บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม0%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน: ดร.มุฮัมมัด ซะอีดีย์ เมฮร์
กลุ่ม:

หน้าต่างๆ: 450
ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 295057
ดาวน์โหลด: 3084

รายละเอียด:

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
ค้นหาในหนังสือ
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 295057 / ดาวน์โหลด: 3084
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

๓.ความต้องการผลประโยชน์ของมนุษย์

มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องการผลประโยชน์ และส่วนมากของมนุษย์ได้คิดผิดพลาดต่อผลประโยชน์ที่ได้รับ เพราะด้วยกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเขา ทำให้เขาคิดว่า มันคือ ผลประโยชน์ แต่แท้จริงกลายเป็นความหายนะที่เกิดขึ้นกับเขา

อัล กุรอานได้กล่าวถึง สาเหตุหนึ่งของการมีภาคีต่อพระเจ้า คือ การแสวงหาผลประโยชน์ของมนุษย์ จึงเป็นเหตุให้เขาออกห่างจากการรู้จักถึงพระเจ้า

บางส่วนของผลประโยชน์จอมปลอมที่พวกตั้งภาคีได้กุขึ้น มีดังนี้

๑.การรับอนุเคราะห์จากพระเจ้า

 “และพวกเขาจะเคารพภักดีสิ่งอื่นไปจากอัลลอฮ์ที่มิได้ให้โทษแก่พวกเขา และมิได้ให้ประโยชน์แก่พวกเขา และพวกเขาจะกล่าวว่า เหล่านี้คือผู้ช่วยเหลือเรา ณ ที่อัลลอฮ์ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) พวกท่านจะแจ้งข่าวแก่อัลลอฮ์ด้วยสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงรู้ ในบรรดาชั้นฟ้าและในแผ่นดินกระนั้นหรือ ? พระองค์ทรงมหาบริสุทธิ์และทรงสูงส่งเหนือสิ่งที่พวกเขาตั้งภาคีขึ้น”

  (บทยุนูส โองการที่ ๑๑ )

๒. การช่วยเหลือ

 “และพวกเขาได้ยึดถือเอาพระเจ้ามากมาย (เป็นที่เคารพสักการะ) นอกจากอัลลอฮ์หวังว่าพวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือ (จากมัน)” ( บทยาซีน โองการที่ ๗๔)

๒๒๑

๓. ความมีเกียรติยศและศักดิ์ศรี

 “และพวกเขาได้ยึดเอารูปปั้นต่าง ๆ เป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮ์ เพื่อที่จะเป็นพลังอำนาจแก่พวกเขา”

(บทมัรยัม โองการที่ ๘๑)

๔.การปฏิบัติตามอารมณ์ของมนุษย์และการกระซิบกระซาบของซาตานมารร้าย

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีการตั้งภาคีที่กล่าวในอัล กุรอานก็คือ การปฏิบัติตามอารมณ์ของมนุษย์ เช่น

 “เขากล่าวว่า ฉันเห็นในสิ่งที่พวกเขามองไม่เห็น ดังนั้น ฉันจึงกำเอากอบหนึ่งจากรอยของร่อซู้ล (หมายถึงญิบรีล) แล้วฉันได้โยนมันลงไปและเช่นนั้นแหละจิตใจของฉันได้เห็นดีเห็นงาม”

 (บทตอฮา โองการที่ ๙๖)

 “และฉันได้พบนางและหมู่ชนของนางสักการะบูชาดวงอาทิตย์อื่นจากอัลลอฮ์ และมารร้ายชัยตอนได้ทำให้การงานของพวกเขาเป็นของดีงามแก่พวกเขา และได้กีดกันพวกเขาออกจากแนวทางที่ถูกต้อง ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ได้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง” (บทอัลนัมล์ โองการที่ ๒๔)

๕.การปฏิบัติตามผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผล

 “เปล่าเลย พวกเขากล่าวว่า แท้จริงเราได้พบเห็นบรรพบุรุษของเราอยู่ในแนวทางนี้ ดังนั้นเราจึงดำเนินตามแนวทางของพวกเขา” (บทอัซซุครุฟ โองการที่ ๒๒)

๒๒๒

“และเช่นนั้นแหละ เรามิได้ส่งผู้ตักเตือนคนใดก่อนหน้าเจ้าไปยังเมืองใด เว้นแต่บรรดาผู้ฟุ่มเฟือยของมัน (เมืองนั้น) จะกล่าวว่า แท้จริงเราได้พบเห็นบรรพบุรุษของเราอยู่ในแนวทางนี้ ดังนั้นเราจึงดำเนินตามแนวทางของพวกเขา”

(บทอัซซุครุฟ โองการที่ ๒๓)

