นำสิ่งที่เป็นเท็จมาเปลี่ยนกับสิ่งที่เป็นสัจธรรม ดังนั้นเจ้าจงแสดงหลักฐานที่ยืนยันถึงความเป็นโมฆะของเรื่องนี้มาซิ (การเปลี่ยนกิบละฮฺ)

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “สิ่งนั้น (การเปลี่ยนแปลงกิบละฮฺ) ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า “จงกล่าวเถิด ว่าทั้งตะวันออกและตะวันตกเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น พระองค์จะทรงแนะนำผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ไปสู่ทางอันเที่ยงตรง” (๒/๑๔๒)

ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่พระองค์ทรงมองเห็นความเหมาะสมสำหรับพวกเจ้าใน การหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตกพระองค์ก็จะทรงมีบัญชามา และถ้าหากพระองค์เห็นว่ามีความเหมาะสมอื่นที่นอกเหนือไปจากทั้งสองสำหรับพวก เจ้า พระองค์ก็จะทรงมีบัญชาอีก ดังนั้นพวกเจ้าอย่าได้ปฏิเสธการบริหารงานของพระองค์ (ซบ.) เพราะพระองค์ทรงประสงค์สิ่งที่ความเหมาะสมต่อพวกเจ้าเสมอ (ทุกอย่าง)”

และอีกเหตุผลหนึ่งท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวกับพวกยิวว่า
“การยกเลิกหลักชะรีอะฮฺบางอย่างได้เกิดขึ้นมาแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งคัมภีร์ของพวกเจ้าก็กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ และเมื่อการยกเลิกได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วนั้นแสดงให้เห็นว่าสิ่งนี้ย่อมเป็นไป ได้ ดังนั้นนัซค์ (การยกเลิกชะรีอะฮฺ)ในเรื่องกิบละฮฺก็ย่อมเป็นไปได้เช่นกัน”

บรรดาอุละมาอ์ได้ตอบเกี่ยวกับเรื่องการนัซค์ทางตัชรีอียฺว่าเป็นเรื่อง ที่เป็นไปได้กล่าวคือ
“หลักความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ได้เป็นการปฏิเสธหรือเป็นสาเหตุที่บ่งบอกว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงโง่เขลา (ขอความคุ้มครองจากพระองค์) เพราะว่าพระองค์ทรงรู้ล่วงหน้าแล้วถึงการยกเลิกหลักชะรีอัตข้อนั้น ฉะนั้นนัซค์คือการเปลี่ยนแปลงหลักชะรีอะฮฺ ที่ไม่มีประโยชน์อีกต่อไปออกหรือช่วงเวลาของมันได้หมดลง ไม่ใช่ว่าพระองค์อัลลอฮฺทรงบัญชาสิ่งหนึ่งมา เมื่อเวลาผ่านไปพระองค์เพิ่งจะทราบว่าสิ่งที่ได้บัญชาไปนั้นไม่มีประโยชน์ อันใดต่อมนุษย์ จึงมีบัญชายกเลิก แล้วนำชะรีอะฮฺใหม่มาแทนที่ (ดังที่พวกยิวเข้าใจ) พระองค์ทรงยืนยันเรื่องนัซค์ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า

مَا نَنسَخْ مِنْ آيَةٍ أَوْ نُنسِهَا نَأْتِ بِخَيْرٍ مِّنْهَا أَوْ مِثْلِهَا أَلَمْ تَعْلَمْ أَنَّ اللّهَ عَلَىَ كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
“กฎทุกกฎที่เราได้ยกเลิก หรือเราทำให้มันลืมเลือนไปนั้น เราจะนำสิ่งที่ดีกว่า หรือสิ่งที่เท่าเทียมกับกฎนั้นมาแทน เจ้ามิได้รู้ดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮฺทรงเดชานุภาพ เหนือทุกสรรพสิ่ง” (๒/๑๐๖)

ดังนั้นหลักความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องนัซค์นั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และไม่ได้ค้านกับซิฟาตความรอบรู้ของพระองค์แต่ประการใด .

๓.ปรัชญาในเรื่องนัซค์ (การยกเลิกชะรีอะฮฺ)
เมื่อพิสูจน์ได้แล้วว่า นัซค์ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ดังนั้นมันย่อมมีประโยชน์และฮิกมะฮฺ (ปรัชญา) ในการยกเลิกอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลที่ว่า

๓.๑ เราเชื่อว่าการกระทำของพระองค์อัลลอฮฺทุกอย่างย่อมมีเป้าหมาย มิใช่ไร้สาระ
๓.๒ เป้าหมายของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.)ไม่ใช่เพื่อพระองค์อย่างแน่นอน เพราะพระองค์ทรงสัมบูรณ์ และให้ความสมบูรณ์แก่สรรพสิ่งอื่น พระองค์ทรงเพียงพอ และไม่ทรงพึ่งพาสิ่งใด
๓.๓ ดังนั้นเป้าหมายของพระองค์ก็เพื่อบ่าวของพระองค์ นั่นคือคุณประโยชน์ที่มนุษย์จะได้รับเพื่อนำพาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์.

๔ ความแตกแต่งระหว่างนัซค์กับบะดาอฺ
ความแตกต่างในเรื่องบะดาอฺ ส่วนมากนักวิชาการและอุลมาอ์ได้มีความเห็นพร้องตรงกันว่า “นัซค์ คือการเปลี่ยนแปลงทางด้านหลักชะรีอะฮฺ (ตัชรีอียะฮฺ) ส่วนบะดาอฺเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎเกณฑ์การสร้าง (ตักวีนียะฮฺ)”

ตอนที่๒
หลักฐานและข้อพิสูจน์ในเรื่องบะดาอฺ
สิ่งที่จะนำเสนอตรงนี้คือหลักฐานและข้อพิสูจน์เกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺ ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่จะกล่าวดังต่อนี้.
ก.หลักฐานเรื่องบะดาอฺ ในมุมมองของอัล-กุรอาน
ข.หลักฐานเรื่องบะดาอฺ ในมุมมองของอัล-หะดีษ
ค.หลักฐานเรื่องบะดาอฺ ในตำรของอะลิซซุนนะฮฺ

ก.หลักฐานเรื่องบะดาอฺ ในมุมมองของอัลกุรอาน
แน่นอนอัล-กุรอานเป็นหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่ดี และชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺ ฉะนั้นเมื่อพิจารณาโองการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺแล้ว ามารถวิเคราะห์ได้ ๒ ลักษณะดังนี้

๑.โองการที่เป็นหลักฐานและข้อพิสูจน์โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺ
ในประเด็นนี้มีโองการมากมายที่กล่าวถึงเรื่องบะดาอฺและได้พิสูจน์ว่า สำหรับพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) บะดาอฺเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ดังตัวอย่างของโองการที่กล่าวว่า

๑.๑ โองการที่ ๓๘/๓๙ ซูเราะฮฺเราะดุ

وَلَقَدْ أَرْسَلْنَا رُسُلاً مِّن قَبْلِكَ وَجَعَلْنَا لَهُمْ أَزْوَاجًا وَذُرِّيَّةً وَمَا كَانَ لِرَسُولٍ أَن يَأْتِيَ بِآيَةٍ إِلاَّ بِإِذْنِ اللّهِ لِكُلِّ أَجَلٍ كِتَابٌ يَمْحُو اللّهُ مَا يَشَاءُ وَيُثْبِتُ وَعِندَهُ أُمُّ الْكِتَابِ

“และโดยแน่นอน เราได้ส่งบรรดารอซูลมาก่อนหน้าเจ้า และเราได้ให้พวกเขามีภริยาและลูกหลาน และไม่บังควรแก่รอซูลที่จะนำมาซึ่งสัญญาณ (ปาฏิหาริย์) ใดๆ เว้นแต่โดยอนุมัติของอัลลอฮ สำหรับทุกสิ่งนั้น มีบันทึกไว้แล้ว พระองค์อัลลอฮฺจะลบ (สิ่งที่บันทึกนั้น) ตามพระประสงค์ของพระองค์ และพระองค์จะให้คงอยู่ (ตามพระประสงค์ของพระองค์) และ ณ พระองค์ มีแม่แบบแห่งการบันทึก”

จากโองการข้างต้นเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลง กฎเกณฑ์ต่างๆ ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ตามพระประสงค์ของพระองค์โดยที่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และฮิกมะฮฺของการเปลี่ยนแปลง และจากโองการยังได้บอกอีกว่ามีบางอย่างที่พระองค์ทรงกำหนดไว้แล้ว แต่ต่อมาพระองค์ทรงเปลี่ยนแปลง หรือลบสิ่งนั้นออกเนื่องจากความเหมาะสม และมีบางอย่างที่พระองค์ทรงกำหนดไว้แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นจากโองการ ทำให้เข้าใจได้ว่าการกำหนดของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) มีอยู่สองแบบกล่าวคือ

๑. การกำหนดที่แน่นอนตายตัว และไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลง ซึ่งเรียกว่า “เลาฮิลมะห์ฟูซ หรือ อุมมุลกิตาบ”
๒.การกำหนดที่ไม่แน่นอนตายตัวและ อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเรียกว่า “เลาฮิลมะฮฺวิวัลอิซบาต หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อัลบะดาอฺ”

คำอธิบายลักษณะที่ ๑
การกำหนดที่ตายตัว หรือเลาฮิลมะห์ฟูซ ,อุมมุลกิตาบ หมายถึง พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนดกฎเกณฑ์บางอย่างที่ตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ พระองค์ทราบตั้งแต่แรก (อิลมุลอะซะลีย์) ถึงการเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆ และสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดขึ้น ซึ่งทุกสิ่งขึ้นอยู่กับเหมาะสมของตัวมันเอง เช่นความตาย การถูกทำลายของสรรพสิ่งก่อนกิยามะฮฺฯลฯ ดังที่พระองค์ได้ยืนยันในโองการข้างต้นที่ว่า “ณพระองค์นั้นมีแม่แบบแห่งการบันทึก”

