บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม17%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339971 / ดาวน์โหลด: 4960
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

และยังมีระดับขั้นอื่นๆ ของการตั้งภาคีในการเคารพภักดี ซึ่งศาสนาอิสลามมีความเชื่อว่า การหลงใหลในโลก,ทรัพย์สมบัติ, ลาภยศถาบรรดาศักดิ์ และอารมณ์ใฝ่ต่ำของมนุษย์ ล้วนเป็นระดับขั้นของการตั้งภาคีในการเคารพภักดีทั้งสิ้น

อัล กุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่า บุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามอารมณ์ของตนเอง แน่นอนที่สุดเขาคือ ผู้ที่เคารพบูชาอารมณ์ของเขา

นี่คือ การตั้งภาคีในระดับขั้นที่ซ่อนเร้นอยู่ ดังนั้น การตั้งภาคีประเภทนี้ มิได้มีอยู่ในอิสลามเท่านั้น แต่ยังได้รวมถึงศาสนาอื่นอีกด้วย

การตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม ในระดับขั้นที่ซ่อนเร้น เช่น การตั้งภาคีในการมอบหมาย หมายถึง การที่มนุษย์เชื่อในความเป็นอิสระของธรรมชาติโดยยึดถือเอาสิ่งนั้นเป็นที่พักพิงและมอบหมายการงานต่อสิ่งนั้น

การตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม  หมายถึง การที่มนุษย์ยอมจำนนต่อผู้ที่ตั้งภาคีและปฏิบัติตามคำสั่งของเขา

การตั้งภาคีในการให้ความรัก หมายถึง การให้ความรักในสิ่งที่มิได้เป็นพระเจ้า

จะสรุปได้ว่า การตั้งภาคีมีด้วยกัน หลายระดับขั้น คือ ระดับขั้นที่เปิดเผย และที่ซ่อนเร้น ส่วนการตั้งภาคีในระดับขั้นที่ซ่อนเร้น ครอบคลุมในทุกศาสนา และกลุ่มชนที่มีการตั้งภาคีอีกด้วย

๒๐๑

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

การตั้งภาคี(ชิริก) : Polytheism

ชิริก ซาตีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในอาตมัน

ชิริก ซิฟาตีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในคุณลักษณะ

ชิริก อัฟอาลีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในการกระทำ

ชิริก คอลิกียะฮ์ หมายถึง การตั้งภาคีในการสร้าง

ชิริก รุบูบียะฮ์ หมายถึง การตั้งภาคีในการเป็นะผู้อภิบาลและบริหารกิจการ

ชิริก ญะลีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในรูปแบบที่เปิดเผย : Patent polytheism

ชิริก เคาะฟีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในรูปแบบที่ซ่อนเร้น :

Hidden polytheism

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ชิรก์(การตั้งภาคี)เหมือนกันกับความเป็นเอกานุภาพเป็นศัพท์วิชาการทางศาสนาและการอธิบายรายละเอียดของมัน เป็นหน้าที่ของเทววิทยาอิสลาม นอกเหนือจากนี้ ระหว่างคำสองคำคือ  การตั้งภาคีกับความเป็นเอกานุภาพมีความหมายที่แตกต่างกัน และมีความหมายที่ตรงกันข้าม เพราะสาเหตุนี้ การอธิบายในการตั้งภาคีช่วยทำให้เข้าใจในความเป็นเอกานุภาพได้มากยิ่งขึ้น

๒.การตั้งภาคีในอาตมัน ตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน หมายถึง การมีความเชื่อว่าพระเจ้ามีส่วนประกอบ มีรูปร่าง และหน้าตา และการมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์

๒๐๒

๓.การตั้งภาคีในคุณลักษณะ ตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้ามีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากอาตมันของพระองค์

๔.การตั้งภาคีในการกระทำ ก็ตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ ซึ่งถูกแบ่งออกด้วยกันหลายประเภท เช่น การตั้งภาคีในการสร้าง,การตั้งภาคีในการบริหาร และการตั้งภาคีในการกำหนดบทบัญญัติ

๕.การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้าและการตั้งภาคีในการเคารพภักดี เป็นการตั้งภาคีที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น การเคารพบูชารูปปั้น ดวงดาว ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

๖.การตั้งภาคีในการเคารพภักดี นอกจากมีระดับขั้นที่เปิดเผยแล้ว ยังมีระดับขั้นที่ซ่อนเร้น เช่น การหลงใหลในโลก ,ตำแหน่งลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง และการบูชาอารมณ์ใฝ่ต่ำของมนุษย์

๒๐๓

   บทที่ ๑๑

   ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการตั้งภาคี


ตอนที่ สอง

   ความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคีในประวัติศาสตร์

    มีคำถามหนึ่งเกิดขึ้นในเรื่องของความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคี โดยในช่วงแรกของประวัติศาสตร์ ได้บันทึกไว้ว่า เริ่มแรก มนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า มาแต่ดั้งเดิม แล้วหลังจากนั้น ก็มีการตั้งภาคีเกิดขึ้นมาทีหลังใช่หรือไม่? หมายความว่า สาเหตุที่มนุษย์มีการตั้งภาคีต่อพระเจ้า ก็ด้วยกับการเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ และความสมบูรณ์ของสติปัญญา หรือว่ายังมีสาเหตุอื่น ที่ทำให้มนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพได้หรือ? 

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ นักวิชาการมีความคิดเห็นอยู่ สองทัศนะด้วยกัน  ดังนี้

๑.บางกลุ่มของนักวิชาการมีความเชื่อว่า ความเป็นเอกานุภาพมีมาแต่เดิม และเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี

๒.ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง พวกมีความเชื่อในประเภทต่างๆของการตั้งภาคี และกล่าวว่า การตั้งภาคี เกิดขึ้นมาก่อนความเป็นเอกานุภาพ ด้วยกัยเหตุผลที่บันทึกในประวัติศาสตร์

๒๐๔

สำหรับคำตอบที่ชัดเจนของคำถามนี้ ก็คือ เราต้องมาตรวจสอบและวิเคราะห์ใน ๒ วิธีการ ดังนี้

๑.วิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานยืนยันและอ้างอิง

๒.วิธีการทางเทววิทยาอิสลาม โดยการนำเอาเหตุและผลของศาสนามายืนยันและอ้างอิง

การวิเคราะห์ในวิธีการแรก กล่าวคือ วิธีการทางประวัติศาสตร์ มิได้ถือว่า เป็นประเด็นหลักของเทววิทยาอิสลาม และก็มิได้มีหน้าที่ในการอธิบายวิธีการนี้ เแต่สามารถที่จะศึกษาและวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆของประวัติศาสตร์ในการมีมาของศาสนาและยังใช้เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยทั่วไป ส่วนวิธีการทางเทววิทยาอิสลาม คือ วิธีการที่เกิดจากการวิเคราะห์และตรวจสอบในเทววิทยาอิสลาม และได้ข้อสรุปว่า ศาสนาอิสลามได้ยอมรับในทัศนะแรกที่กล่าวว่า ความเป็นเอกานุภาพมีมาแต่เดิม และเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี ซึ่งในประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจน และทัศนะนี้ยังได้กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ของการกำเนิดมนุษย์นั้น เกิดขึ้นมาพร้อมกับความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า แต่หลังจากนั้น ด้วยกับการหันเหทางความคิดของมนุษย์ จึงเป็นบ่อเกิดให้มนุษย์มีการตั้งภาคี และออกห่างจากความเป็นเอกะของพระองค์

๒๐๕

ตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ก็คือ สิ่งถูกสร้างชิ้นแรกของพระเจ้าในโลกที่เรียกกันว่า มนุษย์ นั่นคือ ศาสดาอาดัม และเมื่อพระเจ้าได้สร้างเขาให้เป็นมนุษย์คนแรกของโลกในหน้าแผ่นดิน และได้แต่งตั้งให้เป็นศาสนทูตเพื่อเชิญชวนมนุษย์ชาติมาสู่ความเป็นเอกะของพระองค์ ดังนั้น ความเชื่อในความเป็นเอกะได้เกิดขึ้นมาพร้อมกับการถือกำเนิดของมนุษย์คนแรก แต่ทว่าหลังจากการจากไปของศาสดาอาดัม มนุษย์ทั้งหลาย เนื่องด้วยเหตุผลทางสังคม และการเกิดปัญหาภายใน จึงเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาออกห่างจากความเป็นเอกะ และได้ยึดถือเอาสิ่งอื่นมาเป็นพระผู้เป็นเจ้า และมีการตั้งภาคีเกิดขึ้น จนกระทั่งในปัจจุบันก็มีการตั้งภาคีเกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน และเหตุผลของการแต่งตั้งบรรดาศาสดาก็เพราะเรื่องนี้นั่นเอง กล่าวคือ การต่อสู้กับการตั้งภาคีทั้งหลายและการเชิญชวนมนุษย์มาสู่ความเป็นเอกะ ถือว่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญของบรรดาศาสดา และในปัจจุบัน อิสลามซึ่ง เป็นศาสนาสุดท้าย ก็ได้รับเอาอุดมการณ์นี้ไว้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งอัลกุรอาน เป็นคัมภีร์อันสุดท้ายได้กล่าวอธิบายในรายละเอียดของความเป็นเอกานุภาพ ไม่ว่าในทฤษฎีหรือในการปฏิบัติ และนี่คือ ความหมายในประวัติศาสตร์ของ ความเป็นเอกานุภาพและการตั้งภาคี

