วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน25%

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 156

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 156 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 50999 / ดาวน์โหลด: 5841
ขนาด ขนาด ขนาด
วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

นักปราชญ์ได้จัดแบ่งกระบวนการของสื่อ(๗๗) ที่ทำให้สามารถยืนยันแหล่งที่มาของเรื่องที่ถูกอ้างว่ามาจากท่านนบีและบรรดาอิมามไว้

 สองประเภท ด้วยกัน คือ

๑- หลักฐานขั้นเด็ดขาด (ก็อฏอียะฮฺ)

๒- หลักฐานที่ไม่อยู่ในขั้นเด็ดขาด (ฆ็อยรุล ก็อฏอียะฮฺ)

ดังที่จะกล่าวถึงในแนวทางซึ่งให้ข้อมูลและคำอธิบายระดับหนึ่ง ต่อไปนี้

๑- หลักฐานขั้นเด็ดขาด ซึ่งจะประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้ คือ

ก.๑ บทรายงานที่ตรงกันเป็นเอกฉันท์

ข.๑ บทรายงานที่แวดล้อมไปด้วย องค์ประกอบของหลักฐานขั้นเด็ดขาด

ค.๑ การลงมติตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ของนักปราชญ์ (อิจติมาอฺ)

ง.๑ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ

จ.๑ การสนับสนุนจากผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ

ช.๑ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้มีสติปัญญา

ในลำดับต่อไป เราจะเสนอคำอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดพอเป็นสังเขปสำหรับแนวทางต่างๆ เหล่านี้

ก.๑ บทรายงานที่ตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ ดังจะได้อธิบายต่อไปในภายหลัง

ข.๑ บทรายงานที่แวดล้อมไปด้วย องค์ประกอบของหลักฐานขั้นเด็ดขาด

หมายความว่า บทรายงานที่ไม่มีลักษณะตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ จะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายหรือไม่ก็ตาม

๑๐๑

 หากแวดล้อมไปด้วยองค์ประกอบ และข้อพิสูจน์ต่างๆ ว่ามีที่มาจากท่านนบีหรืออิมามให้ถือว่าบทรายงานนั้น เป็นหลักฐานขั้นเด็ดขาดประการหนึ่งซึ่งสามารถเป็นสื่อนำไปสู่ซุนนะฮฺได้

ค.๑ การลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ของนักปราชญ์

เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ในการแสวงหาหลักฐานทางศาสนา “อัล-อิจมาอ์” มีคำจำกัดความว่า

“การลงมติร่วมกันระหว่างนักวิชาการและนักวินิจฉัยหลักการศาสนา (ฟัตวา) ส่วนมากเพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างละเอียดถี่ถ้วน จนได้มาซึ่งกฏเกณฑ์ทางศาสนา”(๗๙)

ดังนั้น หลักอิจมาอฺ จึงหมายถึง กรณีที่เราพบเห็นการวินิจฉัยความเรื่องใดๆ ก็ตามที่บรรดานักการศาสนา(ฟุเกาะฮาอ์) ลงมติเห็นพ้องอย่างเป็นเอกฉันท์โดยเราเองไม่รู้ว่าท่านเหล่านั้นยึดถือบทรายงานจากนักรายงานใดเป็นหลักสำหรับคำวินิจฉัยเหล่านั้น

เป็นอันว่า หลักอิจมาอฺเหล่านี้ ย่อมมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งจากซุนนะฮฺแน่นอนถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้ด้วยก็ตาม ฉะนั้น หลักอิจมาอฺ จึงเป็นหนึ่งในหลายๆ แนวทางที่เป็นสื่อนำไปสู่ซุนนะฮฺ

ง.๑ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ(๘๐)

ส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมและวิถีชีวิตของศ่อฮาบะฮฺที่เคร่งครัดในศาสนบัญญัติได้(ทั้งในสิ่งที่กระทำและงดเว้น) ซึ่งนักปราชญ์สาขาอุศูลุล-ฟิกฮฺได้อธิบายไว้

๑๐๒

ครั้นถ้าหากเรื่องราวจากวิถีชีวิตของบรรดาสาวกที่เคร่งครัดในศาสนบัญญัติจำนวนมากได้รับการถ่ายทอดออกมา ให้ถือว่า วิถีการดำเนินชีวิตเหล่านั้นในฐานะที่เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ คือข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีหลักฐาน

ท่านชะฮีด อัศ-ศ็อดร์ ได้อธิบายความหมายของวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ และหลักฐานที่แสดงว่าเป็นกฏเกณฑ์ทางศาสนาว่า

“หลักอิจมาอฺของบรรดานักปราชญ์ จะมีส่วนคล้ายคลึงกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ที่อยู่ร่วมสมัยและใกล้เคียงกับสมัยของบรรดามะศูมในการยึดถือเป็นหลักศาสนบัญญัติ ด้วยเหตุว่าท่านเหล่านั้นเป็นผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ”(๘๑)

ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า

“กล่าวสำหรับวิถีชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัตินั้น โดยหลักการ แล้วสามารถจะถือได้ว่า เป็นสื่อที่สะท้อนถึงหลักฐานทางศาสนา บนพื้นฐานที่ว่า ผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัตินั้น เมื่อจะดำเนินในวิถีทางใดก็จะมีลักษณะความเป็นไปของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ หมายความว่า

พวกเขาจะต้องเป็นคนที่ร่ำเรียนสิ่งเหล่านั้นมาจากหลักการศาสนา

ในทางตรงกันข้าม สมมติว่าแนวทางปฏิบัติดังกล่าวมิได้ประกาศออกไปให้เป็นที่รู้

๑๐๓

เนื่องจากความหลงลืม หรือหลงลืมคำตอบ ในกรณีที่ถ้าหากมีการประกาศให้รู้กันแล้ว ให้ถือว่าสมมติฐานเช่นนี้ ไม่มีน้ำหนักพอในการ หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็น ในเมื่อได้มีการพิจารณาในวิถีชีวิตทุกแง่มุม และสอดคล้องตรงกับผู้เคร่งครัดศาสนาเป็นจำนวนมากแล้ว”

ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวได้ว่า วิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ มีส่วนคล้ายคลึงกับหลักอิจมาอฺ เพราะทั้งสองหลักการต่างวางอยู่บนพื้นฐานที่เรียกว่าสื่อนำไปสู่ซุนนะฮฺประเภทอนุมาน

อย่างไรก็ดี การอิจมาอ์ได้แสดงออกถึงจุดยืนของคำวินิจฉัยตามทัศนะของนักการศาสนา

ส่วนวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัด แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เป็นหลักปฏิบัติทางศาสนาของผู้เคร่งครัด(๘๒)

ด้วยเหตุนี้ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัด ตามศาสนบัญญัติในบรรดาศ่อฮาบะฮฺ ได้ถูกยอมรับว่าเป็นสื่อสำคัญอย่างหนึ่งที่เปิดเผยให้รู้ถึงซุนนะฮฺนบี สามารถถือเป็นบทเรียน เป็นตัวอย่าง และเป็นหลักฐานในเรื่องซุนนะฮฺอีกประการหนึ่งด้วย

๑๐๔

หมายความว่า กฎเกณฑ์ทางศาสนาข้อใดที่ท่านศาสนทูตได้เผยแพร่ไว้ด้วยการกระทำก็ดี งดเว้นก็ดี หรือโดยการพูด การประพฤติปฎิบัติก็ดี แต่มิได้เป็นความรู้ตกทอดไปถึงพวกเรา เพียงแต่เรารู้ว่า ศ่อฮาบะฮฺหรือคนในสมัยใกล้เคียงกับท่านเคยกระทำ หรือเคยงดเว้นกิจการอันนี้ ก็ให้ถือเอาจุดยืนของพวกเขาต่อสิ่งนั้นๆ เป็นหลักการที่แสดงว่า นั่นคือซุนนะฮฺ มาจากท่านนบีขณะเดียวกับที่ถือว่า การกระทำใดๆ โดยศ่อฮาบะฮฺของท่านศาสนทูตหรือคนในสมัยใกล้เคียงที่เป็นคนเคร่งครัดในศาสนบัญญัติเป็นหลักฐานที่แสดงว่าเป็นซุนนะฮฺนบีการกระทำใดๆโดยมิตรสหายของบรรดาอิมาม (อ) หรือคนในสมัยใกล้เคียงที่เป็นคนเคร่งครัดในศาสนบัญญัติ ก็ย่อมเป็นหลักฐานที่แสดงว่าต้องมีที่มาจากบรรดาอิมาม (อ) อาจโดยคำสอนโดยการปฏิบัติหรือโดยมีท่าทีที่แสดงว่ารับรองแล้วเช่นกัน

จ.๑ การสนับของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ

ส่วนหนึ่งของสื่อในการนำเข้าสู่ซุนนะฮฺ ได้แก่ กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ

นั่นคือ หลักเกณฑ์ทางด้านศาสนาที่เกิดขึ้นโดยความเห็นชอบของผู้เคร่งครัดศาสนาที่อยู่สมัยเดียวกับท่านนบีหรืออิมาม ซึ่งเป็นผลลัพท์จากการที่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับหลักการศาสนามาเป็นเวลานาน เช่นสองชั่วคนหรือมากกว่านั้น

๑๐๕

ท่านซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม อธิบายถึงวิธีการก่อตัวขึ้นมาของสิ่งที่ถือว่าเป็นงานสนับสนุนโดยการยอมรับของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติว่า “งานที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนดังกล่าว จะเริ่มก่อตัวขึ้นในความเห็นของคนทั่วไปซึ่งไม่จำเป็นต้องอาศัยการออกคำฟัตวาติดต่อกัน เป็นเวลาถึงสองหรือสามชั่วคนว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นของต้องห้าม จนมันได้กลายเป็นหลักเกณฑ์ที่ครองจิตใจของคนทั้งหลายผู้เป็นนักปฏิบัติ (๘๓)

ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิจมาอ์

กับวิถีดำเนินชิวิตของผู้เคร่งครัดในหลักศาสนา

ชะฮีด อัศ-ศ้อดร์ ได้บอกเล่าถึง เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิจมาอฺกับวิถีชีวิตของผู้เคร่งครัดหลักศาสนาและหลักเกณฑ์อันเกิดจากการสนับสนุนของผู้เคร่งครัดในศาสนาว่า

