บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339958 / ดาวน์โหลด: 4960
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

๒.การมีส่วนประกอบภายนอก หมายถึง การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งที่มีส่วนประกอบภายนอก คือ การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งที่เป็นชิ้นส่วนอยู่ภายนอก  เช่น ส่วนประกอบของร่างกายแยกออกเป็น สสารและรูปร่าง ,การเกิดขึ้นของสิ่งที่เป็นสสารและวัตถุ เป็นตัวอย่างของการมีส่วนประกอบภายนอก

๓. การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ หมายถึง การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งในสภาพที่มีปริมาณ, ขนาด ความกว้าง, ความยาวและส่วนสูง ดังนั้น การมีส่วนประกอบชนิดนี้ ไม่ได้มีอยู่ในสภาวะจริงของสิ่งหนึ่ง แต่ทว่าส่วนประกอบของสิ่งนั้นกำลังจะกลายเป็นสภาวะจริง หลังจากที่ได้รวมเอาส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกัน จึงกลายสภาพเป็นสภาวะจริง  และนักปรัชญาอิสลามบางคนได้กล่าวว่า การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ เป็นอีกชนิดหนึ่งของการมีส่วนประกอบภายนอก เพราะว่า สิ่งนั้นมีส่วนประกอบที่เกิดขึ้นภายนอก และมิได้เกิดขึ้นจากการใช้สติปัญญาเสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้น ความแตกต่างของทั้งสองชนิดนี้ ก็คือ การมีส่วนประกอบภายนอกและในด้านปริมาณ คือการมีส่วนประกอบที่มีสภาวะจริงและกำลังจะกลายเป็นสภาวะจริง ถ้าหากสิ่งนั้นมีส่วนประกอบภายนอก ถือว่าเป็นสภาวะจริง แต่ถ้าหากสิ่งนั้นมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ ถือว่ากำลังจะกลายเป็นสภาวะจริง

๘๑

   เหตุผลของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

   หลังจากได้อธิบายชนิดต่างๆของการมีส่วนประกอบไปแล้ว ณ ที่นี้ จะขอกล่าวถึง เหตุผลต่างๆที่บอกถึงการไม่มีทุกชนิดของการมีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า แต่ก่อนที่จะอธิบายในเหตุผลเหล่านั้น จะกล่าวได้ว่า เหตุผลที่บรรดานักเทววิทยาอิสลามใช้พิสูจน์ในความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าคือ การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิดในอาตมันของพระองค์ และนอกเหนือจาก เหตุผลของนักเทววิทยา, นักปรัชญาและนักรหัสยวิทยาอิสลามแล้ว ยังมีเหตุผลอื่นๆอีกที่ใช้พิสูจน์ในเตาฮีด เช่นเดียวกัน

   เหตุผลของการไม่มีส่วนประกอบในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

    การพิสูจน์ในความบริสุทธิ์ที่สมบูรณ์แบบของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งกล่าวได้ว่า อาตมันของพระองค์ ไม่มีส่วนประกอบทุก  ชนิดของการมีส่วนประกอบ และมิได้มีเหตุผลเดียวที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระองค์ แต่ในความเป็นจริง ก็คือ ยังมีเหตุผลมากมายที่พิสูจน์ถึงอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าว่า ไม่มีส่วนประกอบใดในอาตมันของพระองค์

๘๒

๑.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบภายนอก

    คำอธิบาย

    เมื่อใดก็ตามที่สิ่งหนึ่งมีส่วนประกอบ สิ่งนั้นก็จะต้องมีชิ้นส่วน และสิ่งนั้นจะมีอยู่ได้ก็ขึ้นอยู่กับการมีชิ้นส่วนของมัน และการที่สิ่งนั้นไม่มีชิ้นส่วน หมายถึง การไม่มีอยู่ของสิ่งนั้น ซึ่งสติปัญญาได้บอกว่า ส่วนประกอบทุกส่วนของสิ่งหนึ่ง  คือ การมีอยู่ของสิ่งนั้น  การเกิดขึ้นของส่วนประกอบก่อนที่สิ่งนั้นจะเกิดขึ้น หมายความว่า สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องมีส่วนประกอบที่เกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้น  การมีอยู่ของสิ่งที่มีส่วนประกอบ หมายความว่า การมีอยู่ของสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้นของส่วนประกอบ เพราะฉะนั้น การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ในสภาพที่เป็นไปไม่ได้ว่าจะต้องมีส่วนประกอบ เพราะว่าการมีส่วนประกอบนั้นมีความขัดแย้งกับความจำเป็นต้องมีอยู่ของพระองค์

 ด้วยเหตุนี้เอง ถ้าสมมุติว่า พระผู้เป็นเจ้ามีส่วนประกอบ หมายความว่า พระองค์มิได้เป็นสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ แต่พระองค์นั้น เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่น จึงจะมีอยู่ได้ แต่ในความเป็นจริง พระองค์ คือสิ่งจำเป็นต้องมีอยู่ เพราะฉะนั้น จึงเป็นที่กระจ่างชัดว่า พระผู้เป็นเจ้านั้นไม่มีส่วนประกอบใด นอกจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น

๘๓

๒.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา

เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีความเข้าใจง่ายในการพิสูจน์ถึงการปฏิเสธการมีส่วนประกอบในพระผู้เป็นเจ้า

  คำอธิบาย

   เมื่อสิ่งหนึ่งประกอบด้วย สกุล(ญินซ์) และลักษณะความแตกต่าง(ฟัศล์) เช่น มนุษย์ประกอบด้วย ความเป็นสัตว์กับการพูดได้ ดังนั้น สัตว์จึงเป็นสกุล และการพูดได้ ก็เป็นลักษณะความแตกต่าง และมนุษย์คือ สัตว์ที่พูดได้ และสิ่งที่ประกอบจากการมี(วุญูด)และสสาร(มาฮียัต) เช่น การมีอยู่ของมนุษย์จากการมีและการเป็นสสาร ทั้งหมดนั้น เป็นคุณสมบัติของสสาร

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  สติปัญญาของมนุษย์นั้นมีความคุ้นเคยกับการมีอยู่ของสสาร และด้วยกับความแตกต่างกันในคุณสมบัติทั้งหลายของสสาร ทำให้ได้รับความหมายของคำว่า สกุล (ญินซ์) และลักษณะความแตกต่าง (ฟัศล์) ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้นำเอาทั้งสองคำประกอบเข้าด้วยกัน

ดังนั้น การที่สิ่งหนึ่งประกอบด้วย สกุล และลักษณะความแตกต่าง  สิ่งที่ประกอบด้วยการมีอยู่กับสสาร ทั้งหมดนั้น คือ การมีส่วนประกอบของสสาร และได้กล่าวไปแล้วว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้านั้น ทรงมีอยู่อย่างบริสุทธิ์และมิได้เป็นสสาร ดังนั้น การมีอยู่ของพระองค์จึงไม่มีส่วนประกอบดังที่กล่าวมา

๘๔

๓.การปฏิเสธการมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีความเข้าใจง่ายในการพิสูจน์ถึงอาตมันของพระเจ้าว่า ไม่มีส่วนประกอบในด้านปริมาณ

    คำอธิบาย

   ถ้าหากสมมุติว่า พระผู้เป็นเจ้ามีส่วนประกอบในด้านปริมาณแล้วละก็ ส่วนประกอบนั้นก็จะเป็นมุมกินุลวุญูด( สิ่งที่ต้องพึ่งพา) หรือจะเป็นวาญิบุลวุญูด (สิ่งทีจำเป็นต้องมีอยู่) และถ้าส่วนประกอบนั้น เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา ส่วนประกอบทั้งหมดไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ต้องมีความแตกต่างกันอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น อาตมันของพระเจ้า จึงเป็นทั้งสิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่ สิ่งที่ต้องพึ่งพาในเวลาเดียวกัน ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ที่ สิ่งหนึ่งจะเป็นทั้งสองสิ่งพร้อมกัน และถ้าสมมุติว่า พระเจ้ามีส่วนประกอบที่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี(วาญิบุลวุญูด) ก็เป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะว่า การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ หมายถึง การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสภาวะที่ยังกลายไม่เป็นจริง ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้สำหรับการมีอยู่ของสิ่งที่จำเป็นต้องมี และมิได้มีเป็นสภาวะเป็นจริง และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ เป็นคุณลักษณะหนึ่งของร่างกาย ซึ่งร่างกายเป็นสสาร และมีรูปร่าง ในขณะเดียวกัน อาตมันของพระผู้เป็นเจ้ามิได้เป็นสสารและมีรูปร่าง เพราะฉะนั้น จากเหตุผลดังกล่าว ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้า มิได้มีส่วนประกอบในด้านปริมาณ

๘๕

  การพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าและการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

   หลังจากที่ได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้ว บัดนี้  จะมาพิสูจน์ในเหตุผลของความเป็นหนึ่งเดียวของพระองค์

ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า (เตาฮีดซาตีย์วาฮิดีย์) หมายถึง อาตมันของพระองค์ มีหนึ่งเดียวและไม่มีพระเจ้าอื่นใดอยู่เคียงข้างพระองค์

การพิสูจน์ความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า มีเหตุผลอยู่มากมาย แต่จะขอนำมากล่าวสัก ๓ เหตุผล ซึ่งมีดังนี้