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การยืนยันว่าความเป็นเอกานุภาพเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี ด้วยกับเหตุผลความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในการรู้จักถึงพระเจ้า ซึ่งการอธิบายเหตุผลนี้ได้กล่าวไปแล้ว แสดงว่า ทัศนะนี้มีความถูกต้อง และไม่สามารถกล่าวว่า ในระยะแรก มนุษย์เป็นผู้ตั้งภาคี หลังจากนั้น จะด้วยกับเหตุผลใดก็ตาม จึงทำให้เขามีความเชื่อในความเป็นเอกะ เช่น การพัฒนาการและการเจริญก้าวหน้าทางสติปัญญา เป็นต้น

๒๐๖

 ดังนั้น ความคิดในความเป็นเอกานุภาพ ก็เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของเขา ซึ่งความคิดนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง และมีความขัดแย้งกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมในความเชื่อของมนุษย์

ด้วยเหตุนี้ ความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมในความเป็นเอกานุภาพ ก็คือ การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพมิได้มีขอบเขตจำกัดเฉพาะในประวัติศาสตร์ของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งในทัศนะของประวัติศาสตร์กล่าวว่า ความเป็นเอกานุภาพเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี

คำถามหนึ่งที่เกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพและการตั้งภาคีในประวัติศาสตร์ ก็คือว่า นักโบราณคดีได้กล่าวว่า ก่อนที่มนุษยชาติจะมีความเชื่อในหลักความเป็นเอกานุภาพ ได้ค้นพบว่า พวกเขาเหล่านั้น มีความเชื่อในการตั้งภาคี ที่เห็นจากรูปปั้นของเจว็ดทั้งหลาย และภาพเขียนต่างๆ บ่งบอกถึง มีกลุ่มชนที่มีการตั้งภาคีต่อพระเจ้า  ในขณะเดียวกัน การค้นพบในความเชื่อในความเป็นเอกะนั้น มีจำนวนน้อยมาก แล้วจะกล่าวได้ว่า มีแต่ดั้งเดิมว่า มนุษย์เป็นผู้มีภาคี และการมีความเชื่อในความเป็นเอกะได้เกิดขึ้น หลังจากที่มีการตั้งภาคีใช่หรือไม่?

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ เราต้องมาดูในความแตกต่างของการใช้ชีวิตของพวกตั้งภาคี กับมนุษย์ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ

การตั้งภาคีมีความสัมพันธ์กับวัตถุและสิ่งที่เป็นวัตถุ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ส่วนมากของการบูชาเทวรูป ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นวัตถุทั้งสิ้น เช่น การปั้นเทวรูปจากหิน และไม้  เป็นต้น

๒๐๗

ส่วนการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้านั้น มิได้ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นวัตถุ แต่การใช้ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยกับสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ และเขาได้ทำการเคารพภักดีต่อพระเป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ดังนั้น ไม่อาจจะกล่าวว่า การค้นพบของนักโบราณคดี บ่งบอกถึง ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้านั้น มิได้มีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลายนอกเหนือจาก เหตุผลทางประวัติศาสตร์ ยังมีเหตุผลทางศาสนาที่ได้กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้บันทึกไว้ว่า จำนวนของพวกตั้งภาคีนั้น มีมากกว่ามนุษย์ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ เพราะว่า พวกตั้งภาคีมิได้ยอมรับคำเชิญชวนของบรรดาศาสดา

อัล กุรอานกล่าวว่า เป้าหมายของบรรดาศาสดา คือ การเชิญชวนมาสู่ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า

“และแน่นอนที่สุด เราได้แต่งตั้งบรรดาศาสนทูตทั้งหลายในทุกประชาชาติ เพื่อเชิญชวนมาสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว” (บทอัลนะหฺลฺ โองการที่ ๓๖)

ในอีกโองการหนึ่งกล่าวว่า การเย้ยหยันต่อบรรดาศาสดาจากประชาชาติของพวกเขา

“ ไม่มีศาสนทูตใดมายังพวกเขา เว้นแต่พวกเขาจะต้องเย้ยหยัน”

(บทอัลฮิจร์ โองการที่ ๑๑ และบทยาซีน โองการที่ ๓๐)

จากโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน แสดงให้เห็นว่า จำนวนของพวกตั้งภาคีนั้น มีมากกว่าผู้ที่ศรัทธาในความเป็นเอกานุภาพ ไม่ได้หมายความว่า การตั้งภาคีนั้นมีมาก่อนความเป็นเอกานุภาพ และก็มิได้มีความขัดแย้งกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพ

๒๐๘

   สาเหตุและองค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีการตั้งภาคี

    ได้กล่าวแล้วว่า ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพได้ผสมผสานกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เริ่มต้นมาพร้อมกับความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ

ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วอะไรเป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ได้ออกห่างจากความเป็นสัญขาตญาณดั้งเดิมและไปสู่การตั้งภาคี?

สำหรับคำตอบ ก็คือ สาเหตุที่สำคัญของการมีภาคีต่อพระเจ้า มีดังนี้

๑.มนุษย์ประกอบด้วยกับ สอง องค์ประกอบ คือ วัตถุ และจิตวิญญาณ ในสภาพเช่นนี้ การถือกำเนิดของเขาในโลกแห่งวัตถุและด้วยกับการคุ้นเคยในสิ่งที่เป็นวัตถุ จึงเป็นสาเหตุทำให้เขามีความผูกพันธ์กับสิ่งที่เป็นวัตถุ และทำให้เขาลืมนึกถึงสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ

ด้วยเหตุนี้ สาเหตุที่ทำให้เขามีความรู้สึกว่า ต้องเคารพภักดีต่อพระเจ้าที่สามารถสัมผัสได้ ซึ่งเห็นได้ว่า ในระยะแรก พวกเขาได้ปั้นก้อนหิน และก้อนดิน หลังจากนั้น ก็ปั้นเป็นเจว็ด และนำเอาไปเคารพสักการะบูชา

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สาเหตุของการตั้งภาคีของมนุษย์ เพราะว่า สัญชาตญาณดั้งเดิมที่มีอยู่ในการเคารพภักดี และด้วยความเคยชินและมีความผูกพันธ์กับสิ่งที่เป็นวัตถุ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เขาได้เคารพบูชาในสิ่งที่เป็นวัตถุ

๒๐๙

๒.อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการตั้งภาคีเกิดขึ้น การเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมากมายในโลก เมื่อมนุษย์ได้ลืมตามาดูโลก สิ่งที่เขามองเห็น เช่น ภูเขา ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวนพเคราะห์ ต้นไม้ สิงสาราสัตว์ และสิ่งอื่น โดยพวกเขาก็คิดว่า สิ่งต่างเหล่านั้น เป็นพระเจ้า

ในบางครั้งได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทั้งหลาย จึงเป็นสาเหตุให้บางกลุ่มชนมีความเชื่อว่า บางปรากฏการณ์เป็นผู้สร้างและบริหารการงานอยู่เหนือการสร้างของผู้สร้างอื่น เช่น พวกเขาคิดว่า พระเจ้าแห่งฝนกับพระเจ้าแห่งพายุมีความแตกต่างกัน และพระเจ้าทั้งสองมีความแตกต่างกับพระเจ้าแห่งทะเล ดังนั้น ความเชื่อในพระเจ้าแห่งความดีและความชั่ว ก็มาจากความเชื่อนี้

๓.ความไม่รู้ในแก่นแท้ของสิ่งที่เป็นวัตถุและความสัมพันธ์ทางธรรมชาติของมัน เป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งภาคี

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ความเชื่อของกลุ่มชนโบราณในการบูชาดวงดาว ในขณะที่เวลานั้นยังไม่มีการพัฒนาการทางดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยพวกเขามีความเชื่อว่า การเกิดขึ้นของดวงดาวส่งผลกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น พวกเขาเห็นว่า แสงจากดวงอาทิตย์มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ ความร้อนของดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ต้นไม้ต้องการ และด้วยสาเหตุของการไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทั้งหลายและแก่นแท้ของดาวนพเคราะห์

๒๑๐

 จึงเป็นสาเหตุให้คิดว่า ดาวนพเคราะห์เป็นพระเจ้าผู้บริหารต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องทำการเคารพภักดีหรือในยามที่จำเป็นต้องเชือดสัตว์พลีให้แก่พระเจ้าผู้บริหาร เพื่อที่จะทำให้อำนาจมาสู่โลกแห่งธรรมชาติ

๔. การเข้าใจผิดพลาดในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า ด้วยกับธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ในการเคารพภักดีต่อพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งที่ไม่ได้เป็นวัตถุ ด้วยเหตุนี้ บางกลุ่มชนมีความคิดว่า ในขณะที่ไม่อาจสัมผัสกับพระเจ้าหรือมองเห็นได้ เราไม่สามารถที่จะสร้างความสัมพันธ์กับพระองค์ อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า มนุษย์มีความต้องการที่จะติดต่อกับพระเจ้าบอกกับพระองค์ในสิ่งที่กระทำผิด ทำให้ความกริ้วโกรธของพระองค์เป็นความพึงพอพระทัย และด้วยกับไม่รู้จักในแนวทางในการติดต่อสื่อสารกับพระองค์ เขาได้สร้างสื่อเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างเขากับพระองค์ สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์และพระเจ้า เพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับพระองค์และเคารพภักดี

๕.อีกเหตุผลหนึ่งทางสังคม คือ การคุ้มครองผู้ที่ตั้งภาคีของมหาอำนาจและเหล่าผู้ปกครองที่ต้องการขยายขอบเขตอาณาจักรการปกครองของตน ในอีกมุมหนึ่ง คำสั่งสอนที่มาจากพระเจ้าองค์เดียว

ถ้าหากว่ามีผลต่อสังคมทั้งการกระทำส่วนบุคคลและส่วนรวม จะเห็นได้ว่า เป็นอันตรายที่ยิ่งใหญ่ ถ้าหากว่ามีการปกครองตามความเป็นเอกานุภาพจะไม่มีการศิโรราบต่อซาตานมารร้ายอย่างแน่นอน ดั่งในอัลกุรอานได้กล่าวว่า ในบทอัลนะห์ลิ โองการที่