“หลักอิจมาอฺ ดังได้กล่าวแล้วนั้นได้เผยถึงรายงานริวายะฮฺที่มิได้มาในรูปของข้อเขียนแต่ เป็นวิถีการดำเนินชีวิตในเชิงพฤติกรรมที่ปรากฏอยู่ในบรรดาผู้เคร่งครัดทางศาสนาโดยทั่วไป”(๘๔)

ท่านมีความเห็นว่า วิถีชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติดังกล่าวแล้วนั้นเปรียบเสมือนข้อต่อที่เชื่อมติดอยู่ระหว่างหลักอิจมาอฺกับหลักฐานทางศาสนา

๑๐๖

ในกรณีถ้าหากนักการศาสนา (ฟุเกาะฮาอ์) ลงมติร่วมกันสนับสนุนคำวินิจฉัยความเรื่องใด

เรื่องหนึ่งที่มิได้แนะนำให้รู้แน่ชัดเกี่ยวกับนักรายงานผู้ถ่ายทอดหลักเกณฑ์นั้นมาอันนี้สามารถคลี่คลายความสงสัยได้อย่างมั่นใจว่าคำวินิจฉัยอันได้จากหลักอิจมาอฺย่อมมาจากการประพฤติ

ปฏิบัติหรือไม่ก็เป็นหลักเกณฑ์จากการสนับสนุนอย่างใดอย่างหนึ่งจากผู้เคร่งครัด ในศาสนาที่อยู่ในสมัยที่มีการประทานบทบัญญัติ(๘๕)

หมายความว่า วิถีการดำเนินชีวิตและการสนับสนุนของผู้เคร่งครัดในศาสนาเป็นสองประการที่บันดาลใจให้บรรดานักปราชญ์วินิจฉัยความออกมาโดยหลักอิจมาอฺ ดังนั้น ทั้งสองประการจึงเป็นสื่อนำไปสู่หลักฐานตามบทบัญญัติศาสนา

ดังนั้น บรรดานักปราชญ์จึงลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ในการยึดถือวิถีการดำเนินชีวิตและการสนับสนุนของผู้เคร่งครัดในหลักศาสนา

 ท่านเหล่านั้นจึงวินิจฉัยความต่างๆ โดยอาศัยหลักการนั้น

ดังกล่าวนี้ คำวินิจฉัยจากหลักอิจมาอฺ จึงยึดหลักการตามวิถีชีวิตและการสนับสนุนของผู้เคร่งครัดในศาสนา

วิถีชีวิตและการสนับสนุนของผู้เคร่งครัดในศาสนาคือประตูที่เปิดออกไปสู่ซุนนะฮฺเพราะทั้งสองประการมีที่มาจากซุนนะฮฺ นั่นเอง

๑๐๗

ช.๑ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้มีสติปัญญา

หมายความว่า พฤติกรรมทางสังคมที่ผู้มีสติปัญญาในสมัยท่านนบีและอิมามปฏิบัติกันอยู่ ตามวิสัยของผู้มีสติปัญญา ซึ่งท่านนบีและอิมามมิได้ห้ามมิได้ยับยั้งพฤติกรรมเหล่านั้น ถือว่านี่คือ หลักฐานที่ถูกรับรองตามหลักการศาสนา

หากเราพบเห็นพฤติกรรมทางสังคมอย่างหนึ่งอย่างใดที่ประชาชนในสมัยท่านนบีหรืออิมามเคยประพฤติปฏิบัติแล้วไม่ปรากฏว่าพฤติกรรมทางสังคมนั้นๆ จะถูกสั่งห้ามดังนั้นเราจึงถือว่า พฤติกรรมดังกล่าวย่อมถูกรับรอง และถูกยอมรับแล้ว

ด้วยเหตุนี้เอง ถือว่าวิถีชีวิตของผู้มีสติปัญญาจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเข้าสู่ซุนนะฮฺของท่านนบี

ประการแรก เราได้ความเข้าใจว่า การรับรองของท่านนบีหรืออิมามที่มีต่อวิถีการดำเนินชีวิตของผู้มีสติปัญญานั้น หมายถึงการรับรองว่าพฤติกรรมทางสังคมแบบนั้นถูกต้องตามหลักศาสนา

เช่นเดียวกับประการที่สอง ที่เราสามารถทำความเข้าใจถึงกิจกรรมโดยทั่วไป อันมีผลในส่วนที่กว้างกว่าที่เคยถือปฏิบัติกันในสมัยนบีหรืออิมาม เมื่อเป็นที่รู้กันว่าพฤติกรรมทางสังคมที่มีผลในส่วนที่กว้างกว่าการกระทำในส่วนของปัจเจกชนเหล่านั้น ไม่เคยถูกสั่งห้ามจากท่านแต่อย่างใด

๑๐๘

๒ – หลักฐานในขั้นที่ไม่เด็ดขาด

หมายความว่า “กระบวนการแห่งหลักฐานที่นำไปสู่ซุนนะฮฺ ในลักษณะที่มีความบกพร่อง”(๘๖)

ข้อมูลอันได้จากหลักฐานประเภทนี้ สามารถนำมาเป็นข้อพิสูจน์ว่าเป็นหลักฐานจากซุนนะฮฺได้สองทาง คือ

ก.๒ มีหลักฐานขั้นเด็ดขาดสนับสนุนข้ออ้างนั้นๆ

ได้แก่ บทรายงานประเภทอัล-อาฮาด (รายงานจากนักรายงานคนเดียว) ที่กล่าวถึงหลักฐานจากพระคัมภีร์, ซุนนะฮฺ, หลักอิจมาอฺ, หลักเกณฑ์ ทางสติปัญญา, วิถีการดำเนินชีวิตของผู้มีสติปัญญา

ให้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ถูกรับรองให้ยึดเป็นหลักปฏิบัติได้ถึงแม้จะยังมีข้อสงสัยว่า มีแหล่งที่มาจากท่านนบี (ศ) หรือจากอิมามหรือไม่

ข.๒ ไม่มีหลักฐานขั้นเด็ดขาดสนับสนุนข้ออ้างของมัน

เหตุผลสำคัญที่สุดตามข้อนี้คือ ยึดถือหลักปฏิบัติที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย (อัช-ชุฮฺเราะฮฺ)

เมื่อได้ศึกษาในหลักเกณฑ์ของกิจกรรมประเภทที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย เราได้พบว่ามันมีจุดมุ่งหมายอยู่สามประการหรือสามแนวทางที่สามารถยึดเป็นสื่อนำไปสู่ซุนนะฮฺโดยคุณค่าและฐานะทางวิชาการของกฏเกณฑ์ในข้อนี้ ถือว่า เป็นสื่อนำไปสู่ซุนนะฮฺได้ในอันดับที่

รองลงมาจากหลักอิจมาอฺ

๑๐๙

ความนิยมแพร่หลายมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ดังนี้ :-

ข.๒.๑ ความนิยมแพร่หลายประเภทบทรายงาน

หมายถึง ความนิยมอย่างแพร่หลายในบทรายงานหนึ่งๆ และเป็นที่นิยมกันในหมู่นักรายงานในเนื้อหาสาระของประโยค ความหมายที่ตรงข้ามกับคำนี้ ได้แก่ความไม่เป็นที่นิยม ความไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย”(๘๗)

หมายความว่า ยามใดก็ตาม หากบทรายงานสองบทมีความหมายขัดแย้งกัน ให้ยึดถือบทรายงานที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากกว่า เป็นหลัก

บทรายงานหนึ่งที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากกว่าบทรายงานหนึ่งที่ขัดแย้งกับมันก็ให้ถือเอาบทรายงานนี้เป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานที่ขัดแย้งเสมอ เพราะเหตุว่ามันเป็นบทรายงานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอยู่ในหมู่นักรายงาน เพราะฉะนั้นความนิยมอย่างแพร่หลายของบทรายงาน จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเข้าสู่ซุนนะฮฺ หมายความว่า โดยการยึดถือบทรายงานที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นแนวทางในการเข้าสู่ซุนนะฮฺ และยกเลิกบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง

ข.๒.๒ ความนิยมแพร่หลายประเภทการปฏิบัติ

หมายถึง กรณีที่นักการศาสนาส่วนมากยึดถือบทรายงานใด และคำวินิจฉัยความอันใดเป็นหลัก จริงอยู่ถึงแม้เราจะดูว่า เป็นบทรายงานที่ด้อยประสิทธิภาพในระบบการรายงาน หรือในกรณีที่นักการศาสนาปฏิเสธหลักปฏิบัติข้อใดก็ตาม ถึงแม้เราจะดูว่าระบบการรายงานของเรื่องนั้นๆถูกต้อง

๑๑๐

กล่าวคือถือว่าการปฏิบัติของนักการศาสนาที่มีต่อบทรายงานเหล่านั้นเป็นอย่างไรก็หมายถึงความถูกต้องและเป็นประตูที่เปิดไปสู่ซุนนะฮฺ เหตุผลที่ทำให้เชื่อถือว่า บทรายงานเหล่านั้น

มีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม ก็อยู่ที่ท่าทีของบรรดานักการศาสนาส่วนใหญ่เหล่านั้น นั่นเอง

เพราะฉะนั้นนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งจึงกล่าวว่า ความนิยมแพร่หลายสามารถสร้างอิทธิพลให้ระบบรายงานที่ขาดประสิทธิภาพมีความน่าเชื่อถือขึ้นมา แต่ขณะเดียวกัน นักปราชญ์อีกส่วนหนึ่งให้ความเห็นค้านหลักการตามทฤษฏีนี้

ขณะเดียวกัน ในเมื่อบทรายงานเหล่านั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการถือปฏิบัติ

มันจึงมีฐานะเป็นหลักฐานประเภทรองที่แสดงว่ามีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม ครั้นถ้าหากนักการศาสนาคัดค้านการกระทำใดๆ ที่ระบุไว้ในบทรายงานที่มีระบบการรายงานอย่างถูกต้อง ก็จะมีความหมายเช่นเดียวกันว่าบทรายงานนั้นๆ ไม่มีความน่าเชื่อถือว่าจะมีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม

ในเมื่อพวกเขาได้พบเห็นจุดบกพร่องปรากฏอยู่ในเนื้อความของบทรายงานเหล่านั้น

๑๑๑

ข.๒.๓ ความนิยมอย่างแพร่หลายประเภทการวินิจฉัยความ

หมายความว่า เมื่อมีคำวินิจฉัยความเกี่ยวกับเรื่องใดก็ตามที่บรรดานักการศาสนาส่วนใหญ่ให้ความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งที่พวกเขามิได้อธิบายให้รู้แจ้งว่าคำวินิจฉัยความนั้นๆ มีที่มาจากบทรายงานใด โดยระบบการรายงานเช่นไรตามทัศนะของนักปราชญ์บางส่วนถือว่า คำวินิจฉัยความที่ว่านี้ ย่อมมีหลักเกณฑ์จากซุนนะฮฺวางเป็นแนวทางอยู่ จนผู้วินิจฉัยความสามารถสืบสาวได้เพียงแต่เราไม่ได้รู้ด้วยเท่านั้นเอง

แต่ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า นักปราชญ์บางส่วนมีความเห็นแย้ง กรณีที่ยึดเอาความนิยมอย่างแพร่หลายประเภทการวินิจฉัยความมาเป็นหลักฐานซึ่งพวกเขาจะไม่ยอมรับมาเป็นหลักปฏิบัติ

การแยกประเภทฮะดีษ

เราได้เข้าใจแล้วว่าซุนนะฮฺนบีนั้นหมายถึง แหล่งที่มาอันดับสองของบทบัญญัติทางศาสนา

แนวคิดและความรู้เกี่ยวกับอิสลาม ถัดจากอัล-กุรฺอานประวัติศาสตร์ได้บอกเล่าให้เรารู้ถึงการต่อสู้

การเผชิญหน้ากันทางด้านความคิดระหว่างศัตรูของอิสลาม ได้แก่พวกยิว พวกมุนาฟิกีน (พวกหลอกลวงทางศาสนา) พวกนอกศาสนา พวกฆอลลาต และพวกปลอมแปลงเรื่องราวต่างๆ ในอิสลาม

๑๑๒

กล่าวคือ พวกเขาเหล่านั้น ได้ทำการกล่าวเท็จแก่ท่านศาสนทูต (ศ) และบรรดาอิมาม โดยประพันธ์ฮะดีษขึ้นมาทำลายความหมายของซุนนะฮฺนบีให้เสียหายตามความต้องการของอารมณ์

กล่าวคือ ได้มีฮะดีษถูกปลอมแปลงขึ้นมาเป็นจำนวนหลายพันฮะดีษ

 มีฮะดีษที่ถูกต่อเติมพลิกแพลง

ความหมายอีกหลายพันฮะดีษด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงเกิดปัญหาที่ยุ่งยากที่สุดในการจำแนกแบ่งแยก

ฮะดีษต่างๆ ว่า อันไหนถูกต้อง ใช้ได้ อันไหนที่ถูกกุขึ้นมา อันไหนเป็นฮะดีษที่สมบูรณ์ทั้งบท อันไหนที่ขาดตกบกพร่องไป อันไหนที่ต่อเติมเสริมเข้ามาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วน และต้องมีการวิเคราะห์ไปถึงคุณสมบัติต่างๆ ของนักรายงาน ตลอดทั้งเนื้อความฮะดีษ

ดังนั้น ตามที่เราได้เกริ่นไปแล้วว่า นักปราชญ์ได้มีการจัดตั้งวิชาการสาขาประวัติบุคคล (ผู้เป็นนักรายงาน) ขึ้นมา เพื่อวิเคราะห์ถึงระบบการรายงานและเนื้อความของบทรายงานเพื่ออาศัยเป็นแนวในการตัดสินว่า บทรายงานใดถูกต้องบทรายงานใดเท็จ ต่อมาก็ได้จำแนกแยกประเภทบทฮะดีษที่ตกทอดมาถึงอนุชนรุ่นหลัง หลังจากได้มีการวิเคราะห์อย่างถ่องแท้กับบทรายงานต่างๆ ที่ถูกอ้างว่ามาจากท่านศาสนทูตและบรรดาอิมามแล้ว ก็สามารถจำแนกได้เป็นสองประเภทคือ

๑. ถูกต้อง

๒. ไม่ถูกต้อง

๑๑๓

ประวัติความเป็นมาของรายงานริวายะฮฺและฮะดีษต่างๆ บอกให้เรารู้อย่างหนึ่งว่า การแยกประเภทของฮะดีษอย่างที่ว่านี้ มีมาตั้งแต่สมัยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ)เมื่อครั้งที่ท่านได้กล่าวปราศรัยต่อประชาชนว่า

“ประชาชนทั้งหลาย แน่นอนได้เกิดมีการกล่าวเท็จแก่ฉันอย่างมากมาย”

อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้รู้ในหมู่ศ่อฮาบะฮฺและตาบิอีนได้กำหนดแนวทางในการจำแนกแยกแยะระหว่างฮะดีษที่ถูกต้องกับที่มิใช่ฮะดีษที่ถูกต้องออกจากกันไว้ด้วยความเข้มงวดกวนขันอย่างยิ่ง

ภายหลังจากท่านศาสนทูตได้วะฟาตแล้วและก่อนหน้าจะมีการจัดตั้งวิชาการแขนงประวัติศาสตร์ บุคคลขึ้นมา

ท่านเหล่านั้นจะยังมิให้การยอมรับฮะดีษใดๆ ก่อนจะมีการยืนยันถึงความซื่อสัตย์ของนักรายงาน มีรายงานมาจากบรรดาอิมาม (อ) ว่า มีหลายฮะดีษที่ถูกนำขึ้นเสนอต่อพวกท่าน แต่เป็นจำนวนมากทีเดียวที่ท่านปฏิเสธ เพราะเป็นบทรายงานมาจากนักรายงานที่มุสา

ภายหลังจากที่มีการจัดตั้งวิชาประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงานแล้ว ก็ได้มีการจำแนกแยกแยะ คุณสมบัติของนักรายงานที่เชื่อถือได้ออกไปต่างหากจากกลุ่มของนักรายงานประเภทอื่นอย่างสิ้นเชิง

ทำนองเดียวกับมีการจัดแบ่งประเภทของนักรายงานที่ซื่อสัตย์ออกเป็นระดับต่างๆ เช่น ในด้านความรู้ ความเคร่งครัด ความประพฤติที่มั่นคง มัซฮับ และหลักความเชื่อ...ฯลฯ

๑๑๔

ขณะเดียวกันก็ได้พบว่าฮะดีษบางบทถูกถ่ายทอดมาตามระบบลูกโซ่ของนักรายงานอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน

แต่อีกบางบทถูกถ่ายทอดมาถึงเราโดยที่นักรายงานมิได้กล่าวถึงกลุ่มของนักรายงานตามระบบของการรายงานที่สมบูรณ์แต่อย่างใด บ้างก็มิได้กล่าวถึงนักรายงานที่ตนได้รับบทรายงานมาหรืออาจกล่าวถึงคนแรกเพียงคนเดียวเท่านั้น

ขณะเดียวกับที่ยังพบอีกว่า บางรายงานริวายะฮฺมีนักรายงานเรียงแถวกันมากมายหลายคน จนไม่เกิดความรู้สึกน่าสงสัยในความซื่อสัตย์ของพวกเขาเหล่านั้น

ในขณะที่ได้พบอีกเช่นกันว่า บางรายงานริวายะฮฺ แทบจะมิได้กล่าวถึงนักรายงานเล จะกล่าวก็เพียงสัก ๑ หรือ ๒ คนเท่านั้น

จึงเป็นเรื่องธรรมดาอยู่เอง ที่นักปราชญ์จะมีความเชื่อถือนักรายงานคนนี้แตกต่างจากคนนั้น ถ้าหากเขาเป็นคนซื่อสัตย์ ดังที่จะยึดถือบทรายงานที่มีนักรายงานจำนวนมากร่วมกันถ่ายทอดมามากกว่าจะยึดถือบทรายงานที่มีคนรายงานเพียง ๑ หรือ ๒ คน ถึงแม้ว่าทั้งสองคนนั้นจะเป็นคนซื่อสัตย์ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ จะมีการแบ่งฮะดีษที่ถูกต้องออกมาเป็นชนิดต่างๆ กันอีกโดยถือเอาจำนวนนักรายงานที่ซื่อสัตย์หลายคนรายงาน เป็นเกณฑ์

๑.รายงานบอกเล่าที่ตรงกันเป็นเอกฉันท์ (มุตะวาติรฺ)(๘๘)

๑๑๕

นั่นคือ รายงานที่บอกเล่ามาในทุกยุคทุกสมัยสมบูรณ์ครบถ้วน ตามจำนวนของนักรายงาน จนไม่อาจมีข้อแม้ใดๆ มาอ้างว่า พวกเขาโกหก ได้เลยนักปราชญ์มีความเชื่อถือตรงกันว่า บทรายงานที่ตรงกันเป็นเอกฉันท์ย่อมให้ประโยชน์ทางด้านวิชาการ และความเชื่อมั่นในเนื้อหาสาระที่ถูกบอกเล่าไว้ เพราะฉะนั้น จึงถือเป็นข้อบังคับให้ปฏิบัติตาม (วาญิบ)

รายงานบอกเล่าที่ตรงกันเป็นเอกฉันท์ ถูกแบ่งออกเป็นประเภทได้อีก ดังนี้

ก.๑ ตรงกันเป็นเอกฉันท์ในด้านถ้อยคำ

หมายความว่า ทั้งถ้อยคำและความหมายของบทรายงานที่ถ่ายทอดมาถึงเรา มีความตรงกันเป็นเอกฉันท์

ข.๒ ตรงกันเป็นเอกฉันท์ในด้านความหมาย

หมายความว่าบทรายงานที่ถ่ายทอดจนถึงมายังเรามีความสอดคล้องตรงกันเป็นเอกฉันท์เฉพาะแต่ความหมายเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับถ้อยคำแต่อย่างใด

กล่าวคือ นักรายงานจะถ่ายทอดบทรายงานมายังเรา ด้วยการใช้ถ้อยคำในประโยคแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดนั้น จะมีความความหมายสอดคล้องเข้ากันได้อย่างกลมกลืน เช่น การรายงานมาด้วยคำบอกเล่าที่ว่า “กล้าหาญ, องอาจ, สมเกียรติ...ฯลฯ”

๑๑๖

 

บทรายงานที่มีความหมายตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ มีหลายรายงานเหลือเกินที่ถ่ายทอดมาถึงเรา โดยกระบวนการที่เรียกว่า อัล-อาฮาด

