ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี0%

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 132

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ผู้เขียน: เชค มุฮ์ซิน ชะรีอัต
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 132
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 36437
ดาวน์โหลด: 5491

รายละเอียด:

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 132 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 36437 / ดาวน์โหลด: 5491
ขนาด ขนาด ขนาด
ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ตอนนี้เราขอกล่าวถึงตัวอย่างลักษณะอันทรงคุณค่าของท่านนบี

มุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ดังนี้

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และการรณรงค์เกี่ยวกับผู้ที่ต่อต้านการไม่รู้หนังสือของท่าน

หนึ่งในเป้าหมายหลักของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) คือการส่งเสริมให้ผู้คนรู้หนังสือ ท่านตระหนักดีต่อการแพร่ขยายไปอย่างกว้างขวางของการไม่รู้หนังสือในหมู่ชนของท่าน ซึ่งถือว่าการไม่รู้หนังสือเป็นเหตุผลหลักของเบื้องหลังการทุจริตต่างๆ การออกนอกลู่นอกทางและความอยุติธรรม

ท่านได้หยิบยกคำพูดที่ว่า :

طلب العلم فریضة علی كل مسلم ومسلمة

“การแสวงหาความรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมุสลิมชายและหญิงทุกคน”

๔๑

ท่านส่งเสริมแม้กระทั่งให้มุสลิมหาความรู้และศาสตร์จากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในประเทศอื่นๆ

اطلبوا العلم ولو بالصین

“จงแสวงหาความรู้แม้กระทั่งอยู่ในประเทศจีน”

หรือท่านส่งเสริมให้ชาวมุสลิมแสวงหาความรู้แม้กระทั่งจากคนนอกศาสนาและคนที่ไม่ใช่มุสลิม เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้ที่มีความรู้เผยแพร่ความรู้ให้หมู่ชนของตนต่อไป

ดังที่ท่านเรียกว่า การสอนหนังสือเป็นการให้ทานแก่ผู้อื่น :

العلم صدقة ان یعلم المرء علما ثم یعلمه اخاه

“ความรู้จะถือเป็นทานได้โดยที่ คนหนึ่งได้รับวิชาความรู้มา และ

นำไปสอนให้แก่พี่น้องมุสลิมของเขา”

ความรู้คือสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ดังนั้น

ท่านจึงสั่งให้สหายของท่านปล่อยตัวเชลยสงครามที่สอนมุสลิมให้อ่านออกและเขียนได้

๔๒

จริยธรรมและการกระทำของท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ)ในการเข้าสังคม

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จะร่าเริงและยิ้มแย้มเสมอเมื่อท่านอยู่

กับผู้อื่น แต่เมื่อท่านอยู่เพียงลำพัง ท่านจะตกอยู่ในด้านที่เศร้าหมองและครุ่นคิด ท่านจะลดสายตาลงต่ำเสมอและไม่จ้องหน้ากับบุคคลอื่น ท่านกล่าวทักทายกับผู้อื่นก่อนเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กๆ ท่านไม่เคยเหยียดขาของท่านออกไปเมื่อท่านนั่งอยู่กับผู้อื่น

ท่านมักจะสมาคมกับคนยากคนจนและคนขัดสนและแบ่งปันอาหารของท่านให้แก่พวกเขา ขณะรับประทานอาหาร ท่านไม่เคยพิงหรือนั่งบนที่สูงหรือสิ่งอื่นใด ท่านรังเกลียดผู้ที่ยืนขึ้นเพื่อเคารพท่าน เมื่อท่านมาถึงที่ใดที่หนึ่ง ท่านจะนั่งลงตรงที่ที่มีที่ว่างก่อน ท่านจะไม่ขัดเมื่อผู้ใดกำลังพูดอยู่ อีกทั้งท่านจะพูดน้อยแต่มีสาระ ท่านจะพูดอย่างแคล่วคล่องและใจเย็น และท่านไม่เคยดูถูกคน ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) มักไปเยี่ยมเยียนคนป่วยเสมอ ท่านเป็นผู้ที่มีร่างกายและเสื้อผ้าที่สะอาดที่สุด

๔๓

 และท่านทำความสะอาดผมของท่านด้วยสมุนไพร ใบพุทรา และชโลมน้ำมันลงบนผมซึ่งปกมาถึงใบหูของท่าน