“แน่นอนที่สุด เราได้ส่งศาสนทูตมาทุกประชาชาติ เพื่อที่จะให้ทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ และออกห่างจากซาตานมารร้าย”

๒๑๑

ด้วยเหตุนี้ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่หวังในตำแหน่งหน้าที่ และเช่นกันบรรดาผู้ปกครองทั้งหลายเพื่อที่ต้องการให้ผู้อื่นอยู่ในการปกครองของตน ยอมแม้กระทั่งสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้า ดั่งในประวัติศาสตร์ได้บันทืกไว้ชัดเจน

   การตั้งภาคีกับความบาป

    การอธิบายในรายละเอียดทั้งหมดของผลกระทบการตั้งภาคีที่มีต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ต้องอาศัยเวลานานในการอธิบาย แต่จะกล่าวว่า จุดกำเนิดของบาปทั้งหลายมาจากการตั้งภาคีต่อพระเจ้า

ดังนั้น ความบาป มีความหมายว่า การที่มนุษย์ได้ปฏิบัติคำสั่งสอนของสิ่งที่ไม่ได้เป็นพระเจ้า และคำสั่งสอนเหล่านั้นไม่ตรงกันกับจุดประสงค์ของพระองค์ สิ่งดังกล่าวอาจจะเป็นซาตานมารร้าย ,อารมณ์ของมนุษย์หรือแม้แต่ตัวของมนุษย์ด้วยกันเอง เพราะฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของความบาป คือ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระเจ้า ในขณะที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสิ่งที่ไม่ได้มีความเป็นพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า รากฐานของความบาปทั้งหลายมีที่มาจากการตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม ดังนั้น บุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามความเป็นเอกานุภาพและคำสั่งสอนของพระเจ้าองค์เดียว เขาจะไม่เป็นผู้ที่ทำบาปเลย ดั่งที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การตั้งภาคีเป็นบ่อเกิดของความบาปทั้งหลาย ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ออกห่างจากความบาปไปสู่การรู้จักพระเจ้า

๒๑๒

ท่านอัลลามะ ตอบาตอบาอี ได้อธิบายว่า “รากฐานของการปฏิเสธทั้งหลายก็มาจากการตั้งภาคี ดังนั้น มนุษย์คนใดที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน แน่นอนที่สุด เขาคือ ผู้ตั้งภาคีต่อพระองค์ เพราะว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ได้ยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้า ดังนั้น การปฏิเสธการมีอยู่ของพระองค์คือ การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้า และในการสร้าง” 

[๑] (อัลมีซาน เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๗๙)

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ทัศนะของเทววิทยาอิสลามกล่าวว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษย์มาพร้อมกับความเป็นเอกานุภาพแต่หลังจากนั้นความเชื่อการตั้งภาคีก็เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของเขา ตัวอย่างที่ชัดเจน ศาสดาอาดัม เป็นมนุษย์คนแรกในหน้าแผ่นดิน และเป็นผู้ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพแสดงให้เห็นถึง ความเป็นเอกานุภาพเกิดขึ้นก่อนการตั้งภาคี

๒.ความเป็นเอกานุภาพและการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว มีความแตกต่างกับการตั้งภาคีและการบูชาเจว็ด และการค้นพบของนักโบราณคดีบ่งบอกถึง การมีความเชื่อในการตั้งภาคีในกลุ่มชนก่อนหน้านี้

๓.การมีความรักและผูกพันธ์ของมนุษย์ในโลกธรรมชาติ คือ สาเหตุหนึ่งของการตั้งภาคีต่อพระเจ้า เพราะว่า เขาต้องการเคารพภักดีต่อสิ่งที่สัมผัสได้เท่านั้น

๒๑๓

๔.การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติก็มีผลต่อการตั้งภาคีเช่นกัน มนุษย์กลุ่มหนึ่งเมื่อได้เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ทำให้คิดว่า สิ่งนั้นเป็นพระเจ้ามีอำนาจสูงสุด

๕.การไม่รู้ในแก่นแท้ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นสาเหตุให้มีการตั้งภาคี ตัวอย่างเช่น การไม่รู้ของกลุ่มชนหนึ่งในความเป็นจริงของหมู่ดาวนพเคราะห์และความสัมพันธ์ของมันต่อโลก จึงเป็นเหตุให้คิดว่า ดวงอาทิตย์ ,ดวงจันทร์และดวงดาวทั้งหลายมีความเป็นพระเจ้า

๖.การเข้าใจที่ผิดพลาดระหว่างความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตั้งภาคี มนุษย์บางกลุ่มคิดว่า เขาไม่มีความสามารถที่จะสัมผัสหรือมองเห็นพระเจ้า ดังนั้น เขาได้สร้างสื่อกลางเพื่อใช้ในการสื่อสารกับพระองค์ และด้วยกับความคิดที่ผิดพลาดของเขา ทำให้คิดว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นพระเจ้าอย่างแท้จริง

๗.การมีความเชื่อในการตั้งภาคี เป็นเป้าหมายหนึ่งของผู้ปกครองที่อธรรม พวกเขาคุ้มครองต่อผู้ที่มีการตั้งภาคี เพื่อที่จะให้อำนาจของเขามีตลอดไป

๘.ความหมายที่แท้จริงของ ความบาป คือ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระเจ้า แต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของซาตานมารร้าย ,อารมณ์ของมนุษย์,และการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้น การตั้งภาคีเป็น รากฐานของความบาปทั้งหลาย

๒๑๔

   บทที่ ๑๒

   การตั้งภาคีในทัศนะอัล กุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานได้กล่าวถึงหลักเตาฮีด และการตั้งภาคีไว้อย่างชัดเจน และกล่าวว่า การตั้งภาคี ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

ซึ่งจะขอกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งภาคีในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะของอิสลาม ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.การปฏิเสธการมีอยู่ของการตั้งภาคีในทุกประเภท

อัล กุรอานได้ปฏิเสธการมีอยู่ของการตั้งภาคีในทุกประเภทอย่างชัดเจน

 “โอ้มุฮัมมัด จงกล่าวเถิดว่า แท้จริงการนมาซของฉันและการอิบาดะฮ์ของฉันและการมีชีวิตของฉันและการตายของฉัน เพื่ออัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักวาล”

“ไม่มีการตั้งภาคีใดแด่พระองค์และด้วยกับสิ่งนั้น ข้าพระองค์ถูกรับสั่ง และข้าพระองค์เป็นคนแรกในหมู่ผู้สวามิภักดิ์ทั้งหลาย” (บทอัลอันอาม โองการที่ ๑๖๒-๑๖๓)

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านศาสดามุฮัมมัดได้ถูกสั่งให้มีความบริสุทธิ์ใจต่อพระเจ้า และประกาศว่า ไม่มีการตั้งภาคีใดแด่พระองค์ ด้วยคำว่า ไม่มีการตั้งภาคีใดต่อพระองค์ บ่งบอกถึง การปฏิเสธการตั้งภาคีในทุกประเภท ไม่ว่า การตั้งภาคีในอาตมัน ,การกระทำ และในการเคารพภักดี

และยังมีอีกหลายโองการที่กล่าวถึง การปฏิเสธการตั้งภาคีทุกประเภท เช่น

 “และจงกล่าวเถิด มุฮัมมัด การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ผู้ซึ่งไม่มีบุตรและไม่มีภาคีใดในการมีอำนาจร่วมกับพระองค์” (บทอัลอิสรออ์ โองการที่ ๑๑๑ )

๒๑๕

๒.การตั้งภาคีเป็นความเชื่อที่ไม่มีมูลสารและรากฐาน  ในทัศนะของอัล กุรอานได้กล่าวถึง การตั้งภาคีว่า เป็นความเชื่อที่ไม่มีรากฐาน ซึ่งมีโองการต่างมากมายที่กล่าวถึง ดังตัวอย่าง

“เราจะใส่ความกลัวเข้าไปในหัวใจของบรรดาผู้ปฏิเสธความศรัทธา เนื่องจากที่พวกเขาได้มีภาคีต่ออัลลอฮ์ ซึ่งสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ประทานหลักฐานใดๆมายืนยัน” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๕๑ )

 “และพวกเขาทำการเคารพภักดีสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์มิได้ประทานให้เป็นหลักฐาน”

(บทอัลฮัจญ์ โองการที่ ๗๑)

๓.การตั้งภาคีเป็นบาปใหญ่ที่อภัยให้ไม่ได้

บางโองการของอัล กุรอานได้กล่าวถึง การตั้งภาคี เป็นบาปหนึ่งที่ไม่สามารถอภัยโทษให้ได้ เช่น

 “แท้จริงอัลลอฮ์ จะไม่ทรงอภัยโทษต่อผู้ที่ตั้งภาคีแด่พระองค์ และพระองค์ทรงอภัยโทษจากสิ่งอื่น ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และบุคคลใดก็ตามที่มีการตั้งภาคีแด่พระองค์ แน่นอนที่สุด เขาได้กระทำบาปอันยิ่งใหญ่”

(บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๔๘ )

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า การตั้งภาคี เป็นบาปอันหนึ่ง เมื่อได้เปรียบเทียบกับบาปอื่น จะเห็นได้ว่า การตั้งภาคีมีน้ำหนักมากกว่าบาปอื่นเสียอีก

๔.ผลตอบแทนของการตั้งภาคี

อัล กุรอานได้กล่าวอย่างชัดเจนถึง ผู้ที่มีการตั้งภาคีและได้เตือนพวกเขาในการได้รับผลตอบแทนจากการมีภาคีต่อพระเจ้า

