วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน0%

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 156

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน: สถาบันอัล – บะลาฆ
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 156
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 44851
ดาวน์โหลด: 3573

รายละเอียด:

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 156 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 44851 / ดาวน์โหลด: 3573
ขนาด ขนาด ขนาด
วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

ด้วยเหตุนี้ จำเป็นจะต้องศึกษาถึงบุคลิกภาพของนักรายงาน เพื่อจะได้รู้ มีรายงานฮะดีษบทใดบ้างที่ถูกต้อง และมีบทใดบ้างที่ควรแก่การนำมาวิเคราะห์วิจัยเพื่อพิสูจน์หาความจริงโดยไม่ต้องนำพาต่อผลงานการวิเคราะห์มาก่อนแล้วของผู้เป็นเจ้าของตำราเหล่านั้น

ทฤษฎีนี้ยึดในหลักการว่าจะต้องมีการวิเคราะห์และพิสูจน์หาความจริงในทางวิชาการ โดยให้เหตุผลยืนยันว่ามีนักรายงานฮะดีษที่เป็นคนขาดประสิทธิภาพ(ฎออีฟ) ได้รายงานฮะดีษที่ไม่ได้รับความเชื่อถือและถูกบันทึกอยู่ในตำราฮะดีษเหล่านี้เป็นจำนวนมาก

ประกอบกับยังมีหลักฐานอีกประการหนึ่งซึ่งพวกเขาอ้างว่า รายงานฮะดีษเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางศาสนาและหลักความเชื่อ ยังมีปรากฏอยู่ในตำราเล่มอื่นๆ อีกมาก ซึ่งมิได้ถูกยกย่องว่าเป็นตำราที่บันทึกเฉพาะฮะดีษที่ถูกต้องเท่านั้น

ซัยยิด อะบุล กอซิม อัล-คุอีย์ นักการศาสนาผู้ล่วงลับ ได้กล่าวสนับสนุนทฤษฎีนี้อย่างชัดเจนว่า

 “นักวิชาการฮะดีษกลุ่มหนึ่งให้ทัศนะว่า บทรายงานที่มีบันทึกอยู่ในตำราทั้งสี่เป็นหลักฐานที่ให้ความมั่นใจได้อย่างเด็ดขาดแล้วการพูดอย่างนี้ ถือว่า ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง

จะอ้างว่าเป็นหลักฐานที่ให้ความมั่นใจได้อย่างเด็ดขาดอย่างไรเมื่อมีบางรายงานถูกถ่ายทอดมาเล่าต่อโดยบุคคลเพียงคนเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำราทั้งสี่ ยังมีบทรายงานที่ยอมรับกันว่ามาจากคนมุสาและคนปลอมฮะดีษก็ยังมี..”(๖๔)

๘๑

ตำราศ่อฮีฮฺทั้งหลายเช่นศ่อฮีฮฺบุคอรี ศ่อฮีฮฺมุสลิม...ฯลฯ ก็ล้วนแต่อยู่บนพื้นฐานเดียวกันนี้ด้วยกันนั่นแหละ

คุณสมบัตินักรายงานที่ถูกยอมรับ

นักปราชญ์ฮะดีษได้กำหนดเงื่อนไขด้านคุณสมบัติของนักรายงาน ที่ทำให้ฮะดีษจากการรายงานของเขาถูกยอมรับ ไว้ดังต่อไปนี้

๑ – มีอายุครบตามเกณฑ์ที่ศาสนบัญญัติ

นักปราชญ์ฮะดีษ และสาขาอุศูลลุดดีน ได้กำหนดเงื่อนไขไว้เพื่อพิจารณารับรองบทรายงานที่นำมาเสนอโดยนักรายงาน ว่านักรายงานผู้นั้นจะต้องมีอายุครบตามที่ศาสนาบัญญัติไว้ในขณะที่ถ่ายทอดบทรายงาน และให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการรายงาน กล่าวคือ จะไม่ยอมรับบทรายงานใดๆ จากเด็ก

๒ – มีสติสัมปชัญญะ

คนที่สามารถถ่ายทอดบทรายงานฮะดีษให้เป็นที่ยอมรับได้ จะต้องมีสติสัมปชัญญะ กล่าวคือ บทรายงานใดที่ถูกถ่ายทอดมาจากคนวิกลจริต คนปัญญาอ่อน ขาดสติสัมปชัญญะ จะไม่เป็นที่ยอมรับ

๓ – มีความเที่ยงธรรมต่อบทบัญญัติทางศาสนา

เพื่อจะให้ได้บทรายงานที่ถูกยอมรับ นักปราชญ์ได้วางเงื่อนไขไว้อีกประการหนึ่งว่า

๘๒

ผู้รายงานจะต้องเป็นคนมีความเที่ยงธรรม หมายความว่า

นักรายงานฮะดีษต้องมีความประพฤติเรียบร้อยไม่ฝ่าฝืนบทบัญญัติทางศาสนาตามโองการที่ว่า

“หากคนละเมิดบทบัญญัติทางศาสนานำข่าวใดมาแจ้งยังสูเจ้าดังนั้น จงพิจารณาอย่างถ่องแท้ เพราะจะเป็นภัยมหันต์แก่คนพวกหนึ่งได้ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้วสูเจ้าจะเป็นผู้ที่เสียใจต่อสิ่งที่สูเจ้ากระทำ”

