บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339922 / ดาวน์โหลด: 4959
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

ความดีงามพิเศษ :

บทขอพรของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)นั้นมีความดีงามพิเศษมากมายที่ไม่มีผู้ใดเทียบได้ ท่าน(อฺ)เหล่านั้นมีเกียรติคุณที่ดีเด่นเป็นพิเศษกันแต่เพียงกลุ่มเดียวสำหรับความดีงามเหล่านั้นในหมู่ประชาชาตินี้

เรื่องดุอาอ์(บทขอพร)คือลักษณะพิเศษอันมากมายอีกประการหนึ่งที่บรรดาสาวกและตาบีอีนทั้งหลายไม่มีโอกาสเทียบเทียมได้เลย แม้แต่คนเดียว อีกทั้งบรรดานักปราชญ์อื่น ๆ ในรุ่นถัดมาก็ตาม กล่าวคือ ได้มีการบันทึกดุอาอ์ของแต่ละท่านไว้มากมาย ซึ่งบรรดานักปราชญ์ของเราได้เก็บ

รวบรวมไว้นับร้อยๆ เรื่องบรรดาอิมาม(อฺ)เป็นมนุษย์ที่รู้จริงเกี่ยวกับระเบียบแบบแผนที่บ่าวของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)จำเป็นจะต้องดำเนินการปฏิบัติในยามสนทนากับพระองค์ และรู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร สำหรับการถ่อมตน

การขอพึ่งพิง และตัดขาด(จากทุกสิ่งทุกอย่าง) เพื่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ในหนังสือนี้เราได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺโดยละเอียดของท่านอิมาม(อฺ)ผ่านมาแล้ว ต่อไปนี้จะเป็นการบันทึกดุอาอ์บางบทบางตอนของท่าน(อฺ)ดังนี้

๑๐๑

ดุอาอ์

บทที่ 1

เป็นบทดุอาอ์บทหนึ่งของอิมามที่ 7

“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ข้าฯขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญานตนว่า มุฮัมมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ แท้จริงศาสนาอิสลามย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้ ศาสนาย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ทรงวางกฎไว้ คัมภีร์ย่อมเป็นไปตามที่

พระองค์ทรงประทานให้ไว้ คำสอนย่อมเป็นไปตามที่พระองค์ตรัสไว้

แท้จริงอัลลอฮฺคือ ผู้ทรงสิทธิอันชัดแจ้ง ความเจริญสิริมงคลของอัลลอฮฺพึงมีแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่าน”

“ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าฯดำรงอยู่ในความคุ้มครองของพระองค์ ชีวิตของข้าฯนอบน้อมต่อพระองค์ ใบหน้าของข้าฯหันสู่พระองค์ กิจการงานของข้าฯ ขอมอบหมายยังพระองค์ ร่างกายของข้าฯขอนอบน้อมยังพระองค์ กลัวเกรงพระองค์ และมุ่งหวังต่อพระองค์ ข้าฯศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ที่ทรงประทานมาแก่ศาสนทูตของพระองค์ที่ทรงส่งมา”

“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าฯเป็นคนยากจน ณ พระองค์ ขอได้ทรงโปรดประทานเครื่องยังชีพแก่ข้าฯโดยอย่าได้คำนวณ

แท้จริงพระองค์ทรงประทานเครื่องยังชีพให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์

โดยไม่มีการคำนวณ”

๑๐๒

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง ข้าฯวิงวอนขอเครื่องยังชีพที่ดีงามทั้งหลาย และละเว้นความเลวร้ายทั้งหลาย และขอให้พระองค์อภัยโทษให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความกรุณาของพระองค์ที่ทรงเป็นเจ้าของได้โปรดบันดาลให้ข้าฯได้ออกห่างจากความชั่วอันมาจากข้าฯ ด้วยความดีอันมาจากพระองค์ และขอให้พระองค์ประทานความดีอย่างมากมายที่พระองค์มิได้ประทานให้แก่บ่าวคนใดให้แก่ข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ ข้าฯขอความคุ้มครองให้พ้นจากทรัพย์สินที่เป็นตัวทดสอบ(ฟิตนะฮฺ)แก่ข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ ให้พ้นจากบุตรที่เป็นศัตรูของข้าฯ”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริง พระองค์ทรงเห็นฐานะความเป็นอยู่ของข้าฯ ทรงได้ยินดุอาอ์และคำพูดของข้าฯ ทรงรู้ในความจำเป็นของข้าฯ ข้าฯขอต่อพระนามทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดทำให้ความ ต้องการทั้งหลายในชีวิตทางโลกนี้และปรโลกของข้าฯได้บรรลุผล”

“โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงข้าฯขอดุอาอ์ต่อพระองค์อันเป็นดุอาอ์ของบ่าวผู้ซึ่งด้อยในความสามารถเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก มีความทุกข์อย่างสาหัส มีความสามารถน้อยนิด และมีการงานที่ตกต่ำเป็นดุอาอ์ของผู้ที่ไม่มีใครช่วยเหลือได้นอกจากพระองค์ เป็นความอ่อนแอที่ไม่มีใครช่วยได้นอกจากพระองค์

๑๐๓

ข้าฯขอความดีต่าง ๆ ทั้งมวล ขอเกียรติคุณ ขอความดีความเมตตาทั้งมวลของพระองค์ ได้โปรดเมตตาต่อข้าฯ และให้ข้าฯพ้นจากไฟนรก”

“โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แผ่นดินอยู่เหนือน้ำ ทรงบันดาลให้ฟากฟ้าอยู่ในห้วงอากาศ

โอ้ผู้ทรงเอกะ ก่อนทุกสิ่งที่เป็นหนึ่งเดียว โอ้ ผู้ทรงเป็นหนึ่งหลังจากทุก ๆ สิ่ง โอ้ผู้ซึ่งไม่มีใครรู้ว่า พระองค์ทรงเป็นอย่างไร นอกจากพระองค์ และไม่มีใครรู้ซึ้งถึงอำนาจของพระองค์ นอกจากพระองค์ โอ้พระองค์ผู้ทรงดำรงอยู่กับกิจการงาน โอ้พระองค์ผู้ทรงให้ความช่วยเหลือ โอ้พระผู้ช่วยบรรดาผู้เดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงตอบรับคำขอของคนเดือดร้อน โอ้พระผู้ทรงมีความเมตตาในโลกนี้และปรโลก เป็นพระผู้ทรงกรุณาปรานี โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ อย่าให้ข้าฯหลงผิด และอย่าชิงชังข้าฯตลอดกาล แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งการสรรเสริญยิ่ง

 โปรดประทานพรแด่มุฮัมมัดและวงศ์วานของท่านเทอญ”(1)

(1) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๔

ดุอาอ์

บทที่ 2

เป็นดุอาอ์ของอิมามมูซา กาซิม(อฺ)หลังนมาซซุฮฺริ

ท่านมุฮัมมัด บินซุลัยมานเล่าว่า : บิดาของท่านกล่าวว่า ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้ออกเดินทางไปกับท่านอิมามอะบุลฮะซัน(อฺ) หรือมูซา บินญะอฺฟัร เมื่อท่าน(อฺ)นมาซซุฮฺริเสร็จแล้ว ท่าน(อฺ)ได้อ่านดุอฺาอ์ในขณะที่ทรุดตัวลงกราบอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ด้วยอาการเศร้าสร้อย น้ำตาหลั่งไหล ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

 “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าฯ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยลิ้น ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงให้ข้าฯเป็นใบ้ก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยตา ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯตาบอดเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยหู หากพระองค์ทรงประสงค์อาจทางทำให้ข้าฯหูหนวกเสียก็ได้

ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยมือ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯมือด้วนเสียก็ได้ ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยเท้า ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯขาด้วนเสียก็ได้

ข้าพระองค์ทรยศพระองค์ด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์อาจทรงทำให้ข้าฯเป็นหมันเสียก็ได้ ข้าฯทรยศต่อพระองค์ด้วยอวัยวะทั้งเรือนร่างที่ทรงประทานให้แก่ข้าฯ และสิ่งนี้ข้าฯไม่มีสิ่งใดๆ ตอบแทนแก่พระองค์ได้”

๑๐๕

บิดาของท่านมุฮัมมัด เล่าอีกว่า หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้นับจำนวนครั้ง ในคำที่ท่านกล่าวว่า

“อัล-อัฟว์ อัล-อัฟว์”(ขออภัย ขออภัย) ได้ 1,000 ครั้ง จากนั้นท่าน (อฺ) แนบแก้มขวาลงบนดิน แล้วข้าพเจ้าได้ยินท่าน (อฺ) กล่าวว่า

“ข้าฯล่วงเกินต่อพระองค์ด้วยความผิดของข้าฯ ข้าฯได้กระทำความชั่วและอธรรมต่อตัวของข้าฯเอง ดังนั้นได้โปรดให้อภัยแก่ข้าฯ เพราะไม่มีใครอภัยความผิดพลาดได้ นอกจากพระองค์ โอ้นายของข้าฯ โอ้นายของข้าฯ นายของข้าฯ นายของข้าฯ”

ท่าน(อฺ)ก็แนบแก้มซ้ายลงบนดิน แล้วกล่าวว่า

“โปรดให้ความเมตตาต่อผู้ทำบาป”

อ่านดังนี้สามครั้ง หลังจากนั้นท่าน(อฺ)จึงยกศีรษะขึ้น(2)

(2) อัล-บะละดุล-อะมีน หน้า 101.

