บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม13%

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม ผู้เขียน:
กลุ่ม: ห้องสมุดหลักศรัทธา
หน้าต่างๆ: 450

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม
  • เริ่มต้น
  • ก่อนหน้านี้
  • 450 /
  • ถัดไป
  • สุดท้าย
  •  
  • ดาวน์โหลด HTML
  • ดาวน์โหลด Word
  • ดาวน์โหลด PDF
  • ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม: 339895 / ดาวน์โหลด: 4958
ขนาด ขนาด ขนาด
บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

บทเรียนเทววิทยาอิสลาม

ผู้เขียน:
ภาษาไทย

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

44

45

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

60

61

62

63

64

65

66

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

78

79

80

81

82

83

84

85

86

87

88

89

90

91

92

93

94

95

96

97

98

99

100

101

102

103

104

105

106

107

108

109

110

111

112

113

114

115

116

117

118

119

120

121

122

123

124

125

126

127

128

129

130

131

132

133

134

135

136

137

138

139

140

141

142

143

144

145

146

147

148

149

150

151

152

153

154

155

156

157

158

159

160

161

162

163

164

165

166

167

168

169

170

171

172

173

174

175

176

177

178

179

180

181

182

183

184

185

186

187

188

189

190

191

192

193

194

195

196

197

198

199

200

201

202

203

204

205

206

207

208

209

210

211

212

213

214

215

216

217

218

219

220

221

222

223

224

225

226

227

228

229

230

231

232

233

234

235

236

237

238

239

240

241

242

243

244

245

246

247

248

249

250

251

252

253

254

255

256

257

258

259

260

261

262

263

264

265

266

267

268

269

270

271

272

273

274

275

276

277

278

279

280

281

282

283

284

285

286

287

288

289

290

291

292

293

294

295

296

297

298

299

300

301

302

303

304

305

306

307

308

309

310

311

312

313

314

315

316

317

318

319

320

321

322

323

324

325

326

327

328

329

330

331

332

333

334

335

336

337

338

339

340

สำหรับการพิสูจน์ความหมายนี้ ของฮิกมะฮ์นั้น นอกเหนือจากการยืนยันของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การเป็นระบบระเบียบของโลกแห่งธรรมชาติและความสวยสดงดงามของสรรพสิ่งทั้งหลายแล้ว ยังมีเหตุผลทางสติปัญญา และจะขอนำมากล่าวเพียง สอง เหตุผล ด้วยกัน ดังนี้

เหตุผลที่หนึ่ง  การไม่สมบูรณ์หรือมีความบกพร่องของการกระทำหนึ่ง เกิดจากความไม่รู้ของผู้กระทำ หรือเกิดจากการที่เขาไม่มีความสามารถที่กระทำการงานนั้นได้ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า การกระทำนั้น เป็นการกระทำที่ไม่มีประโยชน์ และผู้กระทำเป็นผู้ที่ชอบกระทำในสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ดังนั้นจากทั้งหมดที่กล่าวไปแล้วนั้น ถือว่า ไม่มีอยู่ในพระเจ้าเลย เพราะพระองค์ เป็นผู้ทรงรอบรู้และมีความสามารถที่ไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ดั่งที่จะอธิบายในภายหลังว่า พระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่มีประโยชน์และไร้สาระ ด้วยเหตุนี้ กล่าวได้ว่า ทุกสาเหตุที่กล่าวไปแล้ว ไม่มีอยู่ในพระเจ้า เพราะฉะนั้น การกระทำของพระองค์นั้น มีเป้าหมายที่สมบูรณ์ที่สุด

เหตุผลที่สอง ระหว่างการกระทำและผู้ที่กระทำนั้น มีความสัมพันธ์ที่ต้องมีอยู่คู่กัน เพราะการกระทำบ่งบอกในการมีอยู่ของผู้กระทำ ดังนั้น ผู้กระทำที่มีความสมบูรณ์ที่สุด (พระเจ้า) การกระทำของเขาต้องสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน

ความหมายของฮิกมะฮ์ที่ได้กล่าวไปแล้ว ในบางโองการทั้งหลายของอัลกุรอานและวจนะของอิสลามได้กล่าวไว้เช่นกัน

ในโองการแรกของบท ฮูด กล่าวว่า

“อะลีฟ ลาม รอ คัมภีร์ที่โองการทั้งหลายของมันถูกทำให้รัดกุมมีระเบียบ แล้วถูกจำแนกเรื่องต่างๆ อย่างชัดแจ้ง จากพระผู้ทรงปรีชาญาณ ผู้ทรงรอบรู้เชี่ยวชาญ” (บทฮูด โองการที่ ๑)

๓๔๑

ท่านอะมีรุลมุมินีนอะลี ได้อธิบายความหมายของ ฮิกมะฮ์ ไว้ว่า

“สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดไว้แล้ว”

 (นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๘๙)

และกล่าวอีกว่า  “พระเจ้า ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งด้วยกับความรู้และวิทยปัญญาของพระองค์ ที่ไม่ปฏิบัติตามผู้ใด และมิได้เรียนรู้จากผู้ใดหรือลอกเลียนแบบจากผู้อื่น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑๙๑ )

จากความหมายของฮิกมะฮ์ ในความหมายนี้บ่งบอกถึง โลกนี้มีระบบและระเบียบที่มั่นคง เพราะเป็นผลการสร้างของพระเจ้า ผู้ทรงมีวิทยปัญญายิ่ง  ดังนั้น ความหมายของฮิกมะฮ์ ก็คือ การกระทำของพระเจ้า เป็นการกระทำที่มีความสมบูรณ์แบบที่สุด

๔.ความหมายที่สี่ของฮิกมะฮ์ หมายถึง  การไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้นตามความหมายนี้ ผู้มีฮิกมะฮ์ คือ ผู้ที่ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี

จากความหมายนี้ ทำให้มีความเข้าใจได้ว่า ความยุติธรรม หมายถึง การหลีกห่างจากการกดขี่ ซึ่งเป็นหนึ่งในความหมายของฮิกมะฮ์ จะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ความหมายที่สี่ ได้รวมความยุติธรรมเข้าอยู่ด้วย ดังนั้น ความหมายของพระเจ้า ผู้มีฮิกมะฮ์ คือ พระองค์ไม่ทรงปฏิบัติทุกการกระทำที่ไม่ดี เช่น การโกหก การไม่รักษาสัญญา และอื่นๆ และเช่นเดียวกัน พระองค์ไม่กระทำการกดขี่ข่มเหง

ทัศนะของสำนักคิดทั้งหลายของอิสลาม มีการอธิบายที่แตกต่างกันในการให้ความว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่มีวิทยปัญญา

๓๔๒

เหตุผลก็คือ การเป็นผู้มีวิทยปัญญาตามความหมายสุดท้ายนั้น ตั้งอยู่บนรากฐานของการมีความดีและความชั่วทางสติปัญญา และจะกล่าวต่อไปถึง การปฏิเสธความเชื่อนี้ในสำนักคิดอัชอะรีย์ แต่สำนักคิดมุตะซิละห์และอิมามียะฮ์ มีความเชื่อในการมีความดีและความชั่วทางสติปัญญา และถูกรู้จักในนาม อัดลียะฮ์

ด้วยเหตุนี้ สติปัญญาจึงบอกว่า การกระทำที่ไม่ตรงกับปัญญา เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการกระทำนั้น แม้ว่า พระองค์จะมีความสามารถก็ตาม แต่ทว่า การดำรงอยู่ที่สมบูรณ์แบบของพระองค์ บ่งบอกถึงการไม่มีการกระทำเช่นนี้

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ อาตมันอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระองค์ ซึ่งเป็นที่มา และแหล่งกำเนิดของการกระทำที่ดีงาม การอธิบายที่กระจ่างชัด ในประเด็นนี้ จะกล่าวกันใน ความยุติธรรมของพระเจ้า ในภายหลัง

๓๔๓

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความสัตย์จริง เป็นคุณลักษณะหนึ่งของพระเจ้า ในขณะที่มีความสงสัยว่า พระเจ้า มีความสัตย์จริงใช่หรือไม่ การประทานวิวรณ์และคัมภีร์ทั้งหลายของพระองค์ก็ถูกสงสัยด้วยเช่นกัน

๒.การเป็นคุณลักษณะในอาตมันและในการกระทำของความสัตย์จริงของพระเจ้าอยู่บนความเชื่อที่ว่า กะลาม (คำตรัสกล่าว)ของพระองค์ เป็นคุณลักษณะที่อยู่ในอาตมันหรือ เป็นคุณลักษณะในการกระทำ และทัศนะที่ถูกต้อง ก็คือ คำตรัสกล่าวของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะในการกระทำ เหมือนกับ ความสัตย์จริงของพระองค์

๓.การพิสูจน์ ความเป็นสัตย์จริงของพระเจ้า โดยใช้เหตุผลจากโองการทั้งหลายของอัลกุรอาน  เป็นการให้เหตุผลที่เป็นวัฏจักร และไม่เป็นที่ยอมรับ

๔.การพิสูจน์ ความเป็นสัตย์จริงของคำตรัสกล่าวของพระเจ้า ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา ดังนั้นกล่าวได้ว่า การโกหก เป็นการกระทำที่ไม่ดี และพระเจ้าไม่ทรงกระทำการงานที่ไม่ดี ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ คำตรัสกล่าวของพระองค์นั้น ไม่เป็นความจริงและเป็นคำพูดที่โกหก

๕.อัล กุรอานได้เน้นย้ำใน ความสัตย์จริงของพระเจ้า และกล่าวว่า พระเจ้า เป็นผู้ที่ตรัสจริง

๖.ฮิกมะฮ์ (ความวิทยปัญญา) ของพระเจ้า มีหลายความหมาย

(๑). ความรอบรู้ของพระองค์ในสารัตถะของสรรพสิ่ง

(๒). การมีเป้าหมายและจุดประสงค์ในการกระทำของพระองค์

(๓). การมีความมั่นคงและสมบูรณ์ในการกระทำของพระองค์

(๔).การหลีกห่างจากการกระทำที่ไม่ดี

๗.เหตุผลที่สมบูรณ์ของการกระทำของพระเจ้า คือ ไม่มีการกระทำใดที่ทำให้การกระทำของพระองค์นั้นไม่สมบูรณ์ เช่น การไม่รู้ และ การไม่มีความสามารถของผู้กระทำหรือ การไม่มีประโยชน์ของการกระทำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถจะมีอยู่ในพระเจ้าได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง อาตมันอันสมบูรณ์แบบของพระองค์ และการกระทำของพระองค์ก็ต้องสมบูรณ์แบบด้วยเช่นกัน