คำอธิบายลักษณะที่ ๒
การกำหนดที่ไม่แน่นอนตายตัว และอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเรียกว่า “เลาฮิลมะฮฺวิวัลอิซบาต หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อัลบะดาอฺ”หมายถึง มีบางอย่างพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงกำหนดไว้แล้ว แต่การกำหนดนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์และความเหมาะสมที่พระองค์ทรงวางไว้ และพระองค์ทรงรอบรู้ตั้งแต่แรกแล้วถึงการเปลี่ยนครั้งที่สอง เช่นการเปลี่ยนแปลงอายุไขของมนุษย์ กล่าวคือความตายนั้นพระองค์ทรงกำหนดไว้แน่นอนแล้วว่ามนุษย์จะตายเมื่อไหร่ วัน เดือน ปีอะไร ซึ่งทุกคนต้องตาย เพียงแต่การกำหนดพระองค์นั้นมีเงื่อนไขว่า ถ้าใครดำเนินชีวิตไปตามเงื่อนไขที่พระองค์ทรงวางไว้โดยไม่ออกนอกลู่นอกทาง ในบางครั้งบุคคลนั้นอาจจะเสียชีวิตก่อนกำหนดก็ได้ เช่นตัวอย่างนายมุฮัมมัด ถูกกำหนดไว้ว่าเขาจะต้องตายเมื่ออายุครบ ๕๐ ปีบริบูรณ์ แต่ในระหว่างการดำเนินชีวิตนายมุฮัมมัดได้กระทำตนเป็นผู้ที่ฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ ไม่ปฏิบัติไปตามคำสั่งสอนของศาสนา เช่นดื่มสุรา และกระทำบาปใหญ่อีกมากมาย ซึ่งสิ่งนี้ได้กลายเป็นเหตุทำให้อายุไขของเขาถูกเปลี่ยนแปลงจาก ๕๐ ปีให้เหลือเพียง ๔๐ ปีหรืออาจจะน้อยกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงครั้งที่สองนี้ได้เกิดขึ้นเนื่องจากเขาได้ไปฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ อีกประการหนึ่งพระองค์ทรงทราบดีตั้งแต่แรกแล้วว่านายมุฮัมมัดจะมีอายุสั้น เขาจะตายอายุก่อนกำหนด

ในทางกลับกันถ้าบุคคลใดได้กระทำดีต่อบิดามารดา จ่ายศ่อดะเกาะฮฺ หรือทำการงานที่ดีอื่นๆ อันเป็นสาเหตุทำให้เขามีอายุยืน และการกำหนดเช่นนี้เป็นการกำหนดที่ตั้งอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของพระองค์ทั้ง สิ้น ดังโองการที่กล่าวว่า “สำหรับทุกสิ่งนั้น มีบันทึกไว้แล้ว พระองค์อัลลอฮฺจะลบ (สิ่งที่บันทึกนั้น) ตามพระประสงค์ของพระองค์ และพระองค์จะให้คงอยู่ (ตามพระประสงค์ของพระองค์) และ ณ พระองค์ มีแม่แบบแห่งการบันทึก”

ท่านอัลลามะฮฺฏ่อบาฎ่อบาอีย์ ได้อธิบายโองการนี้ว่า คำว่า อะญัล “คือเวลาที่เฉพาะ” และคำว่า กิตาบ คือหุกมฺที่ถูกกำหนดไว้แล้ว ซึ่งเป็นการบ่งบอกว่ากฎเกณฑ์แห่งพระองค์และซุนนะตุลลอฮฺนั้นจะต้องเกิดขึ้น อย่างแน่นอน ตามพระประสงค์ของพระองค์ ซึ่งพระองค์จะอนุญาตแก่สิ่งใดก็ได้ตามพระประสงค์ของพระองค์ และโองการนี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่าพระองค์จะไม่ประทานหรือจะไม่ทรงอนุญาตสิ่ง ใด นอกจากสิ่งนั้นได้ถูกกำหนดไว้ภายใต้กฎเกณฑ์นั้น”

บางโองการได้กล่าวถึงชะตากรรมของมนุษย์ไว้เช่นนี้ว่า

وَلَوْ أَنَّ أَهْلَ الْقُرَى آمَنُواْ وَاتَّقَواْ لَفَتَحْنَا عَلَيْهِم بَرَكَاتٍ مِّنَ السَّمَاءِِ وَالأَرْضِ
“และหากว่าชาวเมืองนั้นได้ศรัทธา และมีความยำเกรง แน่นอนเราจะเปิดให้แก่พวกเขา (ประดู) แห่งความจำเริญต่างๆจากฟากฟ้าและแผ่นดิน” (อะอฺรอฟ/๙๖)

โองการนี้ชี้ให้เห็นว่า ความศรัทธาและความยำเกรงนั้นเป็นสื่อทำให้พระองค์อัลลอฮฺ ทรงเปลี่ยนแปลงชะตากรรมที่ดีแก่พวกเขา หมายถึงพระองค์จะทรงเพิ่มพูนความจำเริญต่างๆ แก่พวกเขาและโองการยังชี้ให้เห็นอีกว่าชะตากรรมทุกอย่างของมนุษย์นั้นอยู่ ภายใต้การดูแลของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งพระองค์จะลบหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ ขึ้นอยู่กับเงื่อนที่พระองค์ทรงกำหนดไว้

ดังเช่นเรื่องราวของนบีนูห์ อัลกุรอานกล่าวไว้ว่า

فَقُلْتُ اسْتَغْفِرُوا رَبَّكُمْ إِنَّهُ كَانَ غَفَّارًا يُرْسِلِ السَّمَاءَ عَلَيْكُم مِّدْرَارًا وَيُمْدِدْكُمْ بِأَمْوَالٍ وَبَنِينَ وَيَجْعَل لَّكُمْ جَنَّاتٍ وَيَجْعَل لَّكُمْ أَنْهَارًا
“ดังนั้นเจ้าได้บอกกับพวกเขาว่า พวกท่านจะขออภัยโทษต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่านเถิด แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง เพื่อพระองค์จะได้ประทานน้ำฝน แห่งความจำเริญจากฟ้าฟ้าแก่พวกท่าน ทรงประทานความมั่งคั่งทั้งทรัพย์สิน และบุตรบริวารแก่พวกท่าน และทรงบันดาลเรือกสวนที่เขียวขจี และสายน้ำต่างๆ แก่พวกท่าน” (นูห์ / ๑๐-๑๒)

จะพบว่าเรื่องราวของท่านนบีนูห์ (อ.) เป็นเหตุผลที่ยืนยันให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของประชาชาติของท่าน อีกทั้งเป็นการยืนยันให้เห็นถึงเรื่อง บะดาอฺ อีกต่างหาก (รายละเอียดจะกล่าวในบทต่อไป) ท่านอิมามบากิรฺ (อ.)กล่าวว่า
“กิจการงานต่างๆ ณ พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ถูกกำหนดไว้แล้ว ฉะนั้นพระองค์จะทรงนำมาขึ้นหน้า นำไว้ข้างหลัง ให้คงอยู่หรือลบ (ก็ได้) ตามประสงค์ของพระองค์”

๑.๒ โองการที่ ๔ ซูเราะฮฺอัดดุคอนกล่าวว่า

فِيهَا يُفْرَقُ كُلُّ أَمْرٍ حَكِيم
“ในคืนนั้นทุก ๆ กิจการที่สำคัญจะถูกจำแนก” (อัดดุคอน / ๔)

โองการได้กล่าวถึงความประเสริฐของ ค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ ซึ่งพระองค์ได้ยืนยันถึงการเปลี่ยนแปลงการงาน และวิถีชีวิตของมนุษย์ไม่ว่าเป็นเรื่องอายุไข ริสกีย์ การมีชีวิต ความตายและชะตากรรมทุกอย่างในรอบปีนั้น ดังที่ท่านฎ่อบัซซีย์ ได้กล่าวว่า “ค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ เป็นค่ำคืนแห่งการเปลี่ยนแปลงชะตากรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่ได้ถูกกำหนดไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุไข ริสกีย์และอื่นๆ”

ค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ คือค่ำคืนที่สำคัญที่สุด ชะตากรรมของมนุษย์ อาจได้รับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ กล่าวคือในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺถ้าดุอาอฺของใครถูกตอบรับ ชะตากรรมของเขาจะได้รับการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี และถ้าดุอาอฺของใครไม่ถูกตอบรับ ดังนั้นสิ่งใดที่ได้ถูกกำหนดไว้ก็จะประสบกับเขา ดังนั้นจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาจาก เลาฮิลมะฮฺวิวัลอิซบาต หรือ บะดาอฺของพระองค์อัลลอฮ (ซบ.) นั่นเอง

ท่านอะลี อิบนิอิบรอฮีม (เจ้าของตัฟซีรฺอัล-กุมมี) อธิบายว่า ความหมายของลัยละตุลก็อดรฺคือ “แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺ ได้ทรงกำหนดวิถีชีวิตไว้ในค่ำคืนนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุไข ริสกีย์ การมีชีวิตและความตาย และทุกสิ่งที่มาประสบกับบ่าว”

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
“เมื่อค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺมาถึง มวลมะลาอิกะฮฺ, ญิบรออีลและการบันทึก (กำหนดต่างๆ) จะลงมายังดุนยา มะลาอิกะฮฺจะบันทึกสิ่งที่ถูกกำหนดจากพระองค์อัลลอฮฺในปีนั้นแก่บ่าว และถ้าพระองค์ทรงประสงค์จะให้สิ่งใดเกิดขึ้นก่อนหลัง หรือจะลดหรือเพิ่ม (จากสิ่งที่ได้กำหนดไว้ก่อนแล้ว) พระองค์จะทรงบัญชาต่อมะลาอิกะฮฺให้ลบสิ่งนั้น หรือให้มันคงอยู่ตามที่พระองค์ทรงประสงค์ ”

๑.๓ โองการที่ ๒ ซูเราะฮฺอันอามกล่าวว่า

ثُمَّ قَضَى أَجَلاً وَأَجَلٌ مُّسمًّى عِندَهُ ثُمَّ أَنتُمْ تَمْتَرُونَ
“พระองค์คือ ผู้ที่ทรงบังเกิดพวกเจ้าจากดิน แล้วได้ทรงกำหนดเวลาแห่งความตายไว้ และกำหนดที่ถูกระบุไว้ (อายุไขที่ถูกกำหนดไว้จริง) อยู่ ณ พระองค์ แต่แล้วพวกเจ้าก็ยังสงสัยกันอยู่” (อันอาม / ๒)

โองการดังกล่าวสามารถอธิบายได้ดังนี้ว่า
อายุไขของมนุษย์นั้นถูกกำหนดไว้ ๒ ลักษณะดังนี้

๑.อะญัลมัชรูฎ คืออายุไขที่ตั้งอยู่บนเงื่อนไข สามารถเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเต็มได้โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้ดำเนินไป
๒.อะญัลมะฮฎูมะฮ คืออายุไขที่ถูกกำหนดไว้แล้ว ณ พระองค์อัลลอฮฺ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว


โปรดติดตามต่อ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
บะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของพระองค์?

