บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339917 / ดาวน์โหลด: 4959
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ความดีงามพิเศษ :

บทขอพรของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นมีความดีงามพิเศษมากมายที่ไม่มีผู้ใดเทียบได้ ท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีเกียรติคุณที่ดีเด่นเป็นพิเศษกันแต่เพียงกลุ่มเดียวสำหรับความดีงามเหล่านั้นในหมู่ประชาชาตินี้

เรื่องดุอาอ์(บทขอพร)คือลักษณะพิเศษอันมากมายอีกประการหนึ่งที่บรรดาสาวกและตาบีอีนทั้งหลายไม่มีโอกาสเทียบเทียมได้เลย แม้แต่คนเดียว อีกทั้งบรรดานักปราชญ์อื่น ๆ ในรุ่นถัดมาก็ตาม กล่าวคือ ได้มีการบันทึกดุอาอ์ของแต่ละท่านไว้มากมาย ซึ่งบรรดานักปราชญ์ของเราได้เก็บ

รวบรวมไว้นับร้อยๆ เรื่องบรรดาอิมาม(อฺ)เป็นมนุษย์ที่รู้จริงเกี่ยวกับระเบียบแบบแผนที่บ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จำเป็นจะต้องดำเนินการปฏิบัติในยามสนทนากับพระองค์ และรู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร สำหรับการถ่อมตน

การขอพึ่งพิง และตัดขาด(จากทุกสิ่งทุกอย่าง) เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ในหนังสือนี้เราได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺโดยละเอียดของท่านอิมาม(อฺ)ผ่านมาแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการบันทึกดุอาอ์บางบทบางตอนของท่าน(อฺ)ดังนี้

๑๐๑

ดุอาอ์

บทที่ 1

เป็นบทดุอาอ์บทหนึ่งของอิมามที่ 7

“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าฯขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญานตนว่า มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงศาสนาอิสลามย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้ ศาสนาย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางกฎไว้ คัมภีร์ย่อมเป็นไปตามที่

พระองค์ทรงประทานให้ไว้ คำสอนย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้

แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสิทธิอันชัดแจ้ง ความเจริญสิริมงคลของอัลลอฮฺพึงมีแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน”

“ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าฯดำรงอยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ชีวิตของข้าฯนอบน้อมต่อพระองค์ ใบหน้าของข้าฯหันสู่พระองค์ กิจการงานของข้าฯ ขอมอบหมายยังพระองค์ ร่างกายของข้าฯขอนอบน้อมยังพระองค์ กลัวเกรงพระองค์ และมุ่งหวังต่อพระองค์ ข้าฯศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ที่ทรงประทานมาแก่ศาสนทูตของพระองค์ที่ทรงส่งมา”

“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าฯเป็นคนยากจน ณ พระองค์ ขอได้ทรงโปรดประทานเครื่องยังชีพแก่ข้าฯโดยอย่าได้คำนวณ

แท้จริงพระองค์ทรงประทานเครื่องยังชีพให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์

โดยไม่มีการคำนวณ”

๑๐๒

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าฯวิงวอนขอเครื่องยังชีพที่ดีงามทั้งหลาย และละเว้นความเลวร้ายทั้งหลาย และขอให้พระองค์อภัยโทษให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความกรุณาของพระองค์ที่ทรงเป็นเจ้าของได้โปรดบันดาลให้ข้าฯได้ออกห่างจากความชั่วอันมาจากข้าฯ ด้วยความดีอันมาจากพระองค์ และขอให้พระองค์ประทานความดีอย่างมากมายที่พระองค์มิได้ประทานให้แก่บ่าวคนใดให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอความคุ้มครองให้พ้นจากทรัพย์สินที่เป็นตัวทดสอบ(ฟิตนะฮฺ)แก่ข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง พระองค์ทรงเห็นฐานะความเป็นอยู่ของข้าฯ ทรงได้ยินดุอาอ์และคำพูดของข้าฯ ทรงรู้ในความจำเป็นของข้าฯ ข้าฯขอต่อพระนามทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดทำให้ความ ต้องการทั้งหลายในชีวิตทางโลกนี้และปรโลกของข้าฯได้บรรลุผล”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าฯขอดุอาอ์ต่อพระองค์อันเป็นดุอาอ์ของบ่าวผู้ซึ่งด้อยในความสามารถเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก มีความทุกข์อย่างสาหัส มีความสามารถน้อยนิด และมีการงานที่ตกต่ำเป็นดุอาอ์ของผู้ที่ไม่มีใครช่วยเหลือได้นอกจากพระองค์ เป็นความอ่อนแอที่ไม่มีใครช่วยได้นอกจากพระองค์

๑๐๓

ข้าฯขอความดีต่าง ๆ ทั้งมวล ขอเกียรติคุณ ขอความดีความเมตตาทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดเมตตาต่อข้าฯ และให้ข้าฯพ้นจากไฟนรก”

“โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แผ่นดินอยู่เหนือน้ำ ทรงบันดาลให้ฟากฟ้าอยู่ในห้วงอากาศ

โอ้ผู้ทรงเอกะ ก่อนทุกสิ่งที่เป็นหนึ่งเดียว โอ้ ผู้ทรงเป็นหนึ่งหลังจากทุก ๆ สิ่ง โอ้ผู้ซึ่งไม่มีใครรู้ว่า พระองค์ทรงเป็นอย่างไร นอกจากพระองค์ และไม่มีใครรู้ซึ้งถึงอำนาจของพระองค์ นอกจากพระองค์ โอ้พระองค์ผู้ทรงดำรงอยู่กับกิจการงาน โอ้พระองค์ผู้ทรงให้ความช่วยเหลือ โอ้พระผู้ช่วยบรรดาผู้เดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงตอบรับคำขอของคนเดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงมีความเมตตาในโลกนี้และปรโลก เป็นพระผู้ทรงกรุณาปรานี โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ อย่าให้ข้าฯหลงผิด และอย่าชิงชังข้าฯตลอดกาล แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งการสรรเสริญยิ่ง

 โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่านเทอญ”(1)

(1) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๔

ดุอาอ์

บทที่ 2

เป็นดุอาอ์ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)หลังนมาซซุฮฺริ

ท่านมุฮัมมัด บินซุลัยมานเล่าว่า : บิดาของท่านกล่าวว่า ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้ออกเดินทางไปกับท่านอิมามอะบุลฮะซัน(อฺ) หรือมูซา บินญะอฺฟัร เมื่อท่าน(อฺ)นมาซซุฮฺริเสร็จแล้ว ท่าน(อฺ)ได้อ่านดุอฺาอ์ในขณะที่ทรุดตัวลงกราบอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยอาการเศร้าสร้อย น้ำตาหลั่งไหล ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

 “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยลิ้น ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงให้ข้าฯเป็นใบ้ก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยตา ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯตาบอดเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยหู หากพระองค์ทรงประสงค์อาจทางทำให้ข้าฯหูหนวกเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยมือ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯมือด้วนเสียก็ได้ ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยเท้า ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯขาด้วนเสียก็ได้

ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯเป็นหมันเสียก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยอวัยวะทั้งเรือนร่างที่ทรงประทานให้แก่ข้าฯ และสิ่งนี้ข้าฯไม่มีสิ่งใดๆ ตอบแทนแก่พระองค์ได้”

๑๐๕

บิดาของท่านมุฮัมมัด เล่าอีกว่า หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้นับจำนวนครั้ง ในคำที่ท่านกล่าวว่า

“อัล-อัฟว์ อัล-อัฟว์”(ขออภัย ขออภัย) ได้ 1,000 ครั้ง จากนั้นท่าน (อฺ) แนบแก้มขวาลงบนดิน แล้วข้าพเจ้าได้ยินท่าน (อฺ) กล่าวว่า

“ข้าฯล่วงเกินต่อพระองค์ด้วยความผิดของข้าฯ ข้าฯได้กระทำความชั่วและอธรรมต่อตัวของข้าฯเอง ดังนั้นได้โปรดให้อภัยแก่ข้าฯ เพราะไม่มีใครอภัยความผิดพลาดได้ นอกจากพระองค์ โอ้นายของข้าฯ โอ้นายของข้าฯ นายของข้าฯ นายของข้าฯ”

ท่าน(อฺ)ก็แนบแก้มซ้ายลงบนดิน แล้วกล่าวว่า

“โปรดให้ความเมตตาต่อผู้ทำบาป”

อ่านดังนี้สามครั้ง หลังจากนั้นท่าน(อฺ)จึงยกศีรษะขึ้น(2)

(2) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๖

ดุอฺาอ์

บทที่ 3

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของอิมามมูซา(อฺ)