แต่ทั้งหมดนั้นจัดได้ว่ามีความหมายอย่างเดียวกัน ดังนั้น บทรายงานประเภทอัล-อาฮาด จึงหมายถึงบทรายงานที่สอดคล้องตรงกันเป็นเอกฉันท์ ในด้านความหมายประเภทหนึ่งนั่นเอง เพราะว่ากระบวนแห่งรายงาน ประเภทอัล-อาฮาด ในความหมายที่ว่านี้ อยู่ในระดับของบทรายงานที่สอดคล้องตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ ที่ให้ประโยชน์ ทั้งในด้านความรู้และความเชื่อถือที่แน่นอน

ท่านฮิลลีย์ นักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญ ได้เขียนคำอธิบายตามความหมายนี้ว่า

“อัต-ตะวาติรฺ” (ความตรงกันเป็นเอกฉันท์) ในแง่ของความหมาย ย่อมให้ความสูงส่ง, ถึงแม้ว่าคำศัพท์ในบทรายงานนั้นๆ จะเป็นประเภท

 “อาฮาด” ก็ตาม” (๘๙)

๒-รายงานบอกเล่า ประเภทอัล-อาฮาด

หมายความว่า รายงานบอกเล่าที่มีจำนวนนักรายไม่ครบตามอัตราที่กำหนดไว้ในรายงานประเภทตรงกันเป็นเอกฉันท์ (มุตะวาติรฺ) ไม่ว่าจะรายงานโดยนักรายงาน ๑ คน หรือมากกว่า ๑ คนก็ตาม ถือกันว่าบทรายงาน ประเภทอัล-อาฮาด เป็นเพียงหลักฐานประเภทรองเท่านั้น ยังไม่อยู่ในฐานะที่

ให้ประโยชน์ทางวิชาการ และไม่สามารถทำให้เราเกิดมีความมั่นใจอย่างครบถ้วนได้

๑๑๗

ชะฮีด อัศ-ศ็อดร์ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า

: “รายงานบอกเล่าของ คนเพียง ๑ คน อันหมายความว่า คำบอกเล่านั้นไม่ส่งผลให้เกิดความเชื่อถืออย่างมั่นใจแต่อย่างใด” (๙๐)

มีการถกเถียงกันมากในระหว่างนักปราชญ์ เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า จะยอมรับคำรายงานของคน ๑ คนเป็นหลักฐานอ้างอิงในแง่ของบทบัญญัติทางศาสนาได้หรือไม่ได้ จนถึงขนาดมีการแบ่งออกเป็นสองสำนักวิชาการ สำนักหนึ่งปฏิเสธกระบวนการของคำบอกเล่าใดๆ ในประเภทอัล-อาฮาด เพราะเห็นว่าคุณค่าของบทรายงานประเภทนี้ ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าเชื่อถือแต่อย่างใด

โดยหลักการทางศาสนายังอาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นบทรายงานที่โกหกปลอมแปลง และมีความผิดพลาดในคำบอกเล่า

ส่วนอีกสำนักหนึ่ง ให้การยอมรับบทรายงานประเภทอัล-อาฮาดได้ และยังได้ยืนยันว่ามีหลักฐานจากพระคัมภีร์และซุนนะฮฺ

แน่นอนได้มีการยอมรับการกระทำกิจกรรมบางอย่างโดยยึดหลัก การตามบทรายงานประเภทอัล-อาฮาด นักปราชญ์ทั้งหลายเองก็ยังยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาด้านฟิกฮ์ และยึดเป็นหลักฐานเพื่อค้นหากฏเกณฑ์ทางศาสนา หลักฐานที่แสดงว่า ให้ยึดถือรายงานบอกเล่าประเภทอัล-อาฮาดได้

๑๑๘

ได้มีการหยิบยกหลักฐานจากอัล-กุรฺอานและจากซุนนะฮฺ ที่แสดงว่าให้ยึดถือรายงานประเภทอัล-อาฮาด ได้ดังนี้

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ถ้าหากคนละเมิดนำข่าวใดมาบอกสูเจ้า ดังนั้น จงสอบสวนให้แน่ชัดก่อน เพื่อสูเจ้าจะไม่ทำให้ภัยอันตรายเกิดขึ้นกับคนพวกหนึ่งเพราะไม่รู้ทันการณ์ แล้วสูเจ้าจะเสียใจในสิ่งที่ได้กระทำไป” (อัล-หุญุรอต/๖)

พวกเขาอ้างว่า โองการนี้มีสาเหตุในการประทานมาดังนี้คือ “เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะชายคนหนึ่ง มีชื่อว่า วะลีด บิน อุตบะฮฺ บุตรของอะบี มุอีฏ

เมื่อครั้งที่ท่านศาสนทูตได้ส่งเขาไปเก็บภาษีจากพวกบะนีมุศฏอลัก แต่เขาได้เดินทางกลับมาก่อนโดยที่ยังไปไม่ถึงเลย แล้วอ้างว่าคนพวกนั้นขับไล่และจะสังหารตน ท่านศาสนทูตได้ยินเช่นนั้นรู้สึกไม่พอใจ หมายจะไปทำศึกกับคนพวกนั้น

และแล้วโองการนี้ก็ถูกประทานลงมาเพื่อระบุว่า วะลีดเป็นคนโกหก เป็นคนฟาสิกความหมายในโองการ พอสรุปเป็นหลักฐานได้ดังนี้

๑-อย่าได้เชื่อถือคำบอกเล่าของคนฟาสิก เว้นแต่สามารถพิสูจน์ความจริงได้เท่านั้น

๒-สามารถเชื่อถือคำบอกเล่าของคนคนเดียวได้ ถ้าหากเขาเป็นคนซื่อสัตย์ มิใช่เป็นคนฟาสิก ดังจะเห็นได้ว่า ท่านศาสนทูต (ศ) แสดงออกอย่างชัดเจนว่าเชื่อเขาทั้งๆ ที่ยังมิได้ตรวจสอบ ดังข้อความที่ปรากฏในพระคัมภีร์ ขณะเดียวกันยังมีอีกโองการหนึ่งให้เหตุผลว่า

๑๑๙

“แท้จริง เหล่าบรรดาผู้ที่ปิดบังสิ่งที่เราประทานมาจากหลักฐานอันชัดแจ้งและทางนำหลังจากที่เราได้อธิบายเรื่องนั้นๆในพระคัมภีร์เพื่อมนุษย์ เขาเหล่านั้น อัลลอฮฺจะทรงประณาม และบรรดาผู้ประณามทั้งหลาย ก็จะประณามพวกเขาด้วย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ/๑๕๙)

โองการนี้ กล่าวประณามคนปิดบังทางนำและหลักฐานต่างๆ ไว้ โดยมิได้นำไปอธิบายแก่ประชาชน

ตามความหมายในโองการนี้ ยืนยันว่าการปิดบังเรื่องราวที่ได้ฟังมาจากท่านศาสนทูต(ศ)

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใดๆ ก็ตาม ถือเป็นการกระทำที่ต้องห้ามอีกทั้งไม่สามารถจะทำให้เป็นประโยชน์ตามความมุ่งหวังได้ นอกจากจะต้องวางกฎว่าให้เชื่อถือคนที่อธิบายสัจธรรมชี้ทางนำให้แก่ประชาชน ไม่ว่าคนที่บอกเล่าจะมีเพียงคนเดียว หรือมากกว่านั้นก็ตาม

ขณะเดียวกันยังมีหลักฐานจากซุนนะฮฺว่า ให้ยอมรับบทรายงานต่างๆ ที่มาในประเภทอัล-อาฮาด ดังคำสอนของท่านศาสนทูต(ศ) ว่า

“อัลลอฮฺทรงประทานความผาสุกให้แก่คนที่ได้ฟังคำพูดของฉันแล้วจดจำไว้ และรักษาไว้ต่อไป และได้นำไปปฏิบัติเหมือนดังที่เขาได้ยินมา บางทีคนที่นำพาความรู้ อาจได้ให้ความรู้แก่ผู้ที่ไม่รู้ และบางทีคนที่นำพาความรู้อาจให้ความรู้แก่คนที่รู้กว่าเขาก็เป็นได้”(๙๑)

๑๒๐

นี่คือ ข้อกำชับที่มีแก่มุสลิมเป็นรายงานบุคคลว่าให้เชื่อถือคนที่นำเรื่องราวจากท่านศาสนทูตมาบอกเล่า ถึงแม้จะเป็นคนคนเดียวก็ตาม

 ตราบใดที่เขามิใช่คนฟาสิก ตามที่อัล-กุรฺอานอธิบายไว้ ขณะเดียวกัน

ยังมีการหยิบยกเอาการกระทำของท่านศาสนทูต(ศ) มาอ้างเป็นหลักฐาน

เกี่ยวกับการบอกเล่าเรื่องราวโดยคนคนเดียวจากวิถีการดำเนินชีวิตของท่านศาสนทูต กล่าวคือ ท่านเคยส่งธรรมทูตและนักเผยแพร่ศาสนาไปเป็นรายบุคคล แล้วท่านสอนให้ประชาชนเชื่อถือคนเหล่านั้น และให้ปฏิบัติตามคำสอนต่างๆ ที่คนเหล่านั้นได้นำไปจากท่าน

นอกเหนือจากนี้ ในแง่ของวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนาจากบรรดาสาวกของท่านและบรรดาอิมามทั้งหลาย ซึ่งท่านเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามคำบอกเล่าของคนคนเดียวที่เชื่อถือได้เสมอ ในยามที่ท่านได้รับฟังเรื่องราวใดๆ จากพวกเขา ซึ่งท่านศาสนทูตและบรรดาอิมามก็มิได้ปฏิเสธแต่อย่างใด แน่นอนการที่ท่านไม่ปฏิเสธอย่างนี้ ก็เท่ากับเป็นการรับรองว่า อันนี้เป็นการกระทำที่ถูกต้องนั่นเอง

ควรจะชี้แจงไว้ด้วยว่า พวกที่ปฏิเสธไม่ยอมรับคำบอกเล่าจากรายงานประเภทอัล-อาฮาด

มิได้ปฏิเสธเพราะเหตุผลอื่นใด นอกจากเพื่อให้การพิทักษ์รักษาซุนนะฮฺให้รอดพ้นจากความเสียหายอย่างเข้มงวด เพื่อจะได้ไม่มีการกล่าวเท็จและปลอมแปลงเรื่องใดๆเข้ามา

๑๒๑

อย่างไรก็ดีวิธีการนี้ เป็นเหตุให้รายงานฮะดีษในเรื่องต่างๆ และบทบัญญัติต่างๆ ทางศาสนาต้องสูญหายไปอย่างมากมายมหาศาล และได้ปล่อยให้มีช่องว่างจากการทำหน้าที่ตามความรับผิดชอบ ทั้งในภาคอิบาดะฮฺ และระเบียบทางสังคม โดยไม่มีคำอธิบายใดๆ จากบทบัญญัติทางศาสนา

มีข้อโต้แย้งว่า การกระทำใดๆ อันเกิดจากรายงานประเภทอัล-อาฮาดในฐานะที่เป็นหลักฐานประเภทรอง(ซานีย์) ที่ต้องสงสัยว่า มีแหล่งที่มาจากท่านนบี(ศ) หรือมาจากผู้ที่รับรายงานต่อมาจากบรรดาอิมาม(อ) จริงหรือไม่ ฉะนั้น จะถือว่าบทบัญญัติทางศาสนาและหลักความคิดแห่งอิสลามตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งกฎเกณฑ์ที่ยังน่าสงสัยอยู่ได้อย่างไร?