คำอธิบายประเภทที่ ๑ อะญัลมัชรูเฎาะฮฺ
อะญัลมัชรูเฎาะฮฺ หมายถึงอายุไขของมนุษย์จะจบลงได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และในอะญัลมัชรูเฎาะฮนี้อายุไขของมนุษย์สามารถเพิ่มหรือลดลงได้ ดังที่อัล-กุรอานโองการข้างต้นได้กล่าวสนับสนุนเรื่องนี้เอาไว้ว่า
“ต่อมาพระองค์ทรงกำหนดอายุไข (ของมนุษย์)”

โองการนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าอายุไขของมนุษย์นั้นถูกกำหนดไว้แล้ว แต่เป็นการกำหนดที่มีเงื่อนไข เช่นถ้าบุคคลหนึ่งได้ถูกกำหนดไว้ว่าเขาจะมีอายุ ๖๐ ปี และเขาได้ดำเนินชีวิตอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่พระองค์ทรงวางไว้ ดังนั้นอายุไขของเขาก็จะถูกเปลี่ยนแปลงไปอาจจะเพิ่มมากขึ้นหรือลดน้อยลง ทั้งหมดขึ้นอยู่กับเงื่อนไข เช่นถ้าเขาได้ศ่อดะเกาะฮฺ หรือมีความสัมพันธ์กับเครือญาติดี สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เขามีอายุยืน แต่ถ้าเขาเป็นคนที่ดื่มสุรา ทำซินาและมั่วสุมอบายมุขอื่นๆ อายุไขของเขาก็จะถูกบั่นทอนให้สั้นลง อัล-กุรอานได้กล่าวยืนยันเรื่องนี้ไว้ว่า

وَمَا يُعَمَّرُ مِن مُّعَمَّرٍ وَلَا يُنقَصُ مِنْ عُمُرِهِ إِلَّا فِي كِتَابٍ إِنَّ ذَلِكَ عَلَى اللَّهِ يَسِيرٌ
“และไม่มีผู้ใดถูกทำให้อายุไขยืนยาวออกไป หรือถูกทำให้อายุสั้นลง นอกจากว่าถูกบันทึก (กำหนด) ไว้แล้ว แท้จริงนั่นเป็นการง่ายดายสำหรับอัลลอฮฺ” (ฟาฎิรฺ /๑๑)

โองการนี้ได้ชี้ให้เห็นชัดว่าอายุไขของมนุษย์นั้นมีการเปลี่ยนแปลง อาจจะมีอายุยืดออกไป หรือถูกตัดทอนให้สั้นลงก็ได้ ประโยคสุดท้ายของโองการได้ยืนไว้ว่า และทั้งหมดได้ถูกกำหนด (บันทึก)ไว้แล้ว ณ พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ซึ่งการกำหนดตามที่โองการได้กล่าวถึงคือ อะญัลมัชรูเฎาะฮ นั่นเอง

ท่านฎ่อบัซซีย์ได้กล่าวไว้ว่า “พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงรับรู้ถึงอายุไขของมนุษย์ ฉะนั้นถ้าผู้ใดได้ภักดีและปฏิบัติตามเขาก็จะมีอายุยืน แต่ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนและกระทำความผิดบาปก็จะมีอายุสั้นลง ซึ่งการมีอายุสั้นหรืออายุยืน (มากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไว้) ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และทั้งหมดนี้ ณ พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.)ได้ถูกบันทึกไว้แล้วในเลาฮิลมะห์ฟูซ”

ท่านอะลี อิบนิอิบรอฮีม กุมีย์ ได้กล่าวตอบต่อผู้ปฏิเสธเรื่องบะดาอฺว่า “แท้จริงโองการในซูเราะฮฺฟาฎีรฺ/๑๑ ได้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าอายุไขของมนุษย์ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่แรกว่าต้องมีการ เปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ดังนั้นถ้าไม่มีเงื่อนไขที่มีผลต่ออายุไขของมนุษย์แล้ว การมีอายุยืน หรืออายุสั้นก็จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน (และสิ่นี้คือการบะดาอฺของพระองค์อัลลอฮ (ซบ.)”

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “แท้จริงการศ่อดะเกาะฮฺ และการมีสัมพันธ์ที่ดีทางเครือญาติจะทำให้มีอายุยืนยาว”
ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “สำหรับมนุษย์มีอายุอยู่ ๒ ระบบกล่าวคือ หนึ่ง เป็นอายุที่เกิดขึ้น (เปลี่ยนแปลง) ตามพระประสงค์ของอัลลอฮฺ สอง เป็นอายุที่ถูกกำหนดไว้ตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ”

ดังนั้นอะญัลมัชรูเฎาะฮฺ คืออายุที่ถูกกำหนดโดยมีเงื่อนไขขึ้นอยู่กับธรรมชาติ และวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ฉะนั้นถ้าเขาถูกยิงหรือถูกฆ่าตายเมื่อมีอายุได้เพียง ๑๐ ปี ก็ถือว่าเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น มาจากการ บะดาอฺ ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) อธิบายประเภทที่ ๒ อะญัลมะฮฺตูมะฮฺ
อะญัลมะฮฺตูมะฮฺ คืออายุไขที่ถูกกำหนดไว้ตายตัวไม่อาจหลีกหนีหรือเปลี่ยนแปลงได้ เป็นการกำหนดของพระองค์อัลลอฮฺ ที่มีขึ้น ณ เลาฮิลมะห์ฟูซ ซึ่งเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “อะญัลมุซัมมาฮฺ” ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า

ثُمَّ قَضَى أَجَلاً وَأَجَلٌ مُّسمًّى عِندَهُ ثُمَّ أَنتُمْ تَمْتَرُونَ
“พระองค์คือ ผู้ที่ทรงบังเกิดพวกเจ้าจากดิน แล้วได้ทรงกำหนดเวลาแห่งความตายไว้ และกำหนดที่ถูกระบุไว้ (อายุไขที่ถูกกำหนดไว้จริง) อยู่ ณ พระองค์ แต่แล้วพวกเจ้าก็ยังสงสัยกันอยู่” (อันอาม / ๒)

หมายถึง อะญัลมุซัมมา (อายุที่ตายตัว) นั้นอยู่ ณ พระองค์อัลลอฮฺ ถูกบันทึกไว้ในเลาฮิลมะห์ฟูซ

โองการได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอายุที่ตายตัวนั้น พระองค์ทรงกำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ณ เลาฮิลมะห์ฟูซ เป็นการกำหนดที่เกิดจากความรอบรู้ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เป็นการกำหนดสุดท้ายหมายถึงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ อีกต่อไปหลังจากนี้ ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า

مَا أَصَابَ مِن مُّصِيبَةٍ فِي الْأَرْضِ وَلَا فِي أَنفُسِكُمْ إِلَّا فِي كِتَابٍ مِّن قَبْلِ أَن نَّبْرَأَهَا إِنَّ ذَلِكَ عَلَى اللَّهِ يَسِيرٌ
“ไม่มีเคราะห์กรรมอันใดเกิดขึ้นบนหน้าแผ่นดิน และไม่มีแม้แต่ในตัวของพวกเจ้า เว้นแต่ได้มีไว้ในบันทึกก่อนที่เราจะบังเกิดมันขึ้นมา แท้จริงนั่นมันเป็นการง่ายสำหรับอัลลอฮ” (หะดีด/๒๒)

และอีกโองการหนึ่ง พระองค์ทรงตรัสไว้เกี่ยวกับอายุของมนุษย์ที่ถูกกำหนดไว้ตายตัว โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไปว่า

وَلَكِن يُؤَخِّرُهُمْ إلَى أَجَلٍ مُّسَمًّى فَإِذَا جَاءَ أَجَلُهُمْ لاَ يَسْتَأْخِرُونَ سَاعَةً وَلاَ يَسْتَقْدِمُونَ
“พระองค์ทรงประวิงเวลา (อายุ) ให้แก่พวกเขาได้มาถึง จนถึงอายุไขที่ถูกกำหนดตายตัว (อะญัลมุซัมมา) และเมื่อมันมาถึงจริง พวกเขาจะประวิงเวลาให้ช้าสักชั่วโมงหรือจะเร่งให้เร็ว(สักชั่วโมงหนึ่ง) ก็ไม่ได้” (อัลนะฮฺลิ/๖๑)

๑.๔ โองการที่ ๒๙ ซูเราะฮฺอัรเราะหฺมาน

يَسْأَلُهُ مَن فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ كُلَّ يَوْمٍ هُوَ فِي شَأْنٍ
“ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและชั้นดิน จะวอนขอต่อพระองค์ทุกวาระ พระองค์คือผู้ทรงภารกิจ (บริหารและบันดาล)”
และนี่เป็นอีกโองการหนึ่งที่ได้กล่าวถึงเรื่อง บะดาอฺ ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้.

๑.ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลาย และชั้นดินต้องพึ่งพาและต้องการยังพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ตลอดเวลา
๒. ฐานะภาพแห่งการเป็นผู้ให้และผู้บริหารของพระองค์อัลลอฮฺ(ซบ.)

คำอธิบายประการที่ ๑
ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าและชั้นดินต้องพึ่งพา และต้องการยังพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.)ตลอดเวลา หลักความเชื่อหนึ่งของมุสลิมทั้งหลายเชื่อว่า แท้จริงบรรดาสรรพสิ่งทั้งปวงไม่ว่าจะเป็น มวลมะลาอิกะฮฺ มนุษย์ สัตว์ พืชและอื่นๆ ต่างเป็นมักลูค (สิ่งถูกสร้าง) ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทั้งสิ้น ดังนั้นทุกสิ่งถูกสร้างของพระองค์ย่อมพึ่งพาไปยังพระองค์โดยไม่มีที่สิ้นสุด และเมื่อทุกอย่างต้องพึ่งพาไปยังพระองค์ ทุกอย่างก็ต้องวอนขอและเรียกร้องต่อพระองค์ตลอดเวลา ดังที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า“ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและชั้นดิน จะวอนขอต่อพระองค์ทุกวาระ”

ท่านฎ่อบัรฺซีย์กล่าวว่า “ความหมายของโองการนี้คือ แท้ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและชั้นดินต้องพึ่งพาไปยังพระองค์และไม่มี ความเพียงพอ”

มีโองการมากมายที่กล่าวถึงความอ่อนแอของมนุษย์ ซึ่งต้องพึ่งไปยังพระองค์เสมอ พระองค์ทรงตรัสว่า “โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริงพวกเจ้านั้นต้องพึ่งพาพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.)”

