ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี0%

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดศาสดาและวงศ์วาน
หน้าต่างๆ: 132

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ผู้เขียน: เชค มุฮ์ซิน ชะรีอัต
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 132
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 36721
ดาวน์โหลด: 5617

รายละเอียด:

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 132 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 36721 / ดาวน์โหลด: 5617
ขนาด ขนาด ขนาด
ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ศาสดามุฮัมหมัดและวงค์วานแบบฉบับแห่งมนุษย์ ผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

การสร้างสันติภาพและความสมานฉันท์ในเมืองมะดีนะห์

หลังจากที่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมือง

มะดีนะห์ ได้มีการเชิญชวนชาวเมืองมะดีนะห์ที่ขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกันเป็นเวลาหลายปีมาสู่สันติสุข และท่านได้สร้างมิตรภาพและความเมตตาให้เกิดขึ้นระหว่างชาวเมืองมะดีนะห์ทั้งหลาย และถึงแม้ท่านจะสั่งสอนให้มุสลิมทุกคนอยู่ในความสงบร่วมกับชาวยิวที่อาศัยอยู่ในมะดีนะห์ และกล่าวกับสหายของท่านว่า

“ชาวยิวมีอิสระในการเลือกที่จะเข้ารับอิสลาม ไม่มีความแตกต่าง

ระหว่างชาวมุสลิมและชาวยิว เนื่องจากศาสนาอิสลามถือว่ามนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีเชื้อชาติหรือนับถือศาสนาใดๆ มีความเท่าเทียมกันตามกฎหมายแห่งรัฐอิสลาม และในแง่มุมของศาสนาอิสลาม ประชาชนทุกคนมีสิทธ์ที่จะเติบโต ได้รับความเจริญรุ่งเรือง และข้าพเจ้า ศาสดาแห่งอิสลามเป็นผู้แสวงหาความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนทุกคน”

๖๑

สงครามต่อต้านศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม

สงครามเป็นหนึ่งในลักษณะสำคัญของทุกๆ สังคม โดยไม่คำนึงถึง

วัฒนธรรม ภาษา นิกายหรือศาสนา แม้กระทั่ง สัตว์ยังมีเครื่องป้องกันตนเองจากบรรดาศัตรูของมัน ศาสนาอิสลามเชื่อว่า ปัญหาความขัดแย้งและข้อพิพาทระหว่างมนุษย์ไม่สามารถแยกออกจากลักษณะและสาระสำคัญของพวกเขา

อัลกุรอานให้เหตุผลว่า เหตุผลสำคัญเบื้องหลังความขัดแย้งและ

สงครามระหว่างมนุษย์คือ วิธีการที่ก้าวร้าวของพวกเขา ความโง่เขลา ความรุนแรง ความอกตัญญู ความหยิ่งยโสและเชื่อฟังความชั่วร้ายของพวกเขา มนุษย์ที่มีเหตุผลทุกคน จะประณามการทำสงคราม ความรุนแรงของมันและผลกระทบที่เลวร้ายของมัน

ในแง่มุมของความสันติและความสงบสุข ที่มนุษย์สามารถก้าวขึ้นไปสู่จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการสร้าง ตามความแตกต่างทางศาสนาและเทววิทยาในหมู่มวลมนุษย์ที่ไม่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องของสงครามและความขัดแย้งได้

๖๒

 รวมถึงการที่สหายนับถือศาสนา และนิกายที่แตกต่างกันสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและเคารพในสิทธิ์ของผู้อื่นดังที่ท่านได้อยู่ร่วมกับชาวยิว และชาวคริสต์อย่างสงบในเมืองมะดีนะห์ และไม่บังคับให้พวกเขาเข้ารับอิสลาม ดังที่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้หยิบยกมาจากพระดำรัสของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ ในอัลกุรอานว่า

“อะลุ้ลกิตาบ (ยิว คริสต์ โซโรแอสเทรียนส์) พวกเราจงยึดมั่นในคำสอนที่ถูกต้องซึ่งใช้ร่วมกันระหว่างเราและเชื่อมโยงเรากับศาสนาอื่น”

