บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม8%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339708 / ดาวน์โหลด: 4958
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

นักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้กล่าวว่า ความหมายของคำว่า องค์แรกและองค์สุดท้าย ก็คือ ความหมายเดียวกับการมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ และเช่นเดียวกัน ในวจนะหนึ่งได้กล่าวเน้นย้ำ ดั่งบทเทศนาหนึ่งของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่ได้กล่าวว่า

“พระเจ้า เป็นองค์แรกที่ไม่มีสิ่งใดมาก่อนหน้าพระองค์ และเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีสิ่งใดมาหลังพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๙๑ )

และท่านอิมามซอดิก ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงเป็นองค์แรกที่ไม่มีการเริ่มต้น และเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์ทรงมีมาแต่เดิม และพระองค์ทรงมีอยู่เสมอ”

 (อุศูลุลอัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๖ )

จากวจนะทั้งหลายที่ได้กล่าวถึง พระผู้เป็นเจ้าว่า เป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย มิได้หมายความว่า พระองค์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรก และเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะต้องสูญสลาย แต่ทว่า ความเป็นองค์แรกและองค์สุดท้ายของพระองค์ หมายถึง พระองค์ไม่มีคำว่า มาก่อนหรือมาหลัง เพราะพระองค์ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีที่สิ้นสุด

โองการหนึ่งของอัล กุรอาน กล่าวว่า

ทุก ๆ สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินย่อมสูญสลาย”

และพระพักตร์ของพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะคงเหลืออยู่”

( บทอัรเราะห์มาน โองการที่ ๒๖-๒๗)

และอีกโองการหนึ่ง กล่าวว่า

“และอย่าวิงวอนขอต่อพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮ์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์” ( บทอัลกอศ็อด โองการที่ ๘๘)

๓๐๑

การอธิบายความหมายของคำว่า พระพักตร์ หมายถึง ตัวตนและอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า  ด้วยเหตุนี้ โองการทั้งหลายได้กล่าวถึง การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า

    ศัพท์วิชาการท้ายบท

: Life การมีชีวิต ฮายาต

: Life of God การมีชีวิตของพระเจ้า ฮายาต อิลาฮีย์

: Eternity การมีมาแต่เดิม อะซะลียัต

: Perenniality ความเป็นนิรันดร์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.การมีชีวิต เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่สมบูรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า มีความหมายครอบคลุมถึง  ๒ คุณลักษณะ กล่าวคือ ความรู้และความสามารถ

๒.การมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เป็นวัตถุ เช่น มนุษย์และสัตว์ มีความเจริญเติบโต ต้องการอาหารและปัจจัยสี่ และการขยายเผ่าพันธ์ สิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบของการมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เป็นวัตถุ และจะไม่มีอยู่ในสิ่งที่มิใช่วัตถุ

๓.ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า คือ ในอาตมันของพระองค์มีความรู้และความสามารถ และการมีชีวิต เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

๓๐๒

๔.นอกเหนือจาก เหตุผลโดยทั่วไปในการพิสูจน์การมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบ เช่น ความรู้และความสามารถ เหตุผลเหล่านั้นยังใช้พิสูจน์การมีชีวิตของพระเจ้าได้อีกด้วย

๕.อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า การมีชีวิตอยู่ของพระองค์นั้น มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีการเปลี่ยนแปลง และในวจนะก็กล่าวไว้เช่นเดียวกัน

๖.และอีกคุณลักษณะหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ การมีมาแต่เดิม และความเป็นนิรันดร์ ความหมายของคุณลักษณะนี้ ก็คือ การมีอยู่ของพระเจ้านั้น อยู่เหนือกาลเวลา ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีอยู่และจะมีอยู่ตลอดไป

๗.ความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า เป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแยกการมีอยู่ออกจากพระองค์ได้ ดังนั้น พระเจ้า ทรงเป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย และนี่คือ ความหมายของการมีมาดั้งเดิมและความเป็นนิรันดร์

๘.อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย ซึ่งแสดงว่า พระเจ้าทรงมีมาแต่เดิมและมีความเป็นนิจนิรันดร์

๓๐๓

   บทที่ ๗

   ความประสงค์ของพระเจ้า (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์)

   ในระหว่างคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า คือ ความประสงค์ของพระองค์ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ แม้ว่าบรรดานักเทววิทยาอิสลามมีความคิดเห็นที่ตรงกันว่า พระเจ้านั้นมีคุณลักษณะนี้ แต่มีความแตกต่างกันในการอธิบายรายละเอียด

คำถามทั้งหลายเกิดขึ้นในประเด็นนี้ คือ

การให้คำนิยามของ ความประสงค์ของพระเจ้า

๑.ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมันหรือเป็นคุณลักษณะที่มีนการกระทำของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่ดั้งเดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้น

๓.ความแตกต่างของความประสงค์กับความต้องการและการเลือกสรร

นอกเหนือจาก ทัศนะต่างๆของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ยังมีทัศนะของบรรดานักปรัชญาอิสลามที่กล่าวถึง ความเป็นจริงของความประสงค์ของพระเจ้า และรายละเอียดในความลึกซึ้ง ซึ่งเราจะกล่าวในประเด็นที่เหมาะสมกับเทววิทยาอิสลาม เป็นลำดับต่อไป

๓๐๔

 

   ความหมายความเป็นจริงของความประสงค์ของมนุษย์

   ในขณะที่มนุษย์ได้กระทำการงานหนึ่งการงานใด และเขาเป็นผู้เลือกสรรในการกระทำของเขา ดังนั้นมีสภาพหนึ่งที่เกิดขึ้นในตัวเขา นั่นคือ สภาพของความประสงค์ของมนุษย์ เป็นสภาพภายในหรือเกิดจากจิตใจของเขา ซึ่งรับรู้ด้วยการรับรู้โดยตรงและไม่ได้ใช้สื่อ และมิได้มีความหมายว่า การอธิบายในความเป็นจริงนั้น มีความง่ายดายยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการให้คำนิยามต่างๆมากมายในความประสงค์ของมนุษย์ บางสำนักคิดกล่าวว่า ความประสงค์คือ การมีความเชื่อว่า การมีประโยชน์ในการกระทำ หมายถึง ก่อนที่มนุษย์จะกระทำการงานหนึ่งการงานใด มีความเชื่อว่า การงานที่จะกระทำนั้น ต้องมีประโยชน์ดังนั้น นี่คือความหมายของ ความประสงค์ของมนุษย์ และในบางครั้ง ความประสงค์นี้ ถูกเรียกว่า จุดประสงค์ที่มีต่อการกระทำ ด้วยเหตุนี้ ความหมายของความประสงค์ก็คือ จุดประสงค์ของมนุษย์ที่มีต่อการกระทำ และตรงกันข้ามกับทัศนะนี้ ยังมีสำนักคิดหนึ่งที่ได้กล่าวว่า ความประสงค์ มิได้หมายถึง จุดประสงค์ของมนุษย์ และการมีประโยชน์ในการกระทำ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดทัศนะต่างๆในการให้ความหมายของ ความประสงค์ของมนุษย์ และจากทัศนะที่มีความคิดเห็นว่า ความประสงค์ของมนุษย์ คือ การมีความเชื่อว่า มีประโยชน์ในการกระทำ และมีความรู้สึกอยากที่จะกระทำ ดังนั้น ความรู้สึกอยากนี้ คือ ความประสงค์ของเขา และบางครั้งเรียกความประสงค์ว่า ความต้องการที่จะกระทำการงานหนึ่ง  ซึ่งตรงกันข้ามกับความต้องการที่จะละทิ้งการกระทำอันนั้น

๓๐๕

 และบางทัศนะกล่าวว่า ความประสงค์(ความประสงค์) คือ ความรู้สึกหนึ่งที่อยู่ในตัวของมนุษย์ หลังจากที่เขามีความรู้ในผลประโยชน์ของการกระทำนั้น และก่อนที่จะกระทำการงานนั้นขึ้นมา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เขาต้องกระทำมากกว่าที่จะไม่กระทำ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า ทัศนะทั้งหลายในการอธิบายความหมายของคำว่า ความประสงค์ นั้น มีเหตุผลและข้อพิสูจน์มากมาย ซึ่งทั้งหมดนั้นอยู่เหนือการเรียบเรียงหนังสือนี้ แต่สิ่งที่ควรรู้และสังเกต ก็คือ การอธิบายความหมายของ ความประสงค์ ในมนุษย์มีขอบเขตจำกัด เพราะว่า การมีอยู่ของมนุษย์นั้น มีขอบเขตจำกัด และความประสงค์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีขอบเขต ในขณะที่พระเจ้านั้นไม่มีขอบเขตในการมีอยู่ของพระองค์ ดังนั้นความหมายของ ความประสงค์ ในพระเจ้า จึงมีความหมายทีแตกต่างกับความประสงค์ในมนุษย์

