วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน0%

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 156

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน: สถาบันอัล – บะลาฆ
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 156
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 44850
ดาวน์โหลด: 3573

รายละเอียด:

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 156 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 44850 / ดาวน์โหลด: 3573
ขนาด ขนาด ขนาด
วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

รายงานมาผนวกเข้าหากันได้ก็ให้ยกเลิกไปเลยทั้งสองบทรายงาน หรือให้ใช้วิจารณญาณเลือกเอาบทใดบทหนึ่งมาถือปฏิบัติ

๒- บทรายงานที่มีมาตรฐานเหลื่อมล้ำกัน

เมื่อรายงานฮะดีษบทหนึ่ง มีความดีเด่นเป็นพิเศษมากกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งในแง่ต่างๆ ถือว่าให้ยึดเอารายงานบทนี้เป็นหลักปฏิบัติได้และให้ละทิ้งบทรายงานที่ขัดแย้งกับอันนี้ได้ ทั้งนี้ก็เพราะมันมีมาตรฐานที่เหลื่อมล้ำกันนั่นเอง

มาตรฐานเหนือกว่าประเภทต่างๆ

นักปราชญ์วิชาฮะดีษได้ศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานในด้านต่างๆ ของบทรายงานแล้วได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

๑- เหนือกว่าในแง่ของสารบบการรายงาน

หมายความว่า เมื่อมีพื้นฐานในแง่ของสารบบการรายงานอย่างสมบูรณ์พร้อมสรรพปรากฏอยู่ในฮะดีษบทใดบท

บทหนึ่งที่มีความหมายขัดแย้งกันแล้วเมื่อนั้นจึงจะสามารถให้ความมั่นใจได้ว่า ฮะดีษบทนั้นเป็นที่น่าเชื่อถือว่ามาจากท่านนบีหรืออิมาม มากกว่าฮะดีษหนึ่งอย่างแน่นอน จึงทำให้มีการยึดถือฮะดีษบทนั้นเป็นหลักโดยให้ละทิ้งฮะดีษที่มีความหมายขัดแย้งกับฮะดีษบทนั้น

๑๔๑

 ความมีมาตรฐานเหนือกว่าเป็นดังนี้ คือ

ก.ต้องประกอบด้วยนักรายงานเป็นจำนวนมาก

หมายความว่า ถ้าหากบทรายงานใด ถูกถ่ายทอดมาโดยนักรายงานที่มีจำนวนมากกว่า นักรายงานที่ถ่ายทอดบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง ให้ถือว่านี่คือความมีมาตรฐานที่เหนือกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง

ข.ต้องประกอบด้วยนักรายงานที่มีคุณสมบัติเหนือกว่า

หมายความว่า นักรายงานที่ถ่ายทอดบทรายงานใดมีคุณสมบัติเหนือกว่านักรายงานซึ่งถ่ายทอดบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือ ความรู้ ความสำรวมตนความเคร่งครัด

ก็ให้ยึดถือเอาบทรายงานที่ถ่ายทอดโดยนักรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ ความรู้ ความสำรวมและความเคร่งครัดที่เหนือกว่า เป็นหลัก

ค.มีสารบบการรายงานที่เหนือกว่า

หมายความว่า เป็นบทรายงานที่ผ่านการถ่ายทอดจากนักรายงานที่เป็นสื่อกลางระหว่างนบี หรือ อิมามเพียงจำนวนน้อย

หมายความว่า ให้ยึดถือบทรายงานที่ผ่านสื่อกลางจำนวนน้อยกว่าเป็นหลักเสมอเพราะถือว่า มีโอกาสที่จะผิดพลาดหรือหลงลืมในการถ่ายทอดน้อยกว่า

ดังนั้น บทรายงานที่ถูกถ่ายทอดมาจากสาวกของท่านนบี(ศ) โดยตรง ย่อมได้รับความเชื่อถือมากกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง เมื่อเป็นบทรายงานที่ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นตาบิอีน ซึ่งได้รับการรายงานมาจากรุ่นสาวกอีกชั้นหนึ่งที่ได้รับมาจากท่านนบี(ศ)

