วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน50%

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดฮะดีษ
หน้าต่างๆ: 156

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 156 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 50988 / ดาวน์โหลด: 5839
ขนาด ขนาด ขนาด
วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

ด้วยเหตุนี้ จำเป็นจะต้องศึกษาถึงบุคลิกภาพของนักรายงาน เพื่อจะได้รู้ มีรายงานฮะดีษบทใดบ้างที่ถูกต้อง และมีบทใดบ้างที่ควรแก่การนำมาวิเคราะห์วิจัยเพื่อพิสูจน์หาความจริงโดยไม่ต้องนำพาต่อผลงานการวิเคราะห์มาก่อนแล้วของผู้เป็นเจ้าของตำราเหล่านั้น

ทฤษฎีนี้ยึดในหลักการว่าจะต้องมีการวิเคราะห์และพิสูจน์หาความจริงในทางวิชาการ โดยให้เหตุผลยืนยันว่ามีนักรายงานฮะดีษที่เป็นคนขาดประสิทธิภาพ(ฎออีฟ) ได้รายงานฮะดีษที่ไม่ได้รับความเชื่อถือและถูกบันทึกอยู่ในตำราฮะดีษเหล่านี้เป็นจำนวนมาก

ประกอบกับยังมีหลักฐานอีกประการหนึ่งซึ่งพวกเขาอ้างว่า รายงานฮะดีษเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางศาสนาและหลักความเชื่อ ยังมีปรากฏอยู่ในตำราเล่มอื่นๆ อีกมาก ซึ่งมิได้ถูกยกย่องว่าเป็นตำราที่บันทึกเฉพาะฮะดีษที่ถูกต้องเท่านั้น

ซัยยิด อะบุล กอซิม อัล-คุอีย์ นักการศาสนาผู้ล่วงลับ ได้กล่าวสนับสนุนทฤษฎีนี้อย่างชัดเจนว่า

 “นักวิชาการฮะดีษกลุ่มหนึ่งให้ทัศนะว่า บทรายงานที่มีบันทึกอยู่ในตำราทั้งสี่เป็นหลักฐานที่ให้ความมั่นใจได้อย่างเด็ดขาดแล้วการพูดอย่างนี้ ถือว่า ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง

จะอ้างว่าเป็นหลักฐานที่ให้ความมั่นใจได้อย่างเด็ดขาดอย่างไรเมื่อมีบางรายงานถูกถ่ายทอดมาเล่าต่อโดยบุคคลเพียงคนเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำราทั้งสี่ ยังมีบทรายงานที่ยอมรับกันว่ามาจากคนมุสาและคนปลอมฮะดีษก็ยังมี..”(๖๔)

๘๑

ตำราศ่อฮีฮฺทั้งหลายเช่นศ่อฮีฮฺบุคอรี ศ่อฮีฮฺมุสลิม...ฯลฯ ก็ล้วนแต่อยู่บนพื้นฐานเดียวกันนี้ด้วยกันนั่นแหละ

คุณสมบัตินักรายงานที่ถูกยอมรับ

นักปราชญ์ฮะดีษได้กำหนดเงื่อนไขด้านคุณสมบัติของนักรายงาน ที่ทำให้ฮะดีษจากการรายงานของเขาถูกยอมรับ ไว้ดังต่อไปนี้

๑ – มีอายุครบตามเกณฑ์ที่ศาสนบัญญัติ

นักปราชญ์ฮะดีษ และสาขาอุศูลลุดดีน ได้กำหนดเงื่อนไขไว้เพื่อพิจารณารับรองบทรายงานที่นำมาเสนอโดยนักรายงาน ว่านักรายงานผู้นั้นจะต้องมีอายุครบตามที่ศาสนาบัญญัติไว้ในขณะที่ถ่ายทอดบทรายงาน และให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการรายงาน กล่าวคือ จะไม่ยอมรับบทรายงานใดๆ จากเด็ก

๒ – มีสติสัมปชัญญะ

คนที่สามารถถ่ายทอดบทรายงานฮะดีษให้เป็นที่ยอมรับได้ จะต้องมีสติสัมปชัญญะ กล่าวคือ บทรายงานใดที่ถูกถ่ายทอดมาจากคนวิกลจริต คนปัญญาอ่อน ขาดสติสัมปชัญญะ จะไม่เป็นที่ยอมรับ

๓ – มีความเที่ยงธรรมต่อบทบัญญัติทางศาสนา

เพื่อจะให้ได้บทรายงานที่ถูกยอมรับ นักปราชญ์ได้วางเงื่อนไขไว้อีกประการหนึ่งว่า

๘๒

ผู้รายงานจะต้องเป็นคนมีความเที่ยงธรรม หมายความว่า

นักรายงานฮะดีษต้องมีความประพฤติเรียบร้อยไม่ฝ่าฝืนบทบัญญัติทางศาสนาตามโองการที่ว่า

“หากคนละเมิดบทบัญญัติทางศาสนานำข่าวใดมาแจ้งยังสูเจ้าดังนั้น จงพิจารณาอย่างถ่องแท้ เพราะจะเป็นภัยมหันต์แก่คนพวกหนึ่งได้ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้วสูเจ้าจะเป็นผู้ที่เสียใจต่อสิ่งที่สูเจ้ากระทำ”

บรรดานักปราชญ์บางส่วนเช่น เชค ฎูซีย์ ได้ให้ทัศนะไว้อย่างนี้ในขณะที่อะบูหะนีฟะฮฺก็ให้ทัศนะอย่างสอดคล้องตามนี้ด้วยว่า

 “มุสลิมทุกคนล้วนเป็นคนเที่ยงธรรมเป็นพื้นฐานตราบใดที่

ยังไม่ปรากฎอย่างชัดเจนว่า เขาเป็นคนฝ่าฝืนบทบัญญัติทางศาสนา”(๖๕)

๔ – นักรายงานฮะดีษต้องไม่เล่าเรื่องราวที่ขัดกับหลักมนุษยธรรม

๕ – นักรายงานฮะดีษ ต้องเล่าบทรายงานที่เขาได้รับมาอย่างถูกต้องแม่นยำ เป็นคนมีความตื่นตัวอยู่เสมอ มีความจำอย่างดีเยี่ยม สามารถรักษาถ้อยคำของบทรายงานได้ไม่ผิดพลาดและไม่บิดเบือนความหมาย...ฯลฯ ต้องเป็นคนรอบรู้ในกรณีถ้าหากมีความบกพร่องใดๆ เกิดขึ้นในความหมายของบทรายงาน และเป็นคนที่สามารถจดจำบทรายงานไว้ได้ละเอียดถี่ถ้วน

๖ – บรรดานักปราชญ์ จะยอมรับบทรายงานของบุคคลผู้ซึ่งมีคุณสมบัติที่เชื่อถือได้เท่านั้น

จะไม่คำนึงถึงมัซฮับ แนวความคิด ตราบใดที่ยังมีความน่าเชื่อถือในบทรายงานของเขาอยู่

๘๓

การชี้จุดบกพร่องกับการยืนยันในความเที่ยงธรรม

การชี้จุดบกพร่อง ในที่นี้ หมายถึง การระบุถึงข้อตำหนิอันเป็นเหตุให้มีความบกพร่อง ทางด้านความเที่ยงธรรมและความไม่น่าเชื่อถือในตัวของ

นักรายงานได้แก่ การถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า เป็นคนมุสา เป็นคนชอบกุข่าว และเป็นนักปลอมฮะดีษ...ฯลฯ

ส่วนการยืนยันในความเที่ยงธรรม หมายถึง คำยืนยันที่มีต่อนักรายงานคนใดคนหนึ่งว่า เป็นคนที่มีความเที่ยงธรรม และน่าเชื่อถือ

หลักวิชาว่าด้วย การชี้จุดบกพร่องกับการยืนยันในความเที่ยงธรรมถือเป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับความรู้เกี่ยวกับประวัติของบุคคลที่เป็นนักรายงาน ซึ่งหมายถึงการยืนยันในความซื่อสัตย์สุจริต และความไม่โกหกของนักรายงานสื่อในการชี้จุดบกพร่อง และยืนยันในความเที่ยงธรรม

แหล่งที่มาของข้อพิสูจน์ถึงความบกพร่อง และความเที่ยงธรรมของนักรายงานคือการได้เข้าไปสัมผัสและได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่า การยืนยันถึงจุดบกพร่องและความเที่ยงธรรม คือการเป็นพยาน ที่ต้องรู้เห็นพฤติกรรมของนักรายงาน(๖๖) และพยานผู้นี้ ต้องเป็นผู้ที่มีโอกาสรู้จริงว่านักรายงานผู้นั้นเป็นคนเช่นไร โดยการที่ตนได้สัมผัสด้วยการได้รู้ ได้ยิน

 ได้เห็น

๘๔

ดังนั้น จะไม่มีใครสามารถพิสูจน์ว่านักรายงานคนใดมีจุดบกพร่องหรือยืนยันว่านักรายงาน คนใดมีความเที่ยงธรรม หรือน่าเชื่อถือในเบื้องต้นได้ นอกจากคนที่เคยอยู่กับเขา และสามารถเข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ของเขาได้ซึ่งบุคคลนั้นเองจะยืนยันถึงการเป็นคนละเมิดหรือเที่ยงธรรม มีความเป็นอยู่ที่น่าเชื่อถือ หรือว่าเป็นคนที่ขาดประสิทธิภาพในการนำเสนอบทรายงานฮะดีษ

