วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน0%

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 156

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน: สถาบันอัล – บะลาฆ
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 156
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 45249
ดาวน์โหลด: 3712

รายละเอียด:

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 156 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 45249 / ดาวน์โหลด: 3712
ขนาด ขนาด ขนาด
วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

นักปราชญ์ได้จัดแบ่งกระบวนการของสื่อ(๗๗) ที่ทำให้สามารถยืนยันแหล่งที่มาของเรื่องที่ถูกอ้างว่ามาจากท่านนบีและบรรดาอิมามไว้

 สองประเภท ด้วยกัน คือ

๑- หลักฐานขั้นเด็ดขาด (ก็อฏอียะฮฺ)

๒- หลักฐานที่ไม่อยู่ในขั้นเด็ดขาด (ฆ็อยรุล ก็อฏอียะฮฺ)

ดังที่จะกล่าวถึงในแนวทางซึ่งให้ข้อมูลและคำอธิบายระดับหนึ่ง ต่อไปนี้

๑- หลักฐานขั้นเด็ดขาด ซึ่งจะประกอบด้วยกระบวนการ ดังนี้ คือ

ก.๑ บทรายงานที่ตรงกันเป็นเอกฉันท์

ข.๑ บทรายงานที่แวดล้อมไปด้วย องค์ประกอบของหลักฐานขั้นเด็ดขาด

ค.๑ การลงมติตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ของนักปราชญ์ (อิจติมาอฺ)

ง.๑ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ

จ.๑ การสนับสนุนจากผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ

ช.๑ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้มีสติปัญญา

ในลำดับต่อไป เราจะเสนอคำอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดพอเป็นสังเขปสำหรับแนวทางต่างๆ เหล่านี้

ก.๑ บทรายงานที่ตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ ดังจะได้อธิบายต่อไปในภายหลัง

ข.๑ บทรายงานที่แวดล้อมไปด้วย องค์ประกอบของหลักฐานขั้นเด็ดขาด

หมายความว่า บทรายงานที่ไม่มีลักษณะตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ จะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายหรือไม่ก็ตาม

๑๐๑

 หากแวดล้อมไปด้วยองค์ประกอบ และข้อพิสูจน์ต่างๆ ว่ามีที่มาจากท่านนบีหรืออิมามให้ถือว่าบทรายงานนั้น เป็นหลักฐานขั้นเด็ดขาดประการหนึ่งซึ่งสามารถเป็นสื่อนำไปสู่ซุนนะฮฺได้

ค.๑ การลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ของนักปราชญ์

เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ในการแสวงหาหลักฐานทางศาสนา “อัล-อิจมาอ์” มีคำจำกัดความว่า

“การลงมติร่วมกันระหว่างนักวิชาการและนักวินิจฉัยหลักการศาสนา (ฟัตวา) ส่วนมากเพื่อเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างละเอียดถี่ถ้วน จนได้มาซึ่งกฏเกณฑ์ทางศาสนา”(๗๙)

ดังนั้น หลักอิจมาอฺ จึงหมายถึง กรณีที่เราพบเห็นการวินิจฉัยความเรื่องใดๆ ก็ตามที่บรรดานักการศาสนา(ฟุเกาะฮาอ์) ลงมติเห็นพ้องอย่างเป็นเอกฉันท์โดยเราเองไม่รู้ว่าท่านเหล่านั้นยึดถือบทรายงานจากนักรายงานใดเป็นหลักสำหรับคำวินิจฉัยเหล่านั้น

เป็นอันว่า หลักอิจมาอฺเหล่านี้ ย่อมมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งจากซุนนะฮฺแน่นอนถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้ด้วยก็ตาม ฉะนั้น หลักอิจมาอฺ จึงเป็นหนึ่งในหลายๆ แนวทางที่เป็นสื่อนำไปสู่ซุนนะฮฺ

ง.๑ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ(๘๐)

ส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับพฤติกรรมและวิถีชีวิตของศ่อฮาบะฮฺที่เคร่งครัดในศาสนบัญญัติได้(ทั้งในสิ่งที่กระทำและงดเว้น) ซึ่งนักปราชญ์สาขาอุศูลุล-ฟิกฮฺได้อธิบายไว้

๑๐๒

ครั้นถ้าหากเรื่องราวจากวิถีชีวิตของบรรดาสาวกที่เคร่งครัดในศาสนบัญญัติจำนวนมากได้รับการถ่ายทอดออกมา ให้ถือว่า วิถีการดำเนินชีวิตเหล่านั้นในฐานะที่เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ คือข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีหลักฐาน

ท่านชะฮีด อัศ-ศ็อดร์ ได้อธิบายความหมายของวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ และหลักฐานที่แสดงว่าเป็นกฏเกณฑ์ทางศาสนาว่า

“หลักอิจมาอฺของบรรดานักปราชญ์ จะมีส่วนคล้ายคลึงกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ที่อยู่ร่วมสมัยและใกล้เคียงกับสมัยของบรรดามะศูมในการยึดถือเป็นหลักศาสนบัญญัติ ด้วยเหตุว่าท่านเหล่านั้นเป็นผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ”(๘๑)