๑๔๒

๒. เหนือกว่าในแง่ของเนื้อความ

หมายความว่า เป็นบทรายงานที่มีพื้นฐานในด้านต่างๆ อย่างพร้อมสรรพในแง่ของเนื้อความ โดยที่ถ้าหากในเนื้อความของบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งไม่มีความพร้อมสรรพเช่นนั้นปรากฏอยู่ ให้ถือว่านี่คือส่วนหนึ่งที่ทำให้บทรายงานนั้นมีฐานะที่ได้รับความเชื่อถือเหนือกว่า ว่าต้องมีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม

มาตรฐานที่เหนือกว่าในด้านนี้ คือ

ก.เราได้ทราบมาแล้วว่า บางครั้งฮะดีษจะถูกถ่ายทอดมาตามข้อบัญญัติ

จากนบีโดยตรง (วจนะของท่านนบี (ศ)) บางครั้งจะถูกถ่ายทอดมาเฉพาะแต่ความหมายอย่างเดียว โดยจะใช้สำนวนประโยคอีกอย่างหนึ่งที่มิได้เป็นถ้อยคำในประโยคคำพูดของท่านนบี อาจทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน

เมื่อเป็นเช่นนั้น จะต้องถือเอาบทรายงานที่มีคุณสมบัติในด้านถ้อยคำเหนือกว่าเป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานอื่นที่มีคุณสมบัติเพียงให้ความหมายอย่างเดียวเท่านั้นเสมอ

โดยมีข้อสันนิษฐานว่า นักรายงานย่อมไม่มีความสามารถพอที่จะเรียงร้อยถ้อยคำเพื่อให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์เท่ากับถ้อยคำของท่านนบี

๑๔๓

ข.พื้นฐานในสำนวนแห่งเนื้อความ จะต้องประกอบด้วยพลังอรรถรส และความสละสลวย...ฯลฯ เพราะว่า เนื้อความที่มีพลังอรรถรสอย่างสละสลวย จะต้องมาก่อนบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง แต่มีจุดด้อยในโครงสร้างของประโยคทั้งนี้ก็เพราะว่า ถ้อยคำที่มาจากท่านศาสนทูต (ศ) นั้น

เต็มไปด้วยอรรถรสและสละสลวย ปราศจากจุดด้อยและถ้อยคำที่สับสน

ค.บทรายงานใดมีการยืนยันหลักฐานไว้อย่างหนักแน่นกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนครั้งในการยืนยันความหมาย หรือจะเป็นถ้อยคำเชิงสาบาน จะต้องถือเอาบทรายงานที่มีการยืนยันหลักฐานอย่างหนักแน่นนั้นเป็นหลักไว้ก่อน

ยกตัวอย่างบทรายงานที่ยืนยันหลักฐานไว้อย่างหนักแน่น ในเรื่องของการทำนมาซย่อ

สำหรับคนเดินทาง เมื่อเดินทางออกจากภูมิลำเนา หลังจากนั้นก็เข้าเวลานมาซ มีข้อความจากบทรายงานว่า

 “ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ถ้าหากท่านไม่ทำเช่นนั้น เท่ากับท่านขัดขืนคำสั่งของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ” (๑๐๒)

จากการศึกษาวิเคราะห์เนื้อความของบทรายงานนี้ เราจะพบว่ามีการแสดงหลักฐานหลายครั้ง เพราะว่าคำพูดของอิมามที่ว่า “จงย่อ” นั้น หมายความว่าการนมาซย่อนั้นเป็นวาญิบ

เช่นเดียวกับที่ท่านกล่าวว่า “ถ้าหากท่านไม่ทำเช่นนั้นเท่ากับท่านขัดขืน” อีกทั้งยังมีถ้อยคำสาบานปรากฏอยู่ด้วย ยิ่งทำให้การยืนยันหลักฐานหนักแน่นมากขึ้นไปอีก

๑๔๔

๓. เหนือกว่าในแง่ของปัจจัยภายนอก

มาตรฐานที่เหนือกว่าอีกประการหนึ่ง ที่จะมีบทรายงานหนึ่ง แต่ไม่มีในบทรายงานอื่นๆ ที่ความหมายขัดแย้งกัน ที่เรียกว่ามาตรฐานเหนือกว่าโดยปัจจัยภายนอก ก็เพราะว่าเป็นความได้เปรียบที่นอกเหนือไปจากเรื่องของ

