บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339610 / ดาวน์โหลด: 4958
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

• จงมีความละอายที่จะผละหนีจากการทำศึกสงคราม เพราะมันจะทำให้ผู้สืบตระกูลของต้องคำสาปแห่งความอัปยศ และนรกจะเป็นของท่านในวันตัดสินพิพากษา

• การหลบหนีอย่างเสียขวัญ ก็คือการสวมเสื้ออันอัปยศให้กับตัวท่านเอง และทำตัวของท่านให้เหมาะสมกับนรก

• ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ หากในวันนี้ท่านได้หลบหนีคมดาบของศัตรูคนหนึ่งไปได้ แต่วันพรุ่งนี้ท่านจะไม่สามารถหลบหนีการตัดสินของพระองค์ผู้ทรงสูงส่งไปได้

• คนขี้ขลาดย่อมไม่มีความสุขในชีวิต

ความสูงศักดิ์

• คุณสมบัติอันยิ่งใหญ่ต่างๆ นำไปสู่ความสูงศักดิ์ และมิใช่กระดูกผุๆ ของบรรพบุรุษ

• คุณธรรมที่บุตรมีต่อบิดมารดา นับเป็นเครื่องพิสูจน์ของชาติกำเนิดที่ดี

มนุษย์มักมีความละม้ายคล้ายคลึงกับผู้ที่อยู่ร่วมสมัยกับพวกเขา มากกว่าบิดาของเขาเสียอีก

• บุตรที่เลวคนหนึ่ง ย่อมทำลายเกียรติยศทั้งมวลของบุคคลหนึ่ง และทำให้บรรพบุรุษของเขาต้องอับอาย

๔๑

ความร่ำรวย

• ผู้หนึ่งประสบกับความมั่งมีเพราะทำการเสี่ยง

• ผู้ที่เขามีความสุข ก็คือผู้ที่เขาร่ำรวยมาจากการประกอบอาชีพที่สุจริต

• เงินทองจะไม่มีวันสูญเสียไป เมื่อมันถูกใช้ไปเพื่อการรักษาชื่อเสียงที่ดีของท่านเอาไว้

• ผู้ใดก็ตามที่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากสิ่งที่เขาเป็นเจ้าของ ก็เท่ากับว่าเขาได้สั่งสมมันไว้ให้กับภรรยาของเขาและสามีคนต่อไปของนาง

• จงอย่านับเอาบุคคลหนึ่งว่าเป็นคนรวย หากเขาไม่ยอมใช้จ่ายอะไรเลย

• ผู้ใดก็ตามที่ไม่เชื่อฟังทรัพย์สฤงคารในทางโลก ทรัพย์สฤงคารในทางโลกก็จะหันมาเชื่อฟังและปฏิบัติตามเขา

• มันช่างเป็นอาชญากรรมที่น่ารังเกียจสักขนาดไหนหนอ! ที่ไปยึดเอาทรัพย์สินของลูกกำพร้ามา

• การยึดกุมที่ชั่วร้ายที่สุด ก็คือเมื่อสิ่งของที่มีปัญหาได้ถูกมอบให้กับท่านเป็นผู้ดูแลรักษา

• การมีหนีสินมากมายจนเกินไป ทำให้คนที่มีความจริงใจต้องโกหก และคนที่มีเกียรติต้องหนีหน้า

• มันเป็นเพราะความร่ำรวยจนเกินไป ที่เป็นต้นเหตุทำให้หัวใจของมนุษย์ต้องฉ้อฉลและสั่งสมบาป

• จงแสวงหาความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้า ให้ปลอดพ้นจากความมัวเมาในทรัพย์สมบัติ ผู้หนึ่งจะพบว่ามันเป็นเรื่องยากทีเดียวที่จะเยียวยารักษาตัวของเขาให้พ้นจากโรคนี้

๔๒

ความพึงพอใจ

• มนุษย์พึงพอใจอยู่กับความจำเป็นในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ไม่ใช่เรื่องที่มากมายอันใด

• ไม่มีทรัพย์สฤงคารใดที่จะเทียบเท่ากับความพึงพอใจ

• ผู้ใดก็ตามที่พึงพอใจอยู่กับสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงมอบให้กับเขา ย่อมจะไม่เศร้าโศกกับสิ่งที่เขาไม่มี

• หากท่านไม่สามารถจะหาในสิ่งที่ท่านปรารถนาได้ ก็จงพึงพอใจกับสิ่งที่ท่านมีอยู่

ความยากจน

• จงอย่าให้ความยากจนและความผิดหวังทำให้ท่านทุกข์ใจ เพราะทองคำต้องถูกทดสอบในไฟ ผู้ศรัทธาก็ต้องถูกนำตัวไปสอบสวน

• ผู้หนึ่งที่เที่ยวโพนทนาถึงความยากจน ย่อมทำให้ตัวของเขาตกต่ำ

ความละโมบและความโลภมาก

• คนละโมบเป็นกองคลังให้กับทายาทของเขา

• คนละโมบเป็นคนจน แม้โลกทั้งใบจะเป็นของเขาก็ตาม

• เมื่อคนละโมบประสบความสำเร็จจนมากเกินขนาดของเขา กริยาท่าทางของเขาจะเปลี่ยนไป

• คนตระหนี่มักจะรู้สึกต่ำต้อยอยู่เสมอ และคนขี้อิจฉาก็จะมีโรคภัยอยู่ตลอดไป

• ความโลภทำให้ตกต่ำ

๔๓

• ความโลภมากทำให้มนุษย์ตกต่ำ ความตายมันเป็นเรื่องยากแต่ยังน้อยกว่าการไปขอให้บริจาคเสียอีก

• มันเป็นความสุขของคนดีที่ให้อาหารแก่บุคคลอื่น แต่ส่วนของพวกที่เป็นผู้ละโมบนั่นคือการแสวงหาของกินให้กับตัวของพวกเขาเอง

• ความโลภมากและความละโมบ ทำให้ความสามารถในการตัดสินและสติปัญญาต้องมืดมัวลง

• ความโลภมากเป็นระบบทาสที่ถาวร

• ผู้หนึ่งที่เขาพัฒนาอุปนิสัยของความโลภมากและความละโมบ จะถูกเชิญชวนไปสู่ความตกต่ำเลวทราม ผู้หนึ่งที่เขาโฆษณาความยากจนและเคราะห์กรรมของเขา จะต้องประสบกับความต่ำต้อยอยู่เสมอ ผู้หนึ่งที่เขาไม่สามารถควบคุมลิ้นของเขาได้ มันจะต้องพบกับความกระอักกระอ่วนใจและความไม่สบายใจ

ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง และความเย้ายวน

• ความบริสุทธิ์ผุดผ่องนับเป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่ง

• ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทำให้ความเย้ายวนต้องอ่อนกำลังลง

• ย่อมไม่มีวิทยาญาณในความเย้ายวน

• เมื่อความสนุกสนานเริ่มขึ้น ความเย้ายวนก็จะติดตามมา แต่ความเสื่อมสลายคือตัวทำลายล้างมัน

๔๔

สุขภาพ

• สุขภาพนับเป็นทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

• ความมีสติ คือการมีสุขภาพพลานามัย

• สองสิ่งนี้จะยังไม่เห็นคุณค่า จนกว่ามันจะอำลาจากไป นั่นคือ ความหนุ่มสาวและการมีสุขภาพ

พลานามัย

• จงสดับเถิด! ทรัพย์สินนับเป็นความจำเริญ แต่สุขภาพพลานามัยเป็นเรื่องที่ดีกว่า แต่ที่ดีกว่านั้นก็คือหัวใจที่มีคุณธรรม

• หากผู้หนึ่งมีสุขภาพที่ดี ก็นับเป็นความหรรษาที่จะมีชีวิตอยู่

• การล้มเลิกในสิ่งที่เป็นความทะยานอยาก นับเป็นการเยียวยารักษาที่มีมรรคผลที่สุด

• จงรักษาโรคภัยด้วยกับการบริจาคทาน

• จงรังเกียจท้องที่อิ่มแปร่ ซึ่งจะตามมาด้วยความป่วยไข้และฝันร้าย

• ผู้ใดก็ตามที่ไม่อดทนในการละวางไปเสียจากเนื้อที่ต้องห้าม ย่อมจะได้เห็นโรคภัยเข้ามาเบียดเบียนเขา

• การปิดบังความเจ็บป่วยของผู้หนึ่งจากแพทย์ผู้รักษาเขา ก็คือผู้ทรยศต่อสุขภาพของเขาเอง

• จงใช้อดทนอดกลั้นของท่าน เป็นผู้แก้แค้นท่านในความละโมบโลภมากของท่าน ประดุงดังผู้ที่ใช้เหล็กในการแก้แค้นศัตรู

๔๕

การบริจาคทาน และความอดทนอดกลั้น

• เมื่อท่านเลี้ยงอาหารคนจน ก็จงเลี้ยงพวกเขาให้ดีเถิด

• ผู้ศรัทธาคนหนึ่งย่อมไม่รับประทานจนอิ่มแปร่ ในขณะที่พี่น้องของเขายังหิวโหยอยู่

• เขาผู้ซึ่งบริโภคเพียงเล็กน้อย ย่อมมีความคิดที่สะอาดบริสุทธิ์มากกว่า

• ความมีสตินับเป็นทรัพย์สมบัติของคนจน ในขณะที่ความรู้เป็นของปวงปราชญ์

• ความมีสติทำให้เพิ่มพูน

• ความมึนเมาของความอวดดี ก็คือความยิ่งยโสและทรนง มันซ่างช้ายิ่งกว่าการเมาเหล้าองุ่นเสียอีก

