บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339921 / ดาวน์โหลด: 4959
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ความดีงามพิเศษ :

บทขอพรของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นมีความดีงามพิเศษมากมายที่ไม่มีผู้ใดเทียบได้ ท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีเกียรติคุณที่ดีเด่นเป็นพิเศษกันแต่เพียงกลุ่มเดียวสำหรับความดีงามเหล่านั้นในหมู่ประชาชาตินี้

เรื่องดุอาอ์(บทขอพร)คือลักษณะพิเศษอันมากมายอีกประการหนึ่งที่บรรดาสาวกและตาบีอีนทั้งหลายไม่มีโอกาสเทียบเทียมได้เลย แม้แต่คนเดียว อีกทั้งบรรดานักปราชญ์อื่น ๆ ในรุ่นถัดมาก็ตาม กล่าวคือ ได้มีการบันทึกดุอาอ์ของแต่ละท่านไว้มากมาย ซึ่งบรรดานักปราชญ์ของเราได้เก็บ

รวบรวมไว้นับร้อยๆ เรื่องบรรดาอิมาม(อฺ)เป็นมนุษย์ที่รู้จริงเกี่ยวกับระเบียบแบบแผนที่บ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จำเป็นจะต้องดำเนินการปฏิบัติในยามสนทนากับพระองค์ และรู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร สำหรับการถ่อมตน

การขอพึ่งพิง และตัดขาด(จากทุกสิ่งทุกอย่าง) เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ในหนังสือนี้เราได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺโดยละเอียดของท่านอิมาม(อฺ)ผ่านมาแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการบันทึกดุอาอ์บางบทบางตอนของท่าน(อฺ)ดังนี้

๑๐๑

ดุอาอ์

บทที่ 1

เป็นบทดุอาอ์บทหนึ่งของอิมามที่ 7

“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าฯขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญานตนว่า มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงศาสนาอิสลามย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้ ศาสนาย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางกฎไว้ คัมภีร์ย่อมเป็นไปตามที่

พระองค์ทรงประทานให้ไว้ คำสอนย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้

แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสิทธิอันชัดแจ้ง ความเจริญสิริมงคลของอัลลอฮฺพึงมีแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน”

“ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าฯดำรงอยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ชีวิตของข้าฯนอบน้อมต่อพระองค์ ใบหน้าของข้าฯหันสู่พระองค์ กิจการงานของข้าฯ ขอมอบหมายยังพระองค์ ร่างกายของข้าฯขอนอบน้อมยังพระองค์ กลัวเกรงพระองค์ และมุ่งหวังต่อพระองค์ ข้าฯศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ที่ทรงประทานมาแก่ศาสนทูตของพระองค์ที่ทรงส่งมา”

“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าฯเป็นคนยากจน ณ พระองค์ ขอได้ทรงโปรดประทานเครื่องยังชีพแก่ข้าฯโดยอย่าได้คำนวณ

แท้จริงพระองค์ทรงประทานเครื่องยังชีพให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์

โดยไม่มีการคำนวณ”

๑๐๒

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าฯวิงวอนขอเครื่องยังชีพที่ดีงามทั้งหลาย และละเว้นความเลวร้ายทั้งหลาย และขอให้พระองค์อภัยโทษให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความกรุณาของพระองค์ที่ทรงเป็นเจ้าของได้โปรดบันดาลให้ข้าฯได้ออกห่างจากความชั่วอันมาจากข้าฯ ด้วยความดีอันมาจากพระองค์ และขอให้พระองค์ประทานความดีอย่างมากมายที่พระองค์มิได้ประทานให้แก่บ่าวคนใดให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอความคุ้มครองให้พ้นจากทรัพย์สินที่เป็นตัวทดสอบ(ฟิตนะฮฺ)แก่ข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง พระองค์ทรงเห็นฐานะความเป็นอยู่ของข้าฯ ทรงได้ยินดุอาอ์และคำพูดของข้าฯ ทรงรู้ในความจำเป็นของข้าฯ ข้าฯขอต่อพระนามทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดทำให้ความ ต้องการทั้งหลายในชีวิตทางโลกนี้และปรโลกของข้าฯได้บรรลุผล”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าฯขอดุอาอ์ต่อพระองค์อันเป็นดุอาอ์ของบ่าวผู้ซึ่งด้อยในความสามารถเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก มีความทุกข์อย่างสาหัส มีความสามารถน้อยนิด และมีการงานที่ตกต่ำเป็นดุอาอ์ของผู้ที่ไม่มีใครช่วยเหลือได้นอกจากพระองค์ เป็นความอ่อนแอที่ไม่มีใครช่วยได้นอกจากพระองค์

๑๐๓

ข้าฯขอความดีต่าง ๆ ทั้งมวล ขอเกียรติคุณ ขอความดีความเมตตาทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดเมตตาต่อข้าฯ และให้ข้าฯพ้นจากไฟนรก”

“โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แผ่นดินอยู่เหนือน้ำ ทรงบันดาลให้ฟากฟ้าอยู่ในห้วงอากาศ

โอ้ผู้ทรงเอกะ ก่อนทุกสิ่งที่เป็นหนึ่งเดียว โอ้ ผู้ทรงเป็นหนึ่งหลังจากทุก ๆ สิ่ง โอ้ผู้ซึ่งไม่มีใครรู้ว่า พระองค์ทรงเป็นอย่างไร นอกจากพระองค์ และไม่มีใครรู้ซึ้งถึงอำนาจของพระองค์ นอกจากพระองค์ โอ้พระองค์ผู้ทรงดำรงอยู่กับกิจการงาน โอ้พระองค์ผู้ทรงให้ความช่วยเหลือ โอ้พระผู้ช่วยบรรดาผู้เดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงตอบรับคำขอของคนเดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงมีความเมตตาในโลกนี้และปรโลก เป็นพระผู้ทรงกรุณาปรานี โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ อย่าให้ข้าฯหลงผิด และอย่าชิงชังข้าฯตลอดกาล แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งการสรรเสริญยิ่ง

 โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่านเทอญ”(1)

(1) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๔

ดุอาอ์

บทที่ 2

เป็นดุอาอ์ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)หลังนมาซซุฮฺริ

ท่านมุฮัมมัด บินซุลัยมานเล่าว่า : บิดาของท่านกล่าวว่า ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้ออกเดินทางไปกับท่านอิมามอะบุลฮะซัน(อฺ) หรือมูซา บินญะอฺฟัร เมื่อท่าน(อฺ)นมาซซุฮฺริเสร็จแล้ว ท่าน(อฺ)ได้อ่านดุอฺาอ์ในขณะที่ทรุดตัวลงกราบอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยอาการเศร้าสร้อย น้ำตาหลั่งไหล ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

 “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยลิ้น ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงให้ข้าฯเป็นใบ้ก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยตา ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯตาบอดเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยหู หากพระองค์ทรงประสงค์อาจทางทำให้ข้าฯหูหนวกเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยมือ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯมือด้วนเสียก็ได้ ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยเท้า ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯขาด้วนเสียก็ได้

ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯเป็นหมันเสียก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยอวัยวะทั้งเรือนร่างที่ทรงประทานให้แก่ข้าฯ และสิ่งนี้ข้าฯไม่มีสิ่งใดๆ ตอบแทนแก่พระองค์ได้”

๑๐๕

บิดาของท่านมุฮัมมัด เล่าอีกว่า หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้นับจำนวนครั้ง ในคำที่ท่านกล่าวว่า

“อัล-อัฟว์ อัล-อัฟว์”(ขออภัย ขออภัย) ได้ 1,000 ครั้ง จากนั้นท่าน (อฺ) แนบแก้มขวาลงบนดิน แล้วข้าพเจ้าได้ยินท่าน (อฺ) กล่าวว่า

“ข้าฯล่วงเกินต่อพระองค์ด้วยความผิดของข้าฯ ข้าฯได้กระทำความชั่วและอธรรมต่อตัวของข้าฯเอง ดังนั้นได้โปรดให้อภัยแก่ข้าฯ เพราะไม่มีใครอภัยความผิดพลาดได้ นอกจากพระองค์ โอ้นายของข้าฯ โอ้นายของข้าฯ นายของข้าฯ นายของข้าฯ”

ท่าน(อฺ)ก็แนบแก้มซ้ายลงบนดิน แล้วกล่าวว่า

“โปรดให้ความเมตตาต่อผู้ทำบาป”

อ่านดังนี้สามครั้ง หลังจากนั้นท่าน(อฺ)จึงยกศีรษะขึ้น(2)

(2) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๖

ดุอฺาอ์

บทที่ 3

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของอิมามมูซา(อฺ)

“โอ้ ผู้ทรงดำรงอยู่ก่อนสิ่งทั้งหลาย โอ้ผู้ทรงได้ยินทุกเสียงสำเนียง ทั้งดังและค่อย โอ้ผู้ทรงประทานชีวิตให้หลังจากตาย ความมืดมิดอันใดย่อมไม่ครอบคลุมพระองค์เลย ภาษาอันหลากหลายย่อมไม่ทำให้พระองค์ทรงสับสน ไม่มีสิ่งใดทำให้พระองค์วุ่นวาย”