คำอธิบายประเด็นที่ ๒
ฐานะภาพแห่งการเป็นผู้ให้และผู้บริหารของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.)
อีกประการหนึ่งของหลักความเชื่อคือ มุสลิมต่างเชื่อว่าแท้จริงแล้วพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงอยู่ในฐานะของผู้ให้และเป็นผู้บริหารจักรภพแต่เพียงผู้เดียวตลอดเวลา พระองค์ไม่ทรงทอดทิ้งสรรพสิ่งถูกสร้างของพระองค์ หมายถึงเมื่อพระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่งเสร็จเรียบแล้วพระองค์ก็หมดหน้าที่การ บริหารหรือการเป็นผู้ให้ (ดังที่ชาวยิวและบางกลุ่มจากสำนักคิดมุอฺตะซิละฮฺมีความเชื่อเช่นนั้น) พระองค์ยังทรงรับผิดชอบสิ่งเหล่านั้นอยู่ ดังที่พระองค์ตรัสว่า “พระองค์ทรงภารกิจ (ในการบริหารและบันดาลทุกขณะ)”

ท่านฎ่อบัรซีย์กล่าวถึงโองการนี้โดยนำรายงานมาจาก อะบูดัรดา ว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า
“ความหมายของโองการนี้ คือแท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงอภัยบาป และทรงบันเทาความโศกเศร้า อีกทั้งทรงยก (ทำลาย) ชนบางกลุ่มออกไปโดยนำกลุ่มอื่นมาแทนที่”

โองการดังกล่าวได้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับเรื่องราวของชาวยิว ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าแท้จริงพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) จะหยุดการบริหารงานในวันเสาร์หนึ่งวันเนื่องจากเป็นวันหยุด
ท่านฟัยดฺกาชานีย์กล่าวว่า “แท้จริงโองการนี้ได้ถูกประทานแก่ชาวยิวที่เชื่อว่าพระองค์อัลลอฮฺจะหยุดการ บริหารทุกอย่าง โดยที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอันใดอีกแล้ว ดังที่อัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องราวของชาวยิวไว้ว่า

وقاَلَتِ الْيَهُودُ يَدُ اللّهِ مَغْلُولَةٌ غُلَّتْ أَيْدِيهِمْ وَلُعِنُواْ بِمَا قَالُواْ بَلْ يَدَاهُ مَبْسُوطَتَانِ يُنفِقُ كَيْفَ يَشَاء
“และะชาวยิวนั้นได้ล่าวว่าพระหัตถ์ (อำนาจแห่งการบริหาร) ของพระองค์อัลลอฮฺ.ถูกล่ามตรวน (หมายถึงหยุดการบริหาร) มือของพวกเขาต่างหากที่ถูกล่ามตรวน และพวกเขาจะถูกสาปแช่งเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาได้กล่าวไว้ แต่ทว่าพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ (หมายถึงอำนาจแห่งการบริหาร) ทรงแบอยู่เสมอ ซึ่งพระองค์จะทรงแจกจ่ายอย่างไรก็ได้ที่พระองค์ทรงประสงค์”(๕/๖๗)

โองการนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหลักความเชื่อของพวกยิวนั้นผิดพลาดและ ไม่ถูกต้อง พระองค์ทรงย้ำเตือนอีกว่าการกล่าวเช่นถือว่าเป็นบาปและถูกประณาม ประโยคสุดท้ายของโองการกล่าวว่า “พระองค์จะทรงแจกจ่ายให้ใครก็ได้ตามพระประสงค์ของพระองค์” เป็นหลักฐานยืนยันถึงเรื่องบะดาอฺและเป็นเหตุผลมาหักล้างข้อกล่าวหาของพวก ยิวที่มีต่อพระองค์ว่า “พระหัตถ์ (อำนาจแห่งการบริหาร) ของพระองค์ถูกล่ามตรวน” หมายถึงพวกเขาต้องการพูดว่าพระองค์ทรงหยุดการบริหารและไม่มีการเปลี่ยนแปลง ใดๆ อีกแล้วไม่ว่าด้านตัชรีอีย์หรือด้านตักวีนียฺ

พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) กล่าวยืนยันไว้อีกโองการหนึ่งว่า

لَقَدْ سَمِعَ اللّهُ قَوْلَ الَّذِينَ قَالُواْ إِنَّ اللّهَ فَقِيرٌ وَنَحْنُ أَغْنِيَاء
“แน่นอนพระองค์อัลลอฮฺทรงได้ยินคำพูดของ (พวกยิว) บรรดาผู้ที่กล่าวว่า ว่า แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺนั้นยากจน (ไม่ทำการบริหารใดๆอีก) และพวกเรานั้นเป็นผู้มั่งมี” (๓/๑๘๑)

อีกโองการหนึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า

أَلَمْ تَرَ أَنَّ اللَّهَ يُزْجِي سَحَابًا ثُمَّ يُؤَلِّفُ بَيْنَهُ ثُمَّ يَجْعَلُهُ رُكَامًا فَتَرَى الْوَدْقَ يَخْرُجُ مِنْ خِلَالِهِ وَيُنَزِّلُ مِنَ السَّمَاءِ مِن جِبَالٍ فِيهَا مِن بَرَدٍ فَيُصِيبُ بِهِ مَن يَشَاءُ وَيَصْرِفُهُ عَن مَّن يَشَاءُ يَكَادُ سَنَا بَرْقِهِ يَذْهَبُ بِالْأَبْصَارِ

“เจ้าไม่เห็นดอกหรือ แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงขับเมฆ (ให้ล่องลอยไปตามทิศทางต่างๆตามพระประสงค์ของพระองค์) หลังจากนั้นพระองค์ทรงบันดาลให้มีการประสานกันระหว่างมันแล้วทรงทำให้รวมกัน เป็นกลุ่มก้อน ดังนั้นเจ้าก็จะเห็นฝนโปรยลงมาจากกลุ่มเมฆนั้นและพระองค์ทรงให้มันตกลงมาจาก ฟากฟ้า มีขนาดเท่าภูเขา ในนั้นมีลูกเห็บ และพระองค์จะทรงให้มันหล่นลงมาโดนผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงให้มันผ่านพ้นไปจากผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ แสงประกายของสายฟ้าแลบเกือบจะเฉี่ยวสายตาผู้มอง” (๒๔/๔๓)

โองการนี้ได้กล่าวอย่างชัดเจนถึงภารกิจในการบริหารงานของพระองค์ ซึ่งบ่งชี้ว่าพระองค์นั้นทรงมีภารกิจอยู่ทุกกาลเวลาและทรงบริบาลเสมอ พระองค์ไม่เคยหยุดการบริบาลของพระองค์ และสิ่งนี้ก็คือการบะดาอฺนั่นเอง

อิมามซอดิก (อ.) อธิบายโองการดังกล่าวว่า
“แท้จริงพวกยิวได้กล่าวหาพระองค์อัลลอฮฺ ว่าพระองค์ทรงหยุดการบริหารไม่เพิ่มพูนหรือตัดทอนสิ่งใดๆ อีกแล้ว (ทั้งด้านตัชรีอีย์และตักวีย์) พระองค์จึงตรัสตอบพวกเขาว่าแท้จริงพวกเขานั้นได้ใส่ร้ายพระองค์” (๑)

ความหมายของโองการที่กล่าวว่า “พระองค์ทรงภารกิจ (ในการบริหารและบันดาลทุกขณะ)” หมายถึงฐานะภาพการเป็นพระผู้อภิบาลของพระองค์ พระองค์ทรงบริหาร ทรงบันดาล และทรงเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งทรงตอบรับคำร้องขอของมวลสรรพสิ่ง พระองค์ไม่เคยเมินเฉยหรือหยุดการบริหารแม้แต่วินาทีเดียว และสิ่งนี้ก็คือ การบะดาอฺ ของพระองค์นั่นเอง

๒.โองการตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺ
หลังจากที่ได้อ้างโองการอัล-กุรอานเกี่ยวกับหลักความเชื่อในเรื่องบะดา อฺว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นซิฟาตหนึ่งของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) หลังจากนี้จะนำตัวอย่างเรื่องบะดาอฺที่กล่าวไว้ในอัล-กุรอานเสนอแด่ท่านผู้ อ่านอาทิเช่น

๒.๑ เรื่องราวการเชือดพลีท่านศาสดาอิสมาอีล (อ.)
อัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องราวของท่านศาสดาอิสมาอีล (อ.) ว่า พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีคำสั่งให้ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ผู้เป็นบิดาทำการเชือดลูกชาย แต่หลังจากนั้นอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเปลี่ยนแปลงคำสั่ง และแทนที่การเชือดท่านศาสดาอิสมาอีลเป็นการเชือดแกะแทน เหตุการณ์ดังกล่าวถือว่าเป็นการบะดาอฺ ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) อัล-กุรอานซูเราะฮฺซอฟาตโองการที่ ๑๐๑-๑๐๗ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

فَبَشَّرْنَاهُ بِغُلَامٍ حَلِيمٍ فَلَمَّا بَلَغَ مَعَهُ السَّعْيَ قَالَ يَا بُنَيَّ إِنِّي أَرَى فِي الْمَنَامِ أَنِّي أَذْبَحُكَ فَانظُرْ مَاذَا تَرَى قَالَ يَا أَبَتِ افْعَلْ مَا تُؤْمَرُ سَتَجِدُنِي إِن شَاءَ اللَّهُ مِنَ الصَّابِرِينَ فَلَمَّا أَسْلَمَا وَتَلَّهُ لِلْجَبِينِ وَنَادَيْنَاهُ أَنْ يَا إِبْرَاهِيمُ قَدْ صَدَّقْتَ الرُّؤْيَا إِنَّا كَذَلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ إِنَّ هَذَا لَهُوَ الْبَلَاءُ الْمُبِينُ وَفَدَيْنَاهُ بِذِبْحٍ عَظِيمٍ
“ดังนั้น เราจึงแจ้งข่าวดีแก่เขา (ว่าจะได้) ลูกคนหนึ่ง ที่มีความอดทนขันติ” (คือ อิสมาอีล) ,ครั้นเมื่อเขา (อิสมาอีล) เติบโตขึ้นไปไหนมาไหนกับเขา (อิบรอฮีม) ได้แล้ว อิบรอฮีมได้กล่าวขึ้นว่า “โอ้ลูกเอ๋ย ! แท้จริงพ่อได้เห็นในขณะฝันว่า พ่อได้เชือดเจ้า ดังนั้นจงพิจารณาเถิดว่าเจ้าเห็นเป็นอย่างไร? เขาตอบว่า “โอ่พ่อจ๋า! พ่อจงปฏิบัติตามที่พ่อได้ถูกบัญชามาเถิด (ตามความฝันดังกล่าว) หากอัลลอฮฺทรงประสงค์ พ่อจะได้เห็นว่าฉันเป็นผู้หนึ่งที่มีความอดทน ,ครั้นเมื่อทั้งสอง (พ่อและลูก) ได้ยอมมอบตน (ต่อคำบัญชานั้น) อิบรอฮีมได้ให้อีสมาอีลคว่ำหน้าลงกับพื้น และเราได้เรียกเขาว่า “โอ้ อิบรอฮีม” เอ๋ย! ,แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตามฝันแล้ว แท้จริง เราจะตอบแทนบรรดาผู้ประพฤติคุณความดีทั้งหลาย ,แท้จริง นั่นคือ การทดสอบที่ชัดแจ้งที่สุด,และเราได้ไถ่การเชือดเขาด้วยการเชือดพลีที่ยิ่ง ใหญ่”

จากโองการข้างต้นสามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้.