ท่านใช้ชะมดและน้ำมันสกัดจากปลาวาฬเพื่อทำให้ร่างกายของท่านมีกลิ่นหอม ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด ท่านก็จะมีกลิ่นกายที่หอมตลอดเวลา ท่านส่งเสริมให้ผู้คนจ่ายเงินเพื่อซื้อน้ำหอมมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ซึ่งการจ่ายเงินเพื่อซื้อน้ำหอมเป็นจำนวนมากๆ ไม่ถือว่าเป็นการฟุ่มเฟือย(อิสรอฟ)

เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ในการใช้เงินของท่านเพื่อซื้อเครื่องหอมและใส่มันมากกว่าเงินที่ท่านใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารของท่าน การแปรงฟันถือเป็นสิ่งหนึ่งในการดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี ท่าน

นบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ให้ความสำคัญกับสุขภาพช่องปากและการแปรงฟัน ดังกล่าวนั้น ฟันของท่านจึงขาวและสะอาดอยู่เสมอ และท่านส่งเสริมให้ผู้คนทำเช่นเดียวกับที่กล่าวว่า

“ทำให้ปากของท่านมีกลิ่นหอมโดยการแปรงฟังของท่านเถิด”

ท่านให้ความสำคัญต่อการสร้างจิตวิญญาณให้มั่นคงและถูกต้อง

มากเท่ากับที่ท่านให้ความสำคัญกับสุขภาพที่ดีและร่างกายที่สะอาด

๔๔

 และท่านยังได้กล่าวว่า

“ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยเป็นสัญลักษณ์ของคนดี”

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ชื่นชอบดอกไม้ต่างๆ มาก

อิมามอะลีได้อ้างถึงโดยการกล่าวว่า

“วันหนึ่งศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ขณะที่ท่านถือดอกกุหลาบไว้ในมือของท่าน ท่านได้มาหาข้าพเจ้าและให้ดอกกุหลาบทั้งหมดแก่ข้าพเจ้า พร้อมกับกล่าวว่า กุหลาบเป็นดอกไม้ที่ดีที่สุดในสวรรค์”

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ยังได้ดำรัสว่า

“เมื่อไรก็ตามที่ท่านได้รับดอกไม้เป็นของขวัญ ให้ดมกลิ่นของมันและวางมันไว้ในสายตาของท่าน”

การให้ของขวัญแก่ผู้อื่นเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับท่าน และท่านได้กล่าวเสมอว่า เมื่อเจ้าออกเดินทางและเมื่อเจ้าเดินทางกลับ เจ้าต้องนำของขวัญมาฝากครอบครัวของเจ้า ถึงแม้ว่าของขวัญนั้นจะเป็นเพียงก้อนหิน ตัวท่านเองก็ยอมรับของขวัญชิ้นนั้นเสมอแม้มันจะเป็นนมเพียงแค่หนึ่งจิบ

๔๕

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นผู้มีเมตตาธรรมอย่างยิ่งและให้อภัยต่อผู้ที่กระทำชั่วและเคยแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่อท่าน ท่านเลือกที่จะให้อภัยมากกว่าที่จะแก้แค้น และท่านได้เชิญชวนให้ผู้คนให้อภัยต่อผู้ที่ทำผิด ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นสัญลักษณ์แห่งการให้อภัย วันหนึ่งหลังจากปีที่ท่านและสหายของท่านจำนวนหนึ่งหมื่นสองพัน

คนพิชิตเมกกะและกลับมายังเมืองศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องของหนึ่งในสหายของท่าน เพื่อทำการแก้แค้นชาวเมกกะในสิ่งที่พวกเขาทำผิด ท่านได้กล่าวว่า

“วันนี้เป็นวันแห่งการให้อภัยและให้พร”

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)กล่าวกับบรรดาผู้ที่ประพฤติชั่วและทรมานท่านและสหายของท่าน รวมถึงผู้ที่สังหารสหายของท่าน ซึ่งยืนอยู่ต่อหน้าท่าน ในขณะที่เป็นผู้ถูกพิชิตพร้อมกับกล่าวว่า

“เจ้าทรมานข้าพเจ้าและสหายของข้าพเจ้าในเมืองนี้และเจ้าได้

ทำการล้อมกรอบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงกับพวกเราในหุบเขาชาบีอะบีฏอเล็บ และการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อข้าพเจ้าและสหาย ไม่มีสิ่งใดที่ข้าพเจ้าจะกระทำกับเจ้าหรือ”

๔๖

คำตอบของชาวเมกกะ คือ การขอความเมตตาจากท่าน จากนั้น

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า :