สารบบการรายงานและเนื้อความ ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

ก.มีหลักฐานด้านอื่น สนับสนุนหลักฐานที่แสดงไว้ในบทรายงานนี้เพราะว่าจากการที่มีหลักฐานภายนอกให้การสนับสนุน จึงทำให้บทรายงานนี้มีความน่าเชื่อถือสูงกว่าบทรายงานที่มีความขัดแย้ง

ข.หลักปฏิบัติของนักปราชญ์ส่วนมากในอดีตที่เป็นไปตามความหมายของบทรายงานนี้ คือ ส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมความได้เปรียบให้แก่ความหมายของบทรายงานนี้ ซึ่งนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงได้ให้คำวินิจฉัยเอาไว้

หรือเพราะว่าเป็นหลักปฏิบัติของคนในสมัยอดีตที่ใกล้เคียงกับแหล่งที่มาของบทบัญญัติได้ช่วยเสริมให้บทรายงานนี้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ว่าต้องมีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เขาเหล่านั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่สนับสนุนความถูกต้องของบทรายงาน มิเช่นนั้น องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้จะไม่มีวันตกทอดมาจนถึงพวกเรา

๑๔๕

หลังจากที่ได้เสนอทัศนะต่างๆ ทางด้านวิชาการ เรื่องมาตรฐานความน่าเชื่อถือของบทรายงาน ทั้งในแง่ที่ทัดเทียมกันและเหลื่อมล้ำกันแล้วถือว่า สมควรอย่างยิ่งที่เราจะได้ชี้แจงว่าสำหรับนักปราชญ์แต่ละท่านนั้น ต่างก็มีทัศนะ มีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อบทรายงานบางส่วนที่มีความเหลื่อมล้ำกันเหล่านี้แตกต่างกัน

การแก้ปัญหาบทรายงานฮะดีษที่ขัดแย้งกัน

นักปราชญ์สาขาอุศูลุล-ฟิกฮฺ ได้กำหนดแนวทางด้านวิชาการไว้สำหรับแก้ไขปัญหากรณีที่บทรายงานฮะดีษต่างๆ ขัดแย้งกัน

วิชาการด้านนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักรายงาน

จุดประสงค์ที่สำคัญก็คือ เพื่อให้ได้ข้อสรุปทางวิชาการในการกลั่นกรองบทรายงานฮะดีษต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งกฏเกณฑ์ทางศาสนา กฎหมาย ตลอดทั้งความรู้ในด้านต่างๆ ตามแนวความคิดของอิสลาม

แนวทางที่ว่านี้ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆ คือ

๑- หลักเกณฑ์ในการนำเอาความหมายระหว่างฮะดีษต่างๆ ที่มีความหมายขัดแย้งกันมาผนวกเข้าหากัน โดยถือเอาบทรายงานที่มีมาตรฐานเหนือกว่าเป็นหลัก

๑๔๖

เช่น การให้นำความหมายในลักษณะทั่วไปกับความหมายในลักษณะชี้เฉพาะมาผนวกเข้าหากันโดยให้ยึดถือรายงานที่มีความหมายในลักษณะชี้เฉพาะเป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานที่มี

ความหมายในลักษณะทั่วไป

เช่นเดียวกับให้นำบทรายงานฮะดีษที่มีความหมายในลักษณะเป็นอิสระมาผนวกเข้าหากันกับบทรายงานที่มีความหมายในลักษณะวางข้อจำกัด โดยให้ยึดถือบทรายงานที่มีความหมายในลักษณะวางข้อจำกัด เป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานที่มีความหมายในลักษณะเป็นอิสระ

การอธิบายเชิงวิชาการตามหลักเกณฑ์นี้ คือการยึดหลักที่ยอมรับกันอยู่โดยทั่วไป เพราะเป็นความเข้าใจที่ยอมรับกันอยู่ ถึงที่มาของบทบัญญัติ สองประเภทที่มาจากเจ้าของกฎผู้ทรงไว้ซึ่งวิทยปัญญา นั่นคือกฎเกณฑ์หนึ่ง จะถูกประทานมาในลักษณะทั่วไป อีกกฏเกณฑ์หนึ่งจะถูกประทานมา ในลักษณะชี้เฉพาะ