ในเมื่ออัล-กุรฺอานเองก็ได้ห้ามเราว่าอย่าได้ปฏิบัติตามหลักการที่ยังน่าสงสัย ดังมีโองการหนึ่ง ความว่า

“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงหลีกเลี่ยงจากสิ่งต่างๆ มากมายที่ยังสงสัย แท้จริงความสงสัยบางอย่าง ย่อมเป็นบาป”

“แท้จริงความสงสัยนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะเป็นความจริงแต่อย่างใด

ปัญหานี้ สามารถให้คำตอบได้ว่า การปฏิบัติตามคำบอกเล่าของคนคนเดียวซึ่งเป็นหลักฐานที่ยังสงสัยว่ามีที่มาจากท่านศาสนทูต หรือจากผู้ที่รายงานมาจากบรรดาอิมามนั้น หมายถึงว่า ได้เชื่อถือต่อหลักฐานขั้นเด็ดขาดแล้ว ด้วยเหตุนี้เองการแสวงหาหลักฐานและบทบัญญัติทางศาสนา จึงมีทั้งเรื่องที่ได้มาด้วยความสะดวกและอุปสรรค

๑๒๒

ฮะดีษที่มีนักรายงานคนเดียว (อัล-อาฮาด)

บทรายงานฮะดีษที่มาจากนักรายงานคนเดียวนั้น มีทั้งฮะดีษที่เชื่อถือได้และขาดประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการรายงานของฮะดีษนั้นๆ ด้วยเหตุนี้บทรายงานฮะดีษที่มาจากนักรายงานคนเดียว

 จึงถูกแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท

นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญในงานวิเคราะห์ฮะดีษกล่าวไว้ว่า

 บุคคลแรกในสำนักวิชาการสายซุนนีย์ที่ได้แบ่งประเภทฮะดีษออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่ ท่านติรมิซีย์

ส่วนในสำนักวิชาการชีอะฮฺ ยังไม่รู้จักการแบ่งประเภทอย่างนี้ จนมาถึงศตวรรษที่ ๗ ของปีฮิจเราะฮฺ ได้มีการจัดแบ่งประเภทขึ้น โดยผลงานของ ซัยยิด อิบนุ ฏอวูส (เสียชีวิตเมื่อ ฮ.ศ ๖๓๗)

และสานุศิษย์ของท่านคนหนึ่ง คือ อัลลามะฮฺ อัลฮิลลีย์ แต่ผลงานครั้งนี้ได้รับการต่อต้านอย่างหนักหน่วงจากนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งของสำนักนี้

ทำไมจึงต้องจัดแบ่งประเภทฮะดีษ?

ส่วนที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการ และการยอมรับอย่างถูกต้องในการจัดแบ่งประเภทของฮะดีษมีดังนี้ คือ

๑- เพื่อทำการยกเลิกสารการรายงานที่ไร้ประสิทธิภาพ อันเป็นเหตุให้การปฏิบัติตามฮะดีษเหล่านั้น เป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง

๑๒๓

๒- ในกรณีที่บทรายงานประเภทที่มีความน่าเชื่อถือสูงกว่าขัดแย้งกับบทรายงานที่มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า ก็ให้ยึดถือหลักการจากบทรายงานที่มีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเป็นเกณฑ์เสมอ (๙๑)

๓- การที่บทรายงานประเภทอัล-อาฮาดถูกจัดแบ่งระดับก็เป็นไปตามลักษณะคุณสมบัติของนักรายงานฮะดีษบทนั้นๆ ว่า เป็นคนเที่ยงธรรม น่ายกย่องมีความน่าเชื่อถือ หรือขาดประสิทธิภาพ ดังนี้

๑- ฮะดีษที่ถูกต้อง (ศ่อฮีฮฺ)

๒- ฮะดีษที่ดี (ฮะซัน)

๓- ฮะดีษที่เชื่อถือได้ (มุวัษษัก)

๔- ฮะดีษที่ไร้ประสิทธิภาพ (เฎาะอีฟ)

นักปราชญ์จะให้ความเชื่อถือฮะดีษทั้ง ๓ ประเภทแรกทั้งหมด และยอมรับในการนำมาใช้เป็นหลักปฏิบัติ

ส่วนฮะดีษประเภทไร้ประสิทธิภาพได้มีการแบ่งออกไปอีกหลายระดับที่สำคัญที่สุดได้แก่

ประเภทมุรซัล, (ขาดรายชื่อคนรายงาน) ประเภทเมาฎูอฺ (ถูกกุขึ้นมา) ประเภทมุดลัซ (ถูกสอดแทรกด้วยประโยคที่ปลอมขึ้นมา)

เราจะทำการวิเคราะห์ฮะดีษทั้ง ๓ ประเภทนี้ เพื่อความกระจ่างมากยิ่งขึ้น

จากการศึกษาเกี่ยวกับระบบการทำงานของนักรายงานฮะดีษ ตำราเกี่ยวกับประวัติบุคคลที่เป็นนักรายงาน และทฤษฏีต่างๆ ของนักรายงานจากบรรดานักปราชญ์ของอิสลาม ทำให้เราพบว่านักรายงานฮะดีษแต่ละท่านจะมีแนวทางเป็นของตนเองโดยเฉพาะในการบันทึกฮะดีษที่ถูกรายงาน

๑๒๔

มาว่ามีที่มาจากท่านศาสนทูต(ศ)กล่าวคือ สำหรับบุคคลต่อไปนี้

เช่น ท่านบุคอรี, มุสลิม, ติรมิซีย์, อะหฺมัด บิน ฮัมบัล, ชาฟิอีย์, อะบูหะนีฟะฮฺ, อัล-กุลัยนีย์, ท่านศ็อดดูก, ท่านฏูซีย์, ต่างก็มีนักรายงานและบทรายงานที่เป็น

ของตนเองทั้งนี้ รวมไปถึงนักปราชญ์ นักการศาสนาและนักฮะดีษท่านอื่น ในสายชีอะฮฺ อิมามียะฮฺเอง

ต่างก็มีนักรายงานและบทรายงานที่เป็นของตนเอง ซึ่งเป็นที่เชื่อถือเป็นที่ยอมรับของพวกเขา หลังจากได้ทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว

พร้อมกันนี้ บรรดานักปราชญ์เหล่านั้นทั้งหมดต่างก็ให้การยอมรับนักรายงานกลุ่มหนึ่งที่ตนเองให้ความเชื่อถืออยู่ ซึ่งอาจแตกต่างกับนักรายงานกลุ่มอื่นที่ได้รับความเชื่อถือจากนักปราชญ์คนอื่นก็ได้

เพราะฉะนั้นเราจะพบว่า ท่านมุสลิมจะปฏิเสธนักรายงานบางคนที่

ท่านบุคอรีให้ความเชื่อถือ ท่านบุคอรีเองก็จะปฏิเสธนักรายงานบางคนที่อะหมัด บิน ฮัมบัลให้ความเชื่อถือ

ขณะเดียวกัน เราจะพบว่า ท่านบุคอรี มีเงื่อนไขในการรับรายงานฮะดีษที่ผิดแผกไปจากเงื่อนไขของท่านอะหฺมัด บิน ฮัมบัล และนักปราชญ์ท่านอื่นๆ ในบรรดานักรายงานและนักฮะดีษ นักการศาสนาในสายชีอะฮฺก็เป็นอย่างนี้ด้วยเหมือนกัน

๑๒๕

บนพื้นฐานดังกล่าวนี้เราจะพบว่า ท่านชัยคุลอิสลามได้พูดถึง มุสนัดของอิมามมาลิกว่า

“ตำราของมาลิกนั้นถูกต้องสำหรับท่านเอง และสำหรับคนที่ตักลีดตามคำตัดสินของท่านจากทัศนะของท่านเสมอ เช่นการยึดถือฮะดีษ มุรซัล และฮะดีษมุนกอเฏาะอฺ* และประเภทอื่นๆ เป็นหลักฐานซึ่งมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ท่านได้อธิบายไว้ในตอนแรกๆ”(๙๓)

มีรายงานที่บันทึกไว้อีกเช่นกันว่า นักรายงานที่บุคอรีรับฮะดีษมาบันทึกแต่ผู้เดียว โดยที่มุสลิมมิได้ยอมรับด้วยนั้นมีจำนวนถึง ๔๓๐ คนทั้งหมดนี้ ถูกระบุด้วยข้อหาว่าเป็นคนไร้ประสิทธิภาพ (เฏาะอีฟ) ถึง ๘๐ คน

ส่วนนักรายงานที่ท่านมุสลิมรับฮะดีษมาบันทึกแต่ผู้เดียว

 โดยที่บุคอรีมิได้ยอมรับด้วยนั้นมีถึง ๖๒๐ คน เป็นคนที่ถูกระบุด้วยข้อหาว่าไร้ประสิทธิภาพมากถึง ๑๖๐ คน

ณ ที่นี้ เราสามารถทำความเข้าใจได้ว่าบรรดานักปราชญ์นั้น จะมีมุมมองในด้านคุณสมบัติของนักรายงานและประเภทของฮะดีษแตกต่างกัน นั่นคือทุกท่านจะมีทัศนะเป็นของตนเองมีคำนิยามของตนเอง มีเงื่อนไขที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะในการพิจารณาคุณสมบัติของนักรายงานและการยอมรับรายงานฮะดีษ

