บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339918 / ดาวน์โหลด: 4959
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

ความหมายของวิธีการแรกคือ มนุษย์ใช้เหตุผลตามหลักการและกฏต่างๆ ของตรรก และปรัชญาในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า และการมีอยู่ของคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ ส่วนในวิธีการที่สองคือ การรู้จักพระเจ้าโดยผ่านการปฏิบัติ ซึ่งเกิดจากการขัดเกลาจิตวิญญาณของมนุษย์และการยกระดับจิตใจให้สูงส่ง  จนสามารถมองเห็นพระองค์และคุณลักษณะอันสวยงามทั้งหลายของพระองค์ได้ด้วยตาแห่งปัญญา

การจัดแบ่งการรู้จักพระเจ้าอีกระบบหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางหลักของการรู้จักอันประกอบด้วย แนวทางของสติปัญญา วิทยาศาสตร์ และแนวทางของจิต

๑. สติปัญญา เป็นวิธีการที่มนุษย์ใช้เหตุผลตามหลักการและกฎต่างๆ ของตรรก และปรัชญาในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า และคุณลักษณะของพระองค์

๒.วิทยาศาสตร์และการทดลอง ในบางครั้ง มนุษย์มิได้ใช้เหตุผลของปรัชญาหรือกฏต่างๆ ของตรรกศาสตร์ แต่เขาได้รับเหตุผลต่างๆในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าด้วยกับการสังเกตุในปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในโลกและในตัวของมนุษย์ ทำให้เขารู้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้าอยู่จริง วิธีการนี้จึงถูกเรียกว่า “เหตุผลทางประสบการณ์นิยม”

เหตุผลทฤษฎีที่ว่าด้วยกฏและระเบียบของโลก ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลดังกล่าวซึ่งเกิดจากการสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของโลก การใช้กฏของตรรกศาสตร์ และปรัชญามาอ้างเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

๒๑

๓.จิตหรือญาณวิสัย หมายถึง บางครั้ง การรู้จักพระเจ้าไม่ต้องการเหตุผลที่สลับซับซ้อนของปรัชญาหรือวิทยาศาสตร์ ประสบการณ์นิยม แต่การรู้จักพระเจ้าอาจเกิดจากภายในส่วนลึกของมนุษย์หรือด้วยกับญาณวิสัย โดยผ่านการฝึกฝนและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในคำสอนของศาสนา จนสามารถมองเห็นพระเจ้าได้ด้วยตาแห่งปัญญา ซึ่งวิธีการนี้จะเกิดเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มชนบางกลุ่มเท่านั้น และในอิสลามก็ให้การยอมรับพวกเขาและเรียกพวกเขาว่า นักรหัสยวิทยา (อาริฟ)

   วิธีการทั่วไป และวิธีการโดยเฉพาะ

   วิธีการรู้จักพระเจ้ามีอีก ๒  วิธีการ ดังนี้

 ๑.วิธีการทั่วไป

 ๒.วิธีการอันเฉพาะเจาะจง

   ความหมายของวิธีการทั่วไป หมายถึง วิธีการที่มนุษย์ทุกคนสามารถใช้ได้ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่ว่าจะเป็นวิชาการใดหรือวัฒนธรรมใดก็ตาม

   ส่วนวิธีการโดยเฉพาะเจาะจงนั่นหมายถึง วิธีการที่ต้องใช้เหตุผลทางวิชาการที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งมนุษย์ทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้ เป็นวิธีการที่มีความยากลำบากต่อการสร้างความเข้าใจ ทั้งเหตุผลที่ซับซ้อนทางปรัชญาและตรรกศาสตร์ หรือแม้แต่เหตุผลที่ง่ายต่อการเข้าใจ เช่น ทฤษฎีที่ว่าด้วยกฏและระเบียบของโลก

ในที่นี้ จะขออธิบายถึงการรู้จักพระเจ้าโดยวิธีการฟิฏรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิม) หลังจากนั้น จะกล่าวถึงทฤษฎีที่ว่าด้วยกฎและระเบียบของโลก

๒๒

 ส่วนในตอนท้ายจะกล่าวถึงเหตุผลทางสติปัญญา

   ศัพท์วิชาการท้ายบทที่ ๑

การสกัดกั้นอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้   : Removing harm

การสำนึกในบุญคุณต่อผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพ (ผู้มีบุญคุณ)

: Thanks giving                                            

การแสวงหาและการรู้จักพระเจ้า      :  Theist

วิธีการทางสติปัญญา         : Reason

วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือประสบการณ์นิยม    : Experience

วิธีการทางจิตหรือญาณวิสัย     : Intuition

๒๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.เรื่องของการรู้จักพระเจ้า นอกจากจะมีความสำคัญต่อมนุษย์ในด้านทฤษฎีทางความคิดแล้ว ยังมีผลต่อการปฏิบัติทางด้านการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น ความเชื่อในพระเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์ ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อการปฏิบัติของมนุษย์

๒.การรู้จักพระเจ้า  ไม่ใช่ว่ามีความสำคัญกับมนุษย์เท่านั้น หากยังเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์อีกด้วย เพราะว่าพวกเขามีความต้องการที่จะรู้จักพระเจ้าให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ โดยเหตุผลทางสติปัญญาคือ ให้มนุษย์หลีกออกห่างจากภยันตรายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และการรู้สำนึกในบุญคุณต่อผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้เขา

๓.การรู้จักพระเจ้า มีด้วยกัน ๓ ระดับขั้น

(๑).การรู้จักอาตมันของพระเจ้า หมายถึง การรู้จักระดับนี้ทั้งมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายไร้ความสามารถในการที่จะรู้จักในแก่นแท้แห่งอาตมันของพระองค์

(๒).การรู้จักว่า พระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่

(๓).การรู้จักในคุณลักษณะ และการกระทำของพระเจ้า

การรู้จักในระดับที่สอง และสามนั้น มีความเป็นไปได้สำหรับมนุษย์ที่จะรู้จักพระเจ้าจากระดับขั้นเหล่านี้

การรู้จักระดับขั้นที่สอง เป็นมูลเหตุสำคัญทำให้มนุษย์แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม

(๑). มนุษย์กลุ่มที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า

(๒).มนุษย์กลุ่มที่มีความสงสัยในการมีอยู่ของพระเจ้า

(๓).มนุษย์กลุ่มที่มีความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า

๒๔

การให้ทัศนะที่แตกต่างกันทางคุณลักษณะ และการกระทำของพระเจ้า เป็นสาเหตุทำให้เกิดสำนักคิดต่างๆ ในเทววิทยาอิสลาม และเป็นยังสาเหตุทำให้มีความแตกต่างในระหว่างศาสนาทั้งหลายด้วย

๔.แม้ว่า วิธีการรู้จักพระเจ้ามีมากมายก็ตาม  มนุษย์ทุกคนต่างมีวิธีการรู้จักพระเจ้าเป็นของตนเอง ซึ่งสามารถแบ่งวิธีการเหล่านั้นได้เป็น ๓ ประเภท ได้แก่

(๑).วิธีการทางสติปัญญา

(๒).วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือเหตุผลประสบการณ์นิยม

(๓).วิธีการทางจิตหรือญาณวิสัย

๕.นอกเหนือจากวิธีการทั้งสามแล้ว ยังมีวิธีการรู้จักพระเจ้า อีก สอง วิธีการ ดังนี้

(๑).วิธีการทั่วไป เป็นวิธีการของมนุษย์ทุกคนในการรู้จักถึงพระเจ้า

(๒).วิธีการโดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นวิธีการของมนุษย์บางกลุ่มโดยอาศัยการอ้างอิงเหตุผลทางวิชาการต่างๆในการรู้จักพระเจ้า

๒๕

   บทที่ ๒

   วิธีการฟิฏรัต(สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์)

   บทนำเบื้องต้น

   ได้กล่าวแล้วว่าวิธีการการรู้จักพระเจ้านั้นมีหลายวิธี  ตลอดจนวิธีการทางญาณวิสัย นอกจากนั้นแล้วยังมีวิธีการฟิฏรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิม) ซึ่งหมายถึง การรู้จักพระเจ้าผ่านทางจิตใต้สำนึกของมนุษย์ หรือที่เรียกกันว่า สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั่นเอง วิธีการนี้เป็นขั้นตอนทั่วไปสำหรับการรู้จักพระเจ้า นอกเหนือจากวิธีการฟิฎรัตแล้ว ยังมีวิธีการในระดับสูงสุดอีกวิธีหนึ่งนั่นคือ วิธีการจาริกทางจิตวิญญาณของนักรหัสยวิทยา (อาริฟ) หมายถึง การรู้จักพระเจ้าโดยผ่านการอิบาดะฮ (การฝึกฝนและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในคำสอนของศาสนา) และการขัดเกลาจิตวิญญาณ จนสามารถมองเห็นคุณลักษณะอันสวยงามทั้งหลาย (ซิฟะตุลญะมาลียะฮฺ) และคุณลักษณะอันสูงส่งของพระองค์ (ซิฟะตุลญะลาลียะฮฺ) ได้ด้วยตาแห่งปัญญา มิใช่ตาเนื้อ 