• การบริจาคเพียงเล็กน้อยในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า ยอมจะนำผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่มาให้ท่าน

• จงยับยั้งเสียก่อน ดีกว่าที่จะไปเสียใจในภายหลัง

• หากท่านประสงค์ที่จะวิงวอนของพรจากพระผู้อภิบาล เพื่อหนทางแห่งปัจจัยที่ดีกว่า ก็จงบริจาคบางสิ่งไปในทางกุศลเสียก่อน

• จงอย่าได้ละอายกับจำนวนเงินที่ได้บริจาคไปเพียงน้อยนิด เพราะการปล่อยให้คนยากจนขัดสนต้องกลับไปมือเปล่า นับเป็นความอับอายที่ยิ่งใหญ่กว่า

๔๖

ความใจบุญใจกุศล

• จงเป็นคนใจบุญแต่อย่าฟุ่มเฟือย จงละเอียดถี่ถ้วนแต่อย่าตระหนี่

• หากท่านได้ช่วยเหลือบุคคลที่เหมาะสม โดยที่เขายังมิได้ร้องขอ นั้นคือความใจบุญใจกุศล แต่หากท่านได้ช่วยเขาเพราะเขามาร้องขอ ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากความรู้สึกละอายที่จะปฏิเสธเขา หรือเกรงว่าจะถูกต่อว่า

โอกาส

• โอกาสที่สูญเสียไปมักจะไม่หวนกลับมาอีก จนกระทั่งสายเกินไป

•โอกาสของบุคคลหนึ่งมักผ่านไปอย่างรวดเร็ว และจะกลับมาด้วยความเชื่องช้า

•โอกาสผ่านไปราวกับเมฆก้อนหนึ่ง ดังนั้นจงเอาประโยชน์เสียก่อนในสิ่งดีๆ ของมัน

•หากเป็นไปได้เมื่อมีโอกาสก็จงรีบคว้าเอาไว้ก่อนในขณะที่มันบินเข้ามา เพราะท่านจะไม่มีวันแซงหน้ามันไปได้

• วันและคืนมันกำลังทำงานกับตัวท่านอยู่ ดังนั้น จงทำตัวท่านให้ได้ใช้ประโยชน์จากมัน เพราะมันกำลังเอาไปจากท่าน ดังนั้น ท่านก็ควรจะเอาจากมันเช่นกัน

• ในทุกขณะจิตของท่าน ก็คือส่วนหนึ่งของชีวิตท่าน ดังนั้น จงใช้เวลานั้นเพื่อความจรรโลงใจของท่านเถิด

๔๗

ขันติธรรม

• เขาชนะเพราะเรียนรู้ศิลปะในการรอคอย

• ความอดทนอันขมขื่น ย่อมเป็นผลแห่งความสำเร็จ

• ผู้ใดที่เคาะประตูเรียกด้วยความเพียรพยาม ย่อมจบลงด้วยการได้เข้าไป

• มันขึ้นอยู่กับท่านที่จะแสดงความอดทนในยามเคราะห์กรรม และในยามหมดอาลัย

• เวลามีอยู่สองวัน วันหนึ่งเป็นของท่าน อีกวันหนึ่งต่อต้านท่าน จงอย่าจองหองหากพบกับความสำเร็จ และจงอดทนในความทุกข์ยาก แน่นอนยิ่ง เคราะห์กรรมมิใช่เรื่องที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดไป มันจะต้องสิ้นสุดยุติลง ดังนั้น จงอดทนจนกว่าจุดจบของมันจะมาถึง

• จงมองหาความอิ่มเอิบภายหลังจากความเศร้าหมอง และจงอย่าสิ้นหวังกับความรักที่มีต่อสวรรค์

• มันมีความดีตั้งเท่าใดแล้วที่มาถึงท่าน ในขณะที่ท่านไม่เคยคาดหวังจากมันเลย

• ความทุกข์ยากเป็นเรื่องง่ายที่จะแบกรับมันไว้ สำหรับผู้ที่รู้ถึงวิธี

• หากท่านมิใช่เป็นผู้ที่อดทน ก็จงแสดงออกประหนึ่งว่าท่านเป็น มันมีอยู่บ่อยครั้งทีเดียวที่ผู้หนึ่งเลียนแบบผู้คน โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่เคยพัฒนาไปเหมือนกับพวกเขา

• การหมดความอดทนถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ ก็เฉพาะเมื่อมันช่วยขจัดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อระยะการเดินทาง หรือปัดเป่ามันให้ทุเลาเบาบางลง

๔๘

• จงอดทนต่อความเศร้าโศกและวิกฤติการณ์ด้วยขันติธรรม หาไม่แล้วท่านก็จะไม่มีความสุข

• บุคคลที่ปฏิบัติด้วยความขันติ จะไม่ถูกลิดรอนไปจากความสำเร็จ ถึงแม้ความสำเร็จอาจต้องใช้เวลายาวนานกว่าที่จะมาถึง

• จงแสวงหาความอดทนและการยืนหยัด เพราะความสัมพันธ์ของมันที่มีต่อการศรัทธาที่แท้จริง

เป็นเช่นเดียวกับศีรษะที่มีต่อร่างกาย ซึ่งร่างกายย่อมไม่มีประโยชน์หากปราศจากศีรษะ ในทำนองเดียวกัน

ศรัทธาที่แท้จริง ย่อมหาประโยชน์อันใดมิได้หากปราศจากคุณสมบัติของการยอมตน การยืนหยัด และความอดทน

การให้อภัย

• การให้อภัยนับเป็นมงกุฎของคุณภาพที่ยิ่งใหญ่

• จงยอมรับในการขออภัย สำหรับผู้ที่เขาแสวหาการอภัยโทษจากท่าน

•นับเป็นการดีที่ไม่กระทำบาปหนึ่ง มากกว่าที่จะไปขอให้ผู้หนึ่งอภัยให้กับเรา

•คนที่ชั่วที่สุด คือผู้ที่ไม่เคยให้อภัยกับใคร หรือไม่เคยแม้แต่จะขออภัยใคร

•จงอย่ารีบเร่งไปสู่การลงโทษ ในความผิดที่บุคคลหนึ่งได้กระทำ แต่จงปล่อยให้มีโอกาสเพื่อการขออภัยในระหว่างการทำผิดและการลงโทษ

๔๙

•จงลงโทษคนรับใช้ของท่าน หากเขาฝ่าฝืนคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า แต่จงอภัยให้กับเขาที่ดื้อดึงไม่ปฏิบัติตามท่าน

 เมื่อท่านมีชัยชนะเหนือศัตรูของท่าน ก็จงให้อภัยกับเขา ซึ่งเป็นหนทางที่ท่านจะตอบแทนการขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้า ที่พระองค์ได้ทรงประทานพลังอำนาจในการพิชิตให้กับท่าน

• ผู้ใดที่สามารถมองเห็นความผิดของตนเองได้ ย่อมเป็นผู้นิ่มนวลต่อความผิดของผู้อื่น

• เขาเพียงผู้เดียวเท่านั้นที่สามารถให้อภัย ก็คือผู้ที่มีอำนาจในการจัดการลงโทษ

• หากท่านมีโอกาสและมีอำนาจเหนือศัตรูของท่าน ก็จงให้อภัยกับเขาเพื่อเป็นการขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้าในชัยชนะนี้

• กิจกรรมที่ดีเลิศของบุคคลหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ คือการให้อภัยและการลืม

ความอาลัยรัก

• ผู้หนึ่งที่ไม่เคยมีความสงสารต่อผู้ใด ย่อมไม่เคยได้รับความสงสาร

• ผู้ที่มีความอาลัยรักต่อเด็กกำพร้า ย่อมจะได้เห็นลูกๆ ของเขาได้รับการปรนนิบัติอย่างการุณ

ความอ่อนโยน

• บุคคลที่ปฏิบัติในทางสายกลางและมีความอ่อนโยน จะไม่ประสบกับความยุ่งยากอันเนื่องมาจากความยากจน

๕๐

คำสัญญา

• คำสัญญาหนึ่งก็คือหนี้สินที่ต้องชำระให้มันเสร็จสิ้นไป

• คำสัญญาของคนใจกว้างถือว่าเป็นเงินสด

• จงอย่าให้คำมั่นสัญญาในสิ่งที่ท่านไม่สามารถรักษามันไว้ได้

• การปฏิเสธที่แฝงไว้ด้วยความกรุณา มีค่ายิ่งกว่าคำสัญญาที่ยังอีกยาวไกล

• คนใจบุญย่อมปฏิบัติตามที่เขาสัญญา และเมื่อเขามีอำนาจเขาก็ไว้ชีวิตแก่ศัตรูของเขา

• จงยอมรับคำสัญญา จากผู้ที่สามารถยึดถืออย่างมั่นคงในคำสาบานของพวกเขาเท่านั้น

โมหะ

• จงระวังโมหะ ซึ่งจะเริ่มต้นจากความบ้าคลั่ง และจบลงด้วยกับความเสียใจ

• โมหะเป็นไฟที่เผาผลาญ ผู้ใดก็ตามที่สามารถระงับยับยั้งความโกรธของเขาได้ เท่ากับเป็นการดับไฟลงได้ แต่หากผู้ใดไม่สามารถทำได้ ตัวเขาเองก็จะถูกเผาผลาญ