*ฮะดีษมุนกอเฏาะอฺ หมายถึง บทรายงานที่ถ่ายทอดมาจากคนในรุ่น

ตาบิอีน

๑๒๖

ฮะดีษกับสารบบการรายงาน

จากการศึกษาและการจัดแบ่งประเภทริวายะฮฺที่ถ่ายทอดมาถึงอนุชนรุ่นหลังบรรดานักปราชญ์ได้ดำเนินการจัดแบ่งประเภทของบทรายงานเหล่านั้นไปตามระบบการรายงานที่ ถ่ายทอดบทรายงานนั้นๆมาซึ่งมีอยู่สองประเภทด้วยกัน ดังนี้

๑- ฮะดีษที่อยู่ในสารบบการรายงาน (มุซนัด)

หมายความว่า เป็นฮะดีษที่มีการรายงานถ่ายทอดกันมาอย่างเป็นระบบไม่มีช่วงใดขาดตอน ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นใด ลำดับชั้นใดก็ตาม

 กล่าวคือ เป็นฮะดีษที่กล่าวถึงรายชื่อของนักรายงานทั้งระบบ โดยนับเริ่มตั้งแต่นักรายงานคนแรกที่ได้ยินได้ฟังมาจากท่านศาสนทูต (ศ)

หรือจากอิมาม หรืออาจเป็นคนที่รู้เห็นการกระทำของท่านหรือท่าทีการแสดงออกของท่าน แล้วรายงานถ่ายทอดต่อๆกัน มาจนกระทั่งถึงคนสุดท้าย

๒- ฮะดีษที่ไม่อยู่ในสารบบการรายงาน (มุรซัล)

หมายความว่า เป็นฮะดีษที่มีการลบรายชื่อของนักรายงานตามระบบออกไปโดยมิได้กล่าวถึงรายชื่อของนักรายงาน

หรืออาจกล่าวถึง แต่เป็นเพียงบางรายชื่อ โดยจะตัดรายชื่อออกไปประมาณ ๑ หรือมากกว่านั้น

๑๒๗

หรือจะมีการระบุถึงบางคนในลักษณะรวมๆ กันไป เช่นจะกล่าวว่า “ส่วนหนึ่งจากคนเหล่านั้น...หรือส่วนหนึ่งจากมิตรสหายของพวกเรา...ฯลฯซึ่งจะใช้คำพูดรวมๆ โดยไม่แจ้งรายชื่อของนักรายงานให้ชัดเจนออกมาทำนองเดียวกัน ฮะดีษที่นักรายงานบางคนไม่เป็นที่รู้จัก หรือเป็นคนที่นักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลที่เป็นนักรายงานมองข้าม มิได้กล่าวถึงเขาเอาไว้แม้ว่าชื่อของเขาจะถูกกล่าวไว้ในสารบบการรายงานฮะดีษ ก็ถูกจัดให้เป็นฮะดีษประเภทมุรซัลด้วยเช่นกัน

ดังนั้น บทรายงานริวายะฮฺหรือฮะดีษเหล่านี้ จะได้รับการขนานนามว่า “ริวายะฮฺ ที่ถูกถ่ายทอดมาโดยไม่อยู่ในสารบบการรายงาน” (มุรซัล)

คำว่า ฮะดีษ หรือริวายะฮฺมุรซัล หมายถึง ฮะดีษหรือริวายะฮฺที่ไร้ประสิทธิภาพ (เฎาะอีฟ)ประเภทหนึ่งนั่นเอง

ท่านชะฮีดษานีย์ ซัยนุดดีน อัลอามิลีย์ ได้ให้คำจำกัดความสำหรับฮะดีษมุรซัลว่า

“เป็นเรื่องราวที่รายงานมาจากมะศูม แต่มิได้กล่าวถึงนักรายงานคนใดหรือจะมีการหลงลืม

นักรายงานบางช่วง หรือละเว้นเสีย หรือกล่าวถึง ในลักษณะรวมๆ เช่น การกล่าวหา “ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ) ได้กล่าวอย่างนั้นกล่าวอย่างนี้” เป็นต้น หรือจะมีการระบุว่า “รายงานมาจากนักรายงานคนหนึ่ง” หรือจะกล่าวว่า “รายงานมาจากสหายบางคนของเรา”

๑๒๘

 อย่างนี้เรียกว่าฮะดีษมุรซัล ฮะดีษมุรซัลจึงไม่อยู่ฐานะที่จะเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ เพราะเหตุที่ไม่อาจล่วงรู้ว่าวรรคตอนที่ถูกลบเลือนไปนั้น จริงๆ แล้วมันคืออะไร”(๙๕)

ดังกล่าวมานี้ เราสามารถทำความเข้าใจได้ว่า ฮะดีษที่ไม่อยู่ในสารบบการรายงาน(มุรซัล)

เป็นฮะดีษที่ไร้ประสิทธิภาพ(เฎาะอีฟ) ประเภทหนึ่งที่นักปราชญ์ส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ ถึงแม้ว่าผู้รายงานคนนั้นๆ จะเป็นที่เชื่อถือได้ก็ตาม

แต่ที่ต้องตกเป็นฮะดีษเฎาะอีฟไป ก็เพราะเพียงการมิได้แนะนำให้รู้จักนักรายงานที่นำฮะดีษบทนั้นมาถ่ายทอดเท่านั้นเอง

นักปราชญ์ส่วนใหญ่ ยังให้การยอมรับฮะดีษประเภทที่ไม่อยู่ในสารบบการรายงาน (มุรซัล) ถ้าหากปรากฏชื่อนักรายงานบางคนที่มีความน่าเชื่อถือ มีชื่อเสียง ดีเด่น เป็นที่ยอมรับในความเคร่งครัดสำรวมตน โดยจะยึดฮะดีษนั้นเป็นหลักฐานอ้างอิงไปเลย และจะยกประโยชน์ให้กับผลงานเช่นนี้

เพราะว่านักรายงานกลุ่มนี้จะไม่ยอมรับฮะดีษใดๆ จากใครง่ายๆ เว้นแต่เขาจะมีความเชื่อถือ มีความมั่นใจอย่างแน่วแน่ว่าจะต้องเป็นฮะดีษที่มาจากท่านศาสนทูตหรือจากอิมามอย่างแน่นอน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากนักรายงานที่เชื่อถือได้รายนี้กล่าวว่า “ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺกล่าวว่า หรืออิมามกล่าวว่า” เพราะการพูดออกมาอย่างนี้ย่อมหมายถึงความมั่นใจที่นักรายงานผู้นั้นมีต่อแหล่งที่มาของฮะดีษ หาไม่แล้วถือว่าการรายงานฮะดีษโดยใช้ประโยคอย่างนี้ เท่ากับเป็นการทำลายความเที่ยงธรรมและความน่าเชื่อถือของตนเอง

๑๒๙

ในทางตรงกันข้ามกับทัศนะของนักปราชญ์กลุ่มนี้ เรายังพบว่า มีนักปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่งที่เคลื่อนไหวคัดค้าน ไม่ยอมรับหลักการอันนี้มาถือปฏิบัติ

ดังตัวอย่างในบางเรื่อง เมื่อนักปราชญ์ส่วนหนึ่งถือปฏิบัติตามฮะดีษประเภทที่ไม่อยู่ในสารบบการรายงาน ก็ได้มีนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งออกมาคัดค้านไม่ยอมรับการปฏิบัติเช่นนั้น ดังมี

ข้อความตอนหนึ่งจากหนังสือ “อัร-เราฎอตุล บะฮียะฮฺ ฟี ชะเราะฮฺ อัล-ลุมอะติล-ดะมัช-ชะกียะฮฺ”หมวดว่าด้วย “หนี้สิน”

“จากกรณี นักการศาสนา (ฟุเกาะฮาอ์) กลุ่มหนึ่งวางกฎออกมาว่า “หนี้สินของผู้ตายย่อมถูกเพิกถอนได้โดยเหตุการณ์ตาย ไม่ว่าจะเป็นหนี้สินที่ผู้ตายอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของคนอื่น หรือจะเป็นหนี้สินที่ผู้ตายอยู่ในฐานะลูกหนี้ของคนอื่น และให้ถือเป็นวาญิบจะต้องดำเนินการให้สมบูรณ์

ภายหลังจากการตาย ทั้งนี้โดยยึดหลักการจากฮะดีษประเภทมุรซัลบทหนึ่ง ท่านชะฮีดเอาวัลและท่านชะฮีดษานีย์ (ขอให้อัลลอฮฺประทานความเมตตา) ได้ออกมาคัดค้านการวินิจฉัยความกรณีให้ถ่ายโอนหนี้สินที่ผู้ตายมีฐานะเป็นเจ้าหนี้โดยได้คัดค้านบทรายงานนี้ ตรงที่เป็นมุรซัลนั่นเอง

ท่านชะฮีดเอาวัล ได้กล่าวว่า “หากผู้ตายเป็นคนมีหนี้สิน ถือว่าให้เพิกถอนสภาพหนิ้สินนั้นได้ แต่จะไม่เพิกถอนเช่นนั้นสำหรับผู้ตายที่เป็นเจ้าหนี้”

๑๓๐

ท่านชะฮีดษานีย์ นักวิจัยชั้นเอกได้กล่าวในหมายเหตุไว้ว่า “มีการกล่าวกันว่าการเพิกถอนหนี้สินเป็นไปตามหลักการจากรายงานประเภทมุรซัล และเป็นไปโดยหลักการเปรียบเทียบ (กิยาส) กับกรณีการตายของลูกหนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการวินิจฉัยที่โมฆะ”บทรายงานประเภทมุรซัลที่ว่าก็คือ “รายงานโดย มุฮัมมัด บิน ยะกูบ อัล-กุลัยนีย์ รับมาจาก

อะบี อาลี อัล-อัชอะรีย์รับมาจากมุฮัมมัด บิน อับดุล ญับบารฺ ซึ่งได้รับมาจากคนบางคนในหมู่มิตรสหายของท่าน ซึ่งรับมาจาก คอลัฟ บิน ฮัมมาด ซึ่งรับมาจาก อิสมาอีล บิน อะบี กุรฺเราะฮฺ ซึ่งได้รับมาจากอะบีบะศีรฺ ได้กล่าวว่า “ท่านอะบูอับอุลลอฮฺ (อิมามญะฟัร (อ)) ได้กล่าวว่า

“หากชายคนใดตายลงทรัพย์สินของเขาทั้งในฐานะเป็นเจ้าหนี้ และที่เป็นลูกหนี้ ย่อมสามารถเพิกถอนได้”(๙๖)

