บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม8%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339938 / ดาวน์โหลด: 4959
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

ท่านอิมามซอดิก ได้กล่าวอธิบายในโองการดังกล่าวว่า

 “ขอสาบานต่อพระเจ้าว่า พวกเขา(บรรดาผู้นำของเขา)มิได้ถือศีลอด และมิได้ทำการนมาซ แต่ทว่าพวกเขาได้ทำให้สิ่งที่ต้องห้าม(ฮะรอม) เป็นสิ่งที่ถูกต้อง(ฮะลาล) และสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้เป็นสิ่งที่ฮะรอม แล้วพวกเขาได้ปฏิบัติตามโดยที่ไม่เข้าใจในการกระทำของเขา “

(ตัฟซีรพะยอมกุรอาน เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๘๘)

ในอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตามว่า มิได้มีความขัดแย้งกับการปฏิบัติตามมนุษย์ด้วยกัน ในขณะที่พระเจ้าสั่งให้ปฏิบัติตามพระองค์ ดังนั้น การปฏิบัติตามมนุษย์ด้วยกันก็เท่ากับว่า เขาได้ปฏิบัติตามพระองค์

 อัลกุรอานกล่าวว่า

 และเรามิได้ส่งร่อซู้ลคนใดมานอกจากเพื่อให้เขาได้รับการเชื่อฟังด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์เท่านั้น”

(บทอัลนิซาอ์ โองการที่ ๖๔)

 “และพวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และจงเชื่อฟังร่อซู้ลเถิด” ( บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๙๒ )

 “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าพวกท่านจงเชื่อฟังอัลลอฮ์และรอซูลเถิด แต่ถ้าพวกเขาผินหลังให้ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๓๒ )

 “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และเชื่อฟังร่อซู้ลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย”

 ( บทอัลนิซาอ์ โองการที่ ๕๙)

๑๘๑

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ถูกทำให้เป็นสาเหตุการตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม ก็คือ การปฏิบัติตามผู้ที่มีความขัดแย้งกับคำสั่งสอนของพระเจ้า และเช่นเดียวกัน ในวจนะก็ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

“มิได้มีการปฏิบัติตามใดในความบาปต่อพระเจ้า โดยอันที่จริง การปฏิบัติตามนั้น เฉพาะกับความดีเท่านั้น”

 (ศอเฮียะมุสลิม เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๔๖๙ )

ท่านอิมามอะลีกล่าวว่า

“ไม่มีการปฏิบัติตามใดของมนุษย์ในความบาปต่อพระเจ้า”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ฮิกมะฮ์ที่ ๑๖๕ )

ท่านอิมามซอดิกกล่าวว่า

“บุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามผู้อื่นในความบาป แน่นอนเขาเป็นบ่าวของผู้นั้น”

(วะซาอิลอัชชีอะฮ์ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๙๑ วจนะที่ ๘)

วจนะนี้ได้กล่าวถึง ความหมายที่กว้างของ การเคารพภักดี ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามผู้ที่กระทำบาป ถือว่า เป็นชนิดหนึ่งของการเคารพภักดี

๑๘๒

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีด ฟีย์ อิสติอานะฮ์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการขอความช่วยเหลือ

เตาฮีด ฟีย์ มะฮับบะฮ์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก

เตาฮีด ฟีย์ อิฏออะฮ์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตามเตาฮีด ฟีย์ ตะวักกุล หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายการงาน

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งในความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง มนุษย์มีความเชื่อว่าจะต้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และจากเหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ ทำให้เข้าใจได้ว่า เฉพาะพระเจ้าองค์เดียวที่เราจะต้องขอความช่วยเหลือ

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการขช่วยเหลือมิได้มีความหมายขัดแย้งกับการขอความช่วยเหลือจากสิ่งที่ถูกสร้างของพระเจ้า โดยเฉพาะจากบรรดาศาสดา และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ แต่การช่วยเหลือนั้นต้องมีเงื่อนไขว่า การทำให้พวกเขาเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับพระเจ้า และมิได้มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากพระองค์

๑๘๓

๓.และอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ก็คือ ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม หมายถึง การยอมจำนนและปฏิบัติตามในคำสั่งสอนของพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว

พื้นฐานของความเป็นเอกานุภาพนี้ อยู่ภายใต้ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดบทบัญญัติ และการปกครอง

และด้วยกับการมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม จึงได้อนุญาตให้ปฏิบัติตามบรรดาผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งได้

๔.และอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ก็คือ ความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก หมายถึง มนุษย์จะต้องให้ความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว และการมีความรักต่อสิ่งอื่น เนื่องจากว่า สิ่งนั้น เป็นสิ่งสร้างที่สวยงามของพระองค์

๕.พื้นฐานหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก คือ การมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบของพระเจ้า และไม่มีขอบเขตจำกัด เพราะว่าการให้ความรักที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากการรู้จักในความสมบูรณ์ของสิ่งนั้น และในขณะที่พระเจ้า ทรงดำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์แบบที่สุด ดังนั้น พระองค์จึงควรค่าแก่การให้ความรัก และมนุษย์ทุกคนจะต้องมีความรักในพระองค์ด้วย

๖.ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายการงาน คือ การที่มนุษย์ต้องมอบหมายการงานของตนต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว และด้วยกับความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ และในการบริหาร และความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงได้กล่าวว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องมอบหมายการงานของตนต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น

๑๘๔

และการมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมาย ก็มิได้มีความหมายขัดแย้งกับการเพียรพยายามอุตสาหะ แต่มีข้อแม้ว่า สิ่งนั้นต้องถูกใช้เป็นสื่อของพระเจ้า เพื่อที่จะทำให้ความประสงค์ของพระองค์นั้นสัมฤทธิ์ผล และสิ่งนั้นก็มิได้มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

๗.นอกเหนือจากการรู้จักพระเจ้า ,ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าและความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ทั้งหมดเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์

เหตุผลของความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีก็คือ เกิดจากการรับรู้โดยตรงของมนุษย์

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีประสบการณ์ในการปฏิบัติของมนุษย์ เป็นหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่า ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัตินั้น ก็เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

๘.อัล กุรอานและวจนะทั้งหลายได้กล่าวเน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ จะไม่ว่าในประเภทใดก็ตาม และยังได้เชิญชวนมนุษยชาติมาสู่การดำเนินชีวิตตามความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพอีกด้วย

๑๘๕

   บทที่ ๙

   พื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในทัศนะอัลกุรอานและวจนะ

    อัลกุรอานได้อธิบายว่า ความเป็นเอกานุภาพ เกิดขึ้นจากพื้นฐานต่างๆที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งในบางโองการได้กล่าวถึง การเคารพภักดีในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวหรือความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีอยู่ควบคู่กับการรู้จักพระเจ้า ซึ่งเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่มีอยู่ในจิตใต้สำนึกของเขา นอกเหนือจากนี้ อัลกุรอานยังได้กล่าวในหลายโองการถึงเหตุผลทางสติปัญญาในการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า  ซึ่งจะมาอธิบายในโองการเหล่านี้ มีดังนี้

   อัล กุรอานกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

    จากบทที่แล้วได้อธิบายถึง การรู้จักพระเจ้าว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การหลงใหลในโลกนี้ หรือการประสบพบกับปัญหาต่างๆ แต่สาเหตุที่แท้จริงก็คือ การมีอยู่ของมนุษย์ ดังนั้น แนวทางในการขจัดปัญหา ก็คือ การสำนึกในการมีอยู่ของพระเจ้า และการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์

๑๘๖

ซึ่งในอัล กุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนถึงแนวทางในการขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ก็คือ การเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า และการขอความช่วยเหลือจากพระองค์

อัล กุรอานกล่าวว่า 

 “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ท่านได้เห็นพวกท่านแล้วมิใช่หรือ? หากการลงโทษนั้นหรือ ที่พวกท่านจะวิงวอนหากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง”  

 “มิได้ เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกท่านจะวิงวอนขอ แล้วพระองค์ก็จะทรงปลดเปลื้องสิ่งที่พวกท่านวิงวอนให้ช่วยเหลือ หากพระองค์ทรงประสงค์ และพวกเจ้าก็จะลืมสิ่งที่พวกเจ้าให้มีภาคีขึ้น”

 (บทอัลอันอาม โองการที่ ๔๐-๔๑)

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ดังนั้นเมื่อพวกเขาขึ้นโดยสารบนเรือ พวกเขาวิงวอนต่ออัลลอฮ์เป็นผู้บริสุทธิ์ใจในการขอพรต่อพระองค์ ครั้นเมื่อพระองค์ทรงช่วยพวกเขาให้ขึ้นบก แล้วพวกเขาก็ตั้งภาคีต่อพระองค์”

(บทอัลอังกะบูต โองการที่ ๖๕)

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า มนุษย์รู้จักพระเจ้าในยามที่ประสบกับปัญหาที่ไม่สามารถแก้เองได้ และด้วยกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมที่มีอยู่ในตัวของเขาเขาจะนึกถึงพระองค์ในทันทีทันใด

