บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339609 / ดาวน์โหลด: 4958
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

เรื่องการรู้จักพระเจ้า

เขียนโดย ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์เมฮ์ร์

คำนำ

     ส่วนมากของผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาทั้งหลายและเช่นเดียวกันกับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอิสลาม หมายถึง ชาวมุสลิมทั้งหลายก็มีความเชื่อเช่นกันว่า พระผู้เป็นเจ้าคือผู้ที่ได้ประทานศาสนาลงมาเพื่อชี้นำมวลมนุษยชาติ อีกทั้งยังได้นำคำสั่งสอนต่างๆของพระองค์ผ่านยังวะฮ์ยู

 (คำวิวรณ์) จากพระองค์โดยผ่านบรรดาศาสดาทั้งหลาย ซึ่งพวกเขาคือ

 ผู้เผยเเพร่สารของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อทำการสั่งสอนให้กับมนุษย์ในการปฏิบัติต่อหลักการปฏิบัติศาสนกิจ เพราะฉะนั้นคำสั่งสอนของศาสนาอิสลามจึงถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ด้วยกัน ดังต่อไปนี้

 ๑.คำสั่งสอนทางด้านหลักศรัทธา (อะกีดะฮ์)

  ๒.คำสั่งสอนทางด้านหลักศีลธรรม และจริยธรรม (อัคลาก)

  ๓.คำสั่งสอนทางด้านหลักปฏิบัติ (อะฮฺกามหรือ ชะรีอะฮฺ)

     ในอีกมุมมองหนึ่ง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความสมบูรณ์ของศาสนาขึ้นอยู่กับการรู้จักศาสนา และความเคร่งครัดต่อศาสนานั้น ก็ขึ้นอยู่กับการรู้จักในศาสนาด้วยเช่นเดียวกัน และการไม่เข้าใจในคำสอนของศาสนาก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ต้องออกห่างจากศาสนา ดังนั้น การรู้จักอย่างถูกต้องในคำสั่งสอนของศาสนาทั้งในด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติ คือ บ่อเกิดแห่งการรู้จักต่อศาสนา อีกทั้งยังเป็นการเตรียมตัวเพื่อเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง

    ด้วยเหตุนี้ หน้าที่อันสำคัญอันหนึ่งของมนุษย์ หลังจากที่เขามีความเชื่อในการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และเชื่อว่าคำสั่งสอนของท่านนั้นมีความถูกต้อง คือ การรู้จักและเข้าใจอย่างละเอียดในคำสั่งสอนของศาสนา และในเป้าหมายของศาสนา และการรู้จักอย่างถูกต้องในศาสนานั้น ทำให้เขาไปสู่ความสมบูรณ์ และความผาสุกในการดำเนินชีวิตของเขา ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า  บรรดามุสลิมทั้งหลายนั้นได้ให้ความสำคัญต่อการรู้จักในคำสั่งสอนของศาสนาอิสลามเป็นอย่างมาก จนกระทั่งวิชาการและศาสตร์ต่างๆได้เกิดขึ้นมากมายในโลกแห่งอิสลาม และศาสตร์เหล่านั้นได้แยกออกเป็นสาขาต่างๆมากมาย ด้วยเช่นกัน ดังนั้น บรรดานักปราชญ์และนักวิชาการในสาขาวิชาการต่างๆเหล่านั้น ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับศาสนาไปตามความรู้และทัศนะความคิดที่ได้ศึกษามาจากศาสตร์เหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นสาเหตุให้ศาสตร์วิชาการแขนงหนึ่งในศาสนาอิสลามได้ถือกำเนิดเกิดขึ้น

 นั่นก็คือ วิชาอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) ที่มาและแหล่งกำเนิดของวิชาการแขนงนี้ เริ่มต้นมาจาก การถือกำเนิดมาพร้อมกับและการมาของศาสนาอิสลาม เนื่องด้วยกับการเกิดปัญหาและคำถามมากมายที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา เพราะฉะนั้น  วิชาอิลมุลกะลาม

(วิชาเทววิทยาอิสลาม) จึงมีหน้าที่ในการตอบปัญหาและคำถามและข้อสงสัยที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา

     คำนิยามของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม)

     การให้คำนิยามของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) มีหลายคำนิยามด้วยกัน และคำนิยามที่เป็นที่รู้จักในเทววิทยาอิสลาม ก็คือ

  อิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) คือ

 “วิชาที่ว่าด้วย การวิเคราะห์, การอรรถาธิบาย,   การเรียบเรียง,

  การพิสูจน์ด้วยเหตุและผลในหลักศรัทธาของอิสลาม อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการตอบปัญหาและข้อสงสัยที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา”

    คำอธิบาย

    และจากการให้คำนิยามข้างต้นนี้ บ่งบอกถึง หน้าที่ต่างๆอันสำคัญยิ่งของอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม) ซึ่งมีดังนี้

  ๑.การวิเคราะห์ หมายถึง การนำเอาพระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน และฮะดีษ (วจนะของท่านศาสดามุฮัมมัดและบรรดาอะฮฺลุลบัยต์ ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย) ถือว่า เป็นสองหลักการที่สำคัญได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์เกี่ยวกับหลักศรัทธา และยังถือว่าเป็น หน้าที่อันดับแรกของนักมุตะกัลลิม

 (หมายถึง นักเทววิทยา) ส่วนภารกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของนักเทววิทยา คือ การนำเอาคำสั่งสอนของศาสนามาวิเคราะห์ด้วยกับเหตุและผล ดังนั้น หน้าที่ของนักมุตะกัลลิม จึงมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของหลักศรัทธาในภาคทฤษฎี  หรือที่เรียกกันว่า อุศูลุดดีน (รากฐานของศาสนา) ซึ่งตรงกันข้ามกับ หลักปฏิบัติศาสนกิจ(อะฮ์กาม)

  ๒.การอรรถาธิบาย หมายถึง หน้าที่ลำดับต่อไปของอิลมุลกะลาม

 (เทววิทยาอิสลาม) หลังจากที่ได้วิเคราะห์ในหลักศรัทธาของศาสนาอิสลามเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  นักมุตะกัลลิม ยังมีอีกหน้าที่หนึ่ง นั่นก็คือ

 การอรรถาธิบายหลักศรัทธาของศาสนา โดยต้องใช้คำอธิบายที่ชัดเจน และเข้าใจง่าย เพื่อขจัดความคลุมเคลือและการโต้แย้งต่างๆ ที่จะเกิดจากการวิเคราะห์ในหลักศรัทธา โดยการนำเอาหลักฐานอันชัดแจ้งจากอัลกุรอาน ,ฮะดีษ(วจนะ),ศัพท์ทางวิชาการ และหลักการต่างๆในศาสตร์อื่นๆ มาใช้ประกอบในการอรรถาธิบายด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนวิธีการที่นักมุตะกัลลิมนำมาใช้ในการอรรถาธิบายนั้น  เป็นวิธีการที่เฉพาะเจาะจงกับวิชาเทววิทยาเท่านั้น

  ๓.การเรียบเรียง หมายถึง หลังจากที่ได้อรรถาธิบายหลักศรัทธาเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หน้าที่อันดับต่อไปของนักมุตะกัลลิม ก็คือ การเรียบเรียงหลักศรัทธาให้มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน โดยในความเป็นจริง

 อัลกุรอาน ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญมิได้เรียบเรียงหลักศรัทธาไว้

 ด้วยเหตุนี้เอง นักมุตะกัลลิมจึงเพ่งเล็งเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเรียบเรียงหลักศรัทธาขึ้นมาให้เป็นระเบียบและง่ายต่อการเข้าใจ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ได้ว่า เป้าหมายหลักของ เทววิทยาอิสลาม คือ

การทำให้หลักศรัทธานั้น ถูกจัดให้เป็นระบบระเบียบ เพราะว่า จะทำให้ความสามารถแยกแยะในประเด็นต่างๆที่สำคัญออกจากกันได้

อีกทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นต่างๆเหล่านั้นได้อีกด้วย

  ๔.การพิสูจน์ด้วยเหตุและผล หมายถึง หลังจากที่นักเทววิทยา ได้อรรถาธิบายและเรียบเรียงในหลักศรัทธาแล้ว อีกหน้าที่ๆสำคัญเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ การตรวจสอบในประพจน์หรือประโยคต่างๆที่ใช้ในการพิสูจน์หลักศรัทธา และการเข้าใจในประโยคเหล่านั้น จำเป็นที่จะต้องใช้เหตุและผลมาพิสูจน์ยืนยัน โดยนักเทววิทยานั้นจะต้องใช้เหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ในการพิสูจน์หลักศรัทธาเท่านั้น

  ๕.การตอบปัญหาและข้อสงสัย หมายถึง หน้าที่อันดับสุดท้ายของ

นักเทววิทยา ก็คือ การใช้วิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดในการตอบปัญหาและข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับหลักศรัทธาของอิสลาม

     วิธีการศึกษาในอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม)

    ในปัจจุบันนี้ มีหลายวิธีการที่ใช้ในศึกษา และค้นคว้าในศาสตร์และวิชาการแขนงต่างๆ  เพราะฉะนั้น  วิธีการที่ใช้ในการศึกษา และค้นคว้าในวิชาการ ที่เป็นที่รู้จักกัน มีด้วยกัน ๓ วิธีการ ดังนี้

  ๑.วิธีการใช้เหตุผลทางสติปัญญา และทัศนะ(อักลีย์)

  ๒.วิธีการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และการทดลอง (ตัจรุบีย์)

  ๓.วิธีการอ้างอิงจากตำรา และการจดบันทึก (นักลีย์) เช่น

การบันทึกทางประวัติศาสตร์ และจากหนังสืออ้างอิง

  ดังนั้น วิธีการที่สามารถใช้ศึกษาค้นคว้าในอิลมุลกะลาม

 (วิชาเทววิทยาอิสลาม)  จึงมีด้วยกัน  ๒ วิธีการ ดังนี้

  ๑.วิธีการใช้เหตุผลทางสติปัญญา (อักลีย์)

  ๒.วิธีการอ้างอิงจากตำราและการจดบันทึก (นักลีย์)

  วิธีการอักลีย์ หมายถึง การค้นคว้าโดยอาศัยหลักที่ว่าด้วยเหตุและผลจากการใช้กฏต่างๆของตรรกศาสตร์และปรัชญา

 ส่วนประเภทของเหตุและผลที่รู้จักกันทั่วไป กล่าวคือ

 การให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเปรียบเทียบในการพิสูจน์

  ส่วนวิธีการนักลีย์ หมายถึง การใช้หลักการที่อ้างอิงจากตำราและการบันทึก ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของการพิสูจน์ โดยการใช้พระมหาคัมภีร์อัล กุรอานเป็นบรรทัดฐานในการพิสูจน์ และถือว่า เป็นหลักฐานที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในอิสลาม และบรรดานักเทววิทยาได้ใช้สองวิธีการนี้ในการศึกษาและค้นคว้าในอิลมุลกะลาม (วิชาเทววิทยาอิสลาม)  และใช้ในการค้นคว้าในประเด็นต่างๆของ เทววิทยา ได้อีกด้วย

ประเด็นต่างๆในกะลาม(เทววิทยา) ถูกแบ่งออกเป็น ๓ ประเด็นหลัก ด้วยกัน ดังนี้

  ๑. บางประเด็นสามารถใช้ทั้งสองวิธีการนี้ได้ คือ ทั้งวิธีการอักลีย์ และนักลีย์ พร้อมกัน เช่น ประเด็นที่เกี่ยวกับการอธิบายคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้า นอกเหนือจากประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะการมีความซื่อสัตย์ของพระองค์

  ๒.บางประเด็นสามารถใช้เพียงวิธีการเดียว นั่นคือ วิธีการอักลีย์ เท่านั้น เช่น ประเด็นที่เกี่ยวกับการพิสูจน์การมีอยู่จริงของพระผู้เป็นเจ้า และประเด็นที่ใช้ในการพิสูจน์ความเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)

  ๓.บางประเด็นที่ใช้วิธีการนักลีย์ได้เพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไม่สามารถใช้วิธีการอักลีย์ได้เลย นั่นก็คือ ประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับสภาพของมนุษย์หลังความตาย และประเด็นที่เกี่ยวกับโลกหน้า เพราะสติปัญญาของมนุษย์นั้นมิสามารถพิสูจน์ในประเด็นเหล่านี้ได้ จึงต้องใช้เพียงคำสอนจาก

พระมหาคัมภีร์อัล กุรอาน และวจนะ เท่านั้น

     สาเหตุที่เรียกวิชาเทววิทยาอิสลามว่า อิลมุลกะลาม

     มีคำถามได้ถามขึ้นว่า ด้วยสาเหตุใดจึงเรียกวิชาเทววิทยาอิสลามว่า

อิลมุลกะลาม?

   ในความเป็นจริงก็คือ คำตอบของคำถามนี้ ไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลหนึ่งของการเรียกชื่อนี้ ก็คือ  ประเด็นหนึ่งที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามเกี่ยวกับคุณลักษณะประการหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า นั่นก็คือ กะลาม (คำพูด)  ของพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีมาดั้งเดิมหรือว่าเพิ่งเกิดขึ้นใหม่  จึงนำเอาประเด็นนี้เป็นสาเหตุในการเรียกชื่อวิชาการนี้ว่า อิลมุลกะลาม  และอีกเหตุผลหนึ่งที่เรียกวิชาการนี้ว่า อิลมุลกะลาม ก็คือ

บรรดานักเทววิทยาอิสลาม มีความสามารถในการพูด  และการอธิบายในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับหลักศรัทธา จึงเรียก วิชาการนี้ว่า อิลมุลกะลาม ซึ่งหมายถึง คำพูด และยังมีเหตุผลอื่นอีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถกล่าวได้ว่าเหตุผลต่างเหล่านั้น ถูกต้องทั้งหมดทั้งสิ้น

     ขอบเขตของเทววิทยาอิสลาม

     จากที่ได้ให้คำนิยามของเทววิทยาอิสลามผ่านไปแล้ว จะเห็นได้ว่า วิชาการนี้มีความกว้างเป็นอย่างมาก โดยที่ไม่สามารถที่จะกำหนดขอบเขตของวิชาการนี้ได้อย่างชัดเจน ดังนั้น บางทีสามารถแบ่งประเด็นที่สำคัญของเทววิทยาอิสลามได้ ๓ ประเด็น ด้วยกัน ดังนี้

   ๑.การรู้จักพระเจ้า (เตาฮีด)

   ๒.การรู้จักผู้ชี้นำมนุษยชาติ (สภาวะเป็นศาสดาและสภาวะการเป็นผู้นำของบรรดาวงศ์วานของศาสดามุฮัมมัด) (นะบูวะฮ์และอิมามะฮ์)

   ๓.การรู้จักในวันแห่งการตัดสิน (มะอาด)

     ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ศาสนาอิสลามได้อธิบายประเด็นที่เกี่ยวกับมนุษย์กับโลกไว้อย่างมากมาย และวิธีการโดยทั่วไปของนักเทววิทยาอิสลามในการอธิบายนั้น มิได้นำเอาประเด็นที่เกี่ยวกับการรู้จักมนุษย์มาป็นประเด็นหลักเพราะว่า ประเด็นหลักของเทววิทยาอิสลามได้รวมประเด็นที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์และโลกไว้แล้ว เช่นในประเด็นเรื่อง ฟิฏรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์) ,   เรื่องเตาฮีด อัฟอาลี (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้าในกริยา การกระทำ) ,  ความต้องการของมนุษย์ไปยังศาสนา และศาสนทูต  และวิธีการเกิดขึ้นของมะอาด (วันแห่งการย้อนกลับของมนุษย์ยังพระผู้เป็นเจ้า) และประเด็นอื่นๆ ซึ่งถือว่า เป็นประเด็นที่สำคัญในเทววิทยาทั้งสิ้น  ดังนั้น การทำความเข้าใจอย่างสมบูรณ์แบบในอิลมุลกะลาม(เทววิทยาอิสลาม)

๑๐

 นอกเหนือจากการเข้าใจในประเด็นหลักที่สำคัญแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาในประวัติการถือกำเนิดของอิลมุลกะลาม (เทววิทยาอิสลาม),การศึกษาและค้นคว้าในทัศนะต่างๆของสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม การวิเคราะห์และวิจัยความสัมพันธ์ของอิลมุลกะลาม (เทววิทยาอิสลาม) กับวิชาการอื่นๆ เช่น วิชาการอรรถาธิบายอัลกุรอาน

วิชาปรัชญา วิชาอิรฟาน (รหัสยวิทยา) และวิชาการอื่นๆ  ซึ่งจะขอเริ่มต้นการอธิบาย ในประเด็นที่เกี่ยวกับ การรู้จักพระเจ้า เป็นอันดับแรกก่อน

๑๑

 

ภาคที่หนึ่ง

การรู้จักพระเจ้า

 

๑๒

 บทที่ ๑ การรู้จักพระเจ้า

   เนื้อหาทั่วไป

   ในช่วงต้นได้กล่าวแล้วถึงประเด็นหลักที่สำคัญในสาขาวิชาเทววิทยาอิสลาม ซึ่งมีด้วยกัน ๓ ประเด็น ดังนี้

 ๑.ความเชื่อในเรื่องของหลักเตาฮีดหรือความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า

 ๒.ความเชื่อในเรื่องของนบูวัตหรือความเป็นศาสดา

 ๓.ความเชื่อในเรื่องของมะอาดหรือวันแห่งการตัดสิน

    ประเด็นแรกที่จะกล่าวถึง คือ ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้  

๑๓

      