๒๑๖

ผลตอบแทนหนึ่งของการมีภาคี คือ การทำลายความดีที่ได้กระทำ ดังนั้น คนใดก็ตามที่ตลอดชีวิตของเขา ทำการเคารพภักดีต่อพระเจ้า และกระทำความดีมาโดยตลอด แต่ในบั้นปลายของเขา เป็นหนึ่งในผู้มีภาคีต่อพระเจ้า แน่นอนที่สุด การกระทำที่เขาทำมาโดยตลอด จะถูกขจัดออกไปจากเขา

“และแน่นอน ได้มีการวิวรณ์มายังเจ้า(มุฮัมมัด)และมายังศาสดาก่อนหน้าเจ้าว่า หากเจ้าได้ตั้งภาคี การงานของเจ้าก็จะไม่มีผลและเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ที่ขาดทุน”(บทอัซซุมัร โองการที่  ๖๕)

 “ผู้ใดที่มีภาคีต่ออัลลอฮ์ พระองค์จะทรงให้สวรรค์เป็นที่ต้องห้ามแก่เขา และที่พำนักของเขา คือ นรก และสำหรับผู้ที่อธรรมนั้น ย่อมไม่มีผู้ที่ช่วยเหลือเขา” ( บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๗๒ )

สาเหตุที่ทำให้มีการตั้งภาคีในทัศนะของอัล กุรอาน

    ได้กล่าวแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า นั้นอยู่คู่กับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ อีกทั้งยังมีเหตุผลมากมายที่ได้ยืนยันอย่างชัดเจนด้วย

จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วทำไมมนุษย์จึงต้องมีการตั้งภาคีต่อพระเจ้า และอะไรที่เป็นสาเหตุให้มีการตั้งภาคีเกิดขึ้น

๒๑๗

อัล กุรอานได้ตอบในคำถามนี้อย่างชัดเจนถึงสาเหตุของการตั้งภาคี ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.การปฏิบัติตามการคาดคะเนที่ผิดพลาด

อัล กุรอานได้อธิบายถึง การตั้งภาคี ว่าเป็นความเชื่อที่ไม่มีรากฐานทางสติปัญญาอันใดรับรองเลย ดังนั้น การมีความเชื่อในการตั้งภาคี เป็นความคาดคะเนที่ผิดพลาด

“พึงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงทุกสิ่งในชั้นฟ้าทั้งหลายและในแผ่นดินทั้งหลาย เป็นของอัลลอฮ์และบรรดาผู้ที่วิงวอนต่อสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮ์ จะไม่ปฏิบัติตามภาคีเหล่านั้น พวกเขาจะไม่ปฏิบัติตามนอกจากการคาดคิดเท่านั้น และพวกเขาไม่ได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดเว้นแต่ การคาดคคะเนที่ผิดพลาด”

(บทยุนูส โองการที่ ๖๖ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงอำนาจในทุกสิ่งทั้งในชั้นฟ้าและในแผ่นดินทั้งหลาย บรรดาผู้ตั้งภาคีก็ยอมรับเช่นกัน หลังจากนั้น ได้อธิบายว่า แท้จริงผู้ตั้งภาคีไม่ได้ปฏิบัติตามภาคีของพระเจ้า

แต่เป็นการปฏิบัติตามการคาดคะเนที่ผิดพลาด เพราะว่า พระเจ้าไม่มีภาคีใดๆ  ดังนั้น บ่อเกิดของการมีภาคีต่อพระองค์ก็คือ การปฏิบัติตามการคาดคะเนที่ผิดพลาด

 “และส่วนใหญ่ของพวกเขามิได้ปฏิบัติตามสิ่งใดนอกจากการคาดคิด แท้จริงการคาดคิด ไม่อาจจะแทนความเป็นจริงได้แต่อย่างใด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ”

(บทยุนูส โองการที่ ๓๖ )

๒๑๘

 “เหล่านี้มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นชื่อที่พวกเจ้าและบรรพบุรุษของพวกเจ้าได้ตั้งขึ้นมา อัลลอฮ์มิได้ทรงประทานหลักฐานอันใดลงมา” (บทอัลนัจม์ โองการที่ ๒๓ )

๒.การหลงใหลในสิ่งที่สัมผัสได้และหลงลืมในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

ในทัศนะของอัล กุรอานได้กล่าวถึง สาเหตุของการตั้งภาคี คือ การหลงใหลในสิ่งที่สัมผัสได้ ในขณะที่หลงลืมในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งปฏิเสธการมีอยู่ของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

อัล กุรอานได้กล่าวถึง คำขอของบรรดาผู้ตั้งภาคี ใน

“และบรรดาผู้ที่ไม่หวังจะพบเรากล่าวว่า ไฉนเล่าเทวทูตจึงไม่ถูกส่งลงมายังพวกเราหรือเราไม่เห็นพระผู้อภิบาลของเรา แน่นอนพวกเขาหยิ่งยะโสในตัวของพวกเขา และพวกเขาได้ละเมิดขอบเขตอย่างมาก”

(บทอัลฟุรกอน โองการที่ ๒๑ )

ดังนั้น การวอนขอของพวกเขาไม่เฉพาะกับบรรดาผู้ตั้งภาคีในคาบสมุทรอาหรับเท่านั้น แต่ได้รวมถึงบรรดานักปรัชญาธรรมชาตินิยมที่กล่าวว่า หากว่าเราไม่เห็นพระเจ้า เราจะไม่มีความเชื่อในพระองค์

อัล กุรอานกล่าวถึง การวอนขอของชาวคัมภีร์จากศาสดาของพวกเขา

“บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ จะขอร้องเจ้าให้เจ้านำคัมภีร์ฉบับหนึ่งจากฟากฟ้าลงมาแก่พวกเขา แท้จริงนั้นพวกเขาได้ขอร้องแก่มูซาซึ่งสิ่งที่ใหญ่กว่านั้นมาแล้ว โดยที่พวกเขากล่าวว่า จงให้พวกเราเห็นอัลลอฮ์โดยชัดแจ้งเถิด แล้วฟ้าผ่าก็ได้คร่าพวกเขา เนื่องด้วยความอธรรมของพวกเขา ภายหลังพวกเขาก็ได้ยึดถือลูกวัวหลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดเจนได้มายังพวกเขา แล้วเราก็อภัยให้ในเรื่องนั้นและเราได้ให้แก่มูซาซึ่งอำนาจอันชัดเจน”

(บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๑๕๓ )

๒๑๙

บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้ตีความความหมายของโองการนี้ โดยกล่าวว่า ความหมายของคัมภีร์จากฟากฟ้าที่สัมผัสได้ด้วยมือเปล่า

บางคนกล่าวว่า การประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงมาเพียงครั้งเดียว

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ชาวบะนีอิสรออีลต้องการให้ศาสดามูซาแสดงพระเจ้าของตนให้พวกเขาดู เพราะคิดว่าพระเจ้าเป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ แต่หลังจากที่พวกเขาหมดหวังจากการมองเห็นพระองค์ พวกเขาก็ได้ปั้นวัวและทำการสักการะบูชาเป็นพระเจ้า

“และฟิรเอาน์กล่าวว่า โอ้ปวงบริพารเอ๋ย! ฉันไม่เคยรู้จักพระเจ้าอื่นใดของพวกท่านนอกจากฉัน โอ้ฮามานเอ๋ย ! จงเผาดินให้ฉันด้วยแล้วสร้างโครงสูงระฟ้า เพื่อที่ฉันจะได้ขึ้นไปดูพระเจ้าของมูซาและแท้จริงฉันคิดว่า เขานั้นอยู่ในหมู่ผู้กล่าวเท็จ” (บทอัลกอศอด โองการที่ ๓๘ )

โองการนี้กล่าวถึง ฟิรเอาน์ได้กล่าวกับบริพารของเขาว่า พระเจ้าของมูซาสามารถที่จะสัหมผัสได้ ดังนั้น ความคิดของธรรมชาตินิยมได้ปกครองในอียิปต์สมัยนั้น

 “และพวกเขากล่าวว่า เราจะไม่ศรัทธาต่อท่าน จนกว่าท่านจะทำให้แผ่นดินแตกออกเป็นลำธารแก่เรา”

“หรือท่านทำให้ชั้นฟ้าหล่นลงมาบนพวกเราเป็นเสี่ยงๆ ตามที่ท่านอ้าง หรือนำอัลลอฮ์และมลาอิกะฮ์มาให้เราเห็นต่อหน้า” (บทอัลอิสรออ์ โองการที่ ๙๒)

จากโองการนี้ คำขอของบรรดาพวกมุชริกในคาบสมุทรอาหรับต่อศาสดามุฮัมมัด ในการแยกออกของลำธารน้ำที่ๆแห้งกันดารจากทะเลทรายของเมืองมักกะฮ์ และคำขออื่นๆที่แปลกประหลาดที่พวกเขาคิดว่า ถ้าพระเจ้า เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ เขาก็สามารถมองเห็นพระองค์ได้

๒๒๐

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

   การพิสูจน์ พลังอำนาจของพระเจ้า

   หลังจากที่เข้าใจในความหมายของ การมีพลังอำนาจ จะกล่าวได้ว่า พระเจ้ามีพลังอำนาจ ด้วยกับการพิสูจน์จากเหตุผลต่างๆ ซึ่งจะขอนำมากล่าวเพียงเหตุผลเดียว มีดังนี้

จากความหมายของ การมีพลังอำนาจ ถ้าสมมุติว่า พระเจ้า ไม่มีพลังอำนาจ ในกรณีนี้ ความประสงค์ของพระองค์ในการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น  ก็จะไม่ได้เกิดขึ้น ในขณะที่การกระทำได้เกิดขึ้น หรือพระองค์มีความประสงค์และการกระทำนั้น จะไม่เกิดขึ้น  แต่การกระทำนั้นกลับเกิดขึ้นมา มีคำถามว่า แล้วอะไร คือ สาเหตุของการกระทำที่ไม่เกิดขึ้นว่า มาจากความประสงค์ของพระเจ้า?