และในอีกอายะห์หนึ่งของอัลกุรอาน กล่าวว่า

“ดังนั้น เจ้า (มุฮัมหมัด) จงแจ้งข่าวดีแก่ปวงบ่าวของข้าเถิดว่า บรรดาผู้ที่สดับฟังคำกล่าวและปฏิบัติตามอย่างดีที่สุด ชนเหล่านี้คือบรรดาผู้ที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงชี้แนะทางนำที่ถูกต้องให้แก่พวกเขา และชนเหล่านั้นแหละ คือ ผู้ที่มีสติปัญญาใคร่ครวญ”

๖๓

ฉะนั้น หากเราลองตรวจสอบดูทุกช่วงชีวิตของท่านนบีมุฮัมหมัด

(ซ็อลฯ) เราจะพบว่าในช่วง๑๐ ปีของช่วงที่ท่านพำนักอยู่ที่นครมะดีนะห์

ท่านและสหายต้องเผชิญกับการทำสงครามมากกว่า ๗๐ ครั้งในนครอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ และสำหรับสงครามเหล่านั้นล้วนเกิดขึ้นเพื่อต่อต้านชาวมุสลิมทั้งสิ้น แต่ในทางตรงกันข้าม

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ไม่เคยเป็นฝ่ายเริ่มสงครามก่อนเลย และถึงแม้ว่าท่านได้หลบหนีจากบรรดาศัตรูของท่านในนครเมกกะห์ บรรดาพวก นอกรีตยังคงทำความลำบากและสร้างความทรมานให้แก่บรรดาสหายผู้บริสุทธิ์ของท่าน โดยการยึดทรัพย์สินอัน

น้อยนิดของพวกเขา และในทางตรงกันข้ามได้มีการวางแผนที่จะสั่งห้ามกองคาราวานเข้าออกเมืองสำคัญเศรษฐกิจของนครมะดีนะห์เพื่อป้องกันไม่ให้มีการส่งออกอาหารไปยังเมืองนี้ หนึ่งในหัวหน้าของพวกนอกรีต มีชื่อว่า อะบูยะฮัล เขาได้ส่งจดหมายที่มีความหยาบคาบมายังท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) เพื่อเตือนท่านให้เตรียมตัวสำหรับการโจมตีโดยชาวกุเรช

๖๔

 หลังจากที่ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้รับจดหมาย ท่านก็ได้รับการแจ้งจากพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงเดชานุภาพโดยตรัสว่า

“พวกเขาเหล่านั้นได้รับการแจ้งถึงการโจมตีและการบุกรุกสามารถป้อง กันได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง และพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงเดชานุภาพ จะทรงช่วยกลุ่มชนผู้ซึ่งถูกขับไล่ออกไปจากบ้านและเมืองของพวกเขาสำหรับความศรัทธาในพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ทรงเดชานุภาพของพวกเขา”

กองทัพแห่งนครเมกกะเริ่มออกเดินทางไปยังนครมะดีนะห์และ

สงครามนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “สงครามบะดัร” ในปีที่สองของฮิจเราะห์ศักราช ได้ขับไล่ศาสดาแห่งอิสลามออกนอกเขต

นครมะดีนะห์ ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)และสหายของท่าน อย่างไรก็ตาม หนึ่งปีหลังจากสงครามบะดัร

ชาวเมกกะได้รวบรวมไพล่พลจัดตั้งเป็นกองทัพใหญ่ขึ้นอีกครั้งหนึ่งและเดินทางมุ่งหน้าไปยังนครมะดีนะห์เพื่อทำลายชาวมุสลิม ศาสนาและศาสดาของพวกเขา เมื่อศาสดาแห่งพระเจ้าได้รับแจ้งเกี่ยวกับเรื่องนี้

