ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี42%

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 132

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 132 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 40928 / ดาวน์โหลด: 7858
ขนาด ขนาด ขนาด
ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์

           ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ผู้เขียน : เชค มุฮ์ซิน ชะรีอัต

แปลและเรียบเรียงโดย : เชคกุลามอะลี อบอซัร

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้เมตตาเสมอ

บทนำ

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ศาสดาแห่งความเมตตา

ความสำเร็จทางวัฒนธรรมและอารยธรรมของมวลมนุษย์ทั้งหลายรวมถึงองค์ประกอบในเชิงบวกในชีวิตทางสังคมของมนุษย์ แต่ที่เหนือไปกว่าทุกสิ่ง เราได้เป็นหนี้บุญคุณในความเสียสละและการอุทิศตนของบรรดาผู้ทรงเกียรติซึ่งมีจิตอันประเสริฐในการนำมวลมนุษย์ไปสู่การสร้างให้เกิดความยุติธรรม ความถูกต้อง อิสรภาพ ความเจริญก้าวหน้า จิตวิญญาณอันเป็นอมตะและความเป็นจริงที่นอกเหนือจากโลกที่มีตัวตนอย่างแท้จริงเพื่อทดแทนเหตุอันไม่พึงปรารถนาของชีวิตมนุษย์ด้วยอุดมการณ์ใหม่ พวกท่านได้อุทิศชีวิตของท่านและทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านครอบครอง บรรดาผู้มีเกียรติผู้ซึ่งการประพฤติตนและวิถีชีวิตของพวกท่านได้รับการพิสูจน์แล้วถึง

ความชอบธรรม ท่านเหล่านั้นคือบรรดาผู้ที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังของการพัฒนาทางสังคมที่มีความลึกซึ้งและยั่งยืน

 

การสร้างความถูกต้องและวัฒนธรรมที่แท้จริงที่ยังผลให้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตทางสังคมก้าวไปสู่ระดับที่ดีเยี่ยม อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า ฉากที่ยอดเยี่ยมที่สุดในประวัติศาสตร์

มนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นจากความอุตสาหะและการอุทิศตนอันทรงคุณค่าของบุคคลผู้เปี่ยมไปด้วยความเมตตาเหล่านี้ และหากปราศจากการงานของท่านทั้งหลายแล้ว ชีวิตมนุษย์ก็จะกลายเป็นหนองน้ำที่ส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งเต็มไปด้วยการกดขี่ข่มเหงและความเห็นแก่ตัวของผู้ที่ชอบกดขี่และเห็นแก่ตัว

หนึ่งในลักษณะของผู้ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์อย่างมากและผู้ที่

สร้างคำจำกัดความใหม่ของชีวิตคือ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ผู้ที่ถือกำเนิดมาประมาณ ๑,๔๐๐ ปีที่แล้ว อาวุธของท่านนบีมุฮัมหมัดคือความชาญฉลาด และอำนาจของท่านคือความรัก ซึ่งทำให้ท่านสามารถมีอิทธิผลต่อสังคมมนุษย์ทั้งหมดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งขยายขอบเขตออกไปจนปัจจุบันนี้

ประชาชนมากกว่าหนึ่งพันล้านหรือครึ่งหนึ่งเป็นสาวกที่เลื่อมใสในทัศนคติ จรรยามารยาท และเจตนารมณ์ของท่าน

แม้ว่าในทุกๆ ช่วงเวลาที่สำคัญในชีวิตของบุคคลผู้ทรงเกียรติทั้งหลายถือเป็นการเรียนรู้ที่ทรงคุณค่า แต่บางครั้งบุคลิกและคุณลักษณะของบุคคลนั้นก็มีความสง่างามและน่านับถือมาก ซึ่งเราต้องการกล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตของท่านแม้แต่ในช่วงวัยเด็ก โดยมักไม่มีการกล่าวถึงชีวิตของบุคคลผู้เป็นอัจฉริยะทั้งหลาย ผู้นำทางสังคมหรือบรรพ-บุรุษของแต่ละอารยธรรม ซึ่งเราอาจได้พบกับความน่าสนใจและความประหลาดใจของข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ต่างๆ อย่างมาก ชีวิตของพวกท่านตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งเสียชีวิตเต็มไปด้วยความลับมากมาย

ในหนังสือเล่มนี้ เราต้องการกล่าวโดยสังเขปเกี่ยวกับลักษณะทัศนคติและวิถีการดำรงชีวิต รวมถึงคำสอนอันประเสริฐยิ่งของศาสดามุฮัมหมัด บุตรของ อับดุลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอิสลาม และผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจาก ท่านศาสดามุฮัมหมัด บุตรของ อับดุลลอฮ์(ซ็อลฯ) คือ อิมาม อะลี บุตร อบูตอลิบ (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) และท้ายที่สุด

เราจะกล่าวถึงลักษณะและเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวสำหรับวันอาชูรออ์ของอิมามฮุเซน (ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) หวังว่าผลงานชิ้นนี้จะถูนำไปใช้สำหรับนักวิชาการและนักวิจัยทุกท่าน จากทุกศาสนา เพื่อให้เกิด ความคุ้นเคยกับุคลิกภาพและคุณลักษณะของบุคคลผู้ทมุฮัมมัดเกียรติเหล่านี้มากขึ้น

ศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นที่รู้จักกันในนามผู้ก่อตั้งศาสนา

อิสลามและเป็นศาสดาของชาวมุสลิมทั่วทั้งโลก

ซึ่งถือกำเนิดในปีคริสตศักราช ๕๗๐ ที่เมืองเมกกะ (มักกะฮ์) ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอาหรับทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยคาบสมุทรนี้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓ ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งหนึ่งในสามของดินแดนเป็นพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง มี

พื้นพันธุ์ขึ้นอยู่น้อยหรือไม่มีเลย

เมกกะตั้งอยู่ใกล้กับทะเลแดง ซึ่งถือว่าเป็นเมืองหนึ่งที่มีชื่อเสียงมากของโลกและเป็นสถานที่หนึ่งที่สำคัญที่สุดในการประกอบพิธีกรรมของชนชาวมุสลิมทั้งหลายที่เรียกกว่า

พิธีกรรม การบำเพ็ญ “ฮัจญ์” สำหรับการประกอบพิธี “ฮัจญ์” ในทุก ๆ ปีจะมีชาวมุสลิมประมาณสามล้านคนเดินทางไปประกอบพิธีดังกล่าวที่เมืองนี้

เราสามารถอ่านในหนังสือประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่มีขึ้นพร้อมกับ

การเกิดของมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งมีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นมากมาย อาทิ ไฟในวัดของลัทธิโซโรแอสเตรียนดับ เทวรูปในวิหารกะอ์บะห์ (ก่อนอิสลาม) ทรุดตัวก้มลง สิ่งก่อสร้างภายใน Kasra Arch (Taqe Kasra,Eyvane Madaen) ถูกทำลายเมื่อท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ถือกำเนิดขึ้น ทันใดนั้นก็เกิดแสงไฟปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าและแผ่นดิน ทั้งทางทิศตะวันออก และตะวันตก เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร

ขณะนั้น บิดาของท่าน (อับดุลลอฮ์) ได้เสียชีวิตไปแล้ว ดังนั้น อำนาจในการเลี้ยงดูท่านจึงเป็นของปู่ของท่านคือ อับดุลมุฏฏอเล็บ เมื่อท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) มีอายุได้หกปี

มารดาของท่าน (อามีนะฮ์) ได้เสียชีวิตลง และเมื่ออายุได้แปดปี ท่านนบี มุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ก็ได้สูญเสียผู้เป็นปู่ ผู้เป็นผู้ปกครองของท่าน จากนั้นท่านได้ถูกเลี้ยงดูโดยลุงของท่าน (อะบูฏอเล็บ)บิดาของท่านอิมามอะลี (อ.)

