วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน37%

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 156

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 156 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 50987 / ดาวน์โหลด: 5838
ขนาด ขนาด ขนาด
วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน สถาบันอัล – บะลาฆ

แปล อาจารย์อัยยูบ ยอมใหญ่

ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของพระอัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก

ขอความจำเริญและความสันติสุขพึงมีแด่นบีมูฮัมมัดประมุขของ

ศาสนทูตทั้งหลายและแด่วงศ์วานผู้บริสุทธิ์ของท่านและแด่สาวกผู้ซื่อสัตย์

ท่านศาสนทูต(ศ)ได้กล่าวไว้ว่า

“อัลลอฮฺทรงประทานความผาสุกให้แก่คนที่ได้ฟังคำพูดของฉัน แล้วจดจำไว้แล้วรักษาต่อไป และได้นำไปปฏิบัติเหมือนอย่างที่เขาได้ยินมา

บางทีคนที่นำพาความรู้ อาจได้ให้ความรู้แก่ผู้ที่ไม่รู้ และบางทีคนที่นำพาความรู้อาจให้ความรู้แก่คนที่รู้กว่าเขาก็เป็นได้”

ผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าซุนนะฮฺของท่านนบีโดยละเอียดลึกซึ้งจะสามารถเข้าใจในคุณค่าอันสูงส่งทางวิชาการที่มาจากความรู้ด้านนี้ได้อย่างดียิ่ง เพราะนั่นคือมรดกทางวิชาการ บทบัญญัติทางศาสนา และมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นอมตะ ซึ่งส่งผลให้เกิดขบวนการที่นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในโลกมนุษย์แห่งนี้ โดยได้เป็นสาเหตุในการปลดปล่อยความคิดให้มี

อิสระเสรี มีการปรับเปลี่ยนอารยธรรมแห่งมนุษย์ไปสู่ความเจริญก้าวหน้า

ซุนนะฮฺนบี เท่าที่รู้กันอยู่ หมายถึง วจนะและการกระทำของท่าน ตลอดจนท่าทีการแสดงออกจากตัวท่าน ถือว่านั่นคือ แหล่งที่มาอันดับสองรองจากอัล-กุรฺอานแห่งวิชาการทางศาสนาบัญญัติความรู้ต่างๆ

 ด้วยเหตุนี้อัล-กุรฺอานจึงกำชับให้มนุษยชาติยึดถือปฏิบัติตามอย่าง

เคร่งครัด การปกป้องรักษาซุนนะฮฺให้คงอยู่ในความบริสุทธิ์ รอดพ้นจากการถูกปลอมแปลงไม่ให้เกิดการสูญหาย ให้ปราศจากการถูกสอดแทรกความเท็จ ถือเป็นหน้าที่ที่มุสลิมทุกคนต้องรับผิดชอบตามบทบัญญัติทางศาสนา และเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่

ด้วยเหตุนี้ บรรดาอิมาม บรรดานักปราชญ์ทั้งหลาย ผู้มีความบริสุทธิ์ใจ ได้ทุ่มเทความเพียรพยายามอย่างสุดกำลัง เพื่อปกป้องซุนนะฮฺให้รอดพ้นจากความเสียหายด้วยการถูกปลอมแปลง

ในวิธีการต่างๆ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ซุนนะฮฺของท่านศาสนทูต(ศ) และวิถีการดำเนินชีวิต

เพื่อได้เรียนรู้ในกฏเกณฑ์ของศาสนา กฏหมาย และระบอบการดำเนินชีวิต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ซุนนะฮฺนบี และให้มีการศึกษาวิชาการต่างๆ โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักการที่สำคัญนี้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาการที่เกี่ยวกับซุนนะฮฺหรือฮะดีษ ซึ่งเป็นวิชาที่มีพื้นฐาน มีแนวและหลักเกณฑ์ของมันโดยตรง อนุชนของอิสลามยุคนี้ ไม่ค่อยจะมีโอกาสทำความรู้จักกับซุนนะฮฺ ให้อยู่ในระดับที่ควรจะเป็นตามความจำเป็นและหน้าที่ของมุสลิมระดับปัญญาชนจะพึงมี ดังจะเห็นว่า แม้ตาม สถาบันการศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนใหญ่ ก็มิได้วางหลักสูตรการศึกษาซุนนะฮฺนบี และทำความเข้าใจกับวิชาการในด้านนี้กันอย่างจริงจังสักเท่าใดนัก

เราขอมีส่วนในการพิทักษ์รักษาซุนนะฮฺนบี และจรรโลงวิชาการของอิสลาม และขอแนะนำอนุชนมาทำความรู้จักกับพื้นฐานของหลักวิชาฮะดีษ เพื่อปูพื้นเข้าสู่ความรู้ในเรื่องซุนนะฮฺ ในลักษณะที่เรียบง่ายโดยหนังสือเล็กๆเล่มนี้

หวังจากอัลลอฮฺ ให้พระองค์ประทานคุณค่าและประโยชน์จากหนังสือนี้แก่ท่านผู้อ่านโดยทั่วกัน โปรดรับคำวิงวอนขอของเรา แท้จริงพระองค์ทรงได้ยิน ทรงตอบสนองคำขอเสมอ

ซุนนะฮฺนบี

ความหมายในภาษาอาหรับมีการใช้คำว่า“ซุนนะฮฺ”มาก่อนสมัยอิสลาม หมายความว่า “วิถีทาง, แนวทาง”

ท่านรอซีย์นักภาษาคนสำคัญอธิบายว่า หมายถึง “แนวทาง” (๑)

เป็นที่ยอมรับว่าคำนี้ หมายถึง แนวทางการดำเนินชีวิตนั่นเอง รากฐานที่มาของศัพท์ คือ

“ซะนัน” หมายความว่า “การสร้างวิถีทาง” เมื่อดำเนินไปตามเส้นทางนั้นเป็นเนืองนิตย์ จะเรียกใน

ภาษาอาหรับว่า “ซะนัน” ซึ่งจะมีความหมายตรงกับ คำว่า “ฏ่อรีก” ที่แปลว่า “วิถีทาง” นั่นเอง

ท่านกิซาอีย์ นักภาษาผู้ทรงคุณวุฒิอีกท่านหนึ่ง กล่าวว่า “ความหมายของ “ซุนนะฮฺ” คือ กิจวัตรประจำ” (๒)

นับแต่พระคัมภีร์อัล-กุรฺอานแห่งอิสลาม ได้ถูกประกาศเผยแพร่ก็ได้ใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ”มาในความหมายเฉพาะอีกอย่างหนึ่ง

ดังมีคำนี้ปรากฏอยู่ในโองการความว่า

“ซุนนะฮฺของอัลลอฮฺที่มีต่อบรรดาผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งเจ้าจะไม่พบว่าซุนนะฮฺของอัลลอฮฺมีการเปลี่ยนแปลง”

คำว่า “ซุนนะฮฺ” ในโองการนี้ อัล-กุรฺอานหมายถึง “กฏเกณฑ์ทางสังคม” ที่ได้ผ่านไปตามเส้นทางการเคลื่อนไหวของประวัติศาสตร์ สังคม และเหตุการณ์ต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของมนุษยชาติ

ขณะที่อัล-กุรฺอานได้ปลุกจิตสำนึก ด้วยการใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ” และกำหนดให้คำนี้ มีความหมายที่ให้ความคิดทางวิชาการ และอารยธรรมด้านหนึ่งนั้น

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ก็ใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ” เรียกวิถีการดำเนินชีวิต และจริยวัตรของท่าน อันเกิดขึ้นจากวจนะ จากการกระทำ และท่าทีการแสดงออกของท่าน ฉะนั้น คำว่า “ซุนนะฮฺ” ได้สร้างกระแสสำนึก ทั้งในด้านความคิดและบทบัญญัติทางศาสนาที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งในวิถีชีวิตของบรรดามุสลิม

