บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339872 / ดาวน์โหลด: 4958
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

9. ท่านคอฏีบ อัล-บัฆดาดีได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ท่านเคยได้รับข่าวว่า ชายคนหนึ่งกล่าวร้ายท่าน ท่านจึงได้จัดส่งสัมภาระชุดหนึ่งไปให้เขาคนนั้นซึ่งมีเงิน 1,000 ดีนารฺ และท่านยังเก็บเงินไว้ในสัมภาระอื่นอีกสามจำนวน คือ

 300 ดีนารฺ, 400 ดีนารฺ, 200 ดีนารฺ จากนั้นท่านก็นำไปแบ่งที่มะดีนะฮฺ จากการที่ท่านอิมามมูซา กาซิมทำเช่นนี้ สามารถช่วยให้คนทั้งหลายมีความเป็นอยู่ดีขึ้น (11)

(11) ตารีค บัฆดาด เล่ม 13 หน้า 28.

10. ท่านอฺะลี บินมุฮัมมัด บินอะฮฺมัด อัล-มาลีกี ได้กล่าวถึงเกียรติคุณของท่านอิมามมูซาว่า:

ในส่วนของความมีเกียรติ อันบริสุทธิ์ และลักษณะอันดีงามของท่านนั้น เราขอยืนยันว่า ท่านมีความสูงส่งที่สุด คนชั้นผู้นำในด้านนี้ยังต้องสยบให้แก่ท่าน(12)

 (12) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 217.

๑๒๑

11. ท่านยูซุฟ บินฟะซาฆีลี หลานของท่านอิบนุ อัล-เญาซีได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมนั้นเป็นผู้ได้รับฉายานามอันดีเลิศว่า กาซิม มะอ์มูน ฏ็อยยิบ และซัยยิด คนทั่วไปเรียกท่านว่า “อะบุลฮะซัน” และท่านได้รับการยกย่องว่าเป็น “อับดุศศอลิฮฺ” (บ่าวที่ทรงคุณธรรม) เพราะการทำอะมั้ลอิบาดะฮฺ และนมาซในยามค่ำคืน ท่านอิมามมูซา เป็นคนสุภาพอ่อนน้อม ที่ได้รับฉายานามว่า “กาซิม” ก็เพราะเมื่อท่านทราบว่าใครกล่าวร้ายท่าน ท่านก็จะตอบแทนเขาผู้นั้นได้รับทรัพย์สินเสมอ (13)

(13) ตัซกิเราะตุล-ค่อวาศ หน้า 196.

12. ท่านกะมาลุดดีน มุฮัมมัด บินฏ็อลฮะฮฺ อัช-ชาฟิอี ได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คืออิมามผู้ยิ่งใหญ่ สูงส่งเหลือล้ำ เป็นมุจญ์ตะฮิดผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมในการอิจญ์ติฮาด เป็นผู้มีชื่อเสียงในการอิบาดะฮฺอย่างยิ่ง มั่นคงในการปฏิบัติตามศาสนา

เป็นผู้ได้รับการยกย่องในด้านความมีเกียรติ ท่านทำการซุญูดและ

ทำนมาซมากเป็นพิเศษในยามกลางคืน ใช้เวลาในยามกลางวันด้วยการบริจาคทานและถือศีลอด ท่านเป็นคนสุภาพ และตอบแทนความชั่วด้วยการทำความดีสนองตอบการกลั่นแกล้งด้วยการให้อภัย ท่านประกอบการ

อิบาดะฮฺอย่างมากมายจนได้รับฉายานามว่า “บ่าวที่มีคุณธรรม” เป็นที่รู้จักกันในอิรักด้วยฉายานามว่า “บาบุ้ลฮะวาอิจญ์อิลัลลอฮฺ”(เป็นที่พึ่งในกิจการที่ต้องขอจากอัลลอฮฺ) โดยบรรดาผู้อาศัยการตะวัซซุลจากท่าน

๑๒๒

เป็นอันสรุปได้ว่า ณ อัลลอฮฺ(ซ.บ.)แล้วท่านคือ ผู้ล้ำหน้าในด้านสัจจะที่ไม่มีการสิ้นสลาย(14)

(14) มะฏอลิบุซซุอูล หน้า 83.

13. ท่านอะฮฺมัด บินยูซุฟ อัด-ดะมัชกี อัล-ก็อรมานี ได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คือ อิมามที่ยิ่งใหญ่ มีความดีเลิศ เป็นข้อพิสูจน์ ท่านใช้เวลากลางคืนโดยการนมาซ และใช้เวลากลางวันโดยการถือศีลอด ท่านได้ชื่อว่า “กาซิม” ก็เพราะความอดกลั้นอย่างเหลือหลาย และไม่ตอบโต้ผู้ที่ละเมิดต่อท่าน เป็นที่รู้จักอย่างดีในประเทศอิรัก ด้วยฉายานามว่า

‘บาบุ้ลฮะวาอิจญ์’ เพราะท่านเป็นที่พึ่งในกิจการที่ต้องขอจาก

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) โดยบรรดาผู้ขอตะวัซซุลจากท่านไม่เคยผิดหวังเลย ท่านมีเกียรติมีคุณความดีที่สูงส่งยิ่งนัก(15)

(15) อัคบารุด-ดุวัล หน้า 112.

14. ท่านมุฮัมมัด บินอะฮฺมัด บินอัซ-ซะฮะบี ได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิม เป็นนักวิชาการและเป็นบ่าวที่ดีเลิศที่สุดคนหนึ่ง สุสานของท่านอยู่ที่เมืองแบกแดด ท่านเสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 183 ท่านมีอายุได้ 55 ปี (16)

 (16) มีซานุล-เอียะอฺติดาล เล่ม 3 หน้า 209.

๑๒๓

15. ท่านอิบนุซาอีได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามกาซิม คือ ผู้มีคุณสมบัติอันยิ่งใหญ่ มีเกียรติศักดิ์สูงส่งยิ่ง ท่านทำนมาซตะฮัจญุดอย่างมากมาย ท่านเด็ดเดี่ยวจริงจังในการอิจญ์ติฮาดเป็นที่ยอมรับว่า ท่านมีเกียรติอย่างยิ่ง เป็นที่รู้อยู่ทั่วไปในด้านการทำอิบาดะฮฺ เป็นคนเคร่งครัดในด้านการปฏิบัติศาสนกิจ ยามกลางคืนท่านจะเพียรอยู่แต่ในการซุญูดและนมาซ ท่านใช้เวลาในยามกลางวันด้วยการบริจาคทานและถือศีลอด(17)

(17) มุคตะศ็อร ตารีคุล-คุละฟาอ์ หน้า 39.