๑๘๗

และอัล กุรอานกล่าวว่า

 “และเมื่อทุกขภัยอันใดประสบแก่มนุษย์ พวกเขาก็วิงวอนขอต่อพระเจ้าของพวกเขา โดยเป็นผู้ผินหน้ากลับไปสู่พระองค์ ครั้นเมื่อพระองค์ได้ทรงให้พวกเขาลิ้มรสความเมตตาจากพระองค์ ณ บัดนั้นหมู่หนึ่งจากพวกเขาก็ตั้งภาคีต่อพระเจ้าของพวกเขา” (บทอัรรูม โองการที่ ๓๓)

โองการนี้ได้กล่าวถึง ชนกลุ่มหนึ่งมีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ในยามที่ประสบกับปัญหา และหลังจากที่ได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์แล้ว ความมืดมนได้เข้ามาครอบงำเขา และทำให้เขาลืมนึกถึงพระองค์ และได้ทำการตั้งภาคีต่อพระองค์

ในอัล กุรอาน บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ ๑๗๑-๑๗๒ ได้กล่าวถึงความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งได้อธิบายไปแล้วในวิธีการทางสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามบากิร (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวถึงการอธิบายในโองการนี้ไว้ว่า

 “หลังจากที่พระเจ้าได้แนะนำพระองค์ให้พวกเขา (มนุษย์ทั้งหลาย) ได้รู้จัก และแสดงตนให้รู้จัก และหากว่ามิได้เป็นเช่นนั้น ก็ไม่มีผู้ใดรู้จักถึงพระองค์”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๒ วจนะที่ ๓ )

๑๘๘

สัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพในมุมมองของวจนะ

    นอกเหนือจากโองการของอัล กุรอานที่ได้กล่าวถึง สัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพแล้ว ก็ยังมีวจนะก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นเดียวกัน

รายงานหนึ่งจากท่านฮิชาม บิน ซาลิม จากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) เขาได้ถามท่านอิมามเกี่ยวกับโองการที่ ๓๐ บทอัรรูม (โองการที่กล่าวว่า “สัญชาตญาณดั้งเดิมของพระเจ้าที่พระองค์ทรงประทานให้แด่มนุษย์”)  ความหมายของสัญชาตญาณดั้งเดิมในโองการนี้ มีความหมายว่าอย่างไร?

ท่าน อิมามได้ตอบเขาว่า

 “สัญชาตญาณดั้งเดิมในโองการนี้ คือ ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๕๓ วจนะที่ ๑ )

จากวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า และการเคารพภักดีต่อพระองค์เพียงองค์เดียว เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ที่มีต่อการดำเนินชีวิตของเขา

๑๘๙

 ดั่งที่ท่านอิมามได้กล่าวอีกว่า

“พระเจ้าได้สร้างมนุษย์บนพื้นฐานของความเป็นพระผู้เป็นเจ้า”

   เหตุผลทางสติปัญญาของอัลกุรอานในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

    ได้กล่าวแล้วว่า โองการของอัล กุรอาน ที่กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพ และได้มีเหตุผลในอัล กุรอานได้หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

   ๑.ความสามัคคีของจักรวาลและความเป็นระบบระเบียบ บ่งบอกว่า เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความเป็นเอกานุภาพ

บางส่วนของโองการอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นระบบระเบียบของเอกภพ และอธิบายไปแล้วในบท ความเป็นเอกานุภาพในการบริหาร เกี่ยวกับการอธิบายโองการที่ ๒๒  บทอัลอัมบิยาอ์ การไม่ได้รับความเสียหายในเอกภพ แสดงให้เห็นว่า สัญลักษณ์หนึ่งของเอกานุภาพ ก็คือ ความเป็นระบบระเบียบ

และอีกโองการหนึ่งได้กล่าวเช่นกันว่า

“อัลลอฮ์มิได้ทรงตั้งผู้เป็นพระบุตรและไม่มีพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับพระองค์ ถ้าเช่นนั้นพระเจ้าแต่ละองค์ก็จะเอาสิ่งที่ตนสร้างไปเสียหมด และแน่นอนพระเจ้าบางพระองค์ในหมู่พวกเขาก็จะมีอำนาจเหนือกว่าอีกบางองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแห่งอัลลอฮ์ ให้พ้นจากที่พวกเขากล่าวหา”

 (บทอัลมุมินูน โองการที่ ๙๑ )

๑๙๐

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า หากว่าในโลกนี้ มีพระเจ้าหลายองค์ จะเกิดความวิบัติมาสู่โลกอย่างแน่นอน เพราะว่า พระเจ้าที่ได้สมมุติขึ้นมานั้น มีอำนาจเหมือนกัน และสามารถสร้างสิ่งต่างๆได้ตามความปรารถนาของแต่ละองค์ อีกทั้งยังมีความสามารถที่แตกต่างกันในการปกครอง และการบริหาร ด้วยเหตุนี้ จะไม่เห็นความเป็นระบบระเบียบหลงเหลืออยู่  แต่ในความเป็นจริง โลกนี้นั้นมีความเป็นระบบระเบียบ ซึ่งก็บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว

   ๒.เหตุผลของการชี้นำ(ฟัยฎ์และฮิดายะฮ์)

เป็นที่รู้กันดีว่า บรรดาศาสดาได้เชิญชวนมนุษย์ชาติไปสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และในคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายก็ได้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพ และในอัล กุรอาน ก็เช่นเดียวกัน ได้กล่าวถึงเหตุผลการพิสูจน์ในหลักการนี้ไว้อย่างชัดเจน 

การสมมุติฐานในข้อพิสูจน์นี้ ก็คือ ถ้าหากว่า โลกนี้มีพระเจ้าหลายองค์ จะต้องมีการแต่งตั้งศาสนทูต เพื่อที่จะแนะนำพระเจ้าในแต่ละองค์ และในขณะเดียวกัน โลกนี้ มีบรรดาศาสนทูต ที่พวกเขาได้เชิญชวนมวลมนุษยชาติมาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “และจงถามผู้ที่เราได้ส่งมาก่อนหน้าเจ้าจากบรรดาศาสนทูตทั้งหลาย เราได้แต่งตั้งพระเจ้าหลายองค์ นอกจากพระเจ้าองค์เดียวผู้ทรงกรุณาปราณีกระนั้นหรือ?” (บทอัซซุครุฟ โองการที่ ๔๕)

โองการนี้ได้กล่าวถึง คำถามที่ได้ถามกับบรรดาศาสนทูตถึง การเชิญชวนมาสู่การรู้จักในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวหรือในพระเจ้าหลายองค์

๑๙๑

สำหรับคำตอบก็คือ การเชิญชวนมาสู่พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวหรือความเป็นเอกานุภาพ ด้วยเหตุนี้ บรรดาศาสนทูตทั้งหลายจึงถูกแต่งตั้ง และเพื่อเชิญชวนมนุษยขาติให้รู้จักถึงพระองค์

นักอรรถาธิบายอัล กุรอานได้ให้ทัศนะที่มีความแตกต่างกันในการอธิบายความหมายของโองการนี้ว่า

บางคนกล่าวว่า เป็นคำถามที่ถามกับประชาชาติทั้งหลายในสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด

อีกทัศนะหนึ่งได้กล่าวว่า ความหมายของโองการนี้ คือ การย้อนกลับไปหายังพระมหาคัมภีร์ทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้า

และในอีกทัศนะหนึ่งก็กล่าวว่า โองการนี้ถูกประทานในค่ำคืนเมียะรอจ(การขึ้นสู่ฟากฟ้า)ของท่านศาสดามุฮัมมัด

ดังนั้น จุดประสงค์ของโองการนี้ คือ การเชิญชวนของบรรดาศาสดาทั้งหลายมาสู่การรู้จักในพระเจ้าองค์เดียว

อัล กุรอานกล่าวว่า

“จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด พวกท่านไม่เห็นดอกหรือว่า สิ่งที่พวกท่านวิงวอนขอ นอกจากอัลลอฮ์พระเจ้าองค์เดียว และจงแสดงให้ข้าเห็นซิว่า พวกมันได้สร้างอะไรในหน้าแผ่นดิน หรือพวกมันมีส่วนร่วมในการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย จงนำคัมภีร์ก่อนหน้านี้หรือร่องรอยจากความรู้(ที่เป็นหลักฐานยืนยันในการนี้) หากว่าพวกท่านเป็นผู้ซื่อสัตย์จริง”(บทอัลอะฮ์กอฟ โองการที่ ๔)

โองการนี้กล่าวที่ ประโยคที่ว่า “จงนำคัมภีร์”  ซึ่งบ่งบอกถึง ไม่มีคัมภีร์ใดที่เชิญชวนประชาชาติไปสู่การตั้งภาคี และบรรดาศาสดาทุกคนก็ได้เชิญชวนประชาชาติมาสู่ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า

