ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี42%

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 132

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 132 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 40853 / ดาวน์โหลด: 7829
ขนาด ขนาด ขนาด
ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์

           ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ผู้เขียน : เชค มุฮ์ซิน ชะรีอัต

แปลและเรียบเรียงโดย : เชคกุลามอะลี อบอซัร

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้เมตตาเสมอ

บทนำ

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ศาสดาแห่งความเมตตา

ความสำเร็จทางวัฒนธรรมและอารยธรรมของมวลมนุษย์ทั้งหลายรวมถึงองค์ประกอบในเชิงบวกในชีวิตทางสังคมของมนุษย์ แต่ที่เหนือไปกว่าทุกสิ่ง เราได้เป็นหนี้บุญคุณในความเสียสละและการอุทิศตนของบรรดาผู้ทรงเกียรติซึ่งมีจิตอันประเสริฐในการนำมวลมนุษย์ไปสู่การสร้างให้เกิดความยุติธรรม ความถูกต้อง อิสรภาพ ความเจริญก้าวหน้า จิตวิญญาณอันเป็นอมตะและความเป็นจริงที่นอกเหนือจากโลกที่มีตัวตนอย่างแท้จริงเพื่อทดแทนเหตุอันไม่พึงปรารถนาของชีวิตมนุษย์ด้วยอุดมการณ์ใหม่ พวกท่านได้อุทิศชีวิตของท่านและทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านครอบครอง บรรดาผู้มีเกียรติผู้ซึ่งการประพฤติตนและวิถีชีวิตของพวกท่านได้รับการพิสูจน์แล้วถึง

ความชอบธรรม ท่านเหล่านั้นคือบรรดาผู้ที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังของการพัฒนาทางสังคมที่มีความลึกซึ้งและยั่งยืน

 

การสร้างความถูกต้องและวัฒนธรรมที่แท้จริงที่ยังผลให้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตทางสังคมก้าวไปสู่ระดับที่ดีเยี่ยม อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า ฉากที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์

มนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นจากความอุตสาหะและการอุทิศตนอันทรงคุณค่าของบุคคลผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตาเหล่านี้ และหากปราศจากการงานของท่านทั้งหลายแล้ว ชีวิตมนุษย์ก็จะกลายเป็นหนองน้ำที่ส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งเต็มไปด้วยการกดขี่ข่มเหงและความเห็นแก่ตัวของผู้ที่ชอบกดขี่และเห็นแก่ตัว

หนึ่งในลักษณะของผู้ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์อย่างมากและผู้ที่

สร้างคำจำกัดความใหม่ของชีวิตคือ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ผู้ที่ถือกำเนิดมาประมาณ ๑,๔๐๐ ปีที่แล้ว อาวุธของท่านนบีมุฮัมหมัดคือความชาญฉลาด และอำนาจของท่านคือความรัก ซึ่งทำให้ท่านสามารถมีอิทธิผลต่อสังคมมนุษย์ทั้งหมดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งขยายขอบเขตออกไปจนปัจจุบันนี้

ประชาชนมากกว่าหนึ่งพันล้านหรือครึ่งหนึ่งเป็นสาวกที่เลื่อมใสในทัศนคติ จรรยามารยาท และเจตนารมณ์ของท่าน

แม้ว่าในทุกๆ ช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของบุคคลผู้ทรงเกียรติทั้งหลายถือเป็นการเรียนรู้ที่ทรงคุณค่า แต่บางครั้งบุคลิกและคุณลักษณะของบุคคลนั้นก็มีความสง่างามและน่านับถือมาก ซึ่งเราต้องการกล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตของท่านแม้แต่ในช่วงวัยเด็ก โดยมักไม่มีการกล่าวถึงชีวิตของบุคคลผู้เป็นอัจฉริยะทั้งหลาย ผู้นำทางสังคมหรือบรรพ-บุรุษของแต่ละอารยธรรม ซึ่งเราอาจได้พบกับความน่าสนใจและความประหลาดใจของข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ต่างๆ อย่างมาก ชีวิตของพวกท่านตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งเสียชีวิตเต็มไปด้วยความลับมากมาย

ในหนังสือเล่มนี้ เราต้องการกล่าวโดยสังเขปเกี่ยวกับลักษณะทัศนคติและวิถีการดำรงชีวิต รวมถึงคำสอนอันประเสริฐยิ่งของศาสดามุฮัมหมัด บุตรของ อับดุลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอิสลาม และผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจาก ท่านศาสดามุฮัมหมัด บุตรของ อับดุลลอฮ์(ซ็อลฯ) คือ อิมาม อะลี บุตร อบูตอลิบ (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) และท้ายที่สุด

เราจะกล่าวถึงลักษณะและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวสำหรับวันอาชูรออ์ของอิมามฮุเซน (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) หวังว่าผลงานชิ้นนี้จะถูนำไปใช้สำหรับนักวิชาการและนักวิจัยทุกท่าน จากทุกศาสนา เพื่อให้เกิด ความคุ้นเคยกับุคลิกภาพและคุณลักษณะของบุคคลผู้ทมุฮัมมัดเกียรติเหล่านี้มากขึ้น

ศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นที่รู้จักกันในนามผู้ก่อตั้งศาสนา

อิสลามและเป็นศาสดาของชาวมุสลิมทั่วทั้งโลก

ซึ่งถือกำเนิดในปีคริสตศักราช ๕๗๐ ที่เมืองเมกกะ (มักกะฮ์) ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอาหรับทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยคาบสมุทรนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓ ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งหนึ่งในสามของดินแดนเป็นพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง มี

พื้นพันธุ์ขึ้นอยู่น้อยหรือไม่มีเลย

เมกกะตั้งอยู่ใกล้กับทะเลแดง ซึ่งถือว่าเป็นเมืองหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากของโลกและเป็นสถานที่หนึ่งที่สำคัญที่สุดในการประกอบพิธีกรรมของชนชาวมุสลิมทั้งหลายที่เรียกกว่า

พิธีกรรม การบำเพ็ญ “ฮัจญ์” สำหรับการประกอบพิธี “ฮัจญ์” ในทุก ๆ ปีจะมีชาวมุสลิมประมาณสามล้านคนเดินทางไปประกอบพิธีดังกล่าวที่เมืองนี้

เราสามารถอ่านในหนังสือประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่มีขึ้นพร้อมกับ

การเกิดของมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งมีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นมากมาย อาทิ ไฟในวัดของลัทธิโซโรแอสเตรียนดับ เทวรูปในวิหารกะอ์บะห์ (ก่อนอิสลาม) ทรุดตัวก้มลง สิ่งก่อสร้างภายใน Kasra Arch (Taqe Kasra,Eyvane Madaen) ถูกทำลายเมื่อท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ถือกำเนิดขึ้น ทันใดนั้นก็เกิดแสงไฟปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าและแผ่นดิน ทั้งทางทิศตะวันออก และตะวันตก เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร

ขณะนั้น บิดาของท่าน (อับดุลลอฮ์) ได้เสียชีวิตไปแล้ว ดังนั้น อำนาจในการเลี้ยงดูท่านจึงเป็นของปู่ของท่านคือ อับดุลมุฏฏอเล็บ เมื่อท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) มีอายุได้หกปี

มารดาของท่าน (อามีนะฮ์) ได้เสียชีวิตลง และเมื่ออายุได้แปดปี ท่านนบี มุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ก็ได้สูญเสียผู้เป็นปู่ ผู้เป็นผู้ปกครองของท่าน จากนั้นท่านได้ถูกเลี้ยงดูโดยลุงของท่าน (อะบูฏอเล็บ)บิดาของท่านอิมามอะลี (อ.)

เรื่องราวทางวัฒนธรรม และ สังคมของเมืองเมกกะ

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ถือกำเนิดมาในช่วงที่ชาวเมกกะยังไร้ซึ่งอารยธรรมและโครงสร้างทางสังคม การกระทำอันไร้เหตุผลและโง่เขลาของประชาชนทำให้เกิดการสังหารหมู่

การใช้เวลาไปกับการทำสงคราม เล่นการพนัน ค้าประเวณี เสพสิ่งมึนเมาและดื่มสุรา หากจะกล่าวถึงบรรดาลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมอื่นๆ ของประชาชนเหล่านั้น สิ่งที่เราสามารถกล่าวถึง

ได้คือ การโอ้อวดที่ไร้ค่า ปริมาณของวัฒนธรรมที่เป็นศูนย์กลาง การเชื่อในโชคลางอันเป็นผลมาจากการบิดเบือนศาสนา ยึดถือตำนานเก่าแก่และเรื่องราวของตำนาน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้แสดงถึงความโง่เขลาของพวกเขาและความเลวร้ายของสังคม พวกเขาเชื่อว่าเด็กผู้หญิงเป็นแหล่งของความอัปยศ และแม้กระทั่งพวกเขาจะฝังลูกสาวของเขาทั้งเป็น พฤติกรรมและการกระทำอันโหดร้ายดังกล่าวนี้ได้ถูกสันนิษฐานว่าเป็นยุคแห่งความโง่เขลา ซึ่งนำมนุษย์ไปสู่การทำลายล้างทั้งหลาย ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆในคาบสมุทรอาหรับที่ยังคงปลอดภัยจากการเผชิญหน้ากันของบรรดาผู้พิชิตในยุคเก่า

 และปัจจุบันนี้ คุณไม่สามารถพบอนุสาวรีย์หรือสิ่งก่อสร้างโบราณจากอารยธรรมของอาณาจักรโรมันในตอนเหนือ หรืออารยธรรมของอาณาจักรเปอร์เซียในตอนใต้ของคาบสมุทรอาหรับ เนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้คนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรดังกล่าว รวมถึงดินแดนที่แห้งแล้งซึ่งไม่เป็นที่สนใจของอาณาจักรโบราณใดๆ เลย

ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่ม

เนื่องจากอะบูฏอเล็บ (ลุงของท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)) มีรายได้ไม่เพียงพอ ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)จึงต้องช่วยทำงานเป็นคนรับจ้างเลี้ยงแกะ และเนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นในบางครั้ง ท่านอะบูฏอเล็บจึงได้เสนอให้ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ไปทำงานค้าขายให้หญิงหม้ายชื่อ คอดีญะห์ ซึ่งท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)เป็นที่รู้จักดีในนามของผู้ที่มีความซื่อสัตย์ ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ยอมรับข้อเสนอของนาง และหลายคราที่ท่านต้องเดินทางไปทำการค้าขายกับกองคาราวานสินค้าของคอดีญะห์ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจยิ่ง เมื่อทราบว่า สถานที่หนึ่งในที่ท่านต้องเดินทางไปค้าขาย  คือ

ประเทศซีเรีย

ซึ่งมีพระชาวคริสเตียนคนหนึ่งชื่อบะฮีรอ ได้เห็นท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)และจ้องมองเขาอย่างลึกซึ้งพร้อมกับกล่าวว่า

“ชายหนุ่มผู้นี้จะต้องมีอนาคตที่สดใสอย่างมากและเขาจะได้เป็น

ศาสดาเช่นที่กล่าวไว้ในคัมภีร์แห่งพระเจ้า เขาคือผู้นำสารของพระผู้เป็นเจ้า และเขาจะเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ไปยังทั่วทั้งโลกนี้ ข้าพเจ้าสามารถมองเห็นได้ในตัวมุฮัมหมัดชายหนุ่มคนนี้ สัญญาณเหล่านี้ได้ถูกระบุไว้ในคัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าของเราและด้วยความเคารพต่อศาสดาผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าได้ให้คำสัญญาไว้”

ถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนซึ่งในช่วงวัยรุ่นอาจจะมีการเบี่ยง

เบนทางกายภาพและศีลธรรม แต่ในคาบสมุทรอาหรับ พวกผู้ใหญ่มักมั่วสุมเกี่ยวข้องกับการกระทำชั่วและการกระทำอื่นๆ ที่เป็นสิ่งผิดศีลธรรมกันอย่างน่าละอาย

 แต่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ยังคงรักษาศีลธรรมและจรรยา

มารยาทของเขา รวมถึงความซื่อสัตย์ของเขาทำให้เขาได้รับฉายานามว่า

“อัลอามีน” คือผู้ที่เปี่ยมไปด้วยความซื่อสัตย์ในเมืองเมกกะ

๑๐

 เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้เข้าร่วมในสนธิสัญญาอัลฟุฎูล ซึ่งช่วยเหลือผู้ที่ถูกกดขี่ข่มเหงที่ได้ลี้ภัยอยู่ในเมกกะ เนื่องจากการความอคติได้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้พวกเขาถูกทารุณกรรมและคุกคามโดยชาวเมืองเมกกะ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ถือว่าการเข้าร่วมในสนธิสัญญาดังกล่าวของเขาถือว่าเป็นเกียรติให้กับตนเอง

ท่านหลีกเลี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของการยั่วยวนและความสุขทางโลก และใบหน้าของท่านแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นนักคิดที่ลึกซึ้ง เพื่อให้อยู่ห่างจากการทุจริตและการทำชั่วที่แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ท่านได้หลบไปอยู่ที่ภูเขาและในถ้ำเสมอ เมื่อท่านอยู่คนเดียว ท่านจะทำการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสองเรื่อง

ดังนี้

๑. การสร้างแผ่นดินและท้องฟ้า และต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตและ

การดำรงอยู่ของมัน จากนั้น ท่านก็ได้รับความรู้จากอำนาจและสิ่งที่ลี้ลับจากพระผู้เป็นเจ้า

๑๑

๒. ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบอันหนักหน่วงในการแก้ไขความเชื่อและการกระทำของผู้คนที่อยู่ในสังคมอันตกต่ำ เลวร้ายและลุ่มหลงในโลกีย์ ท่านพบว่า ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะแก้ไขสังคม แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่ยากมากและต้องใช้ความพยายามอย่างสูงสุด

การรู้เห็นถึงการแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางของความลุ่มหลงในโลกีย์ การกระทำอันทุจริต การกดขี่ข่มเหง ความหยิ่งยโส

 การเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์และกราบไหว้รูปปั้น ท่านได้กล่าวกับตนเองว่า

“มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สูงส่งและมีค่ามากที่สุดบนแผ่นดิน และสิ่งที่ท่านรังสรรค์ขึ้นมานั้นจะถูกนำมาแทนที่ตามจุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า และท่านต้องการที่จะก้าวไปสู่วิวัฒนาการของพระผู้เป็นเจ้าผ่านทางเส้นทางของพระองค์ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่เราได้เห็นในปัจจุบันนี้”

แต่เราจะคาดหวังอย่างไรกับสังคมที่เต็มไปด้วยการลุ่มหลงในโลกีย์

การผิดประเวณี กระหายความร่ำรวย และการกดขี่ห่มเหง ให้สามารถก้าวไปยังเส้นทางของพระผู้เป็นเจ้าได้

๑๒

การสื่อสารกับเทวทูต (มะลาอิกะฮ์)และภารกิจของพระผู้เป็นเจ้า

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ไม่ได้อยู่ในหมู่ปัญญาชนหรือผู้ที่ได้รับ

การศึกษา และไม่เคยผ่านหลักสูตรการศึกษาใด ๆ ดังนั้น ท่านจึงถูก

เรียกว่า “อุมมี” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ไม่มีการศึกษา แต่ภายใภูเขาเป็นที่ๆ ท่านได้รับการฝึกฝนภูมิปัญญา บุคลิกภาพและคุณลักษณะอันสูงสุดของมนุษย์เมื่อตอนอายุสี่สิบปี ด้วยความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ พระองค์ได้ทรงส่งเทวทูตมาปรากฏต่อหน้าท่าน เทวทูต (มะลาอิกะฮ์) นั้นมีชื่อว่า เกเบรียล (ญิบรีล)

และได้นำภารกิจแห่งพระผู้เป็นเจ้ามา โดยเฉพาะ บุคคลอย่าง

ท่านนบีผู้ซึ่งสามารถให้ได้อย่างแท้จริงเท่านั้น และ ทำให้จิวิญญาณของเขาแข็งแกร่งสามารถที่พบกับเทวทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้า

ผู้ทรงเดชานุภาพได้ ซึ่งท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ได้รับความพร้อมนั้นแล้ว โดยการพิจารณาอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับจักรวาล และโดยความบริสุทธิ์แห่งจิตวิญญาณของเขาต่อหลุมพรางแห่งโลกีย์

๑๓

 ต่อมาพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพได้แต่งตั้งให้เขา เป็นผู้นำสารของพระองค์ และหลังจากที่ทูตเกเบรียล (ญิบรีล) ได้มาปรากฏตัวต่อหน้าท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เทวทูตได้กล่าวว่า

“จงอ่าน”

จากนั้น มุฮัมหมัดผู้ซึ่งไม่มีการศึกษาตอบว่า

 “ข้าพเจ้าอ่านไม่ได้”

เทวทูตได้เข้ามากอดรัดมุฮัมหมัดและกล่าวกับท่านอีกครั้งว่า

“จงอ่าน”

ต่อมาท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ก็สามารถอ่านได้ เกเบรียลได้เข้า

มากอดรัดท่านอีกครั้ง และบอกให้มุฮัมหมัดอ่านตามเขา และเขากล่าวว่า

“อ่านด้วยพระนามของพระเจ้าผู้ทรงสร้าง! พระองค์ทรงสร้างมนุษย์มาจากก้อนเลือด จงอ่านเถิด และพระองค์ทรงใจบุญยิ่ง พระองค์ได้ทรงสอนการใช้ปากกา ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้”

๑๔

การมองมาที่เกเบรียล (ญิบรีล) และสารของพระผู้เป็นเจ้าของเขา

กำหนดให้ “ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เจ้าเป็นผู้นำสารของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ และข้าคือเทวทูตของพระองค์”

 จากนั้นท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ได้ออกมาจากถ้ำ ฮิรออ์ ด้วยความปิติอย่างสูงสุด พร้อมกับมองขึ้นไปทั่วทุกมุมบนท้องฟ้าที่ปรากฏแสงของพระผู้เป็นเจ้า

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) พิจารณาและค้นหาแหล่งกำเนิดของการ

ดำรงอยู่ของทุกๆ สิ่งในพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงสมบูรณ์แบบและไร้มลทิน เมื่อท่านอยู่ลำพังเขาจะพูดกับพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) เช่นเดียวกับที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงแต่งตั้งโมเสสแห่งยูดายและศาสดาอื่น ๆ อีกหลายพันคนเป็นผู้นำสารของพระองค์ เพื่อที่จะแก้ไขการกระทำต่างๆ ของประชาชาติเพื่อนำพวกเขาไปสู่พระเจ้าที่แท้จริงการให้เอกภาพและความสูงส่งเหนือสิ่งใดๆ ทั้งปวงแก่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)

๑๕

การสื่อสารเพื่อเปิดเผยความจริงระหว่างท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

กับพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ กินเวลานานถึง ๒๓ ปี จวบจนกระทั่งท่านนบี มุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้เสียชีวิตเมื่ออายุได้ ๖๓ ปี โองการศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมอยู่ในคัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าที่เรียกว่า “อัลกุรอาน” คัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นแนวทาง เพื่อนำมนุษยชาติทั้งหลายไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองอันแท้จริง คัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าที่รวบรวมดำรัสของพระองค์

ผู้ทรงเดชานุภาพ ที่ได้แจ้งแก่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

 ผู้นำสารของพระองค์ เพื่อที่จะถ่ายทอดให้แก่มนุษยชาติต่อไป

๑๖

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)กับการเชิญชวนไปสู่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ครั้งแรก

