บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม8%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339973 / ดาวน์โหลด: 4960
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

   การพิสูจน์ พลังอำนาจของพระเจ้า

   หลังจากที่เข้าใจในความหมายของ การมีพลังอำนาจ จะกล่าวได้ว่า พระเจ้ามีพลังอำนาจ ด้วยกับการพิสูจน์จากเหตุผลต่างๆ ซึ่งจะขอนำมากล่าวเพียงเหตุผลเดียว มีดังนี้

จากความหมายของ การมีพลังอำนาจ ถ้าสมมุติว่า พระเจ้า ไม่มีพลังอำนาจ ในกรณีนี้ ความประสงค์ของพระองค์ในการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น  ก็จะไม่ได้เกิดขึ้น ในขณะที่การกระทำได้เกิดขึ้น หรือพระองค์มีความประสงค์และการกระทำนั้น จะไม่เกิดขึ้น  แต่การกระทำนั้นกลับเกิดขึ้นมา มีคำถามว่า แล้วอะไร คือ สาเหตุของการกระทำที่ไม่เกิดขึ้นว่า มาจากความประสงค์ของพระเจ้า?

สำหรับคำตอบ มีการคาดคะเนอยู่ ๒ สภาพ

สภาพแรก ก็คือ อาตมันของพระเจ้า เป็นสาเหตุที่ทำให้การงานนั้น ไม่เกิดขึ้น ดังนั้น สภาพนี้ถือว่า ไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะ เพราะว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์มีความต้องการที่จะกระทำการงานหนึ่งการงานใด แล้วการงานนั้นไม่ได้เกิดขึ้น ซึ่งในสภาพนี้มีความขัดแย้งกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์

สภาพที่สอง คือ มีสิ่งหนึ่งที่เป็นสาเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากพระเจ้า  และเช่นกัน ในสภาพนี้ก็ถือว่า ไม่ถูกต้องและเป็นโมฆะ เพราะว่า เราได้พิสูจน์ไปแล้วว่า พระเจ้า เป็นวาญิบุลวุญูด ( สิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่) และสรรพสิ่ง เป็นมุมกินุลวุญูด (สิ่งที่จะมีก็ได้ไม่มีก็ได้) และเป็นสิ่งสร้างของพระองค์ การมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับผู้สร้าง ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ สิ่งที่เป็นมุมกินุลวุญูด ซึ่งไม่มีความเป็นอิสระเสรีในตัวเอง

๒๘๑

 จะเป็นสาเหตุให้กับความประสงค์ของพระเจ้า เพราะฉะนั้น พระเจ้ามีพลังอำนาจ ด้วยกับสาเหตุที่ว่า ความประสงค์ของพระองค์ มิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งใด นอกจากอาตมันของพระองค์เท่านั้น

   อานุภาพของพระเจ้า

   ประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับอานุภาพของพระเจ้า คือ พระองค์ มีพลังอำนาจอันที่ไม่มีที่สิ้นสุดหรือว่ามีพลังอำนาจในรูปแบบที่มีขอบเขตจำกัด

สำหรับคำตอบ มีหลายทัศนะด้วยกัน ทัศนะหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลามบางสำนักคิด มีความเห็นว่า พระเจ้ามีอำนาจที่ไม่มีที่สิ้นสุดหรือพลังอำนาจของพระองค์นั้น ครอบคลุมทุกสรรพสิ่ง โดยที่พวกเขาได้นำหลักฐานอ้างอิงจากอัล กุรอานและวจนะมายืนยัน และในทางตรงกันข้าม มีหลายทัศนะที่มีความเห็นตรงกันว่า  พระเจ้ามีพลังอำนาจในรูปแบบที่มีขอบเขตจำกัด ด้วยเหตุนี้ ทัศนะแรก ถือว่า ถูกต้อง เพราะว่าได้พิสูจน์ไปแล้วว่า พระเจ้ามีคุณลักษณะทั้งหลายที่สมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุด และการมีพลังอำนาจ เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระองค์ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เหตุผลทางสติปัญญาที่ใช้ในการพิสูจน์การมีพลังอำนาจของพระเจ้า นอกเหนือจาก การยอมรับว่า พระองค์มีคุณลักษณะนี้แล้ว ยังกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีคุณลักษณะการมีพลังอำนาจที่สมบูรณ์และไม่มีที่สิ้นสุด มีข้อสงสัยที่เกิดขึ้นในประเด็นนี้  ซึ่งก็เคยเกิดขึ้นมาก่อน มีดังต่อไปนี้

๒๘๒

   สิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้น (มุฮาล) อยู่ภายใต้การมีพลังอำนาจของพระเจ้าใช่หรือไม่?

   มีคำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นและถูกบันทึกในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องของพลังอำนาจของพระเจ้า ก็คือ มีบางสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับพลังอำนาจของพระองค์ และบางสิ่งที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า ดังนั้น ข้อสงสัยนี้ ได้มีคำอธิบายอยู่มากมาย ซึ่งพื้นฐานของข้อสงสัยนี้นั้นมาจากที่มาหรือแหล่งเดียว และคำอธิบายที่ถูกรู้จักกันโดยทั่วไป มีดังนี้

๑.พระเจ้ามีความสามารถสร้างสิ่งที่เหมือนพระองค์อยู่เคียงข้างพระองค์ได้หรือไม่?

หากยอมรับว่า พระองค์มีความสามารถ หมายความว่า ยอมรับในการมีอยู่ของภาคีที่เหมือนพระองค์  ในขณะที่บรรดานักปรัชญาเชื่อว่า พระเจ้า ไม่มีการภาคีใดอยู่เคียงข้างพระองค์ และหากยอมรับว่า พระเจ้าไม่มีความสามารถ ก็หมายความว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์นั้น มีขอบเขตจำกัด ซึ่งยอมรับว่า พระองค์ไม่มีความสามารถที่จะทำให้การงานหนึ่งเกิดขึ้นได้

๒.พระเจ้า มีความสามารถที่จะทำให้โลกใบนี้อยู่ในฟองไข่ไก่ ฟองหนึ่งได้ใช่หรือไม่ และในสภาพที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดในไข่ฟองนั้น?

สำหรับคำตอบ ก็คือ เป็นไปไม่ได้ ก็เท่ากับว่าได้ยอมรับว่า พลังอำนาจของพระเจ้านั้นมีขอบเขตจำกัด และไม่สมบูรณ์และยังมีการกระทำที่พระองค์ไม่มีความสามารถที่กระทำได้

๒๘๓

๓.ความยุ่งยากของข้อสงสัยนี้ จากคำตอบของข้อสงสัยนี้ ไม่ว่าจะจริงหรือไม่จริงก็ตาม เป็นสาเหตุของการปฏิเสธการมีพลังอำนาจของพระเจ้า เช่น เมื่อถามว่า พระเจ้ามีสามารถหรือไม่ที่จะสร้างก้อนหินสักก้อนที่พระองค์ไม่มีความสามารถยกมันขึ้นมาได้ หรือถามว่า พระเจ้ามีความสามารถหรือไม่ที่จะสร้างสิ่งหนึ่งแล้วพระองค์ไม่สามารถที่จะทำลายมันได้? ดังนั้น ไม่ว่าจะตอบว่า พระองค์มีความสามารถหรือไม่มีความสามารถก็คือ การยอมรับการมีขอบเขตการมีพลังอำนาจของพระองค์

และจากข้อสงสัยที่กล่าวข้างต้น ทำให้เข้าใจได้ว่า ข้อสงสัยดังกล่าวเกิดมาจากพื้นฐานอันเดียวกัน

และก่อนที่จะตอบคำถามนี้ มาอธิบายกันใน สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ (มุฮาล) ว่ามีด้วยกัน กี่ประเภท

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ (มุฮาล) สามารถแบ่งออกด้วยกัน  ๓ ประเภทดังนี้

๑.สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมัน (มุฮาล ซาตีย์) หมายถึง สิ่งหนึ่งไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้เอง ตัวอย่างเช่น สิ่งหนึ่งที่ไม่มีทั้งสีขาวและสีดำ หรือสิ่งที่มีทั้งสีขาวและสีดำ

๒.สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง (มุฮาล วุกูอีย์) หมายถึง สิ่งหนึ่งไม่มีความสามารถที่จะเกิดขึ้น แต่โดยตัวของมันเองสามารถจะเกิดขึ้นได้ และการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น เป็นสาเหตุให้เกิด มุฮาล ซาตีย์ เช่น การมีอยู่ของผลโดยที่ไม่มีเหตุ เพราะว่า การเกิดขึ้นของผล เป็นสาเหตุให้เกิดความต้องการไปยังเหตุและไม่ต้องการผล 

ประเภทแรกและประเภทที่สองของมุฮาล เรียกว่า สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ทางสติปัญญา (มุฮาล อักลีย์)

๓.สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยทั่วไป (มุฮาล อาดีย์) หมายถึง สิ่งหนึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยกฏเกณฑ์ทางธรรมชาติ แต่การเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ไม่เป็นสาเหตุมุฮาล ซาตีย์ หรือด้วยตัวของมันเอง