• โมหะเป็นพันธุ์หนึ่งของความบ้า ส่วนการสำนึกผิดเป็นสิ่งที่ติดตามมันมา หรือหากมันมิเป็นเช่นนั้น ก็หมายความว่าความบ้าได้เกาะกุมมันไว้อย่างมั่นคงแล้ว

๕๑

• จงเป็นเจ้านายเหนือความโกรธเคืองและความรุนแรงในความมีโมหะของท่าน จนกระทั่งโมหะของท่านได้ละไปจากท่าน และสติปัญญาได้กลับคืนมา

• บุคคลที่มีคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ คือผู้ที่สามารถทำให้โมหะของเขาอ่อนละมุนลง และไม่ถือเอาความได้เปรียบด้วยกับกำลังอำนาจของเขา

ความสุภาพอ่อนโยน

• มารยาทที่สุภาพ นับเป็นมรดกตกทอดที่บิดาสืบต่อถึงบุตร

• ไม่มีเครื่องประดับอันใดที่จะเสมอเหมือนกับความสุภาพอ่อนโยน

• ทุกๆ สิ่งนั้นจะต้องว่ากันไปตามเหตุผล และเหตุผลด้วยตัวของมันเองนั้นก็จะต้องสุภาพ

• ไม่มีความสูงศักดิ์ในชาติกำเนิดใดๆ ที่จะทำให้ผู้หนึ่งสูงเด่นขึ้นมาได้ หากความไม่สุภาพที่มีอยู่ในตัวของเขา ทำให้เขาต้องตกต่ำลง

• จงให้ความเคารพเหมือนๆ กัน ไม่ว่าเขาจะเป็นครูของท่าน หรือผู้ที่ท่านได้สั่งสอนพวกเขา

• จงมีความสุภาพกับศัตรูของท่าน และจงมีความจริงใจกับเพื่อนของท่าน ท่านก็จะเชิดชูความเป็นพี่น้องและธำรงไว้ซึ่งความมีน้ำใจได้เช่นกัน

• จงมีความประพฤติในลักษณะที่เป็นคนอลุ่มอล่วย เพื่อว่าเมื่อท่านตายไป ผู้คนจะได้แสดงความเสียใจให้กับท่าน และสะอื้นหาเมื่อท่านไม่อยู่

• จงมีความสุภาพนิ่มนวลกับผู้คน เพื่อจะได้ดึงเอาผลประโยชน์จากจิตใจที่ดีงามของพวกเขา และจงแสดงใบหน้าที่ยิ้มแย้ม เพื่อฆ่าความรู้สึกเป็นศัตรูของพวกเขา

๕๒

• ความสุภาพอ่อนโยนย่อมชนะใจผู้คน และทำให้พวกเขามาอยู่ฝ่ายตน

การควบคุมตนเอง

• คนที่แข็งแรงที่สุด คือคนที่สามารถต่อสู้กับตัวของเขาได้

• คนที่แข็งแรงที่สุด คือคนที่สามารถทำให้เหตุผลของเขาพิชิตราคะจริตของเขาได้

• การปล่อยให้เหตุผลถูกครอบงำด้วยตัณหาราคะของท่าน ก็เท่ากับท่านได้สวมใส่ความน่ารังเกียจให้กับตัวของท่านเอง

• ผู้ใดยอมจำนวนต่อตัณหาราคะของเขา ก็เท่ากับเป็นการทุบทำลายเหตุผลของเขา

• จงระมัดระวังราคะหนึ่ง ที่มันมีพลังแก่กล้าในเรื่องของสตรีเพศ และจงอย่าหิวกระหายในความรื่นรมย์ ในกรณีแรกนั้นท่านจะต้องถูกทดสอบด้วยกับเคราะห์กรรม และในประการที่สอง ท่านจะต้องถูกชิงชังและได้รับความต่ำต้อย

• ความหวานชื่นของความรื่นรมย์หรรษา ย่อมไม่คุ้มค่ากับความทุกข์ยากที่ขมขื่น

• ผู้ใดก็ตามที่ถวิลหาเพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่งสูงๆ ก็จงบำราบราคะของเขาเอาไว้

ความอิจฉาริษยา

• ความอิจฉาริษยา คือคุกของวิญญาณ

• ความอิจฉาริษยา นำมาซึ่งความเศร้าหมอง

• ความอิจฉาริษยา ทำให้ร่างกายผุผัง

•ความอิจฉาริษยาเป็นโรคชนิดหนึ่ง หากไม่หยุดยั้งก็ไม่สามารถรักษาได้ จนกว่าความตายของผู้อิจฉา หรือผู้ที่ถูกเขาอิจฉาริษยาจะมาเยือน

•คนขี้อิจฉาริษยา ย่อมเป็นสหายที่แย่ที่สุด

•คนตระหนี่มักรู้สึกต่ำต้อยอยู่เสมอ และคนที่อิจฉาตาร้อนก็จะมีโรคภัยอยู่ตลอดไป

•มันช่างเป็นสิ่งที่ใจแคบอะไรเช่นนี้ ที่ไปอิจฉาริษยา แม้กระทั้งความสุขของเพื่อนของตนเอง

ความบาดหมาง

• ความบาดหมาง เป็นน้ำพุแห่งความเศร้าหมองอันเหลือคณา

• การทุ่มเถียงกัน เป็นน้ำพุแห่งความพินาศ

• กิจการที่มีระเบียบที่ดีที่สุด ย่อมถูกทำให้เสียหายไร้ระเบียบ เนื่องจากความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน

ความกตัญญูรู้คุณ

จงแสดงการขอบคุณต่อผู้ที่มีพระคุณของท่าน และจงหยิบยื่นผลประโยชน์ให้กับผู้ใดก็ตามที่เขามีบุญคุณต่อท่าน

จงมองดูด้วยความตั้งใจในปมด้อยของท่านอยู่เนื่องๆ เพราะมันเป็นหนทางหนึ่งของการแสดงออกถึงการขอบคุณต่อพระองค์ผู้ทรงสูงส่ง

๕๓

ความประพฤติที่สุขุมรอบคอบ

•ในทุกๆ สิ่งย่อมมีวิธีการที่ประเสริฐของมัน ความสุขุมคัมภีรภาพตื่นอยู่เสมอ ในขณะที่การเพิกเฉยหลับใหล

• จงเก็บออมเสียตั้งแต่วันนี้ เพื่อว่าพรุ่งนี้ท่านจะได้ใช้มัน

• การมีความห่วงใยต่อผลกระทบ ก็คือการหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ

•ด้วยกับการคิดคำนึงถึงผลกระทบ มันจะทำให้ท่านรักษาตัวของท่านให้พ้นจากอันตรายได้

• จงระมัดระวัง เพราะมันจะขจัดปัดเป่าให้ท่านพ้นจากอันตราย

 จงอย่าสับสนในกิจการต่างๆ ของสุลต่าน ขณะที่ต้องเผชิญกับความยุ่งยาก นักเดินเรือผู้หนึ่งก็ไม่อาจปลอดภัยได้เสมอไปแม้ในทะเลที่สงบแล้ว เขาจะหลบหลีกให้พ้นไปจากความพินาศได้อย่างไรเมื่อลม

ปะทะเข้ามา และเมื่อลูกคลื่นกำลังโหมกระหน่ำ!

จงอย่าเลือกไปในทางใด หากมีความหวาดกลัวว่าท่านจะต้องสูญเสียตัวของท่านไป

• ผู้ใดที่เขาหลงออกไปจากทางเดิน ย่อมตกลงไปในหุบเหว

• ใครที่เร่งร้อน ย่อมพลัดตกลงไป

• การล้มคะมำ เป็นผลจากความรีบเร่ง

• ถึงแม้จะขึ้นนั่งอย่างมั่นคงที่สุดแล้ว ก็อาจร่วงตกลงมาได้

• ใครที่ขุดหลุมพรางไว้กับพี่น้องของเขา ย่อมตกลงไปในหลุมนั้นเอง

•หากผู้หนึ่งขึ้นคุมบังเหียนด้วยความอยุติธรรม มันก็จะนำเขาไปสู่การหลงทาง

๕๔

•ผู้ใดก็ตามที่ขึ้นคุมบังเหียนด้วยกับความดื้อรั้น ย่อมถามหาถึงความยุ่งยาก

• จงอย่าปิดประตูบานที่ท่านไม่สามารถจะเปิดมันออกไปได้อีก

• จงอย่าต่อสู้กับผู้ที่ท่านไม่สามารถปกป้องตัวของท่านเองได้

• จงอย่าพูดในสิ่งที่ท่านกลัวว่ามันจะไม่เหมาะสม

• จงอย่ายิ้มเยาะในความล้มเหลวของผู้อื่น เพราะท่านไม่อาจทราบได้ว่า ในชีวิตนั้นมีอะไรเก็บรอไว้ให้ท่านอยู่

• หากเกลียดชังผู้คนแล้วท่านจะเสียใจในภายหลัง

• หากท่านเห็นลักษณะนิสัยที่น่าตำหนิของบุคคลอื่น ก็จงป้องกันอย่าให้มันมาปรากฏอยู่ในตัวของท่านเอง