   ทัศนะต่างๆของนักเทววิทยาอิสลามในการอธิบายความหมาย

 ความประสงค์ของพระเจ้า

   กล่าวไปแล้วว่า ความหมายของ ความประสงค์ในพระเจ้า บรรดานักเทววิทยาและปรัชญาอิสลามได้ให้หลายความหมายด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.ความประสงค์ในพระเจ้า คือ พระองค์ทรงกระทำการงานใดการงานหนึ่งโดยที่ไม่มีการบังคับใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ในพระเจ้า คือ การมีพลังอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์

๓๐๖

๓.ความประสงค์ในพระเจ้า มีอยู่ สอง ความหมาย กล่าวคือ ความประสงค์ในอาตมัน คือ การมีความรักในตนเองและความสมบูรณ์แบบของพระองค์ อีกความหมายของความประสงค์ กล่าวคือ ความประสงค์ในการกระทำ หมายถึง พระเจ้าทรงมีความพึงพอพระทัยในการเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์

๔.ความประสงค์ คือ ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้าในการปกครองที่ประเสริฐที่สุด

ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของบรรดานักปรัชญาอิสลาม

๕.ความประสงค์ คือ การเลือกสรรของพระผู้เป็นเจ้า หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำที่เป็นอิสระในการเลือกสรร และไม่มีการบังคับใดๆในการกระทำของพระองค์ ดังนั้นการอธิบายในความหมายนี้ มิได้ถือว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า และเช่นเดียวที่อธิบายความหมายของ ความรู้ หมายถึง การไม่รู้ และมิได้ถือว่า ความรู้ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า

   ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้าและในการกระทำของพระองค์

   มีคำถามว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในประเภทใดของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำของพระองค์? ความสำคัญของคำถามทั้งหลายนี้แสดงให้เห็นว่า ทัศนะที่สี่ กล่าวว่า  ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมัน และทัศนะที่สอง กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำ

๓๐๗

และในทัศนะที่สามยอมรับว่า ความประสงค์ เป็น คุณลักษณะทั้งสองประเภท ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นก่อนทีจะอธิบายรายละเอียดของความหมายทั้งหลาย มากำหนดให้ชัดเจนว่า ความประสงค์ นั้น เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ จะกล่าวได้ว่า ความประสงค์ มีอยู่ สอง ระดับขั้น

๑.ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ในการกระทำของพระองค์

ส่วนมากของบรรดานักเทววิทยาและปรัชญา มีความเห็นว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า หมายถึง ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมในการมีระบบระเบียบที่สมบูรณ์แบบในการบริหารและดูแลของพระองค์

สามารถอธิบายได้ว่า ทัศนะนี้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้ในความเป็นระบบระเบียบที่สมบูรณ์แบบก่อนการสร้างโลก และความรู้นี้ ยังเป็นสาเหตุทำให้โลกนี้เกิดขึ้นและความประสงค์ ก็คือ ความรู้นี้

ดังนั้น ทัศนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะว่าจากการสังเกตุในความหมายของความประสงค์ มิได้มีความหมายเดียวกับการมีความรู้ อีกทั้งในวจนะได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า การมีความรู้ มิใช่ ความประสงค์

หากว่า เราไม่ยอมรับว่า ความประสงค์ มีความหมายเดียวกับการมีความรู้ดั้งเดิมของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของอิรอดะฮ๋ คือ การเลือกสรรในการกระทำของพระองค์ ซึ่งเป็นความหมายที่ห้า ด้วยเหตุนี้ ความประสงค์ ถือว่าเป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า และในกรณีที่กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระผู้เป็นเจ้า เหมือนกับ การให้ความรักและความพึงพอพระทัย

๓๐๘

 เพราะฉะนั้น ความประสงค์ของพระเจ้า มีความหมายว่า การเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์นั้น มาจากการให้ความรักและความพึงพอพระทัย การกระทำนั้น จึงจะเกิดขึ้นมาได้ และจากความหมายนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าความหมายของความประสงค์ มิได้มีความหมายเดียวกับการให้ความรักและความพึงพอพระทัย และการให้ความหมายของความประสงค์ในทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำที่เกิดจากระดับขั้นของการกระทำของพระเจ้า  หมายถึง การเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย กล่าวได้ว่า สติปัญญายอมรับว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสถานที่และเวลาที่ถูกกำหนด บ่งบอกถึง การมีความรู้และการให้ความรัก อีกทั้งยังเป็นความประสงค์ของพระเจ้า ที่มีต่อการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ คุณลักษณะความประสงค์ คือ การมีความสัมพันธ์ของพระผู้เป็นเจ้ากับการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย

และในอีกทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า เพราะว่า เกิดขึ้นมาจากการมีความสัมพันธ์ของพระองค์กับการกระทำที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่การกระทำของพระเจ้ามีองค์ประกอบที่สมบูรณ์พร้อมที่จะเกิดขึ้น เมื่อนั้นจะกล่าวได้ว่า พระเจ้ามีความประสงค์ กล่าวคือ มีความประสงค์ที่จะทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น

๓๐๙

   การมีมาดั้งเดิมหรือการเพิ่งเกิดขึ้นมาของความประสงค์ในพระเจ้า

   หลังจากที่อธิบายความหมายของ ความประสงค์ และเป็นที่กระจ่างชัดสำหรับเราแล้วนั้น จะมากล่าวในคำถามที่เกี่ยวกับความประสงค์ของพระเจ้า ว่า มีมาดั้งเดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมา จะเห็นได้ว่ามีทัศนะต่างๆมากมายและมีความแตกต่างกันในสำนักคิดของเทววิทยาอิสลาม  โดยสำนักคิดอัชอะรี มีความเชื่อว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่อยู่เหนืออาตมันของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม ในทางตรงข้ามกับความเชื่อของสำนักคิดอื่น ที่กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งมีการเกิดขึ้น แต่มีความเห็นที่ไม่ตรงกันในสถานที่การเกิดขึ้นของความประสงค์ เช่น สำนักคิดกะรอมียะฮ์ มีความเห็นว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้าและเพิ่งเกิดขึ้นในอาตมันของพระองค์ แต่ในทัศนะของอะบูฮาชิม ญุบบาอีย์และกลุ่มหนึ่งของสำนักคิดมุตะซิละฮ์ กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีสถานที่ จากการอธิบายในประเภทของความประสงค์ทั้งสอง คือ ความประสงค์ในอาตมัน และในการกระทำ ทำให้เข้าใจได้ว่า ความประสงค์ในอาตมัน เป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมันและเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระเจ้า ดังนั้น ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม เหมือนกับอาตมัน และความประสงค์ในการกระทำ เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการมีความสัมพันธ์ของอาตมันและการกระทำของพระเจ้า

๓๑๐

 และการกระทำของพระเจ้านั้น เพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้น ความประสงค์ของพระองค์ ก็เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นเช่นกัน และได้กล่าวผ่านไปแล้วว่า สาเหตุหรือที่มาของการกระทำของพระเจ้า มิได้เกิดขึ้นมาจากอาตมันของพระเจ้า อย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากสภาวะของการกระทำนั้น

  ความแตกต่างกันระหว่างความประสงค์,ความต้องการและการเลือกสรร

   นอกเหนือจาก การมีคุณลักษณะ ความประสงค์ของพระเจ้า ยังมีคุณลักษณะอื่นๆเช่น ความประสงค์ ความต้องการ และการเลือกสรร

มีคำถามเกิดขึ้นว่า ทั้งสามคุณลักษณะที่กล่าวไปนั้น มีความหมายเดียวกันหรือมีความหมายแตกต่างกัน?