อันดับแรกจะอธิบายความหมายของคำว่า ฟิฏรัต ในด้านภาษา ก่อน หลังจากนั้นจะอธิบายเหตุผลของวิธีการฟิฏรัต ต่อไป

๒๖

   ฟิฏรัต ความหมายด้านภาษา และเชิงวิชาการ

    คำว่า “ฟิฏรัต” ในภาษาอาหรับมาจากรากศัพท์คำว่า ฟิฏร์ แปลว่า การแยกออกของสิ่งหนึ่งตามด้านยาว

นักอักษรศาสตร์ได้ให้ความหมายคำว่า ฟิฏรัต ว่า การแยกออกหรือการแตกออกของๆ สิ่งหนึ่ง ดังนั้น การสร้างของพระเจ้าก็เปรียบเสมือนกับการแยก หรือการแตกออกจากการที่ไม่เคยมีมาก่อน ด้วยเหตุนี้ คำว่า ฟิฏรัต จึงหมายถึง การสร้างหรือการบันดาล กล่าวคือ การเกิดขึ้นของการกระทำหนึ่งที่ถูกเรียกว่า ฟิฏรัต อันเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างสรรค์โดยเฉพาะ

อัล กุรอาน กล่าวว่า

 “ดังนั้น เจ้าจงผินหน้าของเจ้าสู่ศาสนาที่เที่ยงแท้ ฟิตรัตของอัลลอฮ์ คือการสร้างมนุษย์ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการสร้างของพระองค์” (บทอัรรูม โองการที่ ๓๐)

อิสลามเชื่อว่า พระเจ้าทรงแนะนำพระองค์ให้มนุษย์รู้จักก่อนที่จะสร้างมนุษย์ขึ้นมา ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดความเชื่อนี้ต่อไป

ส่วนความเชื่อที่ว่า การมีอยู่ของพระเจ้าเป็น ฟิฎรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์) นั้นเป็นจริงหรือไม่ ?

๒๗

   การอธิบายความหมายของการมีอยู่ของพระเจ้าเป็น ฟิฏรัต

   กล่าวได้ว่า หลังจากที่ได้อธิบายความหมายของคำว่า ฟิฏรัตไปแล้ว สิ่งจำเป็นที่จะต้องอธิบายต่อไปคือ ความหมายของประโยค การมีอยู่ของพระเจ้าเป็น ฟิฏรัต (สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์) โดยเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั้น หมายความว่าอย่างไร?

สำหรับคำตอบ  บรรดานักวิชาการได้ให้ทัศนะไว้ต่างๆมากมาย ซึ่งจะขออธิบายเฉพาะในทัศนะที่สำคัญเท่านั้น ซึ่งมีดังนี้

๑.ทัศนะที่กล่าวว่า  “ประโยคพระเจ้ามีอยู่จริง เป็นประโยคตรรกเบื้องต้น และประโยคการมีอยู่ของพระเจ้า เป็นฟิฏรัต(สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ก็เป็นประโยคตรรกะเบื้องต้นเช่นกัน”

 เป็นที่ทราบกันดีว่า นักตรรกศาสตร์อิสลามได้อธิบายไว้ว่า ประโยคตรรกหรือประพจน์ ถูกแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือ ประโยคตรรกเบื้องต้นหมายถึง ประโยคที่ประกอบด้วยประธานและผลลัพท์ รวมทั้งตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง เช่น ประโยค มนุษย์เป็นสัตว์ที่พูดได้ (มนุษย์ คือ ประธานของประโยค สัตว์พูดได้ คือ ผลลัพท์ และคำว่า เป็น คือ ตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประธานและผลลัพท์) ดังนั้น ตามทัศนะนี้ ประโยค การมีอยู่ของพระเจ้าเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิม จึงเป็นประโยคตรรกเบื้องต้น

๒.ทัศนะที่กล่าวว่า “ประโยคที่กล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นประโยคตรรกฟิฏรีย์ (ประโยคตรรกประเภทหนึ่ง)”

๒๘

นักตรรกศาสตร์อิสลามกล่าวว่า ประโยคตรรกฟิฏรีย์ หมายถึง ประโยคตรรกะประเภทหนึ่งที่ต้องการเหตุผลเพื่อยืนยันถึงการเกิดขึ้นของประโยคนั้น แต่เนื่องจากความชัดเจนของประโยคจึงไม่ต้องหาเหตุผลมายืนยัน และในเวลาที่กล่าวประโยคนั้นออกมา เหตุผลของมันได้เกิดขึ้นโดยฉับพลัน เหมือนกับประโยคในคณิตศาสตร์ที่กล่าวว่า เลขสองเป็นครึ่งหนึ่งของเลขสี่ ซึ่งถือว่าเป็นประโยคตรรกฟิฏรีย์ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น ตามทัศนะนี้ ความหมายของความเชื่อที่ว่า การมีอยู่ของพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ก็คือ เมื่อได้กล่าวประโยคนี้ออกไป เหตุผลของมันได้เกิดขึ้นทันทีทันใดในสติปัญญาของมนุษย์ และไม่ต้องหาเหตุผลใดมายืนยันเลย ดังนั้นกฏตรรกนี้ยังสามารถใช้กับข้อพิสูจน์ในเหตุผลของการมีความต้องการของสิ่งที่ต้องพึ่งพา (มุมกินุลวุญูด) ยังสิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่ (วาญิบุลวุญูด) ได้อีกด้วย

๓.ทัศนะที่กล่าวว่า พระเจ้าได้ทรงแนะนำตนเองให้มนุษย์รู้จักพระองค์ก่อนที่จะสร้างมนุษย์ขึ้นมาบนโลกนี้

คำอธิบาย

 

ทัศนะนี้ บ่งบอกถึง ความเชื่อที่กล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่จริงเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั้น มีมาก่อนการถือกำเนิดของเขาในโลกแห่งธรรมชาติ ในอีกโลกหนึ่ง ณ ที่แห่งนั้น พระเจ้าทรงแสดงตนเองให้มนุษย์รู้จัก ด้วยกับคุณลักษณะทั้งหลายที่สวยงามของพระองค์ (ซิฟัตญะมาลียะฮ์) แล้วมนุษย์ทั้งหลายต่างก็ยอมรับในความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของพระองค์

๒๙

 แต่ทว่าหลังจากที่มนุษย์มาสู่โลกแห่งวัตถุ กลับหลงลืมต่อการรู้จักอันนั้น แต่ในความเป็นจริง แก่นแท้แห่งการรู้จักพระเจ้านั้น ยังอยู่ในสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขา ตลอดเวลาและตลอดไป

นักวิชาการที่ยอมรับในทัศนะนี้ ได้กล่าวอ้างหลักฐานจาก อัล กุรอาน และวจนะต่างๆมากมาย

โองการที่สำคัญของอัล กุรอาน คือ โองการที่เรียกว่า พันธสัญญา   ซึ่งมีดังนี้

“และจงรำลึกเถิดว่า ในขณะที่พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ดลบันดาลให้เผ่าพันธ์ของอาดัม ออกมาจากไขสันหลังของพวกเขาและให้พวกเขายืนยันแก่ตัวของเขาเอง (โดยตอบคำถามที่ว่า) ข้ามิใช่พระเจ้าของพวกเจ้าดอกหรือ? พวกเขากล่าวว่าใช่แล้ว พวกเราขอยืนยัน เพื่อป้องกัน พวกเจ้ากล่าวในวันกิยามะฮ์ (วันแห่งการตัดสิน) ว่า แท้จริงพวกเราไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย”(บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ ๑๗๒)

๔.ทัศนะที่กล่าวว่า “มนุษย์รู้จักพระเจ้าได้ด้วยกับการรับรู้โดยตรง (อิลม์ ฮุฎูรีย์)”

คำอธิบาย

ทัศนะนี้ มีความเห็นว่า การรู้จักพระเจ้าเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ที่เกิดจากการรับรู้โดยตรง ก็เพราะว่าพระเจ้า คือ ผู้สร้างเขานั่นเอง

การอธิบายในทัศนะนี้มีดังนี้

การรับรู้ของมนุษย์สามารถที่จะแบ่งได้เป็น สองประเภทคือ

๑.การรับรู้โดยตรง หมายถึง การรับรู้โดยปราศจากสื่อของคำและความหมาย

๒.การรับรู้โดยผ่านสื่อ หมายถึง การรับรู้ที่เกิดขึ้นจากการให้ความหมายและการสร้างมโนภาพ

กล่าวได้ว่า การรับรู้โดยตรง มิได้เกิดขึ้นจากการสร้างมโนภาพและการให้ความหมาย แต่เป็นการเกิดขึ้นของสิ่งที่ถูกรับรู้(มะอ์ลูม) ในตัวของผู้รู้ (อาลิม) เช่น ความรู้สึกหิว หรือความเจ็บปวด ส่วนความแตกต่างระหว่างการรับรู้ทั้งสองประเภทก็คือ การรับรู้โดยผ่านสื่อ คาดว่าจะเกิดความผิดพลาดได้ แต่การรับรู้โดยตรง ไม่มีความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในการรับรู้นี้ได้