๘. ความหมายของการเป็นผู้มีวิทยปัญญา ก็คือ พระเจ้าไม่กระทำการงานที่ไม่ดี ซึ่งรวมถึง การมีความยุติธรรมด้วย ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา และความเชื่อนิ้มิได้มีในสำนักคิดอัชอะรีย์

๓๔๔

   บทที่ ๑๐

   คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า

   บทนำเบื้องต้น

    หลังจากที่ได้อธิบายคุณลักษณะบางส่วนที่มีอยู่ในอาตมัน และในการกระทำของพระเจ้าไปแล้ว บัดนี้ จะมาอธิบายในคุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า ซึ่งได้กล่าวไปแล้วว่า คุณลักษณะในด้านลบทั้งหมด หมายถึง การปฏิเสธการมีขอบเขตที่จำกัดและการมีข้อบกพร่องในพระเจ้า และการปฏิเสธในคุณลักษณะเหล่านั้น คือ การยอมรับว่า พระเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบ ส่วนคุณลักษณะที่ไม่มีของพระองค์นั้น มีจำนวนมากมาย แต่จะขอนำมากล่าวเพียงบางส่วน เช่น

๑.การไม่มีส่วนประกอบ

๒.การไม่มีคุณลักษณะที่เกิดขึ้นอยู่นอกอาตมัน

๓.การไม่มีรูปร่างและหน้าตา

๔.การไม่ยึดติดกับสถานที่และกาลเวลา

๕.การไม่สิงสถิตย์ในสิ่งใด

๖.การไม่มีอยู่ของพระเจ้าหลายองค์

๗.การไม่มีอยู่ของปรากฏการณ์ทั้งหลายในพระองค์

๘.การไม่มีความเจ็บปวดและความรู้สึกสัมผัสใดๆ

๙.การปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้าด้วยตาเปล่า

๓๔๕

   เหตุผลในการพิสูจน์คุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า

    ก่อนที่จะอธิบายในการมีอยู่ของคุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า และได้กล่าวแล้วว่า คุณลักษณะเหล่านี้ ย้อนกลับไปยังจุดเดียว ก็คือ การปฏิเสธการมีขอบเขตและการบกพร่องในพระเจ้า และยังมีเหตุผลทั่วไปที่ใช้พิสูจน์คุณลักษณะเหล่านี้ในพระเจ้า ซึ่งมีดังนี้

พระเจ้า เป็นสิ่งมีอยู่ที่มีคุณลักษณะที่สมบูรณ์แบบที่สุด ดังนั้น พระองค์จึงไม่มีความบกพร่อง และไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ความหมายของทุกคำ ที่บ่งบอกว่า มีข้อบกพร่องนั้น แน่นอนที่สุด ไม่มีในพระองค์ และความหมายของคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ ก็คือ การมีขอบเขตจำกัด ซึ่งการมีความสมบูรณ์ของพระองค์ บ่งบอกว่า พระองค์ไม่มีคุณลักษณะเหล่านั้น  

เพราะฉะนั้น คุณลักษณะที่ไม่มีของพระองค์ จึงหมายถึง คุณลักษณะที่มีในด้านลบ และจะกล่าวชนิดต่างๆของคุณลักษณะที่ไม่มีของพระเจ้า ได้ดังนี้

๑.การไม่มีส่วนประกอบ และ ๒.การไม่มีคุณลักษณะที่เกิดขึ้นอยู่นอกอาตมัน

รายละเอียดของประเด็นนี้ ได้อธิบายในหัวข้อเรื่อง เตาฮีด ซาตีย์ และเตาฮีด ซิฟาตีย์ผ่านไปแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวซ้ำอีก

๓.การไม่มีรูปร่างของพระเจ้า

มุสลิมส่วนมากมีความเชื่อว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากการมีรูปร่าง และในขณะเดียวกันมีกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า พระเจ้าทรงมีรูปร่างและสรีระ กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า มุญัซซิมะฮ์

๓๔๖

เหตุผลที่ดีที่สุดในการปฏิเสธการมีรูปร่างของพระเจ้า คือ จากความหมายของการมีรูปร่าง  ซึ่งประกอบด้วย สามมิติ นั่นก็คือ ความกว้าง,ความยาว และส่วนสูง ด้วยเหตุนี้ ในทุกสิ่งที่มีรูปร่างนั้นต้องมีปริมาณอยู่ด้วย ดั่งที่ได้อธิบายไปแล้วว่า พระเจ้าไม่มีส่วนประกอบใดๆทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่มีรูปร่าง  และไม่เป็นที่อนุญาตให้มนุษย์คิดว่า พระเจ้านั้นมีรูปร่าง แต่ให้ตระหนักเสมอว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่เป็นวัตถุ และไม่มีคุณสมบัติของสิ่งที่เป็นวัตถุ

๔.การไม่มีสถานที่อยู่อาศัยและสถานที่พักพิง

ความหมายของคุณลักษณะนี้ คือ พระเจ้าไม่มีสถานที่อยู่อาศัย  และในขณะเดียวกัน พวกมุญัซซิมะฮ์กลับมีความเชื่อว่า พระองค์ทรงมีสถานที่พำนัก และเช่นเดียวกันในสำนักคิดกะรอมียะฮ์ก็มีความเชื่อว่า พระองค์ทรงสถิตย์อยู่ ณ เบื้องบน

เหตุผลที่พิสูจน์ว่า พระเจ้าไม่มีสถานที่อยู่อาศัย ก็คือ การมีสถานที่อยู่อาศัย เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่มีรูปร่าง ในขณะที่พระเจ้านั้น ไม่มีรูปร่าง เพราะสิ่งที่มีรูปร่างนั้นมีความต้องการ และพระองค์ไม่ทรงมีความต้องการและพระองค์เป็นวาญิบุลวูญูด(สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่)

๕.การไม่สิงสถิตย์ในสิ่งใด

พระเจ้าทรงไม่สิงสถิตย์ในสิ่งอื่นใด เป็นความเชื่อของทุกสำนักคิดทั้งหลายในอิสลาม ที่มีความเห็นตรงกันว่า พระองค์ไม่ทรงสถิตย์ในสิ่งใด นอกเหนือจาก คำกล่าวของบางสำนักคิดซูฟีย์ที่มีความเชื่อว่า พระองค์ทรงสถิตย์ในสิ่งอื่นได้

๓๔๗

เหตุผลหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลามที่ใช้พิสูจน์ว่า พระเจ้าไม่ทรงสถิตย์ในสิ่งใด นั่นก็คือ จากความหมายของการสิงสถิตย์ หมายถึง สิ่งที่จะสิงสถิตย์นั้น ต้องมีความต้องการในสถานที่ในการสิงสถิตย์ ดั่งที่ได้กล่าวไปแล้วว่า พระเจ้าไม่ทรงมีความต้องการสิ่งใด ดังนั้น พระองค์ไม่ต้องการสถานที่ในการสิงสถิตย์

๖.การไม่อยู่ร่วมกับสิ่งใด

พระเจ้าไม่ทรงอยู่ร่วมกับสิ่งใด เป็นความเชื่อของสำนักคิดทั้งหลายในอิสลามที่มีความเห็นตรงกัน นั่นก็คือ

เหตุผลหนึ่งในการยืนยันความเชื่อนี้ ก็คือ ถ้าหากความหมายของ การอยู่ร่วมกัน หมายถึง การมีส่วนประกอบของสิ่งสองสิ่ง  หรือการเปลี่ยนแปรสภาพของสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น ด้วยความหมายนี้ จึงเป็นสาเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลง และโดยแท้จริง อาตมันของพระเจ้านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดทั้งสิ้น และการเปลี่ยนแปลง เป็นสาเหตุให้เกิดความบกพร่อง

และถ้าหากความหมายของ การอยู่ร่วมกัน หมายถึง การเปลี่ยนของสิ่งสองสิ่ง เป็นสิ่งเดียว ซึ่งจากความหมายนี้ก็ไม่สามารถใช้ในพระเจ้าได้

๗.การไม่มีอยู่ในปรากฏการณ์ทั้งหลาย

พระเจ้า ไม่มีอยู่สในปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ทั้งหลาย และคุณลักษณะของพระองค์ก็มิได้เป็นฮาดิษ (สิ่งที่เป็นเหตุการณ์)ด้วย

๓๔๘

เหตุผลหนึ่งของบรรดานักเทววิทยาอิสลามในการปฏิเสธการมีอยู่ของคุณลักษณะนี้ ก็คือ

การมีอยู่ของคุณลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในสิ่งหนึ่ง จะต้องมีความสามารถในการยอมรับคุณลักษณะนั้นได้ และการมีความสามารถยอมรับ เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ ด้วยเหตุนี้ การมีคุณลักษณะเช่นนี้ในพระเจ้า จึงจำเป็นพระองค์ต้องเป็นวัตถุ ในขณะที่ความเป็นจริงพระองค์มิใช่วัตถุ

ผลที่ได้รับจากการไม่มีคุณลักษณะนี้ คือ คุณลักษณะทั้งหลายของพระเจ้า เป็นคุณลักษณะที่มีมาแต่เดิม

๘.การไม่มีรู้สึกและความเจ็บปวด

พระเจ้าไม่มีความรู้สึก และไม่มีความเจ็บปวด

ส่วนมากของการมีความรู้สึกและความเจ็บปวด มี สอง ชนิด ด้วยกัน

ชนิดแรก ความรู้สึกและเจ็บปวดที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นสิ่งที่จะเฉพาะกับสิ่งที่เป็นวัตถุเท่านั้น ในขณะที่พระเจ้ามิใช่วัตถุ ดังนั้น พระองค์ก็ไม่มีความรู้สึกและเจ็บปวดชนิดนี้

อีกชนิดหนึ่ง คือ ความรู้สึกและเจ็บปวดทางสติปัญญา หมายถึง ผู้มีสติปัญญารู้สึกถึงสิ่งที่สมควรได้รับและไม่สมควรจะได้รับ และเช่นกัน ชนิดนี้ก็ไม่มีในพระเจ้า เพราะทุกสิ่งที่มีอยู่คือ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง และทุกสรรพสิ่งเป็นผลในการสร้างของพระองค์ และไม่มีสิ่งใดที่อยู่ในโลกที่พระองค์ไม่ทรงรับรู้

