วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน0%

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 156

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน: สถาบันอัล – บะลาฆ
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 156
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 44868
ดาวน์โหลด: 3574

รายละเอียด:

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 156 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 44868 / ดาวน์โหลด: 3574
ขนาด ขนาด ขนาด
วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

อะบูบักร์ อุมัรเอง ก็มิได้ปฏิเสธอะไรกับคนที่ใช้ทัศนะทางวิชาการขัดแย้งกับตนยิ่งกว่านั้น เกี่ยวกับเรื่องอิจญ์ติฮาด พวกเขาจะให้การยอมรับกับผู้ทำการอิจญ์ติฮาดทุกคน ที่ทำตามหลักวินิจฉัยความของตนเอง

เพราะขาดหลักฐานว่าพวกเขามีสภาพเป็นมะศูม

และพวกเขาก็มีความขัดแย้งกันเอง อีกทั้งพวกเขายังยืนยันเองว่าอนุญาตให้ใครๆ ขัดแย้งกับพวกเขาได้เป็นหลักฐาน ๓ ข้อที่สามารถตัดสินได้อย่างเด็ดขาดแล้ว(๒๐)

ขณะเดียวกับที่เราได้ทำความเข้าใจในทัศนะของอิมามฆอซาลีย์ เราควรจะได้ทำความเข้าใจกับทัศนะของ อัล-อามิดีย์ ผู้มีพื้นฐานในมัซฮับ ฮัมบะลีย์ ตลอดทั้งทัศนะอื่นๆ ที่ได้อ้างอิงจากบรรดาอิมามหลายมัซฮับ เกี่ยวกับมัซฮับของศ่อฮาบะฮฺ ท่านได้กล่าวว่า

“ทุกฝ่ายให้ความเห็นตรงกันว่า มัซฮับศ่อฮาบะฮฺ ในส่วนของปัญหาการอิจญ์ติฮาดนั้น ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นข้อพิสูจน์ใดๆ สำหรับศ่อฮาบะฮฺระดับมุจญ์ตะฮิดคนอื่นๆ ไม่ว่าในฐานะอิมามผู้ปกครอง หรือผู้ทำหน้าที่วินิจฉัยความก็ตาม”

พวกเขามีความเห็นแตกต่างกันในประเด็นที่ว่าฐานะของมัซฮับศ่อฮาบะฮฺจะเป็นข้อพิสูจน์

๔๑

สำหรับคนในยุคตาบิอีน และบรรดามุจญ์ตะฮิด สมัยถัดมาหรือไม่

มี ๒ เรื่องจากมัซฮับนี้ที่พวกอัชอะรีย์ พวกมุตะซิละฮฺ และซาฟิอีย์ เห็นด้วย ๑ เรื่อง

มี ๒ รายงานริวายะฮฺ ที่อะหฺมัด บิน ฮัมบัล เห็นด้วย ๑ ริวายะฮฺ

ส่วนอัล-กัรคีย์นั้น เห็นว่า “มัซฮับนี้ ไม่เป็นข้อพิสูจน์แต่อย่างใด

มุคตารฺเองก็ยังเห็นว่าไม่สามารถเป็นข้อพิสูจน์ได้เลยอย่างเด็ดขาด”(๒๑)

“เมื่อสามารถยืนยันได้ว่า มัซฮับศ่อฮาบะฮฺ มิใช่ข้อพิสูจน์ทางศาสนาที่วาญิบให้ปฏิบัติตาม แล้วยังอนุญาตให้มัซฮับอื่นรับการตักลีด (เชื่อถือตาม) ได้อีกหรือขนาดมุคตารฺเองก็ยังตัดสินห้ามอย่างเฉียบขาดเช่นนี้แล้ว”(๒๒)

ซุนนะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ)

บรรดาผู้ที่ยึดถือตามอะฮฺลุลบัยตฺ เชื่อถือว่า ซุนนะฮฺของอิมามอาลี บิน อะบีฏอลิบ, ฮาซัน, ฮุเซน (อ) ตลอดทั้งบรรดาอิมามจากลูกหลานของฮุเซน (อ) มีฐานะที่เกี่ยวพันกับซุนนะฮฺของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ (ศ)

ด้วยเหตุนี้พวกเขามีความเชื่อถือว่าอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) คือแหล่งที่มาของบทบัญญัติทางศาสนาถัดจากพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺนบีของพระองค์

๔๒

นักปราชญ์ ให้การยอมรับในสำนักวิชาการแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ อย่างนี้ก็เพราะในพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺนบีของพระองค์ มีหลักฐานยืนยันในเรื่องความเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากความบาปของอะฮฺลุลบัยตฺ และมีหลักฐานยืนยันในความเคร่งครัดที่ท่านเหล่านั้นมีต่อพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺนบีของพระองค์

อีกทั้ง โดยการแนะนำจากท่านศาสนทูต(ศ) เองว่า ให้ประชาชาติทั้งหลายยึดถือ และยอมรับให้ท่านเหล่านั้นเป็นนำภายหลังจากสมัยของท่าน ส่วนหนึ่งจากโครงการในพระคัมภีร์อัล-กุรฺอาน ที่ระบุถึงเรื่องนี้ คือโองการของอัลลอฮฺ ความว่า

