ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี0%

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 132

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ผู้เขียน: เชค มุฮ์ซิน ชะรีอัต
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 132
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 36440
ดาวน์โหลด: 5491

รายละเอียด:

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 132 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 36440 / ดาวน์โหลด: 5491
ขนาด ขนาด ขนาด
ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

และแสดงความเห็นอกเห็นใจกัน ไม่ว่าเขาจะเป็นผู้กดขี่ข่มเหงหรือถูกกดขี่ข่มเหง ดีหรือเลว ด้อยกว่าหรือสูงส่งกว่า แล้วความเห็นอกเห็นใจจะถูกเปลี่ยนเป็นเพียงความสวยงามบนผลประโยชน์ของผู้ทำชั่วและความสูญเสียของผู้ทำดี บนพื้นฐานเดียวกัน

 ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)เชื่อว่า แนวคิดทั้งหมดเหล่านั้นอาจจะถูกต่อต้าน เว้นแต่ผู้คนทั้งหลายจะเข้าร่วมและยึดหลักการของ “เตาฮีด” หรือการให้เอกภาพต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) คือการกล่าวว่า“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) เพียงองค์เดียว”

ดังนั้น การเชิญชวนไปสู่อิสลามครั้งแรกและครั้งสำคัญที่สุดของ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) คือ เตาฮีด โดยการกล่าวว่า

“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) เพียงองค์เดียว”

เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอาหรับนั้นเคารพบูชารูป

ปั้นและคุ้นเคยกับการเชื่อโชคลางเป็นระยะเวลานาน อย่างไม่ต้องคาดหวังใดๆ เลย

๒๑

การเชิญชวนไปสู่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ไม่เป็นที่ยอมรับของพวก

เขาอย่างแน่นอน ดังนั้น ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ทราบว่า อุดมการณ์และความคิดที่ดีเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับวัฒนธรรมที่หยั่งรากลึกทั้งหลาย ดังนั้น อันดับแรกจะต้องไม่มีการเชิญชวนไปสู่ศาสนาอิสลามอย่างเปิดเผยไปยังพวกเขา และเป็นระยะเวลาสามปีที่ท่านทำการเชิญชวนอย่างลับๆ และได้แอบเชิญชวนบุคคลเพียงไม่กี่คนไปสู่ศาสนาอิสลาม

หลังจากสามปีต่อมา ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้รับคำสั่งให้เชิญ

ชวนผู้คนไปสู่ศาสนาอิสลามอย่างเปิดเผย และท่านได้เรียกผู้ที่ใกล้ชิดในครอบครัวมาเป็นแขกที่บ้านของท่านและเชิญชวนพวกเขาไปสู่ศาสนาอิสลาม จากนั้นวันหนึ่งในตอนเช้า ท่านได้ไปยังภูเขาศ่อฟา ในเมืองเมกกะและได้เชิญชวนให้ผู้คนมารายล้อมท่าน และท่านได้กล่าวกับพวกเขาว่า

“ถ้าข้าพเจ้าบอกว่า มีศัตรูกำลังเข้ามาต่อสู้กับพวกท่านในเช้านี้หรือในเย็นนี้ พวกท่านจะเชื่อข้าพเจ้าไหม”

ทุกคนตอบว่า

“เชื่อ เพราะพวกเขาไม่เคยได้ยินความเท็จจากท่าน"

๒๒

จากนั้น ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวต่อไปว่า

“ข้าพเจ้าเป็นเช่นผู้เฝ้ายามที่พบเห็นศัตรูจากระยะไกล และได้รีบ

เข้ามาเตือนผู้คน ข้าพเจ้าเตือนพวกท่านให้ต่อสู้กับความเลวและสิ่งชั่วร้ายพร้อมกับเชื้อเชิญท่านไปสู่ความดี”

วัตถุประสงค์หลักเบื้องหลังการเชิญชวนไปสู่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)

ของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

จุดประสงค์หลักเบื้องหลังการเชิญชวนไปสู่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ที่แพร่ขยายออกไปโดย ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ที่รวบรวมมามีดังนี้:

๑. “ข้าพเจ้าเป็นศาสนทูตของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ พระองค์ทรงแต่งตั้งข้าพเจ้ามาเพื่อนำท่านไปสู่พระองค์ และประณามการบูชารูปปั้นต่างๆ”

๒. “ในภารกิจหลักของข้าพเจ้าคือการแสดงความเห็นอกเห็นใจไป

ยังครอบครัว (บิดาและมารดา) เป็นสำคัญยิ่ง”

๒๓

๓. “ข้าพเจ้าถูกแต่งตั้งให้เป็นมนุษย์ที่ปราศจากการทำผิด ความชั่วและการกระทำที่ไม่ดี”

๔. “ในศาสนาของข้าพเจ้า การฆ่าทารกเนื่องจากกลัวความยากจน

ถือเป็นที่ต้องห้ามและถือเป็นความต่ำช้าอย่างสูงสุด”

๕. “ในศาสนาของข้าพเจ้า การสังหารภายใต้ความเท็จและ

ความอยุติธรรมถือเป็นที่ต้องห้ามอย่างแน่นอน”

๖. “ศาสนาของข้าพเจ้ายึดถือความยุติธรรมเป็นพื้นฐาน”

๗. “ภาษาและคำพูดที่ออกมาจากมนุษย์สะท้อนถึงจิตวิญญาณ

และศีลธรรมของเขา ดังนั้น เขาจะต้องใช้มันในแนวทางที่ถูกต้องและพวกเขาต้องแสดงความจริงออกมา แม้ว่าจะนำความสูญเสียมาสู่ผู้พูดก็ตาม”

๘. “มนุษย์เป็นอมตะ เมื่อเขาเสียชีวิต เขาเพียงแค่ถูกถ่ายโอนไป

ยังอีกโลกหนึ่ง ดังนั้น จงทำความดีเพื่อให้แน่ใจว่า ท่านจะมีความเจริญรุ่งเรืองนิรันดร์”

๒๔

ผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของดำรัสในคัมภีร์อัลกุรอานและตรรกะที่

แข็งแกร่งเบื้องหลังท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสำคัญ สามประการ ได้แก่

ก. “เคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) เลิกบูชากราบไหว้รูปปั้น (เตาฮีด)”

ข. “สนับสนุนจุดประสงค์หลักของเนื้อหาที่สื่อสารออกไปของการให้เอกภาพต่อพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)”

ค. “การพ้นจากบาปและความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นนิรันดร์ของมนุษย์ หมายความว่า ร่างกายของมนุษย์จะสลายไปแต่จิตวิญญาณของเขาจะคงอยู่เพื่อความดี (การฟื้นคืนชีพ)”

มุมมองดังกล่าวดึงดูดผู้คนไปสู่มิติทางสังคมในการเชิญชวนแห่งพระผู้เป็นเจ้า แต่ ณ จุดเริ่มต้นมีเพียงไม่กี่คนที่ดำเนินตามท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) บางคนเริ่มใคร่ครวญถึงการเชิญชวนของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

แต่บางคนในหมู่ชนชั้นขุนนางยืนกรานต่อต้านท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

๒๕

พวกที่ต่อต้านท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) อุทิศตนเพื่อคุณค่าแห่งโลกีย์และยินดีตามสิ่งที่ตนพึงใจ พวกเขาคิดว่าตนเองอยู่เหนือคนอื่นๆ และชนชั้นต่ำของสังคมนั้นไร้ค่า ดังนั้น พวกเขาจึงเริ่มต่อต้านท่านนบีมุฮัหมัด (ซ็อลฯ) ผู้ที่เปล่งเสียงออกมาเพื่อความยุติธรรมในการช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลนและเป็นผู้ที่ถูกเรียกว่าผู้ยึดถือความยุติธรรม โดยกระจายความมั่งคั่งไปในหมู่ชนที่เชื่อในอภินิหารต่าง ๆ ทรมานและราวีสหายของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)จนเสียชีวิต โดยไม่สนใจถึงระบบของสังคม

