บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม8%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339865 / ดาวน์โหลด: 4958
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

รายงานมาผนวกเข้าหากันได้ก็ให้ยกเลิกไปเลยทั้งสองบทรายงาน หรือให้ใช้วิจารณญาณเลือกเอาบทใดบทหนึ่งมาถือปฏิบัติ

๒- บทรายงานที่มีมาตรฐานเหลื่อมล้ำกัน

เมื่อรายงานฮะดีษบทหนึ่ง มีความดีเด่นเป็นพิเศษมากกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งในแง่ต่างๆ ถือว่าให้ยึดเอารายงานบทนี้เป็นหลักปฏิบัติได้และให้ละทิ้งบทรายงานที่ขัดแย้งกับอันนี้ได้ ทั้งนี้ก็เพราะมันมีมาตรฐานที่เหลื่อมล้ำกันนั่นเอง

มาตรฐานเหนือกว่าประเภทต่างๆ

นักปราชญ์วิชาฮะดีษได้ศึกษาเกี่ยวกับมาตรฐานในด้านต่างๆ ของบทรายงานแล้วได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

๑- เหนือกว่าในแง่ของสารบบการรายงาน

หมายความว่า เมื่อมีพื้นฐานในแง่ของสารบบการรายงานอย่างสมบูรณ์พร้อมสรรพปรากฏอยู่ในฮะดีษบทใดบท

บทหนึ่งที่มีความหมายขัดแย้งกันแล้วเมื่อนั้นจึงจะสามารถให้ความมั่นใจได้ว่า ฮะดีษบทนั้นเป็นที่น่าเชื่อถือว่ามาจากท่านนบีหรืออิมาม มากกว่าฮะดีษหนึ่งอย่างแน่นอน จึงทำให้มีการยึดถือฮะดีษบทนั้นเป็นหลักโดยให้ละทิ้งฮะดีษที่มีความหมายขัดแย้งกับฮะดีษบทนั้น

๑๔๑

 ความมีมาตรฐานเหนือกว่าเป็นดังนี้ คือ

ก.ต้องประกอบด้วยนักรายงานเป็นจำนวนมาก

หมายความว่า ถ้าหากบทรายงานใด ถูกถ่ายทอดมาโดยนักรายงานที่มีจำนวนมากกว่า นักรายงานที่ถ่ายทอดบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง ให้ถือว่านี่คือความมีมาตรฐานที่เหนือกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง

ข.ต้องประกอบด้วยนักรายงานที่มีคุณสมบัติเหนือกว่า

หมายความว่า นักรายงานที่ถ่ายทอดบทรายงานใดมีคุณสมบัติเหนือกว่านักรายงานซึ่งถ่ายทอดบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือ ความรู้ ความสำรวมตนความเคร่งครัด

ก็ให้ยึดถือเอาบทรายงานที่ถ่ายทอดโดยนักรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ ความรู้ ความสำรวมและความเคร่งครัดที่เหนือกว่า เป็นหลัก

ค.มีสารบบการรายงานที่เหนือกว่า

หมายความว่า เป็นบทรายงานที่ผ่านการถ่ายทอดจากนักรายงานที่เป็นสื่อกลางระหว่างนบี หรือ อิมามเพียงจำนวนน้อย

หมายความว่า ให้ยึดถือบทรายงานที่ผ่านสื่อกลางจำนวนน้อยกว่าเป็นหลักเสมอเพราะถือว่า มีโอกาสที่จะผิดพลาดหรือหลงลืมในการถ่ายทอดน้อยกว่า

ดังนั้น บทรายงานที่ถูกถ่ายทอดมาจากสาวกของท่านนบี(ศ) โดยตรง ย่อมได้รับความเชื่อถือมากกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง เมื่อเป็นบทรายงานที่ถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นตาบิอีน ซึ่งได้รับการรายงานมาจากรุ่นสาวกอีกชั้นหนึ่งที่ได้รับมาจากท่านนบี(ศ)

๑๔๒

๒. เหนือกว่าในแง่ของเนื้อความ

หมายความว่า เป็นบทรายงานที่มีพื้นฐานในด้านต่างๆ อย่างพร้อมสรรพในแง่ของเนื้อความ โดยที่ถ้าหากในเนื้อความของบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งไม่มีความพร้อมสรรพเช่นนั้นปรากฏอยู่ ให้ถือว่านี่คือส่วนหนึ่งที่ทำให้บทรายงานนั้นมีฐานะที่ได้รับความเชื่อถือเหนือกว่า ว่าต้องมีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม

มาตรฐานที่เหนือกว่าในด้านนี้ คือ

ก.เราได้ทราบมาแล้วว่า บางครั้งฮะดีษจะถูกถ่ายทอดมาตามข้อบัญญัติ

จากนบีโดยตรง (วจนะของท่านนบี (ศ)) บางครั้งจะถูกถ่ายทอดมาเฉพาะแต่ความหมายอย่างเดียว โดยจะใช้สำนวนประโยคอีกอย่างหนึ่งที่มิได้เป็นถ้อยคำในประโยคคำพูดของท่านนบี อาจทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน

เมื่อเป็นเช่นนั้น จะต้องถือเอาบทรายงานที่มีคุณสมบัติในด้านถ้อยคำเหนือกว่าเป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานอื่นที่มีคุณสมบัติเพียงให้ความหมายอย่างเดียวเท่านั้นเสมอ

โดยมีข้อสันนิษฐานว่า นักรายงานย่อมไม่มีความสามารถพอที่จะเรียงร้อยถ้อยคำเพื่อให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์เท่ากับถ้อยคำของท่านนบี

๑๔๓

ข.พื้นฐานในสำนวนแห่งเนื้อความ จะต้องประกอบด้วยพลังอรรถรส และความสละสลวย...ฯลฯ เพราะว่า เนื้อความที่มีพลังอรรถรสอย่างสละสลวย จะต้องมาก่อนบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง แต่มีจุดด้อยในโครงสร้างของประโยคทั้งนี้ก็เพราะว่า ถ้อยคำที่มาจากท่านศาสนทูต (ศ) นั้น

เต็มไปด้วยอรรถรสและสละสลวย ปราศจากจุดด้อยและถ้อยคำที่สับสน

ค.บทรายงานใดมีการยืนยันหลักฐานไว้อย่างหนักแน่นกว่าบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนครั้งในการยืนยันความหมาย หรือจะเป็นถ้อยคำเชิงสาบาน จะต้องถือเอาบทรายงานที่มีการยืนยันหลักฐานอย่างหนักแน่นนั้นเป็นหลักไว้ก่อน

ยกตัวอย่างบทรายงานที่ยืนยันหลักฐานไว้อย่างหนักแน่น ในเรื่องของการทำนมาซย่อ

สำหรับคนเดินทาง เมื่อเดินทางออกจากภูมิลำเนา หลังจากนั้นก็เข้าเวลานมาซ มีข้อความจากบทรายงานว่า

 “ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ถ้าหากท่านไม่ทำเช่นนั้น เท่ากับท่านขัดขืนคำสั่งของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ” (๑๐๒)

จากการศึกษาวิเคราะห์เนื้อความของบทรายงานนี้ เราจะพบว่ามีการแสดงหลักฐานหลายครั้ง เพราะว่าคำพูดของอิมามที่ว่า “จงย่อ” นั้น หมายความว่าการนมาซย่อนั้นเป็นวาญิบ

เช่นเดียวกับที่ท่านกล่าวว่า “ถ้าหากท่านไม่ทำเช่นนั้นเท่ากับท่านขัดขืน” อีกทั้งยังมีถ้อยคำสาบานปรากฏอยู่ด้วย ยิ่งทำให้การยืนยันหลักฐานหนักแน่นมากขึ้นไปอีก

๑๔๔

๓. เหนือกว่าในแง่ของปัจจัยภายนอก

มาตรฐานที่เหนือกว่าอีกประการหนึ่ง ที่จะมีบทรายงานหนึ่ง แต่ไม่มีในบทรายงานอื่นๆ ที่ความหมายขัดแย้งกัน ที่เรียกว่ามาตรฐานเหนือกว่าโดยปัจจัยภายนอก ก็เพราะว่าเป็นความได้เปรียบที่นอกเหนือไปจากเรื่องของ

สารบบการรายงานและเนื้อความ ซึ่งมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

ก.มีหลักฐานด้านอื่น สนับสนุนหลักฐานที่แสดงไว้ในบทรายงานนี้เพราะว่าจากการที่มีหลักฐานภายนอกให้การสนับสนุน จึงทำให้บทรายงานนี้มีความน่าเชื่อถือสูงกว่าบทรายงานที่มีความขัดแย้ง

