บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339903 / ดาวน์โหลด: 4958
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

สะกีนะฮ์บุตรสาวสุดที่รักของพี่ ซึ่งไม่เคยห่างจากพี่เลยแม้แต่วันเดียว หลังจากที่พี่จากไปแล้ว สะกีนะฮ์จะถามเธอว่า ‘พี่ไปไหน?’ ช่วยปลอบเธออย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ พี่ยังคงจำภาพที่เธอวอนขอน้ำจากอับบาส ได้อย่างแม่นยำ แต่หลังจากอับบาสต้องถูกสังหารไป สะกีนะฮ์ไม่เคยเอ่ยปากพูดอีกเลย หากเธอได้น้ำมาหลังจากที่พี่จากไปแล้ว โปรดมอบให้สะกีนะฮ์เป็นคนแรกที่ได้ดื่มน้ำนั้นเถิด”

ด้วยคำพูดนี้ ดูเหมือนว่าลำคอของท่านจะตีบตันจนไม่สามารถกล่าวอะไรได้อีก ท่านพยายามข่มอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง และกล่าวว่า “พวกศัตรูรู้ดีว่า สะกีนะฮ์รักพี่มากเพียงใด? และพี่รักสะกีนะฮ์มากแค่ไหน? ฉะนั้นเพื่อตอบสนองความแค้นของมันที่มีต่อพี่

พวกมันอาจจะทุบตีสะกีนะฮ์ เพื่อให้ดวงวิญญาณของพี่ต้องทุกข์ทรมาน บางทีมันอาจจะปฏิบัติกับสะกีนะฮ์เยี่ยงนักโทษ แล้วพาเธอไปดูสถานที่ที่ร่างของพี่ถูกเท้าม้าเหยียบย่ำจนไม่มีชิ้นดี

๖๑

ซัยนับ! โปรดทำทุกอย่างที่สามารถจะช่วยให้สะกีนะฮ์

ได้คลายความทุกข์ทรมาน และพ้นจากภาวะวิกฤตินั้นด้วย”

ขณะที่อิมามกำลังพูดอยู่นั้น คำพูดทุกคำได้กรีดลึกลงไปบนหัวใจที่ปวดร้าวของท่านหญิง ร่างอันสั่นเทาด้วยแรงสะอื้นไห้ สิ่งเดียวที่ท่านสามารถทำได้ในการตอบรับคำขอร้องสุดท้ายของพี่ชาย ก็คือ

เพียงการผงกศีรษะรับคำ

หลังจากนั้นชั่วครู่ อิมามได้กล่าวต่อว่า

 “ซัยนับ! พี่อยากจะกล่าวอะไรอีกมากมายกับเธอ ก่อนจะลาจากกันเป็นครั้งสุดท้าย แต่เวลาเหลือน้อยเต็มที น้องรัก!

พวกศัตรูจะปฏิบัติกับพวกเธอเยี่ยงนักโทษ

บางทีมันอาจจะบังคับให้พวกเธอเดินไปตามท้องถนนในกูฟะฮ์และดามัสกัส มันอาจจะกระชากผ้าคลุมผมของพวกเธอออก และพาเดินไปยังที่ชุมนุมของผู้คนมากมาย เพื่อให้พวกเธอรู้สึกเจ็บปวดทุกข์ทรมาน

๖๒

พวกมันอาจจะล่ามโซ่ที่ข้อมือและข้อเท้า แม้กระทั่งอาจจะใช้แส้เฆี่ยนตีหรือหอกคอยทิ่มแทงอย่างไร

ความปรานี เพื่อเป็นการทรมานผู้หญิงและเด็กๆ ในครอบครัวของท่านศาสดาที่ไม่สามารถปกป้องตนเองได้ จงอย่าหมดความอดทนเมื่อความทุกข์ทรมานเหล่านั้นมาถึง จงทำให้บรรดาผู้หญิงและเด็กๆ เกิดความกล้าหาญ และให้พวกเขาขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าให้มีกำลังใจ และมีความอดทนที่จะเผชิญกับความอัปยศอดสู การถูกดูหมิ่นเหยียดหยาม ความทุกข์ทรมาน ความทุกข์ระทมและความเจ็บปวด

ซัยนับ! จงจำไว้เสมอว่า พวกเราครอบครัวแห่งศาสดา จะต้องมีความเด็ดเดี่ยว ยืนหยัด พร้อมที่จะเผชิญกับช่วงเวลาแห่งการทดสอบ โดยไม่ย่อท้อต่อความทุกข์ยาก”

เมื่ออิมามเงียบไป ท่านหญิงจ้องมองไปยังท่านด้วยดวงตาที่เอ่อล้นด้วยน้ำตา พร้อมกับตอบ

ด้วยเสียงที่แหบแห้งว่า “ฮูเซน! ฉันให้สัญญากับท่านว่า ฉันจะทำทุกอย่างตามความประสงค์ของพี่

๖๓

พี่ชายที่รัก! โปรดขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าให้ทรงประทานกำลังใจให้ฉันมีความกล้าหาญและอดทนต่อช่วงเวลาแห่งการทดสอบ ฮูเซน ที่รัก! ฉันสัญญาว่าจะทำทุกอย่างที่ท่านต้องการ จะรับภาระ

และรับผิดชอบในสิ่งที่พี่สั่งเสียและมอบหมาย ฉันจะแสดงให้โลกได้รับรู้ว่า ฉันคือน้องสาวของพี่ ลูกสาวของอะลีและฟาฏิมะฮ์ หลานของศาสนทูตแห่งอิสลาม”

คำตอบอันกล้าหาญของท่านหญิง ช่วยปลอบโยนหัวใจที่ปวดร้าวของอิมามฮูเซน ท่านได้กล่าวอวยพรและกล่าวตอบว่า

 “เธอจะต้องได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างยาวนาน พวกเราทุกคนจะต้องถูกจองจำและได้รับความยากลำบากอย่างมากมาย

เมื่อเธอกลับไปยังมะดีนะฮ์หลังจากได้ถูกปล่อยตัวแล้ว

โปรดนำคำอำนวยพรของพี่ไปยังเพื่อนพ้องของพี่ทุกคน ที่จะมาแสดงความเสียใจกับเธอต่อการจากไปของพี่ โปรดบอกกับพวกเขาว่า คำกล่าวสุดท้ายของพี่ที่มีแก่พวกเขาคือ ‘พี่และบรรดาผู้ใกล้ชิดอันเป็นที่รัก ได้จากโลกนี้ไปโดยไม่มีน้ำแม้แต่หยดเดียวเพื่อดับความกระหาย’

๖๔

 จงบอกกับพวกเขาว่า ยามใดที่พวกเขานึกถึงพี่ บรรดาผู้ใกล้ชิด และสมาชิกในครอบครัวของพี่ จงอย่าลืมความหิวกระหายที่พวกเราได้รับ”

บรรดาสตรีในครอบครัวที่กำลังฟังคำสั่งเสียของอิมาม เต็มไปด้วยความโศกเศร้าสะเทือนใจ ทุกคนร่ำไห้ด้วยความขมขื่น บางคนที่กำลังวังชาของเขาได้หมดไปเพราะความหิวกระหาย ประกอบด้วยกับความทุกข์ระทมที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปในวันนี้ ถึงกับเป็นลมล้มลงหมดสติ

อิมามยังกล่าวต่อว่า

“พี่ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่จะบอกเธอว่า เมื่อเธอกลับถึงมะดีนะฮ์ โปรดบอกกับฟาฏิมะฮ์ ซุกรอ ลูกสาวสุดที่รักของพี่ว่า แม้พี่จะทิ้งเธอไว้ที่มะดีนะฮ์เพราะเธอกำลังป่วย พี่ก็ไม่เคยลืมเธอแม้แต่น้อย และระลึกถึงเธอเสมอตราบจนกระทั่งช่วงสุดท้ายของชีวิต โปรดนำความรักของพี่ไปมอบให้เธอและบอกกับเธอว่า มันได้ถูกกำหนดมาว่า การจากกันที่มะดีนะฮ์คราวนั้น เป็นการจากกันชั่วนิรันดร์ เมื่อเธอทราบข่าวจากน้องว่า บรรดาลุง พี่ชายและญาติสนิทที่เดินทางออกจากมะดีนะฮ์มาคราวนั้นแล้ว จะไม่ได้มีชีวิตกลับไปอีก

๖๕

 ฟาฏิมะฮ์จะรู้สึกสะเทือนใจมาก จงช่วยปลอมโยนเธอ”