ท่านยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า

“กล่าวสำหรับวิถีชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัตินั้น โดยหลักการ แล้วสามารถจะถือได้ว่า เป็นสื่อที่สะท้อนถึงหลักฐานทางศาสนา บนพื้นฐานที่ว่า ผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัตินั้น เมื่อจะดำเนินในวิถีทางใดก็จะมีลักษณะความเป็นไปของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ หมายความว่า

พวกเขาจะต้องเป็นคนที่ร่ำเรียนสิ่งเหล่านั้นมาจากหลักการศาสนา

ในทางตรงกันข้าม สมมติว่าแนวทางปฏิบัติดังกล่าวมิได้ประกาศออกไปให้เป็นที่รู้

๑๐๓

เนื่องจากความหลงลืม หรือหลงลืมคำตอบ ในกรณีที่ถ้าหากมีการประกาศให้รู้กันแล้ว ให้ถือว่าสมมติฐานเช่นนี้ ไม่มีน้ำหนักพอในการ หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็น ในเมื่อได้มีการพิจารณาในวิถีชีวิตทุกแง่มุม และสอดคล้องตรงกับผู้เคร่งครัดศาสนาเป็นจำนวนมากแล้ว”

ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวได้ว่า วิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ มีส่วนคล้ายคลึงกับหลักอิจมาอฺ เพราะทั้งสองหลักการต่างวางอยู่บนพื้นฐานที่เรียกว่าสื่อนำไปสู่ซุนนะฮฺประเภทอนุมาน

อย่างไรก็ดี การอิจมาอ์ได้แสดงออกถึงจุดยืนของคำวินิจฉัยตามทัศนะของนักการศาสนา

ส่วนวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัด แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เป็นหลักปฏิบัติทางศาสนาของผู้เคร่งครัด(๘๒)

ด้วยเหตุนี้ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้เคร่งครัด ตามศาสนบัญญัติในบรรดาศ่อฮาบะฮฺ ได้ถูกยอมรับว่าเป็นสื่อสำคัญอย่างหนึ่งที่เปิดเผยให้รู้ถึงซุนนะฮฺนบี สามารถถือเป็นบทเรียน เป็นตัวอย่าง และเป็นหลักฐานในเรื่องซุนนะฮฺอีกประการหนึ่งด้วย

๑๐๔

หมายความว่า กฎเกณฑ์ทางศาสนาข้อใดที่ท่านศาสนทูตได้เผยแพร่ไว้ด้วยการกระทำก็ดี งดเว้นก็ดี หรือโดยการพูด การประพฤติปฎิบัติก็ดี แต่มิได้เป็นความรู้ตกทอดไปถึงพวกเรา เพียงแต่เรารู้ว่า ศ่อฮาบะฮฺหรือคนในสมัยใกล้เคียงกับท่านเคยกระทำ หรือเคยงดเว้นกิจการอันนี้ ก็ให้ถือเอาจุดยืนของพวกเขาต่อสิ่งนั้นๆ เป็นหลักการที่แสดงว่า นั่นคือซุนนะฮฺ มาจากท่านนบีขณะเดียวกับที่ถือว่า การกระทำใดๆ โดยศ่อฮาบะฮฺของท่านศาสนทูตหรือคนในสมัยใกล้เคียงที่เป็นคนเคร่งครัดในศาสนบัญญัติเป็นหลักฐานที่แสดงว่าเป็นซุนนะฮฺนบีการกระทำใดๆโดยมิตรสหายของบรรดาอิมาม (อ) หรือคนในสมัยใกล้เคียงที่เป็นคนเคร่งครัดในศาสนบัญญัติ ก็ย่อมเป็นหลักฐานที่แสดงว่าต้องมีที่มาจากบรรดาอิมาม (อ) อาจโดยคำสอนโดยการปฏิบัติหรือโดยมีท่าทีที่แสดงว่ารับรองแล้วเช่นกัน

จ.๑ การสนับของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ

ส่วนหนึ่งของสื่อในการนำเข้าสู่ซุนนะฮฺ ได้แก่ กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติ

นั่นคือ หลักเกณฑ์ทางด้านศาสนาที่เกิดขึ้นโดยความเห็นชอบของผู้เคร่งครัดศาสนาที่อยู่สมัยเดียวกับท่านนบีหรืออิมาม ซึ่งเป็นผลลัพท์จากการที่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับหลักการศาสนามาเป็นเวลานาน เช่นสองชั่วคนหรือมากกว่านั้น

๑๐๕

ท่านซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม อธิบายถึงวิธีการก่อตัวขึ้นมาของสิ่งที่ถือว่าเป็นงานสนับสนุนโดยการยอมรับของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติว่า “งานที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนดังกล่าว จะเริ่มก่อตัวขึ้นในความเห็นของคนทั่วไปซึ่งไม่จำเป็นต้องอาศัยการออกคำฟัตวาติดต่อกัน เป็นเวลาถึงสองหรือสามชั่วคนว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นของต้องห้าม จนมันได้กลายเป็นหลักเกณฑ์ที่ครองจิตใจของคนทั้งหลายผู้เป็นนักปฏิบัติ (๘๓)

ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิจมาอ์

กับวิถีดำเนินชิวิตของผู้เคร่งครัดในหลักศาสนา

ชะฮีด อัศ-ศ้อดร์ ได้บอกเล่าถึง เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิจมาอฺกับวิถีชีวิตของผู้เคร่งครัดหลักศาสนาและหลักเกณฑ์อันเกิดจากการสนับสนุนของผู้เคร่งครัดในศาสนาว่า

“หลักอิจมาอฺ ดังได้กล่าวแล้วนั้นได้เผยถึงรายงานริวายะฮฺที่มิได้มาในรูปของข้อเขียนแต่ เป็นวิถีการดำเนินชีวิตในเชิงพฤติกรรมที่ปรากฏอยู่ในบรรดาผู้เคร่งครัดทางศาสนาโดยทั่วไป”(๘๔)

ท่านมีความเห็นว่า วิถีชีวิตของผู้เคร่งครัดในศาสนบัญญัติดังกล่าวแล้วนั้นเปรียบเสมือนข้อต่อที่เชื่อมติดอยู่ระหว่างหลักอิจมาอฺกับหลักฐานทางศาสนา

๑๐๖

ในกรณีถ้าหากนักการศาสนา (ฟุเกาะฮาอ์) ลงมติร่วมกันสนับสนุนคำวินิจฉัยความเรื่องใด

เรื่องหนึ่งที่มิได้แนะนำให้รู้แน่ชัดเกี่ยวกับนักรายงานผู้ถ่ายทอดหลักเกณฑ์นั้นมาอันนี้สามารถคลี่คลายความสงสัยได้อย่างมั่นใจว่าคำวินิจฉัยอันได้จากหลักอิจมาอฺย่อมมาจากการประพฤติ

ปฏิบัติหรือไม่ก็เป็นหลักเกณฑ์จากการสนับสนุนอย่างใดอย่างหนึ่งจากผู้เคร่งครัด ในศาสนาที่อยู่ในสมัยที่มีการประทานบทบัญญัติ(๘๕)

หมายความว่า วิถีการดำเนินชีวิตและการสนับสนุนของผู้เคร่งครัดในศาสนาเป็นสองประการที่บันดาลใจให้บรรดานักปราชญ์วินิจฉัยความออกมาโดยหลักอิจมาอฺ ดังนั้น ทั้งสองประการจึงเป็นสื่อนำไปสู่หลักฐานตามบทบัญญัติศาสนา

ดังนั้น บรรดานักปราชญ์จึงลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ในการยึดถือวิถีการดำเนินชีวิตและการสนับสนุนของผู้เคร่งครัดในหลักศาสนา

 ท่านเหล่านั้นจึงวินิจฉัยความต่างๆ โดยอาศัยหลักการนั้น

ดังกล่าวนี้ คำวินิจฉัยจากหลักอิจมาอฺ จึงยึดหลักการตามวิถีชีวิตและการสนับสนุนของผู้เคร่งครัดในศาสนา

วิถีชีวิตและการสนับสนุนของผู้เคร่งครัดในศาสนาคือประตูที่เปิดออกไปสู่ซุนนะฮฺเพราะทั้งสองประการมีที่มาจากซุนนะฮฺ นั่นเอง

๑๐๗

ช.๑ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้มีสติปัญญา

หมายความว่า พฤติกรรมทางสังคมที่ผู้มีสติปัญญาในสมัยท่านนบีและอิมามปฏิบัติกันอยู่ ตามวิสัยของผู้มีสติปัญญา ซึ่งท่านนบีและอิมามมิได้ห้ามมิได้ยับยั้งพฤติกรรมเหล่านั้น ถือว่านี่คือ หลักฐานที่ถูกรับรองตามหลักการศาสนา

หากเราพบเห็นพฤติกรรมทางสังคมอย่างหนึ่งอย่างใดที่ประชาชนในสมัยท่านนบีหรืออิมามเคยประพฤติปฏิบัติแล้วไม่ปรากฏว่าพฤติกรรมทางสังคมนั้นๆ จะถูกสั่งห้ามดังนั้นเราจึงถือว่า พฤติกรรมดังกล่าวย่อมถูกรับรอง และถูกยอมรับแล้ว

ด้วยเหตุนี้เอง ถือว่าวิถีชีวิตของผู้มีสติปัญญาจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเข้าสู่ซุนนะฮฺของท่านนบี

ประการแรก เราได้ความเข้าใจว่า การรับรองของท่านนบีหรืออิมามที่มีต่อวิถีการดำเนินชีวิตของผู้มีสติปัญญานั้น หมายถึงการรับรองว่าพฤติกรรมทางสังคมแบบนั้นถูกต้องตามหลักศาสนา