ข.หลักปฏิบัติของนักปราชญ์ส่วนมากในอดีตที่เป็นไปตามความหมายของบทรายงานนี้ คือ ส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมความได้เปรียบให้แก่ความหมายของบทรายงานนี้ ซึ่งนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงได้ให้คำวินิจฉัยเอาไว้

หรือเพราะว่าเป็นหลักปฏิบัติของคนในสมัยอดีตที่ใกล้เคียงกับแหล่งที่มาของบทบัญญัติได้ช่วยเสริมให้บทรายงานนี้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น ว่าต้องมีที่มาจากท่านนบีหรืออิมาม โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เขาเหล่านั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในองค์ประกอบต่างๆ ที่สนับสนุนความถูกต้องของบทรายงาน มิเช่นนั้น องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้จะไม่มีวันตกทอดมาจนถึงพวกเรา

๑๔๕

หลังจากที่ได้เสนอทัศนะต่างๆ ทางด้านวิชาการ เรื่องมาตรฐานความน่าเชื่อถือของบทรายงาน ทั้งในแง่ที่ทัดเทียมกันและเหลื่อมล้ำกันแล้วถือว่า สมควรอย่างยิ่งที่เราจะได้ชี้แจงว่าสำหรับนักปราชญ์แต่ละท่านนั้น ต่างก็มีทัศนะ มีนโยบายที่จะปฏิบัติต่อบทรายงานบางส่วนที่มีความเหลื่อมล้ำกันเหล่านี้แตกต่างกัน

การแก้ปัญหาบทรายงานฮะดีษที่ขัดแย้งกัน

นักปราชญ์สาขาอุศูลุล-ฟิกฮฺ ได้กำหนดแนวทางด้านวิชาการไว้สำหรับแก้ไขปัญหากรณีที่บทรายงานฮะดีษต่างๆ ขัดแย้งกัน

วิชาการด้านนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของนักรายงาน

จุดประสงค์ที่สำคัญก็คือ เพื่อให้ได้ข้อสรุปทางวิชาการในการกลั่นกรองบทรายงานฮะดีษต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งกฏเกณฑ์ทางศาสนา กฎหมาย ตลอดทั้งความรู้ในด้านต่างๆ ตามแนวความคิดของอิสลาม

แนวทางที่ว่านี้ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆ คือ

๑- หลักเกณฑ์ในการนำเอาความหมายระหว่างฮะดีษต่างๆ ที่มีความหมายขัดแย้งกันมาผนวกเข้าหากัน โดยถือเอาบทรายงานที่มีมาตรฐานเหนือกว่าเป็นหลัก

๑๔๖

เช่น การให้นำความหมายในลักษณะทั่วไปกับความหมายในลักษณะชี้เฉพาะมาผนวกเข้าหากันโดยให้ยึดถือรายงานที่มีความหมายในลักษณะชี้เฉพาะเป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานที่มี

ความหมายในลักษณะทั่วไป

เช่นเดียวกับให้นำบทรายงานฮะดีษที่มีความหมายในลักษณะเป็นอิสระมาผนวกเข้าหากันกับบทรายงานที่มีความหมายในลักษณะวางข้อจำกัด โดยให้ยึดถือบทรายงานที่มีความหมายในลักษณะวางข้อจำกัด เป็นหลักไว้ก่อนบทรายงานที่มีความหมายในลักษณะเป็นอิสระ

การอธิบายเชิงวิชาการตามหลักเกณฑ์นี้ คือการยึดหลักที่ยอมรับกันอยู่โดยทั่วไป เพราะเป็นความเข้าใจที่ยอมรับกันอยู่ ถึงที่มาของบทบัญญัติ สองประเภทที่มาจากเจ้าของกฎผู้ทรงไว้ซึ่งวิทยปัญญา นั่นคือกฎเกณฑ์หนึ่ง จะถูกประทานมาในลักษณะทั่วไป อีกกฏเกณฑ์หนึ่งจะถูกประทานมา ในลักษณะชี้เฉพาะ

หรืออาจพูดได้ว่า กฏเกณฑ์หนึ่งจะถูกประทานมาในความหมายที่เป็นอิสระแต่อีกโองการหนึ่งจะถูกประทานมาในความหมายที่มีข้อจำกัด

ฉะนั้นกฎเกณฑ์ใดที่มีความหมายชี้เฉพาะ โดยมีข้อจำกัดว่างอยู่นั่นเอง คือเจตนารมณ์ของผู้ทรงวางกฎ

๑๔๗

แต่ทว่า มิได้ความหมายว่ากฏเกณฑ์นี้จะถูกประทานมาเพื่อหักล้างจุดประสงค์ของอีกกฎหนึ่ง หากแต่หมายความว่า เป็นกฏเกณฑ์ที่ถูกประทานมาเพื่ออธิบายเจตนารมณ์ของผู้ทรงวางกฎและเพื่อแก้ปัญหาข้อขัดแย้งนั่นเอง

ยกตัวอย่าง บทรายงานว่าด้วยเรื่องดอกเบี้ย โดยทั่วไปแล้วถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้าม ดังข้อความในโองการต่างๆ ที่ได้ห้ามในเรื่องนี้ไว้แต่เรายังพบว่า มีหลายบทรายงานฮะดีษที่อนุโลมให้มุสลิมรับดอกเบี้ยจากคนกาฟิรฺประเภทหัรฺบีย์ (คู่สงคราม)ได้ดังมีบทรายงานจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ(ศ)ว่า

“พวกท่านอย่ากินดอกเบี้ย และอย่าใส่ร้ายสตรีที่ครองเรือน”(๑๐๒)

มีรายงานจากท่านนบี(ศ)อีกว่า

“ระหว่างพวกเรากับพวกที่ทำสงครามกับเรานั้น มิใช่ดอกเบี้ยเราสามารถรับมาจากพวกเขา ๑,๐๐๐ ดิรฺฮัม ต่อจำนวนที่เรามอบให้ ๑ ดิรฺฮัม ได้ และเราจะต้องไม่ให้ดอกเบี้ยแก่พวกเขา”(๑๐๔)

เมื่อเรามาพิจารณาบทรายงานต่างๆ เหล่านี้ที่มีความหมายขัดแย้งกันเราจะสามารถเข้าใจได้ว่า ผู้ทรงวางกฏมิได้หักล้างกฎของพระองค์เองแต่อย่างใด

หากทรงวางกฎประเภทชี้เฉพาะมากำกับกฎประเภททั่วไป เพื่ออธิบายในหลักการว่า มีข้อยกเว้นอยู่ในกฏข้อห้ามเรื่องดอกเบี้ย โดยคนมุสลิมสามารถรับดอกเบี้ยจากคนกาฟิรฺประเภทหัรฺบีย์ได้

๑๔๘

๒- เปรียบเทียบเพื่อหาบทรายงานที่มีมาตรฐานเหนือกว่า

หมายความว่า เมื่อได้มีการตรวจสอบมาตรฐานของบทรายงาน ทั้งในแง่ของสารบบการรายงาน หรือเนื้อความ หรือปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าปรากฏอยู่ในบทรายงานนั้นๆแล้ว ให้ถือว่าการปฏิบัติตามความหมายในบทรายงานนั้น เป็นกฎอย่างหนึ่ง

๓- การพิจารณาคัดเลือก

ในที่นี้หมายความว่า ผู้ปฏิบัติศาสนกิจสามารถเลือกปฏิบัติตามบท รายงานใดก็ได้ ในระหว่างสองบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งกัน ที่ไม่สามารถนำความหมายมาผนวกเข้าหากันได้และที่ไม่มีความได้เปรียบเสียเปรียบ ระหว่างกันแต่อย่างใด ในระหว่างสองบทรายงาน

๔- ยกเลิกทั้งสองบทรายงาน

มีนักปราชญ์บางกลุ่มให้ความเห็นว่า บทรายงานต่างๆที่มีความขัดแย้งอันคงที่นั้น เมื่อไม่สามารถหาวิธีการใดแก้ปัญหา ไม่ว่าจะโดยวิธีผนวกความหมายเข้าหากัน หรือวิธีเปรียบเทียบเพื่อหาความมีมาตรฐานที่เหนือกว่าในด้านต่างๆระหว่างกันและกัน ถือว่าต้องยกเลิกความเชื่อถือจากทั้งสองบทรายงานนั้นเสีย จนกระทั่งว่าบทรายงานประเภทนี้ แทบจะมิได้ตกทอดมาถึงยุคของเรา

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ให้ย้อนกลับไปยึดถือในหลักการขั้นพื้นฐานเช่น หลักการว่าด้วย “อัล-บะรออะฮฺ”*และอัล-อิหฺติยาฎ.....