ส่วนในประเด็นที่กล่าวถึง ความรู้สึกทางสติปัญญานั้น มีทัศนะที่แตกต่างกัน

๓๔๙

กลุ่มหนึ่งของนักเทววิทยาอิสลาม ได้ยอมรับในการมีความรู้สึกชนิดนี้ในพระเจ้า โดยพวกเขาได้ปฏิบัติตามบรรดานักปรัชญาอิสลาม และกล่าวว่า อาตมันของพระเจ้า มีความสมบูรณ์ที่สวยงามที่สุด ดังนั้น พระองค์ทรงมีความรู้สึกและรับรู้ด้วยกับอาตมันในสิ่งที่เหมาะสมที่สุด เพราะความสมบูรณ์ที่สุดคือ การมีความรู้สึกถึงสิ่งหนึ่งด้วยตัวของมันเอง การกระทำนี้ เป็นความรู้สึกของพระเจ้า

อีกกลุ่มหนึ่งได้กล่าวว่า แม้ว่าพระเจ้าทรงมีความรู้ในอาตมันที่สมบูรณ์ของพระองค์ แต่การมีอยู่ของความรู้สึกและเจ็บปวดนั้น มิได้มีในพระองค์ เพราะว่า อัล กุรอานและวจนะมิได้กล่าวถึงคุณลักษณะนี้

ท่านอัลลามะฮ์ ฮิลลีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือชะเราะฮ์ ตัจรีดุล เอียะติกอด ว่า

“ส่วนความหมายของ ความรู้สึก หมายถึง การรู้สึกที่เหมาะสมกับตัวเอง และพระเจ้าทรงมีความรู้สึกว่าตนเองมีอยู่   ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของบรรดานักปรัชญาและเทววิทยาอิสลาม และยังเป็นทัศนะของ อิบนุ โนบัคต์ และนักเทววิทยาคนอื่นๆด้วย แม้ว่า การกล่าวว่า พระเจ้ามีความรู้สึก จะต้องได้รับอนุญาตจากพระองค์ก็ตาม”

(กัชฟุลมุรอด หน้าที่ ๓๒๐ )

ด้วยเหตุนี้ พระเจ้า ทรงไม่มีความรู้สึกที่มีอยู่ในธรรมชาติ

๙.การปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้า

มนุษย์ไม่สามารถที่จะมองเห็นพระองค์ได้ และคุณลักษณะประเภทนี้ เป็นปัญหาที่เกิดการถกเถียงในบรรดาคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์ และประเด็นนี้ ยังเป็นประเด็นที่มีความเห็นที่แตกต่างกันมากทีเดียว

๓๕๐

บรรดานักเทววิทยาอิสลามของสำนักคิดมุอฺตะซิละฮ์ และอิมามียะฮ์  มีความเชื่อว่า มนุษย์ไม่สามารถที่จะมองเห็นพระเจ้าได้ ทั้งโลกนี้ และโลกหน้า

ในทางตรงกันข้าม พวกมุญัซซิมะฮ์ กลับกล่าวว่า เนื่องจากว่าพระเจ้นั้นมีรูปร่างและหน้าตา ดังนั้นมนุษย์มีความสามารถจะมองเห็นพระองค์ได้ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

ทัศนะของอะฮ์ลุลฮะดีษและสำนักคิดอัชอะรีย์ ก็คือ พวกเขายึดถือ แนวทางสายกลางในประเด็นนี้

และพวกเขาได้มีความเชื่อว่า มนุษย์สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ในโลกหน้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

พวกอัชอะรีย์ได้กล่าวว่า

“พวกเรามีความเชื่อว่า บรรดาผู้ศรัทธานั้น สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ในโลกหน้า ซึ่งเหมือนดั่งดวงจันทร์ทอแสงในค่ำคืนที่ ๑๕ ของเดือน”

(อัลอิบานะ อัน อัดดิยานะ อัชอะรีย์ หน้าที่ ๒๑)

เราได้กล่าวไปแล้วว่า ประเด็นการมองเห็นพระเจ้า เป็นประเด็นที่เกิดทัศนะที่แตกต่างกัน และในสำนักคิดทั้งหลายของอิสลามต่างก็ใช้เหตุผลของตนเองในการพิสูจน์ ซึ่งประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่ต้องใช้เวลาในการอธิบายมาก แต่จะขออธิบายในเหตุผลที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นพระเจ้าได้ ด้วยกับเหตุผลจากอัล กุรอาน

๓๕๑

และถ้าหากว่าการมองเห็น คือ การมองเห็นด้วยกับประสาทสัมผัสทั้งห้า เป็นประเด็นที่เป็นปัญหาถกเถียงกัน แต่ถ้าการมองเห็น หมายถึง การมองเห็นด้วยกับตาแห่งปัญญา ประเด็นนี้ไม่เป็นที่ถกเถียงกัน และสำนักคิดทั้งหลายในอิสลามก็ยอมรับ คือ การมองเห็นพระเจ้าในโลกนี้และในโลกหน้า โดยวิธีการมองเห็นทางใจโดยผ่านการฝึกฝนอย่างเคร่งครัดต่อคำสั่งสอนของศาสนา และจะเห็นได้ว่า ทัศนะของสำนักคิดอัชอะรีย์รุ่นหลังก็ได้ยอมรับในการมองเห็นพระเจ้าด้วยกับตาแห่งปัญญามิใช่กับตาเนื้อ

   เหตุผลของการมองไม่เห็นพระเจ้าด้วยกับสายตา

   มีเหตุผลทางสติปัญญามากมายที่ใช้พิสูจน์การมองไม่เห็นพระเจ้าด้วยกับสายตา  ซึ่งจะขอนำมากล่าวสัก สอง เหตุผล ดังนี้

๑.การมองเห็นสิ่งที่สัมผัสได้โดยการใช้สายตาในการมอง และสิ่งที่มองเห็นนั้น จะต้องมีสถานที่ และในขณะที่พระเจ้าไม่ทรงมีมีสถานที่ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่สามารถที่จะมองเห็นพระองค์ได้

๒.ถ้าหากสมมุติว่า มนุษย์มองเห็นพระเจ้าได้ แน่นอนที่สุด เขาจะต้องเห็นตัวตนหรืออาตมันของพระองค์ในสถานที่หรือเห็นเพียงบางส่วนของอาตมัน ดังนั้น การมองเห็นเพียงบางส่วน แสดงว่า พระเจ้านั้น มีส่วนประกอบก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง และถ้ามองเห็นตัวตนของพระองค์ ก็ไม่ถูกต้องและไม่เข้ากับสติปัญญา เพราะอาตมันของพระองค์นั้นไม่มีที่สิ้นสุด

ในตอนท้าย ขอกล่าวซ้ำอีกครั้งว่า คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า มิได้มีจำกัดเพียงเท่านี้ แต่ยังมีจำนวนอีกมาก และคุณลักษณะที่แสดงถึง การมีขอบเขตในพระองค์ เช่น การมีกาลเวลา การมีความต้องการ การมีผลสะท้อนจากอาตมัน  การมีสิ่งที่เหมือนพระเจ้า และอื่นๆ

๓๕๒

   คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ในทัศนะอัล กุรอาน

    อัล กุรอานกล่าวว่า ความมหาบริสุทธิ์แห่งพระเจ้า หมายถึง พระเจ้าทรงปราศจากคุณลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ และบางโองการกล่าวว่า พระเจ้าทรงบริสุทธิ์ยิ่ง หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากมลทินทั้งปวง เช่น ในบทอัลฮัชร์กล่าวว่า

พระองค์คือ อัลลอฮ์ ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์ ผู้ทรงอำนาจสูงสุด ผู้ทรงบริสุทธิ์

(บทอัลฮัชร์ โองการที่ ๒๓)

   พระเจ้าคือ ผู้ที่ไม่ต้องการสถานที่อยู่อาศัย

    โองการอัล กุรอาน บางโองการกล่าวถึง การไม่มีสถานที่พักพิงของพระเจ้า ดั่งตัวอย่างเช่น หลังจากการเหตุการณ์การเปลี่ยนทิศกิบละฮ์ของบรรดามุสลิมจากบัยตุล-มุก็อดดัซ เป็นกะอ์บะ และได้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์จากชาวยะฮูดีย์ จนกระทั่งโองการนี้ได้ถูกประทานลงมาให้ศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล)

อัล กุรอานกล่าวว่า

ทั้งตะวันออก และตะวันตกเป็นของอัลลอฮ์ สูเจ้าจะพบอัลลอฮ์ ในทุกทิศทาง ที่สูเจ้าผินหน้าของสูเจ้าไป แท้จริงอัลลอฮ์ คือผู้ทรงไพบูลย์ ผู้ทรงรอบรู้” (บทอัลบะกอเราะ โองการที่ ๑๑๕ )

๓๕๓

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าทรงอยู่เหนือการมีสถานที่ และความหมายของ ทิศตะวันออกและตะวันตก มิได้หมายถึง ทิศทางในภูมิศาสตร์ แต่หมายถึง ในทุกทิศทาง และความหมายของคำว่า ทิศทางใดที่เจ้าผินหน้าจะพบพระเจ้า หมายถึง พระเจ้าทรงมีอยู่ทุกสถานที่ ดังนั้น โองการนี้ได้อธิบายถึง เรื่องของกิบละฮ์ ที่บรรดมุสลิม จะต้องหน้าไปยังทิศนั้น ในยามที่ทำการนมัสการพระผู้เป็นเจ้า และมิได้กล่าวถึง การมีอยู่ของพระเจ้าในสถานที่หรือทิศทางที่ถูกจำกัด  เพราะพระองค์ทรงอยู่ทุกสถานที่และทุกทิศทาง และพระองค์ทรงรอบรู้ในทุกสิ่ง แน่นอนที่สุด พระเจ้านั้น ไม่มีส่วนประกอบและไม่มีชิ้นส่วน ดังนั้น การที่พระองค์มีอยู่ทุกสถานที่และทุกทิศทาง มิได้หมายถึง พระองค์ทรงอยู่จนเต็มในทุกสถานที่ แต่หมายถึง พระองค์ทรงมีอยู่เหนือสถานที่ หรือไม่มีสถานที่ต้องอาศัยหรือพำนัก 

และการมีสองรูปร่างหรือมีวัตถุในสถานที่อันเดียว ก็ไม่สามารถที่จะกล่าวว่า พระเจ้าเป็นรูปร่างที่ควบคุมและดูแลโลกแห่งวัตถุและโลกแห่งรูปร่าง

และยังมีอีกโองการหนึ่งที่กล่าวถึง พระเจ้าอยู่กับมนุษย์ และเป็นการยืนยันว่า พระองค์ ไม่มีสถานที่

อัล กุรอานกล่าวว่า

และพระองค์ทรงอยู่กับพวกเจ้าไม่ว่าพวกเจ้าจะอยู่ ณ แห่งหนใด และอัลลอฮ์ทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (บทอัลหะดีด โองการที่ ๔ )

