บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339948 / ดาวน์โหลด: 4960
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

ท่านอะลี(อ)กล่าวว่า “ถ้าหากท่านเป็นคนโกหก ขอให้อัลลอฮ์ลงโทษท่าน ให้เป็นโรคเรื้อนปรากฏโดยที่ผ้าโพกศีรษะปกปิดไม่มิด”

ต่อมาไม่นานนัก ปรากฏว่ามีโรคเรื้อนปรากฏที่ใบหน้าของท่านอะนัสและหลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า

“คำวิงวอนขอของบ่าวผู้มีคุณธรรม ได้ประจักษ์แก่ฉันแล้ว”(1)

-------------------------------------------------------------------------

(1) อัล-มุรอญิอาต หน้า 209

2. มีข่าวหนึ่งมาถึงท่านอะลี(อ) ว่า บะซัร บินอิรฏอต แม่ทัพของฝ่ายมุอาวียะฮ์ได้บุกโจมตีเมืองยะมันและสังหารผู้บริสุทธิ์ ท่านจึงขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)ว่า

 “ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) แท้จริงบะซัร ได้ขายศาสนาของตน และเหยียบย่ำเกียรติยศของพระองค์ และการเชื่อถือปฏิบัติตามเป็นของผู้ถูกสร้างโดย

ก่อกรรมทำชั่วต่อสิทธิ์ของพระองค์เป็นที่ตั้งเพื่อความสำเร็จของตนเอง

ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ขอได้โปรดอย่าให้เขาตายจนกว่าจะทำให้ความคิดของเขาถูกลบเลือน และอย่าให้ความเมตตาของพระองค์มีต่อเขา แม้แต่ชั่วยามเดียวของกลางวัน ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้โปรดสาปแช่งบะซัร อัมร และ

มุอาวิยะฮ์ และโปรดพรั่งพรูความกริ้วของพระองค์ลงมายังพวกเขา และโปรดประทาน การลงโทษของพระองค์ให้แก่พวกเขา และโปรดให้พวกเขาประสบกับภัยพิบัติและการลงโทษที่ไม่มีใครสกัดกั้นให้พ้นจากพวกอาชญากรทางศาสนาได้”

๑๔๑

หลังจากนั้นไม่นานนัก ปรากฏว่า เขามีอาการกระสับกระส่าย สติปัญญาเลอะเลือนไป เขามีดาบประจำตัวอยู่เล่มหนึ่ง แล้วเขาพูดเป็นประจำว่า จงเอาดาบมาให้ข้า ข้าจะฆ่าเขาด้วยดาบ จนถึงกับต้องทำดาบด้วยไม้ธรรมดาให้เขาเล่มหนึ่ง ซึ่งเขาจะถือติดตัวตลอดเวลา และจะฟาดฟันอะไร ๆ

ด้วยดาบเล่มนี้จนกระทั่วถึงแก่ความตาย(2)

3. ส่วนหนึ่งจากคำสนทนาของท่านอะลี(อ) กับฮะซัน อัล-บัศรี ระหว่างทำวุฏอ์ โดยฮะซันเป็นฝ่ายพูดกับท่านว่า

“แต่ก่อนนี้ ฉันเคยสังหาร คนที่กำลังทำวุฏอ์ ไปหลายคน”

ท่านอิมามอะลี(อ) จึงกล่าวว่า “แล้วท่านมีความเสียใจกับเขาเหล่านั้นใช่ไหม?”

เขาตอบว่า “ใช่”

ท่านอะลี(อ)กล่าวว่า “ขอให้อัลลอฮ์ (ซ.บ.) บันดาลความเศร้าโศกตลอดกาลแก่ท่านเถิด”

ท่านอัยยูบ อัซ-ซัจตานีได้กล่าวว่า “ดังนั้น เราจึงพบเห็นว่า ท่านฮะซัน อยู่ในความเศร้าอย่างเดียว ราวกับคนที่เพิ่งกลับจากฝังคนที่ตนรัก”

ฉันจึงพูดกับเขาในเรื่องนี้ ท่านตอบว่า

“มันเป็นไปตามคำวิงวอนขอของชายผู้มีคุณธรรม”(3)

--------------------------------------------------------------------------

(2) มินะนุร เราะห์มาน หน้า 349

(3)อัล กุนนี วัล อัลกอบ เล่ม 2 หน้า 75

๑๔๒

การบริจาคทานและเสียสละเพื่อการกุศลของอิมามอะลี(อ)

ในทุกแง่มุมแห่งวิถีชีวิตของท่านอิมามอะลี(อ) นั้นเราจะพบว่า มีแต่ความดีงามอันยิ่งใหญ่สุดเหลือประมาณ มีความสูงส่งอย่างเหลือล้น ท่านจึงเป็นสุดยอดของตัวอย่างในด้านการเคารพภักดี

การวิงวอนขอ ความจริงใจ การต่อสู้ จริยธรรมอันดีงาม และความมากมายในเรื่องบริจาค

นอกจากนี้ก็ยังมีความดีงามและเกียรติคุณในด้านอื่นอีกจนนับไม่ถ้วน ในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึงงานบริจาคทานของท่านอิมามอะลี(อ) และงานเสียสละเพื่อการกุศลของท่าน ซึ่งอัลลอฮ์(ซ.บ.) ได้ทรงหยิบยกมาเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งในลักษณะที่พระองค์ตรัสถึงด้วยการให้เกียรติอย่างสูง นั่นคือ กรณีที่ท่านมีเงินสี่ดิรฮัม แล้วท่านบริจาคในยามกลางคืนหนึ่งดิรฮัม บริจาคในยามกลางวันหนึ่งดิรฮัม บริจาคอย่างเป็นความลับหนึ่งดิรฮัม และบริจาคอย่างเปิดเผยอีกหนึ่งดิรฮัม แล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.)จึงทรงประทานโองการมาดังมีใจความว่า

“บรรดาผู้ที่บริจาคทรัพย์สินของพวกตนทั้งในยามกลางคืน และยามกลางวัน ทั้งโดยซ่อนเร้น และโดยเปิดเผย”

ท่านคือผู้ที่บริจาคแหวนในขณะที่กำลังโค้ง(รูกูอ์) แล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ประทานโองการมาว่า

“บรรดาผู้ที่ดำรงการนมาซและการส่งมอบเพื่อการขัดเกลา ในขณะที่ตนกำลังโค้งอยู่”(1)

-------------------------------------------------------------------------

(1) โปรดดูเรื่อง “อิมามในทัศนะของอัล-กุรอาน” จากหนังสือเล่มนี้

๑๔๓

นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกในเรื่องที่ท่านบริจาคเสียสละสิ่งของที่มีค่าหลายประการที่เคยเป็นของของท่าน แต่ท่านได้ทำให้สิ่งนั้นๆ เป็นทาน

ท่านเคยกล่าวว่า

“แน่นอนท่านจะเห็นว่า ฉันจะต้องผูกท้องของฉันไว้กับก้อนหินเพราะความหิวโหย แต่การบริจาคของฉันในวันนี้ จะต้องมากถึงสี่หมื่นดีนาร”(2)

ท่านมุฮัมมัด บินฮิชาม กล่าวว่า “ท่านฮุเซน (อ) มีหนี้สินจำนวนหนึ่งแล้วมุอาวิยะฮ์ได้เสนอซื้อของมีค่าชิ้นหนึ่งซึ่งมีราคาสองแสนดีนาร แต่ท่านปฏิเสธที่จะขายโดยกล่าวว่า

“อันที่จริง มันเป็นของที่บิดาของฉันได้บริจาคไปเพื่อปกป้องใบหน้าของเขาให้พ้นจากความร้อนของไฟนรก ฉันจะไม่ขายมัน”(3)

------------------------------------------------------------------------

(2) อะซะดุล-ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 23

 (3) อะอ์ยานุชชีอะฮ์ 3 กอฟ 2 / 77

๑๔๔

เราจะขอเสนอเรื่องนี้เรื่องเดียวมาเป็นตัวอย่างในหัวข้อการบริจาคทานของท่าน อิมามอะลี(อ)

ซึ่งท่านเป็นผู้ครอบครองสิ่งของที่มีค่าชิ้นสองชิ้นที่เลื่องลือ ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นของที่แสนรักแสนหวงของอะบู นัยซัร แต่เขาได้มอบให้ท่านอะลี(อ)ด้วยความรัก ท่าน(อ)ได้ถนอมของมีค่าชิ้นนี้มาก

แต่ได้กล่าวในทันทีที่ได้รับว่า “แน่นอนฉันจะต้องบริจาคของชิ้นนี้” (4)

ท่านได้เขียนจารึกไว้ที่ของที่ท่านบริจาคว่า

“ด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาอยู่เป็นนิรันดร์ นี่คือสิ่งที่อะลี อะมีรุลมุมีนีน ได้บริจาคของอันมีค่าอันเป็นที่เลื่องลือสองประการ สำหรับคนยากจนแห่งมะดีนะฮ์และแก่คนเดินทาง เพื่ออัลลอฮ์(ซ.บ.)จะได้ทรงปกป้องใบหน้าของเขาให้พ้นจากไฟนรกในวันฟื้นคืนชีพ จะไม่มีการติดตามทวงคืน นอกจากมอบให้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงรับมรดกในของสองสิ่งนี้ และพระองค์คือผู้สืบมรดกที่ประเสริฐที่สุด นอกจากกรณีที่ฮะซัน และฮุเซนต้องการของทั้งสองนี้ กล่าวคือ สองคนนี้มีสิทธิครอบครองมันได้ และไม่มีใครอื่นอีก”(5)

-------------------------------------------------------------------------

(4) อับศอรุลอัยน์ ของอัซ ซะมาวี หน้า 62

(5) อะอ์ยานุชชีอะฮ์ 3 กอฟ 2 / 77

๑๔๕

ขอให้ความสันติสุข พึงมีแด่ท่านเถิด ข้าแต่อะมีรุลมุมีนีน แน่นอนที่สุด ท่านได้ฝากบทเรียนไว้ในวิถีการดำเนินชีวิตทุกแง่ทุกมุมแล้ว ถ้าหากเราได้ปฏิบัติ เราก็จะได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า เราจะเป็นประชาชาติที่ประเสริฐที่สุดในหน้าแผ่นดิน แต่ทว่าเราทั้งหลายบั่นทอนตัวของเราเอง ศัตรูของเราจึงสามารถเอาชนะเราได้ อัลลอฮ์(ซ.บ.) เท่านั้นคือ