   ความสำคัญของการรู้จักพระเจ้า

  เรื่องความเชื่อในพระเจ้า มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ และจะพบได้ว่าในหน้าประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนถึง ความเชื่อของมนุษย์ที่มีต่อพระเจ้ามาอย่างยาวนาน  และถือว่าเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งส่งผลอย่างมากในการดำเนินชีวิตของเขา และด้วยเหตุนี้ หน้าที่หลักของมนุษย์ คือ การรู้จักพระเจ้า และมีความเชื่อต่อพระองค์ ดังนั้น จะเห็นถึงความแตกต่างระหว่าง มนุษย์ที่มีความเชื่อในพระเจ้า กับมนุษย์ที่ไม่มีความเชื่อในพระองค์ และระหว่างมนุษย์สองคนที่มีความเชื่อในพระเจ้าเหมือนกัน ก็มีความแตกต่าง เช่นกัน เพราะว่ามนุษย์คนหนึ่ง มีความเชื่อที่แตกต่างไปจากอีกคนในเรื่องของการจินตนาการหรือการสร้างมโนภาพของพระเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นตามแนวความคิดของเขา ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การมีความเชื่อในพระเจ้าและคุณลักษณะ (ซิฟัต) ของพระองค์ จึงมีผลต่อการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติของมนุษย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การมีความศรัทธาในพระเจ้า ทำให้ชีวิตของมนุษย์นั้นมีคุณค่า และการใช้ชีวิตของเขานั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น  

๑๔

 

  ความจำเป็นในการรู้จักพระเจ้า

  การรู้จักพระเจ้า เป็นหนึ่งในความเชื่อของมนุษย์ที่มีมาแต่เดิมตามสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขา ซึ่งความเชื่อนี้อยู่ควบคู่มาตั้งแต่กับการถือกำเนิดของมนุษย์ ดังนั้น การรู้จักสัญชาตญาณดั้งเดิม เป็นการรู้จักสภาพเบื้องต้นและเป็นขั้นตอนแรกในการรู้จักพระองค์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การรู้จักพระเจ้าในลักษณะเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการรู้จักพระเจ้าที่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นอีกวิธีการหนึ่งในการรู้จักพระองค์

บรรดานักเทววิทยาอิสลาม ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการรู้จักพระเจ้า พวกเขาได้นำเอาเหตุผลต่างๆมากมายมาพิสูจน์ถึงการมีอยู่จริงของพระองค์ ซึ่งจะขอนำบทพิสูจน์ดังกล่าวมาเสนอ เพื่อเป็นตัวอย่าง ดังนี้

๑.การสกัดกั้นภยันตรายและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สรุปก็คือ ในบทพิสูจน์นี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลามได้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้า ได้ส่งบรรดาศาสดามาในทุกประชาชาติเพื่อชี้นำและตักเตือนมวลมนุษยชาติ และเชิญชวนพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีต่อพระองค์ และถ้าหากว่า พวกเขามิได้เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนของศาสดาทั้งหลาย จะพบกับภยันตรายและผลเสียที่จะได้รับ และหากว่าเขาไม่ศรัทธาในคำสั่งสอนของบรรดาศาสดา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า คำสอนของพวกเขานั้น มีความถูกต้องและตรงกับความเป็นจริงก็ได้

๑๕

และในสภาพเช่นนี้ ความคิดที่เกิดขึ้นในสติปัญญาของเขาที่ว่า ถ้าหากว่าการเชิญชวนของบรรดาศาสดานั้นเป็นจริงและถูกต้อง ผลที่จะได้รับจากการไม่เชื่อฟังในคำสอนของพวกเขา คือ การได้รับการลงโทษจากพระผู้เป็นเจ้าอย่างแน่นอน และเขาจะได้รับภยันตรายจากการที่ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของบรรดาศาสดาเหล่านั้น  โดยกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ สติปัญญาของมนุษย์เนั้นย้ำเตือนเสมอว่า ให้เขาหลีกเลี่ยงออกห่างจากภยันตรายและผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น และเมื่อมนุษย์คาดว่า การที่ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของบรรดาศาสดา พวกเขาจะถูกลงโทษจากพระเจ้านั้นเช่นกัน ด้วยกับความจำเป็นนี้ จึงต้องหลีกเลี่ยงจากอันตรายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น  และจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้า และคุณลักษณะของพระองค์ เพราะถ้าหากว่า พระเจ้ามีอยู่จริง นั่นก็หมายความว่า การเชิญชวนของบรรดาศาสดานั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องด้วย และเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงออกห่างจากอันตรายที่จะเกิดขึ้นนี้ มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามคำสอนของบรรดาศาสดา นั่นเอง

๒.การสำนึกในบุญคุณต่อผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพ (ผู้มีบุญคุณ)

    ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกๆคนต่าง ได้รับปัจจัยยังชีพอันมากมายมหาศาล ซึ่งพวกเขานั้นมิได้เป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้แก่กันและกัน หรือนำพาปัจจัยยังชีพมาพร้อมกับการถือกำเนิดของพวกเขาเอง แต่ทว่าพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงอำนาจ เป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพเหล่านั้นให้แก่พวกเขา ในขณะที่สติปัญญาของมนุษย์กล่าวเสมอว่า จำเป็นที่จะต้องสำนึกในบุญคุณต่อผู้ที่มีบุญคุณต่อเขา และพระผู้เป็นเจ้า คือ ผู้ที่มีบุญคุณและเป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้เขา ฉะนั้น เมื่อมนุษย์ต้องการที่จะตอบแทนบุญคุณต่อผู้มีบุญคุณ ก็จำเป็นต้องรู้จักผู้มีบุญคุณเสียก่อน ซึ่งผู้นั้น ก็คือ พระผู้เป็นเจ้านั่นเอง

๑๖

 และพระองค์ คือ ผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพทั้งหลายและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้กับมนุษย์รวมถึงบรรดาสรรพสิ่งทั้งหลาย ดังนั้น การรู้จักพระเจ้า จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง และสติปัญญาได้กล่าวย้ำว่า มนุษย์จำเป็นที่จะต้องรู้จักผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพ นั่นก็คือ การรู้จักพระเจ้า 

๑๗

   ระดับขั้นของการรู้จักพระเจ้า

   สิ่งสำคัญในการรู้จักพระเจ้าคือ เมื่อพูดถึง การรู้จักพระองค์ สามารถจะตีความได้หลายความหมาย  ซึ่ง ณ ที่นี้ จะแบ่งประเภทของระดับขั้นในการรู้จักพระเจ้า ได้ดังนี้

๑.การรู้จักอาตมันของพระเจ้า

บางครั้ง การรู้จักพระเจ้า หมายถึง การรู้จักอาตมันของพระองค์

มีคำถามได้ถามขึ้นว่า  การรู้จักพระเจ้าในสภาพเช่นนี้มีความเป็นไปได้หรือไม่? และมนุษย์จะรู้จักพระองค์ได้อย่างไร?

คำตอบ บรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามได้มีความเห็นตรงกันว่า การรู้จักพระเจ้าในสภาพเช่นนี้นั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าพวกเขาได้ยกเหตุผลการใช้สติปัญญา , อัล กุรอาน และวจนะของศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า การรู้จักอาตมันของพระองค์นั้น มิใช่ว่าเป็นไปไม่ได้สำหรับมนุษย์ ทว่าทุกสรรพสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาก็เช่นเดียวกัน ไม่มีความสามารถที่จะรู้จักถึงอาตมันที่แท้จริงของพระองค์ได้

เหตุผลทางสติปัญญา ก็คือ บรรดานักปรัชญาอิสลามได้กล่าวว่า แท้จริงอาตมันและตัวตนของพระเจ้านั้นไม่มีที่สิ้นสุด และมีความสมบูรณ์แบบที่สุด แต่ตัวตนของสิ่งที่ถูกสร้างอื่นๆตลอดจนมนุษย์นั้น มีขอบเขตจำกัดและมีที่สิ้นสุด

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การมีความรู้ หมายถึง การรู้จักสิ่งที่ต้องการที่จะรู้ซึ่งต้องมีผู้ที่ให้ความรู้ และสิ่งที่ถูกรับรู้  ดังนั้น สิ่งที่มีขอบเขตและมีที่สิ้นสุด เป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นผู้ให้ความรู้ในสิ่งที่ไม่มีขอบเขต ในขณะที่มนุษย์คือ สิ่งถูกสร้างของพระเจ้า ซึ่งมีขอบเขตและมีที่สิ้นสุด ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะรู้จักแก่นแท้แห่งอาตมันของพระองค์