“โอ้ ผู้ทรงดำรงอยู่ก่อนสิ่งทั้งหลาย โอ้ผู้ทรงได้ยินทุกเสียงสำเนียง ทั้งดังและค่อย โอ้ผู้ทรงประทานชีวิตให้หลังจากตาย ความมืดมิดอันใดย่อมไม่ครอบคลุมพระองค์เลย ภาษาอันหลากหลายย่อมไม่ทำให้พระองค์ทรงสับสน ไม่มีสิ่งใดทำให้พระองค์วุ่นวาย”

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่ทรงวุ่นวายด้วยดุอฺาอ์ของผู้ใดที่อ้อนวอนขอต่อพระองค์จากฟากฟ้า โอ้พระผู้ทรงบันดาลให้ทุกสิ่งที่ได้ยิน ทรงได้ยินได้ฟังและมองเห็น โอ้พระผู้ซึ่งไม่เคยผิดพลาด แม้จะมีการร้องขออย่างมากมาย”

“โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตในยามที่ไม่มีสิ่งใดดำรงชีวิต โดยทรงดำรงอยู่ตลอดกาล และมั่นคงถาวร โอ้พระผู้ทรงดำรงอยู่สูงสุด แต่ซ่อนเร้นจากสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยรัศมีของพระองค์ โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แสงสว่างปรากฏออกมาท่ามกลางความมืด ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ด้วย

พระนามของพระองค์ผู้ทรงเอกะ ทรงเป็นหนึ่งเดียวแห่งการพึ่งพิง โปรดประทานความเจริญแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดและอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน”

จากนั้นท่าน(อฺ)ได้วิงวอนขอในสิ่งที่ท่าน(อฺ)ต้องการ(3)

(3) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 239.

๑๐๗

ดุอฺาอ์

บทที่ 4

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

“ข้าฯขอมอบหมายตนเองยังพระองค์ ผู้ซึ่งไม่ตาย และข้าฯขอพึ่งการพิทักษ์คุ้มครอง โดยผู้ทรงเกียรติและอำนาจ ข้าฯขอความช่วยเหลือต่อผู้ทรงเกรียงไกรและมีอำนาจครอบครองข้าฯ โอ้นายของข้าฯขอยอมจำนนต่อพระองค์ ข้าฯขอมอบหมายตนต่อพระองค์ ดังนั้นขออย่าทำลายข้าฯ

ข้าฯขอพึ่งร่มเงาของพระองค์ ดังนั้นจงอย่าผลักไสข้าฯ พระองค์เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงรู้สิ่งที่ข้าฯซ่อนเร้นและเปิดเผย ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในสายตาและที่ซ่อนไว้ในจิตใจ ดังนั้นได้โปรดยับยั้งข้าฯให้พ้นจากผู้อธรรมทั้งในหมู่ญิน และหมู่มนุษย์ทั้งมวลด้วยเถิด โอ้พระผู้ทรงกรุณาปราณี ได้โปรดปกปักรักษา

ข้าฯด้วยเถิด”(4)

 (4) มะฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 300.

๑๐๘

การตอบสนองต่อบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามที่ 7

บรรดาอิมาม(อฺ)ทั้งหลายนั้นต่างใช้ชีวิตทั้งหมดในฐานะผู้ถูกกดขี่ข่มเหง ตลอดระยะเวลาการปกครองของวงศ์อุมัยยะฮฺ คนทั้งหลายคาดคิดว่าในการปกครองของสมัยวงศ์อับบาซียะฮฺสิ่งนั้นคงจะบรรเทาเบาบางลงบ้างและภัยอันตรายคงจะยกเลิกจากพวกท่าน(อฺ)ไปบ้าง ซึ่งการคาดคิดของคนทั้งหลายไม่น่าจะผิดพลาด เพราะเชื้อสายของกลุ่มทั้งสองใกล้เคียงกัน ประกอบกับว่า ราชวงศ์อับบาซียะฮฺนั้นแอบอ้างดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอิมามอฺะลี(อฺ) ธงของท่านอะบูมุสลิมอัล-คุรอซานีที่ได้เข้าไปในเมือง

คุรอซานนั้น ดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอฺะลี(อฺ)

การเข้าไปในเมืองคุรอซานนั้นก็ไม่ใช่เพราะเหตุอื่นนอกจากเพื่อสนับสนุนลูกหลานของท่านอฺะลี(อฺ)

แต่สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ในเมื่อพวกอับบาซียะฮฺได้เริ่มติดตามอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ด้วยการลอบสังหาร คุมขัง ฯลฯ จนช่วงหนึ่งในการปกครองของพวกวงศ์นี้ ยังความรุนแรงแก่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ยิ่งกว่าพวกวงศ์อุมัยยะฮฺเสียอีก

บรรดาอิมาม(อฺ)จะไม่อ่านดุอฺาอ์เพื่อขอสาปแช่งบรรดาผู้อธรรม นอกจากในกรณีที่ความอธรรมถึงขีดสุดของความรุนแรงเท่านั้น เมื่อเราได้รู้ถึงเรื่องนี้จากท่าน(อฺ) เราก็สามารถประเมินสถานการณ์ที่รุนแรงอันเกิดขึ้นแก่ท่านอิมาม(อฺ)ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องขอดุอฺาอ์สาปแช่งบุคคลที่อธรรมต่อท่าน(อฺ)

๑๐๙

ในลำดับต่อไปนี้ เราจะเสนอเรื่องดุอฺาอ์ของท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ที่ได้รับการตอบสนองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

-1-

เจ้าของหนังสือ “นะษะรุต-ตุรรุล” ได้กล่าวไว้ว่า :

 ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ)นั้น มีคนแจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่า อัล-ฮาดี วางแผนการร้ายต่อท่าน(อฺ) ท่าน(อฺ)ได้พูดกับครอบครัวและผู้ติดตามว่า

“พวกท่านมีความคิดเห็นอะไรเสนอแนะแก่ฉันบ้าง?”

คนเหล่านั้นกล่าวว่า

“เราเห็นว่า ท่านควรออกห่างจากเขา และหลบซ่อนให้พ้นไปจากเขา เพราะความชั่วร้ายของเขานั้นจะไม่ให้ความปลอดภัยแก่ท่าน”

ท่าน(อฺ)ยิ้ม แล้วกล่าวว่า

“คนโฉดคิดว่าตัวเองจะสามารถเอาชนะพระผู้อภิบาลได้ แน่นอน

ผู้ชนะที่แท้จริงย่อมชนะอยู่แล้ว”

หลังจากนั้นท่าน(อฺ)ยกมือขึ้นขอดุอฺาอ์ แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มากมายเหลือเกินแล้ว สำหรับพวกศัตรูที่มุ่งหมายทำลายข้าฯ ข่มเหงรังแกข้าฯ โดยแผนการเข่นฆ่าด้วยพิษร้ายของมันจนดวงตาของข้าฯไม่เคยหลับไหล เนื่องจากคอยระแวดระไวต่อพวกมัน ครั้นเมื่อพระองค์ทรงเห็นถึงความอ่อนแอของข้าฯ ในการปกป้องโพยภัยและความเกินกำลังที่ข้าฯจะทานทนกับความเจ็บปวดได้ ขออำนาจและอานุภาพของพระองค์ได้โปรดสลัดสิ่งนั้นออกให้พ้นจากข้าฯโดยมิใช่ด้วยความสามารถและอานุภาพของข้าฯ และจงโยนเขาลงไปสู่หลุมลึกที่พวกเขาขุดล่อข้าฯให้ตกลงไปในโลกแห่งวัตถุของเขา จนห่างไกลจากความหวังในปรโลก

๑๑๐

 มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ที่ได้ทรงกำหนดความโปรดปรานของพระองค์ที่โปรยปรายแก่ข้าฯ และพระองค์มิได้ทรงปฏิเสธความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อข้าฯ

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดลงโทษเขาด้วยอำนาจของพระองค์ โปรดพลิกแผนการของเขาออกจากข้าฯ ด้วยอานุภาพของพระองค์ โปรดบันดาลภาระอันหนักหน่วงจนเกินกำลังให้แก่เขา

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดบันดาลให้ความเป็นศัตรูนั้นกลายเป็นยาบำบัดรักษาแก่ข้าฯ

และบันดาลให้ความแค้นของข้าฯที่มีต่อเขา เป็นการอภัย โปรดประทานแก่ดุอฺาอ์ของข้าฯ ด้วยการตอบรับ และโปรดรับรองคำอุทธรณ์ของข้าฯ และโปรดให้เขาสำนึกเพียงสักเล็กน้อยกับการตอบรับต่อบ่าวของพระองค์

ผู้ถูกกดขี่ แท้จริงพระองค์ทรงมีเกียรติอันยิ่งใหญ่”

ต่อจากนั้นสมาชิกครอบครัวก็ลาจากไป ครั้นต่อมาไม่นาน คนเหล่านั้นมาชุมนุมกันเพื่ออ่านจดหมายที่มีมาถึงท่านอิมามมูซา(อฺ)แจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่ามูซา อัล-ฮาดีนั้นได้ตายเสียแล้ว(1)

(1) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 222. มุฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 29.