ผู้ทรงไว้ซึ่งความช่วยเหลือ

 วจนะจากบรรดาสาวกและรุ่นที่ถัดมา

คงจะเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ ในการที่เราเสนอหลักฐานการยกย่องเกียรติคุณของอิมามอะลีบินอะบีฏอลิบ(อ) โดยถ้อยคำของบรรดาสาวกและถ้อยคำของคนในรุ่นที่ถัดมา เพราะถ้าหากไม่เป็นเพราะว่า ท่านเป็นผู้มีผลงานในด้านการต่อสู้ และในด้านอื่น ๆ แล้ว แน่นอนพวกเขาคงจะลืมท่านไปเสียแล้วก็ได้ จะมีคุณค่าอะไรในการกล่าวถึงท่านอีก ในเมื่อท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้กล่าวถึงในเรื่องตัวของท่านว่า

“อะลีเอ๋ย ไม่มีใครรู้จักเจ้าได้ดี นอกจากอัลลอฮ์(ซ.บ.)และข้ากับข้อนี้เองที่ว่าเกียรติยศ และความยิ่งใหญ่ เป็นของเจ้าจนถึงที่สุด”

ถูกแล้ว จุดประสงค์ในคำพูดต่าง ๆ ของบรรดาผู้มีความรู้เหล่านี้ช่วยให้เราได้มีภาพพจน์ขึ้นมาประการหนึ่งสำหรับความยิ่งใหญ่ในแง่มุมต่างๆ ของท่านอิมามอะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) และเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักที่พวกเขามีต่อท่าน และการปกป้องเกียรติยศที่คนเหล่านั้นมีต่อท่าน

คำพูดของบรรดาสาวกและคนรุ่นถัดมานั้น เรามีมากมายจนเหลือเฟือ คือไม่ว่าจะเป็นตำราประวัติศาสตร์อิสลามเล่มใด ไม่แคล้วที่ต้องมีการเอ่ยถึงชื่อของท่านอิมามอะลี(อ)ในเล่มนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคใดภาคหนึ่ง

ท่านอิมามอะลี(อ) จะต้องเป็นบุคคลแรกที่ถูกนำชื่อมาเอ่ยถึงเสมอ

๑๔๖

เราจะเสนอคำพูดของบุคคลเหล่านั้น ณ บัดนี้

1. ท่านอะบูบักร์ ได้กล่าวถึงท่าน อะมีรุลมุมีนีน(อ) ว่า

“บุตรของอะบีฏอลิบเอ๋ย ท่านเป็นผู้ปกครองของผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงทุกคน”(1)

(1) อัล-ฟุตูหาต อัล-อิสลามียะฮ์ เล่ม 2 หน้า 470 เป็นคำพูดที่ท่านกล่าวขึ้น หลังจากที่ท่านนบี (ศ) กล่าวว่า “ฉันเป็นผู้ปกครองของใคร อะลีย่อมเป็นผู้ปกครองของคนนั้น”

2. ท่านอุมัร บินค็อฏฏอบได้กล่าวว่า

“หากไม่มีอะลี อุมัรต้องหายนะแน่”(2)

“อย่าให้ฉันมีชีวิตอยู่ จนพบกับปัญหาที่ยุ่งยากใด ๆ ในยามที่ไม่มีบิดาของฮะซันด้วยเลย”(3)

 “ไม่ว่าใครก็อย่าวิจารณ์อันใดเป็นอันขาด ในขณะที่อะลีมาถึง”(4)

“บุคคลใดอย่างได้ออกความเห็นเลย ขณะท่านอะลีอยู่”(5)

--------------------------------------------------------------

(2) ชัรฮ์ นะฮ์ญุล บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 6 และตัซกิเราะตุลเคาะวาศ หน้า 87

(3) ชัรฮ์ นะฮ์ญุล-บะลาเฆาะฮ์ เล่ม 1 หน้า 6 และอะขะดุล-ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 220 และตะฮ์ซีบุต-ตะฮ์ซีบ เล่ม 7 หน้า 337

 (4), (5) อ้างเล่มเดิม

๑๔๗

“ขอให้อัลลอฮ์(ซ.บ.) อย่าให้ฉันมีชีวิตอยู่ภายหลังบุตรของอะบีฏอลิบเลย”(6)

และว่า “อะลี คือผู้ตัดสินที่ดีที่สุดของพวกเรา” (7)

3. ท่านอุษมาน บินอัฟฟาน ได้กล่าวว่า “หากไม่มีอะลี อุษมานต้องหายนะแน่” (8)

4. ท่านอับดุลลอฮ์ บินมัสอูด กล่าวว่า “พวกเราพูดกันว่า ผู้พิพากษาแห่งนครมะดีนะฮ์ต้องเป็นอะลี บินอะบีฏอลิบ” (9)

5. ท่านสะอีด บินมุซีบกล่าวว่า “ในหมู่มนุษย์จะไม่มีใครสามารถพูดคำว่า “จงถามฉันเถิด”ได้เลยนอกจากอะลี บินอะบีฏอลิบ” (10)

------------------------------------------------

(6) ตัซกิเราะตุลเคาะวาศ หน้า 88

(7) ตะฮ์ซีบุต-ตะซีบ เล่ม 7 หน้า 337

(8) อัล-ฆอดีร เล่ม 7 หน้า 214

(9) อะซะดุล-ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 22

(10) เล่มเดิม

๑๔๘

6. ท่านสะอัด บินอะบีวักก๊อซพูดกับมุอาวิยะฮ์ว่า “ฉันขอบอกว่าที่ฉันไม่อาจด่าประณามเขา (อิมามอะลี) ได้ ก็เพราะเหตุผล 3 กรณี ที่ท่านศาสนทูต (ศ) เคยพูดถึงไว้ ซึ่งถ้าหากฉันมีโอกาสได้มาเพียงประการเดียว ฉันจะยินดีมากกว่าได้อูฐสีแดง ฉันเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) กล่าวแก่ท่านอะลี (อ) หลังจากที่ท่านมอบหมายให้เขาอยู่ในหน้าที่ปกครองเมืองแทนการออกไปทำสงครามในครั้งหนึ่งซึ่งท่านอะลี (อ) พูดกับท่าน (ศ) ว่า

“ข้าแต่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ท่านจะให้ฉันอยู่ข้างหลังกับบรรดาสตรีและเด็กๆกระนั้นหรือ ?”

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ได้กล่าวตอบว่า “เจ้ายังไม่พอใจดอกหรืออะลี ที่ฐานะของเจ้ากับฉัน เหมือนกับฐานะของฮารูนกับมูซา เพียงแต่จะไม่มีตำแหน่งนบีภายหลังจากฉันอีกแล้วเท่านั้น”

ในสงครามค็อยบัร ท่านได้พูดถึงเขาว่า “ฉันจะมอบธงให้แก่บุรุษที่รักในอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และศาสนทูตของพระองค์ และอัลลอฮ์ (ซ.บ.) และ

ศาสนทูตของพระองค์ก็รักเขา”

พวกเราต่างตั้งความหวังในเรื่องนี้กัน

แต่ท่านกล่าวว่า “จงเรียกอะลีเถิด”

แล้วเขาก็มาหาท่านในอาการเจ็บตา ท่านได้ใช้น้ำลายแตะที่ดวงตาทั้งสองของเขาและมอบธงให้เขาไป แล้วอัลลอฮ์(ซ.บ.)ก็ทรงประทานชัยชนะให้แก่เขาและยังมีอีกโองการหนึ่งถูกประทานมาว่า

“จงกล่าวเถิด ท่านทั้งหลายจงมาซิ แล้วเราจะเรียกบรรดาลูกของเราและบันดาลูกของพวกท่าน และสตรีของเราและสตรีของพวกท่าน และ

ตัวของเรา และตัวของพวกท่าน”

๑๔๙

ปรากฏว่า ท่านศาสนทูตได้เรียก อะลี ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน และฮุเซน

พลางกล่าวว่า

“ข้าแต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)บุคคลเหล่านี้ คือสมาชิกครอบครัวของข้า”(11)

7. ท่านชัยด์ บินอัรก็อม กล่าวว่า “คนแรกที่นมาซกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) คือ อะลีบินอะบีฏอลิบ”(12)

8. หลังจากท่านอิมามอะลี อะมีรุลมุมินีน(อ)ได้วายชนม์แล้ว ท่านอิมามฮะซัน(อ)ผู้เป็นบุตร กล่าวคำปราศรัยมีใจความตอนหนึ่งว่า

“เมื่อคืนนี้บุรุษหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีคุณงามความดีล้ำหน้าคนทั้งปวง ทั้งยุคก่อนหน้า และยุคหลังอย่างไม่มีใครเสมอเหมือนได้วายชนม์แล้ว แน่นอนที่สุดเขาเคยต่อสู้ร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) โดยเอาตัวเองเป็นเกราะกำบังให้ท่าน ซึ่งท่านศาสนทูต(ศ)ได้มอบธงให้เขาถือ ญิบรออีลได้มาขนาบตัวเขาทางด้านขวา มีกาอีลมาขนาบตัวเขาทางด้านซ้าย เขาไม่เคยกลับจากสมรภูมิรบใดที่อัลลอฮ์(ซ.บ.)ไม่ให้ชัยชนะแก่เขา”(13)

9. ท่านหญิงอาอิชะฮ์ได้กล่าวว่า

“ฉันไม่เคยเห็นท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)รักบุรุษคนใดมากกว่าเขา”(14)

------------------------------------------------------------

(11) เล่มเดิม

(12) อัล-อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล-อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 32

(13) มะกอติล อัฏฏอลิบีน หน้า 35

(14) อัล อักดุลฟะรีด เล่ม 2 หน้า 216

๑๕๐

“เขาคือคนที่รู้เรื่องชุนนะฮ์มากกว่ามนุษย์ทั้งหลาย”(15)

10. ท่านอะบูซะอีด อัลคุดรีกล่าวว่า “พวกเรารู้จักคนที่กลับกลอก

 (มุนาฟิก) ได้ ตรงที่สังเกตว่าใครโกรธท่านอิมามอะลี(อ)” (16)

11. ท่านกันซ์ บินซะอัด บินอุบาดะฮ์ได้กล่าวแก่ มุอาวิยะฮ์ บิน

อะบีซุฟยานว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงแต่งตั้งท่านนบีมุฮัมมัด(ศ)มาเพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลโลก

พระองค์ทรงแต่งตั้งท่านมายังมนุษย์ทั้งมวล ทั้งในหมู่ญินและมนุษย์

ไม่ว่าจะเป็นผิวแดง ดำ หรือขาว พระองค์ทรงคัดเลือกท่านมาให้ดำรงตำแหน่งนบี และมอบคัมภีร์เล่มหนึ่งมาให้ท่าน ปรากฏว่าคนแรกที่ศรัทธาในตัวท่านคือ อะลี บินอะบีฏอลิบ(อ) บุตรแห่งผู้เป็นลุงของท่านเองในขณะที่อะบูฏอลิบทัดทานและยับยั้งเขาอยู่ เขาดำเนินการเคลื่อนไหวท่ามกลาง พวกมิจฉาทิฐิแห่งตระกูลกุเรช และท่ามกลางผู้คนซึ่งมีทั้งที่ปกป้องท่านและให้ร้ายท่าน ภารกิจของท่านคือเผยแผ่สาส์นแห่ง

พระผู้อภิบาลของท่าน ท่ามกลางเสียงคัดค้านและการให้ร้ายต่างๆนั้น อะบูฏอลิบผู้เป็นลุงของท่านก็ได้เสียชีวิตไป และเขาได้สั่งให้บุตรชายของตนสนับสนุนท่านรอซูล(ศ) ซึ่งเขาก็ได้ช่วยเหลือและสนับสนุนท่านโดยเอาตัวเองเข้าไปแลกกับภัยอันตรายทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความเดือดร้อน หรืออุปสรรคที่น่าหวาดกลัวสักเพียงใดก็ตาม ในเหตุการณ์เช่นนี้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงเจาะจงที่จะให้มีอะลี(อ) ขึ้นมาท่ามกลางพวกกุเรช ให้เขามีเกียรติท่ามกลาง

ชาวอาหรับ และคนที่มิใช่ชาวอาหรับ”

------------------------------------------------

 (15) อัล อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 40

(16) อัล อะอิมมะตุล อิซนาอะซัร ของอิบนุฏลูน หน้า 56

๑๕๑

ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) เคยเรียกบรรดาลูกหลานของ

อับดุลมุฏฏอลิบมาชุมนุม ในจำนวนนั้น มีทั้งอะบูฏอลิบ และอะบูละฮับ ซึ่งมีด้วยกันในวันนั้น 40 คน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) ได้เรียกคนเหล่านั้น รวมทั้งอะลี (อ) ผู้รับใช้ของท่าน โดยที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) นั่งอยู่ต่อหน้าของลุงของท่านเอง ท่านกล่าวว่า

“ในหมู่พวกท่าน จะมีใครบ้างที่ประสงค์ในความเป็นพี่น้องกับฉัน เป็นผู้ร่วมภารกิจ เป็นทายาท และเป็นผู้สืบอำนาจ(คอลีฟะฮ์)แทนฉันในหมู่ประชาชาติของฉัน และเป็นผู้ปกครองของผู้ศรัทธาทุกคนภายหลังจากฉัน ?”

คนทั้งหลายต่างพากันนิ่งเงียบแม้ว่าท่านจะกล่าวย้ำถึง 3 ครั้ง แต่ทุกครั้ง

ท่านอิมามอะลี(อ)กล่าวว่า “ข้าแต่ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ฉันจะอยู่กับท่านเอง”

แล้วท่านก็เอาศีรษะของท่านอิมามอะลี(อ) วางลงในตักของท่านแล้วกล่าวว่า “ข้าแต่อัลลอฮ (ซ.บ.) ขอได้โปรดประทานวิชาความรู้ ความเข้าใจและวิทยปัญญา ให้มีอยู่ในตัวเขาอย่างเต็มเปี่ยม”

ต่อจากนั้น ท่านได้กล่าวแก่อะบูฏอลิบว่า

“โอ้ท่านอะบูฏอลิบ บัดนี้จงเชื่อฟังบุตรของท่าน และจงปฏิบัติตามเถิด แน่นอนที่สุด

อัลลอฮ์(ซ.บ.)แต่งตั้งเขาให้อยู่ในตำแหน่งของฮารูนที่เคยมีต่อมูซาและทรงประทานความเป็นพี่น้องระหว่างอะลี(อ)กับตัวของศาสนทูตของพระองค์แล้ว”(17)

----------------------------------------------------------

(17) อัล เฆาะดีร เล่ม 2 หน้า 107

๑๕๒

12. ท่านอับดุลลอฮ์ บินอับบาส ได้กล่าวแก่คนกลุ่มหนึ่งที่กล่าวหาท่านอะลี(อ)ว่า “ความวิบัติจะมีแก่พวกท่านทั้งหลาย จำไม่ได้หรือ เขาคือคนที่ได้ยินเสียงการมาของญิบรออีล (อ) ที่มายังบ้านของเขา แน่นอนที่สุดอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เคยมีโองการตำหนิสาวกของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) ไว้

ในอัล กุรอานทั้งนั้นแต่ไม่เคยกล่าวถึงเขาเลย นอกจากในแง่ดี”(18)

“ท่านอิมามอะลี(อ)ได้มีวิชาความรู้มากถึงเก้าสิบหมวดหมู่ แต่ขอสาบาน ด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ว่าความรู้ของพวกท่านที่มีอยู่รวมด้วยกันคือ สิบหมวดหมู่ที่เหลือนั่นเอง”(19)

“ท่านอิมามอะลี(อ)มีคุณสมบัติพิเศษ 4 ประการ ซึ่งไม่มีใครได้รับคุณสมบัติดังกล่าวนี้

นอกจากเขาคนเดียวนั่นคือเขาเป็นคนแรก ไม่ว่าจะเป็นคนในหมู่

ชาวอาหรับ หรือไม่ใช่อาหรับที่ยืนนมาซร่วมกับท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)เขาคือคนที่ถือธงประจำกองรบ ในการทำสงครามทุกครั้ง เขาคือคนที่อดทนในการยืนเคียงข้างท่านนบี ในยามที่คนอื่น ๆ วิ่งหนี เขาคือคนที่อาบน้ำให้

และนำร่างของท่านลงในสุสาน”(20)

-----------------------------------------------------------------

 (18) ตัซกิเราะตุลเคาะวาศ หน้า 90 และอัล-อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3หน้า 40

(19) อัล อะอิมมะตุล อิซนาอะซัร ของอิบนุฏอลูน หน้า 52

(20) อัล อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 27

๑๕๓

13. ท่านอับดุลลอฮ์ บินอุมัร ได้กล่าวแก่ท่านนาฟิอ์ บินอัซร็อก เมื่อครั้งที่ท่านนาฟิอ์ กล่าวว่า “ฉันเกลียดชังอะลี” ว่า

“อัลลอฮ์(ซ.บ.)จะประทานความเกลียดชังแก่ท่าน ท่านจะเกลียดชังคนที่มีความดีเด่นที่สุดเหนือกว่าคนทั้งหลาย และสิ่งทั้งมวลที่มีอยู่ในโลกนี้กระนั้นหรือ ?”(21)

ท่านกล่าวอีกว่า “ไม่มีอะไรที่ฉันรู้สึกว่า น่าเสียใจที่สุดเท่ากับการที่ฉันมิได้ออกทำการต่อสู้กลุ่มชนที่ละเมิดร่วมกับท่านอิมามอะลี (อ)” (22)

14. ท่านสะอีด บินอ๊าศกล่าวว่า “สิ่งที่ฉันภูมิใจที่สุดคือขออย่าให้คนที่ฆ่าบิดาของฉันต้องเป็นอะลี บินอะบีฏอลิบบุตรชายแห่งผู้เป็นลุงของท่านเลย” (23)

15. มุอาวิยะฮ์ได้กล่าวเมื่อครั้งที่ได้รับทราบข่าวเกี่ยวกับการเสียชีวิตของท่านอิมามอะลี(อ)ว่า

“ความรู้ทางศาสนาและวิชาการต่าง ๆ ได้สูญสลายไปพร้อมกับการตายของบุตรอะบีฏอลิบ”(24)

ท่านอุตบะฮ์ผู้เป็นพี่ชายได้กล่าวทันทีว่า “จงอย่าให้พวกซีเรียได้ยินคำพูดคำนี้ของเจ้า”

เขาตอบไปว่า “เรื่องของฉัน เจ้าไม่เกี่ยว” (25)

-------------------------------------------------------------

(21) อัล มะนากิบ เล่ม 1 หน้า 240

(22) อัล อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 2 หน้า 53

(23) อะอ์ยานุชชีอะฮ์ 3 กอฟ 1 / 36

(24) อัล อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 45

(25) เล่มเดิม

๑๕๔

16. ท่านญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อัล อันศอรี ได้กล่าวว่า

“เราไม่สามารถรู้จักเลยว่าใครเป็นพวกกลับกลอก(มุนาฟิก) นอกจากสังเกตกับคนที่เกลียดชังท่านอิมามอะลี บินอะบีฎอลิบ(อ)” (26)

17. ท่านฎิร็อร บินฎ็อมเราะฮ์ อัลกะนานี ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของท่านอิมามอะลี(อ)

เมื่อตอนที่มุอาวิยะฮ์ขอร้องให้เขาพรรณนาให้ฟัง ดังนี้

 “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) เขาคือคนที่มีพละกำลังยอดเยี่ยมสุดเหลือ

ประมาณ พูดจาอย่างเชี่ยวชาญ ตัดสินอย่างยุติธรรม วิชาความรู้กระจายออกมาจากตัวของเขารอบด้าน มีวาจาที่เปี่ยมด้วยวิทยปัญญา เป็นคนที่มีชีวิตอยู่บนโลก และบนความสุนทรีย์ของมันอย่างถือสันโดษ เป็นคนที่ชินกับกลางคืนและความโดดเดี่ยว เป็นคนที่หลั่งน้ำตาเสมอ ครุ่นคิดใคร่ครวญ

ตลอดเวลา เป็นคนที่ไม่แบมือรับ และสั่งสอนตัวเอง ชอบสวมใส่เสื้อผ้าหยาบ ๆ และเรียบง่าย ชอบอาหารแบบธรรมดาสามัญ เขาอยู่กับเราเหมือนอย่างพวกเราได้ เขาเข้ามาหาเราเมื่อเราเข้าหาเขา เขาตอบเราเมื่อเราถาม เขาจะมาทันทีที่เราเรียก เขาจะบอกเราเมื่อเราขอร้องให้บอก ขอสาบานด้วยพระ