สำหรับคำตอบ ก็คือ มีสองทัศนะด้วยกัน

กลุ่มหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม กล่าวว่า ความประสงค์และความต้องการ มีความหมายเดียวกัน และไม่มีความแตกต่างกัน และบางกลุ่มมีความเห็นว่า ระหว่างความประสงค์กับความต้องการมีความหมายที่แตกต่างกัน คือ ความประสงค์ หมายถึง การมีความรู้ในผลประโยชน์และผลเสียของการกระทำ ส่วนมะชียะฮ์(ความต้องการ) หมายถึง ความต้องการที่จะกระทำหรือละทิ้งการงานนั้น  ความต้องการที่เกิดขึ้นจากการมีความรู้ในประโยชน์และผลเสียของการงานนั้น และกล่าวเช่นกันว่า การเชื่อมความสัมพันธ์ของความต้องการ คือ ผลของการกระทำหนึ่ง และการเชื่อมความสัมพันธ์ของความประสงค์ คือ การมีอยู่ของความประสงค์

๓๑๑

จะเห็นได้ว่าในการอธิบายความหมายของความประสงค์ ระหว่างความประสงค์กับการเลือกสรรนั้นไม่มีความแตกต่างกัน และความหมายที่แท้จริงของความประสงค์ คือ ความเป็นผู้เลือกสรรของพระเจ้า และบางทัศนะกล่าวว่า การเลือกสรร หมายถึง การกระทำหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความรู้และความประสงค์ และความต้องการและการมีอำนาจในการบริหาร ซึ่งจากการมีความสัมพันธ์ของผู้กระทำกับการกระทำ คุณลักษณะการเลือกสรรรได้เกิดขึ้น

เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความประสงค์ของพระเจ้า

    หลังจากที่อธิบายความหมายของ คำว่า ความประสงค์ของพระเจ้า และประเภทต่างๆของความประสงค์ ไปแล้ว บัดนี้ จะมาอธิบายในเหตุผลต่างๆของบรรดานักเทววิทยาอิสลามกัน

เหตุผลหนึ่งที่ถูกรู้จักกันโดยทั่วไป คือ บางการกระทำของพระเจ้านั้น ถูกทำให้เกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด เช่น การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในเวลาที่ถูกกำหนดและก่อนหน้านี้สิ่งนี้ไม่มีอยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในเวลาดังกล่าวนั้น จะต้องการสิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น และสิ่งที่เป็นตัวกำหนดนั้น คือ สาเหตุของการเกิดขึ้นของการมีสิ่งนั้นในเวลาที่ได้กำหนดไว้ ไม่ช้าและก่อนกำหนด และจะเห็นได้ว่า การมีความสามารถและความรอบบรู้ของพระเจ้านั้น ไม่ต้องการสิ่งที่เป็นตัวกำหนด เพราะว่า ความสัมพันธ์ของความสามารถกับเวลานั้น มีความเท่าเทียมกัน

๓๑๒

จะไม่กล่าวว่า พระเจ้ามีความสามารถในเวลาหนึ่งและไม่มีความสามารถในอีกเวลาหนึ่ง แต่กล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีความสามารถในทุกๆเวลา และในความรู้ของพระองค์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาที่ได้กำหนดนั้น มิใช่ความรู้และความสามารถ แต่สิ่งนั้น คือ ความประสงค์นั่นเอง

   ความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ(อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์ และตัชริอีย์)

    สิ่งได้กล่าวไปแล้วนั้นคือ ความประสงค์ของพระเจ้า เป็นความประสงค์ในการสร้างสรรค์ และนอกจากความประสงค์ประเภทนี้แล้ว ยังมีความประสงค์อีกประเภทหนึ่งนั่นคือ ความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์ และเป็นสาเหตุทำให้การกระทำนั้น เป็นการกระทำที่จำเป็นต้องกระทำ(วาญิบ)หรือเป็นการกระทำที่สมควรกระทำ(มุสตะฮับ)หรือเป็นการกระทำที่ไม่สมควรกระทำ(มักรุฮ์)และในทางตรงกันข้าม การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำ(ฮะรอม) ดังนั้น ความประสงค์ในการสร้างสรรค์เกิดจากการมีอยู่ของสิ่งทั้งหลาย และส่วนความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัตินั้น เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับการกระทำของมนุษย์

ความแตกต่างอีกอันหนึ่งของความประสงค์ทั้งสองประเภท คือ ในความประสงค์ในการสร้างสรรค์ไม่มีมุรอด(สิ่งที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างความประสงค์กับผู้กระทำ) แต่มีในความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ

๓๑๓

   ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้า ในอัลกุรอานและวจนะ

    คำว่า อิรอดะฮ์ในภาษาอาหรับ มาจากรากศัพท์ของคำว่า ราวด์ หมายถึง การกลับไปและการกลับมาที่มีความต้องการในสิ่งหนึ่ง ดังนั้น จากความหมายของคำนี้ มีอยู่ สามองค์ประกอบด้วยกัน ดังนี้

๑.ความต้องการในสิ่งหนึ่งที่มีความรักในสิ่งนั้น

๒.การมีความหวังที่จะได้รับในสิ่งนั้น

๓.การกระทำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นด้วยตนเองหรือผู้อื่น

ส่วนคำว่า มะชียะฮ์ในด้านภาษา ซึ่งจากส่วนมากของนักอักษรศาสตร์อาหรับให้ความหมายเดียวกันกับความประสงค์(อิรอดะฮ์  และบางคนกล่าวว่า มะชียะฮ์ หมายถึง การมีความรักที่เกิดขึ้นหลังการมโนภาพ และการตัดสินใจ และหลังจากนั้น ความประสงค์ จึงจะเกิดขึ้นมาทีหลัง

แม้ว่าอัลกุรอานมิได้กล่าวถึงทั้งสองคุณลักษณะดังกล่าว นั่นก็คือ อิรอดะฮ์และมะชียะฮ์ ในรูปของอิสมุลฟาอิล (นามของผู้กระทำ) หรือศิฟัต มุชับบะฮะ(คุณลักษณะหนึ่ง) ของพระเจ้า แต่ทว่าได้กล่าวในรูปแบบของกริยาในโองการทั้งหลายมากมาย

และโองการหนึ่งได้กล่าวว่า ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้านั้น ครอบคลุมถึงทุกสิ่งและทุกอย่าง และการกระทำของพระองค์ได้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น

ดั่งในโองการที่กล่าวว่า

 “ แท้จริงเมื่อเราปรารถนาคำตรัสของเราแก่สิ่งใด เราก็จะกล่าวแก่มันว่า จงเป็น แล้วมันก็เป็นขึ้น”

(บทอันนะห์ล์ โองการที่ ๔๐)

๓๑๔

จากโองการนี้ที่ได้กล่าวว่า จงเป็นแล้วมันก็เป็นขึ้น  บ่งบอกถึงความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า มิได้เป็นเพียงคำกล่าวอย่างเดียว

และบางโองการก็กล่าวถึง ความไม่มีขอบเขตจำกัดในความประสงค์ของพระองค์ ความว่า  

“อัลลอฮ์ทรงบังเกิดสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง”

(บทอันนูร โองการที่๔๕)

และเช่นเดียวกัน อัลกุรอานได้กล่าวย้ำถึงไม่มีอำนาจใดจะเท่าเทียมอำนาจและความประสงค์ของพระเจ้าได้
จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)ใครเล่าจะมีอำนาจอันใดที่จะป้องกันพวกเจ้าจากอัลลอฮ์หากพระองค์ทรงประสงค์ให้ความทุกข์แก่พวกเจ้า หรือพระองค์ทรงประสงค์จะให้ประโยชน์แก่พวกเจ้า แต่ทว่า อัลลอฮ์ทรงตระหนักยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (บทอัลฟัตฮ์ โองการที่๑๑)

แน่นอนที่สุด จะกล่าวในประเด็นของ ความเป็นวิทยปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าถึง การไม่มีขอบเขตในอำนาจและความประสงค์ของพระองค์ แต่มิได้หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่กระทำการงานที่ไม่ดีหรือไม่มีประโยชน์ได้ แต่ทว่า ด้วยกับการมีวิทยปัญญาของพระองค์ บ่งบอกว่า ทุกการกระทำของพระองค์นั้น มีประโยชน์ต่อสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา

และบางโองการได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าในการกำหนดบทบัญญัติไว้เช่นกัน  ในบทอัลบะกอเราะ ดังนี้
“อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวก แก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า”

(บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่๑๘๕)

๓๑๕

หลังจากที่อัลลอฮ์ได้กล่าวถึงหลักการถือศีลอดและอนุญาตให้บรรดาผู้ป่วยและผู้เดินทาง ไม่ต้องถือศีลอดได้ และได้กล่าวว่า ความประสงค์ของพระองค์ในการกำหนดบทบัญญัตินั้น ไม่ต้องการความยากลำบาก แต่ต้องการความสะดวกสบาย

และอัลกุรอานได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระองค์ หลังจากที่กล่าวหลักการปฏิบัติ ในบทอัลมาอิดะ ได้กล่าวไว้ดังนี้

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงชี้ขาดตามที่พระองค์ทรงประสงค์” (บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๑)

นอกเหนือจาก โองการทั้งหลายของอัลกรุอานที่ได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้า ยังมีพระวจนะต่างๆที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน  และสิ่งที่ต้องสังเกตในวจนะทั้งหลาย นั่นคือ ส่วนมากของวจนะกล่าวถึง ความประสงค์ในการกระทำของพระเจ้าที่เป็นคุณลักษณะหนึ่งไม่ได้ที่อยู่นอกเหนือจากอาตมันของพระองค์และเป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม เช่น วจนะหนึ่งที่ผู้รายงานได้ถามท่านอิมามว่า

“พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความประสงค์ที่มีมาดั้งเดิมกระนั้นหรือ?”

