บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339709 / ดาวน์โหลด: 4958
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

๖.หนึ่งในเหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในการเป็รผู้อภิบาล คือ ความเป็นระบบและระเบียบของโลก ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การมีอยู่ของโลกที่มีระบบและระเบียบ บ่งบอกถึง การมีอยู่ของผู้ที่ให้ความเป็นระบบและระเบียบแก่โลก และต้องมีระบอบเดียว ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า จะต้องมีผู้ที่บริหารเพียงองค์เดียว นั่นคือ พระเจ้า พระองค์เป็นผู้บริหารการงานต่างๆเพียงองค์เดียว

๗.โองการต่างๆของอัล กุรอานได้กล่าวเน้นย้ำในความเป็นสร้างของพระเจ้า และพระองค์เป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง และนี่คือ ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง

๘.อัล กุรอานได้เน้นย้ำอย่างกระจ่างชัดแล้วว่า บรรดาพวกตั้งภาคีทั้งหลายได้ยอมรับในความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง แต่พวกเขาไม่ยอมรับในความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล

๙.อัล กุรอานได้เน้นย้ำว่า การมีการสร้างของสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจาก ความเป็นเอกานุภาพในการสร้างของพระเจ้าแล้ว สิ่งอื่นก็มีความสามารถในการสร้างได้เช่นกัน แต่ด้วยกับการอนุมัติจากพระองค์เท่านั้น ดั่งตัวอย่างของศาสดาอีซา(เยซู) ปาฏิหาริย์หนึ่งของท่าน คือ การปั้นนกจากดินด้วยกับการอนุมัติจากพระเจ้า

๑๐.การพิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล ก็คือ การโต้แย้งและข้อพิพาทระหว่างบรรดาศาสดาทั้งหลายกับพวกปฏิเสธ ตัวอย่างเช่น ในสมัยของศาสดาอิบรอฮีมกับกษัตริย์นัมรูดและพวกบูชาหมู่ดาวนพเคราะห์ทั้งหลาย

๑๔๑

๑๑.อัล กุรอานจากโองการที่ ๒๒ บทอัลอัมบิยาอ์ ได้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล และการมีระบอบปกครองแบบเดียวในโลก แสดงให้เห็นว่า มีความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล และเช่นกัน ยังมีวจนะอื่นๆอีกมากมายที่ได้กล่าวเน้นย้ำในหลักการนี้

๑๔๒

   บทที่ ๖

   ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบและการปกครอง –ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า

 (เตาฮีด ตัชรีอียฺและฮากิมีย์ –เตาฮีด อุลูฮียฺ)

   ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง

 (เตาฮีด ตัชรีอียฺและฮากิมีย์)

    ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ซึ่งก็ได้รวมอยู่ในประเภทของความเป็นเอกานุภาพในการบริหาร เป็นที่รู้กันดีว่า มนุษย์มีความต้องการ การกำหนดกฏและระเบียบในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้น การกำหนดกฏหรือบทบัญญัติ จะต้องมีผู้ที่กำหนดกฏต่างๆและบทบัญญัติ

ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ หมายถึง การมีความเชื่อว่าพระเจ้า เป็นผู้ที่กำหนดกฏระเบียบเพียงองค์เดียว โดยที่ไม่ต้องการ การช่วยเหลือใดๆ ดังนั้น การกำหนดกฏระเบียบของพระเจ้าด้วยกับอาตมันของพระองค์ โดยถือว่าเป็นการกระทำหนึ่งของพระองค์

๑๔๓

การกำหนดกฏระเบียบของสิ่งอื่นๆก็ขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากพระองค์ ส่วนการแสดงความเป็นเจ้าของใน มนุษย์ ทรัพย์สิน และการกระทำทั้งหลายของเขา ก็ถือว่า เป็นการกระทำของพระเจ้าด้วยเหมือนกัน ซึ่งเห็นได้ว่า พระเจ้าคือ ผู้ทรงกรรมสิทธิ์และเป็นผู้ปกครองที่แท้จริง ดังนั้น อิสลามจึงมีความเชื่อว่า พระเจ้า เป็นผู้กำหนดกฏระเบียบแต่เพียงผู้เดียว และสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีสิทธิ์ในการกำหนดกฏระเบียบ นอกเหนือจาก เขาจะต้องได้รับการอนุมัติจากพระเจ้าเสียก่อน เพราะฉะนั้น มิได้หมายความว่า มนุษย์ไม่มีสิทธิ์ในการกำหนดกฏระเบียบ แต่การกำหนดกฏของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากพระองค์

   พื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง

    การพิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพประเภทนี้ มีเหตุผลอยู่มากมายที่ยืนยันได้จากการใช้เหตุผลทางสติปัญญา 

ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง เป็นชนิดหนึ่งของการบริหารกิจการของมนุษย์ และในความเป็นเอกานาภาพในการบริหาร ได้กล่าวไปแล้วว่า ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหาร คือ พระเจ้าเพียงองค์เดียว ดังนั้น การบริหารกิจการของมนุษย์ เช่น การกำหนดกฏ และการปกครอง ถือว่า เป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า

๑๔๔

 ส่วนสรรพสิ่งนั้น ไม่มีอำนาจในการกำหนดกฏเกณฑ์ เพราะว่า มนุษย์ไม่มีการบริหารที่เป็นอิสระเสรีในตนเอง จึงไม่มีสิทธิ์ในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครองได้ด้วยตัวของเขาเอง

๒.การวางกฏเกณฑ์ และการกำหนดบทบัญญัติ ขึ้นอยู่กับความจำเป็น และการมีขอบเขตจำกัดในความเป็นอิสระเสรีต่อการใช้กฏต่างๆ และการปกครองก็เช่นเดียวกัน ซึ่งมนุษย์มิได้มีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำของตนเอง จึงไม่มีความสามารถที่จะกำหนดบทบัญญัติขึ้นมาเองได้ ดังนั้น การมีอำนาจสิทธิ จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระเจ้า คือ เจ้าของอย่างแท้จริงของทุกสรรพสิ่ง และไม่มีมนุษย์คนใดเป็นเจ้าของที่แท้จริงของมนุษย์ ดังนั้น เมื่อพระเจ้า เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่มีสิทธิในการวางกฏเกณฑ์ และการกำหนดบทบัญญัติและการปกครองก็เช่นกัน ส่วนสิ่งอื่นๆต้องได้รับอนุมัติจากพระเจ้า จึงสามารถที่จะกำหนดกฏระเบียบได้
๓.ไม่เป็นที่สงสัยเลย สำหรับผู้วางกฏเกณฑ์ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในตัวบทกฏต่างๆที่จะนำมาใช้กับมนุษย์ได้ และอีกอย่างหนึ่ง เขาต้องรู้จักในแก่นแท้และสารัตถะของมนุษย์ด้วย และต้องรู้จักแนวทางการทำให้มนุษย์พบกับความผาสุกและความสมบูรณ์ ดังนั้น ผู้ที่มีความรอบรู้ในสิ่งที่ได้กล่าวไปนั้น คือ พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น พระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ในทุกสรรพสิ่ง และรู้จักมนุษย์ดีกว่ามนุษย์ด้วยกันเสียอีก

๑๔๕

   ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบและการปกครองในทัศนะของอัล กุรอาน

    ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ คือ ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง หมายถึง พระเจ้าเป็นผู้ทรงกรรมสิทธิเพียงองค์เดียว ในการกำหนดกฏระเบียบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมของเขา อีกทั้งยังได้วางบทบัญญัติของพระองค์ เพื่อทำให้มนุษย์ได้นำเอาไปปฏิบัติ และพระเจ้าคือ ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ที่มีอำนาจในการบริหารดูแลทั้งร่างกาย และทรัพย์สิน อีกทั้งกิจการต่างๆของมนุษย์ด้วย และในบางครั้งความเป็นเอกานุภาพประเภทนี้ มีความหมายตรงกับ การเป็นผู้อภิบาลในการกำหนดบทบัญญัติ

และก่อนที่จะอธิบายในทัศนะของอัล กุรอานเกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ

จะต้องมาทำความเข้าใจในความหมายของ การกำหนดกฏ กันก่อน

ในภาษาอาหรับคำว่า ตัชรีอฺ หมายถึง การกำหนดกฏและบทบัญญัติ และในอัล กุรอานก็มิได้กล่าวคำนี้ 

แต่กับกล่าวคำว่า ชะระอะ(ในรูปของกริยาในอดีตกาล) หมายถึง ได้กำหนดกฏและบทบัญญัติไปแล้ว เช่น

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ พระองค์ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นูห์ และที่เราได้ลงการวิวรณ์แก่เจ้า (มุฮัมมัด) ก็เช่นเดียวกัน” (บทอัชชูรอ โองการที่ ๑๓ )

๑๔๖

ส่วนคำว่า ฮุกุ่ม ในด้านภาษานั้นมีความหมายว่า การห้าม ,การตัดสิน และการปกครอง ซึ่งในอัล กุรอานได้กล่าวว่า การปกครองและการตัดสินเป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น เช่น