   วิธีการตอบโต้ของอัล กุรอานต่อการตั้งภาคี

    วิธีการตอบโต้กับปรากฏการณ์หนึ่งทางธรรมชาติ คือ การตอบโต้ด้วยกับเหตุและผล และในอัล กุรอานก็เช่นกัน  นอกเหนือจากการให้เหตุผลของการตั้งภาคีไปแล้ว ยังได้ใช้วิธีการตอบโต้ในเหตุผลของการตั้งภาคี ที่ละเหตุผล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อัลกุรอานเป็นคัมภีร์แห่งการชี้นำอย่างแท้จริง

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า อัล กุรอานได้กล่าวเน้นย้ำถึงการไม่เพียงพอต่อการคาดเดา และการคาดคะเน แต่อัลกุรอานยังได้เชิญชวนไปสู่การแสวงหาความรู้และการเรียนรู้ และให้มีความมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นเต็ม และอัลกุรอานยังได้เชิญชวนให้ใช้ความคิดในสิ่งต่างๆที่อยู่เหนือธรรมชาติ และยังได้เน้นย้ำในการไร้ความสามารถของสิ่งที่พวกตั้งภาคีทั้งหลายทำการเคารพสักการะบูชา และสิ่งต่างๆเหล่านั้นก็ไม่ได้ให้ประโยชน์อันใดกับพวกเขาเลย และอัล กุรอานได้ห้ามมิให้มนุษย์ปฏิบัติตามบรรพบุรุษเพียงอย่างเดียว เพราะว่าการปฏิบัติตามพวกเขา อาจคาดว่าจะเกิดความผิดพลาดก็เป็นได้ ด้วยเหตุนี้ อัลกุรอานได้ใช้เหตุผลในการตอบโต้กับการตั้งภาคีทุกประเภท

๒๒๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.อัล กุรอานได้ปฏิเสธการตั้งภาคีในทุกประเภทและกล่าวว่า การตั้งภาคีถือว่า เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง

๒.ทัศนะของอัล กุรอานมีความเห็นว่า การตั้งภาคีไม่มีพื้นฐานทางสติปัญญาและยังได้กล่าวอีกว่า การตั้งภาคีเป็น บาปอันใหญ่หลวงที่อภัยให้ไม่ได้

๓.อัล กุรอานได้กล่าวว่า ผลสุดท้ายของการตั้งภาคี คือ การทำลายความดีที่ได้กระทำมาโดยตลอด

๔.อัล กุรอานได้อธิบายในสาเหตุการตั้งภาคี คือ การปฏิบัติตามการคาดคะเนที่ผิดพลาด ,การหลงใหลในสิ่งที่สัมผัสได้และหลงลืมในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ,การแสวงหาผลประโยชน์ของมนุษย์ เช่น การขออนุเคราะห์จากสิ่งที่สักการะบูชา การขอความช่วยเหลือจากสิ่งเหล่านั้น , การปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำและการกระซิบกระซาบของซาตานมารร้าย และการปฏิบัติตามผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผล

๕.นอกเหนือจากนี้ อัล กุรอานยังได้กล่าวถึง สาเหตุของการตั้งภาคี แล้วยังได้ตอบโต้กับการตั้งภาคีทุกประเภทด้วย

๒๒๔

ภาคที่ สาม

คุณลักษณะของพระเจ้า

๒๒๕

บทที่ ๑ คุณลักษณะของพระเจ้า

   เนื้อหาทั่วไป

    หลังจากที่ได้อธิบายในการรู้จักพระเจ้าผ่านไปแล้วด้วยกัน  ๒ ภาค

  ภาคที่ ๑ เรื่องการรู้จักพระเจ้า ประเด็นที่อธิบายในภาคนี้ คือ การพิสูจน์พระเจ้ามีอยู่จริง และวิธีการรู้จักพระเจ้า วิธีการฟิฏรัต วิธีการทางสติปัญญา

 ภาคที่ ๒ เรื่องหลักเตาฮีด (ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า) ถือว่าเป็นหลักการที่สำคัญในการรู้จักต่อพระเจ้าในศาสนาอิสลาม และภาคนี้จะขออธิบายในเรื่องของ คุณลักษณะของพระเจ้า กัน

ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า จากที่ได้อธิบายไปแล้วถึง การรับรู้ในพระเจ้าหรือการรู้จักต่อพระองค์นั้น มี ๒ วิธีการ ดังนี้

๑.การรับรู้โดยตรง ซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ด้วยเหตุผลระหว่างวาญิบุล-วุญูด(พระเจ้า)และมุมกินุล-วุญูด(มนุษย์) เพราะว่า มนุษย์มีความต้องการไปยังพระเจ้าในการมีอยู่ของเขา