นามของอัลลอฮ์(ซ.บ.)ว่าพวกเราได้ใกล้ชิดกับเขามาก แต่เขาใกล้ชิดกับเรามากกว่านั้น เราแทบจะพูดถึงความดีงามของเขาไม่หมด เมื่อเขายิ้ม ฟันของเขาจะเรียงรายเป็นระเบียบราวไข่มุก เขาให้เกียรติคนเคร่งศาสนา เขาใกล้ชิดกับคนยากจน คนที่เข้มแข็ง ไม่อาจฉกฉวยข้อผิดพลาดในตัวเขาได้

คนอ่อนแอก็ไม่เคยผิดหวังจากความยุติธรรมของเขา

----------------------------------------------------------------

(26) เล่มเดิม

๑๕๕

 ฉันเคยเห็นเขายืนอยู่โดดเดี่ยวในยามค่ำคืน

ท่ามกลางแสงระยิบระยับของดวงดาว เขาจับเคราของตัวเอง แล้วคลี่ไปมา เขาร้องไห้ด้วยความโศกเศร้า ฉันยังจำคำพูดในตอนนั้นของเขาได้จนบัดนี้ว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาล ข้าแต่พระผู้อภิบาล ซึ่งเขาถ่อมตนต่อพระองค์ที่สุด”

เขากล่าวอีกว่า “โอ้โลกเอ๋ย จงหลอกลวงบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ฉันเถิด กับฉันเจ้าจงผินหลังให้เสียเถิด หรือว่าเจ้าปรารถนาต่อฉัน จงไปให้ห่างไกลเสียเถิด จงไปให้ห่างไกลเสียเถิด แท้จริงฉันได้สลัดเจ้าทิ้งถึงสามครั้งแล้วซึ่งไม่อาจจะกลับคืนมาได้อีก อายุของเจ้าสั้นก็จริง แต่พิษสงของเจ้า มันช่างใหญ่หลวงนัก หนทางชีวิตของเจ้ามันอันตราย โอ้ ผู้ที่มีเสบียงเพียงเล็กน้อย แต่หนทางเดินยังยาวไกล และต้องโดดเดี่ยวในหนทางนั้นอย่างน่าสพึงกลัว”

มุอาวิยะฮ์ถึงกับร้องไห้ จนไม่สามารถสกัดกั้นหยาดน้ำตาที่หยดลงบนเคราของตนได้ เขากล่าวว่า

“ขอให้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ประทานความเมตตาแก่บิดาของฮะซัน

ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) เขาเป็นอย่างนั้นจริง ๆ แล้วเจ้าเสียใจอะไรหรือฎิร็อร?”

เขากล่าวว่า “ความเสียใจของผู้หญิงที่บุตรของตนถูกเชือดให้ตายคาตักนั้น ย่อมไม่มีอะไรหยุดยั้งได้” (27)

----------------------------------------------------------

(27) ศิฟะตุศ ศอฟวะฮ์ เล่ม 1 หน้า 122 และตัชกิเราะตุล เคาะวาศ หน้า 70 อะอ์ยานุชชีอะฮ์ 3กอฟ 1 / 25

๑๕๖

18. ท่านกอกออ์ บินซิรอเราะฮ์ ได้ยืนที่สุสานของท่านอิมามอะลี(อ)แล้วกล่าวว่า

“ข้าแต่ท่านอะมีรุลมุมินีน ขอให้อัลลอฮ์(ซ.บ.)ประทานความปีติชื่นชมแก่ท่าน ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ว่า ชีวิตของท่านคือกุญแจที่ไขความดีงาม และถ้าหากประชาชนทั้งหลายให้การยอมรับท่าน แน่นอนพวกเขาจะได้บริโภคความดีงามทั้งที่อยู่เบื้องบน และที่อยู่เบื้องล่าง แต่ทว่าพวกเขาเนรคุณต่อความโปรดปราน และลุ่มหลงกับโลกนี้”(28)

19. ท่านฮะซัน บัศรี ได้กล่าวว่า

“ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์(ซ.บ.) เขาเป็นธนูที่แม่นฉมังของอัลลอฮ์(ซ.บ.) ที่พุ่งไปต้องแก่ศัตรูของพระองค์ เขาเป็นจอมปราชญ์แห่งประชาชาตินี้ เป็นความภาคภูมิใจ เป็นความประเสริฐสำหรับประชาชาตินี้ เป็นผู้ที่ใกล้ชิดที่สุดของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)ในประชาชาตินี้ เขาไม่เคยเผลอใผลในคำสั่งของอัลลอฮ์(ซ.บ.) เขาไม่เคยอาทรต่อศาสนาของอัลลอฮ์(ซ.บ.) และไม่เคยฉกฉวยทรัพย์สินของอัลลอฮ์(ซ.บ.) อัล กุรอานได้ยกย่องในเกียรติภูมิของเขา เขาคือ อะลี บินอะบีฎอลิบ”(29)

----------------------------------------------------------

 (28) ตารีค ยะอ์กูบี เล่ม 2 หน้า 191

(29) อักดุล ฟะรีด เล่ม 2 หน้า 271 และอัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 47

๑๕๗

20. ท่านอะฏออ์เคยถูกตั้งคำถามว่า “ในบรรดาสาวกของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ) มีใครสักคนไหมที่มีความรู้มากกว่าอะลี?”

ท่านตอบว่า “ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ์ว่า ไม่มีคนที่รู้มากกว่าเขา” (30)

21. ท่านอับดุลลอฮ์ บินอิยาช บินอะบีรอบีอะฮ์ ได้กล่าวแก่ สะอีด บินอัมร์ บินสะอีด บินอาศ

เมื่อสะอีดถามว่า “โอ้ลุงเอ๋ย ทำไมคนทั้งหลายถึงต้องเอาแบบอย่างตามคุณลักษณะของอะลี (อ)?”

เขาจึงกล่าวว่า “ลูกของน้องชายเอ๋ย เพราะว่า อะลีมีสิ่งที่เจ้าต้องการอยู่ในตัวเขา อันได้แก่วิชาความรู้ที่เที่ยงแท้ที่สุด เขาคือเครือญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของท่านนบีและเป็นบุคคลแรกในอิสลาม

เป็นเขยของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) เป็นผู้มีความรอบรู้ในซุนนะฮ์ เป็นนักต่อสู้ที่ฉกาจในสนามรบและเป็นคนเอื้ออารีต่อคนขัดสน”(31)

------------------------------------------------

(30) อะซะดุล ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 22

(31) ตะอ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ เล่ม 7 หน้า 338 และอะซะดุล ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 22

๑๕๘

22. ท่านอามิร บินอับดุลลอฮ์ บินซุบัยร์ ได้กล่าวกับลูกของตนที่ลบหลู่ท่านอะลี(อ)ว่า

“ลูกเอ๋ย เจ้าจงระวัง และจงกลับคำพูดเสีย เพราะแท้จริงบนีมัรวานสาปแช่งเขามาเป็นเวลาถึง 60 ปี แต่อัลลอฮ์(ซ.บ.)มิได้ให้อะไรแก่เขาเลยนอกจากยกย่องเขาตลอดมา แท้จริงไม่ว่าศาสนาจะสร้างอะไรขึ้นมา โลกนี้จะต้องทำลายสิ่งนั้น ๆ เสมอ และโลกนี้ก็ไม่สามารถจะสร้างอะไรขึ้นมา

ได้ นอกจากจะต้องย้อนกลับไปหาสิ่งที่ตนทำลายลงไปเมื่อคราวก่อน”(32)

23. ท่านมุฮัมมัด บุตรของท่านอะบูบักร์ บินกุฮาฟะฮ์ เขียนหนังสือถึง มุอาวิยะฮ์มีใจความตอนหนึ่งว่า

“คนแรกที่ตอบรับและศรัทธาและเชื่อมั่น และยอมรับโดยดุษณีย์คือผู้มีศักดิ์เป็นพี่ชายของท่านศาสดา(ศ)ผู้เป็นบุตรแห่งลุงของท่านศาสดา(ศ)นั่นคือ อะลี บินอะบีฎอลิบ เขาเชื่อมั่นต่อท่านศาสดา(ศ)ในสิ่งเร้นลับพ้นญาณวิสัย เขาเจริญรอยตามท่านศาสดาเหนือกว่าญาติอันเป็นที่รักทุกคน

เขาเอาตัวเองเป็นโล่ห์กำบังให้ท่านศาสดา(ศ)ปลอดภัยทุกครั้งคราว เขาร่วมทำสงครามกับท่านศาสดา(ศ) เขามีความสุขเมื่อท่านศาสดา(ศ)มีความสุข เขามีแต่เสียสละเพื่อท่านศาสดา(ศ) ทั้งยามกลางวันและกลางคืน ทั้งในยามที่น่าหวาดกลัว และน่าประหวั่นพรั่นพรึง จนกระทั่งมีชัยชนะใน

ด้านความดีงาม จนไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน ในบรรดาผู้ที่เชื่อถือตามท่านศาสดาไม่มีใครเคยมีผลงานที่ใกล้เคียงกับเขาเลย แน่นอนฉันก็รู้ว่าเจ้าก็สูงส่ง แต่เจ้าก็คือเจ้า ส่วนเขาก็คือเขา เขาเป็นคนมีเจตนารมณ์ที่ซื่อสัตย์ที่สุด เขาเป็นคนมาจากเชื้อสายที่ดีที่สุด เขาเป็นคนที่มีภรรยาที่ประเสริฐที่สุด

-----------------------------------------------

(32) อัล อิซตีอาบ ภาคผนวกของหนังสืออัล อิศอบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 55

๑๕๙

เขาเป็นลูกของลุงที่ดีที่สุด ลุงของเขาคือ ประมุขของบรรดาวีรชน ผู้พลีชีพเพื่ออิสลาม บิดาของเขาคือผู้ปกป้องศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)

 ความหายนะจะประสบแก่เจ้า ที่เจ้าเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับอะลี(อ) ในขณะที่เขาคือทายาทของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ) และเป็นบิดาของคนที่อยู่ในฐานะบุตรของท่าน เป็นคนแรกที่เชื่อถือตามท่านศาสดา(ศ) และใกล้ชิดกับท่านศาสดา(ศ)มากที่สุด ในอัน