เรื่องราวทางวัฒนธรรม และ สังคมของเมืองเมกกะ

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ถือกำเนิดมาในช่วงที่ชาวเมกกะยังไร้ซึ่งอารยธรรมและโครงสร้างทางสังคม การกระทำอันไร้เหตุผลและโง่เขลาของประชาชนทำให้เกิดการสังหารหมู่

การใช้เวลาไปกับการทำสงคราม เล่นการพนัน ค้าประเวณี เสพสิ่งมึนเมาและดื่มสุรา หากจะกล่าวถึงบรรดาลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมอื่นๆ ของประชาชนเหล่านั้น สิ่งที่เราสามารถกล่าวถึง

ได้คือ การโอ้อวดที่ไร้ค่า ปริมาณของวัฒนธรรมที่เป็นศูนย์กลาง การเชื่อในโชคลางอันเป็นผลมาจากการบิดเบือนศาสนา ยึดถือตำนานเก่าแก่และเรื่องราวของตำนาน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้แสดงถึงความโง่เขลาของพวกเขาและความเลวร้ายของสังคม พวกเขาเชื่อว่าเด็กผู้หญิงเป็นแหล่งของความอัปยศ และแม้กระทั่งพวกเขาจะฝังลูกสาวของเขาทั้งเป็น พฤติกรรมและการกระทำอันโหดร้ายดังกล่าวนี้ได้ถูกสันนิษฐานว่าเป็นยุคแห่งความโง่เขลา ซึ่งนำมนุษย์ไปสู่การทำลายล้างทั้งหลาย ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่อื่นๆในคาบสมุทรอาหรับที่ยังคงปลอดภัยจากการเผชิญหน้ากันของบรรดาผู้พิชิตในยุคเก่า

 และปัจจุบันนี้ คุณไม่สามารถพบอนุสาวรีย์หรือสิ่งก่อสร้างโบราณจากอารยธรรมของอาณาจักรโรมันในตอนเหนือ หรืออารยธรรมของอาณาจักรเปอร์เซียในตอนใต้ของคาบสมุทรอาหรับ เนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของผู้คนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรดังกล่าว รวมถึงดินแดนที่แห้งแล้งซึ่งไม่เป็นที่สนใจของอาณาจักรโบราณใดๆ เลย

ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่ม

เนื่องจากอะบูฏอเล็บ (ลุงของท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)) มีรายได้ไม่เพียงพอ ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)จึงต้องช่วยทำงานเป็นคนรับจ้างเลี้ยงแกะ และเนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นในบางครั้ง ท่านอะบูฏอเล็บจึงได้เสนอให้ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ไปทำงานค้าขายให้หญิงหม้ายชื่อ คอดีญะห์ ซึ่งท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)เป็นที่รู้จักดีในนามของผู้ที่มีความซื่อสัตย์ ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ยอมรับข้อเสนอของนาง และหลายคราที่ท่านต้องเดินทางไปทำการค้าขายกับกองคาราวานสินค้าของคอดีญะห์ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจยิ่ง เมื่อทราบว่า สถานที่หนึ่งในที่ท่านต้องเดินทางไปค้าขาย  คือ

ประเทศซีเรีย

ซึ่งมีพระชาวคริสเตียนคนหนึ่งชื่อบะฮีรอ ได้เห็นท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)และจ้องมองเขาอย่างลึกซึ้งพร้อมกับกล่าวว่า

“ชายหนุ่มผู้นี้จะต้องมีอนาคตที่สดใสอย่างมากและเขาจะได้เป็น

ศาสดาเช่นที่กล่าวไว้ในคัมภีร์แห่งพระเจ้า เขาคือผู้นำสารของพระผู้เป็นเจ้า และเขาจะเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ไปยังทั่วทั้งโลกนี้ ข้าพเจ้าสามารถมองเห็นได้ในตัวมุฮัมหมัดชายหนุ่มคนนี้ สัญญาณเหล่านี้ได้ถูกระบุไว้ในคัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าของเราและด้วยความเคารพต่อศาสดาผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าได้ให้คำสัญญาไว้”

ถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนซึ่งในช่วงวัยรุ่นอาจจะมีการเบี่ยง

เบนทางกายภาพและศีลธรรม แต่ในคาบสมุทรอาหรับ พวกผู้ใหญ่มักมั่วสุมเกี่ยวข้องกับการกระทำชั่วและการกระทำอื่นๆ ที่เป็นสิ่งผิดศีลธรรมกันอย่างน่าละอาย

 แต่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ยังคงรักษาศีลธรรมและจรรยา

มารยาทของเขา รวมถึงความซื่อสัตย์ของเขาทำให้เขาได้รับฉายานามว่า

“อัลอามีน” คือผู้ที่เปี่ยมไปด้วยความซื่อสัตย์ในเมืองเมกกะ

๑๐

 เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้เข้าร่วมในสนธิสัญญาอัลฟุฎูล ซึ่งช่วยเหลือผู้ที่ถูกกดขี่ข่มเหงที่ได้ลี้ภัยอยู่ในเมกกะ เนื่องจากการความอคติได้แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้พวกเขาถูกทารุณกรรมและคุกคามโดยชาวเมืองเมกกะ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ถือว่าการเข้าร่วมในสนธิสัญญาดังกล่าวของเขาถือว่าเป็นเกียรติให้กับตนเอง

ท่านหลีกเลี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของการยั่วยวนและความสุขทางโลก และใบหน้าของท่านแสดงให้เห็นว่าท่านเป็นนักคิดที่ลึกซึ้ง เพื่อให้อยู่ห่างจากการทุจริตและการทำชั่วที่แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ท่านได้หลบไปอยู่ที่ภูเขาและในถ้ำเสมอ เมื่อท่านอยู่คนเดียว ท่านจะทำการใคร่ครวญอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสองเรื่อง

ดังนี้

๑. การสร้างแผ่นดินและท้องฟ้า และต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตและ

การดำรงอยู่ของมัน จากนั้น ท่านก็ได้รับความรู้จากอำนาจและสิ่งที่ลี้ลับจากพระผู้เป็นเจ้า

๑๑

๒. ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบอันหนักหน่วงในการแก้ไขความเชื่อและการกระทำของผู้คนที่อยู่ในสังคมอันตกต่ำ เลวร้ายและลุ่มหลงในโลกีย์ ท่านพบว่า ถึงแม้ว่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะแก้ไขสังคม แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่ยากมากและต้องใช้ความพยายามอย่างสูงสุด

การรู้เห็นถึงการแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางของความลุ่มหลงในโลกีย์ การกระทำอันทุจริต การกดขี่ข่มเหง ความหยิ่งยโส

 การเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์และกราบไหว้รูปปั้น ท่านได้กล่าวกับตนเองว่า

“มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สูงส่งและมีค่ามากที่สุดบนแผ่นดิน และสิ่งที่ท่านรังสรรค์ขึ้นมานั้นจะถูกนำมาแทนที่ตามจุดประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า และท่านต้องการที่จะก้าวไปสู่วิวัฒนาการของพระผู้เป็นเจ้าผ่านทางเส้นทางของพระองค์ที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่เราได้เห็นในปัจจุบันนี้”

แต่เราจะคาดหวังอย่างไรกับสังคมที่เต็มไปด้วยการลุ่มหลงในโลกีย์

การผิดประเวณี กระหายความร่ำรวย และการกดขี่ห่มเหง ให้สามารถก้าวไปยังเส้นทางของพระผู้เป็นเจ้าได้

๑๒

การสื่อสารกับเทวทูต (มะลาอิกะฮ์)และภารกิจของพระผู้เป็นเจ้า

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ไม่ได้อยู่ในหมู่ปัญญาชนหรือผู้ที่ได้รับ

การศึกษา และไม่เคยผ่านหลักสูตรการศึกษาใด ๆ ดังนั้น ท่านจึงถูก

เรียกว่า “อุมมี” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ไม่มีการศึกษา แต่ภายใภูเขาเป็นที่ๆ ท่านได้รับการฝึกฝนภูมิปัญญา บุคลิกภาพและคุณลักษณะอันสูงสุดของมนุษย์เมื่อตอนอายุสี่สิบปี ด้วยความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ พระองค์ได้ทรงส่งเทวทูตมาปรากฏต่อหน้าท่าน เทวทูต (มะลาอิกะฮ์) นั้นมีชื่อว่า เกเบรียล (ญิบรีล)