บรรดานักปราชญ์บางส่วนเช่น เชค ฎูซีย์ ได้ให้ทัศนะไว้อย่างนี้ในขณะที่อะบูหะนีฟะฮฺก็ให้ทัศนะอย่างสอดคล้องตามนี้ด้วยว่า

 “มุสลิมทุกคนล้วนเป็นคนเที่ยงธรรมเป็นพื้นฐานตราบใดที่

ยังไม่ปรากฎอย่างชัดเจนว่า เขาเป็นคนฝ่าฝืนบทบัญญัติทางศาสนา”(๖๕)

๔ – นักรายงานฮะดีษต้องไม่เล่าเรื่องราวที่ขัดกับหลักมนุษยธรรม

๕ – นักรายงานฮะดีษ ต้องเล่าบทรายงานที่เขาได้รับมาอย่างถูกต้องแม่นยำ เป็นคนมีความตื่นตัวอยู่เสมอ มีความจำอย่างดีเยี่ยม สามารถรักษาถ้อยคำของบทรายงานได้ไม่ผิดพลาดและไม่บิดเบือนความหมาย...ฯลฯ ต้องเป็นคนรอบรู้ในกรณีถ้าหากมีความบกพร่องใดๆ เกิดขึ้นในความหมายของบทรายงาน และเป็นคนที่สามารถจดจำบทรายงานไว้ได้ละเอียดถี่ถ้วน

๖ – บรรดานักปราชญ์ จะยอมรับบทรายงานของบุคคลผู้ซึ่งมีคุณสมบัติที่เชื่อถือได้เท่านั้น

จะไม่คำนึงถึงมัซฮับ แนวความคิด ตราบใดที่ยังมีความน่าเชื่อถือในบทรายงานของเขาอยู่

๘๓

การชี้จุดบกพร่องกับการยืนยันในความเที่ยงธรรม

การชี้จุดบกพร่อง ในที่นี้ หมายถึง การระบุถึงข้อตำหนิอันเป็นเหตุให้มีความบกพร่อง ทางด้านความเที่ยงธรรมและความไม่น่าเชื่อถือในตัวของ

นักรายงานได้แก่ การถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า เป็นคนมุสา เป็นคนชอบกุข่าว และเป็นนักปลอมฮะดีษ...ฯลฯ

ส่วนการยืนยันในความเที่ยงธรรม หมายถึง คำยืนยันที่มีต่อนักรายงานคนใดคนหนึ่งว่า เป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม และน่าเชื่อถือ

หลักวิชาว่าด้วย การชี้จุดบกพร่องกับการยืนยันในความเที่ยงธรรมถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับความรู้เกี่ยวกับประวัติของบุคคลที่เป็นนักรายงาน ซึ่งหมายถึงการยืนยันในความซื่อสัตย์สุจริต และความไม่โกหกของนักรายงานสื่อในการชี้จุดบกพร่อง และยืนยันในความเที่ยงธรรม

แหล่งที่มาของข้อพิสูจน์ถึงความบกพร่อง และความเที่ยงธรรมของนักรายงานคือการได้เข้าไปสัมผัสและได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่า การยืนยันถึงจุดบกพร่องและความเที่ยงธรรม คือการเป็นพยาน ที่ต้องรู้เห็นพฤติกรรมของนักรายงาน(๖๖) และพยานผู้นี้ ต้องเป็นผู้ที่มีโอกาสรู้จริงว่านักรายงานผู้นั้นเป็นคนเช่นไร โดยการที่ตนได้สัมผัสด้วยการได้รู้ ได้ยิน

 ได้เห็น

๘๔

ดังนั้น จะไม่มีใครสามารถพิสูจน์ว่านักรายงานคนใดมีจุดบกพร่องหรือยืนยันว่านักรายงาน คนใดมีความเที่ยงธรรม หรือน่าเชื่อถือในเบื้องต้นได้ นอกจากคนที่เคยอยู่กับเขา และสามารถเข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ของเขาได้ซึ่งบุคคลนั้นเองจะยืนยันถึงการเป็นคนละเมิดหรือเที่ยงธรรม มีความเป็นอยู่ที่น่าเชื่อถือ หรือว่าเป็นคนที่ขาดประสิทธิภาพในการนำเสนอบทรายงานฮะดีษ

ข้อมูลอันได้มาจากพยานผู้เคยอยู่กับนักรายงานเหล่านี้ นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งได้นำมาอ้างเป็นหลักฐานยืนยันถึงจุดบกพร่อง และความเที่ยงธรรมแล้วรายงานเรื่องราวเหล่านี้มาจนถึงยุคของเรา

ในตัวของผู้เป็นพยาน นำข้อมูลในการชี้จุดบกพร่อง และยืนยันในความเที่ยงธรรม หรือตัวของผู้ที่ถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้น ต่อมามีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นคนซื่อสัตย์และเป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้

เพื่อจะได้ยอมรับคำยืนยันของพวกเขาได้เกี่ยวกับการชี้จุดบกพร่องหรือความเที่ยงธรรม หรือบทรายงานในเรื่องราวเหล่านั้น ที่มีหลักเกณฑ์วางอยู่บนพื้นฐานเหล่านี้

๘๕

ดังนั้น นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านประวัติบุคคลในสมัยหลังจากยุคของนักรายงาน เช่น อัลลามะฮฺ อิบนุฏอวูส...ฯลฯ ได้ให้คำอธิบายว่า