ข้อมูลอันได้มาจากพยานผู้เคยอยู่กับนักรายงานเหล่านี้ นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งได้นำมาอ้างเป็นหลักฐานยืนยันถึงจุดบกพร่อง และความเที่ยงธรรมแล้วรายงานเรื่องราวเหล่านี้มาจนถึงยุคของเรา

ในตัวของผู้เป็นพยาน นำข้อมูลในการชี้จุดบกพร่อง และยืนยันในความเที่ยงธรรม หรือตัวของผู้ที่ถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้น ต่อมามีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นคนซื่อสัตย์และเป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้

เพื่อจะได้ยอมรับคำยืนยันของพวกเขาได้เกี่ยวกับการชี้จุดบกพร่องหรือความเที่ยงธรรม หรือบทรายงานในเรื่องราวเหล่านั้น ที่มีหลักเกณฑ์วางอยู่บนพื้นฐานเหล่านี้

๘๕

ดังนั้น นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านประวัติบุคคลในสมัยหลังจากยุคของนักรายงาน เช่น อัลลามะฮฺ อิบนุฏอวูส...ฯลฯ ได้ให้คำอธิบายว่า

“ผู้ชี้จุดบกพร่องและให้การยืนยันในความเที่ยงธรรมของนักรายงานยังไม่ถูกจัดว่าเป็นพยานแต่อย่างใด หากแต่จะยึดถือในหลักวิชาการ การแสดงเหตุและผลที่ปรากฏข้อสรุปได้ชัดเจน เกี่ยวกับการได้รับรู้เรื่องนี้มาเท่านั้น โดยจะไม่มุ่งยังประเด็นอื่นอันอาจจะนำไปสู่การวิพากษ์ถกเถียง แทนที่จะได้ยึดถือคำยืนยันในความเที่ยงธรรมของนักรายงานในวิถีการดำเนินชีวิต

เพราะการยึดในหลักการความเป็นพยานดังกล่าว จะเป็นวาญิบ ก็ต่อเมื่อไม่สามารถพิสูจน์ด้วยหลักฐานขั้นเด็ดขาดได้ว่า ความเป็นพยานของเขามีข้อผิดพลาดเพราะความหลงลืม หรือสับสนคลุมเครือ”

นักปราชญ์ฮะดีษและอุศูลลุลฟิกฮ์อธิบายไว้ว่าการเป็นพยานยืนยันในเรื่องความเที่ยงธรรมของนักรายงานนั้นสามารถยอมรับได้เสมอโดยไม่จำเป็นต้องให้แถลงถึงเหตุผลหรือรายละเอียดใดๆ ทั้งนี้ก็เพราะ เหตุผลที่แสดงว่าเป็นคนมีความเที่ยงธรรมมีมากมายเกินคำสาธยายใดๆ ได้เพราะ

เป็นที่แน่นอนว่าเขาจะต้องเป็นผู้ที่ประกอบไปด้วยคุณสมบัตินั้นๆ ทั้งหมดจนกระทั่งได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ผู้มีความเที่ยงธรรม

แต่การเป็นพยานยืนยันโดยชี้จุดบกพร่องจะยังเป็นที่ยอมรับไม่ได้จนกว่าจะได้บอกเล่าถึงเหตุผลในข้อนี้ เพราะว่า ความหมายของการชี้จุดบกพร่อง และการพิสูจน์ว่าใครเป็นผู้ละเมิดหลักศาสนานั้น

๘๖

 เป็นเรื่องที่มีการให้ความเห็นแตกต่างกันเช่นกรณีที่บางคนถูกกล่าวหาว่ากระทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งขัดกับหลักความเที่ยงธรรมแล้วเขาผู้นั้นก็ถูกระบุว่ามีจุดบกพร่องเพราะเหตุนั้นๆ

ในขณะที่นักปราชญ์กลุ่มอื่นๆ อาจไม่เห็นด้วย ว่าการกระทำเช่นนั้น ผิดต่อหลักความเที่ยงธรรม

ด้วยเหตุนี้ จึงมีกฏวางไว้ว่า จะต้องระบุถึงสาเหตุให้ละเอียด เพื่อเราจะได้รู้ว่าเป็นจุดบกพร่องจริงหรือไม่ยกเว้นในกรณีที่ทุกฝ่ายทั้งฝ่ายตรวจสอบและฝ่ายพิสูจน์ผลการตรวจสอบไม่ว่าในการชี้จุดบกพร่องและยืนยันในความเที่ยงธรรมมีความเห็นสอดคล้องตรงกัน เมื่อนั้นเองที่ให้ถือได้เลยว่า การยืนยันถึงจุดบกพร่องหรือยุติธรรมมีน้ำหนักเพียงพอซึ่งไม่จำเป็นต้องอธิบายถึงเหตุผล หรือรายละเอียดใดๆ

เพราะฉะนั้น นักปราชญ์บางท่านจึงได้ให้ทัศนะว่าจำเป็นจะต้องพิสูจน์ตรวจสอบในด้านคุณสมบัติของนักรายงานกันอย่างถ่องแท้หากพยานผู้ชี้จุดบกพร่องไม่ได้รับการสนับสนุนโดยคำอธิบายถึงสาเหตุนั้นๆ

ทัศนะของนักปราชญ์ กรณียอมรับคำรายงานจากบุคคลเดียว*

๑ – นักปราชญ์กลุ่มหนึ่งให้ความเห็นว่า คำบอกเล่าของคนคนเดียวในการชี้จุดบกพร่อง หรือรับรองความน่าเชื่อถือในตัวนักรายงานสามารถยึดเป็นหลักได้เพราะว่าคำบอกเล่าของคนคนเดียวสามารถเป็นได้ทั้งหลักฐานด้านกฏเกณฑ์ทางศาสนาและหลักฐานในด้านความรู้ทางสังคม

๘๗

ผลสรุปก็คือให้ถือเอาคำบอกเล่านั้นเป็นหลักฐานในการทำความรู้จักกับนักรายงานได้ (เป็นความเห็นที่แพร่หลายกันมากในหมู่นักปราชญ์สมัยหลัง)

๒ – นักปราชญ์บางท่านวางเงื่อนไขว่า สำหรับการชี้จุดบกพร่อง หรือรับรองความน่าเชื่อถือจะต้องมีนักปราชญ์ฝ่ายประวัติบุคคลที่เป็นนักรายงานมือสะอาดสองคนให้การเป็นพยาน

นักปราชญ์กลุ่มนี้ได้อธิบายว่า คำให้การชี้จุดบกพร่องหรือรับรองความน่าเชื่อถือ ก็คือการทำหน้าที่พยานนั่นเองซึ่งการทำหน้าที่พยานที่เป็นเงื่อนไขว่าต้องให้ความเชื่อถือนั้นคือคำให้การของพยานจำนวนสองคน

๓ – อีกกลุ่มหนึ่งอธิบายว่า คำให้การของบุคคลคนคนเดียวในเรื่องของนักรายงานสามารถทำให้เราเชื่อถือได้ว่า นักรายงานคนใดมีจุดบกพร่องคนใดมีความน่าเชื่อถือ ครั้นได้เชื่อมั่นในข้อใดข้อหนึ่งแล้วถือเป็นวาญิบจะต้องยึดเอาข้อนั้นเป็นหลัก

๔ – นักปราชญ์กลุ่มที่ ๔ ให้ความเห็นว่าเราอยู่ในฐานะผู้มีอุปสรรคอย่างยิ่งในการยอมรับคำให้การของบุคคลคนเดียวแม้ว่าหลักฐานที่น่าสงสัยยังมีประโยชน์สำหรับการทำให้เกิดความรู้ในเรื่องคุณสมบัติของนักรายงานและในกรณีที่ไม่มีข้อมูลต่างๆ ให้ได้ครบครันเพื่อการยืนยันคำที่ให้ความหมายชี้จุดบกพร่องและยืนยันความเที่ยงธรรม เพื่อให้งานด้านการตรวจสอบนักรายงานเป็นไปในลักษณะที่แม่นยำละเอียดถี่ถ้วน

บรรดานักปราชญ์จึงได้กำหนดคำต่างๆขึ้นมาให้ความหมายชี้จุดบกพร่องและยืนยันความเที่ยงธรรม

๘๘

ท่านชะฮีดษานีย์ ได้กล่าวไว้ว่า

“คำต่างๆ ที่ใช้สำหรับยืนยันความเที่ยงธรรมมีดังนี้ คือ “อาดิล”

 (ผู้มีความเที่ยงธรรม) “ษิกเกาะฮฺ” (ผู้ได้รับความเชื่อถือ) “หุจญะฮฺ” (ผู้เป็น ข้อพิสูจน์) “ศ่อฮีฮุลฮะดีษ” (ฮะดีษที่ถูกต้อง) ยังมีคำอื่นๆ อีกที่มีความหมายตามกรอบที่วางไว้นี้” (๖๗)

*เชค อาลิ รอฎีย์/มุฮาฎอเราะฮฺ ฟี อิล มิล-ฮาดีษ/มะฮัต อัร-รอซูล อักร๊อม/เมืองกุม

ครั้นนักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงานศึกษาจนรู้ถึงบุคลิกภาพของนักรายงานคนใดว่าเป็นเช่นไร พวกเขาก็จะระบุถึงคุณสมบัติของนักรายงานคนนั้นไปตามคุณลักษณะเหล่านี้