“อันที่จริง อัลลอฮฺทรงมีพระประสงค์เพียงขจัดความมลทินออกให้พ้นไปจากสูเจ้า โอ้อะฮฺลุลบัยตฺ และทรงชำระขัดเกลาสูเจ้าให้บริสุทธิ์”

ในตำราตัฟสีรหลายเล่ม รายงานฮะดีษอีกมากมายได้บันทึกความหมายในโองการนี้อย่างสอดคล้องตรงกันว่า อะฮฺลุลบัยตฺของท่านนบี(ศ) ตามความหมายในโองการนี้ คือ อาลี ฟาฏิมะฮฺ ฮาซัน และฮุเซน

๔๓

จากหนังสืออัด-ดุรรุล-มันษูร ของ ท่านซะยูฏีย์ มีข้อความบันทึกไว้ว่า”ท่านฏ็อบรอนีย์ ได้บันทึกรายงานมาจากท่านหญิงอุมมุสะ-ละมะฮฺว่า

 ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวกับฟาฏิมะฮฺว่า

 “จงไปนำสามีและลูกของเจ้าทั้งสองคนมาพบฉัน”” แล้วนางก็ได้ไป นำพวกเขามา ครั้นแล้ว ท่านศาสนทูต (ศ) ก็ได้คลุมผ้ากิสาอฺแห่งฟะดักลงบนพวกเขาจากนั้นท่านได้วางมือลงไป แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่อัลลอฮฺ แท้จริงคนเหล่านี้ เป็นอะฮฺลุของมุฮัมมัด

(บางรายงานใช้คำว่า อาลิมุฮัมมัด)

ขอได้โปรดประทานพร และความจำเริญของพระองค์ให้แก่อาลิมุฮัมมัดดังที่พระองค์ทรงบันดาลให้ได้แก่อาลิของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์เป็นที่สรรเสริญเป็นผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง”

อุมมุสะละมะฮฺได้กล่าวว่าข้าพเจ้าได้ยกผ้ากิสาอฺขึ้น หมายใจจะเข้าไปนั่งกับพวกเขาด้วย

แต่ท่านยื้อจากมือของข้าพเจ้าไป แล้วกล่าวว่า “แท้จริงเจ้าก็อยู่กับความดีอยู่แล้ว”

๔๔

ท่านติรมิซีย์ได้รายงานว่า “แท้จริงโองการว่าด้วยความบริสุทธิ์ ได้ถูกประทานที่บ้านของอุมมุสะละมะฮฺ กล่าวคือ

ท่านนบีได้เรียกท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านฮะซัน, ฮุเซน และท่านอะลีมาอยู่ด้านหลังของท่าน แล้วท่านก็จัดการหันมาใช้ผ้าคลุมวางลงบนพวกเขา แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่อัลลอฮฺ คนเหล่านี้ คืออะฮฺลุลบัยตฺของข้า ดังนั้น โปรดขจัดมลทินออกไปให้พ้นจากพวกเขาด้วยเถิด และโปรดชำระขัดเกลาพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์ด้วยเถิด”

อุมมุสะละมะฮฺกล่าวว่า “ให้ข้าพเจ้าเข้าไปอยู่กับพวกเขาด้วยเถิด โอ้นบีแห่งอัลลอฮฺ ท่านกล่าวว่า “เธออยู่ในที่ที่ดีของเธอแล้ว”

ยังมีหลักฐานที่ยืนยันในฐานะการเป็นแหล่งที่มาแห่งบทบัญญัติทางศาสนาของบุคคลเหล่านี้อีกมาก โดยได้บันทึกเรื่องราวที่ท่านศาสนทูต(ศ) ได้แนะนำและสาธยายไว้

อะหฺมัด บินฮัมบัล และอะบูยะอฺลา ได้บันทึกรายงานจากอะบี สะอีด อัล-คุดรีย์เกี่ยวกับวจนะตอนหนึ่งของท่านศาสนทูต(ศ)ในเหตุการณ์หลังจากบำเพ็ญฮัจญ์อำลาว่า

“แท้จริงฉันได้ถูกเรียกกลับแล้ว ดังนั้นฉันก็ได้ตอบรับ และแท้จริงฉันได้ละทิ้งสิ่งสำคัญยิ่งสองประการไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺและเชื้อสายของฉันจากอะฮฺลุลบัยตฺของฉันและแท้จริงผู้ทรงการุณย์ ผู้ทรงรอบรู้ได้แจ้งแก่ฉันว่าทั้งสองสิ่งนั้นจะไม่แยกจากกันจนกว่า

จะได้ย้อนกลับไปหาฉันที่อัล-เฮาฎ์

๔๕

ดังนั้นพวกท่านจงพิจารณา ดูเถิดพวกท่านจะขัดแย้งกับฉัน ในสองสิ่งนั้นอย่างไร”(๒๓)

อิมามญะฟัร บิน มุฮัมมัด ศอดิก(อ) ได้อธิบายถึงแหล่งที่มา ของคำวินิจฉัยจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลลุบัยตฺตามรายงานบอกเล่าระบุว่า

ครั้งหนึ่ง ซูเราะฮฺ บิน กะลีบ ได้กล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้พูดกับ อะบี อับดุลลอฮฺว่า “อิมาม วินิจฉัยหลักการต่างๆด้วยการยึดอะไรเป็นข้อพิสูจน์”

ท่านตอบว่า “พระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ”

ข้าพเจ้าถามอีกว่า “ถ้าหากปัญหานั้นๆ ไม่มีระบุอยู่ในพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺท่านจะทำอย่างไร?”