๑๐๖

ดุอฺาอ์

บทที่ 3

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของอิมามมูซา(อฺ)

“โอ้ ผู้ทรงดำรงอยู่ก่อนสิ่งทั้งหลาย โอ้ผู้ทรงได้ยินทุกเสียงสำเนียง ทั้งดังและค่อย โอ้ผู้ทรงประทานชีวิตให้หลังจากตาย ความมืดมิดอันใดย่อมไม่ครอบคลุมพระองค์เลย ภาษาอันหลากหลายย่อมไม่ทำให้พระองค์ทรงสับสน ไม่มีสิ่งใดทำให้พระองค์วุ่นวาย”

“โอ้พระผู้ซึ่งไม่ทรงวุ่นวายด้วยดุอฺาอ์ของผู้ใดที่อ้อนวอนขอต่อพระองค์จากฟากฟ้า โอ้พระผู้ทรงบันดาลให้ทุกสิ่งที่ได้ยิน ทรงได้ยินได้ฟังและมองเห็น โอ้พระผู้ซึ่งไม่เคยผิดพลาด แม้จะมีการร้องขออย่างมากมาย”

“โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตในยามที่ไม่มีสิ่งใดดำรงชีวิต โดยทรงดำรงอยู่ตลอดกาล และมั่นคงถาวร โอ้พระผู้ทรงดำรงอยู่สูงสุด แต่ซ่อนเร้นจากสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยรัศมีของพระองค์ โอ้พระองค์ ผู้ทรงบันดาลให้แสงสว่างปรากฏออกมาท่ามกลางความมืด ข้าฯขอวิงวอนต่อพระองค์ด้วย

พระนามของพระองค์ผู้ทรงเอกะ ทรงเป็นหนึ่งเดียวแห่งการพึ่งพิง โปรดประทานความเจริญแด่ท่านศาสดามุฮัมมัดและอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน”

จากนั้นท่าน(อฺ)ได้วิงวอนขอในสิ่งที่ท่าน(อฺ)ต้องการ(3)

(3) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 239.

๑๐๗

ดุอฺาอ์

บทที่ 4

เป็นดุอฺาอ์อีกบทหนึ่งของท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)

“ข้าฯขอมอบหมายตนเองยังพระองค์ ผู้ซึ่งไม่ตาย และข้าฯขอพึ่งการพิทักษ์คุ้มครอง โดยผู้ทรงเกียรติและอำนาจ ข้าฯขอความช่วยเหลือต่อผู้ทรงเกรียงไกรและมีอำนาจครอบครองข้าฯ โอ้นายของข้าฯขอยอมจำนนต่อพระองค์ ข้าฯขอมอบหมายตนต่อพระองค์ ดังนั้นขออย่าทำลายข้าฯ

ข้าฯขอพึ่งร่มเงาของพระองค์ ดังนั้นจงอย่าผลักไสข้าฯ พระองค์เป็นที่พึ่งอาศัย ทรงรู้สิ่งที่ข้าฯซ่อนเร้นและเปิดเผย ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในสายตาและที่ซ่อนไว้ในจิตใจ ดังนั้นได้โปรดยับยั้งข้าฯให้พ้นจากผู้อธรรมทั้งในหมู่ญิน และหมู่มนุษย์ทั้งมวลด้วยเถิด โอ้พระผู้ทรงกรุณาปราณี ได้โปรดปกปักรักษา

ข้าฯด้วยเถิด”(4)

 (4) มะฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 300.

๑๐๘

การตอบสนองต่อบทดุอฺาอ์ของท่านอิมามที่ 7

บรรดาอิมาม(อฺ)ทั้งหลายนั้นต่างใช้ชีวิตทั้งหมดในฐานะผู้ถูกกดขี่ข่มเหง ตลอดระยะเวลาการปกครองของวงศ์อุมัยยะฮฺ คนทั้งหลายคาดคิดว่าในการปกครองของสมัยวงศ์อับบาซียะฮฺสิ่งนั้นคงจะบรรเทาเบาบางลงบ้างและภัยอันตรายคงจะยกเลิกจากพวกท่าน(อฺ)ไปบ้าง ซึ่งการคาดคิดของคนทั้งหลายไม่น่าจะผิดพลาด เพราะเชื้อสายของกลุ่มทั้งสองใกล้เคียงกัน ประกอบกับว่า ราชวงศ์อับบาซียะฮฺนั้นแอบอ้างดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอิมามอฺะลี(อฺ) ธงของท่านอะบูมุสลิมอัล-คุรอซานีที่ได้เข้าไปในเมือง

คุรอซานนั้น ดำเนินการปกครองในนามของเชื้อสายท่านอฺะลี(อฺ)

การเข้าไปในเมืองคุรอซานนั้นก็ไม่ใช่เพราะเหตุอื่นนอกจากเพื่อสนับสนุนลูกหลานของท่านอฺะลี(อฺ)

แต่สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ในเมื่อพวกอับบาซียะฮฺได้เริ่มติดตามอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ด้วยการลอบสังหาร คุมขัง ฯลฯ จนช่วงหนึ่งในการปกครองของพวกวงศ์นี้ ยังความรุนแรงแก่บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ)ยิ่งกว่าพวกวงศ์อุมัยยะฮฺเสียอีก

บรรดาอิมาม(อฺ)จะไม่อ่านดุอฺาอ์เพื่อขอสาปแช่งบรรดาผู้อธรรม นอกจากในกรณีที่ความอธรรมถึงขีดสุดของความรุนแรงเท่านั้น เมื่อเราได้รู้ถึงเรื่องนี้จากท่าน(อฺ) เราก็สามารถประเมินสถานการณ์ที่รุนแรงอันเกิดขึ้นแก่ท่านอิมาม(อฺ)ได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องขอดุอฺาอ์สาปแช่งบุคคลที่อธรรมต่อท่าน(อฺ)

๑๐๙

ในลำดับต่อไปนี้ เราจะเสนอเรื่องดุอฺาอ์ของท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)ที่ได้รับการตอบสนองจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

-1-

เจ้าของหนังสือ “นะษะรุต-ตุรรุล” ได้กล่าวไว้ว่า :

 ท่านอิมามมูซา บินญะอฺฟัร อัล-กาซิม(อฺ)นั้น มีคนแจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่า อัล-ฮาดี วางแผนการร้ายต่อท่าน(อฺ) ท่าน(อฺ)ได้พูดกับครอบครัวและผู้ติดตามว่า

“พวกท่านมีความคิดเห็นอะไรเสนอแนะแก่ฉันบ้าง?”

คนเหล่านั้นกล่าวว่า

“เราเห็นว่า ท่านควรออกห่างจากเขา และหลบซ่อนให้พ้นไปจากเขา เพราะความชั่วร้ายของเขานั้นจะไม่ให้ความปลอดภัยแก่ท่าน”

ท่าน(อฺ)ยิ้ม แล้วกล่าวว่า

“คนโฉดคิดว่าตัวเองจะสามารถเอาชนะพระผู้อภิบาลได้ แน่นอน

ผู้ชนะที่แท้จริงย่อมชนะอยู่แล้ว”

หลังจากนั้นท่าน(อฺ)ยกมือขึ้นขอดุอฺาอ์ แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มากมายเหลือเกินแล้ว สำหรับพวกศัตรูที่มุ่งหมายทำลายข้าฯ ข่มเหงรังแกข้าฯ โดยแผนการเข่นฆ่าด้วยพิษร้ายของมันจนดวงตาของข้าฯไม่เคยหลับไหล เนื่องจากคอยระแวดระไวต่อพวกมัน ครั้นเมื่อพระองค์ทรงเห็นถึงความอ่อนแอของข้าฯ ในการปกป้องโพยภัยและความเกินกำลังที่ข้าฯจะทานทนกับความเจ็บปวดได้ ขออำนาจและอานุภาพของพระองค์ได้โปรดสลัดสิ่งนั้นออกให้พ้นจากข้าฯโดยมิใช่ด้วยความสามารถและอานุภาพของข้าฯ และจงโยนเขาลงไปสู่หลุมลึกที่พวกเขาขุดล่อข้าฯให้ตกลงไปในโลกแห่งวัตถุของเขา จนห่างไกลจากความหวังในปรโลก

๑๑๐

 มวลการสรรเสริญเป็นของพระองค์ที่ได้ทรงกำหนดความโปรดปรานของพระองค์ที่โปรยปรายแก่ข้าฯ และพระองค์มิได้ทรงปฏิเสธความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อข้าฯ

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดลงโทษเขาด้วยอำนาจของพระองค์ โปรดพลิกแผนการของเขาออกจากข้าฯ ด้วยอานุภาพของพระองค์ โปรดบันดาลภาระอันหนักหน่วงจนเกินกำลังให้แก่เขา

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดบันดาลให้ความเป็นศัตรูนั้นกลายเป็นยาบำบัดรักษาแก่ข้าฯ

และบันดาลให้ความแค้นของข้าฯที่มีต่อเขา เป็นการอภัย โปรดประทานแก่ดุอฺาอ์ของข้าฯ ด้วยการตอบรับ และโปรดรับรองคำอุทธรณ์ของข้าฯ และโปรดให้เขาสำนึกเพียงสักเล็กน้อยกับการตอบรับต่อบ่าวของพระองค์

ผู้ถูกกดขี่ แท้จริงพระองค์ทรงมีเกียรติอันยิ่งใหญ่”

ต่อจากนั้นสมาชิกครอบครัวก็ลาจากไป ครั้นต่อมาไม่นาน คนเหล่านั้นมาชุมนุมกันเพื่ออ่านจดหมายที่มีมาถึงท่านอิมามมูซา(อฺ)แจ้งให้ท่าน(อฺ)ทราบว่ามูซา อัล-ฮาดีนั้นได้ตายเสียแล้ว(1)

(1) อัล-ฟุศูลุล-มุฮิมมะฮฺ หน้า 222. มุฮัจญุด-ดะอฺวาต หน้า 29.