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่ทรงวุ่นวายด้วยดุอฺาอ์ของผู้ใดที่อ้อนวอนขอต่อพระองค์จากฟากฟ้า โอ้พระผู้ทรงบันดาลให้ทุกสิ่งที่ได้ยิน ทรงได้ยินได้ฟังและมองเห็น โอ้พระผู้ซึ่งไม่เคยผิดพลาด แม้จะมีการร้องขออย่างมากมาย”

“โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตในยามที่ไม่มีสิ่งใดดำรงชีวิต โดยทรงดำรงอยู่ตลอดกาล และมั่นคงถาวร โอ้พระผู้ทรงดำรงอยู่สูงสุด แต่ซ่อนเร้นจากสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยรัศมีของพระองค์ โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แสงสว่างปรากฏออกมาท่ามกลางความมืด ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ด้วย

พระนามของพระองค์ผู้ทรงเอกะ ทรงเป็นหนึ่งเดียวแห่งการพึ่งพิง โปรดประทานความเจริญแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดและอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน”

จากนั้นท่าน(อฺ)ได้วิงวอนขอในสิ่งที่ท่าน(อฺ)ต้องการ(3)

(3) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 239.

๑๐๗

ดุอฺาอ์

บทที่ 4

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

“ข้าฯขอมอบหมายตนเองยังพระองค์ ผู้ซึ่งไม่ตาย และข้าฯขอพึ่งการพิทักษ์คุ้มครอง โดยผู้ทรงเกียรติและอำนาจ ข้าฯขอความช่วยเหลือต่อผู้ทรงเกรียงไกรและมีอำนาจครอบครองข้าฯ โอ้นายของข้าฯขอยอมจำนนต่อพระองค์ ข้าฯขอมอบหมายตนต่อพระองค์ ดังนั้นขออย่าทำลายข้าฯ

ข้าฯขอพึ่งร่มเงาของพระองค์ ดังนั้นจงอย่าผลักไสข้าฯ พระองค์เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงรู้สิ่งที่ข้าฯซ่อนเร้นและเปิดเผย ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในสายตาและที่ซ่อนไว้ในจิตใจ ดังนั้นได้โปรดยับยั้งข้าฯให้พ้นจากผู้อธรรมทั้งในหมู่ญิน และหมู่มนุษย์ทั้งมวลด้วยเถิด โอ้พระผู้ทรงกรุณาปราณี ได้โปรดปกปักรักษา

ข้าฯด้วยเถิด”(4)

 (4) มะฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 300.

๑๐๘

การตอบสนองต่อบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามที่ 7

บรรดาอิมาม(อฺ)ทั้งหลายนั้นต่างใช้ชีวิตทั้งหมดในฐานะผู้ถูกกดขี่ข่มเหง ตลอดระยะเวลาการปกครองของวงศ์อุมัยยะฮฺ คนทั้งหลายคาดคิดว่าในการปกครองของสมัยวงศ์อับบาซียะฮฺสิ่งนั้นคงจะบรรเทาเบาบางลงบ้างและภัยอันตรายคงจะยกเลิกจากพวกท่าน(อฺ)ไปบ้าง ซึ่งการคาดคิดของคนทั้งหลายไม่น่าจะผิดพลาด เพราะเชื้อสายของกลุ่มทั้งสองใกล้เคียงกัน ประกอบกับว่า ราชวงศ์อับบาซียะฮฺนั้นแอบอ้างดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอิมามอฺะลี(อฺ) ธงของท่านอะบูมุสลิมอัล-คุรอซานีที่ได้เข้าไปในเมือง

คุรอซานนั้น ดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอฺะลี(อฺ)

การเข้าไปในเมืองคุรอซานนั้นก็ไม่ใช่เพราะเหตุอื่นนอกจากเพื่อสนับสนุนลูกหลานของท่านอฺะลี(อฺ)

แต่สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ในเมื่อพวกอับบาซียะฮฺได้เริ่มติดตามอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ด้วยการลอบสังหาร คุมขัง ฯลฯ จนช่วงหนึ่งในการปกครองของพวกวงศ์นี้ ยังความรุนแรงแก่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ยิ่งกว่าพวกวงศ์อุมัยยะฮฺเสียอีก

บรรดาอิมาม(อฺ)จะไม่อ่านดุอฺาอ์เพื่อขอสาปแช่งบรรดาผู้อธรรม นอกจากในกรณีที่ความอธรรมถึงขีดสุดของความรุนแรงเท่านั้น เมื่อเราได้รู้ถึงเรื่องนี้จากท่าน(อฺ) เราก็สามารถประเมินสถานการณ์ที่รุนแรงอันเกิดขึ้นแก่ท่านอิมาม(อฺ)ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องขอดุอฺาอ์สาปแช่งบุคคลที่อธรรมต่อท่าน(อฺ)

๑๐๙

ในลำดับต่อไปนี้ เราจะเสนอเรื่องดุอฺาอ์ของท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ที่ได้รับการตอบสนองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

-1-

เจ้าของหนังสือ “นะษะรุต-ตุรรุล” ได้กล่าวไว้ว่า :

 ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ)นั้น มีคนแจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่า อัล-ฮาดี วางแผนการร้ายต่อท่าน(อฺ) ท่าน(อฺ)ได้พูดกับครอบครัวและผู้ติดตามว่า

“พวกท่านมีความคิดเห็นอะไรเสนอแนะแก่ฉันบ้าง?”

คนเหล่านั้นกล่าวว่า

“เราเห็นว่า ท่านควรออกห่างจากเขา และหลบซ่อนให้พ้นไปจากเขา เพราะความชั่วร้ายของเขานั้นจะไม่ให้ความปลอดภัยแก่ท่าน”

ท่าน(อฺ)ยิ้ม แล้วกล่าวว่า

“คนโฉดคิดว่าตัวเองจะสามารถเอาชนะพระผู้อภิบาลได้ แน่นอน

ผู้ชนะที่แท้จริงย่อมชนะอยู่แล้ว”

หลังจากนั้นท่าน(อฺ)ยกมือขึ้นขอดุอฺาอ์ แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มากมายเหลือเกินแล้ว สำหรับพวกศัตรูที่มุ่งหมายทำลายข้าฯ ข่มเหงรังแกข้าฯ โดยแผนการเข่นฆ่าด้วยพิษร้ายของมันจนดวงตาของข้าฯไม่เคยหลับไหล เนื่องจากคอยระแวดระไวต่อพวกมัน ครั้นเมื่อพระองค์ทรงเห็นถึงความอ่อนแอของข้าฯ ในการปกป้องโพยภัยและความเกินกำลังที่ข้าฯจะทานทนกับความเจ็บปวดได้ ขออำนาจและอานุภาพของพระองค์ได้โปรดสลัดสิ่งนั้นออกให้พ้นจากข้าฯโดยมิใช่ด้วยความสามารถและอานุภาพของข้าฯ และจงโยนเขาลงไปสู่หลุมลึกที่พวกเขาขุดล่อข้าฯให้ตกลงไปในโลกแห่งวัตถุของเขา จนห่างไกลจากความหวังในปรโลก

๑๑๐

 มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ที่ได้ทรงกำหนดความโปรดปรานของพระองค์ที่โปรยปรายแก่ข้าฯ และพระองค์มิได้ทรงปฏิเสธความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อข้าฯ

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดลงโทษเขาด้วยอำนาจของพระองค์ โปรดพลิกแผนการของเขาออกจากข้าฯ ด้วยอานุภาพของพระองค์ โปรดบันดาลภาระอันหนักหน่วงจนเกินกำลังให้แก่เขา

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดบันดาลให้ความเป็นศัตรูนั้นกลายเป็นยาบำบัดรักษาแก่ข้าฯ

และบันดาลให้ความแค้นของข้าฯที่มีต่อเขา เป็นการอภัย โปรดประทานแก่ดุอฺาอ์ของข้าฯ ด้วยการตอบรับ และโปรดรับรองคำอุทธรณ์ของข้าฯ และโปรดให้เขาสำนึกเพียงสักเล็กน้อยกับการตอบรับต่อบ่าวของพระองค์

ผู้ถูกกดขี่ แท้จริงพระองค์ทรงมีเกียรติอันยิ่งใหญ่”

ต่อจากนั้นสมาชิกครอบครัวก็ลาจากไป ครั้นต่อมาไม่นาน คนเหล่านั้นมาชุมนุมกันเพื่ออ่านจดหมายที่มีมาถึงท่านอิมามมูซา(อฺ)แจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่ามูซา อัล-ฮาดีนั้นได้ตายเสียแล้ว(1)

(1) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 222. มุฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 29.