ท่านตอบว่า “ซุนนะฮฺนบี”

ข้าพเจ้าถามอีกว่า “ถ้าเรื่องนั้น ไม่มีทั้งในพระคัมภีร์และซุนนะฮฺ ท่านจะทำอย่างไร?

ท่านตอบว่า “ไม่มีอะไรสักอย่างเดียว ที่ไม่มีระบุในพระคัมภีร์ และซุนนะฮฺ”

ซูเราะฮฺกล่าวอีกว่า “ข้าพเจ้าถามซ้ำอยู่สองครั้ง จนท่านตอบสรุปว่า

“เรื่องนี้ มีพรจากพระผู้เป็นเจ้ามาสนับสนุน และด้วยความสัมฤทธิ์ผล ส่วนเรื่องที่ท่านสงสัยนั้นไม่มี”(๒๔)

๔๖

อะบูญะอ์ฟัร มุฮัมมัด บิน อาลี อัล-บากิรฺ(อ) ได้อธิบายถึงแนวความคิดและการออกคำวินิจฉัยจากท่าน ดังที่ท่านได้พูดกับญาบิรฺ สหายของท่านว่า

“โอ้ญาบิรฺ ถ้าหากเราวินิจฉัยความออกไปให้ประชาชนตามความคิดและอารมณ์ของเราเองแล้ว แน่นอน เราจะต้องพบกับความพินาศ แต่ในเวลาที่เราจะออกคำวินิจฉัยให้แก่พวกเขาเราจะยึดหลักการของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เป็นหลักสำหรับพื้นฐานทางวิชาการของเรานั้น เราได้มา

ด้วยการสืบมรดก มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างใหญ่หลวงเราจะรักษาไว้เหมือนอย่างคนทั้งหลายรักษาเงินทองนั่นแหละ”(๒๕)

ดังที่ได้กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่า กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ได้มาจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ไม่มีข้อแตกต่างจากพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ นั่นคือเป็นสิ่งที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกับพระคัมภีร์และซุนนะฮฺ

ด้วยเหตุนี้ อะฮฺลุลบัยตฺ จึงเป็นรากฐานอย่างหนึ่งของกฎเกณฑ์ทางศาสนาและมีฐานะเป็นแหล่งที่มาของศาสนบัญญัติ

ฮะดีษปลอม

คำสอนและบทบัญญัติทางศาสนาของพระผู้เป็นเจ้า เคยถูกทำการปลอมแปลงมาแล้วในอดีต โดยฝีมือของพวกยะฮูด ที่ได้เปลี่ยนแปลง พระคัมภีร์เตารอตและพวกนะศอรอก็เคยเปลี่ยนแปลงพระคัมภีร์อินญีลพวกเขาได้ทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งของอัลลอฮฺที่ทรงประทานมา

๔๗

อย่างไรก็ตามพระคัมภีร์อัล-กุรฺอานเป็นพระคัมภีร์ฉบับเดียวของพระผู้เป็นเจ้าที่ได้รับการพิทักษ์คุ้มครองไว้มิให้มีการเปลี่ยนแปลง ดังมีโองการความว่า

“แน่นอนเราได้ประทานคัมภีร์แห่งการตักเตือนมา และแท้จริงเราเป็นผู้พิทักษ์รักษามันเอง”

“แท้จริง หน้าที่ของเรา คือการรวบรวมคัมภีร์ และรักษาคำอ่านของมัน”

ประชาชาติอิสลามทุกสมัยต่างให้ความสำคัญต่อพระคัมภีร์ฉบับนี้

ด้วยการท่องจำ และศึกษาเล่าเรียน ในทุกๆ ยุคจะมีผู้รู้มีนักอ่าน

นักท่องจำ ที่สามารถท่องจำพระคัมภีร์อัล-กุรฺอานได้ตลอดทั้งเล่ม

มีการจดบันทึกไว้เป็นรูปเล่ม สืบทอดต่อๆ กันมาอย่างเป็นเอกฉันท์ฉะนั้นเมื่อพระคัมภีร์อัล-กุรฺอานคือสารอมตะฉบับหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า แน่นอนพระองค์ย่อมปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้นจากการถูกเปลี่ยนแปลง

ส่วนซุนนะฮฺนบี ซึ่งมีความสำคัญในฐานะเป็นคำอธิบายอัล-กุรฺอาน และเป็นหลักการที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกันเป็นแหล่งที่มาอันดับสอง

 สำหรับแนวความคิด และบทบัญญัติทางศาสนา

แน่นอนบรรดาคนโกหก ชอบหลอกลวงประชาชน เพราะประสงค์จะเสพย์สุขทางโลกและเสวยอำนาจทางการเมืองในอดีต มีความพยายามที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น จนกระทั่งมีการกล่าวเท็จให้แก่