انتم الطلقاء الي الله

“พวกเจ้าทั้งหมดเป็นอิสระ จงผินหน้าของพวกเจ้าไปยังพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ผู้ทรงเดชานุภาพเถิด”

และท่านอภัยโทษให้กับพวกเขาทั้งหมด เหตุการณ์เช่นนี้มักเกิดขึ้น

เสมอในช่วงสงคราม ฝ่ายชนะจะถือไฟเพื่อต้อนฝ่ายที่แพ้ให้รวมเป็นกลุ่มก้อน แต่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)เป็นสัญลักษณ์แห่งความเมตตาและ

การให้อภัยต่อศัตรูผู้พ่ายแพ้และถูกพิชิต ท่านได้แสดงถึงพลังแห่งความเป็นผู้นำที่คงอยู่ในการรับใช้มวลชนในสังคมสำหรับความโปรดปรานการพัฒนาของพวกเขา และความเป็นผู้นำจะไม่ทำให้ตกเป็นเหยื่อแห่งความเป็นกลางทางการเมืองของตนและความเห็นแก่ตัว สำหรับบุคลิกและลักษณะที่ดีเลิศของท่านนบีมุฮัมหมัด

(ซ็อลฯ)

๔๗

เลโอ ตอลส์ตอย นักเขียน และนักปราชญ์ชาวรัสเซีย ที่มีชื่อเสียง กล่าวว่า

“ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นศาสดาที่ดีที่สุดของศาสนาอิสลามที่ควรค่าแก่การเคารพและให้เกียรติ ศาสนาของท่านจะแผ่กระจายไปทั่วโลก ขอบคุณต่อพันธะสัญญาที่พร้อมด้วยความปราดเปรื่องและชาญฉลาด”

ศาสตราจารย์ วิลล์ ดูแรนต์ นักเขียนและนักประวัติศาสตร์

ชาวอเมริกา ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า

“ถ้าเราประเมินผลผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อผู้คน เราขอกล่าวว่า

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นหนึ่งในผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ท่านพยายามที่จะยกระดับความรู้และจริยธรรมของคนที่ป่าเถื่อน (ในภูมิภาคที่มีอุณหภูมิสูงและความแห้งแล้งของทะเลทราย)ท่านได้บรรลุความสำเร็จดังกล่าวนี้ที่เป็นมากกว่าความสำเร็จใดๆ ในการปฏิรูปสังคมโลก เราแทบจะพบผู้ซึ่งได้เติมเต็มมูลเหตุแห่งศาสนาอย่างท่านได้น้อยมาก ท่านประสบความสำเร็จตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสนทูต

๔๘

 ท่านได้รวบรวมเผ่าที่ไม่เลื่อมใสในศาสนาเพื่อจัดตั้งเป็นอุมมะห์

(ประชาชาติที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) ท่านได้แจ้งถึงหลักการพื้นฐานที่ชัดแจ้งและแข็งแกร่ง และความเชื่อทางศาสนาที่ยึดถือความกล้าหาญและการเห็นคุณค่าในตนเองซึ่งทรงคุณค่ามากกว่าศาสนายิว ศาสนาคริสต์และบรรดาศาสนาเก่าๆของดินแดน

อาระเบียกลุ่มชนรุ่นต่อไปของอุมมะห์

 ประชาชาติอิสลามผู้ครอบครองชัยชนะเหนือศัตรูในการสู้รบ

๑๐๐ ครั้ง ได้สร้างจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในช่วงหนึ่งศตวรรษและในยุคร่วมสมัยเป็นอำนาจที่แข็งแกร่งที่สุด"

๔๙

การดูแลบรรดาเด็กๆและเด็กกำพร้า

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เป็นผู้ที่มีความเมตตาอย่างยิ่งต่อบรรดา

เด็กๆ และท่านกล่าวเสมอว่า

“จงให้ความเมตตาและความรักต่อบรรดาเด็กๆและเยาวชนของเจ้า”

วันหนึ่งเด็กกลุ่มหนึ่งเห็นศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และเด็กๆ ได้เข้ามารายล้อมอยู่รอบตัวท่านและพูดกับท่านว่า

“โอ้ ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ท่านไม่เคยให้สิทธิ์แก่พวกเรา”

ท่านตอบว่า

“สิทธิ์อะไรที่พวกเธอพูดถึง”

พวกเขากล่าวว่า

“ท่านแสดงความเมตตาต่อหลานชายของท่านคือฮะซันและฮุเซนและท่านแบกพวกเขาไว้บนบ่าของท่านและท่านไม่เคยแบกพวกเราไว้บนบ่าเลย”