๑๑๑

-2-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺ ได้กล่าวว่า : ท่านศอฮิบุ้ล ฟัฎลฺ บินร่อบีอฺเล่าให้เราทราบว่า : ในคืนหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าอยู่บนที่นอนพร้อมกับภรรยาของข้าพเจ้า พอตกกลางคืนข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังที่ประตูเมือง ข้าพเจ้าจึงลุกขึ้นยืนดู

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“อาจเป็นเสียงของลมพัดก็ได้”

แต่แล้วไม่ทันไร ประตูบ้านที่ข้าพเจ้าอยู่ขณะนั้นก็เปิดออก แล้วคนชื่อ ‘มัซรูร’ก็พรวดพลาดเข้ามา พลางกล่าวว่า

“จงยอมรับคอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด”

โดยมิได้ให้สลามแก่ข้าพเจ้าแต่ประการใด ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังมาก นึกในใจว่า ‘มัซรูร’ ผู้นี้เข้ามาโดยไม่ขออนุญาตและไม่ให้สลาม ฉะนั้นย่อมไม่มีจุดประสงค์อื่นนอกจากมาฆ่า ขณะนั้น

ข้าพเจ้ามีญุนุบอยู่จึงไม่ได้ถามอะไรเขา โดยให้เขาคอยข้าพเจ้าซึ่งต้องอาบน้ำชำระร่างกายเสียก่อน

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“จงยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อย่างหนักแน่น แล้วลุกออกไปเถิด”

ข้าพเจ้าจึงลุกออกไปสวมเสื้อผ้า แล้วออกมาพร้อมกับเขาจนถึงอาคาร ข้าพเจ้าได้กล่าว

สลามท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(คอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด) ที่กำลังเอนเอกเขนกอยู่ เขารับสลาม แล้วข้าพเจ้าก็นั่งลง

เขากล่าวว่า

“ท่านกลัวมากใช่ไหม ?”

๑๑๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ใช่แล้ว โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน”

เขาปล่อยให้ข้าพเจ้าพักสงบจิตใจอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า

“จงออกไปยังคุกของเรา แล้วปล่อยมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ออกมา พร้อมกับจ่ายเงินให้กับเขาสามหมื่นดิรฮัม และให้พาหนะอีกสามชุด และให้ออกเดินทางไปจากเรา ไปที่ไหนก็ได้ตามที่เขาปรารถนา”

ข้าพเจ้าพูดกับเขาว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะปล่อยตัวมูซา บินญะอฺฟัร กระนั้นหรือ ?”

เขาตอบว่า

“ใช่แล้ว”

ข้าพเจ้าทวนคำถามถึงสามครั้ง เขาก็ตอบว่า

“ใช่แล้ว ท่านต้องการจะให้ฉันผิดคำสัญญากระนั้นหรือ ?”

ข้าพเจ้าถามว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน คำสัญญาที่ว่านั้นหมายถึงอะไร ?”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ขณะที่ข้านอนอยู่บนเตียงแห่งนี้ มีสิงโตตัวหนึ่งขึ้นมาคร่อมบนหน้าอก และขย้ำตรงคอหอยของข้า มันเป็นสิงโตตัวใหญ่ชนิดที่ข้าไม่เคยเห็นมาก่อน และมันพูดกับข้าว่า

“ท่านกักขังมูซา กาซิมด้วยกับความอธรรม”

๑๑๓

ข้าจึงพูดกับมันว่า

“ข้าจะปล่อยตัวเขาและจะมอบสิ่งของให้เขา ข้าขอทำสัญญากับ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)

มันจึงออกไปจากหน้าอกของข้า ซึ่งแทบว่าชีวิตของข้าจะปลิดออกจากร่าง”

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺได้เล่าต่อไปว่า : แล้วข้าพเจ้าก็ออกจากที่นั่น และไปพบท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ซึ่งกำลังอยู่ในคุก ข้าพเจ้าเห็นท่าน(อฺ)นมาซ ข้าพเจ้าจึงนั่งรอจนท่าน(อฺ)ให้สลาม

หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้เข้าไป แล้วกล่าวว่า

“ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(ฮารูน รอชีด) ฝากสลามมายังท่าน และแจ้งให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งมา และข้าพเจ้าก็ได้นำคำสั่งนั้นมายังท่านแล้ว”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ถึงแม้ท่านจะถูกสั่งมาให้ทำอย่างอื่น ท่านก็จงกระทำเถิด”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“หามิได้ ขอสาบานต่อสิทธิของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่าข้าพเจ้ามิได้ถูกสั่งมาให้กระทำอย่างอื่นนอกจากสิ่งนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ไม่มีความจำเป็นอันใดสำหรับข้าพเจ้าในเรื่องการมอบเสื้อผ้า ทรัพย์สิน ยานพาหนะต่างๆในเมื่อสิ่งนั้นๆ เป็นสิทธิของประชาชาติอิสลาม”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านอย่าได้ปฏิเสธเลย”

๑๑๔

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านจงกระทำในสิ่งที่ท่านต้องการเถิด”

ข้าพเจ้าได้จับมือท่านอิมาม(อฺ) แล้วนำท่าน(อฺ)ออกจากคุก จากนั้นจึงได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โปรดบอกข้าพเจ้าซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ท่านได้รับความเอื้อเฟื้อจากชายคนนี้เป็นสิทธิของข้าพเจ้าเหนือท่านที่จะต้องแสดงความยินดีกับท่าน และได้รับรางวัลจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จากผลงานอันนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันได้ฝันเห็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในคืนวันพุธที่ผ่านมา ท่าน(ศ)บอกฉันว่า

“มูซา เอ๋ย เจ้าถูกกักขังด้วยกับความอธรรม”

ฉันตอบว่า

“ใช่แล้ว ยารอซูลุลลอฮฺ”

ท่าน(ศ)กล่าวอย่างนี้สามครั้ง แล้วท่าน(ศ)พูดอีกว่า

“หวังว่าสิ่งนี้ จะเป็นการทดสอบสำหรับพวกเจ้า และเป็นความสุขชั่วระยะหนึ่ง เจ้าจงถือศีลอดในพรุ่งนี้เช้า และจงถือติดต่อทั้งวันพฤหัสและวันศุกร์ ครั้นถึงเวลาละศีลอด เจ้าจงนมาซ 12ร็อกอะฮฺ ในทุกร็อกอะฮฺนั้น

 จงอ่านอัล-ฮัมดุ 1 ครั้ง และอ่านกุลฮุวัลลอฮุ อะฮัด 12 ครั้ง ครั้นทำ

นมาซครบ 4 ร็อกอะฮฺ

๑๑๕

แล้วจงซุญูด แล้วให้อ่านดุอฺาอ์บทหนึ่ง ดังนี้ :

“โอ้ผู้ทรงชัยชนะ ผู้ทรงได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งหมด ผู้ทรงให้ชีวิตแก่กระดูกที่มันผุกร่อน หลังจากความตาย ข้าฯขอต่อพระนามของพระองค์

พระผู้ทรงยิ่งใหญ่ ขอพระองค์ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัด บ่าวของพระองค์และศาสนทูตของพระองค์ และแด่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ และโปรดได้บันดาลให้ข้าฯ ได้รับความรอดพ้นโดยเร็วพลัน”

ฉันได้กระทำอย่างนั้น แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปเหมือนที่ท่านได้เห็น(2)

(2) มะดีนะตุล-มะอาญิช หน้า 394.

คำสดุดี จากบรรดานักปราชญ์ต่ออิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)

บรรดามุสลิมทั้งหลายถึงแม้จะมีมัซฮับแตกต่างกัน แต่ก็ลงความเห็นตรงกันในเรื่องของเกียรติยศของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ตลอดทั้งยอมรับในเรื่องวิชาการ ตำแหน่งอันสูงส่ง

และความมีสถานภาพที่ใกล้ชิดต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นักปราชญ์ทั้งหลายต่างได้บันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ในตำราของพวกเขาเกี่ยวกับฮะดีษต่าง ๆ ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวถึงท่าน(อฺ)เหล่านั้น มีการอธิบายกันถึงเกียรติประวัติ จริยธรรม ความเฉลียวฉลาดและความรอบรู้ของท่าน(อฺ)เหล่านั้น

๑๑๖

ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ผนวกบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ควบคู่กับอัล-กุรอาน เช่น ในฮะดีษที่ว่าด้วย

 ‘อัษ-ษะก่อลัยนฺ’ (สิ่งสำคัญสองประการ) และที่อุปมาว่า

บุคคลเหล่านั้นเหมือนเรือของท่านนบีนูฮฺ(อฺ) ถ้าผู้ใดขึ้นเรือก็จะปลอดภัย ผู้ใดผลักไสก็จะพินาศล่มจม และเปรียบว่าคนเหล่านั้นเหมือนประตูอัล-ฮิฏเฏาะฮฺ ที่ถ้าหากใครเข้าไปก็จะปลอดภัย

อีกทั้งมีฮะดีษมากมายที่รายงานว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวถึงเกียรติคุณของท่าน(อฺ)เหล่านั้นไว้

ในบทนี้เราจะเสนอคำสดุดีของบุคคลต่างๆ ที่มีต่อท่านอิมามมูซา

 กาซิม(อฺ) ดังต่อไปนี้

1. ท่านอิมามศอดิก (อฺ) ได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิมเป็นคนรอบรู้ในกฎเกณฑ์ มีความเข้าใจจริงและรู้จักอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายจำเป็น ซึ่งเรื่องนั้นๆ คนทั้งหลายขัดแย้งกันในกิจการศาสนา เขาเป็นคนมีจริยธรรมที่ดีงาม เป็นเพื่อนบ้านที่ดี และเป็นประตูบานหนึ่งในหลายๆ ประตูที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปิดให้(1)

(1) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 234.