การที่พระเจ้าอยู่กับมนุษย์ และมีสถานที่ในการพำนักนั้น ไม่เหมาะสม เพราะถ้าการมีอยู่ของสิ่งหนึ่งในสถานที่ถูกจำกัด และไม่สามารถที่จะมีอยู่กับสิ่งอื่นได้  ดังนั้น การทรงดำรงอยู่ของพระเจ้า ในทุกสถานที่นั้น บ่งบอกถึง การมีพลังอำนาจของพระองค์ เพราะว่า พระองค์ทรงไม่มีที่สิ้นสุด และทุกสรรพสิ่งก็เกิดขึ้นมาจากพระองค์

๓๕๔

   การมองไม่เห็นพระเจ้า

   โองการอัล กุรอานที่บ่งบอกว่า มนุษย์ไม่สามารถเห็นพระเจ้าได้ คือ โองการนี้ที่ได้กล่าวว่า

สายตาทั้งหลายย่อมไปไม่ถึงพระองค์ แต่พระองค์ทรงเห็นถึงสายตาเหล่านั้น และพระองค์คือผู้ทรงปรานี ผู้ทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วน” (บทอัลอันอาม โองการที่ ๑๐๓ )

จากโองการนี้ แสดงให้เห็นว่า ไม่มีสายตาใดที่จะมองเห็นพระเจ้า แต่พระองค์ทรงเห็นในสายตาทั้งหลายเหล่านั้น  ดังนั้นการมองไม่เห็นพระเจ้า คือ การมองเห็นด้วยสายตาของมนุษย์ และความหมายของ คำว่า สายตาทั้งหลาย หมายถึง ไม่มีสายตาใดเลยที่สามารถจะมองเห็นพระเจ้าได้

อีกโองการหนึ่งที่ปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้าด้วยสายตาของมนุษย์

อัล กุรอานกล่าวว่า

“และเมื่อมูซาได้มาตามกำหนดเวลาของเรา และพระเจ้าของเขาได้ตรัสแก่เขา เขาได้กล่าวขึ้นว่า โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดให้ข้าพระองค์เห็นด้วยเถิด โดยที่ข้าพระองค์จะได้มองดูพระองค์ พระองค์ตรัสว่า เจ้าจะเห็นข้าไม่ได้เป็นอันขาด” (บทอัลอะอ์รอฟ โองการที่ ๑๔๓ )

จากการอธิบายของโองการทั้งหลายที่เกี่ยวกับศาสดามูซา จะเห็นได้ว่า การร้องขอของศาสดามูซา คือ การร้องขอของกลุ่มชนผู้โง่เขลาชาวบะนีอิสรออีล และพระเจ้าได้ตอบกับเขาว่า เจ้าจะไม่เห็นข้า เป็นอันขาด

๓๕๕

ถ้าหากว่ามองผิวเผินในโองการเหล่านี้ จะเห็นว่า เป็นโองการมุฮ์กะมาต (โองการที่ชัดเจน) ที่ตรงกันข้ามกับโองการที่คลุมเครือได้กล่าวยอมรับถึง การมองเห็นพระเจ้า เช่น การยกเหตุผลของ สำนักคิดอัชอะรีย์ ที่ยึดเอาโองการต่อไปนี้มา พิสูจน์ว่า มนุษย์สามารถมองเห็นพระเจ้าได้

อัล กุรอานกล่าวว่า

ในวันนั้นหลาย ๆ ใบหน้าจะเบิกบาน จ้องมองไปยังพระเจ้าของมัน

(บทอัลกิยามะฮ์ โองการที่ ๒๒ -๒๓ )

สำหรับคำตอบที่ให้กับพวกอัชอะรีย์ ก็คือ ความหมายของ รากศัพท์ นะซอรอ เมื่อมีคำเชื่อม อิลา เข้ามา มิได้หมายความว่า การมองเห็น แต่หมายถึง การรอคอย จากการยืนยันจากโองการที่ ๒๕ ของบทนี้ ดังนั้น ความหมายของโองการข้างต้น ก็คือ กลุ่มชนกลุ่มหนึ่งได้รอคอยความโปรดปรานและความเมตตาจากพระเจ้า และอีกกลุ่มหนึ่งรอคอยการถูกลงโทษจากพระองค์ ด้วยเหตุนี้ จากโองการทั้งหลายของอัล กุรอานได้กล่าวอย่างชัดเจนถึง การที่มนุษย์ไม่มีความสามารถที่จะมองเห็นพระเจ้าได้ และเหตุผลของสำนักคิดอัชอะรีย์ ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง

๓๕๖

   คุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า ในมุมมองของวจนะ

    วจนะทั้งหลายมากมายได้กล่าวถึง คุณลักษณะที่พระเจ้าไม่มี ซึ่งจะขอนำมากล่าวสักเล็กน้อย ณ ที่นี้

ท่านอิมาม ซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงมีเวลาและสถานที่และการเคลื่อนที่และการย้ายที่และการหยุดนิ่ง แต่ทว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ที่สร้างเวลาและสถานที่และการเคลื่อนที่และการย้ายที่และการหยุดนิ่ง พระองค์ทรงสูงส่งกว่าสิ่งที่ผู้ฉ้อฉลกล่าวหาเสียอีก”

(บิฮารุลอันวาร เล่ม ๓ หน้า ๓๐๙ ฮะดีษที่ ๑)

จากวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านอิมามต้องการที่จะกล่าวถึง การมีอยู่พระเจ้าว่า พระองค์ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา และสถานที่ และไม่มีการเคลื่อนย้าย อีกทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ท่านอิมามอะลี (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“การอรรถาธิบาย คำว่า ศอมัด (แปลว่า พระเจ้าไม่ต้องที่พึ่ง) หมายถึง พระองค์ไม่มีนาม ,ไม่มีร่างกาย ,ไม่มีสิ่งใดเหมือน, ไม่มีใบหน้า, ไม่มีขอบเขต, ไม่มีสถานที่ ,ไม่มีที่อยู่, ไม่ได้อยู่ที่นี่และที่นั้น, ไม่ได้เต็มและไม่ได้ว่าง, ไม่ได้นั่งและไม่ได้ยืน, ไม่ได้หยุดนิ่งและไม่ได้เคลื่อนไหว, ไม่ได้อยู่ในความมืดและไม่ได้อยู่ในความสว่าง, ไม่ได้อยู่จิตวิญญาณและไม่ได้อยู่ในวัตถุ ไม่ได้เป็นสี, ไม่ได้อยู่ในหัวใจของผู้ใดและ ไม่ได้มีกลิ่นที่จะดมได้ ดังนั้นทั้งหมดเป็นคุณลักษณะที่พระเจ้าไม่มี”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๓๐ วจนะที่ ๒๑)

๓๕๗

และบางคุณลักษณะที่ไม่มีในพระเจ้า เช่น พระองค์ไม่มีรูปร่าง และไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ ก็มีกล่าวในวจนะต่างๆมากมายเรื่องนี้ เช่น

วจนะจากท่านอิมามซอดิก (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้รายงานว่า

สาวกคนหนึ่งได้นำคำพูดของ ฮิชาม อิบนิ ฮะกัม ที่กล่าวว่า พระเจ้าทรงมีรูปร่าง ไปรายงานให้ท่านอิมามฟังและอิมามตอบกับเขาว่า

“ความหายนะ จงประสบแด่ฮิชาม หารู้ไม่ว่า รูปร่างและหน้าตา เป็นสิ่งที่มีขอบเขต ดังนั้นหากว่ามีขอบเขต ก็ต้องยอมรับการมีน้อยและมีมากได้ และเมื่อยอมรับว่า มีน้อยและมีมาก สิ่งนั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา”

สาวกคนนั้น ก็กล่าวขึ้นว่า แล้วฉันจะกล่าวว่าอย่างไรละ

อิมามตอบว่า

“พระองค์ไม่มีรูปร่างและหน้าตา แต่พระองค์ทรงสร้างรูปร่างและหน้าตา พระองค์ไม่มีชิ้นส่วน ไม่มีมากและไม่มีน้อย

หากมาตรแม้นว่า เขา(ฮิชาม )กล่าวอย่างนั้น ก็จะไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้าง ในขณะที่พระองค์เป็นผู้สร้างและทำให้มีความแตกต่างระหว่างรูปร่างและหน้าตา เพราะพระองค์ไม่เหมือนกับสิ่งใดและไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๖ วจนะที่ ๗)

ในวจนะนี้ แสดงให้เห็นว่า มีความหมายที่ลึกซื้ง ซึสรุปได้ว่า การให้เหตุผลของท่านอิมาม ในการพิสูจน์ว่า พระเจ้าไม่มีรูปร่าง ก็คือ เมื่อมีรูปร่างก็ต้องมีขอบเขต เมื่อมีขอบเขตก็ต้องมีมากหรือน้อย เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ต้องเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง ดังนั้นถ้าสมมุติว่า พระเจ้ามีรูปร่าง พระองค์ก็ต้องเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง ในขณะที่พระองค์เป็นผู้ทรงสร้าง มิใช่สิ่งที่ถูกสร้าง

๓๕๘

และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ถ้ายอมรับว่า คำพูดของฮิชามเป็นจริง ดังนั้น พระเจ้าเป็นผู้สร้างสิ่งที่มีรูปร่าง และถ้าพระองค์ทรงมีรูปร่างแล้ว ก็ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ มีความขัดแย้งกับความเป็นจริง เพราะความเป็นจริง ก็คือ ผู้สร้างต้องมีความแตกต่างกับสิ่งที่ถูกสร้าง

และยังมีวจนะทั้งหลายที่ได้กล่าวถึง การไม่มีสถานที่และเวลา เช่น

วจนะของอิมามกอซิม (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกียรติ และทรงยิ่งใหญ่  พระองค์ทรงมีมาแต่เดิม โดยที่มีกาลเวลา และพระองค์ทรงมีอยู่ในขณะนี้ เหมือนกับพระองค์ทรงอยู่ ในสภาพที่ไม่มีสถานที่ใดที่ไม่มีพระองค์ และไม่มีสถานที่ใดที่พระองค์ไม่ทรงอยู่ และพระองค์ไม่ทรงสถิตย์ ณ สถานที่ใด ในแผ่นดิน”

(อัตเตาฮีด อัศศอดูก บาบที่ ๒๘ วจนะที่ ๑๒)

จากประโยคหนึ่งของวจนะนี้ คือ ไม่มีสถานที่ใดที่ไม่มีพระองค์ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าไม่มีอยู่ในสถานที่ใด

มีวจนะหนึ่งที่ได้กล่าวถึง การปฏิเสธการมองเห็นพระเจ้าด้วยสายตา

วจนะของท่านอิมามอะลี ผู้นำแห่งศรัทธาชน (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ท่านได้ตอบคำถามของสาวกที่มีนามว่า ซิอฺลับ ยะมานียฺ ที่ได้ถามว่า

“เวลาที่ท่านทำการเคารพภักดีต่อพระผู้อภิบาลของท่าน ท่านเคยเห็นพระองค์หรือไม่?”