๑๘

๒.การรู้จักสถานะการมีอยู่ของพระเจ้า ซึ่งอีกระดับขั้นหนึ่งในการรู้จัก หมายถึง การรู้จักว่า พระเจ้ามีอยู่จริง  และการรู้จักในสภาพนี้ทำให้มนุษย์ผู้ศรัทธาออกห่างจากกลุ่มชนที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าและกลุ่มชนที่สงสัยในการมีอยู่ของพระองค์ ซึ่งการรู้จักพระเจ้าจะนำเขาไปสู่ความเป็นผู้ศรัทธาอย่างแท้จริง ดังนั้น การรู้จักในสภาพนี้นั้น มีความเป็นไปได้สำหรับมนุษย์ และยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการรู้จักในระดับขั้นอื่นๆของพระเจ้า อีกด้วย และในการอธิบายถึงพระเจ้าก็มีความแตกต่างระหว่างผู้ที่รู้จักพระองค์ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่มีความเชื่อเหมือนกัน นั่นก็คือ การรู้จักพระองค์ในฐานะที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สูงส่ง และประเสริฐที่สุด

๓.การรู้จักคุณลักษณะและการกระทำของพระเจ้า ซึ่งก็เป็นระดับขั้นหนึ่งในการรู้จักพระองค์ คือ หลังจากที่มนุษย์ยอมรับว่าพระเจ้ามีอยู่จริงแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องรู้จักในคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ และในระดับขั้นที่ผ่านมา ได้อธิบายถึงความแตกต่างของมนุษย์ผู้ศรัทธาและได้แยกพวกเขาออกจากบรรดาผู้ปฏิเสธ และผู้ที่สงสัยในการมีอยู่ของพระเจ้าไปแล้ว ซึ่งในระดับขั้นนี้ นักเทววิทยาอิสลามก็มีทัศนะต่างๆในการรู้จักถึงคุณลักษณะของพระองค์ที่แตกต่างกัน จนเป็นสาเหตุก่อให้เกิดสำนักคิดต่างๆ ในเทววิทยาอิสลาม ไม่ว่าเป็นสำนักคิดอัชอะรีย์,มุอฺตะซิละฮ์และชีอะฮ์ อีกทั้งยังมีความแตกต่างระหว่างศาสนาต่างๆ อีกด้วย เช่น ศาสนาอิสลามกับศาสนาคริสต์ ซึ่งชาวคริสเตียนนั้นมีความเชื่อในบางส่วนแห่งการมีอยู่ของคุณลักษณะบางประการในพระเจ้า กล่าวคือ พวกเขามีความเชื่อในเรื่องตัษลีษ (หมายถึงคุณ ๓ ประการในพระเจ้า ได้แก่ พระบิดา ,พระบุตร และพระจิต) และพวกเขาเชื่อในเรื่องการตะญัดซุด (การมีรูปร่างของพระเจ้า) ชาวคริสเตียนกล่าวว่า สิ่งนี้เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า

๑๙

 แต่ในศาสนาอิสลามมิได้มีความเชื่อเช่นนั้นหรือบางสำนักคิดเทววิทยาของอิสลามมีความเชื่อว่า พระเจ้าทรงมีรูปร่างหน้าตา แต่บรรดามุสลิมส่วนใหญ่มิได้มีความเชื่อในการมีรูปร่างของพระองค์แต่อย่างใด  พวกเขาเชื่อในความบริสุทธิ์ของพระองค์ทรงปราศจากการมีรูปพรรณสัณฐาน  ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ส่วนมากของความแตกต่างที่เกิดขึ้นบนหลักศรัทธาที่เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้านั้น เกิดขึ้นมาจากความแตกต่างในการรู้จักคุณลักษณะของพระองค์เสียเป็นส่วนใหญ่

ฉะนั้น ประเด็นต่อไปที่จะกล่าวถึง คือ การมีอยู่ของพระเจ้า หลังจากนั้นจะอธิบายในเรื่องของคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ แต่ก่อนที่จะอธิบายถึงเรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า  จะขอกล่าวบทนำในการรู้จักถึงการมีอยู่ของพระองค์ ภายใต้หัวข้อ การแสวงหาพระเจ้า และการรู้จักพระองค์

  แนวทางการแสวงหาพระเจ้าและรู้จักพระองค์

  การแสวงหาพระเจ้าและการรู้จักพระองค์มีหลายวิธีการ  ซึ่งมนุษย์ทุกคนต่างมีวิธีการมากมายในการแสวงหาพระเจ้า โดยไม่อาจคำนวณนับได้หมายความว่า โดยส่วนตัวแล้วมนุษย์มีวิธีการในการแสวงหาพระเจ้าตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญของตนเอง ดังคำกล่าวที่ว่า  “วิธีการรู้จักพระเจ้า มีมากมาย ประดุจการมีอยู่ของสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้”

นักปรัชญาและเทววิทยาอิสลามได้แบ่งวิธีการรู้จักพระเจ้า ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ  ๒ กลุ่ม ดังนี้

๑.วิธีการใช้เหตุผลหรือทัศนะ

๒.การรู้แจ้งและการปฏิบัติ

๒๐

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

• จงมีความละอายที่จะผละหนีจากการทำศึกสงคราม เพราะมันจะทำให้ผู้สืบตระกูลของต้องคำสาปแห่งความอัปยศ และนรกจะเป็นของท่านในวันตัดสินพิพากษา

• การหลบหนีอย่างเสียขวัญ ก็คือการสวมเสื้ออันอัปยศให้กับตัวท่านเอง และทำตัวของท่านให้เหมาะสมกับนรก

• ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ หากในวันนี้ท่านได้หลบหนีคมดาบของศัตรูคนหนึ่งไปได้ แต่วันพรุ่งนี้ท่านจะไม่สามารถหลบหนีการตัดสินของพระองค์ผู้ทรงสูงส่งไปได้

• คนขี้ขลาดย่อมไม่มีความสุขในชีวิต

ความสูงศักดิ์

• คุณสมบัติอันยิ่งใหญ่ต่างๆ นำไปสู่ความสูงศักดิ์ และมิใช่กระดูกผุๆ ของบรรพบุรุษ

• คุณธรรมที่บุตรมีต่อบิดมารดา นับเป็นเครื่องพิสูจน์ของชาติกำเนิดที่ดี

มนุษย์มักมีความละม้ายคล้ายคลึงกับผู้ที่อยู่ร่วมสมัยกับพวกเขา มากกว่าบิดาของเขาเสียอีก

• บุตรที่เลวคนหนึ่ง ย่อมทำลายเกียรติยศทั้งมวลของบุคคลหนึ่ง และทำให้บรรพบุรุษของเขาต้องอับอาย

๔๑

ความร่ำรวย

• ผู้หนึ่งประสบกับความมั่งมีเพราะทำการเสี่ยง

• ผู้ที่เขามีความสุข ก็คือผู้ที่เขาร่ำรวยมาจากการประกอบอาชีพที่สุจริต

• เงินทองจะไม่มีวันสูญเสียไป เมื่อมันถูกใช้ไปเพื่อการรักษาชื่อเสียงที่ดีของท่านเอาไว้

• ผู้ใดก็ตามที่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากสิ่งที่เขาเป็นเจ้าของ ก็เท่ากับว่าเขาได้สั่งสมมันไว้ให้กับภรรยาของเขาและสามีคนต่อไปของนาง

• จงอย่านับเอาบุคคลหนึ่งว่าเป็นคนรวย หากเขาไม่ยอมใช้จ่ายอะไรเลย

• ผู้ใดก็ตามที่ไม่เชื่อฟังทรัพย์สฤงคารในทางโลก ทรัพย์สฤงคารในทางโลกก็จะหันมาเชื่อฟังและปฏิบัติตามเขา

• มันช่างเป็นอาชญากรรมที่น่ารังเกียจสักขนาดไหนหนอ! ที่ไปยึดเอาทรัพย์สินของลูกกำพร้ามา

• การยึดกุมที่ชั่วร้ายที่สุด ก็คือเมื่อสิ่งของที่มีปัญหาได้ถูกมอบให้กับท่านเป็นผู้ดูแลรักษา

• การมีหนีสินมากมายจนเกินไป ทำให้คนที่มีความจริงใจต้องโกหก และคนที่มีเกียรติต้องหนีหน้า

• มันเป็นเพราะความร่ำรวยจนเกินไป ที่เป็นต้นเหตุทำให้หัวใจของมนุษย์ต้องฉ้อฉลและสั่งสมบาป

• จงแสวงหาความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้า ให้ปลอดพ้นจากความมัวเมาในทรัพย์สมบัติ ผู้หนึ่งจะพบว่ามันเป็นเรื่องยากทีเดียวที่จะเยียวยารักษาตัวของเขาให้พ้นจากโรคนี้

๔๒

ความพึงพอใจ

• มนุษย์พึงพอใจอยู่กับความจำเป็นในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ใช่เรื่องที่มากมายอันใด

• ไม่มีทรัพย์สฤงคารใดที่จะเทียบเท่ากับความพึงพอใจ

• ผู้ใดก็ตามที่พึงพอใจอยู่กับสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงมอบให้กับเขา ย่อมจะไม่เศร้าโศกกับสิ่งที่เขาไม่มี