“ผู้ชี้จุดบกพร่องและให้การยืนยันในความเที่ยงธรรมของนักรายงานยังไม่ถูกจัดว่าเป็นพยานแต่อย่างใด หากแต่จะยึดถือในหลักวิชาการ การแสดงเหตุและผลที่ปรากฏข้อสรุปได้ชัดเจน เกี่ยวกับการได้รับรู้เรื่องนี้มาเท่านั้น โดยจะไม่มุ่งยังประเด็นอื่นอันอาจจะนำไปสู่การวิพากษ์ถกเถียง แทนที่จะได้ยึดถือคำยืนยันในความเที่ยงธรรมของนักรายงานในวิถีการดำเนินชีวิต

เพราะการยึดในหลักการความเป็นพยานดังกล่าว จะเป็นวาญิบ ก็ต่อเมื่อไม่สามารถพิสูจน์ด้วยหลักฐานขั้นเด็ดขาดได้ว่า ความเป็นพยานของเขามีข้อผิดพลาดเพราะความหลงลืม หรือสับสนคลุมเครือ”

นักปราชญ์ฮะดีษและอุศูลลุลฟิกฮ์อธิบายไว้ว่าการเป็นพยานยืนยันในเรื่องความเที่ยงธรรมของนักรายงานนั้นสามารถยอมรับได้เสมอโดยไม่จำเป็นต้องให้แถลงถึงเหตุผลหรือรายละเอียดใดๆ ทั้งนี้ก็เพราะ เหตุผลที่แสดงว่าเป็นคนมีความเที่ยงธรรมมีมากมายเกินคำสาธยายใดๆ ได้เพราะ

เป็นที่แน่นอนว่าเขาจะต้องเป็นผู้ที่ประกอบไปด้วยคุณสมบัตินั้นๆ ทั้งหมดจนกระทั่งได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ผู้มีความเที่ยงธรรม

แต่การเป็นพยานยืนยันโดยชี้จุดบกพร่องจะยังเป็นที่ยอมรับไม่ได้จนกว่าจะได้บอกเล่าถึงเหตุผลในข้อนี้ เพราะว่า ความหมายของการชี้จุดบกพร่อง และการพิสูจน์ว่าใครเป็นผู้ละเมิดหลักศาสนานั้น

๘๖

 เป็นเรื่องที่มีการให้ความเห็นแตกต่างกันเช่นกรณีที่บางคนถูกกล่าวหาว่ากระทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งขัดกับหลักความเที่ยงธรรมแล้วเขาผู้นั้นก็ถูกระบุว่ามีจุดบกพร่องเพราะเหตุนั้นๆ

ในขณะที่นักปราชญ์กลุ่มอื่นๆ อาจไม่เห็นด้วย ว่าการกระทำเช่นนั้น ผิดต่อหลักความเที่ยงธรรม

ด้วยเหตุนี้ จึงมีกฏวางไว้ว่า จะต้องระบุถึงสาเหตุให้ละเอียด เพื่อเราจะได้รู้ว่าเป็นจุดบกพร่องจริงหรือไม่ยกเว้นในกรณีที่ทุกฝ่ายทั้งฝ่ายตรวจสอบและฝ่ายพิสูจน์ผลการตรวจสอบไม่ว่าในการชี้จุดบกพร่องและยืนยันในความเที่ยงธรรมมีความเห็นสอดคล้องตรงกัน เมื่อนั้นเองที่ให้ถือได้เลยว่า การยืนยันถึงจุดบกพร่องหรือยุติธรรมมีน้ำหนักเพียงพอซึ่งไม่จำเป็นต้องอธิบายถึงเหตุผล หรือรายละเอียดใดๆ

เพราะฉะนั้น นักปราชญ์บางท่านจึงได้ให้ทัศนะว่าจำเป็นจะต้องพิสูจน์ตรวจสอบในด้านคุณสมบัติของนักรายงานกันอย่างถ่องแท้หากพยานผู้ชี้จุดบกพร่องไม่ได้รับการสนับสนุนโดยคำอธิบายถึงสาเหตุนั้นๆ

ทัศนะของนักปราชญ์ กรณียอมรับคำรายงานจากบุคคลเดียว*

๑ – นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งให้ความเห็นว่า คำบอกเล่าของคนคนเดียวในการชี้จุดบกพร่อง หรือรับรองความน่าเชื่อถือในตัวนักรายงานสามารถยึดเป็นหลักได้เพราะว่าคำบอกเล่าของคนคนเดียวสามารถเป็นได้ทั้งหลักฐานด้านกฏเกณฑ์ทางศาสนาและหลักฐานในด้านความรู้ทางสังคม

๘๗

ผลสรุปก็คือให้ถือเอาคำบอกเล่านั้นเป็นหลักฐานในการทำความรู้จักกับนักรายงานได้ (เป็นความเห็นที่แพร่หลายกันมากในหมู่นักปราชญ์สมัยหลัง)

๒ – นักปราชญ์บางท่านวางเงื่อนไขว่า สำหรับการชี้จุดบกพร่อง หรือรับรองความน่าเชื่อถือจะต้องมีนักปราชญ์ฝ่ายประวัติบุคคลที่เป็นนักรายงานมือสะอาดสองคนให้การเป็นพยาน

นักปราชญ์กลุ่มนี้ได้อธิบายว่า คำให้การชี้จุดบกพร่องหรือรับรองความน่าเชื่อถือ ก็คือการทำหน้าที่พยานนั่นเองซึ่งการทำหน้าที่พยานที่เป็นเงื่อนไขว่าต้องให้ความเชื่อถือนั้นคือคำให้การของพยานจำนวนสองคน