๑๑๗

2. ฮารูน รอชีดได้กล่าวว่า:

สำหรับมูซา กาซิมนั้น เขาคือประมุขทางศาสนาของพวกตระกูลฮาซิม(2)

(2) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 92.

เขายังได้พูดกับมะอ์มูน ผู้เป็นบุตรชายของเขาอีกว่า

“มูซา ผู้นี้คืออิมามของมนุษยชาติ เป็นข้อพิสูจน์หนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อมวลมนุษย์ และเป็นค่อลีฟะฮฺของพระองค์ในหมู่ปวงบ่าวทั้งหลายของพระองค์”(3)

(3) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 กอฟ เล่ม 3 หน้า 51.

เขาได้กล่าวต่อไปอีกว่า

“โอ้ลูกเอ๋ย มูซา กาซิมผู้นี้เป็นทายาททางความรู้วิชาการของบรรดานบี ถ้าเจ้าต้องการความรู้ที่ถูกต้อง ก็จงไปเอาจากเขาผู้นี้แหละ”(4)

(4) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 383. อะมาลี ของเชค ศ็อดดูก 307.

๑๑๘

3. มะอ์มูน กษัตริย์ในราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้กล่าวถึงอิมามมูซา กาซิม (อฺ) ว่า:

ท่านเป็นคนเคร่งครัดในการทำอิบาดะฮฺอย่างยิ่ง ใบหน้าและจมูกของท่านมีแต่การกราบพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น(5)

(5) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 93.

4. ท่านอีซา บินญะอฺฟัรได้เขียนจดหมายไปหาฮารูน รอชีดว่า:

ตลอดเวลาที่ท่านมูซา กาซิมอยู่ในคุกอย่างยาวนานนั้น ฉันไม่เคยเห็นเขาว่างเว้นจากการอิบาดะฮฺเลย ฉันได้จัดคนให้คอยฟังการขอดุอฺาอ์ของเขา ปรากฏว่าเขาไม่เคยขอดุอฺาอ์สาปแช่งท่านและฉันเลย และไม่เคยกล่าวถึงเราในทางที่ไม่ดี และไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง นอกจากการอภัยและความเมตตา(6)

(6) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก็อฟ 3/71.

5. ท่านอะบูอฺะลี อัล-คิลาล (นักปราชญ์มัซฮับฮันบะลี) ได้กล่าวว่า:

เมื่อฉันกลุ้มใจในเรื่องใด ฉันจะไปยังสุสานของท่านอิมามมูซา กาซิมเสมอเพื่อขอการตะวัซซุล แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงให้ความสะดวกในกิจการที่ฉันอยากได้เสมอ(7)

(7) ตารีค บัฆดาด เล่ม 1 หน้า 120.

๑๑๙

6. อิมามชาฟิอีได้กล่าวว่า:

สุสานของอิมามมูซา กาซิมคือสถานที่ที่มีความประเสริฐสูงส่งยิ่ง”(8)

(8) ตุฮฺฟะตุล-อาลิม เล่ม 2 หน้า 22.

7. ท่านอะบูฮาติมได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คือผู้ที่น่าเชื่อถือในด้านรายงานฮะดีษ(ษิกเกาะฮฺ) และสัจจริง และเป็นผู้นำ(อิมาม)ของประชาชาติมุสลิมทั้งหลาย(9)

 (9) ตะฮุชีบุต-ตะฮฺชีบ เล่ม 10 หน้า 240.

8. ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บินอัล-เญาซีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมได้ชื่อว่าเป็นบ่าวที่มีคุณธรรม เพราะการอิบาดะฮฺ การอิจญ์ติฮาด และดำรงนมาซในยามกลางคืน และท่านเป็นคนที่มีเกียรติที่สุภาพ เมื่อท่านได้รับข่าวคราวว่า ใครกล่าวร้ายท่าน ท่านจะตอบแทนคนนั้นด้วยทรัพย์สินเสมอ(10)

(10) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 หน้า 103.

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

และยังมีระดับขั้นอื่นๆ ของการตั้งภาคีในการเคารพภักดี ซึ่งศาสนาอิสลามมีความเชื่อว่า การหลงใหลในโลก,ทรัพย์สมบัติ, ลาภยศถาบรรดาศักดิ์ และอารมณ์ใฝ่ต่ำของมนุษย์ ล้วนเป็นระดับขั้นของการตั้งภาคีในการเคารพภักดีทั้งสิ้น

อัล กุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่า บุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามอารมณ์ของตนเอง แน่นอนที่สุดเขาคือ ผู้ที่เคารพบูชาอารมณ์ของเขา

นี่คือ การตั้งภาคีในระดับขั้นที่ซ่อนเร้นอยู่ ดังนั้น การตั้งภาคีประเภทนี้ มิได้มีอยู่ในอิสลามเท่านั้น แต่ยังได้รวมถึงศาสนาอื่นอีกด้วย

การตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม ในระดับขั้นที่ซ่อนเร้น เช่น การตั้งภาคีในการมอบหมาย หมายถึง การที่มนุษย์เชื่อในความเป็นอิสระของธรรมชาติโดยยึดถือเอาสิ่งนั้นเป็นที่พักพิงและมอบหมายการงานต่อสิ่งนั้น

การตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม  หมายถึง การที่มนุษย์ยอมจำนนต่อผู้ที่ตั้งภาคีและปฏิบัติตามคำสั่งของเขา

การตั้งภาคีในการให้ความรัก หมายถึง การให้ความรักในสิ่งที่มิได้เป็นพระเจ้า

จะสรุปได้ว่า การตั้งภาคีมีด้วยกัน หลายระดับขั้น คือ ระดับขั้นที่เปิดเผย และที่ซ่อนเร้น ส่วนการตั้งภาคีในระดับขั้นที่ซ่อนเร้น ครอบคลุมในทุกศาสนา และกลุ่มชนที่มีการตั้งภาคีอีกด้วย

๒๐๑

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

การตั้งภาคี(ชิริก) : Polytheism

ชิริก ซาตีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในอาตมัน

ชิริก ซิฟาตีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในคุณลักษณะ

ชิริก อัฟอาลีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในการกระทำ

ชิริก คอลิกียะฮ์ หมายถึง การตั้งภาคีในการสร้าง

ชิริก รุบูบียะฮ์ หมายถึง การตั้งภาคีในการเป็นะผู้อภิบาลและบริหารกิจการ

ชิริก ญะลีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในรูปแบบที่เปิดเผย : Patent polytheism

ชิริก เคาะฟีย์ หมายถึง การตั้งภาคีในรูปแบบที่ซ่อนเร้น :

Hidden polytheism

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ชิรก์(การตั้งภาคี)เหมือนกันกับความเป็นเอกานุภาพเป็นศัพท์วิชาการทางศาสนาและการอธิบายรายละเอียดของมัน เป็นหน้าที่ของเทววิทยาอิสลาม นอกเหนือจากนี้ ระหว่างคำสองคำคือ  การตั้งภาคีกับความเป็นเอกานุภาพมีความหมายที่แตกต่างกัน และมีความหมายที่ตรงกันข้าม เพราะสาเหตุนี้ การอธิบายในการตั้งภาคีช่วยทำให้เข้าใจในความเป็นเอกานุภาพได้มากยิ่งขึ้น

๒.การตั้งภาคีในอาตมัน ตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน หมายถึง การมีความเชื่อว่าพระเจ้ามีส่วนประกอบ มีรูปร่าง และหน้าตา และการมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีหลายองค์

๒๐๒

๓.การตั้งภาคีในคุณลักษณะ ตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ หมายถึง การมีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้ามีคุณลักษณะที่แตกต่างไปจากอาตมันของพระองค์

๔.การตั้งภาคีในการกระทำ ก็ตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพในการกระทำ ซึ่งถูกแบ่งออกด้วยกันหลายประเภท เช่น การตั้งภาคีในการสร้าง,การตั้งภาคีในการบริหาร และการตั้งภาคีในการกำหนดบทบัญญัติ