• หากท่านไม่สามารถจะหาในสิ่งที่ท่านปรารถนาได้ ก็จงพึงพอใจกับสิ่งที่ท่านมีอยู่

ความยากจน

• จงอย่าให้ความยากจนและความผิดหวังทำให้ท่านทุกข์ใจ เพราะทองคำต้องถูกทดสอบในไฟ ผู้ศรัทธาก็ต้องถูกนำตัวไปสอบสวน

• ผู้หนึ่งที่เที่ยวโพนทนาถึงความยากจน ย่อมทำให้ตัวของเขาตกต่ำ

ความละโมบและความโลภมาก

• คนละโมบเป็นกองคลังให้กับทายาทของเขา

• คนละโมบเป็นคนจน แม้โลกทั้งใบจะเป็นของเขาก็ตาม

• เมื่อคนละโมบประสบความสำเร็จจนมากเกินขนาดของเขา กริยาท่าทางของเขาจะเปลี่ยนไป

• คนตระหนี่มักจะรู้สึกต่ำต้อยอยู่เสมอ และคนขี้อิจฉาก็จะมีโรคภัยอยู่ตลอดไป

• ความโลภทำให้ตกต่ำ

๔๓

• ความโลภมากทำให้มนุษย์ตกต่ำ ความตายมันเป็นเรื่องยากแต่ยังน้อยกว่าการไปขอให้บริจาคเสียอีก

• มันเป็นความสุขของคนดีที่ให้อาหารแก่บุคคลอื่น แต่ส่วนของพวกที่เป็นผู้ละโมบนั่นคือการแสวงหาของกินให้กับตัวของพวกเขาเอง

• ความโลภมากและความละโมบ ทำให้ความสามารถในการตัดสินและสติปัญญาต้องมืดมัวลง

• ความโลภมากเป็นระบบทาสที่ถาวร

• ผู้หนึ่งที่เขาพัฒนาอุปนิสัยของความโลภมากและความละโมบ จะถูกเชิญชวนไปสู่ความตกต่ำเลวทราม ผู้หนึ่งที่เขาโฆษณาความยากจนและเคราะห์กรรมของเขา จะต้องประสบกับความต่ำต้อยอยู่เสมอ ผู้หนึ่งที่เขาไม่สามารถควบคุมลิ้นของเขาได้ มันจะต้องพบกับความกระอักกระอ่วนใจและความไม่สบายใจ

ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง และความเย้ายวน

• ความบริสุทธิ์ผุดผ่องนับเป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่ง

• ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทำให้ความเย้ายวนต้องอ่อนกำลังลง

• ย่อมไม่มีวิทยาญาณในความเย้ายวน

• เมื่อความสนุกสนานเริ่มขึ้น ความเย้ายวนก็จะติดตามมา แต่ความเสื่อมสลายคือตัวทำลายล้างมัน

๔๔

สุขภาพ

• สุขภาพนับเป็นทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

• ความมีสติ คือการมีสุขภาพพลานามัย

• สองสิ่งนี้จะยังไม่เห็นคุณค่า จนกว่ามันจะอำลาจากไป นั่นคือ ความหนุ่มสาวและการมีสุขภาพ

พลานามัย

• จงสดับเถิด! ทรัพย์สินนับเป็นความจำเริญ แต่สุขภาพพลานามัยเป็นเรื่องที่ดีกว่า แต่ที่ดีกว่านั้นก็คือหัวใจที่มีคุณธรรม

• หากผู้หนึ่งมีสุขภาพที่ดี ก็นับเป็นความหรรษาที่จะมีชีวิตอยู่

• การล้มเลิกในสิ่งที่เป็นความทะยานอยาก นับเป็นการเยียวยารักษาที่มีมรรคผลที่สุด

• จงรักษาโรคภัยด้วยกับการบริจาคทาน

• จงรังเกียจท้องที่อิ่มแปร่ ซึ่งจะตามมาด้วยความป่วยไข้และฝันร้าย

• ผู้ใดก็ตามที่ไม่อดทนในการละวางไปเสียจากเนื้อที่ต้องห้าม ย่อมจะได้เห็นโรคภัยเข้ามาเบียดเบียนเขา

• การปิดบังความเจ็บป่วยของผู้หนึ่งจากแพทย์ผู้รักษาเขา ก็คือผู้ทรยศต่อสุขภาพของเขาเอง

• จงใช้อดทนอดกลั้นของท่าน เป็นผู้แก้แค้นท่านในความละโมบโลภมากของท่าน ประดุงดังผู้ที่ใช้เหล็กในการแก้แค้นศัตรู

๔๕

การบริจาคทาน และความอดทนอดกลั้น

• เมื่อท่านเลี้ยงอาหารคนจน ก็จงเลี้ยงพวกเขาให้ดีเถิด

• ผู้ศรัทธาคนหนึ่งย่อมไม่รับประทานจนอิ่มแปร่ ในขณะที่พี่น้องของเขายังหิวโหยอยู่

• เขาผู้ซึ่งบริโภคเพียงเล็กน้อย ย่อมมีความคิดที่สะอาดบริสุทธิ์มากกว่า

• ความมีสตินับเป็นทรัพย์สมบัติของคนจน ในขณะที่ความรู้เป็นของปวงปราชญ์

• ความมีสติทำให้เพิ่มพูน

• ความมึนเมาของความอวดดี ก็คือความยิ่งยโสและทรนง มันซ่างช้ายิ่งกว่าการเมาเหล้าองุ่นเสียอีก

• การบริจาคเพียงเล็กน้อยในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า ยอมจะนำผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่มาให้ท่าน

• จงยับยั้งเสียก่อน ดีกว่าที่จะไปเสียใจในภายหลัง

• หากท่านประสงค์ที่จะวิงวอนของพรจากพระผู้อภิบาล เพื่อหนทางแห่งปัจจัยที่ดีกว่า ก็จงบริจาคบางสิ่งไปในทางกุศลเสียก่อน

• จงอย่าได้ละอายกับจำนวนเงินที่ได้บริจาคไปเพียงน้อยนิด เพราะการปล่อยให้คนยากจนขัดสนต้องกลับไปมือเปล่า นับเป็นความอับอายที่ยิ่งใหญ่กว่า

๔๖

ความใจบุญใจกุศล

• จงเป็นคนใจบุญแต่อย่าฟุ่มเฟือย จงละเอียดถี่ถ้วนแต่อย่าตระหนี่

• หากท่านได้ช่วยเหลือบุคคลที่เหมาะสม โดยที่เขายังมิได้ร้องขอ นั้นคือความใจบุญใจกุศล แต่หากท่านได้ช่วยเขาเพราะเขามาร้องขอ ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากความรู้สึกละอายที่จะปฏิเสธเขา หรือเกรงว่าจะถูกต่อว่า

โอกาส

• โอกาสที่สูญเสียไปมักจะไม่หวนกลับมาอีก จนกระทั่งสายเกินไป

•โอกาสของบุคคลหนึ่งมักผ่านไปอย่างรวดเร็ว และจะกลับมาด้วยความเชื่องช้า

•โอกาสผ่านไปราวกับเมฆก้อนหนึ่ง ดังนั้นจงเอาประโยชน์เสียก่อนในสิ่งดีๆ ของมัน

•หากเป็นไปได้เมื่อมีโอกาสก็จงรีบคว้าเอาไว้ก่อนในขณะที่มันบินเข้ามา เพราะท่านจะไม่มีวันแซงหน้ามันไปได้

• วันและคืนมันกำลังทำงานกับตัวท่านอยู่ ดังนั้น จงทำตัวท่านให้ได้ใช้ประโยชน์จากมัน เพราะมันกำลังเอาไปจากท่าน ดังนั้น ท่านก็ควรจะเอาจากมันเช่นกัน

• ในทุกขณะจิตของท่าน ก็คือส่วนหนึ่งของชีวิตท่าน ดังนั้น จงใช้เวลานั้นเพื่อความจรรโลงใจของท่านเถิด

๔๗

ขันติธรรม

• เขาชนะเพราะเรียนรู้ศิลปะในการรอคอย

• ความอดทนอันขมขื่น ย่อมเป็นผลแห่งความสำเร็จ

• ผู้ใดที่เคาะประตูเรียกด้วยความเพียรพยาม ย่อมจบลงด้วยการได้เข้าไป

• มันขึ้นอยู่กับท่านที่จะแสดงความอดทนในยามเคราะห์กรรม และในยามหมดอาลัย

• เวลามีอยู่สองวัน วันหนึ่งเป็นของท่าน อีกวันหนึ่งต่อต้านท่าน จงอย่าจองหองหากพบกับความสำเร็จ และจงอดทนในความทุกข์ยาก แน่นอนยิ่ง เคราะห์กรรมมิใช่เรื่องที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดไป มันจะต้องสิ้นสุดยุติลง ดังนั้น จงอดทนจนกว่าจุดจบของมันจะมาถึง

• จงมองหาความอิ่มเอิบภายหลังจากความเศร้าหมอง และจงอย่าสิ้นหวังกับความรักที่มีต่อสวรรค์