เช่นเดียวกับประการที่สอง ที่เราสามารถทำความเข้าใจถึงกิจกรรมโดยทั่วไป อันมีผลในส่วนที่กว้างกว่าที่เคยถือปฏิบัติกันในสมัยนบีหรืออิมาม เมื่อเป็นที่รู้กันว่าพฤติกรรมทางสังคมที่มีผลในส่วนที่กว้างกว่าการกระทำในส่วนของปัจเจกชนเหล่านั้น ไม่เคยถูกสั่งห้ามจากท่านแต่อย่างใด

๑๐๘

๒ – หลักฐานในขั้นที่ไม่เด็ดขาด

หมายความว่า “กระบวนการแห่งหลักฐานที่นำไปสู่ซุนนะฮฺ ในลักษณะที่มีความบกพร่อง”(๘๖)

ข้อมูลอันได้จากหลักฐานประเภทนี้ สามารถนำมาเป็นข้อพิสูจน์ว่าเป็นหลักฐานจากซุนนะฮฺได้สองทาง คือ

ก.๒ มีหลักฐานขั้นเด็ดขาดสนับสนุนข้ออ้างนั้นๆ

ได้แก่ บทรายงานประเภทอัล-อาฮาด (รายงานจากนักรายงานคนเดียว) ที่กล่าวถึงหลักฐานจากพระคัมภีร์, ซุนนะฮฺ, หลักอิจมาอฺ, หลักเกณฑ์ ทางสติปัญญา, วิถีการดำเนินชีวิตของผู้มีสติปัญญา

ให้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ถูกรับรองให้ยึดเป็นหลักปฏิบัติได้ถึงแม้จะยังมีข้อสงสัยว่า มีแหล่งที่มาจากท่านนบี (ศ) หรือจากอิมามหรือไม่

ข.๒ ไม่มีหลักฐานขั้นเด็ดขาดสนับสนุนข้ออ้างของมัน

เหตุผลสำคัญที่สุดตามข้อนี้คือ ยึดถือหลักปฏิบัติที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย (อัช-ชุฮฺเราะฮฺ)

เมื่อได้ศึกษาในหลักเกณฑ์ของกิจกรรมประเภทที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย เราได้พบว่ามันมีจุดมุ่งหมายอยู่สามประการหรือสามแนวทางที่สามารถยึดเป็นสื่อนำไปสู่ซุนนะฮฺโดยคุณค่าและฐานะทางวิชาการของกฏเกณฑ์ในข้อนี้ ถือว่า เป็นสื่อนำไปสู่ซุนนะฮฺได้ในอันดับที่

รองลงมาจากหลักอิจมาอฺ

๑๐๙

ความนิยมแพร่หลายมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ดังนี้ :-

ข.๒.๑ ความนิยมแพร่หลายประเภทบทรายงาน

หมายถึง ความนิยมอย่างแพร่หลายในบทรายงานหนึ่งๆ และเป็นที่นิยมกันในหมู่นักรายงานในเนื้อหาสาระของประโยค ความหมายที่ตรงข้ามกับคำนี้ ได้แก่ความไม่เป็นที่นิยม ความไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย”(๘๗)

หมายความว่า ยามใดก็ตาม หากบทรายงานสองบทมีความหมายขัดแย้งกัน ให้ยึดถือบทรายงานที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากกว่า เป็นหลัก

บทรายงานหนึ่งที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากกว่าบทรายงานหนึ่งที่ขัดแย้งกับมันก็ให้ถือเอาบทรายงานนี้เป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานที่ขัดแย้งเสมอ เพราะเหตุว่ามันเป็นบทรายงานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายอยู่ในหมู่นักรายงาน เพราะฉะนั้นความนิยมอย่างแพร่หลายของบทรายงาน จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเข้าสู่ซุนนะฮฺ หมายความว่า โดยการยึดถือบทรายงานที่ได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นแนวทางในการเข้าสู่ซุนนะฮฺ และยกเลิกบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง

ข.๒.๒ ความนิยมแพร่หลายประเภทการปฏิบัติ

หมายถึง กรณีที่นักการศาสนาส่วนมากยึดถือบทรายงานใด และคำวินิจฉัยความอันใดเป็นหลัก จริงอยู่ถึงแม้เราจะดูว่า เป็นบทรายงานที่ด้อยประสิทธิภาพในระบบการรายงาน หรือในกรณีที่นักการศาสนาปฏิเสธหลักปฏิบัติข้อใดก็ตาม ถึงแม้เราจะดูว่าระบบการรายงานของเรื่องนั้นๆถูกต้อง

๑๑๐

กล่าวคือถือว่าการปฏิบัติของนักการศาสนาที่มีต่อบทรายงานเหล่านั้นเป็นอย่างไรก็หมายถึงความถูกต้องและเป็นประตูที่เปิดไปสู่ซุนนะฮฺ เหตุผลที่ทำให้เชื่อถือว่า บทรายงานเหล่านั้น

มีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม ก็อยู่ที่ท่าทีของบรรดานักการศาสนาส่วนใหญ่เหล่านั้น นั่นเอง