ท่านศาสนทูต(ศ) มีการปลอมแปลงซุนนะฮฺ และใช้เลห์เพทุบายอย่าง

เลวร้ายในการกระทำสิ่งเหล่านี้

๔๘

แน่นอน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) เคยเตือนให้ระมัดระวังภัยร้ายจากสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษ เมื่อครั้งบำเพ็ญฮัจญ์อำลา ท่านได้เตือนประชาชนของท่านว่า

“ได้มีการกล่าวเท็จแก่ฉันกันอย่างมากมาย และจะมากมายยิ่งขึ้นหลังจากผ่านยุคของฉันไปแล้ว ดังนั้นคนใดที่กล่าวความเท็จแก่ฉันโดยเจตนา ก็ให้เขาเตรียมที่นั่งไว้ในไฟนรก

ดังนั้น ถ้ามีฮะดีษใดที่ถูกรายงานไปจากฉันถึงยังพวกท่านก็จงนำไปพิสูจน์กับพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺของฉัน ครั้นถ้ามันสอดคล้องตรงกับพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และซุนนะฮฺของฉันก็จงยึดถือแต่อันใดถ้าหากขัดแย้งกับพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺและซุนนะฮฺของฉันจงอย่าได้ยึดถือ(๒๖)

ความเท็จที่เลวร้ายที่สุดได้แก่การปลอมฮะดีษ นั่นคือการประพันธ์เรื่องใดๆ ขึ้นมาเป็นฮะดีษเสร็จแล้วก็อ้างว่าเป็นรายงานที่มาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) หรือว่ามาจากบรรดาอิมาม(อ)

ท่านชะฮีดษานีย์ ได้อธิบายถึงเรื่องฮะดีษปลอมว่า “เป็นการประพันธ์เรื่องราวขึ้นมา มันเป็นการกระทำที่เลวร้ายที่สุด ไม่อนุญาตให้นำมาถ่ายทอดต่อเว้นแต่จะได้แจ้งอย่างชัดเจนว่า เป็นฮะดีษปลอม”(๒๗)

ฮะดีษปลอมได้ถูกบันทึกไว้ในตำราฮะดีษฉบับต่างๆ นับร้อยนับพันฮะดีษโดยเฉพาะอย่างยิ่งฮะดีษประเภทยกย่องเกียรติคุณ (อัล-มะนากิบ) ของบุคคลต่างๆ เมืองต่างๆ ซึ่งเป็นการกระทำที่มีความหมายมากที่สุดอย่างหนึ่งของการบันดาลให้อำนาจทางการเมือง มีความแกร่งกล้าอย่างยิ่ง

๔๙

 ในตอนต้นสมัยวงศ์อุมัยยะฮฺหลังจาก ฮ.ศ.๔๐

ขณะเดียวกัน ได้มีการปลอมฮะดีษเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ด้านอื่นจากคนเหล่านั้น เป็นฮะดีษที่มุ่งเน้นสอนในเรื่องหลักปฏิบัติ และมุสตะฮับต่างๆ เพื่อให้ประชาชนหันมาให้ความสนใจในกิจกรรมประเภทมุสตะฮับ

เราสามารถทำความเข้าใจถึงหลักฐานที่มาของการปลอมฮะดีษได้อย่างดีทีเดียว เมื่อเราสามารถเจาะลึกเข้าไปว่า บุคอรีเองได้คัดฮะดีษมาบันทึกในตำราของท่าน ประมาณ ๔, ๐๐๐ ฮะดีษ จากจำนวนฮะดีษที่ท่าน รับรายงานมาทั้งสิ้น ๖๕๐,๐๐๐ ฮะดีษ

อะหฺมัด บิน ฮัมบัล ได้คัดฮะดีษมาบันทึกในหนังสือมุสนัดของท่านเองจากจำนวนฮะดีษทั้งหมดที่ท่านรับรายงานมา ๗๕๐, ๐๐๐ ฮะดีษ ดังที่ท่านได้ยืนยันไว้เองอย่างชัดเจน

ซัยยิดมุรฺตะฎอ ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านชื่อ อัล-ฆอร็อรฺ วัดดะร็อรฺ เล่ม ๑ หน้า ๒๔๗

เรื่องอัล-ฆุลาต กับการปลอมแปลงฮะดีษ ดังนี้

“เมื่อครั้งที่ มุฮัมมัด บิน อะบี สุลัยมาน เจ้าเมืองกูฟะฮฺ ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยเคาะลีฟะฮฺมันศูรฺ ได้จับตัวอับดุลการีม บิน อะบีเอาญาอ์ ไปประหารชีวิต อับดุลการีม ตัดสินใจกล่าวออกมาเมื่อรู้ตัวเองต้องจบชีวิตแน่นอนแล้วว่า “ถึงแม้พวกท่านจะฆ่าฉันจนตาย แต่แน่นอน ฉันเคยปลอมฮะดีษเพื่อพวกท่านมากถึง ๔,๐๐๐ ฮะดีษ ล้วนแต่เป็นความเท็จทั้งสิ้น”(๒๙)

๕๐

ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า บททดสอบอันยิ่งใหญ่สำหรับมุสลิมทั้งมวล ก็คือการกล่าวความเท็จให้แก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) และบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) เพราะถ้าหากไม่มีเรื่องมุสาหลอกลวงเหล่านี้ในหน้าประวัติศาสตร์ แน่นอนเราจะไม่พบอุปสรรคหรือความขัดแย้งใดๆ ทั้งในด้านความเชื่อ และบทบัญญัติทางศาสนาดังที่ปรากฏอยู่ในมุสลิม เช่นนี้เลย