ด้วยเหตุนี้ อัล-กุรฺอาน จึงใช้คำว่าซุนนะฮฺผนวกกับพระนาม “อัลลอฮฺ” เป็น “ซุนนะตุลลอฮฺ” หมายความว่า “กฏเกณฑ์ของอัลลอฮฺ ที่ทรงประสงค์จะให้เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ มีพลังขับเคลื่อนไปตามพื้นฐานของมัน”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ได้ใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ”ผนวกกับคุณลักษณะอันทรงเกียรติของท่านในความหมายของแนวทางตามบทบัญญัติทางศาสนาที่ท่านดำเนินอยู่ในวิถีชีวิต โดยได้มีการปรับมาใช้เป็นคำว่า “ซุนนะฮฺนบี” และยังเป็นคำที่ใช้ในทางวิชาการและบทบัญญัติทางศาสนาอย่างมากมาย ตามที่ท่านศาสนทูต (ศ) เคยใช้จนเป็นคำที่มีความหมายในด้านนี้ โดยเฉพาะ

ด้วยเหตุนี้ ความหมายของคำว่า “ซุนนะฮฺ” ในทางวิชาการ จึงมีขึ้นในแนวความคิดของอิสลามจนได้กลายเป็นคำที่เรียกใช้กันในความหมายตามที่รู้กันอยู่ในหมู่นักปราชญ์

คำว่า “ซุนนะฮฺ” ในแง่ของวิชาการศาสนา

ท่านศาสนทูต(ศ) คือผู้ทำหน้าที่ประกาศสารและอธิบายบทบัญญัติจากอัลลอฮฺ

ด้วยเหตุนี้ บรรดามุสลิมจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาซุนนะฮฺ ตลอดทั้งความรู้ต่างๆ ของท่านนบี เพื่อจะได้ถือเป็นกรอบที่ชัดเจนในการได้มาซึ่งกฏเกณฑ์ และหลักปฏิบัติทางศาสนาเพราะถือว่าสิ่งนี้ คือแหล่งที่มาแห่งบทบัญญัติทางศาสนาอันดับที่สองถัดจากพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ

เราจะกล่าวถึงคำจำกัดความตามที่นักฮะดีษและนักการศาสนาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา อย่าง ท่านฟัครุดดีน อัฏ-เฏาะรีฮีย์ บันทึกไว้ ท่านได้กล่าวว่า “คำว่า ซุนนะฮฺ ในด้านภาษา หมายถึง แนวทาง และวิถีการดำเนินชีวิต อันประกอบด้วยกิจวัตรต่างๆ”

“ในด้านศาสนาจะหมายถึง จริยวัตรของท่านนบี(ศ) ทั้งวจนะ การกระทำและกิริยาท่าทีที่ท่านแสดงออก ทั้งที่มาจากตัวท่านเอง และจากตัวแทน”(๓)

อัล-อามีดีย์ นักการศาสนาในสายฮัมบะลีย์ อธิบายคำว่า

 ซุนนะฮฺไว้ดังนี้

“ในแง่ของภาษา ซุนนะฮฺ หมายถึง “แนวทาง” ถ้าพูดว่า “ซุนนะฮฺของคนๆหนึ่ง” ก็จะหมายความว่า“อะไรก็ตามที่คนผู้นั้นประพฤติปฏิบัติ สั่งสมมาเป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมที่ดีหรือไม่ก็ตาม”

แต่ในความหมายทางศาสนา คำนี้จะถูกนำมาใช้เรียกการเคารพภักดีประเภทสมัครใจทำด้วยตนเอง(นาฟิละฮฺ) ตามที่มีคำสั่งสอนมาจากท่านนบี(ศ)

การกระทำต่างๆ ที่เป็นหลักฐานทางศาสนบัญญัติจากท่านนบี(ศ) ที่เรียกว่าซุนนะฮฺนั้น

จะต้องมิใช่บทบัญญัติจากโองการอัล-กุรฺอาน มิใช่สิ่งที่เป็นปาฏิหาริย์และไม่เกี่ยวข้องกับการแสดงปาฏิหาริย์ ดังมีคำอธิบายต่อไปนี้

“ที่เรียกว่าซุนนะฮฺนั้นได้แก่ คำพูด การกระทำ และท่าทีการแสดงออกของท่านนบี(ศ)” (๔)

ด้วยเหตุนี้ เราสามารถเข้าใจว่า ซุนนะฮฺ ในแง่ของภาษา หมายถึง แนวทางการประพฤติ ปฏิบัติหรือกิจวัตรประจำ แต่ในด้านวิชาการ นักปราชญ์ให้ความหมายว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมาจากท่านศาสนทูต ในด้าน คำพูด การกระทำ และท่าทีที่ท่านแสดงออก”

คำว่า “ซุนนะฮฺ”จะถูกนำมาใช้กับจริยวัตรของท่านศาสนทูต (ศ) ที่เป็นงานประเภทนาฟิละฮฺ และมุสตะฮับ (การกระทำที่ชอบทางศาสนา) ดังนั้นกิจกรรมประเภทนี้ จึงถูกเรียกว่า “ซุนนะฮฺของนบี” ด้วย

นักการศาสนายังใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ” ในความหมายที่ตรงข้ามกับคำว่า “บิดอะฮฺ” อีกความหมายหนึ่ง เช่นจะกล่าวว่า “เรื่องนี้เป็นซุนนะฮฺ” ถ้าหากพวกเขาหมายถึง การกระทำต่างๆ ที่สอดคล้องกับพื้นฐานทางศาสนา(๕) และจะกล่าวว่า “เรื่องนี้เป็นบิดอะฮฺ” ในเมื่อประเพณีใดๆ เข้ามา

อยู่ในกิจกรรมทางศาสนา โดยไม่มีพื้นฐานมาจากศาสนา

เพราะฉะนั้น เมื่อเราจะกล่าวถึงคำว่า “ซุนนะฮฺ”ทางด้านวิชาการก็จะเป็นไปตามความหมายเหล่านี้ ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง สุดแต่จะใช้ในสภาพการณ์ใด

กล่าวคือ เราจะใช้คำว่า “ซุนนะฮฺ”เมื่อต้องการจะพูดถึงวจนะ การกระทำ และท่าทีการแสดงออกของท่านนบี (ศ)

อาจใช้เรียกกิจการอื่นได้อีก เช่น เรียกกิจกรรมประเภทนาฟิละฮ

และมุสตะฮับต่างๆ ที่ท่านศาสนทูตเคยกระทำ

อาจใช้เรียกกิจการอื่นๆที่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติทางศาสนาอันมีลักษณะตรงข้ามกับกิจการที่ไม่มีพื้นฐานตามหลักศาสนา ที่เรียกว่า “บิดอะฮฺ”

จึงมักมีการเรียกสิ่งนั้น สิ่งนี้ว่า เป็นซุนนะฮฺบ้าง เป็นบิดอะฮฺบ้าง

ซุนนะฮฺประเภทต่างๆ

นับแต่ได้มีวะหฺยูถูกประทานลงมายังศาสดามุฮัมมัดผู้ทรงเกียรติ(ศ)ที่เมืองมักกะฮฺท่านก็ได้

เริ่มประกาศศาสนาและอธิบายบทบัญญัติและวิชาการต่างๆแก่ประชาชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับคำพูดและการกระทำ

คำสั่งแรกที่ท่านได้รับบัญชามาสอนบรรดามุสลิม ในด้านการเคารพภักดีหลังจากประกาศ หลักเอกภาพแล้ว คือ เรื่องทำวุฎู และนมาซ

คนมุสลิมก็ได้รับรู้เรื่องนี้มาจากท่าน ต่อมาท่านก็เริ่มลงมืออธิบายกฏเกณฑ์ทางศาสนา

กฎเกณฑ์ทางสังคม แนวทางในการประกาศศาสนา และหลักปฏิบัติต่อฝ่ายศัตรู ทั้งหมดนี้ ได้ประกอบกันเป็นที่มาของบทบัญญัติทางศาสนา