จากการอธิบายข้างต้น จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ว่า พลังอำนาจของพระเจ้า ไม่มีในสิ่งที่เป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวของมัน และสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง และตัวอย่างของข้อสงสัยทั้งหมด เป็น ตัวอย่างของ สิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ทางสติปัญญา ทั้งสิ้น เช่น การมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกับพระเจ้า และการนำโลกไปไว้ในฟองไข่ไก่ ฟองหนึ่ง และการสร้างก้อนหินที่พระองค์ยกขึ้นไม่ได้  กล่าวได้ว่า ในตัวอย่างแรก  เป็นการสมมุติว่า มีพระเจ้าอยู่สององค์ที่เหมือนกัน  และเป็นสาเหตุให้เกิดความแตกต่างกันในพระเจ้าทั้งสอง  เพราะว่าในขณะที่กล่าวว่า พระเจ้ามีสององค์ที่องค์เป็นพระเจ้าและอีกองค์ไม่ได้เป็นพระเจ้า และตัวอย่างที่สอง การนำโลกนี้ไปไว้ในไข่ไก่ ก็ด้วยสาเหตุนี้เช่นกัน กล่าวคือ โลกที่มีขนาดใหญ่และไม่มีขนาดใหญ่นั้นเป็นไปไม่ได้หรือไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ และในตัวอย่างที่สามก็เหมือนกัน ดังนั้น สิ่งที่ควรสังเกตุก็คือ พลังอำนาจของพระเจ้า ไม่มีในสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวของมันและสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง มิได้หมายความว่า พลังอำนาจของพระองค์นั้นมีขอบเขตจำกัด เพราะว่า สิ่งเหล่านั้นไม่อาจจะเกิดขึ้นมาได้

บรรดานักปรัชญาอิสลามได้กล่าวว่า ผู้กระทำมีความสามารถ แต่สิ่งถูกกระทำนั้น ไม่สามารถยอมรับการกระทำได้ และเพื่อที่มีความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในตัวของเรา  เช่น นักปั้นดินเผาคนหนึ่งที่มีความสามารถปั้นเหยือกดินที่สวยงามที่สุดจากดินโคลนได้ ในเวลาเดียวกัน ถ้าไม่มีดินแล้วก็มีเพียงน้ำ เขาก็ไม่สามารถที่จะปั้นเหยือกดินได้ ไม่ว่าจะเป็นเหยือกใบเล็กหรือใบใหญ่ ดังนั้น เป็นกระจ่างชัดว่า ไม่ใช่ว่านักปั้นดินเผาคนนั้น ไม่มีความสามารถหรือไม่มีประสบการณ์หรือมีความสงสัยในความเป็นนักปั้นดินเผาของเขา แต่สิ่งที่เขามี คือ น้ำ ซึ่งไม่สามารถจะทำให้เป็นเหยือกดินได้(ตัวอย่างนี้ มีความคล้ายคลึงกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้า และ มีความแตกต่างกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้ากับการมีพลังอำนาจของมนุษย์ แต่เพื่อที่จะเข้าใจในการมีพลังอำนาจของพระเจ้าได้มากยิ่งขึ้น จึงยกมาเป็นตัวอย่าง)

ตัวอย่างของประเด็นนี้ ก็เช่นกัน สิ่งที่ถูกกระทำมีข้อบกพร่อง ไม่ใช่ผู้กระทำ ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า ความหมายของสิ่งนั้นไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังอัล กุรอานที่กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีพลังอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง”

ด้วยเหตุนี้ กล่าวสรุปได้ว่า ตัวอย่างทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยการใช้สติปัญญา และพลังอำนาจของพระเจ้าไม่มีในสิ่งเหล่านี้ และการไม่มีพลังอำนาจของพระเจ้า มิได้หมายความว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์นั้น มีขอบเขตจำกัด และจะอธิบายในรายละเอียดของมัน ในประเด็น ความมหัศจรรย์ของพระเจ้า ดังนั้น พลังอำนาจของพระเจ้า จึงมีในมุฮาล อาดีย์(สิ่งที่โดยทั่วไปไม่อาจจจะเกิดขึ้นได้)

๒๘๔

   การมีพลังอำนาจของพระเจ้าในการกระทำที่ไม่ดี

    ประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวกับการมีพลังอำนาจที่ไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า คือ คำถามที่กล่าวว่า พระองค์ มีความสามารถกระทำการงานที่ไม่ดีได้หรือไม่?

สำหรับคำตอบ มีอยู่ สองทัศนะ ด้วยกัน

ทัศนะแรกมีความเห็นว่า พระเจ้าไม่มีความสามารถที่จะกระทำการงานที่ไม่ดี

ทัศนะที่สองมีความเห็นว่า พระเจ้า ด้วยกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์และพระองค์ทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ พระองค์ไม่กระทำการงานที่ไม่ดี แต่มิได้หมายความว่า พระองค์ไม่มีความสามารถที่จะกระทำการงานนั้น และด้วยกับการพิจารณาอย่างรอบคอบ ทำให้เข้าใจว่า ทัศนะที่ถูกต้อง คือ ทัศนะที่สอง 

แต่จะกล่าวถึงเหตุผลของทัศนะแรกและมาวิเคราะห์กัน เหตุผลของทัศนะแรกที่มีความเห็นว่า พระเจ้าไม่มีความสามารถในการกระทำความไม่ดี  คือ ถ้าสมมุติว่า พระเจ้ามีความสามารถกระทำการงานที่ไม่ดี หมายความว่า พระองค์เป็นผู้โง่เขลาหรือพระองค์มีความต้องการ แต่ความเป็นจริง พระองค์ทรงรอบรู้ทุกสรรพสิ่ง และพระองค์ทรงไม่มีความต้องการใดทั้งสิ้น ดังนั้น พระเจ้ามิทรงเป็นผู้โง่เขลาหรือมีความต้องการ ด้วยเหตุนี้ พระเจ้า ไม่มีความสามารถที่จะกระทำการงานที่ไม่ดี

๒๘๕

การอธิบายสิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้น คือ การสมมุติว่า พระเจ้ามีความสามารถที่จะกระทำการงานที่ไม่ดี หมายความว่า พระเจ้าสามารถที่จะกระทำการงานนี้ได้ ในสภาพนี้ หากว่าพระเจ้า ไม่มีความรู้ในการกระทำที่ไม่ดีนั้น  ดังนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้โง่เขลา และถ้าพระองค์ทรงรู้ในการกระทำที่ไม่ดี พระองค์ก็ทรงมีความต้องการ เพราะว่า ความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์กล่าวว่า พระองค์ ไม่กระทำการงานที่ไม่ดี  

คำตอบของเหตุผลนี้ กล่าวได้ว่า สิ่งสำคัญทั้งสอง คือ ความโง่เขลาและความต้องการ เป็นองค์ประกอบของการเกิดขึ้นของการกระทำที่ไม่ดี ในขณะที่พระเจ้ามีความสามารถกระทำการงานที่ไม่ดี พระองค์ไม่มีคุณลักษณะทั้งสอง เพราะจากความหมายของ ความสามารถ หมายความว่า การมีความสามารถในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มิได้หมายความว่า การกระทำนั้น จะต้องเกิดขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้ พระเจ้ามีความสามารถในการกระทำสิ่งที่ไม่ดี แต่ด้วยกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์ การกระทำนั้นจะไม่เกิดขึ้นจากพระองค์ ดังนั้น พระองค์มิได้ทรงเป็นผู้โง่เขลาหรือมีความต้องการ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระเจ้า เป็นผู้มีวิทยปัญญา การกระทำที่ไม่ดี จึงไม่เกิดขึ้นจากพระองค์ และการไม่กระทำสิ่งไม่ดี มิได้หมายความว่า พระองค์ไร้ความสามารถ

๒๘๖

   พลังอำนาจของพระเจ้าในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานกล่าวถึง พระเจ้าว่า พระองค์ทรงมีพลังอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง (กอดีร ,กอดิรและมุกตะดิร) ดั่งพระดำรัสที่กล่าวว่า

 “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีพลังอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง”และโองการต่างๆมากมายกล่าวถึง การมีพลังอำนาจของพระเจ้า

ตัวอย่างเช่น ในบทอัฏฏอลาก โองการที่ ๑๒ กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ด และทรงสร้างแผ่นดินก็เยี่ยงนั้น พระบัญชาจะลงมาท่ามกลางมันทั้งหลาย (ชั้นฟ้าและแผ่นดิน) เพื่อพวกเจ้าจะได้รู้ว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง และแท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงห้อมล้อมทุกสิ่งอย่างไว้ด้วยความรอบรู้ (ของพระองค์)”

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า การสร้างโลกและการบริหารการงานต่างของโลก บ่งบอกถึง สัญลักษณ์หนึ่งของ การมีพลังอำนาจของพระเจ้า

และในอีกโองการได้กล่าวว่า การสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน แสดงให้ในการมีพลังอำนาจของพระเจ้า 