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)ได้รับมอบหมายภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์โดย

พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ มาตามลำดับ เช่นเดียวกับศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้าท่านอื่นๆ ในยุคก่อนหน้านี้ ในการถ่ายทอดสารของพระผู้เป็นเจ้าไปยังมนุษยชาติและเชิญชวนพวกเขาไปสู่เอกานุภาพ ซึ่งเรียกว่า“เตาฮีด” แต่ความแตกต่างระหว่างท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กับศาสนทูตก่อนนี้ ตามข้อเท็จจริงคือท่าน ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสนทูตท่านสุดท้ายของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ บนโลกนี้และไม่มีศาสนทูตอื่นต่อจากท่าน แนวทางในการเชิญชวนประชาชนได้มีโองการมายังท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ว่า:

ادْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ

) وَجَادِلْهُمْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ( نحل ๑๒๕

“จงเชิญชวนไปสู่หนทางแห่งพระเจ้าของเจ้าด้วยสติปัญญาและคำสอนที่ดีและโต้แย้งกับพวกเขาด้วยวิธีที่ดีที่สุด"(บทอันนะฮ์ล์ โองการที่ ๑๒๕)

๑๗

จากนั้น คำแรกสำหรับการเชิญชวนมนุษยชาติไปสู่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเดชานุภาพของเขา คือ :

(أيها الناس، قولوا لا إله إلا الله تفلحوا)

“พวกเจ้าจงกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพภักดีนอกจากพระองค์อัลลอฮ์ เพียงองค์เดียวเท่านั้น จึงจะถือว่าสำเร็จ”

ดังคำกล่าวที่ทรงคุณค่าว่า

"ศาสนาทุกศาสนามีหลักของตนเพื่อให้มนุษย์หลุดพ้นจากบาป เช่น

สำหรับลัทธิโซโรแอสเตรียน การพ้นจากบาปของมนุษย์จะต้องยึดมั่นอยู่ในหลักของ “การคิดดี พูดดีและทำดี”

ในนิกายหรือศาสนาอื่นๆ เชื่อว่า “สันติสุข” ถูกกำหนดให้เป็นการพ้นจากบาปของมนุษย์ หมายถึง การพ้นจากบาปของมนุษย์จะผ่านทางสันติสุข”

๑๘

 ส่วน “สันติสุข” คือการตระหนักว่าเราเข้าใจในสาเหตุแห่ง

“ความทุกข์” และการเข้าใจสาเหตุแห่ง “ความทุกข์” เราต้องได้รับความสามารถในการจำแนกแหล่งที่มาของความทุกข์ความสามารถนั้นเรียกว่า

“ปัญญา” และปัญญานั้นคือความรู้ที่ว่า ความทุกข์ทั้งหลายนั้นเกิดจากการเชื่อมโยงกัน และการเชื่อมโยงกันของตัวมันเองเกิดจากความกระหายและความปรารถนาในสิ่งที่ดีที่สุด ดังนั้น รากฐานของศาสนาและลัทธิต่างๆเหล่านั้นคือ มนุษย์มีความต้องการอยู่ตลอดเวลา เขาต้องการคู่ครองและทายาท ต้องการทรัพย์สิน ความมั่งคั่งและอำนาจซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด ต่อมาเขาได้ค้นพบหลักนี้คือการเชื่อมโยงกันตามมาด้วยการแยกจากกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการแยกจากกันมีรูปแบบเดียวกับความทุกข์ ดังนั้น เพื่อให้มนุษย์สามารถกำจัดความทุกข์ออกไปได้ เขาต้องรู้จักจำแนกสาเหตุของ

มัน และพื้นฐานของนิกายดังกล่าวคือ มนุษย์จะปราศจากความต้องการในทุกสิ่งเพื่อให้บรรลุถึงสันติสุขชั่วนิรันดร์ และความหลุดพ้นนั้นเช่นเดียวกับเสรีภาพทางจิตวิญญาณ

๑๙

หรือตัวอย่างในศาสนาคริสต์ที่ได้ถูกเผยแพร่ในปัจจุบันนี้ ปัจจัยหลักในการพ้นจากบาปของมนุษย์ที่ตกอยู่ในกิเลส ความรักและเสน่หาโดยนำมาจากนิกายนี้ คุณต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เมตตาต่อท่านหรือผู้ที่ทำไม่ดีกับท่าน จากนั้นโลกจะเต็มไปด้วยความเมตตากรุณาและทุกคนก็จะปลอดภัย

หลักของนิกายทั้งหมดที่ได้กล่าวมาสามารถนำไปประยุกต์ใช้โดย

มีเงื่อนไขว่า เขาจะต้องยึดถือหลักการให้เอกภาพ หากปราศจากการให้เอกภาพ “เตาฮีด” ความเห็นอกเห็นใจอาจจะเปลี่ยนเป็นความเสื่อมเสียและความอัปยศ และหากเราแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้กดขี่ข่มเหงและคนที่เป็นทาส มันก็จะกลายเป็นปรัชญาและความอ่อนน้อมถ่อมตนหรือเป็นไปได้ว่าความเห็นอกเห็นใจและความเมตตากรุณาจะเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่เข้าใจได้ยากระหว่างผู้คนบนพื้นฐานของความปรารถนา โดยไม่คำนึงถึงความสามารถและบุญกุศล ถ้าเราทุกคนรักซึ่งกันและกัน

๒๐

และแสดงความเห็นอกเห็นใจกัน ไม่ว่าเขาจะเป็นผู้กดขี่ข่มเหงหรือถูกกดขี่ข่มเหง ดีหรือเลว ด้อยกว่าหรือสูงส่งกว่า แล้วความเห็นอกเห็นใจจะถูกเปลี่ยนเป็นเพียงความสวยงามบนผลประโยชน์ของผู้ทำชั่วและความสูญเสียของผู้ทำดี บนพื้นฐานเดียวกัน

 ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)เชื่อว่า แนวคิดทั้งหมดเหล่านั้นอาจจะถูกต่อต้าน เว้นแต่ผู้คนทั้งหลายจะเข้าร่วมและยึดหลักการของ “เตาฮีด” หรือการให้เอกภาพต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) คือการกล่าวว่า“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) เพียงองค์เดียว”

ดังนั้น การเชิญชวนไปสู่อิสลามครั้งแรกและครั้งสำคัญที่สุดของ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) คือ เตาฮีด โดยการกล่าวว่า

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) เพียงองค์เดียว”

เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอาหรับนั้นเคารพบูชารูป

ปั้นและคุ้นเคยกับการเชื่อโชคลางเป็นระยะเวลานาน อย่างไม่ต้องคาดหวังใดๆ เลย

๒๑

การเชิญชวนไปสู่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ไม่เป็นที่ยอมรับของพวก

เขาอย่างแน่นอน ดังนั้น ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ทราบว่า อุดมการณ์และความคิดที่ดีเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับวัฒนธรรมที่หยั่งรากลึกทั้งหลาย ดังนั้น อันดับแรกจะต้องไม่มีการเชิญชวนไปสู่ศาสนาอิสลามอย่างเปิดเผยไปยังพวกเขา และเป็นระยะเวลาสามปีที่ท่านทำการเชิญชวนอย่างลับๆ และได้แอบเชิญชวนบุคคลเพียงไม่กี่คนไปสู่ศาสนาอิสลาม

หลังจากสามปีต่อมา ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้รับคำสั่งให้เชิญ

ชวนผู้คนไปสู่ศาสนาอิสลามอย่างเปิดเผย และท่านได้เรียกผู้ที่ใกล้ชิดในครอบครัวมาเป็นแขกที่บ้านของท่านและเชิญชวนพวกเขาไปสู่ศาสนาอิสลาม จากนั้นวันหนึ่งในตอนเช้า ท่านได้ไปยังภูเขาศ่อฟา ในเมืองเมกกะและได้เชิญชวนให้ผู้คนมารายล้อมท่าน และท่านได้กล่าวกับพวกเขาว่า

“ถ้าข้าพเจ้าบอกว่า มีศัตรูกำลังเข้ามาต่อสู้กับพวกท่านในเช้านี้หรือในเย็นนี้ พวกท่านจะเชื่อข้าพเจ้าไหม”

ทุกคนตอบว่า

“เชื่อ เพราะพวกเขาไม่เคยได้ยินความเท็จจากท่าน"

๒๒

จากนั้น ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวต่อไปว่า

“ข้าพเจ้าเป็นเช่นผู้เฝ้ายามที่พบเห็นศัตรูจากระยะไกล และได้รีบ

เข้ามาเตือนผู้คน ข้าพเจ้าเตือนพวกท่านให้ต่อสู้กับความเลวและสิ่งชั่วร้ายพร้อมกับเชื้อเชิญท่านไปสู่ความดี”

วัตถุประสงค์หลักเบื้องหลังการเชิญชวนไปสู่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)

ของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

จุดประสงค์หลักเบื้องหลังการเชิญชวนไปสู่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ที่แพร่ขยายออกไปโดย ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ที่รวบรวมมามีดังนี้:

๑. “ข้าพเจ้าเป็นศาสนทูตของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ พระองค์ทรงแต่งตั้งข้าพเจ้ามาเพื่อนำท่านไปสู่พระองค์ และประณามการบูชารูปปั้นต่างๆ”

๒. “ในภารกิจหลักของข้าพเจ้าคือการแสดงความเห็นอกเห็นใจไป

ยังครอบครัว (บิดาและมารดา) เป็นสำคัญยิ่ง”

๒๓

๓. “ข้าพเจ้าถูกแต่งตั้งให้เป็นมนุษย์ที่ปราศจากการทำผิด ความชั่วและการกระทำที่ไม่ดี”

๔. “ในศาสนาของข้าพเจ้า การฆ่าทารกเนื่องจากกลัวความยากจน

ถือเป็นที่ต้องห้ามและถือเป็นความต่ำช้าอย่างสูงสุด”