๑๑๑

-2-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺ ได้กล่าวว่า : ท่านศอฮิบุ้ล ฟัฎลฺ บินร่อบีอฺเล่าให้เราทราบว่า : ในคืนหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าอยู่บนที่นอนพร้อมกับภรรยาของข้าพเจ้า พอตกกลางคืนข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังที่ประตูเมือง ข้าพเจ้าจึงลุกขึ้นยืนดู

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“อาจเป็นเสียงของลมพัดก็ได้”

แต่แล้วไม่ทันไร ประตูบ้านที่ข้าพเจ้าอยู่ขณะนั้นก็เปิดออก แล้วคนชื่อ ‘มัซรูร’ก็พรวดพลาดเข้ามา พลางกล่าวว่า

“จงยอมรับคอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด”

โดยมิได้ให้สลามแก่ข้าพเจ้าแต่ประการใด ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังมาก นึกในใจว่า ‘มัซรูร’ ผู้นี้เข้ามาโดยไม่ขออนุญาตและไม่ให้สลาม ฉะนั้นย่อมไม่มีจุดประสงค์อื่นนอกจากมาฆ่า ขณะนั้น

ข้าพเจ้ามีญุนุบอยู่จึงไม่ได้ถามอะไรเขา โดยให้เขาคอยข้าพเจ้าซึ่งต้องอาบน้ำชำระร่างกายเสียก่อน

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“จงยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อย่างหนักแน่น แล้วลุกออกไปเถิด”

ข้าพเจ้าจึงลุกออกไปสวมเสื้อผ้า แล้วออกมาพร้อมกับเขาจนถึงอาคาร ข้าพเจ้าได้กล่าว

สลามท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(คอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด) ที่กำลังเอนเอกเขนกอยู่ เขารับสลาม แล้วข้าพเจ้าก็นั่งลง

เขากล่าวว่า

“ท่านกลัวมากใช่ไหม ?”

๑๑๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ใช่แล้ว โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน”

เขาปล่อยให้ข้าพเจ้าพักสงบจิตใจอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า

“จงออกไปยังคุกของเรา แล้วปล่อยมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ออกมา พร้อมกับจ่ายเงินให้กับเขาสามหมื่นดิรฮัม และให้พาหนะอีกสามชุด และให้ออกเดินทางไปจากเรา ไปที่ไหนก็ได้ตามที่เขาปรารถนา”

ข้าพเจ้าพูดกับเขาว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะปล่อยตัวมูซา บินญะอฺฟัร กระนั้นหรือ ?”

เขาตอบว่า

“ใช่แล้ว”

ข้าพเจ้าทวนคำถามถึงสามครั้ง เขาก็ตอบว่า

“ใช่แล้ว ท่านต้องการจะให้ฉันผิดคำสัญญากระนั้นหรือ ?”

ข้าพเจ้าถามว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน คำสัญญาที่ว่านั้นหมายถึงอะไร ?”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ขณะที่ข้านอนอยู่บนเตียงแห่งนี้ มีสิงโตตัวหนึ่งขึ้นมาคร่อมบนหน้าอก และขย้ำตรงคอหอยของข้า มันเป็นสิงโตตัวใหญ่ชนิดที่ข้าไม่เคยเห็นมาก่อน และมันพูดกับข้าว่า

“ท่านกักขังมูซา กาซิมด้วยกับความอธรรม”

๑๑๓

ข้าจึงพูดกับมันว่า

“ข้าจะปล่อยตัวเขาและจะมอบสิ่งของให้เขา ข้าขอทำสัญญากับ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)

มันจึงออกไปจากหน้าอกของข้า ซึ่งแทบว่าชีวิตของข้าจะปลิดออกจากร่าง”

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺได้เล่าต่อไปว่า : แล้วข้าพเจ้าก็ออกจากที่นั่น และไปพบท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ซึ่งกำลังอยู่ในคุก ข้าพเจ้าเห็นท่าน(อฺ)นมาซ ข้าพเจ้าจึงนั่งรอจนท่าน(อฺ)ให้สลาม

หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้เข้าไป แล้วกล่าวว่า

“ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(ฮารูน รอชีด) ฝากสลามมายังท่าน และแจ้งให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งมา และข้าพเจ้าก็ได้นำคำสั่งนั้นมายังท่านแล้ว”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ถึงแม้ท่านจะถูกสั่งมาให้ทำอย่างอื่น ท่านก็จงกระทำเถิด”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“หามิได้ ขอสาบานต่อสิทธิของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่าข้าพเจ้ามิได้ถูกสั่งมาให้กระทำอย่างอื่นนอกจากสิ่งนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ไม่มีความจำเป็นอันใดสำหรับข้าพเจ้าในเรื่องการมอบเสื้อผ้า ทรัพย์สิน ยานพาหนะต่างๆในเมื่อสิ่งนั้นๆ เป็นสิทธิของประชาชาติอิสลาม”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านอย่าได้ปฏิเสธเลย”

๑๑๔

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านจงกระทำในสิ่งที่ท่านต้องการเถิด”

ข้าพเจ้าได้จับมือท่านอิมาม(อฺ) แล้วนำท่าน(อฺ)ออกจากคุก จากนั้นจึงได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โปรดบอกข้าพเจ้าซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ท่านได้รับความเอื้อเฟื้อจากชายคนนี้เป็นสิทธิของข้าพเจ้าเหนือท่านที่จะต้องแสดงความยินดีกับท่าน และได้รับรางวัลจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จากผลงานอันนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันได้ฝันเห็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในคืนวันพุธที่ผ่านมา ท่าน(ศ)บอกฉันว่า

“มูซา เอ๋ย เจ้าถูกกักขังด้วยกับความอธรรม”

ฉันตอบว่า

“ใช่แล้ว ยารอซูลุลลอฮฺ”

ท่าน(ศ)กล่าวอย่างนี้สามครั้ง แล้วท่าน(ศ)พูดอีกว่า

“หวังว่าสิ่งนี้ จะเป็นการทดสอบสำหรับพวกเจ้า และเป็นความสุขชั่วระยะหนึ่ง เจ้าจงถือศีลอดในพรุ่งนี้เช้า และจงถือติดต่อทั้งวันพฤหัสและวันศุกร์ ครั้นถึงเวลาละศีลอด เจ้าจงนมาซ 12ร็อกอะฮฺ ในทุกร็อกอะฮฺนั้น

 จงอ่านอัล-ฮัมดุ 1 ครั้ง และอ่านกุลฮุวัลลอฮุ อะฮัด 12 ครั้ง ครั้นทำ

นมาซครบ 4 ร็อกอะฮฺ

๑๑๕

แล้วจงซุญูด แล้วให้อ่านดุอฺาอ์บทหนึ่ง ดังนี้ :

“โอ้ผู้ทรงชัยชนะ ผู้ทรงได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งหมด ผู้ทรงให้ชีวิตแก่กระดูกที่มันผุกร่อน หลังจากความตาย ข้าฯขอต่อพระนามของพระองค์

พระผู้ทรงยิ่งใหญ่ ขอพระองค์ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัด บ่าวของพระองค์และศาสนทูตของพระองค์ และแด่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ และโปรดได้บันดาลให้ข้าฯ ได้รับความรอดพ้นโดยเร็วพลัน”

ฉันได้กระทำอย่างนั้น แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปเหมือนที่ท่านได้เห็น(2)

(2) มะดีนะตุล-มะอาญิช หน้า 394.

คำสดุดี จากบรรดานักปราชญ์ต่ออิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)

บรรดามุสลิมทั้งหลายถึงแม้จะมีมัซฮับแตกต่างกัน แต่ก็ลงความเห็นตรงกันในเรื่องของเกียรติยศของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ตลอดทั้งยอมรับในเรื่องวิชาการ ตำแหน่งอันสูงส่ง

และความมีสถานภาพที่ใกล้ชิดต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นักปราชญ์ทั้งหลายต่างได้บันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ในตำราของพวกเขาเกี่ยวกับฮะดีษต่าง ๆ ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวถึงท่าน(อฺ)เหล่านั้น มีการอธิบายกันถึงเกียรติประวัติ จริยธรรม ความเฉลียวฉลาดและความรอบรู้ของท่าน(อฺ)เหล่านั้น

๑๑๖

ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ผนวกบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ควบคู่กับอัล-กุรอาน เช่น ในฮะดีษที่ว่าด้วย

 ‘อัษ-ษะก่อลัยนฺ’ (สิ่งสำคัญสองประการ) และที่อุปมาว่า

บุคคลเหล่านั้นเหมือนเรือของท่านนบีนูฮฺ(อฺ) ถ้าผู้ใดขึ้นเรือก็จะปลอดภัย ผู้ใดผลักไสก็จะพินาศล่มจม และเปรียบว่าคนเหล่านั้นเหมือนประตูอัล-ฮิฏเฏาะฮฺ ที่ถ้าหากใครเข้าไปก็จะปลอดภัย

อีกทั้งมีฮะดีษมากมายที่รายงานว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวถึงเกียรติคุณของท่าน(อฺ)เหล่านั้นไว้

ในบทนี้เราจะเสนอคำสดุดีของบุคคลต่างๆ ที่มีต่อท่านอิมามมูซา

 กาซิม(อฺ) ดังต่อไปนี้

1. ท่านอิมามศอดิก (อฺ) ได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิมเป็นคนรอบรู้ในกฎเกณฑ์ มีความเข้าใจจริงและรู้จักอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายจำเป็น ซึ่งเรื่องนั้นๆ คนทั้งหลายขัดแย้งกันในกิจการศาสนา เขาเป็นคนมีจริยธรรมที่ดีงาม เป็นเพื่อนบ้านที่ดี และเป็นประตูบานหนึ่งในหลายๆ ประตูที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปิดให้(1)

(1) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 234.