เมื่อท่านอพยพไปเมืองมะดีนะฮฺ เหตุการณ์ในคราวนั้น  ถือเป็นอัตชีวประวัติและซุนนะฮฺ

ส่วนหนึ่งด้วย หลังจากท่านได้ปกครองเมืองมะดีนะฮฺ ท่านได้นำหลักการศาสนามาใช้ โดยแสดงบทเทศนาสั่งสอนด้วยวจนะ อีกทั้งส่วนเป็นข้อเขียนและรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างเป็นกิจจะลักษณะ

กล่าวคือ แนวทางของท่านที่ให้ไว้ทั้งในด้านการเคารพภักดี การปกครอง การบริหาร การใช้อำนาจรัฐ การพิพากษาคดีความ การปฏิบัติต่อครอบครัว ต่ออะฮฺลุลบัยตฺ ต่อบรรดาสาวก ต่อบรรดาศัตรูในกลุ่มอะฮฺลุลกิตาบ และที่ปฏิบัติต่อพวกมุชริก ทั้งในยามรบและในยามสงบ

๑๐

รวมถึงเจตนารมณ์ในการจัดตั้งรัฐ กิจการทางสังคม การเป็นผู้นำทัพ การอธิบายบทบัญญัติจากอัล-กุรอาน ตลอดจนด้านอื่นๆ ล้วนเป็น สิ่งที่ได้ชื่อเรียกว่า “ซุนนะฮฺ” หรือจริยวัตรในการดำเนินชีวิตของท่านทั้งสิ้น

โดยท่านนบี(ศ) ได้ดำเนินงานในการอธิบายคำสอน ประกาศศาสนาด้วยการพูด การกระทำ และการดำเนินชีวิตอย่างเป็นรูปธรรม จึงมีผลให้เกิด ระเบียบทางสังคมอย่างเป็นวิชาการ

ด้านหนึ่งขึ้นมา เช่น ในเรื่องการค้าขาย การว่าจ้าง มรดก การแต่งงาน และการหย่า...ฯลฯ

ท่านได้สอนให้ยึดถือในหลักการบางอย่าง แล้วให้ปฏิเสธหลักการอีกบางอย่าง ที่ตั้งอยู่บน

พื้นฐานของบทบัญญัติและปรัชญาทางศาสนา ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงสร้างทางสังคม

๑๑

ใช่แต่เท่านั้น หากสาวกของท่านบางคน ได้กระทำกิจการใดๆ ลงไป แล้วท่านวางเฉย ไม่แสดงท่าทีใดๆ ที่ปฏิเสธ ไม่คัดค้านการกระทำอันนั้น เพราะท่านเห็นว่า เป็นกิจกรรมที่อยู่ในปรัชญาทางศาสนา และไม่ขัดแย้งกัน ก็ถือว่ากิจกรรมอันนั้นเป็นมรดกทางด้านศาสนบัญญัติอีก

ส่วนหนึ่ง และเป็นที่มาของการเคลื่อนไหวไปสู่การปฏิวัติทางความคิด และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานอย่างสิ้นเชิง

ดังได้กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า คำสอนต่างๆ ที่ท่านนบี(ศ) หยิบยื่นให้ไม่ว่าจะเป็นคำปราศรัยของท่านที่ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่สังคมประชาชาติและมนุษยชาติในรุ่นหลัง โดยวิถีการดำเนินชีวิต และแนวทางการปฏิบัติ รวมถึงการวางเฉยที่แสดงว่าท่านยอมรับต่อพฤติกรรมบางอย่าง เท่ากับเป็นการอธิบายหลักเกณฑ์ของอัล-กุรอาน และเป้าหมายต่างๆ ในคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าเป็นการอธิบายที่สร้างพื้นฐานทางความคิด และความจริงจากบทบัญญัติทางศาสนาที่ท่านได้รับวะหฺยูมาจากอัลลอฮฺ มาเผยแก่มนุษย์

๑๒

 

มรดกเหล่านี้ที่มาจากท่านนบี ได้ถูกรวบรวมและวิเคราะห์ไว้ในตำราฮะดีษอันถูกแบ่งออกเป็นสามประเภท ตามลักษณะที่เรื่องราวเหล่านั้นปรากฏออกมาจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) ดังนี้

๑ – วจนะของท่านศาสดา

หมายถึง การอธิบายของท่านศาสนทูต(ศ) โดยคำพูด จะเป็นคุฏบะฮฺ เป็นวจนะต่างๆ เป็นการชี้แนะ การตอบข้อซักถาม เป็นสาส์น ที่ท่านเขียนส่งไปยังบุคคลต่างๆ ตามที่ท่านสนทนากับพวกเขาด้วยสาส์น หรือบันทึกข้อตกลงทางการเมือง หรือคำอธิบายความหมายของอัล-กุรฺอาน

เป็นที่แน่ชัดว่า ท่านศาสดาผู้ทรงเกียรติ(ศ) เทศนาสั่งสอนประชาชนด้วยภาษาอาหรับ ในวิธีที่พวกเขาเคยชิน เพราะท่านต้องการประกาศเชิญชวนพวกเหล่านั้นเข้าสู่อิสลาม และรับรู้คำอธิบายกฎเกณฑ์ทางศาสนาและความรู้ต่างๆ ทางด้านความเชื่อ

ดังนั้น การเทศนาของท่านจึงมีทั้งคำพูด และวิธีการที่เป็นไปอย่างตรงไปตรงมา เปรียบเปรย อุปมาอุปมัย และเป็นคำพูดแบบผสมผสาน มีทั้งที่ท่านพูดกับคนทั่วไป และที่พูดเจาะจงกับบางคนโดยเฉพาะ มีทั้งที่พูดโดยวางเงื่อนไข และที่เป็นคำแถลงการณ์อย่างตรงไปตรงมา ทั้งประเภทคำสั่งห้าม และการอนุโลม...ฯลฯทั้งหลายเหล่านี้ เราจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ และต้องมีมาตรการกำหนดกรอบของความหมาย และลักษณะของกฎเกณฑ์ทางศาสนาที่มีอยู่ในคำพูดประเภทต่างๆ เหล่านั้นของท่านนบี(ศ)

๑๓

๒ – การกระทำของท่านศาสดา (ศ)

การกระทำใดๆ ของท่านนบี(ศ) ที่แสดงออกมาเป็นกิจจะลักษณะนั้นถือว่า เป็นกฎ เป็นมาตรการ และเป็นวิถีการดำเนินชีวิตตามหลักการอิสลาม

ศาสนาอิสลาม เป็นทั้งหลักปฏิบัติ เป็นทั้งคำสอนในพื้นฐานของการดำรงชีวิต

ด้วยเหตุนี้ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) มีฐานะเป็นผู้จัดตั้งวิถีทางแห่งการดำเนินชีวิต และเป็นผู้ที่กำหนดกฏเกณฑ์ทางศาสนา เป้าหมายทางการเมือง การเคารพภักดี แนวทางการประกาศศาสนา

การต่อสู้ การอยู่ร่วมกันในสังคม และอื่นๆ โดยพฤติกรรมและการกระทำของท่าน

อัล-กุรฺอานมีบัญชามายังประชาชาตินี้ว่า ให้ยึดมั่นตามหลักปฏิบัติของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ) เพราะท่านเป็นผู้ประกาศศาสนา ทั้งโดยคำพูด โดยการกระทำและท่าทีการแสดงออก ทั้งนี้ เพราะว่าท่านเป็นมะอฺศูม (ผู้ถูกปกป้องให้พ้นจากความบาป) ปราศจากความผิดพลาดในทุกสิ่งทุกอย่างที่เผยออกมาจากตัวท่าน

ดังมีโองการความว่า

“และอันใดที่ศาสนทูตได้นำมายังสูเจ้า ดังนั้น สูเจ้าจงยึดถือและอันใดที่เขาห้ามสูเจ้าก็จงหยุดเสีย”

๑๔

“แน่นอน ในตัวของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺนั้น มีแบบฉบับสำหรับสูเจ้าอย่างดีเลิศ”

การกระทำใดๆ ของท่านศาสนทูต(ศ) จึงเป็นบทบัญญัติทางศาสนาและถือว่า เป็นหลักปฏิบัติในด้านกฏเกณฑ์ของศาสนาอิสลาม