จะเป็นคำเหล่านี้หรือคำอื่นที่มีความหมายในประเภทนี้ก็ได้

ดังนั้น หากได้ระบุไว้ในลักษณะเหล่านี้ ก็จะหมายความว่าเป็นการยืนยันในความเที่ยงธรรม ความน่าเชื่อถือ และสามารถจะยึดถือรายงานที่มาจากเขาได้

ส่วนคำ ที่นักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงานใช้กับนักรายงานที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่น่าเชื่อถือนั้น ได้แก่คำต่างๆ ที่ให้ความหมายว่าบกพร่อง เช่น “เฎาะอีฟ” (ขาดประสิทธิภาพ) “กัซซาบ” (คนมุสา) “วัฎเฎาะอฺ” (นักกุเรื่อง) “ฆอล” อีกทั้งยังมีคำอื่นๆ อีกที่ให้ความหมายในลักษณะเช่นนี้

๘๙

ดังนั้น เมื่อนักปราชญ์สาขาประวัติบุคคลที่เป็นนักรายงานกล่าวถึงชื่อนักรายงานคนใด ด้วยการใช้คำเหล่านี้หรือคำอื่นที่อยู่ในกรอบของความหมายเหล่านี้อธิบายบอกถึงลักษณะ ก็จะหมายความว่าบุคคลผู้นั้นเป็นคนที่ไม่มีความน่าเชื่อถือและต้องห้ามมิให้ยึดถือรายงานเหล่านั้น

เมื่อได้ปรากฏให้เห็นถึงความบกพร่องของเขาอย่างชัดเจน

สื่อต่างๆ ในการนำเสนอรายงาน

เราได้ทราบมาแล้วว่า ระบบการทำงานของนักรายงานฮะดีษนั้น ประกอบด้วยบรรดานักรายงานคณะหนึ่งที่รายงานบอกเล่าเรื่องๆ หนึ่งโดยคนหนึ่งจะรับมาจากรายงานของอีกคนหนึ่งในการได้บทรายงานมาและการถ่ายทอดไปยังคนอื่นนั้น มีหลายวิธีการด้วยกัน

ท่านชะฮีด ษานีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัด-ดิรอยะฮฺว่าการได้รับมาและถ่ายทอดบทรายงานนั้นมีหลายวิธีการคือ

๑ – ได้ยินได้ฟังถ้อยคำของผู้อาวุโส (ชัยคุลฮะดีษ)

หมายถึง การได้รับฟังจากผู้อาวุโสโดยตรง ดังนั้น นักรายงาน จะพูดในฐานที่เป็นผู้อ้างบทรายงานนั้นมาจากอาวุโสตามที่ได้ยินได้ฟังมา

 โดยจะกล่าวในทำนองว่า “ฉันได้ยินท่าน...กล่าว”

หรือ “ท่าน...ได้ เล่าฉันว่า” หรือ “ท่าน...ได้บอกฉันว่า”

๙๐

นี่คือสิ่งที่เราสามารถทำความเข้าใจในวิธีการรับคำบอกเล่าจากผู้อาวุโสโดยการได้ยินได้ฟังโดยตรงเพราะความเข้าใจวิธีการรับบทรายงานมานั้น

 มีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการยึดถือเป็นหลัก

บรรดานักปราชญ์ถือว่า วิธีการนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดของการรับบทรายงาน

*ฆอล หมายถึง พวกที่มีความลุ่มหลงในบรรดาอิมามมะศูม (อ) อย่างเลยเถิด จนอธิบายว่า มีคุณลักษณะเป็นพระผู้อภิบาล ฆอลจึงเป็นพวกหลงผิดกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของนักฮะดีษ

๒ – อ่านตรวจทานกับผู้อาวุโส

อีกวิธีการหนึ่งในการนำบทรายงานมาเสนอ นั่นคือนักรายงานบางท่านจะมุ่งเน้นในการท่องจำรายงานฮะดีษที่ได้มาจากหนังสือใดๆ หรือที่ได้มาจากแหล่งอื่นต่อจากนั้นจะนำไปตรวจสอบกับผู้อาวุโส ซึ่งมีความรอบรู้ในบทรายงานต่างๆ หมายความว่า เขาจะท่องให้ผู้อาวุโสฟัง

แล้วผู้อาวุโสก็จะตรวจสอบและยืนยันในความถูกต้องของบทรายงานนั้นๆ ออกมา

ด้วยเหตุนี้ บทรายงานของนักรายงานดังกล่าวก็จะได้รับความเชื่อถืออย่างสมบูรณ์แบบ

เมื่อได้ผ่านการพิสูจน์ความน่าเชื่อถือโดยบรรดาผู้อาวุโสทั้งหมดในกระบวนของนักรายงานที่เป็นระบบลูกโซ่ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว นักรายงานผู้นั้นก็สามารถกล่าวได้ว่า “ฉันได้นำฮะดีษบทนี้ไปอ่านทบทวนกับท่าน...” หรือจะกล่าวว่า “บทรายงานนี้ได้ถูกนำมาอ่านทบทวนให้ท่าน...ฟัง แล้วฉันก็ได้ยินท่านผู้อาวุโสกล่าวรับรองรายงานบทนี้” (๖๙)

๙๑

๓ – การได้รับฉันทานุมัติ (อัล-อิญาซะฮฺ) หมายถึง กรณีที่นักรายงานรับบทรายงานไปทั้งเล่มแล้วนำไปถ่ายทอดต่อยังนักรายงานคนอื่นๆ หรือกรณีที่ผู้อาวุโสอนุญาตให้รับบทบันทึกส่วนหนึ่งจากรายงานไปแล้วท่านก็ได้กล่าวแก่นักรายงานผู้นั่นว่า “ฉันอนุมัติให้เธอรับบทรายงานส่วนหนึ่งจากหนังสือนี้ได้” หรือท่านอาจกล่าวว่า“ฉันอนุญาตให้เธอรับบทรายงานแห่งบันทึกนี้ได้”(๗๐)

๔ – การได้รับมอบหมาย (มุนาวะละฮฺ)

นั่นคือ วิธีการมอบหนังสือโดยผู้อาวุโส ดำเนินการมอบให้แก่

ศิษยานุศิษย์เพื่อให้ครอบครองเป็นเจ้าของหรือเพื่อให้ยืมอ่านแล้ว

ผู้อาวุโสได้กล่าวในภายหลังแก่ศิษย์ผู้นั้นว่า “นี่คือบันทึกของฉันที่ได้ฟังมาจากท่าน...ดังนั้นเธอสามารถรายงานเรื่องเหล่านี้ต่อไปจากฉันได้” (๗๑) เมื่อได้อย่างนี้แสดงว่า นักรายงานผู้นั้นได้รับมอบหนังสือเพื่อรายงานเรื่องต่างๆ ในหนังสือนี้ จากท่านเชคอย่างถูกต้อง

๕ – การจดบันทึก

การได้รับบทรายงานมาจากผู้อาวุโสนั้นยังมีอีกวิธีหนึ่งคือ ผู้อาวุโสจะบันทึกรายงานฮะดีษต่างๆ ด้วยตัวเอง แล้วมอบให้แก่คนใกล้ชิดหรือที่ห่างออกไปหลังจากนั้นท่านก็จะอนุญาตให้เขาทำหน้าที่รายงานข้อเขียนที่ท่านมอบให้ต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้รับมอบก็สามารถรายงานบันทึกต่างๆจากข้อเขียนนั้น ด้วยความถูกต้อง

๙๒

แต่ในหมู่นักปราชญ์มีเรื่องที่รู้กันอยู่ว่า บทรายงานที่ผู้อาวุโสเขียนมอบให้เขานั้นเป็นบันทึกที่ถูกต้อง ถึงแม้ท่านจะไม่เขียนคำอนุญาตรับรองบทรายงานนั้นให้แก่เขาเพื่อยืนยันโดยข้อเขียนว่าท่านอนุญาตให้เขาเป็นผู้รับบันทึกนั้น ไปรายงานต่อได้ก็ตาม

เป็นลักษณะเดียวกับที่ยอมรับว่าการถ่ายทอดคำวินิจฉัยความที่นักวินิจฉัยเขียนขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง ถึงแม้ผู้ออกคำวินิจฉัยจะไม่ได้เขียนว่าอนุญาตให้ถ่ายทอดได้ก็ตาม(๗๒)

๖ – การประกาศ

การนำฮะดีษและบทรายงานไปเสนอได้อีกวิธีหนึ่ง คือ วิธีการที่ผู้อาวุโสประกาศแก่ศิษย์ของท่านว่าหนังสือรวบรวมฮะดีษเหล่านี้ เป็นบทรายงานที่ท่านบันทึกมา โดยท่านไม่ต้องกล่าวกับศิษย์ว่า “จงรายงานเรื่องเหล่านี้ต่อจากฉัน” หรือไม่ต้องกล่าวเช่นกันว่า “ฉันอนุญาตให้เธอทำหน้าที่รายงานบันทึกของฉันเล่มนี้ต่อจากฉันได้”