หรืออาจพูดได้ว่า กฏเกณฑ์หนึ่งจะถูกประทานมาในความหมายที่เป็นอิสระแต่อีกโองการหนึ่งจะถูกประทานมาในความหมายที่มีข้อจำกัด

ฉะนั้นกฎเกณฑ์ใดที่มีความหมายชี้เฉพาะ โดยมีข้อจำกัดว่างอยู่นั่นเอง คือเจตนารมณ์ของผู้ทรงวางกฎ

๑๔๗

แต่ทว่า มิได้ความหมายว่ากฏเกณฑ์นี้จะถูกประทานมาเพื่อหักล้างจุดประสงค์ของอีกกฎหนึ่ง หากแต่หมายความว่า เป็นกฏเกณฑ์ที่ถูกประทานมาเพื่ออธิบายเจตนารมณ์ของผู้ทรงวางกฎและเพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งนั่นเอง

ยกตัวอย่าง บทรายงานว่าด้วยเรื่องดอกเบี้ย โดยทั่วไปแล้วถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้าม ดังข้อความในโองการต่างๆ ที่ได้ห้ามในเรื่องนี้ไว้แต่เรายังพบว่า มีหลายบทรายงานฮะดีษที่อนุโลมให้มุสลิมรับดอกเบี้ยจากคนกาฟิรฺประเภทหัรฺบีย์ (คู่สงคราม)ได้ดังมีบทรายงานจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่า

“พวกท่านอย่ากินดอกเบี้ย และอย่าใส่ร้ายสตรีที่ครองเรือน”(๑๐๒)

มีรายงานจากท่านนบี(ศ)อีกว่า

“ระหว่างพวกเรากับพวกที่ทำสงครามกับเรานั้น มิใช่ดอกเบี้ยเราสามารถรับมาจากพวกเขา ๑,๐๐๐ ดิรฺฮัม ต่อจำนวนที่เรามอบให้ ๑ ดิรฺฮัม ได้ และเราจะต้องไม่ให้ดอกเบี้ยแก่พวกเขา”(๑๐๔)

เมื่อเรามาพิจารณาบทรายงานต่างๆ เหล่านี้ที่มีความหมายขัดแย้งกันเราจะสามารถเข้าใจได้ว่า ผู้ทรงวางกฏมิได้หักล้างกฎของพระองค์เองแต่อย่างใด

หากทรงวางกฎประเภทชี้เฉพาะมากำกับกฎประเภททั่วไป เพื่ออธิบายในหลักการว่า มีข้อยกเว้นอยู่ในกฏข้อห้ามเรื่องดอกเบี้ย โดยคนมุสลิมสามารถรับดอกเบี้ยจากคนกาฟิรฺประเภทหัรฺบีย์ได้

๑๔๘

๒- เปรียบเทียบเพื่อหาบทรายงานที่มีมาตรฐานเหนือกว่า

หมายความว่า เมื่อได้มีการตรวจสอบมาตรฐานของบทรายงาน ทั้งในแง่ของสารบบการรายงาน หรือเนื้อความ หรือปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าปรากฏอยู่ในบทรายงานนั้นๆแล้ว ให้ถือว่าการปฏิบัติตามความหมายในบทรายงานนั้น เป็นกฎอย่างหนึ่ง

๓- การพิจารณาคัดเลือก

ในที่นี้หมายความว่า ผู้ปฏิบัติศาสนกิจสามารถเลือกปฏิบัติตามบท รายงานใดก็ได้ ในระหว่างสองบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งกัน ที่ไม่สามารถนำความหมายมาผนวกเข้าหากันได้และที่ไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบ ระหว่างกันแต่อย่างใด ในระหว่างสองบทรายงาน

๔- ยกเลิกทั้งสองบทรายงาน

มีนักปราชญ์บางกลุ่มให้ความเห็นว่า บทรายงานต่างๆที่มีความขัดแย้งอันคงที่นั้น เมื่อไม่สามารถหาวิธีการใดแก้ปัญหา ไม่ว่าจะโดยวิธีผนวกความหมายเข้าหากัน หรือวิธีเปรียบเทียบเพื่อหาความมีมาตรฐานที่เหนือกว่าในด้านต่างๆระหว่างกันและกัน ถือว่าต้องยกเลิกความเชื่อถือจากทั้งสองบทรายงานนั้นเสีย จนกระทั่งว่าบทรายงานประเภทนี้ แทบจะมิได้ตกทอดมาถึงยุคของเรา

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ให้ย้อนกลับไปยึดถือในหลักการขั้นพื้นฐานเช่น หลักการว่าด้วย “อัล-บะรออะฮฺ”*และอัล-อิหฺติยาฎ.....