16. ท่านมุอ์มิน อัช-ชิบลันญีได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิมเป็นคนที่ทำอิบาดะฮฺมากที่สุดสำหรับคนสมัยของท่าน เป็นผู้มีความรู้สูงสุด เป็นคนโอบอ้อมอารีที่สุด เมื่อครั้งที่ชาวมะดีนะฮฺ

ขาดแคลน ท่านได้นำเงินดิรฮัม และเงินดีนารฺจำนวนมากไปแจกจ่ายแก่คนเหล่านั้นถึงบ้านเรือนในยามกลางคืน และได้ให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างนี้เช่นกัน จนกระทั่งคนทั้งหลายไม่รู้ว่า สิ่งของเหล่านี้มาถึงเขาจากทางใด และพวกเขาไม่รู้ในเรื่องนี้เลย จนกระทั่งท่านเสียชีวิตและดุอฺาอ์ที่ท่านอ่านมากที่สุดได้แก่

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าฯ ขอความสุขสบายในยามพบกับความตาย และขอการอภัยในยามได้รับการสอบสวน”(18)

 (18) นูรุล-อับศอร หน้า 218

๑๒๔

17. ท่านอับดุลวะฮาบ อัช-ชะอฺรอนีได้กล่าวว่า:

ท่านคือหนึ่งในบรรดาอิมามทั้งสิบสอง ท่านคือบุตรของท่านอิมาม

ญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด บินอฺะลี บินฮุเซน บินอฺะลี บินอะบีฏอลิบ

(ขอให้อัลลอฮฺทรงปิติยินดีต่อท่านเหล่านั้น) ท่านได้รับฉายานามว่า

“อับดุศศอลิฮฺ” (บ่าวที่มีคุณธรรม) ท่านทำการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย และทำหน้าที่อิจญ์ติฮาด ท่านนมาซในยามกลางคืน เมื่อท่านได้รับข่าวว่าใครกล่าวร้ายท่าน ท่านก็จะส่งทรัพย์สินไปให้คนนั้นเสมอ (19)

(19) อัฏ-ฏ่อบะกอตุ้ล-กุบรอ หน้า 33.

18. ท่านอับดุลลอฮฺ อัช-ชิบรอวี อัช-ชาฟิอีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมเป็นผู้มีความเอื้อเฟื้ออันยิ่งใหญ่ บิดาของท่านคือ

อิมามญะอฺฟัรมีความรักต่อท่านเป็นอย่างยิ่ง เคยมีคนถามท่านว่า

“ท่านรักมูซามากขนาดไหน ?”

ท่านตอบว่า

“ฉันรักเขามากถึงขนาดที่ไม่อยากมีลูกคนอื่นอีก เพื่อที่ว่าจะไม่มีใครมีส่วนร่วมกับเขาในการได้รับความรักจากฉัน”(20)

(20) อัล-อิตติฮาฟ บิฮุบบิล-อัซรอฟ หน้า 54.

๑๒๕

19. ท่านมุฮัมมัด เคาะวาญะฮฺ อัล-บุคอรีกล่าวว่า:

คนหนึ่งจากบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺนั้นได้แก่ ท่านอะบุลฮะซัน

มูซา อัล-กาซิมบินญะอฺฟัร อัศ-ศอดิก(อฺ) ขออัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงมีความยินดีต่อท่านในฐานะที่เป็นคนทำอิบาดะฮฺ เป็นคนมีคุณธรรม เป็นคนประเสริฐ เป็นคนสุภาพ เป็นผู้มีบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ มีความรู้มาก

 ท่านได้รับฉายานามว่า “อับดุศศอลิฮฺ” (บ่าวที่มีคุณธรรม) ทุกวันท่านจะซุญูดต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) เป็นเวลานาน หลังจากดวงอาทิตย์ขึ้นจวบจนดวงอาทิตย์คล้อย

ท่านเคยส่งทรัพย์สินไปให้คนที่กล่าวร้ายท่านถึง 1,000 ดีนารฺ

คอลีฟะฮฺมะฮฺดี บุตรของมันศูรฺ ได้เรียกท่านให้เดินทางจากเมืองมะดีนะฮฺ แล้วจับตัวท่านไปกักขัง มะฮฺดีหลับฝันเห็นท่านอฺะลี(ผู้ซึ่งอัลลอฮฺทรงให้เกียรติต่อใบหน้าของเขา)มากล่าวว่า

“มะฮฺดีเอ๋ย พวกเจ้าหวังหรือว่า พวกเจ้าจะได้มีอำนาจปกครอง หากว่าพวกเจ้าก่อความเสียหายในหน้าแผ่นดิน และจะจัดการตัดขาดบรรดาญาติมิตรของพวกเจ้า”

แล้วมะฮฺดีก็ปล่อยตัวท่านออกจากคุก(21)

(21) ยะนะบีอุล-มะวัดดะฮฺ หน้า 459.

๑๒๖

20. ท่านอับดุลลอฮฺ บินอัซอัด อัล-ยาฟิดีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา เป็นคนมีคุณธรรม เป็นผู้ทำอิบาดะฮฺตลอดเวลา

 เป็นคนประเสริฐ เป็นคนสุภาพเรียบร้อย และเป็นผู้มีบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ ท่านคือหนึ่งในบรรดาอิมามทั้งสิบสองอันเป็นมะอฺศูมในความเชื่อของ

พวกอิมามียะฮฺ ท่านได้รับฉายานามว่า “อับดุศศอลิฮฺ” (บ่าวที่มีคุณธรรม)

เพราะการทำอิบาดะฮฺและการอิจญ์ติฮาดของท่าน ท่านเป็นคนโอบอ้อมอารี ท่านเคยได้ข่าวว่า มีคนกล่าวร้ายท่าน ท่านจึงส่งทรัพย์สินไปให้คนนั้น 1,000 ดีนารฺ (22)

 (22) มิรอาตุล-ญินาน เล่ม 1 หน้า 394.

21. ท่านมุฮัมมัด อะมีน อัซ-ซุวัยดี ได้กล่าวว่า:

ท่านคืออิมามผู้มีบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ มีความดีงามอย่างมากมาย

ท่านทำนมาซในยามกลางคืน ถือศีลอดในยามกลางวัน ท่านได้รับฉายานามว่า “กาซิม” เพราะท่านไม่โต้ตอบคนละเมิด ท่านมีความดีเด่นเป็นพิเศษ เกียรติยศของท่านมีมากมาย จนเราไม่อาจกล่าวถึงในที่นี้ให้ครบถ้วนได้(23)

(23) ซะบาอิกุซ-ซะฮับ หน้า 73.

๑๒๗

22. ท่านมะฮฺมูด บินวะฮับ อัล-กอรอฆูลี กล่าวว่า:

เขาคือ มูซา บินญะอฺฟัร บิน มุฮัมมัด บาเก็ร บิน อฺะลี ซัยนุล อฺาบิดีน

 บินฮุเซน บิน อฺะลี บิน อะบีฏอลิบ(ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานความยินดีแก่พวกท่านทุกคน) สมญาของท่านคือ “อะบุลฮะซัน” ท่านมีฉายานามทั้ง 4 ว่า กาซิม, ศอบิร, ศอลิฮฺ, อามีน แต่ชื่อที่หนึ่งนั้นเลื่องลือที่สุด

 ท่านมีบุคลิกลักษณะสมส่วน เป็นทายาทของผู้เป็นบิดา ในด้านความรู้ความเข้าใจศาสนาอย่างถ่องแท้ มีความสมบูรณ์พร้อมและมีเกียรติ ท่านได้รับฉายานามว่า “กาซิม” เพราะท่านมีความอดกลั้น และมีความสุภาพอ่อนโยนเป็นที่รู้กันในหมู่ชาวอิรัคว่า ท่านเป็นประตูแห่งการขอสิ่งที่ต้องการจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านคือคนที่ทำอิบาดะฮฺมากที่สุดในหมู่ชนสมัยนั้น เป็นคนมีความรู้สูงที่สุดและเรียบร้อยที่สุด (24)

(24) เญาฮะร่อตุล-กะลาม หน้า 139.