โดยหลังจากนั้นบางครั้งได้มีการทำสนธิสัญญาฉบับหนึ่งร่วมกัน

ระหว่างบรรดาศัตรูของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กับเผ่าที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมกกะ พวกเขาได้ขับไล่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)และสหายของท่านออกไปยังหุบเขาที่มีความแห้งแล้ง ซึ่งรู้จักกันในนามของหุบเขาอะบูฏอเล็บเป็นระยะเวลาสามปี โดยสั่งห้ามทำการค้าขายใดๆ ห้ามคบหาสมาคมและแต่งงานกับพวกท่าน โดยสามารถอธิบายสภาวะที่ท่านและสหายของท่านถูกบีบบังคับ

๒๖

 โดยยกเอาคำพูดของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ที่กล่าวว่า

“ข้าพเจ้ามีหินถ่วงอยู่ที่ท้องเสมอเพื่อปัดเป่าความเจ็บปวดจากความหิว และบางครั้งพวกเราได้แบ่งอินทผลัมเพียงหนึ่งผลให้กันกิน”จึงเหมาะสมแล้วที่จะกล่าวว่า ภายใต้ภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่มีอนาคตและไม่มีจุดจบในความทุกข์ทรมานของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และสหายของท่าน ซึ่งไม่สามารถจินตนาการได้และปราศจากซึ่งแสงแห่งความหวังใดๆ ดังนั้น สามปีแห่งการต่อต้านและต่อสู้กับศัตรูของอิสลาม ภายใต้ความหิวและสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายถือเป็นความยุติธรรม สำหรับความเชื่อในความศรัทธาของพวกท่านและความเชื่อในความถูกต้องของแนวทางที่พวกท่านรับมาเท่านั้น เมื่อศัตรูพบว่าการทรมานร่างกายและจิตใจไม่ส่งผลกระทบต่อความตั้งใจอันแรงกล้าของท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) พวกเขาจึงพยายามเกลี้ยกล่อมท่าน พวกเขาบอกกับลุงของท่าน

คือ อะบูฏอเล็บ ให้พูดกับท่าน (ซ็อลฯ) ว่า

“ถ้าท่านนบีละทิ้งการเชิญชวนไปสู่ศาสนาอิสลาม พวกเขาจะให้เงินตำแหน่งที่สูงส่ง และทองคำจำนวนมากตามที่ท่านต้องการ”

๒๗

แต่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ตอบว่า

“หากพวกเขานำดวงอาทิตย์ มาวางไว้ในมือขวาของฉัน และเอาดวงจันทร์ มาวางไว้ในมือซ้าย เพื่อที่จะให้ฉันทิ้งหน้าที่ในการประกาศศาสนา ฉันก็จะไม่ละทิ้งอย่างเด็ดขาด จนกว่าพระองค์อัลลอฮฺ จะทำให้บรรลุผล หรือไม่ก็จนกว่าชีวิตของฉันจะหาไม่”

แต่บรรดาศัตรูก็ยังคงยืนยันการกระทำของพวกบูชาเจว็ด

และอีกประการหนึ่งคือ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้เน้นย้ำเสมอว่า

“ต้นกำเนิดของการสร้างโลกที่กว้างใหญ่และสวยงาม รวมถึงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งไม่จำกัดแค่เพียงก้อนหิน ไม้หรือวัตถุทางกายภาพที่มีขีดจำกัดอื่นๆ และพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) เป็นผู้สร้างทุกสรรสิ่ง และเราไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ เพราะพระองค์ไม่ใช่วัตถุแต่พวกท่านสามารถที่จะเห็นพระองค์ด้วยจิตใต้สำนึก ด้วยปัญญาและด้วยส่วนลึกหัวใจของพวกท่านที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างท่านกับพระองค์”

๒๘

ไม่มีการบังคับในศาสนาอิสลาม

ถึงแม้ว่าท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จะแน่วแน่ในการเชิญชวนแห่ง

พระผู้เป็นเจ้าของท่าน แต่ท่านไม่เคยบังคับใครให้ยอมรับในศาสนาอิสลามในช่วงชีวิตของท่านเลย ท่านมักจะยืนยันว่า เนื่องจากพระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ทรงเน้นย้ำว่า

لااكراه فی الدین

"ไม่มีการบังคับให้นับถือศาสนาอิสลาม”