ท่านอิมามได้ตอบว่า

“พระเจ้า เป็นผู้ทรงประสงค์ที่ไม่มีสิ่งใดอยู่เคียงข้างพระองค์ และทรงมีความรู้และมีความสามารถที่มีมาแต่ดั้งเดิม หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงมีความประสงค์เกิดขึ้น”

(อุศูลุลกาฟี เล่มที่หนึ่ง หน้าที่ ๑๐๙ วจนะที่ ๑)

๓๑๖

จากวจนะนี้แสดงให้เห็นว่า ความประสงค์ของพระเจ้าในการกระทำนั้น ไม่มีได้มีมาแต่ดั้งเดิม ก็เพราะว่า เมื่อได้เชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับสิ่งสร้างของพระองค์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ การกระทำของสิ่งถูกสร้างเกิดจากการกระทำของพระเจ้า  และการกระทำของพระองค์เพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่คุณลักษณะในการกระทำของพระองค์ จะมีมาแต่ดั้งเดิม  และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามริฎอ (อ) ได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าในการกระทำและความแตกต่างของความประสงค์ของพระองค์กับมนุษย์ ความว่า

“ความประสงค์ (ความประสงค์) ของสิ่งถูกสร้าง หมายถึง การตัดสินใจหลังจากนั้นได้กระทำในสิ่งที่ได้ตัดสินใจไป แต่ความประสงค์ของพระเจ้า หมายถึง  การเกิดขึ้นที่ไม่มีการใช้ความคิดและการตัดสินใจ และทุกๆคุณลักษณะที่เป็นแบบนี้ ไม่มีในพระองค์และเป็นคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ดังนั้น ความประสงค์ (ความประสงค์)ของพระเจ้า คือ การกระทำของพระองค์ และมิใช่สิ่งอื่นใด พระองค์ทรงกล่าว จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมา โดยที่ปราศจากการพูดและการใช้ลิ้นในการสื่อสาร และไม่มีการตัดสินใจและการใช้ความคิด และไม่ต้องการสิ่งพึ่งพา เพราะพระองค์ก็ไม่ต้องการสิ่งพึ่งพาเช่นกัน”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๐ วจนะที่ ๓)

และบางวจนะกล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าว่า เป็นสิ่งที่ถูกสร้างและเพิ่งเกิดขึ้น

๓๑๗

ดั่งวจนะของท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ทรงสร้างความประสงค์ด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยความประสงค์ของพระองค์”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๐ วจนะที่ ๔)

ในวจนะหนึ่งจากท่านอิมามซอดิกได้กล่าวถึง ความแตกต่างของความรู้กับความประสงค์ ดังนี้

“ความรู้ของพระเจ้า มิใช่ความประสงค์ของพระองค์ เจ้ามิได้กล่าวหรือว่า ฉันจะกระทำสิ่งนี้ หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ และเจ้าไม่ได้กล่าวว่า ฉันจะกระทำสิ่งนี้ หากอัลลอฮ์ทรงรู้ ดังนั้น คำกล่าวของเจ้า ที่ว่า หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ บ่งบอกถึง พระองค์ไม่ทรงประสงค์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์ การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้น และพระองค์ทรงมีความรู้ในความประสงค์ของพระองค์” (อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๙ วจนะที่ ๒)

๓๑๘

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

อิรอดะฮ์ หมายถึง ความประสงค์: Act of will

อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์ หมายถึง ความประสงค์ของพระเจ้า: Divine will

ความประสงค์ในอาตมัน อิรอดะฮ์ซาตีย์

ความประสงค์ในการกระทำ อิรอดะฮ์ เฟียะลีย์

มะชียะฮ์ หมายถึง ความต้องการ  : Radical will

การเลือกสรร อิคติยาร : Choice

ความประสงค์ในการสร้างสรรค์ อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์

ความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ อิริดะฮ์ ตัชรีอีย์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.บรรดานักเทววิทยาอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันในความหมายของ ความประสงค์ของพระเจ้า

 (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์)

บางคนกล่าวว่า ความประสงค์ของพระเจ้า หมายถึง การกระทำของพระเจ้าที่ไม่มีการบังคับใดๆเกิดขึ้น และบางคนมีความเชื่อว่า คือ การมีความสามารถและการชี้ขาดของพระเจ้า และบางสำนักคิดกล่าวว่า หมายถึง การเลือกสรรของพระองค์

๓๑๙

๒.ความประสงค์ของพระเจ้า มีอยู่ สองระดับขั้น

(๑).ความประสงค์ในอาตมันที่มีมาแต่ดิม

(๒).ความประสงค์ในการกระทำที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

๓.เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ถึง การมีความประสงค์ของพระเจ้า  คือ การกระทำของพระเจ้านั้นเกิดขึ้นในเวลาที่ได้กำหนดไว้และมีสิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น ก็คือ ความประสงค์ที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น

๔.พระเจ้าทรงมีความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ และความแตกต่างของความประสงค์ทั้งสองของพระองค์ ก็คือ ในประเภทแรก ไม่มีความสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์ แต่ในประเภทที่สองนั้นมีความสัมพันธ์กับมนุษย์

๕.อัลกุรอานได้กล่าวว่า ความประสงค์ของพระเจ้า คือ เมื่อพระองค์ทรงตรัสว่า จงเป็นสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมาทันที และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวถึง ความแตกต่างของความประสงค์ของพระเจ้าและมนุษย์ว่า ความประสงค์ของพระเจ้านั้นไม่มีที่สิ้นสุดและขอบเขตจำกัด

๓๒๐

   บทที่ ๘

   คำตรัสกล่าวของพระเจ้า (กะลาม อิลาฮียฺ)

   บทนำเบื้องต้น

    หลังจากที่อธิบายในคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้าไปแล้ว จะมาอธิบายกันในคุณลักษณะที่สำคัญที่มีอยู่ในการกระทำของพระองค์ ซึ่งในความเป็นจริง ก็คือ จำนวนของคุณลักษณะของพระเจ้านั้น มีอยู่จำนวนมากเหลือที่จะคณานับได้ ดั่งเช่น ความเป็นผู้ทรงสร้าง,ผู้ทรงกรรมสิทธิ์,ผู้ทรงอภิบาล,ผู้ทรงเมตตาปราณีเสมอ,ผู้ทรงให้อภัยยิ่ง ,ผู้ทรงชี้นำ,ผู้ทรงให้ความไว้วางใจ,ผู้ทรงให้การปกครอง,ผู้ทรงให้การช่วยเหลือ,ผู้ทรงให้ชีวิต,ผู้ทรงการขอบคุณ และ ฯลฯ

คุณลักษณะที่ถูกกล่าวในอัล กุรอานนั้น บ่งบอกถึง คุณลักษณะที่มีอยู่ในการกระทำของพระเจ้า ซึ่งก็มีจำนวนมาก ซึ่งบรรดานักเทววิทยาอิสลามได้ให้ความคิดเห็นว่า สมควรที่จะพูดคุยกันในประเด็นที่เกี่ยวกับ คุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า แต่สิ่งที่ได้หยิบยกมาอ้างนั้น มีเพียงคุณลักษณบางส่วนเท่านั้น โดยใช้วิธีการอธิบายของบรรดานักเทววิทยาในอดีต ซึ่งเป็นแบบอย่างให้กับนักเทววิทยาอิสลามร่วมสมัย

๓๒๑

   ความเป็นจริงของคำตรัสกล่าวของพระเจ้าคืออะไร?