• มันมีความดีตั้งเท่าใดแล้วที่มาถึงท่าน ในขณะที่ท่านไม่เคยคาดหวังจากมันเลย

• ความทุกข์ยากเป็นเรื่องง่ายที่จะแบกรับมันไว้ สำหรับผู้ที่รู้ถึงวิธี

• หากท่านมิใช่เป็นผู้ที่อดทน ก็จงแสดงออกประหนึ่งว่าท่านเป็น มันมีอยู่บ่อยครั้งทีเดียวที่ผู้หนึ่งเลียนแบบผู้คน โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่เคยพัฒนาไปเหมือนกับพวกเขา

• การหมดความอดทนถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ก็เฉพาะเมื่อมันช่วยขจัดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อระยะการเดินทาง หรือปัดเป่ามันให้ทุเลาเบาบางลง

๔๘

• จงอดทนต่อความเศร้าโศกและวิกฤติการณ์ด้วยขันติธรรม หาไม่แล้วท่านก็จะไม่มีความสุข

• บุคคลที่ปฏิบัติด้วยความขันติ จะไม่ถูกลิดรอนไปจากความสำเร็จ ถึงแม้ความสำเร็จอาจต้องใช้เวลายาวนานกว่าที่จะมาถึง

• จงแสวงหาความอดทนและการยืนหยัด เพราะความสัมพันธ์ของมันที่มีต่อการศรัทธาที่แท้จริง

เป็นเช่นเดียวกับศีรษะที่มีต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายย่อมไม่มีประโยชน์หากปราศจากศีรษะ ในทำนองเดียวกัน

ศรัทธาที่แท้จริง ย่อมหาประโยชน์อันใดมิได้หากปราศจากคุณสมบัติของการยอมตน การยืนหยัด และความอดทน

การให้อภัย

• การให้อภัยนับเป็นมงกุฎของคุณภาพที่ยิ่งใหญ่

• จงยอมรับในการขออภัย สำหรับผู้ที่เขาแสวหาการอภัยโทษจากท่าน

•นับเป็นการดีที่ไม่กระทำบาปหนึ่ง มากกว่าที่จะไปขอให้ผู้หนึ่งอภัยให้กับเรา

•คนที่ชั่วที่สุด คือผู้ที่ไม่เคยให้อภัยกับใคร หรือไม่เคยแม้แต่จะขออภัยใคร

•จงอย่ารีบเร่งไปสู่การลงโทษ ในความผิดที่บุคคลหนึ่งได้กระทำ แต่จงปล่อยให้มีโอกาสเพื่อการขออภัยในระหว่างการทำผิดและการลงโทษ

๔๙

•จงลงโทษคนรับใช้ของท่าน หากเขาฝ่าฝืนคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า แต่จงอภัยให้กับเขาที่ดื้อดึงไม่ปฏิบัติตามท่าน

 เมื่อท่านมีชัยชนะเหนือศัตรูของท่าน ก็จงให้อภัยกับเขา ซึ่งเป็นหนทางที่ท่านจะตอบแทนการขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้า ที่พระองค์ได้ทรงประทานพลังอำนาจในการพิชิตให้กับท่าน

• ผู้ใดที่สามารถมองเห็นความผิดของตนเองได้ ย่อมเป็นผู้นิ่มนวลต่อความผิดของผู้อื่น

• เขาเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถให้อภัย ก็คือผู้ที่มีอำนาจในการจัดการลงโทษ

• หากท่านมีโอกาสและมีอำนาจเหนือศัตรูของท่าน ก็จงให้อภัยกับเขาเพื่อเป็นการขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าในชัยชนะนี้

• กิจกรรมที่ดีเลิศของบุคคลหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ คือการให้อภัยและการลืม

ความอาลัยรัก

• ผู้หนึ่งที่ไม่เคยมีความสงสารต่อผู้ใด ย่อมไม่เคยได้รับความสงสาร

• ผู้ที่มีความอาลัยรักต่อเด็กกำพร้า ย่อมจะได้เห็นลูกๆ ของเขาได้รับการปรนนิบัติอย่างการุณ

ความอ่อนโยน

• บุคคลที่ปฏิบัติในทางสายกลางและมีความอ่อนโยน จะไม่ประสบกับความยุ่งยากอันเนื่องมาจากความยากจน

๕๐

คำสัญญา

• คำสัญญาหนึ่งก็คือหนี้สินที่ต้องชำระให้มันเสร็จสิ้นไป

• คำสัญญาของคนใจกว้างถือว่าเป็นเงินสด

• จงอย่าให้คำมั่นสัญญาในสิ่งที่ท่านไม่สามารถรักษามันไว้ได้

• การปฏิเสธที่แฝงไว้ด้วยความกรุณา มีค่ายิ่งกว่าคำสัญญาที่ยังอีกยาวไกล

• คนใจบุญย่อมปฏิบัติตามที่เขาสัญญา และเมื่อเขามีอำนาจเขาก็ไว้ชีวิตแก่ศัตรูของเขา

• จงยอมรับคำสัญญา จากผู้ที่สามารถยึดถืออย่างมั่นคงในคำสาบานของพวกเขาเท่านั้น

โมหะ

• จงระวังโมหะ ซึ่งจะเริ่มต้นจากความบ้าคลั่ง และจบลงด้วยกับความเสียใจ

• โมหะเป็นไฟที่เผาผลาญ ผู้ใดก็ตามที่สามารถระงับยับยั้งความโกรธของเขาได้ เท่ากับเป็นการดับไฟลงได้ แต่หากผู้ใดไม่สามารถทำได้ ตัวเขาเองก็จะถูกเผาผลาญ

• โมหะเป็นพันธุ์หนึ่งของความบ้า ส่วนการสำนึกผิดเป็นสิ่งที่ติดตามมันมา หรือหากมันมิเป็นเช่นนั้น ก็หมายความว่าความบ้าได้เกาะกุมมันไว้อย่างมั่นคงแล้ว

๕๑

• จงเป็นเจ้านายเหนือความโกรธเคืองและความรุนแรงในความมีโมหะของท่าน จนกระทั่งโมหะของท่านได้ละไปจากท่าน และสติปัญญาได้กลับคืนมา

• บุคคลที่มีคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ คือผู้ที่สามารถทำให้โมหะของเขาอ่อนละมุนลง และไม่ถือเอาความได้เปรียบด้วยกับกำลังอำนาจของเขา

ความสุภาพอ่อนโยน

• มารยาทที่สุภาพ นับเป็นมรดกตกทอดที่บิดาสืบต่อถึงบุตร

• ไม่มีเครื่องประดับอันใดที่จะเสมอเหมือนกับความสุภาพอ่อนโยน

• ทุกๆ สิ่งนั้นจะต้องว่ากันไปตามเหตุผล และเหตุผลด้วยตัวของมันเองนั้นก็จะต้องสุภาพ

• ไม่มีความสูงศักดิ์ในชาติกำเนิดใดๆ ที่จะทำให้ผู้หนึ่งสูงเด่นขึ้นมาได้ หากความไม่สุภาพที่มีอยู่ในตัวของเขา ทำให้เขาต้องตกต่ำลง

• จงให้ความเคารพเหมือนๆ กัน ไม่ว่าเขาจะเป็นครูของท่าน หรือผู้ที่ท่านได้สั่งสอนพวกเขา

• จงมีความสุภาพกับศัตรูของท่าน และจงมีความจริงใจกับเพื่อนของท่าน ท่านก็จะเชิดชูความเป็นพี่น้องและธำรงไว้ซึ่งความมีน้ำใจได้เช่นกัน

• จงมีความประพฤติในลักษณะที่เป็นคนอลุ่มอล่วย เพื่อว่าเมื่อท่านตายไป ผู้คนจะได้แสดงความเสียใจให้กับท่าน และสะอื้นหาเมื่อท่านไม่อยู่

• จงมีความสุภาพนิ่มนวลกับผู้คน เพื่อจะได้ดึงเอาผลประโยชน์จากจิตใจที่ดีงามของพวกเขา และจงแสดงใบหน้าที่ยิ้มแย้ม เพื่อฆ่าความรู้สึกเป็นศัตรูของพวกเขา

๕๒

• ความสุภาพอ่อนโยนย่อมชนะใจผู้คน และทำให้พวกเขามาอยู่ฝ่ายตน

การควบคุมตนเอง

• คนที่แข็งแรงที่สุด คือคนที่สามารถต่อสู้กับตัวของเขาได้

• คนที่แข็งแรงที่สุด คือคนที่สามารถทำให้เหตุผลของเขาพิชิตราคะจริตของเขาได้

• การปล่อยให้เหตุผลถูกครอบงำด้วยตัณหาราคะของท่าน ก็เท่ากับท่านได้สวมใส่ความน่ารังเกียจให้กับตัวของท่านเอง