๖๕

 ท่านได้เรียกชุมนุมชาวมุสลิมทั้งหมดในมัสญิดและปรึกษาหารือกับพวกเขาถึงวิธีการป้องกันนครแห่งนี้และควรจะเผชิญหน้ากับศัตรูภายนอกเมืองนี้หรือไม่ บรรดาสหายจำนวนมากบอกกับท่านว่า พวกเขาเห็นควรให้ต่อสู้กับชาวเมกกะนอกเมือง เพื่อที่ว่าจะได้ไม่

เกิดอันตรายใด ๆ แก่ภรรยาและครอบครัวของพวกเขา ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) เห็นชอบตามนั้นและการต่อสู้ซึ่งชาวเมกกะเป็นผู้โจมตี ถูกตีแตกบนภูเขาอุฮุด ชาวมุสลิมมากกว่า ๗๐ คนถูกฆ่าตายในการสู้รบ รวมถึงลุง ซึ่ง สืบเชื้อสายทางบิดาของท่านศาสดา คือ ท่านฮัมซะห์ บุตร อับดุลมุฏฏอลิบ ซึ่งศพของเขาถูกตัดออกเป็นชิ้นๆ โดยศัตรู เมื่อท่านศาสดาเห็นสภาพศพของลุงของท่าน

ท่านร่ำไห้อย่างขมขื่นและรู้สึกเจ็บปวดอย่างยิ่ง แต่หลังจากนั้นผู้ที่สังหารลุงของท่านได้เข้ามอบตัวแก่ท่าน และท่านศาสดา(ซล)ก็ได้ตัดสินใจให้อภัยแก่เขามีการสู้รบและสงครามอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสิบปีที่ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) พำนักอยู่ในนครมะดีนะห์ซึ่งเป็นการป้องกันทุกครั้งและมุ่งที่จะรวบรวมแกนสำคัญของความสันติและความสงบสุข ในสงครามเหล่านั้น

๖๖

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ยึดมั่นในการหลักการและคุณค่าแห่งมนุษยธรรมเช่น การปกป้องสิทธิ์ของผู้บริสุทธิ์ สตรีและเด็กๆ รวมถึงปฏิบัตกับนักโทษ ด้วยความเคารพ ตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนักโทษที่ถูกจับมานั้นจะได้รับการส่งเสริมให้สอนวิธีการเขียนและอ่านแก่ชาวมุสลิม วิธีนี้เหล่านักโทษจะถูกปล่อยตัวเป็นอิสระเมื่อพวกเขาเสร็จสิ้นการสอนแล้ว

 อะบูอะซีซ หนึ่งในบรรดานักโทษจากสงครามบะดัร กล่าวว่า

“พวกมุสลิมจับข้าพเจ้าเป็นนักโทษและนำตัวไปยังนครมะดีนะห์

ระหว่างทาง มีหลายคนถูกมอบหมายให้ดูแลข้าพเจ้าโดยเป็นคำสั่งของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ว่าเมื่อไรหรือที่ใดก็ตามที่พวกเราหยุดพัก ข้าพเจ้าจะได้รับอาหารและน้ำ พวกเขาดูแลข้าพเจ้าอย่างเมตตาและเคารพ ซึ่งข้าพเจ้ารู้สึกละอายใจมากสำหรับสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กระทำกับพวกเขาก่อนหน้านี้ ดังนั้น บางครั้งข้าพเจ้าจะคืนขนมปังให้กับพวกเขาอย่างไม่ละอาย”

๖๗

ตั้งแต่เข้ามายังมะดีนะห์ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้ลงนามในสนธิสัญญาแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับชาวยิวในเมืองแห่งนั้นและประกาศว่า ชาวมุสลิมและยิวเป็นดังเช่นคนชาติเดียวกันที่อาศัยอยู่ร่วมกัน และสามารถปฏิบัติศาสนกิจของตนได้อย่างเสรี ตามสนธิสัญญาดังกล่าว ชาวมุสลิมและยิวสามารถให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกรณีที่พวกเขาถูกคุกคามโดยผู้อื่น อย่างไรก็ตามและภายใต้ข้ออ้างต่างๆ นานา สนธิสัญญาดังกล่าวมาข้างต้นได้ถูกทำลายลงโดยชาวยิว และในที่สุด พวกเขาได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเผ่านอกศาสนาของนครเมกกะ ซึ่งท้ายที่สุดก็นำมาซึ่งการสู้รบในสมรภูมิ การสู้รบครั้งนี้ มุสลิมเป็นผู้ครองชัยชนะ จากนั้น ชาวยิว