๑๙๒

 ดังนั้น ถ้าหากว่า ในโลกนี้ มีพระเจ้าหลายองค์ก็จะต้องส่งศาสดาของแต่ละองค์ลงมา และเชิญชวนประชาชาติให้รู้จักในแต่ละองค์ และจากช่วงแรกของโองการนี้ บ่งบอกถึง ความหมายของเหตุผลนี้ ก็คือ ถ้าหากว่า ในโลกนี้ มีพระเจ้าหลายองค์ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน เพราะว่าสติปัญญาได้กล่าวว่า สิ่งที่ไม่มีส่วนร่วมในการสร้าง จึงไม่สมควรที่จะเคารพภักดีหรือเรียกสิ่งนั้นว่า เป็นพระเจ้า

กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า พระเจ้าที่ไม่มีการสร้าง ไม่ถูกเรียกว่า เป็นพระเจ้า ในขณะเดียวกัน สิ่งที่พวกตั้งภาคีได้สร้างขึ้น พวกมันก็ไม่มีอำนาจในการสร้าง และก็ไม่เรียกสิ่งนั้นว่าเป็นพระเจ้าด้วย

ข้อพิสูจน์ของการชี้นำและการมีอยู่ ที่ได้รับจากวจนะของอิสลาม

ดั่งวจนะของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน)ได้กล่าวสั่งเสียแก่บุตรชายของท่านว่า

“โอ้ลูกรัก จงรู้เถิดว่า หากว่าพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามีหลายองค์ ก็จะต้องส่งบรรดาศาสดาลงมาแก่เจ้า และเจ้าก็จะเห็นในร่องรอยของการปกครองของพวกเขา และการกระทำ และคุณลักษณะของพวกเขา แต่ทว่า พระผู้เป็นเจ้ามีเพียงองค์เดียว”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จดหมายที่ ๓๑)

จากคำกล่าวของท่านอิมามอะลี ที่กล่าวว่า “จะต้องส่งบรรดาศาสดาทั้งหลายมาแก่เจ้า” บ่งบอกถึง ข้อพิสูจน์ของการชี้นำ และประโยคที่กล่าวว่า “เจ้าจะเห็นร่องรอยของพวกเขา”  ก็บ่งบอกถึง ข้อพิสูจน์ของการมีอยู่ และในวจนะนี้ยังได้กล่าวถึง ความเป็นพระผู้เป็นเจ้า จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีร่องรอยการสร้างให้เห็นอย่างกระจ่างชัด และมีการส่งบรรดาศาสนทูต เพื่อที่จะเชิญชวนมนุษยชาติให้รู้จักถึงพระองค์

๑๙๓

ถ้าในโลกนี้ มีพระเจ้าหลายองค์ ก็จะต้องส่งศาสนทูตของตนเองลงมา และมีร่องรอยในการสร้างให้เห็นเป็นที่ประจักษ์  และในขณะเดียวกัน โลกนี้มิได้มีสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น ในโลกนี้ จึงมีเพียงพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวเท่านั้น

  สรุปสาระสำคัญ

๑.อัล กุรอานได้กล่าวว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการเคารพภักดีในพระองค์ เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และโองการอัล กุรอาน เป็นหลักฐานที่สำคัญของการให้เหตุผลทางสติปัญญาถึงการพิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพ

๒.บางส่วนของโองการอัล กุรอานได้กล่าวถึง ในยามที่มนุษย์ประสบกับปัญหาต่างๆที่ไม่สามารถแก้ด้วยตนเองได้ เขาก็จะนึกถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นอันดับแรก เพราะว่า การรู้จักพระองค์ เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขา

๓.ความเป็นระบบระเบียบของเอกภพ เป็นเหตุผลหนึ่งของอัล กุรอานที่บ่งบอกว่า มีพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเป็นผู้บริหาร เพราะว่า ถ้าหากว่า มีพระเจ้าหลายองค์ ก็จะต้องเห็นการบริหารของแต่ละองค์ และก็จะเห็นว่า โลกคงมีแต่ความวุ่นวาย

๔.ทัศนะของอัล กุรอานมีความเห็นว่า บรรดาศาสดาทุกคนได้เชิญชวนมนุษยชาติมาสู่การรู้จักพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว เพราะว่า ถ้าหากว่า ในโลกนี้ มีพระเจ้าหลายองค์ ก็จะต้องส่งศาสนทูตมาแต่ละองค์ เพื่อที่จะเชิญชวนให้รู้จักในพระเจ้าของพวกเขา และนี่คือความหมายของ ข้อพิสูจน์ของการชี้นำ

๕.ท่านอิมามอะลี ก็เช่นกันได้กล่าวในคำสั่งเสียให้บุตรชายของเขาว่า เป้าหมายของการเชิญชวนบรรดาศาสดาทุกคน ก็เพื่อให้มนุษย์มาสู่การรู้จักในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว

๑๙๔

   บทที่ ๑๐

   ความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคี (ชิรก์) ตอนที่ หนึ่ง

    คำสองคำที่มีความหมายแตกต่างกันคือ คำว่า ความเป็นเอกานุภาพและการตั้งภาคี (ชิรก์) ความเป็นเอกานุภาพ หมายถึง การมีความเชื่อในความเอกะและความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

ส่วน การตั้งภาคี (ชิรก์) หมายถึง การมีความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ และการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าองค์เดียว  ด้วยเหตุนี้เอง การตั้งภาคีในเทววิทยาอิสลาม จึงถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเด็น ดังนี้

๑.การตั้งภาคี ที่เป็นศัพท์วิชาการทางศาสนาและใช้ในเทววิทยาอิสลาม เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเทววิทยาอิสลามก็คือ การอธิบายในรายละเอียดของการตั้งภาคี และการสร้างความสัมพันธ์ให้เข้ากับหลักการอื่นของศาสนา

๒.จากความแตกต่างของทั้งสองคำ คือ คำว่าความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคี ดังนั้น การอธิบายในการจัดประเภทและกฏของการตั้งภาคี เพื่อที่จะมีความเข้าใจในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพ ได้มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น การรู้จักในสิ่งหนึ่งต้องรู้จักในความแตกต่างของสิ่งนั้น

๑๙๕

 

   ประเภทของการตั้งภาคี

    การตั้งภาคี (ชิริก์) สามารถที่จะแบ่งออกเป็นหลาย ประเภท ดังนี้

๑.การตั้งภาคีในอาตมัน หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีรูปร่าง และมีหลายองค์ ดังนั้น ประเภทนี้  จึงแบ่งออกเป็น  ๒ ประเด็นด้วยกัน

(๑.)การมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีรูปร่าง

(๒).การมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์

   คำอธิบาย

การตั้งภาคีในอาตมัน เป็นประเด็นแรก หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีรูปร่าง ซี่งเป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งภาคี และในบทความเป็นเอกานุภาพในอาตมันก็ได้กล่าวไปแล้ว ในการอธิบายความหมายของ การมีส่วนประกอบทางสติปัญญา และการมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียวในความเชื่อของมนุษย์ ก็มีจำนวนน้อย แต่ในทางตรงกันข้าม การมีความเชื่อว่าพระเจ้ามีรูปร่างนั้น มีจำนวนมากกว่า (จะกล่าวรายละเอียดใน สาเหตุของการตั้งภาคี เป็นอันดับต่อไป )

สาเหตุหนึ่งของการตั้งภาคี คือ การหลงใหลในวัตถุของมนุษย์ โดยพวกวัตถุนิยมมีความเชื่อว่า พระเจ้าต้องมีรูปร่างที่เป็นวัตถุ ดังนั้น การมีความเชื่อเช่นนี้ จึงเป็นประเภทหนึ่งของการตั้งภาคีในอาตมัน และอิสลาม เรียกพวกนี้ว่า พวกมุญัซซะมะฮ์ หมายถึง พวกที่มีความเชื่อว่า พระเจ้ามีรูปร่างที่เป็นวัตถุ

๑๙๖

ในความหมายที่สองของการตั้งภาคีในอาตมัน หมายถึง การมีความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ แต่การมีความเชื่อเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการตั้งภาคีในอาตมัน เพราะว่าในขณะเดียวกัน ที่มนุษย์คนหนึ่งได้ทำการเคารพบูชาในสิ่งต่างๆ โดยที่มีความคิดว่า สิ่งนั้นมิใช่เป็นพระเจ้า แต่สิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยพระผู้เป็นเจ้า และการเคารพบูชาในสิ่งนั้น เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า หรือคิดว่าสิ่งนั้นเป็นบุตรของพระองค์ หรือเป็นผู้บริหารส่วนหนึ่งของโลก แม้ว่าการมีความเชื่อเช่นนี้ เป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งภาคีในการบริหารก็ตาม แต่ไม่ได้มีผลกระทบในการตั้งภาคีในอาตมันเลย ดังนั้น จากความหมายนี้ นั่นก็คือ การมีความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ที่มีความเป็นอิสระในตัวเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ความหมายนี้ ในเชิงวิชาการด้านปรัชญา หมายถึง การมีความเชื่อในการมีอยู่ของหลายสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีอยู่ ในสภาพที่มิได้เป็นผลของสิ่งใดและก็มิได้เป็นสิ่งถูกสร้างของสิ่งใด