23. ท่านอฺะลี ญะลาลุล-ฮุซัยนีได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมเป็นศูนย์รวมแห่งวิชาฟิกฮฺ วิชาการศาสนา พิธีกรรมศาสนา และมีความสุภาพเรียบร้อง อดทนโดยไม่มีใครเกินท่านได้เลย(25)

(25) อัล-ฮุเซน เล่ม 2 หน้า 207.

๑๒๘

24. ท่านมุฮัมมัด อะมีน ฆอลิบุฏ-ฏอวีลกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม เป็นเชื้อสายของท่านอฺะลี เป็นสุภาพบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้มีชื่อเสียงในด้านการสำรวมตนต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านทำอิบาดะฮฺมากที่สุด จนกระทั่งบรรดาชาวมุสลิมทั้งหลายให้ชื่อท่านว่า “อัลอับดุศ-ศอลิฮฺ” (บ่าวผู้มีคุณธรรม) ท่านได้รับฉายานามอีกว่า ‘สุภาพบุรุษที่มีคุณธรรม’

ท่านมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับท่านมูซา บุตรของอิมรอน ตามที่ปรากฏชื่อในอัล-กุรอาน ท่านอิมามมูซา อัล-กาซิม เป็นคนมีเกียรติสูงส่งยิ่ง(26)

(26) ตารีคุ้ล-อะละวียีน หน้า 158

25. ท่านยูซุฟ อิสมาอีล อัน-นะบะฮานีได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม เป็นอิมามผู้ยิ่งใหญ่ในบรรดาประมุขของเราในสายอะฮฺลุลบัยตฺ ผู้ทรงเกียรติเป็นหลักชัยของอิสลาม (ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานความชื่นชมแก่พวกท่านทุกคน) เราได้รับคุณประโยชน์โดยความจำเริญยิ่งของท่านเหล่านั้น เราขอตายเพื่อความรักพวกท่าน และความรักต่อทวดของพวกท่าน ผู้เป็นศาสดาที่ยิ่งใหญ่(ศ)(27)

(27) ญามิอุกะรอมาติล-เอาลียาอ์ เล่ม 2 หน้า 269.

๑๒๙

26. ดร. ซะกี มุบาร็อก ได้กล่าวว่า :

ท่านมูซา บิน ญะอฺฟัรเป็นประมุขคนหนึ่งในบรรดาประมุขทั้งหลายแห่งตระกูลฮาชิม ท่านเป็นอิมามระดับแนวหน้าในด้านความรู้ทางศาสนา(28)

(28) ชะเราะฮฺ ชะฮฺรุล-อาดาบ เล่ม 1 หน้า 132.

27. ดร. อับดุลญับบารฺได้กล่าวว่า :

ท่านอิมามมูซา กาซิมคือท่านอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร บิน มุฮัมมัด บิน

อฺะลี บิน ฮุเซน บิน อฺะลีบิน อะบีฏอลิบ เป็นคนมีประวัติดีเด่นในด้านความสมถะ นอบน้อมและมีจริยธรรม ท่านได้รับฉายานามว่า “กาซิม” เพราะท่านทำดีตอบแทนคนที่ทำความชั่วให้แก่ท่าน(29)

(29) ฮารูน ร่อชีด เล่ม 1 หน้า 188.

28. ดร. มุฮัมมัด ยูซุฟได้กล่าวว่า :

เราสามารถกล่าวได้ว่า บุคคลแรกที่เขียนวิชาฟิกฮฺคือ อิมามมูซา กาซิม ผู้ซึ่งได้เสียชีวิตในคุก เมื่อปี ฮ.ศ. 183 และที่ท่านเขียนตอบคำถามต่าง ๆ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “อัล-ฮะลาล วัล-ฮะรอม” (30)

 (30) อัล-ฟิกฮุล-อิสลามี มัดค่อลุนลิดิรอซะติล-มุอามะลาต หน้า 160.

๑๓๐

บทส่งท้าย

ของอิมามที่ 7

หลายหน้าที่ผ่านไปคือ บทสรุปรวบยอดของอัตชีวประวัติของท่าน

อิมามมูซา อัล-กาซิม(อฺ) คือ การร้อยเรียงอย่างง่ายๆ ถึงส่วนหนึ่งของ

วิทยปัญญาอันสูงเด่น และคำพูดอันล้ำค่าของท่านอิมาม(อฺ)

และในท้ายที่สุดได้มีการยกคำกล่าวสรรเสริญ สดุดีของบรรดาอุละมาอ์และนักปราชญ์ที่มีต่อท่านอิมามผู้ทรงเกียรติ(อฺ) การยอมรับความยิ่งใหญ่ต่อตำแหน่งของท่านอิมาม(อฺ)

การยืนยันถึงเกียรติคุณอันจำรัสของท่านอิมาม(อฺ)ที่ออกมาจากความรู้สึกส่วนลึกของพวกเขา

เป้าหมายของหนังสือเล่มนี้ก็คือ

- ขอให้พวกเราได้เพียรพยายามดำเนินรอยตามวิถีชีวิตซึ่งท่านอิมามผู้บริสุทธิ์ (อฺ) ได้ปูทางไว้

- ขอให้พวกเราได้ยึดเอาวิถีชีวิตของท่าน (อฺ) เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินชีวิตที่เป็นรูปธรรมของพวกเราทุกคน

- ขอให้พวกเราได้น้อมรับเอาคำพูดและคำสั่งเสียของท่าน (อฺ) เป็นเหตุผลหลักสำหรับการทำให้ชีวิตของเราสูงเด่นยิ่งขึ้น เป็นแนวประพฤติปฏิบัติของเรา เป็นบันไดสำหรับการไต่ขึ้นสู่ความสูงส่งของเรา

๑๓๑

และสิ่งอื่นๆ ที่เหมาะสมสำหรับข้าพเจ้า และท่านที่ไม่ได้มุ่งมาดกล่าวออกมา

“อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเป็นผู้ช่วยเหลือ”

“จงกล่าวเถิด(โอ้มุฮัมมัด) อัลลอฮฺทรงมองเห็นการกระทำของพวกเจ้าทุกคน รอซูลและบรรดามุอ์มิน(ผู้ศรัทธา)ก็มองเห็นเช่นกัน พวกเจ้าจะต้องย้อนกลับไปยังพระผู้ซึ่งรอบรู้ในเรื่องเร้นลับ และประจักษ์พยานทั้งหลาย จนกระทั่งพระองค์ได้ตอบแทนผลแห่งการกระทำที่พวกเจ้าได้ปฏิบัติมา(ไม่ว่าดีหรือเลว”

(อัต-เตาบะฮฺ: 105)