๑. ความฝันของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นความจริงและเป็นวะหฺยู
๒. สิ่งที่ท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ได้เห็นในความฝันนั้นเป็นคำสั่งที่มาจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ที่สั่งให้เชือดท่านอิสมาอีล
๓. การเปลี่ยนแปลงการเชือดท่านศาสดาอิสมาอีล คือการบะดาอฺ นั่นเอง

คำอธิบายบทวิเคราะห์ที่ ๑
ความฝันของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) เป็นความจริงและเป็นวะหฺยู

หลักความเชื่อประการหนึ่งของมุสลิมทั้งหลาย เชื่อว่าแท้จริงคำพูดและคำสั่งต่างๆ ของบรรดาศาสดา (อ.) นั้นถือว่าเป็นวะหฺยูจากพระองค์อัลลอฮฺ และแม้แต่ความฝันก็ถือว่าเป็นวะหฺยูของพระองค์เช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ว่าชัยฎอนมารร้ายไม่สามารถหลอกลวงบรรดาศาสดาทั้งหลาย ดังนั้นความฝันของท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ที่ฝันว่าท่านได้ทำการเชือดบุตรชายถือว่า เป็นความจริง

คำอธิบายบทวิเคราะห์ที่ ๒
ความฝันของศาสดาอิบรอฮีมที่ให้เชือดบุตรชายเป็นคำสั่งจากพระองค์ฮัลลอฮฺ

ประการที่สองนั้นเป็นการเห็นพร้องตรงกันของทุกฝ่ายว่า ความฝันของท่านศาสดาอิบรอฮีมนั้นเป็นคำสั่งของพระองค์อัลลอฮฺ และเป็นหลักชัรอีย์ที่ต้องปฎิบัติ ตาม ไม่ใช่สิ่งไร้สาระเพราะพระองค์ทรงกระทำทุกอย่างแบบมีเป้าหมายและจุดประสงค์ (ทรงหะกีม) ขณะที่ท่านศาสดาอิบรอฮีมและศาสดาอิสมาอีล (อ.) ก็ได้สนองตอบคำบัญชานั้นโดยนำท่านศาสดาอิสมาอีลไปเชือด เป็นการบ่งบอกว่าสิ่งที่ท่านศาสดาอิบรอฮีมได้ฝันเห็นเป็นบัญชาที่มาจากอัล ลอฮฺ (ซบ.)

คำอธิบายบทวิเคราะห์ที่ ๓
การเปลี่ยนแปลงการเชือดท่านศาสดาอิสมาอีล คือการบะดาอฺนั่นเอง
ประการที่สามถือว่าเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด เพราะคำบัญชาที่ให้เชือดท่านอิสมาอีล (อ.)ได้ถูกเปลี่ยนแปลงความตายของท่านศาสดาอิสมาอีลจึงไม่ได้เกิดขึ้น เหตุเพราะพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเปลี่ยนแปลงคำบัญชาและความตายของท่านอิสมาอีล (อ) และสิ่งนี้คือการบะดาอฺของพระองค์อัลลอฮฺนั่นเอง ฉะนั้นเหตุการณ์ดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงเรื่องบะดาอฺว่าเป็นสิ่งที่ได้เกิด ขึ้นจริง ดังที่พระองค์ตรัสว่า
“และเราได้ไถ่การเชือดเขาด้วยการเชือดพลีที่ยิ่งใหญ่”

๒.๒ เรื่องราวของประชาชาติศาสดายูนุส (อ.)
ท่านสาสดสยูนุส (อ.) ได้ประกาศเรียกร้องเชิญชวนประชาชาติของท่านเข้าสู่ศาสนาแห่งพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) แต่ทว่าพวกเขาไม่ศรัทธาและไม่ตอบรับคำเชิญ ดังนั้นท่านศาสดายูนุสจึงได้กล่าวกับพวกเขาว่า การลงโทษจากพระองค์อัลลอฮฺจะประสบกับพวกท่าน ถ้าพวกท่านไม่ศรัทธาแต่ในที่สุดการลงโทษนั้นไม่ได้เกิดขึ้น เพราะถูกบะดาอฺ และถูกเปลี่ยนแปลงโดยพระองค์อัลลอฮฺ(ซบ.) ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า

فَلَوْلاَ كَانَتْ قَرْيَةٌ آمَنَتْ فَنَفَعَهَا إِيمَانُهَا إِلاَّ قَوْمَ يُونُسَ لَمَّآ آمَنُواْ كَشَفْنَا عَنْهُمْ عَذَابَ الخِزْيِ فِي الْحَيَاةَ الدُّنْيَا وَمَتَّعْنَاهُمْ إِلَى حِينٍ

“ถ้ากลุ่มชนได้ศรัทธามั่น การศรัทธาของพวกเขาจะอำนวยประโยชน์แก่พวกเขา (จะปลอดภัยจากการลงโทษ) ยกเว้นกลุ่มชนของยูนุส เมื่อพวกเขาศรัทธา เราได้ปลดเปลื้องการลงโทษอันอัปยศจากพวกเขา ในการมีชีวิตในโลกนี้และเราได้ยึดเวลาระยะหนึ่ง แก่พวกเขา” (ยูนุส/๙๘)

โองการได้ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มชนของศาสดายูนุสไม่ถูกลงโทษจากพระองค์อัล ลอฮฺ (ซบ.) ทั้งๆที่พระองค์ทรงกำหนดการลงโทษแก่พวกเขาแล้ว แต่เนื่องจากพวกเขามีความศรัทธาก่อนการลงโทษจะเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้พระองค์อัลลอฮฺจึงทรงเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ (บะดาอฺ) การลงโทษนั้น ซึ่งเป็นเหตุทำให้พวกเขาไม่ถูกลงโทษและความตายก็ไม่บังเกิดกับพวกเขา สิ่งนี้เรียกว่าเป็นการบะดาอฺของพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.)

ท่านอิมามบาเกรฺ (อ.) กล่าวถึงโองการเกี่ยวกับการยกเลิกชะรีอัตและการบะดาอฺว่า
“พระองค์อัลลอฮฺจะทรงกระทำและทรงเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งตามประสงค์ของพระองค์ ดังเช่นเรื่องราวของศาสดายูนุส (อ.) พระองค์ทรงบะดาอฺต่อพวกเขา(โดยไม่ได้ลงโทษ) อันถือว่าเป็นความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อประชาชาติยูนุส”(๑)

๓.เรื่องราวของการรับโองการของท่านศาสดามูซา(อ)
การขึ้นรับโองการของท่านศาสดมูซา (อ.) เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน เป็นเรื่องการบะดาอฺ (เปลี่ยนแปลง) สัญญาของพระองค์ที่มีต่อท่านศาสดามูซา (อ.) กล่าวคือพระองค์อัลลอฮฺได้มีบัญชาให้ท่านศาสดามารับโองการในชวง ๓๐ คืน ซึ่งท่านศาสดามูซาได้แต่งตั้งให้ท่านศาสดาฮารูนเป็นตัวแทน ต่อมาพระองค์ได้เปลี่ยนแปลงจากสัญญาจาก ๓๐ คืนเป็น ๔๐ คืน ดังนั้นเมื่อท่านศาสดามูซากลับมาท่านได้เห็นประชาชาติของท่านกราบไหว้วัวแทน การอิบาดะฮฺต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) อัล-กุรอานกล่าวว่า

وَوَاعَدْنَا مُوسَى ثَلاَثِينَ لَيْلَةً وَأَتْمَمْنَاهَا بِعَشْرٍ فَتَمَّ مِيقَاتُ رَبِّهِ أَرْبَعِينَ لَيْلَةً وَقَالَ مُوسَى لأَخِيهِ هَارُونَ اخْلُفْنِي فِي قَوْمِي وَأَصْلِحْ وَلاَ تَتَّبِعْ سَبِيلَ الْمُفْسِدِينَ
“และเราสัญญาต่อมูซาว่า(จะมอบคัมภีร์เตารอต)ให้ในชั่วสามสิบคืน และเราได้ทำให้ครบ (เพิ่ม) อีกสิบคืน ดังนั้นกำหนดเวลาขององค์อภิบาลของเขาจึงครบสมบูรณ์สี่สิบคืน และมูซาได้กล่าวกับพี่ชายของเขาฮารูน ว่าท่านจงทำหน้าที่แทนฉัน (ในการดูแล) ประชาชาติของฉัน และจงปรับปรุงแก้ไข แต่จงอย่าปฏิบัติตามแนวทางของบรรดาผู้บ่อนทำลายเด็ดขาด” (อะอฺรอฟ /๑๔๒)

การเปลี่ยนแปลงสัญญาจาก ๓๐ คืนเป็น ๔๐ คืนคือการบะดาอฺของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ซึ่งพระองค์ทรงต้องการดูว่าใครเป็นผู้ที่ศรัทธาที่แท้จริง และการเปลี่ยนแปลงสัญญานั้น พระองค์ทรงกำหนดไว้แล้ว ณ เลาหิลมะห์ฟูซ

ยังมีโองการอีกมากมายที่กล่าวถึงตัวอย่างของเรื่องบะดาอฺ อาทิเช่นเรื่องราวของศาสดานูห์ (อ.) และประชาชาติอื่นๆ ที่พระองค์ทรงบะดาอฺสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ก่อนแล้วแก่พวกเขา ซึ่งสามารถศึกษาเรื่องราวเหล่านี้เพิ่มเติมได้จากตำราตัฟซีรต่างๆ


โปรดติดตามต่อ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์
บะดาอ์:เผยหรือพลิกลิขิตของพระองค์?