ด้วยคำพูดนี้ อิมามได้จบคำสั่งเสียของท่าน พี่ชายและน้องสาวสวมกอดซึ่งกันและกันเป็นครั้งสุดท้ายของพี่ชายและน้องสาว ที่มีความผูกพัน รักใคร่ และใกล้ชิดสนิทสนมกันมากที่สุด นับเป็นการกอดลาของพี่ชายและน้องสาวที่ทั้งสองต่างทราบดีว่า จะไม่มีโอกาสได้พบกันอีกจนชั่วชีวิต ท่านหญิงกอดอิมามไว้แนบแน่น เหมือนกับว่าไม่ต้องการให้ท่านจากไป เพราะทราบดีว่าท่านจะไม่ได้กลับมาอีกชั่วนิรันดร์

หัวใจทั้งสองกำลังร่ำไห้ สำหรับน้องสาวนั้น ด้วยกับความคิดที่ว่า การพลีชีพของพี่ชายกำลังใกล้เข้ามาเต็มทีแล้ว ส่วนพี่ชายก็กำลังคิดถึงภาพที่ท่านต้องทิ้งเธอและสมาชิกในครอบครัว และบุตรชายที่

กำลังป่วยหนักไป

ท่านหญิงออกมาส่งอิมามและสังเกตเห็นสีหน้าท่าน ซึ่งท่านหญิงทราบทันทีว่าท่านกำลังรู้สึกอย่างไร

๖๖

ท่านหญิงจึงรีบรุดไปยังท่านและกล่าวว่า

 “ฮูเซน! ถ้าวันนี้ไม่มีใครเหลืออยู่ ที่จะช่วยส่งให้ท่านขึ้นบนหลังม้า โอ้ พี่ชายของฉัน! ฉันจะทำหน้าที่นี้ให้กับท่านเอง ขอให้ฉันได้ช่วยจับโกลนม้าให้ท่านเถิด”

ก่อนที่ท่านอิมามจะกล่าวอะไร ท่านหญิงได้ตรงเข้าไปช่วยจับโกลนม้าไว้ ท่านได้ขอบคุณ และก้าวขึ้นบนหลังม้า

 ท่านอิมามขอร้องท่านหญิงให้กลับเข้าไปในค่ายพัก เพื่อช่วยเหลือปลอบโยนบรรดาสตรีและเด็กๆ ผู้สูญเสียสมาชิกในครอบครัวไป

ท่านหญิงทำตามคำขอร้องโดยกลับมายังที่พัก เพื่อเริ่มต้นภาระหน้าที่ ซึ่งจากวินาทีนั้นเป็นต้นมาจะต้องตกอยู่ในความรับผิดชอบของท่านแต่ผู้เดียว

ก่อนที่อิมามจะออกจากค่ายไป ท่านหญิงได้เดินตามมาและขออนุญาตจุมพิตที่ต้นคอของท่าน

ซึ่งท่านศาสดาของพระผู้เป็นเจ้าเคยกระทำเช่นนี้เป็นประจำ ท่านหญิงทราบดีว่าบริเวณนี้เองที่ ชิมร์จอมโหด จะบั่นศีรษะของท่านออกจากร่าง

๖๗

ในทำนองเดียวกัน ท่านอิมามก็ได้ขออนุญาตจุมพิตที่ข้อมือของ

ท่านหญิง ซึ่งท่านได้กล่าวว่า หลังจากท่านจากไป ท่านหญิงจะถูกจับเป็นเชลยและถูกมัดข้อมือทั้งสองข้างของท่าน มันเป็นการพรากจากกันที่แสนปวดร้าว ซึ่งไม่เคยมีครั้งใดในโลกที่จะเสมอเหมือน

ทันทีที่ท่านหญิงกลับเข้าไปในค่ายพัก อิมามฮูเซนกระตุกสายบังเหียนให้ ‘ซุลญะนา’ ออกวิ่งแต่ม้าซุลญะนาไม่ยอมขยับตัวและยังคงยืนอยู่กับที่เหมือนมีอะไรมาตรึงมันไว้ น่าประหลาดใจในอาการของซุลญะนาเป็นอย่างอย่างยิ่ง ท่านอิมามเข้าใจว่ามันได้รับบาดเจ็บขณะที่ออกไปในสนามรบ ทุกครั้งที่บรรดาผู้ชายของท่านต้องเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซุลญะนาไม่ได้กินอาหารและน้ำมาเป็นเวลาสามวันแล้ว เหมือนกับบรรดาสมาชิกในครอบครัวของท่านเช่นกัน

ซุลญะนายังคงอยู่ในท่าทางที่ไม่สามารถอธิบายได้ แม้จะพูดไม่ได้ แต่มันก็แสดงให้เข้าใจด้วย

๖๘

การก้มหัวลงกับพื้น ด้วยอาการเช่นนี้ทำให้ท่านอิมามมองเห็นสะกีนะฮ์บุตรสาวของท่าน กำลังกอดขาซุลญะนาไว้แน่นพร้อมกับร่ำไห้ครวญคราง ด้วยกับการขาดอาหารและน้ำ ทำให้เธอหมดแรงและอ่อนเพลีย จนท่านอิมามแทบจะไม่ได้ยินเสียงของเธอเลย

ท่านอิมามกระโดดลงมาจากหลังม้าทันที แล้วอุ้มสะกีนะฮ์ไว้ในอ้อมกอดและนั่งลงกับพื้น ราวกับว่าจะไม่มีอะไรมาแยกท่านจากกันได้อีก ทั้งสองต่างตกอยู่ในความรู้สึกที่สะเทือนใจอย่างยิ่ง

สะกีนะฮ์จ้องมองที่ดวงตาของบิดา พร้อมกับกล่าวว่า

“โอ้พ่อจ๋า! โปรดบอกกับลูกหน่อยเถิดว่า ท่านมิได้กำลังจะ

จากไปเป็นครั้งสุดท้ายและจะไม่กลับมาอีก ท่านไม่ได้กำลังจะจากสะกีนะฮ์ของท่านไปชั่วนิรันดร์ใช่ไหมคะ?

โอ้พ่อจ๋า! ลูกจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร?”

ท่านอิมามสะท้านด้วยกับคำวิงวอนอันไร้เดียงสาของบุตรสาวที่ท่านรักมากกว่าอะไรทั้งหมด

๖๙

ท่านทราบดีว่า อะไรคือชะตากรรมที่ถูกกำหนดไว้สำหรับเธอ ด้วยความพยายามควบคุมอารมณ์อย่างที่สุด ท่านจุมพิตครั้งแล้วครั้งเล่า พร้อมกับกล่าวว่า

“โอ้ สะกีนะฮ์ลูกรักของพ่อ! พ่อจะอธิบายกับลูกอย่างไรดี ว่าพ่อจำเป็นต้องออกไปพบกับความตายเช่นเดียวกับคนอื่นๆ ในครอบครัวของเราได้กระทำกันไปแล้ว ลูกยังเด็กเกินกว่าที่จะเข้าใจว่า รางวัลตอบแทนของมันเป็นอย่างไร?

 ชีวิตในโลกนี้เป็นเพียงสิ่งชั่วคราว ทุกชีวิตที่ดำรงอยู่นี้ก็ต้องดับสูญไปในไม่ช้าก็เร็ว พระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกร ได้ลิขิตไว้แล้วว่า

มนุษย์ เราจะต้องเจ็บปวดกับการดำรงไว้ซึ่งสัจธรรม เด็กน้อยของพ่อ! อย่าฉุดรั้งพ่อไว้เลย ด้วยกับรอยยิ้มจากริมฝีปากอันไร้เดียงสาของลูก จงกล่าวอำลาต่อพ่อเถิด! เพื่อว่าในไม่ช้าลูกจะได้ติดตามพ่อไปยังสวนสวรรค์ ซึ่งที่นั่นคือ บ้านอันนิรันดร์ของเรา”

คำกล่าวของท่านอิมาม ประดุจดังสิ่งที่ปลุกความหวังให้เกิดขึ้นในหัวใจ เธอจึงกล่าวว่า “พ่อจ๋า!