อัล กุรอานกล่าวว่า

“การตัดสินมิได้เป็นสิทธิของใครนอกจากอัลลอฮ์” (บทยูซุฟ โองการที่ ๔๐ )

และใน อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักต์ของพระองค์ การตัดสินนั้นเป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้นและยังพระองค์เท่านั้นที่พวกท่านย้อนกลับ” (บทอัลกอศอด โองการที่ ๘๘ )

จากทั้งสองโองการได้กล่าวถึง การปกครองและการตัดสินเป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า เพียงองค์เดียวเท่านั้น

และอีกโองการหนึ่ง กล่าวถึง การปฏิบัติตามคัมภีร์เตารอต และอินญีล  (ไบเบิล) ของชาวคัมภีร์ หากว่าพวกเขาไม่ได้ตัดสินจากสิ่งที่ถูกประทานมาจากพระผู้เป็นเจ้า พวกเขาก็คือผู้ปฏิเสธ และผู้ฉ้อฉล

อัล กุรอานกล่าวว่า

“ใครก็ตามที่ไม่ได้ตัดสินจากสิ่งที่ประทานลงมาจากอัลลอฮ์ พวกเขาคือผู้ปฏิเสธ”

 (บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๔๔ )

แม้ว่าโองการนี้ จะกล่าวถึงกลุ่มชนชาวยะฮูดี และชาวคริสเตียน แต่โองการอัล กุรอานก็มิได้ถูกจำกัดกับกลุ่มชนดังกล่าว และได้รวมถึงทุกกลุ่มชนที่พวกเขาที่มิได้ใช้กฏหมายของพระเจ้า กลุ่มชนนั้นเป็นกลุ่มชนที่ฉ้อฉล อีกทั้งยังเป็นกลุ่มชนที่ปฏิเสธ

๑๔๗

ดังนั้น จากโองการที่กล่าวไปแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า การตัดสินและการปกครอง เป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า และไม่เป็นที่อนุญาตให้มนุษย์สร้างความขัดแย้งกับการตัดสินของพระองค์

และในบางโองการได้กล่าวถึง พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้ปกครอง (วะลีย์) ของมนุษย์

อัลกุรอานกล่าวว่า

“หรือว่าพวกเขาได้ยึดถือเอาคนอื่นจากพระองค์เป็นผู้ปกครอง ดังนั้นอัลลอฮ์คือผู้ปกครอง”

  ( บทอัชชูรอโองการที่ ๙ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า คำว่า วะลีย์ ในด้านภาษา หมายถึง ผู้ปกครอง ในโองการนี้ได้กล่าวว่า อัลลอฮ์เป็นผู้ปกครอง  แสดงให้เห็นว่า การปกครองเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ดังนั้น ความหมายของโองการนี้ก็มิได้ขัดแย้งกับโองการที่ได้กล่าวว่า พระเจ้าได้แต่งตั้งมนุษย์เป็นผู้ปกครองของพระองค์ในหน้าแผ่นดิน เช่น การแต่งตั้งศาสดาดาวูดให้เป็นผู้ปกครองของพระองค์

อัลกุรอานกล่าวว่า

“โอ้ดาวูด ! เราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นตัวแทนในแผ่นดินนี้ ดังนั้น เจ้าจงตัดสินคดีต่าง ๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรม และอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพราะจะทำให้เจ้าหลงไปจากทางของอัลลอฮ์”

  (บทศอด โองการที่ ๒๖ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า การที่พระเจ้าจะแต่งตั้งบุคคลใดก็ตามให้เป็นผู้ปกครอง,ผู้ตัดสินและตัวแทนของพระองค์ มิได้มีขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ และในการปกครอง

๑๔๘

 ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า หลักศรัทธาของอิสลามที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานาภาพในการปกครองได้กล่าวถึง การปกครอง เป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และการแต่งตั้งให้มนุษย์เป็นผู้ปกครองของพระองค์ ดังเช่น ตัวอย่างของท่านศาสดาดาวูด ด้วยกับเหตุผลความเป็นวัตถุของมนุษย์  พระเจ้าจึงได้แต่งตั้งตัวแทนของพระองค์ที่เป็นมนุษย์ เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นกับมนุษย์

   ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า

    ดังที่ได้กล่าวแล้ว ในบทความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะว่า ความหมายหนึ่งของหลักการนี้คือ คุณลักษณะของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์ และไม่เหมือนกับสิ่งอื่นใด โดยจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สามารถที่จะแบ่งคุณลักษณะของพระเจ้าออกเป็น ๒ ประเภทได้ด้วยกัน ดังนี้

๑.คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้าทั้งในความหมายและความเป็นจริง และไม่มีสิ่งอื่นเหมือนกับพระองค์

๒.คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้า แม้ว่าในสิ่งอื่นๆจะมีคุณลักษณะเหล่านี้อยู่ก็ตาม แต่การมีคุณลักษณะของพระองค์ ในสภาวะที่สมบูรณ์แบบที่สุดและไม่มีขอบเขตจำกัด ส่วนการมีคุณลักษณะของสิ่งอื่นในสภาพที่มีขอบเขตและต้องพึ่งพายังพระองค์

และหนึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ คือ การเป็นพระเจ้า ซึ่งถือว่า เป็นหนึ่งในคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ที่เกิดขึ้นในประเภทแรก กล่าวคือ เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้าเพียงอย่างเดียว

๑๔๙

คำว่า อิลาฮ์ ในภาษาอาหรับมาจากในรูปของ ฟิอาล์ และบางครั้งมีความหมายเป็นกรรม เช่น คำว่า กิตาบ หมายถึง สิ่งที่ถูกเขียน และรากศัพท์ของคำว่า อิลาฮ์นั้น มีความแตกต่างกัน แต่ตามทัศนะที่มีความเห็นตรงกัน คือ คำว่า อิลาฮ์ หมายถึง สิ่งที่ถูกเคารพสักการะบูชา

ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า คือ การมีความเชื่อว่าพระเจ้าเป็น สิ่งที่ถูกเคารพบูชา (มะอ์บูด) อย่างแท้จริง

อัล กุรอานกล่าวว่า

และถ้าเจ้าถามพวกเขา ใครเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า อัลลอฮ์”

(บทลุกมาน โองการที่๒๕)

พวกตั้งภาคีในคาบสมุทรอาหรับได้ยอมรับในการมีความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง แต่พวกเขาไม่ยอมรับว่า มีความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า กล่าวคือ พวกเขามีความเชื่อว่ามีพระเจ้า เป็นผู้ที่ทรงสร้างพวกเขาและสรรพสิ่งทั้งหลาย แต่ในการเป็นพระเจ้า พวกเขากับยึดเอาสิ่งอื่นที่มิใช่พระเจ้า และสิ่งนั้นมิได้เป็นพระเจ้าไปเคารพสักการะบูชา

ดังนั้น อัล กุรอานได้เล็งเห็นความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า โดยกล่าวเน้นย้ำในโองการมากมาย เพื่อที่จะขจัดความคลุมเครือจากข้อสงสัยและปัญหาของพวกตั้งภาคี และมิใช่จะเฉพาะเจาะจงกับบรรดาพวกตั้งภาคีในคาบมหาสมุทรอาหรับ แต่ยังได้รวมถึงบรรดาพวกตั้งภาคีทั้งหลายด้วย

ด้วยเหตุนี้ คำว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ พระเจ้าองค์เดียว เป็นคำกล่าวในการยอมรับศาสนาอิสลามและอัลกุรอานได้กล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ,ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากฉัน ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงการมีความเป็นเอกานาภาพในการเป็นพระเจ้า

๑๕๐

 

   ทำไมต้องมีพระเจ้าองค์เดียว?

    หลังจากที่ได้อธิบายในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในความเป็นพระเจ้าไปแล้ว ก็เกิดคำถามขึ้นอีกว่า ทำไมจึงต้องมีพระเจ้าเพียงองค์เดียวด้วย แล้วไม่มีพระเจ้าอื่น เลยกระนั้นหรือ?

ก่อนที่จะตอบในคำถามนี้ จำเป็นที่จะต้องตอบคำถามที่ได้ถามขึ้นอีกว่า แล้วยังมีสิ่งอื่นใดที่ควรค่าแก่การเคารพภักดี นอกจากพระเจ้าเพียงองค์เดียวหรือ?