๑๑๗

2. ฮารูน รอชีดได้กล่าวว่า:

สำหรับมูซา กาซิมนั้น เขาคือประมุขทางศาสนาของพวกตระกูลฮาซิม(2)

(2) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 92.

เขายังได้พูดกับมะอ์มูน ผู้เป็นบุตรชายของเขาอีกว่า

“มูซา ผู้นี้คืออิมามของมนุษยชาติ เป็นข้อพิสูจน์หนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อมวลมนุษย์ และเป็นค่อลีฟะฮฺของพระองค์ในหมู่ปวงบ่าวทั้งหลายของพระองค์”(3)

(3) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 กอฟ เล่ม 3 หน้า 51.

เขาได้กล่าวต่อไปอีกว่า

“โอ้ลูกเอ๋ย มูซา กาซิมผู้นี้เป็นทายาททางความรู้วิชาการของบรรดานบี ถ้าเจ้าต้องการความรู้ที่ถูกต้อง ก็จงไปเอาจากเขาผู้นี้แหละ”(4)

(4) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 383. อะมาลี ของเชค ศ็อดดูก 307.

๑๑๘

3. มะอ์มูน กษัตริย์ในราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้กล่าวถึงอิมามมูซา กาซิม (อฺ) ว่า:

ท่านเป็นคนเคร่งครัดในการทำอิบาดะฮฺอย่างยิ่ง ใบหน้าและจมูกของท่านมีแต่การกราบพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น(5)

(5) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 93.

4. ท่านอีซา บินญะอฺฟัรได้เขียนจดหมายไปหาฮารูน รอชีดว่า:

ตลอดเวลาที่ท่านมูซา กาซิมอยู่ในคุกอย่างยาวนานนั้น ฉันไม่เคยเห็นเขาว่างเว้นจากการอิบาดะฮฺเลย ฉันได้จัดคนให้คอยฟังการขอดุอฺาอ์ของเขา ปรากฏว่าเขาไม่เคยขอดุอฺาอ์สาปแช่งท่านและฉันเลย และไม่เคยกล่าวถึงเราในทางที่ไม่ดี และไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง นอกจากการอภัยและความเมตตา(6)

(6) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก็อฟ 3/71.

5. ท่านอะบูอฺะลี อัล-คิลาล (นักปราชญ์มัซฮับฮันบะลี) ได้กล่าวว่า:

เมื่อฉันกลุ้มใจในเรื่องใด ฉันจะไปยังสุสานของท่านอิมามมูซา กาซิมเสมอเพื่อขอการตะวัซซุล แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงให้ความสะดวกในกิจการที่ฉันอยากได้เสมอ(7)

(7) ตารีค บัฆดาด เล่ม 1 หน้า 120.

๑๑๙

6. อิมามชาฟิอีได้กล่าวว่า:

สุสานของอิมามมูซา กาซิมคือสถานที่ที่มีความประเสริฐสูงส่งยิ่ง”(8)

(8) ตุฮฺฟะตุล-อาลิม เล่ม 2 หน้า 22.

7. ท่านอะบูฮาติมได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คือผู้ที่น่าเชื่อถือในด้านรายงานฮะดีษ(ษิกเกาะฮฺ) และสัจจริง และเป็นผู้นำ(อิมาม)ของประชาชาติมุสลิมทั้งหลาย(9)

 (9) ตะฮุชีบุต-ตะฮฺชีบ เล่ม 10 หน้า 240.

8. ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บินอัล-เญาซีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมได้ชื่อว่าเป็นบ่าวที่มีคุณธรรม เพราะการอิบาดะฮฺ การอิจญ์ติฮาด และดำรงนมาซในยามกลางคืน และท่านเป็นคนที่มีเกียรติที่สุภาพ เมื่อท่านได้รับข่าวคราวว่า ใครกล่าวร้ายท่าน ท่านจะตอบแทนคนนั้นด้วยทรัพย์สินเสมอ(10)

(10) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 หน้า 103.

๑๒๐

 และในความเป็นจริง การยอมรับในการมีอยู่ของการกระทำของพระเจ้า ซึ่งก็มิได้มีผลต่อการกระทำของพระองค์ หมายความว่า การเกิดขึ้นของสิ่งใดก็ตามในโลกแห่งวัตถุ จะต้องผ่านอำนาจและการอนุมัติจากพระเจ้าเสียก่อน ดังนั้น การเกิดขึ้นของต้นไม้ต้นหนึ่งต้องผ่านการเกิดขึ้นของเมล็ดพันธ์ โดยผ่านการให้น้ำ ,การได้รับอากาศที่เหมาะสม และการกระทำอื่นๆอีก และในท้ายที่สุดการกระทำต่างๆเหล่านั้น จะต้องผ่านอำนาจของพระเจ้าและการอนุมัติจากพระองค์อีกด้วย  แต่มิได้หมายความว่า อำนาจของพระเจ้านั้นมีขอบเขตจำกัด  แต่หมายถึง พลังอำนาจของพระองค์ครอบคลุมไปในทุกการกระทำในโลกแห่งวัตถุทั้งหมด

   ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ และเจตจำนงเสรีของมนุษย์

    มีคำถามหนึ่งได้ถามว่า ระหว่างความสัมพันธ์ของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์นั้น เป็นอย่างไร ซึ่งได้อธิบายไปแล้วในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำว่า ทุกการกระทำที่เกิดขึ้นในโลกแห่งวัตถุ มีความสัมพันธ์ไปยังพระเจ้า และในการกระทำของมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น การกระทำของมนุษย์ เป็น การกระทำของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้ มนุษย์ก็ไม่มีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำของเขาเองใช่หรือไม่?

สำหรับคำตอบ ก็คือ ในความเป็นจริงของการอธิบายในคำถามนี้ ด้วยกับสาเหตุของการไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงของความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับเจตจำนงเสรีของมนุษย์ จึงได้มีความคิดเห็น  ๒  ทัศนะ ด้วยกัน ดังนี้

๑๒๑

๑.ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเห็นว่า ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำขัดแย้งกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์ ดังนั้น การกระทำของมนุษย์จึงเป็นการกระทำของพระเจ้า เพราะว่า สำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อในเรื่อง การบังคับจากพระเจ้า (ญับร์)

๒.ทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ มีความเห็นว่า ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ มิได้ขัดแย้งกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์ เพราะว่า พระเจ้าได้ประทานการกระทำที่เป็นอิสระเสรีให้กับเขา ด้วยเหตุนี้ สำนักคิดมุอฺตะซิละห์ จึงมีความเชื่อในการเป็นอิสระของมนุษย์จากพระเจ้า (ตัฟวีฎ)

การเกิดขึ้นของทั้งสองทัศนะ ได้เกิดขึ้นจากการไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงของการให้ความสัมพันธ์การกระทำของพระเจ้ากับการกระทำที่มีความเป็นอิสระเสรี ซึ่งจะอธิบายในรายละเอียดต่อไป ในบทการบังคับกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์

ณ ที่นี้ จะขอกล่าวว่า บรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ซึ่งได้รับการเรียนรู้วิชาการจากลูกหลานของท่านศาสดามุฮัมหมัด (อะฮ์ลุลบัยต์) มีความเห็นความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำนั้น จะต้องอยู่คู่กับเจตจำนงเสรีของมนุษย์  แต่มิได้หมายความว่า พระเจ้ามิได้มีส่วนเกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์

๑๒๒

   เหตุผลในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ

(เตาฮีด อัฟอาลีย์)

    หลังจากที่ได้อธิบายไปแล้วในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ และได้ตอบคำถามบางคำถามไปแล้ว จะมาพิสูจน์ในเหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำว่า คือประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา โดยเริ่มต้นจากการพิจารณาอย่างละเอียดในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่สมบูรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า และความสัมพันธ์ของโลกกับพระองค์  การพิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ มีด้วยกัน  ๒ ความหมาย ดังนี้

๑. ความเป็นไปไม่ได้ในการกระทำของพระผู้เป็นเจ้าที่จะต้องมีผู้ที่ช่วยเหลือพระองค์

๒. ทุกสิ่ง มีความต้องการสิ่งที่ต้องพึ่งพา และก็มิได้มีความอิสระเสรี และทุกการกระทำต้องย้อนกลับไปหายังพระผู้เป็นเจ้า