๗๐

ท่านพูดว่าลูกจะได้ไปอยู่รวมกับท่านในสวนสวรรค์ในวันหนึ่งข้างหน้านี้ สัญญากับลูกนะคะว่า ท่านจะวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดทำให้การพรากจากกันของเราสิ้นสุดลงโดยเร็ว และให้ลูกได้ไปอยู่ร่วมกับพ่อในสวนสวรรค์ โดยไม่ต้องพรากจากกันอีกตลอดไป” ด้วยคำกล่าวนี้ สะกีนะฮ์จึงโอบกอดบิดาด้วยหัวใจที่สั่นสะท้าน เป็นความจริงว่า เวลาใกล้เข้ามา จนได้ยินเสียงร้องตะโกนจากกองทัพของศัตรู ด้วยความพยายามที่จะควบคุมตนเองอย่างที่สุด ท่านอิมามได้กล่าวกับสะกีนะฮ์ว่า

 “สะกีนะฮ์ลูกสาวสุดที่รักของพ่อ! พ่อสัญญาว่าจะทำตามที่ลูกขอร้อง โอ้ลูกรัก! ลูกก็ต้องให้สัญญากับพ่อว่า ลูกจะต้องอดทนต่อความเจ็บปวดทุกข์ยากด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว จงจำไว้ว่า ถ้าลูกร้องไห้คร่ำครวญถึงพ่อมากเท่าไร อาซัยนับของลูก ซึ่งขณะนี้ได้รับความบอบช้ำและปวดร้าวอย่างมาก และต้องแบกรับภาระความรับผิดชอบทุกอย่างหลังจากพ่อจากไป จะต้องหัวใจแตกสลายกับการเสียใจและการร่ำไห้คร่ำครวญของลูก”สะกีนะฮ์พึมพำอย่างแผ่วเบาว่า

๗๑

 “พ่อจ๋า! ลูกให้สัญญาว่าจะทำทุกอย่างตามที่พ่อต้องการ”

เธอ

ได้ซุกศีรษะกับอกของผู้เป็นบิดา ร่ำไห้อย่างแผ่วเบาชั่วครู่ เธอค่อยๆ ลุกขึ้น จูบลาและถอยมายืนอยู่ข้างๆซุลญะนา

 เธอมองดูซุลญะนาควบออกไป ท่านอิมามเหลียวหลังกลับมามองเธอ เป็นการแสดงความรักอย่างสุดซึ้งเป็นครั้งสุดท้าย เธอได้ยกมือน้อยๆ ของเธอขึ้นพร้อมกับโค้งคำนับด้วยความเคารพเป็นครั้งสุดท้าย

ท่านหญิงซัยนับ ได้ยินเสียงพี่ชายของท่านควบม้าออกไปจากค่าย ท่านไม่สามารถอดใจไว้ได้ จึงยกม่านที่ปิดบังประตูที่พักไว้ เฝ้ามองตามไปอย่างไม่ละสายตา

ท่านหญิงเฝ้ามองดูการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของพี่ชาย พร้อมกับนึกสรรเสริญในความกล้าหาญและความสามารถในการรบของท่านอิมาม ที่ทำให้กองทัพของศัตรูต้องแตกกระเจิง

๗๒

 ท่านอิมามได้ควบม้าพุ่งทะยานไปอย่างเร็ว ในที่ซึ่งท่านหญิงไม่อาจมองเห็นท่านได้ ท่านหญิงในชุดคลุมตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า จึงวิ่งออกมาจากค่ายพักไปยังเนินทรายเล็กๆ ใกล้กับค่ายพักนั่นเอง เพื่อว่าจะได้มองเห็นภาพในสนามรบอย่างชัดเจน เนินทรายนี้ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในนาม‘เนินทรายของซัยนับ ’ ณ ที่นี้ท่านได้มองเห็นพี่ชายของท่านนอนหมดสติแน่นิ่งบนพื้นทราย ที่แผดเผาด้วยแสงจากดวงอาทิตย์ ซุลญะนายืนคุ้มกัน ท่านอิมามด้วยการก้มหัวลงมายังท่าน ท่านหญิงไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นที่นั่น

 ท่านหญิงเฝ้าดูเหตุการณ์โดยตลอด มองเห็น อุมัร บุตรของสะอัด และชิมร์ เหยียบไปบนหลังของท่านอิมามพร้อมกับดาบในมือของมัน ด้วยความพยายามที่จะรักษาชีวิตของท่านอิมาม ท่านจึงตรงไปยังที่ซึ่งท่านอิมามนอนอยู่นั้น และได้เผชิญหน้ากับอัมร์ และกล่าวว่า “โอ้ อุมัร บุตรของสะอัด!

ฉันขอร้องเจ้าในฐานะหลานของศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้า

ให้เจ้าจงไว้ชีวิตพี่ชายของฉัน”

๗๓

อุมัรกลับเมินหน้าหนีไปจากท่าน แต่ท่านหญิงก็ตามไปและกล่าวอีกว่า “โอ้ ลูกของสะอัด บุตร อบีวักก็อซ

อุมัร! เจ้าจะยืนอยู่ตรงนี้และมองดูพี่ชายของฉันถูกสังหาร โดยไม่ได้ดื่มน้ำสักหยดเดียวกระนั้นหรือ?

ด้วยนามของพระผู้เป็นเจ้า ฉันขอร้องให้เจ้าไว้ชีวิตพี่ชายของฉัน” มันยังคงยืนนิ่งเงียบราวกับว่ามันไม่ได้ยินคำขอร้องของท่านเลย

เหตุการณ์ทั้งหมดอยู่ในสายตาของท่านอิมามโดยตลอด มากเท่ากับความเจ็บปวดที่ได้รับ ท่านไม่สามารถมองเห็นน้องสาวของท่านกำลังถูกลดเกียรติ โดยคำขู่ตะคอกของ อิบนิ สะอัด

ท่านตระหนักดีว่า น้องสาวของท่านจะไม่สามารถทนเห็นภาพที่ศีรษะของท่านกำลังจะถูกตัดออกจากร่างไปต่อหน้าต่อตา ได้รวบรวมกำลังทั้งหมดที่ยังเหลือยู่ ท่านพยายามเปล่งเสียงอันดังว่า “น้องสาวของพี่! พี่ขอร้องให้เจ้ากลับไปยังที่พักโดยเร็ว เพื่อเห็นแก่ความรักที่เธอมีต่อพี่ จงรีบกลับไปยังค่ายพัก มันจะทำให้พี่ยิ่งเจ็บปวดมากขึ้น ถ้าเธอจะยังคงอยู่ตรงนี้ต่อไป”

๗๔

ท่านหญิงซัยนับจึงรีบกลับไปยังที่พัก ร่ำไห้คร่ำครวญอย่างไม่อาจทนได้ เมื่อมาถึงที่พักท่านตรงไปยังกระโจมของหลานชาย ซึ่งนอนป่วยหนักอยู่บนเตียง ปลุกให้ตื่นและเล่าถึงเหตุการณ์ที่ได้ประสบมาท่านช่วยพยุงและพามาที่หน้ากระโจม

ทั้งสองยืนอยู่ตรงนั้นด้วยความสงบนิ่งโดยไม่มีคำพูดใดๆ ในขณะนั้น ท่านรู้สึกราวกับว่า แม้แต่สรรพสิ่งในธรรมชาติ ก็กำลังร่วมทุกข์ระทมกับพวกท่าน ได้เกิดมีลมกรรโชกอย่างหนัก พัดเอาฝุ่นทรายที่

ถูกแผดเผาด้วยแสงจากดวงอาทิตย์ ปลิวคลุ้งไปทั่วบริเวณ มันได้พัดน้ำในแม่น้ำยูเฟรติส เป็นระลอกคลื่นที่เชี่ยวกราก พร้อมกับมีเสียงฟ้าคำรามตามมาอย่างน่าสะพึงกลัว ภาพไกลออกไปในฝุ่นทรายที่ปลิวว่อนฟุ้งไปทั่วบริเวณ

ท่านทั้งสองได้มองเห็นศีรษะของอิมามฮูเซน เสียบอยู่ที่ปลายหอก ได้ยินเสียงกลองในกองทัพของยะซีดได้ตีประโคมประกาศยุติการต่อสู้

๗๕

ท่านหญิงหวีดร้องครวญคราง “ยาฮูเซน ยาฮูเซน! ใน

ที่สุดพวกมันก็ได้สังหารท่าน พวกมันบั่นศีรษะของท่านโดยที่ท่านไม่ได้ดื่มน้ำแม้แต่เพียงหยดเดียว”

เมื่อจบคำพูด ท่านก็แน่นิ่งหมดสติลงในอ้อมแขนของหลานชาย

อิมามซัยนุลอาบิดีน ค่อยๆ วางท่านหญิงลง พร้อมกับก้มศีรษะกราบลงบนพื้นและกล่าวว่า “โอ้ อัลลอฮ์! ข้าพระองค์ขอมอบหมายตามที่

พระองค์ทรงประสงค์ เรามาจากพระองค์ และ ณ พระองค์เท่านั้นคือที่คืนกลับ” (อัล กุรอานบทที่ ๒โองการที่ ๑๕๖)