๑๔๙

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ

พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก

*อัล-บะรออะฮฺ หมายถึงการปลดเปลื้องความรับผิดชอบในกฏเกณฑ์ใดก็ตาม ที่ไม่ปรากฏหลักฐานให้แก่เราอย่างชัดเจน

เชิงอรรถ/หนังสืออ้างอิง

๑- อัร-รอวีย์/มุคตารุศศิฮาหฺ

๒- ซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อะมานะฮฺ ลิล ฟิกฮิล-มุกอริน/หน้า๑๒๑

๓- มุจมุอุล-บะหฺรัยน์/กิตาบุน-นูน/ หมวดอักษร “ซีน”

๔- อัล-อิหฺกาม ฟี อุศูลุล-อะหฺกาม/เล่ม๑/หน้า๒๒๓/ตรวจทานโดย

ดร.ซัยยิด ญะมีลีย์

๕- เล่มเดิม

๖- อัร-รอฆิบ อัล-อิศฟะฮานีย์/ปทานุกรมศัพท์ อัล-กุรฺอาน

๗- อัล-มุอ์ญัม อัล-วะซีฏ

๘- อัล-วะซาอิล/เล่ม๘/หน้า๕๙๗/อักษร หาอ์ ๕)

๙- อัล-กุลัยนีย์/อุศูลุล-กาฟีย์/เล่ม๑/หน้า๕๙

๑๐-๑๑ อ้างแล้ว

๑๒- อ้างแล้ว หน้า ๗

๑๓- อัล-มุฮักกิก อัล-ฮิลลีย์/มะอฺริญุล-อุศูล/หน้า ๑๘๐

๑๔- อับดุลลอฮฺ ชะบิร/ฮักกุล-ยะกีน ฟีมะริฟะฮฺ อุศูลุดดีน/เล่ม๑/หน้า๙๔

๑๕- อัร-รอฆิบ อัล-อิศฟะฮานีย์/ปทานุกรมศัพท์ อัล-กุรฺอาน

๑๖- อัล-อิศอบะฮฺ ฟี ตัมยีซศ่อฮาบะฮฺ/เล่ม๑/หน้า๗/บทที่๑

๑๗- อัล-อิศอบะฮฺ ฟี ตัมยีซศ่อฮาบะฮฺ/เล่ม๑/บทนำ/หน้า ๑๐-๑๑

๑๘- อัล-ยะกูบีย์/ตารีคุล-ยะกูบีย์/เล่ม๒/หน้า ๑๖๒

๑๙- อัล-ยะกูบีย์/ตารีคุล-ยะกูบีย์/เล่ม๒/หน้า ๑๖๒ พิมพ์ที่กรุงเบรุต

๒๐- มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อะมานะฮฺ ลิลฟิกฮฺ อัล-มุกอริน/หน้า ๔๓๙

๒๑- อัล-อามิดีย์/อัล-อะหฺกาม ฟี อุศูล-ลิล-อะหฺกาม/เล่ม๒/หน้า ๑๕๕

๒๒- อ้างแล้ว

๒๓- อัต-ติรมิซีย์/อัล-ญามิอุศ-ศ่อฮีฮฺ/เล่ม๕/หน้า๖๒๒/อิบนุ อัล-อะษีร/ญามิอุล-อุศูล/เล่ม๑/หน้า

๑๗๘

๒๔- อัล-มัจลิซีย์/บิหารุล-อันวาร/เล่ม๒/หน้า ๑๗๕

๒๕- อัลลามะฮฺ อัล-มัจลิซีย์/บิหารุล-อันวาร/เล่ม๒/หน้า ๑๗๓

๒๖- อัด-ดิรอยะฮ์/หน้า ๖

๒๗- อัฏ-ฏ็อบรีย์/อัล-อิหฺติญาจ/เล่ม๒/หน้า ๒๔๖/และ อะหฺมัด บิน

 ฮัมบัล

๒๘- อัซ-วะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์ ฟี ชะเราะฮฺ ตักรีบ นะวาวีย์/เล่ม๑/

หน้า ๓๐

๒๙- อัล-บะฮฺบูดีย์/ศ่อฮีฮุล กาฟีย์/เล่ม ๑/บทนำ

๓๐- อะลามุล-มุวักกิอีน/เล่ม๒/หน้า ๒๒๓

๑๕๐

๓๑- มีซานุล-อิติดาล/เล่ม ๑/หน้า ๔๑๒-๔๑๓

๓๒- อัต-ติรมิซีย์/สุนัน อัต-ติรมิซีย์/เล่ม ๕/หน้า ๔๓

๓๓- อัร-รอซีย์ อัล-ญะเราะฮฺวัต-ตะดีล/เล่ม ๑/หน้า ๔๕๓

๓๔- อัล-อิสก็อลลานีย์/อัต-ตะฮฺซีบ/เล่ม ๑/หน้า ๔๑๙

๓๕- อัต-ตะฮฺซีบ/เล่ม ๖/หน้า ๒๑๖

๓๖- ญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์ ฟี ชะเราะฮฺ

 ตักรีบอัน-นะวารีย์/เล่ม ๒

๓๗- เล่มเดิม ที่เดียวกัน

๓๘- เล่มเดิม/หน้า ๖๒-๖๓

๓๙- ๔๐-๔๑-เล่มเดิม

๔๒- อัล-มัจลิซีย์/บิหารุล-อันวาร/เล่ม ๒๓/หน้า ๑๕๔

๔๓- อัล-บุคอรี/ศ่อฮีฮุล-บุคอรี/เล่ม ๑/หน้า ๒๙/กิตาบุล-อิลม์/

พิมพ์โดย สำนักพิมพ์อิหฺยาอุต-ตุรอษิล-อะเราะบีย์/กรุงเบรุต

๔๔- มุสนัด อะหฺมัด บิน ฮัมบัล/เล่ม ๓/หน้า ๑๒/พิมพ์โดย

 ดารุศ-ศอดิร กรุงเบรุต

๔๕-ญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์/หน้า ๖๓

๔๖- ญะลาลุดดีน อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์/หน้า ๖๒

๔๗- ฟัตหุล-บารีย์ ศ่อฮีฮฺ บุคอรี หมวดว่าด้วย กิตาบุล-อิลม์/หน้า ๒๑๘

๔๘-อัซ-วะฮะบีย์/ตัซกิเราะตุล-หุฟฟาซ เรื่องอะบูบักร์/เล่ม ๑/หน้า ๒-๓

๔๙- เล่ม ๕/หน้า ๑๔๐ เรื่องอัล-กอซิม บิน มุฮัมมัด บิน อะบูบักร์

๑๕๑

๕๐- มุนตะค็อบ กันซุล-อุมมาล ภาคผนวก มุสนัดอะหฺมัด เล่ม ๔/

หน้า ๖๔

๕๑- มุรตะฎอ อัล-อัสกะรีย์/มุอาละมุล-มัดเราะสะตัยน์/เล่ม ๒/หน้า ๔๘

๕๒- อิบนุมันซุร/ลิซานุล-อะร็อบ

๕๓- อัล-ฟะกีฮุล-ลัฆวีย์/ฟัครุดดีน อัฏ-ฏอริฮีย์/มัจมุอุล-บะรัยน์/

กิตาบุล-อัยน์/หมวดอักษรบาอ์

๕๔- ศ่อฮีฮฺมุสลิม เล่ม ๖ เรื่องการนมาซญุมอะฮฺ

๕๕- อัล-กุลัยนีย์ อุศูลุล-มินัลกาฟีย์/เล่ม ๑/หน้า๕๔

๕๖- ๕๗ เล่มเดิม

๕๘- เล่มเดิม หน้า ๕๗

๕๙- อัล-กุลัยนีย์ อุศูลุล-มินัล-กาฟีย์/เล่ม ๑/หน้า ๕๘

๖๐- อัล-หุร-รุล-อามิลีย์/อัล-วะซาอิล/เล่ม ๑๖/หน้า ๑๕๔/

พิมพ์โดยสถาบัน อาลิล-บัยตฺ เมืองกุม

สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

๖๑-๖๒-๖๓-อัล-มุฮักกิก อัล-ฮิลลีย์/มะอาริญุล-อุศูล/หน้า ๑๐๙

๖๔- ชะฮีด ษานีย์ ซัยนุดดีน อัล-อามิลีย์/หนังสืออัด-ดิรอยะฮฺ หน้า ๖๕

๖๕- อัด-ดิรอยะฮฺ/หน้า ๑๘

๖๖- ชะฮาดะฮฺ หมายถึง การได้มองเห็นอย่างชัดเจน,

 การยืนยันเหมือนกับได้มองเห็น ในที่นี้หมายถึง การยืนยันว่าบทรายงานใด มีความน่าเชื่อถือด้วยวิธีการที่สามารถทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนได้เข้าไปสัมผัสเอง