คำอธิบายว่าด้วยการกระทำของท่านนบี(ศ)

นักปราชญ์ได้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียด เกี่ยวกับการกระทำของท่านนบีเพื่อความเข้าใจและจำแนกกฎเกณฑ์ทางศาสนาออกมา

เราสามารถแบ่งลักษณะของการกระทำในสิ่งต่างๆ ของท่านศาสนทูต(ศ) ออกเป็นประเภทต่างๆดังนี้

๑ - ประเภทที่เป็นเรื่องส่วนตัวของท่านเอง เช่น ท่านสามารถแต่งงานมีภรรยาได้มากกว่า ๔คน การกระทำในลักษณะนี้ ไม่ถือเป็นกฎสำหรับคนอื่นๆ

๒ - ประเภทที่มีผลต่อคนในสังคม ได้แก่ การกระทำต่างๆ ของท่านในภาวะปกติ เช่น การ

ใช้ภาษาพูดเหมือนคนทั้งหลาย เพื่อให้พวกเขาเข้าใจในคำสอนของท่าน กฎเกณฑ์ในข้อนี้ ถือว่าครอบคลุมถึงคนอื่นๆ และเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งสำหรับพวกเขา

๑๕

๓ - ประเภทที่กระทำเหมือนกับคนทั้งหลายที่มีหน้าที่ต้องกระทำ จึงถือว่าเป็นกฏที่ครอบคลุมถึงผู้ทำหน้าที่ตามหลักศาสนาทุกคนในการดำเนินชีวิต

๔ - ประเภทที่กระทำในฐานะนบี ที่อธิบายให้ความรู้แก่ประชาชน

๕ - ประเภทที่กระทำในฐานะผู้ปกครอง และใช้อำนาจรัฐต่อบรรดามุสลิม การกระทำในข้อนี้ ถือว่าครอบคลุมถึงผู้ปกครองทางศาสนาทุกคน ซึ่งทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของคนมุสลิม

ในทุกยุคทุกสมัย นั่นคือหน้าที่ในการปกครองโดยผู้มีอำนาจสูงสุดผู้เดียว เช่น การลงนามทำสนธิสัญญา ในนามประชาชนการประกาศสงครามและประกาศยุติสงคราม

จากการศึกษาในเชิงวิชาการ ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า เป็นไปไม่ได้เลยที่ท่านศาสนทูตจะกระทำในสิ่งต้องห้ามเพราะท่านมีฐานะเป็นมะอฺศูมผู้ประกาศศาสนาจากอัลลอฮฺ ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านได้กระทำต้องอยู่ในกฏที่เป็นหะลาล (ถูกอนุมัติตามหลักศาสนา) และเป็นวาญิบ (หน้าที่ที่ต้องกระทำตามหลักศาสนา) ทั้งสิ้น ส่วนสิ่งใดที่ท่านงดเว้น ไม่กระทำ หมายความ ว่า สิ่งนั้นมิใช่วาญิบ

๑๖

ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ถึง ลักษณะการกระทำสิ่งต่างๆ ของท่านศาสนทูต โดยพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่อธิบายการกระทำนั้นๆ ของท่าน เพื่อเราจะได้รู้ว่า ที่ท่านศาสนทูตได้กระทำอย่างนั้น อย่างนี้ ลงไป อย่างไหนบ้าง ที่อยู่ในประเภทวาญิบ ประเภทมุสตะหับ หรือเป็นเพียงการอนุโลม

เพราะมักรุฮฺ เป็นเรื่องหนึ่งที่อนุโลมให้กระได้ อีกทั้งเพื่อจะได้เข้าใจว่าสิ่งที่ท่านงดเว้นนั้น เป็นหะรอม (ต้องห้ามตามหลักศาสนา)

 หรือว่า เป็นมุบาหฺ (อนุโลม) เพราะว่าสิ่งที่ท่านงดเว้นนั้นมี ๒ ประเภท คือ มุบาหฺและหะรอม แต่ท่านศาสนทูต (ศ) จะไม่งดเว้นกิจกรรมที่เป็นวาญิบอย่างเด็ดขาด

การพิจารณาโดยละเอียดเช่นนี้ จะช่วยเปิดประตูในการแสวงหากฎเกณฑ์ทางศาสนาให้แก่เราได้อย่างกว้างขวาง จนเราได้รู้ว่าสิ่งใดเป็นวาญิบ สิ่งใดเป็นหะลาล และสิ่งใดเป็นหะรอม

๑๗

ในบางครั้งท่านจะอธิบายการกระทำของท่าน ด้วยคำพูดของท่านเอง หรือบางครั้ง เหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในเวลานั้นจะอธิบายให้โดยปริยาย เพื่อเราจะได้รู้ว่าสิ่งใดเป็นวาญิบ หรือมุสตะฮับ หรือมุบาหฺโดยอาศัยการอธิบายจากคำพูดของท่าน หรือจากสภาพของเหตุการณ์ในยามนั้นเป็นข้อบ่งชี้

ขณะเดียวกับกรณีที่ท่านงดเว้น จากการกระทำในสิ่งหนึ่งสิ่งใด เราก็จะสามารถอาศัยคำพูดและเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้น อธิบายได้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็นหะรอมหรือมุบาหฺ เพราะการที่ท่านงดเว้นไม่กระทำนั้น มีทั้งที่เป็นหะรอมและมุบาหฺ

๓ - การแสดงออกซึ่งการรับรอง ในภาษาอาหรับใช้คำว่า “อิกร้อร” หมายถึง การยืนยันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (๖)

นอกจากนี้ ยังหมายถึง “การให้ความยอมรับ และยืนยัน การให้ความเห็นชอบ หรือการบันทึก การเซ็นรับรองโดยผู้มีอำนาจหน้าที่ใน การรับรอง”(๗)

ด้วยเหตุนี้ เราจึงเข้าใจว่า ท่าทีการแสดงออกของท่านศาสนทูต หมายถึง การเซ็นรับรองและความเห็นชอบจากท่านในการกระทำ หรือการพูดในเรื่องใดๆ ที่ท่านได้รู้เห็นจากบุคคลใด หรือจากกลุ่มบุคคลใดหรือสังคมใด แล้วท่านไม่ยับยั้งเรื่องเหล่านั้น

๑๘

ดังกล่าวนี้ หมายถึงความพอใจและความเห็นชอบของท่าน จึงถือว่าเรื่องราวเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของท่านซุนนะฮฺ และศาสนบัญญัติ เพราะถ้าหากการกระทำหรือคำพูดเหล่านั้น ขัดกับหลักศาสนาเป็นที่แน่นอนว่าท่านจะต้องยับยั้งและไม่พึงพอใจ

ตัวอย่างเช่น ท่านศาสนทูตได้รู้เห็นว่าประชาชนยอมรับฟังคำบอกเล่าที่ถ่ายทอดมาโดยคน คนเดียวแล้วให้ความเชื่อถือ เพราะคนผู้นั้นมีความสำคัญในหมู่คณะ แล้วท่านวางเฉย และไม่ทักท้วงแต่อย่างใด

จากเรื่องนี้ ทำให้เราเข้าใจได้ว่า การที่ท่านวางเฉย หมายถึงท่านยอมรับว่า ความเชื่อถือที่มีต่อคำบอกเล่าของคนคนเดียวนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เราจึงถือเป็นหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาบทรายงานที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ สมัยหลังจากที่ท่านรายงานมาโดยคนคนเดียว เมื่อคนผู้นั้นมีความน่าเชื่อถือ

*มักรูฮฺ คือ สิ่งที่ศาสนาเน้นให้งดเว้น แต่ไม่กำหนดโทษ แก่ผู้กระทำ เช่น ไอในเวลานมาซ, ถ่ายปัสสาวะลงในน้ำนิ่ง, การนอนหลับจนตะวัน ฯลฯ

ซึ่งเราไม่ต้องวางเงื่อนไขว่า ผู้รายงานบอกเล่าแต่ละเรื่องจะต้องมี ๒ หรือ ๔ คน รายงานว่า มาจากท่านนบีหรืออิมาม แล้วจึงจะยอมรับโดยเปรียบเทียบกับกฎว่าด้วยพยาน หรือการสืบสวนคดีความ