    เหตุผลที่หนึ่ง  : ความสมบูรณ์แบบที่สุดและความไม่มีขอบเขตจำกัดของพระเจ้า

    ข้ออ้างแรกของเหตุผลนี้ คือ อาตมันของพระเจ้านั้น ไม่มีที่สิ้นสุด และขอบเขตจำกัด แต่มีสภาพที่สมบูรณ์แบบ เพราะว่าจากความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ของพระองค์ได้กำหนดไว้ว่า อาตมันของพระองค์จะปราศจากความสมบูรณ์ไปไม่ได้ และถ้าหากว่าพระองค์มิได้มีความสมบูรณ์ในอาตมันก็เท่ากับว่าพระองค์ มีความต้องการ และเมื่อเป็นเช่นนี้อาตมันของพระองค์ก็มีความบกพร่องและไม่มีความสมบูรณ์ ดังนั้น การมีความต้องการก็คือ ความไม่สมบูรณ์ และความบกพร่อง ซึ่งสิ่งนี้มีความขัดแย้งกับความจำเป็นที่ต้องมีของพระองค์

๘๖

  ถ้าสมมุติว่า มีพระเจ้าอยู่สององค์ ในระหว่างพระเจ้าสององค์ก็ต้องมีความแตกต่างกัน และหากว่าไม่มีความแตกต่างกันในพระเจ้าสององค์ การสมมุติฐานที่บอกว่า มีพระเจ้าสององค์ก็จะไม่เกิดขึ้น และในสภาพเช่นนี้การสมมุติฐานที่จะเกิดขึ้นมีด้วยกัน ๒ สมมุติฐาน ดังนี้

สมมุติฐานแรก คือ พระเจ้าองค์หนึ่งมีความแตกต่างที่อีกองค์ไม่มี เช่น พระเจ้าองค์หนึ่งมีความสมบูรณ์ และอีกองค์หนึ่งไม่มีความสมบูรณ์ ในสภาพเช่นนี้ เป็นรู้กันดีว่า พระเจ้าที่แท้จริง คือพระเจ้าองค์แรก มิใช่พระเจ้าองค์ที่สอง เพราะว่า พระเจ้าองค์ที่สองนั้น มีความบกพร่องและไม่มีความสมบูรณ์ จึงไม่สามารถจะเป็นพระเจ้าได้ ดังนั้น ในสมมุติฐานนี้ ได้พิสูจน์ในความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า และการปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

สมมุติฐานที่สอง คือ การมีอยู่ของพระเจ้าทั้งสองพระองค์ที่มีความสมบูรณ์เหมือน แต่มีความแตกต่างที่พระเจ้าอีกพระองค์ไม่มี นั่นก็คือ พระเจ้าองค์หนึ่งมีความสมบูรณ์ที่ไม่เหมือนกับอีกองค์หนึ่ง ดังนั้นในสภาพเช่นนี้ พระเจ้าทั้งสององค์มิได้เป็นพระเจ้าที่แท้จริง เพราะว่า มีความขัดแย้งกับสมมุติฐานข้างต้น เหตุผลก็คือ การมีอยู่ของพระเจ้าทั้งสององค์เกิดจากการมีและการไม่มี ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการมีส่วนประกอบทุกชนิด

    ด้วยเหตุนี้  การสมมุติว่าพระเจ้ามีหลายองค์ จึงหวนกลับไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า และในสมมุติฐานที่สอง ก็ได้นำพาไปสู่การมีส่วนประกอบในพระเจ้า ข้อสรุปจากสมมุติฐานนี้ก็คือ การคิดและจิตนาการว่า มีพระเจ้าหลายองค์ เป็นการจินตนาการไม่เข้ากับการใช้เหตุผลทางปัญญา และในบางทีอาจจะกล่าวได้ว่า มีการสมมุติฐานอื่นเกิดขึ้นอีก เป็นสมมุติฐานที่สาม นั่นก็คือ สมมุติว่า พระเจ้าทั้งสององค์มีความสมบูรณ์เหมือนกัน เหตุผลก็คือดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า

๘๗

 สมมุติฐานนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าการมีอยู่หลายอย่างต้องมีความแตกต่างกัน และการสมมุติว่า พระเจ้ามีสององค์ที่มีความสมบูรณ์เหมือนกัน ก็มีความขัดแย้งกับสมมุติฐานแรกที่ได้กล่าวไปแล้ว ด้วยเหตุนี้เอง การมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์จึงเป็นไปไม่ได้ เพราะว่า มีความขัดแย้งกับความจำเป็นที่ต้องมีอยู่และความสมบูรณ์แบบของพระเจ้า

    เหตุผลที่สอง  : การปฏิเสธการมีส่วนประกอบทุกชนิด

    ถ้าสมมุติว่า มีพระเจ้าสององค์ที่เป็นวาญิบุลวุญูด (สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่) เหมือนกัน และได้อธิบายไปแล้วว่า สมมุติฐานว่ามีพระเจ้าหลายองค์ บ่งบอกถึงการมีความแตกต่างระหว่างพระเจ้าทั้งหลาย ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราพูดว่า มีหนังสือสองเล่ม ดังนั้น ความหมือนกันคือ ความเป็นหนังสือ แต่ว่ามีความแตกต่างกันในขนาดของเล่ม, สี,สถานที่จัดพิมพ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น การสมมุติว่า มีพระเจ้าหลายองค์ จึงหมายความว่า พระเจ้าสององค์มีความเหมือนกันในความจำเป็นต้องมีอยู่ และมีความแตกต่างในความเป็นพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้เอง การสมมุติฐานข้างต้น บ่งบอกว่า หนึ่งในพระเจ้าทั้งสองมีความเหมือนและความแตกต่างอยู่ด้วยกัน และนี่คือสาเหตุที่ทำให้อาตมันของพระเจ้า มีส่วนประกอบ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อาตมันของพระเจ้าไม่มีส่วนประกอบใดทั้งสิ้น ดังนั้น การสมมุติว่า มีพระเจ้าหลายองค์ จึงเป็นสาเหตุทำให้อาตมันของพระเจ้ามีส่วนประกอบ และการมีส่วนประกอบในพระองค์ เป็นการกระทำที่เป็นไปไม่ได้ และการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์ก็เป็นไปไม่ได้ ด้วยเช่นเดียวกัน

๘๘

    เหตุผลที่สาม   : การปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

    การปฏิเสธการมีของพระเจ้าหลายองค์ เป็นหนึ่งในเหตุผลของเตาฮีด และมีคำอธิบายมากมายในเหตุผลนี้ และจะกล่าวได้ว่า ในขณะที่สมมุติว่า มีพระเจ้าอยู่สององค์ การสมมุติฐาน จึงมีด้วยกัน ๓ สภาพ ดังนี้

๑.พระเจ้าองค์หนึ่งมีความสามารถเหนืออีกพระองค์หนึ่ง หมายความ พระเจ้าองค์หนึ่งสามารถที่จะต่อสู้กับอีกพระองค์หนึ่งได้ ในสภาพเช่นนี้ พระเจ้าที่แท้จริงคือ พระเจ้าองค์แรกที่มีความสามารถเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง

๒.พระเจ้าทั้งสองพระองค์มีความสามารถเหมือนกัน

๓.พระเจ้าทั้งสองพระองค์ไม่มีความสามารถใดๆเลย

ดังนั้น การสมมุติฐานทั้งสองสภาพก็มีความขัดแย้งกับการสมมุติฐานแรก คือ การมีอยู่ของพระเจ้าทั้งสองพระองค์ เพราะว่าในสภาพที่สอง แสดงให้เห็นถึงความปราชัยของบรรดาพระเจ้าทั้งหลาย และในสภาพที่สามก็แสดงให้เห็นถึง ความไร้สามารถของพระเจ้าทั้งหลาย ซึ่งทั้งสองสภาพนั้น มีความขัดแย้งกับวาญิบุลวุญูด (สิ่งจำเป็นต้องมีอยู่) ของพระเจ้า

 ด้วยเหตุนี้ การสมมุติฐานว่ามีพระเจ้าหลายองค์ จึงมีความเป็นไปไม่ได้

๘๙

    ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริงและในจำนวนเลข

 (วะฮ์ดัตฮะกีกีย์และวะฮ์ดัตอะดาดีย์)

  ในตอนท้ายของบทนี้ มีประเด็นสำคัญที่จะต้องขอกล่าวย้ำ คือ ส่วนมากของมนุษย์ ได้คิดว่าความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า (วะฮ์ดัต) เป็นความหมายเดียวกับความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข (วะฮ์ดัตอะดาดีย์)  เช่น ความหมายของความเป็นหนึ่งในพระเจ้าว่า มีความหมายเดียวกันกับความหมายของ คำว่า พระอาทิตย์ดวงหนึ่ง หรือโลกใบหนึ่ง ถ้าหากว่าได้ไตร่ตรองอย่างละเอียด และนำเอาคำสอนของอัล กุรอานและวจนะ มาเป็นบรรทัดฐาน จะได้รับในความหมายที่ลึกซึ้งของความเป็นหนึ่งเดียวในพระเจ้า ซึ่งบางครั้ง เรียกว่า ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