หลังจากสังหารท่านอิมามแล้ว ชิมร์ได้รุดไปยังค่ายพัก เพื่อที่จะสังหารอิมามซัยนุลอาบิดีน บุตรและทายาทผู้สืบทอดของอิมามฮูเซน ด้วยความกล้าหาญของท่านหญิงซัยนับ ที่ได้ช่วยปกป้องชีวิตของหลานชายไว้ ด้วยการยืนกั้นระหว่างอิมามซัยนุลอาบิดีนและฆาตกร

ในขณะที่ศีรษะของอิมามฮูเซน ถูกเสียบไว้ที่ปลายหอก บรรดาปีศาจได้หยุดแกว่งไกวดาบของพวกมัน โดยหันไปสาละวนอยู่กับการกระทำที่หยาบช้าน่ารังเกียจ ม้าถูกควบขี่กลับเข้ามาใหม่อีกครั้ง

๗๖

ทหารม้าได้รับคำสั่งให้ควบม้าเหยี่ยบย่ำไปบนร่างของบรรดาผู้สละชีพ และบดขยี้ร่างที่นอนเกลื่อนอยู่บนพื้นดินนั้น

ก้าวต่อไปของพวกมัน คือพุ่งจุดสนใจไปยังค่ายพักของอิมามฮูเซน ซึ่งขณะนี้เหลือเพียงสตรีที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ที่กำลังร่ำไห้กันอยู่ เด็กๆ ส่งเสียงร้องเรียกตะโกนหาด้วยความตกใจ

และอิมามซัยนุลอาบิดีนกำลังป่วยหนัก นอนหมดสติด้วยพิษไข้ พวกมันได้เข้ามาปล้นสะดมและจุดไฟเผาค่ายพัก

บรรดาสตรีผู้สูงศักดิ์และเด็กๆ ที่ไร้เดียงสา พากันวิ่งไปวิ่งมาระหว่างกระโจมที่กำลังถูกไฟโหมไหม้ พวกเด็กๆ บางคนสูญหายไปในกองเพลิง พวกมนุษย์ใจสัตว์ได้จับเอาผู้หญิงและเด็กๆ เป็นเชลย อิมามซัยนุลอาบิดีนที่กำลังอ่อนเพลียด้วยอาการไข้ ถูกล่ามโซ่ตรวนที่หนักอึ้ง

๗๗

หลังจากสมใจกับการสังหารแล้ว พวกมันก็ละทิ้งร่างของอิมามฮูเซนและบรรดาผู้สละชีพไป โดยมิได้ฝังศพของพวกเขา กองกำลังปีศาจได้ละออกจากท้องทุ่ง ‘กัรบะลา’ มุ่งหน้าไปยัง ‘กูฟะฮ์’ และต่อไปยัง ‘ดามัสกัส’ พร้อมกับกองคาราวานของบรรดาเชลย ซึ่งเป็นครอบครัวของท่านศาสดา.

บทที่ ๘

ค่ำคืนวิปโยค

ฝุ่นทรายหนาทึบที่ยังคงปกคลุมอยู่เหนือท้องทะเลทรายแห่งกัรบะลาอ์ ในขณะที่ ดวงอาทิตย์ กำลังจะลับขอบฟ้า เหตุการณ์ในวันนั้น การสังหารหมู่ของ ‘วิญญาณอันบริสุทธิ์’ ได้โปรยปรายความ

โศกเศร้าไปทุกหย่อมหญ้าของท้องทะเลทรายนั้น

๗๘

ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยเงียบสงบอย่างน่าสะพึงกลัว ปีแล้วปีเล่า! ได้ถูกทำลายลงด้วยเสียงประโคมของกลองที่เฉลิมฉลองชัยชนะ ในความสำเร็จ เพราะกองทัพที่มีเสบียงพร้อมมูล ทหารที่ถูกจัดเตรียมมาอย่างดี เพื่อต่อสู้กับนักรบชั้นเยี่ยมผู้กล้าหาญซึ่งมีจำนวนเพียง

หยิบมือ ซ้ำยังไม่ได้มีอาหารและน้ำตกถึงท้องมาสามวันแล้ว

แต่ละท่านได้ต่อสู้ไปบนทุกตารางนิ้วของพื้นทราย ด้วยการแสดงออกถึงความองอาจเยี่ยงวีรบุรุษ ซึ่งจะยังคงจารึกไว้โดยไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนได้ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

เมื่อเสียงกลองสงบลง พายุทรายได้พัดพาเอาเสียงร้องครวญครางจากกระโจมที่ล้มคว่ำลงมา

กองกับพื้น บ้างก็ถูกปล้นสะดม ถูกเผา เก็บริมของมีค่าไปจนหมดสิ้น กระโจมที่ว่านี้คือค่ายพักของอิมาม

ฮูเซน เสียงร้องครวญครางที่มาจากกระโจมนั้น เป็นเสียงของบรรดาสตรีและเด็กๆ ในครอบครัวของท่านศาสดา ผู้ซึ่งได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส สุดจะบรรยาย ถูกลดเกียรติด้วยน้ำมือของบ่าวรับใช้ที่มีแต่ความโลภของยะซีด

๗๙

ไม่นานนักหลังจากการถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหดของอิมามฮูเซน ทหารของยะซีดพากันบุกเข้าไปในค่ายพัก ที่ซึ่งบรรดาสตรีและเด็กไม่สามารถปกป้องตนเองได้ของอิมามฮูเซนและผู้ใกล้ชิดของท่าน

พำนักอยู่ ทหารที่มีแต่ความเหี้ยมโหดและป่าเถื่อน ได้แย่งชิงแม้กระทั่งเสื้อผ้าอาภรณ์ แต่ไม่มีอะไรมีค่ามากมายอย่างที่ พวกมันคิด ลูกชายของอะลีและฟาฏิมะฮ์ ไม่นิยมใช้ของฟุ่มเฟือย ดังนั้นสิ่งที่มันได้พบในกระโจมจึงทำให้พวกมันผิดหวังอย่างมาก เสื้อที่ทำจากฝ้ายเนื้อหยาบๆ ที่พวกมันฉกฉวยไปนั้น ไม่มีราคาค่างวดอะไรสำหรับพวกมัน แต่มันมีค่ามากมายต่อจิตใจของบรรดาสตรีและเด็กๆ ที่ถูกแย่งชิงไป เพราะเสื้อผ้าส่วนใหญ่นั้น ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ จะถักทอด้วยมือของท่านเอง เปลไม้เล็กๆ ที่พวกมันฉกชิงไปนั้น

มีค่าต่อจิตใจของมารดาของอะลี อัสกัร อย่างยิ่ง เพราะมันจะเป็นเครื่องเตือนใจให้รำลึกถึงทารกน้อยที่ต้องจากไปก่อนวัยอันควร ในอ้อมแขนของบิดา โดยที่ต้นคอของเขาถูกปักด้วยลูกธนูจาก ฮัรมะละฮ์

๘๐

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

ท่านอิมามซอดิก ได้กล่าวอธิบายในโองการดังกล่าวว่า

 “ขอสาบานต่อพระเจ้าว่า พวกเขา(บรรดาผู้นำของเขา)มิได้ถือศีลอด และมิได้ทำการนมาซ แต่ทว่าพวกเขาได้ทำให้สิ่งที่ต้องห้าม(ฮะรอม) เป็นสิ่งที่ถูกต้อง(ฮะลาล) และสิ่งที่ถูกต้อง ทำให้เป็นสิ่งที่ฮะรอม แล้วพวกเขาได้ปฏิบัติตามโดยที่ไม่เข้าใจในการกระทำของเขา “

(ตัฟซีรพะยอมกุรอาน เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๘๘)

ในอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตามว่า มิได้มีความขัดแย้งกับการปฏิบัติตามมนุษย์ด้วยกัน ในขณะที่พระเจ้าสั่งให้ปฏิบัติตามพระองค์ ดังนั้น การปฏิบัติตามมนุษย์ด้วยกันก็เท่ากับว่า เขาได้ปฏิบัติตามพระองค์

 อัลกุรอานกล่าวว่า

 และเรามิได้ส่งร่อซู้ลคนใดมานอกจากเพื่อให้เขาได้รับการเชื่อฟังด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์เท่านั้น”

(บทอัลนิซาอ์ โองการที่ ๖๔)

 “และพวกเจ้าจงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และจงเชื่อฟังร่อซู้ลเถิด” ( บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๙๒ )