บทเรียนต่างๆ จากฮะดีษปลอม

ตัวอย่างฮะดีษปลอมบทหนึ่ง ได้แก่ ฮะดีษที่มีความหมายว่า

“ศ่อฮาบะฮฺของฉันเปรียบเสมือนดวงดาว ไม่ว่าจะเป็นใครในหมู่พวกเขา ถ้าพวกท่านปฏิบัติตามพวกท่านจะได้รับทางนำ”

ฮะดีษบทนี้ ก่อให้เกิดพื้นฐานความคิด ความเข้าใจว่า ซุนนะฮฺมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ที่มาจากศ่อฮาบะฮฺ

บรรดาอิมามในหมู่นักปราชญ์ฮะดีษกล่าวว่ามันเป็นเรื่องเท็จที่ถูกกุขึ้นมาให้แก่ท่านนบี (ศ)

เช่น อิบนุก็อยยิม อัล-เญาซียะฮฺ ได้กล่าวว่า “ฮะดีษนี้เป็นข้อความที่ถูกกุขึ้นมา” (๓๐)

๕๑

ท่านซะฮะบีย์ ถือว่า เป็นฮะดีษที่ขาดประสิทธิภาพความน่าเชื่อถือ โดยได้กล่าวถึงนักรายงานคนหนึ่งที่ชื่อว่า ญะอฺฟัร บิน อับดุล วาฮิด อัล-ฮาชิมีย์ หลังจากได้อ้างอิงทัศนะของนักปราชญ์ เกี่ยวกับนักรายงานฮะดีษที่เป็นคนมุสาว่า“จากผลงานที่เสียหายที่สุดของเขาคือฮะดีษที่ว่า“สาวกของฉันเปรียบเสมือนดวงดาว” (๓๑)

อิบนุตัยมียะฮฺ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่กล่าวว่า ฮะดีษที่ว่า สาวกของฉันเปรียบเสมือนดวงดาว

เป็นฮะดีษที่บรรดาอิมามแห่งบรรดานักรายงานถือว่าขาดประสิทธิภาพ (เฎาะอีฟ) จึงนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้

ตัวอย่างฮะดีษปลอมที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาอีกฮะดีษหนึ่งคือ “หน้าที่ของพวกท่าน คือทำตามซุนนะฮฺของฉัน และซุนนะฮฺของเคาะลีฟะฮฺผู้ทรงธรรมของฉันพวกท่านจงยึดให้มั่นเหมือนกัดให้แน่นด้วยกราม”(๓๒)

จากการศึกษาวิเคราะห์ ถึงนักรายงานฮะดีษประเภทนี้ เป็นที่แน่ชัดแก่เราว่ามันเป็นฮะดีษที่ถูกประพันธ์ขึ้นมา โดยมิได้มาจากท่านศาสนทูตแต่อย่างใด

นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านประวัตินักรายงานฮะดีษ ได้กล่าวว่า

 “อาลี บิน ฮะญัรฺ ได้เล่าเราว่า บะกียะฮฺ บิน วะลีด ได้เล่าเราว่า

 ญุบัยรฺ บิน สะอัด ได้รับรายงานจากคอลิด บิน มิดาน ซึ่งได้รับมา

จาก อับดุรเราะมาน บิน อัมร์ อัสสิลมีย์ ซึ่งได้รับมากจากอัล-หิรบาฏ บิน ซารียะฮฺได้กล่าวว่า “วันหนึ่งท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺได้สอนพวกเรา...หลังจากนั้นท่านได้กล่าวฮะดีษบทนี้”

๕๒

จากการศึกษาคุณสมบัตินักรายงานฮะดีษ ทำให้เข้าใจอย่างชัดเจนว่า “บะกียะฮฺ บิน วะลีด มิได้เป็นที่เชื่อถือของนักปราชญ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัตินักรายงาน เราจะกล่าวถึงข้อความสั้นๆ ที่มีหลายคนพูดว่า

“อิบนุอัยยินะฮฺ กล่าวว่า “พวกท่านอย่าได้ฟังเรื่องอะไรเกี่ยวกับซุนนะฮฺ จากบะกียะฮฺเลย”

ยะหฺยา บิน มุฮีน ได้กล่าวถึง บะกียะฮฺ บิน วะลีดว่า

 “ถ้าหากเป็นฮะดีษที่เล่าโดยกลุ่มคนที่น่าเชื่อถืออย่าง ศ็อฟฟาน บิน อัมร์ และ อื่นๆ ก็พอใช้ แต่ถ้าหากเล่ามาจากบุคคลเหล่านี้ ที่ไม่น่าเชื่อถือ ก็อย่าได้บันทึกเลย

อะบูมัซฮัรได้กล่าวว่า “มีหลักฐานปรากฏว่า บะกียะฮฺเป็นคนที่มือไม่สะอาด ในการรายงานฮะดีษดังนั้นจงปฏิบัติต่อฮะดีษเช่นนั้นด้วยความระมัดระวัง (๓๓)