(วะฮ์ดัตฮะกีกีย์) ความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข

(วะฮ์ดัตอะดาดีย์) คือ ในกรณีของสิ่งหนึ่งที่ถูกใช้ในความหมายโดยรวมที่สามารถบอกถึงจำนวนของมันได้ เช่น ถ้าบอกว่า สิ่งนั้นมีอันเดียว และจะสมมุติว่าสิ่งนั้นมีสองหรือสามอันก็ได้ เพราะว่าจากจำนวนนับมีตัวเลขหลายตัวด้วยกัน และในส่วนของความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นในความจริง (วะฮ์ดัตฮะกีกีย์) มีหมายความว่า สิ่งนั้นถูกใช้ในความหมายที่มีอันเดียวโดยไม่สามารถที่จะสมมุติว่า มีสองหรือสามได้ ดังนั้น จากการพิจารณาในความหมายของความเป็นหนึ่ง (วะฮ์ดัต) ทำให้เข้าใจได้ว่า ความหมายของความเป็นหนึ่งในอาตมันของพระเจ้า มิใช่ความเป็นหนึ่งในจำนวนเลข แต่คือความเป็นหนึ่งในความจริง ก็คือ ความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นจริง และไม่มีสองหรือมีสาม  ดังนั้น ความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมันของพระเจ้า คือ ความเป็นหนึ่งเดียวที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และไม่มีสิ่งอื่นเคียงข้างพระองค์

๙๐

  ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน(เตาฮีด ซาตีย์) ในอัล กุรอาน

  ในบทที่ผ่านมาได้อธิบายแล้วว่า ประเภทแรกของความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎี(เตาฮีด นะซอรีย์) คือ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า(เตาฮีด ซาตีย์) ซึ่งอธิบายได้  ๒ ความหมาย ด้วยกัน ดังนี้

๑.ความเชื่อในความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระเจ้า เรียกว่า เตาฮีด อะฮะดีย์

๒.ความเชื่อในความเป็นหนึ่งเดียวในอาตมัน และการปฏิเสธการตั้งภาคีใดๆ ได้เรียกว่า เตาฮีด วาฮีดีย์ เพราะว่า ความเชื่อในการตั้งภาคีเกิดขึ้นมากมายเคียงข้างพระเจ้า เช่น การมีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

อัล กุรอานได้เน้นย้ำในความหมายที่สองไว้อย่างมาก และแม้ในโองการทั้งหลายจะกล่าวถึง เตาฮีดอะฮะดีย์ และความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระเจ้าก็ตาม และยังได้กล่าวถึง การมีความเชื่อของมนุษย์ในพระเจ้าหลายองค์ และการตั้งภาคีต่อพระเจ้า

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินอีกทั้งทรงมองเห็น” ( บทอัชชูรอ โองการที่ ๑๑ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ตามหลักไวทยากรณ์ภาษาอาหรับกล่าวว่า โองการนี้ได้ปฏิเสธทุกชนิดของความเหมือนกันในพระผู้เป็นเจ้า แต่ทว่าการอธิบายในความหมายที่ละเอียดอ่อนของประโยคก่อนโองการนี้ มีความแตกต่างกันระหว่างนักอรรถาธิบายอัลกุรอาน คือ ความแตกต่างในอักษร กาฟ ในประโยคที่กล่าวว่า “เหมือนพระองค์” เป็นอักษรที่ใช้แสดงถึง การเหมือนกันของสิ่งหนึ่งและมีความหมายว่า เหมือนกัน ดังนั้น การกล่าวสองคำพร้อมกัน บ่งบอกถึงการเน้นย้ำ

๙๑

และนักวิชาการบางคนได้กล่าวว่า อักษรกาฟ ในที่นี้เป็นอักษรที่ใช้การเน้นย้ำ และบางคนได้กล่าวว่า คำว่า มิสลิฮี มีความหมายว่า อาตมันของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของโองการนี้ คือ อาตมันของพระองค์นั้น ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นได้เ พราะว่าสิ่งทั้งหลายนั้น มีที่สิ้นสุด และมีขอบเขต

และในโองการอื่นๆยังได้กล่าวในความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้าไว้อีกว่า

 “จงกล่าวเถิดว่า พระองค์ คืออัลลอฮ์ผู้ทรงเอกะ อัลลอฮ์ทรงเป็นที่พึ่งพา พระองค์ไม่ทรงประสูติ(ผู้ใด)และไม่ทรงถูกประสูติ(จากสิ่งใด) และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ในเอกภพ”

 (บทอัตเตาฮีด โองการที่ ๑-๔)

จากโองการแรก แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าได้สั่งให้ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ประกาศให้ชัดเจนว่า พระเจ้ามีองค์เดียวคือ อัลลอฮ์ และบรรดานักอรรถาธิบายอัล กุรอานได้กล่าวว่า คุณลักษณะ “อะฮัด” และ”วาฮิด”  มีความแตกต่างกัน คำว่า “อะฮัด” บ่งบอกถึง ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระเจ้า และคำว่า”วาฮิด” บ่งบอกถึง ความเป็นเอกะของพระองค์

 กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ  โองการสุดท้ายของบทอัตเตาฮีด ได้กล่าวว่า การไม่เสมอเหมือนผู้ใดของพระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น จากโองการนี้ แสดงให้เห็นถึง การปฏิเสธการตั้งภาคีทั้งหลาย และเป็นการพิสูจน์ว่า มีพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวเท่านั้น

อัล กุรอานกล่าวว่า

“มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ คือ อัลลอฮ์ผู้ทรงเอกะและผู้ทรงพิชิตเหนือทุกสิ่ง”

(บทอัซซุมัร โองการที่ ๔)

๙๒

ทัศนะของนักอรรถาธิบายอัล กุรอานบางคนได้กล่าวว่า การที่สองคุณลักษณะของพระเจ้า(คือ ความเป็นเอกานุภาพ และผู้ทรงพิชิตเหนือทุกสิ่ง) อยู่คู่กัน แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีสิ่งที่มีขอบเขตจำกัดแล้วละก็ สิ่งนั้นจะต้องอยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งที่ไม่มีขอบเขตและมีความนิรันดร์ นั่นก็คือ อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพระผู้เป็นเจ้า เพราะว่า พระองค์ คือสิ่งที่มีอยู่ที่ไม่มีขอบเขต และมีอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น คุณลักษณะทั้งสอง กล่าวคือ ความเป็นเอกานุภาพและผู้พิชิต บ่งบอกถึงประเภทของวะฮ์ดัตอัยนีย์ (เอกภาพในความจริง) และมิได้บ่งบอกในประเภทของวะฮ์ดัตอะดาดีย์ (ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข)

เพราะการคาดว่า พระเจ้ามีหลายองค์นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และด้วยกับสิ่งที่เป็นเอกภาพในจำนวนเลข คือ สิ่งที่มีขอบเขต ดังนั้น จากโองการดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าไม่มีสิ่งที่อยู่เคียงข้างพระองค์ และเป็นไปไม่ได้ที่จะคิดว่าพระเจ้ามีหลายองค์

   ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน(เตาฮีด ซาตีย์) ในวจนะ

   วจนะของบรรดาอิมามผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่พวกท่าน) ที่ได้กล่าวถึง ความเอกานุภาพในอาตมัน เช่น ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)  กล่าวว่า

“พวกเจ้า จงรู้จักพระเจ้าในสภาพที่พระองค์ไม่ทรงเหมือนกับสิ่งใดและไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าเพียงองค์เดียว พระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงสร้าง ผู้ทรงเดชานุภาพ พระองค์เป็นพระองค์แรก และเป็นองค์สุดท้าย ผู้ที่อยู่ทั้งภายนอกและภายใน ไม่สิ่งใดเหมือนพระองค์

๙๓

 นี่คือการรู้จักถึงพระเจ้าที่แท้จริง”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๔)

ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้อธิบายในวจนะนี้ว่าความไม่เหมือนกับสิ่งใดของพระผู้เป็นเจ้า หลังจากนั้นยังได้อธิบายในการมีอยู่ของคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ ต่อมาก็ได้อธิบายถึงความเป็นเอกานุภาพ และในตอนท้ายได้กล่าวว่า พระเจ้านั้นไม่เหมือนกับสิ่งใดที่มีอยู่ในโลก

และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ท่านอิมามได้ตอบคำถามของชายคนหนึ่งในสงครามญะมัล ที่ถามท่านเกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า โดยที่ท่านตอบว่า ความเป็นเอกานุภาพ มีด้วยกัน ๔ ความหมาย ซึ่งสองความหมายนั้นเหมาะสมที่สุดสำหรับพระองค์ มีใจความว่า

 “ส่วนอีกสองความหมายที่ไม่อนุญาตให้ใช้กับพระองค์ได้นั้น คือ คำกล่าวของผู้ที่กล่าวว่า พระเจ้ามีพระองค์เดียวแต่เขาหมายถึง ในจำนวนเลข ความหมายนี้ไม่เป็นที่อนุญาต เพราะว่า พระองค์ไม่มีจำนวนสองและไม่มีจำนวนเลข.................และคำกล่าวที่พวกเขากล่าวว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งจากประชาชาติ ดังนั้น ความหมายนี้ก็ไม่เป็นที่อนุญาตด้วยเช่นเดียวกัน เพราะว่าได้ทำให้พระองค์เหมือนกับสิ่งอื่น และแน่นอนที่สุด พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งต่างๆเหล่านั้น

ส่วนความหมายที่เหลือของเตาฮีด คือ คำกล่าวของผู้ที่กล่าวว่า พระเจ้า ทรงเป็นหนึ่งเดียวไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ และคำกล่าวว่า พระเจ้าทรงเป็นหนึ่งในด้านความหมาย หมายความว่า พระเจ้าไม่มีการแบ่งชนิดต่างๆของการมีอยู่ในพระองค์ จากการเหตุผลทางสติปัญญาหรือการสร้างมโนภาพก็ตาม นี้แหละคือ พระเจ้า พระผู้อภิบาลของเรา ผู้ทรงสูงส่ง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓ วจนะที่ ๓)