เพราะฉะนั้นนักปราชญ์กลุ่มหนึ่งจึงกล่าวว่า ความนิยมแพร่หลายสามารถสร้างอิทธิพลให้ระบบรายงานที่ขาดประสิทธิภาพมีความน่าเชื่อถือขึ้นมา แต่ขณะเดียวกัน นักปราชญ์อีกส่วนหนึ่งให้ความเห็นค้านหลักการตามทฤษฏีนี้

ขณะเดียวกัน ในเมื่อบทรายงานเหล่านั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการถือปฏิบัติ

มันจึงมีฐานะเป็นหลักฐานประเภทรองที่แสดงว่ามีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม ครั้นถ้าหากนักการศาสนาคัดค้านการกระทำใดๆ ที่ระบุไว้ในบทรายงานที่มีระบบการรายงานอย่างถูกต้อง ก็จะมีความหมายเช่นเดียวกันว่าบทรายงานนั้นๆ ไม่มีความน่าเชื่อถือว่าจะมีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม

ในเมื่อพวกเขาได้พบเห็นจุดบกพร่องปรากฏอยู่ในเนื้อความของบทรายงานเหล่านั้น

๑๑๑

ข.๒.๓ ความนิยมอย่างแพร่หลายประเภทการวินิจฉัยความ

หมายความว่า เมื่อมีคำวินิจฉัยความเกี่ยวกับเรื่องใดก็ตามที่บรรดานักการศาสนาส่วนใหญ่ให้ความนิยมอย่างแพร่หลาย ทั้งที่พวกเขามิได้อธิบายให้รู้แจ้งว่าคำวินิจฉัยความนั้นๆ มีที่มาจากบทรายงานใด โดยระบบการรายงานเช่นไรตามทัศนะของนักปราชญ์บางส่วนถือว่า คำวินิจฉัยความที่ว่านี้ ย่อมมีหลักเกณฑ์จากซุนนะฮฺวางเป็นแนวทางอยู่ จนผู้วินิจฉัยความสามารถสืบสาวได้เพียงแต่เราไม่ได้รู้ด้วยเท่านั้นเอง

แต่ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า นักปราชญ์บางส่วนมีความเห็นแย้ง กรณีที่ยึดเอาความนิยมอย่างแพร่หลายประเภทการวินิจฉัยความมาเป็นหลักฐานซึ่งพวกเขาจะไม่ยอมรับมาเป็นหลักปฏิบัติ

การแยกประเภทฮะดีษ

เราได้เข้าใจแล้วว่าซุนนะฮฺนบีนั้นหมายถึง แหล่งที่มาอันดับสองของบทบัญญัติทางศาสนา

แนวคิดและความรู้เกี่ยวกับอิสลาม ถัดจากอัล-กุรฺอานประวัติศาสตร์ได้บอกเล่าให้เรารู้ถึงการต่อสู้

การเผชิญหน้ากันทางด้านความคิดระหว่างศัตรูของอิสลาม ได้แก่พวกยิว พวกมุนาฟิกีน (พวกหลอกลวงทางศาสนา) พวกนอกศาสนา พวกฆอลลาต และพวกปลอมแปลงเรื่องราวต่างๆ ในอิสลาม

๑๑๒

กล่าวคือ พวกเขาเหล่านั้น ได้ทำการกล่าวเท็จแก่ท่านศาสนทูต (ศ) และบรรดาอิมาม โดยประพันธ์ฮะดีษขึ้นมาทำลายความหมายของซุนนะฮฺนบีให้เสียหายตามความต้องการของอารมณ์

กล่าวคือ ได้มีฮะดีษถูกปลอมแปลงขึ้นมาเป็นจำนวนหลายพันฮะดีษ

 มีฮะดีษที่ถูกต่อเติมพลิกแพลง

ความหมายอีกหลายพันฮะดีษด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงเกิดปัญหาที่ยุ่งยากที่สุดในการจำแนกแบ่งแยก

ฮะดีษต่างๆ ว่า อันไหนถูกต้อง ใช้ได้ อันไหนที่ถูกกุขึ้นมา อันไหนเป็นฮะดีษที่สมบูรณ์ทั้งบท อันไหนที่ขาดตกบกพร่องไป อันไหนที่ต่อเติมเสริมเข้ามาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วน และต้องมีการวิเคราะห์ไปถึงคุณสมบัติต่างๆ ของนักรายงาน ตลอดทั้งเนื้อความฮะดีษ

ดังนั้น ตามที่เราได้เกริ่นไปแล้วว่า นักปราชญ์ได้มีการจัดตั้งวิชาการสาขาประวัติบุคคล (ผู้เป็นนักรายงาน) ขึ้นมา เพื่อวิเคราะห์ถึงระบบการรายงานและเนื้อความของบทรายงานเพื่ออาศัยเป็นแนวในการตัดสินว่า บทรายงานใดถูกต้องบทรายงานใดเท็จ ต่อมาก็ได้จำแนกแยกประเภทบทฮะดีษที่ตกทอดมาถึงอนุชนรุ่นหลัง หลังจากได้มีการวิเคราะห์อย่างถ่องแท้กับบทรายงานต่างๆ ที่ถูกอ้างว่ามาจากท่านศาสนทูตและบรรดาอิมามแล้ว ก็สามารถจำแนกได้เป็นสองประเภทคือ