• จงอย่าได้รีบเร่งไปสู่ที่นั่งที่สูงเด่นที่สุดในงานเลี้ยง

• ผู้หนึ่งที่เข้าผิดประตู ย่อมก่อให้เกิดความน่าสงสัย

• การประหยัด เป็นครึ่งหนึ่งของอาหารของบุคคลหนึ่ง

• จงอย่าแสดงถึงขนาดที่ว่า ผู้ประพันธ์ยังรู้สึกตะขิดตะขวงใจและจำต้องปฏิเสธ

• มันเป็นคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ ที่ไม่ควรไปวางแผนอะไรไว้อย่างลับๆ เพราะเมื่อมันถูกเปิดเผยออกมาแล้ว ท่านจะรู้สึกกระดากอาย

• จงระมัดระวังที่จะไม่กระทำกิจกรรมหนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นที่รู้จักแล้วจะทำให้ผู้กระทำต้องเสียความน่าเชื่อถือ และทำให้เขาตกต่ำ

• ผู้ใดที่วิ่งไล่เงาสะท้อนที่คิดว่าเป็นบ่อน้ำ ก็เท่ากับว่าเขากำลังดึงเอาความทุกข์ทรมานของเขาออกมา และยังเพิ่มความกระหายให้กับเขาอีก

๕๕

• จงอย่าคบค้ากับคนขี้ขลาดตาขาว เพราะเขาจะทำให้การกระทำของท่านอ่อนแอลง และจะทำให้ดูประหนึ่งว่ามันใหญ่โต ทั้งๆ ที่มันมิได้ใหญ่โตแต่อย่างใด

• การไล่ตามความสนุกรื่นเริงอย่างเร้าร้อน ย่อมทำให้ผู้หนึ่งหลงทางและนำความเสียหายมาให้

• จงอย่าให้หัวใจของท่านรับรู้ในความเศร้าหมองของอดีต เพราะหากเป็นเช่นนั้น ท่านก็จะไม่มีเวลาที่จะหมกมุ่นกับตัวเองในเรื่องของอนาคต

• นับเป็นเรื่องน่าสนเท่ห์ที่ว่า ชายผู้หนึ่งหากเขาพูดถึงเรื่องๆ หนึ่ง เมื่อมีการรายงานถึงคำพูดของเขา ก็จะทำให้เขาได้รับความปวดร้าว และหากมิได้มีการรายงานอันใด ก็ไม่เป็นการดีอะไรสำหรับเขาเลย

• จงเชื่อฟังผู้ที่มีอำนาจเหนือท่าน และผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของท่านก็จะเชื่อฟังท่าน

• ผู้ใดก็ตามที่ทำให้ตัวของเขาเจ็บปวดโดยไม่จำเป็น ย่อมเป็นการทำร้ายตัวของเขาเอง

• จงหลีกห่างจากสังคมของผู้ที่มีการพูดถึงคนอื่น อันเป็นความชั่วของบุคคลผู้หนึ่ง เพราะสมาชิกทุกคนในหมู่พวกเขา ย่อมมีส่วนแบ่งในความชั่วนั้นๆ

• จงหลีกห่างจากสังคมของผู้ที่ชั่วร้าย พวกเขาเปรียบได้ดั่งไปที่เผาผลาญทุกคนที่เข้าไปใกล้

• จงหลีกห่างจากพวกเสเพล เพราะหากเห็นด้วยกับความประพฤติของผู้คนเหล่านั้น ก็คือการยอมตนไปเป็นคนหนึ่งของพวกเขา

• จงหลีกห่างจากการกระทำที่เสเพลอย่างเปิดเผย เพราะหากกระทำเช่นนั้น ก็เท่ากับการกระทำบาปหนึ่งที่รุนแรงที่สุด

๕๖

การสารภาพบาป

• เมื่อท่านกระทำบาปก็จงสารภาพบาป

• ผู้สารภาพบาป ย่อมแสวงหาทางกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้าได้

• การสารภาพบาป ย่อมปลดเปลื้องผู้หนึ่งให้พ้นไปจากทุกๆ บาป

ปกิณกะ

• ความถูกต้องเป็นดาบที่ไม่เคยทื่อ

• การทำอะไรบ่อยๆ ก็จะกลายเป็นนิสัยไป

• ผู้ใดก็ตามที่มีปฐมภูมิที่เลวทราม ย่อมมีสายตาที่เกลียดชัง

• จะไปนำผู้อื่นได้อย่างไร หากตนเองยังหลงทางอยู่

• จุดอ่อนของท่านยังคงถูกปิดบัง ตราบใดที่โชคยังเข้าข้างท่านอยู่

• ผิวหนังช่างอ่อนนุ่มเหลือเกิน จะทนทานต่อไฟนรกได้อย่างไร

• ความหวังเป็นเสมือนเงาสะท้อน มันหลอกลวงผู้ที่มองดูมัน และยังโกหกกับผู้ใดก็ตามที่เชื่อถือมัน

• การหลงใหลในภรรยา เป็นเหมือนกับลูกดอกของคนเซ่อซ่า

• อะไรที่เป็นชะตากรรม ย่อมจะไม่อาจปัดทิ้งไปได้ ดังนั้น การป้องกันของบุคคลหนึ่งจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์อันใด

• ผู้ใดก็ตามที่ถูกตัวแทนของเขาหักหลัง ย่อมจะได้เห็นโครงการต่างๆ ของเขาเสียหาย

๕๗

• ผู้ใดก็ตามที่ความทะเยอทะยานของเขาได้บรรลุสู่ขั้นสูงสุด ก็ควรที่จะตระเตรียมเพื่อเผชิญหน้ากับความเดียดฉันท์ในขั้นสูงสุด

• ผู้ที่ตกเป็นเครื่องมืออยู่ประจำ ย่อมถูกรังเกียจ

• การผูกพยาบาทต่อการกระทำทั้งมวลของผู้มีอำนาจ ย่อมเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจที่สุด

• ความถ่อมตนย่อมสูงส่ง ความหยิ่งทะนงนำไปสู่ความตกต่ำ

• จงอย่ากินแหนงแคลงใจ

• การเก็บเอาความระแวงสงสัยต่อผู้มีพระคุณของบุคคลหนึ่งเอาไว้ ถือว่าเป็นบาปที่ดำมืดที่สุด และเป็นความอยุติธรรมที่น่ารังเกียจที่สุด

• หากปล่อยให้ตัวของท่านต้องยอมจำนนกับความเฉยเมย ก็เท่ากับเป็นการเก็บเอาความเสียใจเอาไว้

• ความเฉยเมยเพราะความเกียจคร้าน

• จงรังเกียจในความต่ำช้า ถึงแม้มันจะนำพาใจของท่านไปสู่ความอยากใคร่ของหัวใจก็ตาม

• มันช่างน่ารังเกียจสักปานใด สำหรับผู้ที่หันไปทั้งสองทาง

• ความตายของบุตรของบุคคลหนึ่ง ทำให้กระดูกสันหลังของบุคคลนั้นหักลง

• มิใช่ว่านักแม่นธนูทุกคนจะยิงเข้าเป้าก็หาไม่

• ในเรื่องคดีความนั้น มันย่อมเป็นไปไม่ได้ เมื่อข้อกล่าวหานั้นมันไม่ยุติธรรม

• อาชญากรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดประการหนึ่ง ก็คือการทำลายงานหนึ่งๆ ทางด้านศิลปะ

๕๘

• ผู้ที่มีความรักในสิ่งๆ หนึ่ง ย่อมจะเร่งรีบเพื่อนำเอาความทรงจำของมันกลับคืนมา

• จงวางมือจากความผูกพยาบาทเสีย แล้วท่านจะมีจิตและหัวใจที่สงบ

• ความกล้าแค่เพียงครั้งเดียวต่อหน้ากษัตริย์ ย่อมเผยตัวของเขาไปสู่การถูกจองจำอย่างไม่ถูกต้อง

• หากบุคคลหนึ่งรักท่าน เขาก็จะวิจารณ์ถึงตัวท่าน

• บุคคลหนึ่งที่รู้สึกว่าเกียรติยศของเขาเริ่มลดลง ย่อมเห็นได้ว่ากำลังของศัตรูของเขาจะเพิ่มมากขึ้น

• บุคคลใดก็ตามที่ขอมากไปกว่าที่เขาควรจะได้ ย่อมพบกับความผิดหวัง (โลภมากลาภหาย)

• เป็นเพราะการทดสอบที่นำไปของสิ่งหนึ่ง ว่ามันควรจะมีคุณค่าหรือไร้คุณค่า

• จงปกป้องการเคารพในตัวตนของท่าน จากความต่ำช้าทั้งมวล แม้การกระทำเช่นนั้นจะเป็นการเปิดตัวท่านไปสู่อันตรายก็ตาม แต่ท่านจะไม่เคยพบเลยว่า จะมีสิ่งใดมาเทียบได้กับเกียรติยศที่ต้องได้มาด้วยกับการบาดเจ็บ