๑๙

ทั้งนี้ เพราะว่าการกระทำในทุกๆ เรื่องที่ปรากฏขึ้นโดยคนๆ เดียว หรือจากสังคมเดียว ถ้าหากท่านศาสนทูต(ศ) ทราบเรื่องแล้วไม่ห้าม ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในหลักศาสนา เนื่องจากการที่ท่านศาสนทูต(ศ) วางเฉยและไม่สั่งห้ามในสิ่งใดๆ นั้นหมายความว่าท่านให้การรับรองและเห็นชอบซึ่งถือเป็นหลักฐานได้ว่า สิ่งนั้นๆ ถูกต้อง และชอบด้วยหลักศาสนา

จึงถือได้ว่า การยอมรับบทรายงานจากคนคนเดียว สามารถเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งในการพิสูจน์ถึงบทบัญญัติทางศาสนาได้

ถ้อยคำและลักษณะต่างๆ ที่แสดงเหตุผล

จากการศึกษาวิเคราะห์คำเทศนาต่างๆ ของท่านนบี(ศ) จะพบว่าบทบัญญัติทางศาสนา ความรู้ และหลักความคิดด้านต่างๆ นั้น เป็นผลที่เกิดขึ้นจากลักษณะของการพูดของท่านเอง

ลักษณะในการพูดมีอยู่ด้วยกัน ๓ ประเภทคือ

ก. เป็นข้อบัญญัติ(นัศ) หมายถึง คำพูดที่ให้ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งชัดเจน แจ่มแจ้ง จนสามารถเชื่อมั่นได้ว่า ไม่มีทางที่ความหมายจะโน้มไปทางอื่นอีก โดยหลักเกณฑ์ของภาษา หรือ องค์ประกอบที่วางเป็นกรอบไว้ให้เข้าใจความหมายอย่างนี้ เช่นคำกล่าวของท่านที่ว่า

๒๐

นอกจากการดำรงไว้ซึ่งอิสลาม ตามแนวทางที่ท่านศาสดาวางไว้ ท่านแสดงความรับผิดชอบตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายสำหรับท่านแต่ผู้เดียวจากพระผู้ทรงสร้าง และได้ทำตามพระประสงค์อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

มารดาของมูซา (โมเสส) ไม่สามารถทนต่อการพรากจากลูกน้อยของเธอได้ แต่สำหรับท่านหญิงซัยนับต้องพลัดพรากจากลูกชายสุดที่รักทั้งสองจากการถูกสังหาร และยังต้องเห็นสภาพของสมาชิกในครอบครัวของท่านถึง ๑๗ ชีวิต ต้องถูกตัดขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ศีรษะถูกเสียบไว้ที่ปลายหอก

ท่านศาสดาได้รวมท่านหญิงไว้ในครอบครัววงศ์วานของท่าน

(อะฮ์ลุลบัยต์) ท่านหญิงสมควรที่จะได้รับสิทธิในคำกล่าวอำนวยพร (ซอละวาต) ที่เรากล่าวหลังการนมาซ เพราะท่านหญิงคือส่วนหนึ่งของท่านศาสดาและเป็นทายาทที่ใกล้ชิดของท่าน

๒๑

ความมหัศจรรย์

รายงานต่อไปนี้ถูกบันทึกโดย ท่านฮัจญีซัยยิด มุฮัมมัด บากิรแห่งสุลตอนสานาบาด ซึ่งปรากฏในหนังสือ ‘ดารุสสลาม ของฮัจญีมิรซาฮูเซน นูรี และยังปรากฏในหนังสือ ‘กุลซาร อัคบารี’ ท่านได้บันทึกไว้ว่า

 “เมื่อตัวฉันกำลังศึกษาศาสนาอยู่ที่เมืองบูรูกาด ในอิหร่าน ฉันได้ล้มป่วยลง มีอาการติดเชื้ออย่างรุนแรงที่ดวงตา จึงต้องกลับไปยังบ้านเกิด และที่นั่นฉันได้รับคำแนะนำให้ไปที่กัรบะลา เพื่อรับการรักษาโรคนี้ ฉันจึงเดินทางไปอิรัก ในช่วงหลังนี้อาการอักเสบหนักขึ้น จนต้องใช้พลาสเตอร์ปิดตาไว้

วันหนึ่งฉันนอนหลับไป ในความฝันฉันมองเห็นท่านหญิงซัยนับ ท่านหญิงเข้ามาใกล้ฉันและใช้ชายผ้าคลุมศีรษะของท่านลูบไปบนดวงตาของฉัน เมื่อฉันรู้สึกตัวตื่นขึ้น รู้สึกว่าอาการปวดที่ตาหายไปและรู้สึกสบายขึ้น

ในตอนเช้าฉันได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้แก่ผู้แสวงบุญคนอื่นๆ ฟัง และเพื่อเป็นการพิสูจน์ความจริง

๒๒

พวกเขาได้เปิดพลาสเตอร์ที่ปิดตาของฉันออก และพบว่าดวงตาของฉันหายบวมและกลับสู่สภาพปกติเหมือนเดิม ฉันขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าในการช่วยเหลือ โดยการขอการสงเคราะห์ (ชะฟาอะฮ์) ผ่านท่านหญิงซัยนับ”

ความรู้ของบรรดาวงศ์วานของท่านศาสดา (อะฮ์ลุลบัยต์) ได้รับโดยตรงจากพระผู้เป็นเจ้า พวกท่านไม่เคยได้รับจากผู้อื่น พวกท่านสามารถรับรู้เรื่องราวเหตุการณ์ทั้งในอดีตและอนาคต และถ้าจำเป็นพวกท่านก็จะเป็นกลุ่มแรกที่แจ้งให้ผู้คนของท่านทราบเหตุการณ์นั้นๆ ท่านจะแนะนำชี้แนะพวกเขาสู่

แนวทางที่เที่ยงตรงและถูกต้อง จะสอนพวกเขาให้ดำเนินชีวิตไปตามแนวทางที่ท่านศาสดาวางไว้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มีความรอบรู้และลึกซึ้งในคำสอนของศาสนาเหมือนกับบรรดาอิมาม

ท่านหญิงซัยนับ ก็ได้สืบทอดมรดกในคุณสมบัตินี้มาจากมารดาของท่าน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่า ท่านหญิงซัยนับมีความสามารถเทียบเท่าบรรดาอิมาม

๒๓

สิ่งที่เป็นข้อพิสูจน์เหนือความสงสัยทั้งปวงก็คือ สุนทรพจน์ของท่านหญิงที่เมืองกูฟะฮ์ หลังจากอิมามซัยนุลอาบิดีนได้ยินคำปราศรัย ท่านจึงกล่าวว่า

 “ด้วยการสรรเสริญต่ออัลลอฮ์ ท่านอามีความรู้ในเรื่องพระผู้เป็นเจ้า โดยไม่ต้องเรียนรู้มาจากผู้ใดในโลกนี้ นอกจากพระเจ้าเป็นผู้ประทานวิทยปัญญาให้กับอา”

ขณะท่านอยู่ที่เมืองกูฟะฮ์ ท่านได้จัดชั้นเรียนขึ้นเพื่อสอนบรรดาสตรีให้เข้าใจความหมายอัล กุรอาน พร้อมทั้งอบรมเกี่ยวกับเรื่องของศาสนา ครั้งหนึ่งขณะที่ท่านหญิงกำลังอธิบายความหมายของอัลกุรอานในบทที่มีอักษร กาฟ ฮา ยา อีน ซ๊อด อิมามอะลีบิดาของท่านเดินผ่านมาจึงหยุดฟัง และได้ยินว่า ท่านหญิงกำลังอธิบายบทนี้นี้อยู่ เมื่อชั้นเรียนเลิก อิมามอะลีได้บอกท่านหญิงถึงโองการที่เกี่ยวกับคำ ๕ คำนี้ ว่าเป็นความลี้ลับ ซึ่งอธิบายถึงความยากลำบาก ความทุกข์ทรมานที่ทายาทลูกหลานของท่านศาสดาของพระผู้เป็นเจ้าจะต้องถูกทดสอบ ความทุกข์ยากนี้จะเกิดขึ้นกับท่านหญิง แต่สิ่งนี้นั้นทำให้บิดาของท่านทุกข์ทรมานยิ่งกว่า จนไม่อาจคิดคำนึงถึงได้