๑๕๒

๖๗-อัด-ดิรอยะฮฺ /หน้า ๑๘

๖๘- เล่มเดิม /หน้า ๑๙

๖๙- เล่มเดิม /หน้า ๒๐

๗๐- เล่มเดิม /หน้า ๒๐

๗๑- เล่มเดิม /หน้า ๒๑

๗๒- เล่มเดิม

๗๓- เล่ม ๗/หน้า ๑๐-๑๑

๗๔- มะหฺยุดดีน อัล-ฆอรีฟีย์/กอวาอิดุล-ฮะดีษ/หน้า ๑๗๖

๗๕- มุจมุอุร-ริญาล/เล่ม ๗/หน้า ๑๖๓

๗๖- เล่ม ๖/หน้า ๒๙/เล่มเดียวกัน

๗๗- ซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อามมะฮฺ ลิล ฟิกฮิล-มุกอร็น/หน้า ๑๙๔

๗๘- ซัยยิด มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูลุล-อามมะฮฺลิล ฟิกฮิล-มุกอริน/หน้า ๑๙๖

๗๙- ดุรูซุ ฟี อิลมิล-อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๐

๘๐- ผู้เคร่งครัดในบทบัญญัติทางศาสนา และมีความรอบรู้ในด้านบทบัญญัติ

๘๑- ดุรูซ ฟี อิลมิล อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๖

๘๒- ดุรูซ ฟี อิลมิล อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๗

๘๓- อัล-อุศูลุล-อามมะฮฺ ลิล ฟิกฮิล มุกอร็น/หน้า ๒๐๑

๘๔- ชะฮีด อัศ-ศ็อดรฺ/ดุรูซ ฟี อิลมิล-อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๗๗

๑๕๓

๘๕- เล่มเดิม

๘๖- มุฮัมมัด ตะกีย์ อัล-หะกีม/อุศูล-อามมะฮฺ ลิล ฟิกฮิล-มุกอร็น/

หน้า ๒๐๕

๘๗- เล่มเดิม /หน้า ๒๒๑

๘๘- อัต-ตะวาตุร มีความหมายในทางภาษาว่า การกระทำตามในสิ่งใดๆ ด้วยกัน

๘๙- อัล-มุฮักกิก ฮิลลีย์/มะอาริญุล-อุศูล/หน้า ๑๔๐

๙๐- ชะฮีด ศ็อดรฺ/ดุรูซ ฟี อิลมิลอุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๑๘๗

๙๑- ซัยนุดดีน อัลอามิลีย์/อัด-ดิรอยะฮฺ ฟี อิลมิมุศฏอลาฮิล-ฮะดีษ/

หน้า ๑๑๓

๙๒-นักปราชญ์บางท่านให้ความเห็นว่า สามารถนำบทรายงานที่มีความหมายขัดแย้งกันมาผนวกให้เข้ากันได้ ถึงแม้ว่าสารบบการรายงานของบทหนึ่งจะมีมาตรฐานเหนือกว่าอีกบทหนึ่งก็ตาม

๙๓- อัซ-ซะยูฏีย์/ตัดรีบุร-รอวีย์/เล่ม ๑/หน้า ๙๖

๙๔- เล่มเดิม/หน้า ๕๐

๙๕- ชะฮีด ษานีย์/อัดดิรอยะฮฺ/หน้า ๑๕

๙๖- อัล-ฮุรรุล-อามิลีย์ / วะซาอิลุช-ชีอะฮฺ / เล่ม๓ / หมวดว่าด้วยหนี้สินกับการกู้ยืมบทที่ ๑๒

๙๗- อับดุล-ฮาดีย์ อัล-ฟัฎลีย์/มุบาดิอุล-อุศูลุล-ฟิกฮ์/หน้า ๓๑

๙๘- เล่มเดิม

๙๙- อัล-มุอัจญัม อัล-วะซีฏ/เล่ม ๑

๑๕๔

๑๐๐- ชะฮีด อัศ-ศ็อดร์/ดุรูซ ฟี อิลมิ อุศูล/เล่ม ๒/หน้า ๔๔๙

๑๐๑- มุฮัมมัด ญะวาด มุฆนียะฮฺ/อิลม์ อุศูล-ฟิกฮ์ ฟีเษาบิฮิล-ญะดีด/

หน้า ๔๓๑

๑๐๒- ชะเราะฮฺ มะอาละมุด-ดีน/เชค มุศฏอฟา อัล-อิติมาดีย์/หน้า ๓๒๒

๑๐๓- อัต-ติรมิซีย์/ตัฟซีรซูเราะฮฺ

๑๐๔- อัล-ฮุรรุล-อามิลีย์/วะซาอิลุช-ชีอะฮฺ/บทที่ ๗/หมวดว่าด้วยดอกเบี้ย

....บรรดาอิมามแห่งอะฮฺลุลบัยตฺ (อ)

ตลอดทั้งคนในยุคตาบิอีน บรรดานักปราชญ์อิสลาม

ต่างได้บันทึกฮะดีษด้วยกันทั้งนั้น

เพราะหากไม่มีใครบันทึกกันแล้ว

แน่นอนการศึกษาซุนนะฮฺก็จะไม่อาจเป็นไปได้

มนุษยชาติจะได้รับความขาดทุนอันใหญ่หลวง

เพราะหมดโอกาสได้รับมรดกทางความคิด

ที่มีมาในหน้าประวัติศาสตร์......

๑๕๕

สารบัญ

วิชาฮะดีษขั้นพื้นฐาน. ๑

ซุนนะฮฺนบี. ๕

คำว่า “ซุนนะฮฺ” ในแง่ของวิชาการศาสนา ๗

ซุนนะฮฺประเภทต่างๆ. ๑๐

๑ – วจนะของท่านศาสดา ๑๓

๒ – การกระทำของท่านศาสดา (ศ) ๑๔

คำอธิบายว่าด้วยการกระทำของท่านนบี(ศ) ๑๕

ถ้อยคำและลักษณะต่างๆ ที่แสดงเหตุผล. ๒๐

ซุนนะฮฺกับหลักความคิดและบทบัญญัติ. ๒๔

ซุนนะฮฺของสาวก (ศ่อฮาบะฮฺ) ๓๔

ซุนนะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ(อ) ๔๒

ฮะดีษปลอม. ๔๗

บทเรียนต่างๆ จากฮะดีษปลอม. ๕๑

การบันทึกฮะดีษ. ๕๔

ซุนนะฮฺกับ อัล-กุรฺอาน. ๖๖

หลักวิชาฮะดีษ. ๗๔

คุณสมบัตินักรายงานที่ถูกยอมรับ. ๘๒

การชี้จุดบกพร่องกับการยืนยันในความเที่ยงธรรม. ๘๔

สื่อต่างๆ ในการนำเสนอรายงาน. ๙๐

วิธีจำแนกชื่อ นักรายงานที่ตรงกัน. ๙๕

วิธีจำแนกนักรายงานที่มีชื่อซ้ำกัน. ๙๙

สื่อนำสู่ซุนนะฮฺ. ๑๐๐

ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิจมาอ์. ๑๐๖

กับวิถีดำเนินชิวิตของผู้เคร่งครัดในหลักศาสนา ๑๐๖

การแยกประเภทฮะดีษ. ๑๑๒

ฮะดีษที่มีนักรายงานคนเดียว (อัล-อาฮาด) ๑๒๓

ฮะดีษกับสารบบการรายงาน. ๑๒๗

ฮะดีษมุรซัลประเภทต่างๆ. ๑๓๒

ความขัดแย้งกับวิธีการแก้. ๑๓๕

มาตรฐานเหนือกว่าประเภทต่างๆ. ๑๔๑

การแก้ปัญหาบทรายงานฮะดีษที่ขัดแย้งกัน. ๑๔๖

ความหมายในลักษณะทั่วไป. ๑๔๗

เชิงอรรถ/หนังสืออ้างอิง ๑๕๐

๑๕๖

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

นักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้กล่าวว่า ความหมายของคำว่า องค์แรกและองค์สุดท้าย ก็คือ ความหมายเดียวกับการมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ และเช่นเดียวกัน ในวจนะหนึ่งได้กล่าวเน้นย้ำ ดั่งบทเทศนาหนึ่งของท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ที่ได้กล่าวว่า