• จงปฏิบัติต่อผู้อื่น ดังที่ท่านกระทำกับตัวของท่านเอง

• จงวางตัวของท่านลงบนตราชั่ง ระหว่างตัวของท่านกับบุคคลอื่น จงมีความรักต่อพวกเขา ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ท่านมีความรักต่อตัวของท่านเอง และเกลียดชังในตัวเขา เช่นเดียวกับในสิ่งที่ท่านเกลียดชังในตัวท่าน จงทำความดีกับผู้ที่ท่านรัก เช่นที่ท่านทำให้กับตนเอง และจงอย่ากดขี่ ดังนั้นจงอย่ารักที่จะถูกกดขี่ จงเคารพในสิทธิ์ของผู้ใดก็ตามที่เคารพท่าน ไม่ว่าเขาจะมีตำแหน่ง อายุ และยศศักดิ์ขนาดไหนก็ตาม

๕๙

• จงทำดีกับสัตว์ทั้งหลาย ไม่สมควรทรมานมันหรือให้มันบรรทุกของหนักจนเกินกำลังของมันที่จะทนทานได้

• การไม่ทำความผิดต่างๆ ยังดีเสียกว่าการไม่ทำความดี

• การทรยศคดโกง เลวกว่าการกระทำความผิดในรูปอื่นๆ

• สัตว์เดรัจฉานไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งใด ยกเว้นเรื่องของท้องที่หิวของพวกมันเท่านั้น และสัตว์ป่าที่ดุร้ายมิได้คิดถึงสิ่งใดนอกจากจะทำร้ายสัตว์อื่น

• ถามว่า จากตะวันออกไปถึงตะวันตก มันไกลกันสักขนาดไหน ท่านอิมามอะลี กล่าวตอบว่า การเดินทางของดวงอาทิตย์ในวันหนึ่ง

• ผู้ที่มีความสุข คือผู้ที่รำลึกถึงชีวิตหลังความตายอยู่เสมอๆ ผู้ที่รำลึกถึงวันแห่งการตัดสินพิพากษา

โดยผ่านการกระทำทั้งมวลของเขา ผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างพึงพอใจ และผู้ที่มีความสุขอยู่กับสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงกำหนดให้กับเขา

• ตราบเท่าที่โชคยังเข้าข้างท่านอยู่ ความบกพร่องของท่านก็จะยังคงถูกปิดบังอยู่จากสายตาของชาวโลก

• โลกที่ได้นำเสนอความรื่นเริงที่ชั่วร้ายให้กับท่าน ก็เป็นเสมือนดังอสรพิษที่มันดูนิ่มนวลน่าสัมผัส

แต่มากด้วยพิษร้ายถึงตาย ผู้คนที่โง่เขลามักถูกมันลวงล่อและถูกมันดึงดูดเข้าไปหา แต่คนฉลาดจะหลีกเลี่ยงมัน และหันห่างจากผลลัพธ์อันเป็นพิษร้ายของมัน

• ผู้ที่ได้รับความจำเริญ คือผู้ที่สยบตนเองต่อพระพักต์ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้ที่แหล่งรายได้ของเขาบริสุทธิ์ ผู้ที่เจตนารมณ์ของเขามีเกียรติอยู่เสมอ ผู้ที่กริยาของเขาสูงส่งเสมอ ผู้ที่อุปนิสัยของเขามีความยั้งคิด

๖๐

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี มิได้เป็นปัญหาที่มีความขัดแย้งกันเหมือนกับปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องของความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ และในกิริยา การกระทำ และมีความแตกต่างกันระหว่างสำนักคิดอัชอะรีย์และมุอฺตะซิละฮ์

ความแตกต่างในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามเกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ก็คือ การกำหนดในสิ่งที่ต้องทำการเคารพภักดี ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างพวกวะฮาบีย์กับสำนักคิดอื่นในอิสลาม

พวกวะฮาบีย์ได้ให้ความหมายของการเคารพภักดีมีความหมายกว้างออกไปอีก และได้รวมถึงการกระทำของบรรดามุสลิมทั้งหลายด้วย เช่น การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ,การได้รับการอนุเคราะห์จากท่านศาสดามุฮัมมัด และบรรดาวงศ์วานผู้บริสุทธิ์ และการให้เกียรติและการเข้าไปเยี่ยมเยียนหลุมฝังศพของพวกเขา โดยพวกวะฮาบีย์ได้บอกว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้า

จะเห็นได้ว่า ตามทัศนะของพวกวะฮาบีย์นั้นมีความขัดแย้งกับอัล กุรอาน และประวัติศาสตร์ และการที่ไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงของ การเคารพภักดี (อิบาดะฮ์) ทำให้พวกเขาได้ปฏิเสธการกระทำที่ได้กล่าวไปข้างต้น และด้วยกับเหตุผลทั้งหลายที่สามารถใช้ในการพิสูจน์ว่า การกระทำต่างๆเหล่านั้นไม่ถือว่า เป็นการตั้งภาคี ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.ถ้าหากว่ามนุษย์มีความเชื่อว่า บุคคลที่พวกเขาร้องขอความช่วยเหลือนั้น เป็นพระเจ้าแล้วละก็ ถือว่าเป็นการตั้งภาคีอย่างแน่นอน และการกระทำของเขา ก็เป็นการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้าด้วย

๑๖๑

๒.แต่หากว่า การกระทำของเขาในฐานะที่เขาเป็นบ่าวผู้ใกล้ชิดกับพระเจ้า,มีเกียรติ และมีตำแหน่งที่สูงส่ง และเขาได้รับอนุมัติจากพระเจ้า ให้เป็นผู้ช่วยเหลือต่อมนุษย์ และเป็นผู้ให้การอนุเคราะห์ให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย ดังนั้น เมื่อเข้าใจในความหมายที่แท้จริงของการเคารพภักดี การกระทำดังกล่าวก็ไม่ถือว่า เป็นการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้า แต่ทว่า เป็นการแสดงความเป็นบ่าวที่แท้จริงต่อพระเจ้า และการก้มกราบของมวลเทวทูตต่อท่านศาสดาอาดัม ,การก้มกราบของท่านศาสดายะกูบต่อท่านศาสดายูซุฟและการขอผ่านสื่อต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และการไปเยี่ยมเยีอนสุสานที่ฝังศพของเขา อีกทั้งการกระทำที่คล้ายคลึงกันนี้ ก็ถือว่าเป็นการให้เกียรติและการนอบน้อม ซึ่งการกระทำดังกล่าวมิได้ขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพของอิสลามและมิได้เป็นการตั้งภาคีต่อพระองค์ ส่วนการสักการะบูชาพวกเจว็ด,การบูชาดวงดาว,การบูชาสิงสาราสัตว์,การบูชาต้นไม้ และการบูชาสิ่งที่มนุษย์ได้ประดิษสร้างขึ้นมา การกระทำทั้งหมดนั้นเป็นการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีความขัดแย้งกับความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีอย่างแท้จริง

๑๖๒

   ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้ากับการเคารพภักดี

    ถ้าหากว่ามองดูอย่างผิวเผิน ในความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้าและการเคารพภักดี จะเห็นได้ว่า ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ถ้าหากได้สังเกตุอย่างละเอียด จะเห็นในความแตกต่างของความเป็นหลักการทั้งสองอย่างชัดเจน

ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า เป็นประเภทหนึ่งในความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา ส่วนความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี เป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติ ดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า จึงมีความสัมพันธ์กับหลักความเชื่อ และความศรัทธาของมนุษย์ ส่วนความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ก็มีความสัมพันธ์กับหลักการปฏิบัติ

ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า หมายถึง ความเชื่อในความเป็นเอกะและเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าในความเป็นพระเจ้าของพระองค์ และความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี หมายถึง การปฏิบัติตามพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว เพราะฉะนั้นทั้งสองหลักการจึงมีความสัมพันธ์ต่อกันและอยู่คู่กัน และถ้าหากว่า เมื่อมนุษย์คนใดก็ตามที่ไม่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า ก็จะไม่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี และการปฏิบัติตามพระเจ้าองค์เดียว ก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

๑๖๓

   ความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติในอัล กุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานได้กล่าวเน้นย้ำในความสำคัญในความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติ และกล่าวว่า ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัตินั้นอยู่คู่กับความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และได้อธิบายในความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติไปแล้วว่า มีขอบเขตที่ครอบคลุมในทุกประเภทของความเป็นเอกานุภาพ และประเภทที่สำคัญของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ คือ ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ซึ่งมีหลายระดับขั้นด้วยกัน และได้นำมาเพียงบางส่วนจากโองการของอัล กุรอานที่กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี

๑.การเคารพภักดีต่อพระเจ้าเป็นเป้าหมายหลักในการแต่งตั้งบรรดาศาสนทูตทั้งหลาย

“และโดยแน่นอน เราได้ส่งศาสนทูตมาในทุกประชาชาติ (โดยบัญชาว่า) พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮ์(พระเจ้าเพียงองค์เดียว) และจงออกห่างจากพวกเจว็ด”

(บทอัลนะห์ลฺ โองการที่ ๓๖ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า บรรดาศาสดาทั้งหลายได้เชิญชวนประชาชาติมาสู่ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี

และอีกโองการหนึ่ง กล่าวถึงความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี

๑๖๔

“ข้าไม่ได้ให้สัญญากับพวกเจ้าดอกหรือ โอ้ลูกหลานของอาดัมเอ๋ย! ว่าพวกเจ้าอย่าได้เคารพบูชามารร้าย แท้จริงมันนั้นเป็นศัตรูตัวฉกาจของพวกเจ้า และให้พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้า นี่คือแนวทางอันเที่ยงตรง”