๑๔๙

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ

พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก

*อัล-บะรออะฮฺ หมายถึงการปลดเปลื้องความรับผิดชอบในกฏเกณฑ์ใดก็ตาม ที่ไม่ปรากฏหลักฐานให้แก่เราอย่างชัดเจน

เชิงอรรถ/หนังสืออ้างอิง

๑- อัร-รอวีย์/มุคตารุศศิฮาหฺ

๒- ซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อะมานะฮฺ ลิล ฟิกฮิล-มุกอริน/หน้า๑๒๑

๓- มุจมุอุล-บะหฺรัยน์/กิตาบุน-นูน/ หมวดอักษร “ซีน”

๔- อัล-อิหฺกาม ฟี อุศูลุล-อะหฺกาม/เล่ม๑/หน้า๒๒๓/ตรวจทานโดย

ดร.ซัยยิด ญะมีลีย์

๕- เล่มเดิม

๖- อัร-รอฆิบ อัล-อิศฟะฮานีย์/ปทานุกรมศัพท์ อัล-กุรฺอาน

๗- อัล-มุอ์ญัม อัล-วะซีฏ

๘- อัล-วะซาอิล/เล่ม๘/หน้า๕๙๗/อักษร หาอ์ ๕)

๙- อัล-กุลัยนีย์/อุศูลุล-กาฟีย์/เล่ม๑/หน้า๕๙

๑๐-๑๑ อ้างแล้ว

๑๒- อ้างแล้ว หน้า ๗

๑๓- อัล-มุฮักกิก อัล-ฮิลลีย์/มะอฺริญุล-อุศูล/หน้า ๑๘๐

๑๔- อับดุลลอฮฺ ชะบิร/ฮักกุล-ยะกีน ฟีมะริฟะฮฺ อุศูลุดดีน/เล่ม๑/หน้า๙๔

๑๕- อัร-รอฆิบ อัล-อิศฟะฮานีย์/ปทานุกรมศัพท์ อัล-กุรฺอาน

๑๖- อัล-อิศอบะฮฺ ฟี ตัมยีซศ่อฮาบะฮฺ/เล่ม๑/หน้า๗/บทที่๑

๑๗- อัล-อิศอบะฮฺ ฟี ตัมยีซศ่อฮาบะฮฺ/เล่ม๑/บทนำ/หน้า ๑๐-๑๑

๑๘- อัล-ยะกูบีย์/ตารีคุล-ยะกูบีย์/เล่ม๒/หน้า ๑๖๒

๑๙- อัล-ยะกูบีย์/ตารีคุล-ยะกูบีย์/เล่ม๒/หน้า ๑๖๒ พิมพ์ที่กรุงเบรุต

๒๐- มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อะมานะฮฺ ลิลฟิกฮฺ อัล-มุกอริน/หน้า ๔๓๙

๒๑- อัล-อามิดีย์/อัล-อะหฺกาม ฟี อุศูล-ลิล-อะหฺกาม/เล่ม๒/หน้า ๑๕๕

๒๒- อ้างแล้ว

๒๓- อัต-ติรมิซีย์/อัล-ญามิอุศ-ศ่อฮีฮฺ/เล่ม๕/หน้า๖๒๒/อิบนุ อัล-อะษีร/ญามิอุล-อุศูล/เล่ม๑/หน้า

๑๗๘

๒๔- อัล-มัจลิซีย์/บิหารุล-อันวาร/เล่ม๒/หน้า ๑๗๕

๒๕- อัลลามะฮฺ อัล-มัจลิซีย์/บิหารุล-อันวาร/เล่ม๒/หน้า ๑๗๓

๒๖- อัด-ดิรอยะฮ์/หน้า ๖

๒๗- อัฏ-ฏ็อบรีย์/อัล-อิหฺติญาจ/เล่ม๒/หน้า ๒๔๖/และ อะหฺมัด บิน

 ฮัมบัล

๒๘- อัซ-วะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์ ฟี ชะเราะฮฺ ตักรีบ นะวาวีย์/เล่ม๑/