 “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าพวกท่านจงเชื่อฟังอัลลอฮ์และรอซูลเถิด แต่ถ้าพวกเขาผินหลังให้ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงชอบผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๓๒ )

 “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และเชื่อฟังร่อซู้ลเถิด และผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าด้วย”

 ( บทอัลนิซาอ์ โองการที่ ๕๙)

๑๘๑

ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่ถูกทำให้เป็นสาเหตุการตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม ก็คือ การปฏิบัติตามผู้ที่มีความขัดแย้งกับคำสั่งสอนของพระเจ้า และเช่นเดียวกัน ในวจนะก็ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า

“มิได้มีการปฏิบัติตามใดในความบาปต่อพระเจ้า โดยอันที่จริง การปฏิบัติตามนั้น เฉพาะกับความดีเท่านั้น”

 (ศอเฮียะมุสลิม เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๔๖๙ )

ท่านอิมามอะลีกล่าวว่า

“ไม่มีการปฏิบัติตามใดของมนุษย์ในความบาปต่อพระเจ้า”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ฮิกมะฮ์ที่ ๑๖๕ )

ท่านอิมามซอดิกกล่าวว่า

“บุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามผู้อื่นในความบาป แน่นอนเขาเป็นบ่าวของผู้นั้น”

(วะซาอิลอัชชีอะฮ์ เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๙๑ วจนะที่ ๘)

วจนะนี้ได้กล่าวถึง ความหมายที่กว้างของ การเคารพภักดี ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติตามผู้ที่กระทำบาป ถือว่า เป็นชนิดหนึ่งของการเคารพภักดี

๑๘๒

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีด ฟีย์ อิสติอานะฮ์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการขอความช่วยเหลือ

เตาฮีด ฟีย์ มะฮับบะฮ์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก

เตาฮีด ฟีย์ อิฏออะฮ์ หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตามเตาฮีด ฟีย์ ตะวักกุล หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายการงาน

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในการช่วยเหลือ ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งในความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ หมายถึง มนุษย์มีความเชื่อว่าจะต้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น และจากเหตุผลของความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ ทำให้เข้าใจได้ว่า เฉพาะพระเจ้าองค์เดียวที่เราจะต้องขอความช่วยเหลือ

๒.ความเป็นเอกานุภาพในการขช่วยเหลือมิได้มีความหมายขัดแย้งกับการขอความช่วยเหลือจากสิ่งที่ถูกสร้างของพระเจ้า โดยเฉพาะจากบรรดาศาสดา และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ แต่การช่วยเหลือนั้นต้องมีเงื่อนไขว่า การทำให้พวกเขาเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับพระเจ้า และมิได้มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากพระองค์

๑๘๓

๓.และอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ก็คือ ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม หมายถึง การยอมจำนนและปฏิบัติตามในคำสั่งสอนของพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว

พื้นฐานของความเป็นเอกานุภาพนี้ อยู่ภายใต้ความเป็นเอกานุภาพในการกำหนดบทบัญญัติ และการปกครอง

และด้วยกับการมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติตาม จึงได้อนุญาตให้ปฏิบัติตามบรรดาผู้ที่พระเจ้าทรงแต่งตั้งได้

๔.และอีกประเภทหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ ก็คือ ความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก หมายถึง มนุษย์จะต้องให้ความรักต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว และการมีความรักต่อสิ่งอื่น เนื่องจากว่า สิ่งนั้น เป็นสิ่งสร้างที่สวยงามของพระองค์

๕.พื้นฐานหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพในการให้ความรัก คือ การมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบของพระเจ้า และไม่มีขอบเขตจำกัด เพราะว่าการให้ความรักที่แท้จริง จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องเกิดจากการรู้จักในความสมบูรณ์ของสิ่งนั้น และในขณะที่พระเจ้า ทรงดำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์แบบที่สุด ดังนั้น พระองค์จึงควรค่าแก่การให้ความรัก และมนุษย์ทุกคนจะต้องมีความรักในพระองค์ด้วย

๖.ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมายการงาน คือ การที่มนุษย์ต้องมอบหมายการงานของตนต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว และด้วยกับความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ และในการบริหาร และความเป็นเจ้าของอย่างแท้จริงได้กล่าวว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องมอบหมายการงานของตนต่อพระเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น

๑๘๔

และการมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพในการมอบหมาย ก็มิได้มีความหมายขัดแย้งกับการเพียรพยายามอุตสาหะ แต่มีข้อแม้ว่า สิ่งนั้นต้องถูกใช้เป็นสื่อของพระเจ้า เพื่อที่จะทำให้ความประสงค์ของพระองค์นั้นสัมฤทธิ์ผล และสิ่งนั้นก็มิได้มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

๗.นอกเหนือจากการรู้จักพระเจ้า ,ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าและความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดี ทั้งหมดเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์

เหตุผลของความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีก็คือ เกิดจากการรับรู้โดยตรงของมนุษย์

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีประสบการณ์ในการปฏิบัติของมนุษย์ เป็นหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่า ความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัตินั้น ก็เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

๘.อัล กุรอานและวจนะทั้งหลายได้กล่าวเน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ จะไม่ว่าในประเภทใดก็ตาม และยังได้เชิญชวนมนุษยชาติมาสู่การดำเนินชีวิตตามความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพอีกด้วย

๑๘๕

   บทที่ ๙

   พื้นฐานทางสติปัญญาของความเป็นเอกานุภาพในทัศนะอัลกุรอานและวจนะ

    อัลกุรอานได้อธิบายว่า ความเป็นเอกานุภาพ เกิดขึ้นจากพื้นฐานต่างๆที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งในบางโองการได้กล่าวถึง การเคารพภักดีในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวหรือความเป็นเอกานุภาพในการเคารพภักดีอยู่ควบคู่กับการรู้จักพระเจ้า ซึ่งเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่มีอยู่ในจิตใต้สำนึกของเขา นอกเหนือจากนี้ อัลกุรอานยังได้กล่าวในหลายโองการถึงเหตุผลทางสติปัญญาในการพิสูจน์ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า  ซึ่งจะมาอธิบายในโองการเหล่านี้ มีดังนี้

   อัล กุรอานกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

    จากบทที่แล้วได้อธิบายถึง การรู้จักพระเจ้าว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การหลงใหลในโลกนี้ หรือการประสบพบกับปัญหาต่างๆ แต่สาเหตุที่แท้จริงก็คือ การมีอยู่ของมนุษย์ ดังนั้น แนวทางในการขจัดปัญหา ก็คือ การสำนึกในการมีอยู่ของพระเจ้า และการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์

๑๘๖

ซึ่งในอัล กุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนถึงแนวทางในการขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ก็คือ การเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า และการขอความช่วยเหลือจากพระองค์

อัล กุรอานกล่าวว่า 

 “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ท่านได้เห็นพวกท่านแล้วมิใช่หรือ? หากการลงโทษนั้นหรือ ที่พวกท่านจะวิงวอนหากพวกเจ้าเป็นผู้พูดจริง”  

 “มิได้ เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกท่านจะวิงวอนขอ แล้วพระองค์ก็จะทรงปลดเปลื้องสิ่งที่พวกท่านวิงวอนให้ช่วยเหลือ หากพระองค์ทรงประสงค์ และพวกเจ้าก็จะลืมสิ่งที่พวกเจ้าให้มีภาคีขึ้น”

 (บทอัลอันอาม โองการที่ ๔๐-๔๑)

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ดังนั้นเมื่อพวกเขาขึ้นโดยสารบนเรือ พวกเขาวิงวอนต่ออัลลอฮ์เป็นผู้บริสุทธิ์ใจในการขอพรต่อพระองค์ ครั้นเมื่อพระองค์ทรงช่วยพวกเขาให้ขึ้นบก แล้วพวกเขาก็ตั้งภาคีต่อพระองค์”

(บทอัลอังกะบูต โองการที่ ๖๕)

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า มนุษย์รู้จักพระเจ้าในยามที่ประสบกับปัญหาที่ไม่สามารถแก้เองได้ และด้วยกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมที่มีอยู่ในตัวของเขาเขาจะนึกถึงพระองค์ในทันทีทันใด

๑๘๗

และอัล กุรอานกล่าวว่า

 “และเมื่อทุกขภัยอันใดประสบแก่มนุษย์ พวกเขาก็วิงวอนขอต่อพระเจ้าของพวกเขา โดยเป็นผู้ผินหน้ากลับไปสู่พระองค์ ครั้นเมื่อพระองค์ได้ทรงให้พวกเขาลิ้มรสความเมตตาจากพระองค์ ณ บัดนั้นหมู่หนึ่งจากพวกเขาก็ตั้งภาคีต่อพระเจ้าของพวกเขา” (บทอัรรูม โองการที่ ๓๓)