นักปราชญ์บางส่วนถือว่าอนุญาตให้ถ่ายทอดบทรายงานที่ไม่ระบุแหล่งที่มาอย่างนี้ได้ โดยยึดถือในหลักการว่า ผู้อาวุโสได้ประกาศมอบแก่ศิษย์แล้ว ขณะที่อีกส่วนหนึ่งจากหมู่นักปราชญ์ถือว่าห้ามมิให้ถ่ายทอดบทรายงานโดยวิธีการเช่นนี้

๙๓

๗ – การพบบทรายงาน

กรณีที่นักรายงาน ก. พบเห็นบทรายงานในมือของนักรายงาน ข. ตรงกับข้อเขียนของตนโดยที่นักรายงาน ข. ไม่เคยได้รับมอบข้อเขียนนั้นไปจากตน และไม่เคยได้รับฟังบทรายงานนั้นจากตน อีกทั้งตนยังมิได้อนุญาตให้เขารับบทรายงานนั้นๆ ไปด้วย นี่คือปัญหาหนึ่งทางวิชาการ ที่ถือว่าจำเป็นจะต้องนำบันทึกนั้นไปให้เจ้าของเดิมพิสูจน์เสียก่อน เพื่อเขาจะได้รับบทรายงานอย่างถูกต้องจากเจ้าของ หากเขาให้ความเชื่อถือต่อบทรายงานนั้นๆ

เหล่านี้คือวิธีการและสื่อที่สำคัญสำหรับการรับฮะดีษและวิธีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยตรง ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่าฮะดีษต่างๆ ที่ตกทอดมาถึงเราทั้งหมดนี้เมื่อครั้งสมัยที่ยังอยู่ระหว่างการถ่ายทอดจากนักรายงานนั้น วิธีการได้มาของมันแต่ละฮะดีษ ก็อาศัยวิธีการต่างๆ เหล่านี้เอง

หลังจากสมัยนั้นเป็นต้นมาเมื่อกิจการด้านการพิมพ์เกิดขึ้น ความรู้ก็ได้รับการแพร่หลาย บทรายงานฮะดีษต่างๆ ก็ได้ถูกนำมาตีพิมพ์รวบรวมไว้ในตำราประมวลฮะดีษสำคัญๆ เช่น อัล-กาฟีย์, ศ่อฮีฮฺบุคอรี และอื่นๆ

ตำราเหล่านี้ จึงกลายเป็นแหล่งที่มาโดยตรงของคนที่มีหนังสือเหล่านี้ไปศึกษา โดยไม่จำเป็นต้องไปศึกษาจากผู้อาวุโส หรือไปรับฉันทานุมัติจากใครๆอีก

๙๔

วิธีจำแนกชื่อ นักรายงานที่ตรงกัน

จากการอธิบายในบทที่ผ่านมา เราได้ทราบว่า นักรายงานบางคนถูกยอมรับว่าเป็นคนซื่อสัตย์ เชื่อถือได้ บางคนถูกระบุว่าเป็นผู้ที่ขาดประสิทธิภาพ เป็นคนมุสาส่วนอีกบางคนอยู่ในข่ายที่ต้องสงสัยถูกตั้งข้อหา บ้างก็ได้รับคำยืนยันว่าเป็นคนเช่นนั้นจริงแต่อีกบางส่วนกลับปฎิเสธว่าไม่จริง และนักรายงานบางคนไม่เป็นที่รู้จักของนักปราชญ์เลย

ในที่นี้ เราต้องการจะอธิบายให้เห็นว่า นักรายงานฮะดีษจำนวนหนึ่งมีชื่อ มีฉายานาม หรือนามแฝงตรงกัน เช่น

“มุฮัมมัด บิน เกซ, มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล, อะบีบะศีรฺ และ อิบนุซินาน...ฯลฯ กล่าวคือ ในบรรดานักรายงานฮะดีษนั้น จะมีนักรายงานมากกว่า

 ๑ คนที่ใช้ชื่อ “มุฮัมมัด บิน เกซ, มุฮัมมัด บินอิสมาอีล, อะบี บะศีรฺ และอิบนุซินาน”

การจำแนกแยกแยะระหว่างชื่อกับตัวจริงของนักรายงานแต่ละท่านเหล่านี้นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพื่อแยกแยะหาคนที่เชื่อถือได้ คนที่ขาดประสิทธิภาพและผู้ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก ออกจากกันจนเราสามารถที่จะยึดถือนักรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ และหลีกเลี่ยงนักรายงานที่ขาดประสิทธิภาพ, ไม่เป็นที่รู้จัก ตลอดทั้งบุคคลที่เราไม่สามารถวิเคราะห์ถึงบุคลิกภาพของเขาได้

๙๕

เป็นที่รู้กันว่า เราจะไม่พบปัญหาเช่นนี้ ถ้าหากนักรายงานฮะดีษที่มีชื่อตรงกันเหล่านี้มีคุณสมบัติเหมือนๆ กันทุกคนไม่ว่าความน่าเชื่อถือ หรือความเป็นผู้ขาดประสิทธิภาพ หรือคนที่ไม่เป็นที่รู้จัก

ตัวอย่างการจัดอันดับรุ่น เพื่อจะได้รับประโยชน์มากยิ่งขึ้น ในที่นี้ เราจะบันทึกตัวอย่างการจัดอันดับรุ่น และวิธิการจำแนกรายชื่อ ฉายานามที่ตรงกัน

ในหนังสือ มัจมุอุร-ริญาล ของท่านเกาะฮฺบาอีย์ ได้บันทึกไว้ว่า

“อะบู บะศีรฺ ยะห์ยา บิน อะบี กอซิม , อะบูมุฮัมมัด, อะบู บะศีรฺ อะสะดีย์, อับดุลลอฮฺ บินมุฮัมมัด, อะบูมุฮัมมัด, อะบูบะศีรฺ อัล-มุรอดีย์, ไลซ์ บิน บัคตะรีย์, อะบูยะห์ยา ล้วนเป็นคนที่มีนักรายงานฮะดีษที่ใช้ชื่อตรงกันอย่างนี้หลายคน ดังตัวอย่าง เมื่อมีการรายงานมาจากอิมามบากิรกับอิมามศอดิก (อ) หรือท่านใดท่านหนึ่ง

ส่วนเมื่อมีรายงานจากอิมามกาซิม(อ) ปรากฏว่า ในจำนวนของนักรายงานรุ่นนี้จะมีเพียง ยะหฺยา บิน อะบี กอซิม จึงไม่มีข้อสงสัย”(๗๔)

หนังสือ มัจมุอุร-ริญาล ได้บันทึกอีกว่า

“อิบนุซินาน คือ มุฮัมมัด และอับดุลลอฮฺ นักรายงานทั้งสองนี้ เป็นบุตรของซินาน บิน อับดุรเราะมาน อัล-ฮาชิมีย์, กับอีกคนหนึ่ง คือ มุฮัมมัด บิน ซินาน บิน ฎอรีฟ อัซ-ซาฮิรีย์ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันตรงอันดับรุ่น (๗๕)

๙๖

ในเชิงอรรถหนังสือ มัจมุอุร-ริญาลบันทึกไว้ว่า

 “ท่านชะฮีด-ษานีย์ (ขออัลลอฮฺทรงประทานความเมตตาแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัด-ดิรอยะตุลฮะดีษว่า ทุกเรื่องที่คนชื่อ มุฮัมมัด บินเกซ รายงานว่า รับมาจาก อะบีญะอฺฟัร เราต้องให้การปฎิเสธเพราะว่าชื่อนี้เป็นทั้งชื่อของคนที่เชื่อถือได้ และคนที่ขาดประสิทธิภาพ

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า หลักฐานที่ระบุว่าชื่อนี้เป็นของคนสองคนนั้นเป็นข้อพิสูจน์ที่ได้มาจากนักรายงาน กล่าวคือ อาศิม บิน ฮะมีด, ยูสุฟ บิน อะกีล และนักรายงานคนอื่นๆ นอกเหนือจากสองคนนี้ ได้รับบทรายงานมาจากคนที่เชื่อถือได้ ส่วนยะหฺยาบิน ซะกะรียาได้รับรายงานมาจากคนที่ขาดประสิทธิภาพนี่คือเรื่องที่รู้กันอย่างแน่ชัดสำหรับคนที่ติดตามศึกษาอย่างใกล้ชิด” (๗๖)

เราได้รับความเข้าใจว่า อะบูบะศีร เป็นฉายานามของนักรายงาน ๓ คน ด้วยกัน

 อิบนุซินาน ก็เป็นฉายานามของคน ๓ คน คือ อับดุลลอฮฺ บิน ซินาน อัล-ฮาชิมีย์, มุฮัมมัด บิน ซินาน อัล-ฮาชิมีย์ และมุฮัมมัด บิน ซินาน อัซ-ซาฮิรีย์

จากการค้นคว้าประวัติบุคคลผู้เป็นนักรายงานฮะดีษทำให้เรามีความกระจ่างในข้อหนึ่งว่า

๙๗

มุฮัมมัด บิน ซินาน อัล-ฮาชิมีย์ นั้น เป็นนักรายงานที่ขาดประสิทธิภาพ (เฎาะอีฟ) บทฮะดีษที่เขารายงานไว้ ไม่ได้รับความเชื่อถือ เช่นเดียวกับ มุฮัมมัด บิน ซินาน อัซ-ซาฮิรีย์ ที่เป็นนักรายงานประเภทขาดประสิทธิภาพเช่นกัน