หน้า ๓๐

๒๙- อัล-บะฮฺบูดีย์/ศ่อฮีฮุล กาฟีย์/เล่ม ๑/บทนำ

๓๐- อะลามุล-มุวักกิอีน/เล่ม๒/หน้า ๒๒๓

๑๕๐

๓๑- มีซานุล-อิติดาล/เล่ม ๑/หน้า ๔๑๒-๔๑๓

๓๒- อัต-ติรมิซีย์/สุนัน อัต-ติรมิซีย์/เล่ม ๕/หน้า ๔๓

๓๓- อัร-รอซีย์ อัล-ญะเราะฮฺวัต-ตะดีล/เล่ม ๑/หน้า ๔๕๓

๓๔- อัล-อิสก็อลลานีย์/อัต-ตะฮฺซีบ/เล่ม ๑/หน้า ๔๑๙

๓๕- อัต-ตะฮฺซีบ/เล่ม ๖/หน้า ๒๑๖

๓๖- ญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์ ฟี ชะเราะฮฺ

 ตักรีบอัน-นะวารีย์/เล่ม ๒

๓๗- เล่มเดิม ที่เดียวกัน

๓๘- เล่มเดิม/หน้า ๖๒-๖๓

๓๙- ๔๐-๔๑-เล่มเดิม

๔๒- อัล-มัจลิซีย์/บิหารุล-อันวาร/เล่ม ๒๓/หน้า ๑๕๔

๔๓- อัล-บุคอรี/ศ่อฮีฮุล-บุคอรี/เล่ม ๑/หน้า ๒๙/กิตาบุล-อิลม์/

พิมพ์โดย สำนักพิมพ์อิหฺยาอุต-ตุรอษิล-อะเราะบีย์/กรุงเบรุต

๔๔- มุสนัด อะหฺมัด บิน ฮัมบัล/เล่ม ๓/หน้า ๑๒/พิมพ์โดย

 ดารุศ-ศอดิร กรุงเบรุต

๔๕-ญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์/หน้า ๖๓

๔๖- ญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์/หน้า ๖๒

๔๗- ฟัตหุล-บารีย์ ศ่อฮีฮฺ บุคอรี หมวดว่าด้วย กิตาบุล-อิลม์/หน้า ๒๑๘

๔๘-อัซ-วะฮะบีย์/ตัซกิเราะตุล-หุฟฟาซ เรื่องอะบูบักร์/เล่ม ๑/หน้า ๒-๓

๔๙- เล่ม ๕/หน้า ๑๔๐ เรื่องอัล-กอซิม บิน มุฮัมมัด บิน อะบูบักร์

๑๕๑

๕๐- มุนตะค็อบ กันซุล-อุมมาล ภาคผนวก มุสนัดอะหฺมัด เล่ม ๔/

หน้า ๖๔

๕๑- มุรตะฎอ อัล-อัสกะรีย์/มุอาละมุล-มัดเราะสะตัยน์/เล่ม ๒/หน้า ๔๘

๕๒- อิบนุมันซุร/ลิซานุล-อะร็อบ

๕๓- อัล-ฟะกีฮุล-ลัฆวีย์/ฟัครุดดีน อัฏ-ฏอริฮีย์/มัจมุอุล-บะรัยน์/

กิตาบุล-อัยน์/หมวดอักษรบาอ์

๕๔- ศ่อฮีฮฺมุสลิม เล่ม ๖ เรื่องการนมาซญุมอะฮฺ

๕๕- อัล-กุลัยนีย์ อุศูลุล-มินัลกาฟีย์/เล่ม ๑/หน้า๕๔

๕๖- ๕๗ เล่มเดิม

๕๘- เล่มเดิม หน้า ๕๗

๕๙- อัล-กุลัยนีย์ อุศูลุล-มินัล-กาฟีย์/เล่ม ๑/หน้า ๕๘

๖๐- อัล-หุร-รุล-อามิลีย์/อัล-วะซาอิล/เล่ม ๑๖/หน้า ๑๕๔/

พิมพ์โดยสถาบัน อาลิล-บัยตฺ เมืองกุม

สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

๖๑-๖๒-๖๓-อัล-มุฮักกิก อัล-ฮิลลีย์/มะอาริญุล-อุศูล/หน้า ๑๐๙

๖๔- ชะฮีด ษานีย์ ซัยนุดดีน อัล-อามิลีย์/หนังสืออัด-ดิรอยะฮฺ หน้า ๖๕

๖๕- อัด-ดิรอยะฮฺ/หน้า ๑๘

๖๖- ชะฮาดะฮฺ หมายถึง การได้มองเห็นอย่างชัดเจน,