โองการนี้ได้กล่าวถึง ชนกลุ่มหนึ่งมีความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ในยามที่ประสบกับปัญหา และหลังจากที่ได้รับการช่วยเหลือจากพระองค์แล้ว ความมืดมนได้เข้ามาครอบงำเขา และทำให้เขาลืมนึกถึงพระองค์ และได้ทำการตั้งภาคีต่อพระองค์

ในอัล กุรอาน บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ ๑๗๑-๑๗๒ ได้กล่าวถึงความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งได้อธิบายไปแล้วในวิธีการทางสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามบากิร (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวถึงการอธิบายในโองการนี้ไว้ว่า

 “หลังจากที่พระเจ้าได้แนะนำพระองค์ให้พวกเขา (มนุษย์ทั้งหลาย) ได้รู้จัก และแสดงตนให้รู้จัก และหากว่ามิได้เป็นเช่นนั้น ก็ไม่มีผู้ใดรู้จักถึงพระองค์”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๒ วจนะที่ ๓ )

๑๘๘

สัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพในมุมมองของวจนะ

    นอกเหนือจากโองการของอัล กุรอานที่ได้กล่าวถึง สัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพแล้ว ก็ยังมีวจนะก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นเดียวกัน

รายงานหนึ่งจากท่านฮิชาม บิน ซาลิม จากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) เขาได้ถามท่านอิมามเกี่ยวกับโองการที่ ๓๐ บทอัรรูม (โองการที่กล่าวว่า “สัญชาตญาณดั้งเดิมของพระเจ้าที่พระองค์ทรงประทานให้แด่มนุษย์”)  ความหมายของสัญชาตญาณดั้งเดิมในโองการนี้ มีความหมายว่าอย่างไร?

ท่าน อิมามได้ตอบเขาว่า

 “สัญชาตญาณดั้งเดิมในโองการนี้ คือ ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๕๓ วจนะที่ ๑ )

จากวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า และการเคารพภักดีต่อพระองค์เพียงองค์เดียว เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ที่มีต่อการดำเนินชีวิตของเขา

๑๘๙

 ดั่งที่ท่านอิมามได้กล่าวอีกว่า

“พระเจ้าได้สร้างมนุษย์บนพื้นฐานของความเป็นพระผู้เป็นเจ้า”

   เหตุผลทางสติปัญญาของอัลกุรอานในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

    ได้กล่าวแล้วว่า โองการของอัล กุรอาน ที่กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพ และได้มีเหตุผลในอัล กุรอานได้หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

   ๑.ความสามัคคีของจักรวาลและความเป็นระบบระเบียบ บ่งบอกว่า เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความเป็นเอกานุภาพ

บางส่วนของโองการอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นระบบระเบียบของเอกภพ และอธิบายไปแล้วในบท ความเป็นเอกานุภาพในการบริหาร เกี่ยวกับการอธิบายโองการที่ ๒๒  บทอัลอัมบิยาอ์ การไม่ได้รับความเสียหายในเอกภพ แสดงให้เห็นว่า สัญลักษณ์หนึ่งของเอกานุภาพ ก็คือ ความเป็นระบบระเบียบ

และอีกโองการหนึ่งได้กล่าวเช่นกันว่า

“อัลลอฮ์มิได้ทรงตั้งผู้เป็นพระบุตรและไม่มีพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับพระองค์ ถ้าเช่นนั้นพระเจ้าแต่ละองค์ก็จะเอาสิ่งที่ตนสร้างไปเสียหมด และแน่นอนพระเจ้าบางพระองค์ในหมู่พวกเขาก็จะมีอำนาจเหนือกว่าอีกบางองค์ มหาบริสุทธิ์ยิ่งแห่งอัลลอฮ์ ให้พ้นจากที่พวกเขากล่าวหา”

 (บทอัลมุมินูน โองการที่ ๙๑ )

๑๙๐

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า หากว่าในโลกนี้ มีพระเจ้าหลายองค์ จะเกิดความวิบัติมาสู่โลกอย่างแน่นอน เพราะว่า พระเจ้าที่ได้สมมุติขึ้นมานั้น มีอำนาจเหมือนกัน และสามารถสร้างสิ่งต่างๆได้ตามความปรารถนาของแต่ละองค์ อีกทั้งยังมีความสามารถที่แตกต่างกันในการปกครอง และการบริหาร ด้วยเหตุนี้ จะไม่เห็นความเป็นระบบระเบียบหลงเหลืออยู่  แต่ในความเป็นจริง โลกนี้นั้นมีความเป็นระบบระเบียบ ซึ่งก็บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว

   ๒.เหตุผลของการชี้นำ(ฟัยฎ์และฮิดายะฮ์)

เป็นที่รู้กันดีว่า บรรดาศาสดาได้เชิญชวนมนุษย์ชาติไปสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และในคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายก็ได้กล่าวถึง ความเป็นเอกานุภาพ และในอัล กุรอาน ก็เช่นเดียวกัน ได้กล่าวถึงเหตุผลการพิสูจน์ในหลักการนี้ไว้อย่างชัดเจน 

การสมมุติฐานในข้อพิสูจน์นี้ ก็คือ ถ้าหากว่า โลกนี้มีพระเจ้าหลายองค์ จะต้องมีการแต่งตั้งศาสนทูต เพื่อที่จะแนะนำพระเจ้าในแต่ละองค์ และในขณะเดียวกัน โลกนี้ มีบรรดาศาสนทูต ที่พวกเขาได้เชิญชวนมวลมนุษยชาติมาสู่ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “และจงถามผู้ที่เราได้ส่งมาก่อนหน้าเจ้าจากบรรดาศาสนทูตทั้งหลาย เราได้แต่งตั้งพระเจ้าหลายองค์ นอกจากพระเจ้าองค์เดียวผู้ทรงกรุณาปราณีกระนั้นหรือ?” (บทอัซซุครุฟ โองการที่ ๔๕)

โองการนี้ได้กล่าวถึง คำถามที่ได้ถามกับบรรดาศาสนทูตถึง การเชิญชวนมาสู่การรู้จักในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวหรือในพระเจ้าหลายองค์

๑๙๑

สำหรับคำตอบก็คือ การเชิญชวนมาสู่พระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวหรือความเป็นเอกานุภาพ ด้วยเหตุนี้ บรรดาศาสนทูตทั้งหลายจึงถูกแต่งตั้ง และเพื่อเชิญชวนมนุษยขาติให้รู้จักถึงพระองค์

นักอรรถาธิบายอัล กุรอานได้ให้ทัศนะที่มีความแตกต่างกันในการอธิบายความหมายของโองการนี้ว่า

บางคนกล่าวว่า เป็นคำถามที่ถามกับประชาชาติทั้งหลายในสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด

อีกทัศนะหนึ่งได้กล่าวว่า ความหมายของโองการนี้ คือ การย้อนกลับไปหายังพระมหาคัมภีร์ทั้งหลายของพระผู้เป็นเจ้า

และในอีกทัศนะหนึ่งก็กล่าวว่า โองการนี้ถูกประทานในค่ำคืนเมียะรอจ(การขึ้นสู่ฟากฟ้า)ของท่านศาสดามุฮัมมัด

ดังนั้น จุดประสงค์ของโองการนี้ คือ การเชิญชวนของบรรดาศาสดาทั้งหลายมาสู่การรู้จักในพระเจ้าองค์เดียว

อัล กุรอานกล่าวว่า

“จงกล่าวเถิด มุฮัมมัด พวกท่านไม่เห็นดอกหรือว่า สิ่งที่พวกท่านวิงวอนขอ นอกจากอัลลอฮ์พระเจ้าองค์เดียว และจงแสดงให้ข้าเห็นซิว่า พวกมันได้สร้างอะไรในหน้าแผ่นดิน หรือพวกมันมีส่วนร่วมในการสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย จงนำคัมภีร์ก่อนหน้านี้หรือร่องรอยจากความรู้(ที่เป็นหลักฐานยืนยันในการนี้) หากว่าพวกท่านเป็นผู้ซื่อสัตย์จริง”(บทอัลอะฮ์กอฟ โองการที่ ๔)

โองการนี้กล่าวที่ ประโยคที่ว่า “จงนำคัมภีร์”  ซึ่งบ่งบอกถึง ไม่มีคัมภีร์ใดที่เชิญชวนประชาชาติไปสู่การตั้งภาคี และบรรดาศาสดาทุกคนก็ได้เชิญชวนประชาชาติมาสู่ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า