การพิสูจน์ในความหมายแรก ก็คือ การมีความเข้าใจในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่สมบูรณ์ในพระเจ้าก็เพียงพอแล้ว ดั่งที่ได้อธิบายไปแล้วในความหมาย การมีอยู่ของคุณลักษณะที่สมบูรณ์ในพระเจ้าว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่และมีความสมบูรณ์ และไม่มีขอบเขตจำกัด และไม่มีข้อบกพร่องใดๆและไม่มีการจำกัดความในอาตมันของพระองค์

๑๒๓

กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นที่กระจ่างชัดว่า การสมมุติว่า พระเจ้ามีความต้องการ มีผู้ที่ช่วยเหลือในการกระทำ ซึ่งจะเกิดความขัดแย้งของการกระทำทั้งหลายเหล่านั้นกับความสมบูรณ์ และการไม่มีขอบเขตจำกัดของพระองค์ เพราะสติปัญญาได้บอกว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งที่มีความต้องการไปยังอีกสิ่งหนึ่งนั้น เมื่อได้เปรียบเทียบกับการมีอยู่ของสิ่งที่ไม่มีความต้องการไปยังสิ่งใด ถือว่า สิ่งนั้นมิได้มีความสมบูรณ์อยู่เลย ดังนั้น การสมมุติว่า มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้การกระทำของพระเจ้าเกิดขึ้น ก็ถือว่า มีการจำกัดขอบเขตและข้อบกพร่องในอาตมันของพระองค์ และมีความขัดแย้งกับการมีอยู่ของความสมบูรณ์ของพระองค์

การพิสูจน์ในความหมายที่สอง ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ต้องพึ่งพากับพระเจ้า สามารถกล่าวได้ว่า

๑.ได้อธิบายไปแล้วว่า พระเจ้าเป็นปฐมแห่งเหตุผลทั้งหลายและสิ่งที่ต้องพึ่งพา เป็นผลที่เกิดจากปฐมแห่งเหตุ

๒.กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ความหมายของการเป็นเหตุผล หมายถึง การมีอยู่ของผลทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยกับการมีอยู่ของเหตุ กล่าวคือ ผลของเหตุทั้งหลายมีความต้องการเหตุในการเกิดขึ้น

๓.การกระทำของสิ่งหนึ่งในความเป็นจริงก็คือ ผลที่เกิดขึ้นของสิ่งนั้น

จากการสังเกตุในความหมายทั้งสาม แสดงให้เห็นว่า เป็นที่ชัดเจนว่า สิ่งที่ต้องพึ่งพามีความต้องการไปยังสิ่งที่ไม่มีความต้องการ การพึ่งพาใดๆ และในการกระทำก็เช่นเดียวกัน ไม่มีความต้องการใดๆ และสิ่งนั้นมิได้มีความเป็นอิสระเสรี ผลที่ได้รับก็คือ การพิสูจน์ให้เห็นว่า พระเจ้ามิได้มีความต้องการความช่วยเหลือในการเกิดขึ้นของกระทำของพระองค์ ส่วนสิ่งอื่นมิได้มีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำ

๑๒๔

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีด อัฟอาลีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ

:unity of divine acts

การกระทำที่เป็นแนวตั้ง   : activity of longitudinal

การกระทำที่เป็นแนวนอน   :activity of latitudinal

ผู้กระทำโดยตรง     :actor direct

ฟาอิล บิซตัซบีบ หมายถึง ผู้กระทำโดยการใช้สื่อกลางในการสื่อสาร

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ในทัศนะของอิสลามกล่าวว่า ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ หมายถึง การกระทำของพระผู้เป็นเจ้า เป็นการกระทำที่มิได้มีผู้ที่ช่วยเหลือ และไม่มีสิ่งใดที่มีอิสระเสรีเหมือนพระองค์ และอีกความหมายหนึ่ง ก็คือ สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่มิได้มีความเป็นอิสระ และในการกระทำของสิ่งเหล่านั้น เกิดขึ้นจากความประสงค์ของพระองค์ทั้งสิ้น

๒.ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ นอกเหนือจาก ในมุมมองของโลกทรรศน์ที่มีประโยชน์กับมนุษย์แล้ว ยังมีผลต่อการปฏิบัติอีกด้วย และเป็นสาเหตุให้มนุษย์มีความศรัทธาในความเป็นเอกานุภาพได้มากยิ่งขึ้น

๓.การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ มิได้หมายถึง การปฏิเสธการกระทำของสิ่งอื่น และการปฏิเสธกฏของเหตุและผล แต่เป็นการยอมรับว่า การกระทำของสิ่งอื่นมิได้เกิดขึ้นมาโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากพระเจ้า

๑๒๕

ดังนั้น การกระทำของสิ่งอื่น เป็นการกระทำในแนวตั้ง มิใช่ในแนวนอนต่อการกระทำของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ ในระดับหนึ่ง การกระทำนั้นเกิดขึ้นด้วยกับตัวของผู้กระทำเอง และอีกระดับหนึ่งการกระทำนั้นต้องได้รับการอนุมัติจากพระเจ้า

๔.การเกิดขึ้นของการกระทำทั้งหลายในโลกแห่งธรรมชาติ ต้องมีเงื่อนไขและสาเหตุในการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น และเงื่อนไขดังกล่าว มิได้มีผลต่อการกระทำของพระเจ้า แต่เป็นการเตรียมพร้อมของโลกแห่งธรรมชาติในการยอมรับต่อการเกิดขึ้นของการกระทำนั้นว่า เกิดขึ้นจากพลังอำนาจของพระองค์ทั้งสิ้น

๕.เหตุผลทางด้านวิชาการในความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ คือ การไม่มีความต้องการของพระเจ้า บ่งบอกว่า พระองค์ไม่มีความต้องการผู้ที่ช่วยเหลือในการกระทำ ส่วนการมีความต้องการของสิ่งทั้งหลาย บ่งบอกว่า การกระทำของสิ่งเหล่านั้นต้องเกิดขึ้นมาจากพระองค์

๑๒๖

   บทที่ ๕

   ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ (เตาฮีด อัฟอาลีย์) ตอนที่สอง

   บทนำเบื้องต้น

    ในบทก่อนได้กล่าวถึงความเป็นหนึ่งเดียวและความเป็นเอกะในการกระทำของพระเจ้า และไม่มีสิ่งอื่นใดเคียงข้างพระองค์ และได้แบ่งการกระทำของพระเจ้าออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน เช่น การสร้าง ,การประทานปัจจัยยังชีพ ,การชี้นำ และการกระทำอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ มีหลายประเด็นที่สำคัญที่จะต้องอธิบายกันต่อไป

๑.ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง (เตาฮีด ฟีย์คอลิกียะฮ์)

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการประทานปัจจัยยังชีพ (เตาฮีด ฟีย์รอซิกียะฮ์)

๓.ความเป็นเอกานุภาพในการชี้นำมวลมนุษยชาติ (เตาฮีด ฟีย์ฮิดายะฮ์)

   ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง(เตาฮีด ฟีย์คอลิกียะฮ์)

    ความเป็นเอกะในการสร้างของพระผู้เป็นเจ้า เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งเพียงองค์เดียวเท่านั้น และการสร้างของสิ่งอื่นๆเกิดขึ้นได้ด้วยกับอำนาจของพระองค์หรือด้วยกับการอนุมัติจากพลังอำนาจและความประสงค์ของพระองค์

ดังนั้น การสร้างของสิ่งอื่นๆมิได้มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง เมื่อได้สังเกตและพินิจพิจารณาอย่างละเอียดในสรรพสิ่งที่มีอยู่ในโลก และได้ให้มีความสัมพันธ์ไปยังพระเจ้า จะเห็นได้ว่า การกระทำของสิ่งทั้งหลาย คือ ผลแห่งเหตุของพระองค์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผล ในสภาพใดก็ตาม ผลโดยตรงหรือผลโดยใช้สื่อ เพราะฉะนั้น เมื่อทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ผลของพระเจ้า และพระองค์ เป็นปฐมเหตุของทุกสรรพสิ่งในโลก และเรียกพระเจ้าว่า สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และสิ่งอื่น ถูกเรียกว่า สิ่งสามารถจะมีอยู่ก็ได้ไม่มีก็ได้  ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าคือ ผู้ทรงสร้างเพียงองค์เดียว และทุกสรรพสิ่งในโลก เป็นสิ่งที่ถูกสร้างของพระองค์ ซึ่งในการอธิบายถึงความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ ได้กล่าวไปแล้วว่า การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพใน กริยา การกระทำ มิได้ปฏิเสธและไม่ยอมรับในการเป็นผู้สร้างของสรรพสิ่ง แต่ทว่า ในการสร้างของสิ่งเหล่านั้น จะเกิดขึ้นได้ด้วยกับอำนาจและการอนุมัติของพระเจ้าเท่านั้น ดังนั้น การกระทำทั้งหลายของสิ่งทั้งหลาย ก็มิได้มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

   ความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล

    ความเป็นเอกะในการอภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า  เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ

การเป็นผู้อภิบาลในความหมายทางภาษา มาจากคำว่า “ร็อบ” ในภาษาอาหรับ หมายถึง การบริหาร ,การอบรมสั่งสอน และการดูแลเลี้ยงดู และอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง การตัดสินใจที่มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

๑๒๗

จากความหมายข้างต้นคำว่า รุบูบียะฮ์ ซึ่งเป็นคุณศัพท์ หมายถึง ความเป็นผู้อภิบาลบริหาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการแสดงความเป็นเจ้าของ เพราะว่า การแสดงความเป็นเจ้าของ ต้องมีความเป็นเจ้าของในสิ่งใดสิ่งหนึ่งและมีความสามารถในการบริหารการงานใดการงานหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ คำว่า ร็อบ จึงถูกนำมาใช้ใน การแสดงความเป็นเจ้าของในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นกัน

เมื่อได้เข้าใจในความหมายของความเป็นผู้อภิบาลแล้ว ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล หมายถึง พระเจ้า เป็นผู้อภิบาลเพียงองค์เดียวอย่างแท้จริงเท่านั้น ที่มีอำนาจสูงสุดในบริหารโลก โดยที่ไม่ต้องการผู้ช่วยเหลือ ส่วนสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นมัคลูก (สิ่งถูกสร้าง) ของพระองค์ทั้งสิ้น ที่มิได้มีความเป็นอิสระเสรีในการบริหาร

   เหตุผลการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล

    เมื่อได้เข้าใจในความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาลแล้ว จะมาอธิบายในเหตุผลต่างๆที่ใช้ในการพิสูจน์ในหลักความเป็นเอกานุภาพนี้ ซึ่งมีดังนี้

เหตุผลที่หนึ่ง

 การมีอำนาจบริหารในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นจะต้องมีความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงและการเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงของสิ่งนั้น จะต้องมีความเป็นผู้สร้าง เพราะการเกิดขึ้นของสิ่งที่ถูกสร้าง เป็นที่รู้กันดีว่า จะต้องมีผู้ที่สร้างสิ่งนั้นขึ้นมา ดังนั้นอำนาจการบริหารโลก เป็นกรรมสิทธิของพระเจ้า เพราะว่าพระองค์ คือ ผู้สร้างโลกเพียงองค์เดียวเท่านั้น

๑๒๘

 

เหตุผลที่สอง

ความหมายของการเป็นผู้บริหาร หมายถึง การมีอำนาจการบริหารในการงานใดการงานหนึ่ง ถ้าสมมุติว่า โลกนี้มีพระเจ้าหลายองค์ ในการบริหารกิจการงานต่างๆและมีความเป็นอิสระเสรีในการตัดสินใจแต่ละองค์แล้ว จะต้องมีการกำหนดกฏและระเบียบที่เฉพาะเจาะจงกับพระเจ้าทั้งหลาย ซึ่งในความเป็นจริง จะเห็นได้ว่า โลกนี้มีระบบและระเบียบที่มั่นคง และเป็นการปกครองในระบอบเดียวที่ถูกกำหนดจากพระเจ้าเพียงองค์เดียว ดังนั้น ผู้ที่มีอำนาจการบริหารในโลกอย่างแท้จริง คือ พระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น

   ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ ในอัล กุรอาน และวจนะ

    อัล กุรอานและวจนะได้กล่าวเน้นย้ำ ในประเภทต่างๆของความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ ซึ่งมีโองการมากมายที่กล่าวถึง หลักการนี้ และในวจนะทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน มีดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง ในทัศนะอัล กุรอาน

ความเป็นเอกะในการสร้างของพระผู้เป็นเจ้า เป็นหลักการหนึ่งที่อัลกุรอานได้เน้นย้ำและกล่าวไว้ในโองการต่างๆมากมาย และ เป็นหลักการหนึ่งที่มนุษย์มีความเชื่อว่า พระเจ้า เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายเพียงองค์เดียว และสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ 

๑๒๙

อัล กุรอาน กล่าวว่า

“จงประกาศเถิด อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่ง พระองค์ผู้ทรงเอกะ ผู้ทรงพิชิต”

( บทอัรเราะด์ โองการที่ ๑๖ )

 “อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้สร้างทุกสิ่ง และพระองค์ทรงเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองทุกสิ่ง”

(บทอัซซุมัร โองการที่ ๖๒ )

“นั่นคืออัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลของสูเจ้า พระองค์ทรงสร้างทุกสิ่ง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น”

(บทอัลฆอฟิร โองการที่ ๖๒ )

จากโองการเหล่านี้ ได้กล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์เป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่งและโดยใช้คำว่า ชัยอ์( شی ء ) แปลว่า สิ่งของ หมายถึงได้รวมในทุกสิ่งและทุกอย่าง เพื่อที่จะอธิบายให้เห็นถึงความสูงส่งในการสร้างของพระเจ้า

และอัล กุรอาน ได้ถามกับมนุษย์ถึงผู้สร้างเขา ว่า

 “จะมีพระผู้ทรงสร้างใดนอกจากอัลลอฮ์ กระนั้นหรือ?ที่จะประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าจากฟากฟ้าและแผ่นดิน”(บทอัลฟาฏิร โองการที่ ๓ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าได้ถามมนุษย์ถึง ผู้สร้างของเขาว่า จะมีผู้สร้างที่นอกเหนือจากอัลลอฮ์ พระเจ้าเพียงองค์เดียวกระนั้นหรือ?

คำตอบก็คือ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ เท่านั้นดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง เป็นหลักการหนึ่งที่สำคัญที่ถูกกล่าวไว้ใน

อัล กุรอาน

๑๓๐

และอีกโองการหนึ่งที่ได้กล่าวถึง บรรดาพวกตั้งภาคีในคาบมหาสมุทรอาหรับ ซึ่งพวกเขาก็รู้ดีว่า อัลลอฮ์ คือ พระเจ้า ผู้สร้างเพียงองค์เดียว แต่พวกเขามีความสงสัยในการเป็นผู้อภิบาลของพระองค์

ตัวอย่างเช่น โองการที่กล่าวว่า

“และถ้าเจ้าถามพวกเขา ใครคือผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินและเป็นผู้ที่ทำให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นประโยชน์ แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า อัลลอฮ์แล้วทำไมเล่าพวกเขาจึงหันเหออกไปทางอื่น” ( บทอังกะบูต โองการที่ ๖ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า บรรดาพวกตั้งภาคีและด้วยกับสัญชาตญาณดั้งเดิมของพวกเขา และจากคำสอนที่เหลืออยู่ของบรรดาศาสดา ทำให้พวกเขาได้ยอมรับในสิ่งที่บูชาว่า สิ่งนั้น (เจว็ด) มิได้เป็นผู้สร้างอย่างแท้จริง แต่ทว่าสิ่งเหล่านั้นและสิ่งอื่นๆล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างของพระเจ้า

และอัล กุรอานได้กล่าวถึง การสร้างของสิ่งอื่นๆ ว่า อยู่ภายใต้ความประสงค์ของพระเจ้า ตัวอย่างเช่น มุอ์ญิซาต(ปาฏิหาริย์ของศาสดาอีซา)

อัล กุรอาน กล่าวว่า

“และขณะเมื่อเจ้า(อีซา)ได้ปั้นรูปนกจากดินด้วยกับการอนุมัติจากฉัน แล้วเจ้าได้เป่าเข้าไปในรูปนกนั้น ดังนั้นมันก็ได้กลายเป็นนกด้วยกับการอนุมัติจากฉัน” (บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๑๑๐ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ปาฏิหาริย์หนึ่งของศาสดาอีซา คือ การปั้นนกจากดินด้วยตัวของเขาเอง และในโองการนี้ได้ใช้คำว่า บิอิซนีย์ (باذنی ) ซ้ำทั้งสองครั้งสองคราวด้วยกัน ซึ่งหมายความว่า

๑๓๑

 “ด้วยกับการอนุมัติจากฉัน (พระเจ้า)” ดังนั้น การสร้างของศาสดาอีซาจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อ จะต้องอยู่ภายใต้การอนุมัติจากพระเจ้าเท่านั้น  อัล กุรอานยังได้อธิบายให้เห็นถึง ความเป็นวิทยปัญญาของพระเจ้า ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ให้อำนาจกับสิ่งถูกสร้างของพระองค์ในการสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาลในทัศนะของอัล กุรอาน

   ความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล

(เตาฮีด รุบูบีย์) ในทัศนะของอัล กุรอาน

    ในบทก่อนได้อธิบายในความหมายของการเป็นผู้อภิบาลไปแล้วว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้อภิบาลที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารทุกสรรพสิ่ง ส่วนสิ่งอื่นๆก็มีอำนาจในการบริหารเช่นกัน แต่การบริหารของสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยกับอำนาจและการอนุมัติของพระเจ้าเท่านั้น และในทางตรงกันข้าม การตั้งภาคีในการอภิบาล มีความหมายว่า มนุษย์ได้ยกย่องเอาสิ่งอื่นไปเคียบเคียงกับพระเจ้าในสภาพที่มีความเป็นอิสระในตัวเอง