๑๓๒

Table of Contents

สารบัญ

บทนำ.. 2

ชีวประวัติของอิมามมูซา บิน ญะอฺฟัร(อฺ) 5

บทบัญญัติการเป็นค่อลีฟะฮฺของท่านอิมามที่ 7. 9

ข้อบัญญัติที่ 1. 11

ข้อบัญญัติที่ 2. 12

ข้อบัญญัติที่ 3. 12

ข้อบัญญัติที่ 4. 13

ข้อบัญญัติที่ 5. 13

อิบาดะฮฺ :รูปจำลองแห่งการภักดีของอิมามกาซิม(อฺ) 14

วิถีชีวิต :อันควรสรรเสริญของอิมามที่ 7. 21

คุณธรรมต่อผู้ยากไร้ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ) 28

มรดกอิสลามอันอมตะจากคำสั่งเสียของอิมามที่ 7. 33

คำสั่งเสียที่ 1ต่อบุตรของอิมามที่ 7. 33

คำสั่งเสียที่ 2 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7. 34

คำสั่งเสียที่ 3 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7. 35

คำสั่งเสียที่ 4 ต่อบรรดาชีอะฮฺของอิมามที่ 7. 35

คำสั่งเสียที่ 5ต่อฮิชาม บินฮะกัม (ร.ฎ.) ของอิมามที่ 7. 36

สาส์นของอิมามมูซา กาซิม(อฺ) 57

บทเรียนอันสูงค่า 57

สาส์นฉบับที่ 1. 57

สาส์นฉบับที่ 2. 58

สาส์นฉบับที่ 3. 58

สาส์นฉบับที่ 4. 60

สุภาษิต : 61

คำสอนแห่งจริยธรรมของอิมามกาซิม(อฺ) 61

สุภาษิตที่ 1. 62

สุภาษิตที่ 2. 62

สุภาษิตที่ 3. 62

สุภาษิตที่ 4. 63

สุภาษิตที่ 5. 63

สุภาษิตที่ 6. 63

สุภาษิตที่ 7. 64

สุภาษิตที่ 8. 64

สุภาษิตที่ 9. 64

สุภาษิตที่ 10. 65

สุภาษิตที่ 11. 65

สุภาษิตที่ 12. 65

สุภาษิตที่ 13. 65

สุภาษิตที่ 14. 66

สุภาษิตที่ 15. 66

สุภาษิตที่ 16. 66

สุภาษิตที่ 17. 66

สุภาษิตที่ 18. 67

สุภาษิตที่ 19. 67

สุภาษิตที่ 20. 67

สุภาษิตที่ 21. 67

สุภาษิตที่ 22. 67

สุภาษิตที่ 23. 68

สุภาษิตที่ 24. 68

สุภาษิตที่ 25. 68

ถาม~ตอบของอิมามที่ 7. 69

ถาม~ตอบ. 69

เรื่องที่ 1. 69

ถาม~ตอบ. 71

เรื่องที่ 2. 71

ถาม~ตอบ. 75

เรื่องที่ 3. 75

ถาม~ตอบ. 77

เรื่องที่ 4. 77

ถาม~ตอบ. 78

เรื่องที่ 5. 78

ถาม~ตอบ. 78

เรื่องที่ 6. 78

ถาม~ตอบ. 79

เรื่องที่ 7. 79

ถาม~ตอบ. 80

เรื่องที่ 8. 80

ถาม~ตอบ. 81

เรื่องที่ 9. 81

ถาม~ตอบ. 83

เรื่องที่ 10. 83

ถาม~ตอบ. 89

เรื่องที่ 11. 89

ถาม~ตอบ. 90

เรื่องที่ 12. 90

ถาม~ตอบ. 92

เรื่องที่ 13. 92

ถาม~ตอบ. 97

เรื่องที่ 14. 97

ถาม~ตอบ. 99

เรื่องที่ 15. 99

ความดีงามพิเศษ : 101

บทขอพรของอิมามมูซา กาซิม(อฺ) 101

การขอพึ่งพิง และตัดขาด(จากทุกสิ่งทุกอย่าง) เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) 101

ดุอาอ์. 102

บทที่ 1. 102

เป็นบทดุอาอ์บทหนึ่งของอิมามที่ 7. 102

ดุอาอ์. 105

บทที่ 2. 105

เป็นดุอาอ์ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)หลังนมาซซุฮฺริ. 105

ดุอฺาอ์. 107

บทที่ 3. 107

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของอิมามมูซา(อฺ) 107

ดุอฺาอ์. 108

บทที่ 4. 108

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ) 108

การตอบสนองต่อบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามที่ 7. 109

คำสดุดี จากบรรดานักปราชญ์ต่ออิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ) 116

บทส่งท้าย. 131

ของอิมามที่ 7. 131

๑๓๓

134

135

136

137

138

139

140

๖.หนึ่งในเหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในการเป็รผู้อภิบาล คือ ความเป็นระบบและระเบียบของโลก ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การมีอยู่ของโลกที่มีระบบและระเบียบ บ่งบอกถึง การมีอยู่ของผู้ที่ให้ความเป็นระบบและระเบียบแก่โลก และต้องมีระบอบเดียว ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า จะต้องมีผู้ที่บริหารเพียงองค์เดียว นั่นคือ พระเจ้า พระองค์เป็นผู้บริหารการงานต่างๆเพียงองค์เดียว

๗.โองการต่างๆของอัล กุรอานได้กล่าวเน้นย้ำในความเป็นสร้างของพระเจ้า และพระองค์เป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง และนี่คือ ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง

๘.อัล กุรอานได้เน้นย้ำอย่างกระจ่างชัดแล้วว่า บรรดาพวกตั้งภาคีทั้งหลายได้ยอมรับในความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง แต่พวกเขาไม่ยอมรับในความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล

๙.อัล กุรอานได้เน้นย้ำว่า การมีการสร้างของสิ่งอื่นๆ นอกเหนือจาก ความเป็นเอกานุภาพในการสร้างของพระเจ้าแล้ว สิ่งอื่นก็มีความสามารถในการสร้างได้เช่นกัน แต่ด้วยกับการอนุมัติจากพระองค์เท่านั้น ดั่งตัวอย่างของศาสดาอีซา(เยซู) ปาฏิหาริย์หนึ่งของท่าน คือ การปั้นนกจากดินด้วยกับการอนุมัติจากพระเจ้า

๑๐.การพิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล ก็คือ การโต้แย้งและข้อพิพาทระหว่างบรรดาศาสดาทั้งหลายกับพวกปฏิเสธ ตัวอย่างเช่น ในสมัยของศาสดาอิบรอฮีมกับกษัตริย์นัมรูดและพวกบูชาหมู่ดาวนพเคราะห์ทั้งหลาย

๑๔๑

๑๑.อัล กุรอานจากโองการที่ ๒๒ บทอัลอัมบิยาอ์ ได้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล และการมีระบอบปกครองแบบเดียวในโลก แสดงให้เห็นว่า มีความเป็นเอกานุภาพในการเป็นผู้อภิบาล และเช่นกัน ยังมีวจนะอื่นๆอีกมากมายที่ได้กล่าวเน้นย้ำในหลักการนี้

๑๔๒

   บทที่ ๖

   ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบและการปกครอง –ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า

 (เตาฮีด ตัชรีอียฺและฮากิมีย์ –เตาฮีด อุลูฮียฺ)

   ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง

 (เตาฮีด ตัชรีอียฺและฮากิมีย์)

    ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ซึ่งก็ได้รวมอยู่ในประเภทของความเป็นเอกานุภาพในการบริหาร เป็นที่รู้กันดีว่า มนุษย์มีความต้องการ การกำหนดกฏและระเบียบในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนั้น การกำหนดกฏหรือบทบัญญัติ จะต้องมีผู้ที่กำหนดกฏต่างๆและบทบัญญัติ

ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ หมายถึง การมีความเชื่อว่าพระเจ้า เป็นผู้ที่กำหนดกฏระเบียบเพียงองค์เดียว โดยที่ไม่ต้องการ การช่วยเหลือใดๆ ดังนั้น การกำหนดกฏระเบียบของพระเจ้าด้วยกับอาตมันของพระองค์ โดยถือว่าเป็นการกระทำหนึ่งของพระองค์