 ทัศนะที่บ่งบอกถึงความเชื่อที่ว่า พระเจ้ามีอยู่จริงเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั้น เกิดขึ้นจากการรับรู้โดยตรง มิใช่เกิดจากการรับรู้โดยผ่านสื่อ หรือการสร้างมโนภาพ และการให้เหตุผล ดังนั้น การรู้จักพระเจ้า ก็คือ การรู้จักในตัวตนของมนุษย์นั่นเอง

คำอธิบายทั้งหลายในความเชื่อที่ว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั้น มีความแตกต่างกัน แต่มีความเชื่อที่เหมือนกันว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เกิดจากสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และโดยที่ไม่ต้องหาเหตุผลใดมายืนยันในประโยคนี้

ด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานได้กล่าวว่า การมีอยู่ของพระเจ้า เป็นสิ่งที่มิอาจปฏิเสธได้ แต่การที่จะรู้จักพระองค์นั้น ต้องรู้จักจากคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์เท่านั้น

ในตอนท้ายสามารถสรุปได้ว่า

๑.การมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ จากคำอธิบายทั้งหลายนั้น มิได้หมายความว่า  มนุษย์ทุกคนมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีอยู่จริง และไม่มีผู้ใดที่ปฏิเสธหรือสงสัยในการมีอยู่ของพระองค์

๓๐

และเป็นที่ทราบกันดีว่า ในกลุ่มชนบางกลุ่ม ปฏิเสธในสิ่งที่ชัดเจนที่สุด หรือมีความสงสัยในสิ่งนั้น เช่น การสงสัยการมีอยู่ของพระเจ้า ดังนั้น การยอมรับคำอธิบายในทัศนะที่หนึ่งและที่สองมิได้ขัดแย้งกับการมีอยู่ของกลุ่มชนที่สงสัยในการมีอยู่ของพระเจ้า (พวกชักกากีน) และกลุ่มชนที่ปฏิเสธการมีอยู่ของพระองค์ (พวกมุลฮิดีน) และจากคำอธิบายในทัศนะที่สามและที่สี่ แม้ว่า มนุษย์ได้รู้จักพระเจ้าด้วยกับการรับรู้โดยตรงจากสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขา แต่เนื่องด้วยการที่เขานั้นหลงใหลในสีสันที่สวยงามของโลกแห่งวัตถุ ทำให้เขาหลงลืมการรู้จักอันนั้น ดั่งเช่น ผู้ป่วยที่บาดเจ็บสาหัส ในขณะที่เขาได้รับข่าวดี เขากลับดีใจมากจนลืมนึกถึงความเจ็บปวดของเขาไปชั่วระยะหนึ่ง และเช่นกัน เมื่อมนุษย์ได้ประสบกับอุปสรรคปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ เมื่อนั้นเขาจะร้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า พระผู้ทรงเดชานุภาพเหนือสรรพสิ่งทั้งหลาย เพราะฉะนั้น การมีอยู่ของพวกที่สงสัยและปฏิเสธก็มิได้ขัดแย้งกับความเชื่อว่า พระเจ้ามีอยู่จริงนั้น เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์

๒.ได้อธิบายไปแล้วว่า ความเชื่อที่ว่า พระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และเนื่องจากการหลงใหลของมนุษย์ในโลกแห่งวัตถุ ทำให้เขาไม่รู้จักพระองค์ และเป็นม่านปิดกั้นเขาต่อการรู้จักถึงพระองค์ สาเหตุที่ทำให้มนุษย์ตื่นขึ้นและเปิดม่านสู่การรู้จักพระองค์ได้นั้น มีหลายเหตุผลด้วยกัน เหตุผลหนึ่ง คือ การใช้เหตุผลทางวิชาการมายืนยันต่อการรู้จักพระเจ้า  ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใดก็ตาม และหนึ่งในเหตุผลทั้งหลายที่ทำให้มนุษย์ตื่นขึ้น คือ การใช้เหตุผลทางสติปัญญา ดังนั้น การมีความเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ จากการยืนยันของเหตุผลทางสติปัญญา มิได้หมายความว่า เหตุผลนั้นไม่มีประโยชน์และไม่ถูกต้อง แต่การให้เหตุผลนี้ เพื่อที่จะทำให้มีความเข้าใจในการรู้จักพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้น

๓๑

   การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในทัศนะของอัล กุรอาน

     อัล กุรอานได้ให้ความสำคัญในเรื่องการรู้จักพระเจ้า เป็นอย่างมาก โดยมีโองการทั้งหลายที่ได้กล่าวถึง การมีอยู่ของพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และในวจนะที่มีอยู่มากมายก็ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นเดียวกัน บางโองการได้กล่าวว่า ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ตรงกันกับความเป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ดั่งในโองการนี้

           

 “ดังนั้น เจ้าจงหันหน้ามาสู่ศาสนาอันเที่ยงตรงเถิด เป็นสัญชาตญาณของอัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์ทรงบันดาลมนุษย์มาบนนั้น” (บทอัรรูม โองการที่ ๓๐)

 

คำอธิบาย

จากโองการนี้ แม้ว่าได้กล่าวถึง ศาสนาของพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ แต่ยังสามารถกล่าวได้อีกว่า ความเชื่อว่า พระเจ้ามีอยู่ ก็เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขาด้วยเช่นกัน เพราะว่า ความเชื่อในศาสนานั้น เกิดขึ้นจากคำสอนของบรรดาศาสดา รวมถึงความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าด้วย และหากว่า การมีความเชื่อในศาสนา หมายถึง การยอมรับและการเคารพภักดีต่อพระเจ้า ดังนั้น  การเคารพภักดีต่อพระองค์ จึงเกิดขึ้นจากการมีความเชื่อว่าพระองค์มีอยู่จริงอย่างแน่นอน

และอีกโองการหนึ่งที่กล่าวถึง การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ คือ โองการที่เรียกกันว่า “พันธสัญญา”

อัลกุรอานกล่าวว่า

“และจงรำลึกเถิดว่า ในขณะที่พระผู้อภิบาลของเจ้าได้ดลบันดาลให้เผ่าพันธ์ของอาดัม ออกมาจากไขสันหลังของพวกเขาและให้พวกเขายืนยันแก่ตัวของเขาเอง (โดยตอบคำถามที่ว่า) ข้ามิใช่พระเจ้าของพวกเจ้าดอกหรือ? พวกเขากล่าวว่าใช่แล้ว พวกเราขอยืนยัน เพื่อป้องกัน พวกเจ้ากล่าวในวันกิยามะฮ์(วันแห่งการตัดสิน)ว่า แท้จริงพวกเราไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย”

(บทอัลอะอฺรอฟ โองการที่๑๗๒)

คำอธิบาย

โองการนี้ มีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อนมากในการเข้าใจและการตีความ ด้วยเหตุนี้ บรรดานักอรรถาธิบายอัล กุรอานได้ให้ทัศนะที่แตกต่างกัน แม้ว่าบางคนกล่าวว่า โองการนี้เป็นโองการที่คลุมเครือ(มุตะชาบิฮ์)  แต่สิ่งหนึ่งที่ได้รับจากโองการนี้ ก็คือ พระเจ้าได้ทรงแนะนำตนเองให้มนุษย์รู้จักถึงความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของพระองค์ก่อนการสร้างมนุษย์ขึ้นมา อีกทั้งยังให้มนุษย์มีความเชื่อต่อพระองค์ ตั้งแต่วันที่เขามาจุติยังโลกจนถึงวันแห่งการตัดสิน เพื่อที่จะทำให้เหล่าผู้ปฏิเสธได้สำนึกในวันแห่งการตัดสินว่า มีพระเจ้าอยู่จริง อย่างไรก็ตาม การยอมรับความเชื่อที่กล่าวว่า การมีอยู่ของพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ บรรดานักอรรถาธิบายอัล กุรอานได้ยกโองการนี้ เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันว่า พระเจ้าได้ทรงแนะนำตนเองให้มนุษย์รู้จักในความเป็นพระผู้เป็นเจ้าของพระองค์ก่อนการสร้างมนุษย์ และบางคนได้อธิบายว่า มนุษย์รู้จักถึงพระเจ้าด้วยตัวของเขาเองจากการรับรู้โดยตรงที่ปราศจากความผิดพลาดใดๆทั้งสิ้น

และเช่นเดียวกัน ยังมีโองการจากอัล กุรอานอีกมากมายที่ยืนยันถึงประเด็นดังกล่าว เช่น โองการที่ได้กล่าวถึง การรำลึกถึงพระเจ้า ในขณะที่มนุษย์ประสบกับปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยพวกเขาได้ร้องขอความช่วยเหลือจากพระองค์

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ดังนั้นครั้นเมื่อพวกเขา(มนุษย์ทั้งหลาย)ได้โดยสารเรือ พวกเขาได้ร้องขอความช่วยเหลือจากพระเจ้า(อัลลอฮ์) อย่างบริสุทธิ์ใจต่อศาสนาของพวกเขา แล้วเมื่อพวกเขาได้รับความปลอดภัยจากภยันอันตราย พวกเขาก็ตั้งภาคีต่อพระองค์”