ดังนั้น การอธิบายข้างต้น แสดงเห็นได้ว่า การตั้งภาคีในอาตมันที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ มีจำนวนน้อยหรือน้อยมาก แต่ทว่าการตั้งภาคีที่เกิดขึ้นในมนุษย์ เกิดจากประเภทอื่นของการตั้งภาคี

๒.การตั้งภาคีในคุณลักษณะ หมายถึง การมีความเชื่อในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า ประเด็นนี้ เป็นประเด็นในเชิงวิชาการด้านปรัชญา และเป็นข้อถกเถียงกันในหมู่ของนักปรัชญากับนักเทววิทยาอิสลาม และเช่นเดียวกัน การมีความเชื่อเช่นนี้ ก็เกิดขึ้นน้อยมากเหมือนกับการตั้งภาคีในอาตมัน

๑๙๗

สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่มิได้มีอยู่ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า โดยพวกเขามีความเชื่อว่า คุณลักษณะทั้งเจ็ดประการของพระผู้เป็นเจ้าที่มิได้มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ ซึ่งกล่าวได้ว่า พวกอัชอะรีย์มีความเชื่อในการตั้งภาคีในคุณลักษณะ และในบทต่อไปจะอธิบายว่า การตั้งภาคีประเภทนี้ มิได้เป็นสาเหตุให้มนุษย์ต้องตกศาสนา ถ้าหากว่ามิได้มีความเชื่อในการตั้งภาคีในอาตมันอยู่ก็ตาม

๓.การตั้งภาคีในการกระทำ หมายถึง มีความหมายตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ และมีประเภทที่เหมือนกันกับความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ ก็คือ การตั้งภาคีในการสร้าง ,การตั้งภาคีในการเป็นผู้อภิบาล และการตั้งภาคีในการวางกฏระเบียบ

การตั้งภาคีในการสร้าง หมายถึง การมีความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าที่เป็นผู้สร้างหลายองค์ในสภาพที่ไม่มีองค์ใดมีชัยชนะเหนืออีกองค์อื่น ดั่งตัวอย่างเช่น การมีความเชื่อในผู้สร้างแห่งความดี และความชั่ว ด้วยกับการมีความเชื่อนี้ พระเจ้า เป็นผู้สร้างความดี  นั่นคือ พระเจ้าแห่งความดี ส่วนผู้ที่สร้างความชั่ว ก็คือ ซาตาน หรือ พระเจ้าแห่งความชั่ว ดังนั้น พระเจ้าแห่งความดี ทรงสร้างแต่ความดี ซึ่งมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความชั่วและพระเจ้าแห่งความชั่วก็สร้างแต่ความชั่วและไม่เกี่ยวข้องกับความดี

การมีความเชื่อแบบนี้ได้เกิดขึ้น ในศาสนามานี และศาสนาโซโรเอสเตอร์ แต่ในศาสนาอิสลามก็มิได้ยอมรับการมีความเชื่อนี้ เพราะว่าอิสลามมีความเชื่อในความเป็นเอกะในการสร้าง กล่าวคือ การมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้สร้างแต่เพียงผู้เดียว

๑๙๘

การตั้งภาคีในการเป็นผู้อภิบาล ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของการตั้งภาคีในการกระทำ ที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า ได้เกิดขึ้นมากมายในหมู่กลุ่มชนและเผ่าพันธ์ของมนุษย์ และจากการตรวจสอบในความเชื่อที่เป็นการตั้งภาคี จะเห็นได้ว่า พวกเขามีความเชื่อในการเป็นผู้อภิบาลของพระเจ้าที่เป็นอิสระหลายองค์ ดั่งตัวอย่างเช่น การมีความเชื่อในการเป็นะผู้อภิบาลของลม ,ฝน ท้องฟ้า และต้นไม้ เป็นต้น

การตั้งภาคีในการวางกฏระเบียบ หมายถึง การยอมรับในการวางกฏระเบียบของสิ่งที่มิใช่พระผู้เป็นเจ้า และการปฏิบัติตามคำสอนที่มีความขัดแย้งกับคำสั่งสอนของพระองค์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า โดยส่วนมากการเกิดขึ้นของการตั้งภาคีประเภทนี้ มาจากสาเหตุของการหันเหออกจากศาสนาในหมู่กลุ่มชนที่ปฏิบัติตามศาสนา เช่น ในกลุ่มชนที่ปฏิบัติตามศาสนาคริสตร์ โดยมีความคิดเห็นว่า โป๋ปเป็นผู้ทรงสิทธิ์และบริสุทธิ์ในการวางกฏระเบียบในเรื่องของศาสนา โดยปราศจากความผิดบาปทั้งหลาย

   การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้าและการเคารพภักดี

    การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้า หมายถึง การมีความเชื่อในการเป็นพระเจ้าของสิ่งอื่นที่มิใช่เป็นพระผู้เป็นเจ้า และการเคารพภักดีและสักการะบูชาในสิ่งนั้น

 การตั้งภาคีในการเคารพภักดี หมายถึง การเคารพภักดีต่อสิ่งอื่นที่มิใช่เป็นพระเจ้า

๑๙๙

ดังนั้น การตั้งภาคีทั้งสองประเภท จะอยู่คู่กันโดยไม่สามารถแยกออกจากกัน เพราะว่าบุคคลใดก็ตามที่มีความเชื่อในความเป็นพระเจ้าของสิ่งหนึ่ง ก็ย่อมจะต้องทำการเคารพภักดีและสักการะบูชาในสิ่งนั้นอย่างแน่นอน และในบางกรณี การตั้งภาคีทั้งสองนี้อยู่คู่กับการเป็นผู้อภิบาล เพราะว่า พื้นฐานหนึ่งทางสติปัญญาของการตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้า คือ การตั้งภาคีในการเป็นผู้อภิบาล หมายความว่า เมื่อบุคคลใดก็ตามที่มีความเชื่อในการเป็นผู้อภิบาลของพระเจ้าหลายองค์ เขาก็จะต้องทำการเคารพภักดีในพระเจ้าเหล่านั้นด้วย

การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้า และการเคารพภักดี เกิดขึ้นในหมู่พวกตั้งภาคี ซึ่งมีด้วยกันหลายสภาพ

พวกตั้งภาคีกลุ่มหนึ่ง ได้บูชาเจว็ดที่ตนเองสร้างขึ้นมาจากหิน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ได้ทำการบูชาในดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวนพเคราะห์ทั้งหลาย เพราะว่าพวกเขามีความเชื่อในความสูงส่งของมัน และยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำการบูชาต่อธรรมชาติ และมีอีกบางกลุ่มที่ทำการบูชาต่อสิงสาราสัตว์ เพราะว่าพวกขาเชื่อในการมีพลังที่เหนือธรรมชาติที่ซ่อนอยู่ในสิ่งทั้งหลาย

ระดับขั้นของการตั้งภาคี

    การตั้งภาคีมีหลายระดับขั้น ด้วยกัน ในบางครั้ง เป็นระดับขั้นที่เปิดเผย และบางครั้ง เป็นระดับขั้นที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวของมนุษย์

การตั้งภาคีในการเคารพภักดี ในระดับขั้นที่เปิดเผย หมายถึง การประกอบพิธีกรรมใดๆก็ตาม เช่น การก้มกราบ การเชือดสัตว์พลี ต่อสิ่งหนึ่งโดยที่มีความเชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นพระเจ้า

๒๐๐

และยังมีระดับขั้นอื่นๆ ของการตั้งภาคีในการเคารพภักดี ซึ่งศาสนาอิสลามมีความเชื่อว่า การหลงใหลในโลก,ทรัพย์สมบัติ, ลาภยศถาบรรดาศักดิ์ และอารมณ์ใฝ่ต่ำของมนุษย์ ล้วนเป็นระดับขั้นของการตั้งภาคีในการเคารพภักดีทั้งสิ้น

อัล กุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่า บุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามอารมณ์ของตนเอง แน่นอนที่สุดเขาคือ ผู้ที่เคารพบูชาอารมณ์ของเขา

นี่คือ การตั้งภาคีในระดับขั้นที่ซ่อนเร้นอยู่ ดังนั้น การตั้งภาคีประเภทนี้ มิได้มีอยู่ในอิสลามเท่านั้น แต่ยังได้รวมถึงศาสนาอื่นอีกด้วย

การตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม ในระดับขั้นที่ซ่อนเร้น เช่น การตั้งภาคีในการมอบหมาย หมายถึง การที่มนุษย์เชื่อในความเป็นอิสระของธรรมชาติโดยยึดถือเอาสิ่งนั้นเป็นที่พักพิงและมอบหมายการงานต่อสิ่งนั้น

การตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม  หมายถึง การที่มนุษย์ยอมจำนนต่อผู้ที่ตั้งภาคีและปฏิบัติตามคำสั่งของเขา

การตั้งภาคีในการให้ความรัก หมายถึง การให้ความรักในสิ่งที่มิได้เป็นพระเจ้า

จะสรุปได้ว่า การตั้งภาคีมีด้วยกัน หลายระดับขั้น คือ ระดับขั้นที่เปิดเผย และที่ซ่อนเร้น ส่วนการตั้งภาคีในระดับขั้นที่ซ่อนเร้น ครอบคลุมในทุกศาสนา และกลุ่มชนที่มีการตั้งภาคีอีกด้วย