๑. ถูกต้อง

๒. ไม่ถูกต้อง

๑๑๓

ประวัติความเป็นมาของรายงานริวายะฮฺและฮะดีษต่างๆ บอกให้เรารู้อย่างหนึ่งว่า การแยกประเภทของฮะดีษอย่างที่ว่านี้ มีมาตั้งแต่สมัยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ)เมื่อครั้งที่ท่านได้กล่าวปราศรัยต่อประชาชนว่า

“ประชาชนทั้งหลาย แน่นอนได้เกิดมีการกล่าวเท็จแก่ฉันอย่างมากมาย”

อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้รู้ในหมู่ศ่อฮาบะฮฺและตาบิอีนได้กำหนดแนวทางในการจำแนกแยกแยะระหว่างฮะดีษที่ถูกต้องกับที่มิใช่ฮะดีษที่ถูกต้องออกจากกันไว้ด้วยความเข้มงวดกวนขันอย่างยิ่ง

ภายหลังจากท่านศาสนทูตได้วะฟาตแล้วและก่อนหน้าจะมีการจัดตั้งวิชาการแขนงประวัติศาสตร์ บุคคลขึ้นมา

ท่านเหล่านั้นจะยังมิให้การยอมรับฮะดีษใดๆ ก่อนจะมีการยืนยันถึงความซื่อสัตย์ของนักรายงาน มีรายงานมาจากบรรดาอิมาม (อ) ว่า มีหลายฮะดีษที่ถูกนำขึ้นเสนอต่อพวกท่าน แต่เป็นจำนวนมากทีเดียวที่ท่านปฏิเสธ เพราะเป็นบทรายงานมาจากนักรายงานที่มุสา

ภายหลังจากที่มีการจัดตั้งวิชาประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงานแล้ว ก็ได้มีการจำแนกแยกแยะ คุณสมบัติของนักรายงานที่เชื่อถือได้ออกไปต่างหากจากกลุ่มของนักรายงานประเภทอื่นอย่างสิ้นเชิง

ทำนองเดียวกับมีการจัดแบ่งประเภทของนักรายงานที่ซื่อสัตย์ออกเป็นระดับต่างๆ เช่น ในด้านความรู้ ความเคร่งครัด ความประพฤติที่มั่นคง มัซฮับ และหลักความเชื่อ...ฯลฯ

๑๑๔

ขณะเดียวกันก็ได้พบว่าฮะดีษบางบทถูกถ่ายทอดมาตามระบบลูกโซ่ของนักรายงานอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน

แต่อีกบางบทถูกถ่ายทอดมาถึงเราโดยที่นักรายงานมิได้กล่าวถึงกลุ่มของนักรายงานตามระบบของการรายงานที่สมบูรณ์แต่อย่างใด บ้างก็มิได้กล่าวถึงนักรายงานที่ตนได้รับบทรายงานมาหรืออาจกล่าวถึงคนแรกเพียงคนเดียวเท่านั้น

ขณะเดียวกับที่ยังพบอีกว่า บางรายงานริวายะฮฺมีนักรายงานเรียงแถวกันมากมายหลายคน จนไม่เกิดความรู้สึกน่าสงสัยในความซื่อสัตย์ของพวกเขาเหล่านั้น

ในขณะที่ได้พบอีกเช่นกันว่า บางรายงานริวายะฮฺ แทบจะมิได้กล่าวถึงนักรายงานเล จะกล่าวก็เพียงสัก ๑ หรือ ๒ คนเท่านั้น

จึงเป็นเรื่องธรรมดาอยู่เอง ที่นักปราชญ์จะมีความเชื่อถือนักรายงานคนนี้แตกต่างจากคนนั้น ถ้าหากเขาเป็นคนซื่อสัตย์ ดังที่จะยึดถือบทรายงานที่มีนักรายงานจำนวนมากร่วมกันถ่ายทอดมามากกว่าจะยึดถือบทรายงานที่มีคนรายงานเพียง ๑ หรือ ๒ คน ถึงแม้ว่าทั้งสองคนนั้นจะเป็นคนซื่อสัตย์ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ จะมีการแบ่งฮะดีษที่ถูกต้องออกมาเป็นชนิดต่างๆ กันอีกโดยถือเอาจำนวนนักรายงานที่ซื่อสัตย์หลายคนรายงาน เป็นเกณฑ์

๑.รายงานบอกเล่าที่ตรงกันเป็นเอกฉันท์ (มุตะวาติรฺ)(๘๘)

๑๑๕

นั่นคือ รายงานที่บอกเล่ามาในทุกยุคทุกสมัยสมบูรณ์ครบถ้วน ตามจำนวนของนักรายงาน จนไม่อาจมีข้อแม้ใดๆ มาอ้างว่า พวกเขาโกหก ได้เลยนักปราชญ์มีความเชื่อถือตรงกันว่า บทรายงานที่ตรงกันเป็นเอกฉันท์ย่อมให้ประโยชน์ทางด้านวิชาการ และความเชื่อมั่นในเนื้อหาสาระที่ถูกบอกเล่าไว้ เพราะฉะนั้น จึงถือเป็นข้อบังคับให้ปฏิบัติตาม (วาญิบ)