๕. “ในศาสนาของข้าพเจ้า การสังหารภายใต้ความเท็จและ

ความอยุติธรรมถือเป็นที่ต้องห้ามอย่างแน่นอน”

๖. “ศาสนาของข้าพเจ้ายึดถือความยุติธรรมเป็นพื้นฐาน”

๗. “ภาษาและคำพูดที่ออกมาจากมนุษย์สะท้อนถึงจิตวิญญาณ

และศีลธรรมของเขา ดังนั้น เขาจะต้องใช้มันในแนวทางที่ถูกต้องและพวกเขาต้องแสดงความจริงออกมา แม้ว่าจะนำความสูญเสียมาสู่ผู้พูดก็ตาม”

๘. “มนุษย์เป็นอมตะ เมื่อเขาเสียชีวิต เขาเพียงแค่ถูกถ่ายโอนไป

ยังอีกโลกหนึ่ง ดังนั้น จงทำความดีเพื่อให้แน่ใจว่า ท่านจะมีความเจริญรุ่งเรืองนิรันดร์”

๒๔

ผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของดำรัสในคัมภีร์อัลกุรอานและตรรกะที่

แข็งแกร่งเบื้องหลังท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสำคัญ สามประการ ได้แก่

ก. “เคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) เลิกบูชากราบไหว้รูปปั้น (เตาฮีด)”

ข. “สนับสนุนจุดประสงค์หลักของเนื้อหาที่สื่อสารออกไปของการให้เอกภาพต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)”

ค. “การพ้นจากบาปและความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นนิรันดร์ของมนุษย์ หมายความว่า ร่างกายของมนุษย์จะสลายไปแต่จิตวิญญาณของเขาจะคงอยู่เพื่อความดี (การฟื้นคืนชีพ)”

มุมมองดังกล่าวดึงดูดผู้คนไปสู่มิติทางสังคมในการเชิญชวนแห่งพระผู้เป็นเจ้า แต่ ณ จุดเริ่มต้นมีเพียงไม่กี่คนที่ดำเนินตามท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) บางคนเริ่มใคร่ครวญถึงการเชิญชวนของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

แต่บางคนในหมู่ชนชั้นขุนนางยืนกรานต่อต้านท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

๒๕

พวกที่ต่อต้านท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) อุทิศตนเพื่อคุณค่าแห่งโลกีย์และยินดีตามสิ่งที่ตนพึงใจ พวกเขาคิดว่าตนเองอยู่เหนือคนอื่นๆ และชนชั้นต่ำของสังคมนั้นไร้ค่า ดังนั้น พวกเขาจึงเริ่มต่อต้านท่านนบีมุฮัหมัด (ซ็อลฯ) ผู้ที่เปล่งเสียงออกมาเพื่อความยุติธรรมในการช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนและเป็นผู้ที่ถูกเรียกว่าผู้ยึดถือความยุติธรรม โดยกระจายความมั่งคั่งไปในหมู่ชนที่เชื่อในอภินิหารต่าง ๆ ทรมานและราวีสหายของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)จนเสียชีวิต โดยไม่สนใจถึงระบบของสังคม

โดยหลังจากนั้นบางครั้งได้มีการทำสนธิสัญญาฉบับหนึ่งร่วมกัน

ระหว่างบรรดาศัตรูของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กับเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมกกะ พวกเขาได้ขับไล่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)และสหายของท่านออกไปยังหุบเขาที่มีความแห้งแล้ง ซึ่งรู้จักกันในนามของหุบเขาอะบูฏอเล็บเป็นระยะเวลาสามปี โดยสั่งห้ามทำการค้าขายใดๆ ห้ามคบหาสมาคมและแต่งงานกับพวกท่าน โดยสามารถอธิบายสภาวะที่ท่านและสหายของท่านถูกบีบบังคับ

๒๖

 โดยยกเอาคำพูดของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ที่กล่าวว่า

“ข้าพเจ้ามีหินถ่วงอยู่ที่ท้องเสมอเพื่อปัดเป่าความเจ็บปวดจากความหิว และบางครั้งพวกเราได้แบ่งอินทผลัมเพียงหนึ่งผลให้กันกิน”จึงเหมาะสมแล้วที่จะกล่าวว่า ภายใต้ภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่มีอนาคตและไม่มีจุดจบในความทุกข์ทรมานของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และสหายของท่าน ซึ่งไม่สามารถจินตนาการได้และปราศจากซึ่งแสงแห่งความหวังใดๆ ดังนั้น สามปีแห่งการต่อต้านและต่อสู้กับศัตรูของอิสลาม ภายใต้ความหิวและสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายถือเป็นความยุติธรรม สำหรับความเชื่อในความศรัทธาของพวกท่านและความเชื่อในความถูกต้องของแนวทางที่พวกท่านรับมาเท่านั้น เมื่อศัตรูพบว่าการทรมานร่างกายและจิตใจไม่ส่งผลกระทบต่อความตั้งใจอันแรงกล้าของท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) พวกเขาจึงพยายามเกลี้ยกล่อมท่าน พวกเขาบอกกับลุงของท่าน

คือ อะบูฏอเล็บ ให้พูดกับท่าน (ซ็อลฯ) ว่า

“ถ้าท่านนบีละทิ้งการเชิญชวนไปสู่ศาสนาอิสลาม พวกเขาจะให้เงินตำแหน่งที่สูงส่ง และทองคำจำนวนมากตามที่ท่านต้องการ”

๒๗

แต่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ตอบว่า

“หากพวกเขานำดวงอาทิตย์ มาวางไว้ในมือขวาของฉัน และเอาดวงจันทร์ มาวางไว้ในมือซ้าย เพื่อที่จะให้ฉันทิ้งหน้าที่ในการประกาศศาสนา ฉันก็จะไม่ละทิ้งอย่างเด็ดขาด จนกว่าพระองค์อัลลอฮฺ จะทำให้บรรลุผล หรือไม่ก็จนกว่าชีวิตของฉันจะหาไม่”

แต่บรรดาศัตรูก็ยังคงยืนยันการกระทำของพวกบูชาเจว็ด

และอีกประการหนึ่งคือ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้เน้นย้ำเสมอว่า

“ต้นกำเนิดของการสร้างโลกที่กว้างใหญ่และสวยงาม รวมถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งไม่จำกัดแค่เพียงก้อนหิน ไม้หรือวัตถุทางกายภาพที่มีขีดจำกัดอื่นๆ และพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) เป็นผู้สร้างทุกสรรสิ่ง และเราไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ เพราะพระองค์ไม่ใช่วัตถุแต่พวกท่านสามารถที่จะเห็นพระองค์ด้วยจิตใต้สำนึก ด้วยปัญญาและด้วยส่วนลึกหัวใจของพวกท่านที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างท่านกับพระองค์”

๒๘

ไม่มีการบังคับในศาสนาอิสลาม

ถึงแม้ว่าท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จะแน่วแน่ในการเชิญชวนแห่ง

พระผู้เป็นเจ้าของท่าน แต่ท่านไม่เคยบังคับใครให้ยอมรับในศาสนาอิสลามในช่วงชีวิตของท่านเลย ท่านมักจะยืนยันว่า เนื่องจากพระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ทรงเน้นย้ำว่า

لااكراه فی الدین

"ไม่มีการบังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม”

ท่านเพียงถูกแต่งตั้งจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพให้

เชิญชวนผู้คนไปสู่ศาสนาอิสลาม ซึ่งแน่ใจได้ว่า ผู้นั้นจะได้รับความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นนิรันดร์ และไม่มีการบังคับเพื่อจุดประสงค์นี้ ในคัมภีร์อัลกุรอาน พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพได้ตรัสว่า :

إِنَّا هَدَيْنَاهُ السَّبِيلَ إِمَّا شَاكِرًا وَإِمَّا كَفُورًا) (الانسان/ ๓)

“เราได้แสดงให้เขาเห็นหนทางนำ แต่เขาอาจเป็นผู้กตัญญูหรือ ผู้เนรคุณ”

๒๙

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ในมุมมองของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)เชื่อในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยกล่าว

ว่า พระองค์อัลลอฮ ์(ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพให้พรแก่มนุษย์ให้มีความเฉลียวฉลาด ความมุ่งมั่น และมีความเป็นผู้นำ และกล่าวโดยสังเขปว่า ทุกสิ่งในโลกถูกสร้างมาเพื่อมนุษย์ และในอัลกุรอาน พระองค์ได้ทรงตรัสว่า

“ทุกสิ่งทุกอย่างถูกสร้างมาเพื่อมนุษย์และมุฮัมหมัดเป็นผู้แทนของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเดชานุภาพบนแผ่นดิน”

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)ได้กล่าวเกี่ยวกับการเคารพไว้เช่นเดียวกัน

ว่า

“และการเคารพไม่ได้ให้แก่บุคคลแค่บางกลุ่มเท่านั้น แต่ทุกคนจะได้รับเกียรตินั้นจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ เท่าเทียมกันซึ่งรวมถึงทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ ทุกสีผิว และความมั่งคั่งไม่ทำให้คนหนึ่งสูงกว่าคนอื่น"

๓๐

และพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)ทรงตรัสไว้อีกว่า บุคคลที่เคร่งครัดใน

อิสลามเท่านั้นที่จะได้ใกล้ชิดกับพระองค์

يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّا خَلَقْنَاكُم مِّن ذَكَرٍ وَأُنثَى وَجَعَلْنَاكُمْ

شُعُوبًا وَقَبَائِلَ لِتَعَارَفُوا إِنَّ أَكْرَمَكُمْ عِندَ الله أَتْقَاكُمْ

(الحجرات : ๓๑ )

“เราสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากชายและหญิงคู่หนึ่ง และทำให้พวกเจ้าแพร์พันธ์ออกไปเป็น หมู่ เป็น เผ่า ซึ่ง พวกเจ้าอาจรู้จักกับอีกหมู่ชนหนึ่ง อย่างไม่ต้องสงสัยใดๆ ผู้ที่ได้รับการยกย่องสูงสุดในบรรดาพวกเจ้าในสายตาของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) คือผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอิสลามมากที่สุด”

ดังนั้น จึงไม่มีข้อได้เปรียบใดๆ เหนือจากผู้อื่น เช่น พลัง ความมั่งคั่ง

และตำแหน่งหน้าที่ที่สูงส่งกว่า

๓๑

บรรดาสตรีในมุมมองของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เน้นย้ำเสมอว่า เพศชายไม่ได้อยู่เหนือกว่าเพศหญิง สิ่งนี้เกิดขึ้นในระบบสังคมของคาบสมุทอาหรับในขณะนั้น

บรรดาสตรีไม่มีที่ยืนในสังคม และผู้ชายทุกคนที่มีลูกเป็นทารกเพศหญิงจะรู้สึกเสียศักดิ์ศรีมาก ดังนั้น จึงพยายามฆ่าลูกตนเองทั้งเป็น แม้ในบางลัทธิก็มองว่า ผู้หญิงทุกคนถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นลางร้ายและชั่วร้าย และแม้ในชาวคริสเตียนบางคนยังเชื่อว่า เพศหญิงเป็นตัวนำพวกเขาไปยังการทำความชั่ว โดยยึดตามจำนวนหลักฐานอ้างอิงเช่นเดียวกันกับบรรดาลัทธิเหล่านั้นซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่า บรรดาสตรีก็เป็นมนุษย์ ดังนั้น เพื่อต่อสู้กับความโง่เขลานั้น

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จึงพยายามประกาศคำอวยพรที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)ทรงให้แก่บรรดาสตรี และได้นำมาถ่ายทอดดังนี้

เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน

๓๒

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้รับการแจ้งเกี่ยวกับซูเราะห์ในนามของสตรี (ซูเราะห์อันนิซาอ์) ด้วยจุดประสงค์ในการ

เน้นย้ำถึงคุณค่าที่แท้จริงของสตรี รวมถึงสิทธิของพวกเธอในสังคม

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ยังได้กล่าวถึงเหตุที่ได้มีซูเราะห์นี้ขึ้นมา

ดังนี้

* พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพได้แสดงถึงความเมตตาที่มีต่อสตรีมากกว่าบุรุษ

* ข้าพเจ้าชอบสามสิ่งในโลกนี้มากกว่าสิ่งอื่นใด คือ บรรดาสตรีเครื่องหอมและการนมาซ

* บรรดาบุรุษที่ดีที่สุด คือ ผู้ที่เป็นสามีที่ดีที่สุด สำหรับภรรยาของเขา และ ข้าพเจ้าเป็นสามีที่ดีที่สุดสำหรับบรรดาภรรยาของข้าพเจ้า

* เป็น สิ่งที่ดีสำหรับผู้ช ายทุกคนที่จะซื้อของขวัญให้แก่ภรรยาและลูกๆ ของเขา และจะดีกว่าหากเขาให้ของขวัญกับบรรดาลูกสาวของเขาก่อน

* ผู้หญิงทุกคนเปรียบได้ดั่งดอกไม้

๓๓

* เมื่อใดที่เจ้าให้ความสุขต่อ (ครอบครัว) ลูกสาวของตน เท่ากับเจ้าทำการปล่อยทาสให้เป็นไท

* สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้าของบรรดาสตรี

ตามข้อเท็จจริงแล้ว อิสลามแสดงบทบาทเป็นผู้ปฏิวัติทางสังคมการเมืองและสติปัญญา เพื่อปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีและ

บรรทัดฐานทางสังคมทั้งหลายเกี่ยวกับสตรีในพื้นที่เหล่านั้น

ศาสนาอิสลามได้พิจารณากฎหมายเกี่ยวกับผู้หญิง โดยยึดตาม

ความสามารถทางกายภาพและทางสังคมของพวกเธอ และเพื่อเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิ์ของผู้หญิงซึ่งถูกมองข้ามโดยสิ้นเชิงในช่วงยุคแห่งความโง่เขลา ได้มีการออกระเบียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการแต่งงาน ตามระเบียบเหล่านี้ ในทุกๆ บ้าน ผู้หญิงเป็นผู้รับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตรแต่เพียงผู้เดียวและต้องตอบสนองความต้องการทางเพศให้แก่สามีของเธอ

๓๔

และผู้ชายไม่ได้รับความเห็นชอบให้บังคับให้ภรรยาของตนทำงานในบ้านและตระเตรียมอาหาร โดยการทำงานในบ้านไม่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเธอ และหากสมมุติว่า ผู้หญิงทำงานในบ้าน มันจะต้องเกิดขึ้นโดยความเห็นชอบและความพึงพอใจของเธอเอง เช่นเดียวกัน หากสตรีให้นมลูกๆ ของเธอ เธอมีสิทธิ์ในการเรียกร้องสิ่งตอบแทนในรูปของเงิน หรือสิ่งอื่นๆ และในทางตรงกันข้าม สามีต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการตอบสนองความต้องการของภรรยาของเขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และอาหาร อีกทั้งเขาต้องให้ความเคารพภรรยาของเขาว่า ภรรยาของเขาเป็นมนุษย์ที่มีอิสระ และหากภรรยาของเขาชื่นชอบในรายได้อิสระ

เขาก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เงินของเธอ

ท่านนบีมุฮัหมัด (ซ็อลฯ) ได้ให้ผู้หญิงมีลักษณะที่มีคุณค่าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการได้รับความเคารพและรักในสิทธิมนุษยชนทุกประการ มีความเท่าเทียมกับผู้ชาย และให้ข้อเท็จจริงที่ว่า

 เธอเป็นสัญลักษณ์ทางการศึกษาอันสูงส่ง และเธอเป็นผู้รับผิดชอบในการฟูมฟักบรรดาลูกๆ หลานๆ ของมนุษย์ ตามขอบเขตทั้งหมดของสังคม

๓๕

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้เลี้ยงดูลูกสาวของท่าน คือ

พระนางฟาติมะห์ อย่างดีและเป็นตัวอย่างที่มีคุณค่าในการให้ความนับถือต่อประชากรสตรี คราใดที่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) พบกับลูกสาวของท่าน ท่านจะลุกขึ้นยืนให้เกียรติและท่านจะก้มลงจูบมือของเธอ และกล่าวว่า “พ่อของเธอพร้อมที่จะตายเพื่อเธอ”

 เมื่อใดก็ตามที่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)กลับจากการเดินทาง สิ่งแรกที่ท่านจะทำ ก็คือ รีบไปหาลูกสาวของท่าน คือ

พระนางฟาติมะห์ ท่านเน้นย้ำเสมอว่า “

ผู้ใดที่โปรดปรานฟาติมะห์ แท้จริงเขาได้โปรดปรานข้าพเจ้าด้วย และผู้ใดที่ไม่โปรดปรานเธอ แท้จริงเขาก็ไม่โปรดปรานข้าพเจ้าเช่นกัน”

แต่ในโลกของเราทุกวันนี้ ภายใต้ข้ออ้างของการฟื้นฟูสิทธิ ลักษณะ

ของสตรีและคุณค่าของมนุษย์ รวมถึงลักษณะที่ถูกเมินเฉยในรูปแบบพวกนิยมความรุนแรง ปัจจุบันนี้อุปนิสัยของผู้หญิงซึ่งรวมถึง พรสวรรค์ ความสามารถ รวมถึงความต้องการทางกายภาพและทางจิต ทำให้ผู้หญิงแตกต่างจากผู้ชายซึ่งถูกปฏิเสธภายใต้ความคล้ายคลึง

๓๖

และมุมมองของผู้หญิง และเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน ความคล้ายคลึงซึ่งนำประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงถูกจำกัดคุณค่าทั้งทางโลกและทางกายภาพ การเหยียดหยามพวกเธอให้เป็นเช่นเครื่องมือในการสร้างรายได้ การขายและการเป็นตัวตอบสนองความต้องการของผู้ชาย โดยการแพร่กระจายของวัฒนธรรมในการเปลือยกายและการส่ำส่อนทางวัฒนธรรมถูกนำมาใช้ในนามของของสิ่งที่เรียกว่า “ผู้หญิงมีความเป็นอิสระจากผู้ชาย”

 เช่นเดียวกันในบางสังคม ผู้หญิงถูกบังคับให้ทำงานที่ใช้ความ

อุสาหะอย่างสูงและงานหนัก (งานของผู้ชาย) และแม้ว่าพวกเธอจะถูกบังคับให้ขายตัวและค้าประเวณีเพื่อหารายได้เพิ่มเติมก็ตาม

คำสอนอันประเสริฐของศาสนาอิสลามซึ่งท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)ได้เตือนอย่างชัดเจนเกี่ยวกับผู้หญิง การลวนลามทางเพศและภาพโป๊เปลือย โดยถือว่ามันเป็นการดูถูกศักดิ์ศรีของผู้หญิง ซึ่งจะนำพวกเขาไปสู่จิตใจที่ผิดปกติและใฝ่ต่ำ และแนะให้พวกเขาดำเนินบทบาทสำคัญของพวกเขาในครอบครัวในการดูแลเอาใจใส่และเลี้ยงดูคนรุ่นใหม่ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง

๓๗

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้กระตุ้นเตือนว่า

 “ผู้หญิงเปรียบเสมือนดอกไม้ และพวกเธอไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำงานหนักและต้องใช้ความอุสาหะอย่างสูง”

 ซึ่งแน่นอนว่าศาสนาอิสลามไม่ได้ใช้ให้ผู้หญิงและผู้ชายยึดในความสันโดษและชีวิตแบบนักบวช และไม่ปฏิเสธความยินดีในความสุขทางโลก การกล่าวอ้างที่สำคัญของท่านนบีมุฮัมหมัด