ครั้นในบทรายงานใดก็ตามที่ระบุว่ามาจากอิบนุซินานถือว่า นักศึกษาจำเป็นจะต้องนำไปตรวจสอบ ต่อเมื่อได้ความแน่ชัดว่า อิบนุ ซินานผู้นี้ คือ อับดุลลอฮฺ บิน ซินาน นั่นแหละจึงจะให้การยอมรับได้

แต่ถ้าหากว่า อิบนุซินาน ชื่อนี้ เป็นของนักรายงานฮะดีษที่ชื่อ มุฮัมมัด บิน ซินาน อัล-ฮาชิมีย์ หรือ มุฮัมมัด บิน ซินาน อัซ-ซาฮิรีย์ ก็ให้ ละทิ้งบทรายงาน นั้นเสียอย่าได้นำมาถือปฏิบัติเลย”

แต่ถ้าหากผลของการพิสูจน์ยังคงมีความสับสนก็ให้ถือว่าต้องระงับการยอมรับรายงานฮะดีษนั้นๆเช่นกัน หมายความว่าบทรายงานนั้น ต้องถูกยกเลิกการพิจารณาเพราะไม่อาจพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของนักรายงานให้ปรากฏความจริงขึ้นมาได้

ดังกล่าวนี้คือ หลักการที่นักวิชาการถือเป็นวิธีปฏิบัติต่อนักรายงานฮะดีษในกรณีที่มีความยุ่งยากสับสนในการจำแนกว่าใครเป็นใครกันแน่ ในระหว่างบุคคลเหล่านั้น

๙๘

วิธีจำแนกนักรายงานที่มีชื่อซ้ำกัน

ตามที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว เราสามารถเข้าใจได้ว่า นักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญมีวิธีการชัดเจน

สำหรับนำมาใช้เพื่อวิเคราะห์และพิสูจน์ความจริง เพื่อจำแนกแยกแยะนักรายงานฮะดีษที่มีชื่อซ้ำกัน

โดยยึดถือองค์ประกอบด้านต่างๆ หลายประการที่สำคัญคือการกำหนดอันดับรุ่นของนักรายงาน (ที่มีชีวิตในสมัยเดียวกัน)

เพราะการที่สามารถกำหนดรุ่นของนักรายงานที่อยู่ในสมัยเดียวกันได้บางทีจะสามารถช่วยทำให้ได้ข้อพิสูจน์เกี่ยวกับบุคคลผู้นั้นขึ้นมาแล้ว จะสามารถระบุคุณสมบัติของนักรายงานนั้นๆ ได้ทั้งๆ ที่เป็นคนมีความซื่อตรงกับนักรายงานอื่นอีกหลายคน

ตามที่ได้อธิบายไปแล้วในการทำความรู้จักกับนักรายงานที่มีชื่อว่า

มุฮัมมัด บิน เกซ ซึ่งมีผู้ใช้ชื่อซ้ำกันกับเขาอยู่หลายคน ด้วยเหตุผลที่ว่ามุฮัมมัด บิน เกซ ที่ถ่ายทอดรายงานฮะดีษให้แก่

อาศิม บิน ฮะมีด, ยูสุฟบิน อะกีลนั้น จะเป็นคนที่เชื่อถือได้แน่นอนเพราะว่าทั้งอาศิมและยูสุฟ ต่างก็เป็นนักรายงานที่ถูกยอมรับว่าไม่เคยรับรายงานฮะดีษจากใครง่ายๆ นอกจากจะต้องเป็นคนที่เชื่อถือได้เท่านั้นดังข้อความที่ได้อธิบายผ่านไปแล้ว

๙๙

ควรจะกล่าวไว้ด้วยว่า การจัดอันดับรุ่นของนักรายงานฮะดีษที่มีชื่อตรงกันกับผู้ที่ถ่ายทอดรายงานให้แก่ตนนั้น ไม่อาจนำวิธีการจำแนกดังที่ยกตัวอย่างไปแล้วมาใช้ได้ เพราะนักรายงานฮะดีษในสมัยเดียวกัน ก็ยังมีคนชื่อตรงกันแล้วมิหนำซ้ำพวกเขาด้วยกันเอง ยังได้รับบทรายงานจากคนๆเดียวกันก็มี หรือบางครั้งก็มีการถ่ายทอดบทรายงานในระหว่างพวกเขาด้วยกัน แล้วถ่ายทอดต่อไปในกลุ่มนักรายงานที่มีชื่อตรงกันอีกดังที่กล่าวผ่านไปแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้เราจำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบอื่น เพื่อกำหนดเป็นมาตรการจำแนก

* ได้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า มุฮัมมัด บิน ซินานเป็นคนขาดประสิทธิภาพตลอดชั่วอายุขัยของเขา

สื่อนำสู่ซุนนะฮฺ

เราได้ทำความเข้าใจกันแล้วว่า มีช่องว่างที่เป็นเวลานานมากระหว่างสมัยของซุนนะฮฺนบี กับสมัยที่มีการจดบันทึก และระหว่างสองสมัยนั้นกันสมัยที่มีการรวบรวมเป็นตำราอ้างอิงไว้ศึกษาเหมือนอย่างที่เห็นกันอยู่ในวันนี้

ดังนั้น นักปราชญ์จึงมีปัญหาทางวิชาการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ อะไรคือองค์ประกอบอย่างแท้จริง ที่สามารถนำไปพิสูจน์หาข้อเท็จ-ข้อจริงกับเรื่องราวอันมากมายมหาศาลที่ถูกอ้างว่า มีที่มาจากท่านนบีและอิมาม หลักเกณฑ์อันใดที่สามารถยืนยันได้ว่า เรื่องนี้เรื่องนั้นมีที่มาจากท่านนบีและอิมามจริงๆ

๑๐๐

ดุอาอ์

บทที่ ๔

ดุอาอ์อีกบทหนึ่งที่ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้เขียนไปยังชายคนหนึ่งมีใจความว่า

“โอ้พระผู้ซึ่งดำรงอยู่ก่อนทุกสรรพสิ่ง หลังจากนั้นทางสร้างทุกสรรพสิ่ง จากนั้นทรงให้การคงอยู่และให้การสูญสลายแก่ทุกสรรพสิ่ง

โอ้พระผู้ซึ่งไม่มีสิ่งใดในชั้นฟ้าจะสูงส่ง และไม่มีสิ่งใดในผืนแผ่นดินจะอยู่ต่ำ และที่อยู่สูงไปกว่านั้นและไม่มีสิ่งใดอยู่ระหว่างนั้น และเบื้องล่างของสิ่งนั้นอันจะเป็นพระเจ้าอื่นนอกเหนือจาก

พระองค์”

(อัต-เตาฮีด หน้า ๔๘)

๑๐๑

การตอบสนองต่อดุอาอ์ของอิมามมุฮัมมัด อัต-ตะกี(อฺ)

บรรดานักประวัติศาสตร์ต่างพากันกล่าวถึงดุอาอ์ของบรรดานักปราชญ์และผู้มีคุณธรรม

ส่วนมากที่ได้รับการตอบสนอง แต่ส่วนเรานั้นมิได้ถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับพวกเขามากนักเพราะมันยังเป็นเรื่องที่เล็กน้อยกว่าสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ได้ทรงประทานให้แก่บรรดาผู้ที่สวามิภักดิ์

ต่อพระองค์และแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์

เรื่องนี้ที่ถูกพาดพิงมายังบรรดาอิมาม(อฺ)นั้นได้ถูกนำมาเปิดเผยไว้ในตำราต่างๆ ของนักปราชญ์ทั้งสองฝ่าย ในบทก่อนๆ ของหนังสือเล่มนี้ ท่านได้อ่านพบการกล่าวถึงเรื่องเหล่านี้โดยบรรดานักประวัติศาสตร์ไปแล้ว ในกรณีของบรรดาอิมามแต่ละท่าน

ณ บัดนี้ เราจะหยิบยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับท่านอิมามอะบุ้ลญะอฺฟัรมุฮัมมัด อัต-ตะกี(อฺ)มา

นำเสนอเพียงบางส่วน

เหตุการณ์ที่ ๑

ท่านมุฮัมมัด บินซะนาน ได้เล่าว่า :

ข้าพเจ้าได้เข้าพบท่านอิมามอะบุ้ลฮะซันอัลฮาดี(อฺ)โดยท่าน(อฺ)ได้กล่าวว่า

“โอ้มุฮัมมัด ได้เกิดเหตุการณ์อันใดกับลูกหลานของฟะร็อจญ์หรือไม่ ?”