ท่านเพียงถูกแต่งตั้งจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพให้

เชิญชวนผู้คนไปสู่ศาสนาอิสลาม ซึ่งแน่ใจได้ว่า ผู้นั้นจะได้รับความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นนิรันดร์ และไม่มีการบังคับเพื่อจุดประสงค์นี้ ในคัมภีร์อัลกุรอาน พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพได้ตรัสว่า :

إِنَّا هَدَيْنَاهُ السَّبِيلَ إِمَّا شَاكِرًا وَإِمَّا كَفُورًا) (الانسان/ ๓)

“เราได้แสดงให้เขาเห็นหนทางนำ แต่เขาอาจเป็นผู้กตัญญูหรือ ผู้เนรคุณ”

๒๙

ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ในมุมมองของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)เชื่อในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยกล่าว

ว่า พระองค์อัลลอฮ ์(ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพให้พรแก่มนุษย์ให้มีความเฉลียวฉลาด ความมุ่งมั่น และมีความเป็นผู้นำ และกล่าวโดยสังเขปว่า ทุกสิ่งในโลกถูกสร้างมาเพื่อมนุษย์ และในอัลกุรอาน พระองค์ได้ทรงตรัสว่า

“ทุกสิ่งทุกอย่างถูกสร้างมาเพื่อมนุษย์และมุฮัมหมัดเป็นผู้แทนของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเดชานุภาพบนแผ่นดิน”

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)ได้กล่าวเกี่ยวกับการเคารพไว้เช่นเดียวกัน

ว่า

“และการเคารพไม่ได้ให้แก่บุคคลแค่บางกลุ่มเท่านั้น แต่ทุกคนจะได้รับเกียรตินั้นจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ เท่าเทียมกันซึ่งรวมถึงทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ ทุกสีผิว และความมั่งคั่งไม่ทำให้คนหนึ่งสูงกว่าคนอื่น"

๓๐

และพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)ทรงตรัสไว้อีกว่า บุคคลที่เคร่งครัดใน

อิสลามเท่านั้นที่จะได้ใกล้ชิดกับพระองค์

يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّا خَلَقْنَاكُم مِّن ذَكَرٍ وَأُنثَى وَجَعَلْنَاكُمْ

شُعُوبًا وَقَبَائِلَ لِتَعَارَفُوا إِنَّ أَكْرَمَكُمْ عِندَ الله أَتْقَاكُمْ

(الحجرات : ๓๑ )

“เราสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากชายและหญิงคู่หนึ่ง และทำให้พวกเจ้าแพร์พันธ์ออกไปเป็น หมู่ เป็น เผ่า ซึ่ง พวกเจ้าอาจรู้จักกับอีกหมู่ชนหนึ่ง อย่างไม่ต้องสงสัยใดๆ ผู้ที่ได้รับการยกย่องสูงสุดในบรรดาพวกเจ้าในสายตาของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) คือผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอิสลามมากที่สุด”

ดังนั้น จึงไม่มีข้อได้เปรียบใดๆ เหนือจากผู้อื่น เช่น พลัง ความมั่งคั่ง

และตำแหน่งหน้าที่ที่สูงส่งกว่า

๓๑

บรรดาสตรีในมุมมองของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เน้นย้ำเสมอว่า เพศชายไม่ได้อยู่เหนือกว่าเพศหญิง สิ่งนี้เกิดขึ้นในระบบสังคมของคาบสมุทอาหรับในขณะนั้น

บรรดาสตรีไม่มีที่ยืนในสังคม และผู้ชายทุกคนที่มีลูกเป็นทารกเพศหญิงจะรู้สึกเสียศักดิ์ศรีมาก ดังนั้น จึงพยายามฆ่าลูกตนเองทั้งเป็น แม้ในบางลัทธิก็มองว่า ผู้หญิงทุกคนถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นลางร้ายและชั่วร้าย และแม้ในชาวคริสเตียนบางคนยังเชื่อว่า เพศหญิงเป็นตัวนำพวกเขาไปยังการทำความชั่ว โดยยึดตามจำนวนหลักฐานอ้างอิงเช่นเดียวกันกับบรรดาลัทธิเหล่านั้นซึ่งเป็นที่น่าสงสัยว่า บรรดาสตรีก็เป็นมนุษย์ ดังนั้น เพื่อต่อสู้กับความโง่เขลานั้น