• ผู้ใดยอมจำนวนต่อตัณหาราคะของเขา ก็เท่ากับเป็นการทุบทำลายเหตุผลของเขา

• จงระมัดระวังราคะหนึ่ง ที่มันมีพลังแก่กล้าในเรื่องของสตรีเพศ และจงอย่าหิวกระหายในความรื่นรมย์ ในกรณีแรกนั้นท่านจะต้องถูกทดสอบด้วยกับเคราะห์กรรม และในประการที่สอง ท่านจะต้องถูกชิงชังและได้รับความต่ำต้อย

• ความหวานชื่นของความรื่นรมย์หรรษา ย่อมไม่คุ้มค่ากับความทุกข์ยากที่ขมขื่น

• ผู้ใดก็ตามที่ถวิลหาเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งสูงๆ ก็จงบำราบราคะของเขาเอาไว้

ความอิจฉาริษยา

• ความอิจฉาริษยา คือคุกของวิญญาณ

• ความอิจฉาริษยา นำมาซึ่งความเศร้าหมอง

• ความอิจฉาริษยา ทำให้ร่างกายผุผัง

•ความอิจฉาริษยาเป็นโรคชนิดหนึ่ง หากไม่หยุดยั้งก็ไม่สามารถรักษาได้ จนกว่าความตายของผู้อิจฉา หรือผู้ที่ถูกเขาอิจฉาริษยาจะมาเยือน

•คนขี้อิจฉาริษยา ย่อมเป็นสหายที่แย่ที่สุด

•คนตระหนี่มักรู้สึกต่ำต้อยอยู่เสมอ และคนที่อิจฉาตาร้อนก็จะมีโรคภัยอยู่ตลอดไป

•มันช่างเป็นสิ่งที่ใจแคบอะไรเช่นนี้ ที่ไปอิจฉาริษยา แม้กระทั้งความสุขของเพื่อนของตนเอง

ความบาดหมาง

• ความบาดหมาง เป็นน้ำพุแห่งความเศร้าหมองอันเหลือคณา

• การทุ่มเถียงกัน เป็นน้ำพุแห่งความพินาศ

• กิจการที่มีระเบียบที่ดีที่สุด ย่อมถูกทำให้เสียหายไร้ระเบียบ เนื่องจากความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน

ความกตัญญูรู้คุณ

จงแสดงการขอบคุณต่อผู้ที่มีพระคุณของท่าน และจงหยิบยื่นผลประโยชน์ให้กับผู้ใดก็ตามที่เขามีบุญคุณต่อท่าน

จงมองดูด้วยความตั้งใจในปมด้อยของท่านอยู่เนื่องๆ เพราะมันเป็นหนทางหนึ่งของการแสดงออกถึงการขอบคุณต่อพระองค์ผู้ทรงสูงส่ง

๕๓

ความประพฤติที่สุขุมรอบคอบ

•ในทุกๆ สิ่งย่อมมีวิธีการที่ประเสริฐของมัน ความสุขุมคัมภีรภาพตื่นอยู่เสมอ ในขณะที่การเพิกเฉยหลับใหล

• จงเก็บออมเสียตั้งแต่วันนี้ เพื่อว่าพรุ่งนี้ท่านจะได้ใช้มัน

• การมีความห่วงใยต่อผลกระทบ ก็คือการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ

•ด้วยกับการคิดคำนึงถึงผลกระทบ มันจะทำให้ท่านรักษาตัวของท่านให้พ้นจากอันตรายได้

• จงระมัดระวัง เพราะมันจะขจัดปัดเป่าให้ท่านพ้นจากอันตราย

 จงอย่าสับสนในกิจการต่างๆ ของสุลต่าน ขณะที่ต้องเผชิญกับความยุ่งยาก นักเดินเรือผู้หนึ่งก็ไม่อาจปลอดภัยได้เสมอไปแม้ในทะเลที่สงบแล้ว เขาจะหลบหลีกให้พ้นไปจากความพินาศได้อย่างไรเมื่อลม

ปะทะเข้ามา และเมื่อลูกคลื่นกำลังโหมกระหน่ำ!

จงอย่าเลือกไปในทางใด หากมีความหวาดกลัวว่าท่านจะต้องสูญเสียตัวของท่านไป

• ผู้ใดที่เขาหลงออกไปจากทางเดิน ย่อมตกลงไปในหุบเหว

• ใครที่เร่งร้อน ย่อมพลัดตกลงไป

• การล้มคะมำ เป็นผลจากความรีบเร่ง

• ถึงแม้จะขึ้นนั่งอย่างมั่นคงที่สุดแล้ว ก็อาจร่วงตกลงมาได้

• ใครที่ขุดหลุมพรางไว้กับพี่น้องของเขา ย่อมตกลงไปในหลุมนั้นเอง

•หากผู้หนึ่งขึ้นคุมบังเหียนด้วยความอยุติธรรม มันก็จะนำเขาไปสู่การหลงทาง

๕๔

•ผู้ใดก็ตามที่ขึ้นคุมบังเหียนด้วยกับความดื้อรั้น ย่อมถามหาถึงความยุ่งยาก

• จงอย่าปิดประตูบานที่ท่านไม่สามารถจะเปิดมันออกไปได้อีก

• จงอย่าต่อสู้กับผู้ที่ท่านไม่สามารถปกป้องตัวของท่านเองได้

• จงอย่าพูดในสิ่งที่ท่านกลัวว่ามันจะไม่เหมาะสม

• จงอย่ายิ้มเยาะในความล้มเหลวของผู้อื่น เพราะท่านไม่อาจทราบได้ว่า ในชีวิตนั้นมีอะไรเก็บรอไว้ให้ท่านอยู่

• หากเกลียดชังผู้คนแล้วท่านจะเสียใจในภายหลัง

• หากท่านเห็นลักษณะนิสัยที่น่าตำหนิของบุคคลอื่น ก็จงป้องกันอย่าให้มันมาปรากฏอยู่ในตัวของท่านเอง

• จงอย่าได้รีบเร่งไปสู่ที่นั่งที่สูงเด่นที่สุดในงานเลี้ยง

• ผู้หนึ่งที่เข้าผิดประตู ย่อมก่อให้เกิดความน่าสงสัย

• การประหยัด เป็นครึ่งหนึ่งของอาหารของบุคคลหนึ่ง

• จงอย่าแสดงถึงขนาดที่ว่า ผู้ประพันธ์ยังรู้สึกตะขิดตะขวงใจและจำต้องปฏิเสธ

• มันเป็นคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ ที่ไม่ควรไปวางแผนอะไรไว้อย่างลับๆ เพราะเมื่อมันถูกเปิดเผยออกมาแล้ว ท่านจะรู้สึกกระดากอาย

• จงระมัดระวังที่จะไม่กระทำกิจกรรมหนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นที่รู้จักแล้วจะทำให้ผู้กระทำต้องเสียความน่าเชื่อถือ และทำให้เขาตกต่ำ

• ผู้ใดที่วิ่งไล่เงาสะท้อนที่คิดว่าเป็นบ่อน้ำ ก็เท่ากับว่าเขากำลังดึงเอาความทุกข์ทรมานของเขาออกมา และยังเพิ่มความกระหายให้กับเขาอีก

๕๕

• จงอย่าคบค้ากับคนขี้ขลาดตาขาว เพราะเขาจะทำให้การกระทำของท่านอ่อนแอลง และจะทำให้ดูประหนึ่งว่ามันใหญ่โต ทั้งๆ ที่มันมิได้ใหญ่โตแต่อย่างใด

• การไล่ตามความสนุกรื่นเริงอย่างเร้าร้อน ย่อมทำให้ผู้หนึ่งหลงทางและนำความเสียหายมาให้

• จงอย่าให้หัวใจของท่านรับรู้ในความเศร้าหมองของอดีต เพราะหากเป็นเช่นนั้น ท่านก็จะไม่มีเวลาที่จะหมกมุ่นกับตัวเองในเรื่องของอนาคต

• นับเป็นเรื่องน่าสนเท่ห์ที่ว่า ชายผู้หนึ่งหากเขาพูดถึงเรื่องๆ หนึ่ง เมื่อมีการรายงานถึงคำพูดของเขา ก็จะทำให้เขาได้รับความปวดร้าว และหากมิได้มีการรายงานอันใด ก็ไม่เป็นการดีอะไรสำหรับเขาเลย

• จงเชื่อฟังผู้ที่มีอำนาจเหนือท่าน และผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของท่านก็จะเชื่อฟังท่าน

• ผู้ใดก็ตามที่ทำให้ตัวของเขาเจ็บปวดโดยไม่จำเป็น ย่อมเป็นการทำร้ายตัวของเขาเอง

• จงหลีกห่างจากสังคมของผู้ที่มีการพูดถึงคนอื่น อันเป็นความชั่วของบุคคลผู้หนึ่ง เพราะสมาชิกทุกคนในหมู่พวกเขา ย่อมมีส่วนแบ่งในความชั่วนั้นๆ

• จงหลีกห่างจากสังคมของผู้ที่ชั่วร้าย พวกเขาเปรียบได้ดั่งไปที่เผาผลาญทุกคนที่เข้าไปใกล้