๙๔

จากคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) แสดงให้เห็นว่า สองความหมายของวะฮ์ดัตที่ไม่เป็นที่อนุญาตให้ใช้กับพระผู้เป็นเจ้า คือ ความหมายของวะฮ์ดัตอะดาดีย์ (ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข) เพราะ ความหมายนี้ หมายถึง ความเป็นหนึ่งที่จะต้องมีจำนวนสองและสามและจำนวนเลขอื่นตามมา และถ้าหากว่า ไม่มีจำนวนเลขอื่น ก็มีความเป็นไปได้ว่า จะต้องมีสอง อย่างแน่นอน และอีกความหมายหนึ่งของความเป็นเอกานุภาพ ที่ไม่เป็นที่อนุญาต ก็คือ ในความหมายของสิ่งหนึ่ง เมื่อได้เปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เช่น นาย ก เขาเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์ เมื่อได้เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นที่มีความคล้ายคลึงกัน ดังนั้น ความหมายนี้ไม่สามารถที่จะใช้กับพระผู้เป็นเจ้าได้ เพราะว่า พระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเสมือนพระองค์ และท่านอิมามอะลี ยังได้กล่าวอีกว่า และยังมีอีกสองความหมายที่อนุญาตให้ใช้กับพระเจ้าได้ นั่นคือ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน และความบริสุทธิ์จากการมีส่วนประกอบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนประกอบในสติปัญญา ,ภายนอก,ภายในและอื่นๆ

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ยังได้ปฏิเสธ วะฮ์ดัตอะดาดีย์ (ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข) โดยได้กล่าวว่า

 “พระเจ้าทรงเป็นเอกะ มิใช่ด้วยกับจำนวนเลข และพระองค์ทรงเป็นนิรันดร์และไม่มีที่สิ้นสุด”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๘๕)

รายงานจากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ว่า สาวกคนหนึ่งได้ถามท่านอิมามเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “อัลลอฮุอักบัร”ว่ามีความหมายว่าอย่างไร?

๙๕

 ชายคนหนึ่งได้พูดขึ้นว่า อัลลอฮุอักบัร  หมายถึง พระองค์ทรงยิ่งใหญ่เหนือทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น ท่านอิมามได้ตอบว่า ความหมายของอัลลอฮุอักบัร คือ อัลลอฮ์ พระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่เหนือการพรรณาทั้งหลาย

    ศัพท์วิชาการท้ายบท

เตาฮีดซาตีย์  หมายถึง ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

เตาฮีดนะซอรีย์ หมายถึง เตาฮีดในทฤษฎีศรัทธา

ตัรกีบอักลีย์  หมายถึง การมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา

ตัรกีบคอรีญี่  หมายถึง การมีส่วนประกอบภายนอก

ตัรกีบมิกดาดีย์   หมายถึง การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ

วะฮ์ดัตอะดาดีย์ (หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนตัวเลข

วะฮ์ดัตฮะกีกีย์  หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในความจริง

    สรุปสาระสำคัญ

๑.ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีศรัทธา สามารถที่จะแบ่งออกเป็น สาม ประเภท ก็คือ

ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระเจ้า, ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ และความเป็นเอกานุภาพในกริยา การกระทำของพระองค์

๒.ความหมายของความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระเจ้า คือ ความบริสุทธิ์ในอาตมันของพระองค์ หมายความว่า การไม่มีส่วนประกอบ และการไม่มีการตั้งภาคีใดๆในอาตมันของพระเจ้า ความหมายแรก เรียกว่า

 เตาฮีด อะฮะดีย์ ความหมายที่สอง เรียกว่า เตาฮีด วาฮิดีย์

๙๖

๓.รากฐานของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระเจ้าที่มีกล่าวไว้ในอัล กุรอาน และวจนะของท่านศาสดาและบรรดาอิมามผู้นำ ผู้บริสุทธิ์ได้อธิบายไปแล้วนั้น มีความหมายที่ลึกซึ้งและละเอียดอ่อน ซึ่งยากที่จะเข้าใจได้ เและนักวิชาการอิสลามก็มีความเข้าใจเพียงบางส่วนเท่านั้นป

๔.การมีส่วนประกอบมีด้วยกัน สาม ชนิด

(๑).การมีส่วนประกอบในด้านสติปัญญา เช่น การมีส่วนประกอบของสิ่งหนึ่งจากการมีและการไม่มี ,การมีส่วนประกอบจากการมีและสสาร และการมีส่วนประกอบจากสกุลและลักษณะความแตกต่าง

(๒).การมีส่วนประกอบภายนอก เช่น การมีส่วนประกอบของร่างกายจากวัตถุและรูปร่าง

(๓).การมีส่วนประกอบในด้านปริมาณ เช่น การมีส่วนประกอบของร่างกายจากชิ้นส่วนที่ยังไม่เป็นสภาวะจริง

๕.อาตมันของพระเจ้าไม่มีส่วนประกอบทั้งสามชนิด ไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนประกอบ ทางสติปัญญา ,ภายนอก และในด้านปริมาณ และมีเหตุผลต่างๆมาพิสูจน์ได้ว่า พระผู้เป็นเจ้า ไม่มีส่วนประกอบดังกล่าว

๖.ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า และการไม่มีการตั้งภาคีใดๆ สามารถที่จะพิสูจน์ได้ด้วยกับเหตุผลทางสติปัญญา

๗.ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า มิได้หมายความว่า ความเป็นหนึ่งเดียวหรือเอกภาพในจำนวนเลข แต่ทว่าหมายความว่า ความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง ดังนั้น การจินตนาการว่ามีพระเจ้าหลายองค์ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และสติปัญญาก็ไม่ยอมรับ

๙๗

๘.อัล กุรอานได้เน้นย้ำในความเป็นเอกานุภาพหรือความเป็นหนึ่งเดียวของพระเจ้า โดยได้กล่าวว่า พระเจ้าไม่เสมอเหมือนกับสิ่งใด และในบทอัตเตาฮีดก็ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า พระเจ้า คืออัลลอฮ์ ผู้ทรงเป็นเอกะและไม่มีสิ่งอื่นใดเสมอเหมือนพระองค์

๙.โองการอัล กุรอานได้กล่าวถึงคุณลักษณะกอฮารียัต

(ผู้ทรงพิชิตเหนือทุกสิ่ง) หลังจาก คุณลักษณะความเป็นเอกานุภาพ แสดงให้เห็นว่า ความหมายของความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า คือ ความเป็นหนึ่งเดียวที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง

๑๐.ท่านอิมามอะลีได้ตอบคำถามเกี่ยวกับความเป็นเอกานุภาพของ

พระผู้เป็นเจ้าว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระองค์ มิได้หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวในจำนวนเลข และความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า หมายถึง การปฏิเสธการเสมอเหมือน และการปฏิเสธทุกชนิดของการมีส่วนประกอบในพระองค์

๑๑.วจนะของท่านอิมามซอดิก ได้รายงานว่า ความหมายของคำว่า

อัลลอฮุอักบัร คือ อัลลอฮ์ ผู้ทรงบริสุทธิ์เหนือการพรรณาทั้งปวง

๙๘

   บทที่ ๓

   ความเป็นเอกานุภาพของพระเจ้าในคุณลักษณะ

 (เตาฮีด ซิฟาตีย์)

   บทนำเบื้องต้น

    ได้กล่าวไปในบทที่แล้วว่า ความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า สามารถที่จะแบ่งได้ ๒ ประเภท ก็คือ ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา และความเป็นเอกานุภาพในการปฏิบัติ

ความเป็นเอกานุภาพในทฤษฎีความศรัทธา ก็สามารถแบ่งออกได้ หลายประเภทด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.ความเป็นเอกานุภาพในอาตมัน (เตาฮีด ซาตีย์)

๒.ความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ (เตาฮีด ศิฟาตีย์)

๓ความเป็นเอกานุภาพในกิริยา การกระทำ(เตาฮีด อัฟอาลีย์)

ได้อธิบายในความหมายของ ความเป็นเอกานุภาพในอาตมันผ่านไปแล้ว และจะมาอธิบายกันในความเป็นเอกานุภาพในคุณลักษณะ เป็นอันดับต่อไป

ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า อาตมันของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยกับเหตุผลทางสติปัญญาความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ (วาญิบุลวุญูด) จะต้องมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุดในอาตมันของพระองค์ และขณะที่อาตมันของพระองค์ มีคุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์ พระองค์จะปราศจากคุณลักษณะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

๙๙

 เพราะถ้าหากว่าพระองค์ทรงปราศจากคุณลักษณะเหล่านั้น ก็แสดงว่าคุณลักษณะของพระองค์มีข้อบกพร่อง และมีขอบเขตจำกัด เช่น คุณลักษณะ ความรอบรู้ ความสามารถ พลังอำนาจ การมีชีวิต และ อื่นๆ ทั้งหมดของคุณลักษณะดังกล่าวมีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งยังเป็นคุณลักษณะที่ไม่มีขอบเขตจำกัด

หลังจากนั้น ได้มีคำถามเกิดขึ้นอีกว่า อะไรคือ ความสัมพันธ์ที่มีอยู่ระหว่าง คุณลักษณะที่มีความสมบูรณ์ที่สุด กับอาตมันของพระเจ้า ? แล้วคุณลักษณะเหล่านั้น เป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์หรือไม่? แล้วคุณลักษณะเหล่านั้น ได้เกิดขึ้น หลังจากการมีมาของอาตมันของพระองค์หรือไม่

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้  ถ้าหากต้องการความชัดเจนในคำตอบ ให้สังเกตุในการมีอยู่ของคุณลักษณะในมนุษย์ จะเห็นว่า บางคุณลักษณะมิได้มีอยู่ภายนอกตัวของเขา แต่ทว่า คุณลักษณะนั้นมีอยู่ภายในตัวของเขา เช่น ความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ และคุณลักษณะนี้ก็เป็นหนึ่งเดียวในตัวเขาด้วย และคุณลักษณะนี้มิได้เกิดขึ้นหลังจากตัวเขา และยังมีคุณลักษณะอื่นๆ อีก ที่เกิดขึ้นหลังจากมนุษย์ เช่น คุณลักษณะ ความดีใจ ความโกรธ ซึ่งในตัวมนุษย์มิได้มีคุณลักษณะเหล่านี้ และ ในความเป็นจริง ความดีใจ และความโกรธ มิได้มีอยู่ในตัวมนุษย์ และจะมาอธิบายกันในประเด็นคุณลักษณะของพระเจ้า และคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์นั้นเป็นเช่นไร? 