รายงานบอกเล่าที่ตรงกันเป็นเอกฉันท์ ถูกแบ่งออกเป็นประเภทได้อีก ดังนี้

ก.๑ ตรงกันเป็นเอกฉันท์ในด้านถ้อยคำ

หมายความว่า ทั้งถ้อยคำและความหมายของบทรายงานที่ถ่ายทอดมาถึงเรา มีความตรงกันเป็นเอกฉันท์

ข.๒ ตรงกันเป็นเอกฉันท์ในด้านความหมาย

หมายความว่าบทรายงานที่ถ่ายทอดจนถึงมายังเรามีความสอดคล้องตรงกันเป็นเอกฉันท์เฉพาะแต่ความหมายเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับถ้อยคำแต่อย่างใด

กล่าวคือ นักรายงานจะถ่ายทอดบทรายงานมายังเรา ด้วยการใช้ถ้อยคำในประโยคแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดนั้น จะมีความความหมายสอดคล้องเข้ากันได้อย่างกลมกลืน เช่น การรายงานมาด้วยคำบอกเล่าที่ว่า “กล้าหาญ, องอาจ, สมเกียรติ...ฯลฯ”

๑๑๖

 

บทรายงานที่มีความหมายตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ มีหลายรายงานเหลือเกินที่ถ่ายทอดมาถึงเรา โดยกระบวนการที่เรียกว่า อัล-อาฮาด

แต่ทั้งหมดนั้นจัดได้ว่ามีความหมายอย่างเดียวกัน ดังนั้น บทรายงานประเภทอัล-อาฮาด จึงหมายถึงบทรายงานที่สอดคล้องตรงกันเป็นเอกฉันท์ ในด้านความหมายประเภทหนึ่งนั่นเอง เพราะว่ากระบวนแห่งรายงาน ประเภทอัล-อาฮาด ในความหมายที่ว่านี้ อยู่ในระดับของบทรายงานที่สอดคล้องตรงกันอย่างเป็นเอกฉันท์ ที่ให้ประโยชน์ ทั้งในด้านความรู้และความเชื่อถือที่แน่นอน

ท่านฮิลลีย์ นักวิเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญ ได้เขียนคำอธิบายตามความหมายนี้ว่า

“อัต-ตะวาติรฺ” (ความตรงกันเป็นเอกฉันท์) ในแง่ของความหมาย ย่อมให้ความสูงส่ง, ถึงแม้ว่าคำศัพท์ในบทรายงานนั้นๆ จะเป็นประเภท

 “อาฮาด” ก็ตาม” (๘๙)

๒-รายงานบอกเล่า ประเภทอัล-อาฮาด

หมายความว่า รายงานบอกเล่าที่มีจำนวนนักรายไม่ครบตามอัตราที่กำหนดไว้ในรายงานประเภทตรงกันเป็นเอกฉันท์ (มุตะวาติรฺ) ไม่ว่าจะรายงานโดยนักรายงาน ๑ คน หรือมากกว่า ๑ คนก็ตาม ถือกันว่าบทรายงาน ประเภทอัล-อาฮาด เป็นเพียงหลักฐานประเภทรองเท่านั้น ยังไม่อยู่ในฐานะที่

ให้ประโยชน์ทางวิชาการ และไม่สามารถทำให้เราเกิดมีความมั่นใจอย่างครบถ้วนได้

๑๑๗

ชะฮีด อัศ-ศ็อดร์ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า

: “รายงานบอกเล่าของ คนเพียง ๑ คน อันหมายความว่า คำบอกเล่านั้นไม่ส่งผลให้เกิดความเชื่อถืออย่างมั่นใจแต่อย่างใด” (๙๐)

มีการถกเถียงกันมากในระหว่างนักปราชญ์ เกี่ยวกับประเด็นที่ว่า จะยอมรับคำรายงานของคน ๑ คนเป็นหลักฐานอ้างอิงในแง่ของบทบัญญัติทางศาสนาได้หรือไม่ได้ จนถึงขนาดมีการแบ่งออกเป็นสองสำนักวิชาการ สำนักหนึ่งปฏิเสธกระบวนการของคำบอกเล่าใดๆ ในประเภทอัล-อาฮาด เพราะเห็นว่าคุณค่าของบทรายงานประเภทนี้ ยังไม่อยู่ในระดับที่น่าเชื่อถือแต่อย่างใด

โดยหลักการทางศาสนายังอาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นบทรายงานที่โกหกปลอมแปลง และมีความผิดพลาดในคำบอกเล่า

ส่วนอีกสำนักหนึ่ง ให้การยอมรับบทรายงานประเภทอัล-อาฮาดได้ และยังได้ยืนยันว่ามีหลักฐานจากพระคัมภีร์และซุนนะฮฺ