๑๔๓

การกำหนดกฏระเบียบของสิ่งอื่นๆก็ขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากพระองค์ ส่วนการแสดงความเป็นเจ้าของใน มนุษย์ ทรัพย์สิน และการกระทำทั้งหลายของเขา ก็ถือว่า เป็นการกระทำของพระเจ้าด้วยเหมือนกัน ซึ่งเห็นได้ว่า พระเจ้าคือ ผู้ทรงกรรมสิทธิ์และเป็นผู้ปกครองที่แท้จริง ดังนั้น อิสลามจึงมีความเชื่อว่า พระเจ้า เป็นผู้กำหนดกฏระเบียบแต่เพียงผู้เดียว และสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีสิทธิ์ในการกำหนดกฏระเบียบ นอกเหนือจาก เขาจะต้องได้รับการอนุมัติจากพระเจ้าเสียก่อน เพราะฉะนั้น มิได้หมายความว่า มนุษย์ไม่มีสิทธิ์ในการกำหนดกฏระเบียบ แต่การกำหนดกฏของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากพระองค์

   พื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง

    การพิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพประเภทนี้ มีเหตุผลอยู่มากมายที่ยืนยันได้จากการใช้เหตุผลทางสติปัญญา 

ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง เป็นชนิดหนึ่งของการบริหารกิจการของมนุษย์ และในความเป็นเอกานาภาพในการบริหาร ได้กล่าวไปแล้วว่า ผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหาร คือ พระเจ้าเพียงองค์เดียว ดังนั้น การบริหารกิจการของมนุษย์ เช่น การกำหนดกฏ และการปกครอง ถือว่า เป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า

๑๔๔

 ส่วนสรรพสิ่งนั้น ไม่มีอำนาจในการกำหนดกฏเกณฑ์ เพราะว่า มนุษย์ไม่มีการบริหารที่เป็นอิสระเสรีในตนเอง จึงไม่มีสิทธิ์ในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครองได้ด้วยตัวของเขาเอง

๒.การวางกฏเกณฑ์ และการกำหนดบทบัญญัติ ขึ้นอยู่กับความจำเป็น และการมีขอบเขตจำกัดในความเป็นอิสระเสรีต่อการใช้กฏต่างๆ และการปกครองก็เช่นเดียวกัน ซึ่งมนุษย์มิได้มีความเป็นอิสระเสรีในการกระทำของตนเอง จึงไม่มีความสามารถที่จะกำหนดบทบัญญัติขึ้นมาเองได้ ดังนั้น การมีอำนาจสิทธิ จะเกิดขึ้นได้ต้องเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระเจ้า คือ เจ้าของอย่างแท้จริงของทุกสรรพสิ่ง และไม่มีมนุษย์คนใดเป็นเจ้าของที่แท้จริงของมนุษย์ ดังนั้น เมื่อพระเจ้า เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่มีสิทธิในการวางกฏเกณฑ์ และการกำหนดบทบัญญัติและการปกครองก็เช่นกัน ส่วนสิ่งอื่นๆต้องได้รับอนุมัติจากพระเจ้า จึงสามารถที่จะกำหนดกฏระเบียบได้
๓.ไม่เป็นที่สงสัยเลย สำหรับผู้วางกฏเกณฑ์ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในตัวบทกฏต่างๆที่จะนำมาใช้กับมนุษย์ได้ และอีกอย่างหนึ่ง เขาต้องรู้จักในแก่นแท้และสารัตถะของมนุษย์ด้วย และต้องรู้จักแนวทางการทำให้มนุษย์พบกับความผาสุกและความสมบูรณ์ ดังนั้น ผู้ที่มีความรอบรู้ในสิ่งที่ได้กล่าวไปนั้น คือ พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น พระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ในทุกสรรพสิ่ง และรู้จักมนุษย์ดีกว่ามนุษย์ด้วยกันเสียอีก

๑๔๕

   ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบและการปกครองในทัศนะของอัล กุรอาน

    ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า ประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ คือ ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง หมายถึง พระเจ้าเป็นผู้ทรงกรรมสิทธิเพียงองค์เดียว ในการกำหนดกฏระเบียบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมของเขา อีกทั้งยังได้วางบทบัญญัติของพระองค์ เพื่อทำให้มนุษย์ได้นำเอาไปปฏิบัติ และพระเจ้าคือ ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ที่มีอำนาจในการบริหารดูแลทั้งร่างกาย และทรัพย์สิน อีกทั้งกิจการต่างๆของมนุษย์ด้วย และในบางครั้งความเป็นเอกานุภาพประเภทนี้ มีความหมายตรงกับ การเป็นผู้อภิบาลในการกำหนดบทบัญญัติ

และก่อนที่จะอธิบายในทัศนะของอัล กุรอานเกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ

จะต้องมาทำความเข้าใจในความหมายของ การกำหนดกฏ กันก่อน

ในภาษาอาหรับคำว่า ตัชรีอฺ หมายถึง การกำหนดกฏและบทบัญญัติ และในอัล กุรอานก็มิได้กล่าวคำนี้ 

แต่กับกล่าวคำว่า ชะระอะ(ในรูปของกริยาในอดีตกาล) หมายถึง ได้กำหนดกฏและบทบัญญัติไปแล้ว เช่น

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ พระองค์ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นูห์ และที่เราได้ลงการวิวรณ์แก่เจ้า (มุฮัมมัด) ก็เช่นเดียวกัน” (บทอัชชูรอ โองการที่ ๑๓ )

๑๔๖

ส่วนคำว่า ฮุกุ่ม ในด้านภาษานั้นมีความหมายว่า การห้าม ,การตัดสิน และการปกครอง ซึ่งในอัล กุรอานได้กล่าวว่า การปกครองและการตัดสินเป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น เช่น

อัล กุรอานกล่าวว่า

“การตัดสินมิได้เป็นสิทธิของใครนอกจากอัลลอฮ์” (บทยูซุฟ โองการที่ ๔๐ )

และใน อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักต์ของพระองค์ การตัดสินนั้นเป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้นและยังพระองค์เท่านั้นที่พวกท่านย้อนกลับ” (บทอัลกอศอด โองการที่ ๘๘ )

จากทั้งสองโองการได้กล่าวถึง การปกครองและการตัดสินเป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า เพียงองค์เดียวเท่านั้น

และอีกโองการหนึ่ง กล่าวถึง การปฏิบัติตามคัมภีร์เตารอต และอินญีล  (ไบเบิล) ของชาวคัมภีร์ หากว่าพวกเขาไม่ได้ตัดสินจากสิ่งที่ถูกประทานมาจากพระผู้เป็นเจ้า พวกเขาก็คือผู้ปฏิเสธ และผู้ฉ้อฉล

อัล กุรอานกล่าวว่า

“ใครก็ตามที่ไม่ได้ตัดสินจากสิ่งที่ประทานลงมาจากอัลลอฮ์ พวกเขาคือผู้ปฏิเสธ”

 (บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๔๔ )

แม้ว่าโองการนี้ จะกล่าวถึงกลุ่มชนชาวยะฮูดี และชาวคริสเตียน แต่โองการอัล กุรอานก็มิได้ถูกจำกัดกับกลุ่มชนดังกล่าว และได้รวมถึงทุกกลุ่มชนที่พวกเขาที่มิได้ใช้กฏหมายของพระเจ้า กลุ่มชนนั้นเป็นกลุ่มชนที่ฉ้อฉล อีกทั้งยังเป็นกลุ่มชนที่ปฏิเสธ