สำหรับคำตอบของคำถามนี้  ก็คือ จากการให้ความหมายของการเป็นพระเจ้า (อุลูฮียัต) จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ควรค่าแก่การเคารพภักดี จะต้องไม่มีข้อบกพร่องและความผิดพลาด และสิ่งนั้นต้องมีอำนาจสูงสุดเหนือทุกสรรพสิ่งทั้งหลาย และเป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพ, ชี้นำมวลมนุษยชาติไปสู่ความผาสุก ,เป็นผู้สร้างทุกสรพสิ่งและเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านั้นอย่างแท้จริง ดังนั้น  ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คุณสมบัติดังกล่าวนั้นเหมาะกับพระเจ้าเพียงองค์เดียวอย่างแน่นอน และจากความเป็นเอกานุภาพในอาตมันที่ได้กล่าวถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระเจ้า และไม่มีสิ่งอื่นใดเหมือนกับอาตมันของพระองค์ เพราะฉะนั้น พระเจ้าเพียงพระองค์เดียวที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์แบบและควรค่าแก่การเคารพภักดีอย่างแท้จริง

๑๕๑

   ความสัมพันธ์ของประเภทต่างๆในความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา

    หลังจากที่ได้อธิบายในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และได้แบ่งเป็นประเภทต่างๆ  และเหตุผลการพิสูจน์ทางสติปัญญา แสดงให้เห็นว่า ประเภทต่างๆของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธานั้น มีความสัมพันธ์ต่อกันและกันและเป็นที่รู้กันดีว่า อาตมันของพระเจ้าบริสุทธิ์จากการมีส่วนประกอบ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่ (วาญิบุลวูญูด)  และมีความเป็นเอกานุภาพและมีหนึ่งเดียว ส่วนในคุณลักษณะของพระองค์ก็เหมือนกับอาตมัน และนี่คือ ความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ส่วนการกระทำของพระเจ้า พระองค์ ไม่ต้องการความช่วยเหลือหรือพึ่งพาสิ่งใด และนี่ก็คือ ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ ที่มีความสัมพันธ์ไปยังการเป็นพระเจ้า ,การบริหารกิจการ และในการสร้าง  ซึ่งสรุปได้ว่า คำสอนของศาสนาอิสลามในทุกประเภทของความเป็นเอกานุภาพ มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน

๑๕๒

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีด ตัชริอีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ

เตาฮีด ฮากิมียัต หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการปกครอง

เตาฮีด อุลูฮิยัต หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า

     สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครองแด่เพียงผู้เดียว ส่วนสิ่งอื่นต้องได้รับอนุมัติจากพระเจ้าก่อน จึงสามารถมีอำนาจการกำหนดบทบัญญัติ และปกครองได้

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า  และพระองค์เท่านั้นที่เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์เหนือทุกสิ่ง อีกทั้งทรงมีความรอบรู้ ดังนั้น เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดเหมาะสมที่สุดในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง

๓.ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพ หมายถึง พระเจ้าเท่านั้นที่ควรค่าต่อการเคารพภักดี ดังคำกล่าวของอิสลามที่ว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ พระเจ้าเพียงองค์เดียว”

๔.เป็นรู้กันดีแล้วว่า พระเจ้าเท่านั้นที่เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์และไม่มีข้อบกพร่อง ดังนั้น พระองค์คือ ผู้ที่มนุษย์จะต้องทำการเคารพภักดี และไม่มีสิ่งอื่นใดที่ควรค่าแก่การเคารพภักดี

๕.ในประเภทต่างๆของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา มีความสอดคล้องและมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันด้วย

๑๕๓

   บทที่ ๗

   ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ (เตาฮีด อะมะลีย์)

 ตอนที่ หนึ่ง

   การซึมซับของความเป็นเอกานุภาพในด้านความคิด ความเชื่อ และในด้านการปฏิบัติ

    ความคิดและความเชื่อของมนุษย์ มีผลกระทบต่อเขาในด้านการปฏิบัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการที่สำคัญของมนุษย์ทุกคนที่ยอมรับ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ทัศนคติของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับความเชื่อของเขา และอีกทั้งยังมีผลต่อหลักการปฏิบัติ ดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา เป็นหลักการที่เฉพาะเจาะจงกับความเชื่อในการรู้จักถึงพระเจ้า และความสัมพันธ์ของพระองค์กับโลก และมนุษย์ เพราะฉะนั้น มนุษย์ที่เติบโตมาจากอุ้งตักของอิสลาม มีความเชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว ,เป็นผู้สร้างอย่างแท้จริง เป็นพระผู้อภิบาล และเป็นพระเจ้าแห่งสากลจักวาล และพระองค์ทรงดำรงอยู่ ทั่วทุกหน ทุกแห่ง ในขณะเดียวกัน เมื่อมนุษย์มีความเชื่อเช่นนี้ แน่นอนที่สุด ความเชื่อนี้มีผลกระทบต่อการกระทำ และการปฏิบัติของเขา และนี่คือ ความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ กล่าวคือ การมีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว และการปฏิบัติตามความเชื่อนี้ ด้วยเหตุนี้ ความหมายที่แท้จริงของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ก็คือ ผลของความเชื่อในหลักการนี้

๑๕๔

เมื่อมนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า เขาย่อมสำนึกอยู่เสมอว่า การเคารพภักดี ,การขอความช่วยเหลือ และการมอบหมายกิจการงานต่างๆของเขา เพียงพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น ดังนั้น มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามพระองค์เพียงองค์เดียวด้วย

ท่านอัลลามะฮฺชะฮีด มุเฎาะฮะรีย์ นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอิสลาม กล่าวว่า

 “ระดับขั้นทั้งสามที่ผ่านมา กล่าวคือ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา ซึ่งเป็นอีกประเภทหนึ่งของการรู้จักถึงพระเจ้า ส่วนความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีนั้น เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติ และอยู่ในประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ดังนั้น ระดับขั้นดังกล่าว ถือว่าเป็นการใช้ความคิดที่ถูกต้องในระดับขั้นนี้ อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติที่เหมาะสมตรงตามความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา นั่นคือ การให้ทัศนะที่สมบูรณ์แบบที่สุด ส่วนความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติ ก็คือ การปฏิบัติที่นำไปสู่ความสมบูรณ์แบบด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา จึงเป็นการนำไปสู่ยังความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง และความเป็นเอกานุภาพในด้านปฏิบัติ ก็เปรียบเสมือนเป็นการกระทำหนึ่งของมนุษย์ได้เช่นกัน ดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา จึงประดุจดั่งกับการมองเห็น ส่วนความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติ ก็เสมือนดั่งการเดินทางของมนุษย์นั่นเอง “

(จากหนังสือ รวบรวมผลงานประพันธ์ของท่านชะฮีด มุฏอฮะรีย์

 เล่ม ๒ หน้าที่ ๑๐๑)

๑๕๕

   คุณค่าของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา

 

    จากการให้นิยามของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า มีความหมายที่ครอบคลุมการปฏิบัติทุกประเภท ซึ่งได้นำเอาบางประเภทของการปฏิบัติมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้

      ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี

    ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ  ซึ่งการให้ความสำคัญของความหมายของหลักการนี้ ก็คือ นักการศาสนาบางคน ได้กล่าวว่า ประเภทนี้เป็นประเภทเดียวกับความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ โดยที่คิดว่า ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ มิสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆได้และถ้าหากได้กล่าวว่า ประเภทของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา คือ การรู้จักในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า หมายความว่า  การมีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี จึงหมายถึง ผู้ที่เหมาะและควรค่าแก่การเคารพภักดี คือ พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และการเคารพภักดีต่อพระองค์ คือ เป้าหมายที่สูงสุดในการแต่งตั้งบรรดาศาสดา

๑๕๖

ดั่งที่ในอัล กุรอานได้กล่าวไว้ว่า

“และแน่นอนที่สุด เราได้แต่งตั้งศาสดามาทุกประชาชาติเพื่อให้พวกเขาทำการเคารพภักดีต่อฉันและออกห่างจากพวกบูชาเจว็ด” (บทอันนะหฺลิ โองการที่ ๓๖)                                                                                            

ความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์บ่งบอกว่า การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า  เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า และเพื่อที่จะนำมนุษย์ไปสู่แนวทางที่เที่ยงตรงและออกห่างจากการหลงผิดทั้งมวล

   ความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดี

    ความหมายของการเคารพภักดี ในบางครั้ง ก็เป็นที่กระจ่างชัดสำหรับเรา แต่ในประวัติศาสตร์อิสลามได้บันทึกไว้ว่า มีความแตกต่างกัน เกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตของความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ซึ่งจะอธิบายในความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดีเป็นอันดับต่อไป

 การเคารพภักดี มาจากคำว่า “อิบาดะฮ์”ในภาษาอาหรับ หมายถึง การนอบน้อม,การแสดงความต่ำต้อย และการเคารพภักดี

อิบาดะฮ์ ในทัศนะของเทววิทยาอิสลาม หมายถึง การแสดงความต่ำต้อยและนอบน้อมต่อสิ่งที่ควรค่าแด่การเคารพภักดี (มะอ์บูด)

๑๕๗

  ดังนั้น จากความหมายของคำว่า อิบาดะฮ์ จึงหมายถึง การแสดงความนอบน้อมและความต่ำต้อย แต่มิใช่ว่าทุกการนอบน้อมเป็นการอิบาดะฮ์ ก็ด้วยกับเหตุผลที่ว่า มนุษย์ได้ใช้สติปัญญาครุ่นคิดเกี่ยวกับบุคคลหนึ่งที่เขาได้นอบน้อม เพระว่ามีบุญคุณต่อเขา เช่น การนอบน้อมของลูกศิษย์ต่อครูบาอาจารย์ และการนอบน้อมของบุตรต่อบิดามารดา ทั้งหมดนั้นมิได้เรียกว่า การอิบาดะฮ์ หรือการเคารพภักดี แต่ด้วยกับการมีมารยาท ทางศีลธรรม จริยธรรม ได้บอกเตือนกับเราว่า พวกเขาเหล่านั้นมีบุญคุณต่อพวกเรา จึงจะต้องแสดงความนอบน้อม ซึ่งในอัล กุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้วว่า

“และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา และจงกล่าวเถิด โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความเมตตาให้กับท่านทั้งสอง ดั่งที่ท่านทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย”

(บทอัลอิสรออ์ โองการที่ ๒๔)

หากว่า การนอบน้อมให้กับทุกสิ่ง เป็นการเคารพภักดีแล้วละก็จำเป็นอย่างยิ่งที่สติปัญญาของมนุษย์จะต้องบอกว่า ให้ทำการเคารพภักดีต่อสิ่งที่มิได้เป็นพระเจ้า ดังนั้น เขาก็ออกห่างจากความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า เพราะ เขาได้เคารพภักดีต่อบิดามารดาและในท้ายที่สุด เขาก็เป็นผู้ที่ตั้งภาคี แต่ในความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น

๑๕๘

นักอักษรศาสตร์บางคนได้ให้ความหมายของคำว่า  อิบาดะฮ์ หมายถึง การนอบน้อม ดังนั้น ในความหมายนี้ มีความหมายที่เฉพาะเจาะจง แต่ในความเป็นจริง ความหมายนี้ยังห่างไกลจากความหมายของการเคารพภักดีอย่างแท้จริง เพราะว่า การก้มกราบ ถือว่าเป็นหนึ่งในความหมายของการเคารพภักดี  อัล กุรอานได้กล่าวถึง ครั้นเมื่ออัลลอฮ์ทรงสั่งให้มวลเทวทูตทั้งหลายทำการก้มกราบต่อท่านศาสดาอาดัมว่า

 “และครั้นเมื่อเราได้กล่าวกับมวลเทวทูตว่า พวกเจ้าจงก้มกราบต่ออาดัม ทั้งหมดได้ทำการก้มกราบ นอกจากอิบลีส” (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๓๔)

และในโองการอื่นๆได้กล่าวไว้เช่นกันถึง ท่านศาสดายูซุฟที่บรรดาพี่น้องรวมทั้งบิดาและมารดาของเขาได้ทำการก้มกราบต่อเขา

อัล กรุอานกล่าวว่า

 “และเขาได้ยกย่องพ่อแม่ของเขาขึ้นบนบัลลังก์แล้วพวกเขาก็ก้มลงคารวะ (สุญูด)”

(บทยูซุฟ โองการที่๑๐๐)

ถ้าหากว่า ระดับขั้นที่สูงสุดของการเคารพภักดี คือ การนอบน้อม ดังนั้น พระเจ้าก็ทรงสั่งให้มวลเทวทูต ทำการตั้งภาคีในการเคารพภักดี และครอบครัวของท่านศาสดายูซุฟก็เป็นผู้ตั้งภาคีด้วยเช่นเดียวกัน ความหมายดังกล่าวนี้เป็นความหมายโดยทั่วไปจากความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดี

๑๕๙

  ดังนั้น ความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดีหมายถึง การแสดงความต่ำต้อย การนอบน้อมที่มีความศรัทธาในการเป็นพระผู้เป็นเจ้า และมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ในพระองค์ เช่น การเป็นผู้สร้าง ผู้บริหาร การให้ชีวิตและให้ความตาย ให้อภัยในบาปต่างๆ และประทานปัจจัยยังชีพ ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใด

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดี คือ มนุษย์ได้แสดงออกต่อสิ่งหนึ่งที่มีคุณลักษณะของความเป็นพระผู้เป็นเจ้า โดยแสดงความเป็นบ่าว และความต่ำต้อย และการแสดงความเคารพสักการะบูชาในสิ่งนั้นด้วย

และถ้าหากว่าการนอบน้อมของมนุษย์มิได้มีความเชื่อในสิ่งดังกล่าว ก็ไม่เรียกการนอบน้อมนั้นว่า เป็นการเคารพภักดี

ท่านอิมามโคมัยนี (ขอความเมตตาพึงมีแด่ท่าน )ได้กล่าวว่า

“คำว่า อิบาดะฮ์ ในภาษาอาหรับ หมายถึง การยอมรับสิ่งหนึ่งเป็นพระเจ้าที่ควรค่าต่อการเคารพภักดี ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าองค์ใหญ่หรือองค์เล็กก็ตาม”

(กัชฟุลอัซรอร หน้าที่ ๒๙)

   ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีที่มีอยู่ในหมู่มุสลิม

    ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี เป็นหลักการที่สำคัญของมนุษย์ ดั่งที่โองการของอัลกุรอานได้กล่าวและเน้นย้ำไว้อย่างมากมาย และไม่มีความขัดแย้งหรือความแตกต่างกันในหลักการนี้ ในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม

๑๖๐

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

สำหรับการพิสูจน์ความหมายนี้ ของฮิกมะฮ์นั้น นอกเหนือจากการยืนยันของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การเป็นระบบระเบียบของโลกแห่งธรรมชาติและความสวยสดงดงามของสรรพสิ่งทั้งหลายแล้ว ยังมีเหตุผลทางสติปัญญา และจะขอนำมากล่าวเพียง สอง เหตุผล ด้วยกัน ดังนี้

เหตุผลที่หนึ่ง  การไม่สมบูรณ์หรือมีความบกพร่องของการกระทำหนึ่ง เกิดจากความไม่รู้ของผู้กระทำ หรือเกิดจากการที่เขาไม่มีความสามารถที่กระทำการงานนั้นได้ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า การกระทำนั้น เป็นการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ และผู้กระทำเป็นผู้ที่ชอบกระทำในสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ดังนั้นจากทั้งหมดที่กล่าวไปแล้วนั้น ถือว่า ไม่มีอยู่ในพระเจ้าเลย เพราะพระองค์ เป็นผู้ทรงรอบรู้และมีความสามารถที่ไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ดั่งที่จะอธิบายในภายหลังว่า พระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่มีประโยชน์และไร้สาระ ด้วยเหตุนี้ กล่าวได้ว่า ทุกสาเหตุที่กล่าวไปแล้ว ไม่มีอยู่ในพระเจ้า เพราะฉะนั้น การกระทำของพระองค์นั้น มีเป้าหมายที่สมบูรณ์ที่สุด

เหตุผลที่สอง ระหว่างการกระทำและผู้ที่กระทำนั้น มีความสัมพันธ์ที่ต้องมีอยู่คู่กัน เพราะการกระทำบ่งบอกในการมีอยู่ของผู้กระทำ ดังนั้น ผู้กระทำที่มีความสมบูรณ์ที่สุด (พระเจ้า) การกระทำของเขาต้องสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน

ความหมายของฮิกมะฮ์ที่ได้กล่าวไปแล้ว ในบางโองการทั้งหลายของอัลกุรอานและวจนะของอิสลามได้กล่าวไว้เช่นกัน

ในโองการแรกของบท ฮูด กล่าวว่า

“อะลีฟ ลาม รอ คัมภีร์ที่โองการทั้งหลายของมันถูกทำให้รัดกุมมีระเบียบ แล้วถูกจำแนกเรื่องต่างๆ อย่างชัดแจ้ง จากพระผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงรอบรู้เชี่ยวชาญ” (บทฮูด โองการที่ ๑)

๓๔๑

ท่านอะมีรุลมุมินีนอะลี ได้อธิบายความหมายของ ฮิกมะฮ์ ไว้ว่า

“สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดไว้แล้ว”

 (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๘๙)

และกล่าวอีกว่า  “พระเจ้า ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งด้วยกับความรู้และวิทยปัญญาของพระองค์ ที่ไม่ปฏิบัติตามผู้ใด และมิได้เรียนรู้จากผู้ใดหรือลอกเลียนแบบจากผู้อื่น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑๙๑ )

จากความหมายของฮิกมะฮ์ ในความหมายนี้บ่งบอกถึง โลกนี้มีระบบและระเบียบที่มั่นคง เพราะเป็นผลการสร้างของพระเจ้า ผู้ทรงมีวิทยปัญญายิ่ง  ดังนั้น ความหมายของฮิกมะฮ์ ก็คือ การกระทำของพระเจ้า เป็นการกระทำที่มีความสมบูรณ์แบบที่สุด

๔.ความหมายที่สี่ของฮิกมะฮ์ หมายถึง  การไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้นตามความหมายนี้ ผู้มีฮิกมะฮ์ คือ ผู้ที่ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี

จากความหมายนี้ ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า ความยุติธรรม หมายถึง การหลีกห่างจากการกดขี่ ซึ่งเป็นหนึ่งในความหมายของฮิกมะฮ์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ความหมายที่สี่ ได้รวมความยุติธรรมเข้าอยู่ด้วย ดังนั้น ความหมายของพระเจ้า ผู้มีฮิกมะฮ์ คือ พระองค์ไม่ทรงปฏิบัติทุกการกระทำที่ไม่ดี เช่น การโกหก การไม่รักษาสัญญา และอื่นๆ และเช่นเดียวกัน พระองค์ไม่กระทำการกดขี่ข่มเหง

ทัศนะของสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม มีการอธิบายที่แตกต่างกันในการให้ความว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่มีวิทยปัญญา

๓๔๒

เหตุผลก็คือ การเป็นผู้มีวิทยปัญญาตามความหมายสุดท้ายนั้น ตั้งอยู่บนรากฐานของการมีความดีและความชั่วทางสติปัญญา และจะกล่าวต่อไปถึง การปฏิเสธความเชื่อนี้ในสำนักคิดอัชอะรีย์ แต่สำนักคิดมุตะซิละห์และอิมามียะฮ์ มีความเชื่อในการมีความดีและความชั่วทางสติปัญญา และถูกรู้จักในนาม อัดลียะฮ์

ด้วยเหตุนี้ สติปัญญาจึงบอกว่า การกระทำที่ไม่ตรงกับปัญญา เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการกระทำนั้น แม้ว่า พระองค์จะมีความสามารถก็ตาม แต่ทว่า การดำรงอยู่ที่สมบูรณ์แบบของพระองค์ บ่งบอกถึงการไม่มีการกระทำเช่นนี้

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ อาตมันอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์ ซึ่งเป็นที่มา และแหล่งกำเนิดของการกระทำที่ดีงาม การอธิบายที่กระจ่างชัด ในประเด็นนี้ จะกล่าวกันใน ความยุติธรรมของพระเจ้า ในภายหลัง

๓๔๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า ในขณะที่มีความสงสัยว่า พระเจ้า มีความสัตย์จริงใช่หรือไม่ การประทานวิวรณ์และคัมภีร์ทั้งหลายของพระองค์ก็ถูกสงสัยด้วยเช่นกัน

๒.การเป็นคุณลักษณะในอาตมันและในการกระทำของความสัตย์จริงของพระเจ้าอยู่บนความเชื่อที่ว่า กะลาม (คำตรัสกล่าว)ของพระองค์ เป็นคุณลักษณะที่อยู่ในอาตมันหรือ เป็นคุณลักษณะในการกระทำ และทัศนะที่ถูกต้อง ก็คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะในการกระทำ เหมือนกับ ความสัตย์จริงของพระองค์

๓.การพิสูจน์ ความเป็นสัตย์จริงของพระเจ้า โดยใช้เหตุผลจากโองการทั้งหลายของอัลกุรอาน  เป็นการให้เหตุผลที่เป็นวัฏจักร และไม่เป็นที่ยอมรับ

๔.การพิสูจน์ ความเป็นสัตย์จริงของคำตรัสกล่าวของพระเจ้า ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา ดังนั้นกล่าวได้ว่า การโกหก เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ คำตรัสกล่าวของพระองค์นั้น ไม่เป็นความจริงและเป็นคำพูดที่โกหก

๕.อัล กุรอานได้เน้นย้ำใน ความสัตย์จริงของพระเจ้า และกล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่ตรัสจริง

๖.ฮิกมะฮ์ (ความวิทยปัญญา) ของพระเจ้า มีหลายความหมาย

(๑). ความรอบรู้ของพระองค์ในสารัตถะของสรรพสิ่ง

(๒). การมีเป้าหมายและจุดประสงค์ในการกระทำของพระองค์

(๓). การมีความมั่นคงและสมบูรณ์ในการกระทำของพระองค์

(๔).การหลีกห่างจากการกระทำที่ไม่ดี

๗.เหตุผลที่สมบูรณ์ของการกระทำของพระเจ้า คือ ไม่มีการกระทำใดที่ทำให้การกระทำของพระองค์นั้นไม่สมบูรณ์ เช่น การไม่รู้ และ การไม่มีความสามารถของผู้กระทำหรือ การไม่มีประโยชน์ของการกระทำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถจะมีอยู่ในพระเจ้าได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง อาตมันอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ และการกระทำของพระองค์ก็ต้องสมบูรณ์แบบด้วยเช่นกัน

๘. ความหมายของการเป็นผู้มีวิทยปัญญา ก็คือ พระเจ้าไม่กระทำการงานที่ไม่ดี ซึ่งรวมถึง การมีความยุติธรรมด้วย ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา และความเชื่อนิ้มิได้มีในสำนักคิดอัชอะรีย์

๓๔๔

   บทที่ ๑๐

   คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า

   บทนำเบื้องต้น

    หลังจากที่ได้อธิบายคุณลักษณะบางส่วนที่มีอยู่ในอาตมัน และในการกระทำของพระเจ้าไปแล้ว บัดนี้ จะมาอธิบายในคุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่า คุณลักษณะในด้านลบทั้งหมด หมายถึง การปฏิเสธการมีขอบเขตที่จำกัดและการมีข้อบกพร่องในพระเจ้า และการปฏิเสธในคุณลักษณะเหล่านั้น คือ การยอมรับว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบ ส่วนคุณลักษณะที่ไม่มีของพระองค์นั้น มีจำนวนมากมาย แต่จะขอนำมากล่าวเพียงบางส่วน เช่น

๑.การไม่มีส่วนประกอบ

๒.การไม่มีคุณลักษณะที่เกิดขึ้นอยู่นอกอาตมัน

๓.การไม่มีรูปร่างและหน้าตา

๔.การไม่ยึดติดกับสถานที่และกาลเวลา

๕.การไม่สิงสถิตย์ในสิ่งใด

๖.การไม่มีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

๗.การไม่มีอยู่ของปรากฏการณ์ทั้งหลายในพระองค์

๘.การไม่มีความเจ็บปวดและความรู้สึกสัมผัสใดๆ

๙.การปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้าด้วยตาเปล่า

๓๔๕

   เหตุผลในการพิสูจน์คุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า

    ก่อนที่จะอธิบายในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า และได้กล่าวแล้วว่า คุณลักษณะเหล่านี้ ย้อนกลับไปยังจุดเดียว ก็คือ การปฏิเสธการมีขอบเขตและการบกพร่องในพระเจ้า และยังมีเหตุผลทั่วไปที่ใช้พิสูจน์คุณลักษณะเหล่านี้ในพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

พระเจ้า เป็นสิ่งมีอยู่ที่มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่สุด ดังนั้น พระองค์จึงไม่มีความบกพร่อง และไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ความหมายของทุกคำ ที่บ่งบอกว่า มีข้อบกพร่องนั้น แน่นอนที่สุด ไม่มีในพระองค์ และความหมายของคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ ก็คือ การมีขอบเขตจำกัด ซึ่งการมีความสมบูรณ์ของพระองค์ บ่งบอกว่า พระองค์ไม่มีคุณลักษณะเหล่านั้น  

เพราะฉะนั้น คุณลักษณะที่ไม่มีของพระองค์ จึงหมายถึง คุณลักษณะที่มีในด้านลบ และจะกล่าวชนิดต่างๆของคุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า ได้ดังนี้

๑.การไม่มีส่วนประกอบ และ ๒.การไม่มีคุณลักษณะที่เกิดขึ้นอยู่นอกอาตมัน

รายละเอียดของประเด็นนี้ ได้อธิบายในหัวข้อเรื่อง เตาฮีด ซาตีย์ และเตาฮีด ซิฟาตีย์ผ่านไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวซ้ำอีก

๓.การไม่มีรูปร่างของพระเจ้า

มุสลิมส่วนมากมีความเชื่อว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการมีรูปร่าง และในขณะเดียวกันมีกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า พระเจ้าทรงมีรูปร่างและสรีระ กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า มุญัซซิมะฮ์

๓๔๖

เหตุผลที่ดีที่สุดในการปฏิเสธการมีรูปร่างของพระเจ้า คือ จากความหมายของการมีรูปร่าง  ซึ่งประกอบด้วย สามมิติ นั่นก็คือ ความกว้าง,ความยาว และส่วนสูง ด้วยเหตุนี้ ในทุกสิ่งที่มีรูปร่างนั้นต้องมีปริมาณอยู่ด้วย ดั่งที่ได้อธิบายไปแล้วว่า พระเจ้าไม่มีส่วนประกอบใดๆทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่มีรูปร่าง  และไม่เป็นที่อนุญาตให้มนุษย์คิดว่า พระเจ้านั้นมีรูปร่าง แต่ให้ตระหนักเสมอว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่เป็นวัตถุ และไม่มีคุณสมบัติของสิ่งที่เป็นวัตถุ

๔.การไม่มีสถานที่อยู่อาศัยและสถานที่พักพิง

ความหมายของคุณลักษณะนี้ คือ พระเจ้าไม่มีสถานที่อยู่อาศัย  และในขณะเดียวกัน พวกมุญัซซิมะฮ์กลับมีความเชื่อว่า พระองค์ทรงมีสถานที่พำนัก และเช่นเดียวกันในสำนักคิดกะรอมียะฮ์ก็มีความเชื่อว่า พระองค์ทรงสถิตย์อยู่ ณ เบื้องบน

เหตุผลที่พิสูจน์ว่า พระเจ้าไม่มีสถานที่อยู่อาศัย ก็คือ การมีสถานที่อยู่อาศัย เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่มีรูปร่าง ในขณะที่พระเจ้านั้น ไม่มีรูปร่าง เพราะสิ่งที่มีรูปร่างนั้นมีความต้องการ และพระองค์ไม่ทรงมีความต้องการและพระองค์เป็นวาญิบุลวูญูด(สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่)