(บทยาซีน โองการที่ ๖๐-๖๑)

 จากโองการนี้ ก็แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าได้ให้สัญญากับมนุษย์ไว้แล้วว่า ให้พวกเขาทำการเคารพภักดีต่อพระองค์เพียงองค์เดียวเท่านั้น ในโองการนี้ บรรดานักอรรถาธิบายอัล กุรอานได้ให้ความเห็นด้วยกันหลายทัศนะ นักอรรถาธิบายอัล กุรอานบางคนกล่าวว่า โองการนี้ ถูกประทานลงมาในวันที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทำการสัญญากับมนุษย์ในโลกก่อนการถือกำเนิดของมนุษย์ (อาลัมมุนซัร)

และบางคนกล่าวว่า ความหมายของการทำสัญญาของพระเจ้า คือ การเชิญชวนของบรรดาศาสดาทั้งหลายให้รู้จักในความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี

และบางคนได้กล่าวอีกว่า การทำสัญญาของพระเจ้า คือ การสั่งเสียของพระเจ้าต่อท่านศาสดาอาดัมและลูกหลานของเขา

จะอย่างไรก็ตาม โองการนี้ แสดงให้เห็นถึง แนวทางที่เที่ยงตรง คือ การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า หลังจากที่พระองค์ได้ทำสัญญากับมนุษย์ว่า พวกเจ้าทั้งหลายจงเคารพภักดีต่อข้า เพราะข้าคือ พระเจ้าเพียงองค์เดียว และยังมีโองการอื่นๆอีกมากมายที่กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี

๑๖๕

   ชาวคัมภีร์กับการเคารพภักดีในพระเจ้าองค์เดียว

    อัล กุรอานได้กล่าวถึง ชาวคัมภีร์กับการเคารพภักดีในพระเจ้าองค์เดียว 

“และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรงและดำรงการละหมาดนมาซ และจ่ายทานซะกาต และนั่นแหละคือศาสนาอันเที่ยงธรรม”  ( บทอัลบัยยินะฮ์ โองการที่ ๕)

โองการนี้กล่าวถึง การเชิญชวนบรรดาชาวคัมภีร์ให้ทำการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว และการออกห่างจากการตั้งภาคี ถือว่าเป็นเป้าหมายหลักของบรรดาศาสนทูตแห่งคัมภีร์   

การอธิบายในความหมายของคำว่า ศาสนาอันเที่ยงธรรม หมายถึง การรู้จักในศาสนา ต้องรู้จักในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวและการเคารพภักดีต่อพระองค์เท่านั้น

   ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีกับความเป็นเอกานุภาพในการบริหาร

    ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า สิ่งที่ควรค่าแด่การเคารพภักดี (มะอ์บูด)  ต้องมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด เช่น การบริหารกิจการงาน ถือว่าเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มีความสำคัญ และสิ่งที่มนุษย์จะทำการเคารพภักดี ต้องมีความสามารถบริหารกิจการงานต่างๆได้

ดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพในการบริหาร จึงเป็นพื้นฐานหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ด้วยเหตุนี้ การเคารพภักดีในพระเจ้าองค์เดียว เพราะว่า พระองค์เป็นผู้บริหารกิจการงาน

๑๖๖

อัล กุรอานได้กล่าวเน้นย้ำในความสัมพันธ์ของทั้งสองหลักการ เช่น โองการที่กล่าวถึง คำพูดของท่านศาสดาอีซา ที่กล่าวเชิญชวนมนุษย์ให้ทำการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “และแท้จริงอัลลอฮ์ ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของฉัน และของพวกท่านทั้งหลาย ดังนั้นจงทำการเคารพภักดีต่อพระองค์ นี่คือ แนวทางอันเที่ยงตรง”(บทมัรยัม โองการที่ ๓๖)

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า คำสอนของท่านศาสดาอีซา คือ การเชิญชวนให้มนุษย์ทำการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว หลังจากที่ยอมรับในความเป็นผู้อภิบาลของพระองค์

   การตั้งภาคีที่ซ่อนในการเคารพภักดี

    การตั้งภาคีที่ซ่อนในการเคารพภักดี เป็นประเภทหนึ่งของการตั้งภาคี ซึ่งถูกกล่าวไว้ในอัล กุรอาน

“และส่วนใหญ่ของพวกเขาจะไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ เว้นแต่พวกเขาเป็นผู้ตั้งภาคี”

( บทยูซุฟ โองการที่๑๐๖)

โองการนี้ ได้กล่าวถึง กลุ่มชนหนึ่งที่พวกเขาเป็นผู้ศรัทธาและเป็นผู้ตั้งภาคีในเวลาเดียวกัน และการตั้งภาคีของพวกเขามิได้เปิดเผยให้เห็น เป็นการตั้งภาคีในรูปแบบที่ซ่อนเร้นที่แฝงเร้นอยู่ในการกระทำของเขา เพราะว่าไม่มีการตั้งภาคีที่จะอยู่ควบคู่กับความศรัทธาต่อพระเจ้าอย่างเปิดเผยอย่างแน่นอน โองการดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงระดับขั้นของการตั้งภาคี ประเภทหนึ่ง คือ การตั้งภาคีในการเคารพภักดีที่ซ่อนเร้นในการกระทำของมนุษย์ชอบ และไม่เป็นการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้า

๑๖๗

ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีด อิบาดีย์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี

อิบาดะฮ์ หมายถึง การเคารพภักดีต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียว

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา หมายถึง การมีความเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ในอาตมัน,คุณลักษณะ,กิริยา การกระทำและยังมีผลต่อการปฏิบัติอีกด้วย

ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง ผลของความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพต่อการปฏิบัติของมนุษย์

๒.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มนุษย์รู้จักถึงพระเจ้า มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น ยังมีผลต่อความเป็นเอกานุภาพในด้านการปฏิบัติอีกด้วย

๓.ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี เป็นประเภทหนึ่งที่สำคัญของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว และการออกห่างจากการเคารพภักดีต่อสิ่งอื่นใด

๔.คำว่า อิบาดะฮ์ในภาษา หมายถึง การนอบน้อม,การแสดงออกถึงความต่ำต้อยของมนุษย์ต่อพระเจ้า และการเคารพภักดี

๑๖๘

๕.ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี เป็นหลักการที่สำคัญที่บรรดามุสลิมมีความเห็นตรงกัน  แต่มีความแตกต่างกันในการกำหนดตัวของสิ่งควรค่าแด่การเคารพภักดี (มะอ์บูด) เช่น พวกวะฮาบีย์มีความเชื่อว่า การขอความช่วยเหลือ,การอนุเคราะห์,การเยี่ยมสุสานฝังศพของท่านศาสดามุฮัมมัดและบรรดาวงศ์วานของท่าน เป็นการเคารพภักดีและเป็นการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้า ในขณะเดียวกัน ถ้าหากว่า ไม่มีความเชื่อในความเป็นพระเจ้าหรือพระผู้อภิบาลของท่านศาสดาและวงศ์วานของท่าน ก็ไม่ถือว่า เป็นการตั้งภาคีในการเคารพภักดี แต่การกระทำดังกล่าว การขอความช่วยเหลือ, การอนุเคราะห์ และการเยี่ยมสุสานของพวกเขา ถือว่าเป็นการกระทำที่ชอบ และไม่เป็นการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้า

๖.ความเป็นเอกานุภาพในการเป็นพระเจ้า และในการเคารพภักดีมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน โดยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะว่าเมื่อใดก็ตามที่มีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว เมื่อนั้นจะต้องทำการเคารพภักดีต่อพระองค์ด้วย

๑๖๙

   บทที่ ๘

   ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ตอนที่ สอง

    จากบทที่แล้ว ได้อธิบายและตรวจสอบถึงความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี (เตาฮีดอิบาดัต) ผ่านไปแล้ว ซึ่งก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ(เตาฮีด อะมะลีย์)  

   ความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ (เตาฮีด อิสติอานะฮ์)

    การช่วยเหลือ ในภาษาอาหรับ มาจากคำว่า อิสติอานะฮ์ รากศัพท์ในบาบ อิฟติอาล

ความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ(เตาฮีด อิสติอานะฮ์) หมายถึง เมื่อมนุษย์ร้องขอความช่วยเหลือ จะต้องร้องขอจากพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และในทุกกิจการของเขาอีกด้วย

ความสำคัญของหลักเอกภาพในการช่วยเหลือ โดยในอัล กุรอานได้เน้นย้ำถึงความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ซึ่งเป็นสิ่งที่บรรดามุสลิมได้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำทุกวัน นั่นคือ เวลานมาซ (นมัสการพระเจ้า) พวกเขาได้กล่าวอย่างเสมอว่า

 “เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราเคารพภักดี และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ

(บทอัลฟาติฮะห์ โองการที่๕)

๑๗๐

ได้มีคำถามเกิดขึ้นว่า อะไรคือ พื้นฐานของความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จิรงที่ทำให้เราต้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพียงองค์เดียวด้วย?