 (บทอัลอังกะบูต โองการที่๖๕ ,บทลุกมาน โองการที่ ๓๓ บทอัลนะห์ล์ โองการที่ ๕๒)

โองการเหล่านี้บ่งบอกถึงการยอมรับว่า การรู้จักพระเจ้านั้น เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์

๓๒

   การรู้จักพระเจ้า  เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ในทัศนะของวจนะ

   มีวจนะต่างๆมากมายที่ได้กล่าวถึงการรู้จักพระเจ้าว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ แต่ในการอธิบายความหมายของสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์นั้น เห็นได้ว่ามีความแตกต่างกัน โดยบางวจนะได้กล่าวว่า รากฐานของศาสนาอิสลาม เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และอีกวจนะหนึ่งกล่าวว่า รากฐานของหลักศรัทธาของอิสลาม เช่น เตาฮีด

(ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า), นะบูวะฮ์(สภาวะการเป็นศาสดา), อิมามะฮ์(สภาวะการเป็นผู้นำสืบทอดจากศาสดามุฮัมมัด) ทั้งหมดนั้น เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และในท้ายที่สุด การรู้จักพระเจ้า ก็ถือว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ด้วยเช่นกัน 

เช่น การรายงานของสาวกคนหนึ่งของท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน)

 เขาได้ถามท่านอิมามเกี่ยวกับการอรรถาธิบายในโองการอัล กุรอาน บทที่ ๒๒ โองการที่ ๓๑ ถึง

คำว่า ฮุนะฟาอฺ ในโองการนี้ นั้นมีความหมายว่าอย่างไร?

ท่านอิมามตอบว่า

 “ฮุนะฟาอฺ หมายถึง สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ ที่พระเจ้าได้ทรงประทานให้แก่เขา และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆในการสร้างสรรค์ของพระองค์”

๓๓

 

หลังจากนั้น อิมามได้กล่าวอีกว่า “พระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ให้รู้จักพระองค์ด้วยสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขาเอง”

   ศัพท์วิชาการท้ายบทที่ ๒

๑.คำว่า ฟิฏรัต หมายถึง สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ หรือธรรมชาติด้านในของเขา   : The human nature, innate

๒.ประโยคตรรกะฟิฏรีย์ หมายถึง ประโยคตรรกะประเภทหนึ่งที่ต้องการเหตุผลยืนยันการเกิดขึ้นของประโยคนั้น แต่เนื่องจากความชัดเจนของประโยคจึงไม่ต้องหาเหตุผลมายืนยัน เมื่อเวลาที่กล่าวประโยคนั้นออกมา เหตุผลของมันได้ปรากฏโดยฉับพลัน เหมือนกับประโยคในคณิตศาสตร์ที่กล่าวว่า เลขสองคือ ครึ่งหนึ่งของเลขสี่

๓.การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ หรือเป็นธรรมชาติด้านในของเขา      : God knowing nature

๔.ประโยคตรรกเบื้องต้น   :  Self evident proposition

๕.การรับรู้โดยตรง          :  Immediate knowledge

๖.การรับรู้โดยผ่านสื่อ     :  Empirical knowledge

๓๔

   สรุปสาระสำคัญ

๑.คำว่า ฟิฏรัต หมายถึง สัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่เป็นรูปแบบหนึ่งในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า    

๒.คำอธิบายในการรู้จักพระเจ้าว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ มีด้วยกันหลายทัศนะ ดังนี้

(๑).การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ เป็นประโยคตรรกเบื้องต้น เหมือนกับประโยคที่กล่าวว่า พระเจ้ามีอยู่จริงก็เป็นประโยคตรรกเบื้องต้นด้วยเช่นกัน

(๒).ประโยคการรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ เป็นประโยคตรรกฟิฏรีย์ หมายถึง ประโยคตรรกประเภทหนึ่งที่ต้องการเหตุผลในการยืนยันประโยคนั้น แต่เหตุผลของมันเกิดขึ้นทันทีที่ได้กล่าวประโยคนั้นออกไป

(๓).คำอธิบายในทัศนะที่สาม คือ พระเจ้าได้แนะนำตนเองให้กับมนุษย์รู้จักพระองค์ก่อนการสร้างเขาขึ้นมา แต่หลังจากที่มนุษย์มาสู่โลกนี้แล้วได้หลงลืมต่อการรู้จักอันนั้น ซึ่งในความเป็นจริง รากเดิมของการรู้จักพระเจ้านั้นยังมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน 

(๔).มนุษย์รู้จักพระเจ้า ด้วยกับการรับรู้โดยตรง ที่ไม่ใช่การรับรู้โดยผ่านสื่อ และไม่ได้เกิดขึ้นจากการสร้างมโนภาพหรือจากการเข้าใจในความหมาย และไม่ใช่การใช้เหตุผลทางสติปัญญา แต่คือการรู้จักพระเจ้าด้วยกับสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ที่เกิดจากจิตใต้สำนึกของเขาเอง

๓๕

๓.การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ มิได้หมายความว่า มนุษย์ทุกคนต้องมีความเชื่อในพระเจ้าเหมือนกันหมด และไม่มีผู้ใดที่ปฏิเสธ หรือสงสัยในการมีอยู่ของพระองค์เลย

๔.การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ได้หลงใหลในโลกแห่งวัตถุ จึงทำให้เขาลืมต่อการรู้จักถึงพระองค์ และสาเหตุที่ทำให้เขาตื่นจากการหลับไหลด้วยกับเหตุผลต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม จะด้วยกับการยืนยันทางสติปํญญาหรือทางจิตวิทยาก็ตาม

๕.การรู้จักพระเจ้า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ มิได้หมายถึง การปฏิเสธการใช้เหตุผลทางสติปัญญาที่นำมาพิสูจน์และยืนยัน แต่การใช้เหตุผลประเภทนี้ สามารถทำให้มีความเข้าใจต่อการรู้จักพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้น

๖.อัล กุรอานได้กล่าวไว้ในโองการทั้งหลายเกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้าว่า เป็นสัญชาตญาณดั้งเดิมของมนุษย์ และได้อธิบายอีกว่า การรู้จักพระองค์ จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มนุษย์นั้นได้ประสบกับอุปสรรคหรือปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวในประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน

๓๖

   บทที่ ๓

   ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก

   ได้กล่าวไปแล้วว่า วิธีการฟิฏรัต เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการรู้จักพระเจ้า ซึ่งเกิดจากจิตใต้สำนึกของมนุษย์ และยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่พิสูจน์ในการมีอยู่จริงของพระเจ้าได้ นั่นคือ วิธีการวิทยาศาสตร์หรือเหตุผลทางประสบการณ์นิยม หมายความว่า เมื่อมนุษย์ได้ทำการศึกษาพิจารณาและค้นคว้าเกี่ยวกับโลกแห่งธรรมชาติ โดยการสังเกตจากสิ่งที่ต่างๆที่อยู่รอบด้านตัวเขา ทำให้รับรู้ถึงการมีอยู่จริงของพระเจ้า และอัล กุรอานก็ได้ให้ความสำคัญ โดยได้เน้นย้ำให้มนุษย์ใช้สติปัญญาในการครุ่นคิดต่อการสร้างสรรค์ของพระเจ้า และบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามก็ ได้ยึดถือเอาวิธีการนี้ เป็นวิธีการทั่วไปต่อการรู้จักพระองค์

ประเด็นที่สำคัญและควรรู้เบื้องต้น มีหลายประเด็นด้วยกัน ดังนี้

๑.จากการศึกษาและตรวจสอบในทัศนะต่างๆของบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลาม สังเกตุได้ว่า มีการให้ทัศนะ และความคิดในการอธิบายความหมายของวิธีการนี้ที่แตกต่างกันออกไป และเรียกวิธีการนี้ว่า ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก หรือข้อพิสูจน์ในการสร้างของพระเจ้า

นักวิชาการบางคนได้กล่าวว่า วิธีการนี้ คือ การใช้เหตุผลทางสติปัญญาที่เกิดจากหลักการของวิทยาศาสตร์ และบางทัศนะกล่าวว่า วิธีการนี้ เป็นวิธีการที่เกิดจากจิตใต้สำนึกของมนุษย์ เพื่อที่จะใช้ในการกระตุ้นสัญชาตญาณดั้งเดิมของเขาให้ตื่นขึ้น

๓๗

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม ได้ใช้วิธีการนี้ในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า และการมีอยู่คุณลักษณะบางประการของพระองค์ เช่น การมีความรู้ การมีวิทยปัญญา ฯลฯ

๒.ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก คือ การใช้เหตุผลทางสติปัญญา ที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(๑). ประโยคที่ใช้ในการพิสูจน์มีความสัมพันธ์กับเหตุผลทางสติปัญญา และมีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับมโนธรรมของมนุษย์

(๒). ทฤษฎีนี้มีความเข้าใจง่าย เพราะว่า ปราศจากหลักการของปรัชญาและกฏต่างๆของตรรกศาสตร์