“พระเจ้า เป็นองค์แรกที่ไม่มีสิ่งใดมาก่อนหน้าพระองค์ และเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีสิ่งใดมาหลังพระองค์”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๙๑ )

และท่านอิมามซอดิก ได้กล่าวว่า

“พระองค์ทรงเป็นองค์แรกที่ไม่มีการเริ่มต้น และเป็นองค์สุดท้ายที่ไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์ทรงมีมาแต่เดิม และพระองค์ทรงมีอยู่เสมอ”

 (อุศูลุลอัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๖ )

จากวจนะทั้งหลายที่ได้กล่าวถึง พระผู้เป็นเจ้าว่า เป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย มิได้หมายความว่า พระองค์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งแรก และเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะต้องสูญสลาย แต่ทว่า ความเป็นองค์แรกและองค์สุดท้ายของพระองค์ หมายถึง พระองค์ไม่มีคำว่า มาก่อนหรือมาหลัง เพราะพระองค์ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีที่สิ้นสุด

โองการหนึ่งของอัล กุรอาน กล่าวว่า

ทุก ๆ สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินย่อมสูญสลาย”

และพระพักตร์ของพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงโปรดปรานเท่านั้นที่จะคงเหลืออยู่”

( บทอัรเราะห์มาน โองการที่ ๒๖-๒๗)

และอีกโองการหนึ่ง กล่าวว่า

“และอย่าวิงวอนขอต่อพระเจ้าอื่นคู่เคียงกับอัลลอฮ์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ทุกสิ่งย่อมพินาศนอกจากพระพักตร์ของพระองค์” ( บทอัลกอศ็อด โองการที่ ๘๘)

๓๐๑

การอธิบายความหมายของคำว่า พระพักตร์ หมายถึง ตัวตนและอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า  ด้วยเหตุนี้ โองการทั้งหลายได้กล่าวถึง การมีมาแต่เดิมและความเป็นนิรันดร์ของพระผู้เป็นเจ้า

    ศัพท์วิชาการท้ายบท

: Life การมีชีวิต ฮายาต

: Life of God การมีชีวิตของพระเจ้า ฮายาต อิลาฮีย์

: Eternity การมีมาแต่เดิม อะซะลียัต

: Perenniality ความเป็นนิรันดร์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.การมีชีวิต เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่สมบูรณ์ของพระผู้เป็นเจ้า มีความหมายครอบคลุมถึง  ๒ คุณลักษณะ กล่าวคือ ความรู้และความสามารถ

๒.การมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เป็นวัตถุ เช่น มนุษย์และสัตว์ มีความเจริญเติบโต ต้องการอาหารและปัจจัยสี่ และการขยายเผ่าพันธ์ สิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบของการมีชีวิตอยู่ของสิ่งที่เป็นวัตถุ และจะไม่มีอยู่ในสิ่งที่มิใช่วัตถุ

๓.ความหมายของการมีชีวิตของพระเจ้า คือ ในอาตมันของพระองค์มีความรู้และความสามารถ และการมีชีวิต เป็นคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระผู้เป็นเจ้า

๓๐๒

๔.นอกเหนือจาก เหตุผลโดยทั่วไปในการพิสูจน์การมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบ เช่น ความรู้และความสามารถ เหตุผลเหล่านั้นยังใช้พิสูจน์การมีชีวิตของพระเจ้าได้อีกด้วย

๕.อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า การมีชีวิตอยู่ของพระองค์นั้น มีมาแต่เดิม และไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีการเปลี่ยนแปลง และในวจนะก็กล่าวไว้เช่นเดียวกัน

๖.และอีกคุณลักษณะหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า ก็คือ การมีมาแต่เดิม และความเป็นนิรันดร์ ความหมายของคุณลักษณะนี้ ก็คือ การมีอยู่ของพระเจ้านั้น อยู่เหนือกาลเวลา ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีอยู่และจะมีอยู่ตลอดไป

๗.ความจำเป็นที่ต้องมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า เป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแยกการมีอยู่ออกจากพระองค์ได้ ดังนั้น พระเจ้า ทรงเป็นองค์แรกและเป็นองค์สุดท้าย และนี่คือ ความหมายของการมีมาดั้งเดิมและความเป็นนิรันดร์

๘.อัล กุรอานกล่าวถึงพระเจ้าว่า พระองค์ทรงเป็นองค์แรกและองค์สุดท้าย ซึ่งแสดงว่า พระเจ้าทรงมีมาแต่เดิมและมีความเป็นนิจนิรันดร์

๓๐๓

   บทที่ ๗

   ความประสงค์ของพระเจ้า (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์)

   ในระหว่างคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า คือ ความประสงค์ของพระองค์ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นพิเศษ แม้ว่าบรรดานักเทววิทยาอิสลามมีความคิดเห็นที่ตรงกันว่า พระเจ้านั้นมีคุณลักษณะนี้ แต่มีความแตกต่างกันในการอธิบายรายละเอียด

คำถามทั้งหลายเกิดขึ้นในประเด็นนี้ คือ

การให้คำนิยามของ ความประสงค์ของพระเจ้า

๑.ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมันหรือเป็นคุณลักษณะที่มีนการกระทำของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่ดั้งเดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้น

๓.ความแตกต่างของความประสงค์กับความต้องการและการเลือกสรร

นอกเหนือจาก ทัศนะต่างๆของบรรดานักเทววิทยาอิสลาม ยังมีทัศนะของบรรดานักปรัชญาอิสลามที่กล่าวถึง ความเป็นจริงของความประสงค์ของพระเจ้า และรายละเอียดในความลึกซึ้ง ซึ่งเราจะกล่าวในประเด็นที่เหมาะสมกับเทววิทยาอิสลาม เป็นลำดับต่อไป

๓๐๔

 

   ความหมายความเป็นจริงของความประสงค์ของมนุษย์

   ในขณะที่มนุษย์ได้กระทำการงานหนึ่งการงานใด และเขาเป็นผู้เลือกสรรในการกระทำของเขา ดังนั้นมีสภาพหนึ่งที่เกิดขึ้นในตัวเขา นั่นคือ สภาพของความประสงค์ของมนุษย์ เป็นสภาพภายในหรือเกิดจากจิตใจของเขา ซึ่งรับรู้ด้วยการรับรู้โดยตรงและไม่ได้ใช้สื่อ และมิได้มีความหมายว่า การอธิบายในความเป็นจริงนั้น มีความง่ายดายยิ่งนัก ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการให้คำนิยามต่างๆมากมายในความประสงค์ของมนุษย์ บางสำนักคิดกล่าวว่า ความประสงค์คือ การมีความเชื่อว่า การมีประโยชน์ในการกระทำ หมายถึง ก่อนที่มนุษย์จะกระทำการงานหนึ่งการงานใด มีความเชื่อว่า การงานที่จะกระทำนั้น ต้องมีประโยชน์ดังนั้น นี่คือความหมายของ ความประสงค์ของมนุษย์ และในบางครั้ง ความประสงค์นี้ ถูกเรียกว่า จุดประสงค์ที่มีต่อการกระทำ ด้วยเหตุนี้ ความหมายของความประสงค์ก็คือ จุดประสงค์ของมนุษย์ที่มีต่อการกระทำ และตรงกันข้ามกับทัศนะนี้ ยังมีสำนักคิดหนึ่งที่ได้กล่าวว่า ความประสงค์ มิได้หมายถึง จุดประสงค์ของมนุษย์ และการมีประโยชน์ในการกระทำ ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดทัศนะต่างๆในการให้ความหมายของ ความประสงค์ของมนุษย์ และจากทัศนะที่มีความคิดเห็นว่า ความประสงค์ของมนุษย์ คือ การมีความเชื่อว่า มีประโยชน์ในการกระทำ และมีความรู้สึกอยากที่จะกระทำ ดังนั้น ความรู้สึกอยากนี้ คือ ความประสงค์ของเขา และบางครั้งเรียกความประสงค์ว่า ความต้องการที่จะกระทำการงานหนึ่ง  ซึ่งตรงกันข้ามกับความต้องการที่จะละทิ้งการกระทำอันนั้น