๕.การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้าและการตั้งภาคีในการเคารพภักดี เป็นการตั้งภาคีที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น การเคารพบูชารูปปั้น ดวงดาว ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

๖.การตั้งภาคีในการเคารพภักดี นอกจากมีระดับขั้นที่เปิดเผยแล้ว ยังมีระดับขั้นที่ซ่อนเร้น เช่น การหลงใหลในโลก ,ตำแหน่งลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง และการบูชาอารมณ์ใฝ่ต่ำของมนุษย์

๒๐๓

   บทที่ ๑๑

   ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการตั้งภาคี


ตอนที่ สอง

   ความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคีในประวัติศาสตร์

    มีคำถามหนึ่งเกิดขึ้นในเรื่องของความเป็นเอกานุภาพ และการตั้งภาคี โดยในช่วงแรกของประวัติศาสตร์ ได้บันทึกไว้ว่า เริ่มแรก มนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า มาแต่ดั้งเดิม แล้วหลังจากนั้น ก็มีการตั้งภาคีเกิดขึ้นมาทีหลังใช่หรือไม่? หมายความว่า สาเหตุที่มนุษย์มีการตั้งภาคีต่อพระเจ้า ก็ด้วยกับการเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ และความสมบูรณ์ของสติปัญญา หรือว่ายังมีสาเหตุอื่น ที่ทำให้มนุษย์มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพได้หรือ? 

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ นักวิชาการมีความคิดเห็นอยู่ สองทัศนะด้วยกัน  ดังนี้

๑.บางกลุ่มของนักวิชาการมีความเชื่อว่า ความเป็นเอกานุภาพมีมาแต่เดิม และเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี

๒.ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง พวกมีความเชื่อในประเภทต่างๆของการตั้งภาคี และกล่าวว่า การตั้งภาคี เกิดขึ้นมาก่อนความเป็นเอกานุภาพ ด้วยกัยเหตุผลที่บันทึกในประวัติศาสตร์

๒๐๔

สำหรับคำตอบที่ชัดเจนของคำถามนี้ ก็คือ เราต้องมาตรวจสอบและวิเคราะห์ใน ๒ วิธีการ ดังนี้

๑.วิธีการทางประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานยืนยันและอ้างอิง

๒.วิธีการทางเทววิทยาอิสลาม โดยการนำเอาเหตุและผลของศาสนามายืนยันและอ้างอิง

การวิเคราะห์ในวิธีการแรก กล่าวคือ วิธีการทางประวัติศาสตร์ มิได้ถือว่า เป็นประเด็นหลักของเทววิทยาอิสลาม และก็มิได้มีหน้าที่ในการอธิบายวิธีการนี้ เแต่สามารถที่จะศึกษาและวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆของประวัติศาสตร์ในการมีมาของศาสนาและยังใช้เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยทั่วไป ส่วนวิธีการทางเทววิทยาอิสลาม คือ วิธีการที่เกิดจากการวิเคราะห์และตรวจสอบในเทววิทยาอิสลาม และได้ข้อสรุปว่า ศาสนาอิสลามได้ยอมรับในทัศนะแรกที่กล่าวว่า ความเป็นเอกานุภาพมีมาแต่เดิม และเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี ซึ่งในประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจน และทัศนะนี้ยังได้กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ของการกำเนิดมนุษย์นั้น เกิดขึ้นมาพร้อมกับความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า แต่หลังจากนั้น ด้วยกับการหันเหทางความคิดของมนุษย์ จึงเป็นบ่อเกิดให้มนุษย์มีการตั้งภาคี และออกห่างจากความเป็นเอกะของพระองค์

๒๐๕

ตัวอย่างที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ก็คือ สิ่งถูกสร้างชิ้นแรกของพระเจ้าในโลกที่เรียกกันว่า มนุษย์ นั่นคือ ศาสดาอาดัม และเมื่อพระเจ้าได้สร้างเขาให้เป็นมนุษย์คนแรกของโลกในหน้าแผ่นดิน และได้แต่งตั้งให้เป็นศาสนทูตเพื่อเชิญชวนมนุษย์ชาติมาสู่ความเป็นเอกะของพระองค์ ดังนั้น ความเชื่อในความเป็นเอกะได้เกิดขึ้นมาพร้อมกับการถือกำเนิดของมนุษย์คนแรก แต่ทว่าหลังจากการจากไปของศาสดาอาดัม มนุษย์ทั้งหลาย เนื่องด้วยเหตุผลทางสังคม และการเกิดปัญหาภายใน จึงเป็นสาเหตุทำให้พวกเขาออกห่างจากความเป็นเอกะ และได้ยึดถือเอาสิ่งอื่นมาเป็นพระผู้เป็นเจ้า และมีการตั้งภาคีเกิดขึ้น จนกระทั่งในปัจจุบันก็มีการตั้งภาคีเกิดขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน และเหตุผลของการแต่งตั้งบรรดาศาสดาก็เพราะเรื่องนี้นั่นเอง กล่าวคือ การต่อสู้กับการตั้งภาคีทั้งหลายและการเชิญชวนมนุษย์มาสู่ความเป็นเอกะ ถือว่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญของบรรดาศาสดา และในปัจจุบัน อิสลามซึ่ง เป็นศาสนาสุดท้าย ก็ได้รับเอาอุดมการณ์นี้ไว้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งอัลกุรอาน เป็นคัมภีร์อันสุดท้ายได้กล่าวอธิบายในรายละเอียดของความเป็นเอกานุภาพ ไม่ว่าในทฤษฎีหรือในการปฏิบัติ และนี่คือ ความหมายในประวัติศาสตร์ของ ความเป็นเอกานุภาพและการตั้งภาคี

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การยืนยันว่าความเป็นเอกานุภาพเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี ด้วยกับเหตุผลความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในการรู้จักถึงพระเจ้า ซึ่งการอธิบายเหตุผลนี้ได้กล่าวไปแล้ว แสดงว่า ทัศนะนี้มีความถูกต้อง และไม่สามารถกล่าวว่า ในระยะแรก มนุษย์เป็นผู้ตั้งภาคี หลังจากนั้น จะด้วยกับเหตุผลใดก็ตาม จึงทำให้เขามีความเชื่อในความเป็นเอกะ เช่น การพัฒนาการและการเจริญก้าวหน้าทางสติปัญญา เป็นต้น

๒๐๖

 ดังนั้น ความคิดในความเป็นเอกานุภาพ ก็เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของเขา ซึ่งความคิดนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง และมีความขัดแย้งกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมในความเชื่อของมนุษย์

ด้วยเหตุนี้ ความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมในความเป็นเอกานุภาพ ก็คือ การมีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพมิได้มีขอบเขตจำกัดเฉพาะในประวัติศาสตร์ของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งในทัศนะของประวัติศาสตร์กล่าวว่า ความเป็นเอกานุภาพเกิดขึ้นมาก่อนการตั้งภาคี

คำถามหนึ่งที่เกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพและการตั้งภาคีในประวัติศาสตร์ ก็คือว่า นักโบราณคดีได้กล่าวว่า ก่อนที่มนุษยชาติจะมีความเชื่อในหลักความเป็นเอกานุภาพ ได้ค้นพบว่า พวกเขาเหล่านั้น มีความเชื่อในการตั้งภาคี ที่เห็นจากรูปปั้นของเจว็ดทั้งหลาย และภาพเขียนต่างๆ บ่งบอกถึง มีกลุ่มชนที่มีการตั้งภาคีต่อพระเจ้า  ในขณะเดียวกัน การค้นพบในความเชื่อในความเป็นเอกะนั้น มีจำนวนน้อยมาก แล้วจะกล่าวได้ว่า มีแต่ดั้งเดิมว่า มนุษย์เป็นผู้มีภาคี และการมีความเชื่อในความเป็นเอกะได้เกิดขึ้น หลังจากที่มีการตั้งภาคีใช่หรือไม่?