หวังที่สังหารท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) อย่างทารุณเพื่อฉีกสนธิสัญญาแห่งความสันติ จึงร่วมมือกับบรรดาศัตรูของท่าน แต่เมื่อท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) เป็นศาสดาแห่งความปรานีและความเมตตา ท่านศาสดา (ซล) จึงได้ให้อภัยแก่พวกเขา

๖๘

นี่คือเหตุผลว่า ทำไม (จอร์จ) เบอร์นาร์ด ชอว์ หนึ่งในนักเขียนและ

นักวิชาการชาวอังกฤษที่สำคัญได้กล่าวไว้เกี่ยวกับท่านศาสดา(ซ็อลฯ) ดังต่อไปนี้

“หากศาสนาใดมีโอกาสได้เข้าครอบครองประเทศอังกฤษและทวีปยุโรปภายในหนึ่งศตวรรษต่อจากนี้ ศาสนานั้นควรเป็นอิสลาม”

“ข้าพเจ้ามีความเชื่อในศาสนาของศาสดามุฮัมหมัดเสมอมาด้วย

ความเคารพอย่างสูง เนื่องจากพลังในความอยู่รอดอันวิเศษของศาสนาดังกล่าว เป็นเพียงศาสนาเดียวที่ปรากฏแก่ข้าพเจ้าทำให้สามารถครอบครองสิ่งที่คล้ายคลึงกับพลังกายและพลังใจที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงมุมมองในการใช้ชีวิต ซึ่งสามารถทำให้ตัวของมันเป็นที่น่าสนใจในทุกๆ ยุคสมัย ข้าพเจ้าได้ศึกษาเกี่ยวกับท่านบุรุษผู้เลิศเลอ และในความคิดเห็นของข้าพเจ้าซึ่งห่างไกลจากผู้ที่ต่อต้านพระคริสต์ แต่ท่านสามารถถูกขนานนามได้ว่า ผู้ช่วยไถ่บาปให้แก่มวลมนุษยชาติ”

๖๙

“ข้าพเจ้าเชื่อว่า หากคนที่เหมือนกับท่านยอมรับระบบเผด็จการ

แห่งโลกสมัยใหม่ เขาจะต้องประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหานั้นด้วยวิธีที่จะนำมันไปสู่ความสันติและความสุขที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก

ข้าพเจ้าสนับสนุนเกี่ยวกับความศรัทธาต่อศาสดามุฮัมหมัด ที่มันจะเป็นที่ยอมรับในวันพรุ่งนี้ของทวีปยุโรป ดังเช่นที่มันเริ่มต้นเป็นที่ยอมรับในทวีปยุโรปในวันนี้”

การแต่งตั้งผู้สืบทอดของท่าน

หลังจากเสร็จสิ้นจากการจาริกแสวงบุญครั้งสุดท้าย (กลับมาจาก

การประกอบพิธีฮัจญ์) ท่านศาสดาเริ่มต้นเดินทางไปมะดีนะห์ ระหว่างทางของท่าน ณ ฆอดีรคุม เสียงจากสวรรค์ร้องเรียกว่า

“โอ้ ศาสนทูตเอ๋ย! จงเผยแพร่สิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า และถ้าเจ้ามิได้กระทำ เจ้าก็มิได้เผยแพร่สารของพระองค์เลย

๗๐

 และพระองค์อัลลอฮ์นั้นจะทรงคุ้มครองเจ้าให้พ้นจากมนุษย์(ที่ชั่วร้าย) แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงให้ทางนำแก่บรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธา”