ท่านอิมามตอบว่า

“ฉันจะไม่เคารพภักดีพระผู้อภิบาลที่ฉันไม่เคยเห็นพระองค์”

ซิอฺลับ ก็ถามอีกว่า “แล้วท่านเห็นพระองค์ได้อย่างไร?ช่วยอธิบายให้ข้าพเจ้าฟังด้วย”

๓๕๙

ท่านอิมามตอบว่า

“ไม่มีใครเห็นพระองค์ จากตาเนื้อ แต่หัวใจที่บรรจุแน่นไปด้วยความศรัทธาต่างหากที่เพิ่งพินิจยังพระองค์” [๓]

วจนะจากท่านอิมามอัสการีย์ ก็เช่นกัน ที่ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

ได้มีชายคนหนึ่งถามท่านว่า มนุษย์ทำการเคารพภักดีต่อพระเจ้าได้อย่างไร ในสภาพที่มองไม่เห็นพระองค์?

อิมามได้ตอบว่า

“นายของฉัน คือ ผู้ที่ประทานปัจจัยยังชีพให้แก่ฉันและให้แก่บรรพบุรุษของฉัน และพระองค์ทรงประเสริฐกว่าที่จะมองเห็น”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะ บทเทศนาที่ ๑๗๙)

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ความสมบูรณ์แบบของพระเจ้า บ่งบอกถึง คำทั้งหลายที่มีความหมายถึงการมีขอบเขตหรือมีข้อบกพร่อง ถูกปฏิเสธในพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ จะกล่าวได้ว่า พระเจ้าทรงมีอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด และไม่มีคุณลักษณะที่ไม่มีในพระองค์

๒.คุณลักษณะหนึ่งที่ไม่มีในพระเจ้า คือ การไม่ได้เป็นรูปร่างหรือมีร่างกาย หมายความว่า อาตมันของพระองค์มิได้เป็นวัตถุ และไม่มีสิ่งที่วัตถุมี

เหตุผลก็คือ ทุกสิ่งที่เป็นวัตถุมีรูปร่างและส่วนประกอบ ขณะทีอาตมันของพระเจ้า มิได้เป็นวัตถุ และไม่มีส่วนประกอบ

๓๖๐

361

362

363

364

365

366

367

368

369

370

371

372

373

374

375

376

377

378

379

380

381

382

383

384

385

386

387

388

389

390

391

392

393

394

395

396

397

398

399

400

กล่าวคือ พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย ดังนั้น พระองค์มิทรงกระทำการกดขี่ และการกระทำของพระองค์ทั้งหมด มีความยุติธรรม

และยังเหตุผลอื่นๆที่ใช้พิสูจน์การมีความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งเหตุผลทั้งหมดที่ใช้นั้น ถ้าหากว่า ไม่มีหลักการความดีและความชั่ว ถือว่า เหตุผลนั้น ไม่สมบูรณ์ เช่น

สมมุติว่า ถ้าพระเจ้ากระทำการกดขี่ คาดว่า มี  สาม ปัจจัย คือ

๑.การกระทำนี้ เกิดขึ้นจาก ความโง่เขลา

๒.การกระทำนี้ เกิดขึ้นจาก ความต้องการ

๓.การกระทำนี้ เกิดขึ้นจาก วิทยปัญญา

การคาดคะเนทั้งสอง ถือว่า ไม่ถูกต้อง เพราะพระองค์ทรงเป็น วาญิบุลวุญูด(สิ่งจำเป็นที่ต้องมีอยู่) และพระองค์ทรงมีความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ ความโง่เขลา จะไม่เกิดขึ้นและความต้องการก็ไม่มีในพระองค์ด้วย และการคาดคะเนที่สาม ก็ถือว่า ไม่ถูกต้อง เช่นกัน เพราะการมีวิทยปัญญา หมายถึง การละทิ้งการกระทำที่ไม่ดีและน่ารังเกียจ ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระเจ้าจะกระทำการกดขี่

ด้วยเหตุนี้ การคาดคะเนทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถือว่า ไม่ถูกต้อง ฉะนั้น การกระทำทั้งหมดของพระเจ้า เป็นการกระทำที่มีความยุติธรรม

   ความยุติธรรมของพระเจ้าในอัล กุรอาน

    ในอัล กุรอาน มืได้ใช้คำว่า อัดล์(ความยุติธรรม) และคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน  แต่ได้อธิบายถึง การไม่มีความกดขี่ของพระเจ้าแทน ตัวอย่างเช่น

๔๐๑

“แท้จริงอัลลอฮ์นั้นจะไม่ทรงอธรรมแก่มนุษย์แต่อย่างใด แต่ว่ามนุษย์ต่างหากที่อธรรมต่อตัวของพวกเขาเอง”

 (บทยูนุส โองการที่ ๔๔)

 “และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย” (บทอัลกะฮ์ฟ โองการที่ ๔๙)

 “และอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงประสงค์ซึ่งการอธรรมใด ๆ แก่ประชาชาติทั้งหลาย”

(บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๐๘)

ความหมายของ คำว่า อาละมีน หมายถึง โลกทั้งหลาย มีทั้ง โลกของมนุษย์ ,ญิน และโลกของมวลเทวทูต และยังหมายถึง โลกทั้งหมดหรือสากลจักรวาล จะอย่างไรก็ตาม โองการนี้กล่าวถึง การมีความยุติธรรมของพระเจ้า ที่มีความหมายกว้างกว่า ซึ่งรวมถึง โลกทั้งหลาย

และบางโองการกล่าวถึง การมีความยุติธรรมในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า

“ อัลลอฮ์ทรงยืนยันว่า แท้จริงไม่มีผู้ที่ควรได้รับการเคารพสักการะใด ๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น และมลาอิกะฮ์ และผู้มีความรู้ในฐานะดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมนั้น” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๘)

และบางโองการกล่าวถึง การมีความยุติธรรมในการกำหนดกฏเกณฑ์ของพระเจ้า

“และเรามิได้บังคับผู้ใด เว้นแต่ความสามารถของเขา และ ณ ที่เรานั้นมีบันทึก ที่บันทึกแต่ความจริง โดยที่พวกเขาจะไม่ถูกอยุติธรรม” (บทอัลมุมินูน โองการที่ ๖๒)

๔๐๒

 “ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า พระเจ้าของฉันได้ทรงสั่งให้มีความยุติธรรม

 (บทอัลอะอฺรอฟ โองการ ๒๙ )

เช่นเดียวกัน ในบางโองการได้ยืนยันถึง ความยุติธรรมในการตอบแทนของพระเจ้า

และเราตั้งตราชูที่เที่ยงธรรมสำหรับวันกิยามะฮ์ ดังนั้นจะไม่มีชีวิตใดถูกอธรรมแต่อย่างใดเลย”

(บทอันอัมบิยาอฺ โองการที่ ๔๗)

 “และเรามิเคยลงโทษผู้ใด จนกว่าเราจะแต่งตั้งร่อซู้ลมา” (บทอัลอิสรออฺ โองการที่ ๑๕)

ใช่ว่าอัลลอฮ์นั้นจะอธรรมแก่พวกเขาก็หาไม่ แต่ทว่าพวกเขาอธรรมแก่ตัวของพวกเขาเองต่างหาก”

(บทอัตเตาบะฮ์ โองการ ๗๐ และบทอัรรูม โองการ ๙)

โองการนี้อธิบายเกี่ยวกับ พระองค์ทรงลงโทษกลุ่มชนที่ฉ้อฉล ดังนั้น การลงโทษของพระองค์ มิใช่ว่า พระองค์ไม่มีความยุติธรรม แต่คือ ผลตอบแทนที่พวกเขาจะได้รับจากการกระทำของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ พวกเขาได้กดขี่ตัวของพวกเขา และแน่นอนที่สุด พระองค์มิทรงกดขี่ผู้ใด นอกเหนือจากโองการจากอัล กุรอาน ยังมีวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์

ท่านศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวว่า

ด้วยกับความยุติธรรม ชั้นฟ้าและแผ่นดินจึงมีอยู่ได้”

(ตัฟซีรศอฟีย์ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๒๘)

๔๐๓

ท่านอิมามอะลี ได้ตอบคำถามชายคนหนึ่งในความหมายของ เตาฮีดและความยุติธรรม ว่า

“เตาฮีด คือ การไม่คิดว่า พระองค์เหมือนกับสิ่งสร้างของพระองค์ และความยุติธรรม คือ การไม่กล่าวในสิ่งที่พระองค์ไม่ทรงมี”

“พระเจ้าทรงบริสุทธิ์กว่าที่จะกล่าวว่า พระองค์ทรงอธรรมกับมวลบ่าวของพระองค์ และแท้จริง พระองค์ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม”

(นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ สุนทรโรวาทที่ ๑๘๕)

   ข้อสงสัยในความยุติธรรมของพระเจ้า

    ในประเด็นวิทยปัญญาของพระเจ้า กลุ่มหนึ่งมีความเชื่อว่า การมีอยู่ของความยากลำบากทั้งหลาย  ,ความเจ็บปวด และการทดสอบจากภัยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ชั่วร้ายสำหรับมนุษย์  สิ่งเหล่านี้ไม่เข้ากันกับการมีวิทยปัญญาของพระองค์ และดังที่ๆได้อธิบายไปแล้วถึง การมีอยู่ของวิทยปัญญาที่มนุษย์เข้าไปไม่ถึง  และความเชื่อเช่นนี้ ถือว่าไม่ถูกต้อง

ณ ที่นี้ จะมาตอบข้อสงสัยทั้งหลายที่เกี่ยวกับประเด็นความยุติธรรมของพระเจ้า

ก่อนที่จะตอบคำถาม ก็จะกล่าวว่า บางทีข้อสงสัยเหล่านี้ เกี่ยวกับประเด็นของวิทยปัญญาของพระเจ้า ด้วยเหมือนกัน แต่คำตอบของข้อสงสัยดังกล่าวอยู่ในประเด็นนี้

๔๐๔

   ความยุติธรรมของพระเจ้ากับความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย

    ในบางครั้งอาจจะคิดว่า ความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย จะเข้ากับความยุติธรรมของพระเจ้าได้อย่างไร  เช่น ความแตกต่างในการสร้างของพระองค์ กล่าวกันว่า เพราะเหตุใดพระเจ้าสร้าง สิ่งหนึ่งเป็นมนุษย์ และสิ่งหนึ่งเป็นสัตว์ และอีกสิ่งหนึ่งเป็น พรรณพืช  และเพราะเหตุใด สัตว์ทั้งหลายและพรรณพืช จึงไม่ถูกสร้างให้เหมือนกับมนุษย์ และบางครั้ง ความแตกต่างมีอยู่ในตัวของมนุษย์เอง เช่น เพราะเหตุใด บางคนจึงตาบอด และอีกคนตาไม่บอด แต่กับมองเห็นได้เป็นอย่างดี และทำไมบางคนมีรูปร่างที่งดงาม และบางคนมีรูปร่างที่น่ารังเกียจ และด้วยเหตุใด บางคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และบางคนไม่มีเช่นนั้น และมีคำถามในทำนองเดียวกันนี้ อีกมากมาย

คำตอบ ด้วยกับหลักการดังต่อไปนี้                    

๑.ระบบของโลกแห่งธรรมชาติ เป็นระบบที่เฉพาะ มีกฏเกณฑ์ที่มั่นคงและไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น  หนึ่งในกฏเกณฑ์ทั้งหลาย คือ กฏของเหตุและผล ด้วยกับหลักการนี้ ทุกสิ่งที่มีอยู่ต้องมีเหตุและผลในการเกิดขึ้นของสิ่งนั้น

๒.ระบบและกฏเกณฑ์ของโลกนี้ เป็นระบบที่คงที่ และไม่มีการเปลี่ยนแปลง หมายความว่า  ไม่สามารถจะกล่าวว่ามีโลกอยู่ แต่ระบบและกฏเกณฑ์นั้นมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำนองเดียวกัน จะไม่มีน้ำตาลใดที่ไม่มีความหวาน และน้ำใดที่ไม่มีความเปียกชื้น

๔๐๕

๓.สิ่งจำเป็นของการมีระบบและกฏเกณฑ์ดังกล่าว คือ การมีความแตกต่างและความหลากหลายในสรรพสิ่งที่มีอยู่ เช่น กฏของเหตุและผล บ่งบอกถึง ผลของเหตุของสิ่งทั้งหลายนั้น มีความสมบูรณ์น้อยกว่า เหตุของสิ่งนั้น และเช่นเดียวกัน การมีความสามัคคีกันระหว่างเหตุและผล ดังนั้น เมื่อมีเหตุในการเกิดขึ้นของทารกที่ตาบอด จึงทำให้ทารกนั้นเกิดขึ้นมา มีตาที่บอด

สรุปได้ว่า การมีความแตกต่างในสรรพสิ่งที่มีอยู่เป็นสิ่งจำเป็นของระบบและกฏเกณฑ์ของโลกนี้ ซึ่งไม่มีการแยกออกจากกันได้

ด้วยเหตุนี้ เป็นที่กระจ่างชัดแล้วว่า การใช้คำว่า การแบ่งแยกในความแตกต่างในสิ่งทั้งหลายนั้น ไม่ถือว่า ถูกต้อง เพราะการแบ่งแยกมีอยู่ในที่ๆ มีสองสิ่ง ที่มีผลประโยชน์เหมือนกัน แต่อีกสิ่งหนึ่งมีความสามารถเหนือกว่า

ดังนั้น ความแตกต่างที่มีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลาย จึงไม่ขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า เพราะพระองค์ไม่ทรงมีการกดขี่และการแบ่งแยก และพระองค์มิกระทำการงานที่ไม่ดีและไร้สาระ

   ความตายกับการสูญสลาย

    อีกข้อสงสัยหนึ่งที่เกี่ยวกับความยุติธรรมของพระเจ้า คือ เรื่องของความตาย บางคนคิดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังความตาย เป็นการสูญสลายและการทำลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

คำตอบ ประการแรก ความตายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโลกแห่งธรรมชาติ ที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต และสิ่งที่อยู่ในโลกแห่งธรรมชาตินั้น ไม่มีความเป็นถาวร

๔๐๖

ประการที่สอง ข้อสงสัยนี้ บ่งบอกถึง ความตาย คือ การสูญสลาย แต่ความเป็นจริง มิได้เป็นเช่นนั้น ความตายคือ การเคลื่อนย้ายจากโลกนี้ไปสู่อีกโลกหนึ่ง ซึ่งความหมายนี้มิได้มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้าแต่อย่างใด

  ความสัมพันธ์ของบาปกับการถูกลงโทษในวันแห่งการตัดสิน

    ได้อธิบายไปแล้วถึง ทั้งสองข้อสงสัย  ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์ของพระเจ้า  แต่เรื่องการลงโทษในวันแห่งการตัดสิน เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตอบแทนของพระองค์

พื้นฐานของข้อสงสัยนี้  คือ สติปัญญาเป็นตัวกำหนดถึง ความสัมพันธ์ของความบาปกับการถูกลงโทษ ดังนั้น สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฏจราจร ไม่สมควรที่จะถูกลงโทษเหมือนผู้ที่ทำความผิดร้ายแรง

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในกฏหมายอิสลามได้กำหนดว่าการลงโทษในความบาปทั้งหลายนั้น มีความรุนแรงมากทีเดียว เช่น  อัล กุรอานกล่าวว่า ผู้ที่ฆ่าผู้อื่นตายโดยเจตนา เขาจะถูกลงโทษโดยการให้อยู่ในนรกตลอดกาล ด้วยเหตุนี้ การถูกลงโทษในวันแห่งการตัดสิน ไม่มีความเหมาะสมกับบ่าวและบาปที่เขากระทำ ซึ่งเหล่านี้ มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

คำตอบ ก็คือ มีความแตกต่างกันระหว่างการลงโทษที่มนุษย์เป็นผู้กำหนดขึ้นมากับการลงโทษของพระเจ้าในวันแห่งการตัดสิน เพราะว่า การลงโทษของมนุษย์ เป็นกฏหมายที่ถูกกำหนด ด้วยเหตุนี้ ในระบอบสิทธิมนุษยชน บางที การลงโทษมีมากมายในความผิดเดียว

๔๐๗

 และเช่นเดียวกัน เป้าหมายของการลงโทษในโลกนี้ เพื่อเป็นข้อเตือนใจในความผิดของตนเองและเป็นอุทาหรณ์ให้แก่ครอบครัวและชนรุ่นหลังด้วย  แต่การลงโทษของพระเจ้า มิใช่การกำหนดดังกล่าว แต่เป็นผลของการกระทำที่มนุษย์ได้กระทำในโลกนี้  เช่น การดื่มยาพิษ ผลของมัน คือ การหลีกเลี่ยงจากการกระทำนั้น มิใช่ว่า การดิ่มยาพิษ มีโทษถึงตาย

บางโองการจากอัล กุรอาน กล่าวถึง ความสัมพันธ์ของการถูกลงโทษกับความบาปทั้งหลาย

และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้าและพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย”

(บทอัลกะฮ์ฟ โองการที่ ๔๙ )

“วันที่แต่ละชีวิตจะพบความดีที่ตนได้ประกอบไว้ถูกนำมาอยู่ต่อหน้า และความชั่วที่ตนได้ประกอบไว้ด้วย แต่ละชีวิตนั้นชอบ หากว่าระหว่างตนกับความชั่วนั้นจะมีระยะทางที่ห่างไกล และอัลลอฮ์ทรงเตือนพวกเจ้าให้ยำเกรงพระองค์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีต่อปวงบ่าวทั้งหลาย” (บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๓๐ )

ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ของการลงโทษในวันแห่งการตัดสินกับการกระทำของมนุษย์ มืได ้เหมือนกับการลงโทษที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเอง เพื่อที่จะกล่าวว่า การลงโทษของพระเจ้านั้น มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า แต่การลงโทษของพระเจ้า คือ ผลตอบแทนในการกระทำที่ไม่ดีของมนุษย์

๔๐๘

   ความยุติธรรมของพระเจ้ากับความเจ็บปวดและความยากลำบากของมนุษย์

   การมีความเจ็บปวดและความยากลำบากทั้งหลาย ความป่วยไข้ การทดสอบจากภัยธรรมชาติและภัยทางสังคม เป็นอีกข้อสงสัยหนึ่งในความยุติธรรมของพระเจ้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เข้ากันกับความยุติธรรมของพระเจ้า

สำหรับคำตอบ ก็คือ นอกเหนือจากที่ได้ตอบไปแล้วนั้น สามารถกล่าวได้ว่า ความเจ็บปวดและความยากลำบาก เกิดขึ้นจาก สองสภาพต่อไปนี้

๑.บางส่วนของความเจ็บปวด เกิดจากการกระทำของมนุษย์และผลของการกระทำบาปของเขา ซึ่งมนุษย์เป็นสิ่งถูกสร้างที่มีเจตนารมณ์เสรีในการกระทำ และบางคนเลือกที่จะปฏิบัติความชั่ว ด้วยเหตุนี้ เขาจึงได้รับการตอบแทนในการกระทำของเขา

ดังนั้น ผลของความเจ็บปวดและความยากลำบาก เกิดขึ้นมาจากการกระทำของมนุษย์เอง ซึ่งก็มิได้มีความขัดแย้งกันกับความยุติธรรมของพระเจ้า

อัล กุรอานได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในหลายโองการ โดยกล่าวว่า ส่วนมากความยากลำบาก เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์เอง

๔๐๙

๒.บางส่วนของความข่มขืนไม่มีความเกี่ยวข้องกับการกระทำของมนุษย์และไม่มีการลงโทษในวันแห่งการตัดสินด้วย เช่น ความเจ็บปวดของเด็กที่มิได้กระทำบาปใดเลย เขาจะไม่ถูกลงโทษจากพระเจ้า  ในเรื่องนี้ บรรดานักเทววิทยาอิสลามอิมามียะฮ์ เชื่อว่า ความยุติธรรมของพระเจ้า บ่งบอกถึง การทดแทนพวกเขาทั้งหลายด้วยความเจ็บปวดนี้ หมายความว่า พระองค์ทรงประทานรางวัลที่ดีงามให้กับเขา ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า เพื่อเป็นการทดแทนความเจ็บปวดที่เขาทุกข์ทรมาน  ด้วยเหตุนี้ การมีความเจ็บปวดและความยากลำบาก มิใช่สิ่งที่ขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