๑๐๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“อุมัรได้เสียชีวิตแล้ว”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวว่า

“อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ(มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ)”

ข้าพเจ้านับถ้อยคำเหล่านี้ได้ ๒๔ ครั้ง ข้าพเจ้ากล่าวต่อไปว่า

“โอ้ประมุขของข้า ข้าพเจ้าไม่ทราบมาก่อนว่าเรื่องนี้จะยังความชื่นชมยินดีให้แก่ท่าน”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวต่อไปว่า

“โอ้มุฮัมมัดเอ๋ย ท่านไม่ทราบดอกหรือว่า บุคคลที่ได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺผู้นี้ได้อะไรไว้บ้างกับท่านมุฮัมมัด บินอะลี บิดาของฉัน”

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ไม่ทราบขอรับ”

ท่านอิมาม(อฺ)ตอบว่า

“บิดาของฉันได้สอนเขาในเรื่อง ๆหนึ่ง แต่เขากลับกล่าวว่า –ฉันสงสัยว่าท่านมึนเมา-บิดาของฉันกล่าวว่า-ข้าแต่อัลลอฮฺ

หากพระองค์ทรงรู้ว่าข้าพระองค์คือผู้ถือศีลอดอยู่เป็นประจำเพื่อ

พระองค์แล้วไซร้ขอได้โปรดบันดาลให้เขาคนนี้ได้ลิ้มรสของภัยสงครามเถิด ขอให้เขาตกเป็นเชลยผู้ต่ำต้อย

๑๐๓

-ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ กาลเวลาผ่านพ้นไปไม่นานนักเขาได้เข้าทำสงคราม

ทรัพย์สินและสิ่งของต่าง ๆของเขาถูกริบหมด จากนั้นเขาก็ถูกจับตัวเป็นเชลย บัดนี้เขาได้ตายแล้ว

ขออัลลอฮฺทรงงดเมตตาต่อเขาและแน่นอนที่สุด อัลลอฮฺได้ทรงแสดงหลักฐานในเรื่องนี้และในเรื่องอื่นตลอดไปว่า พระองค์ทรงสนับสนุนบรรดาผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์ให้อยู่เหนือบรรดาศัตรูของพระองค์เสมอ”

(อิษบาตุ้ลฮุดาฮ์ เล่ม๖ หน้า ๑๗๗

, อุศูลุ้ลกาฟี เล่ม ๑ หน้า ๔๖๙ )

๑๐๔

เหตุการณ์ที่ ๒

ภรรยาของท่านอิมามตะกี(อฺ)คือ อุมมุ้ลฟัฏลฺ บุตรสาวของคอลีฟะฮฺมะอ์มูนเป็นผู้วางยาพิษท่านอิมาม(อฺ)

 ครั้นเมื่อท่าน(อฺ)ทราบถึงเรื่องนี้

ท่าน(อฺ)ได้พูดกับนางว่า

“ขอให้อัลลอฮฺทรงบันดาลความพินาศให้แก่เจ้าด้วยโรคร้ายชนิดที่ไม่อาจรักษาได้”

จากนั้นไม่นานนัก นางก็ประสบโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งคนทั้งหลายต่างก็เฝ้ามองดูนางและแนะนำยารักษาชนิดต่างๆ ให้แก่นาง

 แต่ตัวยาเหล่านั้นก็ไม่มีผลแต่ประการใด จนกระทั่งนางถึงแก่

ความตายด้วยโรคร้ายนั้น

( อัลมะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๓๕)

๑๐๕

อิมามตะกี(อฺ)กับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงคัดเลือกให้บรรดาอิมาม(อฺ)ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองของมวลมนุษย์

และเป็นประมุขในการบังคับใช้บทบัญญัติตามคำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)และเป็นผู้ทำหน้าที่ดำรงรักษากิจการงานเหล่านั้น แต่ทว่าประชาชนนั่นเองที่ได้ยับยั้งท่านเหล่านั้นมิให้ทำหน้าที่

เผยแพร่สาส์นของพวกเขา พวกเขาได้สลับปรับเปลี่ยนระหว่างพวกเขาเอง เช่นเดียวกับประชาชาติในยุคอดีตที่ได้กระทำกับบรรดานบีของตน

บรรดาอิมาม(อฺ)ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ปกครองจอมปลอม ซึ่งได้กระทำการต่างๆต่อพวกท่านตามที่พวกเขาประสงค์

บางครั้งพวกเขาจับกุมพวกท่านเหล่านั้น และบางครั้งก็อุปโลกน์

แต่งตั้งพวกท่านบางคนให้เป็นรัชทายาท ทั้งที่มิใช่เป็นความปรารถนาส่วนตัวของท่าน(อฺ)

สำหรับท่านอิมามตะกี(อฺ)นั้นก็ได้ประสบกับอีกลักษณะหนึ่งกล่าวคือ คอลีฟะฮฺมะอ์มูนได้

จัดการนำท่าน(อฺ)ไปยังเมืองแบกแดด และตกลงใจที่จะให้ท่าน(อฺ)แต่งงานกับลูกสาวของตนเองนั่นก็คือ อุมมุ้ลฟัฏลฺ

๑๐๖

 หลังจากที่ได้ประจักษ์ถึงความรู้และเกียรติยศของท่าน(อฺ)โดยที่วงศาคณาญาติของพวกเขาต่างก็ไม่เห็นด้วย บางคนได้พยายามทำให้เขาเปลี่ยนความคิด แต่มะอ์มูนก็ยังเดินหน้าจัดการเรื่องดังกล่าว

พวกเขาต่างก็พูดกับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนว่า

“เด็กชายคนนี้ยังเล็กเกินไป ไม่มีความรู้และความเข้าใจในศาสนาดังนั้น ขอให้ท่านประวิงเวลาไว้ก่อนเพื่อให้เขาได้มีโอกาสฝึกฝนตนเอง จากนั้นก็ค่อยดำเนินการต่อไป”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวกับพวกเขาว่า

“ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้จักเด็กคนนี้ดีกว่าพวกท่าน

แท้จริงเด็กน้อยคนนี้มาจากอะฮฺลุลบัยตฺซึ่งวิชาความรู้ของพวกเขาได้มาจากการดลบันดาลของอัลลอฮฺ วิชาการทางศาสนาและจริยธรรมขั้นสูงของพวกเขานั้นไม่เคยขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่น้อย ถ้าหากท่านทั้งหลายต้องการทดสอบก็เชิญทดสอบอะบูญะอฺฟัรได้ เพื่อที่เขาจะได้แสดงให้พวกท่านได้ประจักษ์อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปนั้นเป็นอย่างไร”

(อัล-เอียะฮฺติญาญ์ เล่ม ๒ หน้าท ๓๔๑ )

พวกตระกูลอับบาซียะฮฺต่างก็ไม่พอใจต่อคำพูดของคอลีฟะฮฺ

มะอ์มูน ทั้งหมดได้จัดประชุมเพื่อจะทดสอบภูมิความรู้ของท่าน

อิมาม(อฺ)ดังที่เราได้นำเสนอแก่ท่านผู้อ่านไปบ้างแล้ว

๑๐๗

นั่นก็คือ บทสนทนาของยะฮฺยา บินอักษัม ซึ่งได้โต้ตอบกับท่าน

อิมามตะกี(อฺ)

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนเคยมีเจตนาในการจัดประชุมเชิงวิชาการศาสนาก็เพื่อที่จะเบี่ยงเบนสถานภาพของท่านอิมามริฏอ(อฺ)ให้ลดลง แต่ในขณะที่เจตนาที่เขาจัดให้มีการโต้เถียงปัญหาศาสนากับท่าน

อิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)นั้นกลับทำไปก็เพื่อให้ประจักษ์ถึงวิชาความรู้และเกียรติยศของท่าน(อฺ)

แน่นอนที่สุด ยะฮฺยาได้ประสบกับความพ่ายแพ้ในการโต้กับท่าน

อิมาม(อฺ)อย่างอัปยศที่สุด

เขาได้แสดงให้คนทั้งหลายเห็นถึงความอ่อนแอความพ่ายแพ้ของเขาทั้ง ๆที่มีการสนับสนุนส่งเสริม

จากพวกตระกูลอับบาซียะฮฺแล้วก็ตาม ฐานะของเขาจึงตกต่ำลงในที่สุด

มะอ์มูนมีความพอใจอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ครั้งนั้น

เขาถึงกับกล่าวว่า

“อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺในฐานะที่พระองค์ทรงให้ความเมตตาแก่ข้าพเจ้าเพื่อดำเนินงานให้บรรลุสู่ความสำเร็จ”

๑๐๘

เขาหันกลับไปมองท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)แล้วกล่าวว่า

“ข้าพเจ้าตกลงใจที่จะให้อุมมุ้ลฟัฏลฺบุตรสาวของข้าพเจ้าแต่งงานกับท่าน ถึงแม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะสร้างความไม่พอใจแก่คนกลุ่มนั้นก็ตามที ดังนั้น ท่านจงมาเจรจาสู่ขอเถิด แน่นนอนที่สุดข้าพเจ้า

และบุตรสาวได้ตกลงปลงใจ”

ท่านอิมาม(อฺ)กล่าวตอบว่า

“มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงบันดาลความมั่นคงโดยความโปรดปรานของพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺอันเป็นความบริสุทธิ์แด่ฐานะแห่งเอกานุภาพ

ของพระองค์ ขออัลลอฮฺทรงประทานพรแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด ประมุขแห่งบรรดาผู้มีคุณธรรมของพระองค์และแด่บรรดาผู้ทรงเกียรติแห่งเชื้อสายของเขา แน่นอนที่สุดเกียรติยศส่วนหนึ่งของอัลลอฮฺ

ที่มีต่อมวลมนุษย์ได้แก่การที่พระองค์ทรงบันดาลให้พวกเขาได้รับสิ่งที่เป็นที่ฮะล้าลอย่างเพียงพอ ไม่แตะต้องสิ่งที่เป็นฮะรอม

(สิ่งต้องห้าม)