สำหรับคำตอบ มีการคาดคะเนอยู่ ๒ สภาพ

สภาพแรก ก็คือ อาตมันของพระเจ้า เป็นสาเหตุที่ทำให้การงานนั้น ไม่เกิดขึ้น ดังนั้น สภาพนี้ถือว่า ไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะ เพราะว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์มีความต้องการที่จะกระทำการงานหนึ่งการงานใด แล้วการงานนั้นไม่ได้เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพนี้มีความขัดแย้งกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์

สภาพที่สอง คือ มีสิ่งหนึ่งที่เป็นสาเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากพระเจ้า  และเช่นกัน ในสภาพนี้ก็ถือว่า ไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะ เพราะว่า เราได้พิสูจน์ไปแล้วว่า พระเจ้า เป็นวาญิบุลวุญูด ( สิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่) และสรรพสิ่ง เป็นมุมกินุลวุญูด (สิ่งที่จะมีก็ได้ไม่มีก็ได้) และเป็นสิ่งสร้างของพระองค์ การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับผู้สร้าง ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ สิ่งที่เป็นมุมกินุลวุญูด ซึ่งไม่มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

๒๘๑

 จะเป็นสาเหตุให้กับความประสงค์ของพระเจ้า เพราะฉะนั้น พระเจ้ามีพลังอำนาจ ด้วยกับสาเหตุที่ว่า ความประสงค์ของพระองค์ มิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งใด นอกจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น

   อานุภาพของพระเจ้า

   ประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับอานุภาพของพระเจ้า คือ พระองค์ มีพลังอำนาจอันที่ไม่มีที่สิ้นสุดหรือว่ามีพลังอำนาจในรูปแบบที่มีขอบเขตจำกัด

สำหรับคำตอบ มีหลายทัศนะด้วยกัน ทัศนะหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลามบางสำนักคิด มีความเห็นว่า พระเจ้ามีอำนาจที่ไม่มีที่สิ้นสุดหรือพลังอำนาจของพระองค์นั้น ครอบคลุมทุกสรรพสิ่ง โดยที่พวกเขาได้นำหลักฐานอ้างอิงจากอัล กุรอานและวจนะมายืนยัน และในทางตรงกันข้าม มีหลายทัศนะที่มีความเห็นตรงกันว่า  พระเจ้ามีพลังอำนาจในรูปแบบที่มีขอบเขตจำกัด ด้วยเหตุนี้ ทัศนะแรก ถือว่า ถูกต้อง เพราะว่าได้พิสูจน์ไปแล้วว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะทั้งหลายที่สมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุด และการมีพลังอำนาจ เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เหตุผลทางสติปัญญาที่ใช้ในการพิสูจน์การมีพลังอำนาจของพระเจ้า นอกเหนือจาก การยอมรับว่า พระองค์มีคุณลักษณะนี้แล้ว ยังกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีคุณลักษณะการมีพลังอำนาจที่สมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุด มีข้อสงสัยที่เกิดขึ้นในประเด็นนี้  ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นมาก่อน มีดังต่อไปนี้

๒๘๒

   สิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้น (มุฮาล) อยู่ภายใต้การมีพลังอำนาจของพระเจ้าใช่หรือไม่?

   มีคำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นและถูกบันทึกในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องของพลังอำนาจของพระเจ้า ก็คือ มีบางสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับพลังอำนาจของพระองค์ และบางสิ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า ดังนั้น ข้อสงสัยนี้ ได้มีคำอธิบายอยู่มากมาย ซึ่งพื้นฐานของข้อสงสัยนี้นั้นมาจากที่มาหรือแหล่งเดียว และคำอธิบายที่ถูกรู้จักกันโดยทั่วไป มีดังนี้

๑.พระเจ้ามีความสามารถสร้างสิ่งที่เหมือนพระองค์อยู่เคียงข้างพระองค์ได้หรือไม่?

หากยอมรับว่า พระองค์มีความสามารถ หมายความว่า ยอมรับในการมีอยู่ของภาคีที่เหมือนพระองค์  ในขณะที่บรรดานักปรัชญาเชื่อว่า พระเจ้า ไม่มีการภาคีใดอยู่เคียงข้างพระองค์ และหากยอมรับว่า พระเจ้าไม่มีความสามารถ ก็หมายความว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์นั้น มีขอบเขตจำกัด ซึ่งยอมรับว่า พระองค์ไม่มีความสามารถที่จะทำให้การงานหนึ่งเกิดขึ้นได้

๒.พระเจ้า มีความสามารถที่จะทำให้โลกใบนี้อยู่ในฟองไข่ไก่ ฟองหนึ่งได้ใช่หรือไม่ และในสภาพที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดในไข่ฟองนั้น?

สำหรับคำตอบ ก็คือ เป็นไปไม่ได้ ก็เท่ากับว่าได้ยอมรับว่า พลังอำนาจของพระเจ้านั้นมีขอบเขตจำกัด และไม่สมบูรณ์และยังมีการกระทำที่พระองค์ไม่มีความสามารถที่กระทำได้

๒๘๓

๓.ความยุ่งยากของข้อสงสัยนี้ จากคำตอบของข้อสงสัยนี้ ไม่ว่าจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม เป็นสาเหตุของการปฏิเสธการมีพลังอำนาจของพระเจ้า เช่น เมื่อถามว่า พระเจ้ามีสามารถหรือไม่ที่จะสร้างก้อนหินสักก้อนที่พระองค์ไม่มีความสามารถยกมันขึ้นมาได้ หรือถามว่า พระเจ้ามีความสามารถหรือไม่ที่จะสร้างสิ่งหนึ่งแล้วพระองค์ไม่สามารถที่จะทำลายมันได้? ดังนั้น ไม่ว่าจะตอบว่า พระองค์มีความสามารถหรือไม่มีความสามารถก็คือ การยอมรับการมีขอบเขตการมีพลังอำนาจของพระองค์

และจากข้อสงสัยที่กล่าวข้างต้น ทำให้เข้าใจได้ว่า ข้อสงสัยดังกล่าวเกิดมาจากพื้นฐานอันเดียวกัน

และก่อนที่จะตอบคำถามนี้ มาอธิบายกันใน สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ (มุฮาล) ว่ามีด้วยกัน กี่ประเภท

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ (มุฮาล) สามารถแบ่งออกด้วยกัน  ๓ ประเภทดังนี้

๑.สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมัน (มุฮาล ซาตีย์) หมายถึง สิ่งหนึ่งไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้เอง ตัวอย่างเช่น สิ่งหนึ่งที่ไม่มีทั้งสีขาวและสีดำ หรือสิ่งที่มีทั้งสีขาวและสีดำ

๒.สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง (มุฮาล วุกูอีย์) หมายถึง สิ่งหนึ่งไม่มีความสามารถที่จะเกิดขึ้น แต่โดยตัวของมันเองสามารถจะเกิดขึ้นได้ และการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น เป็นสาเหตุให้เกิด มุฮาล ซาตีย์ เช่น การมีอยู่ของผลโดยที่ไม่มีเหตุ เพราะว่า การเกิดขึ้นของผล เป็นสาเหตุให้เกิดความต้องการไปยังเหตุและไม่ต้องการผล 

ประเภทแรกและประเภทที่สองของมุฮาล เรียกว่า สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ทางสติปัญญา (มุฮาล อักลีย์)

๓.สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยทั่วไป (มุฮาล อาดีย์) หมายถึง สิ่งหนึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติ แต่การเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ไม่เป็นสาเหตุมุฮาล ซาตีย์ หรือด้วยตัวของมันเอง

จากการอธิบายข้างต้น จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ว่า พลังอำนาจของพระเจ้า ไม่มีในสิ่งที่เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวของมัน และสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง และตัวอย่างของข้อสงสัยทั้งหมด เป็น ตัวอย่างของ สิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ทางสติปัญญา ทั้งสิ้น เช่น การมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกับพระเจ้า และการนำโลกไปไว้ในฟองไข่ไก่ ฟองหนึ่ง และการสร้างก้อนหินที่พระองค์ยกขึ้นไม่ได้  กล่าวได้ว่า ในตัวอย่างแรก  เป็นการสมมุติว่า มีพระเจ้าอยู่สององค์ที่เหมือนกัน  และเป็นสาเหตุให้เกิดความแตกต่างกันในพระเจ้าทั้งสอง  เพราะว่าในขณะที่กล่าวว่า พระเจ้ามีสององค์ที่องค์เป็นพระเจ้าและอีกองค์ไม่ได้เป็นพระเจ้า และตัวอย่างที่สอง การนำโลกนี้ไปไว้ในไข่ไก่ ก็ด้วยสาเหตุนี้เช่นกัน กล่าวคือ โลกที่มีขนาดใหญ่และไม่มีขนาดใหญ่นั้นเป็นไปไม่ได้หรือไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ และในตัวอย่างที่สามก็เหมือนกัน ดังนั้น สิ่งที่ควรสังเกตุก็คือ พลังอำนาจของพระเจ้า ไม่มีในสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวของมันและสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง มิได้หมายความว่า พลังอำนาจของพระองค์นั้นมีขอบเขตจำกัด เพราะว่า สิ่งเหล่านั้นไม่อาจจะเกิดขึ้นมาได้