    พระเจ้า เป็นผู้พูดหรือผู้ตรัสกล่าว ดังนั้น การพูดหรือการตรัสกล่าว จึงเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ นั่นก็คือ สิ่งที่บรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดทั้งหลายมีความเห็นตรงกัน แต่มีการโต้แย้งในรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งจะกล่าวได้ว่า การโต้แย้งของพวกเขานั้น เกิดขึ้นมาจาก ๒ ประเด็นหลัก ดังนี้

๑.การอธิบายในความหมายของ คำพูด หรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า

๒.แหล่งกำเนิดหรือบ่อเกิดของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า นักวิชาการบางคนได้บอกว่า คำตรัสกล่าวของพระองค์นั้น มีมาแต่เดิม และบางคนได้บอกว่า มิได้มีมาแต่เดิม แต่ทว่าคำพูดของพระองค์นั้นเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

หากพึงสังเกตุในประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดข้อกังขากันในหมู่นักวิชาการในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม ก็คือ เรื่องการอธิบายใน คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดสงครามระหว่างกัน ด้วยกับการไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงของ คำตรัสกล่าวของพระองค์  และในบทนี้ จะขอกล่าวถึง ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า กันก่อน แล้วจึงค่อยมาอธิบาย สาเหตุการเกิดขึ้นของคำตรัสกล่าวในพระเจ้า และในประเด็น คำตรัสกล่าวของพระเจ้าในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะ เป็นอันดับต่อไป

๓๒๒

   ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า

    การอธิบายความหมายของ คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น มีการให้ทัศนะต่างๆจากบรรดานักเทววิทยาอิสลามและมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ดังนี้

๑.บรรดานักเทววิทยาอิสลาม กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า  หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษร และมีความเชื่อว่า เสียงและอักษรดังกล่าวนั้น  เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม และอยู่ในอาตมันของพระองค์ และพวกเขายังมีความเชื่ออีกว่า ปกของอัล กุรอานนั้น ก็มีมาแต่เดิม และนี่คือ ทัศนะของสำนักคิดฮัมบะลีย์

๒.กลุ่มนี้ ได้กล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียง และอักษรที่มีในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

๓.ทัศนะที่สามได้กล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษรที่มิได้มีในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และเป็นการกระทำ และสิ่งสร้างของพระองค์ ทัศนะนี้เป็นทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์

๔.กลุ่มหนึ่งของสำนักคิดอัชอะรีย์ได้กล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง คุณลักษณะที่อยู่ในอาตมันของพระองค์ ที่มิใช่ความรู้ และความประสงค์ พวกเขาเรียก คุณลักษณะนี้ว่า กะลามนัฟซี หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษรที่มีมาแต่เดิม และเป็นคุณลักษณะที่อยู่ในอาตมันของพระเจ้า และมิใช่คำสั่ง หรือเป็นการห้าม และการบอกเล่า หรือการเรียกร้อง

๓๒๓

การวิเคราะห์ในทัศนะที่ได้กล่าวผ่านไปแล้วนั้น จะกล่าวได้ว่า ทัศนะที่หนึ่งกับสองนั้น ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะว่าการให้ความคิดเห็นนี้ เป็นการแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษรที่เป็นวัตถุในสิ่งที่มิใช่วัตถุ เป็นไปไม่ได้ แม้ว่าเสียงและตัวอักษรจะมีมาแต่เดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ก็ตาม และทัศนะของอัชอะรีย์ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง ปัญหาของทัศนะนี้ก็คือ การยอมรับ กะลามนัฟซีว่า มีความหมายที่มิใช่ความรู้ และความประสงค์ของพระเจ้า ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ และจะกล่าวได้ว่าในความเป็นจริงนั้น จากความเชื่อของสำนักคิดอัชอะรีย์ พวกเขาได้ยอมรับว่า กะลามนัฟซี ก็คือ ความหมายเดียวกันกับความรู้และความประสงค์ของพระเจ้า  ซึ่งไม่สามารถแยกคุณลักษณะเหล่านี้ออกจากกันได้

ด้วยเหตุนี้ ทัศนะที่ถูกต้องก็คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษร บางครั้งในสิ่งที่เป็นวัตถุ เช่น ต้นไม้ และในบางครั้งมาจากบรรดาเทวทูต และบางครั้งมาในสภาพอื่น นอกเหนือจากนี้ ทัศนะนี้ยังเป็นทัศนะของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ ซึ่งมีทัศนะคล้ายกับทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์

ท่านอัลลามะห์ มัจลิซีย์ ได้กล่าวว่า

“สำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์มีความเชื่อว่า กะลามของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ที่ประกอบด้วยเสียงและตัวอักษรที่มิได้มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และความหมายของ การเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า คือ การเกิดขึ้นด้วยเสียงและตัวอักษรในสิ่งที่เป็นวัตถุ” (บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๕๐)

๓๒๔

สิ่งที่ควรจำก็คือ มีความแตกต่างกันระหว่างคำตรัสกล่าวของพระเจ้ากับคำพูดของมนุษย์ นั่นก็คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ไม่ต้องการวัตถุและอุปกรณ์ในการสื่อสาร เพราะว่า การมีอยู่ของสิ่งดังกล่าว เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ และพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการเป็นวัตถุ

จะสรุปได้ว่า ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า คือ ถ้อยคำที่ถูกบันทึกหรือได้ยิน บ่งบอกถึง ความประสงค์ของพระองค์ และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่อย่างแน่นอน ดั่งเช่น สรรพสิ่งที่มีอยู่ เป็นสิ่งสร้างหรือเป็นการกระทำ และเป็นคุณลักษณะหนึ่งในการกระทำของพระองค์

   ทุกสรรพสิ่งคือ ดำรัส ของพระเจ้า

    บางทีความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น มีความหมายกว้างกว่าตัวอักษรและเสียง ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึง สรรพสิ่งทั้งหลาย ก็คือ ทุกสิ่งที่มีอยู่ ไม่ใช่เป็นเพียงการกระทำของพระเจ้าเท่านั้น  แต่ยังหมายถึง ทุกการกระทำของพระองค์ คือ คำตรัสกล่าวของพระองค์ด้วย และได้มีคำถามเกิดขึ้นว่า เราจะกล่าวว่า ทุกสิ่งที่มีอยู่ คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้าได้อย่างไร ? ในขณะที่ความหมายของคำว่า คำตรัสกล่าว หมายถึง ตัวอักษรที่ถูกบันทึกหรือถูกรายงาน

๓๒๕

สำหรับคำตอบที่ง่ายและสั้น ก็คือ เมื่อเราได้พิจารณาความหมายของ ตัวอักษร หมายถึง การรายงานที่ได้รับจากความหมายที่ผู้พูดต้องการจะสื่อสาร ดังนั้น ความหมายที่แท้จริงของ คำพูด คือ การรายงานและการแสดงออก  กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การกระทำของคนหนึ่ง แสดงว่า คนนั้นเป็นผู้กระทำ และยังบ่งบอกถึง คุณลักษณะของผู้กระทำอีกด้วย และความแตกต่างกันระหว่างสิ่งทั้งสอง ก็คือ การแสดงถึงตัวอักษร เป็นชนิดหนึ่งของการบ่งบอกที่ถูกกำหนดขึ้นมา และในขณะที่การแสดงออกด้วยการกระทำ เป็นชนิดหนึ่งของการบ่งบอกที่มีมาจากการใช้สติปัญญา ด้วยเหตุนี้ จะกล่าวได้ว่า ความหมายของ คำพูด นั้นมีความหมายที่กว้างและได้รวมถึงการกระทำของพระเจ้าด้วย เพราะว่า ทุกการกระทำ บ่งบอกถึง คุณลักษณะต่างๆและจุดประสงค์ของผู้กระทำ และในอัล กุรอานและวจนะได้กล่าวเน้นย้ำในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน  ดังนั้น โองการทั้งหลายของพระเจ้า คือ คำตรัสกล่าวและดำรัสของพระองค์

   กะลาม ลัฟซีย์ กะลาม นัฟซีย์ และ กะลามเฟียะลีย์

 (ประเภทต่างๆของคำตรัสกล่าวของพระเจ้า)

 จากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้ว จะกล่าวได้ว่า กะลาม (คำตรัสกล่าว) สามารถที่จะแบ่งได้ เป็น ๓ ประเภท ดังนี้

๓๒๖

๑.กะลาม ลัฟซีย์ หมายถึง ตัวอักษรและเสียงที่ถูกถ่ายทอดมาจากพระเจ้า เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบในความประสงค์ของพระองค์

๒.กะลาม นัฟซีย์ หมายถึง ความหมายหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า และมิใช่ความรู้และความประสงค์ของพระองค์ ซึ่งกะลาม ลัฟซีย์ก็เกิดขึ้นจากกะลามประเภทนี้

๓.กะลาม เฟียะลีย์ หมายถึง สิ่งสร้างทั้งหลาย คือ การกระทำของพระเจ้า ที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระองค์

ในระหว่างประเภททั้งสามของกะลาม ประเภทแรกและประเภทที่สามซึ่งเป็นที่ถูกยอมรับ ส่วนประเภทที่สองนั้น จากคำอธิบายของสำนักคิดอัชอะรีย์ ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ

   การมีมาแต่เดิมและการเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ของ

คำตรัสกล่าวของพระเจ้า

   ในศตวรรษที่สองของอิสลาม ประเด็นหนึ่ง ที่เป็นปัญหากันมากในมุสลิม  ก็คือ ประเด็นของอัล กุรอาน ซึ่งเสมือนคำตรัสกล่าวของพระเจ้า จึงได้มีคำถามว่า อัล กุรอาน เป็นสิ่งที่มีแต่เดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่?