อัล กุรอานได้กล่าวเน้นย้ำในความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล จากโองการทั้งหลายที่ได้กล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้อภิบาลของทุกสรรพสิ่ง และคุณลักษณะประการหนึ่งของพระองค์ คือ การเป็นผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ได้ถูกกล่าวไว้ในอัล  กุรอานหลายโองการด้วยกันเกี่ยวกับพระเจ้า ซึ่งโองการต่างๆเหล่านั้นต้องการที่จะบอกว่า ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กหรือสิ่งใหญ่ จะเป็นมนุษย์หรือสิงสาราสัตว์ และสิ่งอื่นๆนั้นล้วนอยู่ในการอภิบาล และการบริหารจากพระองค์ทั้งสิ้น

๑๓๒

 ดังโองการที่กล่าวว่า พระเจ้าทรงตรัสกับศาสดาของพระองค์ว่า พระองค์ทรงเป็นพระผู้อภิบาลทั้งชั้นฟ้าและแผ่นดิน

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด ใครคือพระเจ้าแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน ? จงกล่าวเถิด อัลลอฮ์”

(บทอัรเราะด์ โองการที่ ๑๖ )

นอกเหนือจาก พระเจ้าทรงเป็นพระผู้อภิบาลแห่งชั้นฟ้าและแผ่นดินแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นผู้อภิบาลแห่งทุกๆสรรพสิ่งด้วย

อัล กุรอานยังกล่าวว่า

 “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า อื่นจากอัลลอฮ์กระนั้นหรือ ที่ฉันจะแสวงหาพระเจ้า ? ทั้ง ๆ ที่พระองค์นั้นเป็นพระเจ้าของทุกสิ่ง” (บทอัลอันอาม โองการที่๑๖๔)

และอีกโองการหนึ่งที่ได้กล่าวเน้นย้ำใน ความเป็นเอกะและหนึ่งเดียวของพระเจ้า และการเป็นผู้อภิบาลของมวลมนุษย์ทั้งหลายและไม่มีมนุษย์ใดที่จะออกห่างจากอำนาจของพระองค์ได้

อัล กุรอานกล่าวว่า

“พวกท่านเคารพบูชาเจว็ดและทอดทิ้งผู้ทรงเลิศยิ่งแห่งมวลผู้สร้างกระนั้นหรือ”

 “อัลลอฮ์คือ พระผู้อภิบาลของพวกท่านและบรรพบุรุษก่อนหน้าพวกท่าน”

(บทอัศศอฟฟาต โองการที่๑๒๕-๑๒๖ )

เพราะฉะนั้น ในอัลกุรอานได้กล่าวไว้อย่างกระจ่างชัดแล้วว่า ไม่มีสิ่งใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของพระเจ้า

๑๓๓

   ข้อพิพาทของบรรดาศาสดาในความเป็นเอกานุภาพการอภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า

    การมีความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ เป็นสาเหตุทำให้เกิดการโต้แย้งและข้อพิพาทระหว่างบรรดาศาสดากับพวกมุชริก(พวกบูชาเจว็ด) เช่น ในสมัยของศาสดายูซุฟ ซึ่งในอัล กุรอานได้กล่าวเรื่องของท่านว่า

“พระเจ้าทั้งหลายดีกว่าพระองค์อัลลอฮ์เพียงองค์เดียวกระนั้นหรือ” (บทยูซุฟ โองการที่ ๓๙)

และอัล กุรอานยังได้กล่าวถึง วีรบุรุษแห่งความเป็นเอกานุภาพ นั่นคือ ศาสดาอิบรอฮีม จากการโต้แย้งกับกษัตริย์นัมรูด(ผู้ปกครองในสมัยนั้น)เกี่ยวกับหลักความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล

อัล กุรอานกล่าวอีกว่า

 “เจ้าไม่รู้หรือ เกี่ยวกับ (ประวัติของกษัตริย์นัมรูด) ผู้โต้เถียงกับอิบรอฮีมในเรื่องผู้อภิบาลของเขา ซึ่งอัลลอฮ์ได้มอบอำนาจทางอณาจักร (บาบิโลน) แก่เขา เมื่ออิบรอฮีมได้กล่าวว่า พระผู้ทรงอภิบาลของฉัน ทรงประทานชีวิตและทรงประทานความตาย (แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์) เขา (นัมรูด) กล่าวว่า ฉันเองก็ให้ชีวิตและให้ความตายได้ อิบรอฮีมกล่าวว่า แท้จริงอัลลอฮ์สามารถนำดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันออกได้ พลัน (นัมรูด) ผู้เนรคุณก็งงงัน (เพราะตอบไม่ถูก) และอัลลอฮ์จะไม่ทรงชี้นำแก่กลุ่มชนที่ฉ้อฉล”

 (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๒๕๘)

๑๓๔

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า กษัตริย์นัมรูดยอมรับว่า อัลลอฮ์ คือ หนึ่งในพระผู้อภิบาลทั้งหลาย และเขาก็อ้างตนว่าเป็นพระเจ้าด้วย ศาสดาอิบรอฮีมต้องการที่จะบอกกับนัมรูดว่า เจ้ามิได้เป็นพระเจ้าเหมือนอย่างที่เจ้าพูดหรอก เพราะว่าเจ้าไม่ได้มีคุณลักษณะของพระองค์อยู่เลย นั่นก็คือ การให้ชีวิตและให้ความตาย แต่เมื่อนัมรูดได้ยินเช่นนั้นก็พูดกับศาสดาอิบรอฮีมว่า ฉันมีความสามารถให้ชีวิตและให้ความตายได้เหมือนกัน หลังจากนั้น ได้สั่งทหารให้นำนักโทษมาสองคน และได้ปล่อยคนหนึ่งให้เป็นอิสระและได้สังหารอีกคนหนึ่ง พร้อมกับบอกศาสดาอิบรอฮีมว่า ฉันได้ให้ชีวิตและให้ความตายแล้ว แต่ด้วยกับการไม่เข้าใจในความหมายของการให้ชีวิตและให้ความตาย เขาจึงเข้าใจว่า เขาเป็นผู้ให้ชีวิตและให้ความตายเหมือนกับพระเจ้า ดังนั้น เมื่ออิบรอฮีมได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวขึ้นว่า อีกหนึ่งในคุณลักษณะของผู้อภิบาล คือ การทำให้ดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันออก ถ้าเจ้าคิดว่าเจ้าเป็นพระผู้อภิบาลจริง ก็ทำให้ดวงอาทิตย์มาจากทิศตะวันออกสิ เมื่อนัมรูดได้ยินคำกล่าวนั้น เขาก็งุ่นงง เพราะไม่มีความสามารถที่จะทำได้

ดังนั้น มาตรฐานของการโต้แย้งและการวิพากษ์ของศาสดาอิบรอฮีม คือ การสมมุติว่า สิ่งที่มิใช่พระเจ้านั้นมีความเป็นผู้อภิบาลและเมื่อเป็นเช่นนั้น จะต้องมีความสามารถในการบริหารกิจการงานต่างๆของโลกได้ ในขณะเดียวกัน พระเจ้าจอมปลอมทั้งหลายนั้นก็มิได้มีความสามารถกระทำการงานเหล่านั้นได้

๑๓๕

 

ในโองการอื่นๆของอัลกุรอาน ยังได้กล่าวถึง การโต้แย้งของศาสดาอิบรอฮีมกับบรรดาพวกบูชาดวงดาว และวิธีการโต้แย้งของเขาก็คือ ในตอนแรกเขามีความเชื่อเหมือนกับพวกเหล่านั้น หลังจากนั้นก็ยกเหตุผลมาพิสูจน์ว่า แท้จริง ความเชื่อเช่นนั้น ไม่ถูกต้องและมีความขัดแย้งกับหลักการของศาสนา

ในบทอัลอันอาม โองการที่ ๗๖-๗๙

“ครั้นเมื่อกลางคืนปกคลุมเขา เขาได้เห็นดาวดวงหนึ่ง เขากล่าวว่า นี่คือพระเจ้าของฉัน แต่เมื่อมันลับหายไป เขาก็กล่าวว่า ฉันไม่ชอบบรรดาสิ่งที่ลับหายไป
ครั้นเมื่อเขาเห็นดวงจันทร์กำลังขึ้น เขาก็กล่าวว่า นี่คือพระเจ้าของฉัน แต่เมื่อมันลับหายไป เขาก็กล่าวว่า ถ้าพระเจ้าของฉันมิได้ทรงชี้นำฉันแล้ว แน่นอนฉันก็จะกลายเป็นคนหนึ่งในกลุ่มชนที่หลงผิด ครั้นเมื่อเขาเห็นดวงอาทิตย์กำลังขึ้น เขาก็กล่าวว่า นี่แหละคือ พระเจ้าของฉัน นี่แหละมันใหญ่กว่า แต่เมื่อมันได้ลับหายไป เขาก็กล่าวว่า โอ้กลุ่มชนของฉัน! แท้จริงฉันขอปลีกตัวออกจากสิ่งที่พวกท่านให้มีภาคีขึ้น (แก่อัลลอฮ์)
แท้จริง ข้าฯพระองค์ขอผินหน้าของข้าฯพระองค์แด่ผู้ที่ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน ในฐานะผู้ใฝ่หาความจริง ผู้สวามิภักดิ์ และข้าฯพระองค์มิใช่คนหนึ่งในหมู่ผู้ให้มีภาคีขึ้น”