บรรดานักปรัชญาอิสลามได้กล่าวว่า ผู้กระทำมีความสามารถ แต่สิ่งถูกกระทำนั้น ไม่สามารถยอมรับการกระทำได้ และเพื่อที่มีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในตัวของเรา  เช่น นักปั้นดินเผาคนหนึ่งที่มีความสามารถปั้นเหยือกดินที่สวยงามที่สุดจากดินโคลนได้ ในเวลาเดียวกัน ถ้าไม่มีดินแล้วก็มีเพียงน้ำ เขาก็ไม่สามารถที่จะปั้นเหยือกดินได้ ไม่ว่าจะเป็นเหยือกใบเล็กหรือใบใหญ่ ดังนั้น เป็นกระจ่างชัดว่า ไม่ใช่ว่านักปั้นดินเผาคนนั้น ไม่มีความสามารถหรือไม่มีประสบการณ์หรือมีความสงสัยในความเป็นนักปั้นดินเผาของเขา แต่สิ่งที่เขามี คือ น้ำ ซึ่งไม่สามารถจะทำให้เป็นเหยือกดินได้(ตัวอย่างนี้ มีความคล้ายคลึงกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้า และ มีความแตกต่างกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้ากับการมีพลังอำนาจของมนุษย์ แต่เพื่อที่จะเข้าใจในการมีพลังอำนาจของพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้น จึงยกมาเป็นตัวอย่าง)

ตัวอย่างของประเด็นนี้ ก็เช่นกัน สิ่งที่ถูกกระทำมีข้อบกพร่อง ไม่ใช่ผู้กระทำ ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า ความหมายของสิ่งนั้นไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังอัล กุรอานที่กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีพลังอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง”

ด้วยเหตุนี้ กล่าวสรุปได้ว่า ตัวอย่างทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยการใช้สติปัญญา และพลังอำนาจของพระเจ้าไม่มีในสิ่งเหล่านี้ และการไม่มีพลังอำนาจของพระเจ้า มิได้หมายความว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์นั้น มีขอบเขตจำกัด และจะอธิบายในรายละเอียดของมัน ในประเด็น ความมหัศจรรย์ของพระเจ้า ดังนั้น พลังอำนาจของพระเจ้า จึงมีในมุฮาล อาดีย์(สิ่งที่โดยทั่วไปไม่อาจจจะเกิดขึ้นได้)

๒๘๔

   การมีพลังอำนาจของพระเจ้าในการกระทำที่ไม่ดี

    ประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวกับการมีพลังอำนาจที่ไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า คือ คำถามที่กล่าวว่า พระองค์ มีความสามารถกระทำการงานที่ไม่ดีได้หรือไม่?

สำหรับคำตอบ มีอยู่ สองทัศนะ ด้วยกัน

ทัศนะแรกมีความเห็นว่า พระเจ้าไม่มีความสามารถที่จะกระทำการงานที่ไม่ดี

ทัศนะที่สองมีความเห็นว่า พระเจ้า ด้วยกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์และพระองค์ทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ พระองค์ไม่กระทำการงานที่ไม่ดี แต่มิได้หมายความว่า พระองค์ไม่มีความสามารถที่จะกระทำการงานนั้น และด้วยกับการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทำให้เข้าใจว่า ทัศนะที่ถูกต้อง คือ ทัศนะที่สอง 

แต่จะกล่าวถึงเหตุผลของทัศนะแรกและมาวิเคราะห์กัน เหตุผลของทัศนะแรกที่มีความเห็นว่า พระเจ้าไม่มีความสามารถในการกระทำความไม่ดี  คือ ถ้าสมมุติว่า พระเจ้ามีความสามารถกระทำการงานที่ไม่ดี หมายความว่า พระองค์เป็นผู้โง่เขลาหรือพระองค์มีความต้องการ แต่ความเป็นจริง พระองค์ทรงรอบรู้ทุกสรรพสิ่ง และพระองค์ทรงไม่มีความต้องการใดทั้งสิ้น ดังนั้น พระเจ้ามิทรงเป็นผู้โง่เขลาหรือมีความต้องการ ด้วยเหตุนี้ พระเจ้า ไม่มีความสามารถที่จะกระทำการงานที่ไม่ดี

๒๘๕

การอธิบายสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้น คือ การสมมุติว่า พระเจ้ามีความสามารถที่จะกระทำการงานที่ไม่ดี หมายความว่า พระเจ้าสามารถที่จะกระทำการงานนี้ได้ ในสภาพนี้ หากว่าพระเจ้า ไม่มีความรู้ในการกระทำที่ไม่ดีนั้น  ดังนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้โง่เขลา และถ้าพระองค์ทรงรู้ในการกระทำที่ไม่ดี พระองค์ก็ทรงมีความต้องการ เพราะว่า ความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์กล่าวว่า พระองค์ ไม่กระทำการงานที่ไม่ดี  

คำตอบของเหตุผลนี้ กล่าวได้ว่า สิ่งสำคัญทั้งสอง คือ ความโง่เขลาและความต้องการ เป็นองค์ประกอบของการเกิดขึ้นของการกระทำที่ไม่ดี ในขณะที่พระเจ้ามีความสามารถกระทำการงานที่ไม่ดี พระองค์ไม่มีคุณลักษณะทั้งสอง เพราะจากความหมายของ ความสามารถ หมายความว่า การมีความสามารถในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มิได้หมายความว่า การกระทำนั้น จะต้องเกิดขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้ พระเจ้ามีความสามารถในการกระทำสิ่งที่ไม่ดี แต่ด้วยกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์ การกระทำนั้นจะไม่เกิดขึ้นจากพระองค์ ดังนั้น พระองค์มิได้ทรงเป็นผู้โง่เขลาหรือมีความต้องการ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระเจ้า เป็นผู้มีวิทยปัญญา การกระทำที่ไม่ดี จึงไม่เกิดขึ้นจากพระองค์ และการไม่กระทำสิ่งไม่ดี มิได้หมายความว่า พระองค์ไร้ความสามารถ

๒๘๖

   พลังอำนาจของพระเจ้าในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานกล่าวถึง พระเจ้าว่า พระองค์ทรงมีพลังอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง (กอดีร ,กอดิรและมุกตะดิร) ดั่งพระดำรัสที่กล่าวว่า

 “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีพลังอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง”และโองการต่างๆมากมายกล่าวถึง การมีพลังอำนาจของพระเจ้า

ตัวอย่างเช่น ในบทอัฏฏอลาก โองการที่ ๑๒ กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ด และทรงสร้างแผ่นดินก็เยี่ยงนั้น พระบัญชาจะลงมาท่ามกลางมันทั้งหลาย (ชั้นฟ้าและแผ่นดิน) เพื่อพวกเจ้าจะได้รู้ว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง และแท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงห้อมล้อมทุกสิ่งอย่างไว้ด้วยความรอบรู้ (ของพระองค์)”

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า การสร้างโลกและการบริหารการงานต่างของโลก บ่งบอกถึง สัญลักษณ์หนึ่งของ การมีพลังอำนาจของพระเจ้า

และในอีกโองการได้กล่าวว่า การสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน แสดงให้ในการมีพลังอำนาจของพระเจ้า 

บทอะฮ์กอฟ โองการที่ ๓๓ กล่าวว่า

“และพวกเขาไม่เห็นดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์ ซึ่งทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้ และมิทรงอ่อนเพลียต่อการสร้างสิ่งเหล่านั้น ย่อมทรงเป็นผู้อานุภาพที่จะให้คนตายมีชีวิตขึ้นมาอีก แน่นอนแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกๆสิ่ง”

และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวเช่นเดียวกันในการมีพลังอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

๒๘๗

วจนะหนึ่งจากท่านอิมาม ซอดิก(ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

 “พระเจ้าทรงมีความรอบรู้ในสิ่งที่พระองค์สร้างและทรงอานุภาพและทรงปกครองและดูแลในทุกสรรพสิ่ง และทุกสรรพสิ่งนั้น ณ พระองค์มีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์และความรอบรู้และการปกครอง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๙ วจนะที่ ๑๕ )

   คำตอบจากวจนะในข้อสงสัยที่เกี่ยวกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้า

    นอกเหนือจาก เหตุผลทั้งหลายที่เป็นคำตอบในข้อสงสัยต่างๆที่เกี่ยวกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้าแล้ว ยังมีคำตอบจากวจนะของ บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่านทั้งหลาย)

ดั่งในวจนะหนึ่งที่ได้รายงานจาก  ท่านอิมามอะลี ว่า มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านว่า พระผู้เป็นเจ้าของท่านนั้น มีความสามารถที่จะทำให้โลกใบนี้ อยู่ในไข่ไก่สักฟองหนึ่ง โดยทิ่มิได้ทำให้โลกนั้นดูเล็กลง หรือไข่ฟองนั้นใหญ่ขึ้นได้ ใช่หรือไม่?