อิบนุฮะญัร เป็นคนหนึ่งที่กล่าวว่า “ท่านบัยฮะกีย์ ได้กล่าวถึงเรื่องความขัดแย้งต่างๆ ว่า บรรดานักปราชญ์ทั้งหมดลงมติร่วมกันว่า บะกียะฮฺ เป็นคนที่ไม่มีคุณสมบัติให้ยึดถือเป็นหลักฐาน”(๓๔)

ส่วนอับดุลเราะมาน บิน อุมัร อัส-สิลมีย์นั้น อิบนุฮะญัรอ้างถึงเขาว่า “อัล-ฟุฏฏอน อัล-ฟาซีย์ อ้างว่า เขาผู้นี้ไม่มีความเหมาะสม ด้วยเหตุว่า ที่มาของเขาไม่เป็นที่รู้กันเลย” (๓๕)

๕๓

การบันทึกฮะดีษ

แน่นอนท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นั้น ท่านมีอาลักษณ์ประจำตัวไว้หลายคน เพื่อบันทึกหมายเหตุต่างๆ คนเหล่านี้ ได้รับสมญานามว่า “นักบันทึกวะหฺยู” คือจะทำหน้าที่บันทึกเรื่องราว

ที่มาจากอัล-วะหฺยู บางที จะจดไว้ตามหนังสัตว์ตามกิ่งอินทผลัม ตามกระดูกสัตว์ และอื่นๆ ประกอบกับยังมีศ่อฮาบะฮฺ(ร.ฎ) อีกกลุ่มหนึ่งทำหน้าที่ท่องจำซุนนะฮฺนบีนั้น ปรากฏว่าไม่มีนักบันทึกคนใดจะบันทึกไว้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนไว้ตั้งแต่สมัยของนบี ทั้งในด้านวจนะ การกระทำ และท่าทีการแสดงออกอย่างไรก็ตาม มีรายงานจากท่านนบี(ศ) ว่าท่านเคยอนุญาตให้สาวกของท่านบันทึกฮะดีษได้

อะบูดาวูด และท่านฮากิม และนักบันทึกท่านอื่นๆได้รับรายงานจากอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรบิน อาศ ว่า

“ข้าพเจ้าได้พูดว่า ข้าแต่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ แท้จริงข้าพเจ้าได้ยินสิ่งใดจากท่านแล้วบันทึกไว้จะได้ไหม?”

ท่านตอบว่า “ถูกต้องแล้ว”

อับดุลลอฮฺ ยังกล่าวอีกว่า “ทั้งในยามที่ท่านโกรธและยินดีด้วยหรือ?”

ท่านกล่าวว่า “แท้จริงทั้งสองกรณีนั้นฉันจะไม่พูดอะไรนอกจากความจริง” (๓๖)

๕๔

ท่านบุคอรีได้บันทึกไว้ว่า “อะบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า

“ ในหมู่ศ่อฮาบะฮฺนบี ไม่มีใครท่องจำฮะดีษได้มากกว่าฉัน ยกเว้นก็แต่อับดุลลอฮฺ บิน อุมัร เพราะเขาได้บันทึกส่วนฉันมิได้บันทึก” (๓๗)

ท่านติรมิซีย์บันทึกจากอะบีฮุร็อยเราะฮฺว่า “

มีชาวอันศอรคนหนึ่งนั่งใกล้ท่านศาสนทูต (ศ) แล้วเขาได้ยินคำพูดตอนหนึ่งที่เขาประทับใจมาก แต่เขาจำไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงถามทบทวนเรื่องนั้น

ต่อท่านศาสนทูต(ศ) ท่านกล่าวว่า “ฉันจะช่วยจับมือเธอเอง” ว่าแล้ว ท่านก็จับมือเขาเขียนข้อความ”(๓๘)

มีรายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺ อีกเช่นกันว่า “พวกท่านจงแสวงหาความรู้ด้วยการเขียน” (๓๙)

รายงานจากนาฟิอ์ บิน เคาะดีจญ์กล่าวว่า “ฉันได้พูดกับท่านศาสนทูต (ศ) ว่า “ข้าแต่ท่านศาสนทูตแท้จริง พวกเราได้ยินจากท่านมาหลายอย่างแล้ว

 เราจะจดบันทึกมันไว้ จะได้หรือไม่?”

ท่านตอบว่า “จงบันทึกมันไว้เถิด มันมิใช่ความผิด” (๔๐)

๕๕

บทรายงานเหล่านี้ ต่างยืนยันว่า ท่านอนุญาตให้สาวกบันทึกฮะดีษ จากท่าน ขณะเดียวกัน มีบทรายงานอีกส่วนหนึ่งยืนยันว่าท่านได้เรียกร้องให้ท่องจำและเผยแพร่ฮะดีษกันในหมู่มุสลิม ดังนี้

“อัลลอฮฺจะทรงประทานความผาสุกแก่บ่าวของพระองค์ ที่ได้ยินฉันพูดอะไรแล้วจดจำนำไปสอนต่อ แล้วทำได้เหมือนอย่างตอนที่ได้ยิน เพราะบางที คนที่นำพาความรู้อาจนำไปให้คนที่ไม่รู้เสมอไป และบางทีคนนำพาความรู้ อาจนำความรู้ไปให้คนที่รู้เหนือกว่าก็ได้”(๔๑)