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ ก็คือ จะเห็นได้ว่า ประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี คือ ความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ เป็นพื้นฐานหนึ่งที่สำคัญทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ กล่าวคือ เมื่อมนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ และเชื่อว่า ทุกการกระทำในโลกนั้น อยู่ภายใต้อำนาจของพระเจ้า และไม่มีการกระทำใดที่เกิดขึ้นแล้ว มิได้อยู่ในอำนาจของพระองค์ ส่วนการกระทำของมนุษย์ เป็นการกระทำที่มิได้มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง ดังนั้น สาเหตุที่ทำให้มนุษย์ต้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า ก็เพราะว่า พระองค์ เป็นเจ้าของที่แท้จริง และเป็นผู้ปกครอง และเป็นผู้ให้ความคุ้มครองในทุกสรรพสิ่ง  ด้วยเหตุนี้ ความเป็นเอกานุภาพในการขอความช่วยเหลือ คือ ผลของความเป็นเอกานุภาพในการกระทำและยังมีประเด็นอื่นอีก ในความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ นั่นก็คือ การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่น เช่น การขอความช่วยเหลือจากมนุษย์ด้วยกัน ในสภาพที่มิได้มีความเชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นพระเจ้า ก็ถือว่า การกระทำนั้น ไม่เป็นที่ต้องห้ามในศาสนา

บางคนอาจจะคิดว่า ด้วยกับพื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ เพราะฉะนั้น การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นที่มิใช่พระเจ้า จึงถือว่า เป็นการตั้งภาคี และเป็นสิ่งที่มีความขัดแย้งกับศาสนาอย่างแท้จริง

๑๗๑

ฉะนั้น ทัศนะนี้ ถือว่า เป็นทัศนะที่ไม่ถูกต้อง เพราะว่า หากได้สมมุติว่า การขอความช่วยเหลือจากสิ่งที่มิใช่พระเจ้า โดยที่มีความเชื่อว่าสิ่งนั้นมีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง และไม่ต้องรับการอนุมัติจากพระเจ้า การกระทำเช่นนี้ เป็นการกระทำที่มีความขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลืออย่างแน่นอน แต่ทว่า การขอความช่วยเหลือจากสิ่งอื่นที่สิ่งนั้นมิใช่พระเจ้า เช่น การขอความช่วยเหลือจากบรรดาศาสดาหรือบรรดาผู้นำที่บริสุทธิ์ที่พระเจ้าได้แต่งตั้ง โดยที่มีความเชื่อว่า การขอความช่วยเหลือจากพวกเขาเหล่านั้นขึ้นอยู่กับการอนุมัติของพระองค์ ดังนั้น การกระทำเช่นนี้ ก็ไม่ถือว่าเป็นการตั้งภาคี แต่เป็นการกระทำที่น่ายกย่อง เหมือนดั่งคนป่วยที่เขาต้องไปหาแพทย์ เพื่อรักษาอาการป่วยจากโรคร้าย โดยการใช้ยารักษาโรค เพราะฉะนั้น ยารักษาโรคและแพทย์ เป็นเสมือนกับสื่อที่พระเจ้าได้ประทานมาเพื่อรักษาอาการป่วย โดยขึ้นอยู่กับการอนุมัติของพระองค์ และแน่นอนที่สุด การช่วยเหลือของแพทย์ ถือว่าเป็นการกระทำที่ดีและมิได้เป็นการตั้งภาคี หรือมีความคัดค้านกับความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ และเช่นเดียวกัน การขอผ่านสื่อ(ตะวัซซุล)ต่อท่านศาสดามุฮัมมัดและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์โดยที่มีความเชื่อว่าพวกเขาเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับพระเจ้า และพวกเขายังมีตำแหน่งที่สูงส่ง ณ พระพักตร์ของพระองค์ อีกทั้งยังได้รับการอนุมัติจากพระเจ้าในการขจัดปัญหาต่างๆและความต้องการทั้งหลายของมนุษย์ และยังกล่าวได้อีกว่า การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่มิใช่พระเจ้า ในกรณี ที่มีความเชื่อว่าสิ่งนั้นมิได้เป็นพระเจ้า หรือมีอำนาจเทียบเท่าพระเจ้า เป็นการกระทำที่ถูกต้องและมิได้มีความขัดแย้งกับหลักการของศาสนาหรือความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ แต่ในกรณี ที่มีความเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นพระเจ้า ถือว่า เป็นการกระทำที่เป็นการตั้งภาคีต่อพระองค์

๑๗๒

   ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม(เตาฮีด อิฏออะฮ์)

    ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม เป็นอีกประเภทหนึ่งในความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีและก็เป็นอีกประเภทหนึ่งในความเป็นเอกานุภาพในการวางกฏและระเบียบ และการปกครองซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง มนุษย์ต้องปฏิบัติตามพระเจ้าเพียงองค์เดียวและไม่ปฏิบัติตามสิ่งใด และเมื่อใดก็ตามที่เขามีความเชื่อว่า ไม่มีผู้ใดเป็นผู้วางกฏและระเบียบ นอกจาก พระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น เมื่อนั้นเขาจะต้องปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์เพียงอย่างเดียว แต่การที่มนุษย์ได้ปฏิบัติตามสิ่งอื่นที่มิใช่พระเจ้า และมิได้มีความเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นพระเจ้า การกระทำของเขา ก็ถือว่ามิได้มีความขัดแย้งกับหลักความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม ส่วนการปฏิบัติตามของเขา ในกรณีที่มีความเชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นพระเจ้า การกระทำของเขา แน่นอนที่สุด ได้มีความขัดแย้งกับหลักความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม ซึ่งอัลกุรอานได้กล่าวอย่างชัดเจน ว่า

 “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย สูเจ้าจงปฏิบัติตามอัลลอฮ์และปฏิบัติตามศาสนทูตของพระองค์และผู้ปกครองในหมู่สูเจ้า” (บทอัลนิซา โองการที่ ๕๙ )

ดังนั้น การปฏิบัติตามบรรดาศาสนทูตของพระเจ้าและบรรดาผู้นำของพระองค์และการปฏิบัติตามบิดามารดา ถือว่า การกระทำเหล่านั้น เป็นการกระทำที่ชอบและถูกต้องตามหลักของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม แต่มีเงื่อนไขว่า การกระทำนั้นจะต้องไม่มีความขัดแย้งกับหลักการของศาสนา

๑๗๓

   ความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก

(เตาฮีด ฟีย์ มะฮับบะฮ์)

    ความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก(เตาฮีด ฟีย์ มะฮับบะฮ์)  เป็นอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ

การให้ความรัก เป็นสภาวะที่อยู่ภายในของมนุษย์ ที่สามารถรู้สึกสัมผัสได้ด้วยตนเอง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่จำเป็นต้องอธิบายในความหมายของการให้ความรัก

ความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก หมายถึง ผู้ที่ถูกให้ความรักอย่างแท้จริง คือ พระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น มีความหมายว่า มนุษย์จะต้องให้ความรักในพระเจ้าเพียงองค์เดียว ดังนั้น การจำกัดในความรักของมนุษย์ที่มีต่อพระเจ้า มิได้หมายความว่า การปฏิเสธการให้ความรักในสิ่งอื่น เพราะว่า ความรักเป็นคุณลักษณะที่สวยงามของพระเจ้า และในความเป็นจริง การให้ความรักในสิ่งทั้งหลาย คือ การให้ความรักในพระองค์ ดังนั้น มีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วความรักที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร? และการให้ความรักที่แท้จริงต่อพระเจ้านั้น เป็นเช่นไร?

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องมาพิจารณาในพื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรักว่า มีเป้าหมายและจุดมุ่งหมายอะไร ในความเป็นจริงของการให้ความรัก มีเหตุผลอยู่มากมายที่กล่าวถึง การให้ความรักต่อพระเจ้า

๑๗๔

เพราะฉะนั้น กล่าวได้ว่า  การให้ความรักต่อพระองค์ จึงเป็นการให้ความรักที่สูงสุดและยิ่งใหญ่ที่สุด หมายถึง การแสดงความรักต่อผู้ที่ถูกให้ความรัก(มะฮฺบูบ) และนี่คือ ความหมายของ การให้ความรักต่อพระเจ้า เพราะว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วนั้น ชอบความสวยงามและความสมบูรณ์ ในขณะที่ พระองค์ทรงมีทั้งคุณลักษณะอันสวยงาม อีกทั้งยังมีความสมบูรณ์แบบที่สุดในคุณลักษณะเหล่านั้น จึงเป็นสาเหตุทำให้ต้องมนุษย์มีความรักในพระองค์ ยกตัวอย่าง เช่น ในขณะที่ได้ยินบุคคลหนึ่งพูดถึงบุคลิกภาพของคนหนึ่งว่า เขามีมารยาทที่สวยงาม และควรค่าแก่การยกย่องและน่าชมเชยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ยินเช่นนั้น ก็เกิดความรักขึ้นในจิตใจต่อบุคคลนั้น แม้ว่าจะไม่เคยเห็นบุคคลนั้นมาก่อนก็ตาม ฉะนั้น ความรักนั้น เกิดขึ้นจากการรับรู้ในการมีมารยาทที่สวยงามของชายคนนั้น จากตัวอย่างข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ความสวยงาม เป็นบ่อเกิดแห่งความรัก  และความรักที่แท้จริง คือ การให้ความรักต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น เพราะการให้ความรักต่อพระองค์ เป็นการให้ความรักต่อสิ่งที่สวยงาม และมีความสมบูรณ์แบบที่สุด และไม่มีการให้ความรักใดที่สวยงามเท่าการให้ความรักต่อพระองค์ ดังนั้น เมื่อมนุษย์มีความรักในพระเจ้าแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ต้องมีความรักในสิ่งอื่น ที่นอกเหนือจากพระองค์ และในบางครั้งมีความคิดหนึ่งเกิดขึ้นในสติปัญญาว่า การให้ความรักต่อพระเจ้าอยู่เหนือความเป็นอิสระเสรีของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถกล่าวว่า มีความจำเป็นหรือไม่มีความจำเป็นในการให้ความรักหรือไม่ให้ความรักต่อสิ่งหนึ่ง สามารถตอบได้ว่า พื้นฐานทางสติปัญญาของการให้ความรัก ก็คือ การรู้จักต่อพระเจ้า