และก่อนที่จะตอบคำถามนี้ จะมาอธิบายในบทนำเบื้องต้นก่อน เพื่อที่จะได้มีความเข้าใจในคำตอบมากยิ่งขึ้น

๑๐๐

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

   เหตุผลของ ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า

   นอกเหนือจาก เหตุผลโดยทั่วไปที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงการมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด ยังมีเหตุผลที่เฉพาะกับการพิสูจน์ในความรู้ในอาตมันของพระเจ้า  ซึ่งกล่าวได้ว่า เหตุผลนี้เกิดมาจากหลักของปรัชญา มีอยู่ด้วยกัน ๒ ข้อพิสูจน์ ดังนี้

๑.ทุกสิ่งที่เป็นอวัตถุ มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง และมีความรู้ในตัวเอง ซึ่งในหลักการของปรัชญาได้พิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่เป็นวัตถุ มีรูปร่าง และรูปแบบ และมีการเปลี่ยนแปลง และมิได้มีความรู้ในตัวเอง ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นวัตถุ จึงไม่มีความรู้ในตัวเอง ส่วนสิ่งที่ไม่เป็นวัตถุหรืออวัตถุ ด้วยกับเหตุผลความบริสุทธิ์และไม่มีรูปร่าง จึงมีความรู้ในตัวเอง

๒.การมีของพระเจ้า เป็นสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ ข้อพิสูจน์นี้ได้พิสูจน์ในคุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในพระเจ้าแล้วว่า พระองค์มิได้มีรูปร่างและหน้าตา และมิได้เป็นวัตถุ ดังนั้น พระองค์จึงมีความรู้ในตัวเอง เพราะว่า พระองค์เป็นสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ และสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ ก็มีความรู้ในตัวเอง

๒๖๑

   ความรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลายก่อนการเกิดขึ้น

    หลังจากที่ได้อธิบายใน ความรู้ในอาตมันของพระเจ้าไปแล้ว จะมาอธิบายในระดับขั้นที่สองของความรู้ของพระเจ้า นั่นก็คือ ความรู้ในสรรพสิ่งก่อนการเกิดขึ้น มีคำถามเกิดขึ้น จากบรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลามว่า ระดับขั้นความรู้ประเภทนี้ในพระเจ้า เป็นความรู้ในรูปแบบที่มีรายละเอียด หรือเป็นความรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น?

ความหมายของ ความรู้บางส่วน หมายถึง ก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง พระเจ้ามิได้มีความรู้ในรายละเอียดของแต่ละสิ่ง ทว่ามีความรู้หนึ่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นความรู้ในรายละเอียดได้ สำหรับการเข้าใจในความรู้บางส่วน ตัวอย่างเช่น ความรู้ของนักเลขาคณิต เพราะว่า ความรู้ในคณิตศาสตร์ คือ ความรู้ในกฏและการอนุมานตามหลักการของคณิตศาสตตร์ ดังนั้น นักเลขาคณิต รู้จักกฏของคณิต แต่ถ้าไม่มีโจทย์มาให้แก้ ก็เท่ากับกฏต่างๆนั้นไม่ได้ถูกนำมาใช้ และก็เช่นเดียวกันกับความรู้บางส่วนของพระเจ้า ส่วนความรู้ในรายละเอียด หมายถึง พระเจ้ามีความรู้ก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งในรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมด

สำหรับคำตอบ ซึ่งมีความสลับซับซ้อน และจะต้องอธิบายรายละเอียดที่ลึกซึ้ง และจะต้องใช้กฏและหลักการของปรัชญาและตรรกศาสตร์มายืนยัน  มีอยู่ ๒ เหตุผลที่ใช้ในการพิสูจน์ความรู้ในระดับขั้นนี้

๒๖๒

๑.เหตุผลที่หนึ่ง กล่าวคือ เหตุผลนี้ต้องใช้หลักการงของปรัชญามาเพื่อยืนยัน โดยที่กล่าวว่า ความรู้ในเหตุที่สมบูรณ์ของสิ่งหนึ่ง ก็คือ เหตุของสิ่งนั้น และความรู้ในสิ่งหนึ่ง ก็คือ ผลของสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดที่มีเหตุที่สมบูรณ์ เมื่อนั้นต้องมีผล หรือผลทั้งหลายอยู่อย่างแน่นอน ข้อพิสูจน์ต่อไปของ เหตุผลนี้ คือ อาตมันของพระเจ้า เป็นเหตุที่สมบูรณ์ที่สุดของสรรพสิ่งที่มีอยู่

และข้อพิสูจน์สุดท้าย ซึ่งได้กล่าวไปในประเด็นก่อนหน้านี้ แล้วว่า พระเจ้า มีความรู้ในอาตมันของพระองค์ 

ดังนั้น จากข้อพิสูจน์ทั้งหมด สามารถสรุปได้ว่า พระเจ้า มีความรู้ในอาตมันของพระองค์ และอาตมันของพระองค์ ก็เป็นเหตุที่สมบูรณ์ที่สุดของสรรพสิ่งที่มีอยู่ และความรู้ในเหตุที่สมบูรณ์ คือ ความรู้ไปยังผลของสิ่งหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้ามีความรู้ในอาตมันของพระองค์ หมายความว่า พระองค์มีความรู้มาแต่เดิม และความรู้ของพระองค์ ก็เป็นเหตุของการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง ดังนั้น ก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง พระเจ้ามีความรู้ ด้วยกับความรู้ของพระองค์ในอาตมันของพระองค์

๒.เหตุผลที่สอง เหตุผลนี้ เป็นเหตุผลที่เกี่ยวกับเทววิทยามากกว่าเหตผลที่แล้ว และมีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก

เมื่อสังเกตในโลก จะเห็นได้ว่า โลกนี้มีกฏและระเบียบ ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบของโลก ก็มีความเป็นระบบและระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายอันเป็นหนึ่งเดียว

๒๖๓

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นสิ่งที่พระเจ้าได้สร้างขึ้นมา และจากกฏของการมีผล และสิ่งถูกสร้าง แสดงให้เห็นว่า ต้องมีเหตุ และต้องมีผู้สร้างอย่างแน่นอน  ด้วยเหตุนี้ ความเป็นระบบระเบียบและมีจุดมุ่งหมายของโลก ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า ก่อนการสร้างของผู้สร้าง เขาจะต้องมีความรู้ในปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด เพราะสติปัญญาได้กล่าวว่า  เป็นไม่ได้ที่ผู้สร้างปรากฏการณ์ที่มีระบบระเบียบ จะไม่มีความรู้ในการสร้างของตนเอง

ส่วนมากของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ในการพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้าก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง ได้ใช้เหตุผลพิสูจน์และยืนยัน เช่น ท่านมุฮักกิก ตูซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ตัจรีดุลเอียะติกอด ว่า ความเป็นระบบระเบียบ บ่งบอกว่า เป็นเหตุผลหนึ่งของการมีความรู้ของพระเจ้าในสรรพสิ่ง

   ความรู้ของพระเจ้าหลังการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง

    ระดับขั้นที่สามของความรู้ของพระเจ้า  คือ ความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่งหลังการเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านั้น

สำหรับการพิสูจน์เหตุผลของความรู้ในระดับขั้นนี้ มีเหตุผลดังต่อไปนี้  ข้อพิสูจน์ของเหตุผลนี้ มีดังนี้

๑.พระผู้เป็นเจ้า คือ ปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย และสรรพสิ่งอื่น คือ ผลของพระองค์

๒.จากหลักปรัชญาได้อธิบายไว้ว่า การมีอยู่ของผล ต้องขึ้นอยู่กับเหตุของมัน และผลก็ไม่มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

๒๖๔

๓.ความจำเป็นของการมีอยู่ของผล ขึ้นอยู่กับเหตุของมันนั้นก็คือ ผลต้องอยู่คู่กับเหตุ เพราะว่า ถ้ามีเหตุแล้วไม่มีผล ดังนั้น ความหมายนี้ ก็คือ ผลมีอยู่อย่างเป็นอิสระเสรีในตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เป็นไปไม่ได้ที่ผลจะเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเหตุ

ความรู้คือ การมีอยู่ของสิ่งที่ถูกรู้ในผู้รับรู้ เพราะฉะนั้น ทุกการเกิดขึ้นของเหตุ ต้องมีความรู้ในผลของมันด้วย

และผลที่ได้รับจากข้อพิสูจน์นี้ ก็คือ พระผู้เป็นเจ้า มีความรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก เพราะทั้งหมดนั้น คือ ผลของพระองค์ และเหตุของสรรพสิ่ง มีความรู้ในผลที่จะเกิดขึ้น