๑๑๑

-2-

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺ ได้กล่าวว่า : ท่านศอฮิบุ้ล ฟัฎลฺ บินร่อบีอฺเล่าให้เราทราบว่า : ในคืนหนึ่งขณะที่ข้าพเจ้าอยู่บนที่นอนพร้อมกับภรรยาของข้าพเจ้า พอตกกลางคืนข้าพเจ้าได้ยินเสียงดังที่ประตูเมือง ข้าพเจ้าจึงลุกขึ้นยืนดู

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“อาจเป็นเสียงของลมพัดก็ได้”

แต่แล้วไม่ทันไร ประตูบ้านที่ข้าพเจ้าอยู่ขณะนั้นก็เปิดออก แล้วคนชื่อ ‘มัซรูร’ก็พรวดพลาดเข้ามา พลางกล่าวว่า

“จงยอมรับคอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด”

โดยมิได้ให้สลามแก่ข้าพเจ้าแต่ประการใด ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังมาก นึกในใจว่า ‘มัซรูร’ ผู้นี้เข้ามาโดยไม่ขออนุญาตและไม่ให้สลาม ฉะนั้นย่อมไม่มีจุดประสงค์อื่นนอกจากมาฆ่า ขณะนั้น

ข้าพเจ้ามีญุนุบอยู่จึงไม่ได้ถามอะไรเขา โดยให้เขาคอยข้าพเจ้าซึ่งต้องอาบน้ำชำระร่างกายเสียก่อน

ภรรยาของข้าพเจ้ากล่าวว่า

“จงยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.)อย่างหนักแน่น แล้วลุกออกไปเถิด”

ข้าพเจ้าจึงลุกออกไปสวมเสื้อผ้า แล้วออกมาพร้อมกับเขาจนถึงอาคาร ข้าพเจ้าได้กล่าว

สลามท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(คอลีฟะฮฺฮารูน รอชีด) ที่กำลังเอนเอกเขนกอยู่ เขารับสลาม แล้วข้าพเจ้าก็นั่งลง

เขากล่าวว่า

“ท่านกลัวมากใช่ไหม ?”

๑๑๒

ข้าพเจ้าตอบว่า

“ใช่แล้ว โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน”

เขาปล่อยให้ข้าพเจ้าพักสงบจิตใจอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่า

“จงออกไปยังคุกของเรา แล้วปล่อยมูซา บินญะอฺฟัร บินมุฮัมมัด ออกมา พร้อมกับจ่ายเงินให้กับเขาสามหมื่นดิรฮัม และให้พาหนะอีกสามชุด และให้ออกเดินทางไปจากเรา ไปที่ไหนก็ได้ตามที่เขาปรารถนา”

ข้าพเจ้าพูดกับเขาว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน ท่านจะปล่อยตัวมูซา บินญะอฺฟัร กระนั้นหรือ ?”

เขาตอบว่า

“ใช่แล้ว”

ข้าพเจ้าทวนคำถามถึงสามครั้ง เขาก็ตอบว่า

“ใช่แล้ว ท่านต้องการจะให้ฉันผิดคำสัญญากระนั้นหรือ ?”

ข้าพเจ้าถามว่า

“โอ้ ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน คำสัญญาที่ว่านั้นหมายถึงอะไร ?”

ฮารูน รอชีดกล่าวว่า

“ขณะที่ข้านอนอยู่บนเตียงแห่งนี้ มีสิงโตตัวหนึ่งขึ้นมาคร่อมบนหน้าอก และขย้ำตรงคอหอยของข้า มันเป็นสิงโตตัวใหญ่ชนิดที่ข้าไม่เคยเห็นมาก่อน และมันพูดกับข้าว่า

“ท่านกักขังมูซา กาซิมด้วยกับความอธรรม”

๑๑๓

ข้าจึงพูดกับมันว่า

“ข้าจะปล่อยตัวเขาและจะมอบสิ่งของให้เขา ข้าขอทำสัญญากับ

อัลลอฮฺ(ซ.บ.)

มันจึงออกไปจากหน้าอกของข้า ซึ่งแทบว่าชีวิตของข้าจะปลิดออกจากร่าง”

ท่านอับดุลลอฮฺ บินศอลิฮฺได้เล่าต่อไปว่า : แล้วข้าพเจ้าก็ออกจากที่นั่น และไปพบท่านอิมามมูซา กาซิม(อฺ)ซึ่งกำลังอยู่ในคุก ข้าพเจ้าเห็นท่าน(อฺ)นมาซ ข้าพเจ้าจึงนั่งรอจนท่าน(อฺ)ให้สลาม

หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้เข้าไป แล้วกล่าวว่า

“ท่านอะมีรุ้ลมุอ์มินีน(ฮารูน รอชีด) ฝากสลามมายังท่าน และแจ้งให้ท่านทราบถึงเรื่องที่ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งมา และข้าพเจ้าก็ได้นำคำสั่งนั้นมายังท่านแล้ว”

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ถึงแม้ท่านจะถูกสั่งมาให้ทำอย่างอื่น ท่านก็จงกระทำเถิด”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“หามิได้ ขอสาบานต่อสิทธิของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่าข้าพเจ้ามิได้ถูกสั่งมาให้กระทำอย่างอื่นนอกจากสิ่งนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ไม่มีความจำเป็นอันใดสำหรับข้าพเจ้าในเรื่องการมอบเสื้อผ้า ทรัพย์สิน ยานพาหนะต่างๆในเมื่อสิ่งนั้นๆ เป็นสิทธิของประชาชาติอิสลาม”

ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า

“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านอย่าได้ปฏิเสธเลย”

๑๑๔

ท่าน(อฺ)กล่าวว่า

“ท่านจงกระทำในสิ่งที่ท่านต้องการเถิด”

ข้าพเจ้าได้จับมือท่านอิมาม(อฺ) แล้วนำท่าน(อฺ)ออกจากคุก จากนั้นจึงได้กล่าวกับท่าน(อฺ)ว่า

“โอ้ท่านผู้เป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)โปรดบอกข้าพเจ้าซิว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ท่านได้รับความเอื้อเฟื้อจากชายคนนี้เป็นสิทธิของข้าพเจ้าเหนือท่านที่จะต้องแสดงความยินดีกับท่าน และได้รับรางวัลจากอัลลอฮฺ(ซ.บ.) จากผลงานอันนี้”

ท่านอิมามมูซา(อฺ)กล่าวว่า

“ฉันได้ฝันเห็นศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) ในคืนวันพุธที่ผ่านมา ท่าน(ศ)บอกฉันว่า

“มูซา เอ๋ย เจ้าถูกกักขังด้วยกับความอธรรม”

ฉันตอบว่า

“ใช่แล้ว ยารอซูลุลลอฮฺ”

ท่าน(ศ)กล่าวอย่างนี้สามครั้ง แล้วท่าน(ศ)พูดอีกว่า

“หวังว่าสิ่งนี้ จะเป็นการทดสอบสำหรับพวกเจ้า และเป็นความสุขชั่วระยะหนึ่ง เจ้าจงถือศีลอดในพรุ่งนี้เช้า และจงถือติดต่อทั้งวันพฤหัสและวันศุกร์ ครั้นถึงเวลาละศีลอด เจ้าจงนมาซ 12ร็อกอะฮฺ ในทุกร็อกอะฮฺนั้น

 จงอ่านอัล-ฮัมดุ 1 ครั้ง และอ่านกุลฮุวัลลอฮุ อะฮัด 12 ครั้ง ครั้นทำ

นมาซครบ 4 ร็อกอะฮฺ

๑๑๕

แล้วจงซุญูด แล้วให้อ่านดุอฺาอ์บทหนึ่ง ดังนี้ :

“โอ้ผู้ทรงชัยชนะ ผู้ทรงได้ยินเสียงต่างๆ ทั้งหมด ผู้ทรงให้ชีวิตแก่กระดูกที่มันผุกร่อน หลังจากความตาย ข้าฯขอต่อพระนามของพระองค์

พระผู้ทรงยิ่งใหญ่ ขอพระองค์ทรงประทานพรแด่มุฮัมมัด บ่าวของพระองค์และศาสนทูตของพระองค์ และแด่บรรดาอะฮฺลุลบัยตฺผู้บริสุทธิ์ของพระองค์ และโปรดได้บันดาลให้ข้าฯ ได้รับความรอดพ้นโดยเร็วพลัน”

ฉันได้กระทำอย่างนั้น แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปเหมือนที่ท่านได้เห็น(2)

(2) มะดีนะตุล-มะอาญิช หน้า 394.