๕๐

ถึงแม้ว่าศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จะเป็นศาสดาแห่งอิสลามและ

เป็นผู้นำชุมชนมุสลิมทั้งหมด แต่ท่านบอกให้เด็กๆ ปีนขึ้นไปบนบ่าของท่านทีละคนและพาพวกเขาเดินไปตามถนน ท่านให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่เด็กกำพร้าในสังคมที่ซึ่งพวกเขาถูกดูถูกดูแคลน ท่านสอนให้ผู้คนดูแลเด็กกำพร้าและรับเป็นผู้ปกครองของพวกเขา นอกเหนือจากที่มีกล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน

ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

“ผู้ที่เลี้ยงดูเด็กกำพร้าจะได้อยู่ใกล้ชิดกับข้าพเจ้าในสรวงสวรรค์ดังเช่นนิ้วมือทั้งสอง”

ความเคร่งครัดในศาสนาและความน่าเลื่อมใส

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้จำกัดตนเองออกจากสิ่งที่ไม่จำเป็น

ในการดำรงชีวิต ท่านนั่งบนเสื่อฟางและมีหมอนที่บรรจุด้วยเส้นใยจากต้นอินทผลัม อาหารของท่านส่วนใหญ่เป็นเพียงขนมปังและผลอินทผลัมเท่านั้น

๕๑

 ท่านไม่เคยมีอาหารเพียงพอ สำหรับบริโภค สามวันติดต่อกัน และได้รับการกล่าวจากภรรยาของท่านว่า บางครั้งไม่มีอาหารหลงเหลือเพื่อจะนำมาปรุงเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม ท่านได้ขี่ม้าหรือสัตว์อื่นที่ใช้สำหรับขี่โดยปราศจากอาน และตัวของท่านมักซ่อมแซมเสื้อผ้าและรองเท้าของท่านและรีดนมแพะด้วยตัวของท่านเสมอ ท่านเชื่อว่า โลก เป็นที่แห่งความยากลำบากและความอุตสาหะอย่างแสนสาหัส เนื่องจากท่านได้รับการบอกกล่าวจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ว่า

ولقد خلقنا الانسان فی کبد

(البلد/ ๔)

 “แน่นอน เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาให้อยู่ในความยากลำบาก”

 หรือในดำรัสอีกประการหนึ่งที่บอกว่า:

( فَإِنَّ مَعَ الْعُسْرِ يُسْرًا (الشرح/ ๕

“แท้จริงพร้อมกับความยากลำบากนั้นก็มีความง่าย”

กล่าวคือ มนุษย์สามารถได้รับการบรรเทาในการกลับมามีชีวิตครั้ง

ต่อไป สิ่งนี้ได้มีการกล่าวถึงสองครั้งในคัมภีร์อัลกุรอาน

๕๒

ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำคัญที่กำหนดโดยพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพว่า โลกเป็นที่สำหรับสร้างความแข็งแกร่งให้แก่จิตวิญญาณเพื่อเป็นการเตรียมตัวสำหรับโลกหน้า

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กล่าวกับอัครสาวกของท่านเสมอว่า

ความยากลำบากจะนำไปสู่จิตวิญญาณที่แข็งแกร่งของมนุษย์

ท่านได้เพิ่มเติมว่า :

الفقر فخري

ความยากจนเป็นเกียรติแก่ข้าพเจ้าเสมอ

ท่านสอนให้สหายของท่านช่วยเหลือคนยากจนและผู้ขัดสน

ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ให้คุณค่าแก่ความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันและความเมตตาในหมู่ชนและท่านส่งเสริมให้ผู้คนไปมาหาสู่และเยี่ยมเยียนญาติเพื่อนบ้านของเขา รวมทั้งผู้ป่วยและช่วยเหลือคนยากจนและขัดสน ท่านได้ไปเยี่ยมเยียนผู้ป่วยที่ไม่ใช่มุสลิมเสมอ กุรอานคัมภีร์แห่งพระผู้เป็นเจ้าซึ่งแจ้งแก่ศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งถือเป็นแหล่งที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งหนึ่งเพื่อส่งเสริมมิตรภาพและความเป็นพี่น้องกันระหว่างหมู่ชน คำสอนทางด้านจริยธรรมทั้งหมดของศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)นำมาจากที่เดียวกัน ณ ที่นี้

๕๓

 