๒๔

เชค ซอดูก ได้รับการบอกเล่าจากอิมามมุฮัมมัด มะฮ์ดี ดังนี้

ท่านอิมามอธิบายให้เขารับฟังว่า คำว่า

“กาฟ, ฮา ยา อีน ซ๊อด” เป็นคำที่ลี้ลับจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งคำเหล่านี้ได้รับการอธิบายจากพระองค์ ให้แก่ศาสดาซะกะรียา เมื่อครั้งที่ท่านวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าให้ท่านรู้จักนามผู้บริสุทธิ์ทั้งห้า (ปัญจตาน)

ด้วยเหตุนี้ ญิบรออีล จึงถูกส่งลงมาเพื่อสอนนามทั้งห้าแก่ท่านศาสดา เมื่อท่านศาสดาซะกะรียาได้กล่าวนามของศาสดามุฮัมมัด อิมามอะลี ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อิมามฮาซัน ท่านรู้สึกมีความสุขและลืมเรื่องราวความทุกข์โศกต่างๆ ลงได้ แต่เมื่อท่านกล่าวถึงนามของอิมามฮูเซน น้ำตาของท่านก็เริ่มไหลรินและรู้สึกเศร้าใจอย่างสุดซึ้ง ท่านจึงวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า

“โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์! ยามเมื่อข้าพระองค์กล่าวนามทั้งสี่ท่านแรก ข้าพระองค์รู้สึกมีความสุขและสดชื่นหัวใจ แต่เมื่อข้าพระองค์

๒๕

กล่าวนามที่ห้า ทำไมดวงตาของข้าพระองค์จึงเต็มไปด้วยหยาดน้ำตา และร่ำไห้ด้วยเสียงอันดัง พร้อมกับรู้สึกโศกเศร้า?” และแล้วเรื่องราวของเหตุการณ์สำคัญนั้น ก็ได้ถูกเปิดเผยให้รับรู้

 ‘กาฟ’ หมายถึง กัรบะลา, ‘ฮา’ หมายถึง ฮารอกัต คือ การทำลายและความตาย ,‘ยา’ หมายถึง ยะซีด ‘อีน’ หมายถึง อาฏอช คือ ความหิวกระหาย และ ‘ซ๊อด’ หมายถึง ซอบัร คือ ท่านอิมามฮูเซนผู้อดทน และกล้าหาญ

เมื่อท่านศาสดาซะกะรียา ได้รับรู้เรื่องราวเช่นนั้น ท่านจึงออกเดินทางไปยังมัสยิดและไม่ได้ออกมาเลยเป็นเวลา ๓ วัน และบอกกับผู้คนของท่านว่า ห้ามมิให้ใครมารบกวน เพราะท่านกำลังอยู่ในความโศกเศร้ากับเหตุการณ์ที่เพิ่งได้รับรู้มา

๒๖

นี่เป็นข้อเตือนใจอีกอย่างหนึ่งสำหรับผู้คนที่เย้ยหยันเรา ต่อการที่เราแสดงความโศกเศร้าเสียใจ

ต่ออิมามฮูเซน ผู้เป็นที่รัก ต่อความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสที่กัรบะลาและต่อขบวนคาราวานของเชลยที่ถูกทิ้งไว้เป็นภาระรับผิดชอบของท่านหญิงซัยนับ

ศาสดาซะกะรียา ได้วอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าว่า

“โอ้ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า! พระองค์จะทรงนำความโศกเศร้าให้แก่ลูกหลานของศาสดามุฮัมมัด ผู้ถูกสร้างที่ประเสริฐที่สุดของพระองค์กระนั้นหรือ?

พระองค์จะทรงยอมให้ความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสเกิดขึ้นกับครอบครัวของเขากระนั้นหรือ?

พระองค์จะทรงยินยอมให้อะลีและฟาฏิมะฮ์ต้องอดทน แม้เพียงแต่จะคิดถึงสิ่งนั้นกระนั้นหรือ?

๒๗

 

โอ้พระผู้เป็นเจ้า! โปรดประทานทายาทผู้สืบทอดให้แก่ข้าพระองค์ ผู้ซึ่งจะเป็นแสงสว่างแห่งดวงตาอันอ่อนล้าของข้าพระองค์ และจะได้เป็นผู้สืบทอดและมีความสัมพันธ์กันเหมือนกับศาสดามุฮัมมัดและอิมามฮูเซน”

 และแล้วคำวิงวอนของศาสดาซะกะรียาก็ได้รับการตอบรับ ท่านได้รับแจ้งข่าวดีในการให้กำเนิดศาสดายะห์ยา

ท่านเองเคยรับรู้ถึงการให้กำเนิดของท่านหญิงมัรยัมมาแล้ว แต่ก็ต้องประหลาดใจอย่างมาก เพราะเหตุว่าภรรยาของท่านเป็นหมัน และก็ล่วงเข้าสู่วัยชราแล้ว ตั้งแต่เยาว์วัย ยะห์ยา จะสวมเสื้อผ้าที่เรียบง่ายซึ่งทำจากปอ และยังชีพด้วยอาหารธรรมดาจากใบไม้แห้งๆ  สมัยเด็กท่านเคยอยู่กับนักบวชและผู้รู้ทางศาสนาที่ตั้งมั่นอยู่ในสัจธรรมอย่างเคร่งครัด ยะห์ยาเป็นญาติของศาสดาอีซา และเป็นที่รู้จักกันในนามของ จอห์น เดอะ แบ็บติสท์

๒๘

ยะห์ยา มีจิตใจที่อ่อนโยน เกรงกลัวในพระเจ้าอย่างมาก จนไม่สามารถทนฟังการกล่าวถึงการลงโทษต่างๆ ในนรกได้ ถ้าท่านได้ยินใครพูดถึงการทรมานในไฟนรก ท่านจะร่ำไห้และไม่สามารถควบคุมตัวเองต่อความเกรงกลัวในความกริ้วโกรธของพระเจ้าได้ จนต้องวิ่งหนีออกไปในทะเลทราย จนทำให้บิดา มารดาของท่านต้องรอนแรมไปในทะเลทรายเป็นวันๆ เพื่อจะตามหาท่าน

เหตุการณ์ลอบสังหารยะห์ยา

มเหสีของพระราชา มีธิดาแสนสวยที่เกิดจากสามีคนก่อนของนาง ขณะที่นางกำลังย่างเข้าสู่วัยชราและไม่ได้รับความสนใจจากพระราชา นางตั้งใจจะใช้ธิดาแสนสวยของนางผูกมัดและดึงความสนใจของพระราชา

 พระองค์ทรงปรึกษายะห์ยาเกี่ยวกับเรื่องการรับลูกเลี้ยงของพระองค์มาเป็นชายา แต่ศาสดายะห์ยาได้เตือนว่า นั่นเป็นข้อห้าม พระราชาจึงยกเลิกความตั้งใจนั้นเสีย ยังความไม่พอใจแก่มเหสีของพระองค์ ผู้เป็นมารดาของหญิงสาวเป็นอย่างมาก

๒๙

ดังนั้น วันหนึ่งขณะที่พระราชากำลังอยู่ในอาการเมามายเต็มที่ มเหสีของพระองค์จึงจัดการส่งลูกสาวของนาง ซึ่งแต่งกายด้วยอาภรณ์ที่สะดุดตาเป็นพิเศษ พระราชาเมามายจนครองสติไม่อยู่ จึงเข้าหานาง แต่มารดาของหญิงสาวตั้งข้อแม้ว่า พระองค์จะต้องนำเอาศีรษะของยะห์ยามามอบให้นางเป็นรางวัลตอบแทน พระราชาจึงสั่งให้นำศีรษะของยะห์ยามาให้พระองค์ในทันที เมื่อผู้รู้ทางศาสนาทราบเรื่องเกี่ยวกับคำบัญชาของพระองค์ ได้รีบไปเข้าเฝ้าและทูลว่า