๑๔๗

ดังนั้น จากโองการที่กล่าวไปแล้วนั้น แสดงให้เห็นว่า การตัดสินและการปกครอง เป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า และไม่เป็นที่อนุญาตให้มนุษย์สร้างความขัดแย้งกับการตัดสินของพระองค์

และในบางโองการได้กล่าวถึง พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้ปกครอง (วะลีย์) ของมนุษย์

อัลกุรอานกล่าวว่า

“หรือว่าพวกเขาได้ยึดถือเอาคนอื่นจากพระองค์เป็นผู้ปกครอง ดังนั้นอัลลอฮ์คือผู้ปกครอง”

  ( บทอัชชูรอโองการที่ ๙ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า คำว่า วะลีย์ ในด้านภาษา หมายถึง ผู้ปกครอง ในโองการนี้ได้กล่าวว่า อัลลอฮ์เป็นผู้ปกครอง  แสดงให้เห็นว่า การปกครองเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ดังนั้น ความหมายของโองการนี้ก็มิได้ขัดแย้งกับโองการที่ได้กล่าวว่า พระเจ้าได้แต่งตั้งมนุษย์เป็นผู้ปกครองของพระองค์ในหน้าแผ่นดิน เช่น การแต่งตั้งศาสดาดาวูดให้เป็นผู้ปกครองของพระองค์

อัลกุรอานกล่าวว่า

“โอ้ดาวูด ! เราได้แต่งตั้งเจ้าให้เป็นตัวแทนในแผ่นดินนี้ ดังนั้น เจ้าจงตัดสินคดีต่าง ๆ ระหว่างมนุษย์ด้วยความยุติธรรม และอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพราะจะทำให้เจ้าหลงไปจากทางของอัลลอฮ์”

  (บทศอด โองการที่ ๒๖ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า การที่พระเจ้าจะแต่งตั้งบุคคลใดก็ตามให้เป็นผู้ปกครอง,ผู้ตัดสินและตัวแทนของพระองค์ มิได้มีขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ และในการปกครอง

๑๔๘

 ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า หลักศรัทธาของอิสลามที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานาภาพในการปกครองได้กล่าวถึง การปกครอง เป็นกรรมสิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และการแต่งตั้งให้มนุษย์เป็นผู้ปกครองของพระองค์ ดังเช่น ตัวอย่างของท่านศาสดาดาวูด ด้วยกับเหตุผลความเป็นวัตถุของมนุษย์  พระเจ้าจึงได้แต่งตั้งตัวแทนของพระองค์ที่เป็นมนุษย์ เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นกับมนุษย์

   ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า

    ดังที่ได้กล่าวแล้ว ในบทความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะว่า ความหมายหนึ่งของหลักการนี้คือ คุณลักษณะของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์ และไม่เหมือนกับสิ่งอื่นใด โดยจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สามารถที่จะแบ่งคุณลักษณะของพระเจ้าออกเป็น ๒ ประเภทได้ด้วยกัน ดังนี้

๑.คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้าทั้งในความหมายและความเป็นจริง และไม่มีสิ่งอื่นเหมือนกับพระองค์

๒.คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้า แม้ว่าในสิ่งอื่นๆจะมีคุณลักษณะเหล่านี้อยู่ก็ตาม แต่การมีคุณลักษณะของพระองค์ ในสภาวะที่สมบูรณ์แบบที่สุดและไม่มีขอบเขตจำกัด ส่วนการมีคุณลักษณะของสิ่งอื่นในสภาพที่มีขอบเขตและต้องพึ่งพายังพระองค์

และหนึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ คือ การเป็นพระเจ้า ซึ่งถือว่า เป็นหนึ่งในคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ที่เกิดขึ้นในประเภทแรก กล่าวคือ เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้าเพียงอย่างเดียว

๑๔๙

คำว่า อิลาฮ์ ในภาษาอาหรับมาจากในรูปของ ฟิอาล์ และบางครั้งมีความหมายเป็นกรรม เช่น คำว่า กิตาบ หมายถึง สิ่งที่ถูกเขียน และรากศัพท์ของคำว่า อิลาฮ์นั้น มีความแตกต่างกัน แต่ตามทัศนะที่มีความเห็นตรงกัน คือ คำว่า อิลาฮ์ หมายถึง สิ่งที่ถูกเคารพสักการะบูชา

ดังนั้น ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า คือ การมีความเชื่อว่าพระเจ้าเป็น สิ่งที่ถูกเคารพบูชา (มะอ์บูด) อย่างแท้จริง

อัล กุรอานกล่าวว่า

และถ้าเจ้าถามพวกเขา ใครเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า อัลลอฮ์”

(บทลุกมาน โองการที่๒๕)

พวกตั้งภาคีในคาบสมุทรอาหรับได้ยอมรับในการมีความเป็นเอกานุภาพในการสร้าง แต่พวกเขาไม่ยอมรับว่า มีความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า กล่าวคือ พวกเขามีความเชื่อว่ามีพระเจ้า เป็นผู้ที่ทรงสร้างพวกเขาและสรรพสิ่งทั้งหลาย แต่ในการเป็นพระเจ้า พวกเขากับยึดเอาสิ่งอื่นที่มิใช่พระเจ้า และสิ่งนั้นมิได้เป็นพระเจ้าไปเคารพสักการะบูชา

ดังนั้น อัล กุรอานได้เล็งเห็นความสำคัญของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า โดยกล่าวเน้นย้ำในโองการมากมาย เพื่อที่จะขจัดความคลุมเครือจากข้อสงสัยและปัญหาของพวกตั้งภาคี และมิใช่จะเฉพาะเจาะจงกับบรรดาพวกตั้งภาคีในคาบมหาสมุทรอาหรับ แต่ยังได้รวมถึงบรรดาพวกตั้งภาคีทั้งหลายด้วย

ด้วยเหตุนี้ คำว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ พระเจ้าองค์เดียว เป็นคำกล่าวในการยอมรับศาสนาอิสลามและอัลกุรอานได้กล่าวว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ,ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากฉัน ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงการมีความเป็นเอกานาภาพในการเป็นพระเจ้า

๑๕๐

 

   ทำไมต้องมีพระเจ้าองค์เดียว?

    หลังจากที่ได้อธิบายในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในความเป็นพระเจ้าไปแล้ว ก็เกิดคำถามขึ้นอีกว่า ทำไมจึงต้องมีพระเจ้าเพียงองค์เดียวด้วย แล้วไม่มีพระเจ้าอื่น เลยกระนั้นหรือ?

ก่อนที่จะตอบในคำถามนี้ จำเป็นที่จะต้องตอบคำถามที่ได้ถามขึ้นอีกว่า แล้วยังมีสิ่งอื่นใดที่ควรค่าแก่การเคารพภักดี นอกจากพระเจ้าเพียงองค์เดียวหรือ?