(ซ็อลฯ) คือการกระตุ้นเตือนว่า “ศาสนาอิสลามไม่มีนักบวช”

ดังนั้น ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)จึงได้แต่งงานและส่งเสริมให้ผู้คน

แต่งงาน คำพูดที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่รวบรวม มา มีดังนี้

“การแต่งงานเป็นซุนนะห์ของข้าพเจ้า ผู้ที่ปฏิเสธซุนนะห์ของข้าพเจ้า ก็ไม่ใช่พวกของข้าพเจ้า”

 ท่านไม่ถือว่าการแต่งงานนั้น (เพื่อการตอบสนองความต้องการ

ทางเพศ) เป็นอุปสรรค์ขัดขวางการส่งเสริมความเชื่อทางจิตวิญญาณและความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณของจิตใจมนุษย์

๓๘

ท่านเชื่อว่า ผู้ที่ไม่แต่งงานก็สามารถประสบความสำเร็จในการเข้าถึงความเชื่อทางจิตวิญญาณและโลกแห่งพระผู้เป็นเจ้าได้จากน้อยไปมาก มุสลิมทุกคนต้องดำรงและรักษาความสมดุลในทุกแง่มุมของชีวิตของเขา จากคำสอนหลักของท่านต่อบรรดาสหายของท่าน คือ

“มุสลิมทุกคนจะต้องรักษาความสมดุลในการงานทุกอย่างในชีวิตของเขา”

 เรียกว่าต้องไม่ “อิฟรอต (เกินเลย)” หรือ “ตัฟรีต” (ขาด) ท่านถือว่าการละเว้น (การควบคลุม) เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างจิตวิญญาณให้มีความเข้มแข็งในความโปรดปรานการทำความดีและละเว้นการกระทำชั่ว ดังคำพูดที่หยิบยกขึ้นมาคือ

“ผู้ใดออกห่างจากการทำชั่วเป็นเวลาสี่สิบวัน เขาจะได้รับพรจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงภูมิและทรงรอบรู้”

ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้ประพฤติตนเรียบง่าย สุภาพ ยึดมั่นในความยุติธรรม และกระท􀃎ำตนให้มีความสมดุลในหนทางที่ถูกต้อง

๓๙

 จูงใจให้มนุษย์ทุกคนทำตามความรับผิดชอบและภาระหน้าที่ของตน เกี่ยวกับเรื่องนี้ในอัลกุรอานได้ระบุไว้ว่า :

وَتَعَاوَنُواْ عَلَى الْبرِّ وَالتَّقْوَى

) وَلاَ تَعَاوَنُواْ عَلَى الإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ (مائده/ ๒

“ให้ร่วมมือกันในการทำความดีและยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ และห้ามร่วมมือกันในการทำบาปและไม่ยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์”

และหากสิ่งที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานคือ การเชื่อฟังและการทำความดี ซึ่งมันอยู่ในหัวใจและทำให้คนๆ หนึ่งรอดพ้นจากความชั่วและความเสื่อมโทรม อิสลามได้สอนให้มนุษย์กระทำความดีและมีทัศนคติที่ดีเสมอ

อัลกุรอานได้ยกย่องท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) มาก ต่อคุณลักษณะและมารยาทอันสูงส่ง เนื่องจากท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นศูนย์รวมแห่งมารยาทที่เป็นแบบฉบับอันดีงามซึ่งมีกล่าวในอัลกุรอานว่า :

( وَإِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظِيمٍ (قلم / ๔

“และเจ้านั้นอยู่บนมาตรฐานอันสูงส่งของบุคลิก (มารยาท)”

๔๐

ตอนนี้เราขอกล่าวถึงตัวอย่างลักษณะอันทรงคุณค่าของท่านนบี

มุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ดังนี้

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และการรณรงค์เกี่ยวกับผู้ที่ต่อต้านการไม่รู้หนังสือของท่าน

หนึ่งในเป้าหมายหลักของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) คือการส่งเสริมให้ผู้คนรู้หนังสือ ท่านตระหนักดีต่อการแพร่ขยายไปอย่างกว้างขวางของการไม่รู้หนังสือในหมู่ชนของท่าน ซึ่งถือว่าการไม่รู้หนังสือเป็นเหตุผลหลักของเบื้องหลังการทุจริตต่างๆ การออกนอกลู่นอกทางและความอยุติธรรม

ท่านได้หยิบยกคำพูดที่ว่า :

طلب العلم فریضة علی كل مسلم ومسلمة

“การแสวงหาความรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชายและหญิงทุกคน”

๔๑

ท่านส่งเสริมแม้กระทั่งให้มุสลิมหาความรู้และศาสตร์จากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในประเทศอื่นๆ

اطلبوا العلم ولو بالصین

“จงแสวงหาความรู้แม้กระทั่งอยู่ในประเทศจีน”

หรือท่านส่งเสริมให้ชาวมุสลิมแสวงหาความรู้แม้กระทั่งจากคนนอกศาสนาและคนที่ไม่ใช่มุสลิม เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้ที่มีความรู้เผยแพร่ความรู้ให้หมู่ชนของตนต่อไป

ดังที่ท่านเรียกว่า การสอนหนังสือเป็นการให้ทานแก่ผู้อื่น :

العلم صدقة ان یعلم المرء علما ثم یعلمه اخاه

“ความรู้จะถือเป็นทานได้โดยที่ คนหนึ่งได้รับวิชาความรู้มา และ

นำไปสอนให้แก่พี่น้องมุสลิมของเขา”

ความรู้คือสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ดังนั้น

ท่านจึงสั่งให้สหายของท่านปล่อยตัวเชลยสงครามที่สอนมุสลิมให้อ่านออกและเขียนได้

๔๒

จริยธรรมและการกระทำของท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ในการเข้าสังคม

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จะร่าเริงและยิ้มแย้มเสมอเมื่อท่านอยู่

กับผู้อื่น แต่เมื่อท่านอยู่เพียงลำพัง ท่านจะตกอยู่ในด้านที่เศร้าหมองและครุ่นคิด ท่านจะลดสายตาลงต่ำเสมอและไม่จ้องหน้ากับบุคคลอื่น ท่านกล่าวทักทายกับผู้อื่นก่อนเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กๆ ท่านไม่เคยเหยียดขาของท่านออกไปเมื่อท่านนั่งอยู่กับผู้อื่น

ท่านมักจะสมาคมกับคนยากคนจนและคนขัดสนและแบ่งปันอาหารของท่านให้แก่พวกเขา ขณะรับประทานอาหาร ท่านไม่เคยพิงหรือนั่งบนที่สูงหรือสิ่งอื่นใด ท่านรังเกลียดผู้ที่ยืนขึ้นเพื่อเคารพท่าน เมื่อท่านมาถึงที่ใดที่หนึ่ง ท่านจะนั่งลงตรงที่ที่มีที่ว่างก่อน ท่านจะไม่ขัดเมื่อผู้ใดกำลังพูดอยู่ อีกทั้งท่านจะพูดน้อยแต่มีสาระ ท่านจะพูดอย่างแคล่วคล่องและใจเย็น และท่านไม่เคยดูถูกคน ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) มักไปเยี่ยมเยียนคนป่วยเสมอ ท่านเป็นผู้ที่มีร่างกายและเสื้อผ้าที่สะอาดที่สุด

๔๓

 และท่านทำความสะอาดผมของท่านด้วยสมุนไพร ใบพุทรา และชโลมน้ำมันลงบนผมซึ่งปกมาถึงใบหูของท่าน

ท่านใช้ชะมดและน้ำมันสกัดจากปลาวาฬเพื่อทำให้ร่างกายของท่านมีกลิ่นหอม ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด ท่านก็จะมีกลิ่นกายที่หอมตลอดเวลา ท่านส่งเสริมให้ผู้คนจ่ายเงินเพื่อซื้อน้ำหอมมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ซึ่งการจ่ายเงินเพื่อซื้อน้ำหอมเป็นจำนวนมากๆ ไม่ถือว่าเป็นการฟุ่มเฟือย(อิสรอฟ)

เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ในการใช้เงินของท่านเพื่อซื้อเครื่องหอมและใส่มันมากกว่าเงินที่ท่านใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารของท่าน การแปรงฟันถือเป็นสิ่งหนึ่งในการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ท่าน

นบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพช่องปากและการแปรงฟัน ดังกล่าวนั้น ฟันของท่านจึงขาวและสะอาดอยู่เสมอ และท่านส่งเสริมให้ผู้คนทำเช่นเดียวกับที่กล่าวว่า

“ทำให้ปากของท่านมีกลิ่นหอมโดยการแปรงฟังของท่านเถิด”

ท่านให้ความสำคัญต่อการสร้างจิตวิญญาณให้มั่นคงและถูกต้อง

มากเท่ากับที่ท่านให้ความสำคัญกับสุขภาพที่ดีและร่างกายที่สะอาด

๔๔

 และท่านยังได้กล่าวว่า

“ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นสัญลักษณ์ของคนดี”

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ชื่นชอบดอกไม้ต่างๆ มาก

อิมามอะลีได้อ้างถึงโดยการกล่าวว่า

“วันหนึ่งศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ขณะที่ท่านถือดอกกุหลาบไว้ในมือของท่าน ท่านได้มาหาข้าพเจ้าและให้ดอกกุหลาบทั้งหมดแก่ข้าพเจ้า พร้อมกับกล่าวว่า กุหลาบเป็นดอกไม้ที่ดีที่สุดในสวรรค์”

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ยังได้ดำรัสว่า

“เมื่อไรก็ตามที่ท่านได้รับดอกไม้เป็นของขวัญ ให้ดมกลิ่นของมันและวางมันไว้ในสายตาของท่าน”