รายงานฮะดีษบทหนึ่ง ความว่า

“ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉัน ท่องจำฮะดีษของฉันได้ ๔๐ บท ในเรื่องศาสนาโดยมีความมุ่งหวังยังอัลลอฮฺและปรโลกในวันฟื้นคืนชีพ อัลลอฮฺจะทรงแต่งตั้งเขาให้อยู่ในตำแหน่งนักปราชญ์ทางศาสนา”(๔๒)

เป็นที่แน่นอนว่าสื่อช่วยความจำและเผยแพร่ที่ดีคือการบันทึก เป็นอันว่าการท่องจำฮะดีษ ถือเป็นเรื่องที่ถูกยอมรับ ยิ่งกว่านั้นสามารถจะถือเป็นวาญิบได้ด้วยหากถึงคราวต้องรักษาซุนนะฮฺให้รอดพ้นจากความสูญหาย

ท่านศาสนทูต(ศ) เคยส่งสารไปยังบรรดากษัตริย์และประมุขของเมืองต่างๆ ขณะเดียวกัน ท่านก็เคยทำสนธิสัญญาฉบับต่างๆ ที่ยังคงเก็บรักษาไว้จนถึงทุกวันนี้

๕๖

อิบนุอับบาส ได้กล่าวว่า เมื่อครั้งที่ท่านศาสนทูต(ศ)ป่วยหนัก ท่านได้กล่าวว่า “พวกท่านจงนำกระดาษมาเถิด เพื่อฉันจะได้บันทึกข้อความที่ไม่ทำให้พวกท่านหลงผิดต่อไปในภายหลัง”

อุมัรกล่าวขึ้นว่า “นบีเพ้อไปแล้ว พวกเรามีพระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺก็พอแล้ว”

แต่พวกเขาโต้เถียงกันเสียงลั่น ท่านศาสนทูต(ศ) จึงตัดบทว่า “พวกท่านจงออกจากฉันไปเสียเถิด ไม่บังควรที่จะโต้เถียงกันต่อหน้าฉัน”

อิบนุอับบาสได้ออกมากล่าวว่า “มันเป็นความอัปโชคที่สุดของเราที่ท่านศาสนทูตมิได้จดบันทึกเรื่องของท่าน” (๔๓)

ที่ตรงข้ามกับรายงานเหล่านี้ มีอยู่สองฮะดีษที่ระบุว่า ท่านห้ามมิให้บันทึกคือจากรายงานของ อะบี สะอีด อัล-คุดรีย์ กล่าวว่า

ท่านศาสนทูตได้กล่าวว่า

 “พวกท่านอย่าได้บันทึกอะไรจากฉันนอกจากอัล-กุรฺอาน ใครก็ตามที่บันทึกเรื่องอื่น นอกจากอัล-กุรฺอาน ก็จงลบออกเสีย” (๔๔)

จากการศึกษาวิเคราะห์ฮะดีษต่างๆ ที่มีลักษณะขัดแย้งกันอย่างนี้แสดงให้เห็นว่า ท่านนบีมุ่งเน้นให้มีการจดบันทึกฮะดีษมากกว่า อันนี้คือ ความเข้าใจของศ่อฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่ง เช่น อิมามอะลี และฮะซัน ผู้เป็นบุตร กล่าวคือ ท่านทำงานในด้านนี้อยู่ ดังมีรายงานจากท่านว่า

“เมื่อพวกท่านจะบันทึกฮะดีษใด ก็จงบันทึกรายชื่อนักรายงานด้วย”(๔๕)

๕๗

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ท่านอื่น ก็ได้เจริญรอยตามท่านทั้งสองตลอดทั้งคนในยุคตาบิอีน บรรดานักปราชญ์อิสลาม ต่างมีความเห็นอย่างนี้ด้วย ดังนั้นพวกเขาจึงพากันบันทึกและเขียนฮะดีษกัน เพราะหากไม่มีใครบันทึกกันแล้ว แน่นอนการศึกษาซุนนะฮฺจะเป็นเรื่องที่ไม่อาจเป็นไปได้

และแน่นอนมนุษยชาติจะได้รับความขาดทุนอันใหญ่หลวง เพราะไม่มีโอกาสได้รับมรดกทางความคิดที่มีมาในหน้าประวัติศาสตร์

อิบนุศิลาห์ ได้อธิบายในเรื่องนี้ว่า

“หากไม่มีใครบันทึกฮะดีษไว้ในตำราคนรุ่นหลังจะต้องประสบกับความเสียหายอย่างใหญ่หลวง”(๔๖)

เรื่องนี้ อุมัร บินอับดุล-อะซีซ (ร.ฎ)ได้เรียกร้อง และสั่งการให้จดฮะดีษในสมัยที่เขาเป็นเคาะลีฟะฮฺ (เมื่อฮ.ศ ๙๙-๑๐๑)(๔๗)

ประวัติศาสตร์ได้อธิบายให้เราทราบว่า มีศ่อฮาบะฮฺกลุ่มหนึ่งได้สั่งห้ามมิให้ใครๆจดบันทึกฮะดีษได้แก่อะบูบักร์ อุมัร และอุษมาน ต่อมาบรรดาเคาะลีฟะฮฺในวงศ์อุมัยยะฮฺ ก็ถือปฏิบัติตามแนวนี้ มาจนกระทั่งถึงสมัยของ อุมัร บิน อับดุล-อะซีซ