สำหรับคำตอบของคำถามนี้  ก็คือ จากการให้ความหมายของการเป็นพระเจ้า (อุลูฮียัต) จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ควรค่าแก่การเคารพภักดี จะต้องไม่มีข้อบกพร่องและความผิดพลาด และสิ่งนั้นต้องมีอำนาจสูงสุดเหนือทุกสรรพสิ่งทั้งหลาย และเป็นผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพ, ชี้นำมวลมนุษยชาติไปสู่ความผาสุก ,เป็นผู้สร้างทุกสรพสิ่งและเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านั้นอย่างแท้จริง ดังนั้น  ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คุณสมบัติดังกล่าวนั้นเหมาะกับพระเจ้าเพียงองค์เดียวอย่างแน่นอน และจากความเป็นเอกานุภาพในอาตมันที่ได้กล่าวถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระเจ้า และไม่มีสิ่งอื่นใดเหมือนกับอาตมันของพระองค์ เพราะฉะนั้น พระเจ้าเพียงพระองค์เดียวที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์แบบและควรค่าแก่การเคารพภักดีอย่างแท้จริง

๑๕๑

   ความสัมพันธ์ของประเภทต่างๆในความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา

    หลังจากที่ได้อธิบายในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และได้แบ่งเป็นประเภทต่างๆ  และเหตุผลการพิสูจน์ทางสติปัญญา แสดงให้เห็นว่า ประเภทต่างๆของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธานั้น มีความสัมพันธ์ต่อกันและกันและเป็นที่รู้กันดีว่า อาตมันของพระเจ้าบริสุทธิ์จากการมีส่วนประกอบ เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่ (วาญิบุลวูญูด)  และมีความเป็นเอกานุภาพและมีหนึ่งเดียว ส่วนในคุณลักษณะของพระองค์ก็เหมือนกับอาตมัน และนี่คือ ความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ ส่วนการกระทำของพระเจ้า พระองค์ ไม่ต้องการความช่วยเหลือหรือพึ่งพาสิ่งใด และนี่ก็คือ ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ ที่มีความสัมพันธ์ไปยังการเป็นพระเจ้า ,การบริหารกิจการ และในการสร้าง  ซึ่งสรุปได้ว่า คำสอนของศาสนาอิสลามในทุกประเภทของความเป็นเอกานุภาพ มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน

๑๕๒

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีด ตัชริอีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ

เตาฮีด ฮากิมียัต หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการปกครอง

เตาฮีด อุลูฮิยัต หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า

     สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครองแด่เพียงผู้เดียว ส่วนสิ่งอื่นต้องได้รับอนุมัติจากพระเจ้าก่อน จึงสามารถมีอำนาจการกำหนดบทบัญญัติ และปกครองได้

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า  และพระองค์เท่านั้นที่เป็นผู้ทรงกรรมสิทธิ์เหนือทุกสิ่ง อีกทั้งทรงมีความรอบรู้ ดังนั้น เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดเหมาะสมที่สุดในการกำหนดกฏระเบียบ และการปกครอง

๓.ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพ หมายถึง พระเจ้าเท่านั้นที่ควรค่าต่อการเคารพภักดี ดังคำกล่าวของอิสลามที่ว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ พระเจ้าเพียงองค์เดียว”

๔.เป็นรู้กันดีแล้วว่า พระเจ้าเท่านั้นที่เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสมบูรณ์และไม่มีข้อบกพร่อง ดังนั้น พระองค์คือ ผู้ที่มนุษย์จะต้องทำการเคารพภักดี และไม่มีสิ่งอื่นใดที่ควรค่าแก่การเคารพภักดี

๕.ในประเภทต่างๆของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา มีความสอดคล้องและมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันด้วย

๑๕๓

   บทที่ ๗

   ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ (เตาฮีด อะมะลีย์)

 ตอนที่ หนึ่ง

   การซึมซับของความเป็นเอกานุภาพในด้านความคิด ความเชื่อ และในด้านการปฏิบัติ

    ความคิดและความเชื่อของมนุษย์ มีผลกระทบต่อเขาในด้านการปฏิบัติ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลักการที่สำคัญของมนุษย์ทุกคนที่ยอมรับ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ทัศนคติของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับความเชื่อของเขา และอีกทั้งยังมีผลต่อหลักการปฏิบัติ ดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา เป็นหลักการที่เฉพาะเจาะจงกับความเชื่อในการรู้จักถึงพระเจ้า และความสัมพันธ์ของพระองค์กับโลก และมนุษย์ เพราะฉะนั้น มนุษย์ที่เติบโตมาจากอุ้งตักของอิสลาม มีความเชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียว ,เป็นผู้สร้างอย่างแท้จริง เป็นพระผู้อภิบาล และเป็นพระเจ้าแห่งสากลจักวาล และพระองค์ทรงดำรงอยู่ ทั่วทุกหน ทุกแห่ง ในขณะเดียวกัน เมื่อมนุษย์มีความเชื่อเช่นนี้ แน่นอนที่สุด ความเชื่อนี้มีผลกระทบต่อการกระทำ และการปฏิบัติของเขา และนี่คือ ความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ กล่าวคือ การมีความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว และการปฏิบัติตามความเชื่อนี้ ด้วยเหตุนี้ ความหมายที่แท้จริงของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ก็คือ ผลของความเชื่อในหลักการนี้

๑๕๔

เมื่อมนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า เขาย่อมสำนึกอยู่เสมอว่า การเคารพภักดี ,การขอความช่วยเหลือ และการมอบหมายกิจการงานต่างๆของเขา เพียงพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น ดังนั้น มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามพระองค์เพียงองค์เดียวด้วย

ท่านอัลลามะฮฺชะฮีด มุเฎาะฮะรีย์ นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของอิสลาม กล่าวว่า

 “ระดับขั้นทั้งสามที่ผ่านมา กล่าวคือ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา ซึ่งเป็นอีกประเภทหนึ่งของการรู้จักถึงพระเจ้า ส่วนความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีนั้น เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติ และอยู่ในประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ ดังนั้น ระดับขั้นดังกล่าว ถือว่าเป็นการใช้ความคิดที่ถูกต้องในระดับขั้นนี้ อีกทั้งยังเป็นการปฏิบัติที่เหมาะสมตรงตามความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา นั่นคือ การให้ทัศนะที่สมบูรณ์แบบที่สุด ส่วนความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติ ก็คือ การปฏิบัติที่นำไปสู่ความสมบูรณ์แบบด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา จึงเป็นการนำไปสู่ยังความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริง และความเป็นเอกานุภาพในด้านปฏิบัติ ก็เปรียบเสมือนเป็นการกระทำหนึ่งของมนุษย์ได้เช่นกัน ดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา จึงประดุจดั่งกับการมองเห็น ส่วนความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติ ก็เสมือนดั่งการเดินทางของมนุษย์นั่นเอง “

(จากหนังสือ รวบรวมผลงานประพันธ์ของท่านชะฮีด มุฏอฮะรีย์

 เล่ม ๒ หน้าที่ ๑๐๑)

๑๕๕

   คุณค่าของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา

 

    จากการให้นิยามของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า มีความหมายที่ครอบคลุมการปฏิบัติทุกประเภท ซึ่งได้นำเอาบางประเภทของการปฏิบัติมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้

      ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี

    ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ  ซึ่งการให้ความสำคัญของความหมายของหลักการนี้ ก็คือ นักการศาสนาบางคน ได้กล่าวว่า ประเภทนี้เป็นประเภทเดียวกับความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ โดยที่คิดว่า ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ มิสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆได้และถ้าหากได้กล่าวว่า ประเภทของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา คือ การรู้จักในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า หมายความว่า  การมีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี จึงหมายถึง ผู้ที่เหมาะและควรค่าแก่การเคารพภักดี คือ พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และการเคารพภักดีต่อพระองค์ คือ เป้าหมายที่สูงสุดในการแต่งตั้งบรรดาศาสดา