   ศัพท์วิชาการท้ายบท

ความยุติธรรมอัดล์     :justice

ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์อัดล์ ตักวีนีย์

ความยุติธรรมในการกำหนดบทบัญญัติอัดล์ตัชรีอีย์

ความยุติธรรมในการตอบแทนผลรางวัลและลงโทษอัดล์ ญะซาอีย์

   สรุปสาระสำคัญ

๑.ประเด็นความยุติธรรมของพระเจ้า เป็นหนึ่งในรากฐานของหลักศรัทธาอิสลาม และเป็นหนึ่งในหลักศรัทธาทั้งห้าของศาสนาหรือสำนักคิด ความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า นอกจากมีผลในโลกทรรศน์และการรู้จักพระเจ้า ยังมีผลในการอบรมสั่งสอน สำหรับมนุษย์และสังคมด้วย

๒.บรรดานักเทววิทยาอิสลามอิมามียะฮ์และมุอฺตะซิละฮ์ ที่รู้จักกันใน อัดลียะฮ์ มีความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า ในทางตรงกันข้าม สำนักคิดอัขอะรีย์ ไม่เชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า

๔๑๐

๓.รากฐานหนึ่งของความเชื่อในความยุติธรรมของพระเจ้า คือการยอมรับในหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา เพราะว่า ด้วยหลักการนี้ ความยุติธรรม คือ การกระทำที่ดี ความกดขี่ คือ การกระทำที่ไม่ดีและพระเจ้ามิกระทำการกระทำที่ไม่ดี และเหตุผลของฝ่ายที่ปฏิเสธความยุติธรรมของพระองค์ ถือว่า เหตุผลดังกล่าวไม่สมบูรณ์และไม่ถูกต้อง

๔.ความยุติธรรมมีหลายความหมาย ดังนี้

(๑) การรักษาความเท่าเทียมกันและความเสมอภาค

(๒)การรักษาไว้ซึ่งสิทธิของผู้อื่นและการออกห่างจากการแบ่งแยก

และความหมายที่ถูกต้องและสมบูรณ์คือ การวางสิ่งหนึ่งในที่ๆของมัน ในสถานที่เหมาะสมกับมัน พื้นฐานของนิยามนี้ คือ ในโลกแห่งการสร้างสรรค์และกำหนดบทบัญญัติของพระเจ้า มีทุกสิ่งที่ต้องอยุ่ในที่ๆของสิ่งนั้น และความยุติธรรมก็คือ การักษาสิ่งนั้นให้อยู่ในที่ๆของสิ่งนั้น

๕.ความยุติธรรมของพระเจ้ามี สามประเภท ดังนี้

(๑) ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์

(๒) ความยุติธรรมในการกำหนดบทบัญญัติ

(๓) ความยุติธรรมในการตอบแทนผลรางวัลและการลงโทษ

ความยุติธรรมในการสร้างสรรค์ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานปัจจัยยังชีพและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมให้กับสิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์

๖.ความหมายของความยุติธรรมในการกำหนดบทบัญญัติ มี สอง ความหมาย ดังนี้

(๑) พระเจ้าทรงกำหนดบทบัญญัติและกฏต่างๆเพื่อทำให้มนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์และความผาสุก

(๒) และพระองค์มิได้รับสั่งให้มนุษย์ปฏิบัติในสิ่งที่เขาไม่มีความสามารถ

๔๑๑

๗.ความยุติธรรมในการตอบแทนผลรางวัลและการลงโทษ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงให้รางวัลที่เหมาะสมกับการกระทำของมวลบ่าวของพระองค์ ผู้ที่กระทำความดี จะได้รับรางวัลที่ดี และผู้ที่กระทำความชั่ว จะถูกลงโทษในความผิดของเขา

๘.เหตุผลของบรรดานักเทววิทยาอิสลามที่ใช้ในการพิสูจน์ความยุติธรรมของพระเจ้า มีความเกี่ยวข้องกับหลักความดีและความชั่วทางสติปัญญา

๙.โองการทั้งหลายของอัล กุรอานได้อธิบายถึง ความยุติธรรมของพระเจ้า และวจนะทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน

๑๐.บางกลุ่มชนมีความคิดว่า การมีความแตกต่างในสิ่งที่มีอยู่ทั้งหลาย มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า  สำหรับคำตอบก็คือ ความแตกต่างเป็นองค์ประกอบหนึ่งของโลกแห่งธรรมชาติ ที่ไม่มีวันแยกออกจากกันได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีความแตกต่างในโลกใบนี้

๑๑.ความตายของมนุษย์ มิได้หมายถึง การไม่มีและการสูญสลาย แต่มีความหมายว่า คือ การเคลื่อนย้ายจากโลกนี้ไปสู่อีกโลกหนึ่ง ซึ่งมิได้มีความขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้า

๑๒.การลงโทษในวันแห่งการตัดสิน คือ ผลของการกระทำของมนุษย์ และมิใช่การลงโทษที่เหมือนกับการลงโทษของมนุษย์ที่เขากำหนดกฏและระเบียบขึ้นมาเอง และไม่มีความเหมาะสมกับความผิดของผู้ที่ฝ่าฝืนสักเท่าไร

๑๓.ความยุติธรรมของพระเจ้า บ่งบอกว่า ความเจ็บปวดและความยากลำบากที่ผู้มิได้กระทำความผิดต้องทนทุกข์ทรมาน เขาจะได้รับการทดแทนจากพระองค์

๔๑๒

บทที่ ๔

   การกำหนดกฏสภาวะและจุดหมายปลายทางของมนุษย์ (กอฎออฺและกอดัร)

 บทนำเบื้องต้น

  เรื่องการกำหนดกฏสภาวะและจุดหมายปลายทาง (กอฎออฺและกอดัร) เป็นประเด็นที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในเทววิทยาอิสลาม และที่รู้จักกันในประเด็นนี้ ก็คือ เรื่องของชะตาชีวิตหรือชะตากรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับมนุษย์และการดำเนินชีวิตของเขาโดยตรง และมิใช่ประเด็นทีเกี่ยวกับการใช้สติปัญญาของบรรดานักปรัชญาและนักเทววิทยาอิสลามเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ เรื่องของชะตากรรม จึงเป็นเรื่องที่ความสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ และในสังคมของมนุษย์ จนกระทั่ง บรรดานักกวีและนักประพันธ์ได้เรียบเรียงเรื่องราวที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมาย และในทัศนะของนักปราชญ์และผู้ที่มีศรัทธาต่อพระเจ้า มีความเห็นว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความประสงค์ของพระองค์  ส่วนความเห็นของผู้ที่ไม่เชื่อในพระเจ้า กล่าวว่า ชะตากรรม เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากเหตุผลของวัตถุและธรรมชาติ

ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่า เรื่องของกอฎออฺและกอดัร จึงเป็นหลักศรัทธาหนึ่งของอิสลาม และได้มีหนังสือและตำรามากมายที่เขียนเกี่ยวกับประเด็นนี้ และก็ไม่มีความแตกต่างอันใดเหลืออยู่ และจะขออธิบายถึงหลักการนี้ในมุมมองของสำนักคิดทั้งหลายในอิสลาม เป็นลำดับต่อไป

๔๑๓

    ความหมายของ กอฎออฺ และ กอดัร

   กอดัร ในทางภาษาหมายถึง ขนาด และจำนวนของสิ่งหนึ่ง ส่วนกอฏออ์ มีหลายความหมาย คือ การตัดสิน และภาวะที่แน่นอนตายตัว  ทั้งสองคำ มีคำที่มีความคล้ายคลึงกัน ถูกกล่าวในโองการและวจนะทั้งหลาย และจากนี้ไปจะอธิบายบางส่วนต่อไป

   ประเภทของกอฎออฺ และกอดัร

   เพื่อการเข้าใจให้กระจ่างชัดในประเด็นนี้ สามารถแบ่งประเภทของกอฎออฺและกอดัร ได้ สอง ประเภท ด้วยกัน

๑.กอฎออฺและกอดัร อิลมีย์ (การกำหนดสภาวะในความรู้)

๒.กอฎออฺและกอดัร อัยนีย์ (การกำหนดสภาวะในความเป็นจริง)

เช่นเดียวกันการแบ่งประเภทของกอฎออฺและกอดัรอีกประเภท คือ ถูกแบ่งออกเป็น สอง ประเภท ดังนี้

กอฎออฺและกอดัรโดยเฉพาะ และกอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป

และจะเริ่มต้นด้วยกับประเภทแรก นั่นคือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ (การกำหนดสภาวะทางความรู้) หลังจากนั้น จะอธิบายประเภทอื่น เป็นลำดับต่อไป

๔๑๔

   กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ (การกำหนดกฏสภาวะในความรู้)

   ความหมายของกอดัรอิลมีย์ คือ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้ในลักษณะ ,ขนาด และขอบเขตของสิ่งหนึ่งก่อนการสร้างของสิ่งนั้น ลักษณะของสิ่งที่มิใช่วัตถุ คือ ลักษณะที่มีอยู่ในตัวของสิ่งนั้น และลักษณะของสิ่งที่เป็นวัตถุ คือ นอกเหนือจากมีลักษณะที่เฉพาะตัวแล้ว ยังมีลักษณะความต้องการ เวลา ,สถานที่ ,มิติต่างๆ และขนาดและอื่นๆ ดังนั้น พระเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า สิ่งถูกสร้างทั้งหลายของพระองค์ มีลักษณะเป็นเช่นไร

ส่วนกอฎออฺอิลมีย์ หมายถึง พระผู้เป็นเจ้าทรงรู้ว่ามีความจำเป็นที่สิ่งหนึ่งต้องมีอยู่และเกิดขึ้น เมื่อมีปัจจัยและองค์ประกอบสมบูรณ์ หมายความว่า พระเจ้าทรงรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า ทุกสิ่งที่มีอยู่จะเกิดขึ้นในสภาพใดและมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่ทำให้สิ่งนั้นมีอยู่ ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า ความรู้ที่มีมาดั้งเดิมของพระองค์ ในสิ่งที่มีอยู่ คือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ จึงย้อนกลับไปหายัง ความรู้ของพระเจ้า และเป็นหนึ่งในสาขาของคุณลักษณะนี้ ด้วยกับหลักการนี้ สามารถกล่าวได้ว่า พระเจ้าทรงมีความรู้ในทุกสิ่งที่มีอยู่ และรู้ว่าสิ่งนั้นมีลักษณะเป็นเช่นไรและเกิดขึ้นในสภาพใด สิ่งเหล่านี้ ที่เรียกกันว่า ชะตากรรม

๔๑๕

กอฎออฺและกอดัร อัยนีย์ (การกำหนดสภาวะในความเป็นจริง)