(๓). เหตุผลนี้มีความใกล้ชิดกับคำสอนของโองการทั้งหลายในอัล กุรอาน และทำให้เกิดความผูกพันธ์ของผู้ที่เคร่งครัดในศาสนากับทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก อีกทั้งได้สร้างความสมานฉันท์ระหว่างสติปัญญากับการวิวรณ์ด้วย

(๔). นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคว้าในความลี้ลับของโลก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่บ่งบอกถึง ความมีระบบและระเบียบของโลก ดังนั้น การค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ จึงเป็นบทสรุปอย่างชัดเจนในการให้เหตุผลเช่นนี้

(๕).เหตุผลนี้ ยังส่งผลต่อหลักศรัทธาของมนุษย์อีกด้วย

๓.เหตุผลนี้ มีความเป็นพิเศษและเฉพาะเจาะจง แม้ว่าในอดีต บรรดานักเทววิทยาอิสลามของสำนักคิดทั้งหลาย มิได้ให้ความสำคัญมากนักเท่าไรในทฤษฎีนี้ มีเพียง ท่านฟัครุดดีน อัรรอซี ซึ่งเป็น นักเทววิทยาอิสลามท่านหนึ่งของสำนักคิดอัชอะรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมะตอลิบุลอฺาลียะฮ์ เกี่ยวกับการอธิบายในเหตุผลนี้ว่า มีคำอธิบายมากมาย และเขาเชื่อว่า เหตุผลนี้จะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อนำมารวมกับเหตุผลอื่นๆ จึงสามารถใช้ในการพิสูจน์ถึง การรู้จักพระเจ้าได้

๓๘

 และท่านมุฮักกิก ลาฮีญี ก็เช่นเดียวกัน ท่านเป็นนักเทววิทยาอิสลามที่สำคัญคนหนึ่งของสำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ โกฮัร มุรอด เกี่ยวกับเหตุผลนี้ว่า หลังจากที่ได้พิสูจน์ในเหตุผลนี้ ก็สามารถสรุปได้ว่า โลกแห่งธรรมชาตินั้น เป็นโลกที่ต้องมีความเป็นระบบและระเบียบ อีกทั้งเป็นโลกที่มีความสวยงามที่สุด ซึ่งบ่งบอกถึงความมีวิทยปัญญาของพระเจ้า แต่มิได้บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระองค์

   อะไร คือ ความเป็นระบบและระเบียบ?

   ก่อนที่จะอธิบายและวิเคราะห์ในทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก จะมาพิจารณาในความหมายของ ความเป็นระบบและระเบียบ ในด้านภาษาและเชิงวิชาการ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การเกิดขึ้นของความเป็นระบบและระเบียบนั้น มีองค์ประกอบอยู่ด้วยกัน สาม  องค์ประกอบ ดังนี้

๑.การเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย

๒. ผู้ที่จัดให้เป็นระบบและระเบียบ

๓.ความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งสอง หมายถึง ระหว่างสรรพสิ่งกับผู้ที่จัดให้เป็นระบบและระเบียบ

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อใดก็ตามที่กล่าวถึง ความเป็นระบบและระเบียบ จะต้องมีการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีความเป็นระบบและระเบียบจากผู้ที่จัดให้เป็นระบบและระเบียบ และการสังเกตุจากความหมายข้างต้น สามารถบอกได้ว่า ความเป็นระบบและระเบียบถูกแบ่งออก เป็นหลายประเภทด้วยกัน และประเภทที่เฉพาะเจาะจง ก็มีองค์ประกอบ อยู่ ๓ องค์ประกอบ เช่นกัน ดังนี้

๓๙

๑.การเกิดขึ้นของสิ่งทั้งหลายที่เป็นวัตถุ

๒.การเกิดขึ้นของสิ่งต่างๆโดยธรรมชาติ (ปราศจากเหตุผลใดๆ)

๓.สิ่งต่างๆมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน อีกทั้งมีจุดมุ่งหมายอันเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่กล่าวถึง การมีอยู่ของระบบและระเบียบของสิ่งหนึ่ง หมายความว่า สิ่งนั้นจะต้อง มีองค์ประกอบ ดังที่กล่าวไปข้างต้น

   เหตุผลที่ง่ายต่อการเข้าใจ

   เหตุผลที่ใช้ในการพิสูจน์ทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก ประกอบด้วย ๒ ข้ออ้าง และ ๑ ข้อสรุป ดังนี้

ข้ออ้างหลัก คือ  โลกแห่งธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีความเป็นระบบและระเบียบ

ข้ออ้างรอง คือ ทุกสิ่งที่มีความเป็นระบบและระเบียบ จะต้องมีผู้ที่จัดให้เป็นระบบและระเบียบ

ข้อสรุป คือ โลกแห่งวัตถุนั้น จะต้องมีผู้ที่จัดให้เป็นระบบและระเบียบ นั่นคือ จะต้องมีพระเจ้าอยู่ และป็นผู้จัดให้สิ่งต่างๆนั้น เป็นระบบและระเบียบ ดังนั้น การอธิบายข้ออ้างทั้งสองนี้ บรรดานักวิชาการด้านเทววิทยาอิสลาม มีทัศนะที่แตกต่างกัน และจะขออธิบายเพียงบางส่วน

๔๐

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ความดีงามพิเศษ :

บทขอพรของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นมีความดีงามพิเศษมากมายที่ไม่มีผู้ใดเทียบได้ ท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีเกียรติคุณที่ดีเด่นเป็นพิเศษกันแต่เพียงกลุ่มเดียวสำหรับความดีงามเหล่านั้นในหมู่ประชาชาตินี้

เรื่องดุอาอ์(บทขอพร)คือลักษณะพิเศษอันมากมายอีกประการหนึ่งที่บรรดาสาวกและตาบีอีนทั้งหลายไม่มีโอกาสเทียบเทียมได้เลย แม้แต่คนเดียว อีกทั้งบรรดานักปราชญ์อื่น ๆ ในรุ่นถัดมาก็ตาม กล่าวคือ ได้มีการบันทึกดุอาอ์ของแต่ละท่านไว้มากมาย ซึ่งบรรดานักปราชญ์ของเราได้เก็บ

รวบรวมไว้นับร้อยๆ เรื่องบรรดาอิมาม(อฺ)เป็นมนุษย์ที่รู้จริงเกี่ยวกับระเบียบแบบแผนที่บ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จำเป็นจะต้องดำเนินการปฏิบัติในยามสนทนากับพระองค์ และรู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร สำหรับการถ่อมตน

การขอพึ่งพิง และตัดขาด(จากทุกสิ่งทุกอย่าง) เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ในหนังสือนี้เราได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺโดยละเอียดของท่านอิมาม(อฺ)ผ่านมาแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการบันทึกดุอาอ์บางบทบางตอนของท่าน(อฺ)ดังนี้

๑๐๑

ดุอาอ์

บทที่ 1

เป็นบทดุอาอ์บทหนึ่งของอิมามที่ 7

“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าฯขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญานตนว่า มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงศาสนาอิสลามย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้ ศาสนาย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางกฎไว้ คัมภีร์ย่อมเป็นไปตามที่

พระองค์ทรงประทานให้ไว้ คำสอนย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้

แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสิทธิอันชัดแจ้ง ความเจริญสิริมงคลของอัลลอฮฺพึงมีแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน”

“ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าฯดำรงอยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ชีวิตของข้าฯนอบน้อมต่อพระองค์ ใบหน้าของข้าฯหันสู่พระองค์ กิจการงานของข้าฯ ขอมอบหมายยังพระองค์ ร่างกายของข้าฯขอนอบน้อมยังพระองค์ กลัวเกรงพระองค์ และมุ่งหวังต่อพระองค์ ข้าฯศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ที่ทรงประทานมาแก่ศาสนทูตของพระองค์ที่ทรงส่งมา”

“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าฯเป็นคนยากจน ณ พระองค์ ขอได้ทรงโปรดประทานเครื่องยังชีพแก่ข้าฯโดยอย่าได้คำนวณ

แท้จริงพระองค์ทรงประทานเครื่องยังชีพให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์

โดยไม่มีการคำนวณ”

๑๐๒

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าฯวิงวอนขอเครื่องยังชีพที่ดีงามทั้งหลาย และละเว้นความเลวร้ายทั้งหลาย และขอให้พระองค์อภัยโทษให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความกรุณาของพระองค์ที่ทรงเป็นเจ้าของได้โปรดบันดาลให้ข้าฯได้ออกห่างจากความชั่วอันมาจากข้าฯ ด้วยความดีอันมาจากพระองค์ และขอให้พระองค์ประทานความดีอย่างมากมายที่พระองค์มิได้ประทานให้แก่บ่าวคนใดให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอความคุ้มครองให้พ้นจากทรัพย์สินที่เป็นตัวทดสอบ(ฟิตนะฮฺ)แก่ข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง พระองค์ทรงเห็นฐานะความเป็นอยู่ของข้าฯ ทรงได้ยินดุอาอ์และคำพูดของข้าฯ ทรงรู้ในความจำเป็นของข้าฯ ข้าฯขอต่อพระนามทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดทำให้ความ ต้องการทั้งหลายในชีวิตทางโลกนี้และปรโลกของข้าฯได้บรรลุผล”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าฯขอดุอาอ์ต่อพระองค์อันเป็นดุอาอ์ของบ่าวผู้ซึ่งด้อยในความสามารถเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก มีความทุกข์อย่างสาหัส มีความสามารถน้อยนิด และมีการงานที่ตกต่ำเป็นดุอาอ์ของผู้ที่ไม่มีใครช่วยเหลือได้นอกจากพระองค์ เป็นความอ่อนแอที่ไม่มีใครช่วยได้นอกจากพระองค์