๒๐๑

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

การตั้งภาคี(ชิริก) : Polytheism

ชิริก ซาตีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในอาตมัน

ชิริก ซิฟาตีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในคุณลักษณะ

ชิริก อัฟอาลีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในการกระทำ

ชิริก คอลิกียะฮ์ หมายถึง การตั้งภาคีในการสร้าง

ชิริก รุบูบียะฮ์ หมายถึง การตั้งภาคีในการเป็นะผู้อภิบาลและบริหารกิจการ

ชิริก ญะลีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในรูปแบบที่เปิดเผย : Patent polytheism

ชิริก เคาะฟีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในรูปแบบที่ซ่อนเร้น :

Hidden polytheism

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ชิรก์(การตั้งภาคี)เหมือนกันกับความเป็นเอกานุภาพเป็นศัพท์วิชาการทางศาสนาและการอธิบายรายละเอียดของมัน เป็นหน้าที่ของเทววิทยาอิสลาม นอกเหนือจากนี้ ระหว่างคำสองคำคือ  การตั้งภาคีกับความเป็นเอกานุภาพมีความหมายที่แตกต่างกัน และมีความหมายที่ตรงกันข้าม เพราะสาเหตุนี้ การอธิบายในการตั้งภาคีช่วยทำให้เข้าใจในความเป็นเอกานุภาพได้มากยิ่งขึ้น

๒.การตั้งภาคีในอาตมัน ตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน หมายถึง การมีความเชื่อว่าพระเจ้ามีส่วนประกอบ มีรูปร่าง และหน้าตา และการมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์

๒๐๒

๓.การตั้งภาคีในคุณลักษณะ ตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้ามีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากอาตมันของพระองค์

๔.การตั้งภาคีในการกระทำ ก็ตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ ซึ่งถูกแบ่งออกด้วยกันหลายประเภท เช่น การตั้งภาคีในการสร้าง,การตั้งภาคีในการบริหาร และการตั้งภาคีในการกำหนดบทบัญญัติ

๕.การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้าและการตั้งภาคีในการเคารพภักดี เป็นการตั้งภาคีที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น การเคารพบูชารูปปั้น ดวงดาว ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

๖.การตั้งภาคีในการเคารพภักดี นอกจากมีระดับขั้นที่เปิดเผยแล้ว ยังมีระดับขั้นที่ซ่อนเร้น เช่น การหลงใหลในโลก ,ตำแหน่งลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง และการบูชาอารมณ์ใฝ่ต่ำของมนุษย์

๒๐๓

   บทที่ ๑๑

   ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการตั้งภาคี


ตอนที่ สอง

   ความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคีในประวัติศาสตร์

    มีคำถามหนึ่งเกิดขึ้นในเรื่องของความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคี โดยในช่วงแรกของประวัติศาสตร์ ได้บันทึกไว้ว่า เริ่มแรก มนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า มาแต่ดั้งเดิม แล้วหลังจากนั้น ก็มีการตั้งภาคีเกิดขึ้นมาทีหลังใช่หรือไม่? หมายความว่า สาเหตุที่มนุษย์มีการตั้งภาคีต่อพระเจ้า ก็ด้วยกับการเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ และความสมบูรณ์ของสติปัญญา หรือว่ายังมีสาเหตุอื่น ที่ทำให้มนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพได้หรือ? 

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ นักวิชาการมีความคิดเห็นอยู่ สองทัศนะด้วยกัน  ดังนี้

๑.บางกลุ่มของนักวิชาการมีความเชื่อว่า ความเป็นเอกานุภาพมีมาแต่เดิม และเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี

๒.ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง พวกมีความเชื่อในประเภทต่างๆของการตั้งภาคี และกล่าวว่า การตั้งภาคี เกิดขึ้นมาก่อนความเป็นเอกานุภาพ ด้วยกัยเหตุผลที่บันทึกในประวัติศาสตร์

๒๐๔

สำหรับคำตอบที่ชัดเจนของคำถามนี้ ก็คือ เราต้องมาตรวจสอบและวิเคราะห์ใน ๒ วิธีการ ดังนี้

๑.วิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานยืนยันและอ้างอิง

๒.วิธีการทางเทววิทยาอิสลาม โดยการนำเอาเหตุและผลของศาสนามายืนยันและอ้างอิง

การวิเคราะห์ในวิธีการแรก กล่าวคือ วิธีการทางประวัติศาสตร์ มิได้ถือว่า เป็นประเด็นหลักของเทววิทยาอิสลาม และก็มิได้มีหน้าที่ในการอธิบายวิธีการนี้ เแต่สามารถที่จะศึกษาและวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆของประวัติศาสตร์ในการมีมาของศาสนาและยังใช้เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยทั่วไป ส่วนวิธีการทางเทววิทยาอิสลาม คือ วิธีการที่เกิดจากการวิเคราะห์และตรวจสอบในเทววิทยาอิสลาม และได้ข้อสรุปว่า ศาสนาอิสลามได้ยอมรับในทัศนะแรกที่กล่าวว่า ความเป็นเอกานุภาพมีมาแต่เดิม และเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี ซึ่งในประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจน และทัศนะนี้ยังได้กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ของการกำเนิดมนุษย์นั้น เกิดขึ้นมาพร้อมกับความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า แต่หลังจากนั้น ด้วยกับการหันเหทางความคิดของมนุษย์ จึงเป็นบ่อเกิดให้มนุษย์มีการตั้งภาคี และออกห่างจากความเป็นเอกะของพระองค์

๒๐๕

ตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ก็คือ สิ่งถูกสร้างชิ้นแรกของพระเจ้าในโลกที่เรียกกันว่า มนุษย์ นั่นคือ ศาสดาอาดัม และเมื่อพระเจ้าได้สร้างเขาให้เป็นมนุษย์คนแรกของโลกในหน้าแผ่นดิน และได้แต่งตั้งให้เป็นศาสนทูตเพื่อเชิญชวนมนุษย์ชาติมาสู่ความเป็นเอกะของพระองค์ ดังนั้น ความเชื่อในความเป็นเอกะได้เกิดขึ้นมาพร้อมกับการถือกำเนิดของมนุษย์คนแรก แต่ทว่าหลังจากการจากไปของศาสดาอาดัม มนุษย์ทั้งหลาย เนื่องด้วยเหตุผลทางสังคม และการเกิดปัญหาภายใน จึงเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาออกห่างจากความเป็นเอกะ และได้ยึดถือเอาสิ่งอื่นมาเป็นพระผู้เป็นเจ้า และมีการตั้งภาคีเกิดขึ้น จนกระทั่งในปัจจุบันก็มีการตั้งภาคีเกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน และเหตุผลของการแต่งตั้งบรรดาศาสดาก็เพราะเรื่องนี้นั่นเอง กล่าวคือ การต่อสู้กับการตั้งภาคีทั้งหลายและการเชิญชวนมนุษย์มาสู่ความเป็นเอกะ ถือว่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญของบรรดาศาสดา และในปัจจุบัน อิสลามซึ่ง เป็นศาสนาสุดท้าย ก็ได้รับเอาอุดมการณ์นี้ไว้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งอัลกุรอาน เป็นคัมภีร์อันสุดท้ายได้กล่าวอธิบายในรายละเอียดของความเป็นเอกานุภาพ ไม่ว่าในทฤษฎีหรือในการปฏิบัติ และนี่คือ ความหมายในประวัติศาสตร์ของ ความเป็นเอกานุภาพและการตั้งภาคี

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การยืนยันว่าความเป็นเอกานุภาพเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี ด้วยกับเหตุผลความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในการรู้จักถึงพระเจ้า ซึ่งการอธิบายเหตุผลนี้ได้กล่าวไปแล้ว แสดงว่า ทัศนะนี้มีความถูกต้อง และไม่สามารถกล่าวว่า ในระยะแรก มนุษย์เป็นผู้ตั้งภาคี หลังจากนั้น จะด้วยกับเหตุผลใดก็ตาม จึงทำให้เขามีความเชื่อในความเป็นเอกะ เช่น การพัฒนาการและการเจริญก้าวหน้าทางสติปัญญา เป็นต้น

๒๐๖

 ดังนั้น ความคิดในความเป็นเอกานุภาพ ก็เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของเขา ซึ่งความคิดนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง และมีความขัดแย้งกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมในความเชื่อของมนุษย์

ด้วยเหตุนี้ ความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมในความเป็นเอกานุภาพ ก็คือ การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพมิได้มีขอบเขตจำกัดเฉพาะในประวัติศาสตร์ของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งในทัศนะของประวัติศาสตร์กล่าวว่า ความเป็นเอกานุภาพเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี

คำถามหนึ่งที่เกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพและการตั้งภาคีในประวัติศาสตร์ ก็คือว่า นักโบราณคดีได้กล่าวว่า ก่อนที่มนุษยชาติจะมีความเชื่อในหลักความเป็นเอกานุภาพ ได้ค้นพบว่า พวกเขาเหล่านั้น มีความเชื่อในการตั้งภาคี ที่เห็นจากรูปปั้นของเจว็ดทั้งหลาย และภาพเขียนต่างๆ บ่งบอกถึง มีกลุ่มชนที่มีการตั้งภาคีต่อพระเจ้า  ในขณะเดียวกัน การค้นพบในความเชื่อในความเป็นเอกะนั้น มีจำนวนน้อยมาก แล้วจะกล่าวได้ว่า มีแต่ดั้งเดิมว่า มนุษย์เป็นผู้มีภาคี และการมีความเชื่อในความเป็นเอกะได้เกิดขึ้น หลังจากที่มีการตั้งภาคีใช่หรือไม่?