อะห์ลุลฮะดีษ (กลุ่มชนที่ยึดถือวจนะของท่านศาสดาอย่างเดียว) และสำนักคิดฮัมบะลีย์ และสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อเหมือนกันว่า อัล กุรอาน เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิม โดยที่พวกเขาได้กล่าวว่า ผู้ที่ไม่ยอมรับในความเชื่อนี้ คือผู้ปฏิเสธ และในทางตรงกันข้าม สำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ กล่าวว่า

อัล กุรอาน เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่และมิได้มีมาแต่เดิม

๓๒๗

 ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทัศนะของพวกเขา มีความขัดแย้งกับทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ ตามที่ได้อธิบายความหมายของ คำตรัสกล่าว(กะลาม)ของพระเจ้า ไปแล้ว  และการไม่ยอมรับในความหมายที่กล่าวว่า กะลาม หมายถึง กะลาม นัฟซี นั้น ก็เช่นกันว่า ทัศนะที่กล่าวว่า อัลกุรอาน เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิม ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะถ้ากล่าวกันว่า กะลามของพระเจ้า หมายถึง ตัวอักษรและเสียง หรือสิ่งที่มีอยู่ แน่นอนที่สุด กะลามก็เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมา และหากกล่าวว่า กะลาม คือ คำพูดและคำตรัสกล่าวของพระเจ้า ก็หมายความว่า ได้ยอมรับในการเพิ่งมีมาของกะลาม เพราะว่า คำตรัสกล่าว คือ คุณลักษณะหนึ่งในการกระทำของพระองค์ ที่เกิดจากการแสดงออกด้วยตัวอักษรและเสียง หรือ การเกิดขึ้นของสิ่งที่มีอยู่ในความเป็นจริง และเป็นทราบกันดีว่า คุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้านั้น เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งมีมา  ด้วยกับสาเหตุที่ว่า ที่มาของการกระทำของพระองค์ คือ การเพิ่งเกิดขึ้นของการกระทำ และด้วยกับเหตุผลของสำนักคิดที่ยอมรับว่า กะลามของพระเจ้า เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิม  เป็นเหตุผลที่ไม่แข็งแรง และไม่มีพื้นฐานทางสติปัญญา และการวิเคราะห์และตรวจสอบเหตุผลทั้งหลายนั้น ใช้เวลามาก

ซึ่งจะอธิบายในภายหลังต่อไป ดังนั้น ทัศนะที่ถูกต้อง ซึ่งบรรดาผู้นำที่บริสุทธิ์ได้กล่าวเน้นย้ำ และทัศนี้เป็นที่ยอมรับ ในหมู่นักเทววิทยาอิสลามสำนักคิดชีอะฮ์ นั่นก็คือ กะลามของพระเจ้า เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่

๓๒๘

   เหตุผลของการเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า

   หลังจากที่ความหมายของ คำว่า คำพูดหรือกการตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น เป็นที่กระจ่างชัด สำหรับเราแล้ว จะมาอธิบายกันในเหตุผลของการเป็นผู้พูด หรือ ผู้ตรัสกล่าวของพระองค์ และในระหว่างเหตุผลทั้งหลายของนักเทววิทยาอิสลามที่ได้พิสูจน์ว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะนี้  มีเหตุผลหนึ่ง ซึ่งมีดังนี้

ในประเด็นของการมีพลังอำนาจของพระเจ้า ได้กล่าวไปแล้วว่า พลังอำนาจของพระองค์นั้น มีอยู่ในทุกสิ่งที่เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา โดยกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การเกิดขึ้นของตัวอักษรที่ถูกบันทึก หรือไได้ยิน เป็นการกระทำที่ต้องพึ่งพา ดังนั้น การเกิดขึ้นของตัวอักษรและเสียง ก็คือ คำพูดหรือการตรัสกล่าวของพระเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นในจากมีพลังอำนาจของพระองค์ ดั่งที่ท่านมุฮักกิก ตูซีย์ ได้กล่าวว่า

“การมีพลังอำนาจของพระเจ้าต่อสิ่งทั้งหลาย บ่งบอกถึง การมีอยู่ของกะลามในพระองค์”

(กัชฟุลมุรอด หน้าที่ ๓๑๕)

๓๒๙

   คุณลักษณะ การตรัสกล่าว ในอัล กุรอานและวจนะ

   คำว่า กะลาม (คำตรัสกล่าว) ที่เป็นคุณลักษณะของพระเจ้า มิได้ถูกกล่าวไว้ในอัล กุรอาน  แต่ได้ใช้ในรูปแบบของ กริยาของพระเจ้า เช่น โองการนี้ที่ได้กล่าวถึง ศาสดามูซา ว่า

“และอัลลอฮ์(พระเจ้า) ทรงตรัสกับมูซาอย่างเปิดเผย” (บทอันนิซา โองการที่ ๑๖๔)

นอกจากนี้ โองการนี้ได้กล่าวว่า กะลามมุลลอฮ์ แปลว่า คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ในสามครั้งด้วยกัน และกล่าวว่า คำกล่าวของฉัน เพียงครั้งเดียว และในบางครั้งก็กล่าวเช่นกันว่า ตัวอักษรของพระผู้อภิบาลของเจ้า และตัวอักษรของอัลลอฮ์ (พระเจ้า) จากสิ่งดังกล่าวนั้น สามารถจะบอกได้ว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะการเป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าว

และบางโองการของอัลกุรอาน กล่าวถึง กะลาม ลัฟซี ว่า

เมื่อเขาได้มาที่มัน (ไฟ) ได้มีเสียงเรียกจากริมที่ลุ่มทางด้านขวา ในสถานที่ที่มีความจำเริญ ณ ที่ต้นไม้ ว่า โอ้มูซาเอ๋ย ! แท้จริงข้าคืออัลลอฮ์พระเจ้าแห่งสากลโลก” (บทอัลกอศ็อด โองการที่ ๓๐)

โองการนี้ กล่าวถึง การสนทนาของพระเจ้ากับศาสดามูซา และจากการสนทนานี้ ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า ศาสดามูซาได้ยินตัวอักษรที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า

และในโองการหนึ่ง ก็ได้กล่าวถึง  มีอยู่สาม ประเภทในการสนทนาของพระเจ้ากับมนุษย์

๓๓๐

และไม่เป็นการบังควรแก่มนุษย์คนใดที่จะให้อัลลอฮ์ตรัสแก่เขาเว้นแต่โดยทางวะฮีย์ยฺ(การวิวรณ์) หรือโดยทางเบื้องหลังม่าน หรือโดยที่พระองค์จะส่งทูตมา แล้วเขา (มะลัก) ก็จะนำวะฮีย์ยฺมาตามที่พระองค์ทรงประสงค์โดยบัญชาของพระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงปรีชาญาณ

  (บทอัชชูรอ โองการที่ ๕๑)

โองการดังกล่าวได้อธิบายถึงการมีอยู่ของประเภททั้งสามในการสนทนาของพระเจ้า ศึ่งมีดังนี้

๑.การสนทนาโดยผ่าน การวิวรณ์ โดยไม่ใช้สื่อในการสื่อสาร ในสภาพเช่นนี้ ความหมายของการสนทนานั้น ได้เกิดขึ้นในบุคคลที่สื่อสารกับพระเจ้า

๒.การสนทนาโดยผ่านการวิวรณ์ที่เกิดขึ้นโดยสื่อ หมายถึง บรรดาเทวทูต เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงประทานลงมา เพื่อเป็นผู้สื่อสารของพระองค์

๓.การสนทนาที่เกิดขึ้นจากการได้ยิน และไม่เห็นผู้พูด

นอกจากความหมายของการเป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า อัล กุรอานยังได้กล่าวอีกว่า ทุกสรรพสิ่ง เป็น ตัวอักษรของพระองค์

บางครั้ง ศาสดาอีซาถูกเรียกว่า ดำรัสของพระเจ้า

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ แท้จริง อัล-มะซีฮ์ อีซาบุตรของมัรยัมนั้น เป็นเพียงร่อซู้ลของอัลลอฮ์และเป็นเพียงดำรัสของพระองค์ที่ได้ทรงกล่าวมันแก่มัรยัม และเป็นเพียงวิญญาณหนึ่งจากพระองค์ เท่านั้น”

 ( บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๑๗๑ )

และเช่นกัน บางครั้งทุกสรรพสิ่งและปัจจัยยังชีพของพระเจ้า เป็นตัวอักษรของพระองค์

๓๓๑

กล่าวอีกว่า

“และหากว่าต้นไม้ทั้งหมดที่มีอยู่ในแผ่นดินเป็นปากกาหลาย ๆ ด้าม และมหาสมุทร (เป็นน้ำหมึก) มีสำรองไว้อีกเจ็ดมหาสมุทร พจนารถของอัลลอฮ์ก็จะยังไม่หมดสิ้นไป แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ”