๑๕๖

ดั่งที่ในอัล กุรอานได้กล่าวไว้ว่า

“และแน่นอนที่สุด เราได้แต่งตั้งศาสดามาทุกประชาชาติเพื่อให้พวกเขาทำการเคารพภักดีต่อฉันและออกห่างจากพวกบูชาเจว็ด” (บทอันนะหฺลิ โองการที่ ๓๖)                                                                                            

ความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์บ่งบอกว่า การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า  เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของศาสนาที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า และเพื่อที่จะนำมนุษย์ไปสู่แนวทางที่เที่ยงตรงและออกห่างจากการหลงผิดทั้งมวล

   ความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดี

    ความหมายของการเคารพภักดี ในบางครั้ง ก็เป็นที่กระจ่างชัดสำหรับเรา แต่ในประวัติศาสตร์อิสลามได้บันทึกไว้ว่า มีความแตกต่างกัน เกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตของความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ซึ่งจะอธิบายในความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดีเป็นอันดับต่อไป

 การเคารพภักดี มาจากคำว่า “อิบาดะฮ์”ในภาษาอาหรับ หมายถึง การนอบน้อม,การแสดงความต่ำต้อย และการเคารพภักดี

อิบาดะฮ์ ในทัศนะของเทววิทยาอิสลาม หมายถึง การแสดงความต่ำต้อยและนอบน้อมต่อสิ่งที่ควรค่าแด่การเคารพภักดี (มะอ์บูด)

๑๕๗

  ดังนั้น จากความหมายของคำว่า อิบาดะฮ์ จึงหมายถึง การแสดงความนอบน้อมและความต่ำต้อย แต่มิใช่ว่าทุกการนอบน้อมเป็นการอิบาดะฮ์ ก็ด้วยกับเหตุผลที่ว่า มนุษย์ได้ใช้สติปัญญาครุ่นคิดเกี่ยวกับบุคคลหนึ่งที่เขาได้นอบน้อม เพระว่ามีบุญคุณต่อเขา เช่น การนอบน้อมของลูกศิษย์ต่อครูบาอาจารย์ และการนอบน้อมของบุตรต่อบิดามารดา ทั้งหมดนั้นมิได้เรียกว่า การอิบาดะฮ์ หรือการเคารพภักดี แต่ด้วยกับการมีมารยาท ทางศีลธรรม จริยธรรม ได้บอกเตือนกับเราว่า พวกเขาเหล่านั้นมีบุญคุณต่อพวกเรา จึงจะต้องแสดงความนอบน้อม ซึ่งในอัล กุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้วว่า

“และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา และจงกล่าวเถิด โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความเมตตาให้กับท่านทั้งสอง ดั่งที่ท่านทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย”

(บทอัลอิสรออ์ โองการที่ ๒๔)

หากว่า การนอบน้อมให้กับทุกสิ่ง เป็นการเคารพภักดีแล้วละก็จำเป็นอย่างยิ่งที่สติปัญญาของมนุษย์จะต้องบอกว่า ให้ทำการเคารพภักดีต่อสิ่งที่มิได้เป็นพระเจ้า ดังนั้น เขาก็ออกห่างจากความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า เพราะ เขาได้เคารพภักดีต่อบิดามารดาและในท้ายที่สุด เขาก็เป็นผู้ที่ตั้งภาคี แต่ในความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น

๑๕๘

นักอักษรศาสตร์บางคนได้ให้ความหมายของคำว่า  อิบาดะฮ์ หมายถึง การนอบน้อม ดังนั้น ในความหมายนี้ มีความหมายที่เฉพาะเจาะจง แต่ในความเป็นจริง ความหมายนี้ยังห่างไกลจากความหมายของการเคารพภักดีอย่างแท้จริง เพราะว่า การก้มกราบ ถือว่าเป็นหนึ่งในความหมายของการเคารพภักดี  อัล กุรอานได้กล่าวถึง ครั้นเมื่ออัลลอฮ์ทรงสั่งให้มวลเทวทูตทั้งหลายทำการก้มกราบต่อท่านศาสดาอาดัมว่า

 “และครั้นเมื่อเราได้กล่าวกับมวลเทวทูตว่า พวกเจ้าจงก้มกราบต่ออาดัม ทั้งหมดได้ทำการก้มกราบ นอกจากอิบลีส” (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๓๔)

และในโองการอื่นๆได้กล่าวไว้เช่นกันถึง ท่านศาสดายูซุฟที่บรรดาพี่น้องรวมทั้งบิดาและมารดาของเขาได้ทำการก้มกราบต่อเขา

อัล กรุอานกล่าวว่า

 “และเขาได้ยกย่องพ่อแม่ของเขาขึ้นบนบัลลังก์แล้วพวกเขาก็ก้มลงคารวะ (สุญูด)”

(บทยูซุฟ โองการที่๑๐๐)

ถ้าหากว่า ระดับขั้นที่สูงสุดของการเคารพภักดี คือ การนอบน้อม ดังนั้น พระเจ้าก็ทรงสั่งให้มวลเทวทูต ทำการตั้งภาคีในการเคารพภักดี และครอบครัวของท่านศาสดายูซุฟก็เป็นผู้ตั้งภาคีด้วยเช่นเดียวกัน ความหมายดังกล่าวนี้เป็นความหมายโดยทั่วไปจากความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดี

๑๕๙

  ดังนั้น ความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดีหมายถึง การแสดงความต่ำต้อย การนอบน้อมที่มีความศรัทธาในการเป็นพระผู้เป็นเจ้า และมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ในพระองค์ เช่น การเป็นผู้สร้าง ผู้บริหาร การให้ชีวิตและให้ความตาย ให้อภัยในบาปต่างๆ และประทานปัจจัยยังชีพ ไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใด

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดี คือ มนุษย์ได้แสดงออกต่อสิ่งหนึ่งที่มีคุณลักษณะของความเป็นพระผู้เป็นเจ้า โดยแสดงความเป็นบ่าว และความต่ำต้อย และการแสดงความเคารพสักการะบูชาในสิ่งนั้นด้วย

และถ้าหากว่าการนอบน้อมของมนุษย์มิได้มีความเชื่อในสิ่งดังกล่าว ก็ไม่เรียกการนอบน้อมนั้นว่า เป็นการเคารพภักดี

ท่านอิมามโคมัยนี (ขอความเมตตาพึงมีแด่ท่าน )ได้กล่าวว่า

“คำว่า อิบาดะฮ์ ในภาษาอาหรับ หมายถึง การยอมรับสิ่งหนึ่งเป็นพระเจ้าที่ควรค่าต่อการเคารพภักดี ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าองค์ใหญ่หรือองค์เล็กก็ตาม”

(กัชฟุลอัซรอร หน้าที่ ๒๙)

   ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีที่มีอยู่ในหมู่มุสลิม

    ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี เป็นหลักการที่สำคัญของมนุษย์ ดั่งที่โองการของอัลกุรอานได้กล่าวและเน้นย้ำไว้อย่างมากมาย และไม่มีความขัดแย้งหรือความแตกต่างกันในหลักการนี้ ในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม

๑๖๐

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450