๑๙๒

 ดังนั้น ถ้าหากว่า ในโลกนี้ มีพระเจ้าหลายองค์ก็จะต้องส่งศาสดาของแต่ละองค์ลงมา และเชิญชวนประชาชาติให้รู้จักในแต่ละองค์ และจากช่วงแรกของโองการนี้ บ่งบอกถึง ความหมายของเหตุผลนี้ ก็คือ ถ้าหากว่า ในโลกนี้ มีพระเจ้าหลายองค์ พวกเขาจะต้องมีส่วนร่วมในการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน เพราะว่าสติปัญญาได้กล่าวว่า สิ่งที่ไม่มีส่วนร่วมในการสร้าง จึงไม่สมควรที่จะเคารพภักดีหรือเรียกสิ่งนั้นว่า เป็นพระเจ้า

กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า พระเจ้าที่ไม่มีการสร้าง ไม่ถูกเรียกว่า เป็นพระเจ้า ในขณะเดียวกัน สิ่งที่พวกตั้งภาคีได้สร้างขึ้น พวกมันก็ไม่มีอำนาจในการสร้าง และก็ไม่เรียกสิ่งนั้นว่าเป็นพระเจ้าด้วย

ข้อพิสูจน์ของการชี้นำและการมีอยู่ ที่ได้รับจากวจนะของอิสลาม

ดั่งวจนะของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน)ได้กล่าวสั่งเสียแก่บุตรชายของท่านว่า

“โอ้ลูกรัก จงรู้เถิดว่า หากว่าพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามีหลายองค์ ก็จะต้องส่งบรรดาศาสดาลงมาแก่เจ้า และเจ้าก็จะเห็นในร่องรอยของการปกครองของพวกเขา และการกระทำ และคุณลักษณะของพวกเขา แต่ทว่า พระผู้เป็นเจ้ามีเพียงองค์เดียว”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ จดหมายที่ ๓๑)

จากคำกล่าวของท่านอิมามอะลี ที่กล่าวว่า “จะต้องส่งบรรดาศาสดาทั้งหลายมาแก่เจ้า” บ่งบอกถึง ข้อพิสูจน์ของการชี้นำ และประโยคที่กล่าวว่า “เจ้าจะเห็นร่องรอยของพวกเขา”  ก็บ่งบอกถึง ข้อพิสูจน์ของการมีอยู่ และในวจนะนี้ยังได้กล่าวถึง ความเป็นพระผู้เป็นเจ้า จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีร่องรอยการสร้างให้เห็นอย่างกระจ่างชัด และมีการส่งบรรดาศาสนทูต เพื่อที่จะเชิญชวนมนุษยชาติให้รู้จักถึงพระองค์

๑๙๓

ถ้าในโลกนี้ มีพระเจ้าหลายองค์ ก็จะต้องส่งศาสนทูตของตนเองลงมา และมีร่องรอยในการสร้างให้เห็นเป็นที่ประจักษ์  และในขณะเดียวกัน โลกนี้มิได้มีสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น ในโลกนี้ จึงมีเพียงพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวเท่านั้น

  สรุปสาระสำคัญ

๑.อัล กุรอานได้กล่าวว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการเคารพภักดีในพระองค์ เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และโองการอัล กุรอาน เป็นหลักฐานที่สำคัญของการให้เหตุผลทางสติปัญญาถึงการพิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพ

๒.บางส่วนของโองการอัล กุรอานได้กล่าวถึง ในยามที่มนุษย์ประสบกับปัญหาต่างๆที่ไม่สามารถแก้ด้วยตนเองได้ เขาก็จะนึกถึงพระผู้เป็นเจ้า เป็นอันดับแรก เพราะว่า การรู้จักพระองค์ เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขา

๓.ความเป็นระบบระเบียบของเอกภพ เป็นเหตุผลหนึ่งของอัล กุรอานที่บ่งบอกว่า มีพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเป็นผู้บริหาร เพราะว่า ถ้าหากว่า มีพระเจ้าหลายองค์ ก็จะต้องเห็นการบริหารของแต่ละองค์ และก็จะเห็นว่า โลกคงมีแต่ความวุ่นวาย

๔.ทัศนะของอัล กุรอานมีความเห็นว่า บรรดาศาสดาทุกคนได้เชิญชวนมนุษยชาติมาสู่การรู้จักพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว เพราะว่า ถ้าหากว่า ในโลกนี้ มีพระเจ้าหลายองค์ ก็จะต้องส่งศาสนทูตมาแต่ละองค์ เพื่อที่จะเชิญชวนให้รู้จักในพระเจ้าของพวกเขา และนี่คือความหมายของ ข้อพิสูจน์ของการชี้นำ

๕.ท่านอิมามอะลี ก็เช่นกันได้กล่าวในคำสั่งเสียให้บุตรชายของเขาว่า เป้าหมายของการเชิญชวนบรรดาศาสดาทุกคน ก็เพื่อให้มนุษย์มาสู่การรู้จักในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว

๑๙๔

   บทที่ ๑๐

   ความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคี (ชิรก์) ตอนที่ หนึ่ง

    คำสองคำที่มีความหมายแตกต่างกันคือ คำว่า ความเป็นเอกานุภาพและการตั้งภาคี (ชิรก์) ความเป็นเอกานุภาพ หมายถึง การมีความเชื่อในความเอกะและความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้า และการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

ส่วน การตั้งภาคี (ชิรก์) หมายถึง การมีความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ และการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าองค์เดียว  ด้วยเหตุนี้เอง การตั้งภาคีในเทววิทยาอิสลาม จึงถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเด็น ดังนี้

๑.การตั้งภาคี ที่เป็นศัพท์วิชาการทางศาสนาและใช้ในเทววิทยาอิสลาม เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเทววิทยาอิสลามก็คือ การอธิบายในรายละเอียดของการตั้งภาคี และการสร้างความสัมพันธ์ให้เข้ากับหลักการอื่นของศาสนา

๒.จากความแตกต่างของทั้งสองคำ คือ คำว่าความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคี ดังนั้น การอธิบายในการจัดประเภทและกฏของการตั้งภาคี เพื่อที่จะมีความเข้าใจในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพ ได้มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น การรู้จักในสิ่งหนึ่งต้องรู้จักในความแตกต่างของสิ่งนั้น

๑๙๕

 

   ประเภทของการตั้งภาคี

    การตั้งภาคี (ชิริก์) สามารถที่จะแบ่งออกเป็นหลาย ประเภท ดังนี้

๑.การตั้งภาคีในอาตมัน หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีรูปร่าง และมีหลายองค์ ดังนั้น ประเภทนี้  จึงแบ่งออกเป็น  ๒ ประเด็นด้วยกัน

(๑.)การมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีรูปร่าง

(๒).การมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์

   คำอธิบาย

การตั้งภาคีในอาตมัน เป็นประเด็นแรก หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีรูปร่าง ซี่งเป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งภาคี และในบทความเป็นเอกานุภาพในอาตมันก็ได้กล่าวไปแล้ว ในการอธิบายความหมายของ การมีส่วนประกอบทางสติปัญญา และการมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีองค์เดียวในความเชื่อของมนุษย์ ก็มีจำนวนน้อย แต่ในทางตรงกันข้าม การมีความเชื่อว่าพระเจ้ามีรูปร่างนั้น มีจำนวนมากกว่า (จะกล่าวรายละเอียดใน สาเหตุของการตั้งภาคี เป็นอันดับต่อไป )

สาเหตุหนึ่งของการตั้งภาคี คือ การหลงใหลในวัตถุของมนุษย์ โดยพวกวัตถุนิยมมีความเชื่อว่า พระเจ้าต้องมีรูปร่างที่เป็นวัตถุ ดังนั้น การมีความเชื่อเช่นนี้ จึงเป็นประเภทหนึ่งของการตั้งภาคีในอาตมัน และอิสลาม เรียกพวกนี้ว่า พวกมุญัซซะมะฮ์ หมายถึง พวกที่มีความเชื่อว่า พระเจ้ามีรูปร่างที่เป็นวัตถุ