บทอะฮ์กอฟ โองการที่ ๓๓ กล่าวว่า

“และพวกเขาไม่เห็นดอกหรือว่า แท้จริงอัลลอฮ์ ซึ่งทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้ และมิทรงอ่อนเพลียต่อการสร้างสิ่งเหล่านั้น ย่อมทรงเป็นผู้อานุภาพที่จะให้คนตายมีชีวิตขึ้นมาอีก แน่นอนแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกๆสิ่ง”

และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวเช่นเดียวกันในการมีพลังอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

๒๘๗

วจนะหนึ่งจากท่านอิมาม ซอดิก(ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

 “พระเจ้าทรงมีความรอบรู้ในสิ่งที่พระองค์สร้างและทรงอานุภาพและทรงปกครองและดูแลในทุกสรรพสิ่ง และทุกสรรพสิ่งนั้น ณ พระองค์มีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์และความรอบรู้และการปกครอง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๙ วจนะที่ ๑๕ )

   คำตอบจากวจนะในข้อสงสัยที่เกี่ยวกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้า

    นอกเหนือจาก เหตุผลทั้งหลายที่เป็นคำตอบในข้อสงสัยต่างๆที่เกี่ยวกับการมีพลังอำนาจของพระเจ้าแล้ว ยังมีคำตอบจากวจนะของ บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่านทั้งหลาย)

ดั่งในวจนะหนึ่งที่ได้รายงานจาก  ท่านอิมามอะลี ว่า มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านว่า พระผู้เป็นเจ้าของท่านนั้น มีความสามารถที่จะทำให้โลกใบนี้ อยู่ในไข่ไก่สักฟองหนึ่ง โดยทิ่มิได้ทำให้โลกนั้นดูเล็กลง หรือไข่ฟองนั้นใหญ่ขึ้นได้ ใช่หรือไม่?

ท่านอิมาม ได้ตอบกับชายผู้นั้นว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่งและมีเกียรติยิ่ง ไม่มีความสัมพันธ์ใดไปยัง การไม่มีพลังอำนาจและในสิ่งที่เจ้าถามแน่นอนมันจะไม่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง” (อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๙ วจนะที่ ๙ )

ดังนั้น จากวจนะนี้ สรุปได้ว่า มิใช่ว่า พระเจ้าไม่ทรงมีความสามารถ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริงได้ เพราะว่า สิ่งนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นจริง

๒๘๘

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

 

พลังอำนาจของพระเจ้ากุดรัต อิลาฮีย์    capability of Devine

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง มุฮาล วุกูอีย์

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยตัวของมันมุฮาลซาตีย์

สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยทั่วไปมุฮาลอาดีย์

สรุปสาระสำคัญ

  ๑.ความหมายของ พลังอำนาจ คือ ผู้กระทำมีความสามารถกระทำการงานหนึ่งการงานใดได้ และไม่กระทำการงานนั้นก็ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การกระทำของผู้กระทำที่ได้เกิดขึ้นจาก ความประสงค์ของผู้นั้น

๒.การมีพลังอำนาจในการกระทำ ไม่จำเป็นว่าการกระทำนั้นจะต้องเกิดขึ้น เพราะว่า เป็นไปได้ว่า ผู้มีพลังอำนาจสามารถกระทำ หรือไม่กระทำในการกระทำหนึ่ง ในขณะที่ผู้กระทำ ก่อนที่จะทำให้การงานนั้น ให้เกิดขึ้นมา เขาก็มีความสามารถและพลังอำนาจ

๓.การมีพลังอำนาจของพระเจ้า หมายถึง การกระทำของพระองค์นั้นขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์ การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้น และถ้าพระองค์ไม่ทรงประสงค์การกระทำนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น การเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์มิได้เกิดขึ้นมาจากเป้าหมายอื่น ที่มิใช่อาตมันของพระองค์

๒๘๙

๔.เหตุผลการพิสูจน์การมีพลังอำนาจที่ไม่มีขอบเขตของพระเจ้า ก็คือ พระเจ้าทรงกระทำในการกระทำของพระองค์ ด้วยความประสงค์ของพระองค์ และไม่มีการกระทำใดที่พระองค์ไม่สามารถจะกระทำให้เกิดขึ้นได้ เพราะว่า ทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งสร้างของพระองค์ และการมีอยู่ของสิ่งเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของพระองค์

๕.พระเจ้า มีพลังอำนาจที่ไม่มีขอบเขตและไม่มีที่สิ้นสุด และพลังอำนาจของพระองค์ ไม่มีในสิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นด้วยตัวของมันหรือ ในความเป็นจริงได้ (มุฮาล ซาตีย์และมุฮาล วุกูอีย์) เพราะว่า การกระทำนี้ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ แต่พลังอำนาจของพระเจ้า มีอยู่ใน สิ่งที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นโดยทั่วไป (มุฮาล อาดีย์) เช่น ปาฏิหาริย์ของบรรดาศาสดาทั้งหลาย

๖. พระเจ้า มีความสามารถที่จะกระทำในการงานที่ไม่ดีได้ แต่ด้วยกับความเป็นวิทยปัญญาของพระองค์ได้กล่าวว่า พระองค์จะไม่กระทำในการงานที่ไม่ดี

๗. อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์ทรงมีอานุภาพ ดั่งโองการที่กล่าวว่า“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงมีอานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง” บ่งบอกถึง ความไม่มีที่สิ้นสุดในพลังอำนาจของพระเจ้า

๘.และอัล กุรอานยังกล่าวอีกว่า พระเจ้าเป็นผู้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และมีอำนาจการบริหารในการงานทั้งหลาย แสดงให้เห็นว่า พระเจ้ามีพลังอำนาจที่ไม่มีขอบเขตและไม่มีที่สิ้นสุด

๙.บางส่วนของวจนะทั้งหลายกล่าวถึง คำตอบของข้อสงสัยต่างๆที่เกี่ยวกับ การมีพลังอำนาจของพระเจ้า และอธิบายว่า การที่พลังอำนาจของพระองค์ไม่มีในบางสิ่ง มิได้หมายความว่า การมีพลังอำนาจของพระองค์นั้น มีขอบเขตจำกัด

๒๙๐

   บทที่ ๖

   การมีชีวิตของพระเจ้า

    การมีชีวิต  เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะหนึ่ง ที่บรรดานักเทววิทยาอิสลามมีความเห็นตรงกัน แต่มีความแตกต่างในการอธิบายถึงวิธีการมีชีวิตของพระเจ้า และมีการให้ทัศนะที่แตกต่างกัน โดยนักเทววิทยาอิสลามบางคนได้กล่าวว่า การมีชีวิต เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และบางคนก็กล่าวว่า คุณลักษณะนี้ มิได้มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ เพราะว่าการมีชีวิต เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย เช่น ในมนุษย์, ในสัตว์, พรรณพืช และในสิ่งอื่นๆ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจในความหมายของ การมีชีวิต กันก่อน ดังนั้น การมีชีวิต มีความหมายว่า อย่างไร?  แล้วจะมาอธิบายในความหมายของ การมีชีวิตของพระเจ้า เป็นอันดับต่อไป

   การมีชีวิตอยู่ของสรรพสิ่ง

    เมื่อเราได้สังเกตในสภาวะของสิ่งต่างๆที่เรียกกันว่า สิ่งนั้นมีชีวิตอยู่ จะเห็นได้ว่าในการมีชีวิตอยู่ของสิ่งเหล่านั้น บรรดานักเทววิทยาได้กล่าวกันว่า ในสิ่งที่มีชีวิตอยู่ มี ๒ คุณลักษณะที่เฉพาะกับการมีชีวิตอยู่ คือ

๑.การมีความรู้

๒. การมีความสามารถ

เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่มีชีวิตอยู่ สิ่งนั้นต้องมีความรู้และมีความสามารถ ส่วนสิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งนั้นก็ไม่มีทั้งความรู้และความสามารถ

๒๙๑

จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บรรดานักวิชาการได้กล่าวว่า การมีชีวิตอยู่ของพรรณพืชนั้นมีความแตกต่างกัน เพราะว่าการมีอยู่ของความรู้และความสามารถในแต่ละพรรณพืชก็มีความแตกต่างกันเช่นเดียวกัน ดังนั้น ความหมายของ การมีชีวิตอยู่จึงครอบคลุมทั้งมนุษย์และสัตว์

และสิ่งที่ควรรู้ ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

๑.การมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เช่น มนุษย์และสัตว์ และด้วยกับการกระทำต่างๆ เช่น การเจริญเติบโต, การมีความต้องการที่อยู่อาศัย, ปัจจัยยังชีพและอาหาร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทั้งหลายของการมีชีวิตอยู่ และอาจจะกล่าวได้ว่า ทั้งหมดนั้นเป็นคุณลักษณะที่มิได้เป็นคุณลักษณะโดยเฉพาะของการมีชีวิตอยู่ และการมีชีวิตนั้น ไม่จำเป็นต้องมีคุณลักษณะดังกล่าว และคุณลักษณะเหล่านั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่ในความหมายของการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งถูกนำมาใช้ในสิ่งที่เป็นวัตถุ ส่วนสิ่งที่มิใช่วัตถุ เช่น พระเจ้านั้นไม่มีความต้องการในการเจริญเติบโต ,อาหาร และที่อยู่อาศัย