๒.การรับรู้โดยผ่านสื่อ เป็นการรับรู้ที่เกิดขึ้นจากประสาทสัมผัสของมนุษย์ และวิธีการนี้ไม่ได้ทำให้มนุษย์ไปสู่ความเป็นจริงของพระเจ้า ดั่งที่ด้กล่าวไปแล้ว แต่ทำให้มนุษย์รู้จักในคุณลักษณะและการกระทำของพระองค์ได้

ความสำคัญของคุณลักษณะของพระเจ้า และบทบาทที่สำคัญในการรู้จักพระองค์ เพราะว่า การรู้จักในคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์เองนั้น นำไปสู่การรู้จักในคุณลักษณะของพระเจ้า

๒๒๖

ได้กล่าวผ่านไปแล้วในเรื่อง เหตุผลการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า ถึงการมีอยู่ของคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์นั่นก็ คือ วาญิบุลวุญูด (ความจำเป็นต้องมีอยู่) และยังมีคุณลักษณอื่นอีกมากมายของพระเจ้า กล่าวอีกนัยหนึ่ง  ในเรื่องคุณลักษณะของพระเจ้านั้นมีความสำคัญ เป็นอย่างมาก เพราะว่ามนุษย์ที่มีความเชื่อในหลักเตาฮีด ก็มีความเชื่อในคุณลักษณะของพระเจ้าเช่นกัน การวิพากษ์กันในเรื่องคุณลักษณะของพระเจ้า โดยที่บางคนบอกว่า การมีอยู่ของพระเจ้านั้นเหมือนกับการมีอยู่ของมนุษย์ พระองค์มีร่างกายและเนื้อหนังมังสาเหมือนมนุษย์ พระองค์พำนักในชั้นฟ้า และชนกลุ่มหนึ่ง มีความเห็นว่า พระเจ้าไม่มีร่างกายเหมือนมนุษย์เลย และบางคนก็คิดว่า พระเจ้าทรงมีพลังอำนาจที่มีขอบเขตจำกัด โดยมีบางเรื่องที่อำนาจของพระองค์ไปไม่ถึง และบางกลุ่มชนก็มีความเห็นที่ตรงกันข้าม หมายความว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงกรรทสิทธิ์เหนือทุกสรรพสิ่งทั้งหลาย

    พระนาม คุณลักษณะ การกระทำของพระเจ้า

    เรื่องของการรู้จักพระเจ้ามี สามคำศัพท์ที่ถูกใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี คือ

๑.”อัสมาอ์ อิลาฮี” หมายถึง พระนามทั้งหลายพระเจ้า

๒.”ซิฟัต อิลาฮี” หมายถึง คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้า

๓.”อัฟอาล อิลาฮี” หมายถึง การกระทำทั้งหลายของพระเจ้า

๒๒๗

พึงรู้ไว้เถิดว่า คำสามคำนี้ ได้ถูกนำไปใช้ในวิชาการแขนงต่างๆ และมีความหมายที่ไม่เหมือนกันในวิชาการเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ เทววิทยาอิสลามได้นำเอาทั้งสามคำมาใช้ด้วยกันและถูกให้ความหมายที่ไม่เหมือนกัน โดยนักเทววิทยาบางคน ได้ใช้คำว่า ซิฟัตคู่กับอัสมาอ์ ซึ่งมีความหมายที่เหมือนกัน เช่น คำว่า”อาลิม”เป็นซิฟัต หมายถึง ผู้ทรงไว้ซึ่งความรอบรู้ กับคำว่า”อะลีม”เป็นอัสมาอ์ หมายถึง ความรอบรู้ และคำว่า”กอดิร” (ผู้ทรงมีพลังอำนาจ) กับกอดีร (การมีพลังอำนาจ) ซึ่งคำทั้งสองเป็นทั้งอัสมาอ์ (พระนาม) และซิฟัต (คุณลักษณะ)

และบางครั้ง นักเทววิทยา ได้ให้ความหมายของ ซิฟัตและอัสมาอ์มีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น คำว่าอิลม์ (ความรู้) เป็นซิฟัต(คุณลักษณ)ะ และอาลิม(ผู้ทรงความรู้) เป็น อัสมาอ์(พระนาม)ของพระเจ้า

และในบางครั้ง ได้ให้คำทั้งสองมีความหมายที่แตกต่างกันจากที่ได้กล่าวไปแล้ว คือ  คำว่าอิสม์ หมายถึง คำที่ใช้แทนพระนามของพระเจ้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก เช่น คำว่า อัลลอฮ์ในภาษาอาหรับ หรือ โคดาในภาษาฟารซีย์