ทันใดนั้นศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ได้สั่งให้บิลาลทำการเรียกบรรดามุสลิมที่กำลังเดินมุ่งหน้าไป ผู้ที่อยู่หลังท่านและผู้ที่เดินทางกลับไปยังบ้านของพวกเขาตรงทางแยกให้กลับมารวมตัวกัน ซึ่งบรรดามุสลิม ขณะนั้น มีจำนวนถึง หนึ่งแสนสองหมื่น

คนได้มารวมกัน ณ ฆอดรีคุม แลว้ ท่านศาสดา(ซ็อลฯ) ได้จับมือท่าน อะลียกขี้นพร้อมกับกล่าวว่า

“ใครก็ตามที่ข้าพเจ้าเป็นหัวหน้า อะลีคือหัวหน้าของพวกเขา โอ้พระองค์อัลลอฮ์ทรงรักบรรดาผู้ที่รักอะลีและทรงเป็นศัตรูกับศัตรูของอะลี ทรงช่วยเหลือผู้ที่ช่วยเหลืออะลีและทรงทอดทิ้งผู้ที่ทอดทิ้งอะลี”

และอีกคราหนึ่งได้มีเสียงจากสวรรค์ประกาศอย่างเป็นทางการว่า

“วันนี้ข้าได้ให้ความสมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้วซึ่งความเมตตากรุณาของข้า และข้าได้ยินยอมให้อิสลามเป็นศาสนาสำหรับพวกเจ้า”

๗๑

ดังนั้น ท่านอะลีเป็นคนแรกที่เข้ารับอิสลามและเป็นสหายที่ดีที่สุดของศาสดามุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) เป็นเวลา ๒๓ ปี ที่ท่านอะลีได้รับใช้ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และศาสนาอิสลามมาโดยตลอด

ท่านอะลีได้ถูกเลือกให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำอาณาจักรอิสลามต่อจากท่านศาสดามุฮัมหมัด(ซ็อลฯ) และบรรดามุสลิมทั้งหมดที่อยู่ ณ ที่นั้น (ณ ฆอดีรคุม) ให้ความจงรักภักดีต่อท่านอะลีด้วย

วันสุดท้ายของท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)

ในปีที่สิบเอ็ดของฮิจเราะห์ศักราชและทันทีที่ท่านเสร็จสิ้นการประกอบพิธีฮัจญ์ ท่านศาสดารู้สึกไม่สบาย ท่านไปยังมัสญิดด้วยร่างกายอันอ่อนแอและเรียกชุมนุมมุสลิมทั้งหมด พร้อมกับกล่าวกับพวกเขาว่า

“เนื่องจากนี่คือช่วงวาระสุดท้ายของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการถามว่า“หากในที่นี่มีผู้ใดที่ข้าพเจ้าเคยทำให้เขาได้รับความเจ็บปวดในชีวติบ้าง

๗๒

 เพราะหากมีข้าพเจ้าปรารถนาที่จะถูกลงโทษสำหรับสิ่งที่ข้าพเจ้าทำในตอนนี้มากกว่าที่จะถูกลงโทษหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว” ทันใดนั้นมีชายคนหนึ่งตอบรับและกล่าวว่า

“โอ้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) วันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังขี่อูฐ ท่านได้ตี

ข้าพเจ้าด้วยไม้เท้าของท่านตรงไหล่ของข้าพเจ้าโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นเป็นสิทธิ์ของข้าพเจ้าที่จะตอบโต้”

ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) เรียกชายผู้นั้นให้เดินมาข้างหน้าท่าน

โดยการให้เขาใช้ไม้เท้าทำเช่นที่ท่านทำกับเขา บรรดาผู้ที่อยู่ในมัสญิดขณะนั้นบอกกับชายผู้นั้นว่า

“ไม่เห็นหรอกหรือว่าท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) อ่อนแรงและ

อ่อนแอมากเช่นไร ทำไมเจ้าไม่แสดงความเมตตาต่อศาสดาแห่งอัลลอฮ์”

แต่ชายผู้นั้นกลับเดินเข้ามาใกล้ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) และหยิบ

ไม้เท้าของท่านมาจากท่าน ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ) ร้องบอกว่า