๓๐๕

 และบางทัศนะกล่าวว่า ความประสงค์(ความประสงค์) คือ ความรู้สึกหนึ่งที่อยู่ในตัวของมนุษย์ หลังจากที่เขามีความรู้ในผลประโยชน์ของการกระทำนั้น และก่อนที่จะกระทำการงานนั้นขึ้นมา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เขาต้องกระทำมากกว่าที่จะไม่กระทำ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า ทัศนะทั้งหลายในการอธิบายความหมายของคำว่า ความประสงค์ นั้น มีเหตุผลและข้อพิสูจน์มากมาย ซึ่งทั้งหมดนั้นอยู่เหนือการเรียบเรียงหนังสือนี้ แต่สิ่งที่ควรรู้และสังเกต ก็คือ การอธิบายความหมายของ ความประสงค์ ในมนุษย์มีขอบเขตจำกัด เพราะว่า การมีอยู่ของมนุษย์นั้น มีขอบเขตจำกัด และความประสงค์ของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีขอบเขต ในขณะที่พระเจ้านั้นไม่มีขอบเขตในการมีอยู่ของพระองค์ ดังนั้นความหมายของ ความประสงค์ ในพระเจ้า จึงมีความหมายทีแตกต่างกับความประสงค์ในมนุษย์

   ทัศนะต่างๆของนักเทววิทยาอิสลามในการอธิบายความหมาย

 ความประสงค์ของพระเจ้า

   กล่าวไปแล้วว่า ความหมายของ ความประสงค์ในพระเจ้า บรรดานักเทววิทยาและปรัชญาอิสลามได้ให้หลายความหมายด้วยกัน ซึ่งมีดังนี้

๑.ความประสงค์ในพระเจ้า คือ พระองค์ทรงกระทำการงานใดการงานหนึ่งโดยที่ไม่มีการบังคับใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ในพระเจ้า คือ การมีพลังอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์

๓๐๖

๓.ความประสงค์ในพระเจ้า มีอยู่ สอง ความหมาย กล่าวคือ ความประสงค์ในอาตมัน คือ การมีความรักในตนเองและความสมบูรณ์แบบของพระองค์ อีกความหมายของความประสงค์ กล่าวคือ ความประสงค์ในการกระทำ หมายถึง พระเจ้าทรงมีความพึงพอพระทัยในการเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์

๔.ความประสงค์ คือ ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระเจ้าในการปกครองที่ประเสริฐที่สุด

ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของบรรดานักปรัชญาอิสลาม

๕.ความประสงค์ คือ การเลือกสรรของพระผู้เป็นเจ้า หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้กระทำที่เป็นอิสระในการเลือกสรร และไม่มีการบังคับใดๆในการกระทำของพระองค์ ดังนั้นการอธิบายในความหมายนี้ มิได้ถือว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า และเช่นเดียวที่อธิบายความหมายของ ความรู้ หมายถึง การไม่รู้ และมิได้ถือว่า ความรู้ เป็นคุณลักษณะในด้านลบของพระเจ้า

   ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้าและในการกระทำของพระองค์

   มีคำถามว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในประเภทใดของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำของพระองค์? ความสำคัญของคำถามทั้งหลายนี้แสดงให้เห็นว่า ทัศนะที่สี่ กล่าวว่า  ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมัน และทัศนะที่สอง กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำ

๓๐๗

และในทัศนะที่สามยอมรับว่า ความประสงค์ เป็น คุณลักษณะทั้งสองประเภท ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นก่อนทีจะอธิบายรายละเอียดของความหมายทั้งหลาย มากำหนดให้ชัดเจนว่า ความประสงค์ นั้น เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ

สำหรับคำตอบของคำถามเหล่านี้ จะกล่าวได้ว่า ความประสงค์ มีอยู่ สอง ระดับขั้น

๑.ความประสงค์ในอาตมันของพระเจ้า

๒.ความประสงค์ในการกระทำของพระองค์

ส่วนมากของบรรดานักเทววิทยาและปรัชญา มีความเห็นว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า หมายถึง ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมในการมีระบบระเบียบที่สมบูรณ์แบบในการบริหารและดูแลของพระองค์

สามารถอธิบายได้ว่า ทัศนะนี้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้ในความเป็นระบบระเบียบที่สมบูรณ์แบบก่อนการสร้างโลก และความรู้นี้ ยังเป็นสาเหตุทำให้โลกนี้เกิดขึ้นและความประสงค์ ก็คือ ความรู้นี้

ดังนั้น ทัศนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะว่าจากการสังเกตุในความหมายของความประสงค์ มิได้มีความหมายเดียวกับการมีความรู้ อีกทั้งในวจนะได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า การมีความรู้ มิใช่ ความประสงค์

หากว่า เราไม่ยอมรับว่า ความประสงค์ มีความหมายเดียวกับการมีความรู้ดั้งเดิมของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของอิรอดะฮ๋ คือ การเลือกสรรในการกระทำของพระองค์ ซึ่งเป็นความหมายที่ห้า ด้วยเหตุนี้ ความประสงค์ ถือว่าเป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้า และในกรณีที่กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระผู้เป็นเจ้า เหมือนกับ การให้ความรักและความพึงพอพระทัย

๓๐๘

 เพราะฉะนั้น ความประสงค์ของพระเจ้า มีความหมายว่า การเกิดขึ้นของการกระทำของพระองค์นั้น มาจากการให้ความรักและความพึงพอพระทัย การกระทำนั้น จึงจะเกิดขึ้นมาได้ และจากความหมายนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะว่าความหมายของความประสงค์ มิได้มีความหมายเดียวกับการให้ความรักและความพึงพอพระทัย และการให้ความหมายของความประสงค์ในทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำที่เกิดจากระดับขั้นของการกระทำของพระเจ้า  หมายถึง การเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย กล่าวได้ว่า สติปัญญายอมรับว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสถานที่และเวลาที่ถูกกำหนด บ่งบอกถึง การมีความรู้และการให้ความรัก อีกทั้งยังเป็นความประสงค์ของพระเจ้า ที่มีต่อการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้ คุณลักษณะความประสงค์ คือ การมีความสัมพันธ์ของพระผู้เป็นเจ้ากับการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งทั้งหลาย

และในอีกทัศนะหนึ่งกล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า เพราะว่า เกิดขึ้นมาจากการมีความสัมพันธ์ของพระองค์กับการกระทำที่มีองค์ประกอบสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ เมื่อใดก็ตามที่การกระทำของพระเจ้ามีองค์ประกอบที่สมบูรณ์พร้อมที่จะเกิดขึ้น เมื่อนั้นจะกล่าวได้ว่า พระเจ้ามีความประสงค์ กล่าวคือ มีความประสงค์ที่จะทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น

๓๐๙

   การมีมาดั้งเดิมหรือการเพิ่งเกิดขึ้นมาของความประสงค์ในพระเจ้า

   หลังจากที่อธิบายความหมายของ ความประสงค์ และเป็นที่กระจ่างชัดสำหรับเราแล้วนั้น จะมากล่าวในคำถามที่เกี่ยวกับความประสงค์ของพระเจ้า ว่า มีมาดั้งเดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมา จะเห็นได้ว่ามีทัศนะต่างๆมากมายและมีความแตกต่างกันในสำนักคิดของเทววิทยาอิสลาม  โดยสำนักคิดอัชอะรี มีความเชื่อว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่อยู่เหนืออาตมันของพระเจ้า และเป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม ในทางตรงข้ามกับความเชื่อของสำนักคิดอื่น ที่กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งมีการเกิดขึ้น แต่มีความเห็นที่ไม่ตรงกันในสถานที่การเกิดขึ้นของความประสงค์ เช่น สำนักคิดกะรอมียะฮ์ มีความเห็นว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะในอาตมันของพระเจ้าและเพิ่งเกิดขึ้นในอาตมันของพระองค์ แต่ในทัศนะของอะบูฮาชิม ญุบบาอีย์และกลุ่มหนึ่งของสำนักคิดมุตะซิละฮ์ กล่าวว่า ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีสถานที่ จากการอธิบายในประเภทของความประสงค์ทั้งสอง คือ ความประสงค์ในอาตมัน และในการกระทำ ทำให้เข้าใจได้ว่า ความประสงค์ในอาตมัน เป็นคุณลักษณะที่มีในอาตมันและเป็นหนึ่งเดียวกับอาตมันของพระเจ้า ดังนั้น ความประสงค์ เป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม เหมือนกับอาตมัน และความประสงค์ในการกระทำ เป็นคุณลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการมีความสัมพันธ์ของอาตมันและการกระทำของพระเจ้า

๓๑๐

 และการกระทำของพระเจ้านั้น เพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้น ความประสงค์ของพระองค์ ก็เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นเช่นกัน และได้กล่าวผ่านไปแล้วว่า สาเหตุหรือที่มาของการกระทำของพระเจ้า มิได้เกิดขึ้นมาจากอาตมันของพระเจ้า อย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากสภาวะของการกระทำนั้น

  ความแตกต่างกันระหว่างความประสงค์,ความต้องการและการเลือกสรร

   นอกเหนือจาก การมีคุณลักษณะ ความประสงค์ของพระเจ้า ยังมีคุณลักษณะอื่นๆเช่น ความประสงค์ ความต้องการ และการเลือกสรร

มีคำถามเกิดขึ้นว่า ทั้งสามคุณลักษณะที่กล่าวไปนั้น มีความหมายเดียวกันหรือมีความหมายแตกต่างกัน?