และได้นำภารกิจแห่งพระผู้เป็นเจ้ามา โดยเฉพาะ บุคคลอย่าง

ท่านนบีผู้ซึ่งสามารถให้ได้อย่างแท้จริงเท่านั้น และ ทำให้จิวิญญาณของเขาแข็งแกร่งสามารถที่พบกับเทวทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้า

ผู้ทรงเดชานุภาพได้ ซึ่งท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ได้รับความพร้อมนั้นแล้ว โดยการพิจารณาอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับจักรวาล และโดยความบริสุทธิ์แห่งจิตวิญญาณของเขาต่อหลุมพรางแห่งโลกีย์

๑๓

 ต่อมาพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพได้แต่งตั้งให้เขา เป็นผู้นำสารของพระองค์ และหลังจากที่ทูตเกเบรียล (ญิบรีล) ได้มาปรากฏตัวต่อหน้าท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เทวทูตได้กล่าวว่า

“จงอ่าน”

จากนั้น มุฮัมหมัดผู้ซึ่งไม่มีการศึกษาตอบว่า

 “ข้าพเจ้าอ่านไม่ได้”

เทวทูตได้เข้ามากอดรัดมุฮัมหมัดและกล่าวกับท่านอีกครั้งว่า

“จงอ่าน”

ต่อมาท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ก็สามารถอ่านได้ เกเบรียลได้เข้า

มากอดรัดท่านอีกครั้ง และบอกให้มุฮัมหมัดอ่านตามเขา และเขากล่าวว่า

“อ่านด้วยพระนามของพระเจ้าผู้ทรงสร้าง! พระองค์ทรงสร้างมนุษย์มาจากก้อนเลือด จงอ่านเถิด และพระองค์ทรงใจบุญยิ่ง พระองค์ได้ทรงสอนการใช้ปากกา ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้”

๑๔

การมองมาที่เกเบรียล (ญิบรีล) และสารของพระผู้เป็นเจ้าของเขา

กำหนดให้ “ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เจ้าเป็นผู้นำสารของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ และข้าคือเทวทูตของพระองค์”

 จากนั้นท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ได้ออกมาจากถ้ำ ฮิรออ์ ด้วยความปิติอย่างสูงสุด พร้อมกับมองขึ้นไปทั่วทุกมุมบนท้องฟ้าที่ปรากฏแสงของพระผู้เป็นเจ้า

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) พิจารณาและค้นหาแหล่งกำเนิดของการ

ดำรงอยู่ของทุกๆ สิ่งในพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงสมบูรณ์แบบและไร้มลทิน เมื่อท่านอยู่ลำพังเขาจะพูดกับพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) เช่นเดียวกับที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงแต่งตั้งโมเสสแห่งยูดายและศาสดาอื่น ๆ อีกหลายพันคนเป็นผู้นำสารของพระองค์ เพื่อที่จะแก้ไขการกระทำต่างๆ ของประชาชาติเพื่อนำพวกเขาไปสู่พระเจ้าที่แท้จริงการให้เอกภาพและความสูงส่งเหนือสิ่งใดๆ ทั้งปวงแก่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)

๑๕

การสื่อสารเพื่อเปิดเผยความจริงระหว่างท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

กับพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ กินเวลานานถึง ๒๓ ปี จวบจนกระทั่งท่านนบี มุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้เสียชีวิตเมื่ออายุได้ ๖๓ ปี โองการศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมอยู่ในคัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าที่เรียกว่า “อัลกุรอาน” คัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นแนวทาง เพื่อนำมนุษยชาติทั้งหลายไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองอันแท้จริง คัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าที่รวบรวมดำรัสของพระองค์

ผู้ทรงเดชานุภาพ ที่ได้แจ้งแก่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

 ผู้นำสารของพระองค์ เพื่อที่จะถ่ายทอดให้แก่มนุษยชาติต่อไป

๑๖

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)กับการเชิญชวนไปสู่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ครั้งแรก

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)ได้รับมอบหมายภารกิจอันศักดิ์สิทธิ์โดย

พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ มาตามลำดับ เช่นเดียวกับศาสนทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้าท่านอื่นๆ ในยุคก่อนหน้านี้ ในการถ่ายทอดสารของพระผู้เป็นเจ้าไปยังมนุษยชาติและเชิญชวนพวกเขาไปสู่เอกานุภาพ ซึ่งเรียกว่า“เตาฮีด” แต่ความแตกต่างระหว่างท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กับศาสนทูตก่อนนี้ ตามข้อเท็จจริงคือท่าน ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสนทูตท่านสุดท้ายของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเดชานุภาพ บนโลกนี้และไม่มีศาสนทูตอื่นต่อจากท่าน แนวทางในการเชิญชวนประชาชนได้มีโองการมายังท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ว่า:

ادْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ

) وَجَادِلْهُمْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ( نحل ๑๒๕

“จงเชิญชวนไปสู่หนทางแห่งพระเจ้าของเจ้าด้วยสติปัญญาและคำสอนที่ดีและโต้แย้งกับพวกเขาด้วยวิธีที่ดีที่สุด"(บทอันนะฮ์ล์ โองการที่ ๑๒๕)

๑๗

จากนั้น คำแรกสำหรับการเชิญชวนมนุษยชาติไปสู่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเดชานุภาพของเขา คือ :

(أيها الناس، قولوا لا إله إلا الله تفلحوا)

“พวกเจ้าจงกล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ต้องเคารพภักดีนอกจากพระองค์อัลลอฮ์ เพียงองค์เดียวเท่านั้น จึงจะถือว่าสำเร็จ”

ดังคำกล่าวที่ทรงคุณค่าว่า

"ศาสนาทุกศาสนามีหลักของตนเพื่อให้มนุษย์หลุดพ้นจากบาป เช่น

สำหรับลัทธิโซโรแอสเตรียน การพ้นจากบาปของมนุษย์จะต้องยึดมั่นอยู่ในหลักของ “การคิดดี พูดดีและทำดี”

ในนิกายหรือศาสนาอื่นๆ เชื่อว่า “สันติสุข” ถูกกำหนดให้เป็นการพ้นจากบาปของมนุษย์ หมายถึง การพ้นจากบาปของมนุษย์จะผ่านทางสันติสุข”

๑๘

 ส่วน “สันติสุข” คือการตระหนักว่าเราเข้าใจในสาเหตุแห่ง

“ความทุกข์” และการเข้าใจสาเหตุแห่ง “ความทุกข์” เราต้องได้รับความสามารถในการจำแนกแหล่งที่มาของความทุกข์ความสามารถนั้นเรียกว่า

“ปัญญา” และปัญญานั้นคือความรู้ที่ว่า ความทุกข์ทั้งหลายนั้นเกิดจากการเชื่อมโยงกัน และการเชื่อมโยงกันของตัวมันเองเกิดจากความกระหายและความปรารถนาในสิ่งที่ดีที่สุด ดังนั้น รากฐานของศาสนาและลัทธิต่างๆเหล่านั้นคือ มนุษย์มีความต้องการอยู่ตลอดเวลา เขาต้องการคู่ครองและทายาท ต้องการทรัพย์สิน ความมั่งคั่งและอำนาจซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด ต่อมาเขาได้ค้นพบหลักนี้คือการเชื่อมโยงกันตามมาด้วยการแยกจากกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการแยกจากกันมีรูปแบบเดียวกับความทุกข์ ดังนั้น เพื่อให้มนุษย์สามารถกำจัดความทุกข์ออกไปได้ เขาต้องรู้จักจำแนกสาเหตุของ

มัน และพื้นฐานของนิกายดังกล่าวคือ มนุษย์จะปราศจากความต้องการในทุกสิ่งเพื่อให้บรรลุถึงสันติสุขชั่วนิรันดร์ และความหลุดพ้นนั้นเช่นเดียวกับเสรีภาพทางจิตวิญญาณ