๒.ความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิตอยู่ หมายถึง การมีความรู้และการมีความสามารถ มิได้หมายความว่า การมีชีวิตอยู่นั้นต้องมีทั้งสองคุณลักษณะดังกล่าวเท่านั้น เพราะว่า การมีชีวิตอยู่ เป็นความหมายที่มีอยู่ในการมโนภาพโดยทิ่มิได้เกิดขึ้นจริง ดังนั้น การมีชีวิต จึงเป็นการมีอยู่ที่สมบูรณ์ และสิ่งใดก็ตามที่มีชีวิต สิ่งนั้นก็ต้องมีทั้งความรู้และความสามารถอยู่คู่กัน

๒๙๒

ด้วยเหตุนี้ การให้คำนิยามของ การมีชีวิต คือ การมีความรู้และความสามารถ ซึ่งเป็นการให้คำนิยามของสิ่งหนึ่งที่มีส่วนประกอบ

เมื่อความหมายของ การมีชีวิตอยู่ในทัศนะของบรรดานักเทววิทยาอิสลามนั้น เป็นที่กระจ่างชัดสำหรับเราแล้ว จะมาอธิบายกันในความหมายของ การมีชีวิตของพระเจ้า

   ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า

    การอธิบายในความหมายของ การมีชีวิตของพระเจ้า ซึ่งบรรดานักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดทั้งหลายได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน

โดยที่นักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อว่า คุณลักษณะของพระเจ้านั้นมีความแตกต่างกับอาตมันของพระองค์ และยังได้กล่าวอีกว่า การมีชีวิตของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่มีอยู่เหนือจากอาตมันของพระองค์ โดยมีความหมายว่า อาตมันของพระองค์มีความรู้และความสามารถอยู่คู่กัน

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ผู้ที่ปฏิเสธการมีความแตกต่างกันระหว่างคุณลักษณะกับอาตมันของพระเจ้า ได้กล่าวว่า การมีชีวิตของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มิได้มีอยู่ในพระองค์ และความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า ก็คือ การมีความสามารถและการมีความรู้ และเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องห้าม

๒๙๓

ด้วยเหตุนี้  การมีชีวิต จึงเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่ไม่มีอยู่ในพระเจ้า  ซึ่งจะเห็นได้ว่า จากความหมายของ การมีชีวิต ในทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความหมายที่ไม่ชัดเจนและไม่ถูกต้อง ดังนั้น การมีชีวิต จึงเป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระองค์ และคุณลักษณะการมีชีวิตของพระเจ้า หมายถึง การมีชีวิตของพระองค์ในรูปแบบที่สมบูรณ์ กล่าวคือ การมีความรู้ และสามารถ แต่การมีชีวิตของพระเจ้านั้น ปราศจากการเป็นวัตถุ ซึ่งไม่มีความต้องการในการเจริญเติบโต ,ที่อยู่อาศัย, อาหาร และการพึ่งพา และสิ่งเหล่านี้มิใช่เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นกับการมีชีวิตของพระองค์

ได้อธิบายไปแล้วว่า การมีความรู้และการมีความสามารถ เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า ดังนั้น การมีชีวิตก็มีคุณลักษณะทั้งสองอยู่ด้วย และความหมายในการมีชีวิต ก็เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในพระองค์เช่นกัน   ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันกับการมีชีวิตของสิ่งทั้งหลาย

   เหตุผลของการมีชีวิตของพระเจ้า

    เหตุผลต่างๆที่ใช้ในการพิสูจน์การมีอยู่ของคุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้า ก็สามารถใช้ในการพิสูจน์การมีชีวิตของพระองค์ได้ เหตุผลที่เข้าใจง่าย เกิดขึ้นจากการมีความรู้ของพระเจ้า และการมีความสามารถ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการมีชีวิต และได้พิสูจน์ไปแล้วว่า พระเจ้าเป็นผู้ทรงรอบรู้และมีความสามารถ เพราะฉะนั้น พระองค์ก็ทรงมีชีวิตอยู่เช่นกัน

๒๙๔

ดั่งใน คำกล่าวของท่านมุฮักกิก ตูซีย์ ที่ได้กล่าวว่า

“ทุกสิ่งที่มีความรู้ และความสามารถ แน่นอนที่สุด สิ่งนั้นก็ต้องมีชีวิต”

   การมีชีวิตของพระเจ้า จากการอรรถาธิบายของอัลกุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนในโองการทั้งหลายถึงคุณลักษณะการมีชีวิตของพระเจ้าว่า

“อัลลอฮ์ (ทรงเป็นพระเจ้า) ซึ่งไม่มีพระเจ้าใดๆ (อีกแล้ว) นอกจากพระองค์เท่านั้น ทรงเป็นเสมอ ทรงดำรงอยู่ ความง่วงและความหลับไม่ครอบงำพระองค์ พระองค์ทรงสิทธิ์ในสรรพสิ่งที่มีอยู่ในชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน ใครเล่าที่จะให้การสงเคราะห์ (แก่ผู้อื่น) ณ พระองค์ได้ นอกจากจะเป็นไปโดยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่มีอยู่   ต่อหน้าพวกเขาและที่อยู่เบื้องหลังพวกเขาและพวกเขาไม่ครอบคลุมความรู้สักเพียงเล็กน้อยของพระองค์ นอกจากในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์(จะให้พวกเขารู้)เท่านั้นเก้าอี้ (คืออำนาจปกครอง) ของพระองค์แผ่ไพศาลทั่วทั้งชั้นฟ้าและแผ่นดินและการพิทักษ์มัน   ทั้งสองไม่ทำให้พระองค์เหนื่อยยากเลยและพระองค์ทรงสูงส่งอีกทั้งทรงยิ่งใหญ่”

 (อัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ ๒๕๕) 

๒๙๕

                                                           

และอีกโองการหนึ่งได้กล่าวว่า              

“อัลลอฮ์นั้นคือ ไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใดๆนอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิตอยู่เสมอ (ไม่มีกาลอวสาน) ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลายเป็นเนืองนิจ (ในสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างและทรงบังเกิด)” (บทอัลอาลิอิมรอน โองการที่ ๒)

 โองการดังกล่าวนี้ได้กล่าวถึง คุณลักษณะการมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของพระเจ้า โดยที่อัล กุรอานได้กล่าวอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ว่า พระเจ้า คือ อัลลอฮ์ เป็นผู้ทรงมอบชีวิตให้กับทุกสรรพสิ่ง ดังนั้น ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า หมายถึง เมื่อพระเจ้า เป็นผู้ทรงมอบชีวิตให้กับทุกสรรพสิ่ง ก็เป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะไม่ทรงมีชีวิตอยู่

และในอัล กุรอานได้กล่าวอีกว่า

“และเจ้าจงมอบหมายต่อพระผู้ทรงดำรงชีวิตตลอดกาล ไม่ตาย และจงแซ่ซร้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระองค์ และพอเพียงแล้วสำหรับพระองค์ ผู้ทรงรอบรู้ในความผิดทั้งหลายของปวงบ่าวของพระองค์”

 (บทอัลฟุรกอน โองการที่ ๕๘ )

อัล กุรอานได้ใช้คุณลักษณะทั้งสอง กล่าวคือ การมีชีวิตอยู่ คู่กับการเป็นอมตะ แสดงให้เห็นว่า เป็นคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพราะว่า การมีคุณลักษณะ การมีชีวิตอยู่ นอกเหนือจาก การมีความรู้ในอาตมันของตนเองแล้ว ยังมีความรู้ในสรรพสิ่ง และการมีพลังอำนาจ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เกิดขึ้นในอาตมันของพระเจ้า  และการมีคุณลักษณะ การเป็นอมตะ มีความหมายว่า การมีอยู่ของสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นอยู่กับพระองค์ และพระองค์ เป็นแหล่งกำเนิดของการกระทำทั้งหลาย

ด้วยเหตุนี้ การกล่าวรำลึกว่า โอ้พระผู้ทรงดำรงชีวิตอยู่และเป็นอมตะ เป็นการกล่าวรำลึกที่สวยงามที่สุด

๒๙๖

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมิแด่ท่าน) ได้กล่าวไว้ในเทศนาบทหนึ่งที่มีคุณค่ายิ่งในเป้าหมายของการรู้จักในความสูงส่งของพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ การรู้จักในคุณลักษณะการมีชีวิตอยู่และการเป็นอมตะและนิรันดร์

“เราไม่มีความรู้ในความยิ่งใหญ่ของพระผู้เป็นเจ้า นอกจากเรารู้ว่า พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่และเป็นนิรันดร์ และพระองค์ไม่ทรงง่วงนอนและหลับไหล” (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ สุนทรโรวาทที่ ๑๖๐)

บางวจนะได้กล่าวเช่นเดียวกันถึงความเป็นจริงของ การมีชีวิตอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า และความแตกต่างของการมีชีวิตอยู่ของพระองค์กับการมีชีวิตอยู่ของสรรพสิ่งทั้งหลาย