เราอ้างถึงจำนวนบทและคำสอนใน อัลกุรอาน ที่กล่าวไว้เช่นเดียวกัน ดังนี้

๑. การนินทาว่าร้าย

وَ يَغْتَب بَّعْضُكُم بَعْضًا أَيُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَن يَأْكُلَ

) لَحْمَ أَخِيهِ مَيْتًا فَكَرِهْتُمُوهُ (حجرات / ๒๑

“และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งในหมู่

พวกเจ้าชอบที่จะกินเนื้อของพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ”

๒. ความริษยา การประณามการอิจฉาริษยากันในหมู่ชน พระองค์

อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ตรัสว่า

 จงแสวงหาที่พักพิงแห่งพระผู้เป็นเจ้า (พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) โดยการระมัดระวังจากความริษยากัน”

๓. ความเห็นแก่ตัว ในมุมมองของอัลกุรอาน ความเห็นแก่ตัวเป็นสิ่งร้ายกาจและเป็นลักษณะที่ชั่วร้ายที่นำมาซึ่งสิ่งเลวร้ายอื่นๆ มากมาย

๕๔

 

ซึ่งมีอยู่หลายบทที่อัลกุรอานได้กล่างถึงเรื่องนี้ ความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นเนื่องจากแรงจูงใจต่างๆ อันรวมถึงอำนาจ ความมั่งคั่งและความงามที่ถูกประณามและอัลกุรอานยังบอกว่า ลักษณะที่ชั่วร้ายนี้จะนำมาซึ่งความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและความเกลียดชังกันเสมอ

ในหลายๆ บทของอัลกุรอานมีการกล่าวถึงระดับของการกล่าวหาที่

เป็นเท็จ การโกหก การนินทาและการเย้ยหยันที่เป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากสิ่งดังกล่าวมานี้นำมาซึ่งการเป็นปฏิปักษ์ต่อกันในหมู่มนุษย์ และการกระทำทั้งหลายที่ส่งเสริมความเมตตาและความมีน้ำใจในหมู่ชน (ดังเช่น ความซื่อสัตย์ การให้อภัย การผ่อนปรนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างคนทั้งสองหรือระหว่างสองเชื้อชาติ) ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

แม้ว่าการบอกกล่าวความเท็จจะเป็นที่ถูกประณามในศาสนาอิสลาม แต่หากเป็นการปรับปรุงเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนก็ถือเป็นที่อนุมัติ

๕๕

ครั้งหนึ่ง ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) กล่าวกับกลุ่มชนของท่านว่า

“คนใดในหมู่พวกเจ้าที่ทำสิ่งดังต่อไปนี้ จะเป็นผู้มีเกียรติและมีสถานะที่สูงส่ง ณ พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ

ก. ให้อภัยแก่ผู้ที่กระทำไม่ดีต่อเจ้า

ข. สร้างสัมพันธ์ใหม่กับผู้ที่เคยตัดสัมพันธ์กับเจ้า

ค. แสดงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับผู้ที่กระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับเจ้า

เนื่องจากความประมาทและความโง่เขลาของเขา

๔. สั่งห้ามการดื่มไวน์ (เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์) ซึ่งได้มีคำสั่งห้ามจากอายะห์ต่างๆ ในอัลกุรอาน ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ถือว่าการ

ดื่มไวน์ (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์) เป็นเหตุแห่งการสูญเสียจิตใจ สติ และได้กระตุ้นให้หมู่ชนของท่านหลีกเลี่ยงการดื่ม (ไวน์) ท่านกล่าวว่า “พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ทรงขังความชั่วร้ายไว้และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ถือเป็น กุญแจ สำหรับไขล็อคออก”

๕๖

การอพยพ (ฮิจเราะห์)

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้พยายามที่จะพัฒนาชาวเมืองเมกกะ

โดยการเชิญชวนพวกเขาไปสู่การพัฒนาจากภายนอกและภายใน (ไปสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณ) โดยหลีกเลี่ยงการนองเลือด ประณามและความเสื่อมเสียใดๆอันที่จะเกิดขึ้นได้

หลังจาก ๑๓ ปีของการเผยแพร่ศาสนาอิสลามได้ผ่านไป ผู้นำของ

ชาวกุเรชต้องผิดหวังในการขัดขวางท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ในการเชิญชวนเรียกร้องไปสู่ศาสนาอิสลาม พวกเขาตัดสินใจที่จะสังหารศาสดาแห่งอิสลามในเวลากลางคืน คนเหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่เคยสร้างความเจ็บปวดให้แก่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และสหายของท่านเป็นเวลา๑๓ ปี แต่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพทรงทำให้ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) สามารถล่วงรู้อุบายของศัตรูผ่านทางเทวทูต (มะลาอิกะห์) และสั่งให้ท่านอพยพออกจากนครเมกกะในเวลากลางคืน