๑๙

หรือตัวอย่างในศาสนาคริสต์ที่ได้ถูกเผยแพร่ในปัจจุบันนี้ ปัจจัยหลักในการพ้นจากบาปของมนุษย์ที่ตกอยู่ในกิเลส ความรักและเสน่หาโดยนำมาจากนิกายนี้ คุณต้องแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เมตตาต่อท่านหรือผู้ที่ทำไม่ดีกับท่าน จากนั้นโลกจะเต็มไปด้วยความเมตตากรุณาและทุกคนก็จะปลอดภัย

หลักของนิกายทั้งหมดที่ได้กล่าวมาสามารถนำไปประยุกต์ใช้โดย

มีเงื่อนไขว่า เขาจะต้องยึดถือหลักการให้เอกภาพ หากปราศจากการให้เอกภาพ “เตาฮีด” ความเห็นอกเห็นใจอาจจะเปลี่ยนเป็นความเสื่อมเสียและความอัปยศ และหากเราแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้กดขี่ข่มเหงและคนที่เป็นทาส มันก็จะกลายเป็นปรัชญาและความอ่อนน้อมถ่อมตนหรือเป็นไปได้ว่าความเห็นอกเห็นใจและความเมตตากรุณาจะเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่เข้าใจได้ยากระหว่างผู้คนบนพื้นฐานของความปรารถนา โดยไม่คำนึงถึงความสามารถและบุญกุศล ถ้าเราทุกคนรักซึ่งกันและกัน

๒๐

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

   ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมายและความเป็นจริง

(วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์และวะฮ์ดัตอัยนีย์)

    ในขณะที่มีการกล่าวกันว่า ความเป็นหนึ่งเดียวที่มีในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้ากับคุณลักษณะของพระองค์ นั้นมีความหมายเป็นหนึ่งเดียวกัน (วะฮ์ดัต) ดังนั้น ความเป็นหนึ่งเดียว(วะฮ์ดัต) ดังกล่าวมีความหมายว่าอย่างไร? และเราสามารถแบ่งออกเป็นได้ กี่ประเภทด้วยกัน

ซึ่งจะกล่าวได้ว่า เราสามารถแบ่งประเภทของความเป็นหนึ่งเดียว (วะฮ์ดัต )ได้ ๒ ประเภท ด้วยกัน มีดังต่อไปนี้

๑. ความเป็นหนึ่งเดียวในด้านความหมาย  (วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์)

๒. ความเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นจริง (วะฮ์ดัตอัยนีย์)

 วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์ หมายถึง คำสองคำที่มีความแตกต่างกันในตัวอักษร แต่ในด้านความหมายนั้น มีความหมายเดียวกัน เช่น ในภาษาอาหรับ คำว่า วุญูด คือ การมีอยู่ และคำว่าเกาน์ ก็แปลว่า  การมีอยู่ ด้วยเช่นกัน

 ดังนั้น วะฮ์ดัตมัฟฮูมีย์ จึงถูกนำไปใช้ในด้านของความหมายของคำเท่านั้น

ส่วนวะฮ์ดะฮ์อัยนี หมายถึง คำสองคำที่มีสองความหมาย แต่ว่ามีตัวอย่างอันเดียวกันในความเป็นจริงหรือภายนอก เช่น คำว่า คัมภีร์ของมุสลิม และคำว่า ปฏิหาริย์ของท่านศาสดามุฮัมมัด ดังนั้น สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น มีตัวอย่างอันเดียวกัน  นั่นคือ

พระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน เป็น คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม

๑๐๑

   ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว สามารถบอกได้ถึง ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ซึ่งในระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า และในระหว่างคุณลักษณะประการหนึ่งกับอีกคุณลักษณะประการอื่นๆของพระองค์ นั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน

 ในอีกนัยหนึ่ง กล่าวได้ว่า มีความเป็นวะฮ์ดัตอัยนี กล่าวคือ ในความเป็นจริง นั้นมีความเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า  ในความหมายของอาตมันกับคุณลักษณะ เช่น ความรอบรู้ อานุภาพ ก็มีความแตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง ความรอบรู้ของพระเจ้า เป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด

ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะบางประการของพระเจ้า คือ คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ ซึ่งตรงกันข้ามกับคุณลักษณะใน กิริยา การกระทำ อีกทั้ง คุณลักษณะซุบูตีย์ (คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้า) ก็ตรงกันข้ามกับคุณลักษณะซัลบีย์ (คุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์)อย่างเห็นได้ชัด

เราสามารถแบ่งประเด็นต่างๆของความเป็นเอกานาภาพในคุณลักษณะของพระเจ้า ได้ด้วยกัน ๓ ประเด็นหลัก นั่นก็คือ

๑.ประเด็นแรก อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า ที่มีความหมายที่แตกต่างกัน

๒.ประเด็นที่สอง อาตมันกับคุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระองค์ ที่ในความเป็นจริงนั้น มีตัวอย่างหนึ่งเดียวเท่านั้น

๑๐๒

๓.ประเด็นที่สาม คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันกับคุณลักษณะประการอื่นของพระองค์ และในความเป็นจริงก็มีตัวอย่างหนึ่งเดียวเช่นกัน

หากพึงสังเกตุว่า ในประเด็นสุดท้าย ซึ่งก็เป็นประเด็นเดียวกันกับประเด็นที่สอง เพราะว่า การที่มีการกระทำหลายอย่างในสิ่งหนึ่ง แน่นอนที่สุด สิ่งนั้นต้องเป็นสิ่งเดียวที่มีหลายกริยา การกระทำด้วยเช่นกัน และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ที่สิ่งหนึ่งจะมีความแตกต่างในตัวตนของสิ่งนั้นเอง

   เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

    ดั่งที่ได้อธิบายในความหมายของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะผ่านไปแล้ว จะมาอธิบายกันในเหตุผลที่ใช้พิสูจน์ในหลักการนี้ บรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม มีเหตุผลในการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ  ๓ เหตุผล ด้วยกัน ดังนี้

เหตุผลที่หนึ่ง

เหตุผลนี้ประกอบด้วย ๒ ข้อพิสูจน์เบื้องต้น คือ

๑.การมีความสมบูรณ์ที่สุด(กะมาล มุตลัก)ในพระผู้เป็นเจ้า  บ่งบอกถึง การมีความสัมพันธ์จากอาตมันไปยังคุณลักษณะของพระองค์ ในสภาพที่มีความสมบูรณ์ที่สุด

๒.การมีความสมบูรณ์ที่สุดในสิ่งหนึ่ง  หมายถึง การมีความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นด้วยกับตัวของมันเอง โดยที่ไม่ต้องการสิ่งอื่นใด

๑๐๓

ผลที่จะได้รับของข้อพิสูจน์ดังกล่าวนี้ ก็คือ : ความสมบูรณ์ที่ไม่มีขอบเขตจำกัดของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งบ่งบอกถึง อาตมันของพระองค์ และคุณลักษณะทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้น นอกจากคุณลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นด้วยอาตมันของพระองค์เท่านั้น

สิ่งที่ได้รับจากเหตุผลนี้ ก็คือ ความเป็นหนึ่งและความเป็นเอกานุภาพของคุณลักษณะ และอาตมันของพระเจ้า

การเปรียบเทียบกันระหว่างข้อถกเถียง และโต้แย้งในข้อพิสูจน์นี้ เป็นที่กระจ่างชัดโดยที่ไม่มีความต้องใช้การพิสูจน์ใดๆจากการวิเคราะห์ในความหมายของ กะมาล มุตลัก (ความสมบูรณ์ที่ไม่มีขอบเขต) หมายถึง ความสมบูรณ์ที่มีอยู่ในทุกภาวะด้วยกับตัวของตนเองโดยมีความสัมผัสสะกับคุณลักษณะทั้งหลาย ในอีกมุมมองหนึ่ง กล่าวว่า การเปรียบเทียบกันระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า มี ๒ สภาพด้วยกัน ดังนี้