ดังที่อัลลอฮฺทรงมีโองการว่า

“และจงแต่งงานกับบุรุษหรือสตรีที่เป็นโสด และคนดีในหมู่ปวงบ่าวที่เป็นบุรุษและสตรีของพวกเจ้า ถึงแม้ว่าเหล่านั้นจะยากจน แต่อัลลอฮฺจะทรงบันดาลให้เขามั่งคั่งจากความเกื้อกูลของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮฺทรงเผื่อแผ่ทรงรอบรู้ ( อัน - นูร : ๓๒)

๑๐๙

แท้จริงมุฮัมมัด บุตรของอะลี บินมูซา ได้สู่ขออุมมุ้ลฟัฏลฺ บุตรสาวของอับดุลลอฮฺ อัลมะอ์มูน และแน่นอนที่สุดเขาได้มอบเงินมะฮัรเท่ากับจำนวนมะฮัรของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรีของท่าน

ศาสดามุฮัมมัด(ศ) ผู้เป็นย่าทวด นั่นคือ ๕๐๐ ดิรฮัม ท่านจะแต่งงานให้เขาตามจำนวนเงินมะฮัรดังกล่าวหรือไม่?”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวตอบว่า

“ข้าพเจ้าตกลงยอมรับ”

แล้วมะอ์มูนได้สั่งให้คนรับใช้นำสิ่งของหนึ่งมา คล้ายกับสำเภาที่บรรจุเงิน ซึ่งห่อหุ้มด้วยทองคำ และบรรจุไปด้วยสิ่งมีค่าหลายชนิด มีทั้งน้ำบริสุทธิ์ อันได้แก่น้ำดอกไม้หอมที่สร้างความประทับใจให้แก่บรรดาแขกเหรื่ออย่างถ้วนทั่ว ต่อจากนั้นสำรับของหวานก็ถูกจัดวางลง พวกเขาได้รับการแจกจ่ายไปตามสถานภาพของพวกเขา จากนั้นทั้งหมดก็แยกย้ายกันกลับไป

( นูรุ้ลอับศอร ของชิบลันญี หน้า ๑๔๗ )

๑๑๐

ครั้นเมื่อถึงวันรุ่งขึ้น ประชาชนได้เข้ามาร่วมชุมนุมกัน ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)ก็มาร่วมงานด้วย มีการติดตั้งผ้าม่านทั้งชนิดพิเศษและชนิดทั่วไป เพื่อเป็นการต้อนรับคอลีฟะฮฺมะอ์มูนกับ

ท่านอะบูญะอฺฟัร(อฺ)แล้วได้มีการนำสำรับ ๓ ชนิดที่ทำด้วยเงินออกมา ซึ่งในนั้นมีของหอมชนิดพิเศษตรงกึ่งกลางกล่องมีลายสลักเขียนด้วยตัวอักษาหนึ่งอันเป็นทรัพย์ที่มีค่ายิ่งค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนได้

สั่งให้แจกจ่ายสิ่งนั้นแก่ผู้ใกล้ชิด จากนั้นคนทั้งหลายก็แยกย้ายกันกลับไป โดยที่พวกเขาได้รับของมีค่าเป็นของขวัญติดมือไปอีกทั้งค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนยังได้บริจาคอีกส่วนหนึ่งแก่คนยากจนทั่วไปด้วย

(ตารีคอิมามมัยนฺ อัลกาซิมัยนฺ หน้า ๔๓)

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูนมีความภูมิใจในตัวของท่านอิมามอะบูญะอฺฟัร(อฺ)เป็นอย่างมาก เขาได้ใหการยกย่องวิชาความรู้และคุณลักษณะพิเศษอันดีงามของท่านอิมาม(อฺ)

เชคมุฟีด(ร.ฮ)กล่าวว่า : คอลีฟะฮฺมะอ์มูนนั้นมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งต่อท่านอิมาม(อฺ)

เมื่อเขาได้เห็นความดีเด่นของท่านทั้งๆ ที่ท่านยังมีอายุน้อยอยู่ แต่มีความสูงส่งทางด้านวิชาการ วิทยปัญญาและจริยธรรมอีกทั้งมีความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางสติปัญญาอย่างชนิดที่ไม่รู้ผู้รู้คนใดในสมัย

นั้นเสมอเหมือนแม้แต่คนเดียว

( อัลอิรชาด หน้า ๓๔๒ )

๑๑๑

เชคฏ็อบร่อซี(ร.ฮ)กล่าวว่า : ท่านอิมามญะวาด(อฺ)เป็นผู้มีความสมบูรณ์พร้อมทางสติปัญญา เกียรติยศอันดีงาม วิชาความรู้

วิทยปัญญาและจริยธรรม อีกทั้งสถานภาพอันสูงส่งอย่างชนิดที่ไม่มี

ผู้ใดเสมอเหมือนในคนรุ่นราวคราวเดียวกัน ไม่ว่าจากตระกูลซัยยิด หรือตระกูลอื่นๆ

 ด้วยเหตุนี้คอลีฟะฮฺมะอ์มูนมีความภาคภูมิใจกับท่านเป็นยิ่งนักเมื่อได้พบเห็นสถานภาพอันสูงส่งของท่าน และความยิ่งใหญ่ในเกียรติคุณอย่างครบถ้วนทุกๆ ด้าน

(อะอ์ลามุ้ลวะรอ หน้า ๒๐๒)

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)ได้พำนักอยู่ในกรุงแบกแดด ในฐานะผู้มีเกียรติยิ่ง แต่ทว่าสถานภาพที่เป็นอยู่ในเวลานั้น มิได้เป็นความปรารถนาของท่านเลย ท่านรู้สึกเหมือนกับอยู่อย่างโดดเดี่ยว

เนื่องจากห่างไกลเมืองมะดีนะฮฺ อันเป็นเมืองของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ผู้เป็นบรรพบุรุษ

ท่านเคยกล่าวกับท่านฮุเซน อัล-มะการี ว่า

“โอ้ฮุเซนเอ๋ย ขนมปังข้าวสาลี และเกลือเค็มในดินแดนฮะร็อมของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)นั้น เป็นที่ชื่นชอบสำหรับข้าพเจ้ามากกว่าสิ่งที่ข้าพเจ้ามองเห็นอยู่ที่นี่”

(บิฮารุ้ลอันวาร เล่ม ๑๒ หน้า ๑๑๐)

๑๑๒

อาจจะเป็นเพราะว่าผู้ปกครองทำตัวเหินห่างจากคำสอนของอิสลามมากมายนั่นเอง ที่ท่านอิมามญะวาด(อ)มีความรู้สึกโดดเดี่ยวกับประชาชนชาวเมืองแบกแดด กล่าวคือคอลีฟะฮฺมะอ์มูนนั้น

ทั้ง ๆที่มีตำแหน่งเป็นอะมีรุลมุอ์มินีน แต่เขาก็ยังดื่มสุรา แน่นอนที่สุดเขาให้เกียรติต่อท่านอิมามญะวาด(อฺ)เมื่อท่านอิมามเห็นเขาเป็นเช่นนั้น โดยท่านอิมาม(อฺ)ได้เคยกล่าวกับเขาว่า

“ข้าพเจ้ามีคำเตือนสำหรับท่านอยู่ข้อหนึ่ง ขอได้โปรดรับฟัง”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวว่า

“โปรดบอกมาเถิด”

ท่านอิมามญะวาด(อฺ)กล่าวว่า

“ข้าพเจ้าขอร้องท่านว่า โปรดเลิกดื่มสุราเถิด”

คอลีฟะฮฺมะอ์มูนกล่าวว่า

“แน่นอนที่สุด ข้าพเจ้าขอยอมรับคำตักเตือนของท่าน”

( นูรุ้ลอับศอร ของอัลฮาอิรีย หน้า ๒๕๘)

๑๑๓

นับเป็นโอกาสแรกที่ทำให้ท่านอิมามญะวาด(อ)ได้พบกับ

กองคาราวานที่นำท่านคืนกลับสู่นครมะดีนะฮฺอันเป็นเมืองของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ผู้เป็นบรรพบุรุษของท่าน

ในเรื่องนี้ ถ้าหากผู้อ่านศึกษาอย่างถ่องแท้จะมองเห็นถึงความยิ่งใหญ่ของท่านอิมามญะวาด(อฺ) ในขณะที่ท่านเป็นถึงลูกเขยของคอลีฟะฮฺและเป็นลูกชายของรัชทายาท

โลกนี้ทั้งโลกถ้าหากท่านต้องการจะได้มันก็จะต้องตกอยู่ในอุ้งมือของท่าน แต่ตลอดชั่วชีวิตในวัยหนุ่มของท่านไม่เคยแสดง

ความต้องการเช่นนั้นแม้แต่น้อย ท่านหันหลังให้จากความสุขทางโลก และสลัดทิ้งการที่จะเป็นผู้แสวงหาผลประโยชน์

“แน่นอนที่สุดในประวัติของบุคคลเหล่านั้นเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้มีปัญญาอันล้ำลึก มันมิได้เป็นเรื่องเท็จที่พูดกันมา แต่เป็นความจริงที่ยืนยันสิ่งที่มีอยู่กับเขา เป็นการให้รายละเอียดกับทุกสิ่งและเป็นทางนำ และเป็นความเมตตาสำหรับหมู่ชนผู้ศรัทธา”

 (ยูซุฟ: ๑๑๑)