๓ – อีกกลุ่มหนึ่งอธิบายว่า คำให้การของบุคคลคนคนเดียวในเรื่องของนักรายงานสามารถทำให้เราเชื่อถือได้ว่า นักรายงานคนใดมีจุดบกพร่องคนใดมีความน่าเชื่อถือ ครั้นได้เชื่อมั่นในข้อใดข้อหนึ่งแล้วถือเป็นวาญิบจะต้องยึดเอาข้อนั้นเป็นหลัก

๔ – นักปราชญ์กลุ่มที่ ๔ ให้ความเห็นว่าเราอยู่ในฐานะผู้มีอุปสรรคอย่างยิ่งในการยอมรับคำให้การของบุคคลคนเดียวแม้ว่าหลักฐานที่น่าสงสัยยังมีประโยชน์สำหรับการทำให้เกิดความรู้ในเรื่องคุณสมบัติของนักรายงานและในกรณีที่ไม่มีข้อมูลต่างๆ ให้ได้ครบครันเพื่อการยืนยันคำที่ให้ความหมายชี้จุดบกพร่องและยืนยันความเที่ยงธรรม เพื่อให้งานด้านการตรวจสอบนักรายงานเป็นไปในลักษณะที่แม่นยำละเอียดถี่ถ้วน

บรรดานักปราชญ์จึงได้กำหนดคำต่างๆขึ้นมาให้ความหมายชี้จุดบกพร่องและยืนยันความเที่ยงธรรม

๘๘

ท่านชะฮีดษานีย์ ได้กล่าวไว้ว่า

“คำต่างๆ ที่ใช้สำหรับยืนยันความเที่ยงธรรมมีดังนี้ คือ “อาดิล”

 (ผู้มีความเที่ยงธรรม) “ษิกเกาะฮฺ” (ผู้ได้รับความเชื่อถือ) “หุจญะฮฺ” (ผู้เป็น ข้อพิสูจน์) “ศ่อฮีฮุลฮะดีษ” (ฮะดีษที่ถูกต้อง) ยังมีคำอื่นๆ อีกที่มีความหมายตามกรอบที่วางไว้นี้” (๖๗)

*เชค อาลิ รอฎีย์/มุฮาฎอเราะฮฺ ฟี อิล มิล-ฮาดีษ/มะฮัต อัร-รอซูล อักร๊อม/เมืองกุม

ครั้นนักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงานศึกษาจนรู้ถึงบุคลิกภาพของนักรายงานคนใดว่าเป็นเช่นไร พวกเขาก็จะระบุถึงคุณสมบัติของนักรายงานคนนั้นไปตามคุณลักษณะเหล่านี้

จะเป็นคำเหล่านี้หรือคำอื่นที่มีความหมายในประเภทนี้ก็ได้

ดังนั้น หากได้ระบุไว้ในลักษณะเหล่านี้ ก็จะหมายความว่าเป็นการยืนยันในความเที่ยงธรรม ความน่าเชื่อถือ และสามารถจะยึดถือรายงานที่มาจากเขาได้

ส่วนคำ ที่นักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงานใช้กับนักรายงานที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่น่าเชื่อถือนั้น ได้แก่คำต่างๆ ที่ให้ความหมายว่าบกพร่อง เช่น “เฎาะอีฟ” (ขาดประสิทธิภาพ) “กัซซาบ” (คนมุสา) “วัฎเฎาะอฺ” (นักกุเรื่อง) “ฆอล” อีกทั้งยังมีคำอื่นๆ อีกที่ให้ความหมายในลักษณะเช่นนี้

๘๙

ดังนั้น เมื่อนักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลที่เป็นนักรายงานกล่าวถึงชื่อนักรายงานคนใด ด้วยการใช้คำเหล่านี้หรือคำอื่นที่อยู่ในกรอบของความหมายเหล่านี้อธิบายบอกถึงลักษณะ ก็จะหมายความว่าบุคคลผู้นั้นเป็นคนที่ไม่มีความน่าเชื่อถือและต้องห้ามมิให้ยึดถือรายงานเหล่านั้น

เมื่อได้ปรากฏให้เห็นถึงความบกพร่องของเขาอย่างชัดเจน

สื่อต่างๆ ในการนำเสนอรายงาน

เราได้ทราบมาแล้วว่า ระบบการทำงานของนักรายงานฮะดีษนั้น ประกอบด้วยบรรดานักรายงานคณะหนึ่งที่รายงานบอกเล่าเรื่องๆ หนึ่งโดยคนหนึ่งจะรับมาจากรายงานของอีกคนหนึ่งในการได้บทรายงานมาและการถ่ายทอดไปยังคนอื่นนั้น มีหลายวิธีการด้วยกัน

ท่านชะฮีด ษานีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัด-ดิรอยะฮฺว่าการได้รับมาและถ่ายทอดบทรายงานนั้นมีหลายวิธีการคือ

๑ – ได้ยินได้ฟังถ้อยคำของผู้อาวุโส (ชัยคุลฮะดีษ)

หมายถึง การได้รับฟังจากผู้อาวุโสโดยตรง ดังนั้น นักรายงาน จะพูดในฐานที่เป็นผู้อ้างบทรายงานนั้นมาจากอาวุโสตามที่ได้ยินได้ฟังมา