การให้ของขวัญแก่ผู้อื่นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับท่าน และท่านได้กล่าวเสมอว่า เมื่อเจ้าออกเดินทางและเมื่อเจ้าเดินทางกลับ เจ้าต้องนำของขวัญมาฝากครอบครัวของเจ้า ถึงแม้ว่าของขวัญนั้นจะเป็นเพียงก้อนหิน ตัวท่านเองก็ยอมรับของขวัญชิ้นนั้นเสมอแม้มันจะเป็นนมเพียงแค่หนึ่งจิบ

๔๕

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นผู้มีเมตตาธรรมอย่างยิ่งและให้อภัยต่อผู้ที่กระทำชั่วและเคยแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อท่าน ท่านเลือกที่จะให้อภัยมากกว่าที่จะแก้แค้น และท่านได้เชิญชวนให้ผู้คนให้อภัยต่อผู้ที่ทำผิด ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นสัญลักษณ์แห่งการให้อภัย วันหนึ่งหลังจากปีที่ท่านและสหายของท่านจำนวนหนึ่งหมื่นสองพัน

คนพิชิตเมกกะและกลับมายังเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของหนึ่งในสหายของท่าน เพื่อทำการแก้แค้นชาวเมกกะในสิ่งที่พวกเขาทำผิด ท่านได้กล่าวว่า

“วันนี้เป็นวันแห่งการให้อภัยและให้พร”

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)กล่าวกับบรรดาผู้ที่ประพฤติชั่วและทรมานท่านและสหายของท่าน รวมถึงผู้ที่สังหารสหายของท่าน ซึ่งยืนอยู่ต่อหน้าท่าน ในขณะที่เป็นผู้ถูกพิชิตพร้อมกับกล่าวว่า

“เจ้าทรมานข้าพเจ้าและสหายของข้าพเจ้าในเมืองนี้และเจ้าได้

ทำการล้อมกรอบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงกับพวกเราในหุบเขาชาบีอะบีฏอเล็บ และการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อข้าพเจ้าและสหาย ไม่มีสิ่งใดที่ข้าพเจ้าจะกระทำกับเจ้าหรือ”

๔๖

คำตอบของชาวเมกกะ คือ การขอความเมตตาจากท่าน จากนั้น

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :

انتم الطلقاء الي الله

“พวกเจ้าทั้งหมดเป็นอิสระ จงผินหน้าของพวกเจ้าไปยังพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ผู้ทรงเดชานุภาพเถิด”

และท่านอภัยโทษให้กับพวกเขาทั้งหมด เหตุการณ์เช่นนี้มักเกิดขึ้น

เสมอในช่วงสงคราม ฝ่ายชนะจะถือไฟเพื่อต้อนฝ่ายที่แพ้ให้รวมเป็นกลุ่มก้อน แต่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)เป็นสัญลักษณ์แห่งความเมตตาและ

การให้อภัยต่อศัตรูผู้พ่ายแพ้และถูกพิชิต ท่านได้แสดงถึงพลังแห่งความเป็นผู้นำที่คงอยู่ในการรับใช้มวลชนในสังคมสำหรับความโปรดปรานการพัฒนาของพวกเขา และความเป็นผู้นำจะไม่ทำให้ตกเป็นเหยื่อแห่งความเป็นกลางทางการเมืองของตนและความเห็นแก่ตัว สำหรับบุคลิกและลักษณะที่ดีเลิศของท่านนบีมุฮัมหมัด

(ซ็อลฯ)

๔๗

เลโอ ตอลส์ตอย นักเขียน และนักปราชญ์ชาวรัสเซีย ที่มีชื่อเสียง กล่าวว่า

“ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นศาสดาที่ดีที่สุดของศาสนาอิสลามที่ควรค่าแก่การเคารพและให้เกียรติ ศาสนาของท่านจะแผ่กระจายไปทั่วโลก ขอบคุณต่อพันธะสัญญาที่พร้อมด้วยความปราดเปรื่องและชาญฉลาด”

ศาสตราจารย์ วิลล์ ดูแรนต์ นักเขียนและนักประวัติศาสตร์

ชาวอเมริกา ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า

“ถ้าเราประเมินผลผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อผู้คน เราขอกล่าวว่า

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นหนึ่งในผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ท่านพยายามที่จะยกระดับความรู้และจริยธรรมของคนที่ป่าเถื่อน (ในภูมิภาคที่มีอุณหภูมิสูงและความแห้งแล้งของทะเลทราย)ท่านได้บรรลุความสำเร็จดังกล่าวนี้ที่เป็นมากกว่าความสำเร็จใดๆ ในการปฏิรูปสังคมโลก เราแทบจะพบผู้ซึ่งได้เติมเต็มมูลเหตุแห่งศาสนาอย่างท่านได้น้อยมาก ท่านประสบความสำเร็จตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสนทูต

๔๘

 ท่านได้รวบรวมเผ่าที่ไม่เลื่อมใสในศาสนาเพื่อจัดตั้งเป็นอุมมะห์

(ประชาชาติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) ท่านได้แจ้งถึงหลักการพื้นฐานที่ชัดแจ้งและแข็งแกร่ง และความเชื่อทางศาสนาที่ยึดถือความกล้าหาญและการเห็นคุณค่าในตนเองซึ่งทรงคุณค่ามากกว่าศาสนายิว ศาสนาคริสต์และบรรดาศาสนาเก่าๆของดินแดน

อาระเบียกลุ่มชนรุ่นต่อไปของอุมมะห์

 ประชาชาติอิสลามผู้ครอบครองชัยชนะเหนือศัตรูในการสู้รบ

๑๐๐ ครั้ง ได้สร้างจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในช่วงหนึ่งศตวรรษและในยุคร่วมสมัยเป็นอำนาจที่แข็งแกร่งที่สุด"

๔๙

การดูแลบรรดาเด็กๆและเด็กกำพร้า

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นผู้ที่มีความเมตตาอย่างยิ่งต่อบรรดา

เด็กๆ และท่านกล่าวเสมอว่า

“จงให้ความเมตตาและความรักต่อบรรดาเด็กๆและเยาวชนของเจ้า”

วันหนึ่งเด็กกลุ่มหนึ่งเห็นศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และเด็กๆ ได้เข้ามารายล้อมอยู่รอบตัวท่านและพูดกับท่านว่า

“โอ้ ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ท่านไม่เคยให้สิทธิ์แก่พวกเรา”

ท่านตอบว่า

“สิทธิ์อะไรที่พวกเธอพูดถึง”

พวกเขากล่าวว่า

“ท่านแสดงความเมตตาต่อหลานชายของท่านคือฮะซันและฮุเซนและท่านแบกพวกเขาไว้บนบ่าของท่านและท่านไม่เคยแบกพวกเราไว้บนบ่าเลย”

๕๐

ถึงแม้ว่าศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จะเป็นศาสดาแห่งอิสลามและ

เป็นผู้นำชุมชนมุสลิมทั้งหมด แต่ท่านบอกให้เด็กๆ ปีนขึ้นไปบนบ่าของท่านทีละคนและพาพวกเขาเดินไปตามถนน ท่านให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่เด็กกำพร้าในสังคมที่ซึ่งพวกเขาถูกดูถูกดูแคลน ท่านสอนให้ผู้คนดูแลเด็กกำพร้าและรับเป็นผู้ปกครองของพวกเขา นอกเหนือจากที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน

ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

“ผู้ที่เลี้ยงดูเด็กกำพร้าจะได้อยู่ใกล้ชิดกับข้าพเจ้าในสรวงสวรรค์ดังเช่นนิ้วมือทั้งสอง”

ความเคร่งครัดในศาสนาและความน่าเลื่อมใส

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้จำกัดตนเองออกจากสิ่งที่ไม่จำเป็น

ในการดำรงชีวิต ท่านนั่งบนเสื่อฟางและมีหมอนที่บรรจุด้วยเส้นใยจากต้นอินทผลัม อาหารของท่านส่วนใหญ่เป็นเพียงขนมปังและผลอินทผลัมเท่านั้น

๕๑

 ท่านไม่เคยมีอาหารเพียงพอ สำหรับบริโภค สามวันติดต่อกัน และได้รับการกล่าวจากภรรยาของท่านว่า บางครั้งไม่มีอาหารหลงเหลือเพื่อจะนำมาปรุงเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ท่านได้ขี่ม้าหรือสัตว์อื่นที่ใช้สำหรับขี่โดยปราศจากอาน และตัวของท่านมักซ่อมแซมเสื้อผ้าและรองเท้าของท่านและรีดนมแพะด้วยตัวของท่านเสมอ ท่านเชื่อว่า โลก เป็นที่แห่งความยากลำบากและความอุตสาหะอย่างแสนสาหัส เนื่องจากท่านได้รับการบอกกล่าวจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ว่า

ولقد خلقنا الانسان فی کبد

(البلد/ ๔)

 “แน่นอน เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาให้อยู่ในความยากลำบาก”

 หรือในดำรัสอีกประการหนึ่งที่บอกว่า:

( فَإِنَّ مَعَ الْعُسْرِ يُسْرًا (الشرح/ ๕

“แท้จริงพร้อมกับความยากลำบากนั้นก็มีความง่าย”

กล่าวคือ มนุษย์สามารถได้รับการบรรเทาในการกลับมามีชีวิตครั้ง

ต่อไป สิ่งนี้ได้มีการกล่าวถึงสองครั้งในคัมภีร์อัลกุรอาน

๕๒

ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำคัญที่กำหนดโดยพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพว่า โลกเป็นที่สำหรับสร้างความแข็งแกร่งให้แก่จิตวิญญาณเพื่อเป็นการเตรียมตัวสำหรับโลกหน้า

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กล่าวกับอัครสาวกของท่านเสมอว่า

ความยากลำบากจะนำไปสู่จิตวิญญาณที่แข็งแกร่งของมนุษย์

ท่านได้เพิ่มเติมว่า :