   ความหมายของกอดัรอัยนีย์ คือ การกำหนดลักษณะและคุณลักษณะที่มีอยู่ในตัวของสิ่งหนึ่ง จากพระผู้เป็นเจ้า 

ส่วนความหมายของกอฎออฺอัยนีย์ คือ พระเจ้าทรงให้ความจำเป็นกับสิ่งที่มีอยู่และทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ทุกสิ่งที่มีอยู่ มี สอง สภาพ ดังนี้

สภาพแรก คือ การมีอยู่ของสิ่งหนึ่ง บนพื้นฐานของหลักเหตุและผล 

สภาพที่สอง คือ การมีลักษณะที่เฉพาะของสิ่งนั้น

ดังนั้น ทั้งสองสภาพ คือ ความหมายของกอฏออฺและกอดัรอัยนีย์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ความประสงค์ของพระเจ้า

การสังเกตุในความหมายของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มีหลายประเด็นที่ควรรู้ ดังนี้

๑.ความแตกต่างของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์กับกอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ก็คือ กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มิได้มีมาก่อนสิ่งที่มีอยู่ แต่ได้เกิดขึ้นมาพร้อมกับสิ่งเหล่านั้น

๒.กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ เป็นลักษณะหนึ่งในการสร้างของพระเจ้า และสามารถกล่าวว่า กอฎออฺและกอดัรนั้น ย้อนกลับไปหา คุณลักษณะการเป็นผู้สร้างของพระองค์

๔๑๖

๓.การกำหนดของแต่ละสิ่ง มีระดับขั้นการมีอยู่ที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ การกำหนดของสิ่งที่มิได้เป็นวัตถุ คือ การกำหนดที่มีอยู่เฉพาะตัวของสิ่งนั้น แต่การกำหนดของสิ่งที่เป็นวัตถุ คือ การกำหนดในสภาวะการมีอยู่ในเวลา ,สถานที่ และคุณลักษณะอื่นๆ เช่น ความสวยงาม ,ความสมบูรณ์ และฯลฯ

   ชะตากรรมและการเลือกสรรของมนุษย์

   หนึ่งในประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวกับกอฎออฺและกอดัร คือ ประเด็นที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกสรรและการเป็นอิสระในการกระทำของมนุษย์ ซึ่งจากความหมายของกอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ บ่งบอกว่า พระเจ้าทรงมีความรู้มาก่อนที่การกระทำทั้งหลายของมนุษย์จะเกิดขึ้น และพระองค์ทรงทราบดีว่า มีลักษณะเป็นเช่นไร และเช่นเดียวกัน กอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ ก็บ่งบอกถึง ความประสงค์ของพระองค์ว่า แน่นอน ย่อมมีบทบาทต่อการเกิดขึ้นของการกระทำของมนุษย์  ด้วยสาเหตุนี้ บางคนก็คิดว่า กอฎออฺและกอดัรนั้นไม่เข้ากันกับการเลือกสรรของมนุษย์ และแทนที่มนุษย์จะเป็นผู้ที่แสดงบทบาท กลายเป็นผู้ชมการแสดงที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งเขาไม่มีอิสระในการกระทำ ดังนั้น กอฎออฺและกอดัร จึงเป็นความเชื่อของกลุ่มหนึ่งที่เชื่อว่า ทุกการกระทำของมนุษย์ เป็นการบังคับจากพระเจ้า ในขณะที่อัล กุรอานได้เน้นย้ำในการเลือกสรรของมนุษย์ และได้ตอบข้อสงสัยของพวกผู้ตั้งภาคีที่มีความเชื่อในการบังคับ และบางทีเรียกกลุ่มหนึ่งในอิสลามว่า กอดะรียะฮ์ โดยที่พวกเขากล่าวว่า ความเชื่อในกอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า มีความขัดแย้งกับการเลือกสรรของมนุษย์

๔๑๗

คำตอบ ที่สรุปได้ก็คือ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ของพระเจ้าที่มีต่อการกระทำของมนุษย์นั้น มิได้เป็นสภาพที่ไร้ขอบเขต แต่เป็นกอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ต่อการกระทำที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์และพร้อมที่จะเกิดขึ้น และหนึ่งในคุณสมบัติก็คือ การเลือกสรร และความประสงค์ของมนุษย์ที่มีผลทำให้การกระทำนั้นเกิดขึ้น ดังนั้น พระเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า มนุษย์ได้กระทำการกระทำของตนเองด้วยการเลือกสรรของเขาเอง  และในสภาพเช่นนี้ กอฎออฺและกอดัรอิลมีย์ของพระองค์ ก็มิได้มีความขัดแย้งกับการเลือกสรรของมนุษย์เลย แต่ทว่า เป็นการเน้นย้ำอีกครั้ง และด้วยเหตุนี้ ความรู้ของพระเจ้า จึงครอบคลุมในการเกิดขึ้นการกระทำ(ผล)ของผู้กระทำ (เหตุ) ที่มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์ และถ้าหากว่า ผู้กระทำที่ไม่มีอิสระในการกระทำ เช่น ไฟที่ทำให้ความร้อนเกิดขึ้นมานั้น ความรู้ของพระเจ้าจึงมีต่อการเกิดขึ้นในการกระทำที่ไม่มีการเลือกสรร หมายความว่า พระองค์ทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิมว่า การกระทำที่ไม่มีอิสระการเลือกสรร เช่น ไฟนั้น จะทำให้เกิดความร้อนในเวลาและสถานที่ได้เฉพาะ แต่ถ้าหากว่า ผู้กระทำมีการเลือกสรร เช่น การกระทำของมนุษย์ และสิ่งที่กำหนดจาก พระเจ้า คือ การเกิดขึ้นของการกระทำที่มนุษย์เป็นผู้กระทำด้วยกับการเลือกสรรของเขา

สำหรับในเรื่องของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ ก็มีคำตอบเช่นเดียวกัน ดังนั้น การเกิดขึ้นของกอฎออฺและกอดัรอัยนีย์ มิได้มีสภาพโดยตรงจากพระเจ้า แต่เป็นการเกิดขึ้นของการกระทำที่มีเหตุและผลในระบบหลักด้วยเหตุและผล และความประสงค์ของมนุษย์ เป็นหนึ่งในพื้นฐานของการกระทำที่มีความเป็นอิสระในตัวเอง

๔๑๘

 กอฎออฺและกอดัรก็มีผลต่อการเกิดขึ้นของการกระทำนั้น ด้วยเหตุนี้ การกำหนดจากพระเจ้าและการเกิดขึ้นของการกระทำที่มีอิสระ มิได้มีความขัดแย้งกับการเป็นอิสระและการเลือกสรรของมนุษย์เลย

   กอฎออฺและกอดัรโดยทั่วไป

    สิ่งที่กล่าวไปแล้ว คือ กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า ที่มีต่อการเกิดขึ้นของการกระทำที่เฉพาะ และกอฎออฺและกอดัรอัยนี ยังมีความหมายกว้าง ซึ่งรวมถึงกฏเกณฑ์และหลักการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสังคม ด้วยเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้าทรงมีความรู้มาแต่ดั้งเดิม ในกฏเกณฑ์ต่างๆที่มีอยู่ในสังคมของมนุษย์  เช่น กฏที่ว่าด้วยหลักของเหตุและผล เป็นกฏทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกอฎออฺและกอดัรของพระองค์

   กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า ในอัล กุรอาน และวจนะ

   ดั่งที่ได้กล่าวไปแล้วว่า มีโองการทั้งหลายและวจนะมากมายกล่าวถึง กอฎออฺและกอดัรของพระเจ้า  เช่น

วจนะจากท่านอิมาม ริฎอ (ขอความสันติพึงมีแด่ท่าน) ได้กล่าวว่า

“เกาะดัร หมายถึง การกำหนดขนาดของสิ่งหนึ่งโดยพิจารณาจากการคงอยู่ และสูญสลาย ส่วนกอฏออ์ หมายถึงการเกิดที่แน่นอนของสิ่งหนึ่ง”

(อุศูล อัลกาฟีย์ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๑๕๘)

 “กอดัร หมายถึง การกำหนดขนาดจากด้านยาว,กว้าง และการคงอยู่ของสิ่งหนึ่ง

๔๑๙

หลังจากนั้นกล่าวอีกว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงมีความต้องการที่จะให้สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น พระองค์ก็ทรงประสงค์ เมื่อพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็ทรงกำหนด เมื่อพระองค์ทรงกำหนด พระองค์ก็ทำให้สื่งนั้นเกิดขึ้น เมื่อทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น พระองค์ก็อนุมัติ”

(บิฮารุลอันวาร เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๒๒ )

อัล กุรอานกล่าวว่า

และมิเคยปรากฏแก่ชีวิตใดที่จะตายนอกจากด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์เท่านั้น ทั้งนี้เป็นลิขิตที่ถูกกำหนดไว้”

(บทอาลิอิมรอน โองการที่ ๑๔๕)

“และอัลลอฮ์ทรงบังเกิดพวกเจ้ามาจากฝุ่นดิน แล้วก็มาจากเชื้ออสุจิ แล้วทรงทำให้พวกเจ้าเป็นคู่สามีภริยา และจะไม่มีหญิงใดตั้งครรภ์และนางจะไม่คลอด เว้นแต่ด้วยความรอบรู้ของพระองค์ และไม่มีผู้สูงอายุคนใดจะถูกยืดอายุออกไป และอายุของเขาก็จะไม่ถูกตัดทอน เว้นแต่อยู่ในบันทึก (ของพระองค์) แท้จริง นั่นเป็นการง่ายดายสำหรับอัลลอฮ์” (บทอัลฟาฏิร โองการที่ ๑๑ )

 “ไม่มีเคราะห์กรรมอันใดเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้ และไม่มีแม้แต่ในตัวของพวกเจ้าเอง เว้นแต่ได้มีไว้ในบันทึกก่อนที่เราจะบังเกิดมันขึ้นมา แท้จริงนั่นมันเป็นการง่ายสำหรับอัลลอฮ์”

(บทอัลหะดีด โองการที่ ๒๒)

 “ดังนั้นพระองค์ทรงสร้างมันสำเร็จเป็นชั้นฟ้าทั้งเจ็ดในระยะเวลา ๒ วัน และทรงกำหนดในทุกชั้นฟ้าหน้าที่ของมัน”

(บทอัลฟุศศิลัต โองการที่ ๑๒ )

๔๒๐

421

422

423

424

425

426

427

428

429

430

431

432

433

434

435

436

437

438

439

440

441

442

443

444

445

446

447

448

449

450