 โดยจะกล่าวในทำนองว่า “ฉันได้ยินท่าน...กล่าว”

หรือ “ท่าน...ได้ เล่าฉันว่า” หรือ “ท่าน...ได้บอกฉันว่า”

๙๐

นี่คือสิ่งที่เราสามารถทำความเข้าใจในวิธีการรับคำบอกเล่าจากผู้อาวุโสโดยการได้ยินได้ฟังโดยตรงเพราะความเข้าใจวิธีการรับบทรายงานมานั้น

 มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการยึดถือเป็นหลัก

บรรดานักปราชญ์ถือว่า วิธีการนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดของการรับบทรายงาน

*ฆอล หมายถึง พวกที่มีความลุ่มหลงในบรรดาอิมามมะศูม (อ) อย่างเลยเถิด จนอธิบายว่า มีคุณลักษณะเป็นพระผู้อภิบาล ฆอลจึงเป็นพวกหลงผิดกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของนักฮะดีษ

๒ – อ่านตรวจทานกับผู้อาวุโส

อีกวิธีการหนึ่งในการนำบทรายงานมาเสนอ นั่นคือนักรายงานบางท่านจะมุ่งเน้นในการท่องจำรายงานฮะดีษที่ได้มาจากหนังสือใดๆ หรือที่ได้มาจากแหล่งอื่นต่อจากนั้นจะนำไปตรวจสอบกับผู้อาวุโส ซึ่งมีความรอบรู้ในบทรายงานต่างๆ หมายความว่า เขาจะท่องให้ผู้อาวุโสฟัง

แล้วผู้อาวุโสก็จะตรวจสอบและยืนยันในความถูกต้องของบทรายงานนั้นๆ ออกมา

ด้วยเหตุนี้ บทรายงานของนักรายงานดังกล่าวก็จะได้รับความเชื่อถืออย่างสมบูรณ์แบบ

เมื่อได้ผ่านการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือโดยบรรดาผู้อาวุโสทั้งหมดในกระบวนของนักรายงานที่เป็นระบบลูกโซ่ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว นักรายงานผู้นั้นก็สามารถกล่าวได้ว่า “ฉันได้นำฮะดีษบทนี้ไปอ่านทบทวนกับท่าน...” หรือจะกล่าวว่า “บทรายงานนี้ได้ถูกนำมาอ่านทบทวนให้ท่าน...ฟัง แล้วฉันก็ได้ยินท่านผู้อาวุโสกล่าวรับรองรายงานบทนี้” (๖๙)

๙๑

๓ – การได้รับฉันทานุมัติ (อัล-อิญาซะฮฺ) หมายถึง กรณีที่นักรายงานรับบทรายงานไปทั้งเล่มแล้วนำไปถ่ายทอดต่อยังนักรายงานคนอื่นๆ หรือกรณีที่ผู้อาวุโสอนุญาตให้รับบทบันทึกส่วนหนึ่งจากรายงานไปแล้วท่านก็ได้กล่าวแก่นักรายงานผู้นั่นว่า “ฉันอนุมัติให้เธอรับบทรายงานส่วนหนึ่งจากหนังสือนี้ได้” หรือท่านอาจกล่าวว่า“ฉันอนุญาตให้เธอรับบทรายงานแห่งบันทึกนี้ได้”(๗๐)

๔ – การได้รับมอบหมาย (มุนาวะละฮฺ)

นั่นคือ วิธีการมอบหนังสือโดยผู้อาวุโส ดำเนินการมอบให้แก่

ศิษยานุศิษย์เพื่อให้ครอบครองเป็นเจ้าของหรือเพื่อให้ยืมอ่านแล้ว

ผู้อาวุโสได้กล่าวในภายหลังแก่ศิษย์ผู้นั้นว่า “นี่คือบันทึกของฉันที่ได้ฟังมาจากท่าน...ดังนั้นเธอสามารถรายงานเรื่องเหล่านี้ต่อไปจากฉันได้” (๗๑) เมื่อได้อย่างนี้แสดงว่า นักรายงานผู้นั้นได้รับมอบหนังสือเพื่อรายงานเรื่องต่างๆ ในหนังสือนี้ จากท่านเชคอย่างถูกต้อง

๕ – การจดบันทึก

การได้รับบทรายงานมาจากผู้อาวุโสนั้นยังมีอีกวิธีหนึ่งคือ ผู้อาวุโสจะบันทึกรายงานฮะดีษต่างๆ ด้วยตัวเอง แล้วมอบให้แก่คนใกล้ชิดหรือที่ห่างออกไปหลังจากนั้นท่านก็จะอนุญาตให้เขาทำหน้าที่รายงานข้อเขียนที่ท่านมอบให้ต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้รับมอบก็สามารถรายงานบันทึกต่างๆจากข้อเขียนนั้น ด้วยความถูกต้อง

๙๒

แต่ในหมู่นักปราชญ์มีเรื่องที่รู้กันอยู่ว่า บทรายงานที่ผู้อาวุโสเขียนมอบให้เขานั้นเป็นบันทึกที่ถูกต้อง ถึงแม้ท่านจะไม่เขียนคำอนุญาตรับรองบทรายงานนั้นให้แก่เขาเพื่อยืนยันโดยข้อเขียนว่าท่านอนุญาตให้เขาเป็นผู้รับบันทึกนั้น ไปรายงานต่อได้ก็ตาม