๕.การไม่สิงสถิตย์ในสิ่งใด

พระเจ้าทรงไม่สิงสถิตย์ในสิ่งอื่นใด เป็นความเชื่อของทุกสำนักคิดทั้งหลายในอิสลาม ที่มีความเห็นตรงกันว่า พระองค์ไม่ทรงสถิตย์ในสิ่งใด นอกเหนือจาก คำกล่าวของบางสำนักคิดซูฟีย์ที่มีความเชื่อว่า พระองค์ทรงสถิตย์ในสิ่งอื่นได้

๓๔๗

เหตุผลหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลามที่ใช้พิสูจน์ว่า พระเจ้าไม่ทรงสถิตย์ในสิ่งใด นั่นก็คือ จากความหมายของการสิงสถิตย์ หมายถึง สิ่งที่จะสิงสถิตย์นั้น ต้องมีความต้องการในสถานที่ในการสิงสถิตย์ ดั่งที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พระเจ้าไม่ทรงมีความต้องการสิ่งใด ดังนั้น พระองค์ไม่ต้องการสถานที่ในการสิงสถิตย์

๖.การไม่อยู่ร่วมกับสิ่งใด

พระเจ้าไม่ทรงอยู่ร่วมกับสิ่งใด เป็นความเชื่อของสำนักคิดทั้งหลายในอิสลามที่มีความเห็นตรงกัน นั่นก็คือ

เหตุผลหนึ่งในการยืนยันความเชื่อนี้ ก็คือ ถ้าหากความหมายของ การอยู่ร่วมกัน หมายถึง การมีส่วนประกอบของสิ่งสองสิ่ง  หรือการเปลี่ยนแปรสภาพของสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น ด้วยความหมายนี้ จึงเป็นสาเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลง และโดยแท้จริง อาตมันของพระเจ้านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดทั้งสิ้น และการเปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุให้เกิดความบกพร่อง

และถ้าหากความหมายของ การอยู่ร่วมกัน หมายถึง การเปลี่ยนของสิ่งสองสิ่ง เป็นสิ่งเดียว ซึ่งจากความหมายนี้ก็ไม่สามารถใช้ในพระเจ้าได้

๗.การไม่มีอยู่ในปรากฏการณ์ทั้งหลาย

พระเจ้า ไม่มีอยู่สในปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ทั้งหลาย และคุณลักษณะของพระองค์ก็มิได้เป็นฮาดิษ (สิ่งที่เป็นเหตุการณ์)ด้วย

๓๔๘

เหตุผลหนึ่งของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการปฏิเสธการมีอยู่ของคุณลักษณะนี้ ก็คือ

การมีอยู่ของคุณลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในสิ่งหนึ่ง จะต้องมีความสามารถในการยอมรับคุณลักษณะนั้นได้ และการมีความสามารถยอมรับ เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ ด้วยเหตุนี้ การมีคุณลักษณะเช่นนี้ในพระเจ้า จึงจำเป็นพระองค์ต้องเป็นวัตถุ ในขณะที่ความเป็นจริงพระองค์มิใช่วัตถุ

ผลที่ได้รับจากการไม่มีคุณลักษณะนี้ คือ คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม

๘.การไม่มีรู้สึกและความเจ็บปวด

พระเจ้าไม่มีความรู้สึก และไม่มีความเจ็บปวด

ส่วนมากของการมีความรู้สึกและความเจ็บปวด มี สอง ชนิด ด้วยกัน

ชนิดแรก ความรู้สึกและเจ็บปวดที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นสิ่งที่จะเฉพาะกับสิ่งที่เป็นวัตถุเท่านั้น ในขณะที่พระเจ้ามิใช่วัตถุ ดังนั้น พระองค์ก็ไม่มีความรู้สึกและเจ็บปวดชนิดนี้

อีกชนิดหนึ่ง คือ ความรู้สึกและเจ็บปวดทางสติปัญญา หมายถึง ผู้มีสติปัญญารู้สึกถึงสิ่งที่สมควรได้รับและไม่สมควรจะได้รับ และเช่นกัน ชนิดนี้ก็ไม่มีในพระเจ้า เพราะทุกสิ่งที่มีอยู่คือ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง และทุกสรรพสิ่งเป็นผลในการสร้างของพระองค์ และไม่มีสิ่งใดที่อยู่ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงรับรู้

ส่วนในประเด็นที่กล่าวถึง ความรู้สึกทางสติปัญญานั้น มีทัศนะที่แตกต่างกัน

๓๔๙

กลุ่มหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม ได้ยอมรับในการมีความรู้สึกชนิดนี้ในพระเจ้า โดยพวกเขาได้ปฏิบัติตามบรรดานักปรัชญาอิสลาม และกล่าวว่า อาตมันของพระเจ้า มีความสมบูรณ์ที่สวยงามที่สุด ดังนั้น พระองค์ทรงมีความรู้สึกและรับรู้ด้วยกับอาตมันในสิ่งที่เหมาะสมที่สุด เพราะความสมบูรณ์ที่สุดคือ การมีความรู้สึกถึงสิ่งหนึ่งด้วยตัวของมันเอง การกระทำนี้ เป็นความรู้สึกของพระเจ้า

อีกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวว่า แม้ว่าพระเจ้าทรงมีความรู้ในอาตมันที่สมบูรณ์ของพระองค์ แต่การมีอยู่ของความรู้สึกและเจ็บปวดนั้น มิได้มีในพระองค์ เพราะว่า อัล กุรอานและวจนะมิได้กล่าวถึงคุณลักษณะนี้

ท่านอัลลามะฮ์ ฮิลลีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือชะเราะฮ์ ตัจรีดุล เอียะติกอด ว่า

“ส่วนความหมายของ ความรู้สึก หมายถึง การรู้สึกที่เหมาะสมกับตัวเอง และพระเจ้าทรงมีความรู้สึกว่าตนเองมีอยู่   ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของบรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม และยังเป็นทัศนะของ อิบนุ โนบัคต์ และนักเทววิทยาคนอื่นๆด้วย แม้ว่า การกล่าวว่า พระเจ้ามีความรู้สึก จะต้องได้รับอนุญาตจากพระองค์ก็ตาม”

(กัชฟุลมุรอด หน้าที่ ๓๒๐ )

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้า ทรงไม่มีความรู้สึกที่มีอยู่ในธรรมชาติ

๙.การปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้า

มนุษย์ไม่สามารถที่จะมองเห็นพระองค์ได้ และคุณลักษณะประเภทนี้ เป็นปัญหาที่เกิดการถกเถียงในบรรดาคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ และประเด็นนี้ ยังเป็นประเด็นที่มีความเห็นที่แตกต่างกันมากทีเดียว

๓๕๐

บรรดานักเทววิทยาอิสลามของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ และอิมามียะฮ์  มีความเชื่อว่า มนุษย์ไม่สามารถที่จะมองเห็นพระเจ้าได้ ทั้งโลกนี้ และโลกหน้า

ในทางตรงกันข้าม พวกมุญัซซิมะฮ์ กลับกล่าวว่า เนื่องจากว่าพระเจ้นั้นมีรูปร่างและหน้าตา ดังนั้นมนุษย์มีความสามารถจะมองเห็นพระองค์ได้ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

ทัศนะของอะฮ์ลุลฮะดีษและสำนักคิดอัชอะรีย์ ก็คือ พวกเขายึดถือ แนวทางสายกลางในประเด็นนี้

และพวกเขาได้มีความเชื่อว่า มนุษย์สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ในโลกหน้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

พวกอัชอะรีย์ได้กล่าวว่า

“พวกเรามีความเชื่อว่า บรรดาผู้ศรัทธานั้น สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ในโลกหน้า ซึ่งเหมือนดั่งดวงจันทร์ทอแสงในค่ำคืนที่ ๑๕ ของเดือน”

(อัลอิบานะ อัน อัดดิยานะ อัชอะรีย์ หน้าที่ ๒๑)

เราได้กล่าวไปแล้วว่า ประเด็นการมองเห็นพระเจ้า เป็นประเด็นที่เกิดทัศนะที่แตกต่างกัน และในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามต่างก็ใช้เหตุผลของตนเองในการพิสูจน์ ซึ่งประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่ต้องใช้เวลาในการอธิบายมาก แต่จะขออธิบายในเหตุผลที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ ด้วยกับเหตุผลจากอัล กุรอาน

๓๕๑

และถ้าหากว่าการมองเห็น คือ การมองเห็นด้วยกับประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นประเด็นที่เป็นปัญหาถกเถียงกัน แต่ถ้าการมองเห็น หมายถึง การมองเห็นด้วยกับตาแห่งปัญญา ประเด็นนี้ไม่เป็นที่ถกเถียงกัน และสำนักคิดทั้งหลายในอิสลามก็ยอมรับ คือ การมองเห็นพระเจ้าในโลกนี้และในโลกหน้า โดยวิธีการมองเห็นทางใจโดยผ่านการฝึกฝนอย่างเคร่งครัดต่อคำสั่งสอนของศาสนา และจะเห็นได้ว่า ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์รุ่นหลังก็ได้ยอมรับในการมองเห็นพระเจ้าด้วยกับตาแห่งปัญญามิใช่กับตาเนื้อ