ส่วนซิฟัต หมายถึง คำที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะของพระเจ้า มีจำนวนมากมายและคำว่า อาลิม ฮัยยุ มุรีด เกาะดีร ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดเป็นคุณลักษณะของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ ความหมายหนึ่งของซิฟัต ในบทนี้ ก็คือ คำๆหนึ่งที่ให้ความสัมพันธ์ไปยังพระเจ้าและคำนั้นมีอยู่ในอาตมันของพระองค์

๒๒๘

    คุณลักษณะของพระเจ้าในเทววิทยาอิสลาม

    เรื่องของคุณลักษณะของพระเจ้าเป็นประเด็นที่บรรดานักเทววิทยาอิสลามได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

โดยพวกเขาได้แบ่งประเด็นต่างๆออกด้วยกัน เป็น ๒ ประเด็นหลัก ดังนี้

๑.ประเด็นแรก เรื่องทั่วไปในคุณลักษณะของพระเจ้า หมายถึง การอธิบายในทุกประเภทของคุณลักษณะของพระองค์

๒.ประเด็นที่สอง ประเด็นที่เฉพาะกับคุณลักษณะประการหนึ่งเท่านั้น คือ การอธิบายในบางคุณลักษณะ เช่น ความรู้ เป็นต้นฯ

การอธิบายในประเด็นนี้ ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเด็นย่อย ดังนี้

๑.การพิสูจน์ในการมีความสัมพันธ์ของคุณลักษณะกับซาต (อาตมัน) ของพระเจ้า

๒.การอธิบายในความเป็นจริงของคุณลักษณะของพระเจ้าและคุณสมบัติของมัน

(ก).ชนิดของคุณลักษณะของพระเจ้า 

ในเรื่องนี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลามได้จัดแบ่งประเภทของคุณลักษณะของพระเจ้า

(ข).ความเป็นไปได้ในการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า

ในเรื่องนี้เป็นคำตอบสำหรับคำถามที่เกี่ยวกับการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า และในอธิบายในทัศนะของเทววิทยาอิสลามเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระองค์

๒๒๙

(ค).สื่อที่ใช้ในการรู้จักถึงคุณลักษณะของพระเจ้า

หลังจากที่อธิบายถึงความเป็นไปได้ต่อการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า จ มากล่าวกันถึง สื่อที่ใช้ในการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า

(ง).การอธิบายความหมายของคุณลักษณะของพระเจ้า

ในประเด็นนี้ เรามาอธิบายในความหมายของคุณลักษณะของพระเจ้าและคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างและความหมายที่ใช้กับพระเจ้าและมนุษย์นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร

(จ).การพิสูจน์ในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่สมบูรณ์ในพระเจ้า

ในประเด็นนี้ อธิบายในเหตุผลการมีอยู่ของคุณลักษณะที่สมบูรณ์ในพระเจ้า

(ฉ).ความสัมพันธ์ของอาตมันกับคุณลักษณะของพระเจ้า

ในประเด็นนี้ กล่าวถึงคุณลักษณะของพระเจ้ามีความเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์

(ช).การไม่หยุดนิ่งของพระนามและคุณลักษณะในพระเจ้า

คำถามที่เกิดขึ้นว่า ในการอธิบายถึงพระเจ้า ด้วยกับนามทั้งหลายและคุณลักษณะที่มีกล่าวไว้ในอัล กุรอานเพียงพอแล้วหรือ สามารถกล่าวว่า ทุกคุณลักษณะที่สมบูรณ์ทั้งหลายนั้น มีอยู่ในพระเจ้า

ในขั้นตอนที่สอง หมายถึง  เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของพระเจ้า  มีดังนี้

๑.การอธิบายความหมายของคุณลักษณะ

๒.การให้เหตุผลในการพิสูจน์คุณลักษณะในพระเจ้า

๓.การตรวจสอบคำถามและข้อสงสัยในคุณลักษณะของพระเจ้า

๒๓๐

    ประเภทของคุณลักษณะของพระเจ้า

    การแบ่งประเภทของคุณลักษณะของพระเจ้า มีด้วยกันหลายประเภท ดังนี้

๑.คุณลักษณะการมีอยู่และการไม่มี

การแบ่งประเภทชนิดเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเทววิทยาอิสลาม

คุณลักษณะการมี หมายถึง คุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบ เช่น ความรอบรู้ ความมีพลังอำนาจ, ความประสงค์ เป็นต้น

ส่วนคุณลักษณะที่ไม่มีหรือคุณลักษณะในด้านลบ หมายถึง คุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในพระเจ้า  เช่น พระองค์ ไม่มีชิ้นส่วน , ไม่มีสถานที่ และไม่มีที่พำนัก