 “โปรดตีข้าพเจ้าเถิด”

๗๓

ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้บรรดาผู้ที่อยู่ในมัสญิดร่ำไห้ ชายผู้นั้นกล่าวว่า

“แต่ในขณะที่ท่านตีข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเปลือยกายครึ่งท่อน”

ดังนั้น ท่านศาสดาจึงเปลือยบ่าของท่าน พร้อมกับร้องบอกอีกครั้งว่า

“โปรดตีข้าพเจ้าเถิด”

ทันใดนั้น ชายผู้นั้นได้จูบลงบนไหล่ของท่านศาสดาและกล่าวว่า

“ข้าพเจ้าไม่เคยคิดที่จะโต้ตอบ ข้าพเจ้าเพียงแต่ต้องการได้รับโอกาสที่จะจูบลงบนบ่าของท่านเท่านั้น เพื่อ ข้าพเจ้าจะได้รับการยกเว้นจากความโกรธกริ้วของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ”

ในไม่ช้า ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ็อลฯ)ได้เสียชีวิตลงด้วยวัย ๖๓ ปีใน

บ้านของท่านที่นครมะดีนะห์ และร่างอันบริสุทธิ์ของท่านได้ถูกฝังอยู่ที่นั่นเช่นกัน”

ช่วงเวลา ๒๓ ปีแห่งการเป็นศาสดาของท่าน ท่านประสบกับความ

ทุกข์และความยากลำบากอย่างนับครั้งไม่ถ้วน

๗๔

 แต่ท่านเลือกจะทำการเปลี่ยนแปลงชนเผ่าและชีวิตที่โง่เขลาของชาวอาหรับอย่างรุนแรงดังที่กล่าวให้ทราบ แท้ที่จริงท่านได้แทนที่ระบบต่างๆ ของพวกเขาด้วยระบบใหม่ๆทางสังคมตามแบบศาสนาอิสลาม ตัวอย่างเช่น ท่านเรียกการทำตามบรรพบุรุษอย่างไร้เหตุผลว่า “ความโง่เขลา” และสร้างบุคลิกใหม่ของมุสลิมซึ่งเป็นอิสระจากลัทธิชนเผ่าหรือความใกล้ชิดเกี่ยวพันธ์กับกล่มุ คนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน นอกจากนี้ท่านยังประณามลัทธิเหยียดสีผิว ลบล้าง

คำสั่งที่ปราศจากความยุติธรรม โจมตีและประนามการประพฤติผิดที่ชาวอาหรับผู้โง่เขลายึดถือว่าเป็นความภาคภูมิใจ

ขอขอบพระคุณสำหรับคำสอนเกี่ยวกับอิสลามของท่านศาสดา

แห่งอิสลามผู้บริสุทธิ์กำหนดและสร้างกฎทางสังคมด้วยความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน ท่านพยายามเสมอที่จะให้กฎหมายและอำนาจในการบริหารมาพร้อมกับจริยธรรมและคุณธรรม กำหนดเงื่อนไขสำหรับการเป็นเจ้าของและพยายามระงับข้อพิพาททางการเงินและลดปัญหาทางสังคมของผู้คน อีกทั้งท่านยังสอนให้ผู้คนช่วยเหลือคนยากคนจน

๗๕

 และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมท่านศาสดา (ซ็อลฯ)จึงกำหนดข้อ

บังคับทางด้านภาษีบางประการและกำหนดทางเลือกบางประการเพื่อที่จะให้ความมั่งคั่งกระจายออกไปยังผู้คนในสังคมอย่างยุติธรรม ตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่มีผู้ใดพบความขัดแย้งใด ๆ ระหว่างสิ่งที่ท่านพูดกับวิธีการที่ท่านทำและแม้แต่ศัตรูของท่านยังเรียกท่านว่า ผู้ที่มีความสัตย์จริงและน่าเชื่อถือ

ตลอดชีวิตของท่านจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการหลีกเลี่ยงความอิจฉา