สภาพแรก ความเป็นหนึ่งและเอกะในสิ่งทั้งสอง กล่าวคือ ทั้งในอาตมันของพระเจ้ากับคุณลักษณะของพระองค์ หมายความว่า สภาพนี้ เป็นระดับขั้นที่อาตมันมีความสมบูรณ์ที่สุด และไม่มีขอบเขตจำกัด

สภาพที่สอง ความแตกต่างในอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า

๑๐๔

   เหตุผลที่สอง

    องค์ประกอบของเหตุผลนี้ มีดังต่อไปนี้

๑.อาตมันของพระเจ้า เป็นวาญิบุลวุญูด (ความจำเป็นที่ต้องมีอยู่) และเป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย ส่วนสิ่งอื่น เป็นมุมกินุลวุญูด (ความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้) และยังเป็นผลของปฐมเหตุอีกด้วย

๒.ความสมบูรณ์ทั้งหมดของผลขึ้นอยู่กับต้นเหตุของมัน

๓.ถ้าหากว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะของพระเจ้า มิได้ผ่านยังอาตมันของพระองค์ ก็หมายถึง ในอาตมันของพระเจ้านั้น มีข้อบกพร่องและความไม่สมบูรณ์เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

ผลหรือข้อสรุปที่จะได้รับ ก็คือ จากองค์ประกอบที่หนึ่งและที่สองของเหตุผลนี้ ได้กล่าวถึง อาตมันของพระเจ้าว่า มีความสมบูรณ์ที่สุด และองค์ประกอบที่สาม ก็กล่าวว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะทั้งหลายนั้น จะต้องเกิดมาจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น และก็หมายความว่า จะต้องมีความเป็นหนึ่งหรือความเป็นเอกานุภาพอยู่อีกด้วย

สามารถสรุปได้ว่า การเกิดขึ้นของคุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระเจ้านั้น จะต้องมีความสมบูรณ์ในตัวของตัวเอง และความไม่สมบูรณ์หรือข้อบกพร่องจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน  เพราะว่าอาตมันของพระองค์เป็นปฐมเหตุของผลทั้งหลาย และเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ แสดงให้เห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่คุณลักษณะของพระเจ้าจะไม่มีความสมบูรณ์อยู่เลย ดังนั้น กล่าวได้ว่า คุณลักษณะของพระเจ้าต้องมีความสมบูรณ์ที่สุด และไม่มีขอบเขตจำกัด อีกทั้งเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกานุภาพกับอาตมันของพระองค์ด้วย

๑๐๕

   เหตุผลที่สาม

    ถ้าหากว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้มีความเป็นหนึ่งเดียว หรือเป็นเอกานุภาพกับอาตมันของพระองค์แล้วไซร้ จะเกิดการสมมุติฐานได้ สองประเด็น ด้วยกัน ดังนี้

๑.คุณลักษณะของพระเจ้าต้องเป็นส่วนหนึ่งในอาตมันของพระองค์

๒.คุณลักษณะของพระเจ้าต้องเกิดจากภายนอกอาตมันของพระองค์

สมมุติฐานแรก ถือว่าเป็นโมฆะและไม่ถูกต้อง เพราะว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้มีความเชื่อว่าพระเจ้ามีส่วนประกอบและได้พิสูจน์ในบท ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้วว่า อาตมันของพระองค์นั้นไม่มีส่วนประกอบใดทั้งสิ้น

และจากสมมุติฐานที่สอง ก็ถือว่าเป็นโมฆะและไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการสมมุติฐานว่า ถ้าคุณลักษณะของพระเจ้าเกิดจากภายนอกจริง คุณลักษณะนั้นจะต้องเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ หรือสิ่งที่สามารถมีอยู่ ถ้าเป็นสิ่งแรก ก็เป็นสาเหตุให้เกิดมีพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งความเชื่อนี้ขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า และถ้าคุณลักษณะของพระองค์ เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ จะเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วอะไร เป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ซึ่งได้อธิบายไปแล้วว่า ทุกสิ่งที่เป็นสิ่งที่สามารถมีอยู่ ไม่ว่าในสภาพใดก็ตาม เป็นผลของสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ทั้งสิ้น และถ้าหากว่าเหตุผลการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น เกิดจากสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่หลายๆอย่าง ที่เป็นสาเหตุให้มีพระเจ้าหลายองค์ ซึ่งก็มีความขัดแย้งกับเตาฮีดในอาตมันของพระเจ้าเช่นกัน เพราะฉะนั้น การสมมุติฐานทั้งหมด ถือว่าเป็นโมฆะ และคงเหลือเพียงสมมุติฐานเดียวก็คือ คุณลักษณะของพระเจ้าเกิดจากภายนอกอาตมัน และเป็นผลของอาตมัน

๑๐๖

 ดังนั้น การยอมรับในสมมุติฐานนี้ ก็คือ พระเจ้าไม่มีคุณลักษณะใดๆอยู่เลย เช่น พระองค์ไม่มีชีวิต ไม่มีพลานุภาพ ไม่มีความสามารถ ในตอนแรกได้เอาคุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้มาจากภายนอกอาตมันของพระองค์ แล้วนำไปใช้กับสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การสมมุติฐานนี้ ก็ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เพราะว่า ด้วยกับกฏของเหตุและผล ได้กล่าวไปแล้วว่า เหตุของผลทั้งหลายจะไม่มีคุณสมบัติของผลของมัน ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งหนึ่งสิ่งใดจะปราศจากความสมบูรณ์แล้วเอาความสมบูรณ์นั้นไปให้กับสิ่งอื่น เพราะฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ สำหรับพระเจ้า ในขณะที่พระองค์ไม่มีชีวิตอยู่และไม่มีพลานุภาพ และไม่มีความสามารถแล้ว พระองค์จะเป็นผู้ทรงสร้างชีวิตทั้งหลายได้อย่างไร?

สามารถสรุปได้ว่า สมมุติฐานที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ และการสมมุติฐานระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า มีความแตกต่างกัน ก็เป็นโมฆะเช่นเดียวกัน ผลลัพท์คือ ระหว่างอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์ในความเป็นจริง เป็นสิ่งเดียวกัน แต่มีความหมายที่แตกต่างกัน

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สติปัญญาของมนุษย์ยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงบริสุทธิ์ และมิได้มีขอบเขตจำกัด ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของคุณลักษณะที่มากมายในพระองค์ เช่น ความรู้ ความสามารถ การมีชีวิต และได้นำไปใช้กับอาตมันของพระเจ้าซึ่งในความเป็นจริงก็มิได้มีความแตกต่างกันเลย

๑๐๗

   ความแตกต่างทางด้านความหมายของคุณลักษณะ (ซิฟัต)

    ได้กล่าวไปแล้วว่า ในความเป็นจริงของอาตมัน และคุณลักษณะของพระเจ้านั้น มีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ ซึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ก็มิได้มีความแตกต่างกับอาตมัน และมิได้เป็นส่วนประกอบใดของอาตมัน แต่ในอาตมันและคุณลักษณะมีความเป็นหนึ่งเดียวและเป็นเอกะ 

ประเด็นหลักของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ  ก็คือ การยืนยันด้วยเหตุผลถึงความแตกต่างในความหมายระหว่างอาตมันกับคุณลักษณะ เพราะว่าบุคคลใดก็ตามที่ใช้สติปัญญาเพื่อเข้าใจใน

ความหมายของคุณลักษณะ เช่น ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ ความสามารถและอื่นๆ  ซึ่งทั้งหมดนั้นมีความหมายแตกต่างกัน  ดั่งเช่น ชาวอาหรับได้เรียกพระเจ้าว่า ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงความสามารถ บ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริง มีตัวตนหนึ่งเดียว

๑๐๘

                      

   ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองทางประวัติศาสตร์

    บรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับคุณลักษณะกับการให้ความสัมพันธ์ไปยังอาตมันของพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