“ถ้าแม้นเลือดของยะห์ยาแม้แต่เพียงหยดเดียวต้องหลั่งลงบนดิน จะไม่มีสิ่งใดเลยแม้แต่หญ้าจะงอกเงยได้อีก”

อย่างไรก็ตาม พระราชายังยืนยันคำสั่งเดิมที่จะต้องสังหารยะห์ยา โดยให้ทิ้งเลือดของท่านลงในบ่อ และนำศีรษะใส่ถาดมาให้ บางคนแนะนำผ่านไปทางคนสนิทของพระองค์ว่า บิดาของยะห์ยาเป็นผู้หนึ่งที่คำวอนขอของท่านจะได้รับการตอบรับจากพระเจ้าเสมอ ฉะนั้นศาสดาซะกะรียาควรที่จะถูกสังหารเสียก่อน เพื่อว่าจะได้ไม่มีโอกาสได้สาปแช่งพระองค์ในการสังหารยะห์ยา พระราชาจึงสั่งให้จัดการตามนั้น

๓๐

ขณะที่ศาสดาซะกะรียาและยะห์ยากำลังทำนมาซอยู่ในบ้านของท่าน คนของพระราชาก็มาถึงและจับตัวศาสดายะห์ยาไป แต่ศาสดาซะกะรียาหนีรอดไปได้ ในขณะที่ท่านถูกไล่ล่าโดยคนของพระราชา ในสภาพที่ไม่สามารถช่วยตัวเองได้ ศาสดาซะกะรียาได้สั่งให้ต้นไม้ที่อยู่ตรงหน้าท่านแยกตัวออก ท่านได้เข้าไปหลบในต้นไม้นั้น แล้วต้นไม้ก็ได้ประกบลำต้นกลับเหมือนเดิม โดยมีศาสดาซะกะรียาซ่อนอยู่ภายใน

แต่มารร้าย ศัตรูที่ชัดแจ้งของมนุษย์ ซึ่งไม่เคยยั้งมือไปจากผู้ถูกเลือกสรรจากพระองค์ เช่น ศาสดาซะกะรียา ด้วยการทำให้ชายเสื้อของท่านศาสดาโผล่ออกมาจากต้นไม้เพื่อการลวงล่อ เมื่อคนของพระราชาออกค้นหา มารร้ายในร่างของมนุษย์ได้พาพวกมันมายังต้นไม้ และชี้ให้ดูชายเสื้อที่โผล่ออกมา

พร้อมทั้งแนะนำให้สังหารศาสดาซะกะรียาโดยการตัดต้นไม้ออกเป็นสองท่อนด้วยเลื่อยที่มันเตรียมมาให้

๓๑

เมื่อศาสดารู้สึกตัวว่าร่างของท่านกำลังถูกตัดออกพร้อมกับต้นไม้ ได้มีเสียงหนึ่งดังขึ้นว่า

“จงระวัง โอ้ซะกะรียาเอ๋ย! ถ้าเจ้าส่งเสียงร้องหรือร้องขอความช่วยเหลือแม้แต่น้อย ชื่อของเจ้าจะถูกลบออกจากรายชื่อของบรรดาผู้อดทน”

ศาสดาซะกะรียาจึงยอมปล่อยให้ตัวเองถูกตัดออกด้วยอาการที่เงียบสงบ ไม่ยอมปริปากจากความทุกข์ทรมานและเจ็บปวด

ยะห์ยาถูกสังหาร เลือดของท่านถูกนำไปทิ้งในบ่อน้ำ ศีรษะถูกนำเสนอต่อพระราชา น้ำในบ่อกลายเป็นสายเลือดไหลพุ่งออกมาอย่างมากมาย ไม่ว่าผู้คนจะโยนก้อนดินใส่เข้าไปในบ่อมากมายสักเพียงใด เลือดก็ยังคงหลั่งไหลออกมาไม่หยุด ทำให้ดินที่ถูกโยนใส่เข้าไปในบ่อน้ำนั้นยกตัวสูงขึ้น เป็นกองดินสูงจนกลบปากบ่อ

๓๒

กลับมาสู่เรื่องของเราอีกครั้ง คุณสมบัติอันประเสริฐของท่านหญิงซัยนับอยู่ในระดับสูงสุด จนทำให้อิมามฮูเซนพี่ชายของท่าน มอบความไว้วางใจให้ดูแลรับผิดชอบบรรดาผู้ใกล้ชิดของท่าน ที่ถูกจับเป็นเชลย

 เนื่องจาก อิมามซัยนุลอาบิดีน กำลังอยู่ในอาการป่วยหนัก ท่านหญิงเคยเป็นผู้รายงานวจนะตามที่ ท่านได้เคยใช้ชีวิตร่วมอยู่กับท่านศาสดาเป็นเวลา ๕ ปีเต็ม

เชค ซอดูก และเชค ฏูซี ได้กล่าวว่า อะห์มัด บิน อิบรอฮีม เคยได้ยินจากท่านหญิงฮะกีมะฮ์ คอตูน (ป้าของท่านอิมามอัสการี) หลายเรื่อง และเรื่องหนึ่งคือ อิมามฮูเซน ได้กล่าวว่า ความรู้ของอิมามซัยนุลอาบิดีน มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันกับความรู้ของท่านหญิงซัยนับ

๓๓

 

ดังนั้นท่านจึงต้องรับภาระหน้าที่ของความเป็นอิมาม และด้วยเหตุนี้ ตำแหน่งของท่านหญิงจึงถูกยกขึ้นสูงเท่ากับตำแหน่งของบรรดาอิมาม

เรื่องราวเหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือ ตะรอซูล มัศฮับ และ มัจลิส มุตตะกีน ของท่านซัยยิด อลีมกอสวี อีกด้วย

หลังการสิ้นชีวิตของท่านศาสดา ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ต้องตกอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก นำความทุกข์ระทมมาสู่ท่านในเวลาต่อมา ท่านหญิงซัยนับบุตรสาวของท่านอายุได้ ๕ ขวบ ทั้งๆ ที่ยังอยู่ในวัยที่ไร้เดียงสา แต่ท่านได้ไปยังมัสยิดของท่านศาสดาเป็นประจำ ณ ที่นั้นเต็มไปด้วยบรรดาชาวผู้ช่วยเหลือ (อันศอร) และชาวผู้อพยพ (มุฮาญิรีน) ในมัสยิดมีม่านเล็กๆ กั้น หลังม่านนั้นเองท่านได้กล่าวคำปราศรัยซึ่งได้บรรยายถึง ความทุกข์ยากและปัญหาต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับมารดาของท่าน

การบรรยายครั้งนี้ใช้เวลานานถึงสองชั่วโมง ซึ่งมีผลอย่างมากกับบรรดาผู้ที่มาชุมนุมอยู่ ณ ที่นั่น ทำให้พวกเขาได้รับรู้ความจริงว่า ครอบครัวของท่านศาสดาถูกกระทำทารุณกรรมอย่างโหดร้ายเพียงใด

๓๔

ท่ามกลางผู้ชุมนุมในมัสยิด ครั้งนี้ มีท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ สมาชิกในครอบครัวของท่านและบรรดาสตรีชาวอาหรับร่วมนั่งอยู่ด้วย สุนทรพจน์ของท่านได้รับการกล่าวขวัญถึงในหลายๆ วาระเมื่อมีการรายงานกันในหมู่พวกเขา และตลอดชั่วชีวิตของท่านหญิงท่านได้จดจำเหตุการณ์นี้อยู่เสมอมาตลอดไป

ครั้งหนึ่งท่านหญิงได้ถามคำถามต่ออิมามอะลี ว่า “โอ้ ท่านพ่อ! ท่านรักหนูไหม?” อิมามอะลี ตอบว่า “แน่นอนที่สุด! แก้วตาของพ่อ”

ด้วยเหตุนี้ท่านหญิงจึงถามต่อไปว่า “โอ้ ท่านพ่อ! จะเป็นไปได้หรือ ที่ผู้หนึ่งจะมีสองความรักในหัวใจดวงเดียว ความรักในพระเจ้าและความรักในบุตรสาว?” พร้อมกันนี้ ท่านหญิงได้ตอบคำถามที่ท่านตั้งขึ้นเองว่า

 “ความรักที่บริสุทธิ์แท้จริง คือความรักในพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น

ส่วนความรักในบรรดาลูกๆ เป็นไปโดยพระประสงค์ของพระองค์

ด้วยเหตุนี้ การที่ท่านรักพวกเราจึงเป็นไปตามธรรมชาติ?”