สาเหตุที่อะบูบักร์ สั่งห้ามการบันทึกฮะดีษของท่านศาสนทูต(ศ)นั้น ท่านได้ระบุไว้ในที่ประชุม ภายหลังจากท่านนบีวะฟาตแล้ว ดังที่ท่านได้กล่าว

“แท้จริง พวกท่านรายงานบอกเล่า ฮะดีษต่างๆ จากท่านศาสนทูตแล้ว พวกท่านก็ขัดแย้งกัน

ประชาชนรุ่นหลังจะยิ่งขัดแย้งหนักขึ้นไปอีก ดังนั้น จงอย่าได้บอกเล่าฮะดีษใดๆ ของท่านศาสนทูต

๕๘

หากใครถามปัญหาอะไรจากพวกท่านก็จงตอบว่า ระหว่างพวกท่านกับเรา มีแต่พระคัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ ดังนั้น จงอนุญาตในสิ่งที่อัล-กุรฺอานอนุญาต และจงห้ามในสิ่งที่อัล-กุรฺอานห้าม”(๔๘)

อิบนุสะอัด ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ฏอบะกอตว่า “แท้จริงมีฮะดีษจำนวนมากในสมัยอุมัรที่ประชาชนนำมาเสนอแต่แล้วท่านอุมัรก็สั่งการให้เผาเสีย (๔๙)

สำหรับในสมัยของอุษมาน บิน อัฟฟาน ก็มีคำสั่งในคุฏบะฮฺว่า ห้ามมิให้รายงานฮะดีษใดๆของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ยกเว้นฮะดีษที่เคยรายงานกันอยู่ในสมัยอะบูบักร์และอุมัร ดังมีถ้อยคำของเขาปรากฏในคำคุฏบะฮ์ว่า

“ไม่อนุญาตให้ผู้ใดรายงานฮะดีษบทใดที่ไม่เคยได้ยินในสมัยอะบูบักร์และอุมัร”(๕๐)

มุอาวียะฮฺยิ่งทวีความแข็งกร้าวหนักข้อขึ้นไปอีก ในคำสั่งห้ามจดบันทึกฮะดีษ โดยยกขึ้นมาเป็นประเด็นต่อต้านอิมามอาลี และอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ผู้บริสุทธิ์ ครั้นพอเขาสามารถของอำนาจเต็มรูปแบบ หลังจากทำสนธิสัญญาสันติภาพกับอิมามฮาซันแล้วก็ออกคำสั่งห้ามจดบันทึกฮะดีษใดๆของ

ท่านศาสนทูต ที่กล่าวถึงความดีงาม ความประเสริฐ ของอิมามอาลี ตลอดจนได้คาดบทลงโทษ หากใครฝ่าฝืนด้วยการจดบันทึก

๕๙

มะดาอินีย์ได้บันทึกในหนังสืออัล-อะหฺดาษว่า “มุอาวียะฮฺได้ ออกคำสั่งไปตามหัวเมืองต่างๆ ที่บรรดาข้าหลวงของตนประจำอยู่ หลังจากผ่านพ้นปีแห่ง “ญะมาอะฮฺ” ว่า “ข้าพเจ้าจะไม่รับผิดชอบแก่ผู้ใดที่รายงานฮะดีษใดๆ เกี่ยวกับความดีงามของอะบูตุรอบ (ฉายานามหนึ่งของท่านอาลี)

 และอะฮฺลุลบัยตฺของเขา เพราะเรื่องนี้ จะมีผลสะท้อนเป็นความวิบัติแก่ชาวกูฟะฮฺ”(๕๑)

ด้วยเหตุนี้เอง ซุนนะฮฺนบีจึงประสบกับปัญหาการออกคำสั่งมิให้จดบันทึก จนกระทั่งทำให้เกิดมีการปลอมแปลงและกล่าวเท็จแก่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) กันขึ้นมาบิดอะฮฺ (กิจกรรมอุตริในศาสนา)

เราได้เรียนรู้ถึงความหมายของคำว่า ซุนนะฮฺ ในแง่ของภาษาและความหมายทางศาสนากันไปแล้ว เพื่อจะได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้นในด้านความรู้ เราควรจะเข้าใจความหมายของคำว่า

“บิดอะฮฺ” ควบคู่ไปด้วย เพราะคำนี้ นักปราชญ์มุสลิมได้ให้ความหมายประกอบเหตุผลอย่างหนึ่งไว้เป็นกรณีพิเศษ

คำว่า “บิดอะฮฺ” ในแง่ของภาษา หมายถึง “การประดิษฐ์ การริเริ่มทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมา”

บิดอะฮฺ ยังหมายถึง “กิจกรรมใหม่ๆ ที่ถูกริเริ่มทำให้มีขึ้น” (๕๒)

คำว่า “บิดอะฮฺ” ในแง่ของวิชาการศาสนา เป็นความหมายที่ควรจะทำความเข้าใจ ภายหลังจากเข้าใจในความหมายทางด้านภาษาแล้ว

๖๐