๑.ทัศนะที่มีความเชื่อว่า คุณลักษณะกับอาตมันมีความเป็นหนึ่งเดียวกันตามความเป็นจริง แต่ในความหมายมีความแตกต่างกัน ทัศนะนี้  เป็นทัศนะของสำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ และสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์บางคน ซึ่งมีเหตุผลมากมายจากการใช้สติปัญญา และวจนะของอิสลามที่พิสูจน์ในทัศนะนี้

๒.ทัศนะที่มีความเชื่อในการมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้า และความไม่เหมือนกันของคุณลักษณะกับอาตมัน ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ ที่กล่าวว่า คุณลักษณะในพระเจ้ามีความเหมือนกันกับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างและมีความแตกต่างกับอาตมัน หมายความว่า คุณลักษณะของพระองค์นั้นมีมาแต่เดิม แต่คุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างมิได้มีมาแต่เดิม

ความผิดพลาดของทัศนะนี้ ก็คือ เป็นข้อสงสัยที่ทำให้เกิดความสับสนระหว่างคุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้าง และการยอมรับว่า คุณลักษณะมีมาแต่เดิมเหมือนกับอาตมัน ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของสิ่งที่มีมาแต่เดิมหลายสิ่ง และเป็นสาเหตุทำให้เกิดการตั้งภาคี

๑๐๙

 กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีอยู่ของสิ่งเจ็ดประการที่มีมาแต่เดิมเหมือนกับอาตมันของพระเจ้า นั่นก็คือ คุณลักษณะเจ็ดประการ ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ และฯลฯ และในทัศนะนี้ได้ยอมรับว่า พระเจ้ามีความต้องการในความสมบูรณ์ของพระองค์ ซึ่งมีความขัดแย้งกับการไม่มีความต้องการใดของพระองค์ แต่ในทัศนะของความเป็นเอกานุภาพได้กำหนดไว้ว่า อาตมันของพระเจ้ามีหนึ่งเดียวและมีมาแต่เดิม ส่วนสิ่งทั้งหลายนอกเหนือจากพระองค์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ และเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์ 

๓.ทัศนะที่มีความเชื่อในการเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ของคุณลักษณะของพระเจ้า และความไม่เหมือนกันของคุณลักษณะและอาตมัน ทัศนะนี้เป็นทัศนะของสำนักคิดกะรอมียะฮ์ ที่กล่าวว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้มีมาแต่เดิม กล่าวคือ คุณลักษณะของพระเจ้าเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และมิได้เหมือนกันกับอาตมัน ดังนั้น ทัศนะนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะ ด้วยกับเหตุผลต่างๆทางสติปัญญาที่ได้อธิบายไปแล้ว

๔.ทัศนะที่มีความเชื่อในการเป็นตัวแทน (นิยาบัต) ของอาตมันจากคุณลักษณะ ทัศนะนี้เป็นทัศนะของนักเทววิทยาในสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์บางคน เช่น อะบูอะลีและอะบูฮาชิม ญุบบาอีย์

 (ผู้ก่อตั้งสำนักคิดมุอ์ตะซิละฮ์) และทัศนะของ อับบาด บิน สุลัยมาน พวกเขากล่าวว่า พระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะที่สมบูรณ์ เช่น ความรอบรู้ ความปรีชาญาณ ในขณะเดียวกันอาตมันของพระองค์ก็ได้แสดงผลของคุณลักษณะทั้งหลายนั้นออกมา ตัวอย่างเช่น อาตมันของพระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะความรู้ แต่การกระทำต่างๆของพระองค์ เป็นการกระทำของผู้ที่มีความรู้

๑๑๐

ดังนั้น เหตุผลของทัศนะนี้ ก็คือ พวกเขาไม่ยอมรับในทัศนะที่สาม เพราะว่า มีความขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพ และในขณะเดียวกัน พวกเขาไม่รู้ในความเป็นจริงของคุณลักษณะทั้งหลายที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า ทัศนะนี้ก็ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน เพราะว่าถ้ายอมรับในทัศนะนี้ก็เท่ากับมีความเชื่อว่าพระเจ้าไม่มีความสมบูรณ์ เช่น การมีความรู้ ความสามารถ การมีชีวิต เป็นต้น

   ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ในมุมมองของวจนะ

    ได้อธิบายไปแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ หมายถึง การมีความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวของคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้าในความเป็นจริง แต่ในความหมายนั้นมีความแตกต่างกัน ดังนั้น คุณลักษณะของพระเจ้าก็เหมือนกันกับอาตมันของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม ในขณะเดียวกัน ก็ไม่มีความแตกต่างกันในอาตมันและคุณลักษณะของพระองค์ 

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในสุนทรโรวาทหนึ่งเกี่ยวกับความสวยงามในความเป็นจริงของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ(เตาฮีด ซิฟาตีย์)ความว่า

 “พระเจ้า พระองค์ผู้ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่มีขอบเขตจำกัดและไม่สามารถจะพรรณาในคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ได้”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

๑๑๑

หลังจากนั้นท่านอิมามได้อธิบายถึงความสมบูรณ์ของความบริสุทธิ์ใจในการรู้จักพระเจ้าและเตาฮีด(ความเป็นเอกานุภาพ)ว่า

“ความสมบูรณ์ของความเป็นเอกานุภาพ คือ การมีความบริสุทธิ์ใจต่อพระเจ้า และความสมบูรณ์ของความบริสุทธิ์ใจ คือ การไม่ปฏิเสธการมีคุณลักษณะในพระองค์ เพราะว่า การมีอยู่ของคุณลักษณะ บ่งบอกถึงสิ่งทำให้คุณลักษณะเกิดขึ้น และการมีของสิ่งที่ทำให้คุณลักษณะเกิดขึ้น มิใช่เป็นการมีคุณลักษณะ”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

ท่านอิมามอะลีกล่าวอีกว่า

”บุคคลใดก็ตามที่ได้ทำให้พระเจ้ามีคุณลักษณะ ก็เท่ากับว่าเขาได้เข้าใกล้ชิดต่อพระองค์ และใครก็ตามที่เขาได้เข้าใกล้ชิดพระองค์ ก็เท่ากับเขาได้ทำให้พระเจ้ามีหลายองค์ และใครก็ตามที่ทำให้พระเจ้ามีหลายองค์ก็เท่ากับว่าเขานั้นไม่รู้จักพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑ )

ท่านอิมามริฎอ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

”พระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงสูงส่ง พระองค์ทรงมีความรอบรู้ ,ความสามารถ, มีชีวิต, ได้ยิน, มองเห็น และ มีมาแต่เดิม

๑๑๒

 ฉัน (ผู้รายงาน) ได้ถามท่านอิมามว่า โอ้บุตรแห่งศาสนทูต กลุ่มชนหนึ่งได้พูดกันว่า พระองค์อัลลอฮ์มิได้ทรงมีความรู้, สามารถ, มีชีวิต, ได้ยิน, มองเห็น และ มีมาแต่เดิม

ท่านอิมามได้ตอบกับเขาว่า “ใครก็ตามที่มีความเชื่อเช่นนี้ แน่นอนที่สุดเขาได้ยืดเอาพระเจ้าอื่นเคียงข้างพระองค์อัลลอฮ์และตำแหน่งวิลายะฮ์ (ความเป็นผู้นำ) ของเราจะไม่ไปถึงเขา และท่านอิมามได้กล่าวอีกว่า พระองค์อัลลอฮ์ทรงมีความรู้, ความสามารถ, มีชีวิต ได้ยิน, มองเห็น และมีมาแต่เดิมด้วยกับอาตมันของพระองค์ และพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่บรรดาพวกตั้งภาคีและพวกที่คิดว่าพระองค์มีรูปร่าง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๑๑ วจนะที่ ๓ )

 จากวจนะของท่านอิมามริฎอ ได้บ่งบอกถึง คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้าที่มีมาแต่เดิม อาทิ เช่น ความรอบรู้, ความสามารถและ การมีชีวิต ผู้รายงานได้ถามอิมามเกี่ยวกับกลุ่มชนหนึ่งที่มีความเชื่อว่า การมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้าและความไม่เป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์ อิมามได้ตอบว่า การมีความเชื่อเช่นนี้ เป็นสาเหตุของการตั้งภาคีและการเชื่อว่ามีพระเจ้าหลายองค์ ส่วนการมีอยู่ของคุณลักษณะในพระเจ้าได้เกิดขึ้นด้วยกับอาตมันของพระองค์ และมีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมัน

๑๑๓

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ซิฟาตซาตีย์ หมายถึง คุณลักษณะที่มีในอาตมัน                                  

ซิฟาต คอริญีย์ หมายถึง คุณลักษณะที่มีในภายนอก

เตาฮีด ซิฟาตีย์ หมายถึง       ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

วะฮ์ดัต มัฟฮูมีย์ หมายถึง     ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมาย

วะฮ์ดัต อัยนีย์  หมายถึง       ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ได้มีคำถามเกิดขึ้นว่า คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้ามีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับอาตมันของพระองค์หรือไม่?