(บทลุกมาน โองการที่ ๒๗)

ด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานได้กล่าวใน ความหมายของกะลามของพระเจ้าว่า หมายถึง ดำรัสที่ได้ยินและเป็นสิ่งสร้างของพระองค์ นอกเหนือจากนี้ บางโองการของอัล กุรอาน ยังได้กล่าวอีกว่า กะลามของพระเจ้านั้น เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และมิใช่เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม

อัล กุรอานกล่าวว่า

ไม่มีข้อตักเตือนใหม่ ๆ จากพระเจ้าของเขามายังพวกเขา เว้นแต่ว่าพวกเขาจะรับฟังมันและพวกเขาได้ล้อเล่นไปด้วย” (บทอัลอัมบิยา โองการที่ ๒)

และอีกโองการหนึ่ง ได้กล่าวว่า อัล กุรอาน คือ ข้อตักเตือนของพระเจ้า ดั่งในโองการที่ ๙ บทอัลฮิจร์ ดังนั้น ความหมายของข้อตักเตือนดังกล่าว ก็คือ อัล กุรอาน และเป็นข้อตักเตือนที่มีมาใหม่ และนั่นก็คือ ถ้อยคำของอัลกุรอาน

และบางส่วนของวจนะ ก็ได้กล่าวถึง ประเด็นของการมีมาแต่เดิมและการเพิ่งมีมาใหม่ของกะลามของพระเจ้า ซึ่งบางครั้งบรรดาอิมามได้ห้ามมิให้สานุศิษย์ของท่าน ถกเถียงกันในประเด็นนี้ เพราะว่า จะทำให้ประเด็นนี้ ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งของหลักศรัทธา กลายเป็นประเด็นทางการเมืองไปได้ และจะเกิดการสู้รบกันทั้งสองฝ่าย

๓๓๒

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า อิมามริฎอได้กล่าวกับสาวกคนหนึ่งของท่านว่า สำหรับคำตอบ เกี่ยวกับอัล กุรอาน ก็คือ

“เป็นคำตรัสของพระเจ้า ที่เจ้าจะต้องไม่ฝ่าฝืนและไม่ต้องการการชี้นำจากสิ่งอื่นใด นอกจากอัล กุรอานเท่านั้น เพื่อเจ้าจะได้ไม่หลงทาง”

[๑](อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓๐ วจนะที่ ๒ )

อิมามฮาดีย์ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน)ได้กล่าวว่า

“ไม่มีผู้สร้างใด นอกจากอัลลอฮ์ และนอกจากพระองค์ คือ สิ่งถูกสร้าง ในขณะที่อัลกุรอาน คือ คำตรัสของพระองค์ และอย่าได้ตั้งชื่อให้กับอัลกุรอาน เพราะจะทำให้เจ้านั้น เป็นผู้หลงทาง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓๐ วจนะที่ ๔ )

รายงานจากท่านอิมามซอดิก ว่า

อะบูบะซีร ได้ถามท่านอิมามว่า พระเจ้าเป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าวที่มีมาแต่เดิมใช่หรือไม่?

อิมามได้ตอบกับเขาว่า

“คำตรัสของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีมาใหม่ พระองค์ทรงมีอยู่และมิได้เป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าว หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงสร้างคำตรัสขึ้นมา”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๖๘)

๓๓๓

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

กะลาม อิลาฮีย์ หมายถึง คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า

 : Speech of God

กะลาม ลัฟซีย์  หมายถึง ตัวอักษรและเสียงที่ถูกถ่ายทอดมาจากพระเจ้า เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบในความประสงค์ของพระองค์ :  Uttered speech

กะลาม นัฟซี   หมายถึง การรายงานของ ความหมายหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า และมิใช่ความรู้และความประสงค์ของพระองค์

:Speech of the soul

กะลามเฟียะลี   หมายถึง สิ่งสร้างทั้งหลายของพระเจ้า เป็นการกระทำที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระองค์

: Speech of act

   สรุปสาระสำคัญ

๑.บางสำนักคิดให้ความหมาย คำตรัสกล่าวของพระเจ้าว่า คือการเปล่งเสียงและแสดงตัวอักษรที่เกิดขึ้นจากอาตมันของพระองค์ ดังนั้นทัศนะนี้ ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะการมีตัวอักษรและเสียง เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ ในขณะที่พระเจ้า มิได้เป็นวัตถุ

๒.สำนักคิดอัชอะรีย์ ได้กล่าวว่า คำตรัสของพระเจ้า คือ กะลามนัฟซี ซึ่งหมายถึง  ความหมายที่เกิดขึ้นจากอาตมันของพระองค์ และมิใช่ความรู้และความประสงค์และมิใช่ตัวอักษรและเสียงด้วย

๓๓๔

๓.ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะจากการอธิบายของพวกเขา กะลามนัฟซี จะเป็นไปไม่ได้ นอกจาก ความรู้และความประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้น

๔.ความหมายที่แท้จริงของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ก็คือ พระองค์ทรงสร้างตัวอักษรและเสียงในสิ่งทั้งหลาย  และสิ่งเหล่านี้มิได้มีมาแต่เดิม เหมือนอาตมันของพระองค์ แต่ตัวอักษรและเสียง เป็นสิ่งที่ถูกสร้างและเพิ่งมีมาใหม่ และการเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น ก็แตกต่างกับการเป็นผู้พูดของมนุษย์ ซึ่งไม่มีความต้องการสื่อในการสื่อสาร

๕.ที่ได้กล่าวไปแล้วใน ความหมายของคำตรัสกล่าว คือ คำที่บ่งบอกในความหมาย และบางครั้งมีความหมายที่กว้างออกไปอีก และรวมถึงทุกสรรพสิ่ง เป็นดำรัสของพระเจ้า  เพราะว่า พระเจ้า คือ ผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง  และทุกการกระทำบ่งบอกว่า จะต้องมีผู้กระทำ

๖.กล่าวได้ว่า ความหมายของ กะลาม (คำกล่าว)นั้นมีด้วยกัน สาม ความหมาย กล่าวคือ กะลามลัฟซี ,กะลามนัฟซีและกะลามเฟียะลี และจากความหมายทั้งสามของ กะลาม ความหมายที่สองไม่เป็นที่ยอมรับในสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์และชีอะฮ์อิมามียะฮ์

๗. และเมื่อความหมายของ กะลาม (คำกล่าว) เป็นที่กระจ่างชัดแล้ว และทัศนะที่กล่าวว่า กะลามนัฟซีก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า คำตรัสกล่าวของพระเจ้า เหมือนกับสิ่งสร้างของพระองค์ คือ เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่ และทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ที่ได้กล่าวว่า กะลามเป็นสิ่งมีมาแต่เดิมนั้น ถือว่า ไม่ถูกต้อง

๘.อัล กุรอานได้กล่าวถึง คำตรัสกล่าวของพระเจ้าในความหมายที่เป็นทั้ง กะลามลัฟซีและกะลามเฟียะลี และในวจนะได้กล่าวว่า คำตรัสกล่าว เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่

๓๓๕

   บทที่ ๙

   ความสัตย์จริงของพระเจ้า-ความเป็นวิทยปัญญาของพระเจ้า

   บทนำเบื้องต้น

    ในบทที่แล้วได้อธิบายถึงคำพูด ( กะลาม) ของพระเจ้า ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้นว่า การตรัสของพระเจ้านั้น มีความเป็นสัตย์จริง หรือ มีการคาดคิดกันว่า มีการมุสาในคำพูดของพระองค์กระนั้นหรือ?

สำหรับคำตอบ คือ เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า บรรดามุสลิมมีความเชื่อว่า คำพูดของพระเจ้า ไม่มีข้อคลางแคลงใดและไม่มีการโกหกในคำพูดของพระองค์

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การกล่าวโกหกในพระเจ้านั้น เป็นการกระทำที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ ทัศนะของสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามมีความเห็นตรงกันว่า ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะหนึ่งในอาตมันของพระเจ้า มีความหมายว่า คำพูดของพระองค์ตรงกับความเป็นจริง

การให้ความสำคัญในคุณลักษณะการมีความสัตย์จริงในคำพูดของพระเจ้า จะเห็นได้ว่า คุณลักษณะนี้ เป็นพื้นฐานหนึ่งในการไว้วางใจของมนุษย์ต่อการเชิญชวนบรรดาศาสดา เพราะว่า ถ้าหากว่า คำพูดของพวกเขา ไม่ตรงกับความเป็นจริง การไว้วางใจและความถูกต้องก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นคำพูดของพวกเขา ต้องเป็นจริงและมีความสัตย์จริง และตรงกับความเป็นจริง

๓๓๖

   ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ?