ที่จะรับข้อผูกพันต่าง ๆ เขาคือคนที่ท่านศาสดาบอกความลับด้วย และเป็นคนประกาศคำสั่งของ

ท่าน”(33)

24. ท่านชุอ์บีกล่าวว่า

“ท่านอะลี บินอะบีฎอลิบกับประชาชาตินี้ เสมือนหนึ่งท่านมะซี้ห์ (ท่านนบีอีซา) บุตรของมัรยัมในหมู่ชาวบนีอิสรออีล ประการหนึ่ง นั่นคือคนพวกหนึ่งรักเขาแต่ต้องปกปิดความรักนั้น คนพวกหนึ่งเกลียดชังเขาแต่ต้องปกปิดความเกลียดชังนั้น ท่านเป็นผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อมากที่สุดในหมู่ประชาชนที่พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)ทรงรัก เพราะท่านไม่เคยตอบปฏิเสธผู้ที่ร้องขอเลย แม้แต่เพียงครั้งเดียว”(34)

25. ท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซ ได้กล่าวว่า

“เราไม่เคยรับรู้อีกเลยว่า ในประชาชาตินี้ หลังจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ)แล้ว ยังจะมีใครอีกที่สมถะมากกว่าอะลี บินอะบีฎอลิบ”(35)

--------------------------------------------------------------

(33) มุรูญซ ซะฮับ เล่ม 2 หน้า 43

(34) อัล อักดุล ฟะรีด เล่ม 2 หน้า 216

(35) อะซะดุล ฆอบะฮ์ เล่ม 4 หน้า 24 และตัชกิเราะตุเคาะวาศ หน้า 64

๑๖๐

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

   บทที่ ๘

   คำตรัสกล่าวของพระเจ้า (กะลาม อิลาฮียฺ)

   บทนำเบื้องต้น

    หลังจากที่อธิบายในคุณลักษณะที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้าไปแล้ว จะมาอธิบายกันในคุณลักษณะที่สำคัญที่มีอยู่ในการกระทำของพระองค์ ซึ่งในความเป็นจริง ก็คือ จำนวนของคุณลักษณะของพระเจ้านั้น มีอยู่จำนวนมากเหลือที่จะคณานับได้ ดั่งเช่น ความเป็นผู้ทรงสร้าง,ผู้ทรงกรรมสิทธิ์,ผู้ทรงอภิบาล,ผู้ทรงเมตตาปราณีเสมอ,ผู้ทรงให้อภัยยิ่ง ,ผู้ทรงชี้นำ,ผู้ทรงให้ความไว้วางใจ,ผู้ทรงให้การปกครอง,ผู้ทรงให้การช่วยเหลือ,ผู้ทรงให้ชีวิต,ผู้ทรงการขอบคุณ และ ฯลฯ

คุณลักษณะที่ถูกกล่าวในอัล กุรอานนั้น บ่งบอกถึง คุณลักษณะที่มีอยู่ในการกระทำของพระเจ้า ซึ่งก็มีจำนวนมาก ซึ่งบรรดานักเทววิทยาอิสลามได้ให้ความคิดเห็นว่า สมควรที่จะพูดคุยกันในประเด็นที่เกี่ยวกับ คุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า แต่สิ่งที่ได้หยิบยกมาอ้างนั้น มีเพียงคุณลักษณบางส่วนเท่านั้น โดยใช้วิธีการอธิบายของบรรดานักเทววิทยาในอดีต ซึ่งเป็นแบบอย่างให้กับนักเทววิทยาอิสลามร่วมสมัย

๓๒๑

   ความเป็นจริงของคำตรัสกล่าวของพระเจ้าคืออะไร?

    พระเจ้า เป็นผู้พูดหรือผู้ตรัสกล่าว ดังนั้น การพูดหรือการตรัสกล่าว จึงเป็นหนึ่งในคุณลักษณะของพระองค์ นั่นก็คือ สิ่งที่บรรดานักเทววิทยาในสำนักคิดทั้งหลายมีความเห็นตรงกัน แต่มีการโต้แย้งในรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งจะกล่าวได้ว่า การโต้แย้งของพวกเขานั้น เกิดขึ้นมาจาก ๒ ประเด็นหลัก ดังนี้

๑.การอธิบายในความหมายของ คำพูด หรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า

๒.แหล่งกำเนิดหรือบ่อเกิดของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า นักวิชาการบางคนได้บอกว่า คำตรัสกล่าวของพระองค์นั้น มีมาแต่เดิม และบางคนได้บอกว่า มิได้มีมาแต่เดิม แต่ทว่าคำพูดของพระองค์นั้นเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

หากพึงสังเกตุในประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดข้อกังขากันในหมู่นักวิชาการในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม ก็คือ เรื่องการอธิบายใน คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดสงครามระหว่างกัน ด้วยกับการไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงของ คำตรัสกล่าวของพระองค์  และในบทนี้ จะขอกล่าวถึง ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า กันก่อน แล้วจึงค่อยมาอธิบาย สาเหตุการเกิดขึ้นของคำตรัสกล่าวในพระเจ้า และในประเด็น คำตรัสกล่าวของพระเจ้าในมุมมองของอัล กุรอานและวจนะ เป็นอันดับต่อไป

๓๒๒

   ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า

    การอธิบายความหมายของ คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น มีการให้ทัศนะต่างๆจากบรรดานักเทววิทยาอิสลามและมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ดังนี้

๑.บรรดานักเทววิทยาอิสลาม กลุ่มหนึ่งกล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า  หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษร และมีความเชื่อว่า เสียงและอักษรดังกล่าวนั้น  เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม และอยู่ในอาตมันของพระองค์ และพวกเขายังมีความเชื่ออีกว่า ปกของอัล กุรอานนั้น ก็มีมาแต่เดิม และนี่คือ ทัศนะของสำนักคิดฮัมบะลีย์

๒.กลุ่มนี้ ได้กล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียง และอักษรที่มีในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่

๓.ทัศนะที่สามได้กล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษรที่มิได้มีในอาตมันของพระองค์ และเป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และเป็นการกระทำ และสิ่งสร้างของพระองค์ ทัศนะนี้เป็นทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์

๔.กลุ่มหนึ่งของสำนักคิดอัชอะรีย์ได้กล่าวว่า คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง คุณลักษณะที่อยู่ในอาตมันของพระองค์ ที่มิใช่ความรู้ และความประสงค์ พวกเขาเรียก คุณลักษณะนี้ว่า กะลามนัฟซี หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษรที่มีมาแต่เดิม และเป็นคุณลักษณะที่อยู่ในอาตมันของพระเจ้า และมิใช่คำสั่ง หรือเป็นการห้าม และการบอกเล่า หรือการเรียกร้อง

๓๒๓

การวิเคราะห์ในทัศนะที่ได้กล่าวผ่านไปแล้วนั้น จะกล่าวได้ว่า ทัศนะที่หนึ่งกับสองนั้น ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะว่าการให้ความคิดเห็นนี้ เป็นการแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษรที่เป็นวัตถุในสิ่งที่มิใช่วัตถุ เป็นไปไม่ได้ แม้ว่าเสียงและตัวอักษรจะมีมาแต่เดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ก็ตาม และทัศนะของอัชอะรีย์ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง ปัญหาของทัศนะนี้ก็คือ การยอมรับ กะลามนัฟซีว่า มีความหมายที่มิใช่ความรู้ และความประสงค์ของพระเจ้า ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ และจะกล่าวได้ว่าในความเป็นจริงนั้น จากความเชื่อของสำนักคิดอัชอะรีย์ พวกเขาได้ยอมรับว่า กะลามนัฟซี ก็คือ ความหมายเดียวกันกับความรู้และความประสงค์ของพระเจ้า  ซึ่งไม่สามารถแยกคุณลักษณะเหล่านี้ออกจากกันได้

ด้วยเหตุนี้ ทัศนะที่ถูกต้องก็คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า หมายถึง การแสดงออกด้วยเสียงและตัวอักษร บางครั้งในสิ่งที่เป็นวัตถุ เช่น ต้นไม้ และในบางครั้งมาจากบรรดาเทวทูต และบางครั้งมาในสภาพอื่น นอกเหนือจากนี้ ทัศนะนี้ยังเป็นทัศนะของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในสำนักคิดชีอะฮ์ อิมามียะฮ์ ซึ่งมีทัศนะคล้ายกับทัศนะของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์

ท่านอัลลามะห์ มัจลิซีย์ ได้กล่าวว่า

“สำนักคิดชีอะฮ์อิมามียะฮ์มีความเชื่อว่า กะลามของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ที่ประกอบด้วยเสียงและตัวอักษรที่มิได้มีอยู่ในอาตมันของพระองค์ และความหมายของ การเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า คือ การเกิดขึ้นด้วยเสียงและตัวอักษรในสิ่งที่เป็นวัตถุ” (บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๕๐)

๓๒๔

สิ่งที่ควรจำก็คือ มีความแตกต่างกันระหว่างคำตรัสกล่าวของพระเจ้ากับคำพูดของมนุษย์ นั่นก็คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ไม่ต้องการวัตถุและอุปกรณ์ในการสื่อสาร เพราะว่า การมีอยู่ของสิ่งดังกล่าว เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ และพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการเป็นวัตถุ

จะสรุปได้ว่า ความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า คือ ถ้อยคำที่ถูกบันทึกหรือได้ยิน บ่งบอกถึง ความประสงค์ของพระองค์ และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่อย่างแน่นอน ดั่งเช่น สรรพสิ่งที่มีอยู่ เป็นสิ่งสร้างหรือเป็นการกระทำ และเป็นคุณลักษณะหนึ่งในการกระทำของพระองค์

   ทุกสรรพสิ่งคือ ดำรัส ของพระเจ้า

    บางทีความหมายของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น มีความหมายกว้างกว่าตัวอักษรและเสียง ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึง สรรพสิ่งทั้งหลาย ก็คือ ทุกสิ่งที่มีอยู่ ไม่ใช่เป็นเพียงการกระทำของพระเจ้าเท่านั้น  แต่ยังหมายถึง ทุกการกระทำของพระองค์ คือ คำตรัสกล่าวของพระองค์ด้วย และได้มีคำถามเกิดขึ้นว่า เราจะกล่าวว่า ทุกสิ่งที่มีอยู่ คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้าได้อย่างไร ? ในขณะที่ความหมายของคำว่า คำตรัสกล่าว หมายถึง ตัวอักษรที่ถูกบันทึกหรือถูกรายงาน