ท่านอิมาม ได้ตอบกับชายผู้นั้นว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งและมีเกียรติยิ่ง ไม่มีความสัมพันธ์ใดไปยัง การไม่มีพลังอำนาจและในสิ่งที่เจ้าถามแน่นอนมันจะไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง” (อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๙ วจนะที่ ๙ )

ดังนั้น จากวจนะนี้ สรุปได้ว่า มิใช่ว่า พระเจ้าไม่ทรงมีความสามารถ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริงได้ เพราะว่า สิ่งนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นจริง

๒๘๘

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

 

พลังอำนาจของพระเจ้ากุดรัต อิลาฮีย์    capability of Devine

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง มุฮาล วุกูอีย์

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมันมุฮาลซาตีย์

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยทั่วไปมุฮาลอาดีย์

สรุปสาระสำคัญ

  ๑.ความหมายของ พลังอำนาจ คือ ผู้กระทำมีความสามารถกระทำการงานหนึ่งการงานใดได้ และไม่กระทำการงานนั้นก็ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การกระทำของผู้กระทำที่ได้เกิดขึ้นจาก ความประสงค์ของผู้นั้น

๒.การมีพลังอำนาจในการกระทำ ไม่จำเป็นว่าการกระทำนั้นจะต้องเกิดขึ้น เพราะว่า เป็นไปได้ว่า ผู้มีพลังอำนาจสามารถกระทำ หรือไม่กระทำในการกระทำหนึ่ง ในขณะที่ผู้กระทำ ก่อนที่จะทำให้การงานนั้น ให้เกิดขึ้นมา เขาก็มีความสามารถและพลังอำนาจ

๓.การมีพลังอำนาจของพระเจ้า หมายถึง การกระทำของพระองค์นั้นขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์ การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้น และถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์การกระทำนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์มิได้เกิดขึ้นมาจากเป้าหมายอื่น ที่มิใช่อาตมันของพระองค์

๒๘๙

๔.เหตุผลการพิสูจน์การมีพลังอำนาจที่ไม่มีขอบเขตของพระเจ้า ก็คือ พระเจ้าทรงกระทำในการกระทำของพระองค์ ด้วยความประสงค์ของพระองค์ และไม่มีการกระทำใดที่พระองค์ไม่สามารถจะกระทำให้เกิดขึ้นได้ เพราะว่า ทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งสร้างของพระองค์ และการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์

๕.พระเจ้า มีพลังอำนาจที่ไม่มีขอบเขตและไม่มีที่สิ้นสุด และพลังอำนาจของพระองค์ ไม่มีในสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นด้วยตัวของมันหรือ ในความเป็นจริงได้ (มุฮาล ซาตีย์และมุฮาล วุกูอีย์) เพราะว่า การกระทำนี้ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่พลังอำนาจของพระเจ้า มีอยู่ใน สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นโดยทั่วไป (มุฮาล อาดีย์) เช่น ปาฏิหาริย์ของบรรดาศาสดาทั้งหลาย

๖. พระเจ้า มีความสามารถที่จะกระทำในการงานที่ไม่ดีได้ แต่ด้วยกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์ได้กล่าวว่า พระองค์จะไม่กระทำในการงานที่ไม่ดี

๗. อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์ทรงมีอานุภาพ ดั่งโองการที่กล่าวว่า“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีอานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง” บ่งบอกถึง ความไม่มีที่สิ้นสุดในพลังอำนาจของพระเจ้า

๘.และอัล กุรอานยังกล่าวอีกว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และมีอำนาจการบริหารในการงานทั้งหลาย แสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามีพลังอำนาจที่ไม่มีขอบเขตและไม่มีที่สิ้นสุด

๙.บางส่วนของวจนะทั้งหลายกล่าวถึง คำตอบของข้อสงสัยต่างๆที่เกี่ยวกับ การมีพลังอำนาจของพระเจ้า และอธิบายว่า การที่พลังอำนาจของพระองค์ไม่มีในบางสิ่ง มิได้หมายความว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์นั้น มีขอบเขตจำกัด

๒๙๐

   บทที่ ๖

   การมีชีวิตของพระเจ้า

    การมีชีวิต  เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะหนึ่ง ที่บรรดานักเทววิทยาอิสลามมีความเห็นตรงกัน แต่มีความแตกต่างในการอธิบายถึงวิธีการมีชีวิตของพระเจ้า และมีการให้ทัศนะที่แตกต่างกัน โดยนักเทววิทยาอิสลามบางคนได้กล่าวว่า การมีชีวิต เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และบางคนก็กล่าวว่า คุณลักษณะนี้ มิได้มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ เพราะว่าการมีชีวิต เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย เช่น ในมนุษย์, ในสัตว์, พรรณพืช และในสิ่งอื่นๆ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในความหมายของ การมีชีวิต กันก่อน ดังนั้น การมีชีวิต มีความหมายว่า อย่างไร?  แล้วจะมาอธิบายในความหมายของ การมีชีวิตของพระเจ้า เป็นอันดับต่อไป

   การมีชีวิตอยู่ของสรรพสิ่ง

    เมื่อเราได้สังเกตในสภาวะของสิ่งต่างๆที่เรียกกันว่า สิ่งนั้นมีชีวิตอยู่ จะเห็นได้ว่าในการมีชีวิตอยู่ของสิ่งเหล่านั้น บรรดานักเทววิทยาได้กล่าวกันว่า ในสิ่งที่มีชีวิตอยู่ มี ๒ คุณลักษณะที่เฉพาะกับการมีชีวิตอยู่ คือ

๑.การมีความรู้

๒. การมีความสามารถ

เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่มีชีวิตอยู่ สิ่งนั้นต้องมีความรู้และมีความสามารถ ส่วนสิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งนั้นก็ไม่มีทั้งความรู้และความสามารถ

๒๙๑

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บรรดานักวิชาการได้กล่าวว่า การมีชีวิตอยู่ของพรรณพืชนั้นมีความแตกต่างกัน เพราะว่าการมีอยู่ของความรู้และความสามารถในแต่ละพรรณพืชก็มีความแตกต่างกันเช่นเดียวกัน ดังนั้น ความหมายของ การมีชีวิตอยู่จึงครอบคลุมทั้งมนุษย์และสัตว์

และสิ่งที่ควรรู้ ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

๑.การมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น มนุษย์และสัตว์ และด้วยกับการกระทำต่างๆ เช่น การเจริญเติบโต, การมีความต้องการที่อยู่อาศัย, ปัจจัยยังชีพและอาหาร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทั้งหลายของการมีชีวิตอยู่ และอาจจะกล่าวได้ว่า ทั้งหมดนั้นเป็นคุณลักษณะที่มิได้เป็นคุณลักษณะโดยเฉพาะของการมีชีวิตอยู่ และการมีชีวิตนั้น ไม่จำเป็นต้องมีคุณลักษณะดังกล่าว และคุณลักษณะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่ในความหมายของการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งถูกนำมาใช้ในสิ่งที่เป็นวัตถุ ส่วนสิ่งที่มิใช่วัตถุ เช่น พระเจ้านั้นไม่มีความต้องการในการเจริญเติบโต ,อาหาร และที่อยู่อาศัย

๒.ความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิตอยู่ หมายถึง การมีความรู้และการมีความสามารถ มิได้หมายความว่า การมีชีวิตอยู่นั้นต้องมีทั้งสองคุณลักษณะดังกล่าวเท่านั้น เพราะว่า การมีชีวิตอยู่ เป็นความหมายที่มีอยู่ในการมโนภาพโดยทิ่มิได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้น การมีชีวิต จึงเป็นการมีอยู่ที่สมบูรณ์ และสิ่งใดก็ตามที่มีชีวิต สิ่งนั้นก็ต้องมีทั้งความรู้และความสามารถอยู่คู่กัน

๒๙๒

ด้วยเหตุนี้ การให้คำนิยามของ การมีชีวิต คือ การมีความรู้และความสามารถ ซึ่งเป็นการให้คำนิยามของสิ่งหนึ่งที่มีส่วนประกอบ

เมื่อความหมายของ การมีชีวิตอยู่ในทัศนะของบรรดานักเทววิทยาอิสลามนั้น เป็นที่กระจ่างชัดสำหรับเราแล้ว จะมาอธิบายกันในความหมายของ การมีชีวิตของพระเจ้า

   ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า

    การอธิบายในความหมายของ การมีชีวิตของพระเจ้า ซึ่งบรรดานักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดทั้งหลายได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

โดยที่นักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อว่า คุณลักษณะของพระเจ้านั้นมีความแตกต่างกับอาตมันของพระองค์ และยังได้กล่าวอีกว่า การมีชีวิตของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่มีอยู่เหนือจากอาตมันของพระองค์ โดยมีความหมายว่า อาตมันของพระองค์มีความรู้และความสามารถอยู่คู่กัน

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ผู้ที่ปฏิเสธการมีความแตกต่างกันระหว่างคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้า ได้กล่าวว่า การมีชีวิตของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มิได้มีอยู่ในพระองค์ และความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า ก็คือ การมีความสามารถและการมีความรู้ และเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องห้าม

๒๙๓

ด้วยเหตุนี้  การมีชีวิต จึงเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่ไม่มีอยู่ในพระเจ้า  ซึ่งจะเห็นได้ว่า จากความหมายของ การมีชีวิต ในทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความหมายที่ไม่ชัดเจนและไม่ถูกต้อง ดังนั้น การมีชีวิต จึงเป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์ และคุณลักษณะการมีชีวิตของพระเจ้า หมายถึง การมีชีวิตของพระองค์ในรูปแบบที่สมบูรณ์ กล่าวคือ การมีความรู้ และสามารถ แต่การมีชีวิตของพระเจ้านั้น ปราศจากการเป็นวัตถุ ซึ่งไม่มีความต้องการในการเจริญเติบโต ,ที่อยู่อาศัย, อาหาร และการพึ่งพา และสิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นกับการมีชีวิตของพระองค์

ได้อธิบายไปแล้วว่า การมีความรู้และการมีความสามารถ เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า ดังนั้น การมีชีวิตก็มีคุณลักษณะทั้งสองอยู่ด้วย และความหมายในการมีชีวิต ก็เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์เช่นกัน   ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันกับการมีชีวิตของสิ่งทั้งหลาย

   เหตุผลของการมีชีวิตของพระเจ้า

    เหตุผลต่างๆที่ใช้ในการพิสูจน์การมีอยู่ของคุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้า ก็สามารถใช้ในการพิสูจน์การมีชีวิตของพระองค์ได้ เหตุผลที่เข้าใจง่าย เกิดขึ้นจากการมีความรู้ของพระเจ้า และการมีความสามารถ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการมีชีวิต และได้พิสูจน์ไปแล้วว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงรอบรู้และมีความสามารถ เพราะฉะนั้น พระองค์ก็ทรงมีชีวิตอยู่เช่นกัน