จากที่ได้กล่าวไปแล้ว เป็นที่กระจ่างชัดว่า ความหมายของคุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า มิได้หมายความว่า พระองค์มีความไม่สมบูรณ์หรือมีข้อบกพร่อง แต่คุณลักษณะที่ไม่มีก็เหมือนกับคุณลักษณะที่มีของพระองค์นั่นแหละ กล่าวคือ การอธิบายในความสมบูรณ์ของพระเจ้าก็ เพราะว่า คุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ หมายถึง การให้ความหมายที่ไม่เหมาะสมกับความเป็นพระผู้เป็นเจ้า  และมีความหมายที่ไม่สมบูรณ์จากอาตมันของพระองค์ ยกตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหวของสิ่งหนึ่ง บ่งบอกถึง ความไม่สมบูรณ์ของสิ่งนั้น  เพราะว่า การเคลื่อนไหวนั้น เริ่มต้นจากการไม่มีความสมบูรณ์ในสิ่งนั้น หลังจากนั้น เมื่อได้เริ่มเคลื่อนไหว ความสมบูรณ์ก็เข้ามาในสิ่งนั้น ดังนั้น ความหมายของการเคลื่อนไหวจึงมีความขัดแย้งกับความจำเป็นต้องมีอยู่ และความสมบูรณ์แบบที่สุดของพระเจ้า

๒๓๑

เพราะว่า การปฏิเสธในการไม่มี หมายถึง การบ่งบอกว่ามี ความสมบูรณ์อยู่นั่นเอง

บางครั้งบางคราวอาจจะคิดว่า การมีร่างกาย , การเคลื่อนที่, การเป็นสิ่งที่เป็นวัตถุ เป็นคุณลักษณะในด้านลบ เพราะว่า พระเจ้าไม่มีคุณลักษณะเหล่านี้ ดังนั้น ทัศนะที่ถูกต้อง คือ การไม่มีร่างกาย, การไม่มีการเคลื่อนที่, การมิได้เป็นสิ่งที่เป็นวัตถุ ทั้งหมดนั้น เป็นคุณลักษณะในด้านลบ

ด้วยเหตุนี้ คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า มิได้หมายความว่า คุณลักษณะที่ไม่สามารถใช้ในพระเจ้าได้ แต่หมายถึง ความหมายของคุณลักษณะใดก็ตามที่บ่งบอกว่า ไม่มีในพระองค์หรือไม่อาจจะสมมุติขึ้นมาเองได้

มีคำถามเกิดขึ้นมาว่า ถ้าความหมายของคุณลักษณะในด้านลบ หมายถึง การพิสูจน์ความสมบูรณ์ของพระเจ้า แล้วทำไมไม่ถูกกล่าวคุณลักษณะนั้นในสภาพที่เป็นคุณลักษณะที่สมบูรณ์ของพระองค์ด้วย?

สำหรับคำตอบก็คือ ทุกคุณลักษณะทีไม่มีในพระเจ้าอยู่ตรงกันข้ามกับคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์ เช่น คุณลักษณะการไม่มีร่างกายของพระเจ้าตรงกันกับความบริสุทธิ์ของพระองค์ เพื่อที่จะมีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น จึงใช้คุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์เป็นการอธิบาย

จากการอธิบายในคุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า สามารถบอกถึงความแตกต่างระหว่างพระองค์กับสิ่งถูกสร้างได้ เมื่อกล่าวว่า พระเจ้าไม่มีร่างกาย พระองค์ไม่มีที่พำนัก และไม่มีกาลเวลา บ่งบอกถึง ความแตกต่างของสิ่งที่มีร่างกาย สถานที่และ เวลา ได้อย่างชัดเจน ที่จะกล่าวถึงคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์เสียอีก

๒๓๒

๒.คุณลักษณะในอาตมันและคุณลักษณะในกิริยา การกระทำ

คุณลักษณะในอาตมัน หมายถึง คุณลักษณะที่เข้าใจได้ว่า เกิดจากอาตมันของพระเจ้า เช่น คุณลักษณะการมีพลังอำนาจ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามีความสามารถที่จะกระทำในสิ่งใดก็ได้และจะไม่กระทำในสิ่งใดก็ได้ตามพระทัยของพระองค์

คุณลักษณะในกิริยา การกระทำ หมายถึง คุณลักษณะที่เกิดจากการมีความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับสิ่งอื่น เช่น คุณลักษณะใน การเป็นผู้สร้าง

การอธิบายในการมีคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า เกิดขึ้นจากการจินตนาการคุณลักษณะนั้นในสติปัญญาโดยที่ไม่ต้องพึ่งสิ่งใด และการอธิบายในคุณลักษณะในกิริยา การกระทำ ต้องใช้การจินตนาการจากสิ่งอื่น จึงจะมีความเข้าใจได้ว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะในการกระทำด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการที่กล่าวว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้าง ต้องใช้การจินตนาการในสิ่งหนึ่งที่พระองค์ได้สร้างมันขึ้นมา แล้วให้มีความสัมพันธ์สิ่งนั้นไปยังพระเจ้า ดังนั้น จึงจะเรียกว่า การสร้างของพระองค์

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า อาตมันของพระเจ้า ที่ทำให้เรารู้ว่า พระองค์มีคุณลักษณะในอาตมัน และจากการกระทำของพระองค์ ทำให้รู้ว่า พระองค์มีคุณลักษณะในกิริยา การกระทำ ดังนั้น คุณลักษณะความรอบรู้ การมีพลังอำนาจ, การมีชีวิต, เป็นคุณลักษณะในอาตมัน

ส่วนคุณลักษณะการสร้าง , การประทานปัจจัยยังชีพ, การมีเมตตาเอ็นดู, การชี้นำแนวทาง เป็นคุณลักษณะในกิริยาการกระทำ

๒๓๓

๓.คุณลักษณะที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์และในการมีความสัมพันธ์

คุณลักษณะที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ หมายถึง คุณลักษณะที่ไม่ต้องการความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นใด เช่น คุณลักษณะการมีชีวิต

คุณลักษณะในการมีความสัมพันธ์ หมายถึง คุณลักษณะที่ต้องการความสัมพันธ์ไปยังสิ่งหนึ่ง จึงจะมีความเข้าใจได้ เช่น คุณลักษณะความรู้ เพราะว่า ความรู้นั้น ต้องมีความต้องการผู้ที่ให้ความรู้

๔.คุณลักษณะในอาตมันและในการบอกข่าว (คอบัร) เป็นการจัดประเภทที่เฉพาะของชาวอะฮฺลุลฮะดีษ พวกเขากล่าวว่า คุณลักษณะในอาตมัน หมายถึง คุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบของพระเจ้า

คุณลักษณะในการบอกข่าว หมายถึง คุณลักษณะที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานและวจนะทั้งหลาย เช่น อัลกุรอานกล่าวว่า พระเจ้ามีมือ มีตา มีร่างกาย และจากการไม่เข้าใจในความหมายของคุณลักษณะเหล่านี้ จึงเป็นสาเหตุทำให้เขาคิดว่า พระเจ้ามีรูปร่างหน้าตา ซึ่งความเชื่อนี้มีความขัดแย้งกับหลักศรัทธาของอิสลาม

๒๓๔

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

คุณลักษณะของพระเจ้า ซิฟาต อิลาฮีย์  (Attributes of God)

พระนามของพระเจ้า อัสมาอ์ อิลาฮีย์ (Names of God)

คุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้า (ในเชิงบวก) ซิฟัต ซูบูตียะฮ์

คุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในพระเจ้า ซิฟัต ซัลบียะฮ์  (ในเชิงลบ)

คุณลักษณะในอาตมัน ซิฟัต ซาตียะฮ์

คุณลักษณะในกิริยา การกระทำ ซิฟัต เฟียะลียะฮ์

คุณลักษณะที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ ซิฟัต นัฟซียะฮ์

คุณลักษณะในการมีความสัมพันธ์ ซิฟัต อิฎอฟียะฮ์

คุณลักษณะในการรายงาน บอกเล่า ซิฟัต เคาะบะรียะฮ์   

   สรุปสาระสำคัญ

๑.วิธีการรู้จักพระเจ้ามี ๒ วิธีการ ดังนี้

(๑) การรับรู้โดยตรง

(๒) การรับรู้โดยผ่านสื่อ

๒.มีอยู่ สองคำที่ถูกใช้ในคุณลักษณะของพระเจ้า

(๑) ซิฟัต อิลาฮี หมายถึง คุณลักษณะของพระเจ้า

(๒) อัสมาอ์ อิลาฮี หมายถึง นามทั้งหลายของพระเจ้า

ความหมายคุณลักษณะที่ถูกนำมาใช้ในบทนี้ หมายถึง ความหมายที่ใช้กับอาตมันของพระเจ้า

๒๓๕

๓.ประเด็นของคุณลักษณะถูกแบ่งออกเป็น ๒ ประเด็นหลัก ดังนี้

(๑) ประเด็นทั่วไปของคุณลักษณะ กล่าวถึงคุณลักษณะทุกประเภท

(๒) ประเด็นที่เฉพาะเจาะจงกับคุณลักษณะประการใดประการหนึ่ง

๔.คุณลักษณะของพระเจ้า ถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภท

(๑) คุณลักษณะที่มีในพระเจ้า (ในเชิงบวก) หมายถึง คุณลักษณะที่มีในอาตมันของพระองค์ และคุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า (ในเชิงลบ) หมายถึง คุณลักษณะที่ไม่มีในอาตมันของพระเจ้า