๒.หลักฐานเรื่องบะดาอฺในมุมมองของหะดีษ
หลักฐานและข้อพิสูจน์เรื่องบะดาอฺในมุมมองของหะดีษ สามารถแบ่งได้ดังนี้

๒.๑ หะดีษที่กล่าวถึงความสำคัญของบะดาอฺ
๒.๒ หะดีษที่กล่าวถึงการพิสูจน์เรื่องบะดาอฺ
๒.๓ หะดีษที่กล่าวถึงเหตุการณ์ของบะดาอฺ

หะดีษประเภทที่ ๑. ความสำคัญของเรื่องบะดาอฺ
๑.รายงานจากท่านมุฮัมมัด อัตตอร จากอิบนิอีซา จากซุรอเราะฮฺกล่าวว่าท่านอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดที่จะให้การอิบาดะฮฺพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) เหมือนกับการเชื่อเรื่องบะดาอฺ”

๒.ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
“ไม่มีสิ่งใดที่จะแสดงความยิ่งใหญ่ต่อพระองค์อัลลอฮฺ เหมือนกับการเชื่อต่อเรื่องบะดาอฺ”

๓.ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
“ไม่มีศาสดาท่านใดที่จะถูกแต่งตั้งมา นอกจากเขาจะต้องปฏิญาณต่อพระองค์อัลลอฮฺ ๕ ประการเสียก่อน อันได้แก่ความเชื่อต่อเรื่องบะดาอฺ ความเชื่อต่อความประสงค์ (ของพระองค์) ซูยูด (ต่อพระองค์) แสดงความเป็นบ่าว และเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์”

๔.ท่านอิมามอะลี ริฎอ (อ.) กล่าวว่า
“พระองค์อัลลอฮฺจะไม่ส่งศาสดาท่านใดมา นอกจากเพื่อให้เขาห้ามการดื่มสุราและกล่าวปฏิญาณต่อเรื่องบะดาอฺ”

๕.ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
“ถ้าหากว่ามนุษย์ได้รับรู้ถึงมรรคผลต่อการเชื่อต่อเรื่องบะดาอฺ แน่นอนจะไม่มีใครปฏิเสธต่อสิ่งนี้อย่างแน่นอน”

หะดีษประเภทที่ ๒ หะดีษที่กล่าวถึงการพิสูจน์เรื่องบะดาอฺ
๑.ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
“แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺจะไม่บะดาอฺ (เปลี่ยนแปลง) สิ่งใด นอกจากทั้งหมดนั้นอยู่ในความรอบรู้ของพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะทรงบะดาอฺ”

หะดีษบทนี้ต้องการพิสูจน์เรื่องบะดาอฺว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้สำหรับ พระองค์ ซึ่งทั้งหมดพระองค์ทรงรู้มาก่อนล่วงหน้า มิใช่ว่าพระองค์ทรงรู้ทีหลังว่าไม่ดีหรือดีแล้วมาเปลี่ยน และหะดีษบทนี้ต้องการจะกล่าวแก่ผู้ที่คัดค้านเรื่องบะดาอฺว่าสิ่งนี้เป็น สิ่งที่เป็นไปได้ และมิได้หมายความว่าพระองค์ไม่ทรงรอบรู้หรือโง่เขลา

๒.ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวอีกว่า
“แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺจะไม่ทรงบะดาอฺ (เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์) เนื่องจากความโง่เขลา”

๓.รายงานจากอะลี อิบนิอิบรอฮีม จากมุฮัมมัด อิบนิอีซา จากยุนูส จากมันศูร อิบนิฮาซิมกล่าวว่า “ฉันได้ถามท่านอิมามซอดิกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ พระองค์อัลลอฮฺไม่ทรงรู้มาก่อนกระนั้นหรือเมื่อวาน ? ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า หามิได้แท้จริงพระองค์ทรงรู้ทุกอย่าง และถ้าใครกล่าวเช่นนี้ ขอพระองค์ได้โปรดทำให้เขาอัปยศด้วยเถิด ฉันพูดต่ออีกว่า และสิ่งที่เกิดมาแล้ว หรือสิ่งที่จะเกิดจนถึงกิยามัต ไม่ได้อยู่ในความรอบรู้ของพระองค์ดอกหรือ ? อิมาม (อ.)กล่าวว่า หามิได้ แท้จริงพระองค์ทรงรู้มาก่อนการสร้างเสียอีก”

๔.อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
“ใครก็ตามที่คิดว่าพระองค์บะดาอฺทุกสิ่งขึ้นมาในสภาพที่พระองค์ไม่ทรงรอบ รู้มาก่อนนั้น ท่านจงออกห่างจากเขาเถิด”

๕.ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
“แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงมีความรอบรู้ ๒ ประเภทคือ อิลมุมักนูน หมายถึงพระองค์รอบรู้ในทุกเรื่อง โดยที่พระองค์ไม่ทรงสอนให้ใครได้รู้ เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ทรงรู้ซึ่งสิ่งนั้นคือการบะดาอฺ ประเทภที่๒ ความรู้ที่พระองค์ทรงสอนต่อมะลาอิกะฮฺและบรรดาศาสดาของพระองค์”

หะดีษประเภทที่๓ หะดีษที่กล่าวถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺ
๑.ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
“เมื่อท่านศาสดาอีซา (อ.) ได้เดินผ่านชนกลุ่มหนึ่งที่กำลังรื่นเริงอยู่ ท่านศาสดาอีซากล่าวว่า พวกเขากำลังทำอะไรกัน ? มีคนหนึ่งกล่าวว่า โอ้รูฮุลลอฮฺ แท้จริงในคืนนี้มีหญิงสาวคนหนึ่งได้ถูกส่งมอบให้แก่ชายผู้หนึ่ง ท่านศาสดาล่าวว่า แท้จริงในวันนี้พวกเขาสนุกสนานรื่นเริงกัน แต่วันพรุ่งนี้พวกเขาจะร้องไห้เสียใจ มีคนหนึ่งถามว่า เป็นเพราะอะไรหรือ ? ท่านศาสดา (อ.) ตอบว่า เพราะจะมีสหายของพวกเขาเสียชีวิตในคืนนี้ ผู้ทีได้ยินกล่าวว่า แท้จริงพระองค์อัลลออฮฺและศาสนทูตของพระองค์สัจจะยิ่ง”

เมื่อบรรดาพวกกลับกลอก (มุนาฟิก) ได้ยินเช่นนั้นได้กล่าวว่าพวกเราจะคอยดูซิว่าอะไรจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ ?

เมื่อถึงวันรุ่งขึ้นคนกลุ่มนั้นได้ตื่นขึ้นมา และเห็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นตามที่ท่านศาสดาอีซา (อ.) ได้กล่าวไว้ พวกเขาได้มาหาท่านศาสดา (อ.) แล้วพูดว่า โอ้รูหุลลอฮฺ ท่านได้บอกแก่พวกเราเมื่อวานนี้ว่าจะมีคนเสียชีวิต จนถึงบัดนี้ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ท่านศาสดา (อ.) กล่าวว่า แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺจะทรงกระทำสิ่งใดก็ได้ตามที่พระองค์ทรงประสงค์”

๒.อิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า
“มะลาอิกะตุลเมาตฺ (มะลาอิกะอฺปลิดวิญญาณ) ได้มาหาท่านศาสดาดาวูดแล้วแจ้งข่าวว่า เด็กหนุ่มที่อยู่กับท่านนั้นจะตายหลังจากนี้อีกเจ็ดวัน หลังจากเวลาได้ผ่านไปเจ็ดวัน เด็กหนุ่มคนนั้นก็ยังมีชีวิตอยู่เขายังไม่ตาย ต่อมามะลาอิกะตุลเมาตฺได้มาหาท่านศาสดาดาวูดอีกครั้งแล้วกล่าวว่า โอ้ดาวูด แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงเมตตาเด็กหนุ่มคนนั้น เนื่องจากความเมตตาของเจ้าพระองค์ทรงประวิงเวลาให้กับเขาจนอายุถึง ๓๐ ปี”

๓.ริวายะฮฺบทหนึ่งกล่าวว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับชาวยิวคนหนึ่งว่า ความตายนั้นจะมาประสบกับยิวคนหนึ่งต่อมายิวคนนั้นได้มาท่านศาสดาแล้วพูดว่า สิ่งที่ท่านกล่าวนั้นยังไม่ได้เกิดกับฉันเลย ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่าท่านได้ทำไรบ้างละในวันนี้ ? เขาตอบว่า ฉันไม่ได้ทำอะไร นอกจากได้ศ่อดะเกาะฮฺแก่คนจนคนหนึ่ง ท่านศาสดา (ศ็อฯ) ได้กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้เอง (การศ่อดะเกาะฮ) พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงเปลี่ยนแปลงความตายของเจ้า และท่านได้กล่าวอีกว่า แท้จริงการศ่อดะเกาะฮฺจะขจัดความตาย (ที่ถูกกำหนด) ให้ออกไปจากมนุษย์”

หะดีษทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างที่กล่าวถึงเรื่อง บะดาอฺ ซึ่งยังมีหะดีษอีกมากมายที่กล่าวถึงเรื่องนี้ ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือบิฮารุลอันวารฺ เล่มที่๔ อุศุลุลกาฟียฺ์ เล่มที่ ๑ เตาฮีดศะดูก และอื่นๆ

๓.หลักฐานเรื่องบะดาอฺในตำราหะดีษของอะลิซซุนนะฮฺ
ประเด็นที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นหลักฐานเรื่องบะดาอฺ ที่ปรากฏในตำราหะดีษของอะลิซซุนนะฮฺ เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าหลักความเชื่อเรื่องบะดาอฺเป็นเรื่องความ เชื่อของมุสลิมทุกคน ไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่ชีอะฮฺ และหลักความเชื่อนี้มิได้มีบันทึกอยู่เฉพาะในตำราของชีอะฮฺเท่านั้นมีบันทึก อยู่ในตำราหะดีษของอะลิซซุนนะฮฺด้วยเช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

๑.รายงานจากท่านซะยูฎีย์ จากท่านอะลี อิบนิอะบีฎอเล็บ ว่าท่านได้ถามท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เกี่ยวกับโองการ ๓๙ ซูเราะฮฺเราะดุ ท่านศาสาดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า
“ฉันจะทำให้สายตาของเจ้า (โอ้อะลี) และอุมมะฮฺของฉันภายหลังจากฉันประจักษ์แจ้งต่อความหมายของโองการนี้ แท้จริงการศ่อดะเกาะฮฺ การทำดีต่อบิดามารดา และการทำความดีอื่นๆ เป็นสิ่งที่จะมาเปลี่ยนแปลงชะตากรรม (ของมนุษย์) ที่อัปโชคให้เป็นผู้ที่มีความสันติสุข และยังเพิ่มอายุไขของมนุษย์ (ให้ยืนยาว) อีกทั้งเป็นการทำลายความชั่วทั้งหลาย (ออกจากตัวเขา)”(๑)

๒.ท่านฮากิมนิชาบูรียฺได้นำสายรายงานจากอิบนิอับบาสว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า
“แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺจะทรงลบเลือน (ความชั่วจากมนุษย์) ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ตามประสงค์ของพระองค์ด้วยการดุอาอฺ”

๓.รายงานจากอบูฮุรัยเราะฮฺว่าท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ได้กล่าวว่า.
“สิ่งที่ถูกกำหนด (กะฎอ) จะไม่ถูกลบเลือนออกไปนอกจากการดุอาอฺ และอายุไขจะไม่ถูกทำให้ยืนยาวนอกจากการทำดี”