สาเหตุที่ถือว่ารายงานบทนี้เป็นรายงานประเภทมุรซัลก็คือ ตอนที่ไม่ได้ระบุชื่อของนักรายงานคนหนึ่งที่มุฮัมมัด บิน อับดุลญับบารฺ รับการถ่ายทอดมา ซึ่งในสารบบการรายงานระบุว่า

มุฮัมมัด บิน อับดุล-ญับบารฺ รับรายงานมาจากคนบางคนในหมู่มิตรสหายของท่าน คำว่า “บางคน”ตรงนี้เอง ที่ทำให้ไม่รู้ว่าเป็นใคร;

จึงด้วยเหตุนี้เอง รายงานบทนี้จึงมีฐานะเป็น “มุรซัล” ซึ่งเป็นฮะดีษประเภทที่นักการศาสนาบางกลุ่มไม่ยอมรับมาเป็นหลักปฏิบัติ

ซึ่ง ท่านชะฮีดเอาวัลและษานีย์ ก็มีความเห็นอย่างนี้

ดังที่ท่านได้ยืนยันอย่างชัดเจนไปแล้ว

๑๓๑

ฮะดีษมุรซัลประเภทต่างๆ

หลังจากที่บรรดานักปราชญ์ได้วิเคราะห์ฮะดีษประเภทมุรซัลแล้ว พวกเขาก็พบว่ายังมีฮะดีษประเภทนี้บางบทที่ถูกรายงานถ่ายทอดมาโดยนักรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ

ส่วนบางรายงานเท่านั้นที่ถูกรายงานถ่ายทอดมาจากนักรายงานที่ขาดความน่าเชื่อ ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงแบ่งประเภทของฮะดีษมุรซัลออกไปได้อีกสองประเภท นั่นคือ

๑-ฮะดีษมุรซัลที่เชื่อถือได้

หมายความว่า รายงานฮะดีษบทใดที่ถูกอ้างว่ามีที่มาจากมะศูม โดยนักรายงานคนใดที่บรรดานักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงานให้ความเชื่อมั่นว่าเขาจะไม่รับบทรายงาน

ใดๆ มาจากใคร เว้นแต่จะต้องเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ และนี่คือข้ออ้างอย่างหนึ่งในทัศนะของบรรดานักปราชญ์สาขาอุศูลุลฟิกฮฺเป็นจำนวนมาก ตามที่เราได้กล่าวไปแล้ว(๙๗)

๒-ฮะดีษมุรซัลประเภทที่ขาดความน่าเชื่อถือ

หมายถึง รายงานบทใดก็ตามที่อ้างว่า มีที่มาจากมะศูมโดยถูกรายงานถ่ายทอดมาจากบุคคลซึ่งไม่เป็นที่รู้จักในวิธีการทำงานด้านการถ่ายทอดบทรายงานของเขา(๙๘)

๑๓๒

นักปราชญ์สาขาอุศูลุลฟิกฮฺกลุ่มหนึ่งให้ความเห็นว่า ฮะดีษประเภทมุรซัลเหล่านี้ สามารถนำมาอ้างอิงเป็นหลักฐานได้ ในกรณีถ้าหากตรงกับหลักปฏิบัติของบรรดานักการศาสนา (ฟุเกาะฮาอ์) ที่มีชื่อเสียงในอดีต โดยถือโอกาสกล่าวเสริมการให้ทัศนะว่า นักการศาสนาผู้มีชื่อเสียงย่อมจะไม่ปฏิบัติตามหลักการจากบทรายงานเหล่านี้อย่างแน่นอน ถ้าหากพวกเขาไม่มีองค์ประกอบเพียงพอในการยืนยันว่าบทรายงานเหล่านี้มีความถูกต้อง

อย่างไรก็ดี นักปราชญ์อีกส่วนหนึ่งให้ความเห็นคัดค้านในการที่จะนำเอาหลักปฏิบัติของผู้มีชื่อเสียงมาเสริมประสิทธิภาพให้แก่ฮะดีษประเภทเฎาะอีฟจึงไม่เห็นด้วยที่จะยึดเอาเหตุผลเหล่านี้เป็นหลักฐานอ้างอิง

หลังจากที่เราได้ทำความเข้าใจอย่างชัดเจน ถึงจุดยืนของบรรดานักปราชญ์ที่มีต่อบทรายงานประเภทมุรซัลซึ่งทำหน้าที่รายงานกฏเกณฑ์ทางศาสนามาถึงพวกเรา (ริวายะฮฺ ต่างๆเกี่ยวกับกฏเกณฑ์ทางศาสนา) แล้ว จะถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทีเดียว ถ้าเรามาทำความเข้าใจกันถึงคุณค่าทางวิชาการของบทรายงานต่างๆ ประเภทมุรซัลที่ถูกรายงานมา ทั้งจากนักรายงานที่มีจุดบกพร่อง และนักรายงานที่มีความเที่ยงธรรมควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า การชี้ประเด็นความบกพร่องและยืนยันในความเที่ยงธรรมนั้น

เป็นเพียงคำยืนยันของผู้ชี้ประเด็นและผู้ยืนยันเท่านั้นโดยที่ความรู้ในสาขาประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงาน เป็นวิชาการที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญ

เกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณสมบัติและคำนิยามในตัวของนักรายงาน

ผู้ที่รู้ในของนักรายงานคนหนึ่ง

๑๓๓

 อาจแนะนำให้รู้จักนักรายงานคนหนึ่งๆ โดยคำจำกัดความตามความรู้สึก และโดยการยืนยันของคนร่วมสมัยที่อยู่ด้วยกันและที่รู้จักมักคุ้นกันเมื่อเป็นเช่นนี้ คำยืนยันของเขาจะเป็นที่ยอมรับได้ก็ต่อเมื่อเขาเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือ

อีกนัยหนึ่ง นักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลจะแนะนำให้รู้จักกับนักรายงานบางคนที่ไม่มีใครเคยอยู่ร่วมสมัยเดียวกันเลย หากแต่การยึดถือบทรายงานต่างๆ คือการเสริมคุณสมบัติให้แก่นักรายงานเหล่านั้น

เพราะฉะนั้นบทรายงานเหล่านี้ได้ถูกนำมาศึกษา และสารบบการรายงานเหล่านี้ได้ถูกนำมาเสริมคุณค่า ครั้นถ้าหากแนวทางของเขาสืบไปถึงคนในยุคสมัยของนักรายงานผู้นั้นว่า มีความน่าเชื่อถือบทรายงานนั้นๆ ก็จะเป็นที่ยอมรับความน่าเชื่อถือเหล่านั้นจะเป็นที่ยอมรับ ไม่ผิดอะไรกับบทรายงานเรื่องราวต่างๆ จากกฎเกณฑ์ทางศาสนา

แต่ในกรณีที่นักปราชญ์สาขาประวัติศาสตร์บุคคลที่เป็นนักรายงาน ให้คำจำกัดความคุณสมบัติของนักรายงานที่ไม่ปรากฏว่ามีนักรายงานในสมัยเดียวกัน อีกทั้งมิได้กล่าวถึงสารบบการรายงานที่ติดต่อเชื่อมโยงกับคำจำกัดความนี้ ให้ถือว่าคำจำกัดความเช่นนี้ เป็นคำจำกัดความประเภทมุรซัลด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งจะประสบปัญหาในการพิสูจน์ความน่าเชื่อถืออย่างนี้

ยังมีทฤษฎีทางวิชาการอีกประเภทหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ นั่นคือการนำเรื่องราวต่างๆย้อนกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญระดับอะฮฺลุล-คิบเราะฮฺ

 (ผู้รู้ระดับที่สามารถออกคำวินิจฉัยความได้เอง)

โดยให้ถือเอาคำตัดสินของอะฮฺลุล-คิบเราะฮฺ เป็นหลักฐานอ้างอิง

๑๓๔

ด้วยเหตุนี้นักการศาสนาจึงยึดถือต่อนักรายงานที่ได้รับการสนับสนุนและได้รับความเชื่อถือ โดยถือว่า นั่นคือหลักฐานอ้างอิงแล้ว ถึงแม้ว่าเขาจะไม่กล่าวถึงแนวทางที่เขายึดเป็นหลักอยู่ในการให้คำจำกัดความแก่นักรายงานคนนั้นก็ตาม

ความขัดแย้งกับวิธีการแก้

อิสลาม เป็นศาสนาที่ท่านนบีมุฮัมมัด(ศ) นำมาเผยแพร่เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ โดยทั่วไป กล่าวคือในคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าประกอบไปด้วยหลักการต่างๆ อย่างครบครัน เช่น หลักศรัทธา การอบรมจิตใจ จริยธรรม ระเบียบสังคม และกฏเกณฑ์กฎหมายต่างๆ ที่วางเพื่อจัดระบบความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อพระผู้สร้าง ต่อตนเอง สังคม รวมไปถึงโลกที่มีธรรมชาติและสัตว์ต่างๆ เป็นสิ่งแวดล้อม

ซุนนะฮฺอันบริสุทธิ์ คือแหล่งที่มาอันดับสองของบทบัญญัติทางศาสนาถัดจากอัล-กุรฺอานซึ่งทำหน้าที่อธิบายขยายความในกฏเกณฑ์ทางศาสนา กฎหมายต่างๆ ที่มีในคัมภีร์อย่างละเอียด ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

 หรืออีกนัยหนึ่งมันคือสิ่งที่ท่านศาสนทูตได้รับมาจากสภาวะการดลใจให้รู้ และการสนับสนุนของพระผู้เป็นเจ้าดังที่พระองค์ทรงตรัส ความว่า

“และเขามิได้พูดจากอารมณ์ มันมิใช่อื่นใดนอกจากเป็นสภาวะแห่งวะหฺยูที่ถูกดลบันดาลลงมา ผู้ทรงไว้ซึ่งพลังอันเข้มแข็งได้สอนให้เขารู้”

๑๓๕

ด้วยเหตุนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนา และกฎหมายต่างๆ ตลอดทั้งหลักศรัทธาวิชาการในการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ การจัดระเบียบสังคม ลักษณะการเป็นเอกภาพทั้งในด้านความคิดและบทบัญญัติที่มีความเหมาะสมครบถ้วน ไม่มีข้อขัดแย้งต่อกันและไม่มีอะไรคัดค้านต่อกัน