(๒) คุณลักษณะในอาตมัน หมายถึง คุณลักษณะที่บ่งบอกถึง ความสมบูรณ์ในอาตมันของพระเจ้า และคุณลักษณะในการกระทำ หมายถึง คุณลักษณะที่บ่งบอกถึง การมีความสัมพันธ์ระหว่างอาตมันของพระเจ้ากับการมีอยู่ของสิ่งอื่นๆ

(๓) คุณลักษณะที่ไม่ต้องการความสัมพันธ์กับสิ่งใด และคุณลักษณะที่ต้องการความสัมพันธ์ เช่น ความรู้ เป็นคุณลักษณะที่ต้องการความสัมพันธ์

(๔) คุณลักษณะในอาตมันและคุณลักษณะในการบอกข่าว เช่น การมีหน้าตาและสรีระของพระเจ้า คือคุณลักษณะในการบอกข่าว

๒๓๖

   บทที่ ๒

   การรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า

   ความเป็นไปได้ต่อการรู้จักถึงคุณลักษณะของพระเจ้า

    คำถามหนึ่งในเรื่องของคุณลักษณะของพระเจ้า คือ มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้ากระนั้นหรือ?หรือว่า มนุษย์ไม่สามารถที่จะรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้าได้ เพราะว่า คุณลักษณะของพระเจ้าเหมือนกับอาตมันของพระองค์และมนุษย์ไม่รู้จักในอาตมันของพระเจ้า

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ก็คือ มีกลุ่มชนหนึ่งที่ยอมรับว่า มนุษย์ไม่สามารถที่จะรู้จักในคุณลักษณะของพระเจ้าได้ เพราะสติปัญญาของมนุษย์ไปไม่ถึงยังคุณลักษณะของพระองค์ และพวกเขาได้บอกอีกว่า พวกเราเคารพในอัล กุรอานและวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด ที่ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของพระเจ้า และมีความเชื่อในสิ่งดังกล่าวอย่างที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้นแต่ทว่า พวกเราไม่รู้ในความหมายที่แท้จริงของคุณลักษณะเหล่านั้น

ในทัศนะนี้ เป็นทัศนะของพวกตะอฺตีล (พวกที่ไม่รู้ความหมายของคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้า) และผู้ที่ปฏิบัติตามทัศนะนี้ เรียกว่า

 มุอัตตะละฮ์

๒๓๗

สาเหตุที่เรียกพวกเขาเช่นนี้ ก็เพราะว่า พวกเขามิได้ใช้สติปัญญาในการรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า หมายความว่า พวกเขาได้หยุดนิ่งต่อการใช้สติปัญญานั่นเอง

และเหตุผลที่สำคัญของทัศนะนี้ ก็คือ พวกเขาอ้างว่า ตัวเองเป็นมนุษย์ และมีความเข้าใจในคุณลักษณะของมนุษย์ เช่น การมีคุณลักษณะความรู้,พลังอำนาจ และความปรารถนา เพราะว่า ความหมายของคุณลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นจากภายในตัวของมนุษย์ และมีความสัมพันธ์กับสิ่งที่สัมผัสได้ ดังนั้น ไม่อาจจะกล่าวได้ว่า คุณลักษณะเหล่านี้มีอยู่ในพระเจ้า เพราะว่า พระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งอื่นใด และพระองค์เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ ส่วนสิ่งอื่นเป็น สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นก็ได้ หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ และการมีอยู่ของสิ่งนั้นมีความจำกัดและมีขอบเขต

และอีกทัศนะหนึ่งได้กล่าวว่า มนุษย์รู้จักคุณลักษณะของพระเจ้าได้ ด้วยกับการใช้สติปํญญาของเขา ดังนั้น ทัศนะนี้เป็นทัศนะของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ซึ่งมีด้วยกัน สอง ทัศนะ

กลุ่มหนึ่งให้ทัศนะว่า คุณลักษณะที่มีในพระเจ้าเหมือนกับคุณลักษณะที่มีอยู่ในมนุษย์ หมายความว่า ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างคุณลักษณะของพระเจ้ากับคุณลักษณะของมนุษย์ ดังนั้น ทัศนะนี้จึงถูกเรียกว่า ตัชบิฮ์ (การเปรียบเทียบพระเจ้าเหมือนกับมนุษย์ และผู้ที่ปฏิบัติตามทัศนะนี้ เรียกว่า มุชับบิฮะห์ ทัศนะมีความเชื่อว่า พระเจ้ามีรูปร่างและมีชิ้นส่วน