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ เราต้องมาดูในความแตกต่างของการใช้ชีวิตของพวกตั้งภาคี กับมนุษย์ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ

การตั้งภาคีมีความสัมพันธ์กับวัตถุและสิ่งที่เป็นวัตถุ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ส่วนมากของการบูชาเทวรูป ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นวัตถุทั้งสิ้น เช่น การปั้นเทวรูปจากหิน และไม้  เป็นต้น

๒๐๗

ส่วนการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้านั้น มิได้ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นวัตถุ แต่การใช้ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยกับสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ และเขาได้ทำการเคารพภักดีต่อพระเป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ดังนั้น ไม่อาจจะกล่าวว่า การค้นพบของนักโบราณคดี บ่งบอกถึง ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้านั้น มิได้มีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลายนอกเหนือจาก เหตุผลทางประวัติศาสตร์ ยังมีเหตุผลทางศาสนาที่ได้กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้บันทึกไว้ว่า จำนวนของพวกตั้งภาคีนั้น มีมากกว่ามนุษย์ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ เพราะว่า พวกตั้งภาคีมิได้ยอมรับคำเชิญชวนของบรรดาศาสดา

อัล กุรอานกล่าวว่า เป้าหมายของบรรดาศาสดา คือ การเชิญชวนมาสู่ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า

“และแน่นอนที่สุด เราได้แต่งตั้งบรรดาศาสนทูตทั้งหลายในทุกประชาชาติ เพื่อเชิญชวนมาสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว” (บทอัลนะหฺลฺ โองการที่ ๓๖)

ในอีกโองการหนึ่งกล่าวว่า การเย้ยหยันต่อบรรดาศาสดาจากประชาชาติของพวกเขา

“ ไม่มีศาสนทูตใดมายังพวกเขา เว้นแต่พวกเขาจะต้องเย้ยหยัน”

(บทอัลฮิจร์ โองการที่ ๑๑ และบทยาซีน โองการที่ ๓๐)

จากโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน แสดงให้เห็นว่า จำนวนของพวกตั้งภาคีนั้น มีมากกว่าผู้ที่ศรัทธาในความเป็นเอกานุภาพ ไม่ได้หมายความว่า การตั้งภาคีนั้นมีมาก่อนความเป็นเอกานุภาพ และก็มิได้มีความขัดแย้งกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพ

๒๐๘

   สาเหตุและองค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีการตั้งภาคี

    ได้กล่าวแล้วว่า ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพได้ผสมผสานกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เริ่มต้นมาพร้อมกับความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ

ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วอะไรเป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ได้ออกห่างจากความเป็นสัญขาตญาณดั้งเดิมและไปสู่การตั้งภาคี?

สำหรับคำตอบ ก็คือ สาเหตุที่สำคัญของการมีภาคีต่อพระเจ้า มีดังนี้

๑.มนุษย์ประกอบด้วยกับ สอง องค์ประกอบ คือ วัตถุ และจิตวิญญาณ ในสภาพเช่นนี้ การถือกำเนิดของเขาในโลกแห่งวัตถุและด้วยกับการคุ้นเคยในสิ่งที่เป็นวัตถุ จึงเป็นสาเหตุทำให้เขามีความผูกพันธ์กับสิ่งที่เป็นวัตถุ และทำให้เขาลืมนึกถึงสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ

ด้วยเหตุนี้ สาเหตุที่ทำให้เขามีความรู้สึกว่า ต้องเคารพภักดีต่อพระเจ้าที่สามารถสัมผัสได้ ซึ่งเห็นได้ว่า ในระยะแรก พวกเขาได้ปั้นก้อนหิน และก้อนดิน หลังจากนั้น ก็ปั้นเป็นเจว็ด และนำเอาไปเคารพสักการะบูชา

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สาเหตุของการตั้งภาคีของมนุษย์ เพราะว่า สัญชาตญาณดั้งเดิมที่มีอยู่ในการเคารพภักดี และด้วยความเคยชินและมีความผูกพันธ์กับสิ่งที่เป็นวัตถุ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เขาได้เคารพบูชาในสิ่งที่เป็นวัตถุ

๒๐๙

๒.อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการตั้งภาคีเกิดขึ้น การเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมากมายในโลก เมื่อมนุษย์ได้ลืมตามาดูโลก สิ่งที่เขามองเห็น เช่น ภูเขา ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวนพเคราะห์ ต้นไม้ สิงสาราสัตว์ และสิ่งอื่น โดยพวกเขาก็คิดว่า สิ่งต่างเหล่านั้น เป็นพระเจ้า

ในบางครั้งได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทั้งหลาย จึงเป็นสาเหตุให้บางกลุ่มชนมีความเชื่อว่า บางปรากฏการณ์เป็นผู้สร้างและบริหารการงานอยู่เหนือการสร้างของผู้สร้างอื่น เช่น พวกเขาคิดว่า พระเจ้าแห่งฝนกับพระเจ้าแห่งพายุมีความแตกต่างกัน และพระเจ้าทั้งสองมีความแตกต่างกับพระเจ้าแห่งทะเล ดังนั้น ความเชื่อในพระเจ้าแห่งความดีและความชั่ว ก็มาจากความเชื่อนี้

๓.ความไม่รู้ในแก่นแท้ของสิ่งที่เป็นวัตถุและความสัมพันธ์ทางธรรมชาติของมัน เป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งภาคี

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ความเชื่อของกลุ่มชนโบราณในการบูชาดวงดาว ในขณะที่เวลานั้นยังไม่มีการพัฒนาการทางดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยพวกเขามีความเชื่อว่า การเกิดขึ้นของดวงดาวส่งผลกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น พวกเขาเห็นว่า แสงจากดวงอาทิตย์มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ ความร้อนของดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ต้นไม้ต้องการ และด้วยสาเหตุของการไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทั้งหลายและแก่นแท้ของดาวนพเคราะห์

๒๑๐

 จึงเป็นสาเหตุให้คิดว่า ดาวนพเคราะห์เป็นพระเจ้าผู้บริหารต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องทำการเคารพภักดีหรือในยามที่จำเป็นต้องเชือดสัตว์พลีให้แก่พระเจ้าผู้บริหาร เพื่อที่จะทำให้อำนาจมาสู่โลกแห่งธรรมชาติ

๔. การเข้าใจผิดพลาดในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า ด้วยกับธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ในการเคารพภักดีต่อพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งที่ไม่ได้เป็นวัตถุ ด้วยเหตุนี้ บางกลุ่มชนมีความคิดว่า ในขณะที่ไม่อาจสัมผัสกับพระเจ้าหรือมองเห็นได้ เราไม่สามารถที่จะสร้างความสัมพันธ์กับพระองค์ อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า มนุษย์มีความต้องการที่จะติดต่อกับพระเจ้าบอกกับพระองค์ในสิ่งที่กระทำผิด ทำให้ความกริ้วโกรธของพระองค์เป็นความพึงพอพระทัย และด้วยกับไม่รู้จักในแนวทางในการติดต่อสื่อสารกับพระองค์ เขาได้สร้างสื่อเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างเขากับพระองค์ สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์และพระเจ้า เพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับพระองค์และเคารพภักดี

๕.อีกเหตุผลหนึ่งทางสังคม คือ การคุ้มครองผู้ที่ตั้งภาคีของมหาอำนาจและเหล่าผู้ปกครองที่ต้องการขยายขอบเขตอาณาจักรการปกครองของตน ในอีกมุมหนึ่ง คำสั่งสอนที่มาจากพระเจ้าองค์เดียว

ถ้าหากว่ามีผลต่อสังคมทั้งการกระทำส่วนบุคคลและส่วนรวม จะเห็นได้ว่า เป็นอันตรายที่ยิ่งใหญ่ ถ้าหากว่ามีการปกครองตามความเป็นเอกานุภาพจะไม่มีการศิโรราบต่อซาตานมารร้ายอย่างแน่นอน ดั่งในอัลกุรอานได้กล่าวว่า ในบทอัลนะห์ลิ โองการที่

“แน่นอนที่สุด เราได้ส่งศาสนทูตมาทุกประชาชาติ เพื่อที่จะให้ทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ และออกห่างจากซาตานมารร้าย”