สำหรับคำตอบของคำถามนี้ เราต้องมาดูในความแตกต่างของการใช้ชีวิตของพวกตั้งภาคี กับมนุษย์ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ

การตั้งภาคีมีความสัมพันธ์กับวัตถุและสิ่งที่เป็นวัตถุ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ส่วนมากของการบูชาเทวรูป ล้วนเป็นสิ่งที่เป็นวัตถุทั้งสิ้น เช่น การปั้นเทวรูปจากหิน และไม้  เป็นต้น

๒๐๗

ส่วนการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้านั้น มิได้ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นวัตถุ แต่การใช้ชีวิตของเขาเต็มไปด้วยกับสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสได้ และเขาได้ทำการเคารพภักดีต่อพระเป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ดังนั้น ไม่อาจจะกล่าวว่า การค้นพบของนักโบราณคดี บ่งบอกถึง ความเชื่อในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้านั้น มิได้มีอยู่ในมนุษย์ทั้งหลายนอกเหนือจาก เหตุผลทางประวัติศาสตร์ ยังมีเหตุผลทางศาสนาที่ได้กล่าวว่า ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้บันทึกไว้ว่า จำนวนของพวกตั้งภาคีนั้น มีมากกว่ามนุษย์ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ เพราะว่า พวกตั้งภาคีมิได้ยอมรับคำเชิญชวนของบรรดาศาสดา

อัล กุรอานกล่าวว่า เป้าหมายของบรรดาศาสดา คือ การเชิญชวนมาสู่ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า

“และแน่นอนที่สุด เราได้แต่งตั้งบรรดาศาสนทูตทั้งหลายในทุกประชาชาติ เพื่อเชิญชวนมาสู่การเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว” (บทอัลนะหฺลฺ โองการที่ ๓๖)

ในอีกโองการหนึ่งกล่าวว่า การเย้ยหยันต่อบรรดาศาสดาจากประชาชาติของพวกเขา

“ ไม่มีศาสนทูตใดมายังพวกเขา เว้นแต่พวกเขาจะต้องเย้ยหยัน”

(บทอัลฮิจร์ โองการที่ ๑๑ และบทยาซีน โองการที่ ๓๐)

จากโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน แสดงให้เห็นว่า จำนวนของพวกตั้งภาคีนั้น มีมากกว่าผู้ที่ศรัทธาในความเป็นเอกานุภาพ ไม่ได้หมายความว่า การตั้งภาคีนั้นมีมาก่อนความเป็นเอกานุภาพ และก็มิได้มีความขัดแย้งกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของความเป็นเอกานุภาพ

๒๐๘

   สาเหตุและองค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีการตั้งภาคี

    ได้กล่าวแล้วว่า ความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพได้ผสมผสานกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เริ่มต้นมาพร้อมกับความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพ

ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วอะไรเป็นสาเหตุ ให้มนุษย์ได้ออกห่างจากความเป็นสัญขาตญาณดั้งเดิมและไปสู่การตั้งภาคี?

สำหรับคำตอบ ก็คือ สาเหตุที่สำคัญของการมีภาคีต่อพระเจ้า มีดังนี้

๑.มนุษย์ประกอบด้วยกับ สอง องค์ประกอบ คือ วัตถุ และจิตวิญญาณ ในสภาพเช่นนี้ การถือกำเนิดของเขาในโลกแห่งวัตถุและด้วยกับการคุ้นเคยในสิ่งที่เป็นวัตถุ จึงเป็นสาเหตุทำให้เขามีความผูกพันธ์กับสิ่งที่เป็นวัตถุ และทำให้เขาลืมนึกถึงสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ

ด้วยเหตุนี้ สาเหตุที่ทำให้เขามีความรู้สึกว่า ต้องเคารพภักดีต่อพระเจ้าที่สามารถสัมผัสได้ ซึ่งเห็นได้ว่า ในระยะแรก พวกเขาได้ปั้นก้อนหิน และก้อนดิน หลังจากนั้น ก็ปั้นเป็นเจว็ด และนำเอาไปเคารพสักการะบูชา

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สาเหตุของการตั้งภาคีของมนุษย์ เพราะว่า สัญชาตญาณดั้งเดิมที่มีอยู่ในการเคารพภักดี และด้วยความเคยชินและมีความผูกพันธ์กับสิ่งที่เป็นวัตถุ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เขาได้เคารพบูชาในสิ่งที่เป็นวัตถุ

๒๐๙

๒.อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการตั้งภาคีเกิดขึ้น การเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมากมายในโลก เมื่อมนุษย์ได้ลืมตามาดูโลก สิ่งที่เขามองเห็น เช่น ภูเขา ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวนพเคราะห์ ต้นไม้ สิงสาราสัตว์ และสิ่งอื่น โดยพวกเขาก็คิดว่า สิ่งต่างเหล่านั้น เป็นพระเจ้า

ในบางครั้งได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ทั้งหลาย จึงเป็นสาเหตุให้บางกลุ่มชนมีความเชื่อว่า บางปรากฏการณ์เป็นผู้สร้างและบริหารการงานอยู่เหนือการสร้างของผู้สร้างอื่น เช่น พวกเขาคิดว่า พระเจ้าแห่งฝนกับพระเจ้าแห่งพายุมีความแตกต่างกัน และพระเจ้าทั้งสองมีความแตกต่างกับพระเจ้าแห่งทะเล ดังนั้น ความเชื่อในพระเจ้าแห่งความดีและความชั่ว ก็มาจากความเชื่อนี้

๓.ความไม่รู้ในแก่นแท้ของสิ่งที่เป็นวัตถุและความสัมพันธ์ทางธรรมชาติของมัน เป็นสาเหตุให้เกิดการตั้งภาคี

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ความเชื่อของกลุ่มชนโบราณในการบูชาดวงดาว ในขณะที่เวลานั้นยังไม่มีการพัฒนาการทางดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยพวกเขามีความเชื่อว่า การเกิดขึ้นของดวงดาวส่งผลกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และมีผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เช่น พวกเขาเห็นว่า แสงจากดวงอาทิตย์มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ ความร้อนของดวงอาทิตย์เป็นสิ่งที่ต้นไม้ต้องการ และด้วยสาเหตุของการไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทั้งหลายและแก่นแท้ของดาวนพเคราะห์

๒๑๐

 จึงเป็นสาเหตุให้คิดว่า ดาวนพเคราะห์เป็นพระเจ้าผู้บริหารต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องทำการเคารพภักดีหรือในยามที่จำเป็นต้องเชือดสัตว์พลีให้แก่พระเจ้าผู้บริหาร เพื่อที่จะทำให้อำนาจมาสู่โลกแห่งธรรมชาติ

๔. การเข้าใจผิดพลาดในความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า ด้วยกับธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ในการเคารพภักดีต่อพระเจ้าผู้ทรงสูงส่งที่ไม่ได้เป็นวัตถุ ด้วยเหตุนี้ บางกลุ่มชนมีความคิดว่า ในขณะที่ไม่อาจสัมผัสกับพระเจ้าหรือมองเห็นได้ เราไม่สามารถที่จะสร้างความสัมพันธ์กับพระองค์ อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า มนุษย์มีความต้องการที่จะติดต่อกับพระเจ้าบอกกับพระองค์ในสิ่งที่กระทำผิด ทำให้ความกริ้วโกรธของพระองค์เป็นความพึงพอพระทัย และด้วยกับไม่รู้จักในแนวทางในการติดต่อสื่อสารกับพระองค์ เขาได้สร้างสื่อเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างเขากับพระองค์ สิ่งที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์และพระเจ้า เพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารกับพระองค์และเคารพภักดี

๕.อีกเหตุผลหนึ่งทางสังคม คือ การคุ้มครองผู้ที่ตั้งภาคีของมหาอำนาจและเหล่าผู้ปกครองที่ต้องการขยายขอบเขตอาณาจักรการปกครองของตน ในอีกมุมหนึ่ง คำสั่งสอนที่มาจากพระเจ้าองค์เดียว

ถ้าหากว่ามีผลต่อสังคมทั้งการกระทำส่วนบุคคลและส่วนรวม จะเห็นได้ว่า เป็นอันตรายที่ยิ่งใหญ่ ถ้าหากว่ามีการปกครองตามความเป็นเอกานุภาพจะไม่มีการศิโรราบต่อซาตานมารร้ายอย่างแน่นอน ดั่งในอัลกุรอานได้กล่าวว่า ในบทอัลนะห์ลิ โองการที่

“แน่นอนที่สุด เราได้ส่งศาสนทูตมาทุกประชาชาติ เพื่อที่จะให้ทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ และออกห่างจากซาตานมารร้าย”

๒๑๑

ด้วยเหตุนี้ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่หวังในตำแหน่งหน้าที่ และเช่นกันบรรดาผู้ปกครองทั้งหลายเพื่อที่ต้องการให้ผู้อื่นอยู่ในการปกครองของตน ยอมแม้กระทั่งสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้า ดั่งในประวัติศาสตร์ได้บันทืกไว้ชัดเจน

   การตั้งภาคีกับความบาป

    การอธิบายในรายละเอียดทั้งหมดของผลกระทบการตั้งภาคีที่มีต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ต้องอาศัยเวลานานในการอธิบาย แต่จะกล่าวว่า จุดกำเนิดของบาปทั้งหลายมาจากการตั้งภาคีต่อพระเจ้า