คำสดุดี จากบรรดานักปราชญ์ต่ออิมามมูซา บินญะอฺฟัร(อฺ)

บรรดามุสลิมทั้งหลายถึงแม้จะมีมัซฮับแตกต่างกัน แต่ก็ลงความเห็นตรงกันในเรื่องของเกียรติยศของบรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ(อฺ) ตลอดทั้งยอมรับในเรื่องวิชาการ ตำแหน่งอันสูงส่ง

และความมีสถานภาพที่ใกล้ชิดต่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ) นักปราชญ์ทั้งหลายต่างได้บันทึกเรื่องดังกล่าวไว้ในตำราของพวกเขาเกี่ยวกับฮะดีษต่าง ๆ ที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)กล่าวถึงท่าน(อฺ)เหล่านั้น มีการอธิบายกันถึงเกียรติประวัติ จริยธรรม ความเฉลียวฉลาดและความรอบรู้ของท่าน(อฺ)เหล่านั้น

๑๑๖

ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้ผนวกบุคคลเหล่านั้นให้อยู่ควบคู่กับอัล-กุรอาน เช่น ในฮะดีษที่ว่าด้วย

 ‘อัษ-ษะก่อลัยนฺ’ (สิ่งสำคัญสองประการ) และที่อุปมาว่า

บุคคลเหล่านั้นเหมือนเรือของท่านนบีนูฮฺ(อฺ) ถ้าผู้ใดขึ้นเรือก็จะปลอดภัย ผู้ใดผลักไสก็จะพินาศล่มจม และเปรียบว่าคนเหล่านั้นเหมือนประตูอัล-ฮิฏเฏาะฮฺ ที่ถ้าหากใครเข้าไปก็จะปลอดภัย

อีกทั้งมีฮะดีษมากมายที่รายงานว่าท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ได้กล่าวถึงเกียรติคุณของท่าน(อฺ)เหล่านั้นไว้

ในบทนี้เราจะเสนอคำสดุดีของบุคคลต่างๆ ที่มีต่อท่านอิมามมูซา

 กาซิม(อฺ) ดังต่อไปนี้

1. ท่านอิมามศอดิก (อฺ) ได้กล่าวว่า:

ท่านมูซา กาซิมเป็นคนรอบรู้ในกฎเกณฑ์ มีความเข้าใจจริงและรู้จักอย่างถ่องแท้ในเรื่องที่มนุษย์ทั้งหลายจำเป็น ซึ่งเรื่องนั้นๆ คนทั้งหลายขัดแย้งกันในกิจการศาสนา เขาเป็นคนมีจริยธรรมที่ดีงาม เป็นเพื่อนบ้านที่ดี และเป็นประตูบานหนึ่งในหลายๆ ประตูที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.)ทรงเปิดให้(1)

(1) บิฮารุ้ล-อันวารฺ เล่ม 11 หน้า 234.

๑๑๗

2. ฮารูน รอชีดได้กล่าวว่า:

สำหรับมูซา กาซิมนั้น เขาคือประมุขทางศาสนาของพวกตระกูลฮาซิม(2)

(2) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 92.

เขายังได้พูดกับมะอ์มูน ผู้เป็นบุตรชายของเขาอีกว่า

“มูซา ผู้นี้คืออิมามของมนุษยชาติ เป็นข้อพิสูจน์หนึ่งของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ที่มีต่อมวลมนุษย์ และเป็นค่อลีฟะฮฺของพระองค์ในหมู่ปวงบ่าวทั้งหลายของพระองค์”(3)

(3) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 กอฟ เล่ม 3 หน้า 51.

เขาได้กล่าวต่อไปอีกว่า

“โอ้ลูกเอ๋ย มูซา กาซิมผู้นี้เป็นทายาททางความรู้วิชาการของบรรดานบี ถ้าเจ้าต้องการความรู้ที่ถูกต้อง ก็จงไปเอาจากเขาผู้นี้แหละ”(4)

(4) อัล-มะนากิบ เล่ม 2 หน้า 383. อะมาลี ของเชค ศ็อดดูก 307.

๑๑๘

3. มะอ์มูน กษัตริย์ในราชวงศ์อับบาซียะฮฺได้กล่าวถึงอิมามมูซา กาซิม (อฺ) ว่า:

ท่านเป็นคนเคร่งครัดในการทำอิบาดะฮฺอย่างยิ่ง ใบหน้าและจมูกของท่านมีแต่การกราบพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น(5)

(5) อันวารุล-บะฮียะฮฺ 93.

4. ท่านอีซา บินญะอฺฟัรได้เขียนจดหมายไปหาฮารูน รอชีดว่า:

ตลอดเวลาที่ท่านมูซา กาซิมอยู่ในคุกอย่างยาวนานนั้น ฉันไม่เคยเห็นเขาว่างเว้นจากการอิบาดะฮฺเลย ฉันได้จัดคนให้คอยฟังการขอดุอฺาอ์ของเขา ปรากฏว่าเขาไม่เคยขอดุอฺาอ์สาปแช่งท่านและฉันเลย และไม่เคยกล่าวถึงเราในทางที่ไม่ดี และไม่เคยขออะไรให้กับตัวเอง นอกจากการอภัยและความเมตตา(6)

(6) อะอฺยานุช-ชีอะฮฺ 4 ก็อฟ 3/71.

5. ท่านอะบูอฺะลี อัล-คิลาล (นักปราชญ์มัซฮับฮันบะลี) ได้กล่าวว่า:

เมื่อฉันกลุ้มใจในเรื่องใด ฉันจะไปยังสุสานของท่านอิมามมูซา กาซิมเสมอเพื่อขอการตะวัซซุล แล้วอัลลอฮฺ(ซ.บ.)ก็ทรงให้ความสะดวกในกิจการที่ฉันอยากได้เสมอ(7)

(7) ตารีค บัฆดาด เล่ม 1 หน้า 120.

๑๑๙

6. อิมามชาฟิอีได้กล่าวว่า:

สุสานของอิมามมูซา กาซิมคือสถานที่ที่มีความประเสริฐสูงส่งยิ่ง”(8)

(8) ตุฮฺฟะตุล-อาลิม เล่ม 2 หน้า 22.

7. ท่านอะบูฮาติมได้กล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิม คือผู้ที่น่าเชื่อถือในด้านรายงานฮะดีษ(ษิกเกาะฮฺ) และสัจจริง และเป็นผู้นำ(อิมาม)ของประชาชาติมุสลิมทั้งหลาย(9)

 (9) ตะฮุชีบุต-ตะฮฺชีบ เล่ม 10 หน้า 240.

8. ท่านอับดุรเราะฮฺมาน บินอัล-เญาซีกล่าวว่า:

ท่านอิมามมูซา กาซิมได้ชื่อว่าเป็นบ่าวที่มีคุณธรรม เพราะการอิบาดะฮฺ การอิจญ์ติฮาด และดำรงนมาซในยามกลางคืน และท่านเป็นคนที่มีเกียรติที่สุภาพ เมื่อท่านได้รับข่าวคราวว่า ใครกล่าวร้ายท่าน ท่านจะตอบแทนคนนั้นด้วยทรัพย์สินเสมอ(10)

(10) ศิฟะตุศ-ศ็อฟวะฮฺ เล่ม 2 หน้า 103.

๑๒๐

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

   เหตุผลของ ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า

   นอกเหนือจาก เหตุผลโดยทั่วไปที่ใช้ในการพิสูจน์ถึงการมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุด ยังมีเหตุผลที่เฉพาะกับการพิสูจน์ในความรู้ในอาตมันของพระเจ้า  ซึ่งกล่าวได้ว่า เหตุผลนี้เกิดมาจากหลักของปรัชญา มีอยู่ด้วยกัน ๒ ข้อพิสูจน์ ดังนี้

๑.ทุกสิ่งที่เป็นอวัตถุ มีอยู่ด้วยตัวของมันเอง และมีความรู้ในตัวเอง ซึ่งในหลักการของปรัชญาได้พิสูจน์แล้วว่า สิ่งที่เป็นวัตถุ มีรูปร่าง และรูปแบบ และมีการเปลี่ยนแปลง และมิได้มีความรู้ในตัวเอง ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นวัตถุ จึงไม่มีความรู้ในตัวเอง ส่วนสิ่งที่ไม่เป็นวัตถุหรืออวัตถุ ด้วยกับเหตุผลความบริสุทธิ์และไม่มีรูปร่าง จึงมีความรู้ในตัวเอง

๒.การมีของพระเจ้า เป็นสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ ข้อพิสูจน์นี้ได้พิสูจน์ในคุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในพระเจ้าแล้วว่า พระองค์มิได้มีรูปร่างและหน้าตา และมิได้เป็นวัตถุ ดังนั้น พระองค์จึงมีความรู้ในตัวเอง เพราะว่า พระองค์เป็นสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ และสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ ก็มีความรู้ในตัวเอง

๒๖๑

   ความรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลายก่อนการเกิดขึ้น

    หลังจากที่ได้อธิบายใน ความรู้ในอาตมันของพระเจ้าไปแล้ว จะมาอธิบายในระดับขั้นที่สองของความรู้ของพระเจ้า นั่นก็คือ ความรู้ในสรรพสิ่งก่อนการเกิดขึ้น มีคำถามเกิดขึ้น จากบรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลามว่า ระดับขั้นความรู้ประเภทนี้ในพระเจ้า เป็นความรู้ในรูปแบบที่มีรายละเอียด หรือเป็นความรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น?