   เหตุผลของการมองไม่เห็นพระเจ้าด้วยกับสายตา

   มีเหตุผลทางสติปัญญามากมายที่ใช้พิสูจน์การมองไม่เห็นพระเจ้าด้วยกับสายตา  ซึ่งจะขอนำมากล่าวสัก สอง เหตุผล ดังนี้

๑.การมองเห็นสิ่งที่สัมผัสได้โดยการใช้สายตาในการมอง และสิ่งที่มองเห็นนั้น จะต้องมีสถานที่ และในขณะที่พระเจ้าไม่ทรงมีมีสถานที่ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถที่จะมองเห็นพระองค์ได้

๒.ถ้าหากสมมุติว่า มนุษย์มองเห็นพระเจ้าได้ แน่นอนที่สุด เขาจะต้องเห็นตัวตนหรืออาตมันของพระองค์ในสถานที่หรือเห็นเพียงบางส่วนของอาตมัน ดังนั้น การมองเห็นเพียงบางส่วน แสดงว่า พระเจ้านั้น มีส่วนประกอบก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง และถ้ามองเห็นตัวตนของพระองค์ ก็ไม่ถูกต้องและไม่เข้ากับสติปัญญา เพราะอาตมันของพระองค์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด

ในตอนท้าย ขอกล่าวซ้ำอีกครั้งว่า คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า มิได้มีจำกัดเพียงเท่านี้ แต่ยังมีจำนวนอีกมาก และคุณลักษณะที่แสดงถึง การมีขอบเขตในพระองค์ เช่น การมีกาลเวลา การมีความต้องการ การมีผลสะท้อนจากอาตมัน  การมีสิ่งที่เหมือนพระเจ้า และอื่นๆ

๓๕๒

   คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ในทัศนะอัล กุรอาน

    อัล กุรอานกล่าวว่า ความมหาบริสุทธิ์แห่งพระเจ้า หมายถึง พระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ และบางโองการกล่าวว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์ยิ่ง หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากมลทินทั้งปวง เช่น ในบทอัลฮัชร์กล่าวว่า

พระองค์คือ อัลลอฮ์ ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์ ผู้ทรงอำนาจสูงสุด ผู้ทรงบริสุทธิ์

(บทอัลฮัชร์ โองการที่ ๒๓)

   พระเจ้าคือ ผู้ที่ไม่ต้องการสถานที่อยู่อาศัย

    โองการอัล กุรอาน บางโองการกล่าวถึง การไม่มีสถานที่พักพิงของพระเจ้า ดั่งตัวอย่างเช่น หลังจากการเหตุการณ์การเปลี่ยนทิศกิบละฮ์ของบรรดามุสลิมจากบัยตุล-มุก็อดดัซ เป็นกะอ์บะ และได้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์จากชาวยะฮูดีย์ จนกระทั่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาให้ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล)

อัล กุรอานกล่าวว่า

ทั้งตะวันออก และตะวันตกเป็นของอัลลอฮ์ สูเจ้าจะพบอัลลอฮ์ ในทุกทิศทาง ที่สูเจ้าผินหน้าของสูเจ้าไป แท้จริงอัลลอฮ์ คือผู้ทรงไพบูลย์ ผู้ทรงรอบรู้” (บทอัลบะกอเราะ โองการที่ ๑๑๕ )

๓๕๓

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าทรงอยู่เหนือการมีสถานที่ และความหมายของ ทิศตะวันออกและตะวันตก มิได้หมายถึง ทิศทางในภูมิศาสตร์ แต่หมายถึง ในทุกทิศทาง และความหมายของคำว่า ทิศทางใดที่เจ้าผินหน้าจะพบพระเจ้า หมายถึง พระเจ้าทรงมีอยู่ทุกสถานที่ ดังนั้น โองการนี้ได้อธิบายถึง เรื่องของกิบละฮ์ ที่บรรดมุสลิม จะต้องหน้าไปยังทิศนั้น ในยามที่ทำการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า และมิได้กล่าวถึง การมีอยู่ของพระเจ้าในสถานที่หรือทิศทางที่ถูกจำกัด  เพราะพระองค์ทรงอยู่ทุกสถานที่และทุกทิศทาง และพระองค์ทรงรอบรู้ในทุกสิ่ง แน่นอนที่สุด พระเจ้านั้น ไม่มีส่วนประกอบและไม่มีชิ้นส่วน ดังนั้น การที่พระองค์มีอยู่ทุกสถานที่และทุกทิศทาง มิได้หมายถึง พระองค์ทรงอยู่จนเต็มในทุกสถานที่ แต่หมายถึง พระองค์ทรงมีอยู่เหนือสถานที่ หรือไม่มีสถานที่ต้องอาศัยหรือพำนัก 

และการมีสองรูปร่างหรือมีวัตถุในสถานที่อันเดียว ก็ไม่สามารถที่จะกล่าวว่า พระเจ้าเป็นรูปร่างที่ควบคุมและดูแลโลกแห่งวัตถุและโลกแห่งรูปร่าง

และยังมีอีกโองการหนึ่งที่กล่าวถึง พระเจ้าอยู่กับมนุษย์ และเป็นการยืนยันว่า พระองค์ ไม่มีสถานที่

อัล กุรอานกล่าวว่า

และพระองค์ทรงอยู่กับพวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ แห่งหนใด และอัลลอฮ์ทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (บทอัลหะดีด โองการที่ ๔ )

การที่พระเจ้าอยู่กับมนุษย์ และมีสถานที่ในการพำนักนั้น ไม่เหมาะสม เพราะถ้าการมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสถานที่ถูกจำกัด และไม่สามารถที่จะมีอยู่กับสิ่งอื่นได้  ดังนั้น การทรงดำรงอยู่ของพระเจ้า ในทุกสถานที่นั้น บ่งบอกถึง การมีพลังอำนาจของพระองค์ เพราะว่า พระองค์ทรงไม่มีที่สิ้นสุด และทุกสรรพสิ่งก็เกิดขึ้นมาจากพระองค์

๓๕๔

   การมองไม่เห็นพระเจ้า

   โองการอัล กุรอานที่บ่งบอกว่า มนุษย์ไม่สามารถเห็นพระเจ้าได้ คือ โองการนี้ที่ได้กล่าวว่า

สายตาทั้งหลายย่อมไปไม่ถึงพระองค์ แต่พระองค์ทรงเห็นถึงสายตาเหล่านั้น และพระองค์คือผู้ทรงปรานี ผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วน” (บทอัลอันอาม โองการที่ ๑๐๓ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ไม่มีสายตาใดที่จะมองเห็นพระเจ้า แต่พระองค์ทรงเห็นในสายตาทั้งหลายเหล่านั้น  ดังนั้นการมองไม่เห็นพระเจ้า คือ การมองเห็นด้วยสายตาของมนุษย์ และความหมายของ คำว่า สายตาทั้งหลาย หมายถึง ไม่มีสายตาใดเลยที่สามารถจะมองเห็นพระเจ้าได้

อีกโองการหนึ่งที่ปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้าด้วยสายตาของมนุษย์

อัล กุรอานกล่าวว่า

“และเมื่อมูซาได้มาตามกำหนดเวลาของเรา และพระเจ้าของเขาได้ตรัสแก่เขา เขาได้กล่าวขึ้นว่า โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดให้ข้าพระองค์เห็นด้วยเถิด โดยที่ข้าพระองค์จะได้มองดูพระองค์ พระองค์ตรัสว่า เจ้าจะเห็นข้าไม่ได้เป็นอันขาด” (บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ ๑๔๓ )

จากการอธิบายของโองการทั้งหลายที่เกี่ยวกับศาสดามูซา จะเห็นได้ว่า การร้องขอของศาสดามูซา คือ การร้องขอของกลุ่มชนผู้โง่เขลาชาวบะนีอิสรออีล และพระเจ้าได้ตอบกับเขาว่า เจ้าจะไม่เห็นข้า เป็นอันขาด

๓๕๕

ถ้าหากว่ามองผิวเผินในโองการเหล่านี้ จะเห็นว่า เป็นโองการมุฮ์กะมาต (โองการที่ชัดเจน) ที่ตรงกันข้ามกับโองการที่คลุมเครือได้กล่าวยอมรับถึง การมองเห็นพระเจ้า เช่น การยกเหตุผลของ สำนักคิดอัชอะรีย์ ที่ยึดเอาโองการต่อไปนี้มา พิสูจน์ว่า มนุษย์สามารถมองเห็นพระเจ้าได้

อัล กุรอานกล่าวว่า

ในวันนั้นหลาย ๆ ใบหน้าจะเบิกบาน จ้องมองไปยังพระเจ้าของมัน

(บทอัลกิยามะฮ์ โองการที่ ๒๒ -๒๓ )