เป็นลักษณะเดียวกับที่ยอมรับว่าการถ่ายทอดคำวินิจฉัยความที่นักวินิจฉัยเขียนขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ถึงแม้ผู้ออกคำวินิจฉัยจะไม่ได้เขียนว่าอนุญาตให้ถ่ายทอดได้ก็ตาม(๗๒)

๖ – การประกาศ

การนำฮะดีษและบทรายงานไปเสนอได้อีกวิธีหนึ่ง คือ วิธีการที่ผู้อาวุโสประกาศแก่ศิษย์ของท่านว่าหนังสือรวบรวมฮะดีษเหล่านี้ เป็นบทรายงานที่ท่านบันทึกมา โดยท่านไม่ต้องกล่าวกับศิษย์ว่า “จงรายงานเรื่องเหล่านี้ต่อจากฉัน” หรือไม่ต้องกล่าวเช่นกันว่า “ฉันอนุญาตให้เธอทำหน้าที่รายงานบันทึกของฉันเล่มนี้ต่อจากฉันได้”

นักปราชญ์บางส่วนถือว่าอนุญาตให้ถ่ายทอดบทรายงานที่ไม่ระบุแหล่งที่มาอย่างนี้ได้ โดยยึดถือในหลักการว่า ผู้อาวุโสได้ประกาศมอบแก่ศิษย์แล้ว ขณะที่อีกส่วนหนึ่งจากหมู่นักปราชญ์ถือว่าห้ามมิให้ถ่ายทอดบทรายงานโดยวิธีการเช่นนี้

๙๓

๗ – การพบบทรายงาน

กรณีที่นักรายงาน ก. พบเห็นบทรายงานในมือของนักรายงาน ข. ตรงกับข้อเขียนของตนโดยที่นักรายงาน ข. ไม่เคยได้รับมอบข้อเขียนนั้นไปจากตน และไม่เคยได้รับฟังบทรายงานนั้นจากตน อีกทั้งตนยังมิได้อนุญาตให้เขารับบทรายงานนั้นๆ ไปด้วย นี่คือปัญหาหนึ่งทางวิชาการ ที่ถือว่าจำเป็นจะต้องนำบันทึกนั้นไปให้เจ้าของเดิมพิสูจน์เสียก่อน เพื่อเขาจะได้รับบทรายงานอย่างถูกต้องจากเจ้าของ หากเขาให้ความเชื่อถือต่อบทรายงานนั้นๆ

เหล่านี้คือวิธีการและสื่อที่สำคัญสำหรับการรับฮะดีษและวิธีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยตรง ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่าฮะดีษต่างๆ ที่ตกทอดมาถึงเราทั้งหมดนี้เมื่อครั้งสมัยที่ยังอยู่ระหว่างการถ่ายทอดจากนักรายงานนั้น วิธีการได้มาของมันแต่ละฮะดีษ ก็อาศัยวิธีการต่างๆ เหล่านี้เอง

หลังจากสมัยนั้นเป็นต้นมาเมื่อกิจการด้านการพิมพ์เกิดขึ้น ความรู้ก็ได้รับการแพร่หลาย บทรายงานฮะดีษต่างๆ ก็ได้ถูกนำมาตีพิมพ์รวบรวมไว้ในตำราประมวลฮะดีษสำคัญๆ เช่น อัล-กาฟีย์, ศ่อฮีฮฺบุคอรี และอื่นๆ

ตำราเหล่านี้ จึงกลายเป็นแหล่งที่มาโดยตรงของคนที่มีหนังสือเหล่านี้ไปศึกษา โดยไม่จำเป็นต้องไปศึกษาจากผู้อาวุโส หรือไปรับฉันทานุมัติจากใครๆอีก

๙๔

วิธีจำแนกชื่อ นักรายงานที่ตรงกัน

จากการอธิบายในบทที่ผ่านมา เราได้ทราบว่า นักรายงานบางคนถูกยอมรับว่าเป็นคนซื่อสัตย์ เชื่อถือได้ บางคนถูกระบุว่าเป็นผู้ที่ขาดประสิทธิภาพ เป็นคนมุสาส่วนอีกบางคนอยู่ในข่ายที่ต้องสงสัยถูกตั้งข้อหา บ้างก็ได้รับคำยืนยันว่าเป็นคนเช่นนั้นจริงแต่อีกบางส่วนกลับปฎิเสธว่าไม่จริง และนักรายงานบางคนไม่เป็นที่รู้จักของนักปราชญ์เลย

ในที่นี้ เราต้องการจะอธิบายให้เห็นว่า นักรายงานฮะดีษจำนวนหนึ่งมีชื่อ มีฉายานาม หรือนามแฝงตรงกัน เช่น

“มุฮัมมัด บิน เกซ, มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล, อะบีบะศีรฺ และ อิบนุซินาน...ฯลฯ กล่าวคือ ในบรรดานักรายงานฮะดีษนั้น จะมีนักรายงานมากกว่า

 ๑ คนที่ใช้ชื่อ “มุฮัมมัด บิน เกซ, มุฮัมมัด บินอิสมาอีล, อะบี บะศีรฺ และอิบนุซินาน”