แน่นอนได้มีการยอมรับการกระทำกิจกรรมบางอย่างโดยยึดหลัก การตามบทรายงานประเภทอัล-อาฮาด นักปราชญ์ทั้งหลายเองก็ยังยึดถือเป็นหลักในการพิจารณาด้านฟิกฮ์ และยึดเป็นหลักฐานเพื่อค้นหากฏเกณฑ์ทางศาสนา หลักฐานที่แสดงว่า ให้ยึดถือรายงานบอกเล่าประเภทอัล-อาฮาดได้

๑๑๘

ได้มีการหยิบยกหลักฐานจากอัล-กุรฺอานและจากซุนนะฮฺ ที่แสดงว่าให้ยึดถือรายงานประเภทอัล-อาฮาด ได้ดังนี้

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ถ้าหากคนละเมิดนำข่าวใดมาบอกสูเจ้า ดังนั้น จงสอบสวนให้แน่ชัดก่อน เพื่อสูเจ้าจะไม่ทำให้ภัยอันตรายเกิดขึ้นกับคนพวกหนึ่งเพราะไม่รู้ทันการณ์ แล้วสูเจ้าจะเสียใจในสิ่งที่ได้กระทำไป” (อัล-หุญุรอต/๖)

พวกเขาอ้างว่า โองการนี้มีสาเหตุในการประทานมาดังนี้คือ “เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะชายคนหนึ่ง มีชื่อว่า วะลีด บิน อุตบะฮฺ บุตรของอะบี มุอีฏ

เมื่อครั้งที่ท่านศาสนทูตได้ส่งเขาไปเก็บภาษีจากพวกบะนีมุศฏอลัก แต่เขาได้เดินทางกลับมาก่อนโดยที่ยังไปไม่ถึงเลย แล้วอ้างว่าคนพวกนั้นขับไล่และจะสังหารตน ท่านศาสนทูตได้ยินเช่นนั้นรู้สึกไม่พอใจ หมายจะไปทำศึกกับคนพวกนั้น

และแล้วโองการนี้ก็ถูกประทานลงมาเพื่อระบุว่า วะลีดเป็นคนโกหก เป็นคนฟาสิกความหมายในโองการ พอสรุปเป็นหลักฐานได้ดังนี้

๑-อย่าได้เชื่อถือคำบอกเล่าของคนฟาสิก เว้นแต่สามารถพิสูจน์ความจริงได้เท่านั้น

๒-สามารถเชื่อถือคำบอกเล่าของคนคนเดียวได้ ถ้าหากเขาเป็นคนซื่อสัตย์ มิใช่เป็นคนฟาสิก ดังจะเห็นได้ว่า ท่านศาสนทูต (ศ) แสดงออกอย่างชัดเจนว่าเชื่อเขาทั้งๆ ที่ยังมิได้ตรวจสอบ ดังข้อความที่ปรากฏในพระคัมภีร์ ขณะเดียวกันยังมีอีกโองการหนึ่งให้เหตุผลว่า

๑๑๙

“แท้จริง เหล่าบรรดาผู้ที่ปิดบังสิ่งที่เราประทานมาจากหลักฐานอันชัดแจ้งและทางนำหลังจากที่เราได้อธิบายเรื่องนั้นๆในพระคัมภีร์เพื่อมนุษย์ เขาเหล่านั้น อัลลอฮฺจะทรงประณาม และบรรดาผู้ประณามทั้งหลาย ก็จะประณามพวกเขาด้วย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ/๑๕๙)

โองการนี้ กล่าวประณามคนปิดบังทางนำและหลักฐานต่างๆ ไว้ โดยมิได้นำไปอธิบายแก่ประชาชน

ตามความหมายในโองการนี้ ยืนยันว่าการปิดบังเรื่องราวที่ได้ฟังมาจากท่านศาสนทูต(ศ)

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใดๆ ก็ตาม ถือเป็นการกระทำที่ต้องห้ามอีกทั้งไม่สามารถจะทำให้เป็นประโยชน์ตามความมุ่งหวังได้ นอกจากจะต้องวางกฎว่าให้เชื่อถือคนที่อธิบายสัจธรรมชี้ทางนำให้แก่ประชาชน ไม่ว่าคนที่บอกเล่าจะมีเพียงคนเดียว หรือมากกว่านั้นก็ตาม

ขณะเดียวกันยังมีหลักฐานจากซุนนะฮฺว่า ให้ยอมรับบทรายงานต่างๆ ที่มาในประเภทอัล-อาฮาด ดังคำสอนของท่านศาสนทูต(ศ) ว่า

“อัลลอฮฺทรงประทานความผาสุกให้แก่คนที่ได้ฟังคำพูดของฉันแล้วจดจำไว้ และรักษาไว้ต่อไป และได้นำไปปฏิบัติเหมือนดังที่เขาได้ยินมา บางทีคนที่นำพาความรู้ อาจได้ให้ความรู้แก่ผู้ที่ไม่รู้ และบางทีคนที่นำพาความรู้อาจให้ความรู้แก่คนที่รู้กว่าเขาก็เป็นได้”(๙๑)

๑๒๐