อย่างไรก็ตาม เราได้พบว่าบทรายงานต่างๆ ที่สืบทอดมาถึงเรา เท่าที่ถูกอ้างว่ามาจาก ท่านศาสนทูต(ศ) และบรรดาอิมาม(อ) นั้น มีความขัดแย้งและคัดค้านซึ่งกันและกัน ทั้งในแง่ของความหมายที่มีอยู่ระหว่างบทรายงานด้วยกันเอง และที่ขัดแย้งกับความหมายในโองการต่างๆ ก็ยังมีอีกด้วยในบางโองการ ดังจะเห็นได้ว่า บางบทรายงานจะอนุโลมผ่อนผันในเรื่องหนึ่ง แต่บทรายงานอื่นจะห้ามเรื่องนั้นๆหรือไม่จะมีบางบทรายงานทิ่อธิบายความหมายจนได้แง่คิดอย่างหนึ่งขึ้นมาชัดเจน แต่เราจะพบว่า อีกบทรายงานหนึ่งได้ให้ความหมายและเหตุผลที่แตกต่างกัน

ด้วยเหตุนี้ นักปราชญ์อุศูลุลฟิกฮฺ จึงได้ศึกษาวิเคราะห์ในประเด็นของข้อขัดแย้งในหลักฐานจากซุนนะฮฺโดยการวิเคราะห์ในเชิงวิชาการ และพวกเขาได้อธิบายถึงสาเหตุเหล่านั้น อีกทั้งยังได้เสนอวิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นวิชาการเอาไว้

คำว่า “ขัดแย้งในภาษาอาหรับจะได้แก่คำว่า“อัต-ตะอารุฏ” หมายถึง “การคัดค้าน” เช่น

“ชายคนหนึ่งพูดจาคัดค้านชายอีกคนหนึ่ง”(๑๐๐)

๑๓๖

จะยังไม่ถือว่า บทรายงานสองบท มีความหมายที่ขัดแย้งกันอย่างแท้จริงเว้นแต่ทั้งสองบท รายงานต่างก็ได้แสดงถึงข้ออ้างอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของเนื้อความ และสารบบ

การรายงาน(ซะนัด) ถึงแม้จะมิได้ขัดแย้งกันในแง่ของหลักปฎิบัติ แต่มันก็ยังมีความขัดแย้งอยู่กับ อีกบทรายงานหนึ่งจนถึงขนาดว่าไม่สามารถจะนำเอาบทรายงานไหนมาเป็นมาตรการตัดสินหรือยึดมาเป็นหลักได้(๑๐๑)

ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่าความขัดแย้งจะไม่เกิดขึ้นนอกจากระหว่างหลักฐานประเภทรองด้วยกันเอง กล่าวคือความขัดแย้งจะไม่มีระหว่างหลักฐานขั้นเด็ดขาดด้วยกัน อีกทั้งจะไม่ถือว่ามีความขัดแย้งระหว่างหลักฐานขั้นเด็ดขาดกับหลักฐานประเภทรอง และไม่ถือว่ามีความขัดแย้งระหว่างหลักฐานขั้นเด็ดขาดกับหลักปฏิบัติขั้นพื้นฐาน เช่น การเป็นเพื่อน อย่างนี้เป็นต้น

การวิเคราะห์ของบรรดานักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญในวิชาฮะดีษ และวิชาว่าด้วยประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงาน ทำให้เรารู้ว่าการปลอมแปลงและการใส่ความเท็จในคำพูดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) บรรดาอิมาม(อ) และบรรดาสาวกนั้น คือสาเหตุที่สำคัญยิ่งในการก่อให้เกิดความขัดแย้งประเภทนี้ขึ้นมาและความขัดแย้งที่แท้จริงอันนี้ คือ ลักษณะที่ขัดแย้งที่มีอยู่อย่างกว้างขวางระหว่างบทรายงานต่างๆอย่างไรเสีย

 เรายังได้พบความขัดแย้งในอีกลักษณะหนึ่ง นั่นคือ ความขัดแย้งเพียง

ความหมายภายนอกตามที่เรียกกันว่าความขัดแย้งโดยเหตุปัจจัยภายนอก ทั้งนี้ก็เพราะมิใช่เป็นความขัดแย้งอย่างแท้จริง

๑๓๗

เช่น ความขัดแย้งระหว่างความหมายในลักษณะที่เป็นสากลกับความหมายในลักษณะชี้เฉพาะ ระหว่างความประเภทมีความเป็นอิสระกับความหมายประเภทที่มีข้อจำกัดวางไว้เป็นเงื่อนไข

ด้วยเหตุนี้ ความขัดแย้งที่ปรากฏในบทรายงานจึงถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑-ความขัดแย้งอันคงที่ หมายถึง ความขัดแย้งที่แท้จริงระหว่างสองบทรายงานโดยแต่ละบทรายงานจะปฏิเสธต่อกันว่าเท็จมีความแตกต่างหักล้างกัน ทั้งความหมายและเหตุผลข้ออ้างในลักษณะที่กล่าวได้ว่าไม่อาจมีทางแก้ไขใดๆ สำหรับความขัดแย้งเช่นนี้ได้

ดังนั้นบรรดานักปราชญ์กลุ่มหนึ่งจึงให้ความเห็นว่า ควรจะยกเลิกเสียทั้งสองบทรายงานพร้อมกันไปเลย แล้วให้ยึดหลักปฏิบัติตามหลักการขั้นพื้นฐานเช่น หลักการที่เรียกว่า “อัล-บะรออะฮฺ”

ขณะเดียวกับที่อีกกลุ่มหนี่งเล็งเห็นว่า ควรจะใช้ดุลยพินิจเพื่อเลือกดูว่าในความหมายของ ทั้งสองบทรายงานนี้ควรจะได้ยึดเอาอันไหนเป็นหลักปฏิบัติมากกว่า เพราะมีคำสอนอยู่ว่าเกี่ยวกับ

ปัญหาเฉพาะหน้าของคนเรานั้น เราสามารถจะเลือกได้เองว่าจะปฏิบัติทางใดแน่จึงจะดีกว่ากันจนกว่าจะมีข้อพิสูจน์มาปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอย่างไหนถูกต้องหรือก้ำกึ่งกัน หรือถูกต้องทั้งสองประการ

๑๓๘

๒-ความขัดแย้งอันไม่คงที่ หมายถึง ความขัดแย้งเพียงลักษณะภายนอกยังมีโอกาสแก้ไขได้ด้วยการนำความหมายของบทรายงานเหล่านั้นที่ขัดแย้งกันมาผนวกใจความให้เข้าหากัน เช่น ความหมายในลักษณะเป็นสากล

จากรายงานบทหนึ่งขัดแย้งกับความหมายในลักษณะชี้เฉพาะของรายงานอีกบทหนึ่ง

หรือความหมายในลักษณะเป็นอิสระ (มุฏลัก) จากรายงานบทหนึ่งขัดแย้งกับความหมาย ในลักษณะมีข้อจำกัด (มุก็อยยัด) จากรายงานอีกบทหนึ่ง

วิธีการแก้ ก็คือ ให้ถือบทรายงานที่มีความหมายชี้เฉพาะเป็นหลักการนำหน้าบทรายงานที่มีความหมายในลักษณะเป็นสากลในการปฏิบัติ

ทั้งนี้ ก็เพราะบทรายงานที่มีความหมายชี้เฉพาะมาเพื่อกำกับความหมายที่เป็นสากล

ทำนองเดียวกับให้ถือบทรายงานที่มีความหมายในเชิงวางข้อจำกัดเป็นหลักการนำหน้าบทรายงานที่มีความหมายในเชิงอิสระในการนำมาปฏิบัติ

ทั้งนี้ ก็เพราะบทรายงานที่มีความหมายในเชิงวางข้อจำกัดมาเพื่อกำกับบทรายงานที่มีความหมายในเชิงอิสระมิใช่มาเพื่อขัดแย้งต่อกัน

หรือบางครั้งจะมีรายงานฮะดีษที่สั่งห้ามสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยจะขัดแย้งกับอีกบทรายงานหนึ่งที่อนุโลมผ่อนผันให้กระทำในเรื่องนั้นๆ ได้ ก็สามารถจะนำมาหาผลสรุปได้โดยการรวมสองบทรายงานมาผนวกเข้าหากัน

๑๓๙

กล่าวคือ จะเห็นได้ว่า ที่ห้ามในรายงานหนึ่งนั้น เป็นข้อห้ามประเภท

มักรูฮฺ หมายความว่า อนุญาตให้กระทำในสิ่งนั้นได้นั่นเอง แต่ให้ถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ อันนี้ ไม่ถือเป็นความขัดแย้งอย่างแท้จริงถึงขนาดว่า บทรายงานหนึ่งอนุญาตให้ทำได้ แต่อีกบทรายงานหนึ่งห้ามมิให้กระทำความทัดเทียมกับความเหลื่อมล้ำ

จากการศึกษารายงานฮะดีษต่างๆ ที่มีความหมายขัดแย้งกัน อีกทั้งโดยที่ได้วิเคราะห์ถึงสารบบการรายงานและเนื้อความของฮะดีษ สภาพแวดล้อมประกอบกับปัจจัยภายนอก จะพบว่าบางรายงานฮะดีษ จะมีมาตรฐานที่เหลื่อมล้ำกันทั้งในด้านเนื้อความและสารบบการรายงาน แต่บางบทรายงานจะมีมาตรฐานที่ทัดเทียมกันในแง่ต่างๆ

ด้วยเหตุนี้ นักปราชญ์ฮะดีษจึงได้ให้ชื่อเรียกว่าความมีมาตรฐานทัดเทียมกันและเหลื่อมล้ำกัน โดยที่ได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

๑- บทรายงานที่มีมาตรฐานทัดเทียมกัน

ได้แก่ รายงานฮะดีษต่างๆ ที่มีความหมายขัดแย้งกัน และต่างก็มีมาตรฐานทัดเทียมกันในแง่ต่างๆ

เช่น ในแง่ของสารบบการรายงานและเนื้อความฮะดีษ

กล่าวคือ เมื่อไม่มีฮะดีษบทใดดีเด่นเป็นพิเศษในด้านใด มากกว่าฮะดีษอีกบทหนึ่ง คือ เมื่อไม่มีความได้เปรียบเป็นของฮะดีษบทใดเช่นนี้ ก็เป็นไปตามที่เราได้อธิบายไว้แล้ว คือนักปราชญ์ได้ให้แนวทางทางไว้ว่าในเมื่อแต่ละบทรายงานต่างก็มีมาตรฐานทัดเทียมกัน ไม่อาจนำเอาทั้งสองบท

๑๔๐

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156