๒๑๑

ด้วยเหตุนี้ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่หวังในตำแหน่งหน้าที่ และเช่นกันบรรดาผู้ปกครองทั้งหลายเพื่อที่ต้องการให้ผู้อื่นอยู่ในการปกครองของตน ยอมแม้กระทั่งสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้า ดั่งในประวัติศาสตร์ได้บันทืกไว้ชัดเจน

   การตั้งภาคีกับความบาป

    การอธิบายในรายละเอียดทั้งหมดของผลกระทบการตั้งภาคีที่มีต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ต้องอาศัยเวลานานในการอธิบาย แต่จะกล่าวว่า จุดกำเนิดของบาปทั้งหลายมาจากการตั้งภาคีต่อพระเจ้า

ดังนั้น ความบาป มีความหมายว่า การที่มนุษย์ได้ปฏิบัติคำสั่งสอนของสิ่งที่ไม่ได้เป็นพระเจ้า และคำสั่งสอนเหล่านั้นไม่ตรงกันกับจุดประสงค์ของพระองค์ สิ่งดังกล่าวอาจจะเป็นซาตานมารร้าย ,อารมณ์ของมนุษย์หรือแม้แต่ตัวของมนุษย์ด้วยกันเอง เพราะฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของความบาป คือ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระเจ้า ในขณะที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสิ่งที่ไม่ได้มีความเป็นพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า รากฐานของความบาปทั้งหลายมีที่มาจากการตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม ดังนั้น บุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามความเป็นเอกานุภาพและคำสั่งสอนของพระเจ้าองค์เดียว เขาจะไม่เป็นผู้ที่ทำบาปเลย ดั่งที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การตั้งภาคีเป็นบ่อเกิดของความบาปทั้งหลาย ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ออกห่างจากความบาปไปสู่การรู้จักพระเจ้า

๒๑๒

ท่านอัลลามะ ตอบาตอบาอี ได้อธิบายว่า “รากฐานของการปฏิเสธทั้งหลายก็มาจากการตั้งภาคี ดังนั้น มนุษย์คนใดที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน แน่นอนที่สุด เขาคือ ผู้ตั้งภาคีต่อพระองค์ เพราะว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ได้ยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้า ดังนั้น การปฏิเสธการมีอยู่ของพระองค์คือ การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้า และในการสร้าง” 

[๑] (อัลมีซาน เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๗๙)

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ทัศนะของเทววิทยาอิสลามกล่าวว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษย์มาพร้อมกับความเป็นเอกานุภาพแต่หลังจากนั้นความเชื่อการตั้งภาคีก็เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของเขา ตัวอย่างที่ชัดเจน ศาสดาอาดัม เป็นมนุษย์คนแรกในหน้าแผ่นดิน และเป็นผู้ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพแสดงให้เห็นถึง ความเป็นเอกานุภาพเกิดขึ้นก่อนการตั้งภาคี

๒.ความเป็นเอกานุภาพและการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว มีความแตกต่างกับการตั้งภาคีและการบูชาเจว็ด และการค้นพบของนักโบราณคดีบ่งบอกถึง การมีความเชื่อในการตั้งภาคีในกลุ่มชนก่อนหน้านี้

๓.การมีความรักและผูกพันธ์ของมนุษย์ในโลกธรรมชาติ คือ สาเหตุหนึ่งของการตั้งภาคีต่อพระเจ้า เพราะว่า เขาต้องการเคารพภักดีต่อสิ่งที่สัมผัสได้เท่านั้น

๒๑๓

๔.การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติก็มีผลต่อการตั้งภาคีเช่นกัน มนุษย์กลุ่มหนึ่งเมื่อได้เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ทำให้คิดว่า สิ่งนั้นเป็นพระเจ้ามีอำนาจสูงสุด

๕.การไม่รู้ในแก่นแท้ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นสาเหตุให้มีการตั้งภาคี ตัวอย่างเช่น การไม่รู้ของกลุ่มชนหนึ่งในความเป็นจริงของหมู่ดาวนพเคราะห์และความสัมพันธ์ของมันต่อโลก จึงเป็นเหตุให้คิดว่า ดวงอาทิตย์ ,ดวงจันทร์และดวงดาวทั้งหลายมีความเป็นพระเจ้า

๖.การเข้าใจที่ผิดพลาดระหว่างความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตั้งภาคี มนุษย์บางกลุ่มคิดว่า เขาไม่มีความสามารถที่จะสัมผัสหรือมองเห็นพระเจ้า ดังนั้น เขาได้สร้างสื่อกลางเพื่อใช้ในการสื่อสารกับพระองค์ และด้วยกับความคิดที่ผิดพลาดของเขา ทำให้คิดว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นพระเจ้าอย่างแท้จริง

๗.การมีความเชื่อในการตั้งภาคี เป็นเป้าหมายหนึ่งของผู้ปกครองที่อธรรม พวกเขาคุ้มครองต่อผู้ที่มีการตั้งภาคี เพื่อที่จะให้อำนาจของเขามีตลอดไป

๘.ความหมายที่แท้จริงของ ความบาป คือ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระเจ้า แต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของซาตานมารร้าย ,อารมณ์ของมนุษย์,และการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้น การตั้งภาคีเป็น รากฐานของความบาปทั้งหลาย

๒๑๔

   บทที่ ๑๒

   การตั้งภาคีในทัศนะอัล กุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานได้กล่าวถึงหลักเตาฮีด และการตั้งภาคีไว้อย่างชัดเจน และกล่าวว่า การตั้งภาคี ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

ซึ่งจะขอกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งภาคีในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะของอิสลาม ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.การปฏิเสธการมีอยู่ของการตั้งภาคีในทุกประเภท

อัล กุรอานได้ปฏิเสธการมีอยู่ของการตั้งภาคีในทุกประเภทอย่างชัดเจน

 “โอ้มุฮัมมัด จงกล่าวเถิดว่า แท้จริงการนมาซของฉันและการอิบาดะฮ์ของฉันและการมีชีวิตของฉันและการตายของฉัน เพื่ออัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักวาล”

“ไม่มีการตั้งภาคีใดแด่พระองค์และด้วยกับสิ่งนั้น ข้าพระองค์ถูกรับสั่ง และข้าพระองค์เป็นคนแรกในหมู่ผู้สวามิภักดิ์ทั้งหลาย” (บทอัลอันอาม โองการที่ ๑๖๒-๑๖๓)

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านศาสดามุฮัมมัดได้ถูกสั่งให้มีความบริสุทธิ์ใจต่อพระเจ้า และประกาศว่า ไม่มีการตั้งภาคีใดแด่พระองค์ ด้วยคำว่า ไม่มีการตั้งภาคีใดต่อพระองค์ บ่งบอกถึง การปฏิเสธการตั้งภาคีในทุกประเภท ไม่ว่า การตั้งภาคีในอาตมัน ,การกระทำ และในการเคารพภักดี

และยังมีอีกหลายโองการที่กล่าวถึง การปฏิเสธการตั้งภาคีทุกประเภท เช่น

 “และจงกล่าวเถิด มุฮัมมัด การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ผู้ซึ่งไม่มีบุตรและไม่มีภาคีใดในการมีอำนาจร่วมกับพระองค์” (บทอัลอิสรออ์ โองการที่ ๑๑๑ )

๒๑๕

๒.การตั้งภาคีเป็นความเชื่อที่ไม่มีมูลสารและรากฐาน  ในทัศนะของอัล กุรอานได้กล่าวถึง การตั้งภาคีว่า เป็นความเชื่อที่ไม่มีรากฐาน ซึ่งมีโองการต่างมากมายที่กล่าวถึง ดังตัวอย่าง

“เราจะใส่ความกลัวเข้าไปในหัวใจของบรรดาผู้ปฏิเสธความศรัทธา เนื่องจากที่พวกเขาได้มีภาคีต่ออัลลอฮ์ ซึ่งสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ประทานหลักฐานใดๆมายืนยัน” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๕๑ )

 “และพวกเขาทำการเคารพภักดีสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์มิได้ประทานให้เป็นหลักฐาน”

(บทอัลฮัจญ์ โองการที่ ๗๑)

๓.การตั้งภาคีเป็นบาปใหญ่ที่อภัยให้ไม่ได้

บางโองการของอัล กุรอานได้กล่าวถึง การตั้งภาคี เป็นบาปหนึ่งที่ไม่สามารถอภัยโทษให้ได้ เช่น

 “แท้จริงอัลลอฮ์ จะไม่ทรงอภัยโทษต่อผู้ที่ตั้งภาคีแด่พระองค์ และพระองค์ทรงอภัยโทษจากสิ่งอื่น ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และบุคคลใดก็ตามที่มีการตั้งภาคีแด่พระองค์ แน่นอนที่สุด เขาได้กระทำบาปอันยิ่งใหญ่”

(บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๔๘ )

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า การตั้งภาคี เป็นบาปอันหนึ่ง เมื่อได้เปรียบเทียบกับบาปอื่น จะเห็นได้ว่า การตั้งภาคีมีน้ำหนักมากกว่าบาปอื่นเสียอีก

๔.ผลตอบแทนของการตั้งภาคี

อัล กุรอานได้กล่าวอย่างชัดเจนถึง ผู้ที่มีการตั้งภาคีและได้เตือนพวกเขาในการได้รับผลตอบแทนจากการมีภาคีต่อพระเจ้า