๒๙๔

ดั่งใน คำกล่าวของท่านมุฮักกิก ตูซีย์ ที่ได้กล่าวว่า

“ทุกสิ่งที่มีความรู้ และความสามารถ แน่นอนที่สุด สิ่งนั้นก็ต้องมีชีวิต”

   การมีชีวิตของพระเจ้า จากการอรรถาธิบายของอัลกุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในโองการทั้งหลายถึงคุณลักษณะการมีชีวิตของพระเจ้าว่า

“อัลลอฮ์ (ทรงเป็นพระเจ้า) ซึ่งไม่มีพระเจ้าใดๆ (อีกแล้ว) นอกจากพระองค์เท่านั้น ทรงเป็นเสมอ ทรงดำรงอยู่ ความง่วงและความหลับไม่ครอบงำพระองค์ พระองค์ทรงสิทธิ์ในสรรพสิ่งที่มีอยู่ในชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน ใครเล่าที่จะให้การสงเคราะห์ (แก่ผู้อื่น) ณ พระองค์ได้ นอกจากจะเป็นไปโดยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่มีอยู่   ต่อหน้าพวกเขาและที่อยู่เบื้องหลังพวกเขาและพวกเขาไม่ครอบคลุมความรู้สักเพียงเล็กน้อยของพระองค์ นอกจากในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้พวกเขารู้)เท่านั้นเก้าอี้ (คืออำนาจปกครอง) ของพระองค์แผ่ไพศาลทั่วทั้งชั้นฟ้าและแผ่นดินและการพิทักษ์มัน   ทั้งสองไม่ทำให้พระองค์เหนื่อยยากเลยและพระองค์ทรงสูงส่งอีกทั้งทรงยิ่งใหญ่”

 (อัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๒๕๕) 

๒๙๕

                                                           

และอีกโองการหนึ่งได้กล่าวว่า              

“อัลลอฮ์นั้นคือ ไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใดๆนอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิตอยู่เสมอ (ไม่มีกาลอวสาน) ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลายเป็นเนืองนิจ (ในสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างและทรงบังเกิด)” (บทอัลอาลิอิมรอน โองการที่ ๒)

 โองการดังกล่าวนี้ได้กล่าวถึง คุณลักษณะการมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า โดยที่อัล กุรอานได้กล่าวอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่า พระเจ้า คือ อัลลอฮ์ เป็นผู้ทรงมอบชีวิตให้กับทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า หมายถึง เมื่อพระเจ้า เป็นผู้ทรงมอบชีวิตให้กับทุกสรรพสิ่ง ก็เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะไม่ทรงมีชีวิตอยู่

และในอัล กุรอานได้กล่าวอีกว่า

“และเจ้าจงมอบหมายต่อพระผู้ทรงดำรงชีวิตตลอดกาล ไม่ตาย และจงแซ่ซร้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระองค์ และพอเพียงแล้วสำหรับพระองค์ ผู้ทรงรอบรู้ในความผิดทั้งหลายของปวงบ่าวของพระองค์”

 (บทอัลฟุรกอน โองการที่ ๕๘ )

อัล กุรอานได้ใช้คุณลักษณะทั้งสอง กล่าวคือ การมีชีวิตอยู่ คู่กับการเป็นอมตะ แสดงให้เห็นว่า เป็นคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพราะว่า การมีคุณลักษณะ การมีชีวิตอยู่ นอกเหนือจาก การมีความรู้ในอาตมันของตนเองแล้ว ยังมีความรู้ในสรรพสิ่ง และการมีพลังอำนาจ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เกิดขึ้นในอาตมันของพระเจ้า  และการมีคุณลักษณะ การเป็นอมตะ มีความหมายว่า การมีอยู่ของสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นอยู่กับพระองค์ และพระองค์ เป็นแหล่งกำเนิดของการกระทำทั้งหลาย

ด้วยเหตุนี้ การกล่าวรำลึกว่า โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตอยู่และเป็นอมตะ เป็นการกล่าวรำลึกที่สวยงามที่สุด

๒๙๖

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมิแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในเทศนาบทหนึ่งที่มีคุณค่ายิ่งในเป้าหมายของการรู้จักในความสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ การรู้จักในคุณลักษณะการมีชีวิตอยู่และการเป็นอมตะและนิรันดร์

“เราไม่มีความรู้ในความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้า นอกจากเรารู้ว่า พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่และเป็นนิรันดร์ และพระองค์ไม่ทรงง่วงนอนและหลับไหล” (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๖๐)

บางวจนะได้กล่าวเช่นเดียวกันถึงความเป็นจริงของ การมีชีวิตอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า และความแตกต่างของการมีชีวิตอยู่ของพระองค์กับการมีชีวิตอยู่ของสรรพสิ่งทั้งหลาย

ดั่งเช่น วจนะของท่านอิมามมูซา อัลกาซิม (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่ได้กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชีวิตอยู่ ในสภาพที่ไม่มีผู้ให้ชืวิต และไม่มีผู้ให้คุณลักษณะแด่พระองค์ และไม่มีการจำกัดในการมีอยู่ และพระองค์ไม่มีสถานที่พำนัก แต่พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่ด้วยพระองค์เอง “[๒]

 (อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๑๑ วจนะที่ ๖ )

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า คำกล่าวของอิมามนั้น มีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง  แต่สิ่งที่เราได้รับจากวจนะนี้ ก็คือ

๒๙๗

๑.การมีชีวิตของพระเจ้านั้น ไม่เหมือนกับการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ และสิ่งสร้างพระองค์ เพราะว่าอาตมันของพระองค์มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การมีชีวิตของพระองค์ก็มีมาแต่เดิมและไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยเช่นกัน

๒.การมีชีวิตของพระเจ้านั้น เป็นการมีอยู่ ที่มิได้เป็นคุณานุภาพที่มีขอบเขตจำกัด และไม่มีสถานที่

   การมีมาแต่เดิมและความเป็นอมตะและนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า

    การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์

บรรดานักปรัชญาอิสลาม มีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงมีมาแต่เดิม หมายความว่า พระเจ้าไม่มีกาลเวลาที่จำกัด และคำกล่าวที่ว่า พระองค์ทรงมีอยู่เป็นนิรันดร์ หมายความว่า ไม่มีกาลเวลาใดที่จะมาทำลายหรือทำให้พระองค์สูญสลายได้

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การมีอยู่ของพระองค์นั้น ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน หรือในอนาคตก็ตาม เพราะว่า พระองค์ทรงมีอยู่เหนือกาลเวลา  ดังนั้น ความหมายของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ บางครั้งหมายถึง การคงมีอยู่ของสิ่งที่มาแต่เดิมตลอดไป

๒๙๘

   การอธิบาย การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า

   บรรดานักเทววิทยาอิสลาม มีความคิดเห็นและมีทัศนะที่แตกต่างกัน และจากทัศนะทั้งหลาย

ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า มี ๒ทัศนะที่สำคัญ ดังนี้

๑.การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงมีอยู่ในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังนั้น จากทัศนะนี้ชี้ให้เห็นว่า การมีอยู่ของพระเจ้านั้นขึ้นอยู่กับกาลเวลา

๒.การมีอยู่ของพระเจ้านั้น อยู่เหนือกาลเวลา ซึ่งรวมถึงสิ่งที่เป็นกาลเวลาด้วย

ในทัศนะแรก บ่งบอกถึง ความเข้าใจของสามัญชนธรรมดาต่อการมีอยู่แต่เดิม และความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า และในทัศนะที่สอง เป็นทัศนะที่ถูกยอมรับในแวดวงวิชาการ เพราะว่า การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้านั้นไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา แต่พระองค์ทรงอยู่เหนือกาลเวลา

การมีอยู่กาลเวลา หมายถึง สิ่งที่เป็นวัตถุ และอาตมันของพระเจ้า มิได้เป็นวัตถุ ดังนั้น พระองค์ไม่ทรงมีกาลเวลา

๒๙๙

   เหตุผลของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า 

 

   หลังจากที่ได้เข้าใจในความหมายของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้ว บัดนี้ จะมาพิสูจน์ในเหตุผลของง การมีอยู่สองคุณลักษณะ ในอาตมันของพระองค์ เหตุผลที่เข้าใจง่าย ก็คือ เหตุผลจาก ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน (สิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่และสิ่งที่จะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีก็ได้) เพราะว่า พระผู้เป็นเจ้า คือ สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และการไม่มีอยู่นั้น ไม่มีในพระองค์  กล่าวคือ การไม่มีอยู่ จะไม่มีในพระองค์ในอดีต และการไม่มี จะไม่มีมา หลังจากในอนาคต

ดั่งที่ท่านควอญิฮ์ นะศีรุดดีน ตูซีย์ ได้กล่าวว่า

“ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน ( สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และสิ่งที่จะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีก็ได้) บ่งบอกถึง การมีอยู่ตลอดกาลและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า “

   การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า ในอัล กุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานมิได้กล่าวคำว่า การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ แต่ทว่า กล่าวถึงคำที่บ่งบอกถึงความหมายของการมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์  เช่น บางครั้งเรียกพระผู้เป็นเจ้า ว่า พระองค์เป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย

อัล กุรอานกล่าวว่า

“พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย และทรงเปิดเผยและทรงเร้นลับ และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง”

( บทอัลหะดีด โองการที่ ๓ )

๓๐๐

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450