สำหรับคำตอบที่ให้กับพวกอัชอะรีย์ ก็คือ ความหมายของ รากศัพท์ นะซอรอ เมื่อมีคำเชื่อม อิลา เข้ามา มิได้หมายความว่า การมองเห็น แต่หมายถึง การรอคอย จากการยืนยันจากโองการที่ ๒๕ ของบทนี้ ดังนั้น ความหมายของโองการข้างต้น ก็คือ กลุ่มชนกลุ่มหนึ่งได้รอคอยความโปรดปรานและความเมตตาจากพระเจ้า และอีกกลุ่มหนึ่งรอคอยการถูกลงโทษจากพระองค์ ด้วยเหตุนี้ จากโองการทั้งหลายของอัล กุรอานได้กล่าวอย่างชัดเจนถึง การที่มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะมองเห็นพระเจ้าได้ และเหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง

๓๕๖

   คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ในมุมมองของวจนะ

    วจนะทั้งหลายมากมายได้กล่าวถึง คุณลักษณะที่พระเจ้าไม่มี ซึ่งจะขอนำมากล่าวสักเล็กน้อย ณ ที่นี้

ท่านอิมาม ซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงมีเวลาและสถานที่และการเคลื่อนที่และการย้ายที่และการหยุดนิ่ง แต่ทว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ที่สร้างเวลาและสถานที่และการเคลื่อนที่และการย้ายที่และการหยุดนิ่ง พระองค์ทรงสูงส่งกว่าสิ่งที่ผู้ฉ้อฉลกล่าวหาเสียอีก”

(บิฮารุลอันวาร เล่ม ๓ หน้า ๓๐๙ ฮะดีษที่ ๑)

จากวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านอิมามต้องการที่จะกล่าวถึง การมีอยู่พระเจ้าว่า พระองค์ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา และสถานที่ และไม่มีการเคลื่อนย้าย อีกทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“การอรรถาธิบาย คำว่า ศอมัด (แปลว่า พระเจ้าไม่ต้องที่พึ่ง) หมายถึง พระองค์ไม่มีนาม ,ไม่มีร่างกาย ,ไม่มีสิ่งใดเหมือน, ไม่มีใบหน้า, ไม่มีขอบเขต, ไม่มีสถานที่ ,ไม่มีที่อยู่, ไม่ได้อยู่ที่นี่และที่นั้น, ไม่ได้เต็มและไม่ได้ว่าง, ไม่ได้นั่งและไม่ได้ยืน, ไม่ได้หยุดนิ่งและไม่ได้เคลื่อนไหว, ไม่ได้อยู่ในความมืดและไม่ได้อยู่ในความสว่าง, ไม่ได้อยู่จิตวิญญาณและไม่ได้อยู่ในวัตถุ ไม่ได้เป็นสี, ไม่ได้อยู่ในหัวใจของผู้ใดและ ไม่ได้มีกลิ่นที่จะดมได้ ดังนั้นทั้งหมดเป็นคุณลักษณะที่พระเจ้าไม่มี”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๓๐ วจนะที่ ๒๑)

๓๕๗

และบางคุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า เช่น พระองค์ไม่มีรูปร่าง และไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ ก็มีกล่าวในวจนะต่างๆมากมายเรื่องนี้ เช่น

วจนะจากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้รายงานว่า

สาวกคนหนึ่งได้นำคำพูดของ ฮิชาม อิบนิ ฮะกัม ที่กล่าวว่า พระเจ้าทรงมีรูปร่าง ไปรายงานให้ท่านอิมามฟังและอิมามตอบกับเขาว่า

“ความหายนะ จงประสบแด่ฮิชาม หารู้ไม่ว่า รูปร่างและหน้าตา เป็นสิ่งที่มีขอบเขต ดังนั้นหากว่ามีขอบเขต ก็ต้องยอมรับการมีน้อยและมีมากได้ และเมื่อยอมรับว่า มีน้อยและมีมาก สิ่งนั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา”

สาวกคนนั้น ก็กล่าวขึ้นว่า แล้วฉันจะกล่าวว่าอย่างไรละ

อิมามตอบว่า

“พระองค์ไม่มีรูปร่างและหน้าตา แต่พระองค์ทรงสร้างรูปร่างและหน้าตา พระองค์ไม่มีชิ้นส่วน ไม่มีมากและไม่มีน้อย

หากมาตรแม้นว่า เขา(ฮิชาม )กล่าวอย่างนั้น ก็จะไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้าง ในขณะที่พระองค์เป็นผู้สร้างและทำให้มีความแตกต่างระหว่างรูปร่างและหน้าตา เพราะพระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งใดและไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๖ วจนะที่ ๗)

ในวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า มีความหมายที่ลึกซื้ง ซึสรุปได้ว่า การให้เหตุผลของท่านอิมาม ในการพิสูจน์ว่า พระเจ้าไม่มีรูปร่าง ก็คือ เมื่อมีรูปร่างก็ต้องมีขอบเขต เมื่อมีขอบเขตก็ต้องมีมากหรือน้อย เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ต้องเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง ดังนั้นถ้าสมมุติว่า พระเจ้ามีรูปร่าง พระองค์ก็ต้องเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง ในขณะที่พระองค์เป็นผู้ทรงสร้าง มิใช่สิ่งที่ถูกสร้าง

๓๕๘

และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ถ้ายอมรับว่า คำพูดของฮิชามเป็นจริง ดังนั้น พระเจ้าเป็นผู้สร้างสิ่งที่มีรูปร่าง และถ้าพระองค์ทรงมีรูปร่างแล้ว ก็ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีความขัดแย้งกับความเป็นจริง เพราะความเป็นจริง ก็คือ ผู้สร้างต้องมีความแตกต่างกับสิ่งที่ถูกสร้าง

และยังมีวจนะทั้งหลายที่ได้กล่าวถึง การไม่มีสถานที่และเวลา เช่น

วจนะของอิมามกอซิม (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกียรติ และทรงยิ่งใหญ่  พระองค์ทรงมีมาแต่เดิม โดยที่มีกาลเวลา และพระองค์ทรงมีอยู่ในขณะนี้ เหมือนกับพระองค์ทรงอยู่ ในสภาพที่ไม่มีสถานที่ใดที่ไม่มีพระองค์ และไม่มีสถานที่ใดที่พระองค์ไม่ทรงอยู่ และพระองค์ไม่ทรงสถิตย์ ณ สถานที่ใด ในแผ่นดิน”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๒๘ วจนะที่ ๑๒)

จากประโยคหนึ่งของวจนะนี้ คือ ไม่มีสถานที่ใดที่ไม่มีพระองค์ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าไม่มีอยู่ในสถานที่ใด

มีวจนะหนึ่งที่ได้กล่าวถึง การปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้าด้วยสายตา

วจนะของท่านอิมามอะลี ผู้นำแห่งศรัทธาชน (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ท่านได้ตอบคำถามของสาวกที่มีนามว่า ซิอฺลับ ยะมานียฺ ที่ได้ถามว่า

“เวลาที่ท่านทำการเคารพภักดีต่อพระผู้อภิบาลของท่าน ท่านเคยเห็นพระองค์หรือไม่?”

ท่านอิมามตอบว่า

“ฉันจะไม่เคารพภักดีพระผู้อภิบาลที่ฉันไม่เคยเห็นพระองค์”

ซิอฺลับ ก็ถามอีกว่า “แล้วท่านเห็นพระองค์ได้อย่างไร?ช่วยอธิบายให้ข้าพเจ้าฟังด้วย”

๓๕๙

ท่านอิมามตอบว่า

“ไม่มีใครเห็นพระองค์ จากตาเนื้อ แต่หัวใจที่บรรจุแน่นไปด้วยความศรัทธาต่างหากที่เพิ่งพินิจยังพระองค์” [๓]

วจนะจากท่านอิมามอัสการีย์ ก็เช่นกัน ที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

ได้มีชายคนหนึ่งถามท่านว่า มนุษย์ทำการเคารพภักดีต่อพระเจ้าได้อย่างไร ในสภาพที่มองไม่เห็นพระองค์?

อิมามได้ตอบว่า

“นายของฉัน คือ ผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้แก่ฉันและให้แก่บรรพบุรุษของฉัน และพระองค์ทรงประเสริฐกว่าที่จะมองเห็น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ บทเทศนาที่ ๑๗๙)

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความสมบูรณ์แบบของพระเจ้า บ่งบอกถึง คำทั้งหลายที่มีความหมายถึงการมีขอบเขตหรือมีข้อบกพร่อง ถูกปฏิเสธในพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จะกล่าวได้ว่า พระเจ้าทรงมีอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด และไม่มีคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์

๒.คุณลักษณะหนึ่งที่ไม่มีในพระเจ้า คือ การไม่ได้เป็นรูปร่างหรือมีร่างกาย หมายความว่า อาตมันของพระองค์มิได้เป็นวัตถุ และไม่มีสิ่งที่วัตถุมี

เหตุผลก็คือ ทุกสิ่งที่เป็นวัตถุมีรูปร่างและส่วนประกอบ ขณะทีอาตมันของพระเจ้า มิได้เป็นวัตถุ และไม่มีส่วนประกอบ

๓๖๐

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450