๑๗๕

โดยกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การพิจารณาในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่สุดของพระเจ้า และสิ่งที่มีอยู่ทั้งหลายที่มีขอบเขตจำกัด และไม่มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ จึงเป็นแนวทางไปสู่ระดับขั้นของความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก ซึ่งก็เป็นแนวทางอันเดียวกับที่ศาสนาแห่งฟากฟ้านำมาเสนอ

   ความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายกิจการงาน

    ความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายกิจการงาน ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งในความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง มนุษย์จะต้องมอบหมายการงานของเขาให้กับพระเจ้าเพียงองค์เดียว เพราะว่าพระองค์เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการบริหารการงานทั้งหลาย

การมอบหมายการงาน ในภาษาอาหรับ ใช้คำว่า ตะวักกุล หมายถึง การมอบหมายการงานหนึ่งการงานใด ดังนั้น จากความหมายของตะวักกุล จะเห็นได้ว่า พระเจ้า คือ สิ่งที่มนุษย์ต้องมอบหมายการงานของเขาต่อพระองค์ ในอิสลามจึงมีความเชื่อว่า พระเจ้า คือ ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ในทุกสิ่งทุกอย่าง ความประสงค์และพลังอำนาจสูงสุดนั้น เป็นของพระองค์ ไม่มีสิ่งใดในโลกที่เหมือนกับพระองค์ ดังนั้น ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในอิสลาม โดยเฉพาะในความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งพื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ และเป็นพื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายการงานด้วยเช่นเดียวกัน

๑๗๖

 และสิ่งหนึ่งที่สำคัญในความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายการงาน ก็คือ มิได้หมายความว่า มนุษย์ได้ละทิ้ง จากการขวนขวาย และความเพียรพยายามในการงานของมนุษย์ แต่หมายความว่า การมอบหมายการงานต่อพระเจ้า เพื่อที่จะมีความหวังในการประสบความสำเร็จของการงาน เพราะว่า พระเจ้า คือ ปฐมของเหตุทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายการงาน ก็คือ การเพียรพยายามอุตสาหะ และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ และพยายามทำการงานนั้นให้ดีที่สุด และนำไปสู่เป้าหมายที่สูงสุด โดยมีความเชื่อว่า ความประสงค์ และอำนาจเป็นของพระเจ้าเพียงองค์เดียวและในช่วงท้าย ได้อธิบายในประเภทต่างๆของความเป็นเอกานุภาพก็ถือว่าเป็นการเพียงพอแล้ว ซึ่งจะมาอธิบายในประเด็นความเป็นสัญชาตดั้งเดิมของมนุษย์กับความเป็นเอกานุภาพ มาดูกันว่า มีความสอดคล้องต่อกันใช่หรือไม่?

ความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพ

    มีคำถามเกิดขึ้นว่า การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ หรือว่า มิได้เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์เลย? และยังมีคำถามเกิดขึ้นอีกว่า การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ที่รวมถึงการปฏิบัติของมนุษย์ เป็นสัญขาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ด้วยหรือ?

ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ ไม่ว่าในประเภทใดก็ตาม ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ, ความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ล้วนเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ ด้วยกับเหตุผลทางสติปัญญา และเหตุผลจากการรายงาน(นักลีย์)

๑๗๗

วิธีการที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี ซึ่งได้อธิบายไปแล้วในประเด็น การรู้จักพระเจ้า ว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ก็คือ เป็นแนวทางหนึ่งในการรู้จักพระองค์ โดยมีความหมายว่า มนุษย์ทุกคนรู้จักพระเจ้าได้ด้วยกับจิตใต้สำนึกของเขา ที่เรียกว่า

 “ความรู้โดยตรงต่อการรู้จักถึงผู้สร้าง” หมายถึง เป็นความรู้หนึ่งที่เป็นพื้นฐานของความรู้ทั่วไปในการรู้จักพระเจ้า และเป็นความรู้ที่ไม่ได้เกิดจากการใช้สื่อหรือเหตุผลอ้างอิง แต่ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นโดยตรงกับผู้รู้ในสิ่งที่จะรู้ สรุปได้ว่า จากการอธิบายในความหมายของ การรู้จักพระเจ้าว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ หมายถึง มนุษย์รู้จักพระองค์ได้ด้วยกับจิตใต้สำนึกของเขา กล่าวอีกนัยหนึ่ง  การรู้จักสิ่งที่รู้ต่อผู้รู้โดยตรง ด้วยเหตุนี้ มนุษย์รู้จักพระเจ้าในความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์ และไม่สามารถที่จะคิดว่า พระองค์มีจำนวนสองหรือมากกว่าได้ และเช่นเดียวกัน หากยอมรับในความเป็นสัญชาตดั้งเดิมในการรู้จักพระเจ้า ก็ต้องยอมรับในความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์ด้วย  ดังนั้น ความเป็นเอกานุภาพ ก็เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์  ไม่ว่าในทฤษฎี หรือในการปฏิบัติ เมื่อเวลาที่มนุษย์ประสบกับปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เมื่อนั้นเขาจะนึกถึงพระเจ้า และร้องขอความคุ้มครองและการช่วยเหลือจากพระองค์ เป็นการกระทำที่ยอมรับว่า ในจิตใต้สำนึกของเขานั้น มีความรู้สึกว่า มีพระเจ้า ผู้ที่ให้ความคุ้มครองและดูแล อีกทั้งให้ความช่วยเหลือ ซึ่งการกระทำทั้งหมด บ่งบอกถึง ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ

๑๗๘

   ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตามในทัศนะของอัล กุรอาน

    บางส่วนของโองการอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม

เช่น ในโองการนี้ กล่าวว่า

“พวกเจ้าจงปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่พวกเจ้าจากพระเจ้าของพวกเจ้าเถิด และอย่าปฏิบัติตามบรรดาผู้คุ้มครองใดๆ อื่นจากพระองค์ และส่วนน้อยจากพวกเจ้าเท่านั้นแหละที่จะรำลึก” (บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ ๓ )

โองการนี้ในอัล กุรอาน เริ่มต้นด้วยการเชิญชวนมนุษย์ทุกคนให้ปฏิบัติตามในสิ่งที่ถูกประทานลงมาจากพระเจ้า หลังจากนั้นก็ได้เน้นให้เห็นถึง การมิให้ปฏิบัติตามสิ่งอื่นที่มิใช่พระเจ้า และก็มิให้ยึดถือเอาสิ่งอื่นมาเป็นผู้ปกครอง (วะลีย์) นอกจากพระเจ้าเท่านั้น ซึ่งโองการนี้ได้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตามไว้อย่างชัดเจน

และอีกโองการที่กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม โดยกล่าวว่า  พระเจ้าจะลงโทษต่อผู้ที่ปฏิบัติตามบรรดาผู้รู้และนักปราชญ์โดยไม่มีเหตุและผล

๑๗๙

อัล กุรอานได้กล่าวว่า

“พวกเขาได้ยึดเอาบรรดานักปราชญ์ของพวกเขา และบรรดาบาทหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้าอื่นนอกจากอัลลอฮ์ และยึดเอาอัล-มะซีห์(พระเยซู)บุตรของมัรยัมเป็นพระเจ้าด้วย ทั้งๆที่พวกเขามิได้ถูกสั่งนอกจากเพื่อการเคารพภักดีผู้ที่สมควรได้รับการเคารพภักดี แต่เพียงองค์เดียว ซึ่งไม่มีผู้ใดควรได้รับการเคารพภักดีนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่พวกเขาให้มีภาคีขึ้น” (บทอัตเตาบะฮ์ โองการที่ ๓๑ )

โองการนี้กล่าวถึง กลุ่มชนหนึ่งที่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของบรรดาผู้รู้ของพวกเขาโดยที่ไม่รู้ว่า คำสอนของพวกเขานั้นตรงกับหลักการของพระเจ้าหรือไม่ หมายความว่า พวกเขายอมรับในความเป็นพระเจ้าของบรรดานักปราขญ์เหล่านั้น และการไม่อนุญาตให้ทำการเคารพภักดีในสิ่งอื่นทีมิใช่พระเจ้า และให้ทำการเคารพภักดีต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และให้ออกห่างจากการตั้งภาคีทั้งมวล ดังนั้น ก็แสดงให้เห็นว่า โองการนี้ กล่าวถึง การปฏิบัติตามสิ่งอื่นที่มิได้เป็นพระเจ้า และมีความขัดแย้งกับความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม และเป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม และเช่นกัน ในวจนะก็ได้กล่าวเน้นย้ำถึง ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม

๑๘๐

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450