 การยืนยันเหมือนกับได้มองเห็น ในที่นี้หมายถึง การยืนยันว่าบทรายงานใด มีความน่าเชื่อถือด้วยวิธีการที่สามารถทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนได้เข้าไปสัมผัสเอง

๑๕๒

๖๗-อัด-ดิรอยะฮฺ /หน้า ๑๘

๖๘- เล่มเดิม /หน้า ๑๙

๖๙- เล่มเดิม /หน้า ๒๐

๗๐- เล่มเดิม /หน้า ๒๐

๗๑- เล่มเดิม /หน้า ๒๑

๗๒- เล่มเดิม

๗๓- เล่ม ๗/หน้า ๑๐-๑๑

๗๔- มะหฺยุดดีน อัล-ฆอรีฟีย์/กอวาอิดุล-ฮะดีษ/หน้า ๑๗๖

๗๕- มุจมุอุร-ริญาล/เล่ม ๗/หน้า ๑๖๓

๗๖- เล่ม ๖/หน้า ๒๙/เล่มเดียวกัน

๗๗- ซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อามมะฮฺ ลิล ฟิกฮิล-มุกอร็น/หน้า ๑๙๔

๗๘- ซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อามมะฮฺลิล ฟิกฮิล-มุกอริน/หน้า ๑๙๖

๗๙- ดุรูซุ ฟี อิลมิล-อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๐

๘๐- ผู้เคร่งครัดในบทบัญญัติทางศาสนา และมีความรอบรู้ในด้านบทบัญญัติ

๘๑- ดุรูซ ฟี อิลมิล อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๖

๘๒- ดุรูซ ฟี อิลมิล อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๗

๘๓- อัล-อุศูลุล-อามมะฮฺ ลิล ฟิกฮิล มุกอร็น/หน้า ๒๐๑

๘๔- ชะฮีด อัศ-ศ็อดรฺ/ดุรูซ ฟี อิลมิล-อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๗

๑๕๓

๘๕- เล่มเดิม

๘๖- มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูล-อามมะฮฺ ลิล ฟิกฮิล-มุกอร็น/

หน้า ๒๐๕

๘๗- เล่มเดิม /หน้า ๒๒๑

๘๘- อัต-ตะวาตุร มีความหมายในทางภาษาว่า การกระทำตามในสิ่งใดๆ ด้วยกัน

๘๙- อัล-มุฮักกิก ฮิลลีย์/มะอาริญุล-อุศูล/หน้า ๑๔๐

๙๐- ชะฮีด ศ็อดรฺ/ดุรูซ ฟี อิลมิลอุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๘๗

๙๑- ซัยนุดดีน อัลอามิลีย์/อัด-ดิรอยะฮฺ ฟี อิลมิมุศฏอลาฮิล-ฮะดีษ/

หน้า ๑๑๓

๙๒-นักปราชญ์บางท่านให้ความเห็นว่า สามารถนำบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งกันมาผนวกให้เข้ากันได้ ถึงแม้ว่าสารบบการรายงานของบทหนึ่งจะมีมาตรฐานเหนือกว่าอีกบทหนึ่งก็ตาม

๙๓- อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์/เล่ม ๑/หน้า ๙๖

๙๔- เล่มเดิม/หน้า ๕๐

๙๕- ชะฮีด ษานีย์/อัดดิรอยะฮฺ/หน้า ๑๕

๙๖- อัล-ฮุรรุล-อามิลีย์ / วะซาอิลุช-ชีอะฮฺ / เล่ม๓ / หมวดว่าด้วยหนี้สินกับการกู้ยืมบทที่ ๑๒