๒๑๖

ผลตอบแทนหนึ่งของการมีภาคี คือ การทำลายความดีที่ได้กระทำ ดังนั้น คนใดก็ตามที่ตลอดชีวิตของเขา ทำการเคารพภักดีต่อพระเจ้า และกระทำความดีมาโดยตลอด แต่ในบั้นปลายของเขา เป็นหนึ่งในผู้มีภาคีต่อพระเจ้า แน่นอนที่สุด การกระทำที่เขาทำมาโดยตลอด จะถูกขจัดออกไปจากเขา

“และแน่นอน ได้มีการวิวรณ์มายังเจ้า(มุฮัมมัด)และมายังศาสดาก่อนหน้าเจ้าว่า หากเจ้าได้ตั้งภาคี การงานของเจ้าก็จะไม่มีผลและเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ที่ขาดทุน”(บทอัซซุมัร โองการที่  ๖๕)

 “ผู้ใดที่มีภาคีต่ออัลลอฮ์ พระองค์จะทรงให้สวรรค์เป็นที่ต้องห้ามแก่เขา และที่พำนักของเขา คือ นรก และสำหรับผู้ที่อธรรมนั้น ย่อมไม่มีผู้ที่ช่วยเหลือเขา” ( บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๗๒ )

สาเหตุที่ทำให้มีการตั้งภาคีในทัศนะของอัล กุรอาน

    ได้กล่าวแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า นั้นอยู่คู่กับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ อีกทั้งยังมีเหตุผลมากมายที่ได้ยืนยันอย่างชัดเจนด้วย

จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วทำไมมนุษย์จึงต้องมีการตั้งภาคีต่อพระเจ้า และอะไรที่เป็นสาเหตุให้มีการตั้งภาคีเกิดขึ้น

๒๑๗

อัล กุรอานได้ตอบในคำถามนี้อย่างชัดเจนถึงสาเหตุของการตั้งภาคี ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.การปฏิบัติตามการคาดคะเนที่ผิดพลาด

อัล กุรอานได้อธิบายถึง การตั้งภาคี ว่าเป็นความเชื่อที่ไม่มีรากฐานทางสติปัญญาอันใดรับรองเลย ดังนั้น การมีความเชื่อในการตั้งภาคี เป็นความคาดคะเนที่ผิดพลาด

“พึงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงทุกสิ่งในชั้นฟ้าทั้งหลายและในแผ่นดินทั้งหลาย เป็นของอัลลอฮ์และบรรดาผู้ที่วิงวอนต่อสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮ์ จะไม่ปฏิบัติตามภาคีเหล่านั้น พวกเขาจะไม่ปฏิบัติตามนอกจากการคาดคิดเท่านั้น และพวกเขาไม่ได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดเว้นแต่ การคาดคคะเนที่ผิดพลาด”

(บทยุนูส โองการที่ ๖๖ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงอำนาจในทุกสิ่งทั้งในชั้นฟ้าและในแผ่นดินทั้งหลาย บรรดาผู้ตั้งภาคีก็ยอมรับเช่นกัน หลังจากนั้น ได้อธิบายว่า แท้จริงผู้ตั้งภาคีไม่ได้ปฏิบัติตามภาคีของพระเจ้า

แต่เป็นการปฏิบัติตามการคาดคะเนที่ผิดพลาด เพราะว่า พระเจ้าไม่มีภาคีใดๆ  ดังนั้น บ่อเกิดของการมีภาคีต่อพระองค์ก็คือ การปฏิบัติตามการคาดคะเนที่ผิดพลาด

 “และส่วนใหญ่ของพวกเขามิได้ปฏิบัติตามสิ่งใดนอกจากการคาดคิด แท้จริงการคาดคิด ไม่อาจจะแทนความเป็นจริงได้แต่อย่างใด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ”

(บทยุนูส โองการที่ ๓๖ )

๒๑๘

 “เหล่านี้มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นชื่อที่พวกเจ้าและบรรพบุรุษของพวกเจ้าได้ตั้งขึ้นมา อัลลอฮ์มิได้ทรงประทานหลักฐานอันใดลงมา” (บทอัลนัจม์ โองการที่ ๒๓ )

๒.การหลงใหลในสิ่งที่สัมผัสได้และหลงลืมในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

ในทัศนะของอัล กุรอานได้กล่าวถึง สาเหตุของการตั้งภาคี คือ การหลงใหลในสิ่งที่สัมผัสได้ ในขณะที่หลงลืมในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งปฏิเสธการมีอยู่ของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

อัล กุรอานได้กล่าวถึง คำขอของบรรดาผู้ตั้งภาคี ใน

“และบรรดาผู้ที่ไม่หวังจะพบเรากล่าวว่า ไฉนเล่าเทวทูตจึงไม่ถูกส่งลงมายังพวกเราหรือเราไม่เห็นพระผู้อภิบาลของเรา แน่นอนพวกเขาหยิ่งยะโสในตัวของพวกเขา และพวกเขาได้ละเมิดขอบเขตอย่างมาก”

(บทอัลฟุรกอน โองการที่ ๒๑ )

ดังนั้น การวอนขอของพวกเขาไม่เฉพาะกับบรรดาผู้ตั้งภาคีในคาบสมุทรอาหรับเท่านั้น แต่ได้รวมถึงบรรดานักปรัชญาธรรมชาตินิยมที่กล่าวว่า หากว่าเราไม่เห็นพระเจ้า เราจะไม่มีความเชื่อในพระองค์

อัล กุรอานกล่าวถึง การวอนขอของชาวคัมภีร์จากศาสดาของพวกเขา

“บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ จะขอร้องเจ้าให้เจ้านำคัมภีร์ฉบับหนึ่งจากฟากฟ้าลงมาแก่พวกเขา แท้จริงนั้นพวกเขาได้ขอร้องแก่มูซาซึ่งสิ่งที่ใหญ่กว่านั้นมาแล้ว โดยที่พวกเขากล่าวว่า จงให้พวกเราเห็นอัลลอฮ์โดยชัดแจ้งเถิด แล้วฟ้าผ่าก็ได้คร่าพวกเขา เนื่องด้วยความอธรรมของพวกเขา ภายหลังพวกเขาก็ได้ยึดถือลูกวัวหลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดเจนได้มายังพวกเขา แล้วเราก็อภัยให้ในเรื่องนั้นและเราได้ให้แก่มูซาซึ่งอำนาจอันชัดเจน”

(บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๑๕๓ )

๒๑๙

บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้ตีความความหมายของโองการนี้ โดยกล่าวว่า ความหมายของคัมภีร์จากฟากฟ้าที่สัมผัสได้ด้วยมือเปล่า

บางคนกล่าวว่า การประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงมาเพียงครั้งเดียว

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ชาวบะนีอิสรออีลต้องการให้ศาสดามูซาแสดงพระเจ้าของตนให้พวกเขาดู เพราะคิดว่าพระเจ้าเป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ แต่หลังจากที่พวกเขาหมดหวังจากการมองเห็นพระองค์ พวกเขาก็ได้ปั้นวัวและทำการสักการะบูชาเป็นพระเจ้า

“และฟิรเอาน์กล่าวว่า โอ้ปวงบริพารเอ๋ย! ฉันไม่เคยรู้จักพระเจ้าอื่นใดของพวกท่านนอกจากฉัน โอ้ฮามานเอ๋ย ! จงเผาดินให้ฉันด้วยแล้วสร้างโครงสูงระฟ้า เพื่อที่ฉันจะได้ขึ้นไปดูพระเจ้าของมูซาและแท้จริงฉันคิดว่า เขานั้นอยู่ในหมู่ผู้กล่าวเท็จ” (บทอัลกอศอด โองการที่ ๓๘ )

โองการนี้กล่าวถึง ฟิรเอาน์ได้กล่าวกับบริพารของเขาว่า พระเจ้าของมูซาสามารถที่จะสัหมผัสได้ ดังนั้น ความคิดของธรรมชาตินิยมได้ปกครองในอียิปต์สมัยนั้น

 “และพวกเขากล่าวว่า เราจะไม่ศรัทธาต่อท่าน จนกว่าท่านจะทำให้แผ่นดินแตกออกเป็นลำธารแก่เรา”

“หรือท่านทำให้ชั้นฟ้าหล่นลงมาบนพวกเราเป็นเสี่ยงๆ ตามที่ท่านอ้าง หรือนำอัลลอฮ์และมลาอิกะฮ์มาให้เราเห็นต่อหน้า” (บทอัลอิสรออ์ โองการที่ ๙๒)

จากโองการนี้ คำขอของบรรดาพวกมุชริกในคาบสมุทรอาหรับต่อศาสดามุฮัมมัด ในการแยกออกของลำธารน้ำที่ๆแห้งกันดารจากทะเลทรายของเมืองมักกะฮ์ และคำขออื่นๆที่แปลกประหลาดที่พวกเขาคิดว่า ถ้าพระเจ้า เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ เขาก็สามารถมองเห็นพระองค์ได้

๒๒๐

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450