สำหรับคำตอบ ก็คือ มีสองทัศนะด้วยกัน

กลุ่มหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม กล่าวว่า ความประสงค์และความต้องการ มีความหมายเดียวกัน และไม่มีความแตกต่างกัน และบางกลุ่มมีความเห็นว่า ระหว่างความประสงค์กับความต้องการมีความหมายที่แตกต่างกัน คือ ความประสงค์ หมายถึง การมีความรู้ในผลประโยชน์และผลเสียของการกระทำ ส่วนมะชียะฮ์(ความต้องการ) หมายถึง ความต้องการที่จะกระทำหรือละทิ้งการงานนั้น  ความต้องการที่เกิดขึ้นจากการมีความรู้ในประโยชน์และผลเสียของการงานนั้น และกล่าวเช่นกันว่า การเชื่อมความสัมพันธ์ของความต้องการ คือ ผลของการกระทำหนึ่ง และการเชื่อมความสัมพันธ์ของความประสงค์ คือ การมีอยู่ของความประสงค์

๓๑๑

จะเห็นได้ว่าในการอธิบายความหมายของความประสงค์ ระหว่างความประสงค์กับการเลือกสรรนั้นไม่มีความแตกต่างกัน และความหมายที่แท้จริงของความประสงค์ คือ ความเป็นผู้เลือกสรรของพระเจ้า และบางทัศนะกล่าวว่า การเลือกสรร หมายถึง การกระทำหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความรู้และความประสงค์ และความต้องการและการมีอำนาจในการบริหาร ซึ่งจากการมีความสัมพันธ์ของผู้กระทำกับการกระทำ คุณลักษณะการเลือกสรรรได้เกิดขึ้น

เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความประสงค์ของพระเจ้า

    หลังจากที่อธิบายความหมายของ คำว่า ความประสงค์ของพระเจ้า และประเภทต่างๆของความประสงค์ ไปแล้ว บัดนี้ จะมาอธิบายในเหตุผลต่างๆของบรรดานักเทววิทยาอิสลามกัน

เหตุผลหนึ่งที่ถูกรู้จักกันโดยทั่วไป คือ บางการกระทำของพระเจ้านั้น ถูกทำให้เกิดขึ้นในเวลาที่ถูกกำหนด เช่น การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในเวลาที่ถูกกำหนดและก่อนหน้านี้สิ่งนี้ไม่มีอยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในเวลาดังกล่าวนั้น จะต้องการสิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น และสิ่งที่เป็นตัวกำหนดนั้น คือ สาเหตุของการเกิดขึ้นของการมีสิ่งนั้นในเวลาที่ได้กำหนดไว้ ไม่ช้าและก่อนกำหนด และจะเห็นได้ว่า การมีความสามารถและความรอบบรู้ของพระเจ้านั้น ไม่ต้องการสิ่งที่เป็นตัวกำหนด เพราะว่า ความสัมพันธ์ของความสามารถกับเวลานั้น มีความเท่าเทียมกัน

๓๑๒

จะไม่กล่าวว่า พระเจ้ามีความสามารถในเวลาหนึ่งและไม่มีความสามารถในอีกเวลาหนึ่ง แต่กล่าวได้ว่า พระองค์ทรงมีความสามารถในทุกๆเวลา และในความรู้ของพระองค์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาที่ได้กำหนดนั้น มิใช่ความรู้และความสามารถ แต่สิ่งนั้น คือ ความประสงค์นั่นเอง

   ความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ(อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์ และตัชริอีย์)

    สิ่งได้กล่าวไปแล้วนั้นคือ ความประสงค์ของพระเจ้า เป็นความประสงค์ในการสร้างสรรค์ และนอกจากความประสงค์ประเภทนี้แล้ว ยังมีความประสงค์อีกประเภทหนึ่งนั่นคือ ความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์ และเป็นสาเหตุทำให้การกระทำนั้น เป็นการกระทำที่จำเป็นต้องกระทำ(วาญิบ)หรือเป็นการกระทำที่สมควรกระทำ(มุสตะฮับ)หรือเป็นการกระทำที่ไม่สมควรกระทำ(มักรุฮ์)และในทางตรงกันข้าม การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อนุญาตให้กระทำ(ฮะรอม) ดังนั้น ความประสงค์ในการสร้างสรรค์เกิดจากการมีอยู่ของสิ่งทั้งหลาย และส่วนความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัตินั้น เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของพระเจ้ากับการกระทำของมนุษย์

ความแตกต่างอีกอันหนึ่งของความประสงค์ทั้งสองประเภท คือ ในความประสงค์ในการสร้างสรรค์ไม่มีมุรอด(สิ่งที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างความประสงค์กับผู้กระทำ) แต่มีในความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ

๓๑๓

   ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้า ในอัลกุรอานและวจนะ

    คำว่า อิรอดะฮ์ในภาษาอาหรับ มาจากรากศัพท์ของคำว่า ราวด์ หมายถึง การกลับไปและการกลับมาที่มีความต้องการในสิ่งหนึ่ง ดังนั้น จากความหมายของคำนี้ มีอยู่ สามองค์ประกอบด้วยกัน ดังนี้

๑.ความต้องการในสิ่งหนึ่งที่มีความรักในสิ่งนั้น

๒.การมีความหวังที่จะได้รับในสิ่งนั้น

๓.การกระทำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นด้วยตนเองหรือผู้อื่น

ส่วนคำว่า มะชียะฮ์ในด้านภาษา ซึ่งจากส่วนมากของนักอักษรศาสตร์อาหรับให้ความหมายเดียวกันกับความประสงค์(อิรอดะฮ์  และบางคนกล่าวว่า มะชียะฮ์ หมายถึง การมีความรักที่เกิดขึ้นหลังการมโนภาพ และการตัดสินใจ และหลังจากนั้น ความประสงค์ จึงจะเกิดขึ้นมาทีหลัง

แม้ว่าอัลกุรอานมิได้กล่าวถึงทั้งสองคุณลักษณะดังกล่าว นั่นก็คือ อิรอดะฮ์และมะชียะฮ์ ในรูปของอิสมุลฟาอิล (นามของผู้กระทำ) หรือศิฟัต มุชับบะฮะ(คุณลักษณะหนึ่ง) ของพระเจ้า แต่ทว่าได้กล่าวในรูปแบบของกริยาในโองการทั้งหลายมากมาย

และโองการหนึ่งได้กล่าวว่า ความประสงค์และความต้องการของพระเจ้านั้น ครอบคลุมถึงทุกสิ่งและทุกอย่าง และการกระทำของพระองค์ได้เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น

ดั่งในโองการที่กล่าวว่า

 “ แท้จริงเมื่อเราปรารถนาคำตรัสของเราแก่สิ่งใด เราก็จะกล่าวแก่มันว่า จงเป็น แล้วมันก็เป็นขึ้น”

(บทอันนะห์ล์ โองการที่ ๔๐)

๓๑๔

จากโองการนี้ที่ได้กล่าวว่า จงเป็นแล้วมันก็เป็นขึ้น  บ่งบอกถึงความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า มิได้เป็นเพียงคำกล่าวอย่างเดียว

และบางโองการก็กล่าวถึง ความไม่มีขอบเขตจำกัดในความประสงค์ของพระองค์ ความว่า  

“อัลลอฮ์ทรงบังเกิดสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง”

(บทอันนูร โองการที่๔๕)

และเช่นเดียวกัน อัลกุรอานได้กล่าวย้ำถึงไม่มีอำนาจใดจะเท่าเทียมอำนาจและความประสงค์ของพระเจ้าได้
จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด)ใครเล่าจะมีอำนาจอันใดที่จะป้องกันพวกเจ้าจากอัลลอฮ์หากพระองค์ทรงประสงค์ให้ความทุกข์แก่พวกเจ้า หรือพระองค์ทรงประสงค์จะให้ประโยชน์แก่พวกเจ้า แต่ทว่า อัลลอฮ์ทรงตระหนักยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (บทอัลฟัตฮ์ โองการที่๑๑)