๙๗- อับดุล-ฮาดีย์ อัล-ฟัฎลีย์/มุบาดิอุล-อุศูลุล-ฟิกฮ์/หน้า ๓๑

๙๘- เล่มเดิม

๙๙- อัล-มุอัจญัม อัล-วะซีฏ/เล่ม ๑

๑๕๔

๑๐๐- ชะฮีด อัศ-ศ็อดร์/ดุรูซ ฟี อิลมิ อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๔๔๙

๑๐๑- มุฮัมมัด ญะวาด มุฆนียะฮฺ/อิลม์ อุศูล-ฟิกฮ์ ฟีเษาบิฮิล-ญะดีด/

หน้า ๔๓๑

๑๐๒- ชะเราะฮฺ มะอาละมุด-ดีน/เชค มุศฏอฟา อัล-อิติมาดีย์/หน้า ๓๒๒

๑๐๓- อัต-ติรมิซีย์/ตัฟซีรซูเราะฮฺ

๑๐๔- อัล-ฮุรรุล-อามิลีย์/วะซาอิลุช-ชีอะฮฺ/บทที่ ๗/หมวดว่าด้วยดอกเบี้ย

....บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ (อ)

ตลอดทั้งคนในยุคตาบิอีน บรรดานักปราชญ์อิสลาม

ต่างได้บันทึกฮะดีษด้วยกันทั้งนั้น

เพราะหากไม่มีใครบันทึกกันแล้ว

แน่นอนการศึกษาซุนนะฮฺก็จะไม่อาจเป็นไปได้

มนุษยชาติจะได้รับความขาดทุนอันใหญ่หลวง

เพราะหมดโอกาสได้รับมรดกทางความคิด

ที่มีมาในหน้าประวัติศาสตร์......

๑๕๕

สารบัญ

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน. ๑

ซุนนะฮฺนบี. ๕

คำว่า “ซุนนะฮฺ” ในแง่ของวิชาการศาสนา ๗

ซุนนะฮฺประเภทต่างๆ. ๑๐

๑ – วจนะของท่านศาสดา ๑๓

๒ – การกระทำของท่านศาสดา (ศ) ๑๔

คำอธิบายว่าด้วยการกระทำของท่านนบี(ศ) ๑๕

ถ้อยคำและลักษณะต่างๆ ที่แสดงเหตุผล. ๒๐

ซุนนะฮฺกับหลักความคิดและบทบัญญัติ. ๒๔

ซุนนะฮฺของสาวก (ศ่อฮาบะฮฺ) ๓๔

ซุนนะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ๔๒

ฮะดีษปลอม. ๔๗

บทเรียนต่างๆ จากฮะดีษปลอม. ๕๑

การบันทึกฮะดีษ. ๕๔

ซุนนะฮฺกับ อัล-กุรฺอาน. ๖๖

หลักวิชาฮะดีษ. ๗๔

คุณสมบัตินักรายงานที่ถูกยอมรับ. ๘๒

การชี้จุดบกพร่องกับการยืนยันในความเที่ยงธรรม. ๘๔

สื่อต่างๆ ในการนำเสนอรายงาน. ๙๐

วิธีจำแนกชื่อ นักรายงานที่ตรงกัน. ๙๕

วิธีจำแนกนักรายงานที่มีชื่อซ้ำกัน. ๙๙

สื่อนำสู่ซุนนะฮฺ. ๑๐๐

ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิจมาอ์. ๑๐๖

กับวิถีดำเนินชิวิตของผู้เคร่งครัดในหลักศาสนา ๑๐๖

การแยกประเภทฮะดีษ. ๑๑๒

ฮะดีษที่มีนักรายงานคนเดียว (อัล-อาฮาด) ๑๒๓

ฮะดีษกับสารบบการรายงาน. ๑๒๗

ฮะดีษมุรซัลประเภทต่างๆ. ๑๓๒

ความขัดแย้งกับวิธีการแก้. ๑๓๕

มาตรฐานเหนือกว่าประเภทต่างๆ. ๑๔๑

การแก้ปัญหาบทรายงานฮะดีษที่ขัดแย้งกัน. ๑๔๖

ความหมายในลักษณะทั่วไป. ๑๔๗

เชิงอรรถ/หนังสืออ้างอิง ๑๕๐

๑๕๖