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จึงพยายามประกาศคำอวยพรที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)ทรงให้แก่บรรดาสตรี และได้นำมาถ่ายทอดดังนี้

เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน

๓๒

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้รับการแจ้งเกี่ยวกับซูเราะห์ในนามของสตรี (ซูเราะห์อันนิซาอ์) ด้วยจุดประสงค์ในการ

เน้นย้ำถึงคุณค่าที่แท้จริงของสตรี รวมถึงสิทธิของพวกเธอในสังคม

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ยังได้กล่าวถึงเหตุที่ได้มีซูเราะห์นี้ขึ้นมา

ดังนี้

* พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพได้แสดงถึงความเมตตาที่มีต่อสตรีมากกว่าบุรุษ

* ข้าพเจ้าชอบสามสิ่งในโลกนี้มากกว่าสิ่งอื่นใด คือ บรรดาสตรีเครื่องหอมและการนมาซ

* บรรดาบุรุษที่ดีที่สุด คือ ผู้ที่เป็นสามีที่ดีที่สุด สำหรับภรรยาของเขา และ ข้าพเจ้าเป็นสามีที่ดีที่สุดสำหรับบรรดาภรรยาของข้าพเจ้า

* เป็น สิ่งที่ดีสำหรับผู้ช ายทุกคนที่จะซื้อของขวัญให้แก่ภรรยาและลูกๆ ของเขา และจะดีกว่าหากเขาให้ของขวัญกับบรรดาลูกสาวของเขาก่อน

* ผู้หญิงทุกคนเปรียบได้ดั่งดอกไม้

๓๓

* เมื่อใดที่เจ้าให้ความสุขต่อ (ครอบครัว) ลูกสาวของตน เท่ากับเจ้าทำการปล่อยทาสให้เป็นไท

* สวรรค์อยู่ใต้ฝ่าเท้าของบรรดาสตรี

ตามข้อเท็จจริงแล้ว อิสลามแสดงบทบาทเป็นผู้ปฏิวัติทางสังคมการเมืองและสติปัญญา เพื่อปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีและ

บรรทัดฐานทางสังคมทั้งหลายเกี่ยวกับสตรีในพื้นที่เหล่านั้น

ศาสนาอิสลามได้พิจารณากฎหมายเกี่ยวกับผู้หญิง โดยยึดตาม

ความสามารถทางกายภาพและทางสังคมของพวกเธอ และเพื่อเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิ์ของผู้หญิงซึ่งถูกมองข้ามโดยสิ้นเชิงในช่วงยุคแห่งความโง่เขลา ได้มีการออกระเบียบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการแต่งงาน ตามระเบียบเหล่านี้ ในทุกๆ บ้าน ผู้หญิงเป็นผู้รับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตรแต่เพียงผู้เดียวและต้องตอบสนองความต้องการทางเพศให้แก่สามีของเธอ

๓๔

และผู้ชายไม่ได้รับความเห็นชอบให้บังคับให้ภรรยาของตนทำงานในบ้านและตระเตรียมอาหาร โดยการทำงานในบ้านไม่เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของเธอ และหากสมมุติว่า ผู้หญิงทำงานในบ้าน มันจะต้องเกิดขึ้นโดยความเห็นชอบและความพึงพอใจของเธอเอง เช่นเดียวกัน หากสตรีให้นมลูกๆ ของเธอ เธอมีสิทธิ์ในการเรียกร้องสิ่งตอบแทนในรูปของเงิน หรือสิ่งอื่นๆ และในทางตรงกันข้าม สามีต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการตอบสนองความต้องการของภรรยาของเขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และอาหาร อีกทั้งเขาต้องให้ความเคารพภรรยาของเขาว่า ภรรยาของเขาเป็นมนุษย์ที่มีอิสระ และหากภรรยาของเขาชื่นชอบในรายได้อิสระ