การจำแนกแยกแยะระหว่างชื่อกับตัวจริงของนักรายงานแต่ละท่านเหล่านี้นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพื่อแยกแยะหาคนที่เชื่อถือได้ คนที่ขาดประสิทธิภาพและผู้ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก ออกจากกันจนเราสามารถที่จะยึดถือนักรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ และหลีกเลี่ยงนักรายงานที่ขาดประสิทธิภาพ, ไม่เป็นที่รู้จัก ตลอดทั้งบุคคลที่เราไม่สามารถวิเคราะห์ถึงบุคลิกภาพของเขาได้

๙๕

เป็นที่รู้กันว่า เราจะไม่พบปัญหาเช่นนี้ ถ้าหากนักรายงานฮะดีษที่มีชื่อตรงกันเหล่านี้มีคุณสมบัติเหมือนๆ กันทุกคนไม่ว่าความน่าเชื่อถือ หรือความเป็นผู้ขาดประสิทธิภาพ หรือคนที่ไม่เป็นที่รู้จัก

ตัวอย่างการจัดอันดับรุ่น เพื่อจะได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น ในที่นี้ เราจะบันทึกตัวอย่างการจัดอันดับรุ่น และวิธิการจำแนกรายชื่อ ฉายานามที่ตรงกัน

ในหนังสือ มัจมุอุร-ริญาล ของท่านเกาะฮฺบาอีย์ ได้บันทึกไว้ว่า

“อะบู บะศีรฺ ยะห์ยา บิน อะบี กอซิม , อะบูมุฮัมมัด, อะบู บะศีรฺ อะสะดีย์, อับดุลลอฮฺ บินมุฮัมมัด, อะบูมุฮัมมัด, อะบูบะศีรฺ อัล-มุรอดีย์, ไลซ์ บิน บัคตะรีย์, อะบูยะห์ยา ล้วนเป็นคนที่มีนักรายงานฮะดีษที่ใช้ชื่อตรงกันอย่างนี้หลายคน ดังตัวอย่าง เมื่อมีการรายงานมาจากอิมามบากิรกับอิมามศอดิก (อ) หรือท่านใดท่านหนึ่ง

ส่วนเมื่อมีรายงานจากอิมามกาซิม(อ) ปรากฏว่า ในจำนวนของนักรายงานรุ่นนี้จะมีเพียง ยะหฺยา บิน อะบี กอซิม จึงไม่มีข้อสงสัย”(๗๔)

หนังสือ มัจมุอุร-ริญาล ได้บันทึกอีกว่า

“อิบนุซินาน คือ มุฮัมมัด และอับดุลลอฮฺ นักรายงานทั้งสองนี้ เป็นบุตรของซินาน บิน อับดุรเราะมาน อัล-ฮาชิมีย์, กับอีกคนหนึ่ง คือ มุฮัมมัด บิน ซินาน บิน ฎอรีฟ อัซ-ซาฮิรีย์ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันตรงอันดับรุ่น (๗๕)

๙๖

ในเชิงอรรถหนังสือ มัจมุอุร-ริญาลบันทึกไว้ว่า

 “ท่านชะฮีด-ษานีย์ (ขออัลลอฮฺทรงประทานความเมตตาแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัด-ดิรอยะตุลฮะดีษว่า ทุกเรื่องที่คนชื่อ มุฮัมมัด บินเกซ รายงานว่า รับมาจาก อะบีญะอฺฟัร เราต้องให้การปฎิเสธเพราะว่าชื่อนี้เป็นทั้งชื่อของคนที่เชื่อถือได้ และคนที่ขาดประสิทธิภาพ

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า หลักฐานที่ระบุว่าชื่อนี้เป็นของคนสองคนนั้นเป็นข้อพิสูจน์ที่ได้มาจากนักรายงาน กล่าวคือ อาศิม บิน ฮะมีด, ยูสุฟ บิน อะกีล และนักรายงานคนอื่นๆ นอกเหนือจากสองคนนี้ ได้รับบทรายงานมาจากคนที่เชื่อถือได้ ส่วนยะหฺยาบิน ซะกะรียาได้รับรายงานมาจากคนที่ขาดประสิทธิภาพนี่คือเรื่องที่รู้กันอย่างแน่ชัดสำหรับคนที่ติดตามศึกษาอย่างใกล้ชิด” (๗๖)

เราได้รับความเข้าใจว่า อะบูบะศีร เป็นฉายานามของนักรายงาน ๓ คน ด้วยกัน

 อิบนุซินาน ก็เป็นฉายานามของคน ๓ คน คือ อับดุลลอฮฺ บิน ซินาน อัล-ฮาชิมีย์, มุฮัมมัด บิน ซินาน อัล-ฮาชิมีย์ และมุฮัมมัด บิน ซินาน อัซ-ซาฮิรีย์

จากการค้นคว้าประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงานฮะดีษทำให้เรามีความกระจ่างในข้อหนึ่งว่า

๙๗

มุฮัมมัด บิน ซินาน อัล-ฮาชิมีย์ นั้น เป็นนักรายงานที่ขาดประสิทธิภาพ (เฎาะอีฟ) บทฮะดีษที่เขารายงานไว้ ไม่ได้รับความเชื่อถือ เช่นเดียวกับ มุฮัมมัด บิน ซินาน อัซ-ซาฮิรีย์ ที่เป็นนักรายงานประเภทขาดประสิทธิภาพเช่นกัน

ครั้นในบทรายงานใดก็ตามที่ระบุว่ามาจากอิบนุซินานถือว่า นักศึกษาจำเป็นจะต้องนำไปตรวจสอบ ต่อเมื่อได้ความแน่ชัดว่า อิบนุ ซินานผู้นี้ คือ อับดุลลอฮฺ บิน ซินาน นั่นแหละจึงจะให้การยอมรับได้