ริษยา ความโลภ ความตระหนี่ การเสแสร้งและอ้าแขนรับการให้อภัย ความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ ความถูกต้องและอยู่อย่างสงบเสงี่ยมเจียมเนื้อ เจียมตัว และใช้ชีวิตที่เรียบง่าย กฎของท่านถูกกำหนดขึ้นด้วยความยุติธรรม

ตัวของท่านอุบัติขึ้นจากความยากจน การถ่อมตนอย่างน่าเคารพ

นับถือ ท่านมีความเมตตากับเพื่อนๆ ของท่านและไม่เคยเก็บงำความขุ่นเคืองใจต่อบรรดาศัตรูของท่าน ในการสู้รบ ท่านไม่เคยลงดาบก่อนที่ศัตรูของท่านจะทำ การเชิญชวนไปสู่อิสามของท่านตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักสามประการคือ “ความเฉลียวฉลาด” (ฮิกมัต) “คำสอนที่ดี” และ “ความมีเหตุมีผล”

๗๖

 ในการเผยแพร่ศาสนาของท่าน ท่านจะปฏิบัติตามคำขวัญดัง

ต่อไปนี้เสมอ

) لاَ إِكْرَاهَ فِي الدِّينِ (البقره/ ๖๕๒

"จะไม่มีการบังคับใน (การยอมรับนับถือ) ศาสนา”

เพราะเป็นสิ่งที่ท่านระมัดระวังมากที่สุดในการเชิญชวนผู้คนไปสู่หลักเตาฮีด (ได้แก่การให้เอกภาพหรือเคารพนับถือในพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)เพียงองค์เดียว)

ท่านศาสดา (ซ็อลฯ)ได้อธิบายถึงพระผู้สร้างจักรวาลว่า

“เป็นเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้ให้กำเนิดและถูกให้กำเนิด เป็นผู้มีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์ ผู้ที่เปี่ยมด้วยความเมตตาและกรุณา อยู่ใกล้ชิดกับเรามากกว่าเส้นเลือดในลำคอของเรา เป็นเพียงหนึ่งเดียวที่มีความงดงาม เป็นที่ประจักษ์ในทุกแห่ง พระองค์ไม่ได้อยู่ในสวรรค์หรือใต้พิภพ หรือ บนบัลลังก์ของกษัตริย์ แต่พระองค์ทรงมีอยู่ในทุกที่ และพระองค์ไม่ทรงเป็นพวกเผด็จการหรือกดขี่”

ท่านศาสดาบอกกับผู้คนให้ยึดถือในสิ่งที่พวกเขาสามารถอธิบาย

สำหรับการกระทำได้ และกล่าวกับพวกเขาว่า

๗๗

“พระผู้เป็นเจ้าของข้าฯ บอกกับข้าฯว่าหู ตาและหัวใจของพวกเรา

จะเป็นผู้รับผิดชอบต่อทุกการกระทำและสิ่งเหล่านั้นจะเป็นสิ่งที่อธิบายถึง การ กระทำของมันหลังจากที่พวกเจ้าได้เสียชีวิตไปแล้ว และพวกเจ้าจะได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษตามนั้น”

หนึ่งในลักษณะที่เด่นที่สุดในชีวิตท่านคือ ท่านหลีกเลี่ยงที่จะครอบ

ครองทอง ความมั่งคั่ง อำนาจและสิ่งของที่เป็นวัตถุทุกอย่างเสมอ ในความเป็นจริง ไม่มีสิ่งใดเลยในโลกนี้ที่ตรึงสายตาของท่านหรือทำให้ท่านมหัศจรรย์ใจได้ แท้จริง สิ่งที่ทำให้ท่านศาสดาได้เข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) เท่านั้นที่จะทำให้ท่านดีใจอย่างล้นพ้น

“ข้าพเจ้าจะต้องทำสิ่งใดกับโลกมนุษย์นี้ซึ่งเป็นเหมือนที่พักพิง

ชั่วคราวในวันที่มีพายุ ซึ่งอยู่ได้ไม่นานก็ต้องจากไป”