เขาก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้เงินของเธอ

ท่านนบีมุฮัหมัด (ซ็อลฯ) ได้ให้ผู้หญิงมีลักษณะที่มีคุณค่าซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการได้รับความเคารพและรักในสิทธิมนุษยชนทุกประการ มีความเท่าเทียมกับผู้ชาย และให้ข้อเท็จจริงที่ว่า

 เธอเป็นสัญลักษณ์ทางการศึกษาอันสูงส่ง และเธอเป็นผู้รับผิดชอบในการฟูมฟักบรรดาลูกๆ หลานๆ ของมนุษย์ ตามขอบเขตทั้งหมดของสังคม

๓๕

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้เลี้ยงดูลูกสาวของท่าน คือ

พระนางฟาติมะห์ อย่างดีและเป็นตัวอย่างที่มีคุณค่าในการให้ความนับถือต่อประชากรสตรี คราใดที่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) พบกับลูกสาวของท่าน ท่านจะลุกขึ้นยืนให้เกียรติและท่านจะก้มลงจูบมือของเธอ และกล่าวว่า “พ่อของเธอพร้อมที่จะตายเพื่อเธอ”

 เมื่อใดก็ตามที่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)กลับจากการเดินทาง สิ่งแรกที่ท่านจะทำ ก็คือ รีบไปหาลูกสาวของท่าน คือ

พระนางฟาติมะห์ ท่านเน้นย้ำเสมอว่า “

ผู้ใดที่โปรดปรานฟาติมะห์ แท้จริงเขาได้โปรดปรานข้าพเจ้าด้วย และผู้ใดที่ไม่โปรดปรานเธอ แท้จริงเขาก็ไม่โปรดปรานข้าพเจ้าเช่นกัน”

แต่ในโลกของเราทุกวันนี้ ภายใต้ข้ออ้างของการฟื้นฟูสิทธิ ลักษณะ

ของสตรีและคุณค่าของมนุษย์ รวมถึงลักษณะที่ถูกเมินเฉยในรูปแบบพวกนิยมความรุนแรง ปัจจุบันนี้อุปนิสัยของผู้หญิงซึ่งรวมถึง พรสวรรค์ ความสามารถ รวมถึงความต้องการทางกายภาพและทางจิต ทำให้ผู้หญิงแตกต่างจากผู้ชายซึ่งถูกปฏิเสธภายใต้ความคล้ายคลึง

๓๖

และมุมมองของผู้หญิง และเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน ความคล้ายคลึงซึ่งนำประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงถูกจำกัดคุณค่าทั้งทางโลกและทางกายภาพ การเหยียดหยามพวกเธอให้เป็นเช่นเครื่องมือในการสร้างรายได้ การขายและการเป็นตัวตอบสนองความต้องการของผู้ชาย โดยการแพร่กระจายของวัฒนธรรมในการเปลือยกายและการส่ำส่อนทางวัฒนธรรมถูกนำมาใช้ในนามของของสิ่งที่เรียกว่า “ผู้หญิงมีความเป็นอิสระจากผู้ชาย”

 เช่นเดียวกันในบางสังคม ผู้หญิงถูกบังคับให้ทำงานที่ใช้ความ

อุสาหะอย่างสูงและงานหนัก (งานของผู้ชาย) และแม้ว่าพวกเธอจะถูกบังคับให้ขายตัวและค้าประเวณีเพื่อหารายได้เพิ่มเติมก็ตาม

คำสอนอันประเสริฐของศาสนาอิสลามซึ่งท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)ได้เตือนอย่างชัดเจนเกี่ยวกับผู้หญิง การลวนลามทางเพศและภาพโป๊เปลือย โดยถือว่ามันเป็นการดูถูกศักดิ์ศรีของผู้หญิง ซึ่งจะนำพวกเขาไปสู่จิตใจที่ผิดปกติและใฝ่ต่ำ และแนะให้พวกเขาดำเนินบทบาทสำคัญของพวกเขาในครอบครัวในการดูแลเอาใจใส่และเลี้ยงดูคนรุ่นใหม่ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง

๓๗

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้กระตุ้นเตือนว่า

 “ผู้หญิงเปรียบเสมือนดอกไม้ และพวกเธอไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อให้ทำงานหนักและต้องใช้ความอุสาหะอย่างสูง”

 ซึ่งแน่นอนว่าศาสนาอิสลามไม่ได้ใช้ให้ผู้หญิงและผู้ชายยึดในความสันโดษและชีวิตแบบนักบวช และไม่ปฏิเสธความยินดีในความสุขทางโลก การกล่าวอ้างที่สำคัญของท่านนบีมุฮัมหมัด

(ซ็อลฯ) คือการกระตุ้นเตือนว่า “ศาสนาอิสลามไม่มีนักบวช”

ดังนั้น ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)จึงได้แต่งงานและส่งเสริมให้ผู้คน

แต่งงาน คำพูดที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่รวบรวม มา มีดังนี้

“การแต่งงานเป็นซุนนะห์ของข้าพเจ้า ผู้ที่ปฏิเสธซุนนะห์ของข้าพเจ้า ก็ไม่ใช่พวกของข้าพเจ้า”

 ท่านไม่ถือว่าการแต่งงานนั้น (เพื่อการตอบสนองความต้องการ

ทางเพศ) เป็นอุปสรรค์ขัดขวางการส่งเสริมความเชื่อทางจิตวิญญาณและความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณของจิตใจมนุษย์

๓๘

ท่านเชื่อว่า ผู้ที่ไม่แต่งงานก็สามารถประสบความสำเร็จในการเข้าถึงความเชื่อทางจิตวิญญาณและโลกแห่งพระผู้เป็นเจ้าได้จากน้อยไปมาก มุสลิมทุกคนต้องดำรงและรักษาความสมดุลในทุกแง่มุมของชีวิตของเขา จากคำสอนหลักของท่านต่อบรรดาสหายของท่าน คือ

“มุสลิมทุกคนจะต้องรักษาความสมดุลในการงานทุกอย่างในชีวิตของเขา”

 เรียกว่าต้องไม่ “อิฟรอต (เกินเลย)” หรือ “ตัฟรีต” (ขาด) ท่านถือว่าการละเว้น (การควบคลุม) เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างจิตวิญญาณให้มีความเข้มแข็งในความโปรดปรานการทำความดีและละเว้นการกระทำชั่ว ดังคำพูดที่หยิบยกขึ้นมาคือ

“ผู้ใดออกห่างจากการทำชั่วเป็นเวลาสี่สิบวัน เขาจะได้รับพรจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงภูมิและทรงรอบรู้”

ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้ประพฤติตนเรียบง่าย สุภาพ ยึดมั่นในความยุติธรรม และกระท􀃎ำตนให้มีความสมดุลในหนทางที่ถูกต้อง

๓๙

 จูงใจให้มนุษย์ทุกคนทำตามความรับผิดชอบและภาระหน้าที่ของตน เกี่ยวกับเรื่องนี้ในอัลกุรอานได้ระบุไว้ว่า :

وَتَعَاوَنُواْ عَلَى الْبرِّ وَالتَّقْوَى

) وَلاَ تَعَاوَنُواْ عَلَى الإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ (مائده/ ๒

“ให้ร่วมมือกันในการทำความดีและยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์ และห้ามร่วมมือกันในการทำบาปและไม่ยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์”

และหากสิ่งที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานคือ การเชื่อฟังและการทำความดี ซึ่งมันอยู่ในหัวใจและทำให้คนๆ หนึ่งรอดพ้นจากความชั่วและความเสื่อมโทรม อิสลามได้สอนให้มนุษย์กระทำความดีและมีทัศนคติที่ดีเสมอ

อัลกุรอานได้ยกย่องท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) มาก ต่อคุณลักษณะและมารยาทอันสูงส่ง เนื่องจากท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นศูนย์รวมแห่งมารยาทที่เป็นแบบฉบับอันดีงามซึ่งมีกล่าวในอัลกุรอานว่า :

( وَإِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظِيمٍ (قلم / ๔

“และเจ้านั้นอยู่บนมาตรฐานอันสูงส่งของบุคลิก (มารยาท)”

๔๐