ดั่งเช่น วจนะของท่านอิมามมูซา อัลกาซิม (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่ได้กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีชีวิตอยู่ ในสภาพที่ไม่มีผู้ให้ชืวิต และไม่มีผู้ให้คุณลักษณะแด่พระองค์ และไม่มีการจำกัดในการมีอยู่ และพระองค์ไม่มีสถานที่พำนัก แต่พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่ด้วยพระองค์เอง “[๒]

 (อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๑๑ วจนะที่ ๖ )

ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า คำกล่าวของอิมามนั้น มีความลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง  แต่สิ่งที่เราได้รับจากวจนะนี้ ก็คือ

๒๙๗

๑.การมีชีวิตของพระเจ้านั้น ไม่เหมือนกับการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ และสิ่งสร้างพระองค์ เพราะว่าอาตมันของพระองค์มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น การมีชีวิตของพระองค์ก็มีมาแต่เดิมและไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยเช่นกัน

๒.การมีชีวิตของพระเจ้านั้น เป็นการมีอยู่ ที่มิได้เป็นคุณานุภาพที่มีขอบเขตจำกัด และไม่มีสถานที่

   การมีมาแต่เดิมและความเป็นอมตะและนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า

    การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์

บรรดานักปรัชญาอิสลาม มีความเชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงมีมาแต่เดิม หมายความว่า พระเจ้าไม่มีกาลเวลาที่จำกัด และคำกล่าวที่ว่า พระองค์ทรงมีอยู่เป็นนิรันดร์ หมายความว่า ไม่มีกาลเวลาใดที่จะมาทำลายหรือทำให้พระองค์สูญสลายได้

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การมีอยู่ของพระองค์นั้น ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา ไม่ว่าจะในอดีต ปัจจุบัน หรือในอนาคตก็ตาม เพราะว่า พระองค์ทรงมีอยู่เหนือกาลเวลา  ดังนั้น ความหมายของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ บางครั้งหมายถึง การคงมีอยู่ของสิ่งที่มาแต่เดิมตลอดไป

๒๙๘

   การอธิบาย การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า

   บรรดานักเทววิทยาอิสลาม มีความคิดเห็นและมีทัศนะที่แตกต่างกัน และจากทัศนะทั้งหลาย

ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า มี ๒ทัศนะที่สำคัญ ดังนี้

๑.การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงมีอยู่ในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ดังนั้น จากทัศนะนี้ชี้ให้เห็นว่า การมีอยู่ของพระเจ้านั้นขึ้นอยู่กับกาลเวลา

๒.การมีอยู่ของพระเจ้านั้น อยู่เหนือกาลเวลา ซึ่งรวมถึงสิ่งที่เป็นกาลเวลาด้วย

ในทัศนะแรก บ่งบอกถึง ความเข้าใจของสามัญชนธรรมดาต่อการมีอยู่แต่เดิม และความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า และในทัศนะที่สอง เป็นทัศนะที่ถูกยอมรับในแวดวงวิชาการ เพราะว่า การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้านั้นไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา แต่พระองค์ทรงอยู่เหนือกาลเวลา

การมีอยู่กาลเวลา หมายถึง สิ่งที่เป็นวัตถุ และอาตมันของพระเจ้า มิได้เป็นวัตถุ ดังนั้น พระองค์ไม่ทรงมีกาลเวลา

๒๙๙

   เหตุผลของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า 

 

   หลังจากที่ได้เข้าใจในความหมายของ การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้าไปแล้ว บัดนี้ จะมาพิสูจน์ในเหตุผลของง การมีอยู่สองคุณลักษณะ ในอาตมันของพระองค์ เหตุผลที่เข้าใจง่าย ก็คือ เหตุผลจาก ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน (สิ่งที่จำเป็นต้องมีอยู่และสิ่งที่จะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีก็ได้) เพราะว่า พระผู้เป็นเจ้า คือ สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และการไม่มีอยู่นั้น ไม่มีในพระองค์  กล่าวคือ การไม่มีอยู่ จะไม่มีในพระองค์ในอดีต และการไม่มี จะไม่มีมา หลังจากในอนาคต

ดั่งที่ท่านควอญิฮ์ นะศีรุดดีน ตูซีย์ ได้กล่าวว่า

“ข้อพิสูจน์วุญูบและอิมกาน ( สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่ และสิ่งที่จะมีอยู่ก็ได้หรือไม่มีก็ได้) บ่งบอกถึง การมีอยู่ตลอดกาลและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า “

   การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระเจ้า ในอัล กุรอานและวจนะ

    อัล กุรอานมิได้กล่าวคำว่า การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ แต่ทว่า กล่าวถึงคำที่บ่งบอกถึงความหมายของการมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์  เช่น บางครั้งเรียกพระผู้เป็นเจ้า ว่า พระองค์เป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย

อัล กุรอานกล่าวว่า

“พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย และทรงเปิดเผยและทรงเร้นลับ และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง”

( บทอัลหะดีด โองการที่ ๓ )

๓๐๐

นักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้กล่าวว่า ความหมายของคำว่า องค์แรกและองค์สุดท้าย ก็คือ ความหมายเดียวกับการมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ และเช่นเดียวกัน ในวจนะหนึ่งได้กล่าวเน้นย้ำ ดั่งบทเทศนาหนึ่งของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่ได้กล่าวว่า

“พระเจ้า เป็นองค์แรกที่ไม่มีสิ่งใดมาก่อนหน้าพระองค์ และเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีสิ่งใดมาหลังพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๙๑ )

และท่านอิมามซอดิก ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงเป็นองค์แรกที่ไม่มีการเริ่มต้น และเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์ทรงมีมาแต่เดิม และพระองค์ทรงมีอยู่เสมอ”

 (อุศูลุลอัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๖ )

จากวจนะทั้งหลายที่ได้กล่าวถึง พระผู้เป็นเจ้าว่า เป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย มิได้หมายความว่า พระองค์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรก และเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะต้องสูญสลาย แต่ทว่า ความเป็นองค์แรกและองค์สุดท้ายของพระองค์ หมายถึง พระองค์ไม่มีคำว่า มาก่อนหรือมาหลัง เพราะพระองค์ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีที่สิ้นสุด

โองการหนึ่งของอัล กุรอาน กล่าวว่า

ทุก ๆ สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินย่อมสูญสลาย”

และพระพักตร์ของพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะคงเหลืออยู่”

( บทอัรเราะห์มาน โองการที่ ๒๖-๒๗)

และอีกโองการหนึ่ง กล่าวว่า

“และอย่าวิงวอนขอต่อพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮ์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์” ( บทอัลกอศ็อด โองการที่ ๘๘)

๓๐๑

การอธิบายความหมายของคำว่า พระพักตร์ หมายถึง ตัวตนและอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า  ด้วยเหตุนี้ โองการทั้งหลายได้กล่าวถึง การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า

    ศัพท์วิชาการท้ายบท

: Life การมีชีวิต ฮายาต

: Life of God การมีชีวิตของพระเจ้า ฮายาต อิลาฮีย์

: Eternity การมีมาแต่เดิม อะซะลียัต

: Perenniality ความเป็นนิรันดร์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.การมีชีวิต เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่สมบูรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า มีความหมายครอบคลุมถึง  ๒ คุณลักษณะ กล่าวคือ ความรู้และความสามารถ

๒.การมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เป็นวัตถุ เช่น มนุษย์และสัตว์ มีความเจริญเติบโต ต้องการอาหารและปัจจัยสี่ และการขยายเผ่าพันธ์ สิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบของการมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เป็นวัตถุ และจะไม่มีอยู่ในสิ่งที่มิใช่วัตถุ

๓.ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า คือ ในอาตมันของพระองค์มีความรู้และความสามารถ และการมีชีวิต เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

๓๐๒

๔.นอกเหนือจาก เหตุผลโดยทั่วไปในการพิสูจน์การมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบ เช่น ความรู้และความสามารถ เหตุผลเหล่านั้นยังใช้พิสูจน์การมีชีวิตของพระเจ้าได้อีกด้วย

๕.อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า การมีชีวิตอยู่ของพระองค์นั้น มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีการเปลี่ยนแปลง และในวจนะก็กล่าวไว้เช่นเดียวกัน

๖.และอีกคุณลักษณะหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ การมีมาแต่เดิม และความเป็นนิรันดร์ ความหมายของคุณลักษณะนี้ ก็คือ การมีอยู่ของพระเจ้านั้น อยู่เหนือกาลเวลา ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีอยู่และจะมีอยู่ตลอดไป

๗.ความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า เป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแยกการมีอยู่ออกจากพระองค์ได้ ดังนั้น พระเจ้า ทรงเป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย และนี่คือ ความหมายของการมีมาดั้งเดิมและความเป็นนิรันดร์

๘.อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย ซึ่งแสดงว่า พระเจ้าทรงมีมาแต่เดิมและมีความเป็นนิจนิรันดร์

๓๐๓

   บทที่ ๗

   ความประสงค์ของพระเจ้า (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์)

   ในระหว่างคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า คือ ความประสงค์ของพระองค์ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ แม้ว่าบรรดานักเทววิทยาอิสลามมีความคิดเห็นที่ตรงกันว่า พระเจ้านั้นมีคุณลักษณะนี้ แต่มีความแตกต่างกันในการอธิบายรายละเอียด