ความหมายของ ความรู้บางส่วน หมายถึง ก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง พระเจ้ามิได้มีความรู้ในรายละเอียดของแต่ละสิ่ง ทว่ามีความรู้หนึ่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นความรู้ในรายละเอียดได้ สำหรับการเข้าใจในความรู้บางส่วน ตัวอย่างเช่น ความรู้ของนักเลขาคณิต เพราะว่า ความรู้ในคณิตศาสตร์ คือ ความรู้ในกฏและการอนุมานตามหลักการของคณิตศาสตตร์ ดังนั้น นักเลขาคณิต รู้จักกฏของคณิต แต่ถ้าไม่มีโจทย์มาให้แก้ ก็เท่ากับกฏต่างๆนั้นไม่ได้ถูกนำมาใช้ และก็เช่นเดียวกันกับความรู้บางส่วนของพระเจ้า ส่วนความรู้ในรายละเอียด หมายถึง พระเจ้ามีความรู้ก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งในรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมด

สำหรับคำตอบ ซึ่งมีความสลับซับซ้อน และจะต้องอธิบายรายละเอียดที่ลึกซึ้ง และจะต้องใช้กฏและหลักการของปรัชญาและตรรกศาสตร์มายืนยัน  มีอยู่ ๒ เหตุผลที่ใช้ในการพิสูจน์ความรู้ในระดับขั้นนี้

๒๖๒

๑.เหตุผลที่หนึ่ง กล่าวคือ เหตุผลนี้ต้องใช้หลักการงของปรัชญามาเพื่อยืนยัน โดยที่กล่าวว่า ความรู้ในเหตุที่สมบูรณ์ของสิ่งหนึ่ง ก็คือ เหตุของสิ่งนั้น และความรู้ในสิ่งหนึ่ง ก็คือ ผลของสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดที่มีเหตุที่สมบูรณ์ เมื่อนั้นต้องมีผล หรือผลทั้งหลายอยู่อย่างแน่นอน ข้อพิสูจน์ต่อไปของ เหตุผลนี้ คือ อาตมันของพระเจ้า เป็นเหตุที่สมบูรณ์ที่สุดของสรรพสิ่งที่มีอยู่

และข้อพิสูจน์สุดท้าย ซึ่งได้กล่าวไปในประเด็นก่อนหน้านี้ แล้วว่า พระเจ้า มีความรู้ในอาตมันของพระองค์ 

ดังนั้น จากข้อพิสูจน์ทั้งหมด สามารถสรุปได้ว่า พระเจ้า มีความรู้ในอาตมันของพระองค์ และอาตมันของพระองค์ ก็เป็นเหตุที่สมบูรณ์ที่สุดของสรรพสิ่งที่มีอยู่ และความรู้ในเหตุที่สมบูรณ์ คือ ความรู้ไปยังผลของสิ่งหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้ามีความรู้ในอาตมันของพระองค์ หมายความว่า พระองค์มีความรู้มาแต่เดิม และความรู้ของพระองค์ ก็เป็นเหตุของการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง ดังนั้น ก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง พระเจ้ามีความรู้ ด้วยกับความรู้ของพระองค์ในอาตมันของพระองค์

๒.เหตุผลที่สอง เหตุผลนี้ เป็นเหตุผลที่เกี่ยวกับเทววิทยามากกว่าเหตผลที่แล้ว และมีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีกฏและระเบียบของโลก

เมื่อสังเกตในโลก จะเห็นได้ว่า โลกนี้มีกฏและระเบียบ ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบของโลก ก็มีความเป็นระบบและระเบียบ และมีจุดมุ่งหมายอันเป็นหนึ่งเดียว

๒๖๓

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นสิ่งที่พระเจ้าได้สร้างขึ้นมา และจากกฏของการมีผล และสิ่งถูกสร้าง แสดงให้เห็นว่า ต้องมีเหตุ และต้องมีผู้สร้างอย่างแน่นอน  ด้วยเหตุนี้ ความเป็นระบบระเบียบและมีจุดมุ่งหมายของโลก ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า ก่อนการสร้างของผู้สร้าง เขาจะต้องมีความรู้ในปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมด เพราะสติปัญญาได้กล่าวว่า  เป็นไม่ได้ที่ผู้สร้างปรากฏการณ์ที่มีระบบระเบียบ จะไม่มีความรู้ในการสร้างของตนเอง

ส่วนมากของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ในการพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้าก่อนการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง ได้ใช้เหตุผลพิสูจน์และยืนยัน เช่น ท่านมุฮักกิก ตูซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ตัจรีดุลเอียะติกอด ว่า ความเป็นระบบระเบียบ บ่งบอกว่า เป็นเหตุผลหนึ่งของการมีความรู้ของพระเจ้าในสรรพสิ่ง

   ความรู้ของพระเจ้าหลังการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง

    ระดับขั้นที่สามของความรู้ของพระเจ้า  คือ ความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่งหลังการเกิดขึ้นของสิ่งเหล่านั้น

สำหรับการพิสูจน์เหตุผลของความรู้ในระดับขั้นนี้ มีเหตุผลดังต่อไปนี้  ข้อพิสูจน์ของเหตุผลนี้ มีดังนี้

๑.พระผู้เป็นเจ้า คือ ปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย และสรรพสิ่งอื่น คือ ผลของพระองค์

๒.จากหลักปรัชญาได้อธิบายไว้ว่า การมีอยู่ของผล ต้องขึ้นอยู่กับเหตุของมัน และผลก็ไม่มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

๒๖๔

๓.ความจำเป็นของการมีอยู่ของผล ขึ้นอยู่กับเหตุของมันนั้นก็คือ ผลต้องอยู่คู่กับเหตุ เพราะว่า ถ้ามีเหตุแล้วไม่มีผล ดังนั้น ความหมายนี้ ก็คือ ผลมีอยู่อย่างเป็นอิสระเสรีในตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เป็นไปไม่ได้ที่ผลจะเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเหตุ

ความรู้คือ การมีอยู่ของสิ่งที่ถูกรู้ในผู้รับรู้ เพราะฉะนั้น ทุกการเกิดขึ้นของเหตุ ต้องมีความรู้ในผลของมันด้วย

และผลที่ได้รับจากข้อพิสูจน์นี้ ก็คือ พระผู้เป็นเจ้า มีความรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก เพราะทั้งหมดนั้น คือ ผลของพระองค์ และเหตุของสรรพสิ่ง มีความรู้ในผลที่จะเกิดขึ้น

   ความรู้ในอาตมัน และความรู้ในการกระทำ

    ได้กล่าวแล้วว่า ในบทนำเบื้องต้น  กล่าวคือ คุณลักษณะของพระเจ้า มีอยู่ ๒ ประเภทด้วยกัน ดังนี้

๑.ความรู้ในอาตมัน                        

๒.ความรู้ในกิริยา การกระทำ

ซึ่งขณะนี้ ได้กล่าวถึง ระดับขั้นของความรู้ในพระเจ้าว่า มี ๓ ระดับขั้น และจะมาดูกันว่า ระดับขั้นใด เป็น ความรู้ในอาตมัน และระดับขั้นใด เป็น ความรู้ในกิริยา การกระทำ จากการตรวจสอบในระดับขั้นทั้งสามของความรู้ในพระเจ้า ทำให้เข้าใจได้ว่า ระดับขั้นที่หนึ่งและที่สองเป็น ความรู้ในอาตมัน และระดับขั้นที่สาม เป็นความรู้ในกิริยา การกระทำ

๒๖๕

   ความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดของสรรพสิ่ง

    ประเด็นที่สำคัญ ประเด็นหนึ่งในความรู้ของพระเจ้า คือ พระองค์มีความรู้ในรายละเอียดของทุกสิ่ง หรือพระองค์มีความรู้ในบางส่วนของสรรพสิ่ง กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระองค์มีความรู้ในสิ่งหนึ่ง หรือบุคคลหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด และสถานที่หนึ่ง หรือพระองค์มีความรู้ในเหตุการณ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด และในสถานที่หนึ่ง หรือว่ามิได้เป็นเช่นนั้น

เมื่อได้พิจารณาในความรู้ของพระเจ้าหลังการเกิดขึ้นของสรรพสิ่ง  จะกล่าวได้ว่า สำหรับคำตอบ ก็คือ พระเจ้ามีความรู้ในสิ่งดังกล่าว แต่นักเทววิทยาอิสลาม บางคนได้ปฏิเสธ ความรู้นั้นของพระองค์ โดยที่เขาเชื่อว่า พระองค์มีความรู้ในรายละเอียดของสารัตถะของสรรพสิ่ง เหตุผลของเขา ในการยืนยันว่า พระเจ้าไม่มีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ซึ่งบางส่วนของเหตุผลทั้งหลายนั้น จะตรวจสอบและวิเคราะห์ ซึ่งมีดังนี้