ดังนั้น ความบาป มีความหมายว่า การที่มนุษย์ได้ปฏิบัติคำสั่งสอนของสิ่งที่ไม่ได้เป็นพระเจ้า และคำสั่งสอนเหล่านั้นไม่ตรงกันกับจุดประสงค์ของพระองค์ สิ่งดังกล่าวอาจจะเป็นซาตานมารร้าย ,อารมณ์ของมนุษย์หรือแม้แต่ตัวของมนุษย์ด้วยกันเอง เพราะฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของความบาป คือ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระเจ้า ในขณะที่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสิ่งที่ไม่ได้มีความเป็นพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า รากฐานของความบาปทั้งหลายมีที่มาจากการตั้งภาคีในการปฏิบัติตาม ดังนั้น บุคคลใดก็ตามที่ปฏิบัติตามความเป็นเอกานุภาพและคำสั่งสอนของพระเจ้าองค์เดียว เขาจะไม่เป็นผู้ที่ทำบาปเลย ดั่งที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การตั้งภาคีเป็นบ่อเกิดของความบาปทั้งหลาย ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นเอกานุภาพเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ออกห่างจากความบาปไปสู่การรู้จักพระเจ้า

๒๑๒

ท่านอัลลามะ ตอบาตอบาอี ได้อธิบายว่า “รากฐานของการปฏิเสธทั้งหลายก็มาจากการตั้งภาคี ดังนั้น มนุษย์คนใดที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน แน่นอนที่สุด เขาคือ ผู้ตั้งภาคีต่อพระองค์ เพราะว่าธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ได้ยอมรับในการมีอยู่ของพระเจ้า ดังนั้น การปฏิเสธการมีอยู่ของพระองค์คือ การตั้งภาคีในความเป็นพระเจ้า และในการสร้าง” 

[๑] (อัลมีซาน เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๗๙)

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ทัศนะของเทววิทยาอิสลามกล่าวว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษย์มาพร้อมกับความเป็นเอกานุภาพแต่หลังจากนั้นความเชื่อการตั้งภาคีก็เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของเขา ตัวอย่างที่ชัดเจน ศาสดาอาดัม เป็นมนุษย์คนแรกในหน้าแผ่นดิน และเป็นผู้ที่มีความเชื่อในความเป็นเอกานุภาพแสดงให้เห็นถึง ความเป็นเอกานุภาพเกิดขึ้นก่อนการตั้งภาคี

๒.ความเป็นเอกานุภาพและการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว มีความแตกต่างกับการตั้งภาคีและการบูชาเจว็ด และการค้นพบของนักโบราณคดีบ่งบอกถึง การมีความเชื่อในการตั้งภาคีในกลุ่มชนก่อนหน้านี้

๓.การมีความรักและผูกพันธ์ของมนุษย์ในโลกธรรมชาติ คือ สาเหตุหนึ่งของการตั้งภาคีต่อพระเจ้า เพราะว่า เขาต้องการเคารพภักดีต่อสิ่งที่สัมผัสได้เท่านั้น

๒๑๓

๔.การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติก็มีผลต่อการตั้งภาคีเช่นกัน มนุษย์กลุ่มหนึ่งเมื่อได้เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ทำให้คิดว่า สิ่งนั้นเป็นพระเจ้ามีอำนาจสูงสุด

๕.การไม่รู้ในแก่นแท้ของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นสาเหตุให้มีการตั้งภาคี ตัวอย่างเช่น การไม่รู้ของกลุ่มชนหนึ่งในความเป็นจริงของหมู่ดาวนพเคราะห์และความสัมพันธ์ของมันต่อโลก จึงเป็นเหตุให้คิดว่า ดวงอาทิตย์ ,ดวงจันทร์และดวงดาวทั้งหลายมีความเป็นพระเจ้า

๖.การเข้าใจที่ผิดพลาดระหว่างความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพระเจ้า เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการตั้งภาคี มนุษย์บางกลุ่มคิดว่า เขาไม่มีความสามารถที่จะสัมผัสหรือมองเห็นพระเจ้า ดังนั้น เขาได้สร้างสื่อกลางเพื่อใช้ในการสื่อสารกับพระองค์ และด้วยกับความคิดที่ผิดพลาดของเขา ทำให้คิดว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นพระเจ้าอย่างแท้จริง

๗.การมีความเชื่อในการตั้งภาคี เป็นเป้าหมายหนึ่งของผู้ปกครองที่อธรรม พวกเขาคุ้มครองต่อผู้ที่มีการตั้งภาคี เพื่อที่จะให้อำนาจของเขามีตลอดไป

๘.ความหมายที่แท้จริงของ ความบาป คือ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระเจ้า แต่เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของซาตานมารร้าย ,อารมณ์ของมนุษย์,และการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้น การตั้งภาคีเป็น รากฐานของความบาปทั้งหลาย

๒๑๔

   บทที่ ๑๒

   การตั้งภาคีในทัศนะอัล กุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานได้กล่าวถึงหลักเตาฮีด และการตั้งภาคีไว้อย่างชัดเจน และกล่าวว่า การตั้งภาคี ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

ซึ่งจะขอกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการตั้งภาคีในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะของอิสลาม ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.การปฏิเสธการมีอยู่ของการตั้งภาคีในทุกประเภท

อัล กุรอานได้ปฏิเสธการมีอยู่ของการตั้งภาคีในทุกประเภทอย่างชัดเจน

 “โอ้มุฮัมมัด จงกล่าวเถิดว่า แท้จริงการนมาซของฉันและการอิบาดะฮ์ของฉันและการมีชีวิตของฉันและการตายของฉัน เพื่ออัลลอฮ์ พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักวาล”

“ไม่มีการตั้งภาคีใดแด่พระองค์และด้วยกับสิ่งนั้น ข้าพระองค์ถูกรับสั่ง และข้าพระองค์เป็นคนแรกในหมู่ผู้สวามิภักดิ์ทั้งหลาย” (บทอัลอันอาม โองการที่ ๑๖๒-๑๖๓)

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านศาสดามุฮัมมัดได้ถูกสั่งให้มีความบริสุทธิ์ใจต่อพระเจ้า และประกาศว่า ไม่มีการตั้งภาคีใดแด่พระองค์ ด้วยคำว่า ไม่มีการตั้งภาคีใดต่อพระองค์ บ่งบอกถึง การปฏิเสธการตั้งภาคีในทุกประเภท ไม่ว่า การตั้งภาคีในอาตมัน ,การกระทำ และในการเคารพภักดี

และยังมีอีกหลายโองการที่กล่าวถึง การปฏิเสธการตั้งภาคีทุกประเภท เช่น

 “และจงกล่าวเถิด มุฮัมมัด การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ผู้ซึ่งไม่มีบุตรและไม่มีภาคีใดในการมีอำนาจร่วมกับพระองค์” (บทอัลอิสรออ์ โองการที่ ๑๑๑ )

๒๑๕

๒.การตั้งภาคีเป็นความเชื่อที่ไม่มีมูลสารและรากฐาน  ในทัศนะของอัล กุรอานได้กล่าวถึง การตั้งภาคีว่า เป็นความเชื่อที่ไม่มีรากฐาน ซึ่งมีโองการต่างมากมายที่กล่าวถึง ดังตัวอย่าง

“เราจะใส่ความกลัวเข้าไปในหัวใจของบรรดาผู้ปฏิเสธความศรัทธา เนื่องจากที่พวกเขาได้มีภาคีต่ออัลลอฮ์ ซึ่งสิ่งที่พระองค์ไม่ได้ประทานหลักฐานใดๆมายืนยัน” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๕๑ )

 “และพวกเขาทำการเคารพภักดีสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์มิได้ประทานให้เป็นหลักฐาน”

(บทอัลฮัจญ์ โองการที่ ๗๑)

๓.การตั้งภาคีเป็นบาปใหญ่ที่อภัยให้ไม่ได้

บางโองการของอัล กุรอานได้กล่าวถึง การตั้งภาคี เป็นบาปหนึ่งที่ไม่สามารถอภัยโทษให้ได้ เช่น

 “แท้จริงอัลลอฮ์ จะไม่ทรงอภัยโทษต่อผู้ที่ตั้งภาคีแด่พระองค์ และพระองค์ทรงอภัยโทษจากสิ่งอื่น ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และบุคคลใดก็ตามที่มีการตั้งภาคีแด่พระองค์ แน่นอนที่สุด เขาได้กระทำบาปอันยิ่งใหญ่”

(บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๔๘ )

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า การตั้งภาคี เป็นบาปอันหนึ่ง เมื่อได้เปรียบเทียบกับบาปอื่น จะเห็นได้ว่า การตั้งภาคีมีน้ำหนักมากกว่าบาปอื่นเสียอีก

๔.ผลตอบแทนของการตั้งภาคี

อัล กุรอานได้กล่าวอย่างชัดเจนถึง ผู้ที่มีการตั้งภาคีและได้เตือนพวกเขาในการได้รับผลตอบแทนจากการมีภาคีต่อพระเจ้า

๒๑๖

ผลตอบแทนหนึ่งของการมีภาคี คือ การทำลายความดีที่ได้กระทำ ดังนั้น คนใดก็ตามที่ตลอดชีวิตของเขา ทำการเคารพภักดีต่อพระเจ้า และกระทำความดีมาโดยตลอด แต่ในบั้นปลายของเขา เป็นหนึ่งในผู้มีภาคีต่อพระเจ้า แน่นอนที่สุด การกระทำที่เขาทำมาโดยตลอด จะถูกขจัดออกไปจากเขา