   ความรู้ในอาตมัน และความรู้ในการกระทำ

    ได้กล่าวแล้วว่า ในบทนำเบื้องต้น  กล่าวคือ คุณลักษณะของพระเจ้า มีอยู่ ๒ ประเภทด้วยกัน ดังนี้

๑.ความรู้ในอาตมัน                        

๒.ความรู้ในกิริยา การกระทำ

ซึ่งขณะนี้ ได้กล่าวถึง ระดับขั้นของความรู้ในพระเจ้าว่า มี ๓ ระดับขั้น และจะมาดูกันว่า ระดับขั้นใด เป็น ความรู้ในอาตมัน และระดับขั้นใด เป็น ความรู้ในกิริยา การกระทำ จากการตรวจสอบในระดับขั้นทั้งสามของความรู้ในพระเจ้า ทำให้เข้าใจได้ว่า ระดับขั้นที่หนึ่งและที่สองเป็น ความรู้ในอาตมัน และระดับขั้นที่สาม เป็นความรู้ในกิริยา การกระทำ

๒๖๕

   ความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดของสรรพสิ่ง

    ประเด็นที่สำคัญ ประเด็นหนึ่งในความรู้ของพระเจ้า คือ พระองค์มีความรู้ในรายละเอียดของทุกสิ่ง หรือพระองค์มีความรู้ในบางส่วนของสรรพสิ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระองค์มีความรู้ในสิ่งหนึ่ง หรือบุคคลหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด และสถานที่หนึ่ง หรือพระองค์มีความรู้ในเหตุการณ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด และในสถานที่หนึ่ง หรือว่ามิได้เป็นเช่นนั้น

เมื่อได้พิจารณาในความรู้ของพระเจ้าหลังการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง  จะกล่าวได้ว่า สำหรับคำตอบ ก็คือ พระเจ้ามีความรู้ในสิ่งดังกล่าว แต่นักเทววิทยาอิสลาม บางคนได้ปฏิเสธ ความรู้นั้นของพระองค์ โดยที่เขาเชื่อว่า พระองค์มีความรู้ในรายละเอียดของสารัตถะของสรรพสิ่ง เหตุผลของเขา ในการยืนยันว่า พระเจ้าไม่มีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ซึ่งบางส่วนของเหตุผลทั้งหลายนั้น จะตรวจสอบและวิเคราะห์ ซึ่งมีดังนี้

๑.ความไม่คงที่ของสรรพสิ่ง หมายถึง เหตุผลหนึ่งของผู้ที่ปฏิเสธความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดปลีกย่อยของสรรพสิ่ง คือ สรรพสิ่งเหล่านั้น อยู่ในสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ถ้าหากพระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง หมายความว่า ความรู้ของพระองค์ ต้องตรงกับความเป็นจริง

และในขณะที่สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงและความไม่คงที่ ดังนั้น ความรู้ของพระเจ้า ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาตมันของพระองค์ ต้องมีความรู้ และความรู้ของพระองค์ก็มีการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน อาตมันของพระเจ้านั้น มิได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจะมีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง

๒๖๖

พื้นฐานของเหตุผลนี้ ก็คือ ถ้าหากว่า พระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ความรู้ของพระองค์ เป็น ความรู้โดยผ่านสื่อ หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ก็คือ การเปลี่ยนแปลงในอาตมันของพระเจ้า และถ้าหากพระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ความรู้ของพระองค์ ก็เป็นความรู้โดยตรง ดังนั้น พระองค์ก็มีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง และในสภาพเช่นนี้ การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง เป็นสาเหตุให้ความรู้ของพระองค์ มีการเปลี่ยนแปลง  แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ เกี่ยวกับคุณลักษณะในกริยา การกระทำ และมิได้เป็นสาเหตุให้อาตมันของพระเจ้ามีการเปลี่ยนแปลง

ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในคุณสมบัติที่เฉพาะกับคุณลักษณะในกิริยา การกระทำของพระเจ้า ก็คือ เมื่อสิ่งถูกสร้างของพระองค์มีการเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือ การกระทำของพระองค์ ดังนั้น คุณลักษณะในกิริยา การกระทำของพระองค์ ก็มีการเปลี่ยนแปลง แต่มิได้มีการเปลี่ยนแปลงในอาตมันของพระองค์

จึงขอกล่าวสรุปได้ว่า พระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง นั่นก็คือ การมีอยู่ของสรรพสิ่ง ณ พระองค์  และการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ก็คือ การเปลี่ยนแปลงในกิริยา การกระทำ

๒.การเป็นสื่อของความรู้ในสรรพสิ่ง เหตุผลหนึ่งของผู้ที่ปฏิเสธความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ก็คือ การมีความรู้นี้ ต้องใช้สื่อในการรับรู้ และในขณะที่พระผู้เป็นเจ้า ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านั้น

๒๖๗

สำหรับคำตอบ ก็คือ จะกล่าวได้ว่า การใช้สื่อในการรับรู้จากความรู้นี้ มิใช่เป็นแก่นแท้หรือสารัตถะของสิ่งนั้น ซึ่งจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แต่ทว่า การรับรู้ประเภทนี้ เกิดขึ้นในโลกแห่งธรรมชาติ เช่น มนุษย์ที่มีความรู้สึก และใช้ประโยชน์จากอวัยวะของร่างกายและสื่ออุปกรณ์อื่นที่เป็นวัตถุ

แต่สำหรับพระเจ้านั้น มีความแตกต่างกับมนุษย์อย่างสิ้นเชิง เพราะพระองค์ทรงอยู่เหนือธรรมชาติ และความรู้ของพระองค์ก็เป็นความรู้โดยตรง อีกทั้งพระองค์ทรงรอบรู้ในทุกสรรพสิ่งด้วย

   ความรู้ของพระเจ้าและเจตจำนงเสรีของมนุษย์

   คุณสมบัติหนึ่งในความรู้ของพระเจ้า เช่นเดียวกับคุณลักษณะของพระองค์ คือ ความสมบูรณ์ของคุณลักษณะ ของพระองค์หมายถึง ความรู้ของพระองค์ ครอบคลุมถึงทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตกาล,ปัจจุบันและในอนาคตที่จะเกิดขึ้น

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้า จึงมีความรู้ในทุกสิ่งมาแต่เดิม และมีความรู้ในทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จนถึงวันสิ้นโลก เช่น พระองค์มีความรู้ในการกระทำของมนุษย์ว่า เขาจะทำอะไร และจะไม่ทำอะไร ในอนาคต ดังนั้น ในกรณีนี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต โดยกล่าวกันว่า พื้นฐานของความรู้ของพระเจ้าในการกระทำของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น มีความขัดแย้งกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (จะตอบปัญหานี้ ในประเด็น การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์)

๒๖๘

   ความรู้ของพระเจ้า ในมุมมองของอัล กุรอาน

    โองการทั้งหลายมากมายของอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้า โดยกล่าวว่า อะลีม (ผู้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่ง),ซะมีอ์ (ผู้ทรงได้ยิน) และบะซีร (ผู้ทรงมองเห็น) นอกเหนือจากนี้ บางส่วนของโองการทั้งหลายได้กล่าวถึง คุณลักษณะที่เฉพาะในความรู้ของพระเจ้า โดยกล่าวว่า อาลิมุลฆ็อยบ์ (ผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่เร้นลับ) และอัลลามุลฆุยูบ (ผู้ทรงรอบรู้มากที่สุดในสิ่งที่เร้นลับทั้งหลาย) ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า การอธิบายในรายละเอียดของโองการทั้งหลายนั้น จะต้องใช้เวลายาวนาน และยังสามารถเรียบเรียงเป็นหนังสือหรือบทความได้ แต่ในที่นี้ จะขออธิบายเพียงบางส่วนของโองการเหล่านี้

  การพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้า

   การพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้าจากโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน โดยส่วนมากได้กล่าวถึง การพิสูจน์คุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุดของพระองค์

อัล กุรอานกล่าวว่า

“พระผู้ทรงสร้างจะมิทรงรอบรู้ดอกหรือ ? พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนผู้ทรงตระหนักยิ่ง”

(บทอัลมุลก์ โองการที่๑๔)

๒๖๙

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า เป็นคำถามที่ได้ถามกับมนุษย์เกี่ยวกับ พระผู้ทรงสร้างว่า พระองค์มิทรงมีความรอบรู้กระนั้นหรือ?  ด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานได้อธิบายในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน โดยที่กล่าวว่า ในระหว่างพระผู้ทรงสร้างกับการมีความรู้ในการสร้าง เป็นความสัมพันธ์ประเภทหนึ่ง ดังนั้น พระผู้ทรงสร้างสิ่งหนึ่งก่อนการสร้างในสิ่งนั้น จะต้องมีความรู้ในสิ่งนั้น และพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง จากโองการนี้ได้พิสูจน์ในความรู้ของพระเจ้าก่อนการสร้างและหลังการสร้างของพระองค์ และพระองค์ทรงมีความรู้ในกาลและเวลา ,ในทุกสรรพสิ่ง เพราะว่า ทุกสรรพสิ่ง คือ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง

   ความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

    อัล กุรอานได้อธิบายคุณลักษณะความรู้ของพระเจ้า และกล่าวเน้นย้ำว่า พระองค์ทรงมีความรู้ที่สมบูรณ์ที่สุดและไม่มีที่สิ้นสุด ความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า คือ หนึ่งในหลักศรัทธาของมนุษย์ต่อการรู้จักถึงคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ และมีบทบาทที่สำคัญต่อการรู้จักถึงพระองค์ และการมีความเชื่อในความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุด ยังมีผลต่อในการพัฒนาการทางด้านจิตของมนุษย์ ในการมอบหมายการงานแด่พระองค์ และการมีความเชื่อว่า พระเจ้าทรงมีความรู้ในทุกกิจการงานที่เปิดเผยและซ่อนเร้นของมนุษย์ แม้แต่ความตั้งใจ และจุดประสงค์ของมนุษย์ พระองค์ก็ทรงรอบรู้ด้วยเช่นกัน

๒๗๐

อัล กุรอานได้กล่าวในความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้าอย่างชัดเจนว่า

 “และอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ยิ่งในทุกสิ่ง” (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๑๘๒ และบทอัตตะฆอบุน โองการที่ ๑๑)

บางโองการได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้า ในสิ่งที่มีอยู่ในโลก

“พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่เข้าไปในแผ่นดินและสิ่งที่ออกมาจากแผ่นดิน และสิ่งที่ลงมาจากฟากฟ้าและสิ่งที่ขึ้นไปสู่ฟากฟ้า และพระองค์ทรงอยู่กับพวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ แห่งหนใด และอัลลอฮ์ทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”

(บทอัลหะดีด โองการที่ ๔)

จากโองการนี้ได้กล่าวว่า พระเจ้าทรงอยู่กับพวกเจ้า ไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ ที่แห่งใดก็ตาม แสดงให้เห็นว่า พระองค์นั้นอยู่กับมนุษย์ทุกคนมาโดยตลอด และพระองค์ทรงมองเห็นกิจการงานต่างๆของพวกเขา

อัล กุรอานกล่าวว่า

“จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านปกปิดสิ่งที่อยู่ในอกของพวกท่าน หรือเปิดเผยมันก็ตาม อัลลอฮ์ก็ย่อมรู้ถึงสิ่งนั้นดีและทรงรู้สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้า และทุกสิ่งอยู่ในแผ่นดิน และอัลลอฮนั้นทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๒๙ )

๒๗๑

   ความรู้ในสิ่งที่เร้นลับของพระเจ้า

   บางโองการของอัล กุรอาน ได้กล่าวถึง พระเจ้าว่า พระองค์ทรงรอบรู้ในสิ่งที่เร้นลับ

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ความรู้แห่งวันอวสานมีอยู่ ณ พระองค์ และพระองค์ทรงประทานฝนให้หลั่งลงมาและพระองค์ทรงรอบรู้ในสิ่งที่อยู่ในครรถ์มารดา และไม่มีชีวิตใดรู้ สิ่งที่จะหามาได้ในวันพรุ่งนี้

และไม่มีชีวิตใดรู้ว่า ณ แผ่นดินใดจะตาย แท้จริง อัลลอฮ์นั้น เป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน”

(บทลุกมาน โองการที่ ๓๔)

โองการนี้ได้กล่าวถึง สิ่งเร้นลับที่พระเจ้าทรงรู้ มีดังนี้

๑.พระองค์ทรงรู้ในวันอวสานของโลก

๒.พระองค์ทรงรู้ในวันที่ฝนหลั่งลงมา

๓.พระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในครรถ์มารดา

๔.พระองค์ทรงรู้ในสิ่งที่จะเกิดขึ้น

๕.พระองค์ทรงรู้ในสิ่งที่กำลังจะตาย

และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับทั้งห้า เป็นกุญแจนำไปสู่ความรู้ของพระเจ้า

สิ่งที่ควรสังเกตก็คือ มโนทัศน์หรือความหมายของ ความเร้นลับ เป็นความหมายที่ต้องการความสัมพันธ์ไปยังสิ่งที่มีอยู่ แต่สำหรับพระเจ้า ความรู้ในสิ่งเร้นลับ เป็นสิ่งเปิดเผย ณ พระองค์ เพราะว่า พระองค์ทรงมีความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีสิ่งใดที่ความรู้ของพระองค์ไปไม่ถึง ด้วยเหตุนี้ ความรู้ในสิ่งเร้นลับของพระเจ้า ก็คือ ความรอบรู้ในสิ่งที่มนุษย์นั้นไม่มีความรู้ในสิ่งนั้น

๒๗๒

   ความรู้ของพระเจ้าในมุมมองของวจนะ

    ประเด็นเรื่องความรู้ของพระเจ้า ที่ถูกกล่าวไว้ในวจนะทั้งหลาย เป็นสิ่งหนึ่งที่บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์นั้นได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก บางวจนะได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้าว่า มีมาแต่เดิม

ดั่งวจนะของท่านอิมาม อะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๕๒)

บางวจนะได้กล่าวในความรู้ของพระเจ้าในสิ่งที่มีอยู่ก่อนการเกิดขึ้นและหลังการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

ดั่งวจนะของท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ คือ พระผู้อภิบาลของเรา  พระองค์ทรงมีอยู่แต่เดิม และความรู้ คือ อาตมันของพระองค์ ในขณะที่ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ่น หลังจากนั้น พระองค์ได้ทำให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น และพระองค์ทรงรู้ในสิ่งทั้งหลายนั้น”

[๑]  (อุศูลอัลกาฟีย์ เล่มที่หนึ่ง หน้าที่ ๑๐๗)

และยังมีวจนะอื่นๆอีกที่ได้กล่าวในความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

จากท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

 “พระองค์ทรงรู้ในเสียงร้องของสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในหุบเขาและท้องทะเลทราย และทรงรู้ในบาปต่างๆของบรรดาบ่าวของพระองค์ ที่กระทำในที่ลับ และพระองค์ทรงรู้ในหมู่ปลาทั้งหลายที่เวียนว่ายในท้องทะเลที่กว้างใหญ่ไพศาล และ พระองค์ทรงรู้ในคลื่นที่พัดพา”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๙๗)

๒๗๓

และเช่นกัน ได้มีรายงานจาก ท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) เป็นคำตอบให้กับของชายคนหนึ่งได้พูดขึ้นว่า  “การสรรเสริญทั้งมวล จงมีแด่อัลลอฮ์ และด้วยกับการมีขอบเขตในความรู้ของพระองค์”

ท่านอิมามได้กล่าวกับเขาว่า

 “เจ้าอย่าได้พูดเช่นนี้นะ เพราะความรู้ของพระเจ้านั้น ไม่มีขอบเขตจำกัด” [๑]

   ความรู้โดยเฉพาะและทั่วไปของพระเจ้า

    บางวจนะยังได้กล่าวในความรู้ของพระเจ้าว่ามีอยู่  ๒ ประเภท  ดังนี้

๑.ความรู้โดยเฉพาะเจาะจง

๒.ความรู้โดยทั่วไป กล่าวคือ ความรู้ที่มีอยู่ในพระเจ้ากับมวลเทวทูต,บรรดาศาสดา และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์

ท่านอิมามบากิร (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

 “แท้จริง อัลลอฮ์ทรงมีความรู้ที่ไม่มีผู้ใดรู้นอกจากพระองค์ และพระองค์ทรงมีความรู้และมวลเทวทูต,บรรดาศาสดาและเราก็มีความรู้ในสิ่งนั้นๆ”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่๑๐ วจนะที่ ๑)

และยังมีวจนะอื่นอีกมากมายที่ได้กล่าวถึง สองคุณลักษณะของพระเจ้าที่บ่งบอกถึง ความรู้ของพระองค์ นั่นก็คือ คุณลักษณะการได้ยิน และการมองเห็น และยังได้กล่าวอีกว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากความรู้ที่ได้รับจากการได้ยินและการมองเห็นโดยการใช้สื่อ ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงได้ยินโดยไม่ต้องใช้หู และพระองค์ทรงมองเห็นโดยที่ไม่ต้องใช้ตา”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่๑๐ วจนะที่ ๑

๒๗๔

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ความรู้ (อิลม์ ) : Knowledge

ความรู้โดยตรง (อิลม์ ฮุฎูรีย์)   Immediate knowledge

ความรู้โดยผ่านสื่อ (อิลม์ ฮุซูลีย์ ) Empirical knowledge

ความรู้ในสิ่งเร้นลับ (อิลมุลฆ็อยบ์): Occultism

ความรู้โดยเฉพาะเจาะจง (อิลมุลคอซ)

ความรู้โดยทั่วไป (อิลมุลอาม)

  สรุปสาระสำคัญ

๑.ความรู้หรือการรับรู้ สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

 ๑.ความรู้โดยตรง ๒.ความรู้โดยผ่านสื่อ

ความรู้โดยตรง  หมายถึง ความรู้ที่ไม่ได้รับรู้จากการเข้าใจในความหมายหรือการมโนภาพของคำๆหนึ่ง ดังนั้น ความรู้โดยตรง มีความหมายว่า การรับรู้ของสิ่งที่รู้เกิดขึ้นโดยตรงกับผู้รู้

ความรู้โดยผ่านสื่อ หมายถึง ความรู้ที่รับรู้จากการเข้าใจในความหมายและการมโนภาพ 

๒.ความหมายที่สมบูรณ์ของ ความรู้ คือ การรับรู้ของสิ่งที่รู้กับผู้รู้ ดังนั้น ความหมายนี้ไม่มีคำจำกัดความและข้อบกพร่องใดๆ สามารถจะนำไปใช้กับความรู้ของพระเจ้าได้

๒๗๕

๓.ส่วนมากของบรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลามมีความเชื่อว่า ความรู้ของพระเจ้า คือ ความรู้โดยตรง เพราะว่า ความรู้ของพระองค์ไม่ใช่ความรู้โดยผ่านสื่อ ความหมายของความรู้โดยผ่านสื่อ คือ ความรู้นั้นมีผลสะท้อนที่ย้อนกลับไปหายังผู้รู้และการยอมรับการมโนภาพของความหมายนั้น ซึ่งทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้นในพระเจ้า