   มีคำถามว่า คุณลักษณะ ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ

คำตอบ คือ เราต้องดูว่า เราให้ความหมายของกะลาม(คำพูด)ของพระเจ้าว่าอย่างไร?

สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในกะลาม นัฟซีย์ กล่าวว่า คุณลักษณะกะลาม(คำพูด)เป็นคุณลักษณะในอาตมันและคุณลักษณะความสัตย์จริง ก็เป็นคุณลักษณะในอาตมันด้วย

ดั่งที่ได้กล่าวแล้วว่า การมโนภาพของคุณลักษณะกะลาม นัฟซีย์ที่ไม่ย้อนกลับไปยัง คุณลักษณะความรู้และความประสงค์ของพระเจ้านั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าในสภาพนี้ ถ้าหากว่าความหมายของกะลามในทัศนะของอัชอะรีย์ คือ ความรู้ของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของคุณลักษณะความสัตย์จริง คือ ความรู้ของพระองค์ตรงกับความเป็นจริง  และถ้าหากความหมายของกะลาม คือ ความประสงค์ของพระเจ้า ดังนั้น คุณลักษณะความสัตย์จริงก็ไม่มีความหมาย เพราะว่า ความหมายของความประสงค์ที่มีความสัตย์จริงนั้น ไม่มีอย่างแน่นอน

และถ้าหากกะลาม เป็นคุณลักษณะในการกระทำ แน่นอนที่สุด คุณลักษณะความสัตย์จริง ก็เป็นคุณลักษณะในการกระทำด้วยเช่นกันและได้อธิบายแล้วว่า กะลาม เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า ดังนั้น คุณลักษณะความสัตย์จริง ก็เป็นคุณลักษณะในการกระทำเช่นเดียวกัน

๓๓๗

   เหตุผลของนักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความสัตย์จริงของพระเจ้า

   ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การพิสูจน์คุณลักษณะ ความสัตย์จริง  โดยการอ้างเหตุผลจากอัล กุรอานและวจนะ ผลที่ได้รับก็คือ การเป็นวัฏจักรของเหตุผลทั้งหลายเพราะว่า อัลกุรอานและวจนะ มีความเป็นสัตย์จริงและถ้ากล่าวว่า พระเจ้ามีความสัตย์จริง โดยการพิสูจน์จากอัล กุรอานก็เท่ากับการพิสูจน์การมีอยู่ตนเองด้วยกับตนเอง ซึ่งก็ถือว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จะเหลือเพียงเหตุผลเดียวที่พิสูจน์ว่า พระเจ้า มีคุณลักษณะความสัตย์จริง ก็คือ เหตุผลของการใช้สติปัญญา

บรรดานักเทววิทยาอิสลาม มีความเห็นที่แตกต่างกันในเหตุผลทางสติปัญญา ซึ่งสาเหตุของความเห็นทั้งหลายนั้นมาจาก การให้ทัศนะในการยอมรับและการไม่ยอมรับในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา

นักเทววิทยาอิสลามที่ยอมรับในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา กล่าวว่า สติปัญญาสามารถที่จะแยกแยะสิ่งที่ดีและสิ่งไม่ดีออกจากกันได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ข้อพิสูจน์หรือคำสอนของศาสนา และการประทานวิวรณ์จากพระเจ้า และสติปัญญายังได้กำหนดอีกว่า พระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี

เพราะว่า มีความขัดแย้งกับการใช้สติปัญญา ผู้ที่ยอมรับในทัศนะนี้ คือ บรรดานักเทววิทยาสำนักคิดอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ ส่วนสำนักคิดอัชอะรีย์ คือ ผู้ที่ไม่ยอมรับทัศนะนี้

เหตุผลของผู้ที่ยอมรับในทัศนะการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา มีดังนี้

การโกหกและการมุสา เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี ดังนั้น พระองค์ไม่ทรงเป็นผู้มุสา ด้วยเหตุนี้ ความจำเป็นของความสัตย์จริงของพระเจ้า มาจากคำตรัสกล่าวของพระองค์ และด้วยกับความหมายที่ตรงกันข้ามระหว่าง ความสัตย์จริงกับการมุสา ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า พระเจ้ามีความจำเป็นที่จะต้องกล่าวในสิ่งที่เป็นจริง

ท่านอัลลามะฮ์ ฮิลลีย์ ได้กล่าวว่า

การปฏิเสธการกระทำที่ไม่ดีในพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัตย์จริงของพระองค์

จะเห็นได้ว่า เหตุผลนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของสำนักคิดอัชอะรีย์ เพราะว่า พวกเขาไม่ยอมรับในพื้นฐานของการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา ด้วยเหตุนี้ นักเทววิทยาบางคนในสำนักคิดอัชอะรีย์ได้อ้างเหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผลนี้ในการพิสูจน์ว่า พระเจ้าเป็นผู้ตรัสจริง ดังนี้

การโกหกและการมุสา เป็นข้อบกพร่อง และพระเจ้าไม่ทรงมีข้อบกพร่องในพระองค์ ดังนั้น การโกหกและการมุสา เป็นสิ่งที่ไม่มีในพระองค์

๓๓๘

   ความสัตย์จริงของพระเจ้าในอัล กุรอาน

   อัล กุรอานได้กล่าวไว้ในโองการทั้งหลายมากมาย เกี่ยวกับ ความเป็นผู้ตรัสจริงของพระเจ้า

และเรามาหาท่านด้วยเรื่องจริงและแท้จริงเราเป็นผู้ซื่อสัตย์อย่างแน่นอน

  (บทอัลฮิจร์ โองการที่ ๖๔)

และบางโองการกล่าวว่า กะลามของพระเจ้า เป็นคำพูดที่ตรัสจริงที่สุด“และใครเล่าที่จะมีคำพูดจริงยิ่งกว่าอัลลอฮ์” (บทอันนิซาอ์ โองการที่๘๗)

และใครเล่าที่มีคำพูดจริงยิ่งไปกว่าอัลลอฮ์” ( บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๑๒๒)

ความหมายของ การเป็นผู้ตรัสจริงของพระเจ้า ก็คือ  เมื่อได้เปรียบเทียบกับคำพูดของผู้ที่กล่าวจริง จะเห็นได้ว่า คำตรัสกล่าวของพระองค์ เป็นคำกล่าวที่น่าเชื่อถือมากที่สุด

และบางโองการได้กล่าวย้ำในเรื่องนี้ ว่า เป็น สัญญาที่พระเจ้าได้ให้ไว้กับมนุษย์ เช่น สัญญาของพระองค์ ในการช่วยเหลือบรรดามุสลิมในสงครามอุหุด

พระองค์ทรงตรัสว่า

“และแน่นอนอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาของพระองค์สมจริงแก่พวกเจ้าแล้ว”

(บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๕๒)

๓๓๙

และพระองค์ทรงตรัสอีกว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงผิดสัญญา” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๙ และบทอัรเราะด์ โองการที่ ๓๑)

หลังจากที่ได้อธิบายในความหมายของคุณลักษณะ ความสัตย์จริงไปแล้ว จะมาอธิบายกันในความหมายของ ความเป็นวิทยปัญญา เป็นอันดับต่อไป

   ความหมายของ วิทยปัญญา

    คุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า คือ ฮิกมะฮ์ (วิทยปัญญา)  และมีหลายความหมายด้วยกัน ดังนี้

๑.ความหมายหนึ่งของ ฮิกมะฮ์ คือ การรู้จักสารัตถะของสรรพสิ่ง และด้วยกับการมีคุณลักษณะความรอบรู้ของพระเจ้า  ดังนั้น ความหมายนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่ใช้กับพระองค์ และความหมายนี้ยังย้อนกลับไปหายัง คุณลักษณะความรอบรู้ของพระเจ้า จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ฮิกมะฮ์ เป็นหนึ่งในความรอบรู้ของพระองค์

๒.อีกความหมายหนึ่งของ ฮิกมะฮ์ คือ ผู้กระทำได้กระทำการกระทำของเขาด้วยกับเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ถูกยอมรับ ดังนั้นการมีคุณลักษณะนี้ เป็นที่ขัดแย้งกัน

ซึ่งบรรดานักเทววิทยาสำนักคิดอัชอะรีย์มีความขัดแย้งกับทัศนะนี้  และเราจะอธิบายในภายหลังเกี่ยวกับประเด็นนี้

๓.อีกความหมายหนึ่งของ ฮิกมะฮ์ คือ การกระทำของผู้กระทำในเป้าหมายที่สมบูรณ์แบบและมั่นคง และพระเจ้าทรงเป็นผู้ฮะกีมในความหมายด้วยเช่นกัน

๓๔๐

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450