“และแน่นอน ได้มีการวิวรณ์มายังเจ้า(มุฮัมมัด)และมายังศาสดาก่อนหน้าเจ้าว่า หากเจ้าได้ตั้งภาคี การงานของเจ้าก็จะไม่มีผลและเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ที่ขาดทุน”(บทอัซซุมัร โองการที่  ๖๕)

 “ผู้ใดที่มีภาคีต่ออัลลอฮ์ พระองค์จะทรงให้สวรรค์เป็นที่ต้องห้ามแก่เขา และที่พำนักของเขา คือ นรก และสำหรับผู้ที่อธรรมนั้น ย่อมไม่มีผู้ที่ช่วยเหลือเขา” ( บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๗๒ )

สาเหตุที่ทำให้มีการตั้งภาคีในทัศนะของอัล กุรอาน

    ได้กล่าวแล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า นั้นอยู่คู่กับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ อีกทั้งยังมีเหตุผลมากมายที่ได้ยืนยันอย่างชัดเจนด้วย

จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วทำไมมนุษย์จึงต้องมีการตั้งภาคีต่อพระเจ้า และอะไรที่เป็นสาเหตุให้มีการตั้งภาคีเกิดขึ้น

๒๑๗

อัล กุรอานได้ตอบในคำถามนี้อย่างชัดเจนถึงสาเหตุของการตั้งภาคี ซึ่งมีดังต่อไปนี้

๑.การปฏิบัติตามการคาดคะเนที่ผิดพลาด

อัล กุรอานได้อธิบายถึง การตั้งภาคี ว่าเป็นความเชื่อที่ไม่มีรากฐานทางสติปัญญาอันใดรับรองเลย ดังนั้น การมีความเชื่อในการตั้งภาคี เป็นความคาดคะเนที่ผิดพลาด

“พึงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงทุกสิ่งในชั้นฟ้าทั้งหลายและในแผ่นดินทั้งหลาย เป็นของอัลลอฮ์และบรรดาผู้ที่วิงวอนต่อสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลลอฮ์ จะไม่ปฏิบัติตามภาคีเหล่านั้น พวกเขาจะไม่ปฏิบัติตามนอกจากการคาดคิดเท่านั้น และพวกเขาไม่ได้ตั้งอยู่บนสิ่งใดเว้นแต่ การคาดคคะเนที่ผิดพลาด”

(บทยุนูส โองการที่ ๖๖ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงอำนาจในทุกสิ่งทั้งในชั้นฟ้าและในแผ่นดินทั้งหลาย บรรดาผู้ตั้งภาคีก็ยอมรับเช่นกัน หลังจากนั้น ได้อธิบายว่า แท้จริงผู้ตั้งภาคีไม่ได้ปฏิบัติตามภาคีของพระเจ้า

แต่เป็นการปฏิบัติตามการคาดคะเนที่ผิดพลาด เพราะว่า พระเจ้าไม่มีภาคีใดๆ  ดังนั้น บ่อเกิดของการมีภาคีต่อพระองค์ก็คือ การปฏิบัติตามการคาดคะเนที่ผิดพลาด

 “และส่วนใหญ่ของพวกเขามิได้ปฏิบัติตามสิ่งใดนอกจากการคาดคิด แท้จริงการคาดคิด ไม่อาจจะแทนความเป็นจริงได้แต่อย่างใด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ”

(บทยุนูส โองการที่ ๓๖ )

๒๑๘

 “เหล่านี้มิใช่อื่นใดนอกจากเป็นชื่อที่พวกเจ้าและบรรพบุรุษของพวกเจ้าได้ตั้งขึ้นมา อัลลอฮ์มิได้ทรงประทานหลักฐานอันใดลงมา” (บทอัลนัจม์ โองการที่ ๒๓ )

๒.การหลงใหลในสิ่งที่สัมผัสได้และหลงลืมในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

ในทัศนะของอัล กุรอานได้กล่าวถึง สาเหตุของการตั้งภาคี คือ การหลงใหลในสิ่งที่สัมผัสได้ ในขณะที่หลงลืมในสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งปฏิเสธการมีอยู่ของสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ

อัล กุรอานได้กล่าวถึง คำขอของบรรดาผู้ตั้งภาคี ใน

“และบรรดาผู้ที่ไม่หวังจะพบเรากล่าวว่า ไฉนเล่าเทวทูตจึงไม่ถูกส่งลงมายังพวกเราหรือเราไม่เห็นพระผู้อภิบาลของเรา แน่นอนพวกเขาหยิ่งยะโสในตัวของพวกเขา และพวกเขาได้ละเมิดขอบเขตอย่างมาก”

(บทอัลฟุรกอน โองการที่ ๒๑ )

ดังนั้น การวอนขอของพวกเขาไม่เฉพาะกับบรรดาผู้ตั้งภาคีในคาบสมุทรอาหรับเท่านั้น แต่ได้รวมถึงบรรดานักปรัชญาธรรมชาตินิยมที่กล่าวว่า หากว่าเราไม่เห็นพระเจ้า เราจะไม่มีความเชื่อในพระองค์

อัล กุรอานกล่าวถึง การวอนขอของชาวคัมภีร์จากศาสดาของพวกเขา

“บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ จะขอร้องเจ้าให้เจ้านำคัมภีร์ฉบับหนึ่งจากฟากฟ้าลงมาแก่พวกเขา แท้จริงนั้นพวกเขาได้ขอร้องแก่มูซาซึ่งสิ่งที่ใหญ่กว่านั้นมาแล้ว โดยที่พวกเขากล่าวว่า จงให้พวกเราเห็นอัลลอฮ์โดยชัดแจ้งเถิด แล้วฟ้าผ่าก็ได้คร่าพวกเขา เนื่องด้วยความอธรรมของพวกเขา ภายหลังพวกเขาก็ได้ยึดถือลูกวัวหลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดเจนได้มายังพวกเขา แล้วเราก็อภัยให้ในเรื่องนั้นและเราได้ให้แก่มูซาซึ่งอำนาจอันชัดเจน”

(บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๑๕๓ )

๒๑๙

บรรดานักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้ตีความความหมายของโองการนี้ โดยกล่าวว่า ความหมายของคัมภีร์จากฟากฟ้าที่สัมผัสได้ด้วยมือเปล่า

บางคนกล่าวว่า การประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงมาเพียงครั้งเดียว

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ชาวบะนีอิสรออีลต้องการให้ศาสดามูซาแสดงพระเจ้าของตนให้พวกเขาดู เพราะคิดว่าพระเจ้าเป็นวัตถุที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ แต่หลังจากที่พวกเขาหมดหวังจากการมองเห็นพระองค์ พวกเขาก็ได้ปั้นวัวและทำการสักการะบูชาเป็นพระเจ้า

“และฟิรเอาน์กล่าวว่า โอ้ปวงบริพารเอ๋ย! ฉันไม่เคยรู้จักพระเจ้าอื่นใดของพวกท่านนอกจากฉัน โอ้ฮามานเอ๋ย ! จงเผาดินให้ฉันด้วยแล้วสร้างโครงสูงระฟ้า เพื่อที่ฉันจะได้ขึ้นไปดูพระเจ้าของมูซาและแท้จริงฉันคิดว่า เขานั้นอยู่ในหมู่ผู้กล่าวเท็จ” (บทอัลกอศอด โองการที่ ๓๘ )

โองการนี้กล่าวถึง ฟิรเอาน์ได้กล่าวกับบริพารของเขาว่า พระเจ้าของมูซาสามารถที่จะสัหมผัสได้ ดังนั้น ความคิดของธรรมชาตินิยมได้ปกครองในอียิปต์สมัยนั้น

 “และพวกเขากล่าวว่า เราจะไม่ศรัทธาต่อท่าน จนกว่าท่านจะทำให้แผ่นดินแตกออกเป็นลำธารแก่เรา”

“หรือท่านทำให้ชั้นฟ้าหล่นลงมาบนพวกเราเป็นเสี่ยงๆ ตามที่ท่านอ้าง หรือนำอัลลอฮ์และมลาอิกะฮ์มาให้เราเห็นต่อหน้า” (บทอัลอิสรออ์ โองการที่ ๙๒)

จากโองการนี้ คำขอของบรรดาพวกมุชริกในคาบสมุทรอาหรับต่อศาสดามุฮัมมัด ในการแยกออกของลำธารน้ำที่ๆแห้งกันดารจากทะเลทรายของเมืองมักกะฮ์ และคำขออื่นๆที่แปลกประหลาดที่พวกเขาคิดว่า ถ้าพระเจ้า เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ เขาก็สามารถมองเห็นพระองค์ได้

๒๒๐

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450