๑.ความไม่คงที่ของสรรพสิ่ง หมายถึง เหตุผลหนึ่งของผู้ที่ปฏิเสธความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดปลีกย่อยของสรรพสิ่ง คือ สรรพสิ่งเหล่านั้น อยู่ในสภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ถ้าหากพระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง หมายความว่า ความรู้ของพระองค์ ต้องตรงกับความเป็นจริง

และในขณะที่สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงและความไม่คงที่ ดังนั้น ความรู้ของพระเจ้า ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง  ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาตมันของพระองค์ ต้องมีความรู้ และความรู้ของพระองค์ก็มีการเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน อาตมันของพระเจ้านั้น มิได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจะมีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง

๒๖๖

พื้นฐานของเหตุผลนี้ ก็คือ ถ้าหากว่า พระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ความรู้ของพระองค์ เป็น ความรู้โดยผ่านสื่อ หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ก็คือ การเปลี่ยนแปลงในอาตมันของพระเจ้า และถ้าหากพระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ความรู้ของพระองค์ ก็เป็นความรู้โดยตรง ดังนั้น พระองค์ก็มีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง และในสภาพเช่นนี้ การเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง เป็นสาเหตุให้ความรู้ของพระองค์ มีการเปลี่ยนแปลง  แต่ทว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ เกี่ยวกับคุณลักษณะในกริยา การกระทำ และมิได้เป็นสาเหตุให้อาตมันของพระเจ้ามีการเปลี่ยนแปลง

ด้วยเหตุนี้ หนึ่งในคุณสมบัติที่เฉพาะกับคุณลักษณะในกิริยา การกระทำของพระเจ้า ก็คือ เมื่อสิ่งถูกสร้างของพระองค์มีการเปลี่ยนแปลง นั่นก็คือ การกระทำของพระองค์ ดังนั้น คุณลักษณะในกิริยา การกระทำของพระองค์ ก็มีการเปลี่ยนแปลง แต่มิได้มีการเปลี่ยนแปลงในอาตมันของพระองค์

จึงขอกล่าวสรุปได้ว่า พระเจ้ามีความรู้ในรายละเอียดของสรรพสิ่ง นั่นก็คือ การมีอยู่ของสรรพสิ่ง ณ พระองค์  และการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ก็คือ การเปลี่ยนแปลงในกิริยา การกระทำ

๒.การเป็นสื่อของความรู้ในสรรพสิ่ง เหตุผลหนึ่งของผู้ที่ปฏิเสธความรู้ของพระเจ้าในรายละเอียดของสรรพสิ่ง ก็คือ การมีความรู้นี้ ต้องใช้สื่อในการรับรู้ และในขณะที่พระผู้เป็นเจ้า ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านั้น

๒๖๗

สำหรับคำตอบ ก็คือ จะกล่าวได้ว่า การใช้สื่อในการรับรู้จากความรู้นี้ มิใช่เป็นแก่นแท้หรือสารัตถะของสิ่งนั้น ซึ่งจะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แต่ทว่า การรับรู้ประเภทนี้ เกิดขึ้นในโลกแห่งธรรมชาติ เช่น มนุษย์ที่มีความรู้สึก และใช้ประโยชน์จากอวัยวะของร่างกายและสื่ออุปกรณ์อื่นที่เป็นวัตถุ

แต่สำหรับพระเจ้านั้น มีความแตกต่างกับมนุษย์อย่างสิ้นเชิง เพราะพระองค์ทรงอยู่เหนือธรรมชาติ และความรู้ของพระองค์ก็เป็นความรู้โดยตรง อีกทั้งพระองค์ทรงรอบรู้ในทุกสรรพสิ่งด้วย

   ความรู้ของพระเจ้าและเจตจำนงเสรีของมนุษย์

   คุณสมบัติหนึ่งในความรู้ของพระเจ้า เช่นเดียวกับคุณลักษณะของพระองค์ คือ ความสมบูรณ์ของคุณลักษณะ ของพระองค์หมายถึง ความรู้ของพระองค์ ครอบคลุมถึงทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตกาล,ปัจจุบันและในอนาคตที่จะเกิดขึ้น

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้า จึงมีความรู้ในทุกสิ่งมาแต่เดิม และมีความรู้ในทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จนถึงวันสิ้นโลก เช่น พระองค์มีความรู้ในการกระทำของมนุษย์ว่า เขาจะทำอะไร และจะไม่ทำอะไร ในอนาคต ดังนั้น ในกรณีนี้ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีต โดยกล่าวกันว่า พื้นฐานของความรู้ของพระเจ้าในการกระทำของมนุษย์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น มีความขัดแย้งกับเจตจำนงเสรีของมนุษย์ (จะตอบปัญหานี้ ในประเด็น การบังคับและเจตจำนงเสรีของมนุษย์)

๒๖๘

   ความรู้ของพระเจ้า ในมุมมองของอัล กุรอาน

    โองการทั้งหลายมากมายของอัล กุรอานได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้า โดยกล่าวว่า อะลีม (ผู้ทรงรอบรู้ในทุกสิ่ง),ซะมีอ์ (ผู้ทรงได้ยิน) และบะซีร (ผู้ทรงมองเห็น) นอกเหนือจากนี้ บางส่วนของโองการทั้งหลายได้กล่าวถึง คุณลักษณะที่เฉพาะในความรู้ของพระเจ้า โดยกล่าวว่า อาลิมุลฆ็อยบ์ (ผู้ทรงรอบรู้ในสิ่งที่เร้นลับ) และอัลลามุลฆุยูบ (ผู้ทรงรอบรู้มากที่สุดในสิ่งที่เร้นลับทั้งหลาย) ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า การอธิบายในรายละเอียดของโองการทั้งหลายนั้น จะต้องใช้เวลายาวนาน และยังสามารถเรียบเรียงเป็นหนังสือหรือบทความได้ แต่ในที่นี้ จะขออธิบายเพียงบางส่วนของโองการเหล่านี้

  การพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้า

   การพิสูจน์ความรู้ของพระเจ้าจากโองการทั้งหลายของอัล กุรอาน โดยส่วนมากได้กล่าวถึง การพิสูจน์คุณลักษณะที่สมบูรณ์ที่สุดของพระองค์

อัล กุรอานกล่าวว่า

“พระผู้ทรงสร้างจะมิทรงรอบรู้ดอกหรือ ? พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนผู้ทรงตระหนักยิ่ง”

(บทอัลมุลก์ โองการที่๑๔)

๒๖๙

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า เป็นคำถามที่ได้ถามกับมนุษย์เกี่ยวกับ พระผู้ทรงสร้างว่า พระองค์มิทรงมีความรอบรู้กระนั้นหรือ?  ด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานได้อธิบายในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน โดยที่กล่าวว่า ในระหว่างพระผู้ทรงสร้างกับการมีความรู้ในการสร้าง เป็นความสัมพันธ์ประเภทหนึ่ง ดังนั้น พระผู้ทรงสร้างสิ่งหนึ่งก่อนการสร้างในสิ่งนั้น จะต้องมีความรู้ในสิ่งนั้น และพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง จากโองการนี้ได้พิสูจน์ในความรู้ของพระเจ้าก่อนการสร้างและหลังการสร้างของพระองค์ และพระองค์ทรงมีความรู้ในกาลและเวลา ,ในทุกสรรพสิ่ง เพราะว่า ทุกสรรพสิ่ง คือ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง

   ความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

    อัล กุรอานได้อธิบายคุณลักษณะความรู้ของพระเจ้า และกล่าวเน้นย้ำว่า พระองค์ทรงมีความรู้ที่สมบูรณ์ที่สุดและไม่มีที่สิ้นสุด ความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า คือ หนึ่งในหลักศรัทธาของมนุษย์ต่อการรู้จักถึงคุณลักษณะทั้งหลายของพระองค์ และมีบทบาทที่สำคัญต่อการรู้จักถึงพระองค์ และการมีความเชื่อในความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุด ยังมีผลต่อในการพัฒนาการทางด้านจิตของมนุษย์ ในการมอบหมายการงานแด่พระองค์ และการมีความเชื่อว่า พระเจ้าทรงมีความรู้ในทุกกิจการงานที่เปิดเผยและซ่อนเร้นของมนุษย์ แม้แต่ความตั้งใจ และจุดประสงค์ของมนุษย์ พระองค์ก็ทรงรอบรู้ด้วยเช่นกัน

๒๗๐

อัล กุรอานได้กล่าวในความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้าอย่างชัดเจนว่า

 “และอัลลอฮ์ทรงรอบรู้ยิ่งในทุกสิ่ง” (บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๑๘๒ และบทอัตตะฆอบุน โองการที่ ๑๑)

บางโองการได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้า ในสิ่งที่มีอยู่ในโลก

“พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่เข้าไปในแผ่นดินและสิ่งที่ออกมาจากแผ่นดิน และสิ่งที่ลงมาจากฟากฟ้าและสิ่งที่ขึ้นไปสู่ฟากฟ้า และพระองค์ทรงอยู่กับพวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ แห่งหนใด และอัลลอฮ์ทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”