• จงหลีกห่างจากพวกเสเพล เพราะหากเห็นด้วยกับความประพฤติของผู้คนเหล่านั้น ก็คือการยอมตนไปเป็นคนหนึ่งของพวกเขา

• จงหลีกห่างจากการกระทำที่เสเพลอย่างเปิดเผย เพราะหากกระทำเช่นนั้น ก็เท่ากับการกระทำบาปหนึ่งที่รุนแรงที่สุด

๕๖

การสารภาพบาป

• เมื่อท่านกระทำบาปก็จงสารภาพบาป

• ผู้สารภาพบาป ย่อมแสวงหาทางกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้าได้

• การสารภาพบาป ย่อมปลดเปลื้องผู้หนึ่งให้พ้นไปจากทุกๆ บาป

ปกิณกะ

• ความถูกต้องเป็นดาบที่ไม่เคยทื่อ

• การทำอะไรบ่อยๆ ก็จะกลายเป็นนิสัยไป

• ผู้ใดก็ตามที่มีปฐมภูมิที่เลวทราม ย่อมมีสายตาที่เกลียดชัง

• จะไปนำผู้อื่นได้อย่างไร หากตนเองยังหลงทางอยู่

• จุดอ่อนของท่านยังคงถูกปิดบัง ตราบใดที่โชคยังเข้าข้างท่านอยู่

• ผิวหนังช่างอ่อนนุ่มเหลือเกิน จะทนทานต่อไฟนรกได้อย่างไร

• ความหวังเป็นเสมือนเงาสะท้อน มันหลอกลวงผู้ที่มองดูมัน และยังโกหกกับผู้ใดก็ตามที่เชื่อถือมัน

• การหลงใหลในภรรยา เป็นเหมือนกับลูกดอกของคนเซ่อซ่า

• อะไรที่เป็นชะตากรรม ย่อมจะไม่อาจปัดทิ้งไปได้ ดังนั้น การป้องกันของบุคคลหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์อันใด

• ผู้ใดก็ตามที่ถูกตัวแทนของเขาหักหลัง ย่อมจะได้เห็นโครงการต่างๆ ของเขาเสียหาย

๕๗

• ผู้ใดก็ตามที่ความทะเยอทะยานของเขาได้บรรลุสู่ขั้นสูงสุด ก็ควรที่จะตระเตรียมเพื่อเผชิญหน้ากับความเดียดฉันท์ในขั้นสูงสุด

• ผู้ที่ตกเป็นเครื่องมืออยู่ประจำ ย่อมถูกรังเกียจ

• การผูกพยาบาทต่อการกระทำทั้งมวลของผู้มีอำนาจ ย่อมเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจที่สุด

• ความถ่อมตนย่อมสูงส่ง ความหยิ่งทะนงนำไปสู่ความตกต่ำ

• จงอย่ากินแหนงแคลงใจ

• การเก็บเอาความระแวงสงสัยต่อผู้มีพระคุณของบุคคลหนึ่งเอาไว้ ถือว่าเป็นบาปที่ดำมืดที่สุด และเป็นความอยุติธรรมที่น่ารังเกียจที่สุด

• หากปล่อยให้ตัวของท่านต้องยอมจำนนกับความเฉยเมย ก็เท่ากับเป็นการเก็บเอาความเสียใจเอาไว้

• ความเฉยเมยเพราะความเกียจคร้าน

• จงรังเกียจในความต่ำช้า ถึงแม้มันจะนำพาใจของท่านไปสู่ความอยากใคร่ของหัวใจก็ตาม

• มันช่างน่ารังเกียจสักปานใด สำหรับผู้ที่หันไปทั้งสองทาง

• ความตายของบุตรของบุคคลหนึ่ง ทำให้กระดูกสันหลังของบุคคลนั้นหักลง

• มิใช่ว่านักแม่นธนูทุกคนจะยิงเข้าเป้าก็หาไม่

• ในเรื่องคดีความนั้น มันย่อมเป็นไปไม่ได้ เมื่อข้อกล่าวหานั้นมันไม่ยุติธรรม

• อาชญากรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประการหนึ่ง ก็คือการทำลายงานหนึ่งๆ ทางด้านศิลปะ

๕๘

• ผู้ที่มีความรักในสิ่งๆ หนึ่ง ย่อมจะเร่งรีบเพื่อนำเอาความทรงจำของมันกลับคืนมา

• จงวางมือจากความผูกพยาบาทเสีย แล้วท่านจะมีจิตและหัวใจที่สงบ

• ความกล้าแค่เพียงครั้งเดียวต่อหน้ากษัตริย์ ย่อมเผยตัวของเขาไปสู่การถูกจองจำอย่างไม่ถูกต้อง

• หากบุคคลหนึ่งรักท่าน เขาก็จะวิจารณ์ถึงตัวท่าน

• บุคคลหนึ่งที่รู้สึกว่าเกียรติยศของเขาเริ่มลดลง ย่อมเห็นได้ว่ากำลังของศัตรูของเขาจะเพิ่มมากขึ้น

• บุคคลใดก็ตามที่ขอมากไปกว่าที่เขาควรจะได้ ย่อมพบกับความผิดหวัง (โลภมากลาภหาย)

• เป็นเพราะการทดสอบที่นำไปของสิ่งหนึ่ง ว่ามันควรจะมีคุณค่าหรือไร้คุณค่า

• จงปกป้องการเคารพในตัวตนของท่าน จากความต่ำช้าทั้งมวล แม้การกระทำเช่นนั้นจะเป็นการเปิดตัวท่านไปสู่อันตรายก็ตาม แต่ท่านจะไม่เคยพบเลยว่า จะมีสิ่งใดมาเทียบได้กับเกียรติยศที่ต้องได้มาด้วยกับการบาดเจ็บ

• จงปฏิบัติต่อผู้อื่น ดังที่ท่านกระทำกับตัวของท่านเอง

• จงวางตัวของท่านลงบนตราชั่ง ระหว่างตัวของท่านกับบุคคลอื่น จงมีความรักต่อพวกเขา ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ท่านมีความรักต่อตัวของท่านเอง และเกลียดชังในตัวเขา เช่นเดียวกับในสิ่งที่ท่านเกลียดชังในตัวท่าน จงทำความดีกับผู้ที่ท่านรัก เช่นที่ท่านทำให้กับตนเอง และจงอย่ากดขี่ ดังนั้นจงอย่ารักที่จะถูกกดขี่ จงเคารพในสิทธิ์ของผู้ใดก็ตามที่เคารพท่าน ไม่ว่าเขาจะมีตำแหน่ง อายุ และยศศักดิ์ขนาดไหนก็ตาม

๕๙

• จงทำดีกับสัตว์ทั้งหลาย ไม่สมควรทรมานมันหรือให้มันบรรทุกของหนักจนเกินกำลังของมันที่จะทนทานได้

• การไม่ทำความผิดต่างๆ ยังดีเสียกว่าการไม่ทำความดี

• การทรยศคดโกง เลวกว่าการกระทำความผิดในรูปอื่นๆ

• สัตว์เดรัจฉานไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งใด ยกเว้นเรื่องของท้องที่หิวของพวกมันเท่านั้น และสัตว์ป่าที่ดุร้ายมิได้คิดถึงสิ่งใดนอกจากจะทำร้ายสัตว์อื่น

• ถามว่า จากตะวันออกไปถึงตะวันตก มันไกลกันสักขนาดไหน ท่านอิมามอะลี กล่าวตอบว่า การเดินทางของดวงอาทิตย์ในวันหนึ่ง

• ผู้ที่มีความสุข คือผู้ที่รำลึกถึงชีวิตหลังความตายอยู่เสมอๆ ผู้ที่รำลึกถึงวันแห่งการตัดสินพิพากษา

โดยผ่านการกระทำทั้งมวลของเขา ผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างพึงพอใจ และผู้ที่มีความสุขอยู่กับสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงกำหนดให้กับเขา

• ตราบเท่าที่โชคยังเข้าข้างท่านอยู่ ความบกพร่องของท่านก็จะยังคงถูกปิดบังอยู่จากสายตาของชาวโลก

• โลกที่ได้นำเสนอความรื่นเริงที่ชั่วร้ายให้กับท่าน ก็เป็นเสมือนดังอสรพิษที่มันดูนิ่มนวลน่าสัมผัส

แต่มากด้วยพิษร้ายถึงตาย ผู้คนที่โง่เขลามักถูกมันลวงล่อและถูกมันดึงดูดเข้าไปหา แต่คนฉลาดจะหลีกเลี่ยงมัน และหันห่างจากผลลัพธ์อันเป็นพิษร้ายของมัน

• ผู้ที่ได้รับความจำเริญ คือผู้ที่สยบตนเองต่อพระพักต์ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่แหล่งรายได้ของเขาบริสุทธิ์ ผู้ที่เจตนารมณ์ของเขามีเกียรติอยู่เสมอ ผู้ที่กริยาของเขาสูงส่งเสมอ ผู้ที่อุปนิสัยของเขามีความยั้งคิด

๖๐

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450