แต่ถ้าหากว่า อิบนุซินาน ชื่อนี้ เป็นของนักรายงานฮะดีษที่ชื่อ มุฮัมมัด บิน ซินาน อัล-ฮาชิมีย์ หรือ มุฮัมมัด บิน ซินาน อัซ-ซาฮิรีย์ ก็ให้ ละทิ้งบทรายงาน นั้นเสียอย่าได้นำมาถือปฏิบัติเลย”

แต่ถ้าหากผลของการพิสูจน์ยังคงมีความสับสนก็ให้ถือว่าต้องระงับการยอมรับรายงานฮะดีษนั้นๆเช่นกัน หมายความว่าบทรายงานนั้น ต้องถูกยกเลิกการพิจารณาเพราะไม่อาจพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของนักรายงานให้ปรากฏความจริงขึ้นมาได้

ดังกล่าวนี้คือ หลักการที่นักวิชาการถือเป็นวิธีปฏิบัติต่อนักรายงานฮะดีษในกรณีที่มีความยุ่งยากสับสนในการจำแนกว่าใครเป็นใครกันแน่ ในระหว่างบุคคลเหล่านั้น

๙๘

วิธีจำแนกนักรายงานที่มีชื่อซ้ำกัน

ตามที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว เราสามารถเข้าใจได้ว่า นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญมีวิธีการชัดเจน

สำหรับนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์และพิสูจน์ความจริง เพื่อจำแนกแยกแยะนักรายงานฮะดีษที่มีชื่อซ้ำกัน

โดยยึดถือองค์ประกอบด้านต่างๆ หลายประการที่สำคัญคือการกำหนดอันดับรุ่นของนักรายงาน (ที่มีชีวิตในสมัยเดียวกัน)

เพราะการที่สามารถกำหนดรุ่นของนักรายงานที่อยู่ในสมัยเดียวกันได้บางทีจะสามารถช่วยทำให้ได้ข้อพิสูจน์เกี่ยวกับบุคคลผู้นั้นขึ้นมาแล้ว จะสามารถระบุคุณสมบัติของนักรายงานนั้นๆ ได้ทั้งๆ ที่เป็นคนมีความซื่อตรงกับนักรายงานอื่นอีกหลายคน

ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในการทำความรู้จักกับนักรายงานที่มีชื่อว่า

มุฮัมมัด บิน เกซ ซึ่งมีผู้ใช้ชื่อซ้ำกันกับเขาอยู่หลายคน ด้วยเหตุผลที่ว่ามุฮัมมัด บิน เกซ ที่ถ่ายทอดรายงานฮะดีษให้แก่

อาศิม บิน ฮะมีด, ยูสุฟบิน อะกีลนั้น จะเป็นคนที่เชื่อถือได้แน่นอนเพราะว่าทั้งอาศิมและยูสุฟ ต่างก็เป็นนักรายงานที่ถูกยอมรับว่าไม่เคยรับรายงานฮะดีษจากใครง่ายๆ นอกจากจะต้องเป็นคนที่เชื่อถือได้เท่านั้นดังข้อความที่ได้อธิบายผ่านไปแล้ว

๙๙

ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า การจัดอันดับรุ่นของนักรายงานฮะดีษที่มีชื่อตรงกันกับผู้ที่ถ่ายทอดรายงานให้แก่ตนนั้น ไม่อาจนำวิธีการจำแนกดังที่ยกตัวอย่างไปแล้วมาใช้ได้ เพราะนักรายงานฮะดีษในสมัยเดียวกัน ก็ยังมีคนชื่อตรงกันแล้วมิหนำซ้ำพวกเขาด้วยกันเอง ยังได้รับบทรายงานจากคนๆเดียวกันก็มี หรือบางครั้งก็มีการถ่ายทอดบทรายงานในระหว่างพวกเขาด้วยกัน แล้วถ่ายทอดต่อไปในกลุ่มนักรายงานที่มีชื่อตรงกันอีกดังที่กล่าวผ่านไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้เราจำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบอื่น เพื่อกำหนดเป็นมาตรการจำแนก

* ได้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า มุฮัมมัด บิน ซินานเป็นคนขาดประสิทธิภาพตลอดชั่วอายุขัยของเขา

สื่อนำสู่ซุนนะฮฺ

เราได้ทำความเข้าใจกันแล้วว่า มีช่องว่างที่เป็นเวลานานมากระหว่างสมัยของซุนนะฮฺนบี กับสมัยที่มีการจดบันทึก และระหว่างสองสมัยนั้นกันสมัยที่มีการรวบรวมเป็นตำราอ้างอิงไว้ศึกษาเหมือนอย่างที่เห็นกันอยู่ในวันนี้

ดังนั้น นักปราชญ์จึงมีปัญหาทางวิชาการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ อะไรคือองค์ประกอบอย่างแท้จริง ที่สามารถนำไปพิสูจน์หาข้อเท็จ-ข้อจริงกับเรื่องราวอันมากมายมหาศาลที่ถูกอ้างว่า มีที่มาจากท่านนบีและอิมาม หลักเกณฑ์อันใดที่สามารถยืนยันได้ว่า เรื่องนี้เรื่องนั้นมีที่มาจากท่านนบีและอิมามจริงๆ

๑๐๐