الفقر فخري

ความยากจนเป็นเกียรติแก่ข้าพเจ้าเสมอ

ท่านสอนให้สหายของท่านช่วยเหลือคนยากจนและผู้ขัดสน

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ให้คุณค่าแก่ความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันและความเมตตาในหมู่ชนและท่านส่งเสริมให้ผู้คนไปมาหาสู่และเยี่ยมเยียนญาติเพื่อนบ้านของเขา รวมทั้งผู้ป่วยและช่วยเหลือคนยากจนและขัดสน ท่านได้ไปเยี่ยมเยียนผู้ป่วยที่ไม่ใช่มุสลิมเสมอ กุรอานคัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าซึ่งแจ้งแก่ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งถือเป็นแหล่งที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งหนึ่งเพื่อส่งเสริมมิตรภาพและความเป็นพี่น้องกันระหว่างหมู่ชน คำสอนทางด้านจริยธรรมทั้งหมดของศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)นำมาจากที่เดียวกัน ณ ที่นี้

๕๓

 

เราอ้างถึงจำนวนบทและคำสอนใน อัลกุรอาน ที่กล่าวไว้เช่นเดียวกัน ดังนี้

๑. การนินทาว่าร้าย

وَ يَغْتَب بَّعْضُكُم بَعْضًا أَيُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَن يَأْكُلَ

) لَحْمَ أَخِيهِ مَيْتًا فَكَرِهْتُمُوهُ (حجرات / ๒๑

“และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งในหมู่

พวกเจ้าชอบที่จะกินเนื้อของพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ”

๒. ความริษยา การประณามการอิจฉาริษยากันในหมู่ชน พระองค์

อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ตรัสว่า

 จงแสวงหาที่พักพิงแห่งพระผู้เป็นเจ้า (พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) โดยการระมัดระวังจากความริษยากัน”

๓. ความเห็นแก่ตัว ในมุมมองของอัลกุรอาน ความเห็นแก่ตัวเป็นสิ่งร้ายกาจและเป็นลักษณะที่ชั่วร้ายที่นำมาซึ่งสิ่งเลวร้ายอื่นๆ มากมาย

๕๔

 

ซึ่งมีอยู่หลายบทที่อัลกุรอานได้กล่างถึงเรื่องนี้ ความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นเนื่องจากแรงจูงใจต่างๆ อันรวมถึงอำนาจ ความมั่งคั่งและความงามที่ถูกประณามและอัลกุรอานยังบอกว่า ลักษณะที่ชั่วร้ายนี้จะนำมาซึ่งความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและความเกลียดชังกันเสมอ

ในหลายๆ บทของอัลกุรอานมีการกล่าวถึงระดับของการกล่าวหาที่

เป็นเท็จ การโกหก การนินทาและการเย้ยหยันที่เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากสิ่งดังกล่าวมานี้นำมาซึ่งการเป็นปฏิปักษ์ต่อกันในหมู่มนุษย์ และการกระทำทั้งหลายที่ส่งเสริมความเมตตาและความมีน้ำใจในหมู่ชน (ดังเช่น ความซื่อสัตย์ การให้อภัย การผ่อนปรนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งสองหรือระหว่างสองเชื้อชาติ) ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

แม้ว่าการบอกกล่าวความเท็จจะเป็นที่ถูกประณามในศาสนาอิสลาม แต่หากเป็นการปรับปรุงเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนก็ถือเป็นที่อนุมัติ

๕๕

ครั้งหนึ่ง ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กล่าวกับกลุ่มชนของท่านว่า

“คนใดในหมู่พวกเจ้าที่ทำสิ่งดังต่อไปนี้ จะเป็นผู้มีเกียรติและมีสถานะที่สูงส่ง ณ พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ

ก. ให้อภัยแก่ผู้ที่กระทำไม่ดีต่อเจ้า

ข. สร้างสัมพันธ์ใหม่กับผู้ที่เคยตัดสัมพันธ์กับเจ้า

ค. แสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้ที่กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับเจ้า

เนื่องจากความประมาทและความโง่เขลาของเขา

๔. สั่งห้ามการดื่มไวน์ (เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์) ซึ่งได้มีคำสั่งห้ามจากอายะห์ต่างๆ ในอัลกุรอาน ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ถือว่าการ

ดื่มไวน์ (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์) เป็นเหตุแห่งการสูญเสียจิตใจ สติ และได้กระตุ้นให้หมู่ชนของท่านหลีกเลี่ยงการดื่ม (ไวน์) ท่านกล่าวว่า “พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ทรงขังความชั่วร้ายไว้และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถือเป็น กุญแจ สำหรับไขล็อคออก”

๕๖

การอพยพ (ฮิจเราะห์)

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้พยายามที่จะพัฒนาชาวเมืองเมกกะ

โดยการเชิญชวนพวกเขาไปสู่การพัฒนาจากภายนอกและภายใน (ไปสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ) โดยหลีกเลี่ยงการนองเลือด ประณามและความเสื่อมเสียใดๆอันที่จะเกิดขึ้นได้

หลังจาก ๑๓ ปีของการเผยแพร่ศาสนาอิสลามได้ผ่านไป ผู้นำของ

ชาวกุเรชต้องผิดหวังในการขัดขวางท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ในการเชิญชวนเรียกร้องไปสู่ศาสนาอิสลาม พวกเขาตัดสินใจที่จะสังหารศาสดาแห่งอิสลามในเวลากลางคืน คนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่เคยสร้างความเจ็บปวดให้แก่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และสหายของท่านเป็นเวลา๑๓ ปี แต่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพทรงทำให้ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) สามารถล่วงรู้อุบายของศัตรูผ่านทางเทวทูต (มะลาอิกะห์) และสั่งให้ท่านอพยพออกจากนครเมกกะในเวลากลางคืน

๕๗

ดังนั้น ท่านนบีมุฮมั หมัด (ซ็อลฯ)จึงเรียกท่านอะลี บุตรอบูตอลิบ สาวกผู้ภักดีของท่านและเป็นคนแรกที่แสดงความภักดีต่อศาสดา พร้อมทั้งได้บอกแผนการลับให้ท่านอะลีทราบและกล่าวกับเขาว่า

“เจ้าพร้อมที่จะนอนบนเตียงของข้าฯแทนข้าฯ ไหม”

ท่านอะลีถามว่า

“และจากนั้น ท่านจะปลอดภัยและได้รับการปกป้องใช่ไหม?”

และท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ตอบว่า

“ใช่ ข้าฯอยู่ในอุ้งพระหัตถ์อันปลอดภัยแห่งพระผู้เป็นเจ้า”

จากนั้นท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จึงอพยพออกจากเมืองเมกกะไป

ยังเมืองยัสริบตั้งอยู่ในระยะทาง ๔๐๐ กิโลเมตรจากนครเมกกะ โดยศัตรูได้รีบรุดไปยังบ้านของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และกวาดดาบในมือของพวกเขามายังเตียงนอนของท่าน แต่ต้องประหลาดใจเมื่อพบท่านอะลีนอนอยู่บนเตียงของท่านแทน

พวกเขาถามท่านอะลีว่า

“มุฮัมหมัดอยู่ที่ไหน?”

๕๘

ท่านอะลี ตอบว่า

“พวกท่านมอบหมายให้ข้าพเจ้าเฝ้าดูท่านนบีมุฮัมหมัดหรือ?”

ทันใดนั้นพวกเขาได้ไล่ตามท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ไป แต่ท่านได้เข้าไปหลบภัยอยู่ในถ้ำใกล้กับเมืองเมกกะ

ด้วยพระประสงค์ของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ

ทำให้ทางเข้าถ้ำถูกขวางกั้นด้วยใยแมงมุมและมีนกพิราบป่าวางไข่ไว้บริเวณปากถ้ำ ศัตรูที่ตามล่าท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ตามรอยเท้าของศาสดาแห่งอิสลามมายังปากถ้ำและเมื่อพวกเขาเห็นใยแมงมุมและนกพิราบ เขาจึงกล่าวกับพวกของตนว่า

“แมงมุมและนกพิราบจะไม่ทำรังของพวกมันหากมีคนอยู่ในถ้ำอีกทั้ง ถ้าใยแมงมุมมีอยู่ที่นี่ก่อนแล้ว จะต้องถูกทำลายหากมีผู้ใดเข้าไปในถ้ำ

ดังนั้น แสดงว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ไม่มีผู้ใดเข้าไปในถ้ำนี้เลย จากนั้นพวกเขาได้เดินทางออกไปและทำให้ท่านนบีมุฮัมหมัด

 (ซ็อลฯ) ปลอดภัย

๕๙

สองถึงสามวัน หลังจากนั้น ท่านได้ออกจากถ้ำไปยังเมืองยัสริบ เนื่องจาก

ว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ส่งผู้แทนของท่านนามว่า

มัสอับ บุตรอุมัยร์( مصعب بن عمير)ไปยังเมืองยัสริบเป็นเวลาสองปีมาแล้ว จึงทำให้ประชาชนในเมืองนั้นค่อนข้างเตรียมพร้อมที่จะเข้ารับศาสนาอิสลาม เมื่อท่านเดินทางเข้าไป แต่ละเผ่าที่ท่านเดินทางผ่าน ปรารถนาที่จะให้เกียรติในการมาของท่านและพยายามให้เครื่องเทียมกับอูฐของท่านและให้ท่านพักอยู่กับพวก-เขา หลังจากนั้นไม่นาน บรรดาสหายของท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) ได้อพยพไปยังเมืองยัสริบและชื่อของเมืองนี้ก็ถูกเปลี่ยนเป็น

เมืองมะดีนะตุ้ลนะบี (มะดีนะห์) มีความหมายว่า “เมืองของศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม” เพื่อให้ชาวมุสลิมมารวมตัวกันและทำการนมาซของพวกเขา

๖๐

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132