ศาสดาแห่งอิสลามผู้บริสุทธิ์บอกกับเราว่า เราถึงวาระที่จะถูกทำลาย

ล้างและท่านเตือนพวกเราให้ตระหนักถึงตัวของพวกเราโดยยึดหลักการการใช้และให้เหตุผล

๗๘

 อัลกุรอานยังระบุว่า มนุษย์มีจิตวิญญาณอันเป็นนิรันดร์

และพูดถึงชีวิตหลังความตายที่กินเวลาชั่วนิรันดร์และเป็นสิ่งถาวร ด้วยเหตุด้วยผลจึงสามารถบอกได้ว่า มนุษย์มีจิตวิญญาณแห่งปัจเจกชนและความตายไม่ได้เป็นจุดจบของทุกสิ่งตามเรื่องแห่งความจริง ศาสนาอิสลามเชื่อว่า เป็นเพียงร่างกายเท่านั้นที่ตายและความตายเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ที่จะแยกจิตวิญญาณของเราออกจากร่าง โดยธรรมชาตินี้ ได้รับการยอมรับจากมนุษย์ทุกคน และความแตกต่างที่มีอยู่เกิดขึ้นจากความตีความที่แตกต่างกัน สำหรับมนุษย์ทุกคนปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและพวกเขาพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะมีชีวิตอยู่ นี่คือ ตัวบ่งชี้ถึงความจริงที่ว่า โดยเนื้อแท้มนุษย์แสวงหาความเป็นนิรันดร์ แต่มีบางคนยึดถือแนวคิดที่ว่า ชีวิตในโลกเป็นนิรันดร์ ในขณะที่ศาสนาอิสลามบอกเราว่า เช่นเดียวกับมนุษย์ ชีวิตนี้เหมือนกับผู้โดยสารที่เดินทางผ่านและก้าวจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่งเท่านั้น และจึงไม่มีอะไร

เป็นนิรันดร์ อัลกุรอานเฝ้ามองไปที่จักรวาลด้วยวิธีเดียวกัน และเชื่อว่าสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหมดจะต้องกลับไปยังพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ผู้ทรงเดชานุภาพ

๗๙

ตามข้อเท็จจริง จักรวาลและโลกแห่งวัตถุนิยมนี้เป็น เรือใบลำใหญ่ที่แล่นอยู่ในมหาสมุทรแห่งธรรมชาติ เรือลำนี้ไม่สามารถแล่นใบไปได้ตลอด ต้องมีการทิ้งสมอจอดที่ท่าเรือ ในทำนองเดียวกัน โลกของเราในวันหนึ่งก็จะต้องมาหยุด ณ ที่ที่หนึ่งที่เรียกว่า “ดารุ้ลอาคิเราะห์” ซึ่งเป็นวันแห่งการฟื้นคืนชีพ และเป็นจุดที่ผู้สร้างและผู้ถูกสร้างได้มาพบกันอีก

ดังนั้น ท่านศาสดาแห่งอิสลามผู้บริสุทธิ์ ได้กล่าวไว้เสมอว่า

“หากพวกเจ้าแสวงหาความเมตตาและความสุขอันเป็นอมตะจาก

พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) พวกเจ้าต้องทราบว่า ชีวิตนี้สั้นนักและไม่เป็นอมตะดังนั้นพวกเจ้าไม่ควรหวังสิ่งใดจากมัน”

ท่านศาสดาไม่ได้จำกัดการเชิญชวนและการงานเพียงแค่ประชาชน

ที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรอาหรับเท่านั้น ตามความเป็นจริงแล้ว ท่านต้องการให้คำสอนเป็นสากล ดังนั้น ท่านศาสดาจึงส่งตัวแทนไปยังผู้ปกครองและกษัตริย์ในหลายส่วนแตกต่างกันในโลก ตัวแทนแต่ละคนจะมีสารเพื่อเชิญชวนเข้ามาเป็นมุสลิมและจำนนต่อศาสนาของพระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) สารเหล่านี้ทั้งหมดนั้นจะมีใจความเดียวกัน

๘๐