๑๙๖

ในความหมายที่สองของการตั้งภาคีในอาตมัน หมายถึง การมีความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ แต่การมีความเชื่อเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการตั้งภาคีในอาตมัน เพราะว่าในขณะเดียวกัน ที่มนุษย์คนหนึ่งได้ทำการเคารพบูชาในสิ่งต่างๆ โดยที่มีความคิดว่า สิ่งนั้นมิใช่เป็นพระเจ้า แต่สิ่งต่างๆเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยพระผู้เป็นเจ้า และการเคารพบูชาในสิ่งนั้น เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า หรือคิดว่าสิ่งนั้นเป็นบุตรของพระองค์ หรือเป็นผู้บริหารส่วนหนึ่งของโลก แม้ว่าการมีความเชื่อเช่นนี้ เป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งภาคีในการบริหารก็ตาม แต่ไม่ได้มีผลกระทบในการตั้งภาคีในอาตมันเลย ดังนั้น จากความหมายนี้ นั่นก็คือ การมีความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ที่มีความเป็นอิสระในตัวเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ความหมายนี้ ในเชิงวิชาการด้านปรัชญา หมายถึง การมีความเชื่อในการมีอยู่ของหลายสิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีอยู่ ในสภาพที่มิได้เป็นผลของสิ่งใดและก็มิได้เป็นสิ่งถูกสร้างของสิ่งใด

ดังนั้น การอธิบายข้างต้น แสดงเห็นได้ว่า การตั้งภาคีในอาตมันที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ มีจำนวนน้อยหรือน้อยมาก แต่ทว่าการตั้งภาคีที่เกิดขึ้นในมนุษย์ เกิดจากประเภทอื่นของการตั้งภาคี

๒.การตั้งภาคีในคุณลักษณะ หมายถึง การมีความเชื่อในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า ประเด็นนี้ เป็นประเด็นในเชิงวิชาการด้านปรัชญา และเป็นข้อถกเถียงกันในหมู่ของนักปรัชญากับนักเทววิทยาอิสลาม และเช่นเดียวกัน การมีความเชื่อเช่นนี้ ก็เกิดขึ้นน้อยมากเหมือนกับการตั้งภาคีในอาตมัน

๑๙๗

สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่มิได้มีอยู่ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า โดยพวกเขามีความเชื่อว่า คุณลักษณะทั้งเจ็ดประการของพระผู้เป็นเจ้าที่มิได้มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ ซึ่งกล่าวได้ว่า พวกอัชอะรีย์มีความเชื่อในการตั้งภาคีในคุณลักษณะ และในบทต่อไปจะอธิบายว่า การตั้งภาคีประเภทนี้ มิได้เป็นสาเหตุให้มนุษย์ต้องตกศาสนา ถ้าหากว่ามิได้มีความเชื่อในการตั้งภาคีในอาตมันอยู่ก็ตาม

๓.การตั้งภาคีในการกระทำ หมายถึง มีความหมายตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ และมีประเภทที่เหมือนกันกับความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ ก็คือ การตั้งภาคีในการสร้าง ,การตั้งภาคีในการเป็นผู้อภิบาล และการตั้งภาคีในการวางกฏระเบียบ

การตั้งภาคีในการสร้าง หมายถึง การมีความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าที่เป็นผู้สร้างหลายองค์ในสภาพที่ไม่มีองค์ใดมีชัยชนะเหนืออีกองค์อื่น ดั่งตัวอย่างเช่น การมีความเชื่อในผู้สร้างแห่งความดี และความชั่ว ด้วยกับการมีความเชื่อนี้ พระเจ้า เป็นผู้สร้างความดี  นั่นคือ พระเจ้าแห่งความดี ส่วนผู้ที่สร้างความชั่ว ก็คือ ซาตาน หรือ พระเจ้าแห่งความชั่ว ดังนั้น พระเจ้าแห่งความดี ทรงสร้างแต่ความดี ซึ่งมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความชั่วและพระเจ้าแห่งความชั่วก็สร้างแต่ความชั่วและไม่เกี่ยวข้องกับความดี

การมีความเชื่อแบบนี้ได้เกิดขึ้น ในศาสนามานี และศาสนาโซโรเอสเตอร์ แต่ในศาสนาอิสลามก็มิได้ยอมรับการมีความเชื่อนี้ เพราะว่าอิสลามมีความเชื่อในความเป็นเอกะในการสร้าง กล่าวคือ การมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้สร้างแต่เพียงผู้เดียว

๑๙๘

การตั้งภาคีในการเป็นผู้อภิบาล ก็เป็นอีกประเภทหนึ่งของการตั้งภาคีในการกระทำ ที่ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า ได้เกิดขึ้นมากมายในหมู่กลุ่มชนและเผ่าพันธ์ของมนุษย์ และจากการตรวจสอบในความเชื่อที่เป็นการตั้งภาคี จะเห็นได้ว่า พวกเขามีความเชื่อในการเป็นผู้อภิบาลของพระเจ้าที่เป็นอิสระหลายองค์ ดั่งตัวอย่างเช่น การมีความเชื่อในการเป็นะผู้อภิบาลของลม ,ฝน ท้องฟ้า และต้นไม้ เป็นต้น

การตั้งภาคีในการวางกฏระเบียบ หมายถึง การยอมรับในการวางกฏระเบียบของสิ่งที่มิใช่พระผู้เป็นเจ้า และการปฏิบัติตามคำสอนที่มีความขัดแย้งกับคำสั่งสอนของพระองค์ ดังนั้น จะเห็นได้ว่า โดยส่วนมากการเกิดขึ้นของการตั้งภาคีประเภทนี้ มาจากสาเหตุของการหันเหออกจากศาสนาในหมู่กลุ่มชนที่ปฏิบัติตามศาสนา เช่น ในกลุ่มชนที่ปฏิบัติตามศาสนาคริสตร์ โดยมีความคิดเห็นว่า โป๋ปเป็นผู้ทรงสิทธิ์และบริสุทธิ์ในการวางกฏระเบียบในเรื่องของศาสนา โดยปราศจากความผิดบาปทั้งหลาย

   การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้าและการเคารพภักดี

    การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้า หมายถึง การมีความเชื่อในการเป็นพระเจ้าของสิ่งอื่นที่มิใช่เป็นพระผู้เป็นเจ้า และการเคารพภักดีและสักการะบูชาในสิ่งนั้น

 การตั้งภาคีในการเคารพภักดี หมายถึง การเคารพภักดีต่อสิ่งอื่นที่มิใช่เป็นพระเจ้า

๑๙๙

ดังนั้น การตั้งภาคีทั้งสองประเภท จะอยู่คู่กันโดยไม่สามารถแยกออกจากกัน เพราะว่าบุคคลใดก็ตามที่มีความเชื่อในความเป็นพระเจ้าของสิ่งหนึ่ง ก็ย่อมจะต้องทำการเคารพภักดีและสักการะบูชาในสิ่งนั้นอย่างแน่นอน และในบางกรณี การตั้งภาคีทั้งสองนี้อยู่คู่กับการเป็นผู้อภิบาล เพราะว่า พื้นฐานหนึ่งทางสติปัญญาของการตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้า คือ การตั้งภาคีในการเป็นผู้อภิบาล หมายความว่า เมื่อบุคคลใดก็ตามที่มีความเชื่อในการเป็นผู้อภิบาลของพระเจ้าหลายองค์ เขาก็จะต้องทำการเคารพภักดีในพระเจ้าเหล่านั้นด้วย

การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้า และการเคารพภักดี เกิดขึ้นในหมู่พวกตั้งภาคี ซึ่งมีด้วยกันหลายสภาพ

พวกตั้งภาคีกลุ่มหนึ่ง ได้บูชาเจว็ดที่ตนเองสร้างขึ้นมาจากหิน ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ได้ทำการบูชาในดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวนพเคราะห์ทั้งหลาย เพราะว่าพวกเขามีความเชื่อในความสูงส่งของมัน และยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำการบูชาต่อธรรมชาติ และมีอีกบางกลุ่มที่ทำการบูชาต่อสิงสาราสัตว์ เพราะว่าพวกขาเชื่อในการมีพลังที่เหนือธรรมชาติที่ซ่อนอยู่ในสิ่งทั้งหลาย

ระดับขั้นของการตั้งภาคี

    การตั้งภาคีมีหลายระดับขั้น ด้วยกัน ในบางครั้ง เป็นระดับขั้นที่เปิดเผย และบางครั้ง เป็นระดับขั้นที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวของมนุษย์

การตั้งภาคีในการเคารพภักดี ในระดับขั้นที่เปิดเผย หมายถึง การประกอบพิธีกรรมใดๆก็ตาม เช่น การก้มกราบ การเชือดสัตว์พลี ต่อสิ่งหนึ่งโดยที่มีความเชื่อว่า สิ่งนั้นเป็นพระเจ้า

๒๐๐

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450