คำถามทั้งหลายเกิดขึ้นในประเด็นนี้ คือ

การให้คำนิยามของ ความประสงค์ของพระเจ้า

๑.ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมันหรือเป็นคุณลักษณะที่มีนการกระทำของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่ดั้งเดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้น

๓.ความแตกต่างของความประสงค์กับความต้องการและการเลือกสรร

นอกเหนือจาก ทัศนะต่างๆของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ยังมีทัศนะของบรรดานักปรัชญาอิสลามที่กล่าวถึง ความเป็นจริงของความประสงค์ของพระเจ้า และรายละเอียดในความลึกซึ้ง ซึ่งเราจะกล่าวในประเด็นที่เหมาะสมกับเทววิทยาอิสลาม เป็นลำดับต่อไป

๓๐๔

 

   ความหมายความเป็นจริงของความประสงค์ของมนุษย์

   ในขณะที่มนุษย์ได้กระทำการงานหนึ่งการงานใด และเขาเป็นผู้เลือกสรรในการกระทำของเขา ดังนั้นมีสภาพหนึ่งที่เกิดขึ้นในตัวเขา นั่นคือ สภาพของความประสงค์ของมนุษย์ เป็นสภาพภายในหรือเกิดจากจิตใจของเขา ซึ่งรับรู้ด้วยการรับรู้โดยตรงและไม่ได้ใช้สื่อ และมิได้มีความหมายว่า การอธิบายในความเป็นจริงนั้น มีความง่ายดายยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการให้คำนิยามต่างๆมากมายในความประสงค์ของมนุษย์ บางสำนักคิดกล่าวว่า ความประสงค์คือ การมีความเชื่อว่า การมีประโยชน์ในการกระทำ หมายถึง ก่อนที่มนุษย์จะกระทำการงานหนึ่งการงานใด มีความเชื่อว่า การงานที่จะกระทำนั้น ต้องมีประโยชน์ดังนั้น นี่คือความหมายของ ความประสงค์ของมนุษย์ และในบางครั้ง ความประสงค์นี้ ถูกเรียกว่า จุดประสงค์ที่มีต่อการกระทำ ด้วยเหตุนี้ ความหมายของความประสงค์ก็คือ จุดประสงค์ของมนุษย์ที่มีต่อการกระทำ และตรงกันข้ามกับทัศนะนี้ ยังมีสำนักคิดหนึ่งที่ได้กล่าวว่า ความประสงค์ มิได้หมายถึง จุดประสงค์ของมนุษย์ และการมีประโยชน์ในการกระทำ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดทัศนะต่างๆในการให้ความหมายของ ความประสงค์ของมนุษย์ และจากทัศนะที่มีความคิดเห็นว่า ความประสงค์ของมนุษย์ คือ การมีความเชื่อว่า มีประโยชน์ในการกระทำ และมีความรู้สึกอยากที่จะกระทำ ดังนั้น ความรู้สึกอยากนี้ คือ ความประสงค์ของเขา และบางครั้งเรียกความประสงค์ว่า ความต้องการที่จะกระทำการงานหนึ่ง  ซึ่งตรงกันข้ามกับความต้องการที่จะละทิ้งการกระทำอันนั้น

๓๐๕

 และบางทัศนะกล่าวว่า ความประสงค์(ความประสงค์) คือ ความรู้สึกหนึ่งที่อยู่ในตัวของมนุษย์ หลังจากที่เขามีความรู้ในผลประโยชน์ของการกระทำนั้น และก่อนที่จะกระทำการงานนั้นขึ้นมา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เขาต้องกระทำมากกว่าที่จะไม่กระทำ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า ทัศนะทั้งหลายในการอธิบายความหมายของคำว่า ความประสงค์ นั้น มีเหตุผลและข้อพิสูจน์มากมาย ซึ่งทั้งหมดนั้นอยู่เหนือการเรียบเรียงหนังสือนี้ แต่สิ่งที่ควรรู้และสังเกต ก็คือ การอธิบายความหมายของ ความประสงค์ ในมนุษย์มีขอบเขตจำกัด เพราะว่า การมีอยู่ของมนุษย์นั้น มีขอบเขตจำกัด และความประสงค์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีขอบเขต ในขณะที่พระเจ้านั้นไม่มีขอบเขตในการมีอยู่ของพระองค์ ดังนั้นความหมายของ ความประสงค์ ในพระเจ้า จึงมีความหมายทีแตกต่างกับความประสงค์ในมนุษย์

   ทัศนะต่างๆของนักเทววิทยาอิสลามในการอธิบายความหมาย

 ความประสงค์ของพระเจ้า

   กล่าวไปแล้วว่า ความหมายของ ความประสงค์ในพระเจ้า บรรดานักเทววิทยาและปรัชญาอิสลามได้ให้หลายความหมายด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.ความประสงค์ในพระเจ้า คือ พระองค์ทรงกระทำการงานใดการงานหนึ่งโดยที่ไม่มีการบังคับใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ในพระเจ้า คือ การมีพลังอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์

๓๐๖

๓.ความประสงค์ในพระเจ้า มีอยู่ สอง ความหมาย กล่าวคือ ความประสงค์ในอาตมัน คือ การมีความรักในตนเองและความสมบูรณ์แบบของพระองค์ อีกความหมายของความประสงค์ กล่าวคือ ความประสงค์ในการกระทำ หมายถึง พระเจ้าทรงมีความพึงพอพระทัยในการเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์

๔.ความประสงค์ คือ ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้าในการปกครองที่ประเสริฐที่สุด

ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของบรรดานักปรัชญาอิสลาม

๕.ความประสงค์ คือ การเลือกสรรของพระผู้เป็นเจ้า หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำที่เป็นอิสระในการเลือกสรร และไม่มีการบังคับใดๆในการกระทำของพระองค์ ดังนั้นการอธิบายในความหมายนี้ มิได้ถือว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า และเช่นเดียวที่อธิบายความหมายของ ความรู้ หมายถึง การไม่รู้ และมิได้ถือว่า ความรู้ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า

   ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้าและในการกระทำของพระองค์

   มีคำถามว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในประเภทใดของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำของพระองค์? ความสำคัญของคำถามทั้งหลายนี้แสดงให้เห็นว่า ทัศนะที่สี่ กล่าวว่า  ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมัน และทัศนะที่สอง กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำ

๓๐๗

และในทัศนะที่สามยอมรับว่า ความประสงค์ เป็น คุณลักษณะทั้งสองประเภท ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นก่อนทีจะอธิบายรายละเอียดของความหมายทั้งหลาย มากำหนดให้ชัดเจนว่า ความประสงค์ นั้น เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ จะกล่าวได้ว่า ความประสงค์ มีอยู่ สอง ระดับขั้น

๑.ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ในการกระทำของพระองค์

ส่วนมากของบรรดานักเทววิทยาและปรัชญา มีความเห็นว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า หมายถึง ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมในการมีระบบระเบียบที่สมบูรณ์แบบในการบริหารและดูแลของพระองค์

สามารถอธิบายได้ว่า ทัศนะนี้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้ในความเป็นระบบระเบียบที่สมบูรณ์แบบก่อนการสร้างโลก และความรู้นี้ ยังเป็นสาเหตุทำให้โลกนี้เกิดขึ้นและความประสงค์ ก็คือ ความรู้นี้

ดังนั้น ทัศนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะว่าจากการสังเกตุในความหมายของความประสงค์ มิได้มีความหมายเดียวกับการมีความรู้ อีกทั้งในวจนะได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า การมีความรู้ มิใช่ ความประสงค์

หากว่า เราไม่ยอมรับว่า ความประสงค์ มีความหมายเดียวกับการมีความรู้ดั้งเดิมของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของอิรอดะฮ๋ คือ การเลือกสรรในการกระทำของพระองค์ ซึ่งเป็นความหมายที่ห้า ด้วยเหตุนี้ ความประสงค์ ถือว่าเป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า และในกรณีที่กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระผู้เป็นเจ้า เหมือนกับ การให้ความรักและความพึงพอพระทัย

๓๐๘

 เพราะฉะนั้น ความประสงค์ของพระเจ้า มีความหมายว่า การเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์นั้น มาจากการให้ความรักและความพึงพอพระทัย การกระทำนั้น จึงจะเกิดขึ้นมาได้ และจากความหมายนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าความหมายของความประสงค์ มิได้มีความหมายเดียวกับการให้ความรักและความพึงพอพระทัย และการให้ความหมายของความประสงค์ในทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำที่เกิดจากระดับขั้นของการกระทำของพระเจ้า  หมายถึง การเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย กล่าวได้ว่า สติปัญญายอมรับว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสถานที่และเวลาที่ถูกกำหนด บ่งบอกถึง การมีความรู้และการให้ความรัก อีกทั้งยังเป็นความประสงค์ของพระเจ้า ที่มีต่อการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ คุณลักษณะความประสงค์ คือ การมีความสัมพันธ์ของพระผู้เป็นเจ้ากับการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย

และในอีกทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า เพราะว่า เกิดขึ้นมาจากการมีความสัมพันธ์ของพระองค์กับการกระทำที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่การกระทำของพระเจ้ามีองค์ประกอบที่สมบูรณ์พร้อมที่จะเกิดขึ้น เมื่อนั้นจะกล่าวได้ว่า พระเจ้ามีความประสงค์ กล่าวคือ มีความประสงค์ที่จะทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น

๓๐๙

   การมีมาดั้งเดิมหรือการเพิ่งเกิดขึ้นมาของความประสงค์ในพระเจ้า

   หลังจากที่อธิบายความหมายของ ความประสงค์ และเป็นที่กระจ่างชัดสำหรับเราแล้วนั้น จะมากล่าวในคำถามที่เกี่ยวกับความประสงค์ของพระเจ้า ว่า มีมาดั้งเดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมา จะเห็นได้ว่ามีทัศนะต่างๆมากมายและมีความแตกต่างกันในสำนักคิดของเทววิทยาอิสลาม  โดยสำนักคิดอัชอะรี มีความเชื่อว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่อยู่เหนืออาตมันของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม ในทางตรงข้ามกับความเชื่อของสำนักคิดอื่น ที่กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งมีการเกิดขึ้น แต่มีความเห็นที่ไม่ตรงกันในสถานที่การเกิดขึ้นของความประสงค์ เช่น สำนักคิดกะรอมียะฮ์ มีความเห็นว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้าและเพิ่งเกิดขึ้นในอาตมันของพระองค์ แต่ในทัศนะของอะบูฮาชิม ญุบบาอีย์และกลุ่มหนึ่งของสำนักคิดมุตะซิละฮ์ กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีสถานที่ จากการอธิบายในประเภทของความประสงค์ทั้งสอง คือ ความประสงค์ในอาตมัน และในการกระทำ ทำให้เข้าใจได้ว่า ความประสงค์ในอาตมัน เป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมันและเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระเจ้า ดังนั้น ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม เหมือนกับอาตมัน และความประสงค์ในการกระทำ เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการมีความสัมพันธ์ของอาตมันและการกระทำของพระเจ้า

๓๑๐

 และการกระทำของพระเจ้านั้น เพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้น ความประสงค์ของพระองค์ ก็เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นเช่นกัน และได้กล่าวผ่านไปแล้วว่า สาเหตุหรือที่มาของการกระทำของพระเจ้า มิได้เกิดขึ้นมาจากอาตมันของพระเจ้า อย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากสภาวะของการกระทำนั้น

  ความแตกต่างกันระหว่างความประสงค์,ความต้องการและการเลือกสรร

   นอกเหนือจาก การมีคุณลักษณะ ความประสงค์ของพระเจ้า ยังมีคุณลักษณะอื่นๆเช่น ความประสงค์ ความต้องการ และการเลือกสรร

มีคำถามเกิดขึ้นว่า ทั้งสามคุณลักษณะที่กล่าวไปนั้น มีความหมายเดียวกันหรือมีความหมายแตกต่างกัน?

สำหรับคำตอบ ก็คือ มีสองทัศนะด้วยกัน

กลุ่มหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม กล่าวว่า ความประสงค์และความต้องการ มีความหมายเดียวกัน และไม่มีความแตกต่างกัน และบางกลุ่มมีความเห็นว่า ระหว่างความประสงค์กับความต้องการมีความหมายที่แตกต่างกัน คือ ความประสงค์ หมายถึง การมีความรู้ในผลประโยชน์และผลเสียของการกระทำ ส่วนมะชียะฮ์(ความต้องการ) หมายถึง ความต้องการที่จะกระทำหรือละทิ้งการงานนั้น  ความต้องการที่เกิดขึ้นจากการมีความรู้ในประโยชน์และผลเสียของการงานนั้น และกล่าวเช่นกันว่า การเชื่อมความสัมพันธ์ของความต้องการ คือ ผลของการกระทำหนึ่ง และการเชื่อมความสัมพันธ์ของความประสงค์ คือ การมีอยู่ของความประสงค์

๓๑๑

จะเห็นได้ว่าในการอธิบายความหมายของความประสงค์ ระหว่างความประสงค์กับการเลือกสรรนั้นไม่มีความแตกต่างกัน และความหมายที่แท้จริงของความประสงค์ คือ ความเป็นผู้เลือกสรรของพระเจ้า และบางทัศนะกล่าวว่า การเลือกสรร หมายถึง การกระทำหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความรู้และความประสงค์ และความต้องการและการมีอำนาจในการบริหาร ซึ่งจากการมีความสัมพันธ์ของผู้กระทำกับการกระทำ คุณลักษณะการเลือกสรรรได้เกิดขึ้น

เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความประสงค์ของพระเจ้า

    หลังจากที่อธิบายความหมายของ คำว่า ความประสงค์ของพระเจ้า และประเภทต่างๆของความประสงค์ ไปแล้ว บัดนี้ จะมาอธิบายในเหตุผลต่างๆของบรรดานักเทววิทยาอิสลามกัน

เหตุผลหนึ่งที่ถูกรู้จักกันโดยทั่วไป คือ บางการกระทำของพระเจ้านั้น ถูกทำให้เกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด เช่น การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในเวลาที่ถูกกำหนดและก่อนหน้านี้สิ่งนี้ไม่มีอยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในเวลาดังกล่าวนั้น จะต้องการสิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น และสิ่งที่เป็นตัวกำหนดนั้น คือ สาเหตุของการเกิดขึ้นของการมีสิ่งนั้นในเวลาที่ได้กำหนดไว้ ไม่ช้าและก่อนกำหนด และจะเห็นได้ว่า การมีความสามารถและความรอบบรู้ของพระเจ้านั้น ไม่ต้องการสิ่งที่เป็นตัวกำหนด เพราะว่า ความสัมพันธ์ของความสามารถกับเวลานั้น มีความเท่าเทียมกัน

๓๑๒

จะไม่กล่าวว่า พระเจ้ามีความสามารถในเวลาหนึ่งและไม่มีความสามารถในอีกเวลาหนึ่ง แต่กล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีความสามารถในทุกๆเวลา และในความรู้ของพระองค์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาที่ได้กำหนดนั้น มิใช่ความรู้และความสามารถ แต่สิ่งนั้น คือ ความประสงค์นั่นเอง

   ความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ(อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์ และตัชริอีย์)

    สิ่งได้กล่าวไปแล้วนั้นคือ ความประสงค์ของพระเจ้า เป็นความประสงค์ในการสร้างสรรค์ และนอกจากความประสงค์ประเภทนี้แล้ว ยังมีความประสงค์อีกประเภทหนึ่งนั่นคือ ความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์ และเป็นสาเหตุทำให้การกระทำนั้น เป็นการกระทำที่จำเป็นต้องกระทำ(วาญิบ)หรือเป็นการกระทำที่สมควรกระทำ(มุสตะฮับ)หรือเป็นการกระทำที่ไม่สมควรกระทำ(มักรุฮ์)และในทางตรงกันข้าม การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำ(ฮะรอม) ดังนั้น ความประสงค์ในการสร้างสรรค์เกิดจากการมีอยู่ของสิ่งทั้งหลาย และส่วนความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัตินั้น เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับการกระทำของมนุษย์

ความแตกต่างอีกอันหนึ่งของความประสงค์ทั้งสองประเภท คือ ในความประสงค์ในการสร้างสรรค์ไม่มีมุรอด(สิ่งที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างความประสงค์กับผู้กระทำ) แต่มีในความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ

๓๑๓

   ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้า ในอัลกุรอานและวจนะ

    คำว่า อิรอดะฮ์ในภาษาอาหรับ มาจากรากศัพท์ของคำว่า ราวด์ หมายถึง การกลับไปและการกลับมาที่มีความต้องการในสิ่งหนึ่ง ดังนั้น จากความหมายของคำนี้ มีอยู่ สามองค์ประกอบด้วยกัน ดังนี้

๑.ความต้องการในสิ่งหนึ่งที่มีความรักในสิ่งนั้น

๒.การมีความหวังที่จะได้รับในสิ่งนั้น

๓.การกระทำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นด้วยตนเองหรือผู้อื่น

ส่วนคำว่า มะชียะฮ์ในด้านภาษา ซึ่งจากส่วนมากของนักอักษรศาสตร์อาหรับให้ความหมายเดียวกันกับความประสงค์(อิรอดะฮ์  และบางคนกล่าวว่า มะชียะฮ์ หมายถึง การมีความรักที่เกิดขึ้นหลังการมโนภาพ และการตัดสินใจ และหลังจากนั้น ความประสงค์ จึงจะเกิดขึ้นมาทีหลัง

แม้ว่าอัลกุรอานมิได้กล่าวถึงทั้งสองคุณลักษณะดังกล่าว นั่นก็คือ อิรอดะฮ์และมะชียะฮ์ ในรูปของอิสมุลฟาอิล (นามของผู้กระทำ) หรือศิฟัต มุชับบะฮะ(คุณลักษณะหนึ่ง) ของพระเจ้า แต่ทว่าได้กล่าวในรูปแบบของกริยาในโองการทั้งหลายมากมาย