(บทอัลหะดีด โองการที่ ๔)

จากโองการนี้ได้กล่าวว่า พระเจ้าทรงอยู่กับพวกเจ้า ไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ ที่แห่งใดก็ตาม แสดงให้เห็นว่า พระองค์นั้นอยู่กับมนุษย์ทุกคนมาโดยตลอด และพระองค์ทรงมองเห็นกิจการงานต่างๆของพวกเขา

อัล กุรอานกล่าวว่า

“จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า หากพวกท่านปกปิดสิ่งที่อยู่ในอกของพวกท่าน หรือเปิดเผยมันก็ตาม อัลลอฮ์ก็ย่อมรู้ถึงสิ่งนั้นดีและทรงรู้สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้า และทุกสิ่งอยู่ในแผ่นดิน และอัลลอฮนั้นทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๒๙ )

๒๗๑

   ความรู้ในสิ่งที่เร้นลับของพระเจ้า

   บางโองการของอัล กุรอาน ได้กล่าวถึง พระเจ้าว่า พระองค์ทรงรอบรู้ในสิ่งที่เร้นลับ

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ความรู้แห่งวันอวสานมีอยู่ ณ พระองค์ และพระองค์ทรงประทานฝนให้หลั่งลงมาและพระองค์ทรงรอบรู้ในสิ่งที่อยู่ในครรถ์มารดา และไม่มีชีวิตใดรู้ สิ่งที่จะหามาได้ในวันพรุ่งนี้

และไม่มีชีวิตใดรู้ว่า ณ แผ่นดินใดจะตาย แท้จริง อัลลอฮ์นั้น เป็นผู้ทรงรอบรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน”

(บทลุกมาน โองการที่ ๓๔)

โองการนี้ได้กล่าวถึง สิ่งเร้นลับที่พระเจ้าทรงรู้ มีดังนี้

๑.พระองค์ทรงรู้ในวันอวสานของโลก

๒.พระองค์ทรงรู้ในวันที่ฝนหลั่งลงมา

๓.พระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในครรถ์มารดา

๔.พระองค์ทรงรู้ในสิ่งที่จะเกิดขึ้น

๕.พระองค์ทรงรู้ในสิ่งที่กำลังจะตาย

และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า ความรู้ในสิ่งเร้นลับทั้งห้า เป็นกุญแจนำไปสู่ความรู้ของพระเจ้า

สิ่งที่ควรสังเกตก็คือ มโนทัศน์หรือความหมายของ ความเร้นลับ เป็นความหมายที่ต้องการความสัมพันธ์ไปยังสิ่งที่มีอยู่ แต่สำหรับพระเจ้า ความรู้ในสิ่งเร้นลับ เป็นสิ่งเปิดเผย ณ พระองค์ เพราะว่า พระองค์ทรงมีความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีสิ่งใดที่ความรู้ของพระองค์ไปไม่ถึง ด้วยเหตุนี้ ความรู้ในสิ่งเร้นลับของพระเจ้า ก็คือ ความรอบรู้ในสิ่งที่มนุษย์นั้นไม่มีความรู้ในสิ่งนั้น

๒๗๒

   ความรู้ของพระเจ้าในมุมมองของวจนะ

    ประเด็นเรื่องความรู้ของพระเจ้า ที่ถูกกล่าวไว้ในวจนะทั้งหลาย เป็นสิ่งหนึ่งที่บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์นั้นได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก บางวจนะได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้าว่า มีมาแต่เดิม

ดั่งวจนะของท่านอิมาม อะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๕๒)

บางวจนะได้กล่าวในความรู้ของพระเจ้าในสิ่งที่มีอยู่ก่อนการเกิดขึ้นและหลังการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

ดั่งวจนะของท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ คือ พระผู้อภิบาลของเรา  พระองค์ทรงมีอยู่แต่เดิม และความรู้ คือ อาตมันของพระองค์ ในขณะที่ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ่น หลังจากนั้น พระองค์ได้ทำให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น และพระองค์ทรงรู้ในสิ่งทั้งหลายนั้น”

[๑]  (อุศูลอัลกาฟีย์ เล่มที่หนึ่ง หน้าที่ ๑๐๗)

และยังมีวจนะอื่นๆอีกที่ได้กล่าวในความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

จากท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

 “พระองค์ทรงรู้ในเสียงร้องของสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในหุบเขาและท้องทะเลทราย และทรงรู้ในบาปต่างๆของบรรดาบ่าวของพระองค์ ที่กระทำในที่ลับ และพระองค์ทรงรู้ในหมู่ปลาทั้งหลายที่เวียนว่ายในท้องทะเลที่กว้างใหญ่ไพศาล และ พระองค์ทรงรู้ในคลื่นที่พัดพา”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๙๗)

๒๗๓

และเช่นกัน ได้มีรายงานจาก ท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) เป็นคำตอบให้กับของชายคนหนึ่งได้พูดขึ้นว่า  “การสรรเสริญทั้งมวล จงมีแด่อัลลอฮ์ และด้วยกับการมีขอบเขตในความรู้ของพระองค์”

ท่านอิมามได้กล่าวกับเขาว่า

 “เจ้าอย่าได้พูดเช่นนี้นะ เพราะความรู้ของพระเจ้านั้น ไม่มีขอบเขตจำกัด” [๑]

   ความรู้โดยเฉพาะและทั่วไปของพระเจ้า

    บางวจนะยังได้กล่าวในความรู้ของพระเจ้าว่ามีอยู่  ๒ ประเภท  ดังนี้

๑.ความรู้โดยเฉพาะเจาะจง

๒.ความรู้โดยทั่วไป กล่าวคือ ความรู้ที่มีอยู่ในพระเจ้ากับมวลเทวทูต,บรรดาศาสดา และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์

ท่านอิมามบากิร (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

 “แท้จริง อัลลอฮ์ทรงมีความรู้ที่ไม่มีผู้ใดรู้นอกจากพระองค์ และพระองค์ทรงมีความรู้และมวลเทวทูต,บรรดาศาสดาและเราก็มีความรู้ในสิ่งนั้นๆ”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่๑๐ วจนะที่ ๑)

และยังมีวจนะอื่นอีกมากมายที่ได้กล่าวถึง สองคุณลักษณะของพระเจ้าที่บ่งบอกถึง ความรู้ของพระองค์ นั่นก็คือ คุณลักษณะการได้ยิน และการมองเห็น และยังได้กล่าวอีกว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากความรู้ที่ได้รับจากการได้ยินและการมองเห็นโดยการใช้สื่อ ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงได้ยินโดยไม่ต้องใช้หู และพระองค์ทรงมองเห็นโดยที่ไม่ต้องใช้ตา”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่๑๐ วจนะที่ ๑

๒๗๔

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ความรู้ (อิลม์ ) : Knowledge

ความรู้โดยตรง (อิลม์ ฮุฎูรีย์)   Immediate knowledge

ความรู้โดยผ่านสื่อ (อิลม์ ฮุซูลีย์ ) Empirical knowledge

ความรู้ในสิ่งเร้นลับ (อิลมุลฆ็อยบ์): Occultism

ความรู้โดยเฉพาะเจาะจง (อิลมุลคอซ)

ความรู้โดยทั่วไป (อิลมุลอาม)

  สรุปสาระสำคัญ

๑.ความรู้หรือการรับรู้ สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังนี้

 ๑.ความรู้โดยตรง ๒.ความรู้โดยผ่านสื่อ

ความรู้โดยตรง  หมายถึง ความรู้ที่ไม่ได้รับรู้จากการเข้าใจในความหมายหรือการมโนภาพของคำๆหนึ่ง ดังนั้น ความรู้โดยตรง มีความหมายว่า การรับรู้ของสิ่งที่รู้เกิดขึ้นโดยตรงกับผู้รู้

ความรู้โดยผ่านสื่อ หมายถึง ความรู้ที่รับรู้จากการเข้าใจในความหมายและการมโนภาพ 

๒.ความหมายที่สมบูรณ์ของ ความรู้ คือ การรับรู้ของสิ่งที่รู้กับผู้รู้ ดังนั้น ความหมายนี้ไม่มีคำจำกัดความและข้อบกพร่องใดๆ สามารถจะนำไปใช้กับความรู้ของพระเจ้าได้

๒๗๕

๓.ส่วนมากของบรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลามมีความเชื่อว่า ความรู้ของพระเจ้า คือ ความรู้โดยตรง เพราะว่า ความรู้ของพระองค์ไม่ใช่ความรู้โดยผ่านสื่อ ความหมายของความรู้โดยผ่านสื่อ คือ ความรู้นั้นมีผลสะท้อนที่ย้อนกลับไปหายังผู้รู้และการยอมรับการมโนภาพของความหมายนั้น ซึ่งทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้นในพระเจ้า

๔.ระดับขั้นความรู้ของพระเจ้า มี ๓ ระดับขั้น

๑.ความรู้ในอาตมัน

๒.ความรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลายก่อนการเกิดขึ้น

๓.ความรู้ของสรรพสิ่งหลังการเกิดขึ้น

๕.เหตุผลการพิสูจน์ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า คือ ทุกสิ่งที่เป็นอวัตถุ มีความรู้ในตัวเอง และพระเจ้าเป็นสิ่งอวัตถุ ดังนั้น พระองค์มีความรู้ในตนเอง