๓๒๕

สำหรับคำตอบที่ง่ายและสั้น ก็คือ เมื่อเราได้พิจารณาความหมายของ ตัวอักษร หมายถึง การรายงานที่ได้รับจากความหมายที่ผู้พูดต้องการจะสื่อสาร ดังนั้น ความหมายที่แท้จริงของ คำพูด คือ การรายงานและการแสดงออก  กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การกระทำของคนหนึ่ง แสดงว่า คนนั้นเป็นผู้กระทำ และยังบ่งบอกถึง คุณลักษณะของผู้กระทำอีกด้วย และความแตกต่างกันระหว่างสิ่งทั้งสอง ก็คือ การแสดงถึงตัวอักษร เป็นชนิดหนึ่งของการบ่งบอกที่ถูกกำหนดขึ้นมา และในขณะที่การแสดงออกด้วยการกระทำ เป็นชนิดหนึ่งของการบ่งบอกที่มีมาจากการใช้สติปัญญา ด้วยเหตุนี้ จะกล่าวได้ว่า ความหมายของ คำพูด นั้นมีความหมายที่กว้างและได้รวมถึงการกระทำของพระเจ้าด้วย เพราะว่า ทุกการกระทำ บ่งบอกถึง คุณลักษณะต่างๆและจุดประสงค์ของผู้กระทำ และในอัล กุรอานและวจนะได้กล่าวเน้นย้ำในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน  ดังนั้น โองการทั้งหลายของพระเจ้า คือ คำตรัสกล่าวและดำรัสของพระองค์

   กะลาม ลัฟซีย์ กะลาม นัฟซีย์ และ กะลามเฟียะลีย์

 (ประเภทต่างๆของคำตรัสกล่าวของพระเจ้า)

 จากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้ว จะกล่าวได้ว่า กะลาม (คำตรัสกล่าว) สามารถที่จะแบ่งได้ เป็น ๓ ประเภท ดังนี้

๓๒๖

๑.กะลาม ลัฟซีย์ หมายถึง ตัวอักษรและเสียงที่ถูกถ่ายทอดมาจากพระเจ้า เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบในความประสงค์ของพระองค์

๒.กะลาม นัฟซีย์ หมายถึง ความหมายหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า และมิใช่ความรู้และความประสงค์ของพระองค์ ซึ่งกะลาม ลัฟซีย์ก็เกิดขึ้นจากกะลามประเภทนี้

๓.กะลาม เฟียะลีย์ หมายถึง สิ่งสร้างทั้งหลาย คือ การกระทำของพระเจ้า ที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระองค์

ในระหว่างประเภททั้งสามของกะลาม ประเภทแรกและประเภทที่สามซึ่งเป็นที่ถูกยอมรับ ส่วนประเภทที่สองนั้น จากคำอธิบายของสำนักคิดอัชอะรีย์ ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับ

   การมีมาแต่เดิมและการเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ของ

คำตรัสกล่าวของพระเจ้า

   ในศตวรรษที่สองของอิสลาม ประเด็นหนึ่ง ที่เป็นปัญหากันมากในมุสลิม  ก็คือ ประเด็นของอัล กุรอาน ซึ่งเสมือนคำตรัสกล่าวของพระเจ้า จึงได้มีคำถามว่า อัล กุรอาน เป็นสิ่งที่มีแต่เดิมหรือเพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่?

อะห์ลุลฮะดีษ (กลุ่มชนที่ยึดถือวจนะของท่านศาสดาอย่างเดียว) และสำนักคิดฮัมบะลีย์ และสำนักคิดอัชอะรีย์ มีความเชื่อเหมือนกันว่า อัล กุรอาน เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิม โดยที่พวกเขาได้กล่าวว่า ผู้ที่ไม่ยอมรับในความเชื่อนี้ คือผู้ปฏิเสธ และในทางตรงกันข้าม สำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ กล่าวว่า

อัล กุรอาน เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่และมิได้มีมาแต่เดิม

๓๒๗

 ดังนั้น จะเห็นได้ว่าทัศนะของพวกเขา มีความขัดแย้งกับทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ ตามที่ได้อธิบายความหมายของ คำตรัสกล่าว(กะลาม)ของพระเจ้า ไปแล้ว  และการไม่ยอมรับในความหมายที่กล่าวว่า กะลาม หมายถึง กะลาม นัฟซี นั้น ก็เช่นกันว่า ทัศนะที่กล่าวว่า อัลกุรอาน เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิม ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะถ้ากล่าวกันว่า กะลามของพระเจ้า หมายถึง ตัวอักษรและเสียง หรือสิ่งที่มีอยู่ แน่นอนที่สุด กะลามก็เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมา และหากกล่าวว่า กะลาม คือ คำพูดและคำตรัสกล่าวของพระเจ้า ก็หมายความว่า ได้ยอมรับในการเพิ่งมีมาของกะลาม เพราะว่า คำตรัสกล่าว คือ คุณลักษณะหนึ่งในการกระทำของพระองค์ ที่เกิดจากการแสดงออกด้วยตัวอักษรและเสียง หรือ การเกิดขึ้นของสิ่งที่มีอยู่ในความเป็นจริง และเป็นทราบกันดีว่า คุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้านั้น เป็นคุณลักษณะที่เพิ่งมีมา  ด้วยกับสาเหตุที่ว่า ที่มาของการกระทำของพระองค์ คือ การเพิ่งเกิดขึ้นของการกระทำ และด้วยกับเหตุผลของสำนักคิดที่ยอมรับว่า กะลามของพระเจ้า เป็นสิ่งที่มีมาแต่เดิม  เป็นเหตุผลที่ไม่แข็งแรง และไม่มีพื้นฐานทางสติปัญญา และการวิเคราะห์และตรวจสอบเหตุผลทั้งหลายนั้น ใช้เวลามาก

ซึ่งจะอธิบายในภายหลังต่อไป ดังนั้น ทัศนะที่ถูกต้อง ซึ่งบรรดาผู้นำที่บริสุทธิ์ได้กล่าวเน้นย้ำ และทัศนี้เป็นที่ยอมรับ ในหมู่นักเทววิทยาอิสลามสำนักคิดชีอะฮ์ นั่นก็คือ กะลามของพระเจ้า เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่

๓๒๘

   เหตุผลของการเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า

   หลังจากที่ความหมายของ คำว่า คำพูดหรือกการตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น เป็นที่กระจ่างชัด สำหรับเราแล้ว จะมาอธิบายกันในเหตุผลของการเป็นผู้พูด หรือ ผู้ตรัสกล่าวของพระองค์ และในระหว่างเหตุผลทั้งหลายของนักเทววิทยาอิสลามที่ได้พิสูจน์ว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะนี้  มีเหตุผลหนึ่ง ซึ่งมีดังนี้

ในประเด็นของการมีพลังอำนาจของพระเจ้า ได้กล่าวไปแล้วว่า พลังอำนาจของพระองค์นั้น มีอยู่ในทุกสิ่งที่เป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพา โดยกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การเกิดขึ้นของตัวอักษรที่ถูกบันทึก หรือไได้ยิน เป็นการกระทำที่ต้องพึ่งพา ดังนั้น การเกิดขึ้นของตัวอักษรและเสียง ก็คือ คำพูดหรือการตรัสกล่าวของพระเจ้า ซึ่งเกิดขึ้นในจากมีพลังอำนาจของพระองค์ ดั่งที่ท่านมุฮักกิก ตูซีย์ ได้กล่าวว่า

“การมีพลังอำนาจของพระเจ้าต่อสิ่งทั้งหลาย บ่งบอกถึง การมีอยู่ของกะลามในพระองค์”

(กัชฟุลมุรอด หน้าที่ ๓๑๕)

๓๒๙

   คุณลักษณะ การตรัสกล่าว ในอัล กุรอานและวจนะ

   คำว่า กะลาม (คำตรัสกล่าว) ที่เป็นคุณลักษณะของพระเจ้า มิได้ถูกกล่าวไว้ในอัล กุรอาน  แต่ได้ใช้ในรูปแบบของ กริยาของพระเจ้า เช่น โองการนี้ที่ได้กล่าวถึง ศาสดามูซา ว่า

“และอัลลอฮ์(พระเจ้า) ทรงตรัสกับมูซาอย่างเปิดเผย” (บทอันนิซา โองการที่ ๑๖๔)

นอกจากนี้ โองการนี้ได้กล่าวว่า กะลามมุลลอฮ์ แปลว่า คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ในสามครั้งด้วยกัน และกล่าวว่า คำกล่าวของฉัน เพียงครั้งเดียว และในบางครั้งก็กล่าวเช่นกันว่า ตัวอักษรของพระผู้อภิบาลของเจ้า และตัวอักษรของอัลลอฮ์ (พระเจ้า) จากสิ่งดังกล่าวนั้น สามารถจะบอกได้ว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะการเป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าว

และบางโองการของอัลกุรอาน กล่าวถึง กะลาม ลัฟซี ว่า

เมื่อเขาได้มาที่มัน (ไฟ) ได้มีเสียงเรียกจากริมที่ลุ่มทางด้านขวา ในสถานที่ที่มีความจำเริญ ณ ที่ต้นไม้ ว่า โอ้มูซาเอ๋ย ! แท้จริงข้าคืออัลลอฮ์พระเจ้าแห่งสากลโลก” (บทอัลกอศ็อด โองการที่ ๓๐)

โองการนี้ กล่าวถึง การสนทนาของพระเจ้ากับศาสดามูซา และจากการสนทนานี้ ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า ศาสดามูซาได้ยินตัวอักษรที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า

และในโองการหนึ่ง ก็ได้กล่าวถึง  มีอยู่สาม ประเภทในการสนทนาของพระเจ้ากับมนุษย์

๓๓๐

และไม่เป็นการบังควรแก่มนุษย์คนใดที่จะให้อัลลอฮ์ตรัสแก่เขาเว้นแต่โดยทางวะฮีย์ยฺ(การวิวรณ์) หรือโดยทางเบื้องหลังม่าน หรือโดยที่พระองค์จะส่งทูตมา แล้วเขา (มะลัก) ก็จะนำวะฮีย์ยฺมาตามที่พระองค์ทรงประสงค์โดยบัญชาของพระองค์ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงปรีชาญาณ

  (บทอัชชูรอ โองการที่ ๕๑)

โองการดังกล่าวได้อธิบายถึงการมีอยู่ของประเภททั้งสามในการสนทนาของพระเจ้า ศึ่งมีดังนี้

๑.การสนทนาโดยผ่าน การวิวรณ์ โดยไม่ใช้สื่อในการสื่อสาร ในสภาพเช่นนี้ ความหมายของการสนทนานั้น ได้เกิดขึ้นในบุคคลที่สื่อสารกับพระเจ้า

๒.การสนทนาโดยผ่านการวิวรณ์ที่เกิดขึ้นโดยสื่อ หมายถึง บรรดาเทวทูต เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงประทานลงมา เพื่อเป็นผู้สื่อสารของพระองค์

๓.การสนทนาที่เกิดขึ้นจากการได้ยิน และไม่เห็นผู้พูด

นอกจากความหมายของการเป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้า อัล กุรอานยังได้กล่าวอีกว่า ทุกสรรพสิ่ง เป็น ตัวอักษรของพระองค์

บางครั้ง ศาสดาอีซาถูกเรียกว่า ดำรัสของพระเจ้า

อัล กุรอานกล่าวว่า

 “ แท้จริง อัล-มะซีฮ์ อีซาบุตรของมัรยัมนั้น เป็นเพียงร่อซู้ลของอัลลอฮ์และเป็นเพียงดำรัสของพระองค์ที่ได้ทรงกล่าวมันแก่มัรยัม และเป็นเพียงวิญญาณหนึ่งจากพระองค์ เท่านั้น”

 ( บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๑๗๑ )

และเช่นกัน บางครั้งทุกสรรพสิ่งและปัจจัยยังชีพของพระเจ้า เป็นตัวอักษรของพระองค์

๓๓๑

กล่าวอีกว่า

“และหากว่าต้นไม้ทั้งหมดที่มีอยู่ในแผ่นดินเป็นปากกาหลาย ๆ ด้าม และมหาสมุทร (เป็นน้ำหมึก) มีสำรองไว้อีกเจ็ดมหาสมุทร พจนารถของอัลลอฮ์ก็จะยังไม่หมดสิ้นไป แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงปรีชาญาณ”

(บทลุกมาน โองการที่ ๒๗)

ด้วยเหตุนี้ อัล กุรอานได้กล่าวใน ความหมายของกะลามของพระเจ้าว่า หมายถึง ดำรัสที่ได้ยินและเป็นสิ่งสร้างของพระองค์ นอกเหนือจากนี้ บางโองการของอัล กุรอาน ยังได้กล่าวอีกว่า กะลามของพระเจ้านั้น เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่ และมิใช่เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม

อัล กุรอานกล่าวว่า

ไม่มีข้อตักเตือนใหม่ ๆ จากพระเจ้าของเขามายังพวกเขา เว้นแต่ว่าพวกเขาจะรับฟังมันและพวกเขาได้ล้อเล่นไปด้วย” (บทอัลอัมบิยา โองการที่ ๒)

และอีกโองการหนึ่ง ได้กล่าวว่า อัล กุรอาน คือ ข้อตักเตือนของพระเจ้า ดั่งในโองการที่ ๙ บทอัลฮิจร์ ดังนั้น ความหมายของข้อตักเตือนดังกล่าว ก็คือ อัล กุรอาน และเป็นข้อตักเตือนที่มีมาใหม่ และนั่นก็คือ ถ้อยคำของอัลกุรอาน

และบางส่วนของวจนะ ก็ได้กล่าวถึง ประเด็นของการมีมาแต่เดิมและการเพิ่งมีมาใหม่ของกะลามของพระเจ้า ซึ่งบางครั้งบรรดาอิมามได้ห้ามมิให้สานุศิษย์ของท่าน ถกเถียงกันในประเด็นนี้ เพราะว่า จะทำให้ประเด็นนี้ ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งของหลักศรัทธา กลายเป็นประเด็นทางการเมืองไปได้ และจะเกิดการสู้รบกันทั้งสองฝ่าย

๓๓๒

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า อิมามริฎอได้กล่าวกับสาวกคนหนึ่งของท่านว่า สำหรับคำตอบ เกี่ยวกับอัล กุรอาน ก็คือ

“เป็นคำตรัสของพระเจ้า ที่เจ้าจะต้องไม่ฝ่าฝืนและไม่ต้องการการชี้นำจากสิ่งอื่นใด นอกจากอัล กุรอานเท่านั้น เพื่อเจ้าจะได้ไม่หลงทาง”

[๑](อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓๐ วจนะที่ ๒ )

อิมามฮาดีย์ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน)ได้กล่าวว่า

“ไม่มีผู้สร้างใด นอกจากอัลลอฮ์ และนอกจากพระองค์ คือ สิ่งถูกสร้าง ในขณะที่อัลกุรอาน คือ คำตรัสของพระองค์ และอย่าได้ตั้งชื่อให้กับอัลกุรอาน เพราะจะทำให้เจ้านั้น เป็นผู้หลงทาง”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๓๐ วจนะที่ ๔ )

รายงานจากท่านอิมามซอดิก ว่า

อะบูบะซีร ได้ถามท่านอิมามว่า พระเจ้าเป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าวที่มีมาแต่เดิมใช่หรือไม่?

อิมามได้ตอบกับเขาว่า

“คำตรัสของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีมาใหม่ พระองค์ทรงมีอยู่และมิได้เป็นผู้พูด หรือผู้ตรัสกล่าว หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงสร้างคำตรัสขึ้นมา”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๖๘)

๓๓๓

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

กะลาม อิลาฮีย์ หมายถึง คำพูดหรือคำตรัสกล่าวของพระเจ้า

 : Speech of God

กะลาม ลัฟซีย์  หมายถึง ตัวอักษรและเสียงที่ถูกถ่ายทอดมาจากพระเจ้า เพื่อให้ผู้ฟังได้รับทราบในความประสงค์ของพระองค์ :  Uttered speech

กะลาม นัฟซี   หมายถึง การรายงานของ ความหมายหนึ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระเจ้า และมิใช่ความรู้และความประสงค์ของพระองค์

:Speech of the soul

กะลามเฟียะลี   หมายถึง สิ่งสร้างทั้งหลายของพระเจ้า เป็นการกระทำที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของพระองค์

: Speech of act

   สรุปสาระสำคัญ

๑.บางสำนักคิดให้ความหมาย คำตรัสกล่าวของพระเจ้าว่า คือการเปล่งเสียงและแสดงตัวอักษรที่เกิดขึ้นจากอาตมันของพระองค์ ดังนั้นทัศนะนี้ ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะการมีตัวอักษรและเสียง เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ ในขณะที่พระเจ้า มิได้เป็นวัตถุ

๒.สำนักคิดอัชอะรีย์ ได้กล่าวว่า คำตรัสของพระเจ้า คือ กะลามนัฟซี ซึ่งหมายถึง  ความหมายที่เกิดขึ้นจากอาตมันของพระองค์ และมิใช่ความรู้และความประสงค์และมิใช่ตัวอักษรและเสียงด้วย

๓๓๔

๓.ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะจากการอธิบายของพวกเขา กะลามนัฟซี จะเป็นไปไม่ได้ นอกจาก ความรู้และความประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้น

๔.ความหมายที่แท้จริงของ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า ก็คือ พระองค์ทรงสร้างตัวอักษรและเสียงในสิ่งทั้งหลาย  และสิ่งเหล่านี้มิได้มีมาแต่เดิม เหมือนอาตมันของพระองค์ แต่ตัวอักษรและเสียง เป็นสิ่งที่ถูกสร้างและเพิ่งมีมาใหม่ และการเป็นผู้ตรัสกล่าวของพระเจ้านั้น ก็แตกต่างกับการเป็นผู้พูดของมนุษย์ ซึ่งไม่มีความต้องการสื่อในการสื่อสาร

๕.ที่ได้กล่าวไปแล้วใน ความหมายของคำตรัสกล่าว คือ คำที่บ่งบอกในความหมาย และบางครั้งมีความหมายที่กว้างออกไปอีก และรวมถึงทุกสรรพสิ่ง เป็นดำรัสของพระเจ้า  เพราะว่า พระเจ้า คือ ผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง  และทุกการกระทำบ่งบอกว่า จะต้องมีผู้กระทำ

๖.กล่าวได้ว่า ความหมายของ กะลาม (คำกล่าว)นั้นมีด้วยกัน สาม ความหมาย กล่าวคือ กะลามลัฟซี ,กะลามนัฟซีและกะลามเฟียะลี และจากความหมายทั้งสามของ กะลาม ความหมายที่สองไม่เป็นที่ยอมรับในสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์และชีอะฮ์อิมามียะฮ์

๗. และเมื่อความหมายของ กะลาม (คำกล่าว) เป็นที่กระจ่างชัดแล้ว และทัศนะที่กล่าวว่า กะลามนัฟซีก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า คำตรัสกล่าวของพระเจ้า เหมือนกับสิ่งสร้างของพระองค์ คือ เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่ และทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์ที่ได้กล่าวว่า กะลามเป็นสิ่งมีมาแต่เดิมนั้น ถือว่า ไม่ถูกต้อง

๘.อัล กุรอานได้กล่าวถึง คำตรัสกล่าวของพระเจ้าในความหมายที่เป็นทั้ง กะลามลัฟซีและกะลามเฟียะลี และในวจนะได้กล่าวว่า คำตรัสกล่าว เป็นสิ่งที่เพิ่งมีมาใหม่

๓๓๕

   บทที่ ๙

   ความสัตย์จริงของพระเจ้า-ความเป็นวิทยปัญญาของพระเจ้า

   บทนำเบื้องต้น

    ในบทที่แล้วได้อธิบายถึงคำพูด ( กะลาม) ของพระเจ้า ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้นว่า การตรัสของพระเจ้านั้น มีความเป็นสัตย์จริง หรือ มีการคาดคิดกันว่า มีการมุสาในคำพูดของพระองค์กระนั้นหรือ?