แน่นอนที่สุด จะกล่าวในประเด็นของ ความเป็นวิทยปัญญาของพระผู้เป็นเจ้าถึง การไม่มีขอบเขตในอำนาจและความประสงค์ของพระองค์ แต่มิได้หมายความว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่กระทำการงานที่ไม่ดีหรือไม่มีประโยชน์ได้ แต่ทว่า ด้วยกับการมีวิทยปัญญาของพระองค์ บ่งบอกว่า ทุกการกระทำของพระองค์นั้น มีประโยชน์ต่อสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา

และบางโองการได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าในการกำหนดบทบัญญัติไว้เช่นกัน  ในบทอัลบะกอเราะ ดังนี้
“อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวก แก่พวกเจ้า และไม่ทรงให้มีความลำบากแก่พวกเจ้า”

(บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่๑๘๕)

๓๑๕

หลังจากที่อัลลอฮ์ได้กล่าวถึงหลักการถือศีลอดและอนุญาตให้บรรดาผู้ป่วยและผู้เดินทาง ไม่ต้องถือศีลอดได้ และได้กล่าวว่า ความประสงค์ของพระองค์ในการกำหนดบทบัญญัตินั้น ไม่ต้องการความยากลำบาก แต่ต้องการความสะดวกสบาย

และอัลกุรอานได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระองค์ หลังจากที่กล่าวหลักการปฏิบัติ ในบทอัลมาอิดะ ได้กล่าวไว้ดังนี้

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงชี้ขาดตามที่พระองค์ทรงประสงค์” (บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ ๑)

นอกเหนือจาก โองการทั้งหลายของอัลกรุอานที่ได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้า ยังมีพระวจนะต่างๆที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน  และสิ่งที่ต้องสังเกตในวจนะทั้งหลาย นั่นคือ ส่วนมากของวจนะกล่าวถึง ความประสงค์ในการกระทำของพระเจ้าที่เป็นคุณลักษณะหนึ่งไม่ได้ที่อยู่นอกเหนือจากอาตมันของพระองค์และเป็นคุณลักษณะที่มีมาดั้งเดิม เช่น วจนะหนึ่งที่ผู้รายงานได้ถามท่านอิมามว่า

“พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความประสงค์ที่มีมาดั้งเดิมกระนั้นหรือ?”

ท่านอิมามได้ตอบว่า

“พระเจ้า เป็นผู้ทรงประสงค์ที่ไม่มีสิ่งใดอยู่เคียงข้างพระองค์ และทรงมีความรู้และมีความสามารถที่มีมาแต่ดั้งเดิม หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงมีความประสงค์เกิดขึ้น”

(อุศูลุลกาฟี เล่มที่หนึ่ง หน้าที่ ๑๐๙ วจนะที่ ๑)

๓๑๖

จากวจนะนี้แสดงให้เห็นว่า ความประสงค์ของพระเจ้าในการกระทำนั้น ไม่มีได้มีมาแต่ดั้งเดิม ก็เพราะว่า เมื่อได้เชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับสิ่งสร้างของพระองค์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ การกระทำของสิ่งถูกสร้างเกิดจากการกระทำของพระเจ้า  และการกระทำของพระองค์เพิ่งเกิดขึ้น ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่คุณลักษณะในการกระทำของพระองค์ จะมีมาแต่ดั้งเดิม  และวจนะหนึ่งจากท่านอิมามริฎอ (อ) ได้กล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าในการกระทำและความแตกต่างของความประสงค์ของพระองค์กับมนุษย์ ความว่า

“ความประสงค์ (ความประสงค์) ของสิ่งถูกสร้าง หมายถึง การตัดสินใจหลังจากนั้นได้กระทำในสิ่งที่ได้ตัดสินใจไป แต่ความประสงค์ของพระเจ้า หมายถึง  การเกิดขึ้นที่ไม่มีการใช้ความคิดและการตัดสินใจ และทุกๆคุณลักษณะที่เป็นแบบนี้ ไม่มีในพระองค์และเป็นคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ดังนั้น ความประสงค์ (ความประสงค์)ของพระเจ้า คือ การกระทำของพระองค์ และมิใช่สิ่งอื่นใด พระองค์ทรงกล่าว จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมา โดยที่ปราศจากการพูดและการใช้ลิ้นในการสื่อสาร และไม่มีการตัดสินใจและการใช้ความคิด และไม่ต้องการสิ่งพึ่งพา เพราะพระองค์ก็ไม่ต้องการสิ่งพึ่งพาเช่นกัน”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๙-๑๑๐ วจนะที่ ๓)

และบางวจนะกล่าวถึง ความประสงค์ของพระเจ้าว่า เป็นสิ่งที่ถูกสร้างและเพิ่งเกิดขึ้น

๓๑๗

ดั่งวจนะของท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า

“อัลลอฮ์ทรงสร้างความประสงค์ด้วยพระองค์เอง หลังจากนั้นทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายด้วยความประสงค์ของพระองค์”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๑๐ วจนะที่ ๔)

ในวจนะหนึ่งจากท่านอิมามซอดิกได้กล่าวถึง ความแตกต่างของความรู้กับความประสงค์ ดังนี้

“ความรู้ของพระเจ้า มิใช่ความประสงค์ของพระองค์ เจ้ามิได้กล่าวหรือว่า ฉันจะกระทำสิ่งนี้ หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ และเจ้าไม่ได้กล่าวว่า ฉันจะกระทำสิ่งนี้ หากอัลลอฮ์ทรงรู้ ดังนั้น คำกล่าวของเจ้า ที่ว่า หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์ บ่งบอกถึง พระองค์ไม่ทรงประสงค์ ถ้าพระองค์ทรงประสงค์ การกระทำนั้นก็จะเกิดขึ้น และพระองค์ทรงมีความรู้ในความประสงค์ของพระองค์” (อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๐๙ วจนะที่ ๒)

๓๑๘

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

อิรอดะฮ์ หมายถึง ความประสงค์: Act of will

อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์ หมายถึง ความประสงค์ของพระเจ้า: Divine will

ความประสงค์ในอาตมัน อิรอดะฮ์ซาตีย์

ความประสงค์ในการกระทำ อิรอดะฮ์ เฟียะลีย์

มะชียะฮ์ หมายถึง ความต้องการ  : Radical will

การเลือกสรร อิคติยาร : Choice

ความประสงค์ในการสร้างสรรค์ อิรอดะฮ์ ตักวีนีย์

ความประสงค์ในการกำหนดบทบัญญัติ อิริดะฮ์ ตัชรีอีย์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.บรรดานักเทววิทยาอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันในความหมายของ ความประสงค์ของพระเจ้า

 (อิรอดะฮ์ อิลาฮีย์)

บางคนกล่าวว่า ความประสงค์ของพระเจ้า หมายถึง การกระทำของพระเจ้าที่ไม่มีการบังคับใดๆเกิดขึ้น และบางคนมีความเชื่อว่า คือ การมีความสามารถและการชี้ขาดของพระเจ้า และบางสำนักคิดกล่าวว่า หมายถึง การเลือกสรรของพระองค์

๓๑๙

๒.ความประสงค์ของพระเจ้า มีอยู่ สองระดับขั้น

(๑).ความประสงค์ในอาตมันที่มีมาแต่ดิม

(๒).ความประสงค์ในการกระทำที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

๓.เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ถึง การมีความประสงค์ของพระเจ้า  คือ การกระทำของพระเจ้านั้นเกิดขึ้นในเวลาที่ได้กำหนดไว้และมีสิ่งที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น ก็คือ ความประสงค์ที่เป็นตัวกำหนดให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น

๔.พระเจ้าทรงมีความประสงค์ในการสร้างสรรค์และการกำหนดบทบัญญัติ และความแตกต่างของความประสงค์ทั้งสองของพระองค์ ก็คือ ในประเภทแรก ไม่มีความสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์ แต่ในประเภทที่สองนั้นมีความสัมพันธ์กับมนุษย์

๕.อัลกุรอานได้กล่าวว่า ความประสงค์ของพระเจ้า คือ เมื่อพระองค์ทรงตรัสว่า จงเป็นสิ่งนั้นก็เป็นขึ้นมาทันที และในวจนะทั้งหลายก็ได้กล่าวถึง ความแตกต่างของความประสงค์ของพระเจ้าและมนุษย์ว่า ความประสงค์ของพระเจ้านั้นไม่มีที่สิ้นสุดและขอบเขตจำกัด

๓๒๐

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450