บรรดาผู้ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการสืบทอดเรื่องราว และพิทักษ์รักษาแบบฉบับ (ซุนนะฮ์)  ของท่านศาสดาและบรรดาอิมามไว้

๓๕

นับเป็นผู้ที่ได้รับใช้แนวทางของอิสลามอย่างมากมาย และจัดอยู่ในฐานะที่สูงส่งในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า ท่านเหล่านั้นได้รับเกียรติให้เป็นผู้พิทักษ์ปกป้องศาสนา

 ท่านศาสดาเคยกล่าวว่า

 “ผู้ที่ปราดเปรื่องในความรู้ทางศาสนาอย่างแท้จริงนั้น มีฐานะเท่าเทียบกับศาสดาของบนีอิสรออีล”

ไม่มีข้อสงสัยเลยว่า การท่องจำและการถ่ายทอดวจนะของท่านศาสดาและคำสอนของท่านอิมาม เป็นแนวทางที่ถูกต้องในการเผยแผ่ศาสนา และบรรดาท่านเหล่านั้นย่อมเป็นที่รักของบรรดามะอ์ซูมผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย

บรรดาสตรีที่บันทึกจดจำวจนะของท่านศาสดา คือท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ท่านหญิงอุมมุสะลามะฮ์ ท่านหญิงอุมมุ อัยมัน และท่านหญิงซัยนับ

๓๖

อิบนิ อัซซารี ญุซารี นักปราชญ์ซุนนี เสียชีวิตในต้นฮิจเราะฮ์ศตวรรษที่ ๗ ได้บันทึกไว้ว่า

ท่านหญิงซัยนับ เป็นสตรีในบรรดาสาวกของท่านศาสดา ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านหญิงคือสตรีคนที่สามของ

อิสลามที่ได้รับเกียรติสูงสุด ท่านแรกคือ ท่านหญิงคอดิยะฮ์ กุบรอ คุณยายของท่าน ท่านที่สองคือ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ มารดาของท่าน และท่านที่สาม คือ ตัวท่านหญิงเอง

ท่านหญิงยังเป็นที่รู้จักในนาม ‘ซิดดีเกาะ ซุกรอ’ (ผู้ทรงคุณธรรม ผู้น้อย) และ ‘อุมมุล มะซออิบ’(มารดาแห่งการอดทน)

เมื่อใดก็ตามที่อับดุลลอฮ์ บุตรของอับบาส กล่าวถึงการดำเนินชีวิตของท่านหญิงซัยนับ เขาจะเริ่มด้วยการยกย่องว่าท่าน คือ ‘ฮาดะตะนะ อกีล ละตุนา’ ‘สตรีผู้ที่ปราดเปรื่องในหมู่ชนของเรา’

๓๗

การอุทิศตนเพื่อพระผู้เป็นเจ้า

ท่านหญิงเป็นผู้ที่ได้รับมรดกตกทอดมาจากมารดาของท่าน ผู้ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากศาสนทูตบิดาของท่าน ด้วยการใช้ชีวิตทั้งหมดไปกับการปฏิบัติศาสนกิจและปฏิบัติตนเพื่อหวังในความรักและความใกล้ชิดกับพระผู้สร้าง ทำให้บุตรสาวของท่านได้ดำเนินรอยตามเช่นเดียวกัน

ข้อพิสูจน์เหนือข้อสงสัยใดๆ เห็นได้จากการเดินทางไปในกองคาราวานของเชลยหลังจากเหตุการณ์ที่กัรบะลา

นอกเหนือจากศาสนกิจ ที่เป็นภารกิจประจำวันแล้ว ท่านไม่เคยละทิ้งนมาซที่ไม่ได้เป็นวาญิบ แต่ได้ผลบุญมากมาย

ในหนังสือ “กิบีตัย อัจมาร” อิมามซัยนุลอาบิดีน ได้กล่าวไว้ระหว่างการเดินทางจากกัรบะลาไปซีเรียว่า

๓๘

 “พวกเราถูกกระทำทารุณโหดร้ายอย่างเหลือคณานับ แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้ทำให้ท่านอาของฉันละทิ้งการนมาซศอลาตุลลัยล์ (นมาซยามค่ำคืน) ทั้งๆ ที่ท่านต้องได้รับความยากลำบากจากศัตรูอย่างมากมาย แต่ท่านก็จะทำนมาซในทุกๆ ที่ที่สามารถทำได้ ท่านไม่เคยละทิ้งนมาซนี้เลย

 เพราะว่า ท่านจดจำคำพูดสุดท้ายก่อนพลีชีพของพี่ชายท่านได้เสมอว่า

 “โอ้ น้องรัก! จงระลึกถึงพี่ในนมาซศอลาตุลลัยล์”

 “ยา อุคตาฮ์ ลาตันซีนี ฟีย์ นาฟิลาติลลัย”

ในหนังสือ ‘กิตาบ ค่อซาอิส’ บันทึกไว้ว่า ทั้งนักปราชญ์ซุนนีและชีอะฮ์ ได้กล่าวว่า จากทายาทของอับดุลมุฎฎอลิบ ซัยนับได้รับความโปรดปรานด้วยกับคุณสมบัติที่สูงส่ง ทั้งสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด ความกล้าหาญ บุคลิกภาพที่ดีเลิศ การอุทิศตนให้กับพระผู้เป็นเจ้า การอ้อนวอนวิงวอน

ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับปุถุชนธรรมดาที่จะยอมพลีทุกอย่างเพื่อศาสนา ซึ่งรวมถึงลูกๆ ของท่าน

๓๙

นับว่าเป็นการกระทำที่กล้าหาญ ยิ่งใหญ่ ซึ่งจะมิได้เฉพาะในบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับพระผู้เป็นเจ้า และก้าวไปถึงจุดสูงสุดของจิตวิญญาณที่สุดยอด

ตามธรรมดาของโลก มนุษย์จะคิดถึงแต่สิ่งที่ดีกว่าสำหรับลูกๆ และครอบครัวเสมอ แต่เมื่อผู้หนึ่งตัดสินใจเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระเจ้า และเมื่อมีทางออกเพียงทางเดียวที่จะพิทักษ์รักษาอิสลามไว้ด้วยการถูกสังหารหมู่ที่กัรบะลา คุณค่าทางด้านจิตวิญญาณอันสูงส่งของท่านหญิงซัยนับ ทำให้ท่านสามารถสละทุกสิ่งเพื่อความรุ่งโรจน์ของอิสลาม

เมื่อบรรดาผู้กล้าหาญชาญชัยเกิดความหวาดกลัว และเปลี่ยนใจเพราะสิ่งครอบงำที่ผิดธรรมดา ผู้หนึ่งจะอธิบายถึงความกล้าหาญของท่านในการดูแลขบวนเชลยอย่างไร?

ด้วยการที่ท่านหญิงคอดีญะฮ์ กุบรอ (ภรรยาคนแรกของท่านศาสดา) ได้วางรากฐานเสาหลักของอิสลาม และตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะสถาปนาศาสนาและสัจธรรม ท่านหญิงซัยนับก็เป็นเช่นเดียวกัน ที่พร้อมจะยอมพลีทุกสิ่งเพื่อพิทักษ์ศาสนาให้ยืนยงตลอดไป

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156