ส่วนกลุ่มที่สองให้ทัศนะว่า มนุษย์มีความสามารถที่จะรู้จักในคุณลักษณะของพระเจ้าได้ แต่คุณลักษณะของพระองค์มิได้เหมือนกันกับคุณลักษณะของมนุษย์ ตามความเชื่อของทัศนะนี้กล่าวว่า ทัศนะของตะอฺตีลและตัชบิฮ์นั้น ถือว่าไม่ถูกต้อง

๒๓๘

 กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ทัศนะนี้มีความเชื่อในความบริสุทธิ์ของพระเจ้า  พระองค์ทรงปราศจากข้อบกพร่องทั้งหลาย ดังนั้น ทัศนะนี้ เป็นทัศนะที่ถูกต้อง นั่นก็คือ เป็นไปได้ที่มนุษย์จะรู้จักคุณลักษณะของพระเจ้า โดยการรู้จักในคุณลักษณะที่มีในพระองค์ แต่เขาไม่รู้ในความเป็นจริงและสารัตถะของคุณลักษณะของพระองค์

   การวิเคราะห์และตรวจสอบในทัศนะของพวกตะอ์ตีล

 และตัชบิฮ์

    ก่อนที่จะอธิบายกันในทัศนะของทั้งสองพวกเหล่านี้ จะมาทำความเข้าใจในปัญหาที่เกิดขึ้นในสำนักคิดของทั้งสอง ซึ่งพวกเขาได้ยกเอาเหตุผลจากอัล กุรอานมาพิสูจน์การมีอยู่ของคุณลักษณะในพระเจ้า (จะอธิบายในรายละเอียดในประเด็นต่อไป)

การอธิบายในความหมายของคุณลักษณะของพระเจ้า หรือการแสดงทัศนะต่างๆเกี่ยวกับคุณลักษณะของพระองค์ ต้องมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

๑.ความหมายของคุณลักษณะซึ่งต้องตรงกันกับการใช้สติปํญญาของมนุษย์

๒.ความหมายของคุณลักษณะต้องไม่มีความขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของพระเจ้า

๒๓๙

พวกตะอ์ตีลได้ยอมรับในเงื่อนไขที่สอง โดยพวกเขากล่าวว่า พื้นฐานของหลักความเชื่อในทัศนะนี้ ก็คือ เวลาที่มนุษย์ใช้สติปัญญากล่าวถึงความหมายของคุณลักษณะที่มีในมนุษย์เป็นอันดับแรก หลังจากนั้น ได้นำเอาความหมายนั้นไปใช้กับพระเจ้า ซึ่งความหมายของคุณลักษณะที่มีในมนุษย์มีความขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของพระองค์ และพวกเขายังได้กล่าวอีกว่า ถ้าพวกเรายอมรับว่า คุณลักษณะของพระเจ้ามีความหมายเหมือนกันกับคุณลักษณะของมนุษย์ ก็เท่ากับว่า ยอมรับในทัศนะของพวกตัชบิฮ์ แต่ในความเป็นจริง พวกเรามิได้ยอมรับในทัศนะของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ พวกตะอ์ตีลจึงมีความเชื่อว่า มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะรู้จักในคุณลักษณะของพระเจ้าได้

นอกเหนือจาก ที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีหลักฐานยืนยันจากอัล กุรอานว่า ทัศนะของพวกตะอฺตีล ถือว่าไม่ถูกต้อง ซึ่งมีดังนี้

๑.อัล กุรอานได้เชิญชวนมนุษย์ให้ใช้สติปัญญาในสัญลักษณ์ต่างๆของพระเจ้า อีกทั้งได้อธิบายในนามทั้งหลายและคุณลักษณะของพระองค์

 “พระองค์คือ อัลลอฮ์ ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดอีกนอกจากพระองค์ ผู้ทรงอำนาจสูงสุด ผู้ทรงบริสุทธิ์ ผู้ทรงความศานติสุข ผู้ทรงคุ้มครองการศรัทธา ผู้ทรงปกปักรักษาความปลอดภัย ผู้ทรงอำนาจยิ่ง ผู้ทรงปราบให้เรียบร้อย ผู้ทรงความยิ่งใหญ่ภูมิใจ มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮ์ให้พ้นจากสิ่งที่พวกเขาตั้งภาคีต่อพระองค์”   
“พระองค์คือ อัลลอฮ์ ผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงให้บังเกิด ผู้ทรงทำให้เป็นรูปร่าง สำหรับพระองค์คือพระนามทั้งหลายอันสวยงามไพเราะ สิ่งที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินต่างแซ่ซ้องสดุดีพระองค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ” (บทอัลฮัชร์ โองการที่๒๓ และ ๒๔ )

๒๔๐