๕๗

ดังนั้น ท่านนบีมุฮมั หมัด (ซ็อลฯ)จึงเรียกท่านอะลี บุตรอบูตอลิบ สาวกผู้ภักดีของท่านและเป็นคนแรกที่แสดงความภักดีต่อศาสดา พร้อมทั้งได้บอกแผนการลับให้ท่านอะลีทราบและกล่าวกับเขาว่า

“เจ้าพร้อมที่จะนอนบนเตียงของข้าฯแทนข้าฯ ไหม”

ท่านอะลีถามว่า

“และจากนั้น ท่านจะปลอดภัยและได้รับการปกป้องใช่ไหม?”

และท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ตอบว่า

“ใช่ ข้าฯอยู่ในอุ้งพระหัตถ์อันปลอดภัยแห่งพระผู้เป็นเจ้า”

จากนั้นท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) จึงอพยพออกจากเมืองเมกกะไป

ยังเมืองยัสริบตั้งอยู่ในระยะทาง ๔๐๐ กิโลเมตรจากนครเมกกะ โดยศัตรูได้รีบรุดไปยังบ้านของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และกวาดดาบในมือของพวกเขามายังเตียงนอนของท่าน แต่ต้องประหลาดใจเมื่อพบท่านอะลีนอนอยู่บนเตียงของท่านแทน

พวกเขาถามท่านอะลีว่า

“มุฮัมหมัดอยู่ที่ไหน?”

๕๘

ท่านอะลี ตอบว่า

“พวกท่านมอบหมายให้ข้าพเจ้าเฝ้าดูท่านนบีมุฮัมหมัดหรือ?”

ทันใดนั้นพวกเขาได้ไล่ตามท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ไป แต่ท่านได้เข้าไปหลบภัยอยู่ในถ้ำใกล้กับเมืองเมกกะ

ด้วยพระประสงค์ของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ

ทำให้ทางเข้าถ้ำถูกขวางกั้นด้วยใยแมงมุมและมีนกพิราบป่าวางไข่ไว้บริเวณปากถ้ำ ศัตรูที่ตามล่าท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ตามรอยเท้าของศาสดาแห่งอิสลามมายังปากถ้ำและเมื่อพวกเขาเห็นใยแมงมุมและนกพิราบ เขาจึงกล่าวกับพวกของตนว่า

“แมงมุมและนกพิราบจะไม่ทำรังของพวกมันหากมีคนอยู่ในถ้ำอีกทั้ง ถ้าใยแมงมุมมีอยู่ที่นี่ก่อนแล้ว จะต้องถูกทำลายหากมีผู้ใดเข้าไปในถ้ำ

ดังนั้น แสดงว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ไม่มีผู้ใดเข้าไปในถ้ำนี้เลย จากนั้นพวกเขาได้เดินทางออกไปและทำให้ท่านนบีมุฮัมหมัด

 (ซ็อลฯ) ปลอดภัย

๕๙

สองถึงสามวัน หลังจากนั้น ท่านได้ออกจากถ้ำไปยังเมืองยัสริบ เนื่องจาก

ว่า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ส่งผู้แทนของท่านนามว่า

มัสอับ บุตรอุมัยร์( مصعب بن عمير)ไปยังเมืองยัสริบเป็นเวลาสองปีมาแล้ว จึงทำให้ประชาชนในเมืองนั้นค่อนข้างเตรียมพร้อมที่จะเข้ารับศาสนาอิสลาม เมื่อท่านเดินทางเข้าไป แต่ละเผ่าที่ท่านเดินทางผ่าน ปรารถนาที่จะให้เกียรติในการมาของท่านและพยายามให้เครื่องเทียมกับอูฐของท่านและให้ท่านพักอยู่กับพวก-เขา หลังจากนั้นไม่นาน บรรดาสหายของท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) ได้อพยพไปยังเมืองยัสริบและชื่อของเมืองนี้ก็ถูกเปลี่ยนเป็น

เมืองมะดีนะตุ้ลนะบี (มะดีนะห์) มีความหมายว่า “เมืองของศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม” เพื่อให้ชาวมุสลิมมารวมตัวกันและทำการนมาซของพวกเขา

๖๐