สำหรับคำตอบ คือ เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นเอกฉันท์ว่า บรรดามุสลิมมีความเชื่อว่า คำพูดของพระเจ้า ไม่มีข้อคลางแคลงใดและไม่มีการโกหกในคำพูดของพระองค์

กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การกล่าวโกหกในพระเจ้านั้น เป็นการกระทำที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ ทัศนะของสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามมีความเห็นตรงกันว่า ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะหนึ่งในอาตมันของพระเจ้า มีความหมายว่า คำพูดของพระองค์ตรงกับความเป็นจริง

การให้ความสำคัญในคุณลักษณะการมีความสัตย์จริงในคำพูดของพระเจ้า จะเห็นได้ว่า คุณลักษณะนี้ เป็นพื้นฐานหนึ่งในการไว้วางใจของมนุษย์ต่อการเชิญชวนบรรดาศาสดา เพราะว่า ถ้าหากว่า คำพูดของพวกเขา ไม่ตรงกับความเป็นจริง การไว้วางใจและความถูกต้องก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นคำพูดของพวกเขา ต้องเป็นจริงและมีความสัตย์จริง และตรงกับความเป็นจริง

๓๓๖

   ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ?

   มีคำถามว่า คุณลักษณะ ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะในอาตมันหรือในการกระทำ

คำตอบ คือ เราต้องดูว่า เราให้ความหมายของกะลาม(คำพูด)ของพระเจ้าว่าอย่างไร?

สำนักคิดอัชอะรีย์มีความเชื่อในกะลาม นัฟซีย์ กล่าวว่า คุณลักษณะกะลาม(คำพูด)เป็นคุณลักษณะในอาตมันและคุณลักษณะความสัตย์จริง ก็เป็นคุณลักษณะในอาตมันด้วย

ดั่งที่ได้กล่าวแล้วว่า การมโนภาพของคุณลักษณะกะลาม นัฟซีย์ที่ไม่ย้อนกลับไปยัง คุณลักษณะความรู้และความประสงค์ของพระเจ้านั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าในสภาพนี้ ถ้าหากว่าความหมายของกะลามในทัศนะของอัชอะรีย์ คือ ความรู้ของพระเจ้า ดังนั้น ความหมายของคุณลักษณะความสัตย์จริง คือ ความรู้ของพระองค์ตรงกับความเป็นจริง  และถ้าหากความหมายของกะลาม คือ ความประสงค์ของพระเจ้า ดังนั้น คุณลักษณะความสัตย์จริงก็ไม่มีความหมาย เพราะว่า ความหมายของความประสงค์ที่มีความสัตย์จริงนั้น ไม่มีอย่างแน่นอน

และถ้าหากกะลาม เป็นคุณลักษณะในการกระทำ แน่นอนที่สุด คุณลักษณะความสัตย์จริง ก็เป็นคุณลักษณะในการกระทำด้วยเช่นกันและได้อธิบายแล้วว่า กะลาม เป็นคุณลักษณะในการกระทำของพระเจ้า ดังนั้น คุณลักษณะความสัตย์จริง ก็เป็นคุณลักษณะในการกระทำเช่นเดียวกัน

๓๓๗

   เหตุผลของนักเทววิทยาอิสลามในการพิสูจน์ความสัตย์จริงของพระเจ้า

   ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า การพิสูจน์คุณลักษณะ ความสัตย์จริง  โดยการอ้างเหตุผลจากอัล กุรอานและวจนะ ผลที่ได้รับก็คือ การเป็นวัฏจักรของเหตุผลทั้งหลายเพราะว่า อัลกุรอานและวจนะ มีความเป็นสัตย์จริงและถ้ากล่าวว่า พระเจ้ามีความสัตย์จริง โดยการพิสูจน์จากอัล กุรอานก็เท่ากับการพิสูจน์การมีอยู่ตนเองด้วยกับตนเอง ซึ่งก็ถือว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จะเหลือเพียงเหตุผลเดียวที่พิสูจน์ว่า พระเจ้า มีคุณลักษณะความสัตย์จริง ก็คือ เหตุผลของการใช้สติปัญญา

บรรดานักเทววิทยาอิสลาม มีความเห็นที่แตกต่างกันในเหตุผลทางสติปัญญา ซึ่งสาเหตุของความเห็นทั้งหลายนั้นมาจาก การให้ทัศนะในการยอมรับและการไม่ยอมรับในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา

นักเทววิทยาอิสลามที่ยอมรับในการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา กล่าวว่า สติปัญญาสามารถที่จะแยกแยะสิ่งที่ดีและสิ่งไม่ดีออกจากกันได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ข้อพิสูจน์หรือคำสอนของศาสนา และการประทานวิวรณ์จากพระเจ้า และสติปัญญายังได้กำหนดอีกว่า พระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี

เพราะว่า มีความขัดแย้งกับการใช้สติปัญญา ผู้ที่ยอมรับในทัศนะนี้ คือ บรรดานักเทววิทยาสำนักคิดอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ ส่วนสำนักคิดอัชอะรีย์ คือ ผู้ที่ไม่ยอมรับทัศนะนี้

เหตุผลของผู้ที่ยอมรับในทัศนะการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา มีดังนี้

การโกหกและการมุสา เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี ดังนั้น พระองค์ไม่ทรงเป็นผู้มุสา ด้วยเหตุนี้ ความจำเป็นของความสัตย์จริงของพระเจ้า มาจากคำตรัสกล่าวของพระองค์ และด้วยกับความหมายที่ตรงกันข้ามระหว่าง ความสัตย์จริงกับการมุสา ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า พระเจ้ามีความจำเป็นที่จะต้องกล่าวในสิ่งที่เป็นจริง

ท่านอัลลามะฮ์ ฮิลลีย์ ได้กล่าวว่า

การปฏิเสธการกระทำที่ไม่ดีในพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัตย์จริงของพระองค์

จะเห็นได้ว่า เหตุผลนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของสำนักคิดอัชอะรีย์ เพราะว่า พวกเขาไม่ยอมรับในพื้นฐานของการมีอยู่ของความดีและความชั่วทางสติปัญญา ด้วยเหตุนี้ นักเทววิทยาบางคนในสำนักคิดอัชอะรีย์ได้อ้างเหตุผลที่ไม่ใช่เหตุผลนี้ในการพิสูจน์ว่า พระเจ้าเป็นผู้ตรัสจริง ดังนี้

การโกหกและการมุสา เป็นข้อบกพร่อง และพระเจ้าไม่ทรงมีข้อบกพร่องในพระองค์ ดังนั้น การโกหกและการมุสา เป็นสิ่งที่ไม่มีในพระองค์

๓๓๘

   ความสัตย์จริงของพระเจ้าในอัล กุรอาน

   อัล กุรอานได้กล่าวไว้ในโองการทั้งหลายมากมาย เกี่ยวกับ ความเป็นผู้ตรัสจริงของพระเจ้า

และเรามาหาท่านด้วยเรื่องจริงและแท้จริงเราเป็นผู้ซื่อสัตย์อย่างแน่นอน

  (บทอัลฮิจร์ โองการที่ ๖๔)

และบางโองการกล่าวว่า กะลามของพระเจ้า เป็นคำพูดที่ตรัสจริงที่สุด“และใครเล่าที่จะมีคำพูดจริงยิ่งกว่าอัลลอฮ์” (บทอันนิซาอ์ โองการที่๘๗)

และใครเล่าที่มีคำพูดจริงยิ่งไปกว่าอัลลอฮ์” ( บทอันนิซาอ์ โองการที่ ๑๒๒)

ความหมายของ การเป็นผู้ตรัสจริงของพระเจ้า ก็คือ  เมื่อได้เปรียบเทียบกับคำพูดของผู้ที่กล่าวจริง จะเห็นได้ว่า คำตรัสกล่าวของพระองค์ เป็นคำกล่าวที่น่าเชื่อถือมากที่สุด

และบางโองการได้กล่าวย้ำในเรื่องนี้ ว่า เป็น สัญญาที่พระเจ้าได้ให้ไว้กับมนุษย์ เช่น สัญญาของพระองค์ ในการช่วยเหลือบรรดามุสลิมในสงครามอุหุด

พระองค์ทรงตรัสว่า

“และแน่นอนอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาของพระองค์สมจริงแก่พวกเจ้าแล้ว”

(บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๕๒)

๓๓๙

และพระองค์ทรงตรัสอีกว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงผิดสัญญา” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๙ และบทอัรเราะด์ โองการที่ ๓๑)

หลังจากที่ได้อธิบายในความหมายของคุณลักษณะ ความสัตย์จริงไปแล้ว จะมาอธิบายกันในความหมายของ ความเป็นวิทยปัญญา เป็นอันดับต่อไป

   ความหมายของ วิทยปัญญา

    คุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า คือ ฮิกมะฮ์ (วิทยปัญญา)  และมีหลายความหมายด้วยกัน ดังนี้

๑.ความหมายหนึ่งของ ฮิกมะฮ์ คือ การรู้จักสารัตถะของสรรพสิ่ง และด้วยกับการมีคุณลักษณะความรอบรู้ของพระเจ้า  ดังนั้น ความหมายนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่ใช้กับพระองค์ และความหมายนี้ยังย้อนกลับไปหายัง คุณลักษณะความรอบรู้ของพระเจ้า จะกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ฮิกมะฮ์ เป็นหนึ่งในความรอบรู้ของพระองค์

๒.อีกความหมายหนึ่งของ ฮิกมะฮ์ คือ ผู้กระทำได้กระทำการกระทำของเขาด้วยกับเป้าหมายและจุดมุ่งหมายที่ถูกยอมรับ ดังนั้นการมีคุณลักษณะนี้ เป็นที่ขัดแย้งกัน

ซึ่งบรรดานักเทววิทยาสำนักคิดอัชอะรีย์มีความขัดแย้งกับทัศนะนี้  และเราจะอธิบายในภายหลังเกี่ยวกับประเด็นนี้

๓.อีกความหมายหนึ่งของ ฮิกมะฮ์ คือ การกระทำของผู้กระทำในเป้าหมายที่สมบูรณ์แบบและมั่นคง และพระเจ้าทรงเป็นผู้ฮะกีมในความหมายด้วยเช่นกัน

๓๔๐

341

342

343

344

345

346

347

348

349

350

351

352

353

354

355

356

357

358

359

360

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

401

402

403

404

405

406

407

408

409

410

411

412

413

414

415

416

417

418

419

420

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450