และโองการหนึ่งได้กล่าวว่า ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้านั้น ครอบคลุมถึงทุกสิ่งและทุกอย่าง และการกระทำของพระองค์ได้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น

ดั่งในโองการที่กล่าวว่า

 “ แท้จริงเมื่อเราปรารถนาคำตรัสของเราแก่สิ่งใด เราก็จะกล่าวแก่มันว่า จงเป็น แล้วมันก็เป็นขึ้น”

(บทอันนะห์ล์ โองการที่ ๔๐)

๓๑๔

จากโองการนี้ที่ได้กล่าวว่า จงเป็นแล้วมันก็เป็นขึ้น  บ่งบอกถึงความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า มิได้เป็นเพียงคำกล่าวอย่างเดียว

และบางโองการก็กล่าวถึง ความไม่มีขอบเขตจำกัดในความประสงค์ของพระองค์ ความว่า  

“อัลลอฮ์ทรงบังเกิดสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง”

(บทอันนูร โองการที่๔๕)

และเช่นเดียวกัน อัลกุรอานได้กล่าวย้ำถึงไม่มีอำนาจใดจะเท่าเทียมอำนาจและความประสงค์ของพระเจ้าได้
จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)ใครเล่าจะมีอำนาจอันใดที่จะป้องกันพวกเจ้าจากอัลลอฮ์หากพระองค์ทรงประสงค์ให้ความทุกข์แก่พวกเจ้า หรือพระองค์ทรงประสงค์จะให้ประโยชน์แก่พวกเจ้า แต่ทว่า อัลลอฮ์ทรงตระหนักยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (บทอัลฟัตฮ์ โองการที่๑๑)

แน่นอนที่สุด จะกล่าวในประเด็นของ ความเป็นวิทยปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าถึง การไม่มีขอบเขตในอำนาจและความประสงค์ของพระองค์ แต่มิได้หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่กระทำการงานที่ไม่ดีหรือไม่มีประโยชน์ได้ แต่ทว่า ด้วยกับการมีวิทยปัญญาของพระองค์ บ่งบอกว่า ทุกการกระทำของพระองค์นั้น มีประโยชน์ต่อสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา

และบางโองการได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าในการกำหนดบทบัญญัติไว้เช่นกัน  ในบทอัลบะกอเราะ ดังนี้
“อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวก แก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า”

(บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่๑๘๕)

๓๑๕

หลังจากที่อัลลอฮ์ได้กล่าวถึงหลักการถือศีลอดและอนุญาตให้บรรดาผู้ป่วยและผู้เดินทาง ไม่ต้องถือศีลอดได้ และได้กล่าวว่า ความประสงค์ของพระองค์ในการกำหนดบทบัญญัตินั้น ไม่ต้องการความยากลำบาก แต่ต้องการความสะดวกสบาย

และอัลกุรอานได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระองค์ หลังจากที่กล่าวหลักการปฏิบัติ ในบทอัลมาอิดะ ได้กล่าวไว้ดังนี้

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงชี้ขาดตามที่พระองค์ทรงประสงค์” (บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๑)

นอกเหนือจาก โองการทั้งหลายของอัลกรุอานที่ได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้า ยังมีพระวจนะต่างๆที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน  และสิ่งที่ต้องสังเกตในวจนะทั้งหลาย นั่นคือ ส่วนมากของวจนะกล่าวถึง ความประสงค์ในการกระทำของพระเจ้าที่เป็นคุณลักษณะหนึ่งไม่ได้ที่อยู่นอกเหนือจากอาตมันของพระองค์และเป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม เช่น วจนะหนึ่งที่ผู้รายงานได้ถามท่านอิมามว่า

“พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความประสงค์ที่มีมาดั้งเดิมกระนั้นหรือ?”

ท่านอิมามได้ตอบว่า

“พระเจ้า เป็นผู้ทรงประสงค์ที่ไม่มีสิ่งใดอยู่เคียงข้างพระองค์ และทรงมีความรู้และมีความสามารถที่มีมาแต่ดั้งเดิม หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงมีความประสงค์เกิดขึ้น”

(อุศูลุลกาฟี เล่มที่หนึ่ง หน้าที่ ๑๐๙ วจนะที่ ๑)

๓๑๖

จากวจนะนี้แสดงให้เห็นว่า ความประสงค์ของพระเจ้าในการกระทำนั้น ไม่มีได้มีมาแต่ดั้งเดิม ก็เพราะว่า เมื่อได้เชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับสิ่งสร้างของพระองค์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ การกระทำของสิ่งถูกสร้างเกิดจากการกระทำของพระเจ้า  และการกระทำของพระองค์เพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่คุณลักษณะในการกระทำของพระองค์ จะมีมาแต่ดั้งเดิม  และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามริฎอ (อ) ได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าในการกระทำและความแตกต่างของความประสงค์ของพระองค์กับมนุษย์ ความว่า

“ความประสงค์ (ความประสงค์) ของสิ่งถูกสร้าง หมายถึง การตัดสินใจหลังจากนั้นได้กระทำในสิ่งที่ได้ตัดสินใจไป แต่ความประสงค์ของพระเจ้า หมายถึง  การเกิดขึ้นที่ไม่มีการใช้ความคิดและการตัดสินใจ และทุกๆคุณลักษณะที่เป็นแบบนี้ ไม่มีในพระองค์และเป็นคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ดังนั้น ความประสงค์ (ความประสงค์)ของพระเจ้า คือ การกระทำของพระองค์ และมิใช่สิ่งอื่นใด พระองค์ทรงกล่าว จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมา โดยที่ปราศจากการพูดและการใช้ลิ้นในการสื่อสาร และไม่มีการตัดสินใจและการใช้ความคิด และไม่ต้องการสิ่งพึ่งพา เพราะพระองค์ก็ไม่ต้องการสิ่งพึ่งพาเช่นกัน”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๐ วจนะที่ ๓)

และบางวจนะกล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าว่า เป็นสิ่งที่ถูกสร้างและเพิ่งเกิดขึ้น

๓๑๗

ดั่งวจนะของท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ทรงสร้างความประสงค์ด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยความประสงค์ของพระองค์”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๐ วจนะที่ ๔)

ในวจนะหนึ่งจากท่านอิมามซอดิกได้กล่าวถึง ความแตกต่างของความรู้กับความประสงค์ ดังนี้

“ความรู้ของพระเจ้า มิใช่ความประสงค์ของพระองค์ เจ้ามิได้กล่าวหรือว่า ฉันจะกระทำสิ่งนี้ หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ และเจ้าไม่ได้กล่าวว่า ฉันจะกระทำสิ่งนี้ หากอัลลอฮ์ทรงรู้ ดังนั้น คำกล่าวของเจ้า ที่ว่า หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ บ่งบอกถึง พระองค์ไม่ทรงประสงค์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์ การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้น และพระองค์ทรงมีความรู้ในความประสงค์ของพระองค์” (อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๙ วจนะที่ ๒)

๓๑๘

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

อิรอดะฮ์ หมายถึง ความประสงค์: Act of will

อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์ หมายถึง ความประสงค์ของพระเจ้า: Divine will

ความประสงค์ในอาตมัน อิรอดะฮ์ซาตีย์

ความประสงค์ในการกระทำ อิรอดะฮ์ เฟียะลีย์

มะชียะฮ์ หมายถึง ความต้องการ  : Radical will

การเลือกสรร อิคติยาร : Choice

ความประสงค์ในการสร้างสรรค์ อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์

ความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ อิริดะฮ์ ตัชรีอีย์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.บรรดานักเทววิทยาอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันในความหมายของ ความประสงค์ของพระเจ้า

 (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์)

บางคนกล่าวว่า ความประสงค์ของพระเจ้า หมายถึง การกระทำของพระเจ้าที่ไม่มีการบังคับใดๆเกิดขึ้น และบางคนมีความเชื่อว่า คือ การมีความสามารถและการชี้ขาดของพระเจ้า และบางสำนักคิดกล่าวว่า หมายถึง การเลือกสรรของพระองค์

๓๑๙

๒.ความประสงค์ของพระเจ้า มีอยู่ สองระดับขั้น

(๑).ความประสงค์ในอาตมันที่มีมาแต่ดิม

(๒).ความประสงค์ในการกระทำที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

๓.เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ถึง การมีความประสงค์ของพระเจ้า  คือ การกระทำของพระเจ้านั้นเกิดขึ้นในเวลาที่ได้กำหนดไว้และมีสิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น ก็คือ ความประสงค์ที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น

๔.พระเจ้าทรงมีความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ และความแตกต่างของความประสงค์ทั้งสองของพระองค์ ก็คือ ในประเภทแรก ไม่มีความสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์ แต่ในประเภทที่สองนั้นมีความสัมพันธ์กับมนุษย์

๕.อัลกุรอานได้กล่าวว่า ความประสงค์ของพระเจ้า คือ เมื่อพระองค์ทรงตรัสว่า จงเป็นสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมาทันที และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวถึง ความแตกต่างของความประสงค์ของพระเจ้าและมนุษย์ว่า ความประสงค์ของพระเจ้านั้นไม่มีที่สิ้นสุดและขอบเขตจำกัด

๓๒๐

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450