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า มีข้อคิดในด้วยกันหลายข้อคิด ดังนี้

๑.ประโยคที่กล่าวว่า ฉันไม่ชอบในสิ่งที่ลับหายไป บ่งบอกถึง สิ่งที่ลับหายไป ไม่มีความสามารถที่จะเป็นพระเจ้าได้ เพราะว่าความเป็นพระเจ้านั้นจะต้องมีอยู่ตลอด ไม่ใช่ว่ามีอยู่ชั่วขณะหนึ่งแล้วไม่มีอยู่อีกเลย

๑๓๖

๒.คำกล่าวของศาสดาอิบรอฮีมที่ได้กล่าวว่า ฉันไม่ชอบในสิ่งที่ลับหายไป เพื่อที่จะปฏิเสธความเชื่อของพวกบูชาดวงดาวที่พวกเขาเชื่อว่า หมู่ดวงดาวทั้งหลายนั้นเป็นพระเจ้า และเป็นการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างความรักกับความเป็นพระเจ้าและความเป็นผู้อภิบาลที่ต้องอยู่คู่กัน

   เหตุผลในหลักความเป็นเอกานุภาพการอภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า

 

    ความเป็นเอกานุภาพ และประเภทต่างๆ เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ดังนั้น ความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของหลักความเป็นเอกานุภาพ มิได้มีความขัดแย้งกับการใช้เหตุผลในหลักความเป็นเอกานุภาพ  ซึ่งเหตุผลที่ได้รับจากอัลกุรอานนั้น เป็นเหตุผลที่ดีที่สุด และหนึ่งในโองการทั้งหลายที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้กล่าวใน เหตุผลในหลักความเป็นเอกานุภาพในการอภิบาล คือ 

หากในชั้นฟ้าและแผ่นดินมีพระเจ้าหลายองค์ นอกจากอัลลอฮ์แล้ว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างแน่นอน อัลลอฮ์พระเจ้าแห่งบัลลังก์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาเสกสรรปั้นแต่งขึ้น

  (บทอัลอัมบิยาอ์ โองการที่๒๒)

การอธิบายในโองการนี้ มีทัศนะความเห็นที่แตกต่างกันในหมู่บรรดานักอรรถาธิบายอัล กุรอาน และโองการนี้ได้กล่าวถึงประเภทใดของความเป็นเอกานุภาพ

บางคนได้กล่าวว่า โองการนี้ได้กล่าวถึงความเป็นเอกานุภาพในความเป็นพระเจ้า

และบางคนกล่าวว่า โองการนี้ได้กล่าวถึงความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล

เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล ที่ได้รับจากโองการนี้ คือ

หากว่าในโลกนี้มีพระเจ้าหลายองค์แล้ว จะไม่เกิดความเป็นระบบและระเบียบที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน แต่ทว่าในโลกนี้ มีความเป็นระบบและระเบียบอยู่ ดังนั้นในโลกนี้ จึงมีพระเจ้าเพียงองค์เดียว

การอธิบายในเหตุผลนี้ จะกล่าวได้ว่า หากสมมุติว่าโลกนี้มีพระเจ้าอยู่สององค์ ดังนั้นจะต้องมีสองระบอบการปกครองจากทั้งสององค์ ซึ่งจะต้องมีความเป็นอิสระเสรีในแต่ละองค์ และมีความสามารถจะกระทำอะไรก็ได้ตามความปรารถนาของตน และเมื่อเป็นเช่นนั้น จะเห็นได้ว่า โลกนี้จะมีแต่ความวุ่นวาย และไม่มีระบบและระเบียบ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีผู้บริหารหลายคน บ่งบอกถึงการมีความขัดแย้งกันในการบริหาร และการมีความขัดแย้งกันในการบริหาร ก็มีความแตกต่างกับความเป็นระบบและระเบียบและความเป็นหนึ่งเดียวในการบริหาร

รายงานจากฮิชาม บิน ฮะกัม ได้ถามท่านอิมามซอดิกถึงเหตุผลของความเป็นเอกะและหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า มีเหตุผลอะไรบ้าง?

อิมามได้ตอบว่า

 “ เหตุผลก็คือ ความเป็นหนึ่งเดียวในการบริหาร และความสมบูรณ์ของการสร้าง” ดังที่อัลลอฮ์ได้ตรัสว่า  “หากว่าในชั้นฟ้าและแผ่นดินมีพระเจ้าหลายองค์ นอกจากอัลลอฮ์แล้วละก็จะเกิดความเสียหายอย่างแน่นอน”

 (อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓๖ วจนะที่ ๒ )

๑๓๗

รายงานจากอิมามซอดิก ว่า

 “ครั้นเมื่อเราได้เห็นการสร้างที่มีระบบระเบียบ การเคลื่อนไหวของดวงดาว การมาของกลางวันและกลางคืน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ บ่งบอกถึงการมีอยู่ของผู้บริหารเพียงคนเดียว”

 (อัตเตาฮีด อํศศอดูก บาบที่ ๓๖ วจนะที่ ๑ )

   การบริหารการงานของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นอยู่กับการอนุมัติของผู้สร้าง

    ดั่งที่ได้กล่าวแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ มิได้หมายความว่า เป็นการปฏิเสธการกระทำของสิ่งที่ถูกสร้าง (มัคลูก) ของพระเจ้า แต่ได้หมายถึง การกระทำของสิ่งที่ถูกสร้างต้องขื้นอยู่กับการอนุมัติและความประสงค์ของพระองค์

ตัวอย่างเช่นในอัล กุรอานที่ได้กล่าวถึง การกระทำของมวลเทวทูต

“ขอสาบานด้วยเทวทูตผู้บริหารกิจการ” (บทอันนาซีอาต โองการที่ ๕)

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า การบริหารงานของเทวทูตทั้งหลายก็ขึ้นอยู่กับการอนุมัติของพระเจ้าทั้งสิ้น

และในบางโองการได้กล่าวในทำนองเดียวกันนี้ เช่น การกระทำหนึ่งของพระเจ้า คือ การให้ปัจจัยยังชีพและได้ให้ความสัมพันธ์นี้ไปยังการกระทำของมนุษย์

๑๓๘

อัล กุรอานกล่าวว่า

“และไม่มีสัตว์สี่เท้าใดในแผ่นดินนอกจากมันได้รับปัจจัยยังชีพจากอัลลอฮ์เท่านั้น”

 (บทฮูด โองการที่ ๖)

อัล กุรอานยังได้กล่าวถึง การเลี้ยงดูและจัดหาเครื่องนุ่งห่ม เป็นหน้าที่ของสามีที่เป็นผู้จัดหา

“และเป็นหน้าที่ของสามี จะต้องให้การเลี้ยงดูและเครื่องนุ่งห่มโดยมีคุณธรรมความดี”

 (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๒๓๓)

จากโองการทั้งหลายของอัลกุรอาน แสดงให้เห็นว่า การกระทำทั้งหลายของมนุษย์และสรรพสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับการได้รับอนุมัติและความประสงค์ของพระเจ้า

๑๓๙

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีด ฟีย์ คอลิกียะฮ์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการสร้างสรรของพระผู้เป็นเจ้า

เตาฮีด ฟีย์ รุบูบียะฮ์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในความเป็นพระผู้อภิบาลของพระผู้เป็นเจ้า

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำ แบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน เช่น ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง ,การอภิบาล ,การบริหาร และการชี้นำ ฯลฯ

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่งเพียงองค์เดียว

๓. พระเจ้า เป็นสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ และสิ่งอื่นๆเป็นสิ่งสามารถจะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีก็ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งอื่นจึงเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือโดยการใช้สื่อก็ตาม

๔.ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระเจ้าเป็นผู้อภิบาลมีอำนาจการบริหารเพียงองค์เดียว และพระองค์ไม่ต้องการผู้ช่วยเหลือ แต่สิ่งอื่นนั้นต้องได้รับการอนุมัติจากพระองค์จึงจะมีอำนาจการบริหารในการงานเป็นของตนเอง

๕.ความเป็นผู้อภิบาลที่แท้จริง ต้องเป็นแสดงความเป็นเจ้าของในสิ่งนั้นๆ

ในขณะเดียวกัน พระเจ้า เป็นผู้สร้างและเป็นผู้อภิบาลเพียงองค์เดียว

การใช้เหตุผลพิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาลก็มีความเป็นไปได้

๑๔๐

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450