๒.ความเป็นหนึ่งเดียว (วะฮ์ดัต) สามารถแบ่งออกเป็น สองประเภท

(๑.)ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมาย (วะฮ์ดัต มัฟฮูมีย์) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความหมายของคำทั้งสองคำ

(๒.)ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง (วะฮ์ดัต อัยนีย์) หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง แต่ในความหมายแตกต่างกัน

๓.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะมี ๓ ประเด็นหลัก ดังนี้

(๑.)อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้าในความหมายที่แตกต่างกัน

(๒.)อาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้าในความจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกันและเหมือนกัน

(๓.)คุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะประการอื่นในความเป็นจริง มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน และเหมือนกัน

๑๑๔

๔.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระเจ้า เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๕.มีหลายเหตุผลทางสติปัญญาที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ

๖.การพิจารณาความหมายทางภาษาของคุณลักษณะในพระเจ้า บ่งบอกถึงความหมายที่แตกต่างกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทัศนะของความเป็นหนึ่งเดียวในความหมายของคุณลักษณะในพระเจ้านั้น มีความขัดแย้งกับการเข้าใจทางภาษาของคุณลักษณะในมนุษย์

๗.สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีมาแต่เดิมของคุณลักษณะในพระเจ้า และมีความหมายที่แตกต่างกันกับอาตมันของพระองค์ ความเชื่อนี้ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการตั้งภาคี และความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์

๘.ทัศนะของนักเทววิทยาบางคนในสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ มีความเชื่อในอาตมันของพระเจ้าว่าไม่มีคุณลักษณะประการใด พวกเขากล่าวว่า  อาตมันของพระองค์มีผลที่มีคุณลักษณะ ในขณะที่ไม่มีคุณลักษณะประการใด ดังนั้น การยอมรับในทัศนะนี้ มีความเชื่อในความไม่สมบูรณ์ในอาตมัน และการไม่มีคุณลักษณะในพระองค์

๙.ท่านอิมามอะลีได้กล่าวในสุนทรโรวาทหนึ่งในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ว่า

 “คุณลักษณะของพระเจ้ามิได้อยู่นอกเหนือจากอาตมันของพระองค์ และใครก็ตามที่มีความเชื่อว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะอยู่ภายนอกอาตมันของพระองค์ แน่นอนที่สุดเขานั้นไม่รู้จักพระองค์อย่างแท้จริง”

๑๐.ท่านอิมามอะลี ริฎอ ได้กล่าวเน้นย้ำว่า การมีความเชื่อในการมีคุณลักษณะของพระเจ้าที่มีความหมายที่แตกต่างกันกับอาตมัน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตั้งภาคี และได้เปรียบพระเจ้าเหมือนกับสิ่งที่มีชีวิตในโลก หมายถึง พระองค์มีรูปร่างและสรีระ

   บทที่ ๔

   ความเป็นเอกานุภาพใน กิริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่หนึ่ง

   บทนำเบื้องต้น

    ตามทัศนะของบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลาม มีความเห็นว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด และทรงเป็นแหล่งที่มาของอากัปกิริยา การกระทำ เช่น การสร้าง  , การประทานปัจจัยยังชีพ ,การบริหารกิจการงานทั้งหลาย, การมีเมตตาปรานี และอื่นๆ ซึ่งการกระทำทั้งหมดนั้น เป็นการกระทำของพระองค์

เมื่อได้สังเกตุในสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในโลก จะพบว่า มีกิริยา การกระทำเกิดขึ้นมากมาย  ซึ่งทั้งหมดของการกระทำจะต้องมีแหล่งที่มาหรือสาเหตุในการเกิดขึ้น เช่น สภาพการเป็นสะสาร ,การเจริญเติบโตของพรรณพืช, การเกิดขึ้นของสัตว์ และการถือกำเนิดของมนุษย์ หากมองดูอย่างผิวเผิน จะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆในโลกนี้ เกิดขึ้นจากการกระทำของหลายผู้กระทำและในทัศนะของความเป็นเอกานุภาพในอิสลาม มีความเชื่อว่า ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ต้องมีแหล่งที่มาอันเดียวกัน และพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นผู้กระทำการงานเหล่านั้นเพียงองค์เดียว และไม่มีผู้กระทำ (ฟาอิล) ใดที่เป็นอิสระเสรี นอกจากพระองค์

๑๑๕

 ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ จึงหมายถึง

๑.การมีความเชื่อว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำเพียงองค์เดียว ในการกระทำทั้งหลาย โดยที่ไม่มีผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์

๒.การมีความเชื่อว่า การกระทำของพระเจ้า เป็นการกระทำที่เป็นอิสระเสรี ส่วนการกระทำของสิ่งอื่นๆ มิได้มีความเป็นอิสระเสรีเหมือนกับการกระทำของพระองค์ และการกระทำเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยกับความประสงค์ตามเจตนารมณ์ของพระองค์เท่านั้น ดังนั้น การสร้างทุกสรรพสิ่ง  ,การให้ปัจจัยยังชีพ, การบริหารการงานทั้งหลาย และอื่นๆ เป็นการกระทำของพระเจ้าแต่เพียงองค์ดียว โดยที่ไม่มีการช่วยเหลือจากผู้อื่น

   บทบาทของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำในมุมมองของโลกทรรศน์

    ความหมายที่กว้างของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ซึ่งครอบคลุมไปถึงทุกการกระทำที่มีอยู่ในสากลจักวาล  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามีความสัมพันธ์กับจักวาล ดังนั้น การเชื่อหรือไม่เชื่อในความเป็นเอกานุภาพประเภทนี้ จึงมีผลต่อโลกทรรศน์และวิสัยทรรศน์ของมนุษย์ทุกคน เมื่อมนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำแล้ว มนุษย์จะมีความเชื่อในอานุภาพ และความประสงค์ของพระเจ้าที่มีต่อการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย ในขณะเดียวกัน เมื่อเวลาใดก็ตามที่มนุษย์มองไปในทุกทิศทาง  ก็จะพบกับพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้นอานุภาพของพระองค์ครอบคลุมไปทั่วทุกสรรพสิ่งที่มีในโลกนี้และในจักวาล ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งใหญ่ที่สุดเหมือนดั่งจักวาล หรือสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งเล็กที่สุดเหมือนกับอะตอม ทั้งหมดนั้น อยู่ภายใต้อานุภาพของพระเจ้าทั้งสิ้น

๑๑๖

ด้วยเหตุนี้ การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพนิกริยา การกระทำ จึงมีผลต่อโลกทรรศน์ และในความคิด ความศรัทธา ยังรวมทั้งในการปฏิบัติของมนุษย์อีกด้วย ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดของประเด็นเหล่านี้ เป็นอันดับต่อไป