๑๑๔

คำสดุดีของนักปราชญ์ต่ออิมามที่ ๙

บรรดานักปราชญ์และเจ้าของตำราต่าง ๆ ต่างให้ความสำคัญกับบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยต์(อฺ) ดังนั้นพวกเขาจึงได้เรียบเรียงหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องราวของบรรดาอิมามเป็นจำนวนมาก

และได้เขียนถึงท่านเหล่านั้นในรายละเอียดอย่างยืดยาวเขาเหล่านั้นได้ให้การคารวะต่อบรรดาอิมาม

โดยตัวอักษรที่เรียงร้อยลงไป ปัจจุบันนี้ประวัติศาสตร์ของอิสลามได้บอกเล่าถึงเรื่องราวของบรรดาอิมามและคำสอนอีกทั้งวิถีทางการดำเนินชีวิตของพวกท่าน ห้องสมุดของสถาบันต่างๆ ในแวดวงของศาสนาอิสลามเต็มไปด้วยข้อเขียนต่าง ๆ ที่บรรจุเรื่องราวของท่านเหล่านั้น(อฺ)

นอกจากนี้แล้วยังมีตำราต่างๆ อีกเป็นจำนวนหลายพันเล่มที่แปลเรื่องราวที่เกี่ยวกับพวกท่านหรือที่ได้นำเอาเรื่องราวที่เกี่ยวกับพวกท่านหรือที่ได้นำเอาเรื่องของท่านมากล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มิได้เป็นเรื่องที่มากมายอะไรสำหรับท่านทั้งหลาย(อฺ)เป็นทายาทของ

ศาสนา เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ทิ้งไว้ในท่ามกลางมวลหมู่ประชาชาติอิสลาม

๑๑๕

ในบทนี้เราจะกล่าวถึงคำสดุดีบางประการที่เหล่าบรรดานักปราชญ์และบุคคลสำคัญได้กล่าวถึงท่านอิมามอบูญะอฺฟัร อัล-ญะวาด(อ)ดังต่อไปนี้

คำสดุดีจาก

ท่านอะลี บินญะอฺฟัร

ท่านมุฮัมมัด บินญะซัน บินอัมมารฺ ได้กล่าวว่า :

ข้าพเจ้าเคยได้นั่งร่วมกับท่านอะลี บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ครั้งหนึ่งที่เมืองมะดีนะฮฺ ซึ่งข้าพเจ้าได้พำนักอยู่ร่วมกับเขานานถึงสองปี ข้าพเจ้าได้บันทึกเรื่องราวที่เขาได้รับฟังมาจากหลานของเขา

(อะบุลฮะซัน(อ)) ในขณะนั้น ท่านอะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บินอะลี(อฺ) ได้เขามาหาเขาในมัสญิด นั้นคือมัสญิดของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ครั้นแล้วท่านอะลี บินญะอฺฟัร ได้ปราดเข้าไปหาท่าน(อฺ)ทั้ง ๆ ที่มิได้ใส่รองเท้าและมิได้สวมเสื้อคลุม

เขาได้จูบมือของท่าน(อฺ)และแสดงความให้เกียรติอย่างสูง ท่านอะบูญะอฺฟัรได้กล่าวกับเขาว่า

“โอ้ท่านปู่ โปรดนั่นลงเถิด ขอให้อัลลอฮฺทรงเมตตาต่อท่าน”

๑๑๖

ท่านอะลี บินญะอฺฟัรกล่าวว่า

“โอ้ท่านประมุขเอ๋ย ข้าพเจ้าจะนั่งได้อย่างไร ในขณะที่ท่านยังยืนอยู่”

ครั้นเมื่อท่านอะลี บินญะอฺฟัร ได้กลับไปยังที่นั่งของท่านแล้วบรรดามิตรสหายของท่านอะลี บินญะอฺฟัร ได้พากันตำหนิและต่อว่าด้วยถ้อยคำต่าง ๆ ว่า

“ท่านเป็นถึงลุงแห่งบิดาของเขาทำไมท่านถึงกับต้องแสดงอาการกับเขาขนาดนี้”

ท่านอะลี บินญะอฺฟัร กล่าวว่า

“ท่านทั้งหลายจงเงียบเสียเถิด ในเมื่ออัลลอฮฺมิได้มอบหมายเกียรติยศให้แก่เคราเหล่านี้ (ว่าพรางท่านเอามือไปจับที่เคราของท่าน)แต่พระองค์ทรงประทานเกียรติให้แก่เด็กคนนี้และมอบ

เกียรติให้อยู่ในที่ของมัน จะให้ข้าพเจ้าปฏิเสธเกียรติของพระองค์ได้อย่างไร ? เราขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากสิ่งที่พวกท่านกล่าวถึง ยิ่งไปกว่านั้น ข้าพเจ้ายังถือว่าตัวเองเป็นคนรับใช้ของเขาอีกด้วย”

( มะดีนะตุ้ลมะอาญิซ หน้า ๔๕๐)

๑๑๗

คำสดุดีจาก

คอลีฟะฮฺมะอ์มูน

ค่อลีฟะฮฺมะอ์มูน ได้กล่าวกับลูกหลานบะนีอับบาซ เมื่อเขาเหล่านั้น ขอร้องให้เขาเลิกล้มการจัดพิธีแต่งงานของอิมามญะวาด(อฺ) ว่า

“แน่นอน ข้าพเจ้าได้คัดเลือกเขาก็เพราะความดีเด่นเป็นพิเศษเหนือนักปราชญ์ทั้งปวงในด้านความรู้และเกียรติยศ ทั้งที่เขายังอายุน้อยและข้าพเจ้าหวังว่าเขาคงจะแสดงให้ประชาชนได้เห็น

ในสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รู้จากตัวของเขา แล้วคนเหล่านั้นก็จะได้เห็นคล้อยตามที่ข้าพเจ้าเห็น”

( อะอฺยานุชชีอะฮฺ ก็อฟ ๓/๒๓๑)

เขายังได้กล่าวหลังจากที่ได้ถามท่านอิมามญะวาด(อฺ)แล้วอีกด้วยว่า

“ท่านเป็นบุตรของอัล-ริฏออย่างแท้จริง ท่านเป็นคนในตระกูลของศาสดาอัล-มุศฏ่อฟาอย่างแท้จริง”

()อัลฟุศูลุ้ลมุฮิมมะฮฺ หน้า ๒๕๓

๑๑๘

คำสดุดีจาก

อะบุ้ลอีนาอ์

 

อะบุลอีนาอ์ ได้กล่าวกับอิมามญะวาด(อฺ) ในตอนกล่าวคำเสียใจต่อการจากไปของบิดาของท่าน(อฺ)ว่า

“ท่านมีความประเสริฐยิ่งกว่าที่เรากล่าวถึง พวกเราได้ถ่ายทอดคำตักเตือนของท่าน ในเรื่องของความรู้แห่งอัลลอฮฺนั้นท่านมีมากมายแล้วและในเรื่องรางวัลจากอัลลอฮฺนั้นท่านก็ยังอย่างท่วมทัน”

(อัลมะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๑๓ )

คำสดุดีจาก

บาทหลวงคริสต์

บาทหลวงคริสเตียนได้กล่าวหลังจากได้ยินกิตติศัพท์แห่งเกียรติยศอันสูงส่งของอิมามญะ

วาด(อฺ)ว่า

“คนผู้นี้น่าจะเป็นศาสดาหรือไม่ก็จะต้องเป็นลูกหลานของท่านศาสดา”

( อัลมะนากิบ เล่ม ๒ หน้า ๔๓๔ )

๑๑๙

คำสดุดีจาก

ท่านยูซุฟ บินฟะซาฆ่อลี

ท่านยูซุฟ บินฟะซาฆ่อลี (ซิบฏฺ อิบนิลเญาซี) ได้กล่าวว่า :

มุฮัมมัดญะวาด คือท่านมุฮัมมัด บินอะลี บินมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินละอี บินฮะซัน บินอะลี บินอะบีฏอลิบ สมญานามของ

ท่านคือ อะบู อับดุลลอฮฺมีการเรียกขานกันอีกว่า อะบูญะอฺฟัร ท่านเกิดเมื่อปี ๑๙๕ เสียชีวิตเมื่อปี๒๒๐ มีอายุได้ ๒๕ ปี เป็นผู้มีแบบแผนทางด้านวิชาความรู้ การสำรวมตนและความมักน้อยจาก

บิดา

( ตัซกิร่อตุล-ค่อวาศ หน้า ๒๐๒ )

คำสดุดีจาก

ท่านศ่อลาฮุดดี อัศ-ศ็อฟดี(ร.ฮฺ)

ท่านซอลาฮุดดีน อัศ-ศ็อฟดี(ร.ฮฺ) ได้กล่าวว่า “มุฮัมมัด บินอะลี นั้นคือท่านญะวาด บุตรของอัร-ริฏอ บุตรของอัล-กาซิม บุตรของ

อัศ-ศอดิก(ขอให้อัลลอฮฺประทานความปิติชื่นชมแก่เขา

ทั้งหลาย) ท่านมีฉายานามว่าอัล-ญะวาด, อัลกอเนียะอฺ และ

อัล-มุรตะฏอ ท่านเป็นคนเก่งที่สุดคนหนึ่งแห่งตระกูลของท่านนบี

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156