๑๐๓

ข้าฯขอความดีต่าง ๆ ทั้งมวล ขอเกียรติคุณ ขอความดีความเมตตาทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดเมตตาต่อข้าฯ และให้ข้าฯพ้นจากไฟนรก”

“โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แผ่นดินอยู่เหนือน้ำ ทรงบันดาลให้ฟากฟ้าอยู่ในห้วงอากาศ

โอ้ผู้ทรงเอกะ ก่อนทุกสิ่งที่เป็นหนึ่งเดียว โอ้ ผู้ทรงเป็นหนึ่งหลังจากทุก ๆ สิ่ง โอ้ผู้ซึ่งไม่มีใครรู้ว่า พระองค์ทรงเป็นอย่างไร นอกจากพระองค์ และไม่มีใครรู้ซึ้งถึงอำนาจของพระองค์ นอกจากพระองค์ โอ้พระองค์ผู้ทรงดำรงอยู่กับกิจการงาน โอ้พระองค์ผู้ทรงให้ความช่วยเหลือ โอ้พระผู้ช่วยบรรดาผู้เดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงตอบรับคำขอของคนเดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงมีความเมตตาในโลกนี้และปรโลก เป็นพระผู้ทรงกรุณาปรานี โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ อย่าให้ข้าฯหลงผิด และอย่าชิงชังข้าฯตลอดกาล แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งการสรรเสริญยิ่ง

 โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่านเทอญ”(1)

(1) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๔

ดุอาอ์

บทที่ 2

เป็นดุอาอ์ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)หลังนมาซซุฮฺริ

ท่านมุฮัมมัด บินซุลัยมานเล่าว่า : บิดาของท่านกล่าวว่า ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้ออกเดินทางไปกับท่านอิมามอะบุลฮะซัน(อฺ) หรือมูซา บินญะอฺฟัร เมื่อท่าน(อฺ)นมาซซุฮฺริเสร็จแล้ว ท่าน(อฺ)ได้อ่านดุอฺาอ์ในขณะที่ทรุดตัวลงกราบอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยอาการเศร้าสร้อย น้ำตาหลั่งไหล ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

 “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยลิ้น ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงให้ข้าฯเป็นใบ้ก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยตา ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯตาบอดเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยหู หากพระองค์ทรงประสงค์อาจทางทำให้ข้าฯหูหนวกเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยมือ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯมือด้วนเสียก็ได้ ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยเท้า ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯขาด้วนเสียก็ได้

ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯเป็นหมันเสียก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยอวัยวะทั้งเรือนร่างที่ทรงประทานให้แก่ข้าฯ และสิ่งนี้ข้าฯไม่มีสิ่งใดๆ ตอบแทนแก่พระองค์ได้”

๑๐๕

บิดาของท่านมุฮัมมัด เล่าอีกว่า หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้นับจำนวนครั้ง ในคำที่ท่านกล่าวว่า

“อัล-อัฟว์ อัล-อัฟว์”(ขออภัย ขออภัย) ได้ 1,000 ครั้ง จากนั้นท่าน (อฺ) แนบแก้มขวาลงบนดิน แล้วข้าพเจ้าได้ยินท่าน (อฺ) กล่าวว่า

“ข้าฯล่วงเกินต่อพระองค์ด้วยความผิดของข้าฯ ข้าฯได้กระทำความชั่วและอธรรมต่อตัวของข้าฯเอง ดังนั้นได้โปรดให้อภัยแก่ข้าฯ เพราะไม่มีใครอภัยความผิดพลาดได้ นอกจากพระองค์ โอ้นายของข้าฯ โอ้นายของข้าฯ นายของข้าฯ นายของข้าฯ”

ท่าน(อฺ)ก็แนบแก้มซ้ายลงบนดิน แล้วกล่าวว่า

“โปรดให้ความเมตตาต่อผู้ทำบาป”

อ่านดังนี้สามครั้ง หลังจากนั้นท่าน(อฺ)จึงยกศีรษะขึ้น(2)

(2) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๖

ดุอฺาอ์

บทที่ 3

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของอิมามมูซา(อฺ)

“โอ้ ผู้ทรงดำรงอยู่ก่อนสิ่งทั้งหลาย โอ้ผู้ทรงได้ยินทุกเสียงสำเนียง ทั้งดังและค่อย โอ้ผู้ทรงประทานชีวิตให้หลังจากตาย ความมืดมิดอันใดย่อมไม่ครอบคลุมพระองค์เลย ภาษาอันหลากหลายย่อมไม่ทำให้พระองค์ทรงสับสน ไม่มีสิ่งใดทำให้พระองค์วุ่นวาย”

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่ทรงวุ่นวายด้วยดุอฺาอ์ของผู้ใดที่อ้อนวอนขอต่อพระองค์จากฟากฟ้า โอ้พระผู้ทรงบันดาลให้ทุกสิ่งที่ได้ยิน ทรงได้ยินได้ฟังและมองเห็น โอ้พระผู้ซึ่งไม่เคยผิดพลาด แม้จะมีการร้องขออย่างมากมาย”

“โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตในยามที่ไม่มีสิ่งใดดำรงชีวิต โดยทรงดำรงอยู่ตลอดกาล และมั่นคงถาวร โอ้พระผู้ทรงดำรงอยู่สูงสุด แต่ซ่อนเร้นจากสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยรัศมีของพระองค์ โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แสงสว่างปรากฏออกมาท่ามกลางความมืด ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ด้วย

พระนามของพระองค์ผู้ทรงเอกะ ทรงเป็นหนึ่งเดียวแห่งการพึ่งพิง โปรดประทานความเจริญแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดและอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน”

จากนั้นท่าน(อฺ)ได้วิงวอนขอในสิ่งที่ท่าน(อฺ)ต้องการ(3)

(3) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 239.

๑๐๗

ดุอฺาอ์

บทที่ 4

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

“ข้าฯขอมอบหมายตนเองยังพระองค์ ผู้ซึ่งไม่ตาย และข้าฯขอพึ่งการพิทักษ์คุ้มครอง โดยผู้ทรงเกียรติและอำนาจ ข้าฯขอความช่วยเหลือต่อผู้ทรงเกรียงไกรและมีอำนาจครอบครองข้าฯ โอ้นายของข้าฯขอยอมจำนนต่อพระองค์ ข้าฯขอมอบหมายตนต่อพระองค์ ดังนั้นขออย่าทำลายข้าฯ

ข้าฯขอพึ่งร่มเงาของพระองค์ ดังนั้นจงอย่าผลักไสข้าฯ พระองค์เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงรู้สิ่งที่ข้าฯซ่อนเร้นและเปิดเผย ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในสายตาและที่ซ่อนไว้ในจิตใจ ดังนั้นได้โปรดยับยั้งข้าฯให้พ้นจากผู้อธรรมทั้งในหมู่ญิน และหมู่มนุษย์ทั้งมวลด้วยเถิด โอ้พระผู้ทรงกรุณาปราณี ได้โปรดปกปักรักษา

ข้าฯด้วยเถิด”(4)

 (4) มะฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 300.

๑๐๘

การตอบสนองต่อบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามที่ 7

บรรดาอิมาม(อฺ)ทั้งหลายนั้นต่างใช้ชีวิตทั้งหมดในฐานะผู้ถูกกดขี่ข่มเหง ตลอดระยะเวลาการปกครองของวงศ์อุมัยยะฮฺ คนทั้งหลายคาดคิดว่าในการปกครองของสมัยวงศ์อับบาซียะฮฺสิ่งนั้นคงจะบรรเทาเบาบางลงบ้างและภัยอันตรายคงจะยกเลิกจากพวกท่าน(อฺ)ไปบ้าง ซึ่งการคาดคิดของคนทั้งหลายไม่น่าจะผิดพลาด เพราะเชื้อสายของกลุ่มทั้งสองใกล้เคียงกัน ประกอบกับว่า ราชวงศ์อับบาซียะฮฺนั้นแอบอ้างดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอิมามอฺะลี(อฺ) ธงของท่านอะบูมุสลิมอัล-คุรอซานีที่ได้เข้าไปในเมือง

คุรอซานนั้น ดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอฺะลี(อฺ)

การเข้าไปในเมืองคุรอซานนั้นก็ไม่ใช่เพราะเหตุอื่นนอกจากเพื่อสนับสนุนลูกหลานของท่านอฺะลี(อฺ)

แต่สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ในเมื่อพวกอับบาซียะฮฺได้เริ่มติดตามอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ด้วยการลอบสังหาร คุมขัง ฯลฯ จนช่วงหนึ่งในการปกครองของพวกวงศ์นี้ ยังความรุนแรงแก่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ยิ่งกว่าพวกวงศ์อุมัยยะฮฺเสียอีก

บรรดาอิมาม(อฺ)จะไม่อ่านดุอฺาอ์เพื่อขอสาปแช่งบรรดาผู้อธรรม นอกจากในกรณีที่ความอธรรมถึงขีดสุดของความรุนแรงเท่านั้น เมื่อเราได้รู้ถึงเรื่องนี้จากท่าน(อฺ) เราก็สามารถประเมินสถานการณ์ที่รุนแรงอันเกิดขึ้นแก่ท่านอิมาม(อฺ)ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องขอดุอฺาอ์สาปแช่งบุคคลที่อธรรมต่อท่าน(อฺ)

๑๐๙

ในลำดับต่อไปนี้ เราจะเสนอเรื่องดุอฺาอ์ของท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ที่ได้รับการตอบสนองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

-1-

เจ้าของหนังสือ “นะษะรุต-ตุรรุล” ได้กล่าวไว้ว่า :

 ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ)นั้น มีคนแจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่า อัล-ฮาดี วางแผนการร้ายต่อท่าน(อฺ) ท่าน(อฺ)ได้พูดกับครอบครัวและผู้ติดตามว่า

“พวกท่านมีความคิดเห็นอะไรเสนอแนะแก่ฉันบ้าง?”