๖.อาตมันของพระเจ้า เป็นปฐมเหตุของสิ่งทั้งหลาย และเช่นกัน ความรู้ในเหตุ จะต้องมีความรู้ในผลของเหตุนั้นด้วย ดังนั้น ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้ของพระองค์ในสรรพสิ่งก่อนการเกิดขึ้น เพราะสรรพสิ่ง คือ ผลทั้งหลายของพระองค์

๗.พื้นฐานทางสติปัญญาของ ความรู้ของพระเจ้าในสรรพสิ่งหลังการเกิดขึ้น คือ ผลของเหตุ ต้องมีอยู่ด้วยกันทั้งคู่ และสรรพสิ่ง คือ ผลทั้งหลายของพระเจ้า ดังนั้น สรรพสิ่งมีอยู่กับพระองค์ และความหมายของ ความรู้ ก็คือ การมีอยู่ของสิ่งที่รับรู้ในผู้รู้

๘.พระเจ้าทรงรับรู้ในทุกสิ่งโดยที่ไม่ต้องการวัตถุในการรับรู้และไม่มีการเปลี่ยนแปลงในอาตมันของพระองค์

๙.มีโองการต่างๆมากมายที่ได้กล่าวถึง ความรู้ของพระเจ้า และคุณลักษณะ ความรอบรู้ ,ผู้รอบรู้ในสิ่งเร้นลับ

๒๗๖

๑๐.อัล กุรอาน ในโองการที่กล่าวว่า  “พระผู้ทรงสร้างจะมิทรงรอบรู้ดอกหรือ ? พระองค์คือผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนผู้ทรงตระหนักยิ่ง” (บทอัลมุลก์ โองการที่๑๔) พิสูจน์ได้ว่า ความรู้ของพระเจ้าในสิ่งที่มีอยู่ด้วยกับการสร้างสรรค์ของพระองค์

๑๑.อัล กุรอานได้กล่าวในความรู้อันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า และพระองค์ทรงรอบรู้การงานทั้งหลาย และทรงรอบรู้ในสิ่งที่อยู่ในเจตนาของมนุษย์ และอัล กุรอานได้กล่าวอีกว่า พระองค์ทรงรู้ในสิ่งที่มนุษย์ไม่รู้หรือในสิ่งเร้นลับ

๑๒.วจนะทั้งหลายได้กล่าวถึง ความรู้ในอาตมันของพระเจ้า และความรู้โดยเฉพาะของพระองค์ และความรู้โดยทั่วไปของพระองค์ และบางวจนะกล่าวว่า ความรู้ของพระเจ้า ในสิ่งที่ได้ยินและมองเห็น โดยปราศจากการใช้สื่อทั้งหลาย

๒๗๗

   บทที่ ๕

   พลังอำนาจของพระเจ้า (กุดรัต อิลาฮีย์)

    พลังอำนาจของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ ซึ่งโองการต่างๆของอัลกุรอานได้กล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้ทรงมีพลังอำนาจ(กอดีร ,กอดิร)

และเช่นเดียวกัน หนึ่งในคุณลักษณะทั้งหลายที่มีอยู่ในมนุษย์  คือ พลังอำนาจ และความสามารถ ด้วยเหตุนี้ ความหมายของ การมีพลังอำนาจ และการไม่มีพลังอำนาจหรือไร้ความสามารถ เป็นความหมายที่กระจ่างชัด และเพื่อจะเข้าใจในความหมายของคุณลักษณะการมีพลังอำนาจในพระเจ้า จึงต้องอธิบายความหมายของการมีพลังอำนาจก่อน

   ความหมายทางภาษาของ คำว่า กุดรัต (พลังอำนาจ) 

    บรรดานักเทววิทยาอิสลาม ได้ให้ความหมายของ คำว่า กุดรัต (พลังอำนาจ) ไว้มากมาย ซึ่งความหมายหนึ่งที่รู้จักกันดี ก็คือ ผู้มีความสามารถ กล่าวคือ บุคคลหนึ่งมีความสามารถที่จะกระทำการงานใดการงานหนึ่ง หรือจะไม่กระทำการงานนั้น ดังนั้น บุคคลที่กระทำการงานใดการงานหนึ่งหรือไม่กระทำการงานอันนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับ ความประสงค์และความต้องการของบุคคลนั้นด้วย

๒๗๘

 เพราะฉะนั้น การงานใดก็ตามที่ผู้กระทำไม่มีความประสงค์ที่จะกระทำการงานนั้น  การงานนั้นก็จะไม่ถูกเกิดขึ้น ดังนั้น ผู้กระทำ(ฟาอิล)ได้เป็นผู้กระทำการงานหนึ่ง(เฟียล)ที่ไม่มีพลังอำนาจ(กุดรัต)  การงานอันนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น เหมือนกับไฟที่ไม่มีความร้อน

และจากความหมายข้างต้น ซึ่งมีคุณสมบัติที่พิเศษ ดังนี้

๑.การมีพลังอำนาจในการกระทำการงานหนึ่ง  มิได้หมายความว่า การงานนั้นจะต้องเกิดขึ้น แต่หมายความว่า ผู้กระทำ(ฟาอิล) เขามีความสามารถที่จะไม่กระทำหรือละทิ้งการงานอันนั้นได้

๒.ผู้กระทำมีความสามารถก่อนที่จะกระทำการงานใดการงานหนึ่ง  และมีคุณลักษณะพลังอำนาจอยู่ด้วยเช่นกัน ทัศนะมีความเห็นที่มีความขัดแย้งกับทัศนะที่กล่าวว่า ผู้กระทำมีคุณลักษณะพลังอำนาจในขณะที่ได้กระทำการงานใดการงานหนึ่ง

ความถูกต้องของทัศนะนี้ก็คือ เมื่อได้พิจารณาในความหมายของ พลังอำนาจ และย้อนกลับไปดูสภาพภายในของมนุษย์ มีความเข้าใจได้ว่า ก่อนการเกิดขึ้นของการกระทำ ผู้กระทำมีความสามารถที่จะกระทำการงานนั้นได้  ในขณะเดียวกัน ในสภาพภายในของมนุษย์ ก่อนที่จะกระทำการงานใดก็ตาม เขานั้นมีความสามารถที่จะกระทำ แม้ว่าการงานนั้นยังไม่เกิดขึ้นมาก็ตาม

๓.การมีพลังอำนาจ เกิดขึ้นด้วยกับ ๒ กริยา การกระทำ คือ การกระทำ และการละทิ้งในการงานใดการงานหนึ่ง

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เมื่อใดที่กล่าวถึง การมีพลังอำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  มีความหมายว่า ผู้กระทำนั้นมีความสามารถที่จะกระทำหรือไม่กระทำการงานนั้นก็ได้

๒๗๙

ทัศนะหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม ได้กล่าวว่า การมีพลังอำนาจของบุคคลหนึ่งนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการกระทำนั้นได้เกิดขึ้นมาเสียก่อน

๔.ความหมายของการมีพลังอำนาจและความอ่อนแอ เป็นความหมายหนึ่งที่เหมือนความหมายของ การมีและการไม่มี ดังนั้น ผู้กระทำตามธรรมชาติ เช่น ความร้อนจากไฟที่ไม่มีทั้งพลังอำนาจ และไม่มีความอ่อนแออยู่ด้วยกัน

   ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า (กุดรัต อิลาฮียฺ)

   หลังจากที่ได้อธิบายความหมายของ คำว่า พลังอำนาจไปแล้ว ดังนั้น ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า มีความหมายว่าอย่างไร และความหมายโดยทั่วไปของ พลังอำนาจ ที่นำมาใช้กับพระเจ้าได้หรือไม่?

จากความหมายของ คำว่า พลังอำนาจ สามารถใช้กับพระเจ้าได้ ถ้าหากว่าไม่มีสิ่งที่แสดงถึงข้อบกพร่องและการมีขอบเขตจำกัด ด้วยเหตุนี้ ความหมายของ พลังอำนาจของพระเจ้า ก็คือ ถ้าพระเจ้ามีความประสงค์ที่จะกระทำการงานใดก็จะเกิดขึ้น ทันทีทันใด และถ้าพระองค์มีความประสงค์ที่จะละทิ้ง การงานนั้นก็จะถูกละทิ้งในเวลานั้น

สิ่งที่มิอาจลืมได้ นั่นก็คือ เมื่อเราสังเกตุในตัวของเราเอง จะพบว่า เรานั้นมีพลังอำนาจ หมายความว่าอย่างไร?  ก็หมายความว่า การมีพลังอำนาจของเราที่จะกระทำหรือไม่กระทำหรือละทิ้งการงานใดการงานหนึ่งได้ โดยการงานนั้นเกิดขึ้นจากจุดประสงค์ที่อยู่ภายนอก และเราก็ไม่สามารถเปรียบเทียบการมีพลังอำนาจของมนุษย์กับการมีพลังอำนาจของพระเจ้าได้ เพราะว่า พระเจ้า มีพลังอำนาจในอาตมันของพระองค์ กล่าวคือ การมีพลังอำนาจ คือ อาตมันของพระองค์

๒๘๐

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450