๔.ระดับขั้นความรู้ของพระเจ้า มี ๓ ระดับขั้น

๑.ความรู้ในอาตมัน

๒.ความรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลายก่อนการเกิดขึ้น

๓.ความรู้ของสรรพสิ่งหลังการเกิดขึ้น

๕.เหตุผลการพิสูจน์ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า คือ ทุกสิ่งที่เป็นอวัตถุ มีความรู้ในตัวเอง และพระเจ้าเป็นสิ่งอวัตถุ ดังนั้น พระองค์มีความรู้ในตนเอง

๖.อาตมันของพระเจ้า เป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย และเช่นกัน ความรู้ในเหตุ จะต้องมีความรู้ในผลของเหตุนั้นด้วย ดังนั้น ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้ของพระองค์ในสรรพสิ่งก่อนการเกิดขึ้น เพราะสรรพสิ่ง คือ ผลทั้งหลายของพระองค์

๗.พื้นฐานทางสติปัญญาของ ความรู้ของพระเจ้าในสรรพสิ่งหลังการเกิดขึ้น คือ ผลของเหตุ ต้องมีอยู่ด้วยกันทั้งคู่ และสรรพสิ่ง คือ ผลทั้งหลายของพระเจ้า ดังนั้น สรรพสิ่งมีอยู่กับพระองค์ และความหมายของ ความรู้ ก็คือ การมีอยู่ของสิ่งที่รับรู้ในผู้รู้

๘.พระเจ้าทรงรับรู้ในทุกสิ่งโดยที่ไม่ต้องการวัตถุในการรับรู้และไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอาตมันของพระองค์

๙.มีโองการต่างๆมากมายที่ได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้า และคุณลักษณะ ความรอบรู้ ,ผู้รอบรู้ในสิ่งเร้นลับ

๒๗๖

๑๐.อัล กุรอาน ในโองการที่กล่าวว่า  “พระผู้ทรงสร้างจะมิทรงรอบรู้ดอกหรือ ? พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนผู้ทรงตระหนักยิ่ง” (บทอัลมุลก์ โองการที่๑๔) พิสูจน์ได้ว่า ความรู้ของพระเจ้าในสิ่งที่มีอยู่ด้วยกับการสร้างสรรค์ของพระองค์

๑๑.อัล กุรอานได้กล่าวในความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า และพระองค์ทรงรอบรู้การงานทั้งหลาย และทรงรอบรู้ในสิ่งที่อยู่ในเจตนาของมนุษย์ และอัล กุรอานได้กล่าวอีกว่า พระองค์ทรงรู้ในสิ่งที่มนุษย์ไม่รู้หรือในสิ่งเร้นลับ

๑๒.วจนะทั้งหลายได้กล่าวถึง ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า และความรู้โดยเฉพาะของพระองค์ และความรู้โดยทั่วไปของพระองค์ และบางวจนะกล่าวว่า ความรู้ของพระเจ้า ในสิ่งที่ได้ยินและมองเห็น โดยปราศจากการใช้สื่อทั้งหลาย

๒๗๗

   บทที่ ๕

   พลังอำนาจของพระเจ้า (กุดรัต อิลาฮีย์)

    พลังอำนาจของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ ซึ่งโองการต่างๆของอัลกุรอานได้กล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้ทรงมีพลังอำนาจ(กอดีร ,กอดิร)

และเช่นเดียวกัน หนึ่งในคุณลักษณะทั้งหลายที่มีอยู่ในมนุษย์  คือ พลังอำนาจ และความสามารถ ด้วยเหตุนี้ ความหมายของ การมีพลังอำนาจ และการไม่มีพลังอำนาจหรือไร้ความสามารถ เป็นความหมายที่กระจ่างชัด และเพื่อจะเข้าใจในความหมายของคุณลักษณะการมีพลังอำนาจในพระเจ้า จึงต้องอธิบายความหมายของการมีพลังอำนาจก่อน

   ความหมายทางภาษาของ คำว่า กุดรัต (พลังอำนาจ) 

    บรรดานักเทววิทยาอิสลาม ได้ให้ความหมายของ คำว่า กุดรัต (พลังอำนาจ) ไว้มากมาย ซึ่งความหมายหนึ่งที่รู้จักกันดี ก็คือ ผู้มีความสามารถ กล่าวคือ บุคคลหนึ่งมีความสามารถที่จะกระทำการงานใดการงานหนึ่ง หรือจะไม่กระทำการงานนั้น ดังนั้น บุคคลที่กระทำการงานใดการงานหนึ่งหรือไม่กระทำการงานอันนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับ ความประสงค์และความต้องการของบุคคลนั้นด้วย

๒๗๘

 เพราะฉะนั้น การงานใดก็ตามที่ผู้กระทำไม่มีความประสงค์ที่จะกระทำการงานนั้น  การงานนั้นก็จะไม่ถูกเกิดขึ้น ดังนั้น ผู้กระทำ(ฟาอิล)ได้เป็นผู้กระทำการงานหนึ่ง(เฟียล)ที่ไม่มีพลังอำนาจ(กุดรัต)  การงานอันนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น เหมือนกับไฟที่ไม่มีความร้อน

และจากความหมายข้างต้น ซึ่งมีคุณสมบัติที่พิเศษ ดังนี้

๑.การมีพลังอำนาจในการกระทำการงานหนึ่ง  มิได้หมายความว่า การงานนั้นจะต้องเกิดขึ้น แต่หมายความว่า ผู้กระทำ(ฟาอิล) เขามีความสามารถที่จะไม่กระทำหรือละทิ้งการงานอันนั้นได้

๒.ผู้กระทำมีความสามารถก่อนที่จะกระทำการงานใดการงานหนึ่ง  และมีคุณลักษณะพลังอำนาจอยู่ด้วยเช่นกัน ทัศนะมีความเห็นที่มีความขัดแย้งกับทัศนะที่กล่าวว่า ผู้กระทำมีคุณลักษณะพลังอำนาจในขณะที่ได้กระทำการงานใดการงานหนึ่ง

ความถูกต้องของทัศนะนี้ก็คือ เมื่อได้พิจารณาในความหมายของ พลังอำนาจ และย้อนกลับไปดูสภาพภายในของมนุษย์ มีความเข้าใจได้ว่า ก่อนการเกิดขึ้นของการกระทำ ผู้กระทำมีความสามารถที่จะกระทำการงานนั้นได้  ในขณะเดียวกัน ในสภาพภายในของมนุษย์ ก่อนที่จะกระทำการงานใดก็ตาม เขานั้นมีความสามารถที่จะกระทำ แม้ว่าการงานนั้นยังไม่เกิดขึ้นมาก็ตาม

๓.การมีพลังอำนาจ เกิดขึ้นด้วยกับ ๒ กริยา การกระทำ คือ การกระทำ และการละทิ้งในการงานใดการงานหนึ่ง

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เมื่อใดที่กล่าวถึง การมีพลังอำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  มีความหมายว่า ผู้กระทำนั้นมีความสามารถที่จะกระทำหรือไม่กระทำการงานนั้นก็ได้

๒๗๙

ทัศนะหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม ได้กล่าวว่า การมีพลังอำนาจของบุคคลหนึ่งนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการกระทำนั้นได้เกิดขึ้นมาเสียก่อน

๔.ความหมายของการมีพลังอำนาจและความอ่อนแอ เป็นความหมายหนึ่งที่เหมือนความหมายของ การมีและการไม่มี ดังนั้น ผู้กระทำตามธรรมชาติ เช่น ความร้อนจากไฟที่ไม่มีทั้งพลังอำนาจ และไม่มีความอ่อนแออยู่ด้วยกัน

   ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า (กุดรัต อิลาฮียฺ)

   หลังจากที่ได้อธิบายความหมายของ คำว่า พลังอำนาจไปแล้ว ดังนั้น ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า มีความหมายว่าอย่างไร และความหมายโดยทั่วไปของ พลังอำนาจ ที่นำมาใช้กับพระเจ้าได้หรือไม่?

จากความหมายของ คำว่า พลังอำนาจ สามารถใช้กับพระเจ้าได้ ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งที่แสดงถึงข้อบกพร่องและการมีขอบเขตจำกัด ด้วยเหตุนี้ ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า ก็คือ ถ้าพระเจ้ามีความประสงค์ที่จะกระทำการงานใดก็จะเกิดขึ้น ทันทีทันใด และถ้าพระองค์มีความประสงค์ที่จะละทิ้ง การงานนั้นก็จะถูกละทิ้งในเวลานั้น

สิ่งที่มิอาจลืมได้ นั่นก็คือ เมื่อเราสังเกตุในตัวของเราเอง จะพบว่า เรานั้นมีพลังอำนาจ หมายความว่าอย่างไร?  ก็หมายความว่า การมีพลังอำนาจของเราที่จะกระทำหรือไม่กระทำหรือละทิ้งการงานใดการงานหนึ่งได้ โดยการงานนั้นเกิดขึ้นจากจุดประสงค์ที่อยู่ภายนอก และเราก็ไม่สามารถเปรียบเทียบการมีพลังอำนาจของมนุษย์กับการมีพลังอำนาจของพระเจ้าได้ เพราะว่า พระเจ้า มีพลังอำนาจในอาตมันของพระองค์ กล่าวคือ การมีพลังอำนาจ คือ อาตมันของพระองค์

๒๘๐

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450