คนเหล่านั้นกล่าวว่า

“เราเห็นว่า ท่านควรออกห่างจากเขา และหลบซ่อนให้พ้นไปจากเขา เพราะความชั่วร้ายของเขานั้นจะไม่ให้ความปลอดภัยแก่ท่าน”

ท่าน(อฺ)ยิ้ม แล้วกล่าวว่า

“คนโฉดคิดว่าตัวเองจะสามารถเอาชนะพระผู้อภิบาลได้ แน่นอน

ผู้ชนะที่แท้จริงย่อมชนะอยู่แล้ว”

หลังจากนั้นท่าน(อฺ)ยกมือขึ้นขอดุอฺาอ์ แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มากมายเหลือเกินแล้ว สำหรับพวกศัตรูที่มุ่งหมายทำลายข้าฯ ข่มเหงรังแกข้าฯ โดยแผนการเข่นฆ่าด้วยพิษร้ายของมันจนดวงตาของข้าฯไม่เคยหลับไหล เนื่องจากคอยระแวดระไวต่อพวกมัน ครั้นเมื่อพระองค์ทรงเห็นถึงความอ่อนแอของข้าฯ ในการปกป้องโพยภัยและความเกินกำลังที่ข้าฯจะทานทนกับความเจ็บปวดได้ ขออำนาจและอานุภาพของพระองค์ได้โปรดสลัดสิ่งนั้นออกให้พ้นจากข้าฯโดยมิใช่ด้วยความสามารถและอานุภาพของข้าฯ และจงโยนเขาลงไปสู่หลุมลึกที่พวกเขาขุดล่อข้าฯให้ตกลงไปในโลกแห่งวัตถุของเขา จนห่างไกลจากความหวังในปรโลก

๑๑๐

 มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ที่ได้ทรงกำหนดความโปรดปรานของพระองค์ที่โปรยปรายแก่ข้าฯ และพระองค์มิได้ทรงปฏิเสธความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อข้าฯ

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดลงโทษเขาด้วยอำนาจของพระองค์ โปรดพลิกแผนการของเขาออกจากข้าฯ ด้วยอานุภาพของพระองค์ โปรดบันดาลภาระอันหนักหน่วงจนเกินกำลังให้แก่เขา

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดบันดาลให้ความเป็นศัตรูนั้นกลายเป็นยาบำบัดรักษาแก่ข้าฯ

และบันดาลให้ความแค้นของข้าฯที่มีต่อเขา เป็นการอภัย โปรดประทานแก่ดุอฺาอ์ของข้าฯ ด้วยการตอบรับ และโปรดรับรองคำอุทธรณ์ของข้าฯ และโปรดให้เขาสำนึกเพียงสักเล็กน้อยกับการตอบรับต่อบ่าวของพระองค์

ผู้ถูกกดขี่ แท้จริงพระองค์ทรงมีเกียรติอันยิ่งใหญ่”

ต่อจากนั้นสมาชิกครอบครัวก็ลาจากไป ครั้นต่อมาไม่นาน คนเหล่านั้นมาชุมนุมกันเพื่ออ่านจดหมายที่มีมาถึงท่านอิมามมูซา(อฺ)แจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่ามูซา อัล-ฮาดีนั้นได้ตายเสียแล้ว(1)

(1) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 222. มุฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 29.

๑๑๑

-2-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺ ได้กล่าวว่า : ท่านศอฮิบุ้ล ฟัฎลฺ บินร่อบีอฺเล่าให้เราทราบว่า : ในคืนหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าอยู่บนที่นอนพร้อมกับภรรยาของข้าพเจ้า พอตกกลางคืนข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังที่ประตูเมือง ข้าพเจ้าจึงลุกขึ้นยืนดู

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“อาจเป็นเสียงของลมพัดก็ได้”

แต่แล้วไม่ทันไร ประตูบ้านที่ข้าพเจ้าอยู่ขณะนั้นก็เปิดออก แล้วคนชื่อ ‘มัซรูร’ก็พรวดพลาดเข้ามา พลางกล่าวว่า

“จงยอมรับคอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด”

โดยมิได้ให้สลามแก่ข้าพเจ้าแต่ประการใด ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังมาก นึกในใจว่า ‘มัซรูร’ ผู้นี้เข้ามาโดยไม่ขออนุญาตและไม่ให้สลาม ฉะนั้นย่อมไม่มีจุดประสงค์อื่นนอกจากมาฆ่า ขณะนั้น

ข้าพเจ้ามีญุนุบอยู่จึงไม่ได้ถามอะไรเขา โดยให้เขาคอยข้าพเจ้าซึ่งต้องอาบน้ำชำระร่างกายเสียก่อน

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“จงยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อย่างหนักแน่น แล้วลุกออกไปเถิด”

ข้าพเจ้าจึงลุกออกไปสวมเสื้อผ้า แล้วออกมาพร้อมกับเขาจนถึงอาคาร ข้าพเจ้าได้กล่าว

สลามท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(คอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด) ที่กำลังเอนเอกเขนกอยู่ เขารับสลาม แล้วข้าพเจ้าก็นั่งลง

เขากล่าวว่า

“ท่านกลัวมากใช่ไหม ?”

๑๑๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ใช่แล้ว โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน”

เขาปล่อยให้ข้าพเจ้าพักสงบจิตใจอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า

“จงออกไปยังคุกของเรา แล้วปล่อยมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ออกมา พร้อมกับจ่ายเงินให้กับเขาสามหมื่นดิรฮัม และให้พาหนะอีกสามชุด และให้ออกเดินทางไปจากเรา ไปที่ไหนก็ได้ตามที่เขาปรารถนา”

ข้าพเจ้าพูดกับเขาว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะปล่อยตัวมูซา บินญะอฺฟัร กระนั้นหรือ ?”

เขาตอบว่า

“ใช่แล้ว”

ข้าพเจ้าทวนคำถามถึงสามครั้ง เขาก็ตอบว่า

“ใช่แล้ว ท่านต้องการจะให้ฉันผิดคำสัญญากระนั้นหรือ ?”

ข้าพเจ้าถามว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน คำสัญญาที่ว่านั้นหมายถึงอะไร ?”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ขณะที่ข้านอนอยู่บนเตียงแห่งนี้ มีสิงโตตัวหนึ่งขึ้นมาคร่อมบนหน้าอก และขย้ำตรงคอหอยของข้า มันเป็นสิงโตตัวใหญ่ชนิดที่ข้าไม่เคยเห็นมาก่อน และมันพูดกับข้าว่า

“ท่านกักขังมูซา กาซิมด้วยกับความอธรรม”

๑๑๓

ข้าจึงพูดกับมันว่า

“ข้าจะปล่อยตัวเขาและจะมอบสิ่งของให้เขา ข้าขอทำสัญญากับ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)

มันจึงออกไปจากหน้าอกของข้า ซึ่งแทบว่าชีวิตของข้าจะปลิดออกจากร่าง”

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺได้เล่าต่อไปว่า : แล้วข้าพเจ้าก็ออกจากที่นั่น และไปพบท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ซึ่งกำลังอยู่ในคุก ข้าพเจ้าเห็นท่าน(อฺ)นมาซ ข้าพเจ้าจึงนั่งรอจนท่าน(อฺ)ให้สลาม

หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้เข้าไป แล้วกล่าวว่า

“ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(ฮารูน รอชีด) ฝากสลามมายังท่าน และแจ้งให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งมา และข้าพเจ้าก็ได้นำคำสั่งนั้นมายังท่านแล้ว”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ถึงแม้ท่านจะถูกสั่งมาให้ทำอย่างอื่น ท่านก็จงกระทำเถิด”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“หามิได้ ขอสาบานต่อสิทธิของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่าข้าพเจ้ามิได้ถูกสั่งมาให้กระทำอย่างอื่นนอกจากสิ่งนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ไม่มีความจำเป็นอันใดสำหรับข้าพเจ้าในเรื่องการมอบเสื้อผ้า ทรัพย์สิน ยานพาหนะต่างๆในเมื่อสิ่งนั้นๆ เป็นสิทธิของประชาชาติอิสลาม”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านอย่าได้ปฏิเสธเลย”