๔.ท่านอะหมัด อิบนิฮัมบัลได้นำหะดีษบทหนึ่งซึ่งรายงานจากท่านเซาบานว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า
“แท้จริงมนุษย์จะถูกบันทอนริซกีย์ด้วยกับการกระทำบาป และสิ่งที่ถูกกำหนด(กะฎอ) จะไม่ถูกลบเลือนไปนอกจากการดุอาอฺ และอายุไขจะไม่ถูกทำให้ยืนยาวออกไปนอกจากการกระทำดี”

๕.รายงานจากท่านอิบนิอุมัรว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า
“การวิงวอนขอพร (ดุอาอฺ) จะให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ในสิ่งที่ได้ถูกประทานมาและในสิ่งที่ไม่ได้ถูกประทาน มา ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงอิบาดะฮฺต่อพระองค์อัลลอฮฺด้วยการดุอาอฺเถิด”

และหะดีษอื่นๆ อีกมากมาย ศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราหะดีษของอะลิซซุนนะฮฺ เช่น อัลมุตัดร็อก ของท่านฮากิมนิชาบูรีย์ อัลมุสนัด ของท่านอิมามอะหมัด สุนันติรฺมีซีย์ของท่านตีรฺมีย์ และอื่นๆ

ตอนที่๓ ถาม-ตอบปัญหาเรื่องบะดาอฺ
สิ่งที่จะกล่าวต่อไปเป็นปัญหาโต้แย้งเรื่องบะดาอฺงถือว่าเป็นอีกประเด็น หนึ่งที่มีความสำคัญเนื่องจากมีอุละมาอ์ฝ่ายอหฺลิซซุนนะฮฺจำนวนไม่น้อยได้ แสดงทรรศนะโดยไม่ยอมรับเรื่องบะดาอฺ และยังได้เขียนเรื่องบะดาอฺเพื่อเป็นการตอบโต้ชีอะฮฺอิมามียะฮฺไว้อีกต่าง หาก ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่ต้องนำเอาข้อขัดแย้งเหล่านั้น พร้อมทั้งคำตอบของเรื่องบะดาอฺมากล่าว เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีต่อผู้ศึกษาต่อไป

คำถามที่๑
หลักความเชื่อเรื่องบะดาอฺจะว่าถูกต้องได้อย่างไรเพราะว่าความหมายของคำ ว่าบะดาอฺ คือการเปิดเผยหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งก่อนหน้านั้นพระองค์อัล ลอฮฺ (ซบ.) ไม่ทรงทราบมาก่อนและการเชื่อเรื่องบะดาอฺเท่ากับพระองค์อัลลอฮ (ซบ.) ทรงโง่เขลา ?

ตอบ
สามารถแบ่งคำตอบได้ดังนี้คือ แท้จริงแล้วความหมายของคำว่าบะดาอฺมี ๒ลักษณะกล่าวคือ

๑.ความหมายเชิงภาษาหมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือการเปิดเผยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
๒.ความหมายเชิงวิชาการหมายถึง การเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์หนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นพระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงรับรู้ล่วงหน้ามาก่อนแล้ว

ดังนั้ความหมายของบะดาอฺตามแนวคิดของชีอะฮฺคือให้ความหมายตามเชิงวิชาการ นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์ใดกฏเกณฑ์หนึ่งต่อบ่าวหรือระบบการบริหารของ พระองค์ โดยที่ก่อนหน้านั้นพระองค์ทรงทรงทราบมาก่อนล่วงหน้าถึงการเปลี่ยนแปลงนั้น ต่อมาพระองค์ได้เปิดเผยให้บ่าวของพระองค์ได้รับรู้ เพราะว่าการบะดาอฺจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องมีสาเหตุ กล่าวคือการบะดาอฺของพระองค์อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้ ไม่ใช่ว่าพระองค์จะบะดาอฺให้ใครคนใดคนหนึ่งมีอายุยืนเกิน ๑๐๐ ปีหรือมีอายุสั้นแค่ ๓ ปี เพราะหากพิจารณาอัล-กุรอานและหะดีษเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺที่กล่าวผ่านมาทั้ง หมด ตอนที่๒) นั้นอยู่ภายใต้สาเหตุและกฏเกณฑ์

เช่นเรื่องราวของท่านศาสดาอิสมาอีล(อ.) ประชาชาติของศาสดายูนุส(อ.) ,เรื่องราวของท่านศาสดานูห์ (อ.) หรือหะดีษจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่กล่าวถึงเรื่องการศ่อดะเกาะฮ การมีสัมพันธ์ที่ดีต่อเครือญาติ จะทำให้อายุยืน และการทำซินา การดื่มสุราและการประกอบอบายมุขอื่นๆ จะเป็นสาเหตุทำให้อายุสั้นลง

ดังนั้นการเชื่อเรื่องบะดาอฺไม่ได้เป็นเหตุนำไปสู่ความเชื่อว่าพระองค์ อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงโง่เขลาเพราะอัล-กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องบะดาอฺ ขณะเดียวกันก็กล่าวยืนยันถึงความรอบรู้ของพระองค์ที่ครอบคลุมเหนือทุกสิ่ง ไม่ว่าก่อนสร้างหรือหลังสร้าง เพื่อไม่ให้มนุษย์มีความสงสัยเคลือบแคลงต่อความรอบรู้ของพระองค์ ดังที่อัล-กุรอานกล่าวว่า

“ไม่มีสิ่งใดเลยจะปิดบังพระองค์ ทั้งในชั้นฟ้าและชั้นดิน” (อิบรอฮีม/๓๘)
“ไม่ว่าสิ่งใดที่เปิดเผยหรือปิดบังอยู่ แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงรอบรู้ทุกสิ่ง”(อะฮซาบ/๕๔)

คำถามที่๒..
ถ้าเรื่องบะดาอฺเป็นหลักการที่ถูกต้องทำไมตำราหะดีษของอะลิซซุนนะฮฺไม่นำ มากล่าวไว้บ้าง?

ตอบ
แท้จริงแล้วหลักความเชื่อเรื่องบะดาอฺ เป็นหลักการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอั-ลกุรอานและหะดีษ ดังนั้นจึงเป็นหลักความชื่อของมุสลิมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชีอะฮฺหรือซุนนะ ฮฺก็ตาม ซึ่งไม่ได้เฉพาะเจาะจงอยู่แค่มัซฮับชีอะฮฺอย่างเดียว แต่การที่อุลามาอ์ฝ่ายอะลิซซุนนะฮฺไม่ยอมรับหลักการนี้ เนื่องจากการตีความคำว่า บะดาอฺ แตกต่างกัน ซึ่งถ้าย้อนกลับไปดูตำราหะดีษหรือตัฟซีรฺของพวกอหฺลิซซุนนะฮฺจะพบว่าแท้จริง พวกเขาก็ได้นำเรื่องบะดาอฺมากล่าวไว้เช่นกัน แค่แตกต่างกันในเรื่องของการตีความและคำที่นำมาใช้เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามความหมายของบะดาอฺที่พวกเขาได้นำมากล่าวก็คือสิ่งเดียวกัน กับที่ชีอะฮฺได้กล่าว ซึ่งจะขอนำเสนอหลักฐานจากตำราหะดีษและตัฟซีรฺของอุลามาอ์ฝ่ายอะลิซซุนนะ ฮฺที่ได้กล่าวถึงเรื่องบะดาอฺไว้ดังนี้

๑.ท่านซุยูฎีย์ได้นำหะดีษบทหนึ่งจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ) โดยรายงานมาจากท่านอะลี อิบนิอะบีฎอลิบว่า ท่านอะลีได้ถามท่านศาสดา (ศ็อลฯ)เกี่ยวกับโองการที่ ๓๙ ซูเราะฮฺเราะดุที่ได้ถูกประทานลงมา (พระองค์อัลลฮทรงลบเลือนสิ่งใดก็ได้ตามประสงค์ของพระองค์”) ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวว่า

“ฉันจะทำให้สายตาของเจ้า (โอ้อะลี) และอุมมะฮฺของฉันภายหลังจากฉันประจักษ์แจ้งต่อความหมายของโองการนี้ แท้จริงการศ่อดะเกาะฮฺ การทำดีต่อบิดามารดา และการทำความดีอื่นๆ เป็นสิ่งที่จะมาเปลี่ยนแปลงชะตากรรม (ของมนุษย์) ที่อัปโชคให้เป็นผู้ที่มีความสันติสุข และยังเพิ่มอายุไขของมนุษย์ (ให้ยืนยาว) อีกทั้งเป็นการทำลายความชั่วทั้งหลาย (ออกจากตัวเขา)”(๑)

จากหะดีษที่ท่านซุยูฎัย์ได้นำเสนอนั้น ชี้ให้เห็นว่าแท้จริงแล้วการงานของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับการ กระทำและความประพฤติของเขา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นคือ การบะดาอฺ ที่มัซฮับชีอะฮฺได้กล่าวถึงและมีความเชื่อ

๒.รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮฺว่าท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า
“สิ่งที่ถูกกำหนด (ชะตากรรม)ของมนุษย์จะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงไป นอกจากการดุอาอฺ และอายุไขของมนุษย์ก็จะไม่ยืนยาวออกไปนอกจากเขาได้กระทำความดี”(๒)

“อัตตาญุลยามิอฺ ลิลอุศูล”ได้บันทึกหะดีษเกี่ยวกับเรื่องบะดาอเอาไว้ และยังมีตำราหะดีษเล่มอื่นๆ อีกมากมายดังที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว(ในตอนที่ ๒ ตำราอหฺลิซซุนนะฮกับเรื่องบะดาอฺ) ฉะนั้นจากคำกล่าวหาของท่านอิมามฟักรุรฺรอซีย์ อะบุลฮะซัน อัลบัลฆีย์ และอิมามอัชอะรีย์ ถือว่าเป็นการกล่าวหาที่ไร้หลักฐานอีกทั้งท่านได้แสดงให้เห็นว่าท่านไม่เข้า ใจความหมายที่แท้จริงของคำว่าบะดาอฺ หรืออาจเป็นเพราะว่าความอคติที่มีต่อชีอะฮฺก็ว่าได้

คำถามที่๓
หลักความเชื่อเรื่องบะดาอฺ จะถูกต้องได้อย่างไร?เพราะว่ามีหะดีษอีกจำนวนหนึ่งกล่าวถึงการกำหนดที่ตาย ตัว และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ อีกหลังจากนั้น ดังหะดีษบทหนึ่งที่บันทึกว่า