   การกระทำของสิ่งถูกสร้างอยู่ภายใต้การกระทำของผู้สร้าง

    ความหมายที่ลึกซึ้งของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ หมายถึง การกระทำทั้งหมดของสรรพสิ่ง เป็นการกระทำของพระเจ้าเพียงองค์เดียว โดยเกิดขึ้นจากอาตมันอันบริสุทธิ์ของพระองค์ และเมื่อได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ได้มีคำถามและข้อสงสัยเกิดขึ้นมากมาย เช่น ถ้ายอมรับว่า มีความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำแล้ว การกระทำของสิ่งอื่น จะเป็นอย่างไร ? และทุกวันนี้ เราก็ได้เห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา ที่ตัวของมันเป็นผู้กระทำการกระทำของมันขึ้นมาเอง เช่น เราได้เห็นไฟว่า มันมีความร้อน และได้เห็นแม่เหล็ก ว่า มันมีแรงดึงดูดที่สามารถดึงเอาเศษเหล็กทั้งเล็กใหญ่ไปยังตัวของมันได้, พวกพืชก็ได้รับอาหารจากใต้พื้นดิน ,สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็ได้ออกไปหาอาหารด้วยกับตัวของมัน แม้แต่มนุษย์เองก็เป็นผู้กระทำกิจการงานต่างๆด้วยตัวเอง และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะให้ความสัมพันธ์ของการกระทำเหล่านี้ไปยังพระเจ้าได้อย่างไร?  ถ้าเรายอมรับในการกระทำทั้งหลายเป็นการกระทำของพระองค์ เราก็ต้องปฏิเสธการกระทำของสิ่งอื่นด้วยหรือไม่?  หรือว่ายังมีหนทางอื่นอีกที่ยืนยันในการกระทำของสิ่งเหล่านั้นว่าอยู่ภายใต้การกระทำของพระเจ้าหรือไม่?

๑๑๗

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ ต้องมาพิจารณาในทัศนะต่างๆของบรรดานักวิชาการว่า ได้มีความเห็นกันอย่างไร

 ด้วยเหตุนี้ บรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามได้จัดแบ่งการกระทำของพระเจ้าออกเป็น สอง ประเภทได้ ด้วยกัน ดังนี้

๑.การกระทำที่เป็นแนวนอน หมายถึง มีผู้กระทำหลายคนในการกระทำหนึ่ง ที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับการกระทำนั้น มีความเสมอภาคกัน ตัวอย่างเช่น การช่วยเหลือของหลายคน ในการยกสิ่งของชิ้นหนึ่งจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ในสภาพเช่นนี้ การกระทำหนึ่ง จึงมีผู้กระทำหลายคน

๒.การกระทำที่เป็นแนวตั้ง หมายถึง การกระทำของหลายคน ที่มีผลต่อการกระทำหนึ่ง และในบางส่วนมีความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ซึ่งในการกระทำนี้มีผู้กระทำสองคน คือ ผู้กระทำโดยตรง (ฟาอิล มุบาชิร) และผู้กระทำโดยใช้สื่อ (ฟาอิล บิซตัซบีบ)

ผู้กระทำโดยตรง คือ ผู้ที่ทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น แต่การกระทำนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านผู้กระทำอีกคนหนึ่ง คือ ผู้กระทำโดยใช้สื่อ จากประเภททั้งสองของการกระทำ การเปรียบเทียบการกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งที่ถูกสร้าง กล่าวคือ การกระทำของพระองค์ คือ การกระทำที่เป็นแนวตั้ง เหมือนกับการนั่งและการเดินของคนๆหนึ่งซึ่งเขาเป็นผู้กระทำเองโดยตรง แต่ไม่ใช่ว่าการกระทำของเขา จะอยู่นอกเหนืออำนาจของพระเจ้า ถ้าหากว่าการกระทำของเขาไม่ได้เกิดขึ้นด้วยอำนาจของพระองค์แล้ว แน่นอนที่สุดการกระทำนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น จากความแตกต่างของการกระทำที่เป็นแนวนอนกับการกระทำที่เป็นแนวตั้ง ทำให้มีความเข้าใจในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

๑๑๘

 แต่ในความเป็นจริงนั้น การเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำนั้น มีความยากและละเอียดอ่อน ซึ่งจะพยายามทำให้มีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น โดยการอาศัยตัวอย่างต่างๆ ทั้งที่เป็นการกระทำที่เป็นแนวนอนและการกระทำที่เป็นแนวตั้ง เช่น ความสัมพันธ์ของจิตกับร่างกายของมนุษย์ โดยการสมมุติฐาน เช่น การเขียนของมนุษย์ ในขณะที่เขาคิดว่า เขานั้นเป็นผู้กระทำโดยตรง แต่ความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น การกระทำดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นได้จากการมีความสัมพันธ์ของจิตไปสู่ร่างกายของเขา ด้วยกับการใช้มือเป็นสื่อในการเขียน ซึ่งการกระทำนั้นเกิดขึ้นในสภาพที่เป็นแนวตั้ง เพราะฉะนั้นในสภาพเช่นนี้ ผู้ที่กระทำโดยตรง คือ มือของมนุษย์ การเกิดขึ้นได้โดยการสั่งงานหรือได้รับคำสั่งจากจิต ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวไปสู่การจับปากกาแล้วเอามาเขียนลงบนกระดาษ

ซึ่งจะเห็นได้ว่า การกระทำของพระเจ้ากับการกระทำของสิ่งถูกสร้างนั้น มีความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันกับความสัมพันธ์ของจิตกับร่างกายของมนุษย์ กล่าวคือ การกระทำของสิ่งถูกสร้างมีความสัมพันธ์ไปสู่การกระทำของพระเจ้า โดยสรุปได้ว่า  การจำกัดของการกระทำที่เป็นอิสระเสรีในพระเจ้ากับการให้มีความสัมพันธ์กับการกระทำอื่นที่มิได้มาจากพระเจ้า ถือว่า ไม่ถูกต้อง

ด้วยเหตุนี้ ก็สามารถที่จะให้ความสัมพันธ์ของกระทำนั้นไปสู่พระเจ้า และสิ่งถูกสร้างได้โดยปราศจากความขัดแย้งและข้อผิดพลาดใดๆทั้งสิ้น

๑๑๙

   บทบาทของสื่อกลางในการเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า

    มีคำถามเกิดขึ้นว่า ถ้าหากว่าพระเจ้ามีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำของพระองค์ โดยที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใด แล้วทำไมในการเกิดขึ้นของการกระทำบางสิ่งบางอย่างต้องใช้สื่อกลางในการกระทำด้วย เช่น ในการสร้างหรือการบันดาล ซึ่งเป็นการกระทำหนึ่งของพระเจ้า แต่ทว่าการเกิดขึ้นของต้นไม้ต้นหนึ่ง ต้องผ่านปัจจัยและองค์ประกอบหลายอย่าง อาทิเช่น การได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ ต้นไม้ต้นนั้นจึงจะเกิดขึ้นได้

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ ก็คือ สภาพในกิริยา การกระทำของพระเจ้า สามารถแบ่งออกเป็น ๒ สภาพ ด้วยกัน ดังนี้

๑.สภาพของโลกเหนือธรรมชาติ หมายถึง โลกที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุและสสาร ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำในพระเจ้า  จึงไม่ต้องมีเงื่อนไขใดๆหรือปัจจัยใด เพียงเพราะความประสงค์ของพระองค์เท่านั้น การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้นในทันทีทันใด  สภาพนี้จึงถูกเรียกว่า โลกแห่งการกระทำ

 (อาลัม มุน อัมร์)

๒. สภาพของโลกแห่งธรรมชาติ คือ โลกที่เกี่ยวข้องกับวัตถุหรือสสาร ถูกเรียกว่า โลกแห่งการสร้างสรรค์ (อาลัม มุน ค็อลก์)

ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำของพระเจ้า ในสภาพเช่นนี้ จึงมีความต้องการเงื่อนไขและปัจจัยอื่นๆ เพราะว่า การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นวัตถุด้วยกับกฏระบบและระเบียบของโลก หากว่าการเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นวัตถุ ปราศจากการมีอยู่ของเงื่อนไขหรือปัจจัยอื่นใด สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132