๑๑๔

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านจงกระทำในสิ่งที่ท่านต้องการเถิด”

ข้าพเจ้าได้จับมือท่านอิมาม(อฺ) แล้วนำท่าน(อฺ)ออกจากคุก จากนั้นจึงได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โปรดบอกข้าพเจ้าซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ท่านได้รับความเอื้อเฟื้อจากชายคนนี้เป็นสิทธิของข้าพเจ้าเหนือท่านที่จะต้องแสดงความยินดีกับท่าน และได้รับรางวัลจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จากผลงานอันนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันได้ฝันเห็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในคืนวันพุธที่ผ่านมา ท่าน(ศ)บอกฉันว่า

“มูซา เอ๋ย เจ้าถูกกักขังด้วยกับความอธรรม”

ฉันตอบว่า

“ใช่แล้ว ยารอซูลุลลอฮฺ”

ท่าน(ศ)กล่าวอย่างนี้สามครั้ง แล้วท่าน(ศ)พูดอีกว่า

“หวังว่าสิ่งนี้ จะเป็นการทดสอบสำหรับพวกเจ้า และเป็นความสุขชั่วระยะหนึ่ง เจ้าจงถือศีลอดในพรุ่งนี้เช้า และจงถือติดต่อทั้งวันพฤหัสและวันศุกร์ ครั้นถึงเวลาละศีลอด เจ้าจงนมาซ 12ร็อกอะฮฺ ในทุกร็อกอะฮฺนั้น

 จงอ่านอัล-ฮัมดุ 1 ครั้ง และอ่านกุลฮุวัลลอฮุ อะฮัด 12 ครั้ง ครั้นทำ

นมาซครบ 4 ร็อกอะฮฺ

๑๑๕

แล้วจงซุญูด แล้วให้อ่านดุอฺาอ์บทหนึ่ง ดังนี้ :

“โอ้ผู้ทรงชัยชนะ ผู้ทรงได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งหมด ผู้ทรงให้ชีวิตแก่กระดูกที่มันผุกร่อน หลังจากความตาย ข้าฯขอต่อพระนามของพระองค์

พระผู้ทรงยิ่งใหญ่ ขอพระองค์ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัด บ่าวของพระองค์และศาสนทูตของพระองค์ และแด่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ และโปรดได้บันดาลให้ข้าฯ ได้รับความรอดพ้นโดยเร็วพลัน”

ฉันได้กระทำอย่างนั้น แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปเหมือนที่ท่านได้เห็น(2)

(2) มะดีนะตุล-มะอาญิช หน้า 394.

คำสดุดี จากบรรดานักปราชญ์ต่ออิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)

บรรดามุสลิมทั้งหลายถึงแม้จะมีมัซฮับแตกต่างกัน แต่ก็ลงความเห็นตรงกันในเรื่องของเกียรติยศของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ตลอดทั้งยอมรับในเรื่องวิชาการ ตำแหน่งอันสูงส่ง

และความมีสถานภาพที่ใกล้ชิดต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นักปราชญ์ทั้งหลายต่างได้บันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ในตำราของพวกเขาเกี่ยวกับฮะดีษต่าง ๆ ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวถึงท่าน(อฺ)เหล่านั้น มีการอธิบายกันถึงเกียรติประวัติ จริยธรรม ความเฉลียวฉลาดและความรอบรู้ของท่าน(อฺ)เหล่านั้น

๑๑๖

ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ผนวกบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ควบคู่กับอัล-กุรอาน เช่น ในฮะดีษที่ว่าด้วย

 ‘อัษ-ษะก่อลัยนฺ’ (สิ่งสำคัญสองประการ) และที่อุปมาว่า

บุคคลเหล่านั้นเหมือนเรือของท่านนบีนูฮฺ(อฺ) ถ้าผู้ใดขึ้นเรือก็จะปลอดภัย ผู้ใดผลักไสก็จะพินาศล่มจม และเปรียบว่าคนเหล่านั้นเหมือนประตูอัล-ฮิฏเฏาะฮฺ ที่ถ้าหากใครเข้าไปก็จะปลอดภัย

อีกทั้งมีฮะดีษมากมายที่รายงานว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวถึงเกียรติคุณของท่าน(อฺ)เหล่านั้นไว้

ในบทนี้เราจะเสนอคำสดุดีของบุคคลต่างๆ ที่มีต่อท่านอิมามมูซา

 กาซิม(อฺ) ดังต่อไปนี้

1. ท่านอิมามศอดิก (อฺ) ได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิมเป็นคนรอบรู้ในกฎเกณฑ์ มีความเข้าใจจริงและรู้จักอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายจำเป็น ซึ่งเรื่องนั้นๆ คนทั้งหลายขัดแย้งกันในกิจการศาสนา เขาเป็นคนมีจริยธรรมที่ดีงาม เป็นเพื่อนบ้านที่ดี และเป็นประตูบานหนึ่งในหลายๆ ประตูที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปิดให้(1)

(1) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 234.

๑๑๗

2. ฮารูน รอชีดได้กล่าวว่า:

สำหรับมูซา กาซิมนั้น เขาคือประมุขทางศาสนาของพวกตระกูลฮาซิม(2)

(2) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 92.

เขายังได้พูดกับมะอ์มูน ผู้เป็นบุตรชายของเขาอีกว่า

“มูซา ผู้นี้คืออิมามของมนุษยชาติ เป็นข้อพิสูจน์หนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อมวลมนุษย์ และเป็นค่อลีฟะฮฺของพระองค์ในหมู่ปวงบ่าวทั้งหลายของพระองค์”(3)

(3) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 กอฟ เล่ม 3 หน้า 51.

เขาได้กล่าวต่อไปอีกว่า

“โอ้ลูกเอ๋ย มูซา กาซิมผู้นี้เป็นทายาททางความรู้วิชาการของบรรดานบี ถ้าเจ้าต้องการความรู้ที่ถูกต้อง ก็จงไปเอาจากเขาผู้นี้แหละ”(4)

(4) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 383. อะมาลี ของเชค ศ็อดดูก 307.

๑๑๘

3. มะอ์มูน กษัตริย์ในราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้กล่าวถึงอิมามมูซา กาซิม (อฺ) ว่า:

ท่านเป็นคนเคร่งครัดในการทำอิบาดะฮฺอย่างยิ่ง ใบหน้าและจมูกของท่านมีแต่การกราบพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น(5)

(5) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 93.

4. ท่านอีซา บินญะอฺฟัรได้เขียนจดหมายไปหาฮารูน รอชีดว่า:

ตลอดเวลาที่ท่านมูซา กาซิมอยู่ในคุกอย่างยาวนานนั้น ฉันไม่เคยเห็นเขาว่างเว้นจากการอิบาดะฮฺเลย ฉันได้จัดคนให้คอยฟังการขอดุอฺาอ์ของเขา ปรากฏว่าเขาไม่เคยขอดุอฺาอ์สาปแช่งท่านและฉันเลย และไม่เคยกล่าวถึงเราในทางที่ไม่ดี และไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง นอกจากการอภัยและความเมตตา(6)

(6) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก็อฟ 3/71.

5. ท่านอะบูอฺะลี อัล-คิลาล (นักปราชญ์มัซฮับฮันบะลี) ได้กล่าวว่า:

เมื่อฉันกลุ้มใจในเรื่องใด ฉันจะไปยังสุสานของท่านอิมามมูซา กาซิมเสมอเพื่อขอการตะวัซซุล แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงให้ความสะดวกในกิจการที่ฉันอยากได้เสมอ(7)

(7) ตารีค บัฆดาด เล่ม 1 หน้า 120.

๑๑๙

6. อิมามชาฟิอีได้กล่าวว่า:

สุสานของอิมามมูซา กาซิมคือสถานที่ที่มีความประเสริฐสูงส่งยิ่ง”(8)

(8) ตุฮฺฟะตุล-อาลิม เล่ม 2 หน้า 22.

7. ท่านอะบูฮาติมได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คือผู้ที่น่าเชื่อถือในด้านรายงานฮะดีษ(ษิกเกาะฮฺ) และสัจจริง และเป็นผู้นำ(อิมาม)ของประชาชาติมุสลิมทั้งหลาย(9)

 (9) ตะฮุชีบุต-ตะฮฺชีบ เล่ม 10 หน้า 240.

8. ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บินอัล-เญาซีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมได้ชื่อว่าเป็นบ่าวที่มีคุณธรรม เพราะการอิบาดะฮฺ การอิจญ์ติฮาด และดำรงนมาซในยามกลางคืน และท่านเป็นคนที่มีเกียรติที่สุภาพ เมื่อท่านได้รับข่าวคราวว่า ใครกล่าวร้ายท่าน ท่านจะตอบแทนคนนั้นด้วยทรัพย์สินเสมอ(10)

(10) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 หน้า 103.

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450