“มะลาอิกะฮฺผู้ดูแล (ขั้นตอนการสร้างมนุษย์)ขณะที่ยังเป็นอสุจิได้กล่าวว่า โอ้พระผู้อภิบาลของข้า (เขาผู้นี้จะมีชะตากรรมที่ดีหรือไม่ดี) ดังนั้นมะลาอิกะฮฺได้บันทึกสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชา ได้บันทึกการงาน อายุไข และปัจจัยยังชีพของเขา หลังจากนั้นบัญชีทุกอย่างได้ปิดลง ดังนั้นไม่มีสิ่งใดอาจเพิ่มและลดลงได้อีก (ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้วหลังจากนั้น)”

ตอบ
แท้จริงหะดีษข้างต้น สามารถวิเคราะห์ได้ดังนี้ คือ

หะดีษดังกล่าวมีจำนวนไม่น้อยที่อุลามาอ์ฝ่ายอะลิซซุนนะฮฺได้บันทึกไว้ ทั้งศ่อฮีย์บุคคอรีย์ ศ่อฮีย์มุสลิม ติรฺมีซีย์และอื่นๆ เป็นหะดีษที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่า

๑.หะดีษเหล่านี้ได้ขัดแย้งกับอัล-กุรอาน เนื่องจากอัล-กุรอานได้กล่าวยืนยันไว้อย่างชัดเจนว่าแท้จริงการงานของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลง โดยขึ้นอยู่กับสาเหตุต่างๆ ที่พระองค์กำหนดไว้และที่สำคัญอัล-กุรอานยังได้กล่าวตำหนิต่อผู้ที่กล่าวใส่ ร้ายพระองค์อัลลอฮฺว่าพระองค์ทรงหยุดการบริหาร ดังเรื่องราวของพวกยิว พระองค์ตรัสว่า

وقاَلَتِ الْيَهُودُ يَدُ اللّهِ مَغْلُولَةٌ غُلَّتْ أَيْدِيهِمْ وَلُعِنُواْ بِمَا قَالُواْ بَلْ يَدَاهُ مَبْسُوطَتَانِ يُنفِقُ كَيْفَ يَشَاء
“และะชาวยิวนั้นได้ล่าวว่าพระหัตถ์ (อำนาจแห่งการบริหาร) ของพระองค์อัลลอฮฺ.ถูกล่ามตรวน (หมายถึงหยุดการบริหาร) มือของพวกเขาต่างหากที่ถูกล่ามตรวน และพวกเขาจะถูกสาปแช่งเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาได้กล่าวไว้ แต่ทว่าพระหัตถ์ทั้งสองของพระองค์ (หมายถึงอำนาจแห่งการบริหาร) ทรงแบอยู่เสมอ ซึ่งพระองค์จะทรงแจกจ่ายอย่างไรก็ได้ที่พระองค์ทรงประสงค์”(๕/๖๗)

อีกโองการหนึ่ง
“พระองค์อัลลออทรงลบสิ่งใดตามพระประสงค์ของพระองค์ และจะให้คงอยู่ตามประสงค์ของพระองค์”(เราะดุ/๓๙)

ดังนั้นเมื่อหะดีษได้ขัดแย้งกับอัล-กุรอาน จงขว้างมันทิ้งเสีย เพราะมันเป็นหะดีษที่ถูกอุปโลคขึ้นมาอย่างแน่นอน

๒.อีกเหตุผลหนึ่งหะดีษนั้นได้ขัดแย้งกับหะดีษอีกจำนวนหนึ่งที่ได้กล่าว ถึงการเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของมนุษย์ เช่นการบริจาฃคทาน การมีสัมพันธ์ที่ดีทางเครือญาติ การทำดีทั้งหลาย อันเป็นสาเหตุทำให้มีชีวิตที่ดีงาม และหะดีษในทางกลับกันถ้าผู้นั้นทำการฝ่าฝืน สิ่งนี้จะบันทอนให้อายุของเขาสั้นลง และมีชะตากรรมที่เลวร้าย เช่นบันทึกไว้ว่า

ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)กล่าวว่า
“ชะตากรรมของมนุษย์จะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง นอกจากการดุอาอฺ และอายุไขของมนุษย์ก็จะไม่ยืนยาวออกไปนอกจากการกระทำดี”(๑)

รายงานจากอิบนิอับบาสกล่าวว่าท่านศาสดาได้กล่าวว่า
“แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงลบสิ่งใดก็ได้ จากสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดไว้แล้ว (ก่อดัรฺ) ด้วยกับการดุอาอฺ”(๒)

และริวายะฮฺอื่นๆ อีกมากมายที่ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของมนุษย์ ดังนั้นหลักการได้กล่าวว่า เมื่อสองหะดีษได้ขัดแย้งกัน ก็จงนำไปเปรียบเทียบกับอัล-กุรอานว่าหะดีษใดมีความหมายไม่ขัดแย้งกับอัล-กุ รอานแน่นอนผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ อัลกุรอานได้สนับสนุนหะดีษที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของมนุษย์

คำถามที่๔
ความหมายของหะดีษในเรื่องบะดาอฺ เกี่ยวกับเรื่องของท่านอิสมาอีล บุตรชายของอิมามซอดิก(อ.) หมายความว่าอย่างไร?

ตอบ
ตำราหะดีษของชีอะฮฺกล่าวถึงเรื่องท่านอิสมาอีล บุตรชายคนโตของท่านอิมามซอดิก(อ.)ว่า ไม่มีการบะดาอฺใด (เปลี่ยนแปลง) ของพระองค์อัลลอฮฺจะยิ่งใหญ่ไปกว่าการบะดาอฺในเรื่องของอิสมาอีลบุตรชายของฉัน”

จากหะดีษข้างต้นสามารถวิเคราะห์ได้ว่า
๑.แท้จริงหะดีษบทนี้อุลามห์ฝ่ายชีอะฮ อาทีเช่นท่านมุฮักกิกฎูซีย์ และเชคมุฟีดได้กล่าว่าเป็นหะดีษที่มีสายรายงานขาดตอน (มุรฺซัน) และเป็นหะดีษประเภทค่อบัรฺวาฮิด หมายถึงสายรายงานมีน้อย ดังนั้นไม่อาจนำมาเป็นหลักฐานได้ ท่านมุฮักกิกฎูซีย์ได้กล่าวอีกว่า

“แท้จริงหะดีษเกี่ยวกับเรื่องบะดาอฺของท่านอิสมาอีล (ให้เสียชีวิตก่อน เพื่อตำแหน่งอิมามจะตกเป็นของท่านอิมามมูซา กาซิม) ถือว่าเป็นค่อบัรฺวาฮีด(มีสายรายงานน้อย)ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้” และหะดีษบทนี้มีเพียงท่านเชคศอดูกเท่านั้นที่ได้รายงานไว้ ดังนั้นอุละมาอ์เพียงคนเดียวไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานยืนยันความถูกต้องได้

๒.ประการที่สองแท้จริงหะดีษบทนี้ได้ขัดแย้งกับหะดีษมุตะวาตีรฺในเรื่องตำ แหน่งอิมาม เพราะมีหะดีษอีกจำนวนหนึ่งได้กล่าวถึงรายนามของบรรดาอิมามไว้ล่วงหน้าแล้ว อันเป็นการกำหนดที่ตายตัวไม่มีการเปลี่ยนใดๆ ดังนั้นเมื่อหะดีษที่มีสายรายงานน้อยได้คัดค้านกับหะดีษที่มีสายรายงานมา หลักการของวิชาหะดีษกล่าวว่าให้นำหะดีษที่มีสายรายงานมากขึ้นหน้า

๓.ประการที่สามผู้รายงานหะดีษบทดังกล่าวคือท่านเซด อัลนัรซีย์ อุละมาอ์ชีอะฮฺทั้งหมดกล่าวว่าเชื่อถือไม่ได้ และไม่เป็นบุคคลที่ไม่หน้าเชื่อถือ

๔.ประการที่สี่ ถ้าสมมติว่าหะดีษนี้เป็นหะดีษที่ถูกต้อง ดังนั้นความหมายของการบะดาอฺในหะดีษบทนี้ คือแท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงเปลี่ยนแปลงหรือบะดาอฺเรื่องการไม่สบาย และการป่ว่ยหนักของท่านอิสมาอีลต่างหาก ไม่ใช่เป็นการบะดาอฺในเรื่องตำแหน่งอิมามของท่านอิสมาอีลให้มาเป็นของท่านมูซา อัลกาซิม

๕.ประการที่ห้า แท้จริงเรื่องของบะดาอฺจะเกิดขึ้นต่อสิ่งที่ไม่ได้ถูกกำหนดตายตัว แต่เรื่องตำแหน่งอิมามเป็นเรื่องที่ได้ถูกหนดไว้ตายตัวแล้วจากพระองค์อัล ลอฮฺ (ซบ.) ด้วยเหตุนี้หะดีษดังกล่าวจึงขัดแย้งกับหลักการบะดาอฺอย่างสิ้นเชิง.



หนังสือประกอบการเรียบเรียง
ตำราภาษาอาหรับ
๑.บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๔ อัลลามะฮมัจลีซีย์
๒.อุศูลุลกาฟีย์ เล่มที่ ๑เชคกุลัยนีย์
๓.เตาฮีด ศะดูก เชคศะดูก
4.ชัรห์เตาฮีดศะดูก มุฟีด อัลกุมีย์
๕.อัศลุชีอะฮฺวะอุศูลุฮา กาชิฟุลฆิฎอ
๖.ฮักกุลยะกีน เล่มที่ ๑ อัลลามะฮชุบบัร
7.อะลาอิลุลมะกอลาต เชคมุฟีด
8.อัซฟาร เล่มที่ ๖ มุลลาศ๊อดรอ
๙.อัลบะดาห์ ฟิลกิตาบ วัซซุนนะฮ เชคยะฟัร ซุบฮานี
๑๐.อัลบะดาห์ ฟิลกุรอาน วัลหะดีษ อะยาตุลลอฮฮาดีย์ มะรีฟัต
๑๑. ตัลฆีซุลมุฮัซซอล มุฮักกิก ตุซีย์
๑๒.กัชฟุมุรอด อัลลามะฮฮีลลี้
๑๓.ตัฟซีรมัจมะอุลบะยาน อัลลามะฮฎอบัรซีย
๑๖.บุฮูซุน ฟีมุลัล นนิฮัล เล่มที่ ๖ เชคยะอฺฟัรซุบฮานี

ตำราภาษาเปอร์เซีย
๑.ยับรุอิคติยารฺ เชคยะฟัร ซุบฮานี
๒.อิฎอฮุลอิกมะฮ อะลี ร็อบบะนีย์ ฆุลบัยกานีย



โปรดติดตามต่อ

ขอขอบคุณเว็บไซต์ อัช ชีอะฮ์